ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 5:34 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้าวหอมดำสุโขทัย ปลอดสารพิษ
สมเดช อิ่มมาก อดีตนักวิชาการด้านข้าวกรมวิชาการเกษตรในฐานะที่ปรึกษาโครงการ เกษตรอินทรีย์บางกอกแอร์เวย์สบนเนื้อที่เกือบ 400 ไร่ ภายในสนามบินสุโขทัย ซึ่งถูกแปลงสภาพให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เน้นทำการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร
เมื่อก่อนผมทำงานอยู่กรมวิชาการเกษตร ดูเรื่องข้าวโดยเฉพาะ ร่วมกับสุเทพ (ลิ้มทองกุล) นักวิชาการด้านข้าวอีกคน ทำงานร่วมกันมาตลอด จนสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวได้สายพันธุ์ใหม่ที่รู้จักกันในนาม ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice ) เมื่อก่อนพันธุ์ข้าวของรัฐบาลจะมีแต่ข้าวขาว ไม่มีข้าวแดง ถ้ามีสีแดงจะส่งออกไม่ได้ ต่างชาติจะไม่ยอมรับ เพราะเขาเคยชินกับข้าวขาว ตอนนั้นคุณมีชัย (วีระไวทยะ) นำข้าวแดงที่ผมศึกษาไว้ไปทดลองปลูกที่บุรีรัมย์ ปรากฏว่าให้ผลผลิตดีมาก แล้วก็ทำตลาดจนเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ท่านอนันต์ (ดาโลดม) อธิบดีกรมวิชาการในขณะนั้นก็สั่งให้ผมไปขึ้นทะเบียนพันธุ์เอาไว้
สมเดช ย้อนถึงที่มาของข้าวหอมมะลิแดง ในฐานะผู้พัฒนาข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวจนเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเมื่อครั้งรั้งตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ในปี 2531 ก็ได้นำสายพันธุ์ข้าวแดงหอม KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 และผสมย้อนกลับ (back cross) ไปหาพันธุ์แม่รวม 3 ครั้ง หลังจากนั้นได้นำสายพันธุ์ผสมปลูกคัดเลือกต่อที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จนได้สายพันธุ์ดีเด่น PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 ในปี 2537 ซึ่งมีผู้เสนอให้ใช้ชื่อพันธุ์ว่า ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice )
โดยข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะเป็นข้าวต้นเตี้ย ไม่ไวแสง เมล็ดยาวเรียว มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีแดง มีคุณภาพการหุงต้มดี และมีกลิ่นหอม ซึ่งกรมการข้าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปอีกพันธุ์หนึ่งเช่นเดียวกับข้าวหอมแดง ซึ่งข้าวทั้งสองพันธุ์ขณะนี้กรมการข้าวไม่มีการผลิตขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายหรือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแต่ประการใด
สมเดชเล่าต่อว่า หลังจากเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด หรือเออร์ลี่รีไทร์ ในปี 2547 ก็มาเป็นที่ปรึกษาให้โครงการเกษตรอินทรีย์บางกอกแอร์เวย์ส ตามคำชักชวนของ นพ.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อมาวางระบบพัฒนาโครงการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร โดยระยะแรกจะเน้นการทำนา ปลูกข้าวปลอดสารพิษ ก่อนขยายผลไปสู่พืชชนิดอื่นๆ ปัจจุบันภายในโครงการจะมีการปลูกพืชหลายชนิด ตั้งแต่พืชผักสวนครัวไปถึงไม้ผล อาทิ กล้วย มะละกอ มะม่วงมหาชนก มะปราง มะนาว ฯลฯ โดยข้าวมีสัดส่วนการใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดหรือประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด
ข้าวที่เราปลูกทั้งหมดจะเป็นข้าวหอมแดงสุโขทัย 1 และหอมดำสุโขทัย 2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เราปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาเอง อีกตัวที่อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร คือข้าวหอมดำสุโขทัย 3 ซึ่งผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีจะอยู่ที่ 300 กว่าตัน ส่วนใหญ่จะขายให้พนักงานบริษัทในราคาถูก รวมทั้งส่งให้โรงพยาบาลและโรงแรมในเครือ ส่วนที่เหลือก็จะนำออกวางขายแก่บุคคลทั่วไปในราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท ที่ปรึกษาโครงการคนเดิมระบุ
