-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ .............. Sombutt
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ .............. Sombutt

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 6:41 am    ชื่อกระทู้: จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ .............. Sombutt ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : Sombutt
ถึง : kimzagass

ตอบ : 05/06/2011 1:17 am
ชื่อกระทู้ : จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ


เนื้อที่นาประมาณ 4 ไร่ เป็นดินปนทราย ชลประทานปล่อยน้ำมาให้ ไถไว้แล้ว ...เมื่อทุกคนไถเสร็จ ชลประทานจะปิดน้ำ เมื่อจะทำเทือกพร้อมปลูก ชลประทานจึงจะปล่อยน้ำมาให้

นาผืนนี้เจ้าของเดิมเคยปลูกข้าวเหนียว อยากเปลี่ยนเป็นปลูกข้าวจ้าว (หอม) ไว้กินเอง (แต่ไม่เคยทำ) ใคร่เรียนขอคำแนะนำ ว่าขั้นตอนที่จะทำตามวิธีของลุงคิมควรทำอะไรอย่างไร ?

ขอบคุณครับ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1563&sid=97e3f04e8156d34d48af55be6adb00eb


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 6:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 6:46 am    ชื่อกระทู้: Re: จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ ............ Sombutt ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
จาก : Sombutt
ถึง : kimzagass

ตอบ : 05/06/2011 1:17 am
ชื่อกระทู้ : จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ



เกริ่นกล่าว :
- เมื่อคุณบอกไม่เคยทำนาข้าวมาก่อน ลุงคิมเลยเก็บเล็กเก็บน้อย เรื่องเกี่ยวกับนาข้าวมาให้ศึกษาก่อน ทนอ่านหน่อยก็แล้วกัน

- ที่จริงเชียงรายมีข้าวที่น่าสนใจหลายอย่างนะ ข้าวบาสมาติ. ข้าวจาปอนนิก้า. ข้าวสาลี. นอกจากข้าวหอมมะลิแล้ว ข้าวหอมนิล. ข้าวหอมสุโขทัย. ข้าวพื้นเมืองอื่นๆ, ก็น่าสนใจไม่ใช่เหรอ

- เนื้อที่น้อยขายได้มาก เนื้อที่มากขายได้น้อย ได้ข้าวมาแล้วแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ขายเป็นข้าวปลูก. ทำข้าวกล้อง โอท็อป. ทำข้าวกล้องงอก น่าจะดีกว่านะ

- ที่ยกเรื่อง "ข้าวหอมมะลิ" มาบอกกล่าว ก็เพื่อยืนยันว่า ภาคเหนือปลูกได้-ภาคเหนือปลูกได้.....ถ้าใครบอกปลูกไม่ได้แสดงว่าปลูกไม่เป็นซะมากกว่า




เนื้อที่นาประมาณ 4 ไร่ เป็นดินปนทราย ชลประทานปล่อยน้ำมาให้ ไถไว้แล้ว ...เมื่อทุกคนไถเสร็จ ชลประทานจะปิดน้ำ เมื่อจะทำเทือกพร้อมปลูก ชลประทานจึงจะปล่อยน้ำมาให้
ตอบ :
ดินทราย ดินดำ ดินลูกรัง ดินเหนียว ดินร่วน ดินคือดิน ดินดีคือดินที่มีอินทรีย์วัตถุ เมื่อมีอินทรีย์วัตถุ เดี๋ยวก็มีจุลินทรีย์ตามมาเอง ถ้าในดินไม่มีอินทรีย์วัตถุก็ใส่อินทรีย์วัตถุลงไป ใส่มากใส่น้อยก็ว่ากันไปตามชนิดพืช แค่นี้ก็จบแล้ว

ไถกลบฟาง ใส่ยิบซั่ม เสร็จแล้วทับด้วยน้ำหมักชีวภาพ หมักทิ้งไว้ให้เวลาจุลินทรีย์ดำเนินการซัก 1-2 เดือน แค่นี้ก็ได้ดินดีแล้ว

ส่วนต้นข้าวก็ว่ากันไปตามระยะ ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์, ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะตั้งท้อง-ออกรวง, ระยะน้ำนม, ระยะก่อนเกี่ยว.... เนื้อที่ 4 ไร่ แรงงานคนเดียว เช้าถึงสายๆก็เสร็จแล้ว

อันที่จริงก็น่าจะสังเกตุแปลงข้างๆว่าเขาทำนาข้าวกันหรือเปล่า ถ้าแปลงข้างๆติดกันไม่มีก็ไปดูแปลงถัดไป ดูสภาพ "ดิน-น้ำ" ว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีปัญหาเขาแก้ไขอย่างไร แต่ถ้าไม่มีปัญหา เราก็เอาแนวของเขามา APPLY ให้มันดีขึ้น ได้ไหม ?

ดูนาข้าวของข้างบ้านแล้ว ลองเลียบๆเคียงๆ ถามซิว่า ทำนาข้าวแต่ละครั้งได้ผลผลิตเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ และที่สำคัญอย่าลืมถาม "ลงทุน" เท่าไหร่ ?

นักเศรษฐศาสตร์วิจัยออกมาแล้วว่า ประเทศไทยขายข้าวได้มากที่สุดในโลก แต่การผลิตข้าวของประเทศไทยกลับแพงที่สุดในโลก....เพราะอะไร ?

ว่าแต่ว่า คุณบอกไม่เคยทำนาเลย แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่า อะไรคือปัญหา แล้วมีวิธีแก้ปัญหาเป็นอย่างไร






นาผืนนี้เจ้าของเดิมเคยปลูกข้าวเหนียว อยากเปลี่ยนเป็นปลูกข้าวจ้าว (หอม) ไว้กินเอง (แต่ไม่เคยทำ) ใคร่เรียนขอคำแนะนำ ว่าขั้นตอนที่จะทำตามวิธีของลุงคิมควรทำอะไรอย่างไร ?
ตอบ :
เมื่อคิดจะทำนาข้าว "ปลูกข้าวไว้กิน" เนื้อที่ 4 ไร่ ทำข้าวได้ 70 ถัง/ไร่ ถือว่าไม่คุ้ม อันนี้ซื้อกินถูกกว่า ทำทีมันต้องได้ 100 (+) ถัง/ไร่ ถึงจะคุ้มแต่ก็เกินไปอีก ติ๊งต่าง 4 ไร่ ได้ข้าว 400 ถัง (4,000 กก.พร้อมแกลบ) เอาไปสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงได้ 3,000 กก. มันให้น่าสงสัยอย่างมาก บ้านคุณครอบครัวใหญ่ขนาดกินข้าวสารปีละ 30 กส. (3,000 หาร 100) เลยเชียวหรือ.......มันไม่ใช่แค่นี้นะ

- เอาข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารมาแล้ว ต้องบรรจุกระสอบให้ดี มีคลังเก็บที่แข็งแรง ไม่งั้นข้าวสารในกระสอบเสียหาย กินไม่ได้

- ข้าวหอม คือ ข้าวหอม เกี่ยวมาแล้วยังไม่สีเอาแกลบออก เขาจะรักษาความหอมอยู่ได้นานนับปี แต่ถ้าสีเอาแกลบออกจนเป็นข้าวสารแล้ว ความหอมจะอยู่ได้แค่ 7 วัน - 1 เดือน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว ฉนี้แล้ว ไหนจะได้กินข้าวหอมเล่า.....แต่ถ้ายังไม่สีเอาแกลบออก จะกินทีก็ต้องขนข้าวเปลือกไปสีที สีครั้งละเท่าที่กินทัน แบบนี้มิเสียค่าโสหุ้ยหนักหรือ ?



คำแนะนำรูปแบบนาข้าว :
- นาข้าวแบบประณีต
- นาข้าวแบบเหมาจ่าย
- นาข้าวแบบไบโอไดนามิก
- ฯลฯ
สาระพัดรูปแบบ มีรายละเอียดตามลิงค์ คลิกเข้าไปอ่านก่อน เมื่อตัดสินใจเลือกแบบไหนแล้ว ค่อยถามมาใหม่ ถามเป็นประเด็นๆ ถ้าถามแบบครอบจักรวาลแบบนี้ ตอบไม่ถูกหรอกคุณ

ลุงคิมครับผม




ขอบคุณครับ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1563&sid=97e3f04e8156d34d48af55be6adb00eb


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 7:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คลิก...หลากหลายข้อมูลเรื่องนาข้าว ในเว้บนี้....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10




http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1983#16129


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 6:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนุน 3 จังหวัดภาคเหนือ เร่งหันปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เจาะตลาดบน

คมชัดลึก : อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศจัดอบรมชาวนา 3 จังหวัดภาคเหนือ ส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ยกระดับข้าวหอมมะลิไทย หวังเจาะตลาดระดับบน

นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยภายใต้เครื่องหมายรับรองและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิภาค การรับรองการตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จัดโดยสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 1 (เชียงใหม่) ที่โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่า ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันข้าวหอมมะลิมีการปลอมปนและส่งออกไปขายทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องส่งเสริมพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเดิมใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการผลิต การรับรอง การตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์และมูลค่าเพิ่มของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยตั้งเป้าแต่ละจังหวัดต้องมีแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 1 แห่ง และในปี 2554 จะกำหนดมาตรฐานขึ้นใหม่เป็น 95% เพื่อเจาะตลาดลูกค้าระดับบน โดยเฉพาะฮ่องกงที่นำเข้าปีละกว่า 3 แสนตัน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการปลูกข้าวหอมมะลิธรรมดาและข้าวหอมมะลิอินทรีย์มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการปลูกที่สามารถทำได้เพียงปีละครั้งและให้ผลผลิตไม่มากนัก

ภาคอีสานผลิตได้ 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ เชียงใหม่ให้ผลผลิตไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น และมีราคาสูงถึงตันละ 3 หมื่นบาท


แทรก :

บทคัดย่อ :
ข้าวหอมมะลิ 105 ได้รับการยอมรับในตลาดโลกในนามของข้าวหอมไทย (Thai fragrant rice or jasmine rice) และมีแนวโน้มการส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี แหล่งปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ สภาพภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และ ยโสธร ทุ่งกุลาร้องไห้ถือว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ 105 คุณภาพดีของประเทศ

เอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทบทวนถึงการผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ การพัฒนา อุปสรรค และ โครงการที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ข้าวหอมมะลิ 105 มีพื้นที่ปลูกในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ 1,276,103 ไร่ หรือราวร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงมาเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีคุณภาพของประเทศในปัจจุบันเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2520 โดย 4 แผนงานบูรณาการหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่

- แผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
- แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
- แผนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และ
- แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต

ปัจจุบันได้จัดตั้ง โครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ (2547-2550) เพื่อยกระดับผลผลิตต่อไร่ จาก 322 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2546 เป็น 470 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2550 และเป้าหมายรวมในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวเปลือกจาก 406,400 ตัน ในปี 2546 เป็น 569,900 ตัน ในปี 2550 จาก 3 แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ

1) เขตลุ่มน้ำลำพลับพลา
2) กลุ่มเกษตรกรทำนาศรีสว่าง ต.ศรีสว่าง อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด และ
3) สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

นอกจากนั้นส่วนหนึ่งยังมีเป้าหมายเป็นการผลิตและการแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก มูลค่า 1,238.66 ล้านบาท ในปี 2551 แต่ต้องแก้ไขอุปสรรคในด้านปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม สารพิษตกค้าง และ ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำเสนอรูปแบบการผลิตที่ดีและเหมาะสม (good agricultural practice: GAP) และเน้นการใช้สารอินทรีย์และวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก

http://rivermool.exteen.com/20061027/entry-4





จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ส่วนภาพรวมข้าวหอมมะลิปีที่ผ่านมามีผลผลิต 2.5 ล้านตัน มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท จากข้าวทั่วประเทศที่ผลิตได้ปีละ 8.5 ล้านตัน สำหรับปี 2553 คาดมีผลผลิตรวม 9 ล้านตัน ส่งออกไปแล้วกว่า 6 ล้านตัน


http://www.komchadluek.net/detail/20100902/71865/หนุน3จังหวัดภาคเหนือเร่งหันปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์เจาะตลาดบน.html


http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=20809.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 2:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 8:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวท.แพร่ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3
วันที่ : 25 พฤษภาคม 2554
เวลา : 15 : 42 : 48



เร่งพัฒนา ยกระดับข้าวหอมมะลิแพร่ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

สหกรณ์จังหวัดแพร่ร่วมกับหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด เร่งพัฒนา ยกระดับข้าวหอมมะลิ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค นายประเสริฐศักดิ์ โกศลสมพลกิจ สหกรณ์จังหวัดแพร่กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดแพร่ ถือว่าเป็นแหล่งที่ผลิต "ข้าวหอมมะลิ" ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานสู่ตลาดสากล ซึ่งจังหวัดแพร่ จึงได้อนุมัติงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัดแพร่ ประจำปี 2554 จำนวนกว่า 4 ล้านบาท ดำเนินการกิจกรรมย่อย ประกอบด้วย

- การสำรวจ คัดเลือกเกษตรกร,
- ถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตข้าวหอมมะลิ ให้มีคุณภาพแก่เกษตรกร,
- อบรมผู้นำเกษตรกร,
- กำกับดูแล สนับสนุนกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิ ,
- กระจายเมล็ดพันธ์ข้าวชั้นดี สู่เกษตรกร และ
- เพิ่มศักยภาพผู้นำเกษตรกรในการบริหารจัดการของสถาบันเกษตรกร

โดยสหกรณ์จังหวัดแพร่ร่วมกับหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด จัดอบรมสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล เป็นการยกระดับมาตรฐานข้าวหอมมะลิจังหวัดแพร่ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

โดยบ่ายวันนี้ (25 พ.ค.54) นายโอภาส กลั่นบุศย์ รองอธิบดีกรมสงเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมและมอบเมล็ดพันธ์ข้าวหอมมะลิ ให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรมการแก้ปัญหาคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานสู่ตลาดสากล ตามโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจร ที่โรงแรมแม่ยมพาเลส อำเภอเมืองแพร่ โดยมีสมาชิก สหกรณ์ 9 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 20 แห่ง และกลุ่มผู้ใช้นำตามโครงการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดแพร่ เข้าร่วมโครงการรวม 2,256 ราย จำนวนพื้นที่รวม 13,333 ไร่




ผู้สื่อข่าว : เอนก จินดาหลวง

http://www.prdnorth.in.th/ct/news/showprint.php?ID=110525154248


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 9:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 8:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เชียงรายจัดประกวดข้าวตราคุณภาพดีเด่น ปี 54

ประกาศเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 เวลา 13:59:12 เปิดอ่าน 108 ครั้ง

ประกวดข้าวตราคุณภาพดีเด่นปี 54
เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวสารและโรงสีที่ผลิตข้าวดี

นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานการค้าภายในจังหวัด จัดประกวดข้าวตราคุณภาพดีเด่น ประจำปี 2554 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวสารให้ตรงตามความต้องการของตลาด และสนับสนุนโรงสีที่ผลิตข้าวคุณภาพดีรักษามาตรฐานไว้ รวมทั้งผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อข้าวสารที่มีคุณภาพตามความต้องการ

กำหนดจัดประกวดข้าวสาร แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ข้าวพื้นแข็ง ข้าวพื้นอ่อน ข้าวหอมมะลิ ข้าวสารเหนียวเมล็ดยาวพิเศษภาคเหนือ และข้าวสารเหนียวเมล็ดยาวพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับผู้ส่งข้าวสารเข้าประกวดต้องเป็นผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทโรงสีข้าว และได้รับการรับรองจากสมาคมโรงสีข้าวประจำจังหวัด หรือ ชมรมโรงสีข้าว หรือ การค้าภายในจังหวัด

ผู้ประกอบการโรงสี ที่สนใจส่งข้าวเข้าประกวด พร้อมส่งใบสมัคร และส่งตัวอย่างข้าวให้ยื่นได้ที่ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดเชียงราย ที่ศาลากลางหลังใหม่ โทรศัพท์ 053 -150196 , 053 – 744263



แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย
นำเสนอโดย : เชียงรายโฟกัสดอทคอม

http://www.chiangraifocus.com/news/details.php?id=16
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่างชาติทึ่ง “ข้าวปลอดสารพิษ” เจรจาซื้อขายล็อตแรก 3 พันตัน

วันที่ 6 กรกฎาคม 2553 10:41 น.
ที่มา กระทรวงพาณิชย์


ยักษ์ใหญ่ใหญ่นำเข้าข้าวต่างชาติสนใจข้าวหอมมะลิไทย หลังเข้าชม “Hub ข้าว” ชมคุณภาพข้าวภาคเหนือดีเยี่ยม ทึ่ง “ข้าวปลอดสารพิษ” เตรียมเจรจาซื้อขาย ล็อตแรก 3,000ตัน “พรทิวา” เผยยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ ดันไทยเป็นผู้นำตลาดการค้าข้าวของโลกแท้จริง

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียความเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกให้กับประเทศผู้ผลิตข้าวรายอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการแข่งขันด้านราคาและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท กระทรวงพาณิชย์จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนา “ศูนย์กลางตลาดข้าวของไทย” หรือ “Hub ตลาดข้าว” ขึ้น เพื่อเป็นกลไกและพลังผลักดันให้ระบบการค้าข้าวทั้งหมด ดึงดูดให้ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากมาพบกัน เพื่อเพิ่มมูลค่า

การตลาดของการค้าข้าว
“ยุทธศาสตร์ข้าวของกระทรวงพาณิชย์คือ เป็นผู้นำตลาดการค้าข้าวของโลกที่แท้จริง การเกิดศูนย์กลางการค้าข้าว หรือ “Hub ข้าว” ที่นครสวรรค์จะสร้างความตื่นตัวทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้ซื้อ ผู้ขาย เกษตรกร โรงสี ไซโล ทำให้กลไกการตลาดเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องมีการแทรกแซงตลาด สามารถจูงใจให้ผู้ซื้อและผู้ชายทั่วประเทศ และทั่วโลกนำสินค้ามาซื้อขาย เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ราคาที่เหมาะสมเป็นที่พอใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ส่งผลให้เกษตรกรไทยได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น”

