ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 26/05/2011 9:54 am ชื่อกระทู้: * นานาสาระเรื่องเกษตร |
|
|
..๔..
ลำดับเรื่อง....
1. วีธีผสมเกสรมะม่วง เพื่อติดผลดีขึ้น
2. วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
3. ชาวสวนผักโคราช โดนหนอนใยผัก-แมลงวันทอง อาละวาดหนัก
4. วิธีการต่างๆ ที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
5. คุณลักษณะพิเศษของแมลงที่ทำให้สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์เพิ่ม
6. บ่มผลไม้ให้สุกด้วยวิธีใดได้บ้าง
7. สารเคมีที่นิยมใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตพืชสวนในปัจจุบัน
8. กำจัด 'แมลงวันทอง' ด้วยความร้อน คันผลไม้ไทยโกอินเตอร์ฯ
9. เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน
10. โครงการควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยใช้แมลงที่เป็นหมัน กับวิธีการอื่น
11. โครงการ ควบคุม/กำจัด หนอนใยผัก โดยการใช้แมลงเป็นหมันในรุ่นลูก
12. โครงการ ควบคุม/กำจัดหนอน เจาะสมอฝ้าย โดยการใช้แมลงเป็นหมันในรุ่นลูก
13. แมลงช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของดิน
14. มะยงชิด คลองสามวา
15. "52 สัปดาห์ รู้แล้วรวย ด้วยนวัตกรรมงานวิจัยเกษตรไทย"
16. วช.เตรียมจัดงาน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2554
17. สระเก็บน้ำต้านภัยแล้ง ผลงานวิจัย จาก วช.
18. รถตัดอ้อยเล็ก
19. ปัจจัยในการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอก
20. PLANT DISEASES โรคพืช และสาเหตุของการเกิดโรค
21. อยากทราบ "จุดตาย" ของปัญหาการเกษตรไทย คืออะไร
22. ไขปัญหาวิกฤติเมล็ดพันธุ์ ต้นเหตุ เกษตรกร เป็นหนี้
23. หนุนวิจัย-พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ สร้างชาวนารุ่นใหม่แทนวัยชรา
24. ผลการบดลำไยหน้าโกดัง ตามโครงการรีไซเคิลลำไย
25. ระวัง ! เปิบปลาร้าอันตรายถึงชีวิต
26. สภาพอากาศป่วน มังคุดเสียหายหนัก
27. เอดีบี. เตือนอาหารแพง ทำคนเอเชียจนเพิ่ม
28. อัดงบผุดโปรเจกท์ "วางแผนใช้ที่ดิน" เป้ารวม 45 ลุ่มน้ำ
29. เทคนิคการปลูกพืชแบบผสมผสาน ... อดีต ปัจจุบัน อนาคต
30. ธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มโชกุน
31. แอบดูชาวนา
ญี่ปุ่น
32. แอบดูชาวนา.....ญี่ปุ่น (อีกสักครั้ง)
33. รู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู
34. ไร่แตงโมเมืองจีนระเบิดระนาวปริศนา คาดใช้สารเคมีเร่งโตเกินกำหนด
35. ข้าวเคลือบสมุนไพร
36. พริกเข้าตา อมเกลือ ช่วยได้ ?
37. การเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร
38. โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน ต. บึงชำอ้อ อ. หนองเสือ จ.ปทุมธานี
39. เร่งปลดล็อกส่งออกผัก 16 ชนิดไป อียู.
40. ผลิตภัณฑ์ใหม่ "ซอสลูกตำลึง" ทำกินเองได้-ทำขายมีกำไร
41. แนะทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ทดแทนปุ๋ยเคมีอย่างสมบูรณ์
42. สายพันธุ์กาแฟ ที่ดีที่สุดในโลก
43. ทุเรียน-ลับแล
44. วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี
45. ป้องกันและกำจัดใบอ่อนทุเรียน ช่วงพัฒนาการของผล
46. อาหารของมนุษย์อวกาศ คือ อะไร ?
47. เลี้ยงปลาบึกกับปลานิลแดง ในบ่อดิน
48. 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
49. ญี่ปุ่นให้ไทยเลี้ยงสาหร่ายน้ำมัน หาเงื่อนไขเพิ่มผลผลิต
50. เอกชนทาบ สกว. ผลิตหัวเชื้อรามายคอร์ไรซ่า เพิ่มความแข็งแรงให้พืช
51. ใช้คลื่นไมโครเวฟ กำจัดหนอนแมลงวันทองมะม่วง เพื่อการส่งออก
52. ชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ รู้ผลเร็วทันใจ-ใครก็ทำได้
53. มน. พัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเคลือบแบคทีเรียแทนใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยให้พืชเติบโตดี
54. วว.ใช้เอทธิลีนยืดอายุ ตัดปัญหาส่งออกทุเรียนอ่อน
55. วิธีกำจัดมดขึ้นข้าวสาร
------------------------------------------------------------
1. วีธีผสมเกสรมะม่วง เพื่อติดผลดีขึ้น
วิธีช่วยผสมเกสรมะม่วง เพื่อติดผลดีขึ้น
มะม่วงเป็นไม้ผลปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้เกษตรกรนิยมปลูกมะม่วงกันทั่วทุกภาคของประเทศ การออกดอกของมะม่วงภายหลังเริ่มแทงช่อดอกจนถึงเริ่มบาน จะใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วัน และช่วงบานจนหมดช่อ ใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน ระยะเวลาการผสมเกสรของดอกมะม่วงส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเช้า เวลาประมาณ 06.00-08.00 น. สังเกตได้จากการที่แมลงเข้ามาตอมช่อดอกมากในช่วงเช้า พอสายกว่านี้ จำนวนแมลงจะลดลงเรื่อยๆ
ทว่า เกษตรกรมักประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้ว ไม่ค่อยติดผล สาเหตุอาจมาจากสภาพอากาศ พันธุ์มะม่วง หรือแมลงที่ช่วยผสมเกสรมีน้อยเกินไป
แมลงที่สำคัญที่ช่วยผสมเกสรมะม่วง ได้แก่ ผึ้ง รองลงมาคือ แมลงวันหัวเขียว ดังนั้น ถ้าแมลงเหล่านี้มีจำนวนมาก แมลงเหล่านี้ก็จะช่วยผสมเกสรมะม่วง และทำให้มะม่วงติดผลได้มากขึ้น
วิธีช่วยผสมเกสรมะม่วง
เกษตรกรสามารถช่วยผสมเกสรมะม่วงให้ติดผลได้ดีขึ้น โดยการเลี้ยงแมลงวันหัวเขียวไว้ในสวนมะม่วง วิธีการเลี้ยงแมลงวันหัวเขียวมีขั้นตอน ดังนี้
1. นำปุ๋ยคอกใหม่ๆ มากองไว้ในสวนหลายๆ จุด ในช่วงที่ต้นมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก (หรือใช้มูลหมู ซึ่งมีหนอนแมลงวันอยู่แล้ว และกำลังจะเป็นตัวแก่พอดี ในช่วงที่ดอกมะม่วงเริ่มบาน)
2. รดน้ำให้ชื้น เพื่อให้แมลงวันมาไข่บนกองปุ๋ยคอก และฟักตัวในเวลาต่อมา แมลงวันหัวเขียวเหล่านี้จะไปตอมที่ดอกมะม่วง และช่วยผสมเกสรให้กับมะม่วง ทำให้มะม่วงติดผลมากขึ้น
ข้อแนะนำ เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดผลมะม่วง
1. ควรบำรุงรักษาต้นให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ คือ ต้องให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ
2. เมื่อมะม่วงติดผลอ่อนประมาณ 1 เดือน เกษตรกรควรฉีดฮอร์โมนพวก เอ็นเอเอ. เพื่อป้องกันผลร่วง
3. วิธีช่วยผสมเกสรมะม่วงให้ติดผลดีขึ้น โดยการเลี้ยงแมลงวันหัวเขียวไว้ในสวน เป็นหนึ่งในอีกหลายวิธีที่ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ทำให้มะม่วงออกดอกและติดผลมากขึ้น
เรียบเรียงจาก "วิธีช่วยผสมเกสรมะม่วง เพื่อติดผลดี" นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ปีที่ 7 ฉบับที่ 77
วิธีช่วยผสมเกสรมะม่วง เพื่อติดผลดีขึ้น เป็นการแนะนำวิธีการช่วยผสมเกสรมะม่วงให้ติดผลดีขึ้น โดยการเลี้ยงแมลงวันหัวเขียวไว้ในสวน ในช่วงที่ต้นมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก แมลงวันเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรให้กับมะม่วง ทำให้มะม่วงติดผลดีขึ้น
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 99 ยิม 1 มธ.ศูนย์รังสิตคลองหลวง ปทุมธานี 12120 โทร.0-2564-4000 webmaster@ismed.or.th 2005 ISMED All rights reserved.
http://www.ismed.or.th
--------------------------------------------------------------
2. วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
ด้วยเหตุที่การใช้วัตถุมีพิษประเภทสารเคมีสังเคราะห์ได้ก่อให้เกิดพิษอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้นักวิจัยค้นพบข้อจำกัดในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและได้พยายามหันมาใช้วิธีการอื่นผสมผสานกันเพื่อลดพิษและอันตรายดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาใช้วิธีการอื่นๆ เกษตรกรควรให้ความสนใจ คือ
1. การเลือกใช้พืชพันธุ์ต้านทานแมลงและโรคศัตรูพืช มักนำมาใช้กับฝ้าย มะเขือเทศ อ้อย มันฝรั่ง ฯลฯ
2. เลือกการหาจังหวะการปลูกที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงฤดูการระบาดของศัตรูพืชโดยปลูกให้เร็วหรือช้ากว่าปกติ ตลอดจนการพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช เพื่อเตรียมการป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที
3. การใช้เขตกรรม การตากดิน ไถดิน เพื่อทำลายศัตรูพืช และช่วยให้นกจับกินแมลงที่ฟักตัวในดิน นอกจากนี้การตัดเผาทำลายต้นตอพืชที่หลงเหลือเป็นแหล่งสะสมของศัตรูพืช จะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชอีกด้วย
4. การใช้วิธีกล เช่น การใช้กาวทาจับแมลงที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว
5. การใช้วิธีทางฟิสิกส์ เช่น การใช้แสง เสียง หรืออุณหภูมิ ในการล่อไล่ฆ่าทำลายศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง ที่นิยมคือ การใช้เครื่องล่อแมลงแบบใช้แสงไฟ
6. การใช้วิธีการทางเคมี เป็นวิธีการใช้สารประกอบที่เป็นอนินทรีย์เคมี หรืออินทรีย์เคมีใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่วิธีการนี้พบว่ามีข้อดีและข้อเสียมากจึงมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ
7. การใช้วิธีป้องกันกำจัดแมลง โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ของแมลง ตัวห้ำ ตัวเบียนสัตว์ป่าบางชนิดช่วยลดและควบคุมปริมาณศัตรูพืชมิให้เกิดความเสียหายกับพืชผลนับตั้งแต่กิ้งก่า แย้ ตุ๊กแก จิ้งจก งู ฯลฯ
8. วิธีการอื่นๆ เช่น การกำหนดระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจเพื่อให้การใช้วัตถุมีพิษเป็นไปอย่างคุ้มทุนและมีประสิทธิภาพ การใช้สมุนไพรบางชนิดป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาทิเช่น โล่ติ้น สะเดา ยาสูบ หนอนตายหยาก ฯลฯ
สะเดา (NEEM)
สะเดาเป็นไม้พื้นบ้านที่พบเจริญได้ดีในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนิยมใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ทนความแล้ง นอกจากนี้ยังมีปลูกในแถบเอเชีย อัฟริกา และอเมริกากลาง มีประวัติการใช้เมล็ดและใบสะเดาป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอินเดียและศรีลังกา น้ำมันสะเดายังใช้เป็นวัตถุดิบทำสบู่ ใบของสะเดายังมีสารไล่แมลงอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่ามีผลทำให้แมลงวางไข่ลดลง สะเดาเหมาะสำหรับใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด อาทิเช่น
ผักกาดหัวที่ถูกหนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน และตั๊กแตนบางชนิดทำลาย โดยเฉพาะหนอนใยผักได้ผลดีมาก สารสกัดจากเมล็ดสะเดาจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะทำให้ผิวใบคะน้า ผักกาดเขียว มีสีม่วงบริเวณด้วนบนที่ถูกแดดทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ เกษตรกรจึงไม่นิยมใช้
อนึ่งการใช้ผงเมล็ดสะเดาอัตรา 5 กรัม/หลุม หยอดโคนต้นหน่อไม้ฝรั่งหรืดฉีดพ่นสารสกัดจากเมล็ดสะเดาด้วยน้ำอัตราความเข้มข้น 100 กรัม/น้ำ 3 ลิตร จะไม่เป็นอันตรายต่อหน่อไม้ฝรั่ง และช่วยลดปริมาณหนอนของผีเสื้อบางชนิดได้ดี
ตามคำแนะนำของ GTZ ใน Neem a Natural Insecticide ระบุว่าสะเดาจะเริ่มให้ดอกครั้งแรกเมื่ออายุได้ 2-3 ปี และติดผลเมื่ออายุ 3-4 ปี และให้ผลผลิต 1-2 ครั้ง/ปี ตามสภาพอากาศกลุ่มของแมลง ที่นับว่าได้ผลดีในการป้องกันและกำจัด คือ ตัวอ่อนของด้วย หนอนผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน และยังได้ผลดีกับแมลงในกลุ่มตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยกระโดด สำหรับพวกตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว จะได้ผลป้องกันในระดับพอใช้ และไม่ได้ผลในการป้องกันกำจัดในกลุ่มแมลงพวกเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยหอย ตัวแก่ของมวนแมลงวันผลไม้ และไรแมงมุม
http://nsw-rice.com
--------------------------------------------------------------------
3. ชาวสวนผักโคราช โดนหนอนใยผัก-แมลงวันทอง อาละวาดหนัก
ด้วยสภาพอากาศของจังหวัดนครราชสีมา ที่ร้อนและแล้งจัดในช่วงนี้ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกผักในชุมชนมิตรภาพ ซอย 4 บ้านลำตะคองเก่า เขตเทศบาลนครนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา กว่า 20 ครอบครัวต้องประสบกับปัญหาการระบาดของศัตรูพืชในผัก โดยเฉพาะหนอนใยผักและแมลงวันทองที่ออกอาละวาดกัดกินพืชผักของเกษตรกรจนเสียหายย่อยยับนับ 100 ไร่
เกษตรกรผู้ปลูกผัก ชุมชนมิตรภาพ ซอย 4 เขตเทศบาลนครนครราชสีมา หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของหนอนใยผักและแมลงวันทอง กล่าวว่า
ขณะนี้ชาวสวนผักต้องเผชิญกับปัญหาหนอนใยผักอาละวาดกัดกินพืชผักอย่างหนัก โดยเฉพาะในส่วนของผักคะน้าและกวางตุง ที่ตนเองปลูกไว้กว่า 10 ไร่ ส่งผลให้พืชผักได้รับความเสียหายย่อยยับ และต้องเสียเงินลงทุนเป็นค่ายาและค่าแรงในการจำกัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น
จากเดิมผักที่ปลูกกว่า 10 ไร่ จะใช้เงินลงทุนในการเพาะปลูกจำนวนประมาณ 34 หมื่นบาท แล้วแต่ฤดูกาล แต่เมื่ออากาศในช่วงนี้ร้อนและแล้งจัดทำให้หนอนใยผักออกอาละวาด ตนเองต้องลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่า 50,000 บาทแล้ว ในการปลูกผักรุ่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะควบคุมหนอนใยผักได้ ทำให้ผลผลิตในรุ่นนี้ถูกทำลายเหลือเก็บเพียงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วปกติการเก็บผักในแต่ละแปลง ซึ่งมีขนาดความกว้าง 2.5 เมตร ยาว 100 เมตร อย่างเช่นผักคะน้า จะได้ผลผลิตประมาณ 250 กิโลกรัม แต่มาวันนี้น่าจะเหลือเพียง50 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับผักกวางตุ้งที่ต้องเจอกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้พริกชี้ฟ้าแดงที่ตนเองปลูกไว้อีกกว่า 1 ไร่ ก็ต้องประสบกับปัญหาแมลงวันทองมารบกวนและวางไข่ลงในผลผลิตจนได้รับความเสียหาย จากเดิมที่จะสามารถเก็บผลผลิตต่อแปลงขนาดความกว่า 2.5 ยาว 100 เมตร จะได้ผลผลิตประมาณ 56 เข่ง แต่มาวันนี้เหลือเพียงแค่เข่งเดียวเท่านั้น จึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะการออกให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันและกำจัดหนอนใยผัก และแมลงวันทองที่ถูกต้อง เพื่อที่จะหาทางป้องกันความสูญเสียที่เกิดขึ้น
http://www.rd1677.com/branch.php?id=67273
------------------------------------------------------------------
4. วิธีการต่างๆ ที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
วิธีการต่างๆ ที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลง มีอยุ่ด้วยกันมากมายหลายชนิด เช่น
1. การใช้กฎหมายควบคุม (Legal control) เพื่อไม่ให้แมลงระบาดจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่งหรือจากท้องที่หนึ่งไปอีกท้องที่หนึ่ง
2. การใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทานแมลง
3. การใช้สิ่งมีชีวิตในการป้องกันกำจัด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค เป็นต้น (Biological control)
4. วิธีทางเขตต์กรรม (cultural control)
5. วิธีทางกลศาสตร์และฟิสิกส์ (Mechanical&physical control)
7. การใช้ฮอร์โมนหรือสารเคมีอื่นในการยับยั้งการเจริญเติบโต หรือการกินอาหาร (juvenile hormone,antimetabolites and antifeedants)
8. การใช้สารดึงดูดและสารไล่ (Attractant and repellents)
9. การทำให้แมลงเป็นหมัน (Steriliztion)
10. การใช้ยาฆ่าแมลง (Insecticide)
11. การใช้วิธีร่วม (Integrated control) หรือการบริหารแมลงศัตรูพืช (Insect peats management) วิธีการต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้
-----------------------------------------------------------------
5. คุณลักษณะพิเศษของแมลงที่ทำให้สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์เพิ่ม
มนุษย์ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับแมลง เพื่อหาวิธีการป้องกันกำจัดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่ก็ไม่สามารถป้องกันกำจัดแมลงให้หมดไปได้ เป็นทำนองว่า ยิ่งปราบยิ่งมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแมลงมีคุณลักษณะพิเศษหลายประการ ที่ทำให้สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์เพิ่มลูกหลานอยู่จนทุกวันนี้ คุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่.-
1. ลักษณะโครงสร้างภายนอกแข็ง ประกอบด้วยสารไคติน (Chitin) ซึ่งสามารถป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดี เช่น สารเคมี สภาพดินฟ้าอากาศและอื่นๆ
2. แมลงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เช่น ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ การเลียนแบบ (mimicry) และการสร้างความต้านทาน เป็นต้น
3. ขนาดลำตัวเล็ก ทำให้สามารถหลบซ่อนได้ดี และไม่จำเป็นต้องใช้อาหารมากก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ได้
4. มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโต (metamorphosis) ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษอย่างยิ่ง ที่มีค่อยพบในสัตว์ชนิดอื่น เช่น จากไข่เจริญเติบโตเป็นตัวหนอน จากหนอนเข้าดักแด้ และเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวแก่ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตจะมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันไป
5. แมลงตัวแก่บางชนิดมีปีกบินได้ ทำให้สามารถไปหาแหล่งอาหารที่ใหม่ได้ หรือหลบหนีศัตรูที่จะมาทำลาย
6. มีระบบการสือพันธุ์หรือขยายพันธุ์พิเศษหลายประการ เช่น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์หรืออาจได้รับการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว ก็สามารถวางไข่ที่มีเชื้อได้ตลอดไป แมลงบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในระยะตัวเต็มวัย เป็นต้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้นักวิทยาศาสตร์ตระหนักดีว่าการที่จะปราบแมลงชนิดหนึ่งชนิดใด ให้หมดไปจากโลกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงได้เปลื่ยนแนวความคิดใหม่ คือ ต้องการที่จะควบคุมปริมาณแมลงศัตรูพืช ให้อยุ่ในระดับต่ำ ไม่ทำให้พืชผลเกิดความเสียหายถึงขั้นเศรษฐกิจ (economic injury level) การที่จะควบคุมปริมาณแมลงให้อยู่ในระดับต่ำนั้นจำเป็นต้องศึกษาหรือทราบสภาพทางนิเวศน์วิทยาของแมลงอย่างละเอียด ตลอดจนการศึกาวิธีการต่างๆ
----------------------------------------------------------------
6. บ่มผลไม้ให้สุกด้วยวิธีใดได้บ้าง
การเก็บเกี่ยวผลไม้หลายชนิด มักทำในขณะที่ผลไม้ยังไม่สุก เพื่อให้ขนส่งขายได้ระยะไกล ๆ เมื่อถึงเวลาขายหรือบริโภคจำเป็นต้องทำให้สุกโดยการบ่ม หากปล่อยให้สุกเอง จะมีบางผลสุกก่อน บางผลสุกช้า เนื่องจากการเก็บเกี่ยวของแต่ละผลไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สะดวกในการขนส่งและจำหน่าย ผลไม้ที่จะบ่มให้ได้รสดี ควรเป็นผลแก่ได้ที่ ถ้าเอาผลที่อ่อนไปมาบ่มจะได้ผลไม้คุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีคนบ่นเสมอว่าผลไม้ที่บ่มด้วยแก๊สไม่อร่อยเลย แต่ถ้าใช้ผลแก่ แต่บ่มแล้วเนื้อยังสุกไม่ได้ที่ก็นำมากินแล้ว รสชาติก็จะไม่ดีเท่าที่ควรเหมือนกัน
นอกจากนั้นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลไม้ที่ได้จากการบ่มด้วยก๊าซ รสชาติไม่ดีเหมือนกับที่บ่มหรือสุกตามธรรมชาติเป็นเพราะในกระบวนการสุกนั้นมีกระบวนการย่อย ๆ หลายกระบวนการ เช่น การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล การสลายตัวของกรด การอ่อนนุ่มของเนื้อ การเปลี่ยนสี ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ในธรรมชาติเมื่อผลไม้สุกด้วยก๊าซ ก๊าซจะเร่งกระบวนการสุกแต่ละกระบวนการให้เกิดเร็วขึ้นได้ต่างกันออกไป ไม่ได้สัดส่วนเหมือนในธรรมชาติ ดังนั้นคุณภาพของผลไม้ที่บ่มให้สุกด้วยก๊าซอาจไม่ดีเท่าบ่มธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้าใช้ก๊าซความเข้มข้นสูงเพื่อบ่มให้ผลไม้สุกในเวลาอันสั้น
วิธีการบ่มผลไม้ง่าย ๆ อาจทำได้โดยนำผลไม้ไปรวมกันในสถานที่หรือภาชนะที่ค่อนข้างปิด การถ่ายเทอากาศเกิดขึ้นได้น้อย ในสภาพเช่นนี้ เอทิลีนที่ผลไม้สร้างขึ้นเองจะสะสมมากขึ้นจนกระตุ้นให้ผลไม้สุกได้อย่างสม่ำเสมอ การจุดธูปในสถานที่บ่มก็เป็นการเพิ่ม เอทิลีน ให้กับผลไม้ เพราะในการเผาไหม้ธูปจะมี เอทิลีน ออกมาด้วย และนอกจากนั้นผลไม้ชนิดต่างๆ เหล่านั้นก็ต้องการสภาพแวดล้อมในการบ่มต่างกัน เช่น กล้วยหอมทองบ่มให้สุกได้ที่สภาพอุณหภูมิห้อง แต่กล้วยหอมพันธุ์แกรนเนนต้องบ่มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สำหรับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่ผลแก่บริบูรณ์ (อายุ 90-105 วัน) ควรบ่มที่อุณหภูมิ 20-22 องศาเซลเซียส
ในบ้านเราการบ่มผลไม้จะนิยมใช้ถ่านแก๊ส หรือ แคลเซียม คาร์ไบด์ มากที่สุด ถ่านแก๊สนี้จะเป็นก้อนขนาดเล็กกว้างยาวประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ห่อกระดาษห่อละ 10 กรัม ซุกให้ทั่วกองผลไม้หรือภาชนะบรรจุ ในอัตรา 10 กรัมต่อผลไม้ 3-5 กิโลกรัม ความชื้นจากผลไม้จะทำปฏิกิริยากับถ่านแก๊สได้เป็นก๊าซอะเซทิลีนที่ช่วยเร่งการสุกของผลไม้ แต่อาจจะบ่มให้สุกไม่สม่ำเสมอเพราะมีการหมุนเวียนของอากาศภายในเข่งหรือกองผลไม้ต่ำ รวมทั้งอาจมีกลิ่นอะเซทิลีนติดไปกับผลไม้ถ้าใช้ถ่านแก๊สมากเกินไป แต่การบ่มด้วยวิธีการนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ส่วนการใช้ก๊าซเอทิลีนนิยมใช้ความเข้มข้น 10-100 พีพีเอ็ม. ในห้องบ่มนานประมาณ 24-72 ชั่วโมง โดยมีพัดลมหมุนเวียนอากาศให้ทั่วถึง ในช่วงอุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส ขึ้นกับชนิดของผลไม้ แต่ในบ้านเราการใช้ เอทิลีน บ่มโดยตรงยังใช้กันน้อย เนื่องจากก๊าซ เอทิลีน มีราคาแพง ถ้าในอนาคตก๊าซ เอทิลีน มีราคาถูกลงมาพอสมควรก็อาจจะมีการใช้ เอทิลีน บ่มผลไม้กันมากขึ้น ส่วนในต่างประเทศนิยมใช้ เอทิลีน กันอย่างแพร่หลายในการบ่มกล้วยและส้ม ซึ่งนอกจากจะใช้เอทิลีนจากถังบรรจุโดยตรงแล้ว ยังมีการใช้ เอทิลีน จากเครื่องผลิต เอทิลีน หรือ Ethylene generator กันมาก โดยเครื่องดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องทำความร้อนที่จะช่วยเร่งปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อให้แอลกอฮอล์แตกตัวเป็น เอทิลีน และสามารถควบคุมอัตราการผลิต เอทิลีน ได้ตามความต้องการด้วย
การใช้เอทิฟอน ที่มีชื่อการค้าต่าง ๆ กัน เช่น อีเทรล โปรเทรล ฟลอเรล ซึ่งมีความคงตัวที่สภาพเป็นกรด หรือ มี พีเอช กว่า 4 เมื่อนำมาละลายน้ำหรือเมื่อซึมเข้าไปในเซลล์พืช จะสลายตัวให้เอทิลีน สารเอทิฟอนจัดว่าเป็นสารที่มีพิษน้อยและสลายตัวได้ง่าย ส่วนมากนิยมให้สารนี้ก่อนเก็บเกี่ยว เช่น ใช้เพื่อเร่งการสุกหรือการเปลี่ยนแปลงสีในองุ่น พริกยักษ์ มะเขือเทศ สับปะรด ในทุเรียนก็มีการใช้เช่นกันโดยฉีดพ่นทั้งผลหรือจุ่มที่ก้านผลเท่านั้นก็ได้ ในบ้านเรายังไม่มีกฎระเบียบที่แน่ชัดในการควบคุมการใช้เอทิฟอน แต่พออนุโลมได้ว่าน่าจะใช้สารนี้ได้อย่างปลอดภัยกับผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวซึ่งผู้บริโภคไม่รับประทานเปลือก เช่น การใช้ เอทิฟอน ความเข้มข้นสูง 2,400 พีพีเอ็ม ในการบ่มทุเรียน แต่ในผลไม้ทั่วไปใช้วิธีการแช่ในสารละลายเอทิฟอนความเข้มข้นประมาณ 600 พีพีเอ็ม. 2-3 นาที ซึ่งจะทำให้ผลไม้สุกใน 3-4 วัน
ทีนี้คงจะรู้แล้วซินะว่าผลไม้ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้เขามีวิธีการบ่มอย่างไร
------------------------------------------------------------------
7. สารเคมีที่นิยมใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตพืชสวนในปัจจุบัน
สารเคมีที่นิยมใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตพืชสวนในปัจจุบัน ออโธ-ฟีนีลฟีนอล (Ortho-phenylphenol) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มใหญ่มาก เพราะจะเป็นพิษต่อเชื้อรา แบคทีเรียและตัวของผลิตผลเองด้วย โดยสารประกอบฟีนอลที่ไม่แตกตัวจะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้และเป็นพิษต่อผลิตผลเมื่อใช้ในอัตราความเข้มข้น 200-400 มก./ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสารละลายและระยะเวลาที่ใช้
แต่สารประกอบออโธ-ฟีนีลฟีเนต ซึ่งมีประจุบวกจะไม่เป็นพิษต่อพืช และสารละลายโซเดียมออโธ-ฟีนีลฟีเนต หรือ SOPP ก็นับเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยในการนำมาใช้กับผักและผลไม้ สำหรับผลไม้ที่มีแว็กซ์เคลือบผิว เช่น ส้ม แอปเปิ้ล และผลไม้อื่น ๆ นั้นจะไม่ยอมให้สารละลายออโธ-ฟีนีลฟีเนตผ่านเข้าไปได้ จึงทำให้สารเคมีชนิดนี้ไม่สามารถควบคุมโรคหลังจากที่ใช้กับผลิตผลประเภทนี้
อย่างไรก็ตามสารนี้จะสามารถซึมเข้าสู่แผลของผลิตผลได้ การล้างผลิตผลที่ได้รับสารนี้แล้วจะทำให้สารถูกชะล้างไปกับน้ำจึงมีสารเหลืออยู่ที่ผิวผลน้อยมากแต่หากผลิตผลมีบาดแผลก็จะยังคงมีสารชนิดนี้อยู่และสามารถป้องกันการเข้าทำลายผลิต ผลได้
การใช้สารโซเดียมออโธ-ฟีนีลฟีเนต (SOPP) มีประโยชน์ คือ สปอร์ของเชื้อราและแบคทีเรียซึ่งอยู่ที่ผิวผลิตผลหรือในน้ำที่ใช้ล้างผลิตผลจะถูกฆ่าหมดและสารออโธ-ฟีนีลฟีนอล ซึ่งตกค้างอยู่บริเวณแผลจะป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ที่บริเวณในระหว่างการขนส่งได้ สารละลาย SOPP สามารถใช้ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้หลายชนิด เช่น แอปเปิ้ล สาลี่ ท้อ มันเทศและผักผลไม้ที่เสียง่าย วิธีการใช้ก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น แช่ผลไม้ลงในสารละลาย SOPP นาย 1-3 นาที หรือ ให้ SOPP ไหลผ่านผลไม้ และใช้ฟองของ SOPP ทาให้ทั่วผลิตผลด้วยแปรงนาน 15 นาที
http://www.thaikasetsart.com
-----------------------------------------------------------------
8. กำจัด 'แมลงวันทอง' ด้วยความร้อน คันผลไม้ไทยโกอินเตอร์ฯ
หลังเปิดเขตเสรีทางการค้า (FTA) ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ได้มีมาตรการเข้มงวดทางด้านกักกันพืชมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกษตรของไทยหลายชนิดไม่สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศที่เข้มงวดได้ เนื่องจากไทยยังไม่สามารถกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ที่มีความสำคัญทางด้านกักกันให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะ แมลงวันทอง และ แมลงวันแตง ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญเพราะแมลงทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว มีพืชอาศัยมากมาย ได้แก่ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ มังคุด และพืชตระกูลแตง ฯลฯ
กรมวิชาการเกษตร จึงได้เร่งศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อหาเทคนิคการกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ได้มาตรฐานของวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืช สามารถกำจัดศัตรูพืชในพืชก่อนส่งออกได้ทั้งหมด โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้าเพื่อช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสู่ตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น
นางสาวรัชฎา อินทรกำแหง นักวิชาการเกษตร 8 ว กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า
การกำจัดแมลงด้วยความร้อนเป็นวิธีการกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยวที่ได้ผลดี ขณะนี้ประเทศคู่ค้าได้ยอมรับเทคนิคการกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว เนื่องจากไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในสินค้า โดยใช้กรรมวิธีอากาศเป็นสื่อนำความร้อนมีหลักการทั่วไป คือ ให้ความร้อนกับผลไม้โดยหมุนเวียนอากาศร้อนผ่านผลไม้ ความร้อนจากอากาศจะถ่ายเทไปที่เปลือกและแพร่กระจาย เข้าไปในผล ซึ่งผลไม้จะได้รับอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนถึงระดับอุณหภูมิที่ต้องการภายในกำหนดเวลา
