-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 14

ลำดับเรื่อง....

356. ข้าวเก่า – ข้าวใหม่ สังเกตุอย่างไร ?
357. ความลับของอาหารที่ทำให้สาวญี่ปุ่นอ่อนกว่าวัย
358. พระราชทานชื่อ คิงภูมิพล ดอกทิวลิปพันธุ์ใหม่
359. จับงูเห่าขาย น้ำท่วมนา
360. น้ำท่วม จับหนูนาขาย

361. จับปลาขาย กล้วยตานี
362. ปลารากกล้วย
363. ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าพันธุ์เนเปียร์
364. "กิตติรัตน์" ลั่นจำนำข้าวตันละ 15,000-20,000 เริ่ม พ.ย.แน่
365. จำนำข้าวร้อนแรง ดันเงินเฟ้อเอเชียพุ่ง

366. ไทยเดินหน้ารักษาแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก
367. FAO สุดทน ชี้นโยบายจำนำข้าวไทย ทำราคาข้าวโลกทะยานขึ้น 20%
368. ข้าวหอมมะลิไทย การส่งออกยังไปได้ดี
369. ระดมสมองปั้นข้าวไทย รักษาตำแหน่งผู้นำตลาดโลก
370. ชาวนาบ้านผมจะเป็นเศรษฐีกันแล้ว

371. สิ่งมีชีวิตที่ตรึงไนโตรเจนได้
372. ผลการตอบสนองการให้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบ
373. หลากคำถามเรื่องปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)
374. ความรู้เรื่อง ปุ๋ยทางใบ
375. วิธีการใส่ปุ๋ย

376. ฮอร์โมนไข่สูตร สวพ 5 ชัยนาท
377. ข้อคิดก่อนทำการเกษตร
378. หลักการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
379. ปุ๋ยเคมีที่ใช้กับกล้วยไม้
380. ปุ๋ยและวิธีให้เบื้องต้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------







356. ข้าวเก่า – ข้าวใหม่ สังเกตอย่างไร ?


คุณรู้ไหมว่า ข้าวที่กินอยู่ทุกวันเป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่ ทำไมข้าวชนิดเดียวกันบางครั้งหุงแล้วแข็ง บางครั้งนิ่ม กินกับอาหารนี้อร่อย กินกับอาหารนั้นไม่อร่อย ถ้าไม่สังเกตให้ดีลักษณะของข้าวเก่าและข้าวใหม่จะคล้ายคลึงกันมากแล้วจะรู้ได้อย่างไร ลองมาดูกัน


ข้าวเก่าคือข้าวที่เก็บไว้นานค้างปีหรือเก็บเกี่ยวมากกว่า 4–6 เดือน แล้วจึงค่อยนำมาขัดสี เมล็ดข้าวจะมีสีขาวขุ่น มีรอยแตกหักบ้างเล็กน้อย เมื่อนำไปชาวกับน้ำ น้ำจะขาวขุ่น มีรอยแตกหักจะขึ้นหม้อดี เมล็ดข้าวไม่เกาะติดกัน เพราะมียางข้าวน้อย และจะแข็งกว่าข้าวใหม่


ข้าวเก่าหุงรับประทานอาหารไทยอร่อยมาก เพราะอาหารไทยส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทแกง เมื่อรับประทานคู่กับข้าวเก่าที่แข็ง ข้าวจะไม่เละเคี้ยวมัน และเหมาะมาทำข้าวผัดหรือข้าวแซ่ เพราะเมล็ดข้าวร่วน


ข้าวใหม่คือข้าวที่เพิ่มเก็บเกี่ยวมาไม่นานแล้วนำมาขัดสี เมล็ดข้าวจึงมีสีขาวใส จมูกข้าวยังติดกับเมล็ดข้าวอยู่บ้าง เวลานำไปซาว น้ำซาวข้าวจะค่อนข้างใส หุงไม่ค่อยขึ้นหม้อ เมล็ดข้าวเกาะติดกันเป็นก้อนและค่อนข้างแฉะ เพราะมียางข้าวมาก แต่มีกลิ่นหอมกว่าข้าวเก่า นิยมนำมาทำเป็นข้าวต้มหรือโจ๊ก



ที่มา : นิตยสาร HEALTH & CUISINE
ขอบคุณเนื้อหาจาก…MK Restaurant
http://www.thaiopetus.com/saranaruu.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:44 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 3:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

357. ความลับของอาหารที่ทำให้สาวญี่ปุ่นอ่อนกว่าวัย


สาวญี่ปุ่นพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาหุ่นให้ดูดีผอมเพรียว และนั่นเป็นความพยายามที่ไม่สูญเปล่า ว่ากันว่าถ้าคุณทานอาหารญี่ปุ่นทุกวัน ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับร่างกายของคุณในไม่ช้า ทั้งนี้เพราะในอาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประกอบด้วยผัก และปลา ซึ่งมัไขมันต่ำมาก

องค์การอนามัยโลกระบุว่า สาวชาวญี่ปุ่นได้ชื่อว่า มีอายุยืนมากที่สุด และรักษาสุขภาพดีที่สุดในโลก หลายปีที่ผ่านมาพวกเธอไม่เคยเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่ย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงในภูมิภาคอื่นพวกเธอมีอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจต่ำ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญเป็นเพราะอาหาร


การกินและรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น
1. การนำเสนอเป็นกุญแจสำคัญ เสริร์ฟอาหารแต่พอประมาณบนจานสวยๆ ใบเล็ก จะช่วยให้คุณประทับใจกับอาหาร ผู้หญิงญี่ปุ่นยังยึดสุภาษิตที่ว่า “ฮารา ฮาซิ บันเม” ซึ่งหมายถึงทานให้อิ่มแค่ 80%

2. เน้นปลา ผัก ข้าว ถั่วเหลือง และผลไม้ คิดถึงผักเป็นอาหารจานหลักไม่ใช่แค่เครื่องเคียง

3. ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ข้าวกล้อง งดขนทป้งขาว มัฟฟิน หรือขนทปังโรลต่างๆ

4. ใช้น้ำมันเรพสีดอออยส์ (rapeseed oil) ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวปรุงอาหาร เป็นน้ำมันปรุงอาหารยอดนิยมอันดับหนึ่งของชาวญี่ปุ่น

5. เปลี่ยนจากชาดั้งเดิมเดิมมาเป็นชาเขียว จากการศึกษาพบว่า ชาเขียวมีเคทชินโพลิฟินอลส์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นในเกิดการเผาผลาญแคลอรี่ นอกจากนี้ชาเขียวอุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิเดนต์ ซึ่งช่วยซะลอความแก่…ดื่มซะ

6. เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นมักไม่หยุดนิ่ง พวกเขาออกกำลังอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ปั่นจักรยาน



ที่มา : นิตยสาร เคล็ดลับการกินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
http://www.thaiopetus.com/saranaruu.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 6:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

358. พระราชทานชื่อ คิงภูมิพล ดอกทิวลิปพันธุ์ใหม่





เกษตรกรชาวดัตช์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อดอกทิวลิปว่า King Bhumibol เผยได้รับแรงบันดาลใจ มาจากความประทับใจ ในความจงรักภักดีของคนไทยช่วงการจัดงานครองราชย์ 60 ปี

วันนี้ (20 ส.ค.) กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสำนักราชเลขาธิการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดอกทิวลิป "King Bhumibol" ตามที่นายกลาส คูไดค์ (Klaas Koedijk) เกษตกรชาวดัทช์ เจ้าของบริษัท FA.P. Koeddiik & Zn ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แก่ดอกทิวลิปที่ค้นพบสายพันธุ์ใหม่

ดอกทิวลิป "King Bhumibol" เป็นดอกทิวลิปที่มีสีเหลืองนวลทั้งดอก ความสูงของดอกและก้านรวม 45 เซนติเมตร ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จากดอกทิวลิป Prince Claus ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากดอกทิวลิปสายพันธุ์ Judith Leyster อันเป็นสายพันธุ์ที่ดีมากสายพันธุ์หนึ่งในบรรดาสายพันธุ์ดอกทิวลิปของเนเธอร์แลนด์ และได้รับพระราชทานชื่อจาก Prince Claus พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ แห่งเนเธอร์แลนด์

ทั้งนี้ นายคูไดค์ยังมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยด้วย เนื่องจากบุตรชายได้มีโอกาสเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเป็นอาสาสมัครสอนคอมพิวเตอร์ให้แก่คนไทยในชนบททางภาคเหนือ ในช่วงปี 2549-2550 และต่อมายังได้สมรสกับหญิงไทยด้วย นายคูไดค์ได้รับแรงบันดาลใจในการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อดอกทิวลิป "King Bhumibol" มาจากความประทับใจในความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ ในช่วงการจัดงานเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากไทยรัฐ
http://hilight.kapook.com/view/40558
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

359. จับงูเห่าขาย น้ำท่วมนา


ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมได้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมได้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส จับงูเห่าขาย น้ำท่วมนา หาปลา และสัตว์น้ำขายสร้างรายได้เสริมเป็นกอบเป็นกำ






หลังจากหลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม หลายพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก ที่ขณะนี้มีพื้นที่รุนแรง มีน้ำท่วมขังอยู่จำนวนมาก จำนวน 3 อำเภอคือ อ.บางระกำ อ.พรหมพิราม และ อ.เมือง พิษณุโลก มีพื้นที่ความเสียหายไม่ต่ำกว่า180,000 ไร่ แต่ก็มีประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมได้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส จับงูเห่าขาย น้ำท่วมนา หาปลา และสัตว์น้ำขายสร้างรายได้เสริมเป็นกอบเป็นกำ เนื่องไม่สามารถไปประกอบอาชีพอื่นได้ โดยเฉพาะชาวบ้านที่หมู่ 10 บ้านแม่ระหัน ต.บ้านกร่าง อ.เมืองพิษณุโลก ที่ได้ถูกน้ำท่วม ชาวบ้านได้หันไปจับงูเห่ามาขาย สร้างรายให้กับตัวเองและครอบครัว

นายสุธรรม โพธิ์งาม อายุ 34 ปี กล่าวว่า ไม่รู้จะไปทำ หรือประกอบอาชีพอะไร จึง จับงูเห่าขาย น้ำท่วมนาของตนเองในครั้งนี้จำนวนกว่า 38 ไร่ โดยเฉพาะถ้าจับงูเห่าได้เป็นๆ และยังมีชีวิตอยู่ จะทำให้ขายได้ราคากิโลกรัมละ 500 บาท แต่ถ้างูเห่าที่ตายแล้ว ขายกิโลกรัมละ 300 บาท แต่ถ้าแกงผัดเผ็ดงูเห่า จะขายแบบถุงๆละ 50 บาท เพราะเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากขณะนี้ ซึ่งแต่ละวันจะมีชาวบ้านพากันมาซื้อจนทำให้ไม่พอขาย มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท

ขณะที่เด็กๆในบ้านแม่ระหัน บอกว่าไม่รู้สึกกลัวกับการได้เห็นงูเห่า เพราะงูเห่าสร้างอาชีพให้กับพ่อแม่ช่วงน้ำท่วมวันละหลายร้อยบาท เวลาพบเห็นก็จะบอกให้พ่อกับแม่ไปจับหรือไม่ก็ช่วยพายเรือพาพ่อไปจับงูที่เกาะตามต้นไม้ด้วยทุกครั้ง


ที่มา ข่าวสด
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4754


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

360. น้ำท่วม จับหนูนาขาย


ชาวร้อยเอ็ด น้ำท่วม จับหนูนาขาย ประทังชีพ หลังถูกน้ำท่วมขังนายาวนาน






จากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ซ้ำซากในเขตตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งผลทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากอาชีพเสริมอย่างนายมนตรี แสนสุข อายุ 46 ปี และนางเทวี คำภักดี อายุ 42 ปี ภรรยา ชาวบ้านตำบลนางาม ได้ออกเดินทางไปตามถนนในหมู่บ้าน นอกหมู่บ้าน และท้องนาที่กำลังถูกน้ำท่วมขัง เพื่อออกหาหนูนา เพื่อนำไปเป็นอาหารรับประทานส่วนที่เหลือก็จะนำออกขายหลังจากที่เกิดน้ำท่วมและไม่สามารถออกไปทำนาได้

นายมนตรีบอกว่า น้ำท่วม จับหนูนาขาย ประมาณ 2-3 กิโลกรัม จะนำไปขายที่ตลาดในราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ โดยเฉพาะช่วงนี้หนูสามารถหาง่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหนูจะหนีน้ำท่วมมาอยู่ริมถนน หรือ บนที่สูงหรือแม้กระทั่งบนต้นไม้

ส่วนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำยังที่อำเภอเสลภูมิ ก็ยังมีระดับน้ำสูงอยู่ เนื่องจากพื้นที่อำเภอเสลภูมิเป็นที่ลุ่ม และเป็นจุดพบกันระหว่างแม่น้ำชีกับแม่น้ำยัง ทำให้ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 2 เดือน นอกจากนี้ยังมีหลายตำบลที่ถูกน้ำท่วมอย่างเช่น ตำบลขวาว ตำบลบึงเกลือ ตำบลวังหลวง น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนแล้ว



ที่มา ข่าวสด
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4585


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

361. จับปลาขาย กล้วยตานี


เหยื่อน้ำท่วมสุโขทัยชาวสวน จับปลาขาย กล้วยตานี จมบาดาล หมดทางเก็บใบตองขาย หันมาจับขาย ปลารากกล้วย และปลาทอง ขายโลละ 200 บาท





รายงานข่าวจากจังหวัดสุโขทัย แจ้งว่า ขณะนี้ที่บริเวณท่อระบายน้ำ ริมถนนสายศรีสำโรง-สวรรคโลก หมู่ 1 ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย มีชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ จับปลาขาย กล้วยตานี ถูกน้ำท่วมเสียหายยับกว่า 10 ล้านบาท จากอิทธิพลของพายุนกเตนในช่วงที่ผ่านมาหันมาจับ ปลาทอง และปลารากกล้วย ขายกันอย่างคึกคัก

นายเอกสิทธิ์ คงดวน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.ย่านยาว กล่าวว่า หมู่บ้านนี้ถูกน้ำท่วมขังมานานเกือบ 1 เดือนแล้ว และชาวสวนก็เดือดร้อนกันมาก เพราะไม่สามารถตัดใบตองมาขายกันได้ ทำให้ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัว อีกทั้งบ้านเรือนก็ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ จะล้างทำความสะอาด หรือขนย้ายทรัพย์สินกลับเข้าบ้านก็ไม่ได้ เพราะได้รับแจ้งเตือนว่าจะมีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก

ชาวบ้านบางราย จึงจำเป็นต้องอาศัยข้างถนน เป็นที่ประกอบอาหาร และใช้ศาลาริมทาง เป็นที่เก็บสิ่งของชั่วคราวขณะที่ชาวสวนกล้วยตานี จับปลาขาย

จับปลาทอง และปลารากกล้วย ที่ว่ายไหลมาตามท่อระบายน้ำ เพื่อนำไปเป็นอาหาร รวมทั้งขายหาเงินใช้ระหว่างนี้ โดยปลาทั้ง 2 ชนิด จะขายได้ถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ทั้งนี้ ชาวบ้านบอกว่า เป็นเวลานานร่วม 10 ปีแล้ว ที่เพิ่งจะสามารถจับปลารากกล้วย ที่มากับน้ำท่วมได้จำนวนมากเท่านี้ ซึ่งถ้าเฉลี่ยต่อคน ก็จะใช้อุปกรณ์ช้อนจับได้ 5-10 กิโลกรัม ต่อวันเลยทีเดียว


ที่มา ผู้จัดการ
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4589


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

362. ปลารากกล้วย





http://th.wikipedia.org









http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=6703








http://lanpanya.com/sutthinun/archives/3511


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:41 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 7:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

363. ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าพันธุ์เนเปียร์


พันธุ์หญ้าที่คุณสมาน ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าพันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งเป็นหญ้าอาหารสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ






“รายได้เฉลี่ยต่อเดือนตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ต่อเดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วก็อยู่ได้ เพียงพอใช้กันในครอบครัว พ่อ แม่ และลูก ซึ่งเพิ่งมาอยู่บ้านหลังจากไปทำงานที่กรุงเทพฯ” คุณสมาน นารีสา อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 3 ตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โทร. (080) 728-2560 บอกกล่าวถึงรายได้ที่มาจากการประกอบอาชีพจำหน่ายท่อนพันธุ์และหญ้าหมักให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในพื้นที่

คุณสมาน เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ และ บริษัท คอร์น โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพมาสู่การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค

โดยพันธุ์หญ้าที่คุณสมาน ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าพันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งเป็นหญ้าอาหารสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ เป็นพืชอาหารสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณสมบัติดีเด่น ทั้งด้านผลผลิต และความเหมาะสมในการใช้เป็นพืชลด

เมื่อมีการศึกษา วิจัย ขยายพันธุ์ และใช้ประโยชน์ทั้งในหน่วยงานรัฐ เอกชน ฟาร์มเกษตรกร ตลอดจนทดลองแปรรูป ปรับปรุงสภาพ และใช้เลี้ยงสัตว์ ทั้งโคเนื้อ และโคนม ในรูปของหญ้าสด และหญ้าหมัก จนได้ผลยืนยันแล้ว กรมปศุสัตว์ มีความมั่นใจว่าเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีศักยภาพสูง เหมาะสมที่จะส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าพันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ที่มีอายุหลายปี ทรงต้นเป็นกอตั้งตรง สูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกอดี มีระบบรากแข็งแรง ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตสูง สัตว์ชอบกิน มีคุณค่าทางอาหารสูง โปรตีนหยาบประมาณ 10-12% ที่อายุการตัด 60 วัน และทำหญ้าหมักได้ดี ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ เป็นหญ้าที่ไม่ติดเมล็ด จึงไม่เสี่ยงต่อการเป็นวัชพืช

แต่เดิมนั้น คุณสมาน เป็นเกษตรกรที่ยึดอาชีพการทำไร่อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นหลัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำเสียที่ปล่อยมาจากโรงงาน ของ บริษัท คอร์น โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังและสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบเกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังในช่วงนั้นจึงเรียกได้ว่า เป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร โดยรอบโรงงานเป็นอย่างมาก “ประสบปัญหามา 10 กว่าปี อ้อยและมันสำปะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้เลย” คุณสมาน กล่าว



อ่านเพิ่มเติม มติชน
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4579


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

364. "กิตติรัตน์" ลั่นจำนำข้าวตันละ 15,000-20,000 เริ่ม พ.ย.แน่


“กิตติรัตน์” ลั่นจำนำข้าวเริ่มพ.ย.ตันละ 15,000-20,000 แน่ ยันไม่ลดพึ่งพาการส่งออก แต่เพิ่มบริโภคในประเทศ คุยเงินเฟ้อไม่น่ากลัว ถ้ารัฐบาลทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เงินเฟ้อบ้างไม่เสียหาย

เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. วันที่ 17 ส.ค. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พร้อมด้วยนายภูมิ สาระผล และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ เดินทางเข้ากระทรวงพาณิชย์เป็นวันแรก โดยได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง และจะประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เพื่อมอบนโยบายในการทำงาน

โดยภายหลังการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสร็จสิ้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนประจำกระทรวงในเรื่องการรับจำนำข้าวว่า จะบรรจุในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเลยว่า รัฐบาลนี้จะรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิที่ตันละ 20,000 บาท โดยจะเริ่มดำเนินในฤดูการผลิตข้าวเปลือกนาปีปี 54/55 แต่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายการรับจำนำ เพราะเมื่อไรที่ราคาข้าวในตลาดขึ้นมาใกล้เคียงกับราคารับจำนำ หรือสูงกว่าก็อาจจะหยุดรับจำนำ นอกจากนี้ อาจกำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับซื้อข้าวจากเกษตรกรเพื่อมาส่งออกในลักษณะรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ด้วย อย่างไรก็ตาม ในการบริหารจัดการสต๊อกข้าวของรัฐบาลนั้น คงจะทยอยขาย คงไม่ปล่อยให้ปริมาณล้นสต๊อกแล้วจึงจะขาย เพราะจะฉุดให้ราคาตลาดลดลงได้

สำหรับการลดพึ่งพาการส่งออกนั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้ลดการพึ่งพาการส่งออก ยังคงต้องผลักดันการส่งออกเหมือนเดิม เพียงแต่รัฐบาลนี้จะเพิ่มการพึ่งพาการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งหากสามารถปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือนปริญญาตรี และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้ตามเป้าหมาย จะทำให้จีดีพีในประเทศในปีหน้าเพิ่มขึ้นได้ 1% ส่วนนโยบายประชานิยมจะมีส่วนทำให้เงินเฟ้อหรือไม่นั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เงินเฟ้อไม่น่ากลัว

“ทำไมต้องให้คนมีรายได้ยอมอดทนเพื่อทำให้เงินเฟ้อในประเทศอยู่ในระดับต่ำ แต่รัฐบาลนี้จะพยายามเพิ่มรายได้ประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเงินเฟ้อบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่น่าจะดีใจมากกว่า ที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้น” นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อถึงราคาสินค้าว่า ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์จะทำให้ราคาสินค้าลง แต่จะพยายามดูแลไม่ให้มีการค้ากำไรเกินควร หรือให้ประชาชนต้องซื้อของในราคาแพงเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำความเข้าใจผู้ประกอบการด้วยว่า รัฐบาลไม่ได้เอาใจประชาชนมากเกินไป จนลืมดูแลผู้ประกอบการ แต่รัฐบาลจะดูแลต้นทุน และราคาสินค้าให้เหมาะสม



นำเสนอข่าวโดย : กนกอร เพ็ญรุ่งศศิธร,
แหล่งที่มาข่าวโดย : ไทยรัฐ
http://www.siamtownus.com/2011/New-1108000111-1.aspx


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 7:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

365. จำนำข้าวร้อนแรง ดันเงินเฟ้อเอเชียพุ่ง


ท่ามกลางความผันผวนปั่นป่วนของตลาดโลกจากวิกฤตหนี้ในสหรัฐและยุโรป สถานการณ์ในเอเชียที่แม้จะไม่ได้เป็นหนี้ในระดับที่น่าวิตกกังวล ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันเท่าไรนัก

เพราะนอกจากจะต้องปวดหัวกับเศรษฐกิจร้อนแรงจนดันเงินเฟ้อภายในภูมิภาคให้พุ่งแบบฉุดไม่อยู่แล้ว ราคาอาหารในตลาดโลกที่ปรับตัวแพงขึ้น ยังมีส่วนสำคัญให้สถานการณ์เงินเฟ้อในเอเชียทะยานขึ้นกว่า 30% ทั่วทั้งภูมิภาค

เท่านั้นยังไม่พอ สถานการณ์ดูจะเลวร้ายขึ้นไปอีก เมื่อประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าหานโยบายที่จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอีกจากราคาที่แพงอยู่แล้วในปัจจุบัน จนทำให้รัฐบาลหลายประเทศในเอเชีย และอาจรวมถึงทั่วโลกต่างตกอยู่ในอาการอกสั่นขวัญแขวนอีกครั้ง


ทั้งนี้ ทันทีที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะเดินหน้ารับจำนำราคาข้าวจากเกษตรกรที่ 1.5 หมื่นบาทต่อตันในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ย.ปีนี้ ซึ่งมากกว่าราคาขายในตลาดที่อยู่ที่ 9,900 บาทต่อตัน บรรดานักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างเห็นพ้องตรงกันว่า ในฐานะประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก การปรับขึ้นราคาข้าวของไทยย่อมส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในตลาดภูมิภาคและในตลาดโลกที่แพงขึ้นจากเดิมกว่า 70% อยู่แล้ว ตามรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ)

ความวิตกกังวลดังกล่าวไม่ได้เกินเลยจากความเป็นจริงเลยแม้แต่น้อย เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกต้องประสบกับภาวะข้าวแพงด้วยฝีมือของประเทศไทย

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย เมื่อปี 2551 รัฐบาลไทยในขณะนั้นรับซื้อข้าวจำนวน 5.4 ล้านตันจากชาวนา 7 แสนคน ในราคาที่สูงกว่าตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวที่ขายอยู่ในตลาดพุ่งทำสถิติอยู่ที่ 1,038 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ราว 3.1 หมื่นบาท) เล่นเอาประชากรผู้บริโภคข้าวเกือบครึ่งโลกแทบกระอัก

ชัวฮักบิน นักเศรษฐศาสตร์จากเมอร์ริล ลินช์ ประจำสิงคโปร์ ถึงกับอดวิตกไม่ได้ว่าราคาข้าวที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อในเอเชีย ในช่วงที่เงินเฟ้อในภูมิภาคล้วนลอยตัวสูงเกินระดับที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกำหนดไว้

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาอาหารมีผลต่อเงินเฟ้อของเอเชียเป็นเพราะโดยเฉลี่ยแล้วในเอเชียอาหารมีสัดส่วนคิดเป็นกว่า 30% ของดัชนีเงินเฟ้อ ขณะที่ในยุโรปเป็นเพียง 15% และในสหรัฐน้อยกว่า 10%

สภาพความอ่อนไหวของเศรษฐกิจที่เกิดจากความผันผวนของราคาพืชผักและเนื้อสัตว์ ทำให้รัฐบาลหลายประเทศในเอเชียต่างตบเท้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกันถ้วนหน้าเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อเมื่อราคาสินค้าเกษตรโลกแพงขึ้น เพื่อปกป้องปากท้องของประชาชนในภูมิภาค ที่มากกว่า 64 ล้านคนยังคงมีฐานะยากจนอยู่

แม้ว่ารัฐบาลหลายประเทศในเอเชียจะประสบความสำเร็จจัดการเงินเฟ้อให้ชะลอความร้อนแรงลงได้ เช่น อินเดีย ที่ตัวเลขเงินเฟ้อในช่วงเดือน ก.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 9.44% มาอยู่ที่ 9.22% แต่ราคาอาหารโดยรวมในภูมิภาคก็ยังนับว่าสูงอยู่มากเมื่อเทียบกับเงินในกระเป๋าของประชาชน

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาราคาเนื้อหมูในจีนยังคงสูงอยู่ และทำสถิติเพิ่มสูงที่สุดถึง 57% ในเดือน มิ.ย. ขณะที่พริกในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 5 เท่า จนมีราคาแพงกว่าเนื้อวัว และทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องรณรงค์ให้ประชาชนหันมาปลูกพริกกินเอง ขณะที่หัวหอมซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารในอินเดียก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนจำต้องพึ่งการนำเข้าจากเพื่อนบ้านในปากีสถาน

รายงานของธนาคารโลก ระบุว่า ราคาข้าวส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น 24% จากปี 2553 ที่ผ่านมาอยู่แล้ว โดยมีราคาอยู่ที่ 567 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ราว 1.7 หมื่นบาท) ในช่วงต้นเดือน ส.ค. และราคาดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นไปอยู่ที่ 700 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ราว 2.1 หมื่นบาท) ภายในเดือน ธ.ค.ปีนี้

สถานการณ์อาหารโลกที่แพงขึ้นแบบหูฉี่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันมีเหตุปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตอาหาร ส่งผลให้แทบไม่ต้องเดาก็รู้กันได้เลยว่าการยืนยันทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ของ ยิ่งลักษณ์ จะทำให้ไทยต้องปรับราคาส่งออกข้าวตามนโยบายรับประกันราคาข้าวภายในประเทศ และอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาคอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยในขณะนี้ราคาข้าวคิดเป็นสัดส่วน 9.4% ในเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ 4.7% ในอินโดนีเซีย และ 2.9% ในไทย

นอกจากนี้ ราคาข้าวที่แพงขึ้นของไทยยังกลายเป็นความเสี่ยงสำคัญในการสั่นคลอนนโยบายการเงินของหลายประเทศในเอเชีย

เพราะราคาอาหารที่แพงขึ้นจะเพิ่มแรงกดดันต่อแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเศรษฐกิจสู้เงินเฟ้อของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ หรือมาเลเซีย ที่ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วหลายรอบ โดยธนาคารกลางหลายแห่งในเอเชียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมแล้วกว่า 44 ครั้ง ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2553 เพื่อคุมเงินเฟ้อ

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสำนักเห็นตรงกันว่า ความผันผวนของตลาดจะเป็นแรงบีบสำคัญให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียต้องคงภาวะดอกเบี้ยสูงไปอีกหลายเดือน และน่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นออกมาภายในเดือน ต.ค. หลังจากที่สังเกตท่าทีของตลาดโลกโดยรวม

ดังนั้น การประกาศเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้งขึ้นค่าจ้าง ตัดลดภาษี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินหน้าประกันราคาข้าวในระดับสูง จึงถือเป็นการสวนทางกับกระแสเงินเฟ้อของภูมิภาคเอเชียโดยรวม และอาจส่งผลให้นโยบายคุมเงินเฟ้อของแต่ละประเทศไม่ประสบผลสำเร็จ

แน่นอนว่า หากรัฐบาลไทยจะเดินหน้าลุยนโยบายประกันราคาข้าวต่อไปย่อมมีสิทธิทำได้เต็มที่ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าอาหารไม่เหมือนกับสินค้าอย่างอื่นที่วางขายอยู่ในท้องตลาด เพราะพฤติกรรมการกินของคนไม่ใช่เรื่องที่จะปรับเปลี่ยนกันได้ในทันที ยิ่งเมื่อ 55% ของคนเอเชียกินข้าวเป็นอาหารหลัก นั่นยิ่งทำให้ไทยผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ไม่อาจเมินเฉยต่อเสียงเตือนหรือเสียงทักท้วงที่เกิดขึ้นในคราวนี้ได้เลย



http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=27370&ch=222


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 8:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

366. ไทยเดินหน้ารักษาแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก





ยังหวังแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก พาณิชย์เดินหน้ารักษาความเป็นผู้นำ คาดปีนี้ส่งออกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ด้านสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยชี้ ราคาข้าวสูงต่อเนื่อง ครึ่งปีหลังมีสิทธิ์ทะลุตันละ 1 หมื่นบาท วอนรัฐบาลใหม่ หาวิธีช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะเร่งหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวปีนี้ให้มากขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกไว้ หลังจากปีก่อนไทยมีปริมาณการส่งออกข้าว 9.05 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 5,345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าปีนี้ไทยจะมีผลผลิตข้าวกว่า 20.26 ล้านตันและจะส่งออกได้ 10 ล้านตัน

นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้จัดการประชุมวิชาการข้าวนานาชาติ หรือ Thailand Rice Conventionไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเรื่องข้าวกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมประชุม วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการข้าวและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางตลาดข้าวโลก ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคต สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 อีกด้วย

