kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11698
|
ตอบ: 18/06/2011 9:05 pm ชื่อกระทู้: มหัศจรรย์ ............. ธาตุแคลเซียม |
|
|
ลำดับเรื่อง....
1. หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียม
2. บทบาทของแคลเซียม
3. ธาตุแคลเซียม
4. หน้าที่ธาตุแคลเซียม ต่อพืช
5. ธาตุแคลเซียมในดิน
6. ธาตุแคลเซียม CALCIUM
7. ความสำคัญของธาตุแคลเซี่ยม
----------------------------------------------------------------------------------------------
1. หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียม
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
- ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
- ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน ช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่างและขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
- ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
- ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
- เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่ ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการ
- เน่าที่ส่วนล่างผล,
- ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ,
- ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว,
- ในแอปเปิลจะมีรสขม,
- ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
- ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว (หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์
ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ
ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
http://www.thaigoodview.com/node/31278
----------------------------------------------------------------------------------------------
2. บทบาทของแคลเซียม
เซลล์พืชดูดแคลเซียมเข้าไปในรูปของแคลเซียมไอออน (Ca2+) และอยู่ในเซลล์สองลักษณะ คือ
1) เป็นองค์ประกอบของสารต่างๆ และ
2) คงอยู่ในรูปของไอออน
สำหรับบทบาทของแคลเซียมในพืช มีดังนี้
2.2.1 เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์
แคลเซียมเป็นองค์ประกอบของสารในมิดเดิลลาเมลลาซึ่งเป็นชั้นบาง ๆ และอยู่กึ่งกลางระหว่างผนังเซลล์ของเซลล์ที่ติดกัน แต่มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างจากผนังซึ่งเป็นเซลลูโลส มิดเดิลลาเมลลามีสารเพ็กทิกอยู่ส่วนหนึ่ง สารในกลุ่มนี้คือกรดเพ็กทิกกับอนุพันธ์ของกรดดังกล่าว แต่ที่มากที่สุดคือเกลือเพ็กเทต ซึ่งได้แก่เกลือแคลเซียมเพ็กเทตและแมกนีเซียมเพ็กเทต โดยไอออนทั้งสองทำหน้าที่เชื่อมไขว้และยึดโยงโมเลกุลของกรดเพกทิกเข้าด้วยกัน ดังนั้นแคลเซียมร่วมกับแมกนีเซียมจึงช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรง และมีความยืดหยุ่นด้วย
ภาพที่ 12 แคลเซียมในมิดเดิลลาเมลลา
2.2.2 ส่งเสริมการปฏิสนธิ (fertilization)
หลังจากการถ่ายเรณูบนยอดเกสรเพศเมีย เรณูเจริญและยืดตัวหลอดเรณูในก้านเกสรเพศเมียได้ตามปรกติ เมื่อมีแคลเซียมในก้านเกสรเพศเมีย เพิ่มขึ้นตามระยะทางจากยอดเกสรเพศเมีย เนื่องจากหลอดเรณูยืดตัวไปยังทิศที่ความเข้มข้นของแคลเซียมสูงขึ้นเป็นลำดับ
2.2.3 ส่งเสริมการงอกของเมล็ด
แคลเซียมร่วมกับกรดจิบเบอร์เรลลิก ส่งเสริมการงอกของเมล็ดในสองด้านคือ
- เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสซึ่งมีหน้าที่ย่อยแป้ง โดยทำให้โมเลกุลของแป้งถูกทอนให้สั้นลง จึงนับเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยแป้งในเอนโดสเปอร์มของเมล็ด ให้มีขนาดของโมเลกุลเล็กเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ ต่อจากนั้นก็นำเอทีพีที่ได้มาเป็นประโยชน์เพื่อสังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นอ่อน และ
- ช่วยในการยืดตัวของโคลีออพไทล์ ที่งอกมาจากเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเป็นบทบาทร่วมกันของออกซินกับแคลเซียม
2.2.4 ทำให้เยื่อมีเสถียรภาพ
แคลเซียมทำให้เยื่อหุ้มเซลล์และออแกเนลล์ต่างๆมีเสถียรภาพ โดยเป็นสะพานเชื่อมระหว่างฟอสเฟตกับหมู่คาร์บอกซิลของฟอสโฟลิพิดและโปรตีนตรงบริเวณผิวของเยื่อ จึงช่วย
- กำหนดการคัดเลือกชนิดและปริมาณไอออนที่ยอมให้ผ่านเยื่อ
- ป้องกันการรั่วไหลของสารออกจากเซลล์ หากพืชขาดธาตุนี้รุนแรงจนโครงสร้างของเยื่อเสื่อมสลาย จะมีสารต่าง ๆ ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กรั่วไหลออกมาจากเซลล์มากจนเซลล์ตาย และ