การให้ความร้อนกับผลไม้ อาจสิ้นสุดที่อุณหภูมิซึ่งสามารถกำจัดแมลงทุกระยะการเจริญเติบโตภายในผลให้ตายหรือทั้งหมด หรืออาจจะต้องคงระดับความร้อนภายในผลไม้ที่กำหนดนานช่วงระยะเวลาหนึ่ง เทคนิคนี้สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 วิธีการ ได้แก่
1. วิธีการอบไอน้ำ อากาศร้อนจะอยู่ในสภาพอิ่มตัวด้วยไอน้ำ มีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90%
2. วิธีการอบอากาศร้อน ปรับปรุงมาจากการอบไอน้ำโดยอากาศร้อนภายในห้องบรรจุผลไม้มีไอน้ำน้อย ความชื้นต่ำ ประมาณ 50% และ
3. วิธีอบไอน้ำปรับความชื้นสัมพัทธ์ ใช้วิธีอบอากาศร้อนร่วมกับวิธีอบไอน้ำ
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ประสบความสำเร็จด้านการวิจัย และพัฒนาเทคนิคการใช้ความร้อนกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เหมาะสมในสินค้าพืชส่งออกแล้ว 3 ชนิด ประกอบด้วย มะม่วง 5 พันธุ์ ได้แก่ มะม่วงแรด น้ำดอกไม้ พิมเสนแดง หนังกลางวัน และมะม่วงมหาชนก โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 20 นาที สามารถกำจัดศัตรูพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มังคุด ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 58 นาที และ ส้มโอพันธุ์ทองดี ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที ซึ่งไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า วิธีนี้ช่วยให้ไทยสามารถส่งออกมะม่วงผลสดไปยัง ญี่ปุ่น เกาหลี และ นิวซีแลนด์ได้
ขณะเดียวกันยังมีการใช้ความร้อนกำจัดแมลงวันทองในมังคุดส่งออกไปยังญี่ปุ่นด้วย และกำลังอยู่ระหว่างเสนอข้อมูลให้เกาหลีและไต้หวันพิจารณานำเข้ามังคุดจากไทยโดยวิธีดังกล่าวด้วย ขณะที่กระทรวงเกษตรและป่าไม้ของญี่ปุ่นก็กำลังพิจารณานำเข้าส้มโอจากไทย ด้วยเทคนิคการใช้ความร้อนกำจัดแมลงวันทองในส้มโอ เช่นเดียวกัน
ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคนิคการใช้ความร้อนกำจัดแมลงศัตรูพืชในสินค้าพืชผักและผลไม้เพื่อการส่งออกเพิ่มเติม ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ส้มโอขาวน้ำผึ้ง พริกหวาน ลิ้นจี่ และลำไยด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรไทยซึ่งจะนำรายได้เข้าประเทศเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรยังได้เตรียมแผนเร่งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลไม้ที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ โดยเน้นให้มีการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณน้อยที่สุด เพื่อให้การกำจัดแมลงด้วยความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกันนี้ยังจะแนะนำเทคนิคการเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผลไม้ที่ผ่านความร้อนไม่เกิดความเสียหาย
หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-8516 ทุกวันในเวลาราชการ
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th
http://www.phtnet.org
-----------------------------------------------------------------
9. เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน (SIT)
ทศพล แทนรินทร์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตผลที่ได้จากการเกษตร นอกจากใช้บริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งไปขายต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท ความเสียหายของผลิตผลการเกษตร ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงศัตรูพืช เพื่อลดความเสียหายของผลิตผล เกษตรกรจึงนิยมใช้สารเคมี ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชเหล่านั้น แต่การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช นอกจากทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว แมลงศัตรูพืชยังสร้างความต้านทานต่อพิษของสารฆ่าแมลง นอกจากนี้ พิษของสารเคมี ยังเป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อทางการเกษตร เช่น ผึ้ง ชันณรงค์ แตนเบียน ตัวห้ำ เป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และมีสารพิษตกค้างในผลิตผล ทำให้ต้องหาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อต่อสู้กับเหล่าแมลงศัตรูพืชทั้งหลาย เทคนิคที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน (Sterile Insect Technique, SIT) เป็นเทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการจัดการแมลงศัตรูพืชทั่วโลก
เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน เป็นการใช้แมลงชนิดเดียวกัน ควบคุมแมลงชนิดเดียวกัน เพื่อไม่ให้มีจำนวนประชากรของแมลงชนิดนั้น ๆ มากจนเป็นอันตรายต่อผลิตผลการเกษตร ขั้นตอนของเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันประกอบด้วย การเลี้ยงแมลงในห้องทดลองเป็นจำนวนมาก การทำหมันแมลงที่เลี้ยงด้วยการฉายรังสี การปล่อยแมลงที่ทำหมัน ออกไปผสมพันธุ์กับแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ผลของการผสมพันธุ์จากแมลงที่เป็นหมัน ทำให้ตัวเมียวางไข่ที่ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอน (ไม่มีลูก) จะต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมัน ให้มากกว่าแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อลดโอกาสแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติจะได้ผสมพันธุ์กันเอง ทำให้ประชากรแมลงในธรรมชาติลดลง เมื่อปล่อยแมลงที่เป็นหมันจำนวนมากติดต่อกัน จะทำให้ประสบความสำเร็จ ในการลดประชากรแมลงในธรรมชาติอย่างรวดเร็ว
แมลงวันผลไม้
[img]http://www.tint.or.th
ต้นกำเนิดรังสีแกมมา โคบอลต์-60
เพื่อความสำเร็จเร็วขึ้นและลดต้นทุน จะต้องกำจัดแมลงในธรรมชาติให้มีจำนวนลดต่ำลงก่อนการปล่อยแมลงที่เป็นหมัน ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
ปล่อยให้แมลงในธรรมชาติลดต่ำลง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ
การใช้สารเคมี เหยื่อพิษ กับดัก การทำเขตกรรม :
ปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันกับแมลงศัตรูพืชมากกว่า 20 ชนิด และยังมีการวิจัยและพัฒนาวิธีการนี้ กับแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ อีก คาดว่า เทคโนโลยีนี้ จะมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอนาคต
งานวิจัยการควบคุมและกำจัดแมลง โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันในประเทศไทย ได้ดำเนินการมานานกว่า 20 ปีแล้ว ในโครงการวิจัย ดังนี้
โครงการควบคุมและกำจัดแมลงวันผลไม้โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน
โครงการนี้ได้ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2525 (กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ) โดยพัฒนาสูตรอาหารเทียม สำหรับเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันผลไม้ให้ได้จำนวนมาก ศึกษาปริมาณรังสีที่ทำให้แมลงเป็นหมัน การขนส่งดักแด้ การควบคุมคุณภาพแมลง และปล่อยแมลงวันผลไม้ที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2528-2540 พบว่า สามารถลดการทำลายท้อพันธุ์พื้นเมือง ของแมลงวันผลไม้จาก 54.7% ลดลงเหลือ 4% จากนั้นได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ ให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไป
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับเทคโนโลยีและได้ดำเนินการควบคุมและกำจัดแมลงวันผลไม้ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และกิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ในเขตควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้าง (area-wide integrated control of fruit flies)
-----------------------------------------------------------------
10. โครงการควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้างโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็น
หมันผสมผสานกับวิธีการอื่น
โครงการนี้กำลังดำเนินงานโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ในพื้นที่ ต.เขาพระ ต.หินตั้ง ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก และ ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี ซึ่งจะใช้การปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันดัวยรังสี หลังจากมีการรณรงค์ใช้สารล่อเมธิลยูจีนอล (methyl eugenol) การทำเขตกรรมเพื่อตัดวงจร และลดจำนวนประชากรของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติให้อยู่ในระดับต่ำ หลังจากนั้น จึงนำเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน เข้าไปควบคุมแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
[img]http://www.tint.or.th
-------------------------------------------------------------------
11. โครงการควบคุมและกำจัดหนอนใยผักโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันในรุ่นลูก
ได้ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2535-2543 ที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนำเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันด้วยรังสีในรุ่นลูกมาใช้ควบคุมกำจัดหนอนใยผักในแปลงกะหล่ำปลี โดยฉายรังสีให้แมลง เป็นหมันไม่สมบูรณ์ ในรุ่นพ่อแม่ แล้วปล่อยไปผสมพันธุ์กับแมลงในธรรมชาติเพื่อให้เกิดรุ่นลูกที่มีความเป็นหมันเพิ่มขึ้น การติดตามผลการทดลองกระทำโดยผ่าดูโครโมโซมของอัณฑะหนอนเพศผู้วัยสุดท้ายที่จับได้ในแปลงทดลอง ถ้าเป็นแมลงที่เป็นหมัน ในรุ่นลูกจะมีโครโมโซมผิดปกติ ส่วนการติดตามผลการปล่อยแมลงที่เป็นหมันในรุ่นพ่อแม่ โดยการทำเครื่องหมายด้วยผงสีสะท้อนแสง และจับแมลงกลับด้วยกับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อหาอัตราส่วนระหว่างแมลงฉายรังสีกับแมลงธรรมชาติ ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของเทคนิคนี้
นอกจากนี้ยังพบแมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้เกิดสมดุลธรรมชาติ ความสำเร็จของโครงการนี้ทำให้เกษตรกรไม่ต้องใช้สารฆ่าแมลงหรือใช้ปริมาณน้อยลง พิษตกค้างของสารฆ่าแมลงในผัก และสิ่งแวดล้อมน้อยลง
-------------------------------------------------------------------
12. โครงการควบคุมและกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันในรุ่นลูก
ได้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2541-2547 หลักการควบคุมและกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย เช่นเดียวกับหนอนใยผัก ได้พัฒนาอาหารเทียมและวิธีการเพาะเลี้ยงหนอนเจาะสมอฝ้าย ศึกษาปริมาณรังสีที่ทำให้แมลงเป็นหมันในรุ่นลูก การควบคุมคุณภาพแมลง การศึกษาความสามารถในการผสมพันธุ์ในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม พ.ศ.2546-2547 ดำเนินการปล่อยแมลงที่เป็นหมันในแปลงทดลองฝ้าย ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ความสำเร็จของโครงการนี้ทำให้เกษตรกรลดการใช้สารฆ่าแมลง พิษตกค้างของสารฆ่าแมลงในสิ่งแวดล้อมน้อยลง สังเกตได้จากจำนวนของแมลงตัวห้ำ ตัวเบียนในแปลงทดลองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
http://www.tint.or.th
------------------------------------------------------------------
13. แมลงช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของดิน
แมลงที่กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายซากเหล่านั้น และปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารออกมาอยู่ในสภาพที่พืชนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโตได้ แมลงหลายชนิดเจาะทำลายต้นไม้ที่ตายแล้วหรือที่โค่นล้ม เปิดโอกาสให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าย่อยสลายไม้ได้เร็วขึ้น และแปรสภาพเป็นแร่ธาตุอาหารที่สำคัญของพืชปกคลุมผิวหน้าดินเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน แมลงที่เก็บเศษใบไม้หรือเศษผงต่าง ๆ มาสร้างรังใต้ดิน โดยการเจาะทำรังหรือไชชอนลงไปในดิน ก็มีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ทำให้ดินโปร่ง มีการระบายอากาศดีและเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดิน แม้ว่าจะเป็นที่ทราบดีว่า ไส้เดือน มีหน้าที่สำคัญในการปรับสภาพของดิน แต่แมลงที่อาศัยในดิน ก็มีส่วนช่วยมิใช่น้อยเช่นกัน
ด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง (dung beetle) ช่วยรวบรวมมูลวัวมูลควายซึ่งมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยต่อไป แต่ที่สำคัญคือ ช่วยลดที่อยู่อาศัยและที่เพาะพันธุ์ของแมลงวันและแมลงอื่น ๆ ที่เป็นศัตรูต่อสัตว์เลี้ยง มูลวัวมูลควายนั้นหากปล่อยตามธรรมชาติจะกินเวลานานเป็นปีจึงจะย่อยสลาย จึงเป็นสถานที่เพาะพันธุ์ที่ดีของแมลง วันชนิดต่าง ๆ ด้วงปีกแข็งชนิดนี้กินมูลสัตว์เป็นอาหารและยังมีนิสัยเก็บมูลสัตว์รวมเป็นก้อนพร้อมทั้งวางไข่ในมูลนั้น แล้วนำไปเก็บรวมกันไว้เป็นอาหารของตัวอ่อน ดังนั้นด้วงจึงช่วยขจัดมูลสัตว์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และยังช่วยเก็บรวบรวมมูลสัตว์ให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย
ด้วงปีกแข็ง รวบรวมมูลสัตว์เป็นก้อน เพื่อใช้เป็นที่วางไข่และเป็นอาหารของตัวอ่อน
http://web.ku.ac.th
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/05/2024 10:06 am, แก้ไขทั้งหมด 567 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 29/05/2011 6:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เทคโนโลยีการเกษตร
องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรการเกษตร ongart@yahoo.com
14. มะยงชิด คลองสามวา
เมืองบางกอก ถ้าย้อนไปเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว แต่ก่อนจะมีความเจริญก็แค่พระบรมมหาราชวังและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ส่วนที่เหลือเขาเรียกว่าไกลปืนเที่ยง ซึ่งหมายถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง
มีการบอกเวลาเที่ยงด้วยการยิงปืน ถ้าได้ยินเสียงปืนก็เป็นอันว่าเที่ยงพอดี ตอนยิงได้ยินเสียงไปไกลแค่ไหนไม่รู้ แต่ถ้าแถบบ้านไหนไม่ได้ยินละก็ ถือว่าเป็นบ้านนอกโดยปริยาย จึงเรียกว่า ไกลปืนเที่ยง ไกลจนไม่ได้ยินเสียงปืน ต่อมาเมื่อมีนาฬิกาบอกเวลาแทนจึงได้ยกเลิกไป ในเวลานั้นบริเวณคลองแสนแสบ ทุ่งบางกะปิ ยังเป็นท้องนาท้องทุ่ง มีกอข้าวปลิวไสวตามลม เลี้ยงวัว ควาย กัน ไอ้ขวัญกับอีเรียมยังเป็นเด็กกะโปโลแก้ผ้าเล่นน้ำในคลองกันอยู่เลย
ส่วนบริเวณอื่นยังคงเป็นเรือกสวนไร่นาอยู่ คลองสามวาเดิมอยู่ในเขตหนองจอก มีเนื้อที่ 110 ตารางกิโลเมตร เอา 625 คูณ กลายเป็น 68,750 ไร่ เหลือพื้นที่ในการทำการเกษตรปัจจุบันปี 2553 เพียง 23,000 ไร่ เป็นนาข้าวเสีย 75 ส่วน
ส่วนรองลงมาเป็นนาหญ้าเสีย 10 ส่วน ที่เหลืออีก 15 ส่วน เป็นการเกษตรอย่างอื่น
คราวนี้เรามีโอกาสดี ได้เยี่ยมสวนบัวแก้ว ของ คุณปราโมทย์ เตี่ยบัวแก้ว ณ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ของเรานี่เอง
ด้วยคำแนะนำของ คุณเสาวรัจ นิลเนตร นักวิชาการเกษตร 7ว ของเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร นั่นเอง หลังจากได้ทำความรู้จักมักจี่กันเรียบร้อย เนื่องจากเกษตรกรคนขยันของเราไม่มีเวลานั่งคุย คุณปราโมทย์ ได้หิ้วถังเข้าไปในแปลงสวนเพื่อเก็บผลผลิต เราก็ได้ตามไปติดๆ เพื่อสัมภาษณ์และถ่ายภาพ คุณปราโมทย์ก็เก็บมะยงชิดไป ดูสวนไป เราก็ตามสัมภาษณ์และถ่ายภาพไปพร้อมกัน ดีที่ว่าอากาศในวันกลางเดือนมีนาคมปีนี้ค่อนข้างเย็น เพราะฝนพึ่งตกไป แดดก็ไม่ค่อยมี ไม่งั้นต้องปาดเหงื่อไปสัมภาษณ์ไป
คนทำ ไม่ได้เรียน คนเรียน ไม่ได้ทำ
ชีวิตของคุณปราโมทย์ หักมุมเหมือนเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือคนที่ไม่ได้เรียนเกษตรมักจะมาทำงานด้านเกษตร คุณปราโมทย์ จบการศึกษาช่างก่อสร้าง จากวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ใกล้บ้าน ในระดับ ปวส. และได้เข้าไปสอบเพื่อเรียนวิศวะตามที่ตั้งใจ แต่สอบเข้าไม่ได้ จึงเบนเข็มมาทำการเกษตร โดยไม่ได้ไปทำงานด้านที่เรียนมาเลย อาชีพของบรรพบุรุษคือ ทำนา คุณปราโมทย์จึงต้องมาทำนาเหมือนบรรพบุรุษ แต่คุณปราโมทย์เห็นว่า
การทำนาเป็นอาชีพลุ่มๆ ดอนๆ ปีไหนข้าวมีผลผลิตดีราคาก็ถูก ปีไหนข้าวราคาดี ผลผลิตก็แย่ ราคาซื้อ-ขาย ถูกกำหนดโดยโรงสี ชาวนาไม่มีโอกาสกำหนดราคาข้าวตัวเองได้ ก็ทีเราไปซื้อปุ๋ยกับร้านค้า คนขายเป็นคนกำหนดราคาขายให้เรา แต่พอเราเป็นคนขายบ้าง คนซื้อกลับมาเป็นคนกำหนดราคาซื้อ มันไม่น่าจะยุติธรรมต่ออาชีพเกษตรกรรม เราจะทำอย่างไร ให้คนขายของเกษตรทุกคนเป็นคนกำหนดราคาเหมือนที่พ่อค้ากำหนดราคาขายปุ๋ย ขายยา
เมื่อ 40-50 ปีก่อน รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่เกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชุนเข้าไปในพื้นที่ บอกชาวนาว่า ปลูกข้าวอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ต้องทำ ซื้อเอา ชาวนาก็หลงเชื่อ ปัจจุบัน นิสัยนี้ติดมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ชาวนาบางครอบครัวไม่ปลูกพริก มะเขือ ตะไคร้ โหระพา กะเพรา ผลไม้ กินเอง คำว่า "เรือกสวน" หายไป เหลือแต่ คำว่า "ไร่นา" เอ็งจะทำไร่ก็ทำไป เอ็งจะทำนาก็ทำไป ทำอย่างเดียว เอาวิถีการเกษตรแบบตะวันตกมาใช้ ราคาผลผลิตนั้นร่วงเมื่อไหร่ เป็นฉิบหายกันเป็นแถว เพราะเราพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว หนำซ้ำยังเลิกปลูกของกินได้ไว้ข้างบ้านอีกด้วย
กว่าจะมาเป็น สวนบัวแก้วบนพื้นนาเก่า 30 ไร่ คุณปราโมทย์ เล่าว่า "ตอนแรกเริ่มทำ ล้อมโดยขุดดินในนาขึ้นมาทำเป็นคันล้อมขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้น้ำท่วมเข้านา และป้องกันไม่ให้น้ำออกไป แต่เราค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ บนคันล้อมผมก็ปลูกขนุนเหลืองบางเตย มะพร้าวน้ำหอม เพื่อกันตลิ่งพัง และก็กล้วยน้ำว้า ส่วนตรงกลางก็ยังคงทำนาอย่างเดิม ผมค่อยๆ เปลี่ยน เพราะไม่มีทุนทำ
ขนุนเหลืองบางเตยเป็นบทเรียนบทแรกของผม เมื่อพบว่า ปลูกครบ 3 ปี จนกระทั่งออกลูก ปรากฏว่าเนื้อขนุนใช้ไม่ได้ เนื้อมันเละเกินไป ฉ่ำน้ำมาก เพราะลักษณะดินเป็นเลนโคลน ซึ่งเป็นชุดดินธัญบุรี ไม่เหมือนแถบนครปฐม เขาจะปลูกได้ผลผลิตดี หลังจากนั้น ผมจึงต้องปลูกขนุนมากสายพันธุ์เพื่อค้นหาพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่นี้ ก็ได้เป็นทองประเสริฐ มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้นไม้ที่เมื่อให้ผลผลิตแล้วก็จะมีรายได้สม่ำเสมอ และกล้วยน้ำว้าที่หลายคนมองข้าม ผมได้รายได้ทุกวันจากกล้วยน้ำว้า"
"ผมเห็นว่า การเกษตรต้องทำหลายอย่างที่เกื้อกูลกัน เพราะจะมีผลผลิตออกจากสวนทุกวัน ถือว่าเป็นเงินรายวัน และมีอีกส่วนหนึ่งออกทุกเดือน ถือว่าเป็นเงินเดือน ส่วนผลผลิตที่ออกปีละครั้ง ถือเป็นเงินโบนัส เรามีรายได้ทั้ง 3 ช่วงเวลา การปลูกพืชชนิดเดียวสำหรับผมถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะเมื่อผลผลิตเสียหาย หรือราคาตกต่ำเรามีแต่เจ็บลูกเดียว"
ลองผิดลองถูกกับ มะยงชิด
"เมื่อ 7-8 ปีก่อน ผมก็คิดเหมือนคนทั่วไปว่า มะยงชิด ปลูกไม่ได้ในกรุงเทพฯ แต่ผมก็ทดลองเอามาปลูกก่อนไม่กี่ต้น ผมปลูกไว้ข้างบ้าน เฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของมัน 2 ปี ต่อมาต้นมะยงชิดก็ให้ลูก รสชาติดี ผมจึงไปซื้อต้นพันธุ์ที่สวนปากพลี นครนายก มา 200 ต้น ปลูกบนร่องสวนของผม เมื่อครบ 2 ปี ต้นก็ให้ผลผลิตเหมือนต้นครู ผมดูแลรักษาอย่างดี ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์เสียส่วนใหญ่ ส่วนปุ๋ยเคมีใช้ปีละไม่เกิน 1-2 ตัน มะยงชิดในสวนผมผลผลิตจะออกประมาณกุมภาพันธุ์ของทุกปี ซึ่งจะตรงกับวันตรุษจีนพอดี ราคาขายค่อนข้างดี แต่ปีนี้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ผลผลิตมาได้ตอนเดือนมีนาคม ซึ่งจะไปตรงกับของปราจีนบุรีและนครนายก ทำให้ราคาไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็อยู่ที่กิโลละ 120-150 บาท จากสวน
วันนี้ต้นมะยงชิดที่ผมปลูกอายุ 5 ปีแล้ว มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย แต่ผมก็ยังไม่หยุด ผมปลูกต้นมะปรางป่าไว้ข้างต้นเพื่อเสริมรากให้ต้นมะยะชิดอีก แต่ยังไม่ได้ติดราก ซึ่งจะทำให้ต้นมะยงชิดมีรากเพิ่มเพื่อหาอาหารให้กับต้นได้อีก ใต้ต้นมะยงชิดหลายต้นจะสังเกตเห็นว่ามีต้นพริกขี้หนูสวน ต้นสูงประมาณ 2 เมตร มีลูกดกมาก อายุก็อย่างน้อย 3 ปีแล้ว พริกขี้หนูสวนขายกิโลละ 120 บาท ถ้าต้นพริกไปอยู่กลางแดดจัดเป็นแปลงโดยไม่มาอาศัยร่มมะยงชิด มักจะเป็นโรคใบหงิก แต่พออาศัยกับต้นมะยงชิดผลผลิตก็สมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงมารบกวน และมะยงชิดนี้ผมก็ตอนทำกิ่งพันธุ์ขาย เพราะเราจะต้องตัดแต่งให้โปร่งเหมือนกัน แทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ เราก็ตอนทำกิ่งพันธุ์ขายได้อีก ตอนเท่าไหร่ผมก็ไม่พอขาย เพราะผมรับประกันว่าเป็นกิ่งที่ผมตอนมาจากต้นที่คุณกินในสวนนี้เอง ไม่ได้เอามาจากไหน ผมว่าประเด็นต้นพันธุ์นี้เป็นสิ่งที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ การซื้อต้นพันธุ์จากไหนก็ไม่รู้ พอปลูกมาได้ 2-3 ปี ผลผลิตออกมาไม่รู้ว่าเป็นพันธุ์อะไร ขายก็ไม่มีคนเอา สุดท้าย ต้องโค่นทิ้ง"
คุณปราโมทย์ อธิบาย และเล่าต่ออีกว่า
"เกษตรกรต้องเสียทั้งค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน ต่างๆ และเสียเวลาที่เอาคืนกลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมแนะนำให้ซื้อที่สวน เพราะมีปัญหาเราสามารถกลับไปต่อว่าได้ ซึ่งเราโวยวายไปเขาจะเสียชื่อ แต่ถ้าซื้อตามข้างถนนหรืองานเร่ วันนี้เขาอยู่นี่ แต่พรุ่งนี้เขาไปไหนแล้วก็ไม่รู้ เราไม่รู้จะเอาผิดกับใคร เหมือนกับเวลา
เกษตรมาแจกมะพร้าว บอกว่า มะพร้าวน้ำหอม ปลูกไป 4-5 ปี ถึงรู้ว่า เป็นมะพร้าวแกง มะม่วง บอกว่า เขียวเสวย ก็เป็นมะม่วงแก้วหรือมะม่วงอะไรก็ไม่รู้ ชาวสวนได้แต่ส่ายหน้า เขาเรียกกันว่า มะม่วงพันธุ์ ก.ษ. คือพันธุ์เกษตร ซึ่งจะมีหลายรูปร่างมาก เหมาะสำหรับเอาไปปลูกไว้ในป่าให้นกกิน"
ขอแจมนิดเถอะคุณปราโมทย์ มีในจังหวัดหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้เอง อยู่ไม่ไกลปืนเที่ยงเท่าไหร่ เขาแจกลูกหมูพันธุ์สีขาว ปรากฏว่าชาวบ้านกินลูกหมูย่างกันเปรม เพราะลูกหมูนั้นเป็นลูกหมูพันธุ์ผสมสำหรับฟาร์ม ต้องมีการฉีดยา ฉีดวัคซีน และการเลี้ยงดูที่ถูกสุขลักษณะ สุขอนามัย ชาวบ้านไม่เคยเลี้ยงก็เลี้ยงแบบหมูดำหรือบางทีก็ปล่อยลานแบบหมูออร์แกนิค แล้วมันจะเหลืออะไร มันทำให้ผมนึกถึง ปี 2504 สมัยผู้ใหญ่ลี ที่ภาครัฐต้องการให้เลี้ยงสุกร ซึ่งตอนนั้นเริ่มจะมีหมูขาว หรือเรียกว่าหมูพันธุ์เข้ามาเลี้ยงในบ้านเรากันแล้ว
การตลาด เป็นสิ่งสำคัญ
การทำงานด้านการเกษตรต้องใช้สมอง ไม่ใช่คิดว่าจะปลูกอะไรก็ปลูก เห่อตามเขาไป ต้องถามตัวเองว่า จะเอาไปขายใคร ถ้าตอบคำถามได้ ค่อยมาคิดหาวิธีปลูก ซึ่งไม่ยากเลย ในสวนของคุณปราโมทย์นอกจากมะยงชิดแล้ว เราจะพบ
น้อยหน่าเพชรปากช่อง 300 ต้น กำลังมีลูกเล็กๆ พอตัดแต่งกิ่งคุณปราโมทย์ก็ไปรับคนตัดแต่งกิ่งมาจากกลางดง เพื่อที่จะทำให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อจะง่ายในการดูแล
คุณปราโมทย์ เล่าต่อว่า "ละมุดเม็กซิโก ผมก็ปลูก แต่ตอนนี้ปลูกเพื่อขยายพันธุ์ ลูกจะมีขนาดใหญ่กว่าลูกเทนนิส แต่จะเป็นสัณฐานกลม ไม่ยาวรีเหมือนละมุดบ้านเรา รสชาติดี หน้าแล้งทุกปีผมจะปลูกแฟง ปี "53 พอดีแฟงขาดตลาด ผมได้ขายแฟงไป 300,000 กว่า และชาวบ้านแถวนี้ที่ปลูกข้าวก็ปลูกแฟงในหน้าแล้งกัน ปรากฏว่าแฟงได้ดีกว่าข้าว มะม่วงน้ำดอกไม้ ผมก็ทำนอกฤดู เก็บผลก่อนคนอื่นเขา 1 เดือน ได้ 100,000 กว่า กับมะม่วงแค่ 30 ต้น ที่บอกมาไม่ใช่ว่าจะอวดรวย แต่จะบอกว่าในสวนเราควรปลูกหลายๆ อย่าง เพื่อถ้าผลผลิตไหนไม่ดีหรือราคาไม่ดี เราจะได้อีกตัวช่วยเสริม การปลูกพืชอย่างเดียวเป็นการเสี่ยงมาก อย่าง กล้วยหอม ตรุษจีนที่ผ่านมา ก็ราคาดี สวนผมได้เปรียบอีกอย่าง คือ อยู่ใกล้แหล่งบริโภค การขนส่งทำได้รวดเร็ว ผลผลิตของผมส่วนหนึ่งจะนำไปขายที่ตลาดมีนบุรี พ่อกับแม่เป็นคนขาย ส่วนผมทำหน้าที่ในสวนอย่างเดียว และปัจจุบันทำคนเดียวด้วย ผมทำของผมอยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง การหยุดนิ่งของผมคือ เป็นไข้ไม่สบายเท่านั้น การที่เรามีช่องทางการขายปลีกเองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราเป็นผู้กำหนดราคาเอง และการที่เราทำของคุณภาพ เราก็เป็นคนกำหนดราคา ไม่ใช่ผู้ซื้อกำหนด"
ท้อใจ แรงงาน ภาคเกษตร
คุณปราโมทย์ ได้มีโอกาสไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งไปเป็นเวลา 8 เดือน เกี่ยวกับเรื่องกุหลาบตัดดอก แต่พอกลับมาก็ไม่ได้ทำเรื่องนี้ ได้ไปสัมผัสสหกรณ์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้มแข็งมาก เกษตรกรญี่ปุ่นอยู่ได้เพราะระบบสหกรณ์
คุณปราโมทย์ ยืนยันว่า
"ผมเข้าไปสัมผัสระบบสหกรณ์บ้านเรา ผมบอกตรงๆ ผมเหนื่อย ในที่สุดผมก็เลิกราออกมา เกษตรกรญี่ปุ่นรวมกันแล้วเจริญ เกษตรกรบ้านเรารวมกันแล้วฉิบหาย ต่างคนต่างทำดีกว่า"
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณปราโมทย์ท้อใจคือ แรงงาน ซึ่งถ้ามีแรงงาน คุณปราโมทย์จะทำงานอย่างอื่นได้อีกเยอะ แรงงานปัจจุบันไม่ศรัทธาอาชีพเกษตรกรรม บอกว่าต่ำต้อย ยากลำบาก ขนาดเด็กเรียนภาคเกษตรมาฝึกงาน คุณปราโมทย์ยังส่ายหัวดิก บอกว่าไม่อยากพูด เดี๋ยวจะเสียถึงสถาบัน จึงกลายมาเป็นที่มาของคนจบเกษตร ไม่ทำงานเกษตร
สวนบัวแก้ว เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตของระบบไร่นาเกษตรผสมผสานที่เป็นเกษตรกรสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ของเราทำ มีการปลูกพืชหลายชนิดและการจัดการอย่างเหมาะสม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตรของเขตคลองสามวา ซึ่งเป็นความประสงค์ดีที่เป็นห่วงเกษตรกรของคุณปราโมทย์ที่จะให้ความรู้แบบตรงไปตรงมาแบบไม่ต้องลองผิดลองถูกกันอีก
ติดต่อเกษตรกรดีเด่น ไร่นาสวนผสม ปี 2553 ของกรุงเทพมหานคร ที่เบอร์โทร. (089) 926-5495 กระซิบไว้หน่อยว่า อย่าโทร.คุยนาน เพราะสวน 30 ไร่ ทำงานคนเดียว
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05022150554&srcday=&search=no
------------------------------------------------------------------------------------------------
เรื่องเล่าจากสองข้างทาง
ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ
เมื่อ วช. ทำให้งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้งด้วย
15. "52 สัปดาห์ รู้แล้วรวย ด้วยนวัตกรรมงานวิจัยเกษตรไทย"
การปลูกพืชให้ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำพาให้เกษตรกรสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือพูดง่ายๆ ว่า ปลูกแล้วขายได้ ซึ่งไม่เฉพาะตลาดภายในประเทศเท่านั้น รวมถึงตลาดต่างประเทศด้วย แต่การที่จะได้มาซึ่งผลดังกล่าวนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการดูแลที่ทันสมัยเข้าไปช่วยในระบบการปลูกพืชของเกษตรกร
ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้นั้น ช่องทางสำคัญ คือ เกษตรกรต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นผลงานวิจัยของนักวิชาการในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ถ้าถามถึงปริมาณงานวิจัยเกี่ยวกับการเกษตรของประเทศไทย ที่นักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิในทุกภาคส่วนได้ศึกษาค้นคว้าออกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น คงมีคำตอบได้อย่างเดียวว่า มากมายมหาศาล โดยแต่ละผลงานวิจัยนั้นสามารถยังประโยชน์ให้กับภาคเกษตรของประเทศได้เป็นอย่างดี
ขาดแต่เพียงว่า ที่ผ่านมานั้น เมื่อวิจัยเสร็จ ผลงานวิจัยเหล่านั้นกลับไปไม่ถึงมือผู้ใช้ อย่างเกษตรกร
จนกลายมาเป็นคำเสียดสีที่ว่า งานวิจัยขึ้นหิ้ง...