ด้านนางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยกล่าวว่า ราคาข้าวของไทยขณะนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000 ถึง 9,500 บาท ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกปรับขึ้นอยู่ที่ตันละ 580 ถึง 590 ดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต รวมถึงมีข่าวว่า กลุ่มโรงสีบางแห่งเริ่มซื้อข้าวตุนเพื่อเก็งกำไรนโยบายรับจำนำที่อาจนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ทั้งนี้คาดว่า แนวโน้มราคาข้าวครึ่งปีหลัง ข้าวเปลือกมีโอกาสปรับขึ้นสูงเกินกว่าตันละ 10,000 บาท แต่หากรัฐบาลใหม่ใช้วิธีการจำนำ ราคาข้าวของไทยก็อาจจะปรับสูงขึ้นอีก ทำให้ภาคเอกชนมีความกังวลว่า หากราคาข้าวสูงขึ้น โดยไม่เป็นไปตามกลไกตลาด จะทำให้ผู้ซื้อข้าวในต่างประเทศหันไปซื้อข้าวกับประเทศอื่นและทำให้ไทยขายข้าวได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวส่วนใหญ่ ยอมรับในนโยบายประกันราคาข้าวมากกว่าการจำนำข้าว เนื่องจากทำให้กลไกตลาดทำงานได้โดยไม่ถูกบิดเบือน ซึ่งการจำนำข้าวส่งผลให้ต้นทุนข้าวของไทยสูงขึ้นและบิดเบือนกลไกตลาด จึงขอให้รัฐบาลใหม่เร่งลดต้นทุนให้กับเกษตรด้วย ทั้งนี้ ช่วงครึ่งปีแรกส่งออกแล้วเกือบ 6 ล้านตัน ทำให้คาดว่า ปีนี้จะส่งออกข้าวได้เกิน 10 ล้านตัน



http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=31505


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 9:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

367. FAO สุดทน ชี้นโยบายจำนำข้าวไทย ทำราคาข้าวโลกทะยานขึ้น 20%

โดย เฒ่าคางคก เมื่อวันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2011


ผลสำรวจชี้ราคาข้าวโลกจ่อพุ่งเกิน 20%
สำนักข่าว Bloomberg เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของโรงสีและเทรดเดอร์ 13 ราย ว่า ราคาข้าวในตลาดโลกอาจทะยานขึ้นมากกว่า 20% ภายในเดือนธันวาคม 2554 มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สอดคล้องกับความเห็นขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ว่าราคาข้าวโลกมีแนวโน้มจะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดกลับมาใช้นโยบายรับจำนำข้าวซึ่งจะกระทบต่อปริมาณส่งออก

ขณะที่ปริมาณส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มลดลงราว 6.9% และสหรัฐฯ มีผลผลิตข้าวลดลง 20% เพราะเกษตรกรหันไปปลูกข้าวโพดและข้าวสาลีที่มีราคาดีกว่าแทน

นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีแนวโน้มนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น อาทิ จีน ที่อาจนำเข้าข้าว 6 แสนตัน หลังประสบภัยแล้งและฝนตกหนักจนผลผลิตเสียหาย อินโดนีเซีย อาจนำเข้าข้าวถึง 2.2 ล้านตัน เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองข้าว และบังกลาเทศที่อาจซื้อข้าวมากถึง 1.5 ล้านตันในปี 2554 (กรุงเทพธุรกิจ, 16 ส.ค. 2554)

http://www.exim.go.th/NewsInfo/newsInfoDetail.aspx?id=13684






ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ คลิกไปอ่านคนที่มีใจเพื่อชาวนาไทย....มันส์...


XAMPLE :

น้ำมันตลาดโลก แม่งรวมหัวกันปั่นขึ้นราคาเป็นบ้าเป็นหลัง ไม่เห็นมึงออกมาโวย สาดด เอ๊ย

ราคาข้าว 15,000 มันก็เป็นราคา ที่เคยขายกันอยู่ไม่ใช่ราคาใหม่ แล้วจะออกมาโวยทำไมวะ

ราคาน้ำมันลิตรละ 30 กว่าบาท พวกกูสาหัสก็กันทั้งประเทศยังไม่โวยเลย


http://www.prachatalk.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:42 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

368. ข้าวหอมมะลิไทย การส่งออกยังไปได้ดี


ข้าวหอมมะลิ ถือเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ผลผลิตข้าวของไทยเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จักกันไปทั่วโลก จนกระทั่งมีฐานะเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศปีละมากกว่า 20,000 ล้านบาท

โดยข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตลาดโลกจากการที่เป็นข้าวคุณภาพสูง และมีลักษณะพิเศษโดดเด่นกว่าข้าวชนิดอื่นๆ คือ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ใบเตย การผลิตมีปริมาณจำกัด โดยเพาะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เมล็ดข้าว มีลักษณะยาวเรียว เมื่อนำไปปรุงให้สุกจะมีสีขาว นุ่ม และมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค จึงทำให้ข้าวหอมมะลิไทยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในตลาดโลก แม้ว่าจะเป็นข้าวที่มีราคาสูงกว่าข้าวชนิดอื่นๆ ก็ตาม

จากเอกลักษณ์ดังกล่าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้โดยไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันด้านราคากับสินค้าของประเทศคู่แข่งมากนัก และจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยสามารถขยายตัวเติบโตต่อไปได้ด้วยดีในตลาดโลก

การส่งออกตลาดสหรัฐฯ และจีน ขยายตัวการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยในปี 2549 มีปริมาณ 1,639,633 ตัน มูลค่า 30,936.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 และร้อยละ 18.11 ตามลำดับจากปี 2548

โดยมูลค่าการส่งออกมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่าด้านปริมาณ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยตามราคาในตลาดโลก โดยมีราคาส่งออก FOB ในปี 2549 เฉลี่ยอยู่ ที่ 8,387 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 จากปีที่ผ่านมา สำหรับในปี 2550 คาดว่าการส่งออกสินค้าข้าวของไทย ทั้งประเภทข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ จะยังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากการที่ทางการได้ทำสัญญาขายข้าวให้กับหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย อิหร่าน ในลักษณะรัฐต่อรัฐ (G to G) ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 1 ล้านตัน ทั้งนี้ เพื่อระบายข้าวในโกดังของทางการ อันเนื่องมาจากมาตรการรับจำนำข้าวจากเกษตรกรในฤดูการผลิตที่ผ่านมา ประกอบกับผลผลิตข้าวของหลายประเทศมีปริมาณลดลงจากการประสบกับภัยธรรมชาติ จึงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้น

สำหรับตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวดีในปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และออสเตรเลีย โดยราคาส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย คาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ราคาส่งออกในช่วง 3 เดือน แรกของปี 2550 ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 8,799 บาทต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย

โดยไทยครองส่วนแบ่งตลาดการนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 75 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด การนำเข้าของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีกลิ่นหอมซึ่งสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถเพาะปลูกได้เอง เฉพาะอย่างยิ่งข้าวพันธุ์หอมมะลิจากไทย โดยในปี 2549 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นมูลค่า 6,410 ล้าน บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.28 จากปีก่อนหน้า เนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศสหรัฐฯลดลงซึ่งมีสาเหตุมาจาก สภาวะอากาศที่หนาวเย็นและยาวนานกว่าปกติในช่วงต้นปี 2549

ทำให้การเพาะปลูกข้าวในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯต้องล่าช้าออกไป สำหรับในปี 2550 คาดว่า ผลผลิตข้าวของสหรัฐอเมริกาจะมีปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 13 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกข้าวของไทย จีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ

โดยมีเมืองเสินเจิ้นเป็นตลาดข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน แม้ว่าจีนจะสามารถเพาะปลูกข้าวได้เป็นปริมาณมากในแต่ละปี แต่การผลิตส่วนใหญ่ยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศมาโดยตลอด การนำเข้าข้าวจากไทยมักเป็นข้าวคุณภาพสูง โดยในจำนวนนี้ จะเป็นข้าวหอมมะลิประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากข้าวหอมมะลิเป็นข้าวคุณภาพสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้มีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในปี 2549 จีนได้นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยคิดเป็นมูลค่า 5,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 จากปีก่อนหน้า ออสเตรเลียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและข้าวที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก แต่ขณะเดียวกันก็มีการนำเข้าด้วยเช่นกัน

โดยในแต่ละปีไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวนำเข้าของออสเตรเลียได้ถึงร้อยละ 65-70 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวหอมมะลิ เนื่องจากการเพาะปลูกข้าวในออสเตรเลียเกือบทั้งหมดเป็นการเพาะปลูกข้าวขาว สำหรับในปี 2549 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังออสเตรเลียเป็นมูลค่า 1,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.97 จากปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของร้านอาหารไทยในออสเตรเลีย

ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ข้าวหอมมะลิจากไทยในการปรุงอาหาร ทำให้ความต้องการข้าว หอมมะลิจากไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของร้านอาหารไทยและการขยายตัวของผู้บริโภคชาวเอเชีย เช่น จีน และเวียดนาม ที่อาศัยอยู่ใน ออสเตรเลีย ส่วนในปี 2550 คาดว่าการนำเข้าข้าวจากไทยทั้งประเภทข้าวขาว และข้าวหอมมะลิจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากภาวะแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายไปเป็นจำนวนมาก จึงคาดว่าออสเตรเลียจะมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ รวมทั้งข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ

ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เวียดนาม เป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย เฉพาะอย่างยิ่งในการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ แต่สำหรับการส่งออกข้าวคุณภาพสูง ปัจจุบันเวียดนามยังไม่สามารถแข่งขันกับไทยได้

อินเดีย มีสินค้าข้าวเพื่อการส่งออกที่สำคัญ คือ ข้าวนึ่ง และข้าวบาสมาติซึ่งถือเป็นข้าวคุณภาพสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงเป็นคู่แข่งกับข้าวหอมมะลิของไทยในหลายตลาด เฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศแถบตะวัน ออกกลาง และแอฟริกา

ปัญหาการปลอมปนทำลายตลาดข้าวหอมมะลิไทย ปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของไทยในปัจจุบันมีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปยังต่างประเทศ เนื่องจากนโยบายของทางการไทยที่ได้ตั้งมาตรฐานการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไว้ในระดับสูง โดยข้าวที่ส่งออกต้องมีความบริสุทธิ์ ของข้าวหอมมะลิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 ทั้งนี้ เพื่อรักษามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมที่มีคุณภาพสูง

ขณะเดียวกันก็เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงด้วย จึงทำให้ผู้นำเข้าในประเทศต่างๆ หาประโยชน์จากชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทย โดยนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยไป ผสมกับข้าวชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกันแต่มีราคาถูกกว่า เช่น ข้าวปทุมธานี หรือข้าวขาวชัยนาท แล้วจึงนำไปบรรจุถุงขาย โดยระบุว่าเป็นข้าวหอมมะลิจากไทยและสามารถขายได้ในราคาที่ถูกลง ถือเป็นการทำลายตลาดข้าวหอมมะลิของไทย อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคทั้งในด้านคุณภาพและราคา อันจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดข้าวหอมมะลิในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ไทยจะต้องเผชิญ คือ ปัญหาการกีดกันทางการค้า ทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีจากประเทศคู่ค้าหลายราย เช่น ออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบข้าวที่ค่อนข้างเข้มงวด อาทิ การตรวจสารเคมีตกค้าง และการรมควันข้าว ซึ่งหากพบความผิดปกติก็อาจถูกสั่งให้ทำลายข้าวล็อตนั้นในทันที

โดยผู้ส่งออกจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและทำลายเอง ทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่รัสเซียได้เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าข้าวจาก 70 ยูโร เป็น 120 ยูโร และกำหนดให้ข้าวที่นำเข้าต้องมีใบรับรองความปลอดภัยด้านอาหารและมีเอกสารรับรองคุณภาพ ซึ่งในเรื่องนี้ ทางการไทยได้เร่งดำเนินการเจรจากับประเทศผู้นำเข้าดังกล่าวเพื่อขอผ่อนผันและก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยในปี 2550 นี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

จากการที่ผลผลิตข้าวหอมมะลิของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ประกอบกับประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของไทย ซึ่งได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา ยังมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกข้าวหอมมะลิ ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เฉพาะอย่างยิ่งเวียดนาม ซึ่งคาดว่าผลผลิตข้าวภายในประเทศจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ต่ำกว่าความต้องการบริโภค ทางการเวียดนามจึงชะลอการส่งออกเพื่อรักษาระดับราคาข้าวภายในประเทศไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ส่วนอินเดียซึ่งอุปทานข้าวอยู่ในภาวะตึงตัว ทำให้คาดว่าการส่งออกจะไม่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา สำหรับปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ ทางการไทยได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ รู้จักและจดจำตราสัญลักษณ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยไว้

โดยการส่งออกทุกครั้งจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดจากบริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า และมีเจ้าหน้าที่ของทางการ (จากสำนักงานมาตรฐาน สินค้า) กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้ข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ขณะเดียวกันก็มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าระดับบนที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกได้ผลดีในบางพื้นที่ ผลผลิตมีปริมาณจำกัด และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก

จึงมีการขอความร่วมมือกับร้านอาหารไทยในต่างประเทศในการใช้ข้าวหอมมะลิปรุงอาหาร รวมทั้งการระบุชื่อในเมนูอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคในต่างประเทศจดจำได้ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต



http://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=3204








แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 10:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

369. ระดมสมองปั้นข้าวไทย รักษาตำแหน่งผู้นำตลาดโลก


พาณิชย์เดินหน้ารักษาความเป็นผู้นำส่งออกข้าวอันดับ1 ของโลก คาดปีนี้ส่งออกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ด้านสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยชี้ ราคาข้าวสูงต่อเนื่อง ครึ่งปีหลังมีสิทธิ์ทะลุตันละ 1 หมื่นบาท วอนรัฐบาลใหม่ หาวิธีช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร

นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะเร่งหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวปีนี้ให้มากขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกไว้ หลังจากปีก่อนไทยมีปริมาณการส่งออกข้าว 9.05 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 5,345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าปีนี้ไทยจะมีผลผลิตข้าวกว่า 20.26 ล้านตันและจะส่งออกได้ 10 ล้านตัน

นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้จัดการประชุมวิชาการข้าวนานาชาติ หรือ Thailand Rice Conventionไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนนี้ ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเรื่องข้าวกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมประชุม วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการข้าวและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางตลาดข้าวโลก ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคต สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 อีกด้วย

ด้านนางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยกล่าวว่า ราคาข้าวของไทยขณะนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000 ถึง 9,500 บาท ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกปรับขึ้นอยู่ที่ตันละ 580 ถึง 590 ดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต รวมถึงมีข่าวว่า กลุ่มโรงสีบางแห่งเริ่มซื้อข้าวตุนเพื่อเก็งกำไรนโยบายรับจำนำที่อาจนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ทั้งนี้คาดว่า แนวโน้มราคาข้าวครึ่งปีหลัง ข้าวเปลือกมีโอกาสปรับขึ้นสูงเกินกว่าตันละ 10,000 บาท แต่หากรัฐบาลใหม่ใช้วิธีการจำนำ ราคาข้าวของไทยก็อาจจะปรับสูงขึ้นอีก ทำให้ภาคเอกชนมีความกังวลว่า หากราคาข้าวสูงขึ้น โดยไม่เป็นไปตามกลไกตลาด จะทำให้ผู้ซื้อข้าวในต่างประเทศหันไปซื้อข้าวกับประเทศอื่นและทำให้ไทยขายข้าวได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวส่วนใหญ่ ยอมรับในนโยบายประกันราคาข้าวมากกว่าการจำนำข้าว เนื่องจากทำให้กลไกตลาดทำงานได้โดยไม่ถูกบิดเบือน ซึ่งการจำนำข้าวส่งผลให้ต้นทุนข้าวของไทยสูงขึ้นและบิดเบือนกลไกตลาด จึงขอให้รัฐบาลใหม่เร่งลดต้นทุนให้กับเกษตรด้วย ทั้งนี้ ช่วงครึ่งปีแรกส่งออกแล้วเกือบ 6 ล้านตัน ทำให้คาดว่า ปีนี้จะส่งออกข้าวได้เกิน 10 ล้านตัน



ที่มา : แนวหน้า
http://www.asiagoldenrice.com/News-Detail.asp?id=256


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 10:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

370. ชาวนาบ้านผมจะเป็นเศรษฐีกันแล้ว.....