ด้าน นายศรัณพจน์ วีระประเสริฐ พาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า การนำผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศไปดูกระบวนการผลิตข้าวไทย เริ่มตั้งแต่หว่าน การใส่ปุ๋ยจนถึงการเก็บเกี่ยว ก็เพื่อให้ผู้นำเข้าข้าวทั่วโลกรู้ว่า ข้าวไทยเป็นข้าวปลอดสารพิษ เพราะใช้ปุ๋ยชีวภาพในกระบวนการผลิต ทั้งยังเป็นข้าวที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ โดยคาดว่าในการเยี่ยมชมของผู้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศจะเกิดการเจรจาซื้อขายข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตัน

นายโซง เกา ผู้จัดการบริษัทนำเข้าข้าวรายใหญ่ของมณฑลเฉินตู เปิดเผยว่า เพิ่งทราบว่า นครสวรรค์และภาคเหนือของไทยสามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้ ที่ผ่านมาทราบเพียงว่าข้าวหอมมะลิสามารถปลูกและผลิตได้ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ส่วนข้าวเหนียวภาคเหนือมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่เมื่อมาเห็นที่จังหวัดนครสวรรค์แล้วยอมรับว่า เป็นข้าวที่มีคุณภาพดี คาดว่าจะมีการเจรจาซื้อขายข้าวไทยจากศูนย์กลางการค้าข้าวแห่งนี้ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน

นายสวี กัง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท Sichuan Old Kitchen Rice จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ ให้ความสนใจในข้าวหอมมะลิของไทยเป็นอย่างมาก จากการเดินทางเยี่ยมชมครั้งนี้ถือว่าพอใจและมีแนวโน้มที่จะนำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยไปขายยังประเทศจีน โดยผ่านการซื้อขายจากศูนย์กลางการค้าข้าวที่จังหวัดนครสวรรค์แห่งนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-5285151 ทิพวรรณ์ ไชมะโย




ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย ไทยพีอาร์ ดอทเน็ต
ค้นหาข่าวย้อนหลังมากกว่า 30 วัน ได้ที่ www.iqnewscenter.com
ต่างชาติทึ่ง“ข้าวปลอดสารพิษ” เจรจาซื้อขายล็อตแรก 3พันตัน

http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?sec=&newsid=B2809E659C62AD26923674D17A4D5529&query=4MPX6M2n4MXo0uCq6dK51ek=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 9:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิจัยข้าว..ทนน้ำท่วม พัฒนาพันธุ์จาก..มะลิ105


น้ำท่วมฉับพลัน ...ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันได้สร้างความเสียหาย อัน เป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติและเกษตรกรแทบทุกครั้ง... ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นก็แล้วแต่

ครั้งล่าสุดเกิดความเสียหายอย่างหนักคือปี 2545 พื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศได้รับความเสียหาย ถึง 6 ล้านไร่ เป็นมูลค่าสูงถึง 8,000 ล้านบาท ซึ่งหลายหน่วยงานหลายองค์กรได้หาวิธีการป้องกันภัยที่เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งที่หน้าที่รับผิดชอบโดยตรงคือชลประทาน

และในอีกทางเลือกหนึ่ง...รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนต่อการถูกน้ำท่วม จนกระทั่งประสบความสำเร็จ

ซึ่ง รศ.ดร.อภิชาติ เล่าว่า...ผลงานชิ้นนี้ไม่ได้ทำคนเดียว มก. ได้ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) และ สำนัก วิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นลูกผสมกลับ (backcross) ชั่วที่ 4 ระหว่างพันธุ์ขาวดอก มะลิ 105 (พันธุ์แม่) และสายพันธุ์ IR49830-7-1-2-2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ ทนน้ำท่วมจากสถาบัน วิจัยข้าวนานาชาติ ประเทศ ฟิลิปปินส์ (สายพันธุ์พ่อ)

โดยทำการผสมพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี 2538 จากนั้นทำการผสมกลับ (Backcross) เข้าหาพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นจำนวน 4 ชั่วผสมระหว่างปี 2539-2542 แล้วปลูกคัดเลือกตามวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน

ต่อจากนั้นได้นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกแล้ว ไปทดลองปลูกเพื่อประเมินความสามารถในการปรับตัว และให้ผลผลิตในสภาพน้ำฝนในศูนย์ วิจัยข้าวและในพื้นที่นาเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา 2 ปี (2547- 2548) จึงได้สายพันธุ์ KPSKD5 ตามต้องการ

...ซึ่งมีคุณสมบัติทนน้ำท่วมได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยจมอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ และจะฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดี กว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างชัดเจน

ข้าวสายข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ทนน้ำ... ได้นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคล 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ซึ่งได้พระราชทานในงานพระราชพิธีแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลปีนี้ และจะ พระราชทานแก่เกษตรกรภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน... ได้นำไปปลูกในนาช่วงเดือนสิงหาคม..เพื่อหว่านวันแม่ (เก็บเกี่ยววันพ่อ) ต่อไป...!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน


http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=610


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 12:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 9:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยูนิเกรน ปั้น "ธรรม" บูมข้าว หอมมะลิ เชียงราย


ยูนิเกรน ในเครือโรงสีกำพล ต่อยอดธุรกิจโรงสี แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ รุกตลาดข้าวถุง ยกระดับ ข้าวหอมมะลิ เชียงราย ขยายฐานผู้บริโภค ปั้นแบรนด์ "ธรรม" ชูไอเดียแปลกใหม่ บรรจุภัณฑ์ ระดับพรีเมียม เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว สินค้าพรีเมียม ผ่านโมเดิร์นเทรด ทุ่มงบ 40 ล้านบาท ดันยอดขายปีแรก 200 ล้าน

นายปนิธิ เหล่าธรรมทัศน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิเกรนมาร์เก็ตติ้ง (1999) จำกัด บริษัทในเครือบริษัท โรงสีกำพล จำกัด ผู้จำหน่าย ข้าวหอมมะลิ ตราสามงู เปิดเผยว่า หลังจากเป็นผู้จำหน่าย ข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ บริษัทได้เล็งเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดผู้บริโภครายย่อย ประกอบกับที่ผ่านมา ข้าวหอมมะลิ เชียงราย เป็นข้าวหอมคุณภาพระดับโลก จึงได้ตัดสินใจขยายฐานกลุ่มลูกค้า โดยการพัฒนา ข้าวหอมมะลิ จากแหล่งผลิตเชียงราย ในรูปแบบข้าวบรรจุถุง เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภครายย่อย โดยใช้ชื่อแบรนด์ "ธรรม" เพื่อจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรนด์และดิสเคาท์สโตร์

"ปัจจุบันบริษัทจำหน่าย ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวเขี้ยวงู ผ่านช่องทางเทรดดิชั่นนอล และส่งออก ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวเกรดคัดพิเศษ แบรนด์ มิสเตอร์ไรซ์ โอเคไรซ์และฮีโร่ ไปยัง แคนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ และจีน โดยปีที่ผ่านมามีรายได้ 800 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 10%" นายปนิธิ กล่าว

สำหรับการเปิดตัว ข้าวหอมมะลิ แบรนด์ "ธรรม" เน้นจุดขาย เป็นข้าวหอมที่มาจากแหล่งผลิตในพื้นที่การปลูกในเขตภาคเหนือจากจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูก ข้าวหอมมะลิ คุณภาพระดับโลก ซึ่งที่ผ่านมามีการส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกและจำหน่ายภายในประเทศในรูปแบบของการขายส่ง แต่แบรนด์ "ธรรม" ได้พัฒนาในรูปแบบข้าวถุงในบรรจุภัณฑ์ขนาดต่างๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ข้าวหอมมะลิ "ธรรม" ยังได้รับการพัฒนาให้แตกต่างจากแบรนด์ข้าวถุงอื่นๆ โดยนำแนวคิดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาใช้ในการสร้างแบรนด์ "ธรรม" ให้เป็นแบรนด์ระดับพรีเมียม ไม่เพียงแต่การจำหน่ายเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป แต่ยังพัฒนาในรูปแบบของขวัญและของฝาก สำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย รวมถึงยังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับวัฒนธรรมคนไทยที่ยังให้ความสำคัญกับการทำบุญใส่บาตร ด้วยการเพิ่มบรรจุภัณฑ์ในขนาดที่เหมาะกับการใส่บาตร ถือเป็นการขยายตลาดข้าวถุงในระดับพรีเมียมเป็นครั้งแรกของบริษัท ซึ่งปัจจุบันตลาดข้าวถุงมีสัดส่วนตลาด 20% ของตลาดข้าวทั้งหมด