คือ ทำวิจัยได้ผลงานออกมาก็จะถูกเก็บไว้ ไม่ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แต่อย่างไร
ตรงนี้ถือเป็นจุดบอดที่สำคัญอีกประการต่อการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศ ที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง หลายคนคงมีแนวคิดว่า ทำอย่างไร งานวิจัยที่เป็นข้อมูลอันมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปฏิบัติดูแลพืชผลทางการเกษตร จะถูกรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ เป็นเล่ม ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ จะเกิดขึ้น
แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ได้พยายามผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและเกิดการถ่ายทอด แต่ก็เป็นเพียงการทำงานโดยลำพัง จึงขาดพลัง และที่สำคัญ เมื่อปลดเกษียณแล้ว นโยบายการผลักดันก็เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของคนที่มาใหม่ จึงยังทำให้ คำว่า "งานวิจัยขึ้นหิ้ง" ก็ยังคงอยู่คู่กับวงการนักวิจัยมาสม่ำเสมอ
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะหน่วยงานกลางด้านการวิจัยของประเทศ ได้เห็นถึงความสำคัญของการผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดผลงานวิจัยที่มีอยู่ให้ถูกถ่ายทอดออกไปสู่เกษตรกรได้ให้มากที่สุด
จึงเป็นที่มาของการจัดงาน "52 สัปดาห์ รู้แล้วรวย ด้วยนวัตกรรมงานวิจัยเกษตรไทย" เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. หวังถ่ายทอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรของไทย รวมถึงการดูแลรักษาพืชในแต่ละฤดูกาลสู่เกษตรกร การสร้างแรงจูงใจต่อเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก
ศ.นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ บอกว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โดยความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจด้านการเกษตร ได้ตระหนักถึงเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ยากจนและได้พิจารณาเห็นว่า ในปีหนึ่งๆ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยทางด้านการเกษตรในวงเงินที่ค่อนข้างสูง และผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากและหลากหลาย แต่ไม่สามารถถ่ายทอดและสื่อสารให้เกษตรกรเข้าใจและนำมาใช้ประโยชน์โดยตรง จึงได้เกิดแนวคิดร่วมกันในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาร้อยเรียงและใช้ภาษาที่สื่อความหมายให้เกษตรกรเข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงสถานะและช่องว่างของงานวิจัยที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ให้ครบถ้วน ซึ่งสอดคล้องและตอบรับกับนโยบายของคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดหารายได้เข้าประเทศ ในคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร
ขณะที่ คุณวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดหารายได้เข้าประเทศ ในคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสำคัญของการดำเนินงานในครั้งนี้ กล่าวว่า นวัตกรรมเกษตร 52 สัปดาห์ ถือเป็นสุดยอดนวัตกรรมเด่นด้านการเกษตรของประเทศไทย เป็นคู่มือสำหรับเกษตรกรที่สามารถตอบสนองตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง หรือ Real time และสามารถปรับใช้ได้ในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดของประเทศไทยที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน เพื่อยกระดับความรู้ของเกษตรกรให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ สามารถส่งขายได้ทั่วโลก และหวังว่าจะเป็นก้าวสำคัญของการยกระดับรายได้ของเกษตรกรไปสู่ผู้ที่ควรจะมีฐานะดีขึ้น
ในงานนอกเหนือจากกิจกรรมการเสวนา การบรรยาย การอภิปรายและนิทรรศการแล้ว ที่น่าสนใจอย่างยิ่งอีกประการคือ หนังสือประกอบการประชุมเสวนา ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้จัดทำขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "52 สัปดาห์ รู้แล้วรวย ด้วยนวัตกรรมงานวิจัยเกษตรไทย" ซึ่งหนาถึง 430 หน้า
เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศของพืช 32 ชนิด 23 เทคโนโลยี โดยเน้นนำเสนอขั้นตอนแผนงานการปฏิบัติดูแลพืชแต่ละชนิด ทั้งแบบ 360 วัน และ 52 สัปดาห์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลที่นักวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ได้ศึกษาไว้ ทั้งกรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร
ตัวอย่างเช่น แผนการทำงานในสวนมะพร้าว เดือนพฤษภาคม
ข้อมูลที่เรียบเรียงไว้ในเอกสารดังกล่าว จะเน้นถึงงานที่ต้องทำ ซึ่งในเดือนพฤษภาคมนั้น งานที่เกษตรกรต้องทำจะประกอบด้วย
1. กำจัดวัชพืชในสวนมะพร้าว โดยการตัดหญ้าออกให้หมด และหมั่นเดินตรวจต้นมะพร้าวในสวน เพื่อสำรวจโรคและแมลง
2. ระวังการเข้าทำลายของแมลงดำหนาม หากพบการเข้าทำลาย ให้ปล่อยแตนเบียนแมลงดำหนาม หากระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่น
สารป้องกันกำจัด พวก คลอร์ไพริฟอส
3. ให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง ระวังอย่าให้น้ำถูกผล เพราะจะทำให้ผลร่วง เกิดความเสียหาย
4. ให้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ต้นละ 50 กิโลกรัม
จากการจัดงานดังกล่าว จึงนับว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ที่จะส่งผลให้เกิดแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลรักษาพืชในรอบ 1 ปี แบบครบวงจร เกษตรกรเกิดความรู้ ความเข้าใจ เทคโนโลยีและขั้นตอนการปฏิบัติต่อพืช 32 ชนิด 23 เทคโนโลยี พร้อมรับทราบแนวทางการเกษตรเพื่อการส่งออก
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นคำถาม คือ แล้วสิ่งที่เป็นประโยชน์เช่นนี้จะถึงมือเกษตรกรได้อย่างไร ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศ.นพ.สุทธิพร ได้ไขข้อข้องใจนี้ว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จะได้จัดให้มีการทำ ซีดี ภาพยนตร์ ถ่ายทอดความรู้จากผลที่ได้รับจากการเสวนา และยังมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการจัดทำรายการวิทยุเพื่อให้เข้าถึงตัวเกษตรกรให้ได้มากที่สุดอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นคู่มือที่ยังประโยชน์ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น หากใครสนใจอยากได้ข้อมูลดีๆ ที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้ดำเนินการขึ้นในครั้งนี้ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้ทันที
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2561-2445, อีเมลล์: pharksuwan@nrct.go.th
-----------------------------------------------------------------------------------------------
16. วช.เตรียมจัดงาน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2554
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เตรียมจัดงาน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 พร้อมเผย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชศาสตร์
ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เปิดเผยว่า วช.จะจัดงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 หรือ Thailand Research Expo 2011 ระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2554 ซึ่งจะมีการ
จัดแสดงผลงานวิจัย 5 ประเภท อาทิ
งานวิจัยด้านอุตสาหกรรมเพื่อการต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์,
งานวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชน,
งานวิจัยด้านนโยบายและการสร้างองค์ความรู้ใหม่
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์การแพทย์ที่นำเอาวิศวกรรมเข้ามาผสมผสานทางการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยรักษาทางการแพทย์ และยังทรงให้ความสำคัญในด้านการช่วยเหลือผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส เช่น การผลิตแขน ขา เทียมให้กับผู้พิการที่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับแขนขาจริง ตลอดจนงานวิจัยเพื่อสร้างอุปกรณ์ต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อเตรียมจัดงาน Thailand Research Expo 2011 โดยครั้งแรกได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาและรับฟังแนวทางความต้องการ รูปแบบและเนื้อหาการจัดงานงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 ของแต่ละภูมิภาค ให้สอดคล้องกับงานวิจัยแต่ละภูมิภาคและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และหลังจากนี้เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศเพิ่มเติม ทั้งภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.อุบลราชธานี, และภาคเหนือที่ จ.เชียงราย ระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้
http://www.yiu.ac.th
---------------------------------------------------------------------------------------------
17. สระเก็บน้ำต้านภัยแล้ง ผลงานวิจัย จาก วช.
รายงานพิเศษ : วช.รับมือหน้าแล้งภาคอีสานด้วยงานวิจัย "สระเก็บน้ำต้านภัยแล้ง"
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นำงานวิจัยโครงการ "สระเก็บน้ำต้านภัยแล้ง" ช่วยรับมือภัยแล้งและขาดแคลนน้ำใน จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นงานวิจัยระบบเก็บกักน้ำต้นแบบแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำหน้าแล้งสู่ภาคประชาชนนำไปใช้ได้จริง
ต้นปีที่ผ่านมาหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทยต้องประสบอุทกภัยอย่างหนัก ส่งผลเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและพื้นที่ทางการเกษตรอย่างมาก แต่ขณะนี้หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำหลายแห่งเริ่มแห้งขอดประกอบกอบพื้นที่ภาคอีสานมีอากาศร้อนและแห้งแล้งสูงสุดในประเทศ เป็นผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ เกษตรกรจึงไม่สามารถทำการเกษตรใดๆ ในหน้าแล้งได้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคอีสานเมื่อหน้าแล้งมาเยือนพื้นที่จะไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ แนวทางแก้ปัญหาความแห้งแล้งภาคอีสานจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาด้วยการเก็บกักไว้ในพื้นที่ให้ได้
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จึงให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำในภาคอีสานแก่ ดร.ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศึกษาวิจัยแนวทางการแก้ภัยแล้งด้วยโครงการ สระเก็บน้ำต้านภัยแล้งต้นแบบขึ้น ในพื้นที่บ้านยางน้อย อำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี
"ที่ผ่านมาการขุดสระเก็บน้ำเพื่อใช้ในหน้าแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่ละปีมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการกักเก็บน้ำ เนื่องจากดินไม่สามารถเก็บน้ำไว้ที่ผิวดินได้ ปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำยังนำไปสู่ปัญหาอื่นๆทั้งสินค้าเกษตรขาดแคลน ราคาสูงขึ้น ประชาชนขาดรายได้ และการแก้ปัญหาความแห้งแล้งจึงต้องแก้ที่ต้นเหตุด้วยการสร้างแหล่งน้ำทดแทนการขาดแคลนน้ำ"
สำหรับโครงการสระเก็บน้ำต้านภัยแล้ง ดร.ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์ นักวิจัยบอกว่า เริ่มจากการออกแบบสระเก็บน้ำเหมือนสระเก็บน้ำทั่วไป แต่จะใช้หลักการเก็บน้ำด้วยการสร้างชั้นกันซึม โดยขุดสระเพื่อเก็บกักน้ำแบบเดิมแต่จะสร้างชั้นกันซึมด้วยพลาสติกคลุมดิน หรือใช้คอนกรีตผสมดินโคนเคลือบพื้นผิวภายในสระ สร้างชั้นป้องกันการกัดเซาะของน้ำจากภายนอกสระ เพื่อบังคับน้ำให้ไหลลงสระเก็บน้ำและลดการซึมของน้ำลงดิน ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาไม่สูญเสียลงดินโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถปรับสระเก็บน้ำใช้ได้ทั้งสระขนาดเล็กในครัวเรือน จนถึงสระขนาดใหญ่หลายหมื่นลูกบาศก์เมตรระดับชุมชนได้ด้วย
สระเก็บน้ำต้านภัยแล้งต้นแบบดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย อำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้นำไปใช้งานจริงในภาคการเกษตรในชุมชนใกล้เคียง พร้อมเตรียมสนับสนุนขยายผลสู่พื้นที่ประสบภัยแล้งและขาดแคลนน้ำต่อไป ตลอดจนเพื่อรองรับระบบชลประทานที่จะเข้าสู่พื้นที่ เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำถาวรสำหรับการเกษตรได้ตลอดทั้งปีในพื้นที่ภาคอีสาน
ขอขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
ผู้สื่อข่าว : อนงนาฎ สิทธิคง
Rewriter : ธนวัต วงศ์วิริยะวณิช
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
http://education.kapook.com/view25796.html
-----------------------------------------------------------------------------------------------
18. รถตัดอ้อยเล็ก
อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี นักวิจัยและประดิษฐ์ รถตัดอ้อยขนาดเล็ก นำคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ไร่อ้อย ทดสอบประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้จริงกับชาวเกษตรกรชาวไร่อ้อย
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ณ แปลงไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลวังขนาย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี นักวิจัยและนักประดิษฐ์ รถตัดอ้อยขนาดเล็ก คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ไร่อ้อย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็ก ที่ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนารถตัดอ้อยขนาดเล็กที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างให้เป็นรถตัดอ้อยต้นแบบที่มีความสามารถลดการปนเปื้อนของใบอ้อย กับต้นอ้อยลง ให้สามารถตัดอ้อยได้วันละ 60
ตัน ต่อวัน และสามารถตัดอ้อยล้มได้
การใช้ประโยชน์จากรถตัดอ้อยขนาดเล็ก หากได้พัฒนาปรับปรุงให้สมบูรณ์ใช้งานได้จริงแล้ว จะสามารถลดต้นทุนของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าจ้างตัดอ้อย 1,250 บาทต่อไร่ ทำงานตลอดฤดูเก็บเกี่ยว 150 วัน หรือ 750 ไร่ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตลอดฤดู 937,500 บาท ต่อ ฤดู หรือสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 3-4 ปี ลดการนำเข้าของเครื่องจักรกลจากต่างประเทศ ลดปัญหาการขาด แคลนแรงงานได้ 50 คนต่อวัน สามารถลดแรงงานที่ใช้ในการตัดอ้อย 7,500 คนต่อฤดู และลดการเผาอ้อย ได้อีกด้วย
อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี กล่าวว่า รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนัก งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โรงงานน้ำตาลวังขนาย และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งการลงพื้นที่ในวันนี้ ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวิจัยมาตรวจสอบ และชมการทดสอบรถตัดอ้อยขนาดเล็ก ในการทดลอง คือ ตัดยอด ตัดโคน และสางใบ ซึ่งปัญหาที่พบก็คือ การขับเคลื่อน และการลำเลียงลำอ้อยที่ถูกตัดแล้วยังพบใบอ้อยไปติดอยู่ที่ตัวใบมีด ก็ทำให้เครื่องหยุดทำงาน ซึ่งทางคณะผู้วิจัย ก็จะไปปรับปรุงแก้ไขและมาทดสอบดูอีกในครั้งต่อไป และวันนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คำแนะนำหลายอย่าง ทั้งระบบขับเคลื่อน และการลำเลียงอ้อย การบังคับเลี้ยว รายละเอียดย่อยต่างๆ สำหรับปริมาณในการตัด ถ้าปรับปรุงจนสมบูรณ์แล้ว ปริมาณและประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็กนี้ จะตัดอ้อยได้ประมาณวันล่ะ 60 - 80 ตัน แต่ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง ยังไม่ได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซนต์
ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีวิเวศน์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเรานำเข้ารถตัดอ้อย จากออสเตรเลีย บราซิล และประเทศอื่นๆ ซึ่งราคาจริงถ้าเป็นตัวใหม่ๆ ราคาประมาณ 8 ล้าน ถึง 10 ล้าน หรือซื้อของ
ใช้แล้วประมาณ 5 ล้าน แต่เมื่อมีนักวิจัยที่จริงจังในการผลิตและพัฒนารถตัดอ้อย อย่างที่อาจารย์ทนงศักดิ์ ได้ทำอยู่ตอนนี้ ก็จะประหยัดและช่วยเกษตรกรได้มากขึ้นหลายเท่า เพราะจุดเด่นของรถที่อาจารย์ทนงศักดิ์ ผลิตขึ้นมาก็คือ ต้นทุนราคาถูก คนไทยทำเอง และใช้ระบบไฮดรอลิกค์ เข้ามาช่วยค่อนข้างมาก ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของเครื่องนิ่มมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ การทดลองใช้ประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย ยังไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของ การแก้ปัญหาอ้อยล้ม การพัฒนาด้วยการเพิ่มกำลังรถขึ้นอีก และให้ตัดได้มากขึ้น ซึ่งการต่อยอดแต่ละครั้ง ก็จะทำให้นักวิจัยมีประสบการณ์มากขึ้น พัฒนางานได้ดีขึ้น และที่สำคัญสามารถนำความรู้และประสบการณ์ตรงของตนเอง ไปสอนนิสิตนักศึกษาให้เกิดความรู้ และคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นต่อไปได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ ผู้ตรวจสอบทางวิชาการ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ได้คิดประดิษฐ์รถตัดอ้อยขนาดเล็ก เพื่อใช้ลดแรงงานคนในการตัดอ้อย ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน เพราะว่าเป็นการใช้งานได้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการนำเอาความคิดของการที่จะใช้รถตัดขนาดกลาง ขนาดเล็ก ให้เหมาะสมกับชาวไร่อ้อย ซึ่งจากการที่ได้ดูการทดสอบของรถตัดอ้อยขนาดเล็กแล้ว ก็ถือว่าพัฒนาไปได้เยอะ ในส่วนของการขับเคลื่อนและการตัด แต่ต้องมีปรับปรุงในส่วนของการส่งกำลังเพิ่มขึ้น เพราะใช้กำลังที่มาก และส่วนของการสางใบอ้อย ไม่ให้เข้าไปพันในแกน ก็ต้องมีการสางใบให้มากกว่านี้ การลำเลียงอ้อยเพื่อที่จะให้ไปกองด้านท้ายของเครื่อง จะต้องให้มันมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะทำให้เวลาตามเก็บมีความสะดวกมากขึ้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี โทรศัพท์ 086-5527493
ภาพ / ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : คณะเทคโนโลยี
คลิกไปดูภาพประกอบ...
http://web.msu.ac.th/hotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=707&uf=&qu=
----------------------------------------------------------------------------------------------------
19. ปัจจัยในการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอก
สืบเนื่องจากหลายกระทู้ที่ผ่านมา มีบางคนสงสัย ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้นไม้ที่ปลูกอยู่ไม่ออกดอก หรือบางคนกล่าวหาว่าผู้ที่ตอบในกระทู้ที่เขาถามรู้จักต้นไม้ที่เขาถาม หรือแนะนำเขาจริงๆ หรือเปล่า ส่วนตัวผมคิดว่า คงไม่มีใครที่ไม่รู้จริง แล้วกล้าตอบลงไปครับ เสียชื่อเปล่าๆ ถ้าผู้ที่ถาม มีจิตวิทยาดีหน่อย จะช่วยถนอมน้ำใจคนที่ตั้งใจตอบไม่ให้ เสียความรู้สึกได้เลย
ส่วนในกระทู้นี้ ผม อยากเชิญชวน หลายๆ ท่านที่มีความรู้ , หรือ มีประสบการ์ณ มาร่วมแบ่งปัน ความรู้ หรือ บางท่านร่วมแสดงความคิดเห็น จะเป็น ประโยชน์ กับเพื่อนๆครับ ผิดถูก ไม่เป็นไรครับ ผมจะยกบางตัวอย่างเป็น สังเขป ถ้าไม่ถูกช่วยเสริมหรือแย้งก็ดีครับแต่ผมปลูกต้นไม้มานาน นับ 20 ปีครับ จากที่ศึกษามาบ้าง หรือ จากการสังเกตุปัจจัยนึง ใช้ความเย็น เป็นตัวกระตุ้นในการทำให้เกิดตาดอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ต้นไม้แต่ละชนิด ต้องการระดับอุณหภูมิต่ำไม่เท่ากันด้วย ต้นไม้ดอก ก็ เช่น ทิวลิป , ไฮแดรนเยีย , ไฮยาซิน , แกลดิโอลัส , BIRD OF PARADISE , โคมญี่ปุ่น ( FUCHSIA ) ฯลฯ บางชนิดไม่ต้องใช้ความเย็นช่วยในการออกดอก
แต่ถ้าปลูกในที่มีอากาศเย็นจะกระตุ้น ให้ ออกดอกได้มากกว่าพื้นที่อื่นในรอบปี เช่น กล้วยไม้ คัทลียา ปลูกที่ เชียงใหม่ จะมีดอกได้มากกว่าที่ กทม.
ไม้ผลที่ต้องการอากาศเย็นอุณหภูมิต่ำในตอนกลางคืน ก่อนออกดอกระยะนึง ก็ เช่น มะม่วง ลำใย แอปเปิ้ล ฯลฯ ในปีใดที่มีอากาศ เย็นต่อเนื่องนาน หรือ มีอากาศหนาวจัด ทางซีกโลกเหนือในปีนี้ จะสังเกตุว่าไม้ดอกยืนต้นก็ จะออกดกได้มาก,
ปัจจัยที่ใช้ช่วงแสงในรอบวันเป็นการกระตุ้นให้เกิดตาดอก เช่น ในฤดูหนาว (อากาศอาจไม่หนาวนัก) ท้องฟ้าสว่างช้า แต่มืดเร็ว ต้นไม้ที่ออกดอกด้วยปัจจัยนี้ ก็เช่น เบญจมาศ, รักเร่, ดาวเรืองฝรั่งเศส , ดาวกระจาย ชนิดดอก สีชมพู อ่อน, เข้ม, ขาว, ม่วง, ว่านสี่ทิศ, ว่าอื่นๆบางชนิด ฯลฯ , ปัจจัย ที่ใช้ CARBON RATIO เป็นตัวกระตุ้น การออกดอก CARBON RATIO คือ ธาติ CARBON .
ในต้นไม้จะมีมากกว่า ธาติ NITROGEN ก็คือมีความชื้นในดินน้อยลง และได้รับ แสงสว่างมาก ในธรรมชาติ ในสภาวะที่ ต้นไม้ได้รับ แสงสว่างมาก และดินแห้ง เช่น ปลายฤดูหนาว - ฤดูร้อน แดดจัด ความเข้มของแสง มีมาก จึงกระตุ้น ให้ ต้นไม้ มีปริมาณ CARBON ในต้นสูงกว่าปริมาณ ในโตรเจน ต้นไม้จึงออกดอกได้ง่าย และ มากด้วยในช่วงนี้ เช่น ไม้ดอกไม้ผลหลายชนิด เช่นมะนาว , เฟื่องฟ้า , กุหลาบ ฯลฯ
การบังคับต้นไม้ให้ออกดอกในฤดูอื่น เช่นมะนาว และเฟืองฟ้า ให้ ออกดอกในกระถางได้ตลอด ก็ใช้หลักการนี้ นอกจากนี้ ต้นไม้หลายชนิด ยังใช้ หัวน้ำตาล เข้มข้น ผสมน้ำ ฉีดกระตุ้นให้ต้นไม้สะสมอาหาร เป็นการเพิ่ม CARBON ในต้น ช่วยให้การออกดอกได้ง่ายขึ้น
ในปัจจุบัน มีหลายบริษัท ทำการ ปรับปรุง พันธุ์ ไม้ ชนิดต่างๆ ตลอด เวลา เพื่อ เอา ชนะธรรมชาติ และ เอาใจผู้ที่รักต้นไม้ เช่น ทำให้ต้นไม้ ออกดอก ออกผลได้ง่ายขึ้น ไม่ต้อง ง้อ อากาศ หนาว อากาศร้อน ก็ปลูกไก้ หรือ ไม่ต้องง้อ ความเข้มแสง ฯลฯ หาก ท่านใดมีข้อมูลเสริม เชิญแสดงความเห็น ต่อได้เลยครับ
เอ๊า ออกความเห็นต่อ
จริงอย่างน้องกู้ดว่ามา คือหากต้นไม้ไม่สมบูรณ์พอ แล้วเราไปเร่งดอกด้วยการอัดปุ๋ยตัวกลาง(ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์) ดอกที่ออกมาก็ไม่สมบูรณ์ไม่เต็มที่
เพราะฉะนั้น สูตรปุ๋ย สำคัญกับต้นไม้เสมอครับ ธาตุรอง อาหารเสริมก็สำคัญไม่น้อยกว่าธาตุหลัก
สูตรปุ๋ยไม่จำเป็นต้องเป็นปุ๋ยเคมีนะ หมายถึงปุ๋ยที่เหมาะสมกับช่วงเวลาของต้นไม้
ดินฟ้าอากาศก็สำคัญ ลมเย็น ฝนตก ภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นแต่ละเวลา ก็มีส่วนกับพืชแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
ต้นไม้บางต้นอยู่ใต้ไม้ใหญ่ พอตัดไม้ใหญ่ปุ๊บ มันออกดอกปั๊บเพราะมันอั้นอยู่
จึงสรุปยากว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชแต่ละชนิดออกดอก เว้นแต่ความอุดมสมบูรณ์ของมัน เมื่อมันสมบูรณ์ดีและมีปัจจัยอื่นไปกระตุ้นปุ๊บ มันก็ออกดอกปั๊บ เป็นดังนี้แล
จากคุณ : ต้นโพธิ์ต้นไทร
ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกหน่อยนะครับ ก่อนที่ผมจะเข้านอน บางคนอาจ สงสัยว่า ทำไม ใช้น้ำตาลจึงช่วยกระตุ้นทำให้ ต้นไม้ออกดอกได้
พอดีนึกได้เมื่อกี้ครับ คือ น้ำตาล ถือเป็น คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนครับ ความหวานเราก็รู้ๆกันอยู่ว่ามันช่วยทำให้เกิดพลังงาน เหมือนเราอ่อนเพลีย เราก็กินน้ำหวาน หรือน้ำตาลกลูโคสช่วยบำรุงสมอง ให้สดชื่น
ส่วนน้ำตาลที่เอามาผสมน้ำฉีด ใต้ใบและลำต้น ให้ต้นไม้ดูดซึมไปเก็บไว้ในลำต้นก็คือ ทำให้ต้นไม้ได้รับสารอาหารสะสมประเภทแป้ง และน้ำตาล ซึ่งเป็น คาร์โบไฮเดรท เพื่อ ช่วยทำให้ต้นไม้ออกดอกได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ต้นไม้ที่จะใช้น้ำตาลฉีด ควรมีความสมบูรณ์ หรือทำให้สมบูร์ณ เพื่อให้การออกดอกที่มีคุณภาพ คนปลูกต้นไม้ขายหลายรายก็ใช้น้ำตาลช่วยกระตุ้นให้ไม้ดอกออกดอก,
อีกกรณีนึงต้นไม้ไม่จำเป็นต้อง มีความสมบูรณ์ นัก อาจแคระแกรนด้วยซ้ำ เพราะมีอาหาร สะสม ในลำต้นไม่เพียงพอ แต่สามารถ ออกดอกได้ เช่นที่เรา เห็น เขาเอากิ่งพันธุ์ ไม้ผลมาขาย ต้นยังไม่โตเลย ก็ออกดอกติดลูก ให้เห็น แล้ว หรือ ที่ผมเห็น ต้นสุพรรณิการ์ ต้นเล็กๆแคระ แกรน ก็มีดอกได้ นั่นเป็นเพราะว่า สภาวะแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆเอื้อพอดี เช่น กระทบแล้งกระทบหนาว ช่วงนั้นพอดีเลยชักนำให้ ออกดอกได้ครับ
ในบางกรณีมีการใช้โมนบางชนิด ช่วยบังคับให้ต้นไม้ออกดอกได้ เช่น การบังคับให้ไม้ผล ออกผลนอกฤดูกาล หรือ ก่อนฤดูกาล เพื่อให้ขายได้ราคาดีขึ้น ดังเช่นการใช้สาร แพคโคลบิวทาโซล ราดที่ ชายพุ่มต้นมะม่วง เพื่อ ทำให้กิ่งยับยั้ง การแตกใบอ่อน เพื่อที่พร้อม จะออกดอกได้ เมื่อฉีด ปุ๋ยเร่งดอก เป็นต้น
มีต้นไม้บางชนิดที่บ้าใบ ถึงฤดูกาล ไม่ออกดอกออผล บางคนเอามีดสับๆๆ ถากๆๆเปลือก เพื่อตัดท่อลำเลียงน้ำเลี้ยงกระตุ้นให้ออกดอก ก็มี ,
ในเรื่องไม้ดอก พืชวันสั้น เช่น ว่านสี่ทิศ, กุหลาบหิน ก็มีการบังคับให้ออกดอกนอกฤดู เช่นกัน เพื่อขายได้ก่อนชาวบ้าน คือ ทำให้มันได้รับแสงสว่างน้อยลง เช่น เอามุ้งดำหรือทำให้มันมืดเร็วขึ้น ระยะนึง ผมจำไม่ได้กี่วัน ก็กระตุ้นให้มันออกดอกได้ ,
ส่วน ทิวลิป ไฮยาซิน สามารถปลูกให้ออกดอกได้ในกรุงเทพฯ มีบางคนสั่งหัวพันธุ์ มาจากฮอลแลนด์ ไม้หัวเมืองหนาวพวกนี้ในต่างประเทศจะผ่านระยะพักต้วภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อถึงช่วงที่จะออกดอก สามารถที่จะนำมาปลูกในเมืองร้อนได้ เพียงแต่ดอกจะบานไม่ทนและดอกไม่ใหญ่ เท่านั้นเอง
ขอแก้ข้อความในกระทู้บน จริงๆเบญจมาศเป็นพืชวันยาว คือ ได้รับแสงสว่างต่อวันในรอบปีมากจึงกระตุ้นให้เกิดตาดอกในต่างประเทศ ในเขตอบอุน เบญจมาศจะบานในฤดูใบไม้ร่วง คือ ได้รับการกระตุ้นมาแล้วในช่วงฤดูร้อนตามธรรมชาติ ส่วนในเมืองไทย การใช้หลอดไฟฟ้าเปิด เหนือแปลงปลูกเบญจมาศ เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนแสงสว่างในรอบวันมากขึ้นกระตุ้นทำให้ออกดอก (ส่วนแสงสว่าง เหนือแปลงปลูก แกลดิโอลัส และ คัตเตอร์ หรือ พีค๊อก เป็น เรื่อง ของการกระตุ้นให้ก้านดอก ยาวขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนดอกให้มากขึ้น )
ในส่วน ของ ไม้ผล เช่น สตอว์เบอร์รี่ ที่ปลูกกันทางภาคเหนือนั้น ปรกติจะผลิต ต้นพันธุ์ กันบนดอยสูง ที่มี อากาศเย็นตลอดปี เพื่อให้ต้นได้รับความเย็นในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดตาดอก จากนั้นในต้นฤดูหนาว จึงนำไหล ของ สตอว์เบอร์รี่ ลงมาปลูก ที่พื้นราบ และพร้อมที่จะออกดอกติดผลได้ต่อไปไม่ว่าจะปลูกที่ใหน แม้กรุงเทพฯ แต่อากาศร้อนคุณภาพ ผลย่อมสู้ ที่อากาศหนาวไม่ได้ครับ ขอ
ไปนอน ก่อนนะครับ
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2006/04/J4314249/J4314249.html
-----------------------------------------------------------------------------------------------
20. PLANT DISEASES โรคพืช และสาเหตุของการเกิดโรค
โรคพืช หมายถึง ลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ เพราะขบวนการทางสรีรวิทยา เช่น การสังเคราะห์แสง การบางของเซลล์ การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชถูกขัดขวางหรือทำลายอย่างต่อเนื่องโดยเชื้อโรคและปัจจัยบางอย่างในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม อาการที่พืชผิดปกติ อาจจะเป็นลักษณะใบ ดอก ผล ลำต้น หรือราก รูปร่างและขนาดผลมักเล็ก ผลแตกร่วง ใบอาจมีจุด มีแผลใบไหม้ ใบเปลี่ยนสี รากเน่า โคนเน่า เน่าทั้งต้น หรือการแห้งตายทั้งต้น
จะเห็นได้ว่า เชื้อโรค (pathogen) ไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค ในกรณีหนอนของแมลงที่กัดกินใบพืช ไม่ได้หมายความว่า พืชนั้นเป็นโรค เพราะหนอนไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชโดยตรงอย่างต่อเนื่อง แต่กรณีของเพลี้ยไฟ หรือไรแดง ไรขาว ที่ดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วทำให้ใบบิดเบี้ยวยอดหงิกงอ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างต่อเนื่อง อาจเข้าข่ายว่าเป็นแมลงที่ทำให้เกิดโรคพืชได้ อย่างไรก็ตามอย่างไรก็ตาม แมลงมักถูกแยกออกจากการถูกเรียกว่าเป็นสาเหตุของเชื้อโรคโดยตรง เป็นกลุ่มศึกษาพิเศษที่เรียกว่า กีฏวิทยา แม้ว่าโรคพืชหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์กับแมลงอย่างลึกซึ้งก็ตาม โดยเฉพาะแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่พืช ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับแมลงมักเป็นวิทยาศาสตร์ที่ควบคู่กับโรคพืช
การเกิดโรคพืช โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัย 3 ประการคือ มีพืช (host plant) มีเชื้อโรค (pathogens) ซึ่งได้แก่ เชื้อรา (fungus, pl. = fungi) แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (virus) ไส้เดือนฝอย (nematode) มายโคพลาสมา หรือไฟโตพลาสมา (Mycoplasma or Phytoplasma) ซึ่งสามารถจะพัฒนาการทำให้เกิดอาการของโรคได้ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ ความชื้นพอเหมาะ และระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง เชื้อโรคในที่นี้หมายถึงแต่เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกับพืชเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีโรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งเป็น โรคพืชที่ไม่มีการติดเชื้อ (Non-infectious diseases) เช่น
- การขาดปุ๋ย
- การขาดธาตุอาหารรองบางตัว หรือการมีธาตุหารรองดังกล่าวมากเกิน
- สภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
- สภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือหนาวจัด
- ความชื้นและแสงที่มากเกินไป น้อยเกินไป
- การขาดอ็อกซิเจน การเกิดมลภาวะ
ล้วนส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปรกติ โรคพืชในที่นี้ไม่รวมถึงโรคที่เกิดกับแมลง สัตว์และมนุษย์
Link to A Chcecklist of Common Plant Diseases of Economic Importnce in Thailand.