คนเมืองอุบล
เมื่อวันก่อนที่น้ำมันดีเซลและเบนซินประกาศลดราคา...
หลายคนก็ถามว่า..แล้วแกสโซฮอลล์ทำไมไม่ลด..
ยิ่งไปกว่านั้นถึงกับมีบทความออกโจมตีว่า..
เป็นการทำสิ่งที่ขัดนโยบายประหยัดพลังงาน...ที่ให้คนหันมาใช้เบนซิน..
รวมทั้งแสดงการเป็นห่วงว่า ชาวไร่อ้อย ชาวสวนมัน จะหมดรายได้..

นี่คือ..ผู้ไม่รู้จริง..ผู้ไม่ประสาทางการตลาด..ดีแต่พูด..
เพราะความเป็นจริงนั้น..ที่เราเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันนั้น..
เฉพาะดีเซลกับเบนซินที่นำเข้า..ส่วนแกสโซฮอลล์นั้นเป็นการใช้ส่วนผสมมาผสม..
แต่เมื่อน้ำมันที่เป็นตัวหลักลดราคาลงมา..ตัวรองก็ต้องลดตาม..
ยิ่งผู้บริโภคหันมาเติมเบนซินด้วยแล้ว..แกสโซฮอลล์ก็ต้องลดราคาลงมาอย่างแน่นอน..

ส่วนเรื่อง เอทานอลจากอ้อยและมันสำปะหลังนั้นก็ไม่ต้องห่วงหรอกครับ..
เพราะทุกวันนี้เราผลิตไม่พอจำหน่ายอยู่แล้ว..วันนี้ที่อุบลบ้านผม..
กำลังก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากมันสำปะหลังที่ใหญ่ที่สุดของอีสาน..
โดยผลผลิตที่ผลิตได้ทั้งหมดส่งประเทศจีนครับ..ลงทุนเป็นหมื่นล้าน..
เพราะฉะนั้นท่านผู้หวังดีที่กลัวว่า..พลังงานทดแทนจะไม่มีใครใช้..
ชาวไร่ชาวสวนจะหมดทางหากิน..ก็สบายใจได้นะครับ....

วันนี้เพียง 3-4 วันของรัฐบาลใหม่..ได้ทำสิ่งที่หายไปกว่า 2 ปีของคนไทย..
คือ"ความสุข"ที่หายไปเริ่มกลับคืนมา..
ยังครับ..ยังมีอีกเยอะที่สามารถทำได้..และทำได้ไม่ยาก..
ผมกำลังลุ้นแทนพี่น้องชาวนาบ้านผม..
เพราะก่อนข้าวหอมมะลิจะออก..หากรัฐบาลประกาศรับจำนำในราคาเกวียนละ 20000 บาท..

งานนี้มีเฮแน่..เพราะราคาข้าวก่อนฤดูเก็บเกี่ยวจะวิ่งไปที่ 22,000-24,000 ทันที..
ซึ่งจะเป็นราคาที่สูงที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย..สำหรับชาวนาผู้ผลิต..
เพราะผู้ส่งออกต้องการข้าวหอมมะลิที่ใหม่สุดไปส่งให้ลูกค้าที่ต้องการลิ้มรสข้าวใหม่..
เพราะข้าวก็เหมือนพืชทั่วๆไปที่จะมีรสชาติดีที่สุดในช่วงที่เก็บเกี่ยวใหม่ๆ..
และรสชาติจะด้อยลงหากเก็บไว้นาน..

ดังนั้นข้าวหอมมะลิ..ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่อร่อยที่สุดในโลกจึงเป็นที่ต้องการมากสุด..
ในช่วงเก็บเกี่ยวใหม่ๆ..ที่ทำให้ข้าวมีราคาสูงเป็นพิเศษ...

ครับ...ขอบคุณนโยบายดีๆ..ของพรรคเพื่อไทย..ขอบคุณนายกยิ่งลักษณ์..
และขอบคุณนายกทักษิณ ที่คิดสิ่งดีๆเช่นนี้ให้กับพี่น้องชาวนาบ้านผม..

นับจากนี้ไป...ดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้..จะกลายเป็นทุ่งมหาเศรษฐี...
จากดินแดนที่ชื่อว่า..ทุ่งหมาหลง..จะกลายเป็นทุ่งอยู่แล้วรวย...5555

ดีใจแทนชาวนาอีสาน..ผู้ทนทุกข์มานานนับกัลป์..
เพียง 1 คะแนนต่อหัวได้พลิกผันชีวิตเค้าเสียที...
และนับต่อจากนี้ไป..หลายคนก็จะผูกขาดเป็นฝ่ายค้านตลอดไป...
ผมเชื่อเช่นนี้ครับ...พี่น้อง....



http://board.banrasdr.com/archive/index.php/thread-34439.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 4:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

371. สิ่งมีชีวิตที่ตรึงไนโตรเจนได้


สิ่งมีชีวิตที่ตรึงไนโตรเจนได้มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างเป็นอิสระ ในดินจะเป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ เช่น Azotobactor, Beijerinckia, Pseudomonas, Rlebsiella และแอกติโนมัยสีตบางตัว โดยทั่วไปอัตราการตรึงไนโตรเจนจะต่ำ เว้นแต่เมื่อเข้าไปอยู่ในไรโซสเฟียร์และได้รับสารอินทรีย์จากรากพืช อัตราการตรึงไนโตรเจนจะสูงขึ้น ในน้ำจะเป็นกิจกรรมของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เช่น Anabeana, Nostoc, Aphanizomehon, Gloeotrichia, Calothrix


จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนเมื่ออยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น มีหลายกลุ่มได้แก่
แบคทีเรีย Frankia เป็นการเกิดปมระหว่าง Actinorhizea (Frankia) กับพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น พบในเขตอบอุ่น แต่ก็มีหลายชนิดพบในเขตร้อนด้วย เช่น Purshia tridenta ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในแอฟริกา หรือสนประดิพัทธิ์และสนทะเล (Casuarina) ที่ปลูกได้ในประเทศไทย

Frankia เป็นแบคทีเรียที่พบในปมของพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เป็นสกุลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแอกติโนมัยสีท แบ่งได้เป็นกลุ่มที่สร้างสปอแรงเจียภายในปม ซึ่งเจริญได้ช้า ตรึงไนโตรเจนได้น้อย คัดแยกให้บริสุทธิ์ได้ยาก กับกลุ่มที่ไม่สร้างสปอแรงเจีย ที่เจริญได้เร็วกว่า


สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ร่วมกับพืช ที่สำคัญคือ Anabeana ที่อยู่ร่วมกับแหนแดง และ Nostoc ซึ่งอยู่ร่วมกับปรง และไลเคน อย่างไรก็ตาม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีแหล่งอาศัยที่หลากหลายกว่าระบบการตรึงไนโตรเจนอื่นๆ และที่น่าสังเกตคือในขณะที่ไรโซเบียมและ Frankia อยู่ร่วมกับพืชชั้นสูง แต่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะอยู่ร่วมกับพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่า เช่น ไลเคน ลิเวอร์เวิร์ต เฟิน จิมโนเสปิร์ม เป็นต้น

ไรโซเบียมที่อยู่ในปมของพืชตระกูลถั่ว เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ


การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนหลังการตรึง เมื่อก๊าซไนโตรเจนถูกตรึงโดยสิ่งมีชีวิต จะอยู่ในรูปแอมโมเนียมอิออน ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการสร้างสารอินทรีย์ ส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรล์ และไนเตรตอิออน โดยแบคทีเรีย Nitrosomonas และ Nitrobactor ตามลำดับ กระบวนการนี้เรียกว่า ไนตริฟิเคชัน ในขณะที่ไนโตรเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์เมื่อถูกย่อยสลายจะได้แอมโมเนียมอิออนเช่นเดียวกัน

การเปลี่ยนแอมโมเนียมอิออนไปเป็นไนเตรตอิออนมีผลต่อการเคลื่อนย้ายของไนโตรเจนในดิน เพราะไนเตรตอิออนละลายน้ำได้ดีถูกดูดซับโดยออนุภาคของดินได้น้อย จึงถูกชะและพัดพาไปโดยกระแสน้ำได้ง่าย นอกจากนั้น ไนเตรตอิออนส่วนหนึ่งจะถูกใช้โดย Denitrifying bacteria ได้เป็นก๊าซไนโตรเจนซึ่งจะระเหยออกจากดินกลับสู่ชั้นบรรยากาศในที่สุด



อ้างอิง1.^ Atlas,R.M. and R. Bartha. 1998. Microbial Ecology: Fundamental and Application 4 edition. Menlo Park. Benjamin/Cummings. Science Plubishing.
2.^ Elken, G.H. 1992. Biological nitrogen fixation system in tropical ecosystem: an overview. In Biological Nitrogen Fixation and Sustainability of Tropical Agriculture. K. Mulongoy, M. Gueye and D.S.C. Spancer, eds. John Wieley and Sons.
3.^ Atlas, 1998

http://th.wikipedia.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 5:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

372. ผลการตอบสนองการให้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบ


ผลของการให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำชนิดต่าง ๆ ทางใบต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60

การศึกษาผลการตอบสนองการให้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบ ได้แก่ น้ำสกัดมูลสุกร ปุ๋ยปลาหมัก ปุ๋ยทางใบจากประเทศจีน และปุ๋ยเคมีทางใบ เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1, 2 และ 3 เดือน เปรียบเทียบกับการให้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ทางดิน เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน การฉีดพ่นน้ำทางใบแต่เพียงอย่างเดียว และการไม่ให้ปุ๋ย

ได้กระทำกับมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 10 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ทางดิน และการให้ปุ๋ยเคมีทางใบ ให้ลักษณะการเติบโต และลักษณะการผลิตของต้นพืช รวมทั้งผลผลิตหัวมันสดไม่แตกต่างกันทางสถิติ

แต่การให้ปุ๋ยทั้ง 2 แบบข้างต้น ให้ลักษณะการเติบโตและลักษณะการผลิตของต้นพืชดีกว่าการให้ปุ๋ยน้ำชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P น้อยกว่า 0.05)

แต่การใช้ปุ๋ยเคมีทางใบให้ต้นทุนค่าปุ๋ยถูกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ทางดิน ในขณะที่การให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน (40 บาท/ไร่ เปรียบเทียบกับ 600 บาท/ไร่)




http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/kucon.exe?rec_id=009605&database=kucon&search_type=link&table=mona&back_path=/agre/mona&lang=thai&format_name=TFMON
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

373. หลากคำถามเรื่องปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)



1.พืชสามารถ ดูดสารอาหารเข้าทางใบได้หรือไม่

ตอบ : อาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ จะได้มาจากการดูดซึมของระบบราก ในส่วนของใบเองจะมีหน้าที่รับแสง และสังเคราะห์แสง รับและคายน้ำ จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารต่างๆ สามารถซึมเข้าสู่ใบพืชได้เช่นกัน แม้จะไม่มากเท่ากับสารอาหารที่ได้มาจากระบบราก แต่ก็มีปริมาณที่มากพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เกษตรกรอาจคุ้นเคยกับการทำงานของ ไกลโฟเสต หรือยาฆ่าหญ้า ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งสารไกลโฟเสตนี้ พืชดูดซึมผ่านทางใบ จะเห็นว่าใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น




2.จริงหรือไม่ที่ ให้สารอาหารทางใบ ออกฤทธิ์ ได้เร็วกว่า การให้ผ่านทางระบบราก

ตอบ : จริง เพราะจริงๆ แล้วสารอาหารต่างๆ ที่พืช ดูดซึมมา จะต้องถูกลำเรียงมาที่ใบ เพื่อผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เป็นอาหาร จากนั้นอาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชอีกที ดังนั้นสารอาหารที่ให้ทางใบจะเข้าสู่กระบวนสังเคราะห์แสงทันที ที่เริ่มสัมผัสกับพืช จะเห็นว่าการให้สารอาหารทางใบจะเป็นการเพิ่มปริมาณสารอาหารบนใบพืช จากปกติที่ระบบรากของพืชสามารถหามาได้




3. ในเมื่อการให้อาหารทางใบ มีประโยชน์ เราสามารถ นำปุ๋ยเม็ดมาละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นให้กับพืชได้หรือไม่

ตอบ : ไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบ ต้องเป็นสารอาหารที่พืชสามารถนำไปสังเคราะห์แสงได้ทันที ปุ๋ยเม็ดที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นเกลือของสารประกอบ ซึ่งต้องผ่านการคัดกรองโดยระบบรากเท่านั้น พืชจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ มิหนำซ้ำ ปุ๋ยบางชนิดอาจทำอันตรายพืช เมื่อให้ทางใบ





4. ทำไม การให้ปุ๋ยทางใบ จึงมีปริมาณสารอาหารเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการให้ทางราก

ตอบ : เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบ สารอาหารต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที สารอาหารจึงมีความบริสุทธิ์สูง และการให้ทางใบ มีการสูญเสียไปกับสภาพแวดล้อมต่ำมาก เมื่อเทียบกับการให้ทางราก สารอาหารบางตัว การให้ทางใบเพีบง 1 กิโลกรัม จะให้ผลเท่ากับการให้ทางราก 20 กิโลกรัมทีเดียว




5.ทำไมสารอาหารทางใบจึงมีราคาแพง จะคุ้มค่าหรือไม่

ตอบ : เนื่องจากสารอาหารต่างๆ ที่จะให้ทางใบได้ จะต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการสลาย ให้อยู่ในรูปที่พืช สาม่รถดูดซึมทางใบ และนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้ทันที ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สารอาหารทางใบมีความบริสุทธิ์สูง จึงใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดิน หากมองผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นับว่าคุ้มค่ากว่ามาก





6. สารอาหารทางใบ ใส่ไปเพียงเล็กน้อย จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

ตอบ : จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ในการสร้างผลผลิต ยังคงมาจากระบบราก ซึ่งในการเพาะปลูกจริงปริมาณอาหารถูกจำกัดโดย ประสิทธิภาพของระบบราก ซึ่งจะดี ไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพดินและคุณภาพน้ำ รวมทั้งโรคต่างๆ ซึงการให้สารอาหารทางใบ จะให้สารอาหารกับพืชเพิ่มขึ้นจากที่ระบบรากหาได้ การให้โดยตรงที่ใบ จะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เพิ่มขึ้น จะกระตุ้นให้พืชดูดน้ำมากขึ้น ทำให้ระบบรากนำพาสารอาหารเข้าไปในลำต้นมากขึ้นด้วย และการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นอีก คล้ายปฏิกริยาลูกโซ่ จึงส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น





7. เมื่อให้สารอาหารทางใบแล้ว จำเป็นต้องให้ทางรากด้วยหรือไม่

ตอบ : จำเป็นต้องให้ทางรากด้วย เพราะจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การให้สารอาหารทางใบ เป็นการกระตุ้นให้พืชดูดสารอาหารทางรากมากขึ้น และลดข้อจำกัดของระบบรากในพืช แต่ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมาจากระบบราก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น





8. เราสามารถให้สารอาหารทางใบ กับพืชทุกชนิดหรือไม่

ตอบ : เกือบทุกชนิด แต่ประสิทธิภาพในการรับสารอาหารทางใบของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน พืชที่มีใบใหญ่ ปากใบกว้างและเปิดนานกว่า จะดูดซึมได้ดีกว่า ซึ่งในพืชบางชนิด อัตราการดูดซึมปุ๋ยทางใบ ไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่ม




9. เราควรฉีดพ่น อาหารทางใบให้กับพืชช่วงไหนดี

ตอบ : พืชจะดูดสารอาหารทางปากใบ เราจึงควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด ที่เหมาะสมจะเป็นช่วงเช้าของวัน หรือฉีดพ่นตอนเย็น เมื่ออากาศไม่ร้อนแล้ว




http://www.siamgreensil.com/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

374. ความรู้เรื่อง ปุ๋ยทางใบ



สวัสดีค่ะ คุณผู้ฟังค่ะการให้ปุ๋ยแต่ละช่วงอายุของต้นพืชหรือการให้กับดินนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบค่ะว่า ปุ๋ยแต่ละชนิดมีธาตุอาหารอะไรบ้าง มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไร ควรใช้ในปริมาณไหนและ การใช้ควรใช้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียว แต่หากเพื่อให้ผลผลิตออกมาดีมีคุณภาพ การศึกษาปุ๋ยแต่ละชนิด ก็เป็นเรื่องที่เราควรทราบ ทั้งจากผู้ขาย เอกสารกำกับของปุ๋ยแต่ละตัว จากเจ้าหน้าที่หน่วยงานทางการเกษตร และจากประสบการณ์ของแต่ละท่าน…..