ข้าวหอมแดงสุโขทัย 1 ข้าวหอมดำสุโขทัย 2 และข้าวหอมดำสุโขทัย 3 ฝีมือการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ของอดีตนักวิชาการด้านข้าวชื่อดัง สมเดช อิ่มมาก ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ เกษตรอินทรีย์บางกอกแอร์เวย์สจึงนับเป็นข้าวเด่นอีกตัวที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในขณะนี้
ที่มา : คมชัดลึก
http://www.xn--b3c4bjh8ap9auf5i.th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B3-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5/ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 5:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มหัศจรรย์แห่ง ข้าวหอมชมพู
ข้าวหอมชมพู เป็นข้าวพันธุ์น้องใหม่ ที่เพิ่งลงสู่ตลาดนักบริโภคข้าวสุขภาพได้ไม่นานด้วยสีสรรสวยงามที่เป็นสีแดงออกชมพู เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ความนุ่ม จึงเหมาะกับผู้เริ่มรับประทานข้าวกล้องและผู้ที่ใส่ใจสุขภาพอย่างแท้จริงที่สำคัญข้าวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยให้ผิวพรรณของผู้ที่บริโภคเป็นประจำมีสุขภาพผิวดี เต่งตึง ท้าทายความเหี่ยวย่นตามวัย
ข้าวหอมชมพูนั้นเป็นชื่อทางการค้าที่นำมาเรียกกัน แต่แท้จริงแล้วก็คือ พันธุ์ข้าวหอมแดงสุโขทัย 1 ข้าวชนิดนี้ได้มาจากการผสมย้อนกลับที่วิจัยกันเมื่อปี 2539 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก โดยชื่อคู่ผสมก็คือ PSL 96016 ซึ่งได้ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง โดยวิธีคัดเลือกแบบหมู่ และแบบสืบตระกูล ได้คัดเลือกตามลักษณะทรงต้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แล้วนำรวงข้าวแต่ละสายพันธุ์มากะเทาะเปลือก เพื่อคัดเลือกไว้เฉพาะสายพันธุ์ข้าวขาวที่มีท้องไข่น้อย และคัดสายพันธุ์ข้าวแดงทิ้ง
จนกระทั่งในปี 2549 ก็ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จากข้าวตัวอย่างจนได้พันธุ์ PSL 96016-B4-3-1-SKT-1 และตั้งชื่อว่า ข้าวหอมแดงสุโขทัย1 และจดลิขสิทธิ์เป็นของบริษัท
ลักษณะเด่นของข้าวหอมมะลิแดงสุโขทัย หรือที่เราจะเรียกกันต่อไปนี้ว่า ข้าวหอมชมพู คือ เป็นข้าวกล้องสีชมพูเข้มเกือบแดง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และให้ผลผลิตสูง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย
พื้นที่ปลูก
ข้าวหอมชมพูได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โดยโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ซึ่งได้จดสิทธิบัติเป็นเจ้าของข้าวพันธุ์นี้ด้วย และด้วยความตั้งใจของผู้เป็นเจ้าของโครงการที่ต้องการให้เป็นข้าวอินทรีย์ ที่ควบคุมการผลิตโดยใช้ปัจจัยทางธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย หรือยาฆ่าแมลง จึงมีความเข้มงวดอย่างมากในระบบและกรรมวิธีการปลูก ข้าวหอมชมพู จึงปลูกในพื้นที่เฉพาะโครงการที่สนามบินสุโขทัยเท่านั้น
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวหอมแดงมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงโดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ในกลุ่ม โพลีฟินอล ซึ่งสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อรับประทานเข้าไปจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูอ่อนกว่าวัย เพราะการเกิดอนุมูลอิสระนั้นจะทำให้ผิวพรรณเหี่ยวย่น สารตัวนี้ยังช่วยลดผลกระทบจากรังสี UV คล้ายครีมกันแดด การทานข้าวหอมชมพูจึงทำให้มีสุขภาพที่ดีเพราะช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันและเบาหวานได้ พร้อมทั้งเพิ่มความงามได้อีกด้วย ผลการวิจัยยังรายงานว่าสารนี้ยังสามารถช้วยบำรุงผมให้หนาดกมีสุขภาพดีอีก
รูปลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประเภท : ข้าวหอมแดงสุโขทัย1 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไวต่อช่วงแสง
ลำต้นและใบ : สูงประมาณ 148 เซนติเมตร ทรงกอแบะ ปล้องสีเหลืองอ่อน ต้นแข็งแรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่ 10 มิลลิเมตร ใบสีเขียว มีขน กาบใบสีเขียว ใบธงตั้งตรงปานกลาง การแก่ของใบช้า
อายุการเก็บเกี่ยว : เป็นข้าวอายุปานกลาง เหมาะสำหรับปลูกในนาน้ำฝน
เมล็ดข้าวกล้อง : ข้าวกล้องมีสีชมพูเข้มเกือบแดง
ขนาดกว้าง x ยาว x หนา : 7.88 x 2.24 x 1.74 มิลลิเมตร มีท้องไข่น้อย
เปลือกหุ้มเมล็ดข้าว : เมล็ดเรียวยาว มีเปลือกสีฟาง และมีขน ยอดเมล็ดสีฟาง ขนาดมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.7 มิลลิเมตร กว้าง 2.75 มิลลิเมตร และหน้า 2.07 มิลลิเมตร
ผลิต : เฉลี่ย 645 กิโลกรัม / ไร่
คุณค่าทางโภชนาการของข้าวหอมชมพู (หน่วย : กิโลกรัม/ 100 กรัม)
โปรตีน 8.12(mg) ใยอาหาร 7.69(mg) วิตามินบี1 0.17(mg) วิตามินบี2 0.002(mg) วิตามินบี6 0.17(mg)
วิตามินอี 0.31(mg) แคลเซียม 87.07(mg) เหล็ก 10.31(mg) สังกะสี 23.29(mg)
http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=139209&action=edit&joomla=1
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/06/2011 12:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 5:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แหล่งเรียนรู้ในเขตจังหวัดสุโขทัย สนามบินสุโขทัย
ข้อมูลทั่วไป
สนามบินสุโขทัยเป็นสนามบินแห่งที่ 2 ของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ของคุณหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กลุ่มอาคารสำนักงานและอาคารผู้โดยสารที่สวยงามก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสุโขทัยประยุกต์ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้สนามบินสุโขทัยได้รับรางวัลการออกแบบจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ การตกแต่งพื้นที่โดยรอบจัดทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติด้วยกล้วยไม้ ดอกไม้ประดับนานาพรรณเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ จากพื้นที่แรกเริ่ม 2,000 ไร่ ขณะนี้สนามบินได้ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ทีละน้อย แต่มิใช่การขยายขนาดของอาคารโดยสารหรือรันเวย์ หากเป็นการขยายตัวของโครงการสาธารณประโยชน์มากมาย รวมทั้งโครงการเกษตรอินทรีย์จากการพัฒนาอย่างจริงจังของคุณวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ ภรรยาคุณหมอ ที่เริ่มปลูกข้าวอินทรีย์แปลงเล็กๆ แค่ไม่กี่ไร่ เมื่อแรกเริ่มทำสนามบิน จากนั้นก็พัฒนาพันธุ์ข้าวเรื่อยมาพร้อมกับการเติบโตของแปลงนาสาธิต จนปัจจุบันนาข้าวของสนามบินมีพื้นที่ถึง 400 ไร่ ให้ผลผลิตเพียงพอที่จะนำมาใช้เสิร์ฟผู้โดยสารบนเครื่องบิน โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงแรมในเครือ และยังมีเหลือพอสำหรับบรรจุถุงขายเป็นของที่ระลึกประจำสนามบินอย่างภาคภูมิด้วย ซึ่งไม่ได้มีแค่ภูมิทัศน์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัยอันโดดเด่น ทุ่งดอกไม้ขนาบแนวรันเวย์ราวกับทุ่งดอกทิวลิป แต่ยังมีท้องนาเขียวขจีตลอดปี มีฝูงควายที่ใช้งานจริงในท้องทุ่งเดินกันเป็นฝูง ทำงานกันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยให้เห็นเป็นปกติทุกวัน หรือใครนึกสนุกอยากลงไปร่วมดำนา เกี่ยวข้าว ก็ไม่เกี่ยง มีแปลงผักอินทรีย์และสวนกล้วยไม้ขนาด 5 ไร่ ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมฟรี มีพิพิธภัณฑ์ศิลปะสะสมส่วนตัวจำพวกเครื่องถ้วยสุโขทัย และสังคโลกที่พร้อมจะเปิดรับแขก
การบริหารจัดการของสนามบินสุโขทัย ยึดหลักการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จนทำให้สนามบินสุโขทัยได้รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดีเด่น จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ติดต่อกันหลายปี