แบ่งปันข้อมูลจาก : หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย, 2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า
Filed under PLANT DISEASES | Comments Off
http://www.malaeng.com/blog/?cat=134
---------------------------------------------------------------------------------------------------
21. อยากทราบ "จุดตาย" ของปัญหาการเกษตรไทย คืออะไร
ผมว่า "จุดตาย" ของการเกษตรไทยอยู่ที่ เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่สนใจอาชีพการเกษตร จะเห็นจากสาขาวิชาทางการเกษตรไม่ค่อยมีใครสนใจเรียนแทบจะเรียกว่า "เกือบร้าง" เด็กที่มาเรียนก็เรียนแบบเสียแค่นไม่ได้ เรียนตามสิทธิ ตามโควต้า เวลาบอกว่าเรียนทางด้านเกษตรก็จะอาย แต่ถ้าได้บอกว่าเรียนนิเทศน์หรือเรียนบริหาร มันจะดูเท่ห์
แบบนี้อาชีพเกษตรก็ต้องอยู่ในมือของคนรุ่นเก่าที่เกือบปลดระวาง ทั้งๆที่อาชีพเกษตรหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจชาติอยู่ ไม่เชื่อลองดู เวลาข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ดูซิ เศรษฐกิจเงินสะพัดเลย แต่เวลาข้าวเหลือเกวียนละ 5,000 บาท ในตลาดเงียบกริบเลย ปัญหาตรงนี้แก้ยาก
ผมน้ำตาไหลทุกทีที่ขับรถผ่านทุ่งนาที่มีดินอุดมสมบูรณ์ แล้วถูกเปลี่ยนเป็นบ้านจัดสรรเพราะเสียดาย..
เจ้าของบ้านจัดสรรรวยเป็นหมื่นล้านแล้วเกษตรกรได้อะไรถ้าตอบแบบจับต้องได้ก็คือ...."เกษตรกรโชคดีจะได้เลิกเป็นเกษตรกร
ซะที" ไงล่ะ
http://www.organellelife.com/webboard_view.php?id=209
------------------------------------------------------------------------------------------------
22. ไขปัญหาวิกฤติเมล็ดพันธุ์ ต้นเหตุ เกษตรกร เป็นหนี้
เมื่อผู้คนเดินสู่กรุงเพื่อพบทางชนะ แต่เขาเลือกพ่ายอย่างไม่สิ้นหวัง
ทั้งชีวิตมีเสื้อผ้า 5 ชุด เมีย 1 ลูก 1 พร้อมตายทุกเมื่อ เพียงวันนี้ ได้เป็นเกษตรกร
บางคนตื่นเต้น กับการสร้างชาติ ให้เป็น ครัวโลก เขามองว่าคน ในประเทศ เข้าสู่ยุค วิกฤติอาหาร !!
นี่เป็นเหตุผล ที่ทำให้เขาหันมา เพาะเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน เพื่อแจกจ่าย (ฟรี) ชายผิว กรำแดด คนนี้ชื่อ โจน จันได วัย 45 ปี ขณะนี้บ่มเพาะ ความฝันอยู่บนดอยใน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ที่ศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเอง และ ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ พันพรรณ
7 ปี อยู่กรุงเทพฯ 2 ปี ในสหรัฐ อเมริกา ยึดอาชีพล้างจานและยามเป็นหลัก วันหนึ่งค้นพบตัวเองว่า เกษตรกรไทย ทำงานเพื่อใช้หนี้ มากกว่าเลี้ยงตัวเอง
ชาวนาไทย ขณะนี้ทำนาปีละมากกว่า 2 ครั้ง ต่างจากเดิม ที่บรรพบุรุษทำปีละ 2 ครั้ง นี่บ่งบอกว่า เกษตรกรกำลังทำงาน อย่างหนัก แต่ค่าแรง ที่ได้ก็ไม่พอใช้จ่ายต้องเสียเงินค่ายา ค่าปุ๋ย ต่าง ๆ นานามากมาย จนเกิด คำถามว่า วันนี้เราทำงานเหนื่อยหนักเพื่อใคร..?
โจน กล่าวถึงแนวคิดว่า ตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูกผักต่าง ๆ เป็นพันธุ์ผสม ที่ออกแบบมา เพื่อสนองต่อปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ต่างจากเดิมที่เป็นพันธุ์แท้จะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงให้เกษตรกรปัจจุบัน ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าต้นทุนการผลิตที่นับวันจะแพงขึ้น
ขณะเดียวกันเมล็ดพันธุ์ ที่ซื้อมาก็ไม่สามารถนำมาปลูกต่อได้ เนื่องจากบางสายพันธุ์ถูกออกแบบไม่ให้สามารถงอกขึ้นได้อีก เกษตรกรจึงจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ อยู่เสมอ ขณะเดียวกันพันธุ์ในท้องตลาดจะมีเพียงชนิดเดียวที่ชาวบ้านเชื่อว่าดีที่สุด และปลูกเพียงชนิดเดียวส่งผลให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ พืชผลเหล่านั้นล้มตายทำให้ขาดทุนเป็นหนี้
ตัวอย่าง เช่น ชาวนาสมัยก่อนปลูกข้าวหนึ่งแปลงใช้เมล็ดไม่ต่ำกว่า 3 สายพันธุ์ ทำให้เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือความแห้งแล้งต้นกล้าที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ ขณะที่ต้นกล้าซึ่งทนต่อสภาพอากาศไม่ได้จะตายลง ต่างจากปัจจุบันชาวนาปลูกข้าวสายพันธุ์เดียวพอเจอความเปลี่ยนทางอากาศพืชเหล่านั้นก็ตายหมด
ตอนนี้ 90% ของพันธุ์พืชในตลาดต้องพึ่งพาสารเคมีเพื่อการเจริญเติบโต เป็นผลร้ายต่อสุขภาพคนรับประทาน และยังเป็นผลร้ายต่อเกษตรกรที่จะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ซึ่งเกิดจากสารเคมีที่สะสมในร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรังที่สังคมต้องรีบหาทางแก้ก่อนที่อนาคตของคนไทยจะมีภูมิต้านทานต่ำ
เมล็ดพันธุ์ผสมที่ถูกออกแบบมาเพื่อการค้ามักคัดเฉพาะลักษณะเด่นของสายพันธุ์มารวมกัน แต่เมื่อนำเมล็ดพันธุ์รุ่นที่สองไปปลูกจะให้ผลผลิตไม่เหมือน รุ่นแรก ลักษณะหลายอย่างกลับไปเหมือนสายพันธุ์ดั้งเดิม เช่น บางต้นหวาน บางต้นเปรี้ยว ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้
จากแนวคิดของเกษตรกร ยุคสมัยใหม่ที่ต้องการปลูกผัก เพื่อขายมากกว่ากินเอง โจน มองว่าแนวความคิดเหล่านี้เป็นหลุมพรางที่กำลังหลอกล่อให้เกษตรกรทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผักเยอะมากที่สุด โดยลืมนึกถึงสุขภาพของคนกิน ทำให้เริ่มใช้สารเคมีเพาะปลูกผักมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้ทำให้ โจน หันมาอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชดั้งเดิมมากขึ้น ก่อนสูญหายไปจากโลกนี้ โดยเฉพาะพันธุ์ที่นิยมทาน เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว และมะเขือเทศอีกหลายร้อยสายพันธุ์ เป็นต้น
สำหรับผักสายพันธุ์ไทยอย่างกระถิน ชะอม ยังถือว่าไม่น่าห่วงกว่าพันธุ์ต่างชาติที่เข้ามาในประเทศเช่น คะน้า กวางตุ้ง มะเขือเทศ ถือว่าอยู่ในช่วงวิกฤติเพราะผู้ขายพยายามพัฒนาสายพันธุ์ตอบสนองกับการเกษตรเพื่อขายมากที่สุด
โจนกล่าวว่า ตอนนี้ได้รวบรวมและเก็บเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมจากทั่วโลกได้กว่า 300 ชนิด รวบรวมไว้ในตู้เย็น ซึ่งเก็บไว้ได้นานประมาณ 2 ปี โดยส่วนหนึ่งจะแจกจ่ายให้กับชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง และผู้สนใจอย่างจริงจัง เนื่องจากตอนนี้เมล็ดพันธุ์ยังไม่พอแจกจ่ายให้กับบุคคลทั่วไป แต่หวังว่าในอนาคตเกษตรกรคงเริ่มหันมาสนใจการปลูกพันธุ์ดั้งเดิมมากขึ้น
หลายคนมองว่าล้าหลัง แต่โจนกล่าวอย่างภาคภูมิใจในวิถีตะวันออกของบรรพบุรุษซึ่งสร้างไว้เพื่อให้ลูกหลานได้กินอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำงานอย่างลำบากเหมือนปัจจุบัน ทุกวันนี้มีชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาในศูนย์การเรียนรู้ฯ มากมายในแต่ละปี แม้ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนในราคาแพง ตรงข้ามกับคนไทยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็น้อยคนจะหันมาเรียนอย่างจริงจัง
อาหารต้องเป็นของทุกคน แต่ถ้าประเทศใดพืชพันธุ์ ข้าวปลา ยารักษาโรคแพง ประเทศนั้นกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย ผมไม่อยากให้เราเป็นอย่างนั้นจึงเพาะเมล็ดพันธุ์แจกเกษตรกรเพื่อเป็นอีกทางเลือกให้กับผู้บริโภค
ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนเยินยอคนฉลาดซึ่งสามารถผลักดันตัวเองให้สู่อันดับต้น ๆ ของคนมีเงิน แต่ในความคิดของ โจน คนฉลาดคือ บุคคลที่ค้นหาความสุขให้กับตนเองได้โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อ
ตราบใดที่แบบเรียนขั้น พื้นฐานยังจารึกว่า ประเทศไทยอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่คือ เกษตรกรรม ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทุกคนต้องร่วมกันดูแลพวกเขาให้กินอิ่มนอนหลับ แต่เมื่อใดกระดูกสันหลังของชาติกำลังผุกร่อนแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร
?.
ข่าวจาก: เดลินิวส์
http://www.vegetweb.com
------------------------------------------------------------------------------------------------------
23. เร่งเครื่อง 3 ยุทธศาสตร์ข้าว หนุนวิจัย-พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ สร้างชาวนารุ่นใหม่แทนวัยชรา
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนางานในด้านข้าวให้ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในทุกปี โดยให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ด้านที่สำคัญ คือ
1. ด้านการวิจัยและพัฒนา โดยการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูข้าว สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีอย่างพอเพียง
2. เร่งรัดพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยเน้น เทคโนโลยีที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ สินค้าข้าว
3. เร่งรัดพัฒนาชาวนาให้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการเกษตรแผนใหม่ ซึ่งจะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสร้างชาวนารุ่นใหม่ทดแทนชาวนารุ่นเก่าที่มีอายุมาก
ที่สำคัญ คือ ได้สร้างความมั่นคงให้กับอาชีพทำนาโดยผลักดันให้มีการจัดสวัสดิการชาวนา อย่างเหมาะสม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติกองทุนสวัสดิการชาวนาขึ้น ซึ่งในขณะนี้ ยกร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อย แล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน ที่ผ่านมา ในขั้นตอนต่อไปก็คือจะได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามลำดับต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้ปีละประมาณ 30 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นปริมาณที่พอเพียงสำหรับใช้ภายในประเทศ รวมทั้งยังมีเหลือสำหรับส่งออกไปขายยังต่างประเทศอีกปีละ 8-10 ล้านตันข้าวสาร สร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 200,000 ล้านบาท นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังมุ่งหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวนา และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนชาวนาไทย ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดอาชีพการทำนาในอนาคตด้วย
วันที่ 8/6/2011
ที่มา:แนวหน้าwww.naewna.com
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/เร่งเครื่อง3ยุทธศาสตร์ข้าว-หนุนวิจัย-พัฒนาปรับปรุงพันธุ์-สร้างชาวนารุ่นใหม่แทนว.html
----------------------------------------------------------------------------------------------------
24. ผลการบดลำไยหน้าโกดัง ตามโครงการรีไซเคิลลำไย
คณะทำงานติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต็อคปี 2546/2547 โดยใช้เป็นพลังงานชีวมวล
รายงานความก้าวหน้าผลการบดลำไยหน้าโกดัง คณะทำงานติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าตามโครงการรีไซเคิลลำไยอบแห้งค้างสต๊อคปี 46-47 รายงานว่า จากปริมาณลำไยทั้งหมด 46,828.17 ตัน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและสมาคมเครื่องจักรกลไทยรับผิดชอบการบดอัดทำลายลำไยให้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล เริ่มดำเนินการ 11 ธันวาคม 2552 จนถึงวันที่ 2 เมษายน 2553 เป็นเวลา 113 วัน ได้บดลำไยหน้าโกดังเสร็จแล้ว จำนวน 37,692 ตัน คิดเป็นร้อยละ 81 มากกว่าแผนที่วางไว้
ขณะนี้มีการแบ่งความรับผิดชอบใหม่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับผิดชอบการบดลำไยทั้งหมด 37,718.33 ตัน จำนวน 44 โกดัง และสมาคมเครื่องจักรกลไทยรับผิดชอบลำไยจำนวน 9,109.84 ตัน จำนวน 16 โกดัง ผลการบดลำไยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ณ วันที่ 2 เมษายน 2553 บดได้ทั้งหมด 30,502 ตัน คิดเป็นร้อยละ 81 ของส่วนที่รับผิดชอบ บดได้มากกว่าแผนที่วางไว้ ยังคงเหลือเพียง 4 โกดัง จำนวน 7,216 ตัน
ส่วนปริมาณการบดลำไยของสมาคมเครื่องจักรกลไทย ณ วันที่ 25 มีนาคม 2553 บดได้ทั้งหมด 7,190 ตัน คิดเป็นร้อยละ 79 ของส่วนที่รับผิดชอบ ยังคงเหลือเพียง 3 โกดัง จำนวน 1,920 ตัน ได้ปริมาณใกล้เคียงกับแผนที่วางไว้ สรุปจำนวนโกดังที่บรรจุลำไยทั้งหมด 60 โกดังบดลำไยไปแล้วจำนวน 53 โกดัง เหลือที่ยังไม่ได้บดอีก 7 แห่ง หรือร้อยละ 12 หลังจากวันที่ 19 เมษายน 2553 จะดำเนินการบดอัดทำลายลำไยที่เหลือให้เสร็จสิ้นตามกำหนด
เนื้อหาโดย : กรมประชาสัมพันธ์
http://www.showthep.com/show-140624
-----------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 22 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 16/06/2011 12:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
25. ระวัง ! เปิบปลาร้าอันตรายถึงชีวิต
กระทรวงสาธารณสุขเตือนผู้บริโภคปลาร้าอาจถึงขั้นเสียชีวิต เหตุพบสารกำจัดศัตรูพืชเจือปน แนะเลือกซื้อปลาร้าจากแหล่งที่สะอาด-ปรุงสุก
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ปลาร้า ปลาเค็ม ปลาแห้ง ปูเค็ม หอยดอง และวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปลาร้า เช่น เกลือ รำและข้าวคั่ว ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 123 ตัวอย่าง พบไตรคลอร์ฟอนตกค้างในปลาร้า จำนวน 16 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13 โดยปริมาณการตรวจพบสูงสุด 12.41 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณการตรวจพบต่ำสุด 0.11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
นางพรรณสิริ กล่าวต่อว่า สำหรับไตรคลอร์ฟอน หรือ ดิพเทอร์เร็กซ์ เอสพี จัดเป็นสารกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสที่มีอันตรายต่อร่างกาย หากผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวจากการหายใจเข้าไปมากจะมีอาการเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ มึนงง มีน้ำลายออกมากกว่าปกติ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ หายใจไม่สะดวกและอาจชักหมดสติได้ และหากสารพิษนี้เข้าทางปากอาจมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง และอาเจียน
อีกทั้ง นอกจากการตกค้างของยาฆ่าแมลงในปลาร้าแล้ว กรรมวิธีการหมัก การขนส่งหรือการจำหน่ายที่ไม่สะอาดถูกสุขอนามัยอาจทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคต่อร่างกายได้ เช่น สแตฟไฟโลคอคคัส ออเรียส, คลอสตริเดียม,เปอร์ฟริงเจนส์ และบาซิลลัส ซีเรียส ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
"หากประชาชนต้องการบริโภคปลาร้าให้ปลอดภัย ควรเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่สะอาดหรืออยู่ในภาชนะบรรจุมีฝาปิดสนิทและควรบริโภคปลาร้าที่ปรุงสุก" นางพรรณสิริ กล่าว
เนื้อหาโดย : S! News
http://www.showthep.com/show-151665
------------------------------------------------------------------------------------------------
26. สภาพอากาศป่วน มังคุดเสียหายหนัก
ตัวแทนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จ.จันทบุรี ชี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาลในปีนี้ จะสร้างความเสียอย่างหนักต่อสวนมังคุดที่ออกรอบสองช้า เพราะต้องเก็บเกี่ยวช่วงหน้ามรสุม มั่นใจผลผลิตโดยรวมปีนี้อยู่ที่ 50% เท่านั้น
นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จันทบุรี จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปีนี้สภาพอากาศเปลี่ยน แปลงและมีฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล อย่างที่เห็นชัดคือการที่ฝนลงมาในช่วงนี้ แม้เป็นผลดีต่อสวนผลไม้ ที่ช่วยในเรื่องความชุ่มชื่น และเกิดการชะล้างช่วยแก้ปัญหาโรคแมลงที่กำลังระบาดอยู่ รวมถึงการเจริญเติบโตของไม้ผลเป็นไปด้วยดี แต่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสวนผลไม้ที่ออกดอกไปแล้ว อย่างเช่นมังคุด มีการติดดอกออกผลซ้ำอีกรอบ หลังจากที่ปกติตั้งแต่ปลายปี 2553 มีการติดดอกไปแล้ว แต่ปรากฏว่าเกิดการแตกเป็นใบแทน ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลให้การเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายนที่ล่าช้ากว่า ปกติ
ที่สำคัญหลังจากเดือนมิถุนายนแล้ว ปกติจะเป็นช่วงหน้ามรสุมและมีฝนตกชุกต่อเนื่อง ซึ่งจะมีปัญหาต่อผลผลิตที่จะตกต่ำและการเก็บเกี่ยวค่อนข้างลำบาก ซึ่งหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เชื่อว่าในปีนี้ผลผลิตรวมทั่วทั้งจังหวัด ที่เคยประเมินเป็นตัวเลขไว้ว่าจะมีผลผลิตออกราว 60-70% นั้นอาจจะเหลือตามสภาพความเป็นจริงเพียง 50% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตน้อย ผลดีก็มีเหมือนกันเช่น อาจทำให้ขายได้ราคาดี ฉะนั้นเกษตรกรควรเร่งดูแลรักษาผลผลิตอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ตอนนี้ และหาวิธีควบคุมความชื่นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
http://www.biothai.net/news/7967
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
27. เอดีบี. เตือนอาหารแพง ทำคนเอเชียจนเพิ่ม
เอดีบี. เตือนอาหารแพงจะทำให้คนเอเชียจนเพิ่มขึ้นอีก 64 ล้านคน อดีตผู้นำจาก 4 ชาติ เยือนเกาหลีเหนือเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ ขาดแคลนอาหาร
รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ เอดีบี. คาดว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นถึง 30% ในสองเดือนแรกของปีนี้ จะส่งผลให้ประชากรในเอเชียอีก 64 ล้านคนประสบกับความยากจนข้นแค้นและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง
เอดีบีได้เปิดเผยรายงานเรื่อง "เงินเฟ้อจากราคาอาคารโลกและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย" ระบุว่า ราคาอาหารที่สูงขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นเฉลี่ย 10% ในชาติเอเชีย และจะส่งผลให้ประชากรอีก 64 ล้านคนในเอเชียประสบกับความยากจนข้นแค้น คือ มีรายได้ต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ขณะที่ปัจจุบันชาติกำลังพัฒนาในเอเชียมีประชากรยากจนเกือบ 2 ใน 3 ของทั้งหมดทั่วโลก คือ มีประชากรเกือบ 600 ล้านคนที่มีรายได้ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันหรือต่ำกว่านี้
ชาง ยอง รี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ เอดีบี. บอกว่า ครอบครัวยากจนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จะใช้จ่ายค่าอาหารมากถึงกว่า 60% ของรายได้ และเมื่อราคาอาหารสูงขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระค่ารักษาพยาบาลและการศึกษาสำหรับลูก
ขณะที่รายงานคาดว่า ราคาอาหารยังมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตน้อยลง บวกกับยังได้รับการเกื้อหนุนจากปัจจัยที่ส่งผลต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารเมื่อปี 2550-2551 ซึ่งได้แก่ ความต้องการอาหารที่สูงขึ้นในประเทศที่มีประชากรและรายได้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา พื้นที่การเกษตรที่ลดลง และผลการเก็บเกี่ยวที่ชะงักงันหรือตกต่ำ
นอกจากนี้หากราคาอาหารและน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะลดลงถึง 1.5% ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และบางประเทศจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงมากในขณะนี้ เพราะประเทศเล็กๆแห่งนี้ต้องนำเข้าอาหารทั้งหมด
ขณะเดียวกันนายรี เตือนให้ชาติเอเชียหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการห้ามส่งออก และแนะนำให้เพิ่มผลผลิตการเกษตร โดยมุ่งเพิ่มการลงทุนด้านระบบชลประทาน โครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร และการเก็บสำรองอาหาร
อดีตผู้นำ 4 ชาติ เยือนเกาหลีเหนือเจรจาเรื่อขาดแคลนอาหาร อดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ของสหรัฐ วัย 86 ปี พร้อมด้วยอดีตประธานาธิบดีมาร์ตตี้ อาห์ติซารี ของฟินแลนด์ อดีตนายกรัฐมนตรีโกร บรันด์แลนด์ ของนอร์เวย์ และอดีตประธานาธิบดีแมรี โรบินสันของไอร์แลนด์ เดินทางถึงสนามบินในกรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือวันนี้ โดยมีนายรี ยอง โฮ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศเกาหลีเหนือและเจ้าหน้าที่ระดับสูงให้การต้อนรับ
อดีตผู้นำทั้ง 4 เป็นสมาชิกของกลุ่ม เอลเดอร์ส กลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลก โดยการริเริ่มของอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลาของแอฟริกาใต้เมื่อปี 2550 เพื่อร่วมกันส่งเสริมสันติภาพและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศต่างๆทั่วโลก
คาร์เตอร์ เปิดเผยก่อนออกเดินทางจากกรุงปักกิ่งของจีนถึงกรุงเปียงยางว่า ทางกลุ่มมีเป้าหมายที่จะเข้าพบหารือกับนายคิม จอง-อิล ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ และนายคิม จอง-อึน ลูกชายที่เป็นทายาทการเมือง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้รับอนุญาตให้เข้าพบหรือไม่
นอกจากนี้พวกเขาต้องการจะหารือเรื่องปัญหาการขาดแคลนอาหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ ตลอดจนประเด็นการเจรจา 6 ฝ่าย เพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ที่หยุดชะงักไปเพราะความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พวกเขาจะเยือนเกาหลีเหนือ 3 วัน จนถึงวันพฤหัสบดีและจะเดินทางต่อไปยังเกาหลีใต้
ทั้งนี้เกาหลีเหนือประสบปัญหาผลผลิตทางเกษตรไม่ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าประชาชนราว 3 ล้าน 5 แสนคนจาก 24 ล้านคนเสี่ยงอดอยากหิวโหย
http://www.biothai.net/news/8706
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
28. อัดงบผุดโปรเจกท์ "วางแผนใช้ที่ดิน" เป้ารวม 45 ลุ่มน้ำ
กรมพัฒนาที่ดินจัดงบ 8 ล้านบาท วางแผนใช้ที่ดินปี 2554 ระดับลุ่มน้ำสาขา มุ่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่
นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิด เผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 8 ล้านบาท เพื่อทำโครงการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำสาขา เป้าหมายดำเนินการในปี 2554 จำนวน 45 ลุ่มน้ำสาขา โดยเน้นวางแผนการใช้ที่ดินที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรที่ดิน ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำกับภาคการผลิตพืชผลทางการเกษตร ให้เป็นไปอย่างเกื้อกูลและเหมาะสมกับทรัพยากร
ธรรมชาติ
ที่ผ่านมาเกษตรกรใช้ที่ดินโดยขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้อง และใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ดินเสื่อมโทรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศวิทยา ดังนั้นการวางแผนการใช้ที่ดินจึงเป็นตัวช่วยให้เกษตรกรมีแนวทางการใช้ ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมพัฒนาที่ดินได้ทำโครงการวางแผนใช้ที่ดินระดับต่างๆ เช่น ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับตำบล
ซึ่งกว้างเกินไปจึงไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่และภาคการผลิต จึงได้ทำโครงการวางแผนการใช้ที่ดินในระดับลุ่มน้ำสาขา โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 25,000 ขึ้นมารองรับอีกระดับหนึ่ง
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว เพิ่มเติมว่า เป้าหมายรวมของการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำมีทั้งหมด 255 ลุ่มน้ำสาขา โดยดำเนินการไปแล้ว 90 ลุ่มน้ำสาขา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี ในปี 2554 จะดำเนินการอีก 45 ลุ่มน้ำสาขา โดยเชื่อมั่นว่าการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำนี้จะช่วยให้เกิดการใช้ ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่
http://www.biothai.net/news/6923
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
29. เทคนิคการปลูกพืชแบบผสมผสาน ... อดีต ปัจจุบัน อนาคต
"สิ่งใดที่เป็นธรรมชาติ สิ่งนั้นจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง" นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกพืช ธรรมชาติก็เริ่มถูกทำลาย นักนิเวศวิทยากล่าวไว้ว่าสภาพที่พืชขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความแตกต่างจากการเพาะปลูกพืชในหลายประการ เป็นต้นว่า การปลูกพืชทีกำหนดเวลาเก็บเกี่ยวค่อนข้างแน่นอน เกษตรกรมักปลูกพืชชนิดเดียวและปลูกพร้อม ๆ พันธุ์พืชที่ปลูกก็เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีการบำรุงรักษา ใส่ปุ๋ย ให้น้ำสม่ำเสมอ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ มากมายตามมา และในช่วง พ.ศ. 2483-2503 นักวิทยาศาสตร์ขณะนั้นมีแนวคิดว่า การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำเป็นต้องกำจัดให้หมดสิ้น ซึ่ง
วิธีการที่ใช้กันแพร่หลาย คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแต่เพียงอย่างเดียว สารฆ่าแมลงที่รู้จักกันดีในช่วงนั้นก็คือ ดีดีที ซึ่งมีราคาถูกและได้ผลดี ต่อมาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ปัญหาที่ตามมา พบว่ามีแมลงเกิดดื้อยา เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นที่ไม่เคยเป็นปัญหามาก่อน เกิดพิษตกค้างของสารเคมีในธรรมชาติ เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สารเคมีทำลายแมลงและสัตว์ที่เป็นประโยชน์ ในประการสำคัญก็คือทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ในปี พ.ศ.2515 Rabb ได้เสนอหลักการในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management, IPM) กล่าวคือ ในการแก้ปัญหาศัตรูพืช ควรมีพิจารณาและเลือกใช้วิธีการในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ซึ่งการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานสามารถลดการใช้สารเคมีได้ค่อนข้างชัดเจน เนื่อง จากสารเคมีปราบศัตรูพืชจะถูกนำมาใช้เป็นวิธีการสุดท้าย เมื่อตรวจพบว่าปริมาณศัตรูพืชมีมากถึงขั้นที่จะก่อให้เกิดความเสียทางเศรษฐกิจ ถ้าไม่ทำการป้องกันกำจัด
การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานคืออะไร
การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เป็นหลักการในการแก้ปัญหาศัตรูพืช โดยมีการพิจารณาเลือกและใช้วิธีการในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีร่วมกัน เพื่อควบคุมปริมาณศัตรูพืชมิให้มีมากถึงขั้นทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้
ในการดำเนินการกำจัดศัตรูพืช จะต้องทราบปัญหาศัตรูพืชในท้องถิ่นนั้นให้แน่ชัดเสียก่อนว่าศัตรูพืชชนิดใดที่ระบาดและทำความเสียหายรุนแรงทุกฤดูปลูก ศัตรูพืชชนิดใดที่ระบาดทำความเสียหายเป็นครั้งคราว ศัตรูชนิดใดที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้งแต่ไม่ระบาดถึงขั้นทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากนั้น จึงกำหนดแนวทางป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ปลูกพันธุ์ต้านทานต่อศัตรูพืชนั้น และใช้วิธีทางเขตกรรมเข้าช่วย เช่น กำหนดช่วงเวลาการปลูก การระบายน้ำออกจากแปลงช่วงแมลงระบาดมาก เป็นต้น และต้องมีการสำรวจตรวจนับการทำลายของศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบว่าศัตรูพืชมีปริมาณมากถึงขั้นจะทำความเสียหายแก่พืชทางเศรษฐกิจก็
ทำการป้องกันกำจัด โดยที่สารเคมีจะถูกนำมาใช้เป็นวิธีการสุดท้าย และต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ ค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย ช่วงเวลา อัตรา รูปแบบและวิธีการใช้ให้ถูกต้อง
การจัดการศัตรูพืชดังกล่าวต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย หลายด้านด้วยกัน ซึ่งวิชาการแต่ละด้านมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ประสบการณ์ของนักวิจัยนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ในประเด็นสำคัญทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจหลักการของการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน อนึ่ง ในทางปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชไม่มีสูตรสำเร็จหรือกฎเกณฑ์ตายตัว หากแต่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ในขณะนั้นด้วย
ความสำเร็จของการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เกษตรกรจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจและปฏิบัติด้วยตนเอง โดยรัฐให้การศึกษา มีการฝึกอบรม ทำแปลงสาธิต เป็นต้น
>> การจัดการศัตรูพืชในอดีต
นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ความต้องการเพิ่มผลผลิตก็มีมากขึ้นตามลำดับ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชจึงได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เดิมเกษตรกรมีวิธีการกำจัดศัตรูพืชตามวิธีดั้งเดิม หรือที่เรียกว่าวิธีกล และวิธีเขตกรรมเป็นหลัก เช่น ใช้มือจับแมลงทำลาย ตัดแต่งกิ่ง พรวนดินถอนหญ้า หรือใช้วัสดุในท้องถิ่นเท่าที่จะหาได้มาเป็นอุปกรณ์ช่วย เช่น กับดักหนู กระดาษห่อผลไม้เพื่อกันแมลงเป็นต้น ต่อมาเกษตรกรหันมาใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช จนกล่าวได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยหลัก และใช้เป็นประจำในปริมาณที่สูงเกินความจำเป็น ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเป็นอันตราบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภค สารเคมีทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป ศัตรูธรรมชาติมากมายถูกทำลายก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชชนิดอื่นตามมา
นอกจากนี้การที่เกษตรกรปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือปลูกเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดการระบาดของแมลงหรือโรคได้ ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2519 เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำความเสียหายแก่ข้าว ในท้องที่ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูกข้าว กข 1 กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ผลผลิตสูงและแก้ปัญหาโรคใบสีส้มได้เป็นที่น่าพอใจ แต่ข้าว กข 1 ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
>> จุดเริ่มต้นของการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน จากปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำความเสียหายแก่การปลูกข้อย่างรุนแรง กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำโครงการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำเอาวิทยาการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวที่ได้จากการค้นคว้าทดลองมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม พยายามลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดให้น้อยที่สุดหรือใช้เมื่อจำเป็น ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดอันตรายและมลภาวะใน
สิ่งแวดล้อม
