ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 03/06/2011 7:14 pm ชื่อกระทู้: จุลินทรีย์ E.Coli .......... |
|
|
จุลินทรีย์ E.Coli
ถาม :
อยากทราบค่ะว่า แบคทีเรีย E.Coli นี้มีชื่อเต็มว่าอะไรค่ะ แล้วแบคทีเรียนชนิดนี้มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร และมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้างค่ะ
ตอบ :
.... Escherichia coli จ้า
.... เป็นแบคทีเรียที่สามารถทำให้คนเราท้องเสียได้จ้า
.... ส่วนความสำคัญม่ายแน่ใจนะว่าในร่างกายคนเรามีอ่ะเปล่าถ้ามีคงจะอยู่ในลำใส้ใหญ่อ่ะจ๊ะ และถ้ามันอยู่ในลำใส้ใหญ้ก็จะทำงานเกียวกับกระบวนการการทำให้ของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้นมั้ง
.... E. coli บางคนจะสับสน เพราะเวลาเขียนย่อจะต้องดูคำแวดล้อมว่ามันเป็นแบคทีเรียหรือโพรโทซัว เพราะใช้ตัวย่อเหมือนกัน ถ้าเป็นแบคทีเรียจะมีชื่อว่า Escherichia coli ถ้าเป็นโพรโทซัวจะมีชื่อว่า Entamoeba coli ครับ ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ส่วนที่ถามว่าเจ้าแบคทีเรียตัวนี้มันมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไรนั้น ก่อนอื่นต้องมารู้จักมันก่อนว่าว่ามันเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เมื่อย้อมจะติดสีแดงของ safranin มีลักษณะเป็นท่อนสั้น ขนาดเล็ก rod short และมีแฟลกเจลลาช่วยในการเคลื่อนที่รอบตัวเซลล์ เป็นแบบ peritrichous มีหน้าที่สำคัญในการสร้างวิตามิน K และ B 12 ครับ ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้จะอาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ้ส่วน colon ครับ ชื่อมันก็บอกแล้วครับ ถ้าขาดมันร่างกายเราก็ขาดวิตามินดังกล่าวซึ่งมีความจำเป็นมาก เพราะเจ้าแบคทีเรียมันจะเปลี่ยนสารอาหารบางอย่างให้เป็นวิตามินนั่นเอง โดยปกติแล้วมันอยู่ร่วมกันเราแบบ mutualism และไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ถ้ามีความผิดปกติของเจ้าตัวแบคทีเรียนี้ มันจะทำให้เกิดโรคท้องเสีย อุจจาระร่วง แต่อาจจะไม่ร้ายแรงเท่าโรคบิดนะครับ อีกอย่างมันเป็นตัวดัชนีชี้วัดความสะอาดของน้ำในแหล่งน้ำและอุสาหกรรมน้ำดื่ม เพราะโดยปกติแบคทีเรียนี้จะอยู่ในร่างกาย ถ้าพบมันมากแลสดงว่ามันออกมากับอุจจาระ ซึ่งไม่ต้องบอกนะครับ มันก็คงสกปรกนะครับ แต่ถ้าพบในปริมาณน้อยก็ไม่เป็นไรครับ แต่ผู้ที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมหรือเป็นนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เขาก็จะมีมาตรฐานระดับการพบเพื่อเป็นเกณฑ์บ่งบอกว่าสะอาดหรือไม่สะอาดโดยอาศัยหน่วยเมตริกครับ แต่รายละเอียดลึก ๆ ต้องไปหานังสืออ่านเพิ่มเติมเองนะครับ
...แบคทีเรีย E.coli มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Escherichia coli เราสามารถพบมันได้ร่างกายของคนเรานี่แหละครับ (สัตว์เลือดอุ่นบางชนิดก็มีนะ..) ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่า แบคทีเรียชนิดนี้จะอยู่ในตระกูล เอนเทอโรแบคทีริเอซี (Enterobacteriaceae) อ่ะนะ..มันจะอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วน Colon น่ะครับ (ลำไส้ใหญ่คนเรามี colon อยู่ 4 ส่วนนะครับ)
...ส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ความสำคัญต่อร่างกานนั้น..เท่าที่ทราบตอนนี้คือมันช่วยในการสังเคราะห์วิตามิน B12 กับวิตามิน K น่ะครับ ซึงช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ในส่วนนี้อย่างมากเลยเพราะในสภาพปกติเนี่ย..ร่างกายเราต้องการวิตามินต่าง ๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ ซึ่งเจ้า E.coli นี้มันก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง (คนเราจึงหันไปสนใจวิตามินอื่น ๆ ไงครับ) ...แต่เดี๋ยวนี้ E.coli เค้ามักเอามาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากมาย โดยเฉพาะใน Lab ที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์, เกี่ยวกับ Biology molecular ก็ยังใช้ E.coli นี้อยู่นะครับ เพราะเราสามารถเหนี่ยวนำให้มันแบ่งเซลล์ได้ง่าย และเร็วกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ น่ะครับ...