สำหรับงบประมาณทางการตลาดวางไว้ที่ 40 ล้านบาท โดยเน้นกิจกรรมส่งเสริมการขาย โรดโชว์ตามห้างสรรพสินค้า สร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สำหรับปีแรกนี้ตั้งเป้าว่าจะสามารถชิงส่วนแบ่งการตลาดข้าวพรีเมียมได้ที่ 5% มูลค่า 200 ล้านบาท แบ่งเป็นข้าวธรรม 80% และกิ๊ฟท์เซต 20%




copyright © NKT NEWS CO.,LTD.All Right Reserved.
Contact us :ktwebeditor@nationgroup.com

http://www.bangkokbiznews.com/2011/01/20/news_32292456.php?news_id=32292456


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 12:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจาปี 2553”


ทีมวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว รับรางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 2553" จากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอ การค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าว และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติและคุณภาพดียิ่งขึ้น

ผลงานวิจัย เรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว" นาทีมโดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะ คว้ารางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจาปี 2553"

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการ เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจาปี 2553
ในปีนี้ผลงานวิจัย เรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการ

ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว" นาทีมโดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะวิจัย 21 คน จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนยฺ์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัล นักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ทีมงานเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12 โครงการนี้มีประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สาคัญ 2 ส่วน คือ

1. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและ ข้าวเหนียว คณะวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ (DNA marker) ช่วยในการ คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่หอมและต้านโรค-แมลงศัตรูพืช รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออานวยต่อการเจริญเติบโตของข้าว เช่น ภาวะน้าท่วมฉับพลัน จนสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว จานวน 8 สายพันธุ์ (ทั้งหมดอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร) โดยข้าวที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์และได้เป็นที่นิยมในการนาไปปลูกจริงจาก เกษตรกร ได้แก่ พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร, ข้าวสินเหล็ก และข้าวเหนียวหอม กข 6 (ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคอิสานและภาคเหนือ คือ ในจังหวัดชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร แพร่ และ น่าน ได้ใช้สายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม กข 6 ในการเพาะปลูก ประมาณ 80% ของพื้นที่เพาะปลูก)


2. เทคโนโลยีการเพิ่มสารหอมในข้าว คณะวิจัย ได้ค้นพบยีนส์ควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้วิธี map-based cloning (ไม่ ใช่ GMO) จึงทำให้พบกระบวนการที่ทาให้ข้าวมีการสะสมสารประกอบ 2-accetyl-pyrroline (2 AP) ซึ่งเป็นสารหอมหลักของข้าวทุกสายพันธุ์ เพื่อนาไปใช้เพิ่มระดับความหอมของข้าวในข้าวพันธุ์อื่นๆ โดยใช้วิธี functional marker (Aromarker) ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะความหอมของ ข้าวหอมมะลิไปสู่สายพันธุ์อื่นๆที่มีผลผลิตสูงแต่ไม่หอม จนได้ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ๆที่มีผลผลิตสูงและกาลังได้รับความนิยมปลูกจาก เกษตรกร เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร และข้าวสินเหล็ก เป็นต้น

โดยในการปลูกข้าวในนาชลประทาน ข้าวหอมเหล่านี้ให้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่ มากกว่าการปลูกโดยข้าวพันธุ์เดิมกว่า 50% ที่ผ่านมา รศ.ดร.อภิชาติ ได้ดำเนินโครงการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับข้าว โดยเฉพาะยีนข้าวหลายโครงการ ตัวอย่างโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนยฺ์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

1. การหาตาแหน่งยีนควบคุมความต้านทานโรคไหม้และการนามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวหอมในประเทศไทย ปี 2540

2. การประยุกต์ใช้โมเลกุลเครื่องหมายในการปรับปรุงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีผสมกลับ ปี 2542

3. Positional Cloning in the Post Genomic Era : The Rice Model ปี 2546 ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย)

4. การหาลาดับเบสจีโนมข้าว ปี 2550
รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน้าคณะวิจัย เน้นถึงความสาคัญของเทคโนโลยีชีวภาพว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสิ่งสาคัญในการปรับปรุงพันธุ์พืช ถือเป็นการลงทุนทางานในขั้นแรก จากนั้นเมื่อประสบความสาเร็จ เราก็สามารถทางานด้านการขยายพันธุ์ได้เลย”


http://www.ku.ac.th/newwww/userfileupload/apichart.pdf[/img]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/06/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตข้าวอินทรีย์ >>เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ ในภูมิภาคต่างๆ


ภาคเหนือตอนบน


ในพื้นที่นี้ แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2534 เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย ไว้เพื่อการจำหน่าย และปลูกข้าวเหนียว กข6 ไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง ปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวดข้าวเป็นเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการทำนา ส่วนใหญ่ปลูกข้าวแบบปักดำ และเริ่มมีการปลูกแบบหว่านข้าวแห้งในนาลุ่มแล้วบ้าง มีการใส่ปุ๋ยเคมีที่นำมาซึ่งปัญหาโรคไหม้และการทำลายของแมลงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัดเพราะเสียหายเพียงบางส่วน ด้านสัตว์ศัตรูข้าวนั้น ด้วยการทำนาในเวลาใกล้เคียงกันเป็นบริเวณกว้าง ช่วยกระจายการทำลายได้ และการดักจับมาบริโภคยังช่วยควบคุมปริมาณศัตรูพืชได้ดี การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคนแล้วตากสุ่มซังในนา 3-4 วัน ทำให้ได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้น 13-15 % นำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายได้เลย

ในการจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมานั้น ได้พิจารณาใช้เทคนิควิธีการเดิมที่ไม่ขัดกับระบบเกษตรอินทรีย์ แล้วพัฒนาวิธีการทดแทนการใช้สารเคมีเดิม โดยใช้ข้อมูลจากผลงานวิจัยการผลิตข้าวอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับข้อคิดเห็นของหน่วยตรวจสอบรับรอง โดยมีหลักการให้หมุนเวียนใช้ทรัพยากรในพื้นที่ และจะต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตประกอบด้วยทุกขั้นตอนการผลิต คือ


1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ; พันธุ์ข้าวที่ใช้ตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ช่วงหลังปี พ.ศ. 2545-46 มีพันธุ์ กข6 ร่วมด้วย ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากสถานีทดลองข้าวในพื้นที่ และฝึกอบรมการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรในโครงการ ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เองและเหลือจำหน่ายบางส่วน


2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ; ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในนาหว่านข้าวแห้งซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากขึ้นมากกว่า 50 % จะไถแปรโดยใช้รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ ในเดือนพฤษภาคม ส่วนนาดำที่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ดอน จะตกกล้าในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม แล้ว ไถแปร คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม


3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ; ในเบื้องต้นมีการไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้วนำมูลวัวมาหมัก ป่นแล้วอัดเม็ดนำไปใส่ในนาและเหลือจำหน่ายบางส่วน ด้านปุ๋ยพืชสด มีการพัฒนาการปลูกถั่วเขียวมาตั้งแต่ปี 2537 ต่อมามีการปลูกโสนอัฟริกันและปอเทือง ซึ่งได้ผลดีในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว อยู่ภายใต้แนวคิด “รักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน”


4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ; การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียวสลับในบางปี ช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย


5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ; ศัตรูข้าวที่สำคัญในพื้นที่นี้ คือ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว มีปู และหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไขโดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ และใส่ต้นพืช เช่น โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด ในระยะข้าวแตกกอมีแมลงบั่วทำลายรุนแรงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด รวมทั้งโรคไหม้ที่จะรุนแรงในบางปีและไม่ป้องกันกำจัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ รวมทั้งสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นของศัตรูธรรมชาติในนา เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า แตนเบียน เป็นต้น


6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ; คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย


7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ; มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเงื่อนไขเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงมีเพียงพืชก่อนนา คือ ถั่วเขียวและปัจจุบันกำลังพัฒนาการปลูกงาในนาข้าวด้วย พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว ควาย เข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร ส่วนการพัฒนาการทำฟาร์มทั้งระบบให้เป็นเกษตรอินทรีย์นั้น อยู่ในแนวคิดของกลุ่มเกษตรกรที่จะทำต่อไป



http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_01.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 07/06/2011 9:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : Sombutt
ถึง : kimzagass

ตอบ : 06/06/2011 11:03 pm
ชื่อกระทู้ : จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ




ขอขอบคุณลุงดิมที่ตอบคำถาม ละเอียดมาก ๆ ครับ

ขอเรียนว่า ... ข้าวสาลี จะมีของไร่บุญรอดเขาปลูกเอาไว้ หลายร้อยไร่ แตที่ของเขาอยู่กลางดอย อากาศค่อนข้างเย็น ส่วนที่ของผมอยู่บริเวณที่ราบตีนดอย อากาศจะร้อนกว่า ส่วนข้าวบาสมาตี จะมีปลูกไว้หรือไม่ ผมไม่แน่ใจ เท่าที่เคยได้ฟังมาจะมีพวก เย้า (งามกว่าเพื่อนในหมู่ชาวดอย) ปลูกบนดอย อากาศเย็น ส่วนข้าวจาปอนนิก้า ไม่ทราบข้อมูลว่าปลูกบริเวณไหน อาจจะแถวค่อนไปทางเชียงใหม่