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจของสนามบินสุโขทัย
- พ.ศ.2541 รางวัลชมเชยสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ.2542, พ.ศ.2543, พ.ศ.2545, พ.ศ.2548 รางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดีเด่น จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ.2546,พ.ศ.2547 รางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานระดับจังหวัด จากกระทรวงแรงงาน
- พ.ศ.2546 รางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านสวัสดิการแรงงานระดับประเทศ จากกระทรวงแรงงาน
สนามบินสุโขทัย อาณาจักรแห่งการเรียนรู้
โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย เน้นการทำนาแบบดั้งเดิมโดยไม่ใช้สารเคมี เพาะปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ และสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ที่อุดมด้วยอาหาร คือ ข้าวสุโขทัย 1 (ข้าวแดงหอม) ข้าวสุโขทัย 2 (ข้าวหอมสีดำ) ผลผลิตที่ได้นอกจากนำมาบริโภคภายในองค์กรแล้วยังจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้รักสุขภาพด้วย
อาคารนิทรรศการเครื่องเคลือบสุโขทัย ก่อสร้างด้วยศิลปะสุโขทัยประยุกต์เช่นกัน ภายในอาคารดังกล่าว เป็นที่รวบรวมเครื่องเคลือบซึ่งผลิตจากแหล่งเตาโบราณ มีความสวยงามและหาชมได้ยาก ที่สำคัญยังเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องเคลือบของสุโขทัย และแหล่งเตาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
นครวัดจำลอง นครวัดจำลองที่สนามบินสุโขทัย ถือได้ว่างานไม้แกะสลักที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในโลก ในสัดส่วน 1 ต่อ 50 เพียงแค่เห็นหุ่นจำลองไม้แกะปราสาทหินนครวัดแห่งนี้ ทำให้เกิดจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่อลังการของปราสาทหินนครวัด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
เรือนกล้วยไม้สนามบิน เรือนกล้วยไม้ของสนามบิน จัดได้ว่าเป็นแหล่งรวมพันธุ์กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุโขทัย มีกล้วยไม้นานาพันธุ์มากกว่า 100,000 ต้น รวมทั้งหน้าวัวพันธุ์ในประเทศและต่างประเทศซึ่งหมุนเวียนผลิดอกให้ชมตลอดทั้งปี
กลุ่มอาคารสาธิตเครื่องปั้นดินเผาและการทอผ้าพื้นเมือง อาคารสาธิตเครื่องปั้นดินเผา จัดสาธิตการทำเครื่องปั้นดินเผา ทั้งชนิดเคลือบสีเขียวแบบสังคโลกสุโขทัย แบบเขียนลาย และชนิดเผาดิบไม่เคลือบ อีกทั้งยังมีเตาเผาจำลองทำด้วยอิฐแบบโบราณ ส่วนอาคารสาธิตการทอผ้าพื้นเมืองจัดสาธิตการทอผ้าด้วยกี่กระตุกทอเป็นลายพื้นเมืองและลายจกที่สวยงามในอนาคตศูนย์สาธิตแห่งนี้จะเปิดให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ผลิตผลงาน ลงมือปั้นและเขียนลายด้วยตนเอง และสามารถรับผลงานได้ในวันเดินทางกลับ ภายในสนามบินยังมีสวนสัตว์ขนาดย่อม ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดให้ชม เช่น สัตว์จำลองพวกกวาง นกยูง ไก่ฟ้า นกคาสาวารี ไก่แจ้ รวมทั้งควายเผือกไทยฝูงใหญ่
สิ่งที่น่าสนใจในพื้นที่ของโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย
ลานต้อนรับ ประกอบด้วย ร้านอาหารข้าวหอมสุโข ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นิทรรศการความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ หน่วยพัฒนาพันธุ์ข้าว โรงเรือนกางมุ้ง ทั้งยังมีลานตากข้าวเปลือก ยุ้งข้าว โรงเลี้ยงเป็ด อยู่ในรัศมีที่เดินเที่ยวได้อย่างสบาย ๆ
ชุมชนโรงสีข้าว ประกอบด้วย ไร่อิ่มเอม ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านพักของทีมงานโครงการฯ รวมทั้งที่พักแบบโฮมสเตย์ บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายด้วยต้นไม้ใหญ่และบ่อปลา และมีโรงสีข้าวขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเดินชมการสีข้าว การค้ดเลือกเมล็ดข้าวและการบรรจุถุงได้อย่างเพลิดเพลิน