...ส่วนในเรื่องของโทษที่เกิดขึ้นต่อร่างกายคนเรานี่ก็ เท่าที่ทราบคือ บางสายพันธุ์นะครับมันจะทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ...และบางชนิดก็ยังทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วยนะครับ... ส่วนในเรื่องกลไกที่ทำให้เกิดได้อย่างไรนี่ ผมเองก็ยังไม่ทราบในรายละเอียด คงต้องหาอ่านเพิ่มเติมน่ะครับ
http://www.vcharkarn.com/vcafe/37846 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 03/06/2011 7:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล รู้จักและป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
โดย เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
ถึงวันนี้ยังมีการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ในประเทศเยอรมนีจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 16 คน การแพร่ระบาดของเชื้อนี้ยังกระจายต่อไปในกลุ่มประเทศยุโรปยังน่าวิตก ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่า 1,500 รายใน 9 ประเทศ ขณะที่เยอรมนีซึ่งเป็นต้นตอ ยังหาแหล่งที่มาของเชื้อไม่พบ ในถึงวันนี้ยังป้องกันทำได้ค่อนข้างยาก
เราจะมาเล่าให้ฟังถึงเชื้อตัวนี้อย่างละเอียด เพื่อจะได้รุ้จักและป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อรุนแรงต่อไปครับ
โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อ
ที่เราตรวจพบในบ้านเราอาการท้องร่วงมักจะเกิดจากจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อวิบริโอ คอเลรี่ (Vibrio cholerae) ไทฟอยด์ เกิดจาก ซาลโมเนลลา ไทโฟซา (Salmonella typhosa) และอาการโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากเชื้อ อี.โคไล (E.coli) ที่เรากำลังวิตกกันอยู่
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล รู้จักเขาหน่อย
ตามปกติแล้ว อี.โคไล เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์เราเองนี่แหละ เชื้อนี้จะถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ เขาไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป เพราะความจริงแล้วเจ้าเชื้อนี้ในขณะที่อยู่ในร่างกายเราจะช่วยทำประโยชน์เยอะ ตัวอย่างเช่นการนำกากอาหารที่ร่างกายเราเองไม่ต้องการใช้แล้วมาเปลี่ยนให้เป็นวิตามินหลายชนิด รวมไปถึงยังทำหน้าที่เป็นทหารยามช่วยขัดขวางการเจริญของแบคทีเรียตัวร้ายอื่นๆ ป้องกันเราเองไม่ให้เกิดโรคบางชนิดอีกด้วย เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ประเภทร้าย
เชื้ออีโคไลนี้มันเป็นเชื้อแบคทีเรียมีหลายร้อยสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงเท่าใดนัก อย่างเช่นสายพันธุ์ที่เป็นจุลชีพทหารยามอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้เราที่กล่าวมา โดยไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด แต่มันก้อมีสายพันธุ์จิ้กโก๋อย่างเช่นเชื้ออีโคไล O157:H7 ที่มีความสามารถในการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษ ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ประเภทร้ายมาแวะเยี่ยมเราหลายครั้งแล้ว
แต่ก้อยังมีอี.โคไล หลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกันตามที่กล่าวมา ตัวอย่างที่กำลังโด่งดังก้อคือเจ้า อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) นี่แหละ ที่ผ่านมาโลกเรามีการระบาดของเขามาหลายครั้งแล้ว ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแพร่ระบาดของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในรัฐมิชิแกนและรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา โดยพบเชื้อปนเปื้อนมากับเนื้อสัตว์ที่ใช้ทำแฮมเบอร์เกอร์ จนต้องมีการเก็บแฮมเบอร์เกอร์เหล่านี้กลับคืนมาเพื่อทำลายทิ้ง การระบาดครั้งนี้ทำให้มีผู้ป่วยหลายราย ต่อมาได้มีการพบ การแพร่ระบาดในบ้านพักคนชราของเมืองออนตาริโอ ประเทศคานาดา โดยพบเชื้อปนเปื้อนมากับอาหารพวกแซนด์วิช ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีผู้เสียชีวิต 19 ราย ในเดือนมีนาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2539 ได้พบการแพร่ระบาด ของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในญี่ปุ่นทำให้มีผู้ป่วย มากกว่า 1,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 11 ราย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2540 ได้มีการแพร่ระบาดของ อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) ในฮ่องกง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฮ่องกง ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อนี้ในเนื้อวัวที่จำหน่าย ในซุปเปอร์มาเก็ตจากการสอบสวนทางระบาดวิทยาพบว่า อี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) มีปะปนมากับวัว ที่ส่งมาจากประเทศจีนและเมื่อนำวัวดังกล่าว มาฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์ในฮ่องกง โดยมิได้ระมัดระวัง ในด้านสุขอนามัยเท่าที่ควรจึงทำให้เชื้อไม่ถูกทำลายทั้งหมด เป็นผลให้มีปนเปื้อนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่นำไปจำหน่าย กระทรวงสาธารณสุขฮ่องกงจึงได้มีประกาศเตือนประชาชน ให้นำเนื้อวัวไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส หรือ 167 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำลายเชื้อนี้ได้ อย่างไรก็ตามได้เคยมีการแพร่ระบาด ของเนื้อนี้ในฮ่องกงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2537
การระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ในประเทศเยอรมนี ติดเชื้อมากว่า 1,000 และมีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 16 คน
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล การติดเชื้อและอาการ
หากเราต้องไปผจญกับเชื้อตัวร้ายหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น อย่างเจ้าอี.โคไล โอ-157 (E.coli O-157) มันจะแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมรอบกายเรา หากเข้าสู่ร่างกายได้โดยการปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำ แล้วเราเผลอไปสัมผัสหรือกินเข้าไปโดยตรง เชื้อนี้จะใช้เวลาฟักตัวในร่างกายเรา 1-8 วัน ตัวเขาเองไม่มีปัญหา แต่ระหว่างนี้มันจะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงตามมา ในบางรายอาการอาจไม่รุนแรงมากและหายได้ภายใน 7-10 วัน แต่น้อยรายที่จะถ่ายอุจจาระปกติ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อนี้มักจะไม่มีไข้ แต่ผู้ป่วยจะปวดท้องมาก ถึงขั้นปวดบิดได้