>> องค์ประกอบสำคัญในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในขณะนั้น คือ การใช้พันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ร่วมกับการสำรวจตรวจนับจำนวนแมลงก่อนการใช้สารฆ่าแมลง
1. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว
หลังจากวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวแบบผสมผสานถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในท้องที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ.2519 แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2525 ในท้องที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้เกิดการระบาดของศัตรูข้าวทั้งแมลง และโรค โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ กข 7 ซึ่งอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกันอย่างกว้างขวาง และมักปลูกข้าว
พันธุ์เดียวกัน จึงทำให้เกิดการระบาดและทำความเสียหายอย่างหนัก กรมวิชากาเกษตรจึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำโครงการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานขึ้น โดยความช่วยเหลือจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน การดำเนินงานขั้นตอนแรกจะแนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยความสมัครใจ หลังการปลูกข้าวแล้วจะทำการสำรวจและติดตามการระบาดของแมลงศัตรูข้าวและโรคข้าวทุกระยะการเจริญเติบโต แมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนกอ หนอนห่อใบข้าว ในด้านโรคข้าว ได้มีการสำรวจและติดตามการระบาดของโรคข้าวและประเมินผลการป้องกันกำจัด โรคที่เป็นปัญหาสำคัญได้แก่โรคใบหงิก (โรคจู๋) ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคมาสู่ต้นข้าว
การป้องกันที่ได้ผลดีขณะนั้น คือ การใช้พันธุ์ข้าวต้านทานพันธุ์ กข 9 กข 21 และ กข 23 เนื่องจากแมลงไม่ชอบ โรคที่สำคัญอื่น ๆ เช่น โรคใบไหม้ โรคกาบใบแห้ง แนะนำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวตอซังให้สั้นแล้วเผาทำลาย มีการติดตั้งกับดักสปอร์เพื่อเป็นข้อมูลในการคาดคะเนการเกิดโรค และแนะนำให้ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราพ่นตามความจำเป็น ในด้านการกำจัดวัชพืช แนะนำให้เกษตรกรทำการป้องกันกำจัด ทั้งก่อนและหลังการปลูกข้าวตามความจำเป็น เช่น การไถเตรียมดิน การควบคุมระดับน้ำในนาข้าว การใช้สารกำจัดวัชพืช เป็นต้น นอกจากนี้มีการแนะนำให้เกษตรกรป้องกันกำจัดหนูทั้งก่อนและหลังการปลูกข้าว เช่น ทำลายแหล่งอาศัยหนู ใช้เหยื่อพิษหลัง
ปลูกข้าวตามความจำเป็น มีการตรวจพิษของสารกำจัดศัตรูพืชในเลือดเกษตรกร ตลอดจนพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม
ในปี พ.ศ.2528 กรมวิชาการเกษตรได้ทำโครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานที่ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ในพื้นที่ 500 ไร่ ปรากฏว่า สามารถแก้ปัญหาโรคใบหงิกของข้าวโดยแนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ กข 25 กข 21 และ กข 23 ซึ่งต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพาหะสำคัญของโรคใบหงิก ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 44.8 ถังต่อไร่ และเกษตรกร
ยอมรับเทคโนโลยีนี้ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การใช้สารฆ่าแมลงลดลง และจากการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในต้นข้าว ดิน น้ำ และเมล็ดข้าว พบในปริมาณต่ำกว่าเดิมซึ่งแสดงว่าเกษตรกรพ่นสารเคมีน้อยลงและมีการพ่นสารอย่างถูกต้องและระมัดระวัง
ต่อมาในปี พ.ศ.2523-2533 ได้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคใบหงิกในนาหว่านน้ำตมเขตชลประทาน 25 จังหวัด มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวของประเทศอย่างมาก สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรนิมยมปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 อย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีป้องกันกำจัดที่เหมาะสมมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อลดการทำลายให้อยู่ในระดับต่ำกว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจและกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนการดำเนินงานควบคุมศัตรูข้าว คือต้องคำนึงถึงความสำคัญของโรค แมลง และวัชพืชในท้องถิ่น เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีความสำคัญมากในนาข้าวภาคกลาง โรคไหม้และหนอน กอมีความสำคัญในทุกภาค แมลงบั่วมีความสำคัญในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ต่อจากนั้นต้องวินิจฉัยลักษณะอาการโรค ลักษณะการทำลายของแมลง ชนิดของโรค แมลง และวัชพืช สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการระบาด หลังจากนั้น จึงเลือกใช้วิธีการควบคุมศัตรูข้าวให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อันดับแรกได้แก่ แนะนำให้ใช้พันธุ์ต้านทาน แต่ไม่แนะนำให้ปลูกข้าวพันธุ์เดียวอย่างต่อเนื่องระยะยาว เพราะจะทำให้โรคและแมลงปรับตัวเข้าทำลายข้าวได้อีก นอกจากนั้นให้ใช้วิธีอื่นร่วมด้วย เช่น วิธีทางเขตกรรม เช่น การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ที่เหมาะสม ข้าวไม่แน่นมากเกินไป การวางแผนปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กันกับพื้นที่ใกล้เคียง การกำจัดวัชพืชเพื่อทำลายแหล่งอาศัยของโรค แมลง หรือวิธีอื่น ๆ เช่น ใช้แสงไฟล่อแมลงและทำลาย นอกจากนี้ส่งเสริมให้อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน เป็นต้น สำหรับการใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้ายในการพิจารณาควบคุมปริมาณศัตรูข้าว
2. การป้องกันกำจัดศัตรูฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชสำคัญต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตฝ้ายในอดีตมีอุปสรรคมาก เนื่อง จากปัญหาศัตรูฝ้ายทั้งโรคและแมลงซึ่งตรวจพบว่ามีมากกว่า 20 ชนิด ที่จัดเป็นศัตรูสำคัญมีประมาณ 10 ชนิด เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดศัตรูฝ้ายประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการปลูกฝ้าย ปัญหาที่ตามมาจากการใช้สารฆ่าแมลงคือแมลงดื้อยา ทำให้การใช้สารฆ่าแมลงในอัตราที่แนะนำไม่ได้ผล และเกิด ปัญหาพิษตกค้าง การส่งเสริมการปลูกฝ้ายจึงไม่บรรลุเป้าหมาย
ในปี พ.ศ.2525-2538 กรมวิชาการเกษตรได้นำเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ที่ผ่านการทดสอบมาผสมผสานใช้ในโครงการป้องกันกำจัดศัตรูฝ้ายโดยวิธีผสมผสาน ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ใช้ฝ้ายพันธุ์แนะนำได้แก่ พันธุ์ศรีสำโรง 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ดีทั่วไป เป็นโรคใบหงิกน้อย ผลผลิต สูง กำหนดระยะเวลาปลูก ระยะปลูก ถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม ใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม
การกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ลากจูงไถชักร่องกำจัดวัชพืชในระหว่างแถวฝ้าย 2 ครั้ง ในฝ้ายเล็ก ช่วงฝนเข้าชักร่องไม่ได้ ใช้สารกำจัดวัชพืช (พาราควอท) หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายวัชพืชใบแคบ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ให้ใช้แรงงานคนถอนหรือดายด้วยจอบ ในการป้องกันกำจัดโรคฝ้าย สภาพดินที่มีความชื้นและอุณหภูมิต่ำ แนะนำให้คลุกเมล็ดฝ้ายด้วยสารเคมีป้องกันโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อรา ใช้สารเคมีแมลงกำจัดเพลี้ยอ่อนที่เป็นพาหะโรคหงิก ถอนต้นที่เป็นโรคทำลายทิ้ง และให้ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชเท่าที่จำเป็น
ในการป้องกันกำจัดแมลง ให้เกษตรกรสำรวจแมลงศัตรูฝ้ายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และพ่นสารเคมีเมื่อพบจำนวนแมลงสูงเกินระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ มีการสลับเปลี่ยนชนิดของสารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันแมลงสร้างความต้านทาน นอกจากนี้แนะนำให้เกษตรกรปลูกฝ้ายขวางทิศทางลมเพื่อความปลอดภัยในการพ่นสารเคมี
จากการประเมินพบว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกที่เข้าร่วมโครงการต่ำกว่าของเกษตรกรทั่วไป 20-88 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตฝ้ายสูงกว่าของเกษตรกรทั่วไป 13-40 เปอร์เซ็นต์ จำนวนครั้งการพ่นสารน้อยกว่าแปลงเกษตรกรทั่วไป 4-8 ครั้ง หรือ 42-67 เปอร์เซ็นต์ และมีรายได้สุทธิสูงกว่าถึง 1,174.77 บาท/ไร่
3. การป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำตาล ศัตรูพืชก็เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตอ้อยสูง ทั้งโรค แมลง และวัชพืช ตัวอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2505-2506 เกิดการระบาดของโรคใบขาวที่จังหวัดลำปาง ผลผลิตลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อ้อยขาดแคลนไม่มีอ้อยส่งโรงงาน ในปี พ.ศ.2527-2528 กรมวิชาการเกษตรมีโครงการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยแบบผสมผสาน ดำเนินการในท้องที่ปลูกอ้อยจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และชลบุรี ทำการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ คือ หนอนกออ้อย ด้วงหนวดยาวและปลวก มีการสำรวจ
ความเสียหายโดยตรวจนับแมลงเป็นระยะ เมื่อพบจำนวนแมลงถึงระดับเศรษฐกิจจึงให้พ่นสารฆ่าแมลงที่ถูกต้อง นอกจากนี้มีการดักจับตัวเต็มวัยของด้วงหนวดยาวโดยใช้ไฟนีออน เป็นต้น สำหรับโรคที่สำคัญได้แก่ โรคใบขาวและโรคแส้ดำ แนะนำให้เกษตรกรไถคราดตอซังเก่าก่อนปลูกใหม่ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์ปลอดโรค เลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์โดยแช่ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง เพื่อกำจัดโรคใบขาว หรือแช่ท่อนพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดโรคพืช
แม้ราคาอ้อยจะตกต่ำในช่วงที่จัดทำแปลงสาธิตในโครงการดังกล่าว แต่เกษตรกรร่วมโครงการ ฯ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐมซึ่งเป็นเขตชลประทาน ยังคงมีกำไร จากการประเมินผล พบว่าแปลงในโครงการจังหวัดสุพรรณบุรี มีรายได้เพิ่ม 143.5 บาท/ไร่ แต่เกษตรกรร่วมโครงการในเขตจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นเขตที่ต้องอาศัยน้ำฝนจะขาดทุน แต่ขาดทุนน้อยกว่าเกษตรกรทั่วไป ทั้งนี้เพราะการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานลงทุนสูงในระยะแรก เนื่องจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง รวมทั้งวิธีการเตรียมท่อนพันธุ์ปลอดโรคโดยแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อนและสารเคมีทำให้ต้นทุนสูง อย่างไรก็ตาม อ้อยในแปลงทดสอบที่มีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดทั้งด้านโรค แมลง และวัชพืช อ้อยจะสมบูรณ์มาก มีศัตรูพืชน้อยกว่า ทำให้เกษตรกรนอกโครงการ ฯ ต้องการซื้อท่อนพันธุ์ซึ่งราคาท่อนพันธุ์อ้อยสูงถึง 4,000 บาท/ต้น ซึ่งสูงกว่าราคาอ้อยที่ตัดส่งโรงงานมาก
4. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชผัก
พืชผักเป็นอาหารประจำวันที่มีความสำคัญ ประเทศไทยมีพืชผักหลายชนิดปลูกกันแพร่หลาย ทั้งเพื่อใช้ในการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก พืชผักที่สำคัญในทางเศรษฐกิจ ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหัว หอมใหญ่ หอมแดง กระเจี๊ยบเขียว และหน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ เป็นต้น ปัญหาศัตรูพืช มีทั้งโรคและแมลงมากมายหลายชนิด เกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักค่อนข้างสูง
กรมวิชาการเกษตรได้นำการป้องกันกำจัดศัตรูผักแบบผสมผสานมาใช้ในการกำจัดศัตรูหอมในปี พ.ศ.2527-2528 โดยดำเนินการในแปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แมลงที่สำคัญได้แก่ หนอนกระทู้หอม ปัญหาโรคที่สำคัญได้แก่ โรคหอมเลื้อย และโรคใบแห้ง สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย และโรคใบจุดสีม่วง ซึ่งในปี พ.ศ.2527 ท้องที่ดังกล่าว เกิดสภาวะฝนแล้ง ปัญหาโรคและแมลงมีมากกว่าปกติ ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีค่อนข้างสูง คิดเป็นค่าสารเคมี 2,255 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดยเฉลี่ย 11,313.9 บาท/ไร่ จากการนำโครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น ใช้เชื้อไวรัส ใช้สารเคมีให้เหมาะสม ใช้แสงไฟล่อแมลงทำลาย ใช้สารฟีโรโมน ทำให้เกษตรกรในโครงการได้กำไรสุทธิมากกว่าเกษตรกรนอกโครงการ 805.3 บาทต่อไร่ เพราะเกษตรกรนอกโครงการพ่นสารเคมีเฉลี่ยถึง 33.5 ครั้ง ขณะที่เกษตรกรในโครงการพ่นสารเพียง 26.7 ครั้ง
5. การป้องกันกำจัดศัตรูไม้ผล
ประเทศไทยมีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลหลายชนิด ไม้ผลที่สำคัญ เช่น ทุเรียน ส้ม มะม่วง กล้วยหอม ลำไย ฯลฯ ใช้บริโภคในประเทศและส่งออกเป็นสินค้าสำคัญ เนื่องจากผลไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุหลายปี จึงเป็นแหล่งอาศัยของโรค และแมลงหลายชนิด ต้นทุนการผลิตของชาวสวนค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและค่าแรงในการฉีดพ่น ซึ่งมีการพ่นสารประมาณ 20-40 ครั้งต่อปี ขึ้นกับชนิดของไม้ผล สารเคมีที่ใช้นอกจากทำให้ต้นทุนการผลิตสูงแล้ว ยังทำลายทั้งสุขภาพของผู้ใช้และสภาพแวดล้อมด้วย
ในปี พ.ศ.2535-2542 กรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำโครงการป้องกันกำจัดศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน โดยรัฐบาลสหพันธ์รัฐเยอรมันให้การสนับสนุนเงินงบประมาณการดำเนินงานในไม้ผล 4 ชนิด คือ มะม่วง ส้มเขียวหวาน ส้มโอ และทุเรียน ทำการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน 1 ปี และนำวิธีการควบคุมศัตรูพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เช่น วิธีทางเขตกรรม การติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ต้นตอส้มที่ต้านทานโรคและผลิตขยายต้นส้มปลอดโรคภายใต้แผนการรับรองพันธุ์ปลดโรค ปรับปรุงเทคนิคการใช้สารเคมีและแนะนำเครื่องมือชนิดใหม่แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งระบบการติดตามสถานการณ์ด้านนิเวศวิทยาในสวนผลไม้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำระบบการบริหารแผนงานหลักมาใช้ โดยวิธีการวางแผนติดตาม และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
แมลงศัตรูไม้ผลที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ โรคส้มโอและส้มเขียวหวานที่สำคัญ มีหลายชนิด คือ โรคทริสเตซ่า สาเหตุจากเชื้อไวรัส โรคแคงเกอร์ โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอบเทอร่า และโรคกรีนนิ่ง สำหรับโครงการการป้องกันกำจัดโรคส้มโดยวิธีผสมผสาน จัดอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยนำเอาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์เข้าไปจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกษตรกร
ปฏิบัติได้เอง ตลอดจนให้นักส่งเสริมสามารถนำไปถ่ายทอดโดยทำการสำรวจโรคที่เป็นปัญหาในแปลงปลูก เมื่อพบโรคให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อลดการแพร่ระบาด แนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีในกรณีที่จำเป็นในอัตราและจำนวนครั้งที่เหมาะสม โดยกำหนดจากระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ เช่น เมื่อสำรวจพบโรครากเน่าและโคนเน่าในสวนเพียง 1 ต้น ต้องป้องกันกำจัดทันที นอกจากนี้การแก้ปัญหาโรครากเน่าและโคนเน่านั้นได้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มที่ต้านทานโรคมาเป็นต้นตอ แต่ปัญหาราคาค่อนข้างสูง สำหรับโรคทริสเตซ่า และโรคกรีนนิ่ง รักษาได้โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ การใช้ความร้อนร่วมกับวิธีการติดยอดต้นอ่อน นอกจากนี้แนะนำให้มีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเหมาะสม
การป้องกันกำจัดศัตรูทุเรียนโดยวิธีผสมผสาน แมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไก่แจ้ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ไรแดง เพลี้ยแป้ง และหนอนเจาะผลไม้ ใช้กับดักแสงไฟ อนุรักษ์และเพิ่มขยายตัวห้ำกำจัดไรแดง โรคทุเรียนที่สำคัญได้แก่ โรครากเน่าและโคนเน่า โรคใบไหม้สาเหตุจากเชื้อรา โรคผลเน่า และโรคที่เกิดจากสาหร่าย มีการติดตามตรวจสอบโรคอย่างใกล้ชิด ทำการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี เช่น ใช้เชื้อราไตรโครเดอมาควบคุมโรคที่ติดเชื้อทางดิน เช่น โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคใบไหม้ ตัดแต่งกิ่งและเก็บรวบรวมส่วนของของพืชที่ติดโรคนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ให้ใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การป้องกันกำจัดโรคมะม่วงโดยวิธีผสมผสาน มีการทดสอบเทคโนโลยีเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในการป้องกันกำจัดโรคมะม่วงโดยวิธีผสมผสานในหลายพื้นที่ โรคที่เป็นปัญหาสำคัญ เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราแป้ง และโรคราดำ โดยแนะนำให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีขนาดเหมาะสมเก็บทำลายส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น และใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและจำเป็นเท่านั้น
จากการประเมินผลปรากฎว่าเกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีที่นักวิชาการนำไปอบรมถ่ายทอด และสามารถลดปริมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานเท่าที่ผ่านมา พบว่ายังมีปัญหาและอุปสรรค กล่าวคือ
เกษตรกรไม่แน่ใจว่าการป้องกันกำจัดแบบผสมผสานจะประสบความสำเร็จและคิดว่าเป็นการลงทุนสูง ต้องใช้หลายวิธีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช จึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจและเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกร ว่าวิธีการดังกล่าวแม้จะสิ้นเปลืองในระยะแรก แต่จะมีผลดีในระยะยาว การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีจะทำให้ศัตรูพืชไม่ดื้อยา
1. สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง ดังนั้น การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละฤดูปลูก ควรกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
2. พืชบางชนิด เช่น อ้อย ต้นทุนการผลิตสูง แต่อ้อยมีราคาต่ำ ควรพิจารณาวิธีการที่จะนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างรอบคอบ โดยเลือกเฉพาะวิธีที่เห็นผลชัดเจนในการป้องกันศัตรูพืชที่สำคัญของพื้นที่นั้น ๆ
>> การจัดการศัตรูพืชในปัจจุบัน
ในสภาพการณ์ปัจจุบัน หลายประเทศมีการใช้มาตรการและกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชมาใช้กับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเข้มงวดเรื่องสารเจือปนและสารพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตร ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ ในปี พ.ศ.2542 กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ "การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม" หรือ "1999, The year of Good Agricultural Practice (GAP)" โดยขบวนการผลิตทางการเกษตรทุกขั้นตอนจะต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักทางวิชาการ
ในด้านการอารักขาพืชหรือการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) นับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะ IPM สามารถลดปัญหาการใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเกษตร
พืชที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้เป็น "product champion" คือ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ โดยกรมวิชาการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตร ฯ ให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบพืชดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรโดยกองกีฏและสัตววิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอารักขาพืช ได้นำผลการค้นคว้าทดลองต้น ๆ มากำหนดเป็นเทคโนโลยีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทั้งในด้านแมลง โรค และวัชพืช โดยยึดหลักการของ IPM เป็นแนวทางในการจัดการปัญหาศัตรูพืชเหล่านั้น ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์หลักคือ ลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตของพืชดังกล่าวปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรยังมีโครงการวิจัยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ในการผลิตพืชต่าง ๆ คือ ข้าว พืชตระกูลกะหล่ำ คะน้า พริก หน่อไม้ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน ทุเรียน ข้าวโพดหวาน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น โดยมอบหมายให้กองวิจัยด้านอารักขาพืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับในโครงการดังกล่าว เน้นเรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานเป็นสำคัญ โดยนำเอาผลงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่ได้ผลดีมาปรับใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งโครงการนี้กำลังดำเนินการอยู่
อนึ่ง ในพืชอื่น ๆ เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง กล้วยไม้ มะลิ องุ่น หอมหัวใหญ่ สตรอเบอรี่ กระเจี๊ยบเขียว ถั่วเหลือง ผักสด สับปะรด ฯลฯ พืชเหล่านี้ก็ยังมีงานวิจัยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสารด้วยเช่นกัน โดยมีเป้าหมายลดการใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช
กล่าวได้ว่า การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานมีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน งานวิจัยหรือโครงการใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรหรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะต้องเน้นเรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานเป็นประการสำคัญ
>> การจัดการศัตรูพืชในอนาคต
จากปัญหามลพิษในสภาพแวดล้อม ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนเป็นที่วิตกกันทั่วไป ทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหานี้และมีการรณรงค์ให้ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ปราศจากมลพิษ ในด้านการเกษตรโดยเฉพาะการอารักขาพืชซึ่งมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ได้เน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของกรมวิชาการเกษตรในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 เน้นเรื่องการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร การวิจัยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ไส้เดือนฝอย แมลงศัตรูธรรมชาติ และสารสกัดจากพืชมาทดแทนการใช้สารเคมี และนำไปสู่การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ร่วมกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชวิธีอื่น ๆ เพื่อลดการใช้สารเคมีลดมลภาวะในสภาพแวดล้อม และเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดมาตรการในการวิจัยและพัฒนาการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อลดมลภาวะในธรรมชาติทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และเกิดความยั่งยืนในสภาพแวดล้อม กลยุทธในการดำเนินงานคือ วิจัยและพัฒนาการนำวิธีทางชีวภาพมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางการเกษตร วิจัยและพัฒนาการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เพื่อลดการใช้สารเคมี ลดมลภาวะในสภาพแวดล้อม วิจัยและพัฒนา พืช วัชพืช โรค แมลง สัตว์ รวมทั้งชีวินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารชีวินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อโปรโตซัว และไส้เดือนฝอย จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่จะนำใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทดแทนสารเคมีที่ยังใช้กันมากในปัจจุบัน โดยนำมาใช้ร่วมกับวิธีการอื่น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ในอนาคตเชื่อแน่ว่าสารชีวินทรีย์เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้นไป
อนึ่ง เชื้อแบคทีเรีย หรือ บีที นับว่าเป็นสารชีวินทรีย์ทีได้รับความสนใจกันมาก และมีการใช้กันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนาใช้เชื้อ บีที ในการสร้างพืชจำลองพันธุ์ต้านทานแมลง กล่าวคือ มีการสร้างพืชพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติต้านทานแมลงบางชนิด โดยการเสริมแต่ง บีที ยีนแทรกเข้าไปในโครโมโซมของพืช ทำให้พืชสามารถสร้างโปรตีนสารพิษที่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรู ยีนนี้ยังสามารถถ่ายทอดไปยังพืชรุ่นต่อไปได้ ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีผสมพันธุ์พืชแบบปกติ ที่กำลังกล่าวขวัญกันมากปัจจุบันคือ ฝ้ายบีที อย่างไรก็ตาม การพัฒนาใช้พืชจำลองพันธุ์ที่มี บีที ยีน ก็มีข้อควรคำนึงถึงหรือพึงระมัดระวังอยู่ 2 ประการ คือ การสร้างความต้านทาน
ในแมลงต่อพืชจำลองพันธุ์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ และความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น อาจทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ที่ได้รับโปรตีนสารพิษ เป็นต้น จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ และทำการศึกษาให้ทราบถึงผลเสียเหล่านี้ และทำการศึกษาให้ทราบถึงผลเสียเหล่านี้ให้ชัดเจน ก่อนที่จะส่งเสริมและเผยแพร่สู่เกษตร
>> บทสรุป
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) ในประเทศไทย เริ่มต้นในปี พ.ศ.2519 ในพืชข้าว และได้มีการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในพืชอื่น เช่น ฝ้าย อ้อย พืชผัก ไม้ผลต่าง ๆ พืชตระกูลถั่ว ฯลฯ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 25 พืช ก็ได้มีการค้นคว้าวิจัยด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ IPM ผลการดำเนินการที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญ เช่น ข้อมูลทางนิเวศวิทยาของศัตรูพืช ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่เดิมงานวิจัยส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นในด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีนักวิชาการจำนวนไม่น้อย หันมาทำงานวิจัยด้านสารชีวินทรีย์และสารสกัดจากพืช เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชกันมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งเป็น
หลักการสำคัญของ IPM ในอนาคต สารชีวินทรีย์ สารสกัดจากพืช รวมทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) คงจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับ IPM มากขึ้น โดยเป็นทางเลือกทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความสำเร็จของ IPM ก็คือ เกษตรกรจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้และทำความเข้าใจกับเกษตรให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของ IPM เมื่อเกษตรกรมี
ความมั่นใจก็จะเปลี่ยนทัศนคติเดิมที่นิยมใช้สารเคมี หันมาใช้แนวทางของ IPM มากขึ้น ทว่ามิใช่เรื่องง่าย
ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย นักส่งเสริม และตัวเกษตรกรเอง จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงใจ และจริงจัง ผลักดันให้ IPM เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยให้ก้าวไกลด้วย IPM ในอนาคต
http://board.dserver.org/s/starmon/00000118.html
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
30. ธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มโชกุน
อิสริยาภรณ์ ดำรงรักษ์*
บทคัดย่อ
คุณภาพผลผลิตส้มโชกุนซึ่งเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดยะลาและของประเทศไทย มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับส้มชนิดอื่นๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ น้ำ ธาตุอาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ในส่วนของธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มได้มีการศึกษาไว้พอสมควร พบว่า ธาตุที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิตค่อนข้างเด่นชัด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโบรอน
จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าส้มได้รับ N, K และ Mg ไม่เพียงพอจะทำให้มีขนาดผลเล็ก สำหรับ N ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะได้ผลเล็กเช่นเดียวกัน ทั้ง N และ K ถ้าส้มได้รับมากทำให้ผลแก่ช้า N และ Ca ช่วยส่งเสริมคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ทั้ง P และ Mg ถ้าส้มได้รับมากทำให้เปลือกบาง ในขณะที่ N กลับทำให้เปลือกหนา K และ Mg ถ้าส้มได้รับน้อยทำให้ของแข็งที่ละลาย และ
ปริมาณกรดทั้งหมดต่ำ ส่วน P ถ้าได้รับไม่เพียงพอทำให้ปริมาณกรดทั้งหมดสูงสำหรับผลของ N และ K ต่อของแข็งที่ละลายและปริมาณกรดให้ผลค่อนข้างแตกต่างกันในส้มแต่ละชนิด ในส่วนของส้มโชกุนซึ่งเป็นส้มเปลือกล่อนก็ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าส้มขาดโบรอนทำให้ผลแข็ง น้ำส้มน้อย และอาจจะเกี่ยวกับอาการผลฟ่ามด้วย
สำหรับสิ่งที่ควรพิจารณาเบื้องต้นในเรื่องของธาตุอาหารพืชเพื่อการจัดการส้มให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ คือ ต้องชดเชยปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต จัดการธาตุอาหารหรือให้ปุ๋ยโดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ใบและดิน รวมทั้งสังเกตจากอาการผิดปกติของพืช
คำสำคัญ : ธาตุอาหารพืช คุณภาพผลผลิต ส้มเปลือกล่อน ส้มโชกุน
*ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
http://www.yru.ac.th/e-journal/file/pdf_36.pdf
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 19/06/2011 6:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
31. แอบดูชาวนา
ญี่ปุ่น
วันก่อนผมเข้าไปดูท่านบล็อกเกอร์สาวอิสานอินเตอร์ หว่านข้าวในนาของท่าน เป็น
วิธีทำนาที่ผมไม่ค่อยคุ้นเคย ยอมรับเลยว่าเพิ่งเคยเห็นเหมือนกัน (ใครไม่ได้อ่านก็
ตามอ่านได้นะครับ
http://www.oknation.net/blog/spj/2010/06/17/entry-1)
(คลิกไปดู แล้วเปรียบเทียบกับของไทย.......ลุงคิม)
ผมเองมีโอกาสไปเห็นชาวนาที่ญี่ปุ่นเขาทำนากัน ก็เลยแอบเก็บรูปมาฝากครับ มาดู
กันว่าจะแตกต่างจากบ้านเรามากน้อยแค่ไหน
ที่นาแปลงนี้สามารถมองเห็นได้จากที่พักของผมก็ถือโอกาสเก็บภาพไว้ วันแรกเห็น
เขาหอบหิ้วถุงอะไรสักอย่างมาด้วย จากนั้นก็เริ่มหว่านๆๆๆ ผมยืนดูด้วยความสงสัย
เพราะดินรึก็ยังแห้ง น้ำก็ยังไม่มี พอเขาหว่านเสร็จก็กลับ ไม่ทำอะไรต่อ?? ไม่มี
อะไรเกิดขึ้น??