แปลงนาปู่ย่าตายาย เป็นพื้นที่สาธิตการทำนาของชาวนาไทยโบราณที่ทุกขั้นตอนพึ่งพาแรงงานคนและควาย รวมถึงการเก็บเกี่ยวจนได้ออกมาเป็นเมล็ดข้าวด้วยเครื่องมือที่สะท้อนภูมิปัญญาไทย
แปลงนาสวนผสม คือหัวใจสำคัญของโครงการ ประกอบด้วย นาข้าว แปลงผัก และสวนผลไม้ ซึ่งเปิดให้เยี่ยมชมอย่างใกล้ชิด ด้วยการปั่นจักรยานหรือนั่งรถพ่วงไถนาที่โครงการฯ จัดเตรียมไว้
นาบัวบึงหงส์ พื้นที่ชุ่มน้ำสองแห่งนี้รอต้อนรับด้วยภาพของบัวกลีบสีชมพูซึ่งกระจายเต็มนาบัว ในฤดูกาลออกดอก และหงส์ขาวหงส์ดำหลายคู่ที่อวดลีลาอยู่เหนือผิวน้ำ
ห้องเรียนกลางแจ้ง สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสวิถีเกษตรอินทรีย์อย่างใกล้ชิด คุณสามารถเข้าร่วมกิจกรรม ห้องเรียนกลางแจ้ง เพื่อเรียนรู้และลงมือปฏิบัติงานส่วนต่างๆ ภายในโครงการฯ โดยมีเกษตรกรอินทรีย์ตัวจริงเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
สองขาสองล้อ การปั่นจักรยานน่าจะเป็นวิธีเยี่ยมชมบรรยากาศรอบพื้นที่เกษตรกรรมอินทรีย์แห่งนี้ได้ อย่างสนุกสนานและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเช้าตรู่ที่มีแสงแดดอ่อนๆ และยามเย็นที่แดดร่มลมตกจากจุดเริ่มที่ลานต้อนรับ สู่คอกควาย สู่ท้องนาผืนกว้าง สู่สวนผลไม้ที่มีทั้งกล้วยมะละกอ และมะม่วง สู่แปลงผัก โดยระหว่างทางจะมีเถียงนาให้แวะพักหลบร้อนอยู่เป็นระยะ
สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่ : โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย (64110)
เบอร์โทรศัพท์ : 055-647-290
โทรสาร : 055-647-291
websit : http://www.kaohomsukhothai.com/index.htm
แผนที่แสดงที่ตั้งของสนามบินสุโขทัย
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสนามบินสุโขทัย
- วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการบิน
- เกษตรอินทรีย์ และเกษตรแบบผสมผสาน
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
- ความหลากหลายของกล้วยไม้
- การสาธิตการทำเครื่องปั้นดินเผา และการทอผ้า
โครงการสำรวจแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาค ระยะที่ 1
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
http://202.29.52.59/~s49042970122/cdpresent/showp.php?idp=52&namecity=%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 9:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 5:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้าวพันธุ์หอมดำสุโขทัย 2
แหล่งที่มาและประวัติ
ข้าวหอมดำสุโขทัย 2 ได้มาจากการผสมพันธุ์เดี่ยว (Single cross) ในปี 2543 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชื่อคู่ผสม PSL00284 ชื่อพันธุ์แม่ Khao Hom Nil ชื่อพันธุ์พ่อ PSL94052-P47-6R-2-2 (พันธุ์แม่รับเมล็ดพันธุ์มาจากแปลงทดสอบโรคไหม้ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พันธุ์พ่อมาจากเมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่8 ของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง Khao Glam GS.No.7677 /Gulahb Daeng )
ซึ่งได้ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์ โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยวิธีคัดเลือกแบบเร่งรัดชั่วอายุ (RGA-SSD) ใช้ห้องมืดบังคับให้ออกดอกโดยไม่มีการคัดเลือกในชั่วอายุต้นๆ แล้วจึงนำรวงในชั่วที่ 5 มากะเทาะเปลือก เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะข้าวกล้องสีขาวไม่มีท้องไข่ นำไปปลูกเพิ่มปริมาณเมล็ด เพื่อคัดเลือกและศึกษาพันธุ์ต่อไป
ส่วนสายพันธุ์จาก RGA-SSD ที่มีลักษณะข้าวกล้องมีสีจะถูกคัดทิ้งทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันการปนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของทางราชการ
ต่อมาในปี 2547 โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย มีความสนใจในพันธุกรรมข้าวกล้องมีสีที่ถูกคัดทิ้งดังกล่าว จึงติดต่อขอเมล็ดสายพันธุ์มีสีที่ถูกตัดทิ้งทั้งหมด เพื่อนำมาศึกษาและทดสอบพันธุ์ต่อ ที่โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
และในปี 2549 คัดเลือกได้สายพันธุ์ PSL00284-12-2-5R-SKT-1 ตั้งชื่อว่า หอมดำสุโขทัย 2 มีลักษณะเด่น คือ เป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดำ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ผลผลิตสูง ลำต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประเภท : พืชล้มลุก วงศ์หญ้า พวกข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง
ต้น : สูงประมาณ 110 เซนติเมตร ทรงกอตั้งตรง ปล้องสีม่วง ต้นแข็งแรง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นปานกลาง ( 7.2 มิลลิเมตร)
ใบ : ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบม่วง มีขน กาบใบสีม่วง ใบธงตั้ง การแก่ของใบช้า
ดอก/ช่อดอก : การโผล่พ้นของรวงค่อนข้างมาก ลักษณะรวงจับกันแน่นปานกลาง แตกระแง้ปานกลาง จำนวนรวง 18 รวงต่อกอ ความยาวของรวงเฉลี่ย 30 เซนติเมตร
เมล็ด : จำนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 126 เมล็ด เมล็ดเรียวยาว มีเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล และมีขน ยอดเมล็ดสีม่วง ขนาดเมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.7 มิลลิเมตร กว้าง 2.25 มลลิเมตร และหนา 1.87 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 24 กรัม ข้าวกล้องมีสีม่วงดำขนาดยาว 7.08 มิลลิเมตร กว้าง 2.04 มิลลิเมตร และหนา 1.54 มิลลิเมตร มีท้องไข่น้อย
ลักษณะอื่นๆ
ก. ผลผลิตเฉลี่ย 750 กิโลกรัมต่อไร่ (ปลูกในสภาพเกษตรอินทรีย์) อายุวันออกดอกประมาณ 88 วัน เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมล็ดพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว เหมาะสำหรับปลูกในนาชลประทาน ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแบบครบวงจร โดยจัดพื้นที่ปลูกไว้เฉพาะข้าวสี เพื่อป้องกันการปนในพื้นที่ปลูกข้าวขาว ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่
ข. คุณภาพเมล็ด เป็นข้าวกล้องที่มีปลอกหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ มีปริมาณอมิโลส 14 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุก 80 มม. ค่าอุณหภูมิแป้งสุก 6.0 มีกลิ่นหอม คุณภาพการหุงต้ม เป็นข้าวสุกเหนียว นุ่ม และมีกลิ่นหอม
ค. ข้อควรระวัง : ข้าวหอมดำสุโขทัย 2 เป็นข้าวที่มีปลอกหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ควรกำหนดพื้นที่ปลูกให้อยู่ในผืนเดียวกัน เพื่อป้องกันการปนระหว่างพันธุ์ข้าวที่มีสี กับข้าวขาว อาจทำให้คุณภาพเมล็ดข้าวเสียหาย และควรปลูกแบบครบวงจรโดยมีนักชาการเกษตรด้านพันธุ์ข้าวควบคุมการผลิต และมีตลาดรองรับที่แน่นอน
ลักษณะเด่นพิเศษ ข้าวหอมดำสุโขทัย 2 เป็นข้าวกล้องสีม่วงดำ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์หอมกุหลาบแดง ดังนี้
คลิกไปดูภาพเพิ่มเติม....
http://m.doa.go.th/pvp/planttabian/t86.pdf |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 7:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้าวหอมสุโขทัย...
ข้าวหุงสุกใหม่ๆ ที่ส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณลานกว้างนั้น เป็นข้าวหลากหลายพันธุ์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัยของบริษัทบางกอกแอร์เวย์ส
สายจัดวันหนึ่งท่ามกลางเปลวแดดของท้องทุ่งนาในจังหวัดสุโขทัย วัลลีย์ ปราสาททอง โอสถ ภรรยาของหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของบริษัทการบินกรุงเทพ หรือบางกอก แอร์เวย์ส เดินลิ่วนำ "ผู้จัดการ" ไปยังแปลงนาโดยปฏิเสธทั้งงอบและหมวกที่คนงานนำมาให้
เธอเป็นผู้หญิงร่างเล็กที่กระฉับกระเฉง การได้ออกมาดูงานของโครงการปลูกข้าวที่นี่ เป็นความสุขที่ทำให้ต้องเดินทางมาบ่อยๆ