ที่น่ากลัวคือมีการเสียชีวิตจากเชื้อนี้ เนื่องจากสารพิษของเชื้อ จะทำลายเม็ดเลือดแดง จึงเกิดภาวะไตวายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันพร่องไปหรือยังไม่สมบูรณ์เช่นเด็กอ่อนหรือผู้สูงอายุ หากมีอาการรุนแรง จะมีอุจจาระร่วงบ่อยครั้ง ปวดท้อง ท้องเสียมีเลือดปน ในเด็กอ่อนอายุน้อยกว่า 5 ปีหรือในผู้สูงอายุ มักจะเกิดโรคแทรกซ้อน เม็ดเลือดแดงถูกทำลายและทำให้ไตวาย เรียกชื่อว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (hemolytic uremic syndrome) ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเกร็ดเลือดถูกทำลาย จึงมีอาการเสียชีวิตได้ง่าย อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ป้องกันอย่างไร
โลกเราเดี๋ยวนี้แคบมาก ทำให้การป้องกันทำได้ค่อนข้างยาก เพราะการคมนาคมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การแพร่ระบาดของโรคจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง จึงรวดเร็วตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะช่วยป้องกัน มิให้ติดเชื้อที่ดีที่สุดก็คือ จะต้องสร้างสุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เริ่มต้นด้วย กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด หรือดื่มน้ำที่ผ่านการต้มแล้ว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร
หากคุณชอบดื่มนมนั้น ควรดื่มนมที่ผ่านขบวนการ ฆ่าเชื้อมาแล้ว เช่น นมปาสเจอไรซ์ นมสเตอริไรซ์หรือนมยูเอชที เป็นต้น ทั้งนี้เพราะ อี.โคไล ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน โดยถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิน้ำเดือดหรือ 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 15 นาที จึงทำให้อาหารที่ผ่านความร้อน มีความปลอดภัยต่อการบริโภคมาก
ในผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอุจจาระร่วงนั้น หากอาการไม่รุนแรงนักก็ให้รับประทานน้ำดื่มเกลือแร่ (electrotytes) เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลา ก็ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาพยาบาลต่อไปครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มิย. 2554
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/02/entry-1
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/06/2011 4:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 03/06/2011 7:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง มาตรการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ Escherichia coli (E.coli) และ Salmonella ในผักสดก่อนการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ด้วยประเทศนอร์เวย์ห้ามนำเข้าผักสดของไทยเป็นการชั่วคราว ๘ ชนิด คือ ผักชีไทย ผักชีฝรั่งใบกะเพรา ใบโหระพา ผักแขยง ใบสะระแหน่ ผักแพรว และต้นหอมจากประเทศไทยเนื่องจากตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ Escherichia coli (E. coli) และ Salmonella ที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหลายประเทศก็ตรวจพบเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกผักสดของไทยในตลาดยุโรปได้
กรมวิชาการเกษตรจึงเห็นสมควรที่จะกำหนดขั้นตอนการส่งออกผักสดทั้ง ๘ ชนิด ไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนี้
๑. ให้สินค้าผักสด ๒๓ ชนิด คือ ผักชีไทย ผักชีฝรั่ง ใบกระเพรา ใบโหระพา ผักแขยง ใบสะระแหน่ ผักแพรว ต้นหอม ผักคื่นไช่ ใบกุยไช่ ดอกกุยไช่ ชะอม ตะไคร้ ผักบุ้ง ผักแว่น ผักกระเฉด ใบบัวบก ใบชะพลู ผักโขมแดง ถั่วฝักยาว หน่อไม้ฝรั่ง พริกขี้หนู และผักปลัง ที่จะส่งออกไปยังประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ Escherichia coli (E.coli) และ Salmonella และต้องมีหนังสือรับรองของกรมวิชาการเกษตรก่อนการส่งออก โดยให้ยื่นคำขอและแจ้งสุ่มตัวอย่าง ณ สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
๒. กรณีที่ผู้ส่งออกไม่มีเอกสารใบรับรองปลอดเชื้อจุลินทรีย์มาแสดง ณ จุดส่งออก เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ณ จุดส่งออก จะทำการตรวจสอบในสินค้าผักสดที่จะส่งออกทั้งหมด ก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชกำกับให้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
http://www.lawyersthai.com/index.php?topic=7485.0
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/06/2011 4:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 03/06/2011 8:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การทำเจลล้างมือเพื่อยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli ด้วยสารสกัดจากสมุนไพร
A study of gel to wash your hands to prevent infection with Escherichia coli extracts from herbs
ที่มาและความสำคัญ
โรคท้องเสีย เกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย และถ้ายิ่งเกิดกับเด็กอายุน้อยๆ ยิ่งมีความรุนแรงมากอาจถึงชีวิตได้ โรคท้องเสียเกิดมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ การติดเชื้อบิดมีตัว ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด และสาเหตุสำคัญคือแบคทีเรีย E.coli ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ อีกทั้งยังพบในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ พืช อากาศ และดิน เมื่อเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนมากับอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
เนื่องด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงคิดหาสมุนไพร ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย E.coli โดยเลือกจากเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียได้ ในที่มีนี้คณะเลือก ใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่า มาสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% และสกัดด้วยน้ำร้อนเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และนำสารสกัดที่ได้มายับยั้งแบคทีเรีย E.coli เพื่อหาสารสกัดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาแบคทีเรีย E.coli
เพื่อศึกษาการยับยั้งแบคทีเรีย E.coli ด้วยสมุนไพร
เพื่อศึกษาการทำเจลล้างมือจากสารสกัดสมุนไพร
ตัวแปรต้น
สมุนไพร : ใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชันและข่า
วิธีสกัด : สกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% สกัดด้วยน้ำร้อนตัวแปรตามการเกิดพื้นที่เคลียโซนของสารสกัดจากสมุนไพรแต่ละชนิดตัวแปรควบคุมเวลาในการบ่มเชื้อ ปริมาณสมุนไพร ปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ ปริมาณน้ำร้อน
สมมติฐาน
สารสกัดจากสมุนไพรคือใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่าด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% และน้ำร้อนสามารถยับยั้งแบคทีเรีย E.coliได้แตกต่างกัน
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 : การเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย
นำ Beef extract 3 กรัม Peptone 5 กรัม Agar 15 กรัม ผสมน้ำกลั่น 1 ลิตร นำไปนิ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน อ 121 องศา ซี. นาน 15 นาที ทิ้งให้เย็นประมาน 50 องศา ซี. เทอาหารลงบนเพลตที่เตรียมไว้ นำเชื้อบริสุทธิ์มา ขีดลงบนเพลตที่มีอาหารอยู่ ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่เจริญบนเพลต มาใส่ในอาหารเหลว (นำ Beef extract 3 กรัม Peptone 5 กรัม ผสมน้ำกลั่น 1 ลิตร นำไปนิ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน อ 121 องศา ซี. นาน 15 นาที ทิ้งให้เย็นประมาน 50 องศา ซี.) ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่ได้จากอาหารเหลวมาสตรีก เพื่อรอทดสอบต่อไป
ส่วนที่ 2 : การสกัดสาร
นำสมุนไพร 20 กรัม มาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปสกัดโดยการผ่านเอทิลแอลกอฮอล์ 95% 30 cm 3 และ น้ำร้อน 30 cm 3 หลังจากนั้นจัดเก็บสาร
ตอนที่ 3 : นำเชื้อในอาหารเหลวมาสตรีกลงบนเพลตอาหาร จากนั้นหยดสารสกัดสมุนไพร 40 มิลลิตรลงบนดิท และนำมาวางไว้ในเพลตที่มีเชื้อที่สตรีกไว้ หลังจากนั้นดูพื้นที่เคลียร์โซน และบันทึกผลการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้โดยการหยดสารสกัดสมุนไพร 40 มิลลิตรลงบนดิท และนำมาวางไว้ในเพลตที่มีเชื้อที่สตรีกไว้ หลังจากนั้นดูพื้นที่เคลียร์โซน และบันทึกผลการทดลอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
พื้นที่เคลียโซน คือ พื้นที่ที่สารสกัดสามารถไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย E.coli ได้
ขอบเขตการศึกษา
ทำการศึกษาหาสมุนไพรทีสามารถยับยั้งแบคทีเรีย E.coli และผลิตเป็นเจลล้างมือ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้รับความรู้เกียวกับเชื้อแบคทีเรีย E.coli
สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย E.coli ได้
สามารถป้องการระบาดของโรคท้องร่วงได้
การทำเจลล้างมือเปนการป้องการระบาดของโรคท้องร่วงทางอ้อม
เป็นแนวทางในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
เป็นแนวทางให้มีการศึกษาวิจัยและปรับรุงและยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E.coliประสิทธิภาพดีขึ้นในอนาคต
http://momo-g3.blogspot.com/2010/09/escherichia-coli.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 03/06/2011 8:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การควบคุมการปนเปื้อน จุลินทรีย์ในผักและผลไม้
นภาพร เชี่ยวชาญ *
ผักและผลไม้เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีการเสื่อมเสียได้ง่าย การผลิตในระดับอุตสาหกรรมจึงต้องมีการควบคุมที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ GAP (Good Agricultural Practice มาใช้ด้วย) จนกระทั่งผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีความต้องการในการบริโภคผักและผลไม้สดพร้อมบริโภคสูงขึ้น เช่น ผักสลัด ผลไม้บรรจุถาดพร้อมรับประทาน ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงต้องผ่านวิธีการที่ทำให้มั่นใจว่าผักและผลไม้นั้นสะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภค จากรายงานการเกิดการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการบริโภคผักผลไม้ พบว่ามีสาเหตุมาจากผักเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักสลัด ซึ่งมักเป็นผักสดที่ต้องผ่านการจับต้องจากผู้ประกอบอาหาร ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยเป็นอย่างยิ่ง แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษและมักพบว่าปนเปื้อนมากับผักผลไม้พร้อมบริโภค คือ Escherichia coli O157:H7, Listeria monocytogenes, Shigella, Salmonella และไวรัสตับอักเสบเอ (Singh และคณะ, 2002) บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุของการปนเปื้อนในผักและผลไม้ตั้งแต่แหล่งเพาะปลูกจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังแสดงในตารางที่ 1 การทราบสาเหตุจะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการปนเปื้อนในระหว่างการปฏิบัติงานได้ ซึ่งสามารถกล่าวได้โดยละเอียดดังต่อไปนี้
* ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
นอกจากผักผลไม้จะมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีแล้ว ยังมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยอาจมาจากดิน น้ำ หรือปุ๋ย (Brackett, 2000) ชนิดของแบคทีเรียที่มักพบในดินและทำให้เกิดโรค คือ Bacillus, Clostridium และ Listeria โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่สามารถสร้าง สปอร์ที่ทนต่อความร้อน เช่น Clostridium botulinum และ Clostridium perfringens บริเวณพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มักมีจุลินทรีย์
ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปะปนออกมากับสิ่งขับถ่ายของสัตว์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกบำรุงพืชอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่อาหาร เช่น มีการตรวจพบแบคทีเรีย Salmonella typhimurium และ Escherichia coli O157:H7 ที่ใบและรากของผักที่ปลูกโดยการใช้ปุ๋ยคอก (Natvig และคณะ, 2002)
นอกจากนี้ยังพบว่า Salmonella, Escherichia coli O157:H7 และ Listeria monocytogenes สามารถรอดชีวิตอยู่ในปุ๋ยคอกได้เป็นระยะเวลานาน (Tauxe, 1997 ; Brackett, 1999)
ผักผลไม้ต่างชนิดกันจะมีจำนวนและชนิดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนต่างกัน จำนวนจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนเริ่มต้นจะบ่งถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยหากมีจุลินทรีย์เริ่มต้นปนเปื้อนในวัตถุดิบมากจะทำให้ผักผลไม้มีคุณภาพที่ด้อยลงและมีอายุการเก็บที่สั้นกว่าปกติ (Zagory, 1999)
พืชหัวซึ่งมีลำต้นและรากใต้ดิน หรือพืชผักขนาดเล็กที่มีลำต้นเตี้ยและใบอยู่ใกล้พื้นดิน มักพบการปนเปื้อนค่อนข้างสูง อัตราการปนเปื้อนจะสูงขึ้นในฤดูฝน เนื่องจากเมื่อฝนตกเศษดินอาจกระเด็นมาติดตามใบและลำต้นพืช นอกจากนี้การที่เซลล์พืชถูกทำงายจากแมลงหรือนก ทำให้จุลินทรีย์เข้าทำลายเซลล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
กระบวนการผลิตขั้นต้น