- ป้องกันความเสื่อมของเยื่อเมื่อพืชประสบกับภาวะหนาวจัดหรือขาดออกซิเจน
2.2.5 รักษาสมดุลของแคตไอออน-แอนไอออน
แคลเซียมในใบพืชส่วนใหญ่อยู่ในแวคิวโอล ทำหน้าที่รักษาดุลยภาพของแคตไอออนกับแอนไอออนทั้งประเภทอนินทรีย์และอินทรีย์ สำหรับพืชที่ชอบสังเคราะห์ออกซาเลตเมื่อมีการรีดิวซ์ไนเทรตก็สะสมแคลเซียมออกซาเลตไว้ในแวคิวโอลเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อรักษาความเข้มข้นของแคลเซียมอิสระในไซโทซอล(cytosol) ให้ต่ำอยู่เสมอ
2.2.6 การควบคุมศักย์ออสโมซิส
แคลเซียมมีบทบาทในการควบคุมศักย์ออสโมซิสของเซลล์ดังนี้
- การสังเคราะห์แคลเซียมออกซาเลตซึ่งละลายได้น้อยไว้ในแวคิวโอลเป็นวิธีควบคุมมิให้ความดันออสโมซิส ของแวคิวโอลเพิ่มมากเกินไป
- ควบคุมศักย์ออสโมซิสโดยทางอ้อมในการปิดและเปิดปากใบ กล่าวคือแคลเซียมกระตุ้นการผ่านของโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์คุมเมื่อใบพืชได้รับแสง และให้โพแทสเซียมออกจากเซลล์คุมเมื่อใบอยู่ในที่มืด
- แคลเซียมและโพแทสเซียมเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ใบเข้านอน (nyctinastic movement) ของใบพืชตระกูลถั่ว และใบสะดุ้ง (seismonastic movement) ของใบไมยราพย์
2.2.7 เป็นตัวนำรหัสที่สอง (second messenger)
แคลเซียมเป็นตัวนำรหัสที่สองของซลล์ เนื่องจาก
- ตามปรกติแคลเซียมไอออนอิสระในไซโทซอลมีความเข้มข้นระหว่าง 0.1-0.2 ไมโครโมลาร์ แต่ในส่วนอื่น ๆ ของเซลล์เดียวกันต้องมีความเข้มข้นสูง
- เมื่อมีสัญญาณจากภายนอก เช่น IAA แสง เชื้อโรค การขาดน้ำ หรือการเกิดบาดแผล ไอออนนี้จากส่วนอื่นจะเข้าสู่ไซโทซอลทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น โปรตีนชนิดหนึ่งในไซโทซอล ชื่อแคลโมดูลิน (calmodulin) จะจับแคลเซียมไอออนดังกล่าวไว้ ทำให้แคลโมดูลินกลายเป็นฟอร์มที่มีฤทธิ์ สามารถกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์บางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมแทบอลิซึมของเซลล์จึงเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อสัญญาณจากสิ่งเร้าภายนอก จึงถือว่าแคลเซียมเป็นตัวนำรหัสที่สอง
2.2.8 ควบคุมการตอบสนองต่อความถ่วง
แคลเซียมและออกซินมีบทบาทในการควบคุม ให้รากพืชมีทิศทางในการเจริญลงไปในดิน โดยปรับให้การยืดตัวของเซลล์คอร์เท็กซ์ในรากมีความสมดุล ดังนั้น รากจึงไชชอนลงไปถึงดินล่างอย่างต่อเนื่อง
http://www.dryongyuth.com/journal/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8.pdf
------------------------------------------------------------------------------------------
3. ธาตุแคลเซียม
เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้เห้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้ว ๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน
http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21
--------------------------------------------------------------------------------------------------
4. หน้าที่ธาตุแคลเซียม ต่อพืช
หน้าที่ของ Ca (แคลเซียม) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้น เป็นตัวทำให้ผลและใบแข็ง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอ และตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ
http://www.art2bempire.com/board/index.php?topic=55320.0;wap2
---------------------------------------------------------------------------------------------------
5. ธาตุแคลเซียมในดิน (Ca)
ธาตุแคลเซียมเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อพืชธาตุหนึ่ง โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของธาตุรอง ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช รองมาจากธาตุอาหารหลัก เนื่องจากธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ที่อยู่ในรูปของแคลเซียมเพคเตต (calcium pectate) ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยในการสร้างโปรตีนและช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดเช่น ฟอสฟอไลเปส (phospholipase) รูปของแคลเซียมในดิน แคลเซียมที่อยู่ในดินแบ่งออกเป็น 2 รูปใหญ่ๆคือ อินทรีย์แคลเซียม พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไพตินและ แคลเซียมเพคเตต ถ้าพืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แคลเซียมไปเป็นอนินทรีย์แคลเซียมซึ่งอยู่ในรูปของแคลเซียมไอออน และ อนินทรีย์แคลเซียมประกอบด้วย