ที่ดินของผม คนเก่าเขาปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ไร่ ปลูกข้าวเหนียวไว้กิน 2 ไร่ (ไม่ทราบว่าพิษณุโลก 1 หรือ 2 เขาไม่ได้บอก) ทำนาตามแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมาล่าสุดได้เงินจากการขายข้าวพิษณุโลกประมาณ 8 พันกว่าบาท ผมก็เดาเอาว่า น่าจะได้ข้าว ไร่ละประมาณ 60 ไม่เกิน 70 ถัง เพราะข้าวราคา (ถังละ 75) เกวียนละ 7,500 ...(คนเหนือ พูดเป็นเกวียน เขาไม่รู้เรื่อง ต้องพูดเป็นถัง ครับ)ถามว่า ลงทุนไปเท่าไหร่ เขาบอกว่า บ๋ได้จำ แต่ใช่ปุ๋ยไป 2 แก่นป่าย (แก่นแปลว่า กระสอบหรือลูก ป่าย แปลว่า กว่า) 2 แก่นป่ายก็ประมาณเกือบ ๆ 3 กระสอบเพราะใส่ 2 รอบ ส่วนยาก็มียาเพี๊ยง (ยากันหรือฆ่าเพลี้ย) กับยาหอย (หอยเชอรี่)ครับ ตรงนี้แหละที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องหอยเชอรี่ แยะมาก ๆ จะมีวิธีป้องกันกำจัดอย่างไร จำได้ว่า ลุงคิมเคยพูดถึง เชอรี่เดท หาซื้อได้ที่ไหนครับ .... มันมีที่เขาวางขาย ชื่อสามัญว่า เฟอร์แมนดีฮายด์ ชื่อการค้า หลากหลาย แต่หอยก็ยังมี


ข้าวที่เก็บไว้กิน เขาจะเก็บเป็นข้าวเปลือกเอาไว้ในยุ้ง คนเหนือ จะมียุ้ง เก็บข้าวเปลือกไว้กิน เวลาจะกินก็บรรทุกไปโรงสีของหมู่บ้านครั้งละ 2-3 กระสอบปุ๋ย ก็พอกินไปได้ครึ่งเดือน นอกจากเก็บไว้กินแล้ว ก็เก็บส่วนหนึ่งไว้ทำพันธุ์ด้วย การไม่คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตมันก็ลดน้อยถอยลง


เมื่อวันที่ 4 มิย. ผมให้ญาติไปซื้ออะไรต่อมิอะไร ที่วัดท่าตำหนัก ก็จะมี ระเบิดฯ 30-10-10 (2 แกลลอน), 21-7-14 (1 แกลลอน), ยูเรก้า 1 แกลลอน, ฮอร์โมนไข่ 1 แกลลอน, ไบโออิ 1 แกลลอน, หนอนและแมลง 1 แกลลอน, ไคโตซาน, NAA, แคลเซี่ยมโบรอน, อย่างละ 1 ลิตร มีมัลติแชมป์ (ตามคำแนะนำ) 1 ห่อ ทั้งมัลติแชมป์ และระเบิด 21-7-14 เอาไปใส่อะไรยังไม่รู้เลย....(หมดไปหลายตังค์แล้วครับ) ญาติเขาส่งฝากรถ 10 ล้อรับจ้างบรรทุกของส่งไปเย็นวันที่ 4 มิ.ย. ผมได้รับของเช้าวันที่ 6


เนื่องจาก ได้ไถลุยไว้แล้ว น้ำในนาก็พอมี กำลังเห่อของใหม่ ก็เลยเอา 30-10-10 ซึ่งมีอยู่แค่ 2 แกลลอน (10 ลิตรกว่า ๆ) ผสมน้ำ แกลลอนละ 200 ลิตร ตักใส่ถังเดินสาด ทั่วแปลงนา 4 ไร่ ๆละ 100 ลิตร ...... เล่นเอาเหนื่อย


มีคนมาเห็นแกลลอนระเบิดฯ เขาถามว่า อะหยังนี่ ระเบิดเถิดเทิง .....ก็บอกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เขาหัวเราะ แล้วบอกว่า ชีวภาพ เดี๋ยวก็พังพาบบ่ได้กิ๋นข้าวละเน้อ แล้วเขาก็เดินหัวเราะผ่านไป - ผมก็ต้องอุเบกขาละครับลุงคิม แต่ในใจนึกว่า เรื่องของฮา (ฮาแปลว่า กู) คิงมายุ่งอะหยัง (คิงแปลว่า มึง).....ความจริงใจแป้วเหมือนกันนะ เพราะไม่เคยทำนา ปลอบใจตัวเองว่า ผิดเป็นครูวะ อย่างมากก็ได้ข้าวเท่าที่คนเก่าเขาทำไว้ก็ยังดี นึกไปอีกทีก็คิดว่า ฝากไว้ก่อนเถอะโอฬาร ถ้าฮาได้ถึง 100 ถังละคิงเอ๊ย ระเบิดเถิดเทิงแน่ ๆ (ป่านนี้คงรู้กันทั่วหมู่บ้านแล้วว่า ผมจะต้องพังพาบ เพราะทำนา ชีวภาพ) ..... แต่ทีนี้ 16-8-8 เชียงรายไม่มีขาย คงต้องขอแบ่งซื้อ 46-0-0 กับ 16-16-16 อย่างละครึ่งลูก ผสมกันมันก็จะกลายเป็น 31-8-8 ตัวหน้าจะสูงไปมั๊ยเนี่ย


ตอนนี้ก็ต้องคอยทำเทือกพร้อมคนอื่นที่เขายังไถไม่เสร็จ เพราะปัญหาเรื่องน้ำ (น้ำมาตามลำเหมือง คือ คูน้ำ ครับ)คือ พอไถกันเสร็จ กรมชลเขาจะปิดน้ำ พอเริ่มจะหว่านหรือตกกล้า ก็จะเปิดน้ำเพื่อให้เติ๊กนา (เติ๊กนา แปลาว่า ทำเทือก) ระหว่างนี้ ก็ร้องเพลงรอ (พังพาบ)


อยู่เชียงรายแต่ก็ได้ฟังเสียงลุงคิมบรรยายทางคลื่น ปตอ. นะครับ เล่นไม่ยาก ก็บอกให้ญาติเขาอัดเสียงลุงทางมือถือ (มันมี MEM) แล้วก็เอาเข้าคอมที่กรุงเทพฯ ส่งไฟล์เสียงลุงคิมไปให้ แป๊บเดียวก็ได้ฟังแล้ว อาจช้าไปวันสองวัน เพราะญาติเขาก็มีภาระกิจของเขา เมื่อได้รับมาแล้วผมก็ถ่ายจากคอมเข้า Mem มือถือ แค่นี้ก็ได้ฟังเสียงลุงคิมแล้วครับ ขอบอกว่า ต้องแอบ ๆ ฟังคนเดียวไปก่อน .... แต่บางวันเสียงมันซ่า ญาติเขาบอกว่า บางวันฝนมันตก ฟ้าร้อง ลูกกวน (แต่ไม่ได้บอกว่า แม่ของลูกกวนหรือเปล่า)


ผมคิดไว้ว่า เสร็จนาคราวนี้ คราวหน้าถ้าจะทำ คงต้อง (ยอมจ่าย) ใช้ผาน3 ปรับระดับนา 4 ไร่ให้เป็นผืนเดียวกัน


ขออภัยที่เขียนมายาวมาก ก็จะพยายามรายงานความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะ ๆ .... อ้อ เรื่องข้าวสาลีของไร่บุญรอด ทางเดินในไร่ จะเป็นทางผ่านขึ้นเขาไปหมู่บ้านมูเซอแดง เข้าไปดูได้ครับ แต่ไม่ค่อยมีใครอยากเข้าไปดูเพราะ หมู่บ้านมูเซอแดง มันเป็นแดนต้องห้าม คนพื้นราบเข้าไป ออกมาก็อาจโดนจับตรวจฉี่ ความจริง ไร่บุญรอดอยู่ห่างตัวเมือง ชร.ออกไป ไม่กี่กิโลเอง ทำไม ตร.มองไม่เห็น หรือว่า คนเรามองไม่เห็นปลายจมูกของตัวเราเอง


ขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ตอนนี้ อินทรีย์ (30-10-10) นำ - หมดไปแล้ว มีอะไรที่จะแนะนำเรื่องการใช้ เคมีเสริม ก็ขอความกรุณาด้วย ยังไงๆ ก็ให้พังพาบ น้อยหน่อยนะครับ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1565&sid=e6d9c0bad0d1d269dfd14b2173d7207c
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 07/06/2011 9:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
จาก : Sombutt
ถึง : kimzagass

ตอบ : 06/06/2011 11:03 pm
ชื่อกระทู้ : จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ




ขอขอบคุณลุงดิมที่ตอบคำถาม ละเอียดมาก ๆ ครับ
ตอบ :
เพราะตอบละเอียดมากเกินไป ตอบยาวเกินไป หรือเปล่า ? ในเว้บนี้ถึงไม่ค่อยมีคนถาม แล้วเว้บอื่นล่ะ เขาทำกันยังไง ?