การใช้น้ำในการล้างและกำจัดสิ่งสกปรกที่ผิวผักและผลไม้จะช่วยยืดอายุการเก็บ เพราะช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ผิว การเติมสารฆ่าเชื้อลงในน้ำล้างจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์ที่ผิวเพิ่มขึ้นประมาณ 100 เท่า (Burnett และ Beuchat, 2001) การฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นกับกลไกในการทำลายจุลินทรีย์ของสารนั้นๆ ชนิดจุลินทรีย์ ชนิดของผักผลไม้ และบริเวณที่จุลินทรีย์ยึดเกาะ เช่น บริเวณขั้วของผลไม้หรือบริเวณที่เป็นร่องลึก อย่างเช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถล้างทำความสะอาดได้ยากกว่าบริเวณที่เป็นผิวเรียบ
โดยทั่วไปนิยมใช้คลอรีนในการล้างผักและผลไม้ โดยใช้ในรูปของสารละลายไฮโปคลอไรด์ ปริมาณ 50-200 ppm (Active chlorine) อย่างไรก็ตามไม่ควรนำน้ำที่ใช้ในการล้างผักและผลไม้กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพราะจะทำให้มีการสะสมของจำนวนจุลินทรีย์มากขึ้น และเป็นการเพิ่มการปนเปื้อนให้กับตัววัตถุดิบ (Hulland, 1980) สารอินทรีย์ที่สะสมในน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของคลอรีนลดลง
นอกจากนี้จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความต้านทานต่อคลอรีนลดลง นอกจานี้จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความต้านทานต่อคลอรีนที่แตกต่างกัน Listeria monocytogenes มีความต้านทานต่อคลอรีนมากกว่า Salmonella และ E. coli O157:H7 (Burnett และ Beuchat, 2001) ส่วนสปอร์ของแบคทีเรียมีความต้านทานต่อคลอรีนสูงกว่าเซลล์ปกติ การเพิ่มปริมาณคลอรีนในน้ำล้างที่นำกลับมาใช้ จึงไม่มีประโยชน์ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย สำหรับผลไม้ การล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อร่วมกับการขัดถู หรือการแช่ในน้ำร้อน อาจช่วยลดจุลินทรีย์ที่ผิวลงได้
ตารางที่ 1 : แนวโน้มการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในผักและผลไม้ระหว่างกระบวนการผลิต
ขั้นตอน แหล่งของการปนเปื้อน
การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว เช่น การปลูก การเก็บและการมัดแบ่งเป็นกำ น้ำ มูลสัตว์ การขาดสุขลักษณะที่ดีในการจัดการ
กระบวนการผลิตขั้นต้น เช่น การล้าง การเคลือบไข การคัด การบรรจุกล่องหรือลังพลาสติก น้ำล้าง การจับต้องของพนักงานและภาชนะ
กระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย เช่น การหั่น การคั้นน้ำ การปอก น้ำล้าง การจับต้องของพนักงาน การปนเปื้อนข้าม
การขนส่ง เช่น การขนส่งโดยใช้รถบรรทุก รถบรรทุกไม่สะอาด น้ำแข็งที่ใช้
ที่มา : จาก Tauxe (1997)
นอกจากสารประกอบคลอรีนแล้ว ยังมีสารอีกหลายชนิดที่นิยมนำมาใช้กับผักและผลไม้ เช่น คลอรีนไดออกไซด์ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหรือแอมโนเนียเกิดเป็นคลอรามีนซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษ Food and Drug Administration แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) อนุญาตให้ใช้คลอรีนไดออกไซด์ในการล้างผักและผลไม้ (Singh และคณะ, 2002)
นอกจากนี้ยังมีการใช้โอโซนซึ่งได้รับการรับรองแล้วว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้กับอาหาร (Generally Recognized as Safe- GRAS) เพื่อล้างผักและผลไม้ (Xu, 1999) โดยโอโซนสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ หลากชนิดกว่าคลอรีน
ผักประเภทใบเป็นผักที่มีโอกาสในการปนเปื้อนสูงที่สุด เนื่องจากมีพื้นผิวสัมผัสมากทำให้ง่ายต่อการยึดเกาะของจุลินทรีย์ (NACMCF, 1999) ถึงแม้ว่าการตัดแต่งส่วนที่เน่าเสียออกก่อนการล้างจะช่วยกำจัดจุลินทรีย์ออกบางส่วนก็ตาม แต่การตัดแต่งอาจทำให้เนื้อเยื่อพืชฉีกขาดทำให้จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำหรือสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น
ผักและผลไม้บางชนิดไม่สามารถทำความสะอาดโดยวิธีการล้างเนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างซ้ำได้ง่าย เช่น สตรอเบอร์รี่และพริกหวาน (Green pepper) จึงอาจใช้การฉายรังสีที่ความเข้มต่ำ (Low dose ionizing radiation) (NACMCF, 1999) ทนแทน เพื่อยึดอายุการเก็บ
กระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผักผลไม้มักพบการปนเปื้อนที่ผิวโดยอาจเนื่องมาจากเซลล์อาจเกิดความเสียหายตั้งแต่แปลงเพาะปลูกจากการเข้าทำลายของแมลง นก หรือจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการเก็บเกี่ยว เมื่อผักผลไม้เข้าสู่กระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิตก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น การปอกผิว การหั่นเป็นชิ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้เซลล์พืชสูญเสียความแข็งแรง สารอาหารภายในเซลล์จึงออกมาภายนอก ทำให้ จุลินทรีย์ที่ผิวพืชสามารถนำไปใช้เพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวน หากกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ไม่หมดในระหว่างกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหาร และผู้บริโภครับประทานเข้าไปจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโรคอาหารเป็นพิษในที่สุด
สำหรับผลไม้ ผลไม้ส่วนมากมีความเป็นกรดสูงจึงช่วยในการจำกัดการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามยังมีการตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอยู่ที่บริเวณผิว รอยช้ำหรือรอยแผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือการเตรียม เช่น การผ่าหรือหั่น ทำให้เกิดการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ไปทั่วบริเวณเนื้อผล อย่างเช่น สตอรเบอร์รี่ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีเนื้อเยื่อบอบบาง ดังนั้น จึงมักไม่มีการฉีดล้างผลในระหว่างการปลูก การเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว จึงมักพบจุลินทรีย์ที่ผิวในปริมาณค่อนข้างสูง จากงานวิจัยพบว่า E. coli O157:H7 สามารถเจริญบนผิวสตรอเบอร์รี่ที่เก็บที่อุณหภูมิ 10, 5 และ 20 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลานาน 3 วัน และที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (Yu และคณะ, 2001)
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าแบคทีเรียที่มีความต้านทานต่อความเป็นกรดสูง จะสามารถรอดชีวิตได้ดีกว่าหรือพอๆ กับแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่ผิวผลไม้ เนื่องจากภายในเนื้อผลไม้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญอย่างเพียงพอ ในขณะที่การเจริญที่ผิวถูกจำกัดโดยปริมาณสารอาหาร ความชื้นที่ต่ำ และการแย่งสารอาหารกัน เนื่องจากมีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ผิว
การขนส่ง