จากสนามบินสุโขทัย สองข้างทางถนนที่ออกไปยังตัวเมืองมีต้นพญาสัตบรรณจำนวน 600 ต้น ยืนตรงเรียงราย ถัดจากไหล่ถนนคือท้องทุ่งนาที่เขียวขจี ในพื้นที่ 200 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดที่หมอปราเสริฐซื้อรวบรวมเก็บไว้สมัยสร้างสนามบินใหม่ๆ ประมาณ 2 พันไร่
จุดเริ่มต้นความสนใจปลูกข้าวเริ่มจากตัววัลลีย์ ผู้มีความสนใจการเรียนรู้เรื่องพลังจักรวาล ต้องการทดลองดูว่าพลังพวกนี้ใช้กับการปลูกข้าวได้หรือเปล่า โดยตอนแรกเริ่มจากการทำแปลงเล็กๆ ประมาณ 2 ไร่ ใช้ระยะเวลาทดลองอยู่ 3 ปีกว่า
"ตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพิษณุโลก มาร่วมวางแผนทดลองพันธุ์ข้าวให้โดยวิธีใช้พลังจิต มีเจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มปลูก วัดความสูงของต้นข้าว วัดปริมาณรวงข้าวที่ออกมา วัดผลผลิตที่ได้แล้วเขาก็วิเคราะห์ออกมา สรุปแล้วบอกว่า การใช้พลังจิตได้ผล และสามารถทำให้ต้นข้าวโตได้โดยไม่ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง คือ เราก็คิดว่า หากทำอย่างนี้ได้ ชาวนาก็จะทุ่นต้นทุนการผลิตไปได้เยอะมาก"
เริ่มแรกโครงการนี้เกิดขึ้นเพราะความเชื่อเรื่องพลังจักรวาล ต่อมาทีมงานก็ได้พัฒนาการปลูกข้าว โดยไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยจากการหมักหอยเชอรี่ หรือการทำยาฆ่าแมลง ด้วยสารจากสะเดาที่หมักด้วยความร้อนที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์แทน
กลายเป็นแปลงข้าวปลอดสารพิษ ที่กำลังทดลองพันธุ์ข้าวใหม่ๆ หลายพันธุ์ โดยมีสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการการเกษตรและปรับปรุงพันธุ์ข้าวของกรมวิชาการการเกษตร มาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ
จากการอธิบายของสมเดช จึงได้รู้ว่า การแข่งขันกันเอาชนะระหว่างมนุษย์กับโรคพืช และแมลง ทำให้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ออกมามากมายนับหมื่นสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิต สูงและมีภูมิต้านทานโรคพืชได้ดี
เดิมจะปลูกข้าวหอมมะลิ หอมชัยนาท หอมสุพรรณ ตอนหลังมาพัฒนาเป็นข้าวหอมแดง กับข้าวหอมกุหลาบแดง ปัจจุบันมีผลผลิต หลักๆ คือ ข้าวหอมมะลิชัยนาท ประมาณ 60 ตันต่อปีต่อครั้ง ข้าวหอมแดง 10 ตัน ข้าวหอมมะลิ 12 ตัน ข้าวหอมนิลเพิ่งปลูก และเร็วๆ นี้จะมี ข้าวพันธุ์ลูกผสมที่สมเดชเรียกว่า ข้าวแฟนซี และอยู่ในระหว่างกำลังวัดผลผลิตว่า จะเอาพันธุ์ไหนออกมา ซึ่งจะมีทั้งสีดำ สีแดง และ สีทอง และกำลังคัดพันธุ์ใหม่มาทดลอง ประมาณ 140 สายพันธุ์ และ อยู่ในระหว่างเปรียบเทียบผลผลิตอีกประมาณ 8 สายพันธุ์
ที่นี่สามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี เพราะในสนามบินมีบ่อน้ำที่เกิดจากการขุดดินเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หลายจุด และเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเปลือก ที่ได้ถูกนำมาสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้องที่มีคุณสมบัติในการกะเทาะเปลือกออกมาแต่ไม่ได้ขัดสารอาหารออกมาเหมือนเครื่องสีข้าวขาว
นอกจากปลูกเพื่อให้คนงานรับประทานกันเองแล้ว ข้าวหอมพันธุ์ต่างๆ ที่เสิร์ฟบนเครื่องบินบางกอกแอร์เวย์ส ในโรงแรมที่สมุย และข้าวบนโต๊ะอาหารที่บ้านของหมอปราเสริฐและวัลลีย์ คือ ผลผลิตจากที่นี่ ในขณะเดียวกันเมื่อกระแสการรักษาสุขภาพมีมากขึ้น ก็มีกลุ่มคนที่ต้องการซื้อไปรับประทานเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสามารถสั่งซื้อโดยตรงที่สนามบินสุโขทัย
"ตอนหลังคุณหมอก็สนับสนุนต้องการให้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น แล้วลองดูว่าจะเลี้ยงตัวเองได้ไหม จาก 60 ไร่ เลยขยายเพิ่มเป็น 200 ไร่ ตอนนี้มีคนถามหามากขึ้นเลยคิดว่า หากเราขยายจริงจังก็สามารถทำเป็นการค้าได้" วัลลีย์เล่าต่อว่า ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ขาดแรงงาน เพราะหากจ้างคนมาทำนาก็ไม่มีใครมา ชาวบ้านต้องการทำงานอย่างอื่นในสนามบินมากกว่า