ครั้นจะตอบสั้นๆ ว่า YES-NO หรือ ใช่-ไม่ไช่...ได้-ไม่ได้ ถามแค่ไหนตอบแค่นั้นก็ได้ แต่คนถามจะได้อะไร

ที่นี่คือที่นี่ ลุงคิมคือลุงคิม บางครั้งออกจะ "จริงจัง-1" ไปหน่อยไหม ?




ขอเรียนว่า ... ข้าวสาลี จะมีของไร่บุญรอดเขาปลูกเอาไว้ หลายร้อยไร่ แตที่ของเขาอยู่กลางดอย อากาศค่อนข้างเย็น ส่วนที่ของผมอยู่บริเวณที่ราบตีนดอย อากาศจะร้อนกว่า ส่วนข้าวบาสมาตีจะมีปลูกไว้หรือไม่ ผมไม่แน่ใจ เท่าที่เคยได้ฟังมาจะมีพวกเย้า (งามกว่าเพื่อนในหมู่ชาวดอย) ปลูกบนดอย อากาศเย็น ส่วนข้าวจาปอนนิก้า ไม่ทราบข้อมูลว่าปลูกบริเวณไหน อาจจะแถวค่อนไปทางเชียงใหม่
ตอบ :
ไม่ได้เจตนาฟันธงให้ปลูกข้าวสาลี ข้าวบาสมาติ ข้าวจาปอนนิก้า แต่เป็นการยกตัวอย่างการคิดแบบนอกกรอบเท่านั้น วันนี้ตลาดต้องการผลิตภัณท์ใหม่ๆ โดยเฉพาะสินค้าสำหรับคนที่มีพลังซื้อสูงๆ เรามีเนื้อที่น้อยๆ น่าจะทำสินค้าที่ราคาต่อหน่วยแพงๆ เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม.

ข้าวหอมแดงสุโขทัย ปลูกที่ปทุมธานี สีเป็นข้าวกล้อง บรรจุถุง ขายปลีก กก.ละ 100 บาท ในขณะที่แปลงติดกัน เป็นเพื่อนรักกันมาก บอกว่าไม่เชื่อ เป็นไปไม่ได้ ข้าวแบบนั้นคนไม่กิน ว่าแล้วก็ปลูกข้าวหอมปทุม-ข้าวหอมมะลิ แล้วทำข้าวกล้อง ขายปลีกได้แค่ กก.ละ 30 บาท. เท่านั้น

สินค้าเกษตรทุกตัวมีตลาดของตัวเองทั้งนั้น อยู่แต่ตัวเกษตรกรผู้ผลิตเองต่างหากที่มองตลาดไม่ออก หรือผลิตป้อนตลาดไม่ได้

ว่ามั้ย....เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด

ทำแล้ว ไม่ว่าจะทำกินหรือทำขาย ต้องถือหลัก "การตลาด นำ การผลิต" ... หากคิดจะทำเพียงเพื่อกิน บางครั้งซื้อกินถูกกว่า แต่ถ้าคิดทำเพื่อขาย ต้องรู้แหล่งขาย แหล่งรับซื้อ รู้กลไกการตลาด เรื่องแบบนี้ไม่ใช่ง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากถ้าจับจุดถูก

กรณีข้าว คุณว่าระหว่าง "รัฐบาล" กับ ไรงสี" ใครใหญ่กว่ากัน ?

ทำไมต้องทำตามข้างบ้าน บอกแล้วไง ทำตามข้างบ้าน เจ๊งเหมือนข้างบ้าน ทำเกษตรห้ามเชื่อข้างบ้าน ห้ามเชื่อคนขายปุ๋ย ห้ามเชื่อลุงคิม แต่ให้เชื่อคนในกระจก

ในแต่ละตำบล ทุกตำบลทั่วประเทศ ต้องมีเกษตรกรอย่างน้อย 1 คน ที่ประสบความสำเร็จ ก็น่าจะไปศึกษาวิถีแนวคิดของเขาหน่อย แล้วเอามาเปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ล้มเหลว จากนั้นจึงประยุกต์มาเป็นของตัวเอง จะดีกว่าไหม

เกษตรยั่งยืน คนส่งเสริมยั่งยืน รวยเอารวยเอา แต่คนรับการส่งเสริมล้มทั้งยืน ยิ่งทำยิ่งจน ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เป็นเพราอะไร......คำว่า "ยั่งยืน" แปลว่า "ดีขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีอย่างถาวรตลอดไป..." ใช่หรือไม่ ? แล้วในความเป็นจริง คืออย่างไร ? กรณีอย่างนี้ ในหน่วยส่งเสริมของราชการหรือองค์กรใดๆ ไม่มีแผนกประเมินผลงานตามโครงการต่างๆเลยหรือ ? ไม่มีแม้แต่ใครสักคนกล้าออกมาตีแผ่ความล้มเหลวของงานส่งเสริมเลยหรือ ?




ที่ดินของผม คนเก่าเขาปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ไร่ ปลูกข้าวเหนียวไว้กิน 2 ไร่ (ไม่ทราบว่าพิษณุโลก 1 หรือ 2 เขาไม่ได้บอก) ทำนาตามแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมาล่าสุดได้เงินจากการขายข้าวพิษณุโลกประมาณ 8 พันกว่าบาท ผมก็เดาเอาว่า น่าจะได้ข้าว ไร่ละประมาณ 60 ไม่เกิน 70 ถัง เพราะข้าวราคา (ถังละ 75) เกวียนละ 7,500 ...(คนเหนือ พูดเป็นเกวียน เขาไม่รู้เรื่อง ต้องพูดเป็นถัง ครับ)ถามว่า ลงทุนไปเท่าไหร่ เขาบอกว่า บ๋ได้จำ แต่ใช่ปุ๋ยไป 2 แก่นป่าย (แก่นแปลว่า กระสอบหรือลูก ป่าย แปลว่า กว่า) 2 แก่นป่ายก็ประมาณเกือบ ๆ 3 กระสอบเพราะใส่ 2 รอบ ส่วนยาก็มียาเพลี้ย (ยากันหรือฆ่าเพลี้ย) กับยาหอย (หอยเชอรี่)ครับ ตรงนี้แหละที่น่าเป็นห่วง คือ เรื่องหอยเชอรี่แยะมาก ๆ จะมีวิธีป้องกันกำจัดอย่างไร จำได้ว่า ลุงคิมเคยพูดถึง เชอรี่เดท หาซื้อได้ที่ไหนครับ .... มันมีที่เขาวางขาย ชื่อสามัญว่า เฟอร์แมนดีฮายด์ ชื่อการค้า หลากหลาย แต่หอยก็ยังมี
ตอบ :
ทั้งหมดนี้ คือ ปัญหาสากล ปัญหาซ้ำซาก เจ้าของปัญหารู้ดีแต่ไม่คิดแก้ไข ที่ไม่คิดแก้ไขเพราะ "ยึดติด" ดั่งคำพระท่านว่า "มิจฉา ทิฐิ" หรือภาษาชาวบ้านอย่างเราๆเรียกว่า "รั้น-ดันทุรัง" ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น ทั้งๆที่เห็นกับตา ชาวนาไม่น้อยทำนาตามประเพณี ทำตามความเคยชิน ส่วนใหญ่มักจะพูดว่า "ไม่มีใครมาส่งเสริม-แถวนี้ไม่มีใครทำ-พ่อแม่ไม่เคยนำทำ" สาระพัดที่ยกมาอ้าง

ตัวอย่าง....
- "ลงทุนไปเท่าไหร่ ?" บอกว่า "จำไม่ได้" นี่ก็แสดงว่า ไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เป็นไปได้ยังไงที่จำไม่ได้ว่าทุนที่จ่ายเป็นเงินจริงๆ ออกไปเท่าไหร่ ? ฉนี้แล้ว ต้นทุนอย่างอื่น เช่น ค่าเช่าที่. เวลา. แรงงาน. โอกาส. ล้วนแต่สูญเปล่าทั้งนั้น ใช่หรือไม่ ?

- นาข้าว 2 ไร่ ใส่ปุ๋ย 2 กส. ถือว่ายังน้อย....นาชาวบ้าน ติดไร่กล้อมแกล้ม นาเช่า 30 ไร่ ใส่ปุ๋ย 50 กส. ได้ข้าว 70 ถัง/ไร่ ตกเย็นมานั่งดูนาข้าวลุงคิม แต่ไม่เอ่ยปากพูดหรือถามอะไรซักกะคำ เขาคิดยังไง....นี่คือความ "ไม่มีความรู้" แต่เมื่อเห็นแปลงข้างๆเขาทำ เห็นกับตา ตั้งแต่วันแรกย่ำเทือกจนถึงวันเกี่ยว เห็นแล้วทำไมไม่ทำตามบ้าง การที่จะทำตามต้องมีความรู้สูงๆด้วยหรือ ทำไมคนที่ยังพูดรู้เรื่องได้จึงแยกแยะอะไรไม่ออกว่า อย่างไหน/วิธีไหน ดีกว่า กัน

- นาข้าว 20 ไร่ ใกล้ๆไร่กล้อมแกล้ม มาซื้อปุ๋ยลุงคิม คิดรวมตั้งแต่เริ่มทำเทือกถึงเกี่ยวเป็นเงินเบ็ดเสร็จ "20,000 (+) บาท" ได้ข้าว 100 (+) ถัง/ไร่ รุ่นต่อมาซื้อปุ๋ยจากเซลล์ที่มาเร่ขายตามบ้าน คิดรวมเบ็ดเสร็จ "50,000 (+)" ได้ข้าว 80 ถัง/ไร่....เขาคิดยังไง ?