การขนส่งผักผลไม้ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน จะต้องมีการขนส่งที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะทำการขนส่งโดยรถที่ควบคุมอุณหภูมิและมีการหมุนเวียนอากาศดี ดังนั้น การจัดเรียงภาชนะบรรจุ ผักผลไม้จะต้องออกแบบให้เอื้อต่อการกระจายลมเย็น นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีการคายความร้อนจากการหายใจ และรถยังมีการดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาระการทำงานของระบบทำเย็นหนักยิ่งขึ้น หากภายในตู้คอนเทนเนอร์มีการระบายอากาศที่ไม่ดี จะเป็นสาเหตุทำให้ผักผลไม้เสื่อมคุณภาพและเน่าเสียเร็วยิ่งขึ้น (Brackett, 1999)
สรุป
การควบคุมการผลิตที่ดีที่สุด คือ การควบคุมกระบวนการเพาะปลูก และการป้องกันพืชจากแหล่งที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และควรเริ่มต้นทันทีเมื่อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตขั้นต้นที่ดีจึงขึ้นกับวิธีการทำความสะอาดวัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อลดการปนเปื้อนที่ผิวให้ได้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้รวมถึง การตรวจสอบวัตถุดิบ การคัดเลือกเอาส่วนเสียออก จนกระทั่งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะบรรจุวัตถุดิบเพื่อการขนส่ง ลงสู่ภาชนะบรรจุที่สะอาด นอกจากนี้ยังต้องควบคุมในเรื่องของความสะอาด และการปฏิบัติในระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง รวมไปถึงร้านค้าที่จำหน่าย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ยังคงคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับการบริโภค
http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=13 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 04/06/2011 6:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เผย "อี.โคไล" ตัวใหม่ ทนยาปฏิชีวนะได้
นักวิทยาศาสตร์ระบุ อีโคไลตัวใหม่นอกจากจะผลิตสารพิษร้ายแรงได้ ยังสามารถฝังตัวในลำไส้ผู้ป่วย ซ้ำร้ายทนทานยาปฏิชีวนะได้สูง คาดใช้เวลานับเดือนกว่าจะหาทางแก้ได้
องค์การอนามัยโลกระบุว่า แบคทีเรียอีโคไลที่กำลังระบาดคร่าผู้ติดเชื้อชาวยุโรป 17 ราย และทำให้ล้มป่วยอีก 1,624 ราย เป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าแหล่งที่มาของโรคน่าจะอยู่ในเยอรมนีเอง
โดยปกติแบคทีเรีย "เอสเคอริเคียโคไล" หรือ อีโคไล ไม่มีอันตราย แต่สายพันธุ์ใหม่ที่สังหารผู้ได้รับเชื้อในยุโรปนั้น มีชื่อสายพันธุ์ว่า "0104:H4" และจัดอยู่ในสายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารพิษชิกะท็อกซิน
อีโคไลสายพันธุ์นี้สามารถฝังตัวเองในลำไส้ใหญ่แล้วผลิตสารพิษออกมาสู่ร่างกายเหยื่อ ทำให้มีอาการคลื่นไส้และท้องร่วง ไปจนถึงมีอาการ "เม็ดเลือดแดงแตก-ไตวาย" (เอชยูเอส) ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต
ดร. โรเบิร์ต ต็อกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านอาหาร แห่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ ระบุว่า ขณะนี้ในเยอรมนีมีผู้ป่วยอาการเอชยูเอสทั้งหมด 470 รายแล้ว นับว่ามีจำนวนเป็น 10 เท่า ของการแพร่ระบาดเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใกล้เคียงกันในสหรัฐปี 2537
สถาบันพันธุกรรมวิทยากรุงปักกิ่ง ซึ่งจัดวางรหัสพันธุกรรมของเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ชี้แจงว่า อีโคไลสายพันธุ์ใหม่นี้มีความทนทานต่อยาปฏิชีวนะ ดร.ต็อกซ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เหตุใดเชื้อสายพันธุ์จึงมีภูมิต้านทานยาสูง และแนะนำว่าไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ป่วย เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยามาขึ้น
การแพร่ระบาดของเชื้อโรคยังส่งผลต่อการค้าและทำให้เกิดความขัดแย้งในทวีปยุโรป ด้านรัสเซียได้สั่งแบนสินค้าพืชผักที่นำเข้าจากยุโรป ส่งผลให้สหภาพยุโรปวิจารณ์ท่าทีดังกล่าวและเรียกร้องให้ยกเลิกการแบนสินค้าโดยทันที
ส่วนเยอรมนี ออกมาขอโทษสเปนหลังก่อนหน้านี้กล่าวหาว่าผักนำเข้าจากสเปนเป็นต้นเหตุการระบาด แต่ผลการพิสูจน์พบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน.
http://www.thaipost.net/news/040611/39622
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 5:46 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 08/06/2011 7:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ
การควบคุมโรคพืชมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่เกษตรกรชอบใช้ คือ การใช้สารเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่มีข้อเสียหลายอย่าง คือ สารเคมีที่ใช้อาจเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงยังอาจเป็นอันตรายต่อแมลงและจุลินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้สารเคมียังสามารถสะสมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในปัจจุบันจึงหันมาใช้การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ คือ การใช้สิ่งมีชีวิตหรือเชื้อจุลินทรีย์มายับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่อพืช เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้เรียกว่า เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ มีกลไกการยับยั้งหรือควบคุมเชื้อที่เป็น
สาเหตุของโรคพืชอยู่ 4 รูปแบบ คือ
1. การทำลายชีวิต (antibiosis) เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีความสามารถผลิตสารปฏิชีวนะที่สามารถทำลายเชื้อโรค
2. การแข่งขัน (competition) เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีความสามารถในการเจริญเติบโตแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตทำลายพืช
3. การเป็นปรสิต (parasitism) เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีความสามารถในการเข้าไปเจริญอาศัยในเชื้อโรคพืช แล้วคอยดูดกินอาหาร ทำให้เชื้อโรคพืชอ่อนแอและตายในที่สุด
4. การชักนำให้ต้านทานต่อโรค (induced host resistance) เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีความสามารถกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
การนำเชื้อปฏิปักษ์ไปใช้ควบคุมโรคพืชมีหลายวิธี โดยการใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคที่จะเกิดขึ้นบริเวณผิวรากจะมีวิธีการใช้เชื้อปฏิปักษ์ที่แตกต่างจากการใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคที่จะเกิดขึ้นบริเวณผิวพืชที่อยู่เหนือดิน
การใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคพืชบริเวณผิวราก มีวิธีการดังนี้