แต่พอตกเย็นเท่านั้นแหละ ฝนก็เริ่มตกลงมาทำเอาดินดำน้ำชุ่มขึ้นมาทันที ทีแรกผม
ยังคิดเลยว่า เป็นชาวนาญี่ปุ่นนี่สบายจริงๆ เลยแค่ฟังพยากรณ์อากาศให้รู้ว่าฝนจะตก
วันไหน แล้วก็ไปหว่านข้าวรอ แต่ไม่ใช่ครับ.
หลังจากฝนตกทั้งคืน เสียงที่ได้ยินแต่เช้าก็คือเสียงเจ้ารถไถ (รถแทรกเตอร์ ; บ้าน
ผมเรียกรถไถครับ) อย่างที่เห็นแหละครับ น้ำมาจากไหนไม่รู้เยอะแยะ วันนี้เขามา
เตรียมดิน ไม่ใช่มาไถกลบแน่ๆ ...แสดงว่าที่ผมเห็นเขาหว่านวันแรกไม่น่าจะใช่
เมล็ดพันธ์ข้าว แต่น่าจะเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
เข้าตรู่ของอีกวัน ทีนี้ต้นข้าวแน่ๆ ครับ
เสียงที่ปลุกแต่เช้าเป็นเสียงของรถปลูกข้าวหรือรถดำนานั่นแหละครับแล้วแต่จะ
เรียก โอ้...มันช่างสะดวกสบายจริงๆ เลยชาวนาที่นี่ ถ้าเป็นบ้านผมกว่าจะได้ปักได้
ดำต้องเลอะโคลนไปทั้งตัว
ไม่กี่นาทีก็เสร็จเรียบร้อย
ต้นข้าวยืนเข้าแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อย
แอบดูบ้านข้างๆ นี่ก็เสร็จแล้วเหมือนกัน บ้านนี้รถคนใหญ่กว่าอีก
ผืนนาบางแปลงข้าวยังเป็นสีทอง ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว ในต่างจังหวัดของญี่ปุ่นก็ยังพอ
มีทุ่งนา มีสวนผักให้เห็นกันได้ครับ บางส่วนก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยบ้านเรือนที่พัก
อาศัย คงเหมือนกับที่เกิดขึ้นในบ้านเรา
ถ้าออกไปไกลเขตชุมชนหน่อย ภาพทุ่งนากว้างๆ ก็มีให้เห็นอยู่บ้างเหมือนกัน แต่จะ
หาทุ่งนาแบบที่กว้างสุดลูกหูลูกตาเหมือนบ้านเราคงไม่มีแล้วครับ
ผมได้มีโอกาสคุยกับคนญี่ปุ่น เขาบอกว่าอยากมาดูชาวนาไทยเกี่ยวข้าว ยิ่งตอนน้ำ
ท่วมที่ต้องพายเรือเกี่ยวยิ่งอยากดู ...แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพอเขาไปบ้านเรา
จริงๆ ภาพชาวนากำเคียวเกี่ยวข้าวยังจะหาดูได้ง่ายๆ อยู่อีกหรือเปล่า
http://www.oknation.net/blog/phannam/2010/06/22/entry-1
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
32. แอบดูชาวนา...ญี่ปุ่น (อีกสักครั้ง)
เคยเขียนเรื่อง แอบดูชาวนา...ญี่ปุ่น มาแล้วครั้งหนึ่ง
(http://www.oknation.net/blog/phannam/2010/06/22/entry-1)
มาคราวนี้ขออีกสักรอบแล้วกัน พอดีวันหยุดทีผ่านมาถูกปลุกแต่เช้าด้วยเสียงเครื่อง
ยนต์ รู้ทันทีว่าเป็นเสียงของเครืองอะไร ก็เลยถือกล้องติดมือลงไปดูไกล้ๆ ซะเลย
ไปดูด้วยกันครับว่าเป็นเสียงอะไร
นี่เป็นภาพผืนนาสีทองเมื่อหลายวันก่อน
มาวันนี้ถึงเวลาต้องเก็บเกี่ยวแล้ว ......เสียงที่ว่าก็คือเสียงรถเกี่ยวข้าวนี่เองครับ
ขณะที่เครื่องเกี่ยวข้าวทำงานไป ก็จะมีคนมาคอยเก็บต้นข้าวรวงข้าวที่ล้มหรือหักเพื่อ
ไม่ให้รถมาเหยียบ หรือไม่ก็จัดต้นข้าวที่ล้มตั้งขึ้นเพื่อให้รถสามารถเกี่ยวได้หมด
เครื่องเกี่ยวข้าวรุ่นนี้เกี่ยวได้เร็วพอสมควร ที่เห็นๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นรุ่นขนาดนี้ รุ่นที่
ใหญ่ๆ เหมือนในบ้านเราไม่ค่อยมีให้เห็นเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะว่าปริมาณพื้นที่
การทำนาแถวๆ นี้ไม่ได้มากเหมือนบ้านเรา
เกี่ยวไปสักพักก็ต้องไปถ่ายเอาเมล็ดข้าวที่อยู่ในเครื่องเกี่ยวออก เอาไปใส่ในรถ
บรรทุกที่มารอไว้
ไม่กี่นาทีก็จัดการเรียบร้อย
ดูสิครับ ฟางเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย ผมชอบเจ้าเครื่องนี้ตรงที่มันยังเหลือฟางไว้
ให้แบบสวยงาม เหมือนการทำนาบ้านเราสมัยก่อน
คั่นด้วยภาพของเจ้าถิ่น วันนี้ถูกรบกวนเหมือนกัน
ไหนๆ ก็ได้ดูเขาเกี่ยวข้าวกันตั้งแต่เช้า วันนี้ก็เลยออกตระเวนดูบริเวณใกล้ๆ ชม
บรรยากาศทุ่งญี่ปุ่นไปในตัว
เจอแล้วครับ นี่เป็นเครื่องขนาดเล็กลงมาหน่อย เครื่องเล็กแบบนี้ฟางข้าวจะถูกตีย่อย
เป็นขนาดเล็กๆ ไม่เหลือฟางสวยๆ ให้เห็นแล้วครับ เมล็ดข้าวก็จะถูกส่งมาที่กระสอบ
แล้วก็จะมีคนมาคอยเปลี่ยนกระสอบอีกที
นีไงครับคนคอยเปลี่ยนกระสอบข้าว พร้อมลำเลียงขึ้นรถ
ส่วนนี่ก็เป็นที่นาที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว แต่พอฝนตกลงมาตอข้าวได้น้ำ ก็แตกยอดมา
ใหม่เขียวไปทั้งทุ่งเลยครับ
ตรงนี้ข้าวเพิ่งถูกเกี่ยวไป เมล็ดข้าวที่ร่วงลงพื้นก็กลายเป็นอาหารของเจ้านกพิราบ
พวกนี้แหละครับ
มาดูกันต่อดีกว่าครับ นี่ก็เครื่องเกี่ยวข้าวอีกรุ่นหนึ่ง...ไม่เล็กไม่ใหญ่
เครื่องรุ่นนี้ผมชอบมากยืนมองอยู่นานเลยทีเดียว ที่ชอบก็คือเจ้ารุ่นนี้มันมัดฟางข้าว
เป็นมัดๆ ก่อนจะปล่อยออกมา
ที่เห็นฟางเป็นกองๆ สุมกันอยู่เนี่ย เป็นฝีมือของคุณยายที่นั่งอยู่ตรงนั้นแหละครับ
ผมเรียกไม่ผิดหรอกครับ เป็นคุณยายจริงๆ แกทำไปได้นิดนึงก็ต้องนั่งพัก ผมเห็น
แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าอีกหน่อยบ้านเราก็อาจจะเป็นแบบนี้ ลูกหลานก็ไปทำงานใน
เมืองเหลือแต่คนแก่ไว้ทำนา นี่ยังดีบ้านเขามีมีเงิน มีเครื่องจักรเครืองยนต์ทุ่นแรง ถ้า
เป็นบ้านเราแก่ขนาดนี้ก็ทำไม่ไหวแล้วครับ
ช่วงนี้เห็นข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่ไม่รู้ว่านาข้าวจะเสียหายกันเยอะหรือเปล่านะครับ
ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ชาวนาไทยทุกๆ ท่านครับ
http://www.oknation.net/blog/phannam/2010/10/23/entry-1
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/01/2023 6:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 19/06/2011 7:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
33. รู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู พืชและสัตว์มีการจัดระบบ และวิวัฒนาการอย่างลงตัว
แต่คนเราเข้าไปรบกวนจนทำให้ระบบปั่นป่วน และมองระบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรค หรือเป็นศัตรู การ
ทำการเกษตรและการประกอบอาชีพปัจจุบัน ได้มีการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่า สัตว์และ
พืชอย่างรุนแรงในทุกด้าน
ด้วยความคิดที่ว่า สิ่งที่เราทำลายนั้น "บางอย่าง" เป็น "อุปสรรค" ขัดขวางความคิดของเรา และมองบาง
อย่างเป็น "ศัตรู"
แต่เราก็ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า แบบไม่สนใจว่าอะไรจะเสียหายบ้าง
ทำให้การประกอบกิจกรรมของเรา
ได้ทำลายต้นทุนทางธรรมชาติ
ต้องสร้างและลงทุนใหม่ ที่ทำให้ลงทุนสูง
ทั้งทุนในการทำลาย และ
ทุนที่ต้องพยายามสร้างขึ้นใหม่
แต่ธรรมชาติก็จะพัฒนาตัวเอง กลับมาตามครรลองเดิมที่ลงตัวของระบบ
ทำให้เราต้องพยายามทำลายมากขึ้น และสร้างมากขึ้น
การลงทุนจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
ต้องพยายามเปลี่ยน "ทรัพยากร" ที่พอมีเหลือบ้าง ให้เป็น "ทุนแบบใหม่"
เกิดการกู้ยืม จำนอง จำนำ
ที่ต้องเสียดอกเบี้ย และเพิ่มต้นทุน
เพิ่มขีดจำกัด และลดทางเลือกในการทำกิจกรรม
ถูกคนกลางเอารัดเอาเปรียบ
เพราะต้อง "ไปพึ่งเขา"
ขาดทุน
ทั้งโดยการทำลายทุนเดิม
การลงทุนใหม่
ระบบการสู้กับการกลับมาของระบบธรรมชาติ และ
การแบ่งปันผลประโยชน์จาก "คนกลาง" ผู้ร่วมลงทุน
ที่ไม่ยอมเสียหายด้วย จะเอาแต่ได้อย่างเดียว
เกิดระบบการทำลายตัวเอง
ทั้งทางเศรษฐกิจ
ระบบทรัพยากร
ความสุข ความสบาย
การอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
การพึ่งพาธรรมชาติ
ระบบสิ่งแวดล้อม และ
ระบบนิเวศที่อยู่อาศัย
สารพิษปนเปื้อนในอาหาร
ทำลายตัวเอง
ทำลายผู้บริโภค
ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
ทำลายสิ่งแวดล้อม
สูญเสียระบบทรัพยากรต่างๆ ที่เราเคยพึ่งพิงได้ และ
ทำลายสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ทั้งสังคม และ ธรรมชาติ
ทั้งๆ ที่พืชและสัตว์มีการจัดระบบ และวิวัฒนาการอย่างลงตัว ในทุกระบบนิเวศอย่างค่อนข้างสมบูรณ์
แต่คนเราเข้าไปรบกวนจนทำให้ระบบปั่นป่วน และมองระบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรค หรือเป็นศัตรู
เพียงเพราะ เรามีความรู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู
แล้วก็ย้อนกลับมาทำลายทุกอย่าง อย่าง "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" อย่างที่เป็นอยู่อย่างทั่วไปในปัจจุบัน อย่างมาก หรือ
อย่างดีที่สุด ก็คือ "พอรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว" เท่านั้นเอง
น่าสงสารมนุษยชาติจริงๆ
http://www.gotoknow.org/blog/sawaengkku/444519
---------------------------------------------------------------------------------------------------
34. ไร่แตงโมเมืองจีนระเบิดระนาวปริศนา คาดใช้สารเคมีเร่งโตเกินกำหนด
สถานี โทรทัศน์ซีซีทีวี กล่าวในรายงานข่าวว่า เกษตรกรราว 20 ราย ที่อาศัยอยู่รอบเมืองต้านหยาง มณฑลเจียงสู
ต่างได้รับผลกระทบกันโดยถ้วนหน้า และสูญเสียผลิตผลแตงโมเป็นพื้นที่กว่า 115 เอเคอร์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เกษตรกรหลายรายหันมาปลูกแตงโมมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากราคาแตงโมได้พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ไร่
แตงโมที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่จะเป็นของเกษตรกรที่เพิ่งใช้สาร เร่งการเติบโตที่ชื่อ "forchlorfenuron"
ทั้งสิ้น เพื่อหวังที่จะนำเอาผลผลิตออกสู่ตลาดได้เร็วกว่ากำหนดตามปกติ และหวังเพิ่มผลกำไร
ด้าน ผู้เชี่ยวชาญบางราย ยังไม่สามารถหาสาเหตุว่าทำไมผลแตงโมที่ได้รับสารดังกล่าวจึงระเบิดตามไปด้วย
แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากสภาพอากาศและขนาดของผลแตงโมที่ใหญ่เกินปกติ เนื่องจากพบว่าสารเคมีดังกล่าว
ได้รับการทดสอบว่ามีความปลอดภัย หากว่าใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม และอาจเป็นไปได้ว่าสารเคมีดังกล่าวถูก
นำมาใช้ล่าช้าเกินฤดูกาลเพาะปลูกเกิน ไป อีกทั้งฝนที่ตกหนักมากกว่าปกติ ยังเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความ
เสี่ยงที่ผลแตงโมอาจปริแตกได้ง่าย
นอกจากนั้นยังพบว่าพันธุ์แตงโมที่นำมาปลูกนั้นเป็นพันธุ์เปลือกบาง จนกระทั่งมีคนตั้งชื่อเล่นให้มันว่า "แตงโมระเบิด"
เนื่องจากมันมีโอกาสที่จะปริแตกได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่นๆ
http://www.clipmass.com/story/31958
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 21/06/2011 9:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
35. ข้าวเคลือบสมุนไพร
............................... ฯ ล ฯ ..........................................
จากกระแสความนิยมทั้งสองประการข้างต้นจึงได้มีโครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับบริษัทบางกอก
ตลาดข้าวไทยจำกัด โดยทดลองนำเอาสมุนไพรต่างๆ เช่น เช่น ใบเตย กระเจี๊ยบแดง ดอกอัญชัน ขมิ้นชัน ดอกคำฝอย เป็นต้น
มาเคลือบลงบนเมล็ดข้าวสาร เพื่อให้ได้คุณประโยชน์ในแง่ของโภชนาการและอาหารเสริมที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจุบัน
ได้จดอนุสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาไว้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีการผลิตเพื่อจำหน่ายแล้วโดยบริษัท เอ. พี. แซด คอร์ปอเรชั่น และชุมนุมสหกรณ์ภาคเหนือ จำกัด เป็นต้น
................................ ฯ ล ฯ ..........................................
http://oae.go.th/ewt_news.php?nid=6886
---------------------------------------------------------------------------------------------- |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 21/06/2011 10:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
36. พริกเข้าตา อมเกลือ ช่วยได้ ?
เวลาทำกับข้าว ปรุงอาหาร หากพริกกระเด็นเข้าตาแล้วควรทำอย่างไรดี เพื่อให้อาการแสบร้อนหายได้อย่างรวดเร็วและเศษพริก
หลุดออกมาด้วย
สามัญประจำบ้าน วันนี้มีวิธีแก้แสบร้อนเพราะพริกเข้าตา จากภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน รับรองว่า ปลอดภัย และไม่ต้องเดือดร้อน
หายาแพงๆ มาใช้ เพราะ แค่นำเกลือที่ใช้ทำกับข้าวเพียงเล็กน้อยใส่ปากแล้วอมไว้ จากนั้นไปลืมตาในน้ำสะอาดเพื่อชะล้างเอาเศษ
พริกออก อาการแสบร้อนที่ดวงตาก็จะหายไปในไม่ช้า
วิธีอมเกลือเพื่อช่วยแก้อาการแสบร้อนจากพริกเข้าตา อาจฟังดูแปลกๆ และทำให้หลายคนสงสัยว่า พริกเข้าไปทำระคายเคืองใน
ดวงตา แต่เหตุใดจึงให้อมเกลือไว้ในปากนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดหรือ
ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้ไม่ยาก เพราะหู ตา คอ จมูก ของคนเราเชื่อมต่อถึงกันหมด การอมเกลือที่มีสรรพคุณแก้เผ็ดไว้ในปาก
จึงออกฤทธิ์ไปถึงดวงตาได้ ทำนองเดียวกับเวลาที่คนเราหยอดตา แล้วรู้สึกเหมือนมีของเหลวไหลลงมาที่ลำคอ รสขมๆ เหมือนยานั่นเอง
ส่วนเหตุผลที่ไม่ให้ใช้เกลือเจือจางกับน้ำแล้วล้างตาโดยตรงเลยนั้น ก็เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง อาจยิ่งระคายเคืองหรือเกิด
แผลหากถูกเม็ดเกลือแข็งๆ
เพื่อป้องกันพริกกระเด็นเข้าตา ขณะทำกับข้าวหรือปรุงอาหารที่มีพริกเป็นส่วนประกอบ ควรใช้มือป้องเพื่อกันพริกกระเด็น หรือ
สวมแว่นบังดวงตาเอาไว้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/22868
---------------------------------------------------------------------------------------------------
สศข.6 ร่วมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง 37. การเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร ในถิ่นทุรกันดาร
สศข.6 ร่วมดำเนินงานในโครงการนำร่อง การเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร ภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เขตตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เขต 3 และเขต 9 โดยจัดตั้ง เศรษฐกิจการเกษตรท้องถิ่นในโรงเรียน ขึ้นในฐานเกษตรสารนิเทศและเศรษฐกิจการเกษตร
ภายใต้ชื่อ ศกท.น้อย
นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 จ.ชลบุรี (สศข.6) เปิดเผยว่า จากการที่ผู้ตรวจราชการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 3 และ เขต 9 (นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล) ได้มีนโยบายในการดำเนินงานโครงการนำร่อง การ
เพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร ภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เขตตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 3 และเขต 9 โดยขอความร่วมมือจากทุกส่วน
ราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการดังกล่าวนั้น ได้มีการจัดมีกิจกรรมต่างๆ ซึ่ง
กิจกรรมแรกคือ START OPENING PROJECT โดยกิจกรรมที่ดำเนินการคือ Youth Training Camp สำหรับ
นักเรียนและครู จำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งมีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2554 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา ในกิจกรรมได้จัดให้มีฐานการเรียนรู้ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน 11 ฐาน ได้แก่
ฐานดิน
ฐานชลประทาน
ฐานประมง
ฐานปศุสัตว์
ฐานปฏิรูปที่ดิน
ฐานส่งเสริมการเกษตรด้านพืช
ฐานวิชาการเกษตร
ฐานปราชญ์เกษตร
ฐานตรวจบัญชีสหกรณ์
ฐานสหกรณ์ และ
ฐานเกษตรสารนิเทศและเศรษฐกิจการเกษตร
ในการนี้ สศข.6 ได้ร่วมการดำเนินงานโดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง เศรษฐกิจการเกษตรท้องถิ่นในโรงเรียน ขึ้นในฐาน
เกษตรสารนิเทศและเศรษฐกิจการเกษตร ในชื่อ ศกท.น้อย และได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจการเกษตรอย่าง
ง่ายแก่เด็ก ๆ โดยเริ่มต้นหลักสูตรด้านการคิดต้นทุนการผลิตอย่างง่ายสำหรับเด็กโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการ
คำนวณ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการที่จะก้าวไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเด็กๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการคิด วิเคราะห์ ผลการ
ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของตนได้ทั้งในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนที่อยู่อาศัย
สำหรับกิจกรรมที่ สศข.6 จะดำเนินการต่อไปคือ กิจกรรมในขั้นตอนการ FOLLOW UP โดย สศข.6 จะประสาน
โรงเรียนเป้าหมายเพื่อให้การสนับสนุนความรู้แก่เด็กในโรงเรียนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ ทีละบทเรียน
โดยเน้นการปรับองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านเศรษฐกิจการเกษตรให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ประกอบสื่อการเรียนการสอน เทคนิค
โปรแกรมคิดคำนวณสำเร็จรูปอย่างง่ายที่เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ การ
ดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาเด็กในเรื่อง หลักวิธีคิด ให้เด็กสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ และ
จะช่วยเสริมสร้างภาวะผู้นำ ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นเยาวชน และผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป นายพลเชษฐ์ กล่าว
ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 จังหวัดชลบุรี
http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=10565
-------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 7:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 24/06/2011 8:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
38. โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน
ต. บึงชำอ้อ อ. หนองเสือ จ.ปทุมธานี
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับที่ดินจำนวนเนื้อที่ 24 -3- 19 ไร่ ไว้เพื่อ
ประกอบกิจกรรมของมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542
พระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริ ให้จัดทำแปลงสาธิตด้านการเกษตรที่เน้นการ
ทำนา และการทำสวนส้ม ดำเนินการร่วมกับพืชชนิดอื่นเพื่อความหลากหลาย และให้มีเกษตรกรเข้าร่วมดำเนินการในพื้นที่
ด้วย ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการทดสอบการปลูกปาล์มเพื่อทดแทนสวนส้มที่เสียหาย
การดำเนินงานตามพระราชดำริ
การดำเนินงาน
การดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน ระหว่างพืช กับ พืช ได้แก่ ข้าว ปาล์ม ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอก โดยเน้นการ
ปลูกข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์จำหน่ายแก่เกษตรที่ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี ทั้งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. แปลงนา เนื้อที่ประมาณ 9 ไร่
2. ยกร่องขนาด 6 x 20 เมตร จำนวน 52 ร่อง ระยะห่างระหว่างร่อง 1.5 เมตร เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรม
ปาล์มน้ำมัน กิจกรรมไม้ผล กิจกรรมพืชผัก และกิจกรรมไม้ดอก โดยปลูกปาล์มน้ำมัน 29 ร่อง กระท้อน 3 ร่อง และทับทิม
3 ร่อง และส่วนที่เหลืออีก 17 ร่อง ปลูกพืชผักสลับกันไปตามฤดูกาล
3. สระกักเก็บน้ำขนาดกว้าง 24 x 80 เมตร
ในปี 2553 สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 7,020 กิโลกรัม ที่ความชื้น 13 เปอร์เซ็นต์ ปาล์มน้ำมัน 15,579 กิโลกรัม
พืชผัก และพืชสวนครัว 2,028 กิโลกรัม ไม้ผล 46 กิโลกรัม มะพร้าว 566 ลูกกล้วย 2,068 หวี โดยผลผลิตที่ได้ทั้งหมด
ได้นำไปจำหน่าย สร้างรายได้ให้แก่โครงการ
การดำเนินงานในระยะต่อไป
กิจกรรมนาข้าวจะขยายผลการผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้กับเกษตรกร เพื่อขยายพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ดี ในส่วนของปาล์มน้ำมัน
จะดูแลรักษา และตัดจำหน่ายแก่โรงงาน เพื่อเป็นรายได้ และในส่วนของพืชผักผลไม้ เน้นการปลูกพืชผักรับประทานใบ สลับกับ
พืชไร่ และข้าวโพดหวาน รวมทั้ง พิจารณาปลูกพืชที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และผู้บริโภค เพื่อเป็นตัวอย่างการ
พัฒนา และจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับโครงการ
ความก้าวหน้า
1.ดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยการขุดสระเก็บน้ำขนาด 1 ไร่ สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ ปรับปรุงร่องสวน ยกร่อง
แปลงปลูกผัก ปรับปรุงระบบส่งน้ำและระบายน้ำในพื้นที่
2.คัดเลือกเกษตรกรที่มีความขยัน แต่ยากจนและไม่มีที่ดินทำกิน เข้าดำเนินงานในพื้นที่ จำนวน 3 ราย คือ
- นายสำราญ ระภานุสิทธิ์ ทำสวนไม้ผล 5.5 ไร่
- นายทวน จุ้ยม่วงศรี ทำนา 14 ไร่ (ปัจจุบันนายธง จุ้ยม่วงศรี บิดาทำแทน)
- นายสมทรง เรืองสุวรรณ ปลูกผัก 1.5 ไร่
- ต่อมาได้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการอีก 1 ราย คือ นายผ่อน เรืองสุวรรณ รวมเป็น4 ราย มีกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันคือ
งานเลี้ยงปลาและเลี้ยงไก่
ผู้รับผิดชอบ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และกรมวิชาการเกษตร
พัฒนาโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรณ์น้ำและการเกษตร (สสนก)
Developed by Hydro and Agro Informatics Institute (HAII)
http://www.chaipat.or.th/intranet/project/detail.php?project_id=98 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 24/06/2011 9:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
39. เร่งปลดล็อกส่งออกผัก 16 ชนิดไป อียู.
คมชัดลึก : เกษตรฯ เร่งปลดล็อกส่งออกผักสด 16 ชนิดไปอียู งัดมาตรการระบบบัญชีรายชื่อ สร้างความเชื่อมั่นผู้นำเข้า
ฉลุยแล้ว 2 บริษัท แนะผู้ประกอบการ/โรงคัดบรรจุขึ้นทะเบียนด่วน
นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาส่งออกสินค้าผักสด 16 ชนิดของ
ไทยไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ว่า จากที่กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ (Establish
ment list : EL) การส่งออกผัก ผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสดังกล่าว กรมจะออกใบ
รับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าผักสด 5 กลุ่ม 16 ชนิด ให้เฉพาะผู้ประกอบการที่ได้ปฏิบัติตาม
มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น
ขณะนี้มีโรงคัดบรรจุผักและผลไม้ที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในมาตรการควบคุมพิเศษแล้ว 2 บริษัท ได้แก่
โรงคัดบรรจุของบริษัท สวิฟท์ จำกัด ซึ่งมีพืชที่ผ่านการพิจารณาได้แก่ พริก มะเขือ ผักชีฝรั่ง กะเพรา โหระพา โดยได้ส่งออก
ไปยังสมาพันธรัฐสวิสแล้วกว่า 247.28 ตัน ขณะเดียวกันยังมีโรงคัดบรรจุของบริษัท ไทยเวอลด์ อิมปอร์ตเอ็กซปอร์ต
จำกัด ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกได้ มีพืชที่ผ่านการพิจารณา 3 ชนิด คือพริก มะเขือเปราะ โหระพา ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน
ที่ผ่านมา
นายจิรากรกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกหรือโรงคัดบรรจุที่ต้องการจะส่งออกสินค้าผักสด 16 ชนิดไปยังสหภาพยุโรป
ต้องเร่งดำเนินการจดทะเบียนเข้าสู่มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ (Establishment list : EL) กับกรม
วิชาการเกษตร เพื่อจะได้เร่งปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิต ให้สอดรับกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทย-สหภาพ
ยุโรป และสอดรับกับเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยให้ส่งออกได้รวดเร็วขึ้น
http://www.komchadluek.net/detail/20110624/101232/เร่งปลดล็อกส่งออกผัก16ชนิดไปอียู.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/06/2011 9:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 24/06/2011 9:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
40. ผลิตภัณฑ์ใหม่ "ซอสลูกตำลึง" ทำกินเองได้-ทำขายมีกำไร
คมชัดลึก : ที่ผ่านมาคนมักจะใช้ประโยชน์จากต้น "ตำลึง" ในส่วนที่เป็นใบและยอดอ่อน เพื่อนำไปประกอบอาหารทั้งลวกจิ้มน้ำพริก
แกงเรียง หรือแกงจืด ขณะที่ผลหรือลูกตำลึงกลายเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ปล่อยให้นก ให้กากิน หรือปล่อยให้เน่าเปื่อยเป็นจุลินทรีย์ แต่วันนี้
ลูกตำลึงสามารถนำไปแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ "ซอสลูกตำลึง" ที่มีรสชาติแปลกใหม่ และเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมาก
มาย ที่สำคัญน้ำที่คั้นจากผลตำลึงดิบช่วยลดน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวานได้
ส่วนที่มาของผลิตภัณฑ์ "ซอสลูกตำลึง" นั้น มาจากความคิดของนักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทค
โนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี "จารุวรรณ สิงห์สาธร" ที่มองลูกตำลึงที่สุกแดงบน
ต้นนั้นน่าจะทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ดีกว่าปล่อยให้เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์ จึงคิดค้นสูตร และทดลองทำเป็นซอสลูกตำลึง
โดยมี ผศ.สุชาดา งามประภาวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชา เป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ปรากฏว่ามีรสชาติที่แปลกใหม่
ไม่แพ้ซอสแบรนด์ดังที่วางขายในท้องตลาด
"หนูมองว่าตำลึงซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นตามรั้วบ้านและเลื้อยตามต้นไม้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยเรามักจะเด็ดเอายอดอ่อนนำมา
ประกอบอาหาร เช่น นำมาลวก นึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารเป็นแกงเลียง แกงจืด แต่บางท้องถิ่นมีชาวบ้านนำผล
อ่อนของตำลึงไปดองและนำไปรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงได้ แต่ผลหรือลูกตำลึงสุกที่มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ไม่มีใคร
กินกันมีแต่นก และที่เหลือก็เน่าเปื่อย ทั้งที่ในลูกตำลึงมีสารอาหารหลายอย่าง" จารุวรรณกล่าว
สำหรับผลตำลึงนั้นมีสารอาหาร คือ ลูกตำลึง 100 กรัม ประกอบด้วย
พลังงาน 20 แคลลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 5.2 กรัม
โปรตีน 0.7 กรัม
แคลเซียม 25 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม และ
เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
ซอสลูกตำลึง ขณะที่น้ำที่คั้นจากผลตำลึงดิบช่วยลดน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวานได้ ดังนั้นซอสลูกตำลึงของเธอนอกจาก
จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกตำลึงสุก และเป็นทางเลือกของผู้บริโภคที่ชอบในรสชาติของซอสที่
ได้รสชาติที่สดใหม่ ปลอดภัย และปราศจากสารเคมี
จารุวรรณบอกอีกว่า การแปรรูปลูกตำลึงทำเป็นผลิตภัณฑ์ซอสลูกตำลึงนั้น สามารถทำกินเองได้ ส่วนผสมในการปรุง ได้แก่
ลูกตำลึงสุก 1 กก.