**** เรื่องกำจัด "ศัตรูข้าว" ทุกชนิด อ่านตามลิงค์ที่ยกมาให้นั่นแหละ




ข้าวที่เก็บไว้กิน เขาจะเก็บเป็นข้าวเปลือกเอาไว้ในยุ้ง คนเหนือจะมียุ้งเก็บข้าวเปลือกไว้กิน เวลาจะกินก็บรรทุกไปโรงสีของหมู่บ้านครั้งละ 2-3 กระสอบปุ๋ย ก็พอกินไปได้ครึ่งเดือน นอกจากเก็บไว้กินแล้ว ก็เก็บส่วนหนึ่งไว้ทำพันธุ์ด้วย การไม่คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตมันก็ลดน้อยถอยลง
ตอบ :
ก็ว่ากันไป ถ้าเขาพอใจเช่นนั้น เอาแค่พออยู่พอกินคงได้ แต่จะเอาร่ำเอารวยคงยาก ในโลกนี้มีใครบ้างที่ไม่อยากรวย เห็นมีก็แต่พระศาสดา พระอรหันต์ เท่านั้น (หลวงพ่อพุทธทาส. หลวงพ่อปัญญา. ตายแล้วไม่มีเงินในธนาคารเลย) แล้วปุถุชนอย่างเราๆ มีเหรอที่ไม่อยากรวย ที่พูดว่า ไม่อยากรวย-ไม่อยากรวย น่ะ เพราะทำแล้วให้รวยไม่เป็นหรือเปล่า.....ที่พูดว่า ไม่อยากรวย-ไม่อยากรวย น่ะ โกหกตัวเอง ปลอบใจตัวเองหรือเปล่า

แล้วเราล่ะ ถึงจะไม่เอารวยถึงขั้นเศรษฐีแต่ก็ไม่ควรให้ขาดทุน ใช่ไหม ถ้าจะขาดทุนก็ขอให้แค่ขาดทุนกำไร จะดีกว่าไหม ?




เมื่อวันที่ 4 มิย. ผมให้ญาติไปซื้ออะไรต่อมิอะไร ที่วัดท่าตำหนัก ก็จะมี ระเบิดฯ 30-10-10 (2 แกลลอน), 21-7-14 (1 แกลลอน), ยูเรก้า 1 แกลลอน, ฮอร์โมนไข่ 1 แกลลอน, ไบโออิ 1 แกลลอน, หนอนและแมลง 1 แกลลอน, ไคโตซาน, NAA, แคลเซี่ยมโบรอน, อย่างละ 1 ลิตร มีมัลติแชมป์ (ตามคำแนะนำ) 1 ห่อ ทั้งมัลติแชมป์ และระเบิด 21-7-14 เอาไปใส่อะไรยังไม่รู้เลย....(หมดไปหลายตังค์แล้วครับ) ญาติเขาส่งฝากรถ 10 ล้อรับจ้างบรรทุกของส่งไปเย็นวันที่ 4 มิ.ย. ผมได้รับของเช้าวันที่ 6
ตอบ :
ตอบ :
น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แม้จะมีปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งแล้ว อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) ไม่พอต่อความต้องการของต้นข้าวก็ได้ แนะนำว่า ใส่เพิ่ม 16-16-16 เข้าไปอีกซัก 10 กก./ไร่ (ช่วงทำเทือก) กับ ให้รอบ 2 เพิ่มอีก 10 กก./ไร่ (ช่วงแตกกอ) ...... สรุป : ใช้ปุ๋ยธาตุหลักเพียง 20 กก./ไร่/รุ่น เท่านั้น

ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ควรให้ตัวหน้าสูงๆ สูงกว่าตัวกลางกับตัวท้าย (16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 30-10-10 หรือ 16-16-16 + 46-0-0) ที่แนะนำให้ใช้ 16-16-16 ก็เพราะนอกจากหาซื้อง่ายแล้วในของเดิมมี 30-10-10 เป็นทุนอยู่ด้วย เมื่อเพิ่ม 16-16-16 เข้าไป ก็เท่ากับตัวหน้ายังสูงกว่าตัวกลางกับตัวท้ายเหมือนเดิม (30-10-10 + 16-16-16 = ตัวหน้าสูง แต่ตัวกลาง/ตัวท้าย ต่ำทั้งคู่)

ในระเบิดเถิดเทิงมี 30-10-10 อยู่ก่อนแล้ว เหมือนเป็นฐาน ถ้าไม่ + 16-16-16 แต่ + 46-0-0 แทนก็ได้ เพราะ + แล้ว ตัวหน้าก็ยังสูงกว่าตัวกลาง/ตัวท้ายเหมือนเดิม....ที่แนะนำ 16-16-16 หรือ 46-0-0 ก็เพราะ 2 ตัวนี้หาง่าย ทำไมถึงต้องไปดิ้นรนหาสูตรที่มันหาซื้อยากๆด้วยล่ะ

**** ซื้ออะไรมากมายปานนั้น (วะ) น่ะ ที่จริงมันก็ใช่ ใช้กับต้นข้าวได้อยู่หรอก แต่มันไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น จะขี้ช้างจับตั๊กแตนรึไง

นาข้าวต้องการธาตุหลักเพียง 20 กก./ไร่/รุ่นเท่านั้น ที่เหลือเขาต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม - ฮอร์โมน และ อื่นๆ

ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงแล้ว ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด (กส.ละ 480) ไม่ต้องใส่กระดูกป่น (กส.ละ 520) เพราะในระเบิดเถิดเทิงมีให้แล้ว ถ้าจะใส่ก็ให้ใส่ยิบซั่ม กส.ละ 120 บาท เท่านั้น พอแล้ว คอยดูแลหมั่นให้ทางใบไว้เถอะเดี๋ยวดีเอง





เนื่องจาก ได้ไถลุยไว้แล้ว น้ำในนาก็พอมี กำลังเห่อของใหม่ ก็เลยเอา 30-10-10 ซึ่งมีอยู่แค่ 2 แกลลอน (10 ลิตรกว่า ๆ) ผสมน้ำ แกลลอนละ 200 ลิตร ตักใส่ถังเดินสาด ทั่วแปลงนา 4 ไร่ ๆละ 100 ลิตร ...... เล่นเอาเหนื่อย
ตอบ :
ระเบิดเถิดเทิงน่ะ อัตรานี้ถือว่า O.K. ว่าแต่ได้ใส่เพิ่ม 16-16-16 หรือ 46-0-0 เข้าไปไร่ละ 10 กก. ด้วยหรือเปล่า ถ้าใส่ก็ O.K. ..... ถ้าไม่ได้ใส่ ใจเย็นๆ คอยใส่ระเบิดเถิดเทิงรอบ 2 ตอนแตกกอ ตอนนั้นก็ให้ + เข้าไปด้วยซัก 10 กก. ก็ยังทัน ..... ที่สำคัญ ทางใบอย่าขาดก็แล้วกัน




มีคนมาเห็นแกลลอนระเบิดฯ เขาถามว่า อะหยังนี่ ระเบิดเถิดเทิง .....ก็บอกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เขาหัวเราะ แล้วบอกว่า ชีวภาพ เดี๋ยวก็พังพาบบ่ได้กิ๋นข้าวละเน้อ แล้วเขาก็เดินหัวเราะผ่านไป - ผมก็ต้องอุเบกขาละครับลุงคิม แต่ในใจนึกว่า เรื่องของฮา (ฮาแปลว่า กู) คิงมายุ่งอะหยัง (คิงแปลว่า มึง).....ความจริงใจแป้วเหมือนกันนะ เพราะไม่เคยทำนา ปลอบใจตัวเองว่า ผิดเป็นครูวะ อย่างมากก็ได้ข้าวเท่าที่คนเก่าเขาทำไว้ก็ยังดี นึกไปอีกทีก็คิดว่า ฝากไว้ก่อนเถอะโอฬาร ถ้าฮาได้ถึง 100 ถังละคิงเอ๊ย ระเบิดเถิดเทิงแน่ ๆ (ป่านนี้คงรู้กันทั่วหมู่บ้านแล้วว่า ผมจะต้องพังพาบ เพราะทำนา ชีวภาพ) ..... แต่ทีนี้ 16-8-8 เชียงรายไม่มีขาย คงต้องขอแบ่งซื้อ 46-0-0 กับ 16-16-16 อย่างละครึ่งลูก ผสมกันมันก็จะกลายเป็น 31-8-8 ตัวหน้าจะสูงไปมั๊ยเนี่ย
ตอบ :
ปุยทุกสูตรที่ลุงคิมทำขาย มีหลักวิชาการรองรับ ไม่ใช่มั่ว นึกจะใส่อะไรก็ใส่ FEED BACK จากคนที่เอาไปใช้ 10 คน บอกว่าสำเร็จ O.K. 8 ราย, 1 ราย ไม่ O.K. เพราะใช้ผิดวิธี, กับอีก 1 ราย เกิดจากสภาวะแวดล้อม (น้ำท่วม-แล้งจัด) อย่างสุดๆ

ปุ๋ยของลุงคิมไม่ใช่ปุ๋ยวิเศษ ก็อยากจะถามว่า ปุ๋ยยี่ห้อไหนที่เป็นของวิเศษ

ปุ๋ยสูตรถูกต้องแต่ใช้ไม่ถูกต้องก็ไม่ได้ผล เหมือนยาดี ตรงกับโรค แต่กินผิดแล้วโรคจะหายไหม ? หรืออาหารทุกตัวมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น แต่กินผิดแล้วร่างกายจะได้รับประโยชน์ไหม ?