1. การคลุกเมล็ดพืชที่ใช้เพาะปลูกกับเชื้อปฏิปักษ์
2. การราดเชื้อปฏิปักษ์ที่ละลายในน้ำจำนวนมากลงดิน เพื่อให้เชื้อปฏิปักษ์ไปสัมผัสกับรากของพืช
3. การคลุกผสมเชื้อปฏิปักษ์กับดินเพื่อให้เชื้อปฏิปักษ์ลงไปสัมผัสกับรากของพืช
4. การนำรากไปจุ่มในสารละลายเชื้อปฏิปักษ์ จะทำให้เชื้อปฏิปักษ์สัมผัสกับรากของพืชได้อย่างทั่วถึง
การใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคพืชบริเวณผิวพืชที่อยู่เหนือดินมีวิธีการดังนี้
1. การทาเชื้อปฏิปักษ์ตรงบริเวณแผลที่ส่วนของลำต้นและกิ่งก้านของพืช
2. การพ่นเชื้อปฏิปักษ์ที่ทำเป็นสารแขวนลอยให้ทั่วต้นพืชซึ่งมีหลักการปฏิบัติเหมือนการพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดโรคพืช
ที่มา :
นิพนธ์ ทวีชัย. (2553). โรคพืชและการจัดการด้วยวิธีชีวภาพ. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 35, หน้า 129-159). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/3106-biocontrol
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 5:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 08/06/2011 8:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผลของสารสกัดจากพืชที่มีแทนนินสูง
ยับยั้งการเจริญเติบโตขิงเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสีย
ชื่อผู้ทำโครงงาน นายวรพจน์ จันทร์แสนตอ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ขรจศักดิ์ ตระกลูพัว
สถาบันการศึกษา โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ระดับชั้น มัธยมปลาย
หมวดวิชา ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน 1/1/2541
บทคัดย่อ
สารแทนนินเป็นสารพบมากในพืชที่มีรสฝาด มีฤทธิ์ในการบรรเทาท้องเสีย และป้องกันการทำลายของเชื้อรา หรือแบคทีเรียบางชนิด ทางผู้จัดทำจึงได้นำสารสกัดหยาบจากพืชทีมีแทนนินสูง มีใช้ในการยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสีย
การทดลองตอนที่ 1
เป็นการวิเคราะห์ปริมาณสารแทนนินโดยวิธีการตกตะกอนโปรตีน ซึ่งมีการวิเคราะห์ใน ใบฝรั่ง เปลือกมังคุด ชาเขียว ใบพลู กระถิน เปลือกกล้วยน้ำว้า และเนื้อกล้วยน้ำว้า ผลที่ได้ปรากฏว่า ใบฝรั่งและเปลือกมังคุด มีปริมาณแทนนินอยู่มากกว่าในพืชสมุนไพรชนิดอื่น ทางผู้จัดทำจึงเลือกเอาใบฝรั่งและเปลือกมังคุดมาศึกษา
การทดลองตอนที่ 2
เป็นการสกัดสารจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุด การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus , pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ผลปรากฏว่าทั้งสารสกัดจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุดสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ได้
การทดลองตอนที่ 3
เป็นการประยุกต์เอาเนื้อหมูมาแช่ในสารสกัดจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุด เป็นเวลา 20 นาที ปรากฏว่าหลังแช่ สีของเนื้อหมูที่แช่ในสารสกัดจากเปลือกมังคุดดูคล้ายเนื้อหมูตามท้องตลาดมากที่สุด และเมื่อนำเนื้อหมูที่แช่จากสารสกัดมาตั้งทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าเชื้อในเนื้อหมูที่แช่ด้วยสารสกัดเปลือกมังคุดมีปริมาณน้อยกว่าเชื้อในเนื้อหมูที่แช่ด้วยสารสกัดจากใบฝรั่ง
ทางผู้จัดทำจึงได้คัดเลือกสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาต่อในการทดลองตอนที่ 4 ซึ่งเป็นการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาทดสอบหาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่มีความเข้มข้น 1:2 และ 1:4 ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์
จากผลการทดลองข้างต้นดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าสารสกัดจาก เปลือกมังคุดสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารยืดอายุอาหารในเนื้อหมูได้อีกในอนาคต
http://www.vcharkarn.com/project/view/86 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 09/06/2011 9:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารสกัดจากมะเขือพวงในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella typhimurium
บทคัดย่อ
มะเขือพวง (plate brush; Solanum torvum Sw.) นอกจากจะใช้ในการประกอบอาหารเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสในอาหารไทยแล้ว ยังถูกนามาใช้รักษาโรค แต่ยังไม่มีรายงานการนำมาใช้ในการควบคุมโรคท้องร่วง
งานวิจัยนี้ศึกษาการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่พบบ่อยในอาหาร โดยใช้มะเขือพวงที่เก็บเกี่ยวจากแหล่งเดียวกัน คือ แปลงเกษตรกรในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยนำตัวอย่างแห้งและสดของมะเขือพวงมาสกัดในเอธานอล (95%) นาน 48 ชั่งโมง
จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาทดสอบการยับยั้งแบคทีเรีย 3 ชนิด คือ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella typhimurium บนอาหาร เลี้ยงด้วยวิธี agar diffusion พบว่า มะเขือพวงที่สกัดจากตัวอย่างสดและแห้ง สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่นำมาทดสอบได้ใกล้เคียงกันทั้ง 3 ชนิด
ดังนั้น มะเขือพวงที่สกัดจากตัวอย่างแห้งและสด จึงมีศักยภาพใน นำมาประยุกต์ใช้ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคน แต่สารสกัดหยาบจากมะเขือพวงแห้งมีประสิทธิภาพดีกว่า
http://www.crdc.kmutt.ac.th/document/download/agr/agr4/573-576.pdf |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 09/06/2011 9:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรเพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร
The Extraction of Medicinal Herbs for Inhibit Food Pathogen
สุภาพร พงษ์มณี 1,2 และ กัญณาญาภัค สนามพล1
สมุนไพรพืชผักพื้นบ้านของไทยมีมากมายหลากหลายชนิด โดยมีการนำมารับประทาน ทั้งการรับประทานสดหรือเป็นองค์ประกอบในอาหาร มีการศึกษาการใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรค หรือการศึกษาการสกัดสมุนไพรต่างๆ ต่อการยับยั้งการ
เจริญของจุลินทรีย์ เพื่อใช้เป็นสารกันเสียในอาหารและเครื่องดื่ม (จารวี, 2547) อาทิ เช่น
กระเทียม กานพลู (Clove) อบเชย(Cinnamon) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ ยีสต์ และราได้
โดยมีรายงานว่า กระเทียมสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella typhymurium, Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Bacillus subtilis เชื้อรา mycotoxigenic Aspergillus ยีสต์ Candida albicans ได้
หัวหอมสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus, Aspergillus parasiticus ได้