พริกชี้ฟ้าแดง 200 กรัม
กระเทียมสับ 200 กรัม
อบเชย 1 ชิ้น
น้ำส้มสายชู 150 กรัม
น้ำตาลทราย 400 กรัม
เกลือ 50 กรัม
จากเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตคือ นำน้ำใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟ ใส่กระเทียม ลูกตำลึงสุก พริกชี้ฟ้า ต้มจนเปื่อย จากนั้นนำมายี
บนตะแกรง หรือปั่นให้ละเอียด (เอาเมล็ดออก) แล้วนำน้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย เกลือ ใส่หม้อตั้งไฟให้ละลายเข้ากัน
อีกครั้ง ส่วนผสมนี้จะได้ซอสลูกตำลึง 600 กรัม ลงทุนไม่ถึง 50 บาท
ขั้นตอนต่อมา นำส่วนผสมที่ปั่นละเอียดแล้ว ใส่ลงหม้อ ตั้งไฟเคี่ยวจนข้น บนไฟแรงปานกลาง เคี่ยวประมาณ 20 นาที ให้สัง
เกตสีจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม จากนั่นชิมรสชาติตามที่ชอบ ก่อนนำซอสลูกตำลึงกรอกใส่ขวดที่ล้างสะอาด แล้วปิดฝาให้สนิท
นำไปนึ่งฆ่าเชื้อโรคประมาณ 30 นาที เก็บไว้รับประทานได้ ไม่ว่าจะรับประทานกับของทอด เช่น ไส้กรอก ไก่ทอด หรือจะ
นำไปปรุงอาหารแทนซอสมะเขือเทศ โดยซอสลูกตำลึงสามารถเก็บไว้ได้ 1 เดือนในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเปิดฝาแล้ว
ควรเก็บไว้ในตู้เย็น
ปัจจุบันซอสลูกตำลึง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ หากสนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ จารุวรรณ สิงห์สาธร โทร.08-5744-0219
"ดลมนัส กาเจ"
http://www.komchadluek.net/detail/20110624/101234/ผลิตภัณฑ์ใหม่ซอสลูกตำลึงทำกินเองได้ทำขายมีกำไร.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/06/2011 9:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 24/06/2011 9:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
41. แนะทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ทดแทนปุ๋ยเคมีอย่างสมบูรณ์
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น แต่ด้วยการใช้ในปริมาณที่มากโดยขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่เพียงแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้นยังส่งผลให้อินทรีย์วัตถุหายไป จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชก็หายไปด้วย ทำให้ดินเสียดินเสื่อมโทรม เพาะปลูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมี โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีและพัฒนาไปสู่การใช้ทดแทนปุ๋ย
เคมีเลย
นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้ชื่อ สารเร่งซูเปอร์ พด.สูตรต่าง ๆ ที่สามารถช่วยในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้พืชสามารถดึงธาตุอาหาร
ที่อยู่ในดินมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้
เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใส่ในปริมาณที่มาก แต่ทราบหรือไม่ว่าปุ๋ยที่ใส่ลงไป 100% นั้น พืชสามารถดึงไปใช้ได้เพียง 60% ที่เหลืออีก 40% ก็ถูกตรึงอยู่ในดินพืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ก็เท่ากับว่าเกษตรกรลงทุนไปเต็ม ๆ แต่ได้ผลแค่ครึ่งเดียว ดังนั้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พด.จะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร อีกทั้งช่วยทำให้ธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินนั้นสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
โดยปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นหนึ่งในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พด.ที่สามารถสร้างโรงผลิตปุ๋ยและฮอร์โมนในดินได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 ประเภท ได้แก่
1. จุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและเปลี่ยนให้เป็นรูปแอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
2. จุลินทรีย์ที่เพิ่มการละลายของหินฟอสเฟต และช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชสามารถดูดมาใช้ประโยชน์ได้
3. จุลินทรีย์ที่ช่วยละลายและปลดปล่อยโพแทสเซียมที่ถูกตรึงไว้ให้มาใช้ประโยชน์ได้
4. ฮอร์โมนพืช ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญของรากพืช ทำให้พืชสามารถดูดน้ำและธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น
จากการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน และผักกะหล่ำปลี ปรากฏว่านอกจากจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 50% แล้ว ที่สำคัญยังสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ 5-15%
อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาที่ดินยังได้พัฒนาต่อยอดผลสำเร็จของปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มาผสมผสานกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตร พด. จนกระทั่งได้ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพคุณภาพสูง ที่มีทั้งธาตุอาหาร จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช ซึ่งสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี และมีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรใช้อยู่ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแหลมดิน หมู่ที่ 5 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร พบว่าเมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพคุณภาพสูงไปใช้ในสวนปาล์มและสวนทุเรียน พบว่าทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตดีมาก และเมื่อใช้กับยางพาราก็ทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตและให้น้ำยางเพิ่มขึ้นมาก ที่สำคัญปัจจุบันเกษตรกรบ้านแหลมดินไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีอีกเลย
หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือหมอดินอาสาใกล้บ้าน พร้อมรับปัจจัยการผลิตสารเร่งซูเปอร์ พด. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ได้...ฟรี.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=345&contentID=146545
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/04/2013 11:28 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/06/2011 7:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
42. สายพันธุ์กาแฟ ที่ดีที่สุดในโลก
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากาแฟที่ผลิตเพื่อการค้าในปัจจุบันนั้นมี 2 พันธุ์ นั่นคือโรบัสต้าและอาราบิก้า ประเทศไทยผลิตกาแฟโรบัสต้าได้มากกว่าอาราบิก้า เพราะในปีหนึ่งๆ ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าจากทางภาคเหนือจะประมาณ 3,000-4,000 ตันเท่านั้น กาแฟโรบัสต้าชอบอากาศร้อนและชื้น เป็นพืชที่จำเป็นต้องผสมข้ามต้นจึงจะติดผล มีคนเคยถามว่าหากปลูกกาแฟโรบัสต้าเพียงต้นเดี่ยวโดดเดี่ยวจากเกสรต้นอื่นๆ จะเป็นอย่างไร คำตอบก็คือกาแฟต้นนั้นจะออกดอกแต่จะไม่ติดผล หรือถ้าติดก็จะน้อยมาก นี่เองคือสาเหตุที่เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกกาแฟโรบัสต้าให้มีสายพันธุ์คละเคล้ากันไป
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระหว่างการประชุมเกษตรกร มีเกษตรกรท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตขึ้นว่า ต้นกาแฟจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ซื้อไปปลูก มีเมล็ดขนาดเล็ก ทำให้เกิดความยุ่งยากในการสีเป็นอย่างมาก จึงอยากทำความเข้าใจว่าก่อนการนำมาผลิตในห้องปฏิบัติการเป็นปริมาณมากๆ นี้ นักวิชาการด้านปรับปรุงพันธุ์ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ซึ่งมาตรฐานและเกณฑ์การคัดเลือกนั้นมากจาก ผลผลิตต่อพื้นที่ต้องสูง ติดผลสม่ำเสมอ ทรงพุ่มดี ออกดอกในช่วงที่เหมาะสมเพื่อทำให้เก็บเกี่ยวง่าย ต้านทานโรคและแมลงดี ระบบรากต้องแข็งแรง และรสชาติเมื่อคั่วชิมแล้วต้องผ่านมาตรฐานเป็นต้น แต่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าไม่ว่าพันธุ์พืชใดก็ตาม
มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ไม่มีพันธุ์พืชใดที่วิเศษเลอเลิศไปทุกคุณสมบัติ หากกาแฟที่เมล็ดเล็กนี้สามารถให้ผลผลิตสม่ำเสมอปีละ 3 กระสอบต่อไร่ ก็น่าสนใจไม่ใช่หรือ
หลายท่านคงเคยรับประทานกล้วยไข่กำแพงเพชร กล้วยไข่พันธุ์นี้มีรสชาติดี มีกลิ่นหอม แต่ข้อเสียก็คือเปลือกบางไม่ทนการขนส่ง การจัดเรียงผลบนหวีไม่เป็นระเบียบเหมือนคนฟันเก ทำให้ไม่สามารถวางซ้อนทับได้ กล้วยไข่ของกำแพงเพชรจึงไม่สามารถส่งออกได้
เช่นกัน มีคนถามบ่อยๆ ว่า อยากนำข้าวหอมมะลิ 105 มาปลูกทางภาคใต้ เพราะคุณภาพการหุงดี มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แต่ข้าวหอมมะลิชอบเนื้อดินทราย และหากนำมาปลูกทางภาคใต้จะให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเลย
บทสรุปนั่นคือ
ในวันนี้พันธุ์กาแฟที่ดีที่สุดในโลกยังไม่มี แต่พันธุ์กาแฟที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกว่าเหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศไทยนั้นมีแล้ว แต่ก็ต้องขอย้ำว่าเราไม่สามารถตอบสนองพันธุ์ที่ดีครบถ้วนตามใจหวัง กาแฟพันธุ์ที่ดีที่สุดในวันนี้อยู่ที่จินตนาการเท่านั้น ทางออกที่จะได้พันธุ์พืชที่ดีที่สุดในโลก ครบตามคุณสมบัติที่ต้องการคงจะจบที่เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม แต่ในวันนี้เรายอมรับ GMOs กันหรือยัง
http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-6404.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/04/2013 11:26 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 7:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
43. ทุเรียน-ลับแล
จุดเด่น :
ปลูกทุเรียนตามป่าเขา ดินชุ่ม ชาวลับแลไม่ค่อยใช้สารเคมี บางทีก็ปล่อยให้สุกคาต้น เพราะไม่สามารถตามไปเก็บผลทุเรียนได้
ออกผลช่วงฤดูฝน ต่างจาก ทุเรียนจันทบุรี ซึ่งออกผลในฤดูร้อน
การทำสวนทุเรียนของชาวลับแล
เดิมทีนั้นจะปลูกรวมในสวนลางสาดและผลไม้อื่นๆ โดยนำเมล็ดไปปลูกไว้ตามพื้นที่ข้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยโดยการขว้างหรือยิงเมล็ดลางสาดและเมล็ดทุเรียนด้วยคันสูน (อุปกรณ์ในการล่าสัตว์อย่างหนึ่งคล้ายธนู) โดยการดัดแปลงสายคันสูนให้สามารถใช้ยิงเมล็ดทุเรียนหรือลางสาดขึ้นไปบนภูเขา ซึ่งเป็นภูเขาดินที่มีความชุ่มชื้นตลอดปี
ซึ่งทุเรียน-ลางสาดก็จะงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเองไม่มีระยะการปลูกที่เป็นระเบียบเหมือนสวนผลไม้ของที่อื่นแต่จะปล่อยให้ต้นทุเรียน-ลางสาดเติบโตขึ้นเอง ตามธรรมชาติ โดยชาวบ้านจะไม่โค่นต้นไม้อื่นๆ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสวนทุเรียน-ลางสาด ของเมืองลับแลเป็นสวนผลไม้ที่แปลกไม่เหมือนที่อื่น คือ จะขึ้นอยู่ตามภูเขาทั่วไป ทั้งไหล่เขาจนกระทั่งถึงยอดเขา มองขึ้นไปก็จะเห็นเหมือนกับป่าไม้ตามธรรมชาติ และเป็นสวนผลไม้ที่ ไม่มีรั้วกั้น แต่ชาวบ้านจะรู้กันเองว่าตรงนี้ตรงนั้นใครเป็นเจ้าของ ลักษณะเช่นนี้จึงอาจถือได้ว่ามีเพียงที่นี้เท่านั้นเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวสวนที่นี่ได้รับการส่งเสริมในเรื่องของการดูแลสวนแบบธรรมชาติหรือชีววิธีโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีที่ตกค้างในผลไม้และเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมตาธรรมชาติเอาไว้อีกทางหนึ่งด้วย
การเก็บผลทุเรียน
การเก็บทุเรียนพื้นเมืองของชาวลับแลในสมัยก่อนนั้นส่วนใหญ่แล้วจะปล่อยให้ทุเรียนที่สุกร่วงจากต้นลงมาเองแต่ที่ตัดมาบ่มก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย ทั้งนี้ก็เพราะสาเหตุที่ว่าต้นทุเรียนขึ้นอยู่ตามภูเขาสูง ทุเรียนบางต้นก็สูงใหญ่มากจนชาวบ้านไม่สามารถปีนขึ้นไปตัดผลได้ โดยก่อนที่จะถึงหน้าทุเรียนแก่และสุกร่วงลงสู่พื้นนั้นชาวสวนจะแผ้วถางหญ้าและต้นไม้เตี้ยๆ ที่ขึ้นรกอยู่ตามพื้นดินด้านล่างให้เตียน บางสวนที่มีพื้นที่ชันมากเจ้าของสวนก็จะสานไม้ไผ่เป็นแผงทำเป็นรั้วกั้นไว้ไม่ให้ผลทุเรียนกลิ้งเข้าไปในพื้นที่สวนของคนอื่น และก็จะสะดวกในการเก็บด้วยเพราะทุเรียนเมื่อร่วงจากต้นแล้วก็จะกลิ้งมารวมกันที่บริเวณแผงไม้ไผ่ที่สร้างกั้นเอาไว้ ซึ่งชาวบ้านจะมาเก็บเอาในตอนเช้าตรู่โดยจะนำทุเรียนใส่เข่งหรือตะกร้าแล้วหาบลงจากสวนไปขายในหมู่บ้านหรือในตลาด ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางทั้งภายในจังหวัดอุตรดิตถ์และต่างจังหวัดมารับซื้อไปขายต่อ
การปลูกทุเรียนจากเมล็ดซึ่งถือว่าเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของชาวลับแลนั้นเป็นสาเหตุทำให้มีการกลายพันธุ์ ทำให้ทุเรียนแต่ละต้นมีคุณภาพที่แตกต่างกันไป ทั้งที่กลายพันธุ์ไปเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพดีกว่าเดิมและเลวกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้เองเมื่อปี 2520 และ 2521 จังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร จัดประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ดหรือทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองขึ้นที่อำเภอลับแล เพื่อค้นหาทุเรียนพื้นเมืองต้นที่มีคุณภาพดีที่สุดเพื่อที่จะรักษาทุเรียนคุณภาพดีต้นนั้นไว้พร้อมกับดำเนินการขยายพันธุ์ให้มีทุเรียนคุณภาพดีเพิ่มมากขึ้นต่อไป
http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com/blog-news-%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 10:05 am ชื่อกระทู้: |
|
|
44. วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี
สารเคมีกำจัดหญ้า
สารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรใช้มี อยู่ 2 แบบ คือ
แบบคุมการงอกของเมล็ดหญ้าเกษตรกรจะฉีดพ่นหลังจากหว่านข้าว 2-3 วัน ต้นข้าวงอกแล้ว สารเคมีชนิดทำหน้าที่
คลุมที่ผิวหน้าของดิน ทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้ แต่ฤทธิ์ของสารคุมหญ้าจะอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 4-5 วัน ก็
จะหมดฤทธิ์ หรือถ้าหากแปลงนาแห้งมากดินในแปลงนาแตกระแหง มีร่องดินแตกเมล็ดหญ้าจะงอกขึ้นมาได้ และถ้า
หากมีฝนตกหลังฉีดพ่นสารเคมี หญ้าจะขึ้นมาได้
ส่วนการกำจัดหญ้าแบบที่สองนั้นเกษตรกรจะใช้แบบคุมและฆ่าหญ้า สูตรนี้จะทำหน้าที่คุมเมล็ดหญ้าไม่ให้งอกและทำ
หน้าที่ฆ่าต้นหญ้าที่งอกแล้วให้ตาย เกษตรกรจะทำการฉีดพ่นเมื่อข้าวอายุประมาณ 5-7 วัน สารเคมีคุมและ
ฆ่านี้จะมีผลหลังจากฉีดพ่นต้นหญ้าที่งอกแล้วใบจะไหม้และตาย และมีผลกับต้นข้าวเช่นกันเพราะจะทำให้ปลายใบ
ของข้าวไหม้ ต้นข้าวจะเหลือง
ต้นทุนการใช้สารเคมีกำจัดหญ้า
เกษตรกรจะใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช มากน้อยแตกต่างกัน ตามปริมาณของวัชพืชที่ขึ้นในแปลงนา ซึ่งปกติจะใช้
อย่างน้อยที่สุด 2 ครั้ง ได้แก่ครั้งที่สารเคมีคุมการงอกของวัชพืช ซึ่งใช้หลังหว่านข้าวได้ 2-3 วันก่อนที่วัชพืชในแปลง
นาจะงอกขึ้นมา ซึ่งราคาของสารเคมีจะมีราคาที่แตกต่างกัน อยู่ระหว่าง 400- 600 บาท ฉีดพ่นได้ประมาณ 5 ไร่
คิดเฉลี่ยไร่ละ 100 บาท ค่าแรงฉีด 40 บาท/ไร่ ฉีดครั้งที่ 2 สารเคมีคุมและฆ่าวัชพืช ฉีดหลังหว่านข้าว 6-7 วัน
วัชพืชในแปลงนางอกแล้ว สารเคมีจะไปทำลายวัชพืชทำให้ใบไหม้ ราคาขวดละ 400-500 บาท ฉีดพ่นได้ประมาณ 5
ไร่เช่นกัน ค่าแรงฉีดไร่ละ 40 บาท
รวมต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชขั้นต่ำ จะอยู่ระหว่าง 275 บาท/ ไร่
และถ้าหากว่ายังมีวัชพืชในแปลงนา เกษตรกรก็จะทำการกำจัดอีดรอบ ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นอีก
http://www.gotoknow.org/blog/ngos/30572
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/09/2011 6:55 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 2:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
45. ป้องกันและกำจัดใบอ่อนทุเรียน ช่วงพัฒนาการของผล
การป้องกันและการกำจัดใบอ่อน ในช่วงวิกฤตระหว่างการพัฒนาของผล เพื่อป้องกันผลอ่อนร่วง หรือ ทรงผลบิดเบี้ยว
หรือเนื้อด้อยคุณภาพ (แกน เต่าเผา) โดย
- การชะลอการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สาร มีพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5
พีพีเอ็ม. ให้ทั่วต้น
- การปลิดใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 100-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แตกใบอ่อน
- การลดความเสียหายที่เป็นผลจากการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยสูตรทางด่วน(คาร์โบไฮเดรตสำเร็จรูป อัตรา 20 ซีซี.
+ ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อย อัตรา 60 กรัม + กรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี. ผสมรวมในน้ำ 20
ลิตร) ร่วมกับสาร มีพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5 พีพีเอ็ม.
หมายเหตุ : 37.5 พีพีเอ็ม = 37.5 ซีซี./น้ำ 1,000 ล. ......... (ลุงคิม)
http://www.sdoae.doae.go.th/turain_2.php
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 3:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 2:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
46. อาหารของมนุษย์อวกาศ คือ อะไร
ในสภาพที่ไร้น้ำหนักในอวกาศ นักบินอวกาศจะมีการกิน หรือการดื่มที่ยากเพราะทุกๆ สิ่งจะลอยไปในอากาศ เมื่อก่อนนักบินอวกาศต้อง กินชิ้นอาหารที่แช่แข็งกึ่งเหลวที่บรรจุในหลอดอะลูมิเนียมแบบหลอดยาสีฟัน
หลังจากอาหารหลอดที่พัฒนาขึ้น มีความหลากหลายมาขึ้นในปฎิบัติการ อะพอลโล เป็นครั้งแรกที่สามารถใช้น้ำร้อนและน้ำเย็น มีการพัฒนาห่อบรรจุอาหาร ขึ้นด้วย นักบินอวกาศสามารถกินอาหารบนโต๊ะและมีกระป๋องอะลูมิเนียมที่เปิดฝา ทางด้านบน ปัจจุบันนักบินอวกาศกินอาหารโดยใช้มีด, ส้อม, ตะเกียบ, หรือ ช้อนเหมือนกับการกินอาหารบนโลก แต่ยังคงใช้หลอดในการดื่มน้ำจากขวดเพื่อไม่ ให้น้ำลอยไปทำความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ของยานอวกาศ นักบินอวกาศสามารถกิน อาหารตามเมนู หรือจะเลือกกินเอง อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องกินอาหารเสริมเพื่อ ให้ได้คุณค่าทางอาหาร เมนูอาหารจะต้องให้พลังงาน 2,800 แคลเลอรี่ต่อวัน ประกอบด้วย โปรตีน 16%, ไขมัน 30% และคาร์โบไฮเดรต 50% เพราะว่าอาหารส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งสำเร็จรูป, มันไม่ต้องแช่เย็น เฉพาะผักหรือผลไม้เท่านั้นที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็นและต้องกินภายใน 1-2 วัน
ปัจจุบันมีอาหารหลากหลายชนิดที่ให้นักบินอวกาศเลือก อาหารแห้ง, อาหารที่มี ความชื้นอยุ่ปานกลาง, อาหารแช่อิ่ม, อาหารพวกธัญญพืช, อาหารอาบรังสี, อาหารกึ่งสำเร็จรูปรวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ซุปไก่, มักกะโรนี และพวกอาหาร เรียกน้ำย่อย น้ำจะถูกระเหยออกจากอาหาร และจะเติมน้ำเข้าไปอีกครั้งเมื่อต้อง การที่จะกินอาหารนั้น
อาหารที่มีความชื้นเล็กน้อยจะต้องให้ความร้อนเพื่อฆ่า เชื้อจุลินทรีย์และเอ็นซายต่างๆ ผลไม้, ปลาทูน่า, ปลาแซลมอน, พุดดิ้ง และ อาหารต่างๆ เช่น ชิ้นเนื้อกับเห็ด, มะเขือเทศและมะเขือม่วงก็สามารถใช้วิธีการนี้ และจะกินก็เพียงแค่เปิดออกมาจากห่อบรรจุ
อาหารพวกแช่อิ่ม คือ การถนอม อาหารโดยการลดน้ำลงส่วนใหญ่เพื่อให้แบคทีเรียไม่สามารถเติบโตได้ ลูกพีชอบ แห้ง, ลูกแพร, ลูกเอพพริค็อท และเนื้อก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ขนมปัง, ลูก นัท, ผลไม้และอาหารพวกธัญญพืช มีการบรรจุในถุงพร้อมที่จะกินได้ทันที อาหารอาบรังสีเช่นพวกเนื้อ จะต้องทำการฆ่าเชื้อโดยการอาบรังสี โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิห้อง
อาหารส่วนใหญ่ นักบินอวกาศต้องปลูกพืชผักขึ้นเองในยานอวกาศ เพราะการข่นส่ง ในยานอวกาศมีขีดจำกัด สำหรับอาหารเพียง 15% ในการปฎิบัติหน้าที่ การปลูกพืช ก็ไม่ต้องใช้ดินแต่ใช้น้ำแทน และสามารถปลูกพืชได้ประมาณ 20 ชนิด เช่น พีนัท, เห็ด, แครอท และหัวหอม ที่สามารถปลูกได้บนยานอวกาศ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0f38695003527210
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 3:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
47. เลี้ยงปลาบึกกับปลานิลแดง ในบ่อดิน
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
บทคัดย่อ
การศึกษาระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1-2 ปีในบ่อดินเพื่อการค้า ในการทดลองที่ 1ศึกษาชนิดของอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่เหมาะสม
ในการเลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลานิลแดง
โดยเลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลานิลแดงด้วยอาหารปลาดุกสำเร็จรูปและอาหารปลากินพืชสำเร็จรูป ปล่อยปลาบึกน้ำหนักเริ่มต้น
เฉลี่ย 58.50 กรัม ด้วยความหนาแน่น 1 ตัว/ 3 ตร.ม. และปล่อยปลานิลแดงน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 54.90 กรัม ด้วยความ
หนาแน่น 1 ตัว/ตร.ม. ให้อาหารอัตรา 3% ของน้ำหนักตัว/วัน วันละ 2 ครั้ง
ทดลองเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าทั้งปลาบึกและปลานิลแดงที่เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกสำเร็จรูปมีน้ำหนักสิ้นสุด ความยาว
สิ้นสุด น้ำหนักที่เพิ่ม ความยาวที่เพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราการแลกเนื้อดีกว่าปลาบึกและปลานิลแดงที่
เลี้ยงด้วยอาหารปลากินพืชสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
อัตราการรอดตายของปลาบึกและปลานิลแดงที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดต่างกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)
สำหรับเนื้อปลาบึกและเนื้อปลานิลแดงที่เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกสำเร็จรูปมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารปลา
กินพืชสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
ปริมาณความชื้น เถ้า ไขมัน เยื่อใยและคาร์โบไฮเดรตของเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปต่างชนิดกัน พบว่าไม่มีความ
แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)
ดังนั้น การเลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลานิลแดงควรเลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกสำเร็จรูป เพราะมีระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ของปลาทั้งสอง
http://nrctri.nrct.go.th/research2.php?id=1237
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/09/2011 6:58 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 01/07/2011 3:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
48. 'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
ในรอบปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะผ่านไปพบว่าโดยภาพรวมของเกษตรกรชาวสวนผลไม้จะขายผลผลิตราคาค่อน ข้างดี ไม่ว่าจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจอย่างเช่น ทุเรียน, มะม่วง, ส้มเขียวหวาน ฯลฯ โดยเฉพาะส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งราคาสูงขึ้นเท่าตัว เนื่องจากพื้นที่ปลูกส้มลดน้อยลงไปมาก ช่วงเดือนธันวาคม 2553 ราคาส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งมีราคาถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท และมีการคาดการณ์ว่าราคาส้มสายน้ำผึ้งหรือส้มโชกุนจะมีราคาสูงอย่างน้อยอีก 2-3 ปี นอกจากไม้ผลเศรษฐกิจแล้วยังมีกลุ่มไม้ผลแปลกและหายากอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ ปลูก เนื่องจากมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อยและยังมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่ผู้ปลูกจะต้องพยายามหาตลาดรองรับไม่ว่าจะเป็นตลาดท้องถิ่นหรือตลาดเมืองใหญ่ ไม้ผลแปลกและหายากที่น่าสนใจปลูกในปี พ.ศ. 2554 มีอยู่หลายชนิด
มะขามป้อมยักษ์อินเดีย
มะละกอแขกดำ เรด แคลิเบียน
มะขามป้อมยักษ์อินเดีย
จากผลงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกัน ว่ามะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัดสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามิน ซี. สูงที่สุดชนิดหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น วิตามินซีที่พบอยู่ในผลมะขามป้อมมีมากที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับพืชทุก ชนิด ปกติในบ้านเราจะพบเห็นผลมะขามป้อมที่มีขนาดของผลเล็กแต่ถ้าผลที่ใหญ่ที่สุด จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ได้มะขามป้อมจากประเทศอินเดีย มาปลูกและให้ผลผลิตแล้วพบว่ามีขนาดผลใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 นิ้วเศษ
มะม่วงลูกผสมพันธุ์ ยู่เหวิน
มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์จินหวงกับมะม่วงพันธุ์ อ้าย เหวิน มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้วและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งผลดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติ หวานหอม, ไม่เละ, ไม่มีเสี้ยนและไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงเข้มดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็นจัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย มะม่วงพันธุ์ยู่เหวิน เป็นมะม่วงที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผล ผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่าออกดอกและติดผลดีทุกปี
มะละกอแขกดำ เรด แคลิเบียน
เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ผลมะละกอมา จากอเมริกากลางและนำเมล็ดมาปลูกและคัดเลือกพันธุ์แบบผสมเปิดนานกว่า 7 ปี ได้ผลผลิตที่มีขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม (ผลใหญ่กว่าเรดมาลาดอล์ 1-2 เท่า) เนื้อหนามากมีสีแดงส้มและรสชาติหวาน จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่ามีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์ แขกดำศรีสะเกษ เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลดิบ และผลสุก โดยเฉพาะผลดิบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อทำส้มตำ ส่วนผลสุกใช้บริโภคสด โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดี ในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะ ต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพ น้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมาก ๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้
ฝรั่งพันธุ์ ฮ่องเต้
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ทางไต้หวันได้มีการนำฝรั่งจากประเทศไทยซึ่งมีขนาดผลใหญ่ เนื้อแน่นและกรอบไปปลูกได้ผลผลิตเป็นที่ชื่นชอบของคนไต้หวันในขณะนั้น เวลาผ่านไปไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งเรื่อยมาโดยเน้นความกรอบ อร่อยของเนื้อ, มีเมล็ดน้อยและนิ่ม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีเกษตรกรไทยนำพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันมา ปลูกจนประสบผลสำเร็จในบ้านเราและที่รู้จักกันดีคือ พันธุ์เจินจู ซึ่งมีเมล็ดนิ่มและรสชาติอร่อย เริ่มมีเกษตรกรไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในขณะนี้ นอกจาก ฝรั่งพันธุ์เจินจู ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ปัจจุบันได้มีฝรั่งไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งมีชื่อพันธุ์ว่า ฮ่องเต้ ขณะนี้เริ่มเห็นผลผลิตแล้วซึ่งได้พบความแตกต่างจากฝรั่งไต้หวันสายพันธุ์ อื่น ๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ตรงที่รูปทรงผลจะเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยม เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 500 กรัม เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ, เมล็ดน้อยมากและนิ่ม ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่ายให้ผลผลิตดี ที่ไต้หวันไม่ว่าจะเป็นสวนเล็กหรือสวนใหญ่จะมีความประณีตในการห่อผลฝรั่งมาก เริ่มแรกจากการปลิดผลทิ้งบ้างให้เหลือกิ่งละไม่กี่ผลเมื่อผลมีขนาดใหญ่ใกล้ เคียงกับส้มเขียวหวานจะใช้ตาข่ายโฟมห่อที่ผลก่อนเป็นลำดับแรกและห่อตามด้วยถุงพลาสติกบางใสและเหนียว
เนื่องในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2554 ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ดลบันดาลให้ท่านมีความสุข ประสบแต่สิ่งที่ดีงามและมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 30 ธันวาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=112730
http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=493
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 8:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
49. ญี่ปุ่นให้ไทยเลี้ยงสาหร่ายน้ำมัน หาเงื่อนไขเพิ่มผลผลิต
สาหร่ายเซลล์เดียว "ซูโดคอรอซิสติส" สิทธิบัตรของเดนโซ่ (ภาพบน) ภาพสาหร่ายเซลล์เดียวของเด็นโซ่ที่แสดงตำแหน่งเก็บน้ำมันในเซลล์ด้วยสีเหลือง (ภาพกลาง) แผนภาพแสดงการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเซลล์เดียวที่ให้ผลิต ภัณฑ์เป็นแป้ง
น้ำมันและออกซิเจน (ภาพล่าง)