1. คัลเซียมที่ละลายยากได้แก่คัลเซียมที่มาจากหินและแร่ เช่น แร่ เฟลด์สปาร์ (Na Ca AlSi3O8) อะพาไทต์ [Ca5(PO4)3 (F Cl ,OH)] แคลไซต์ (CaCO3), โดโลไมต์ [CaMg (CO3)2] และยิปซั่ม (CaSO4) เป็นต้น เมื่อแร่ผุพังสลายตัวจะให้คัลเซียมไอออน ( Ca2+ ) ลงไปในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. คัลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ คัลเซียมประเภทนี้จะถูกยึดติดบริเวณผิวของคอลลอยด์ เมื่อคัลเซียมไอออนในสารละลายในดินสูญหายไปโดยพืชหรือจุลินทรีย์คัลเซียมชนิดนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อรักษาภาวะสมดุล ดังสมการ
3. สารละลายคัลเซียมไอออนในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ดินที่มีโดยตรง ดินที่มีธาตุคัลเซียมสะสมอยู่มาก ได้แก่ ดินเหนียวประเภทดินด่างจัด (calcareous soil) ส่วนใหญ่พบในรูปของคัลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งละลายน้ำได้ยาก พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย แต่ถ้าดินมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก และมีความชื้น คัลเซียมคาร์บอเนตก็จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ง่ายขึ้น ดังสมการ
คาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนไปทำปฏิกิริยากับน้ำได้แก่ กรดคาร์บอนิก ดังสมการ
ไฮโดรเจนไอออน ที่ได้จะไปไล่ที่คัลเซียมไอออน ที่ดูดซับบริเวณผิวของคอลลอยด์ดินให้หลุดออกมาอยู่ในสารละลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช ในดินทรายที่เป็นกรดจัดหรือดินพีต (peat) ที่เป็นกรดจัดจะมีคัลเซียมไอออนอยู่น้อยมาก
ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของคัลเซียม
คัลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของคัลเซียมไอออน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างคัลเซียมในสารละลายและคัลเซียมที่ยึดเหนียวอยู่บริเวณผิวของแร่ดินเหนียว ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของคัลเซียมมีดังต่อไปนี้
1. ปริมาณของคัลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน พบในดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เช่น ดินเหนียว และดินเหนียวร่วน
2. ชนิดและปริมาณของแร่ดินเหนียว ดินเหนียวประเภท 1 : 1 สามารถดูดยึดคัลเซียมไอออนและ รูปที่ตรึงไว้ ด้วยแรงที่น้อยกว่าดินเหนียวประเภท 2 : 1 ทำให้ คัลเซียมไอออนละลายอยู่ในสารละลายได้มากกว่า
3. ชนิดของไอออนบวกที่ดูดยึดที่ผิวของคอลลอยด์ในดินไอออนบวก จะถูกคอลลอยด์ดูดยึดด้วยแรงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) อลูมิเนียมไอออน (Al3+) มากกว่า คัลเซียมไอออน (Ca2+) มากกว่า แมกนีเซียม ( Mg2+) มากกว่า โปตัสเซียมไอออน (K+) มากกว่า โซเดียมไอออน (Na+)
กรณีที่อนุภาคของดินเหนียวมีไอออนพวก ไฮโดรเจน อลูมิเนียม และ คัลเซียม ถูกดูดยึดอยู่บริเวณผิว เมื่อสารละลายดินได้รับไอออนบวกเพิ่มขึ้น เช่น ใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมทำให้ดินมีความเป็นไปของ โปตัสเซียมไอออนสูงขึ้น โปตัสเซียมไอออนบางส่วนจะไปไล่ที่หรือแทนที่ไอออนบวกที่ยึดติดกับอนุภาคของดินเหนียว โดยไปไล่ไอออนที่มีแรงดูดยึดน้อยที่สุด ดังรูปภาพที่ 9.2
ภาพที่ 9. 2 โปตัสเซียม ไอออน เข้าไปไล่ที่ไอออนบวกชนิดอื่นบริเวณผิวของ
อนุภาคดินเหนียว
อาการที่พืชขาดธาตุคัลเซียม
จะทำให้ใบอ่อนเกิดการบิดเบี้ยว ม้วนงอ ใบจะเหลืองซีด และใบจะเล็ก การเจริญเติบโตของรากลดลง และทำให้โครงสร้างของลำต้นอ่อนแอลง ปกติดินจะไม่ค่อยขาดธาตุคัลเซียมอยู่แล้ว กรณีที่ดินมีคัลเซียมอยู่มากเกินไป อาจจะไปยับยั้งความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดในดินได้ เช่น ธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุอีกหลายธาตุ
การจัดการเกี่ยวกับธาตุคัลเซียมในดิน
ธาตุคัลเซียมพืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า ธาตุอาหารหลักประกอบด้วยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซียม โดยปกติแล้วดินมักจะไม่ค่อยขาด เนื่องจากธาตุคัลเซียมมาจากการสลายตัวและผุพังของหินและแร่ ตะกอนที่ทับถมมากับน้ำ หรือติดมากับปุ๋ยที่ใส่ให้พืช ตลอดจนการปรับดินกรดโดยใช้ปูนขาวและปูนโดโลไมต์ (CaCO3) , [Ca Mg ( CO3)2 ] และธาตุคัลเซียมอาจจะสูญเสียไปจากดินในส่วนที่ติดไปกับผลผลิตของพืชหรือกระบวนการชะล้าง (leaching) เมื่อดินขาดธาตุคัลเซียม วิธีที่นิยมใช้ในการแก้ไขดินที่ขาดธาตุคัลเซียมในปัจจุบันได้แก่ ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทคัลเซียมไนเตรต [Ca(NO3)2] มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 19 เปอร์เซ็นต์ ซิงค์เกิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (Single superphosphate) มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 18 21 เปอร์เซนต์ ทริปเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (Triple superphosphate) มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 12 14 เปอร์เซนต์
ปูนขาวจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ปริมาณมาก
ปูนขาว มีชื่อเรียกทางเคมีว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) และมีสูตรทางเคมีคือ CaO ลักษณะโดยทั่วไปเป็นผงสีขาว มีฤทธิ์เป็นด่าง กัดกร่อนได้ โดยปกติแล้วจะผลิตแคลเซียมออกไซด์, CaO จากการเผาวัสดุใดๆ ที่มีส่วนผสมของหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต, CaCO3) เป็นองค์ประกอบ ณ อุณหภูมิมากกว่า 825 องศาเซลเซียส เรียกกระบวนการเผานี้ว่า calcination และจะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา ปูนขาวนี้ สามารถทำปฏิกิริยากับ CO2 ที่อยู่ในอากาศ โดยอาศัยระยะเวลาที่นานพอ กลับกลายเป็น CaCO3 ได้ ดังนั้นการเก็บรักษาต้องระวังไม่ให้อากาศสามารถผ่านเข้าไปในภาชนะที่ใช้จัดเก็บได้
http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_3017.html
--------------------------------------------------------------------------------------------------
6. ธาตุแคลเซียม CALCIUM
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
- ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
- ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด
- ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
- ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
- เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
- ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
- ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) เป็นเหตุให้ผลร่วง
พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล, ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม, ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์
ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
- เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
-เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
- เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
http://kasetonline.com/2011/05/04/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99/
--------------------------------------------------------------------------------------------
7. ความสำคัญของธาตุแคลเซี่ยม
ธาตุแคลเซี่ยม มีหน้าที่ต่างๆในพืชดังนี้คือ
1) เป็นองค์ประกอบในสาร calcium pectate ซึ่งจำเป็นในการแบ่งเซลล์ของพืช
2) เป็นตัวแก้ฤทธิ์ของสารพิษต่างๆ เช่น กรดอินทรีย์
3) เป็นตัวต่อต้านฤทธิ์ของสารออกซิน (auxin) ซึ่งเป็นสารเร่งการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวออก ถ้าไม่มีแคลเซียมแล้ว จะทำให้เซลล์ยาวผิดปกติ
4) ช่วยในการสร้างโปรตีน เนื่องจากแคลเซี่ยมทำให้พืชดูดไนโตรเจนได้มากขึ้น
5) ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและโปรตีนในขณะที่พืชกำลังสร้างเมล็ด
6) ส่งเสริมการเกิดปมของรากถั่ว
รูปของธาตุแคลเซี่ยมในดิน
ก) Mineral forms ได้แก่แคลเซี่ยมที่เป็นองค์ประกอบในหินแร่ต่างๆ เช่น แคลไซท์ โดโลไมท์
ข) แคลเซี่ยมในรูปของเกลือ เช่น CaCO3 CaSO4 Ca(PO4) 2 เป็นต้น
ค) Adsorbed calcium ได้แก่แคลเซี่ยมที่ถูกดูดยึดไว้ที่ผิวของสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือถูกไล่ที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้
ง) Ca++ ใน soil solution
รูปของแคลเซี่ยมที่พืชใช้ได้ คือ Calcium ion (Ca++) ใน soil solution
การแก้ไขดินที่ขาดแคลเซี่ยม
- ใส่ปุ๋ยคอก
- ใส่ปูน
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0acd30efb70db5eb
----------------------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2011 7:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง |
|