ออริกาโนยับยั้งรา Mycotoxigenic Aspergillus แบคทีเรีย Salmonella spp. และ Vibrio parahaemolyticus ได้ เป็นต้น (Snyder, 1997)
สารสกัดบัวบกด้วยน้ำสามารถยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus aureus และ Salmonella Anatum ได้ (สิริลักษณ์, 2548)
Staphylococcus aureus และ Salmonella typhymurium เป็นแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ที่มักพบการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนม เนื้อสัตว์ และไข่ไก่ ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
http://www.crdc.kmutt.ac.th/document/download/agr/agr1/54-57.pdf |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 10/06/2011 4:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สเปน : ผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
สเปนนิยมเรียกการทำเกษตรอินทรีย์ว่า Ecological Agriculture หรือ Ecological Farming ซึ่งได้รับการบัญญัติทางกฎหมายตั้งแต่ปี 2532 ก่อนที่จะปรับมาอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยการเกษตรอินทรีย์ (EEC 2092/91) และกฎระเบียบเกี่ยวกับการผลิต การควบคุม และการติดฉลากผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (EC 834/2007-EC889/228-EC1235/2008) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
สเปนถือว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการทำการเพาะปลูก และปศุสัตว์แบบเกษตรอินทรีย์ องค์กรในแต่ละท้องถิ่นจะเป็นผู้กำกับดูแลและออกใบรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ผ่านคณะกรรมการการเกษตรสาธารณะที่ขึ่นอยู่กับองค์กรการเกษตรของแต่ละแคว้น
ผลิตภัณฑ์อินทรีย์นอกจากจะต้องแสดงตราสินค้าของตนเองแล้ว ยังต้องแสดงรหัสและชื่อขององค์กรที่รับรองด้วย รวมทั้งรหัส AE ของสหภาพยุโรปซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เพื่อให้ผู้บริโภคสังเกตเห็นได้ชัดเจน
กระทรวงการเกษตรของสเปนได้จัดสัมมนาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2548 เพื่อทำการส่งเสริมการผลิตอาหารอินทรีย์ โดยมีหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์การผลิต การส่งเสริมการบริโภคและการตลาดเชิงพาณิชย์ และแนะนำองค์กรที่สามารถให้ความช่วยเหลือการทำเกษตรอินทรีย์
การผลิต
สเปน ถือว่าเป็นประเทศในลำดับแรกๆของยุโรปที่เริ่มทำเกษตรอินทรีย์เนื่องจากมี สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม รวมทั้งโปรตุเกสและกรีซ แต่การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ในสเปนเองกลับมีไม่มากขณะที่อัตราการ บริโภคทั่วโลกมีการขยายตัวสูงในหลายปีที่ผ่านมา สเปนส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตที่ผลิตได้ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร
จากสถิติพบว่าการบริโภคอาหารอินทรีย์ภายในประเทศสเปนเองยังมีมูลค่าต่ำ มาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปและยังอยู่ในช่วงภาวะ เศรษฐกิจถดถอย แต่ในภาคการผลิตมีการขยายตัวร้อยละ 20 ต่อปี เมื่อปี 2552 คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกรวมประมาณ 1,602,870 เฮกแตร์ โดยมีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 27,627 ราย แบ่งเป็น เกษตรกร 25,291 ราย อุตสาหกรรม 2,465 ราย และ ผู้นำเข้า 93 ราย
พื้นที่เพาะปลูกการเกษตรอินทรีย์ พอจำแนกตามชนิดของพืชพันธุ์ได้ ดังนี้
- ธัญพืชและข้าว 183,458 เฮกแตร์
- พืชน้ำมัน 127,040 เฮกแตร์
- ผลไม้แห้ง 87,335 เฮกแตร์
- ไวน์ 53, 958 เฮกแตร์
- ผัก 7,535 เฮกแตร์
- ผลไม้และพืชตระกูลส้ม 5,100 เฮกแตร์
- พืชตระกูลถัว0 5,011 เฮกแตร์
แหล่งเพาะปลูกการเกษตรอินทรีย์ จำแนกตามแคว้นได้ ดังนี้
- Andalucia 866,799 เฮกแตร์
- Extremadura 115,018 เฮกแตร์
- Catalonia 71,734 เฮกแตร์
- Aragon 66,730 เฮกแตร์
- Murcia 60,742 เฮกแตร์
- Valencia Community 38,754 เฮกแตร์
- Asturias 14,019 เฮกแตร์
- Madrid 6,043 เฮกแตร์
- Cantabria 5,796 เฮกแตร์
สำหรับการทำปศุสัตว์อินทรีย์ มีผู้ประกอบการ 3,900 รายในปี 2552 โดยมากเป็น วัว สัตว์ปีก ผึ้ง แกะ หมู และ แพะ พื้นที่เพาะเลี้ยงส่วนมากอยู่ในแคว้น Andalucia ซึ0งมีผู้ประกอบการถึง 2,100 ราย ตามมาด้วยแคว้น Catalonia 390 ราย และ แคว้น Balearic 350 ราย
ช่องทางการจำหน่าย
สำหรับช่องทางการจำหน่าย จะเริ่มจากเกษตรกรทำการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตโดยตรง ก่อนจะส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปผ่านตลาดค้าปลีกและซุปเปอร์มาร์เก็ตไปสู่ผู้ บริโภค แต่ขณะนี้ ได้มีช่องทางการจำหน่ายใหม่เกิดขึ้น กล่าวคือ เกษตรกรจะจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเองโดยผ่านตัวกลางที่ทำหน้าที่จัดส่ง ให้เท่านั้น ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้ามีราคาต่ำลงและมีสภาพใหม่สด ส่วนในภาคการส่งออก ผู้ผลิตจะเป็นผู้ส่งออกเองหรือขายผลิตภัณฑ์ให้แก่อุตสาหกรรมการส่งออกอีกทอดหนึ่ง
การบริโภคภายในประเทศ
ผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ จะมีราคาจำหน่ายปลีกสู่ผู้บริโภคสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทัว0 ไปอยู่ประมาณร้อยละ 15-20 จึงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถซื้อมารับประทานได้เป็นประจำ ยกเว้นในกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป ทั้งนี้ กลุ่มผู้บริโภคหลัก คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัย 30 ถึง 50 ปี
โดยปกติมูลค่าการจำหน่ายสินค้าอาหารอินทรีย์ภายในประเทศตกประมาณปีละ 350-400 ล้านยูโร แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลกระทบต่อยอดขายกว่า ร้อยละ 50 อัตราบริโภคอาหารอินทรีย์โดยเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 10-15 ยูโรต่อปี ขณะที่อัตราการบริโภคเฉลียต่อหัวของยุโรปประมาณ 30 ยูโรต่อปี โดยชาวสวิสมีอัตราการบริโภคต่อหัวสูงที่สุด คือ 125 ยูโรต่อปี รองลงมาได้แก่ชาวเยอรมัน 105 ยูโรต่อปี
อุปสรรคในการขยายตลาด
1. ระบบช่องทางการจำหน่ายสำหรับการบริโภคที0ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุง
2. ผู้บริโภคยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของอาหารอินทรีย์เท่าที0ควร
3. ปัญหาภาวะเศรษฐกิจท0ไม่เอื4ออำนวยต่อสินค้าทางเลือกท0มีระดับราคาแพงกว่าสินค้าปกติ
ขอบคุณที่มา: http://www.depthai.go.th
ชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
http://www.oatthailand.org/index.php/public-relations/612-organic82 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|