ปุ๋ยทางใบ เป็นปุ๋ยเคมีประเภทหนึ่งที่เรามักจะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่างของการเลือกใช้ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช มีทั้งชนิดที่เป็นของแข็ง หรือเรียกว่าปุ๋ยเกล็ด นั่นเอง และชนิดที่เป็นของเหลว เป็นปุ๋ยที่ละลายมาในลักษณะที่เข้มข้นเมื่อต้องการใช้ปุ๋ยน้ำทั้ง 2 ชนิดนี้ ต้องตวงแล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำตามคำแนะนำในเอกสารกำกับปุ๋ย และได้ระบุปริมาณของธาตุอาหารว่ามีอะไรบ้าง มีมากน้อยเพียงไร ซึ่งนอกจากจะมีธาตุหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แล้วอาจมีธาตุรองและจุลธาตุผสมอยู่ด้วย

การที่เราจะใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อความถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นค่ะที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งในเรื่องของ ดินปลูก พืชปลูก และความเหมาะสมของราคาค่าใช้จ่าย เช่น หากจะพิจารณาในเรื่องของดิน โดยปกติแล้วดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่พืชจะได้รับเป็นลำดับแรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการบำรุงดินให้มีธาตุอาหารบริบูรณ์ เป็นสิ่งที่จะต้องดูแลดินปลูกให้มีความสมบูรณ์ มีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารให้แก่พืชอย่างเพียงพอ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมีตามความเมาะสมบ้าง ครั้นเมื่อพบว่าพืชได้ธาตุอาหารไม่เพียงพอ แสดงอาหารขาดธาตุอาหาร การฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารเสริมเข้าไปเพื่อให้พืชก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ ก็เป็นสิ่งที่เราควรจะหาปุ๋ยทางใบมาเสริมค่ะ

กรณีของการพิจารณาการให้ปุ๋ยทางใบแก่พืช มักจะนิยมใช้กับสวนผักและไม้ผลเป็นส่วนใหญ่สำหรับข้าวและพืชไร่นั้นใช้กันไม่มากเท่าไหร่ค่ะ และช่วงระยะเวลาของการใช้จะนิยมให้ปุ๋ยทางใบในช่วงฤดูแล้ง จะช่วยให้ผักไม่แกร็น และเจริญเติบโตดีขึ้น // ส่วนไม้ผล การให้ปุ๋ยทางใบมักให้แก่พืชก็ต่อเมื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตในบางช่วงอายุของพืช เช่น เพื่อให้การออกดอกและติดผลดีขึ้นก็จะทำการฉีดพ่นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงก่อนออกดอก หรือการใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง เมื่อติดผลแล้วเพื่อให้ผลโตและรสชาติของไม้ผลดีขึ้น และสิ่งที่ต้องพิจารณาในขั้นต่อไปก็คือ ราคาของปุ๋ยทางใบทีมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับพืชปลูก และต้นทุนการผลิต รวมทั้งราคาของผลิตที่ควรจะได้รับ

สำหรับจุดประสงค์หลักของการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบ ของผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร :
เราสามารถสังเกตได้ค่ะว่าพืชมีการขาดธาตุอาหารหลัก อาหารรอง หรืออาหารเสริมหรือไม่ เช่นหากเราปลูกในสภาพดินที่มีความเป็นด่างและไม่ได้ปรับสภาพดิน พืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo) วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุที่พืชขาดฉีดพ่นทางใบและพืช ก็เป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและได้ผลดี จุดประสงค์ที่ 2 คือ

2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต :
นั้นก็คือ เราจะคำนึงถึงธาตุอาหารหลักที่อยู่ในปุ๋ยว่า หากใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนสูง เมื่อนำมาใช้ในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของสารสีเขียวคลอโรฟิลล์ในใบด้วย….


ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูง ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ และหากใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง จะเสริมให้แก่ต้นพืช ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น F/I…….

และจุดประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบอีกข้อหนึ่งก็คือ เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนธาตุอาหารจากบางช่วงอายุของต้นพืช : เช่น ในช่วงของการผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดชะงักลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วยประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อให้มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคือ

1. ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือเร็วที่สุด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบอาจจะไม่เกิดผล

2. ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่ตามคำแนะนำ ไม่ควรผสมให้เข้มข้นเกินไป เพราะจะทำให้ใบพืชไหม้ได้

3. และสุดท้ายหลักสำคัญของการใช้ปุ๋ยทางใบ ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบก็เป็นได้ค่ะ

คุณผู้ฟังค่ะ ต้นทุนของการผลิต ทางการเกษตร เป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรอย่างเราๆ จะต้องพิจารณา หากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมแก่ต้นไม้ สิ่งที่คาดหวังว่าผลผลิตจะออกมาดีมีคุณภาพคุ้มค่ากับเงินที่ซื้อปุ๋ยทางใบมาเพิ่ม ก็น่าจะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยนะค๊ะ..สำหรับวันนี้ รายการสาระความรู้ทางการเกษตร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ ขอลาคุณผู้ฟังไปก่อน สวัสดีค่ะ



งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2370 ต่อ 14,212849 ต่อ 14 แฟกซ์ (074) 558803

สถานีวิทยุ มอ. FM 88 MHz
ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55 น.
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2999


http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio44-45/44-450037.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

375. วิธีการใส่ปุ๋ย


การใส่ปุ๋ย หมายถึง วิธีการให้ธาตุอาหารแก่พืชในส่วนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชที่ได้จากดิน และเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง ควรเลือกใช้วิธีการที่ถูกหลักทางเศรษฐกิจ และมีประสิทธิภาพสูงสุด


หลักการในการพิจารณาการใส่ปุ๋ย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้นจะมีปัจจัยร่วมในการใช้ปุ๋ย 4 ปัจจัย ดังนี้ คือ

1.1 การเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก
การเลือกใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆจะต้องพิจารณาความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด รูปของธาตุอาหารในปุ๋ย และปริมาณของธาตุอาหารพืช เพื่อที่จะทราบสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืช เช่น พืชผักที่มีการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น จะมีความต้องการธาตุไนโตรเจนสูง ก็ควรจะใส่ปุ๋ยที่มีสูตรปุ๋ยหรือสัดส่วนปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง และเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนของธาตุใดสูงจะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช และเพื่อเกิดประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ย

1.2 การใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
การใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้รับผลผลิตสูง โดยที่ไม่มีผลตกค้างหรือมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และจะต้องคุ้มต่อการลงทุนในการใช้ปุ๋ยนั้น ทั้งนี้จะต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุ์พืช สภาพความอุดมสมบรูณ์ของดิน วิธีการปลูก และสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้มีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย

1.3 ใช้ปุ๋ยในระยะเวลาที่เหมาะสม
ความต้องการของธาตุอาหารของพืชจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงระยะเวลาเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปพืชจะมีระยะการเจริญเติบโตอยู่ 3 ระยะ ดังนี้ คือ


1. ระยะแรกของการเจริญเติบโต ในระยะ 30-45 วัน ต้นอ่อน และใบอ่อน จะมีความต้องการธาตุอาหารไม่มากนัก

2. ระยะที่พืชเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และสร้างตาดอก ระยะนี้เป็นระยะที่พืชเจริญเติบโตรวดเร็ว และมีความต้องการธาตุอาหารพืชสูง ดังนั้น ควรมีการแบ่งใส่ปุ๋ยเป็นปุ๋ยรองพื้น และปุ๋ยแต่งหน้า

3. ระยะที่พืชมีการเจริญเติบโตในด้านผลผลิต สร้างผลและเมล็ดเป็นระยะที่พืชมีความต้องการของธาตุอาหารลดลง ซึ่งอาจจะมีการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพเมล็ดในพืชบางชนิดเท่านั้น ดังนั้น การใส่ปุ๋ยในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชจะทำให้มีการใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. ตำแหน่งในการใส่ปุ๋ยที่พืชนำธาตุอาหารพืชไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาในรูปต่างๆ และมีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีในดินแตกต่างกัน การใช้ประโยชน์ธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อพืชสามารถนำธาตุอาหารมาใช้ได้ เช่น การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตควรให้อนุภาคของปุ๋ยอยู่ใกล้รากพืชมากที่สุด ซึ่งต่างจากธาตุไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและสามารถซึมลงไปสุ่ระบบรากได้




วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน มีหลายวิธีการดังนี้ คือ

1. การใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปแก๊ส ได้แก่ การใส่แอนไฮดรัสแอมโมเนีย มีวิธีการใส่ดังนี้ คือ

1.1 ใส่ลงดินดดยตรงด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษจะต้องใส่ในระยะความลึกไม่ต่ำกว่า 10-15 ซม. ในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ หากเป็นดินเนื้อหยาบควรใส่ลึกกว่านี้เล็กน้อย

1.2 พ่นฟองแอมโมเนียลงในร่องน้ำชลประทาน เพื่อให้แอมโมเนียละลายน้ำแล้วกระจายไปกับน้ำสู่ดินอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ควรระมัดระวังการสูญหายของก๊าซแอมโมเนียด้วย



2. การใส่ปุ๋ยชนิดแข็ง มีวิธีการใส่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ

2.1 การใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมกับการปลูก (Basal application) เรียกปุ๋ยที่ใช้ในวิธีการนี้ว่า ปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุม (ถ้าปลูกพืชเป็นหลุม) การใส่ปุ๋ยที่ค่อนข้างละลายง่ายพร้อมกับการหยอดเมล็ดหรือก่อนหยอดเมล็ด ควรใส่ในระยะที่ปุ๋ยอยู่ไม่ห่างจากเมล็ดมากนัก เพื่อให้กล้าอ่อนได้ใช้ประโยชน์โดยเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน (Starter fertilizer)

2.2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า (Top dressing) คือ การใส่ปุ๋ยขณะที่มีการปลูกพืชอยู่ในพื้นที่แล้วเป็นการใส่ปุ๋ยเสริมปุ๋ยรองพื้น จากที่เคยใส่ก่อนปลูกเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยนั้นๆอย่างเพียงพอ วิธีการนี้เหมาะสำหรับปุ๋ยไนโตรเจนและควรมีการพิจารณาจำนวนครั้งที่ใส่ตามความเหมาะสม การใส่ปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้ามี 4 วิธี ที่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพืชที่ปลูกดังนี้

- โรยเป็นแถวแคบ (Banding) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว โดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างๆ แถวพืช ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากเป็นการใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดจะต้องระวังไม่ให้แนวปุ๋ยอยู่ใกล้มล็ดพืชเกินไป เพราะความเค็มของปุ๋ยจะทำลายการงอกของเมล็ด เช่น การปลูกถั่วด้วยเครื่องปลูก ควรบังคับปุ๋ยให้อยู่สองข้างแถวเมล็ด ห่างจากแถวเมล็ดข้างละ 5 ซม. และลึกกว่าระดับเมล็ด 5 ซม.

- โรยเป็นแถวกว้าง (Strip placement) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ขยายแถบปุ๋ยให้กว้างในระหว่างแถวพืช ซึ่งจะช่วยให้ดินบริเวณที่รับปุ๋ยได้มากขึ้น แต่เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหารที่สูงขึ้นกว่าการหว่านทั่วแปลง แต่ไม่เข้มข้นสูงเหมือนแนวที่ได้รับการโรยเป็นแถบแคบจึงช่วยการกระจายของปุ๋ย และลดการตรึงปุ๋ยของดินได้

- การหว่านทั่วทั้งแปลง (Broadcasting) เพื่อให้ปุ๋ยมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ เป็นการปฏิบัติก่อนการปลูก เมื่อหว่านเสร็จแล้วอาจพรวนกลบก็ได้ หรือการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าในนาข้าว

- ใส่เป็นจุด (Loalized placement) หมายถึง การใส่ปุ๋ยที่ขุดหรือรูที่เจาะไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น วิธีนี้ใช้ได้ผลดีเฉพาะไม้ยืนต้น ที่มีการกกระจายของรากพืชหลายระดับและหลายทิศทาง เช่น การใส่ปุ๋ยไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตแล้ว การใส่ปุ๋ยลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสมกับระบบรากพืช จะมีขอบเขตที่ไม่แพร่กระจายบนผิวดิน จะช่วยให้การเจริญเติบโตในระยะแรกที่ดีขึ้นและเป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของวัชพืชด้วย และเหมาะสำหรับปุ๋ยที่เคลื่อนย้ายได้น้อย เช่น ปุ๋ยฟอสเฟตที่โรยปุ๋ยเป็นแถวลึกกว่าเมล็ด 2 นิ้วให้ผลดีกว่าการโรยเป็นแถวข้างเมล็ด โดยห่างจากเมล็ดนิ้วครึ่งและลึกลงไป 2 นิ้ว




2.3 การใส่ปุ๋ยในลักษณะที่เป็นของเหลว

1. การใส่ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ เป็นการใส่ปุ๋ยในอ่างเก็บน้ำแล้วสูบระบบการทำฝนเทียมหรือการพ่นฝอย (Sprinkling system) พืชที่ได้รับปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก วิธีนี้เหมาะกับดินเนื้อหยาบ แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ยบงชนิดที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา และทำให้เกิดการตกตะกอนในถังน้ำ ตะกอนเหล่านั้นอาจจะอุดตันในระบบพ่นฝอย วิธีการใส่ปุ๋ยแบบนี้ เรียกว่า Fertigation ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย หรือในการให้ปุ๋ยร่วมกับระบบชลประทาน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยโดยการละลายปุ๋ยในน้ำชลประทานที่จะให้กับพืชในระดับใต้ผิวดิน หรือเหนือผิวดิน เช่น ในระบบน้ำหยด ซึ่งวิธีการนี้พืชจะได้รับน้ำชลประทานและปุ๋ยเคมีไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน วิธีการใช้ปุ๋ยวิธีนี้จัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดแรงงาน และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่าการให้ระบบพ่นฝอย

2. การฉีดพ่นทางใบ (Foliar sprays) เป็นการใส่แบบฉีดพ่นให้กับพืชโดยทางใบ โดยการฉีดปุ๋นที่ละลายน้ำได้ง่ายให้เป็นละอองน้ำจับที่ใบหรือส่วนของต้นพืชเหนือดินเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติมจากที่เราจะดึงดูดขึ้นมาได้จากดิน อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยทางใบหรือส่วนของต้นเหนือดิน ถึงแม้ธาตุอาหารที่ฉีดให้จะสามารถเข้าสู่พืชได้เร็ว แต่ปริมาณธาตุอาหารที่ดูดซึมเข้าสู่พืชมักจะน้อย ดังนั้นการให้ปุ๋ยโดยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช และพืชที่มีระบบรากถูกทำลาย




หลักการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบให้มีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้