เด็นโซ่ บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่น ให้ไทยทดลองเลี้ยงสาหร่ายผลิตน้ำมัน หาสภาพที่เหมาะสมเพิ่มผลผลิต เปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงจริงในญี่ปุ่น เผยวิจัยตั้งรับปัญหาสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาร่วม 5 ปี ค้นพบสายพันธุ์สาหร่ายที่ให้น้ำมันสูงในบ่อน้ำพุร้อน
นายคัทซุโนริ โอคุระ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการวิจัย บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เด็นโซ่ได้วิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันชีวภาพจากสาหร่ายเซลล์เดียวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยสาหร่ายเซลล์เดียวของญี่ปุ่นมาร่วมในโครงการ ทั้งนี้ มีความมุ่งหวังที่จะให้โครงการดังกล่าวเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตอบสนองปัญหาต่างๆ ทั้งมลภาวะสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนพลังงานได้
ปีที่ผ่านมาเราได้สร้างบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายภายนอกอาคารบริษัทเด็นโซ่ ซึ่งแตกต่างจากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองมาก ครั้งนั้นเราได้ใช้ประโยชน์จากไอเสีย น้ำเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมาจากโรงงานจริงๆ งานวิจัยสาหร่ายของเราเป็นผลจากการที่เราต้องการตอบโต้วิกฤตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเมื่อเดือน มี.ค.ญี่ปุ่นได้ประสบกับภัยแผ่นดินไหวที่รุนแรงและยังเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดฟูกูชิมะ จึงมีการเรียกร้องให้หาแหล่งกำเนิดพลังงานใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์ ดังนั้น สาหร่ายที่เรานำมาผลิตน้ำมันจึงถือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านั้น นายโอคุระกล่าว
สาหร่ายที่บริษัทเด็นโซ่ใช้ผลิตน้ำมันเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวที่ชื่อ ซูโดคอริซิสติส เอลลิปโซอิเด (Pseudochoricystis ellipsoidae) ซึ่งนักวิจัยของญี่ปุ่นค้นพบที่บ่อน้ำพุร้อน โดยสาหร่ายชนิดนี้ให้ผลผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพสำหรับใช้กับเครื่อง
ดีเซล และยังให้ผลผลิตที่มากกว่าสาหร่ายสายพันธุ์อื่นที่ทางบริษัทกำลังศึกษา 30-40%
ทั้งนี้ สาหร่ายชนิดนี้จะสังเคราะห์แสงและดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์แล้วให้ผลผลิตออกมาเป็นแป้งและน้ำมัน ซึ่งนักวิจัยสามารถแยกน้ำมันออกมาได้ด้วยความร้อน นอกจากนี้ ในพื้นที่เพาะเลี้ยงเท่ากันสาหร่ายดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้
มากกว่าป่าฝนถึง 10 เท่า
อย่างไรก็ดี ทางเด็นโซ่ประสบปัญหาไม่สามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากญี่ปุ่นมีสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย บริษัทจึงได้สำรวจประเทศที่มีภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย และจากการเดินทางไปเสนอ
งานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายผลิตน้ำมันของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่ญี่ปุ่น ทางเด็นโซ่จึงตัดสินใจร่วมมือกับ วว.เพื่อทดลองเพาะเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์ดังกล่าวและหาเงื่อนไขที่เหมาะสมใน
การเพิ่มผลผลิตและเปรียบเทียบผลที่ได้กับการทดลองเพาะเลี้ยงที่ญี่ปุ่น
เด็นโซ่และ วว.ได้ลงนามความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 54 ณ อาคารวิจัยและพัฒนา 1 วว.เทคโนธานี ปทุมธานี ซึ่ง นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว.กล่าวต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์
ASTV-ผู้จัดการออนไลน์และสื่อมวลชนว่า จากความร่วมมือดังกล่าว วว.จะได้รับสาหร่ายซูโดคอริซิสติสซึ่งเป็นสายพันธุ์สิทธิบัตรของเด็นโซ่มาทดลองเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยง และเมื่อได้
เงื่อนไขในการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมแล้วจะได้เป็นสิทธิ์ร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ทางด้าน ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ นักวิจัยและหัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก กล่าวว่าไทยมีสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพใกล้เคียงกันและมากกว่า แต่ทางญี่ปุ่นได้เลือกสาหร่ายพันธุ์นี้ซึ่งเป็นพันธุ์ที่คิดว่าดีที่สุดมาทดลองร่วมกัน
ทั้งนี้ ทาง วว.มีประสบการณ์วิจัยสาหร่ายแบบครบวงจรมากกว่า 25 ปี ตั้งแต่สำรวจ เก็บรวบรวม จัดตั้งคลังสาหร่าย และได้ดำเนินการด้านพลังงานจากสาหร่ายมาประมาณ 6 ปีแล้ว ซึ่งความร่วมมือล่าสุดนี้ดำเนินภายใต้กรอบอนุสัญญาว่าด้วย
ความหลากหลายทางชีวภาพที่ครอบคลุมการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งความปลอดภัยทางชีวภาพ
http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000079095
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 8:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
50. เอกชนทาบนักวิจัย สกว. ผลิตหัวเชื้อรามายคอร์ไรซ่าเพิ่มความแข็งแรงให้พืช
สกว. - ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพราะกลัวอันตรายสารตกค้างจากสารเคมีและยาปราบศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการแพทย์ การเกษตรและสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลตกค้างในดิน แหล่งน้ำและ ผลิตผล ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการซื้อผลผลิตที่มีราคาแพง
การจัดการเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเจริญเติบโตที่ดีของพืชอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการวิธีบำรุงดินที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี และสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์
ดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน แต่การเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืชโดยใช้จุลินทร์กลุ่มไรโซเบียมและหัวเชื้อจากรามายคอร์ไรซา รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์สร้างสารเร่งการเจริญของพืช ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการทำความเข้าใจโดยเฉพาะกลไกของความสัมพันธ์ของพืชและจุลินทรีย์ซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติแต่ถูกทำลายด้วยวิธีการทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้การตอบสนองของพืชต่อมายคอร์ไรซาก็มีความแตกต่างกันทั้งชนิดของ
พืชเองและชนิดของมายคอร์ไรซ่า
ศ.ดร.สายสมร ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีการนำเข้ามายคอร์ไรซ่ามาจำหน่ายหลายบริษัท แต่ก็มีราคาแพงมาก เช่น เอนโดมายคอร์ไรซ่าที่ใช้กับกล้าส้ม กล้าสน และพืชผัก ราคากิโลกรัมละ 1,200 บาท
จากการสำรวจพบว่ามีความต้องการใช้มายคอร์ไรซ่ากับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องราคาและไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์มายคอร์ไรซาที่แน่นอนได้ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการ นำไปใช้ในทางปฏิบัติต่อไป
ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่ ศ.ดร.ลำยองและคณะ ในโครงการ การพัฒนามายคอร์ไรซาเพื่อเกษตรอินทรีย์ โดยคณะวิจัยได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อราอาร์คูบัสคูลาร์มายคอร์
ไรซากับสบู่ดำ ในพื้นที่ 6 จังหวัดของไทย รวมทั้งศึกษาเชื้อดังกล่าวกับกาแฟอราบิก้าในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบว่าพืชมีการเจริญเติบโตดี นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณสปอร์ในกระถางโดยใช้ดินเป็นหัวเชื้อ มีข้าวโพด ข้าวฟ่าง และดาวเรือง
เป็นพืชอาศัย พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ได้ดี
คณะวิจัยยังได้ตรวจเปอร์เซ็นต์การเข้ารากพืชของมายคอร์ไรซา 5 สกุล ในถั่วพุ่ม ข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง และต้นปะดะ พบว่ามีการติดเชื้อในรากสูงยกเว้นข้าวไร่ อีกทั้งได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อดังกล่าวและความสัมพันธ์ที่มีต่อพืชท้องถิ่นในป่าเขตร้อนของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพและดอยปุย พบว่าพืชพื้นเมือง 24 ชนิดมีความสัมพันธ์กับเชื้อดังกล่าว และเชื้อบางชนิดสามารถอาศัยร่วมกับพืชได้หลายชนิด
ศ.ดร.สายสมร กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจเชื้อรามายคอร์ไรซา และขอให้คณะวิจัยเพิ่มปริมาณการผลิตหัวเชื้อเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรายติดต่อให้คณะวิจัยผลิตหัวเชื้อและถ่ายทอดเทคโนโลยีวิธีปลูกเชื้อเพื่อนำไปเพาะต้นกล้า โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ สัก ยางพารา กฤษณา รวมทั้งผลิตหัวเชื้อเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรต่อไป จึงนับเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง
ผู้สนใจเชื้อราอาร์บัสคูลาร์มายคอร์ไรซาในพืช ติดต่อสอบถามได้ที่ ศ.ดร.สายสมร ลำยองภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ. เชียงใหม่ 50200 โทร. 053-941947 ต่อ 144 หรือ 053-943346-8 ในวันและเวลาราชการ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000129904
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 9:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
51. ใช้คลื่นไมโครเวฟ กำจัดหนอนแมลงวันทองมะม่วง เพื่อการส่งออก
สกว. - มะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง ในการส่งออก ทำให้รายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก โดยตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน เกาหลี ไต้หวัน ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ก็ถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าจะมีแนวโน้มการส่งออกได้ดีเช่นกัน เนื่องจากราคาในท้องตลาดของประเทศเหล่านี้ค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงต้องพัฒนาการส่งออกมะม่วงให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกให้มากขึ้น ทั้งในแง่ต้นทุนและคุณภาพของมะม่วงที่ทำการส่งออก
จากการศึกษาของ ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่าปัญหา
สำคัญของการส่งออกมะม่วง คือ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อกำจัดกักกันหนอนแมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้ได้หลายชนิด
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะใช้การอบไอน้ำเพื่อกำจัดหนอนแมลงวันทองสำหรับการส่งออกมะม่วง แต่วิธีการนี้ใช้ระยะเวลานาน จากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการส่งออกในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าเมื่อมะม่วงผ่านการอบไอน้ำในระดับอุตสาหกรรมแล้ว บางส่วนจะเกิดการเสียหายเนื่องจากความร้อนที่ได้รับระหว่างการอบไอน้ำ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นชัดเจนที่ปลายทางขนส่งในต่างประเทศ ทำให้สูญเสียรายได้จากการขายผลผลิต
นอกจากนี้จากข้อมูลของศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักผลไม้เพื่อการส่งออก ระบุว่าการอบไอน้ำโดยให้จุดเย็นสุดที่ชิดเมล็ดของผลมะม่วงอาจทำให้มะม่วงเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน ทำให้คุณภาพของผลมะม่วงลดลง รวมทั้ง
ใช้ระยะเวลานานทำให้ต้นทุนสูง
ผศ.ดร.จาตุพงศ์และคณะจึงศึกษาการใช้คลื่นไมโครเวฟในการให้ความร้อนแก่มะม่วงเพื่อการส่งออก ด้วยการพัฒนาเทคนิคการอบร้อนมะม่วงด้วยไมโครเวฟ เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟสามารถกำเนิดความร้อนภายในเนื้อของอาหารได้อย่างรวดเร็ว โดยระยะแรกคณะวิจัยได้ทดสอบเพื่อดูการกระจายตัวของความร้อนในผลมะม่วง
จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการทดลองในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการอบร้อนให้สมบูรณ์โดยใช้ไมโครเวฟร่วมกับไอน้ำ และทำการลดอุณหภูมิให้ได้ระดับที่สามารถเก็บรักษาโดยไม่มีการเสียหายเชิงคุณภาพ
คณะวิจัยทดลองใช้คลื่นไมโครเวฟในมะม่วง 2 พันธุ์ คือ โชคอนันต์และน้ำดอกไม้สีทอง ขนาด 300-350 กรัม/ผล พบว่าอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดกักกันหนอนแมลงวันทองควรสูงกว่า 46 องศาเซลเซียส โดยมีช่วงเวลาการรักษา
อุณหภูมิคงที่ที่แตกต่างกันได้ถึง 20 นาที ในการพัฒนากระบวนการอบร้อนด้วยไมโครเวฟขนาด 400 วัตต์ ในเวลาไม่เกิน 1 นาที ได้อุณหภูมิภายในผลมะม่วงในระดับ 48-55 องศาเซลเซียส ร่วมกับไอน้ำ ตามด้วยการอบไอน้ำเพื่อคงอุณหภูมิมะม่วงไว้
จากนั้นจึงลดอุณหภูมิด้วยน้ำเย็น เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพดี สามารถลดระยะเวลาการอบร้อนทั้งกระบวนการเมื่อเปรียบเทียบกับการอบด้วยไอน้ำปกติได้มากกว่า 90% ในช่วงการให้ความร้อนขั้นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการตายของหนอนระยะไข่ 100% ส่วนการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ สี ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้
ปริมาณสารที่ละลายน้ำทั้งหมด พบว่าไม่มีความแตกต่างจากมะม่วงสด และมีผลให้เกิดความเสียหายในมะม่วงเนื่องจากความร้อนน้อยกว่าการอบด้วยไอน้ำแบบปกติ โดยไม่พบความเสียหายที่เปลือกแต่มีการเสียหายในเนื้อเพียงเล็กน้อยแค่ 1.1% เท่านั้น ซึ่งดีกว่าการอบด้วยไอน้ำที่มีอัตราการเสียหายทั้งที่เปลือกและเนื้อมะม่วงในปริมาณที่สูงกว่า
อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.จาตุพงศ์กล่าวว่า การใช้ไมโครเวฟยังมีจุดอ่อนอยู่เล็กน้อย ได้แก่ การเกิดความร้อนสูงเป็นบางจุดในเนื้อมะม่วงเนื่องจากการรวมศูนย์ของไมโครเวฟ หากมีการศึกษาเชิงลึกถึงลักษณะของสนามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็จะ สามารถออกแบบระบบที่ทำให้มีการกระจายตัวของคลื่นไมโครเวฟได้สม่ำเสมอ และสามารถลดข้อจำกัดที่เป็นจุดอ่อนของวิธีการนี้ลงได้ในอนาคต
ผลงานวิจัยนี้นับเป็นก้าวใหม่ที่สำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดการนำเข้าเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตรจากต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการขนาดเล็กที่ใช้องค์
ความรู้พื้นฐานทั้งทางด้านวิศวกรรม กีฏวิทยา และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออกผลไม้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการวิจัยยังใช้เป็นเทคโนโลยีต้นแบบเพื่อใช้สำหรับการส่งออกผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกับ
มะม่วงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังต้องการการขยายผลเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจะสามารถดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมส่งออกมะม่วงได้ในอนาคต
ผู้สนใจวิธีการใช้คลื่นไมโครเวฟในการให้ความร้อนแก่มะม่วงเพื่อการส่งออก สอบ ถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผศ.ดร.จาตุพงศ์ โทร. 0-53878-113
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000038731
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 9:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
52. ชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ รู้ผลเร็วทันใจ-ใครก็ทำได้
นักวิจัยกรมวิชาการเกษตร พัฒนาชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ ใช้สะดวกได้ทุกที่ทั้งในท้องตลาดและแปลงปลูก แค่ 15 นาที ก็รู้ผล แถมยังราคาถูกกว่าส่งตรวจในห้องแล็บหลายเท่าตัว
นางอุดมลักษณ์ อุ่นจิตติวรรธนะ นักวิทยาศาสตร์ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ได้พัฒนาชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทรินเบื้องต้นในผลิตผลทางการเกษตร
ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ให้ผลตรวจรวดเร็ว และค่าใช้จ่ายถูกกว่าหลายเท่าตัว
"ยาฆ่าแมลงและสารพิษที่ตกค้างอยู่ในผลิตผลทางการเกษตร เป็นปัญหาต่อการส่งออก ซึ่งหากมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ผลผลิตนั้นก็จะไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบสารพิษตกค้างในพืชผักที่จะ
ส่งออกอย่างเข้มงวด แต่เนื่องจากเมื่อช่วง 2-3 ปีที่แล้ว มีสินค้าด้านการเกษตรถูกส่งเข้ามาตรวจเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถตรวจให้ได้ทั้งหมด จึงคิดพัฒนาชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างเบื้องต้นขึ้นมาเพื่อช่วยตรวจคัดกรองผลผลิตบางส่วน"
นางอุดมลักษณ์อธิบาย
ทั้งนี้ นักวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจสอบสารพิษเบื้องต้นหลายชุดแล้ว ล่าสุดพัฒนาชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทรินเบื้องต้น ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง พร้อมกันนี้ได้ส่งผลงานเข้าร่วมในงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำ
ปี 2552 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
นางอุดมลักษณ์ อธิบายว่า ในชุดตรวจนี้ อาศัยหลักการโครมาโตกราฟี ประกอบด้วยขวดและน้ำยาสกัดตัวอย่าง, แผ่นตรวจ, ขวดและน้ำยาแยกสารที่ต้องการตรวจหา วิธีตรวจทำได้โดยใส่ตัวอย่างลงในขวดสกัด ทิ้งไว้ 5 นาที จากนั้นนำน้ำยาสกัด
มาจุดลงบนแผ่นตรวจ แล้วใส่ไว้ในขวดแยกสารที่ต้องการตรวจ จนกระทั่งน้ำยาในขวดซึมขึ้นมาบนแผ่นตรวจตามที่กำหนด จึงนำแผ่นตรวจไปตากแดด 10 นาที หากปรากฏแถบสีของสารพิษดังกล่าว แสดงว่ามีสารพิษเกินมาตรฐานที่กำหนด
หากตรวจไม่พบ ไม่ได้หมายความว่าปลอดสารพิษ เพียงแต่อาจมีในปริมาณน้อยกว่ามาตรฐาน จึงค่อยนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดในห้องแล็บอีกทีหนึ่ง เพราะต้องระบุด้วยว่ามีสารตกค้างอยู่ในปริมาณเท่าใด ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยชุดตรวจนี้ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะโดยปรกติการตรวจหาสารพิษตกค้างด้วยวิธีการในห้องแล็บจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง
แต่ชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นนี้ราคาชุดละ 3,000 บาท และสามารถตรวจได้ 24 ตัวอย่าง เฉลี่ยแล้วเหลือเพียง 125 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง อีกทั้งยังสามารถพกพาไปใช้ภาคสนามได้อย่างสะดวก และไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เกษตรกร
ก็สามารถตรวจเองได้ ส่วนชุดตรวจที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นก่อนหน้านี้ก็อาศัยหลักการเดียวกัน แต่ใช้ตรวจหาสารพิษตกค้างในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท
อย่างไรก็ดี นางอุดมลักษณ์บอกว่าชุดตรวจดังกล่าวยังผลิตใช้อยู่ภายในหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น ยังไม่ได้มีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม แต่ก็มีหลายบริษัทสนใจที่จะนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ติดต่อเข้ามาบ้างแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา.
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000116076
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 9:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
53. มน. พัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเคลือบแบคทีเรียแทนใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยให้พืชเติบโตดี
นักวิจัย ม.นเรศวรพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเคลือบแบคทีเรีย ปุ๋ยชีวภาพสูตรผสมแบคทีเรีย ช่วยเกษตรกรลดใช้ปุ๋ยเคมี
ให้ผลผลิตดีกว่า ปูทางสู่วิถีเกษตรยั่งยืนและรักษาคุณภาพดินให้ยืนนาน
พืชสามารถนำปุ๋ยเคมีไปใช้ได้เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น และการใช้ปุ๋ยเคมีบ่อยครั้งยังทำให้คุณภาพของดินต่ำลง ให้ผลผลิตน้อยลง ผศ.ดร.กัญชลี เจติยานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) จึงคิดค้นพัฒนาเมล็ดพันธุ์ชนิดเคลือบแบคทีเรียให้เกษตรกรลดใช้สารเคมี
ง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำกว่า
ผศ.ดร.กัญชลี เปิดเผยว่า เกษตรกรส่วนมากยังพึ่งปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และเมื่อใช้มากเกินจำเป็นจะทำให้ดินเสื่อมสภาพลง พืชใช้ประโยชน์จากดินได้น้อยลง
นักวิจัยเริ่มศึกษาว่าพืชชนิดใดที่ไม่ใช้สารเคมี แต่ยังเจริญงอกงามและให้ผลผลิตดีอยู่ แล้วขุดดินรอบๆ ต้นพืชนั้นมาศึกษาองค์ประกอบต่างๆ พบจุลชีพที่มีประโยชน์ต่อพืชอาศัยอยู่บริเวณรากพืช จึงได้แยกสายพันธุ์แบคทีเรียที่พบเหล่านั้น และนำไป ทดสอบกับพืชชนิดต่างๆ จนกระทั่งพบสายพันธุ์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด คือ ไรโซแบคทีเรีย
"จุลินทรีย์ที่พบนอกจากจะช่วยให้พืชงอกงามดีแล้ว บางชนิดยังช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ไม่มีประโยชน์ต่อพืช ซึ่งแยกเชื้อที่พบทั้งหมดได้ 106 สายพันธุ์ และนำไปทดสอบกับพืชในท้องถิ่น ในที่สุดก็ได้ไรโซแบคทีเรียที่ให้ผลดีที่สุด" ผศ.ดร.กัญชลี อธิบาย
ทีมวิจัยได้ทดลองผสมเชื้อไรโซแบคทีเรียกับปุ๋ยเคมีอย่างละครึ่งหนึ่ง แล้วนำไปบำรุงพืชต่างๆ เช่น แตงกวา พริกชี้ฟ้า มะเขือเทศ และข้าวโพด พบว่าพืชที่ได้รับทั้งไรโซแบคทีเรียและปุ๋ยเคมีเจริญเติบโตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับเฉพาะปุ๋ยเคมีเพียง
อย่างเดียว
จากนั้นนำไรโซแบคทีเรียเคลือบไว้บนเมล็ดพันธุ์โดยใช้พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ช่วยในการยึดเกาะ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เมื่อนำไปเพาะปลูก เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบไรโซแบคทีเรียมีอัตรางอกสูงกว่า รากยาวกว่า พุ่มใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ปกติ และเปรียบเทียบเมล็ดพันธุ์เคลือบไรโซแบคทีเรียที่ได้รับปุ๋ยเคมีเพียงครึ่งหนึ่งกับที่ได้รับปุ๋ยเคมีตามปกติให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ผศ.ดร.กัญชลี ได้จดสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์เคลือบไรโซแบคทีเรียแล้ว และกำลังเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปใช้ ซึ่งคณะวิจัยต้องอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยมุ่งไปยังเกษตรกรที่พร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นตัวอย่าง
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพัฒนาปุ๋ยชีวภาพที่มีส่วนผสมของไรโซแบคทีเรียในรูปเม็ดปุ๋ยที่มีขนาดเท่ากับปุ๋ยเคมีด้วย เมื่อทดลองเบื้องต้นกับแตงกวาและข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 พืชทั้งสองเจริญเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกันเมื่อให้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างละครึ่งหนึ่งกับเมื่อให้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว วิธีนี้จึงช่วยลดการใช้สารเคมีได้เป็นอย่างดี และนำไปสู่เกษตรยั่งยืนต่อไปได้
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000147240
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 1:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 02/07/2011 9:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
54. วว.ใช้เอทธิลีน ยืดอายุ ตัดปัญหาส่งออกทุเรียนอ่อน
เมื่อเอ่ยถึง ราชาแห่งผลไม้ ขึ้นมาครั้งใด ก็เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นลูกเด็กเล็กแดงก็คงทราบกันดีว่าคือ ทุเรียน นั่นเอง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยมกันในหมู่คนไทยเท่านั้น ทว่าความนิยมรับประทานทุเรียนในชาวต่างชาติก็มีมากเช่นเดียวกัน โดย
ทุเรียนเป็นผลไม้ส่งออกชนิดหนึ่งที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศได้เสมอๆ ทว่า เนื่องจากไม่มีวิธีการชะลอการสุกของทุเรียนที่ดี ทำให้หลายครั้งผู้ปลูกจำใจต้องตัดผลอ่อนส่งขาย ซึ่งมักมีปัญหาถูกตีกลับอยู่บ่อยครั้ง และเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อผลไม้ไทย แต่ปัญหาดังกล่าวกำลังจะหมดไป!
ดร.อนวัช สุวรรณกุล ผอ.ฝ่ายเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เผยว่า ขณะนี้ วว.ได้ประสบความสำเร็จในการยืดอายุการเก็บรักษาผลทุเรียนสด โดยใช้สารยับยั้งเอทธิลีน คือ สาร 1-
Methycyclopropene (1-MCP) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลทุเรียนสดที่มีอายุการเก็บเกี่ยวที่พอเหมาะสำหรับการส่งออก
ทั้งนี้ จากการทดลองพบว่า สาร 1-MCP ที่มีอัตราความเข้มขั้นตั้งแต่ 500-1,000 ส่วนต่อพันล้าน (ppb/พีพีบี) สามารถนำมาใช้ยืดอายุการเก็บรักษาผลทุเรียน ทั้งพันธุ์ชะนีและหมอนทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ 2-3 เท่าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส รวมทั้งพบอีกว่า การใช้สาร 1-MCP ที่อัตราความเข้มข้น 1,000-2,000 พีพีบี ที่ระยะเวลา 6 ชั่วโมง ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส จะสามารถยืดอายุการสุกของทุเรียนออกไปได้อีก 15-40 % ขึ้นกับเวลาที่ใช้ในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดี ผลทุเรียนที่ผ่านการเก็บรักษาที่อุณหภูมิดังกล่าวมากกว่า 4 สัปดาห์ เมื่อผลสุกจะแสดงลักษณะอาการเน่าเสียอันเนื่องมาจากเชื้อราในอัตราค่อนข้างสูง ดังนั้น ทุเรียนที่ต้องการเก็บรักษานานกว่า 3 สัปดาห์จึงจำเป็นที่จะต้องการกรรม
วิธีในการควบคุมโรคเน่าควบคู่กันไปด้วย
นอกจากจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ดังกล่าวไปใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนสดเพื่อการส่งออกด้วยตู้เรือปรับอากาศแล้ว ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ คือ ไม่จำเป็นที่ต้องเก็บทุเรียนที่อายุน้อยเกินไปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาระหว่างการขนส่ง ทำให้ทุเรียนเมื่อสุกที่ตลาดปลายทางมีคุณภาพของเนื้อผลดีขึ้น รวมทั้งยังนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการขนส่งผลทุเรียนต่อไป โดยเฉพาะในสถานที่ที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ภายหลังจากการขนส่งโดยตู้เรือปรับอากาศ เช่น ในกรณีการขนส่งทุเรียนต่อไปยังจังหวัดที่ห่างไกลในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ดร.อนวัช กล่าว
อนึ่ง สาร 1-MCP เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมกระบวนการสุกและเน่าเสียของผัก ผลไม้ และไม้ตัดดอก มีสถานะเป็นก๊าซที่ปราศจากสี กลิ่น และรส และมีความเป็นพิษต่ำมาก โดยได้รับการยกเว้นจากองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US EPA) ในเรื่องของข้อกำหนดในการระบุปริมาณผลตกค้างที่ยอมรับได้ ซึ่งในผลิตผลจำพวกผักและผลไม้สด คาดกันว่า สาร 1- MCP จะเป็นสารเคมีที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้เขตหนาว เช่น แอปเปิ้ลและแพร์ ของสหรัฐอเมริกา
สำหรับผู้สนใจวิทยาการดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว วว. โทร. 0-2577-9000 ในวันและเวลาราชการ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000073571
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 2:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 03/07/2011 6:48 am ชื่อกระทู้: |
|
|
55. วิธีกำจัดมดขึ้นข้าวสาร
โดย sunanta | วันที่ 1 กรกฎาคม 2554
บ้านไหนซื้อข้าวสารมาครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้เป็นเวลานาน อาจจะเคยเจอปัญหามดขึ้น วันนี้มีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก อยากรู้ทำยังไงต้องอ่าน
ให้นำใบมะกรูดไปวางไว้ในภาชนะที่ใส่ข้าวสาร ประมาณ 4-5 ใบ แล้วฉีกเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก กลิ่นจากใบมะกรูดจะช่วยขับไล่แมลงต่าง ๆ ที่มาขึ้นข้าวสารได้ ควรหมั่นตรวจสอบไม่ให้ใบมะกรูดแห้ง เพราะจะทำให้กลิ่นจางไป ให้หาใบใหม่มาเปลี่ยน
แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นมะกรูด ให้ใช้พริกสดประมาณ 8 เม็ด ผ่าเอาเมล็ดออกเหลือไว้แต่เปลือก นำเปลือกพริกใส่ไว้ในถังข้าวสาร สามารถขับไล่แมลงได้ด้วย หรือจะใช้พริกแห้งก็สามารถแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน
อีกวิธี อาจเสี่ยงต่อการกินข้าวรสเค็ม แต่ก็ได้ผล คือ ใช้เกลือป่นโรยลงไปในถังข้าวสาร ในอัตราส่วน เกลือ 1 ช้อนชา ต่อข้าว 1 กก. สามารถไล่มดและแมลงได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ใส่เยอะจนเกินไป
แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ หาภาชนะที่ปิดได้สนิท ไว้ใส่ข้าวสาร หรือถ้ามีปริมาณที่มากเกินกว่าจะหาที่ใส่ได้ ให้ลองวิธีที่เบสิกที่สุด คือหาน้ำใส่ภาชนะไว้รองขาโต๊ะ ที่ใช้วางถังข้าวสาร วางให้ห่างจากผนัง และคอยตรวจตราไม่ให้น้ำแห้ง เพียงเท่านี้ก็ตัดทางเดินของมดแล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/23165
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2024 2:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|