พึงระลึกอยู่เสมอว่า ในธรรมชาติไม่มีคันเร่งเหมือนรถยนต์ หรือโวลลุ่มวิทยุ-โทรทัศน์ . ใส่ปุ๋ยมากๆแล้วจะได้ผลผลิตมาก ทุกอย่างทุกขั้นตอนต้องมีหลักการและวิธีการ เพราะฉนั้น ในพืชหรือต้นข้าวก็เหมือนกัน ปุ๋ยเป็นเพียงส่วนหนึ่งต่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิตเท่านั้น นอกจากปุ๋ยแล้ว พืชหรือข้าวยังต้องการ "ดิน-น้ำ-แสงแดด/-อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สายพันธุ์-โรค" เป็นองค์ประกอบอีกด้วย

จงมั่นใจในสิ่งที่ทำ และจงทำในสิ่งที่มั่นใจ.....เก็บข้อมูลที่ประสบความสำเร็จ และที่ล้มเหลวมาให้หมด ได้มาแล้วแยกแยะ อะไรถูก อะไรผิด แล้วเลือกเอาเฉพาะส่วนที่ถูกต้องมาเป็นแนวทางของตัวเอง ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องวัดที่ต้นข้าว ไม่ใช่วัดที่คน ปลูกข้าวตามใจต้นข้าว ไม่ใช่ตามใจคน

ว่างๆลองทำใจให้สงบแล้ววิเคราะห์เรื่องราวต่างๆอย่างมีเหตุมีผลซิว่า ทำไมชาวนาย่านข้างบ้านถึงยังคงยากจนอยู่ ยังเป็นหนี้เป็นสินอยู่ เป็นหนี้มานานกี่ปีแล้ว ปีไหนหรืออีกกี่ปีถึงจะปลดเปลื้องหนี้สินได้ อนาคตลูกหลานจะทำยังไง






ตอนนี้ก็ต้องคอยทำเทือกพร้อมคนอื่นที่เขายังไถไม่เสร็จ เพราะปัญหาเรื่องน้ำ (น้ำมาตามลำเหมือง คือ คูน้ำ ครับ) คือ พอไถกันเสร็จ กรมชลเขาจะปิดน้ำ พอเริ่มจะหว่านหรือตกกล้า ก็จะเปิดน้ำเพื่อให้เติ๊กนา (เติ๊กนา แปลาว่า ทำเทือก) ระหว่างนี้ ก็ร้องเพลงรอ (พังพาบ)
ตอบ :
เราต้องปรับตัวเรา บริหารเวลา วางแผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บางสิ่งเป็นสภาวะจำยอมก็ต้องยอม ขืนฝืนรังแต่จะเจ็บตัวเอง สุดท้ายจะไม่ได้อะไรเลย




อยู่เชียงรายแต่ก็ได้ฟังเสียงลุงคิมบรรยายทางคลื่น ปตอ. นะครับ เล่นไม่ยาก ก็บอกให้ญาติเขาอัดเสียงลุงทางมือถือ (มันมี MEM) แล้วก็เอาเข้าคอมที่กรุงเทพฯ ส่งไฟล์เสียงลุงคิมไปให้ แป๊บเดียวก็ได้ฟังแล้ว อาจช้าไปวันสองวัน เพราะญาติเขาก็มีภาระกิจของเขา เมื่อได้รับมาแล้วผมก็ถ่ายจากคอมเข้า Mem มือถือ แค่นี้ก็ได้ฟังเสียงลุงคิมแล้วครับ ขอบอกว่า ต้องแอบ ๆ ฟังคนเดียวไปก่อน .... แต่บางวันเสียงมันซ่า ญาติเขาบอกว่า บางวันฝนมันตก ฟ้าร้อง ลูกกวน (แต่ไม่ได้บอกว่า แม่ของลูกกวนหรือเปล่า)
ตอบ :
ก็เคยคิดจะเอาเสียงที่ออกอากาศมาออกที่เน็ตด้วยอยู่เหมือนกัน แต่ตอนนี้ยังขี้เกียจเพราะในรายการวิทยุมันมีสปอนเซอร์อยู่ด้วย กับบางครั้งก็คิดอยู่เหมือนกันอีกว่า เน็ตตรงนี้คงทำไปอีกไม่นานก็จะเลิก ที่ (ทน) ทำอยู่ทุกวันนี้เพียงเพื่อเอาไว้พูด "ก...ทำกับมือ มึงอย่าเถียง" เท่านั้นแหละ

วันนี้สถานการณ์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอท คอม เปลี่ยนไป เนื่องจากมีคนปรามาสว่า "เว้บลุงคิมน่ะปิดได้แล้ว...." จึงเกิดอาการอยากเอาชนะ ไม่ใช่เอาชนะคนที่ปรามาส แต่จะเอาชนะแนวคิดของคนหลายคนที่ว่าทำการเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม....." ตามสูตรของลุงคิม ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ไม่ได้ผล เป็นไปไม่ได้ อะไรๆประมาณนี้

ใกล้ วัน.ว เวลา น. ที่เว้บนี้จะปิดเข้ามาเต็มทีแล้ว เพราะวันนี้มีเสียงจากคนที่ทำแล้วได้ผล เสียงจากนักวิชาการ (อุดมการณ์) และข้อมูลจากงานวิจัย ยืนยันว่าถูกต้อง ในขณะเดียวกันคนที่ปฏิเสธแล้วยังยืนกรานทำตามแนวทางเดิมอยู่ก็เริ่มส่อแววความล้มเหลวชัดเจนขึ้นทุกที .... ขอดูคนกลืนน้ำลายตัวเองหน่อยน่า




ผมคิดไว้ว่า เสร็จนาคราวนี้ คราวหน้าถ้าจะทำ คงต้อง (ยอมจ่าย) ใช้ผาน 3 ปรับระดับนา 4 ไร่ให้เป็นผืนเดียวกัน
ตอบ :
เห็นด้วยอย่างมากๆ




ขออภัยที่เขียนมายาวมาก ก็จะพยายามรายงานความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะ ๆ .... อ้อ เรื่องข้าวสาลีของไร่บุญรอด ทางเดินในไร่ จะเป็นทางผ่านขึ้นเขาไปหมู่บ้านมูเซอแดง เข้าไปดูได้ครับ แต่ไม่ค่อยมีใครอยากเข้าไปดูเพราะ หมู่บ้านมูเซอแดง มันเป็นแดนต้องห้าม คนพื้นราบเข้าไป ออกมาก็อาจโดนจับตรวจฉี่ ความจริง ไร่บุญรอดอยู่ห่างตัวเมือง ชร.ออกไป ไม่กี่กิโลเอง ทำไม ตร.มองไม่เห็น หรือว่า คนเรามองไม่เห็นปลายจมูกของตัวเราเอง
ตอบ :
ที่นี่ประเทศไทยครับ คุณเพิ่งย้ายมาอยู่ประเทศไทยเหรอ....
ประเทศไทย คือ NATO
N = NO
A = ACTION
T = TALK
O = ONLY
แปลว่า ไม่มีการปฏิบัติ มีแต่พูด




ขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ตอนนี้ อินทรีย์ (30-10-10) นำ - หมดไปแล้ว มีอะไรที่จะแนะนำเรื่องการใช้ เคมีเสริม ก็ขอความกรุณาด้วย ยังไงๆ ก็ให้พังพาบ น้อยหน่อยนะครับ
ตอบ :
ทำนาข้าวตามแนวทางลุงคิม (อันที่จริง แนวทางของธรรมชาติ) ไม่ต้องไปสอนใคร ไม่ต้องไปบอกใคร ไม่มีใครฟัง ไม่มีใครเชื่อคุณหรอก.....

อย่าไปรับคำท้า หรือรับประกันผลงานกับใคร ว่าของเราถูกต้อง ของเขาผิด เพราะในธรรมชาติมีทั้งปัจจัยต้านและปัจจัยเสริม ความล้มเหลวกับความสำเร็จมาคู่กันเสมอ ถ้าเราทำสำเร็จเขาจะเฉยๆ แต่ถ้าเราล้มเหลวเขาจะหัวเราะเยาะ

สังคมวันนี้ วันใดที่คุณหัวเราะ สังคมจะหัวเราะกับคุณ แต่ถ้าวันใดที่คุณร้องไห้ สังคมจะปล่อยให้คุณร้องไห้คนเดียว



ลุงคิมครับผม





http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1565&sid=e6d9c0bad0d1d269dfd14b2173d7207c
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©