1. พืชที่มีจำนวนของใบมากและมีแผ่นใบใหญ่ ก็จะมีพื้นที่ผิว (Surface area) ที่จะรับละอองปุ๋ยได้มาก และมีการดูดซึมธาตุอาหารได้สูงกว่าพืชที่มีใบเล็ก เนื่องจากใบมีช่องว่างซึ่งมีโอกาสให้ธาตุอาหารต่างๆ เคลื่อนเข้าไปสู่พืชได้ จึงมีการพัฒนาปุ๋ย ให้สามารถดูดไปใช้ได้โดยผ่านเข้าทางปากใบ ซึ่งโดยเฉลี่ยพืชมีปากใบ 100-300 ต่อตารางมิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีจำนวนปากใบมากกว่าผิวด้านบน การมี่พืชมีปากใบเป็นจำนวนมากย่อมทำให้ธาตุอาหารพืชมีโอกาสเข้าสู่ใบได้มาก แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปากใบแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ควบคุมการดูดธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช เช่น ชั้นคิวติเคิล ผนังเซลซูโลส และพลาสมาเมนเบรน ทั้งนี้สารละลายจะต้องผ่านชั้นเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะเข้าสู่เซลล์พืชได้

2. ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ ถ้าใช้เกินอัตราพอดีจะทำให้อัตราการดูดซึมได้ช้า และเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วย เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรียควรมีความเข้มข้นของไบยูเร็ต (Biuret) ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 หากสูงกว่านี้จะทำให้ใบไหม้ และถ้าใส่ลงในดินก็ไม่ควรมีไบยูเร็ตสูงกว่าร้อยละหนึ่งจึงจะปลอดภัยแก่การใช้ ไบยูเร็ตเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตในขั้นตอนที่ใช้ความร้อน ถ้าการควบคุมอุณภูมิไม่เหมาะสมในขั้นนี้ ยูเรีย 2 โมเลกุลรวมตัวกันได้ไบยูเร็ต 1 โมเลกุลและแอมโมเนีย1 โมเลกุล นอกจากนี้พืชแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อความเข้มข้นของสารละลายปุ่ยแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 8-1 แม้พืชพันธุ์เดียวกันแต่ในใบอ่อนและอวบน้ำ จะไม่อาจทนต่อสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงได้เท่ากับใบแก่หรือใบที่หนาและแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากใบอ่อนดูดยูเรียตลอดจนอนุมูลอื่นๆ เช่น P, Mg, K , Zn และ Mn ได้รวดเร็วกว่าใบแก่ แม้จะใช้ความเข้มข้นเดียวกัน ขนาดของหยดหรือละอองที่พ่นจับผิวใบก็ให้ผลแตกต่างกัน กล่าวคือ ละอองของสารละลายที่ใหญ่จะก่อให้เกิดใบไหม้ได้ง่ายกว่าละอองเล็ก


ตารางที่ 8-1 แสดงอัตราของปุ๋ยยูเรียที่พืชทนได้ (น้ำหนักของยูเรียเป็น กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร )


พืชต่างชนิดกัน ระยะเวลาการดูดซึมในพืชต่างชนิดกันได้เร็วช้า มากน้อยแตกต่างกัน


3. ปุ๋ยชนิดต่าง พืชจะใช้เวลาต่างดูดซึมได้เร็วต่างกัน อาทิ เช่น ไนโตรเจนในรูปของยูเรีย จะถูกดูดซึมเข้าไปได้เร็วกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม

4. พืชที่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ เมื่อได้รับปุ๋ย พืชก็จะดูดปุ๋ยได้ดีและเร็วกว่าพืชที่ไม่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ

5. การเคลื่อนที่ (Mobility) ของธาตุอาหารต่างๆ จะแตกต่างกันตามชนิดของธาตุอาหารและรูปของธาตุอาหารนั้นๆ



อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารเสริม
ปุ๋ยเคมีที่ใช้ธาตุอาหารเสริมจะอยู่ในรูปของเกลือและคีเลต โดยจะมีปริมาณของธาตุอาหารเสริมที่อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้ และมีอัตราการใช้เป็นปุ๋ยทางใบ

ธาตุอาหารเสริม ............... ในรูปของ ........................อัตราการใช้
โบรอน (B)........... เกลือโบเรตหรือกรดบอริก............150 กรัม/น้ำ 32 ล.
ทองแดง (Cu).........กลือซัลเฟตหรือคลอไรด์.............10 กรัม/น้ำ 40 ล.
เหล็ก (Fe)............เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์ ..................0.1-0%
โพแทช (K).............โพแทสเซียมไนเตรต..............3-4% ทุก 15-20 วัน
แมกนีเซียม (Mg).....เกลือซัลเฟตหรือไนเตรต........... 2% ของสารพ่น 2-4 ครั้ง
แมงกานีส (Mn)......เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์................7 กรัม/น้ำ 2 ล.
โมลิบดีนัม (Mo) ..เกลือโซเดียมหรือแอมโมเนียม.........10-50 กรัม/น้ำ 100 ล.
ไนโตรเจน (N)...........ปกติใช้ยูเรียผสมน้ำ..............ไม่เกิน 0.5-1.0% ถ้าใช้กับ หอม ฝ้าย มันฝรั่ง ใช้ 2 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส (P2 O5)...เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์................ไม่เกิน 0.37%
สังกะสี (Zn)...........เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์





สภาพที่เหมาะสมบางประการในการเลือกใช้การให้ปุ๋ยทางใบ มีดังนี้ คือ

1. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะเป็นการช้าเกินไปถ้าจะให้แต่ปุ๋ยทางดินเท่านั้น เช่น เมื่อระบบรากถูกทำลายหรือเพิ่งเริ่มย้ายปลูก

2. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารเสริม และมีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติของดินบางประการ เช่น ดินอาจเป็นดินด่างที่มีสมบัติตรึงเหล็กได้สูง การใช้ปุ๋ยเหล็กทางดินอาจไม่มีผลเหมือนการใช้ปุ๋ยทางใบ เป็นต้น

3. เป็นธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย

4. เมื่อจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบอาจใช้ผสมไปกับสารเคมีควบคุมศัตรูพืชพร้อมๆกันก็ได้

5. เมื่อต้องการเสริมธาตุอาหารพืชนอกเหนือจากที่พืชได้รับจากทางรากเท่านั้น

6. จะตอบสนองกับพืชที่มีพื้นที่ผิวใบทั้งหมดสูง คือ ใบใหญ่และจำนวนมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยได้มาก

7. เพื่อเพิ่มคุณภาพการติดดอกและคุณภาพของผล

8. ควรเลือกใช้ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้สารละลายคงรูปอยู่ ไม่แห้งติดใบ ซึ่งเป็นการยากต่อการดูดซึมเข้ารูใบ




การสูญเสียปุ๋ยเคมีไปจากดิน
ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนรูปของปุ๋ยเคมีเมื่อเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในดิน และเกิดการสูญเสียได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้ คือ

1. การสูญเสียธาตุอาหารโดยการชะล้าง น้ำไหลบ่าและกษัยการในดินเนื้อหยาบ ดินที่มีไฮดรัสออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ จะมีการสูญเสียธาตุอาหารเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฤดูฝน ธาตุไนโตรเจนจะสูญเสียในรูปไนเตรตมาก เมื่อฝนตกหนักและน้ำไหลบ่าบนผิวดิน จะมีการสูญเสียปุ๋ยไนเตรตที่ละลายน้ำกับบางส่วนที่ดูดซับกับผิวของคลอลอยด์ในดิน ไนเตรตเหล่านี้จะถูกชะล้างลงไปสะสมในแหล่งน้ำ ธาตุอาหารพืชที่มีการสูญเสียโดยการชะล้างรองลงมาได้แก่ โพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสสูญเสียโดยการชะล้างน้อยที่สุด

สำหรับดินที่มีการชะล้างสูงๆ จะมีวิธีการลดการสูญเสียไนโตรเจนและโพแทสเซียมโดยการชะล้างได้ โดยมีการแบ่งการใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้าเป็น 2 ครั้ง เพื่อที่จะให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ทันที และเหมาะสมต่อระยะการเจริญเติบโตของพืชและพืชสามารถดูดไปในอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยทั้งหมดก่อนปลูก หรือการใช้ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดโตขึ้น ปุ๋ยละลายช้าหรือปุ๋ยที่มีการควบคุมความเป็นประโยชน์ ก็เป็นการช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยโดยกสนชะล้างได้
การสูญเสียของไอออนประจุลบไปกับการชะล้างจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ดินได้รับ และสมบัติในกานดูดซับไอออนประจุลบของดินนั้น เช่น ดินที่มีออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ถ้ามีระดับความเป็นกรดเป็นด่าง = 6 หรือต่ำกว่า จะดูดซับไนเตรตได้เพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไอออนประจุลบด้วยกันแล้ว ซัลเฟตจะดูดซับกับดินได้เหนียวแน่นกว่าไนเตรต ดินที่เป็นกรดจะมีความสามารถดูดซับไอออนประจุลบได้มากขึ้น ขณะเดียวกันความเป็นกรดของดินจะช่วยชะลอกระบวนการทางชีวภาพ เช่น ไนตริฟิเคชัน (Nitrification) จึงมีการสูญเสียไนเตรตน้อยลง

2. การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซ การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซจากดิน เกิดขึ้นโดยสองกระบวนการ คือ

2.1 ดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification) เป็นการสูญเสียไนโตรเจนในสภาพที่ใช้ปุ๋ยในรูปไนเตรตในดินที่ขาดออกซิเจน ส่วนยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียมนั้น เมื่อถูกเปลี่ยนรูปในดินเป็นไนเตรต และดินนั้นอยู่ในสภาพที่มีน้ำขังหรือมีการขาดแคลนออกซิเจนในภายหลัง ก็จะสูญเสียโดยกระบวนการนี้เช่นกัน การพรวนดิน และระบายน้ำในดิน ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอจะลดการสูญหายของปุ๋ยในลักษณะนี้ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยในนาข้าวน้ำขังควรเลือกใช้ปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือปุ๋ยเชิงประกอบ ที่มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมหรือยูเรีย จะลดการสูญเสียจากกระบวนการนี้ได้

2.2 การระเหยของแอมโมเนียมจากปุ๋ย ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ยยูเรียในดินที่เป็นกรดจนถึงเป็นด่าง และปุ๋ยแอมโมเนียมในดินที่เป็นกลางถึงเป็นด่าง เมื่อหว่านปุ่ยทั้งสองประเภทนี้บนผิวดิน ดังนั้น ควรใส่ปุ๋ยโดยการพรวนกลบใต้ผิวดินประมาณ 5 ซม. จะลดการสูญหายไปได้มาก ลักษณะดินที่ส่งเสริมให้เกิดการสูญเสียแอมโมเนีย จากปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรียมากขึ้น ได้แก่ ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ ดินเนื้อหยาบ ดินเป็นด่าง และดินที่มีความชื้นในดินต่ำ

2.3 การตรึงฟอสฟอรัสในดิน การสูญเสียฟอสฟอรัสโดยการถูกตรึงเกี่ยวข้องกับอัตราปุ๋ยที่ใช้ ดังนั้นควรใส่ในปริมาณที่เพียงพอแก่พืช เช่น ใส่ในอัตราที่สูงในดินที่ตรึงฟอสฟอรัสมาก และใช้ในอัตราที่ต่ำลงในดินที่ตรึงปุ๋ยนี้ได้น้อย ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำ ฟอสเฟตจะถูกตรึงโดยไอออนบวกที่ละลายได้ของ Al+3 และ Fe+3 และเมื่อระดับความเป็นกรดเป็นด่าง สูงขึ้นจาก 6 จนถึง 8 จะถูกตรึงโดย Ca+2 , Mg+2 และ CaCO3




วิธีการลดการตรึงปุ๋ยฟอสเฟตในดิน มี 6 วิธี คือ

1. ใส่ครั้งเดียวเท่ากับความสามารถในการตรึงของดิน และควรพิจารณาถึงการใช้ปุ๋ยอัตราสูง ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนต่อสมดุลของธาตุอาหารอื่นเพียงใด

2. โรยปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายเป็นแถวแคบให้เพียงพอกับความต้องการพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโตและฤดูปลูก เพื่อลการสัมผัสระหว่างปุ๋ยกับดิน ซึ่งจะทำให้การตรึงเกิดน้อยลงไป อัตราปุ๋ยที่ใช้ควรน้อยกว่าแบบหว่านทั่วแปลง แต่สำหรับดินที่มีระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำเกินไป การโรยเป็นแถวแคบอาจให้ผลน้อยกว่าการโรยเป็นแถวกว้างหรือบางส่วนหว่านทั่วแปลงแต่บางส่วนโรยเป็นแถวแคบ

3. ใส่ปุ๋ยละลายช้าอย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

4. ควรใช้ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดใหญ่ คือ ปุ๋ยที่ละลายน้ำง่ายควรผลิตเป็นเม็ดใหญ่ เนื่องจากปุ๋ยเม็ดจะทำปฏิกิริยากับดินช้า แม้จะหว่านทั่วแปลงก็พบว่าประมาณร้อยละ 2 ของปริมาตรของดินเท่านั้นที่สัมผัสกับปุ๋ย และถ้าใส่เป็นแถวแคบจะลดการสัมผัสลงไปได้อีก

5. ปรับระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 6-7

6. เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อให้ไอออนลบของอินทรียวัตถุตรึงแทนฟอสเฟตและกรดอินทรีย์จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุจะทำปฏิกิริยา กับ Fe+3 Al+3 ทำให้ลดปริมาณ Fe+3 และ Al+3 ลง จึงมีผลทำให้ลดการตรึงฟอสเฟตได้




การตรึงโพแทสเซียม เกิดจากสาเหตุดังนี้

1. แร่ดินเหนียวที่ตรึงโพแทสเซียมได้มาก คือ อิลไลต์เวอร์คิวไลต์ และคลอไรด์ เนื่องจากแร่ดินเหนียวเหล่านี้มีประจุลบเกิดในแผ่นซิลิกา (Si-sheet) ส่วน มอนต์อริลโลไนต์จะไม่ตรึงโพแทสเซียม

2. การถ่ายทอดอากาศในดินมีผลต่อการดุดโพแทสเซียมของรากพืช ในดินที่มีการถ่ายเทอากาศเลว เนื่องจากดินชื้นเกินไปหรือดินแน่นทึบ รากพืชจะดูดธาตุนี้ได้น้อย และการดูดโพแทสเซียมจะลดลงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการดูดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของพืชชนิดเดียวกัน



อุปสรรคที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของราก
การเจริญและพัฒนาของรากเป็นการขยายพื้นที่ผิว สำหรับการดูดธาตุอาหาร และเป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อเยื่อรากไปหาปุ๋ย ดังนั้น ปัจจัยใดที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากย่อมทำให้พืชได้ปุ๋ยน้อยลงปัจจัยเหล่านี้ได้แก่

1. รากถูกตัดด้วยเครื่องมือ ถูกแมลงกัด ไส้เดือนฝอยทำลาย และรากพืชเป็นโรค
2. ดินแน่นทึบทำให้การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศเลว และความชื้นของดินต่ำหรือสูงเกินไป
3. อุณหภูมิของดินต่ำหรือสูงเกินไป
4. ขาดแคลนธาตุอาหารอื่นๆ บางธาตุ แล้วยังไม่ได้แก้ไข มีสารพิษในดิน



ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ดินที่เคยเป็นกลางก็จะกลายเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะเกิดจากการใช้ปุ๋ยดังต่อไปนี้

1. การใช้ปุ๋ยโพแทส ปุ่ยโพแทสเซียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมซัลเฟต จะไม่ทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนอย่างถาวร อาจเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยหลังการใส่ปุ่ยแต่จะกลับคืนสู่สภาพเดิมไม่นานนัก

2. การใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ในกรณีที่มีปุ๋ยโมโนแคลเซียมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต เมื่อปุ๋ยดังกล่าวได้รับความชื้นจากดินโมโนแคลเซียมฟอสเฟตจะถูกไฮโดรไลส์ได้กรดออร์โธฟอสฟอริกกับแคลเซียมโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต กรดข้นที่เยิ้มออกมานี้มีความเป็นกรดด่าง 1.5 ซึ่งหากเมล็ดพอยู่ใกล้กับเม็ดปุ๋ยเกินไปย่อมเป็นอันตราย อย่างไรก็ตามกรดฟอสฟอริกจะทำปฏิกิริยากับเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีสที่มีอยู่ในดินทำให้ฤทธิ์กรดหายไป ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตจึงมีสมมูลกรดและสมมูลด่างเท่ากับศูนย์ หรือไม่ทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลง
ปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรีย เมื่อใช้ในดินไร่มีผลตกค้างเป็นกรด เนื่องจากกระบวนการไนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออนเกิดขึ้นจำนวนหนึ่ง เพียงส่วนหนึ่งในจำนวนนี้เท่านั้นที่จะก่อให้เกิดกรด พืชและจุลินทรีย์ดินดูดไปใช้ในขณะที่เป็นแอมโมเนียม บางส่วนจะสูญหายไปในรูปก๊าซแอมโมเนียมไอออนบางส่วนถูกตรึงอยู่ในดิน




ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกรดเมื่อมีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม

1. ดินที่มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี หรือที่เรียกว่า Buffering capacity สูง เช่น ดินเหนียวหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูงนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมต่อเนื่องหลายๆ ปีก็ไม่ค่อยกระทบกระเทือนต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

2. ปัจจัยด้านพืชขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างด่างส่วนเกิน (Excess base) กับไนเตรตไนโตรเจนที่พืชดุดเข้าไป ด่างส่วนเกินคำนวณได้จากสูตร ด่างส่วนเกิน = (Ca+ Mg+K+Na) - (Cl+S+P) มิลลิกรัม สมมูล/100 กรัม

หากอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า พืชดูดไนเตรตไปมากกว่าเบส ดังนั้นเบสที่เหลือในดินก็ทำหน้าที่สะเทินกรดที่เกิดที่เกิดจากไนตริฟิเคชัน สำหรับเมล็ดข้าวโพดมีค่าของอัตราส่วนดังกล่าวเพียง 0.05 แสดงว่าการเก็บเกี่ยวเฉพาะฝักข้าวโพดแล้วทิ้งซังไว้ในแปลงจะช่วยชะลอการลดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อันเกิดจากใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรียอย่างต่อเนื่องได้ดี

3. การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมในอัตราพอเหมาะและแบ่งใส่ในระยะที่ถูกต้อง เพื่อให้พืชใช้ปุ๋ยนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ตกค้างในดินและเปลี่ยนเป็นไนเตรตมากนัก นอกจากนี้ การใช้สารที่ลดการเกิดกระบวนการไนตริฟิเคชัน จะมีผลทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงน้อยลง






http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.9.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 7:30 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

376. ฮอร์โมนไข่สูตร สวพ 5 ชัยนาท


กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ได้พัฒนาและคิดค้น เพื่อใช้เร่งการออกดอกของพืช ลดต้นทุนการผลิตและปัญหาสารเคมีตกค้าง อีกทั้ง แก้ปัญหาให้เกษตรกรที่ปลูกพืชแล้วไม่ออกดอก จึงนับเป็นทางเลือกใหม่แก่เกษตรกร ที่สามารถช่วยเร่งการออกดอกของพืช โดยสูตรดังกล่าว ประกอบด้วย

ไข่ไก่สดทั้งเปลือกหรือไข่เป็ด ไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่ 5 กิโลกรัม
กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
นมเปรี้ยว 1 ขวด หรือใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิต จากเปลือกสับปะรด 200 ซีซี

สำหรับขั้นตอนการทำ คือ นำไข่ไก่ทั้งฟองมาปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาว ไข่แดงออกจากเปลือกใส่ภาชนะ แล้วใช้ไม้ตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน นำเปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียด

จากนั้นตักใส่ลงไปในภาชนะ ที่มีไข่ขาวไข่แดงปนกันอยู่ เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมจากเปลือกไข่ แล้วนำกากน้ำตาลมาผสม นำผงแป้งข้าวหมากโปรยลงไป ใช้นมเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมู ซึ่งจะมีจุลินทรีย์มหัศจรรย์ผสมใส่ลงไปแล้วคลุกให้เข้ากัน

นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เช่น ถังพลาสติก โดยให้มีช่องว่างอากาศประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของภาชนะ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบโตไปด้วย ทิ้งไว้ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้ดี อย่าให้ถูกแสงแดดประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเพียงลิตรละ 25-30 บาท สำหรับการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งการออกดอกของพืชให้ใช้ในอัตราส่วน 2-3 ช้อนกาแฟ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น 7-10 วัน/ครั้ง

กรณีที่ใช้ในไม้ผลไม้ว่าจะเป็นการผลิต ในหรือนอกฤดูกาล เกษตรกรต้องบำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน แล้วค่อยเร่งการออกดอกด้วยฮอร์โมนไข่โดยเริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ติดใบอ่อนรุ่นที่ 3 ประมาณ 30-45 วัน ไม้ผลจะติดดอก 50-80 เปอร์เซ็นต์ ของทรงพุ่มต้องหยุดฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ทันที ถ้าพ่นต่อไปจะทำให้ดอกร่วง

เนื่องจากฮอร์โมนไข่สูตรนี้มีความเข้มข้นและความเค็มสูง ถ้าต้องการให้ออกดอกนอกฤดูต้องให้มีช่วงฝนทิ้งช่วงหรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน/ครั้ง แล้วฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ 7-10 /ครั้ง ไม้ผลก็จะออกดอก

จากนั้นฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อไปอีก 7-10 วัน/ครั้ง เพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์

ส่วนการใช้ในข้าว พืชไร่ พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ ควรฉีดพ่นตั้งแต่พืชตั้งตัวได้จนถึงออกดอกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จึงหยุดพ่น แต่ไม่ควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกในพืชผักกินใบ เช่น คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม เพราะพืชผักเหล่านี้จะออกดอก ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ และขายไม่ได้ราคา

สำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท หมายเลขโทรศัพท์ 0-5641-3044 และ 0-5641-5458 ทุกวันในเวลาราชการ



(ที่มา : ข่าว กรมประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2618-2323 ต่อ 1626-7 )
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2e2b24198f81c821


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/08/2011 9:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 31/08/2011 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

377. ข้อคิดก่อนทำการเกษตร


ไม่ว่าจะทำการเกษตรในรูปแบบใด เกษตรกรส่วนใหญ่มักมีคำถามในใจที่เหมือนๆกัน คือ “ทำการเกษตรอย่างไรให้อยู่รอด” ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมเองก็ได้ยินและรับรู้เรื่องราวปัญหาของชาวเกษตรกร ไม่ว่าจะค่าปุ๋ย-ค่ายาที่มีราคาแพง ค่าเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน แม้กระทั่งค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตางๆของเกษตรกรเอง หลายครั้งหลายคราที่ต้องปิดถนน เดินขบวน เรียกร้องให้ผู้ที่มีอำนาจลงมาช่วยเหลือ สารพัดปัญหาต่าง ๆ นา ๆ

แต่มีกี่รายที่มองย้อนดูตัวเองบ้างว่า เป้าหมายของการทำการเกษตรของตนมีอะไร มีความพร้อม ความรู้แค่ไหน ต้นทุนพอเพียงหรือไม่ ผมเองก็พอจะได้รวบรวมประสบการณ์และความรู้จากภายนอกมาได้พอที่จะให้ ท่านๆที่อยากจะทำการเกษตรหรือทำการเกษตรอยู่แล้ว ได้พิจารณาหรือนำเอาไปปฎิบัติ


1.ข้อห้ามในการทำการเกษตร
1.1 ห้ามพูดว่าไม่มีเวลา
1.2 ห้ามพูดว่าแถวนี้ไม่มีใครเขาทำ
1.3 ห้ามเชื่อคนข้างบ้าน
1.4 ห้ามเชื่อคนขายยา


2. วางแผนก่อนลงมือทำ
2.1 ใช้หลักการตลาดนำการผลิต (หากคิดทำเพื่อการค้า)
2.2 ปลูก/เลี้ยง อะไรก็ได้ ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับเวลาและทุนที่เสียไป
2.3 ปลูกพืชที่ให้ผลผลิตในช่วงที่ที่ขาดตลาด (นอกฤดู)
2.4 บำรุงและรักษาคุณภาพให้ดี สม่ำเสมอ


3. ศึกษาข้อมูลปัจจัยการเพาะปลูก
3.1 ความเหมาะสมของสภาพดิน
3.2 คุณภาพและปริมาณของน้ำที่นำมาใช้
3.3 สภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสมกับพืชนั้น เช่น แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล
3.4 ธาตุอาหารที่จำเป็น
3.5 สายพันธุ์
3.6 โรคและศัตรู รวมถึงการป้องกันและกำจัด


4. ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี
4.1 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี
4.2 การใช้ปุ๋ยทางใบควรมีการใช้สลับกันระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยน้ำ หรือใช้ร่วมกัน
4.3 ลดธาตุหลัก แต่เพิ่มธาตุรอง และธาตุเสริม
4.4 ในแต่ละวิธีการผลิต เกษตรกรควรปรับวิธีการการผลิตให้เหมาะสม
4.5 ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำหรือฮอร์โมน เกษตรกรควรทำขึ้นใช้เอง


5. ลดต้นทุนค่าสารเคมี
5.1 ใช้สารสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง
5.2 ปรับวิธีการใช้ โดยใช้สารเคมีสลับกับสารสมุนไพรทำเอง โดยค่อยๆลดปริมาณการใช้สารเคมีลง
5.3 ใช้การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการผสมผสาน
5.4 สารสมุนไพรที่ใช้ควรทำขึ้นมาใช้เอง


6. เปลี่ยนทัศนคติ
หลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้ละทิ้งแนวทางการผลิตที่อาศัยธรรมชาติและภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ เข้ามาสู่การใช้สารเคมีในรูปแบบต่างเพื่อการผลิต โดยมุ่งเน้นรายได้เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนและความเสียหายที่ตามมา และทุกวันนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเกษตรแบบอินทรีย์ชีวภาพ นำสารเคมี เป็นการทำการเกษตรที่ได้ผลและคุณประโยชน์มากกว่า การทำเกษตรเคมีเดี่ยวๆ ซึ่งบทพิสูจน์ในเวลานี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มากมายหลายแห่ง แทบทุกตำบลเลยก็ว่าได้ ทั้งภาคเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ โครงการของสมเด็จท่านอีกหลายๆโครงการ ล้วนประสพความสำเร็จแล้วทั้งสิ้น ลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง หยุดความคิดเก่าๆไว้ก่อน แล้วเปิดใจเปิดเวลา ศึกษาและทดลองทำ ก็จะรู้ว่า คุ้มค่าและเกิดคุณประโยชน์แก่ตนอย่างไร


7. ข้อห้ามที่ควรจำ
7.1 อย่าหวังหรือฝากอนาคตไว้กับกิจกรรมทางการเกษตรเพียงกิจกรรมเดียว
7.2 อย่าเล็งผลหรือรายได้เพียงอย่างเดียว จนไม่คำนึงถึงผลเสีย
7.3 อย่าตกเป็นทาสโฆษณา
7.4 อย่าตามกระแส
7.5 อย่าทำตามข้างบ้าน
7.6 อย่าลืมความผิดพลาดของตน ที่ผ่านมา


หลักทั้ง 7 ข้อนี้ ก็ลองนำไปปฎิบัติกันดู ไม่ต้องรีบร้อน ค่อยๆทำ “งานทุกอย่างย่อมมีปัญหาทั้งสิ้น” รายละเอียดข้อปลีกย่อยยังมีอีกหลายอย่าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ทำเองว่า คิดอย่างไร จะทำอย่างไรแต่ของผม ใช้หลัก “ทำเกษตรตามอารมณ์ แนวเศรษฐกิจพอใจ” โดยใช้หลักการทั้ง 7 เป็นแนวทาง ครับผม...



Source : www. takeang.com
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=22468.0;wap2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 01/09/2011 8:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

378. หลักการใช้ปุ๋ยอินทรีย์


ปุ๋ยอินทรีย์มีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย ทำให้ดินระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี สามารถดูดซึมน้ำเอาไว้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช แม้ว่าในปุ๋ยอินทรีย์จะมีปริมาณธาตุอาหารพืชอยู่น้อย แต่มีเกือบครบจำนวนธาตุอาหารที่พืชต้องการ ดังนั้น การปลูกพืชในดินจึงควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเตรียมดินปลูก หรือใช้กับพืชที่งอกแล้วโดยยึดหลักการ ดังนี้

๑) เลือกใช้ปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพดี โดยพิจารณาจากชนิดของมูลสัตว์ อาหารที่สัตว์กิน อายุของสัตว์และวิธีการเก็บรักษา เช่น มูลไก่จะมีธาตุอาหารพืชมากกว่ามูลสุกร สัตว์ที่กินต้นถั่วและอาหารสำเร็จรูปจะมีธาตุอาหารพืชมากกว่าสัตว์ที่กินฟางข้าวกับหญ้าแห้ง และสัตว์ที่มีอายุมากจะให้มูลที่มีธาตุอาหารพืชมากกว่าสัตว์อายุน้อย ส่วนวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกนั้นต้องไม่ตากแดดตากฝน และต้องเติมปุ๋ยซูปเปอร์ฟอสเฟตลงในกองปุ๋ยคอกด้วย เพื่อลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนในรูปของก๊าซแอมโมเนีย

๒) เลือกใช้ปุ๋ยหมักที่สลายตัวสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักเอง หรือปุ๋ยหมักที่มีจำหน่าย ถ้าเป็นชนิดผง ต้องเป็นผงค่อนข้างละเอียด มีกลิ่นหอมคล้ายดิน ส่วนปุ๋ยหมักชนิดอัดเม็ดและชนิดน้ำต้องพิจารณาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้

๓) การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด ควรใช้ในการเตรียมดินปลูกพืชหรือผสมดินปลูก ยกเว้นปุ๋ยหมักอัดเม็ดและปุ๋ยหมักน้ำ สามารถนำไปใช้ได้ดีเมื่อพืชเจริญเติบโตแล้ว ส่วนปุ๋ยคอกที่นำมาใช้นั้น ควรตากแดดให้แห้งสนิทและเป็นปุ๋ยคอกเก่า เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของวัชพืชที่สัตว์กินเข้าไป

๔) ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการใช้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดต้องคำนึงถึงต้นทุนจากราคาปุ๋ย และค่าจ้างแรงงานที่ต้องใช้



หลักการใช้ปุ๋ยเคมี
เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่มีราคาแพง และมีความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารพืชสูง จึงควรจะพิจารณาโดยรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและเกิดปัญหากับต้นพืช โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

๑) ชนิดของพืชที่นำมาปลูก ต้องพิจารณาว่าเป็นชนิดใด เช่น พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับหรือพืชไร่-นา เพื่อจะได้เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม

๒) ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน จะต้องตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของดิน ว่ามีปริมาณธาตุอาหารพืชชนิดใด มากหรือน้อย เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกใช้ปุ๋ยเคมี โดยส่งตัวอย่างดินไปตรวจสอบที่กรมพัฒนาที่ดิน หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบด้วยตนเอง

๓) ลักษณะของปุ๋ย คือ รูปร่างและลักษณะของปุ๋ยที่แตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยผงและปุ๋ยอัดเม็ด ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ปุ๋ยทางรากนิยมใช้ปุ๋ยอัดเม็ด ถ้าต้องการให้ปุ๋ยทางใบจะใช้ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยน้ำผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ เป็นต้น

๔) ราคาของปุ๋ยและราคาของผลผลิต ต้องพิจารณาว่าราคาของปุ๋ยจะคุ้มค่ากับราคาผลผลิตที่จำหน่ายได้หรือไม่