"เมื่อก่อนเราก็เคยใช้วิธีแบ่งแปลงให้ชาวบ้านไปปลูก ผลผลิตเรารับซื้อ แต่ชาวบ้านจะคุ้นเคยกับการทำนาที่ใช้ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลงมากกว่า เขาก็จะยืนยันทำแบบเดิม เราไม่ต้องการให้ทำอย่างนั้น เลยเลิกไป"
แม้ว่าตอนนี้รายได้จากการปลูกข้าวได้เพียงแค่เลี้ยงตัวเอง ไม่ได้มีเม็ดเงินกำไร แต่สิ่งที่วัลลีย์คาดหวัง ก็คือ มันน่าจะเป็นโครงการนำร่องที่พิสูจน์ให้ชาวบ้านเห็นว่าเกษตรอินทรีย์สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องเอาเงินไปเสียค่าปุ๋ย ยาฉีดแมลง เป็นผลผลิตปลอดสารพิษที่สามารถทำราคาขายที่ดีได้ด้วย
"ราคาข้าวกล้อง ชาวบ้านขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท ของเราขายกิโลละ 50 บาท และ แนวโน้มคนสนใจมากขึ้นด้วย" สมเดชให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยยังไม่ได้หวังไกลไปถึงการทำตลาด ต่างประเทศ เพราะจะต้องมีขั้นตอนอีกมากมาย
การทำนาข้าวที่สนามบินสุโขทัย กลายเป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมทั้งสถาบันวิชาการต่างให้ความสนใจ ที่ว่างส่วนหนึ่งของแปลงสาธิตจึงจัดไว้เป็นศาลาที่พักรับรองแขก และโชว์ข้าวพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องสีข้าว และอุปกรณ์ต่างๆ ในสมัยโบราณ เช่น ครกตำข้าว กระด้งฝัดข้าว ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน
ส่วนในท้องนา "นังดาว" ควายตัวเมียที่โครงการนำมาเลี้ยง กำลังโชว์การไถนาให้แขก ที่มาเยี่ยมได้ชมด้วย
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=34717
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/06/2011 9:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11633
|
ตอบ: 05/06/2011 7:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้าวหอมดำสุโขทัย 2
ข้าวหอมดำสุโขทัย 2 ได้มาจากการผสมพันธุ์เดี่ยว (Single cross) ในปี 2543 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชื่อคู่ผสม PSL00284 ชื่อพันธุ์แม่ Khao Hom Nil ชื่อพันธุ์พ่อ PSL94052-P47-6R-2-2 (พันธุ์แม่รับเมล็ดพันธุ์มาจากแปลงทดสอบโรคไหม้ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พันธุ์พ่อมาจากเมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 8 ของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง Khao Glam GS.No.7677 /Gulahb Daeng ) ซึ่งได้ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนเขตภาคเหนือตอนล่าง
โดยวิธีคัดเลือกแบบเร่งรัดชั่วอายุ (RGA-SSD) ใช้ห้องมืดบังคับให้ออกดอก โดยไม่มีการคัดเลือกในชั่วอายุต้นๆ แล้วจึงนำรวงในชั่วที่ 5 มากะเทาะเปลือกเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะข้าวกล้องสีขาวไม่มีท้องไข่ นำไปปลูกเพิ่มปริมาณเมล็ด เพื่อคัดเลือกและศึกษาพันธุ์ต่อไป
ส่วนสายพันธุ์จาก RGA-SSD ที่มีลักษณะข้าวกล้องมีสีจะถูกคัดทิ้งทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันการปนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของทางราชการ ต่อมาในปี 2547 โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย มีความสนใจในพันธุกรรมข้าวกล้องมีสีที่ถูกคัดทิ้งดังกล่าว จึงติดต่อขอเมล็ดสายพันธุ์มีสีที่ถูกตัดทิ้งทั้งหมด เพื่อนำมาศึกษาและทดสอบพันธุ์ต่อ ที่โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
และในปี 2549 คัดเลือกได้สายพันธุ์ PSL00284-12-2-5R-SKT-1 ตั้งชื่อว่า หอมดำสุโขทัย 2 มีลักษณะเด่น คือ เป็นข้าวต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดำ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ผลผลิตสูง ลำต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย
อ้างอิง กรมวิชาการเกษตร
http://chm-thai.onep.go.th/chm/data_province/sukothai/biogenetic%20plan.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|