๕) การทดสอบปุ๋ย ก่อนซื้อปุ๋ยทุกครั้งหากซื้อในปริมาณมาก ควรซื้อเป็นตัวอย่างมาทดสอบก่อนทุกครั้ง โดยใช้ชุดทดสอบปุ๋ย เพื่อป้องกันปุ๋ยปลอม

๖) ศึกษาอัตราส่วนของปุ๋ยที่ใช้สำหรับพืชที่ปลูก โดยทั่วไปที่ข้างถุงปุ๋ยจะมีคำแนะนำปริมาณการใช้ปุ๋ย และวิธีใช้สำหรับพืชชนิดต่างๆ

๗) พิจารณาฉลากข้อความข้างกระสอบปุ๋ย ปุ๋ยเคมีที่ได้มาตรฐานจะต้องมีข้อความต่อไปนี้

- คำว่า “ปุ๋ยเคมี”
- ระบุสูตรหรือเกรดปุ๋ย
- มีหลักฐานขึ้นทะเบียนเคมีภัณฑ์ จากกรมวิชาการเกษตร
- มีเครื่องหมายการค้า
- ระบุน้ำหนักที่บรรจุ (ขนาดมาตรฐาน ๕๐ กิโลกรัม)
- ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย
- คำแนะนำและปริมาณการใช้ปุ๋ย



วิธีการใส่ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชนั้นจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ชนิดของปุ๋ยและสภาพอากาศเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

๑) การใส่แบบโรยเป็นแถว โดยวิธีโรยปุ๋ยให้ขนานไปกับแถวพืชที่ปลูก หรืออาจขุดเป็นร่องตื้นและโรยไปตามร่องให้ห่างจากแถวประมาณ ๒-๓ นิ้ว แล้วกลบดิน นิยมใช้กับพืชพวกแตงโม แตงไทย

๒) การใส่แบบหว่าน โดยวิธีหว่านไปตามแปลงพืชที่ปลูกหรือนาข้าว

๓) การใส่รอบโคนต้น เป็นวิธีใส่ปุ๋ยให้กับพืชจำพวกไม้ผลยืนต้น โดยขุดเป็นร่องลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร รอบโคนต้นตามแนวรัศมีทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยไปตามร่องที่ขุด แล้วกลบดิน

๔) การละลายน้ำรดโคนต้น ใช้ได้กับปุ๋ยเคมีบางชนิดที่ละลายน้ำได้ดีและไม่ควรใช้วิธีนี้ช่วงฤดูฝน

๕) การฉีดพ่นทางใบ จะใช้กับปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกล็ด และปุ๋ยอื่นที่ละลายน้ำได้ดี แต่ต้องระวังเรื่องความเข้มข้นของปุ๋ยที่อาจเป็นอันตรายต่อพืชได้ นิยมใช้กับไม้ผลและไม้ดอกพวกกล้วยไม้



ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี เช่น มีความโปร่งร่วนซุย
มีความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี
2. สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น



ข้อด้อยของปุ๋ยเคมี
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
2. ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ถ้าใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้นต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว
3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด
4. ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยพอสมควร จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบแทนคุ้มค่า



ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์หให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้

ข้อดีของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวนมาก


วินัย นาคปาน
สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ


แหล่งที่มา
http://farmkaset.blogspot.com/2008/01/blog-post_8438.html
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2505106100/04.htm
http://lib.kru.ac.th/rLocal/print.php?story=03/08/19/2651791

http://www.learners.in.th/blog/scienceing/446125
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

379. ปุ๋ยเคมีที่ใช้กับกล้วยไม้


ปุ๋ยเคมีที่ใช้กับกล้วยไม้ควรเลือกปุ๋ยสูตรสูง นั่นคือ เมื่อรวมเปอร์เซนต์ของธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิดแล้วจะมากกว่า 50 ยิ่งใช้ปุ๋ยสูตรสูงเท่าใดก็ยิ่งดี เนื่องจากหากใช้ปุ๋ยที่มีเปอร์เซนต์ของธาตุอาหารต่ำจะต้องผสมปุ๋ยในอัตราสูงกว่าปุ๋ยสูตรสูงเพื่อให้มีปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ น้ำปุ๋ยที่รดกล้วยไม้จะมีความเค็มสูงซึ่งจะทำให้เป้นพิษต่อกล้วยไม้ได้ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยสูตรสูงทำให้สามารถลดอัตราปุ๋ยที่จะนำไปละลายในน้ำให้น้อยลง โดยที่น้ำปุ๋ยยังคงมีปริมาณธาตุอาหารตามต้องการอยู่


เรโชปุ๋ย
เรโชปุ๋ย หมายถึง สัดส่วนของปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้นๆเช่น ปุ๋ยเรโช 3:2:1 หมายความว่า ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจน 3 ส่วน ฟอสฟอรัส 2 ส่วนและโปแตสเซียม 1 ส่วน กล้วยไม้ที่ต่างสกุลหรือต่างพันธุ์หรือพันธุ์เดียวกันแต่ระยะการเจริญเติบโตต่างกัน หรือกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จะมีความต้องการปุ๋ยที่มีปริมาณและเรโชของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมแตกต่างกัน โดยใช้หลักการพิจารณา ดังนี้

ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 3:1:1 ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่ารากเหมาะกับลูกกล้วยไม้เล็กๆ ที่ต้องการให้ตั้งตัวเร็ว ไม้ที่หั่นแยกลำใหม่ๆ หรือไม้ใหญ่ที่ทรุดโทรม แต่หากให้ปุ๋ยเรโชนี้เป็นระยะเวลานานเกินไป กล้วยไม้จะมีสีเขียวจัด เฝือใบ ใบใหญ่ อวบหนา ลักษณะของต้นอวบอ้วน ออกดอกช้าหรือไม่ออกดอก กล้วยไม้สกุลหวายจะมีการต่อยอด

ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น 1:3:1 ใช้สำหรับเร่งราก เร่งการออกดอก ทำให้ต้นกล้วยไม้ลดความเขียวจัด ไม่อวบน้ำมากเกินไป ทำให้แข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น เหมาะกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงอยู่ในที่ร่มเกินไป จนมีอาการเฝือใบ ใบอวบ ควรใช้กับกล้วยไม้ที่ได้รับปุ๋ยเรโชอื่นมาแล้วเป็นปกติแต่อาจจะงามเกินไป ระบบรากไม่แข็งแรง หรือใช้เร่งกล้วยไม้ที่ออกดอกยากให้ออกดอก

ปุ๋ยที่มีเรโชของโปแตสเซียมสูง เช่น 1:1:3 ใช้กับกล้วยไม้ที่ต้องการให้ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น ไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโตในฤดูแล้ง โดยควรใช้ก่อนถึงฤดูแล้ง 2-3 เดือน ปุ๋ยนี้ยังช่วยในการเจริญเติบโตของราก ทำให้ดอกมีสีสดและบานทน

ปุ๋ยที่มีเรโชสมดุล เช่น 1:1:1 ใช้กับกล้วยไม้ที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องและเหมาะสมเหมาะกับกล้วยไม้ที่โตแล้วหรือกำลังจะออกดอก



วิธีการให้ปุ๋ย
เน้นการให้ปุ๋ยทางราก เพราะปุ๋ยส่วนใหญ่เข้าสู่ต้นกล้วยไม้ทางราก ส่วนใบ และยอดอ่อน กล้วยไม้สามารถดูดปุ๋ยเข้าสู่ลำต้นได้บ้างโดยเฉพาะขณะต้นยังมีขนาดเล็ก แต่เมื่อโตขึ้นหากให้ปุ๋ยเฉพาะที่ใบต้นกล้วยไม้จะได้รับธาตุอาหารไม้เพียงพอ
ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยควรรดน้ำต้นกล้วยไม้ให้ชื้น แล้วจึงฉีดปุ๋ยตามเพราะปุ๋ยจะแพร่กระจายดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ดีขึ้น วิธีนี้ไม่ทำให้น้ำเข้าไปแย่งที่ปุ๋ย หรือรากกล้วยไม้ดูดปุ๋ยน้อยลง เพราะการดูดน้ำและปุ๋ยของต้นกล้วยไม้แยกกันอยู่คนละช่องทาง
หากไม่สามารถให้น้ำก่อนฉีดปุ๋ย ก็ควรฉีดปุ๋ยเป็นละอองทั้งด้านบน และล่างของใบ และฉีดจนกระทั่งเริ่มมีหยดน้ำไหลลงมาจากใบ

ฉีดพ่นปุ๋ยในช่วงเช้าที่มีอุณหภูมิต่ำแดดไม่จัดและความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้ปุ๋ยคงสภาพเป็นสารละลายให้ต้นดูดซึมได้นานที่สุด

ในวันที่ไม่มีแสงแดดไม่ควรให้ปุ๋ย หากจำเป็นต้องให้ก็ลดความเข้มข้นของปุ๋ยลง
น้ำที่ใช้ละลายปุ๋ยควรเป็นน้ำสะอาด มีตะกอนน้อยมีสภาพเป็นกรดอ่อนหรือเป็นกลาง


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของเกษตรกร
สกุลหวายช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงควรให้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้งเพื่อป้องกันดอกร่วง
สกุลหวายช่วงปลายฤดูผนเข้าฤดูหนาว (เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน) หากให้ปุ๋ยละลายช้า (สูตร 13-18-10 อัตรา 1/2 ช้อนชาต่อต้น) แล้วให้ปุ๋ยทางใบทุก 2 สัปดาห์จะช่วยให้กล้วยไม้ออกดอกในฤดูแล้งดีขึ้น

กล้วยไม้พันธุ์ที่ทิ้งช่วงออกดอกนานในบางฤดู ควรบำรุงต้นโดยใช้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูงมาก 1-2 ครั้ง

ลักษณะของกล้วยไม้สกุลหวายที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเรโชเดียวติดต่อกันนานเกินไป

เรโช 1:1:1 : ต้นอ้วนป้อม มีการต่อยอด
เรโช 1:2:1 : ดอกดก รากดี ช่อสั้น อาจมีการแตกแขนง
เรโช 2:1:3 : ดอกไม่ดก แต่ช่อยาว ดอกใหญ่
เรโช 3:2:1 : ต้นสูงเร็ว ยาวเรียวผอม รากไม่ค่อยดี

สกุลออนซิเดียม ไม่ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงติดต่อกันนาน เพราะจะทำให้ต้นอ่อนแอ เป็นโรคเน่าได้ง่าย

...................... ฯลฯ ........................



http://orchidnet.doae.go.th/home/technic_orchid.php?c=1&d=3&id=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

380. ปุ๋ยและวิธีให้เบื้องต้น


พอดีเจอและเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทั้งหลาย เลยขออนุญาตนำมาบอกต่อๆกันและเผยแพร่ต่อครับ

เครดิต ท่าน SUN ครับ
http://www.cactiland.com/?q=node/96

ปุ๋ยเคมี มีหลายสูตรนะครับ อันนี้ยกตัวอย่างที่ใช้กันส่วนใหญ่นะครับ

46-0-0 ยูเรีย ให้ไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง

16-16-16 ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง

12-24-12 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยตรากระทิง, ปุ๋ย GARDEN

8-24-24 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดีใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ย GARDEN

15-5-5 ปุ๋ยน้ำไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

10-10-10 ปุ๋ยน้ำสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

9-18-9 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

3-18-18 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์

30-20-10 ปุ๋ยเกร็ดมีไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้

10-52-17 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้

21-21-21 ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้, โพคอน, อัลตราโซน

13-27-27 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้


วิธีการให้ปุ๋ย
วิธีการให้ปุ๋ยไม้กระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดต้นหรือใบต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง


การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ย คือ
1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้

ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม
ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/ 20 ลิตร

ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบหรือต้นที่ติดน้ำยากต้องผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของต้น จึงจะได้ผลดี ควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบกับต้น และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)
ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม
ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 กรัม ปุ๋ยเม็ดละลายช้า

จะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย)

ในระยะต้นล็ก(ต้นกล้า)ไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น ข้อระวังคือ ไม้ที่โตช้าต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ที่โตเร็ว





มาว่าต่อเรื่องปุ๋ยเกล็ดีอีกนิดนะครับ พอดีอยากเร่งดอกไม้ที่เลี้ยง เพราะว่างามใบเหลือเกิน เถ้าแก่ร้านเคมีเกษตร แนะนำ ปุ๋ยเกล็ด สูตร 15-52-17 เลยซื้อมาลองดู(อีกแล้ว5555) หาข้อมูลแล้วเห็นว่าดีแล้วต่อเนื่องกับด้านบนขออนุญาตต่อนะครับ


ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ
ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจน
ตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้าง อุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผลหรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผล เด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง


ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร
3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย
4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่าง รุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก
5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก
6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้น เปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก
7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป


ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน


การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบ จะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่ว ลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ ของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อ ปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย

ที่มา http://www.geocities.com/psplant/fer08.htm





ขอเพิ่มเติมนะครับ เผื่อเพื่อนๆท่านไหน อยากทราบข้อมูลด้านปุ๋ย จะได้ ได้รายละเอียดสูงสุดครับ

การให้ปุ๋ย
ประโยชน์ของปุ๋ย
พืชอาจสร้างอาหารส่วนใหญ่ได้จากแสงและอากาศผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง อย่างไรก็ตาม พืชยังต้องการธาตุอาหารอีกกว่า 10 ชนิดจากภายนอกเพื่อให้ขบวนการเจริญเติบโตสามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ และหากต้องการให้พืชมีการเจริญเติบโตผิดไปจากธรรมชาติ เราก็อาจใช้ปุ๋ยและ/หรืออาหารเสริมควบคุมได้ ดังที่ผู้ผลิตโป๊ยเซียนได้กระทำกัน

ปกติแล้วพืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิดเพื่อการเจริญเติบโต แต่ได้ คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน จากน้ำและอากาศ ธาตุอีก 6 ธาตุเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และกำมะถัน โดย 3 ธาตุแรกนั้นพืชต้องการมาก ดังนั้น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซี่ยม จึงถูกเรียกว่าธาตุปุ๋ย ซึ่งต้องถูกระบุและรับรองอัตราส่วนไว้ที่ฉลาดปุ๋ยเสมอ ส่วนธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอีก 10 ชนิดนั้น อาจถูกผสมไว้ในปุ๋ยโดยไม่ได้ระบุรับรองไว้ในฉลากปุ๋ยด้วย

สำหรับธาตุปุ๋ย 3 ชนิดซึ่งมักถูกเรียกย่อ ๆ ว่า N-P-K (เอ็ม-พี-เค) นั้นมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต่างกันคือ ไนโตรเจนหรือเอ็นนั้นช่วยให้ต้นและใบของพืชมีการเจริญเติบโตดี ถ้าได้รับน้อยเกินไปจะทำให้ใบมีสีซีดเหลือง ไม่ค่อยเติบโต ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียว อวบ เปราะ ขาดความแข็งแรง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนฟอสฟอรัสหรือพีนั้นช่วยให้ระบบรากเติบโตได้ดี พืชมีดอกได้ง่ายขึ้น ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไปจะทำให้มีการสร้างสารสีม่วงแดงขึ้นบริเวณต้นและใบ และไม่ออกดอก แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้ต้นแคระเกร็น พืชออกดอกเร็วผิดปกติ ขณะที่โปแทสเซี่ยมหรือเคนั้น เป็นธาตุที่ทำให้กลไกทางเคมีภายในพืชดำเนินไปได้ตามปกติ ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไป จะอ่อนแอต่อโรค ต้นเปราะ หักง่าย แต่ถ้าพืชได้รับมากเกินไป จะแคระเกร็น



ประเภทของปุ๋ย
ปุ๋ยโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากหรือมูลสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย กทม. ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลวัว และปุ๋ยปลา เป็นต้น ปุ๋ยพวกนี้มีธาตุปุ๋ยอยู่มากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยคอกซึ่งมีความเข้มข้นของธาตุปุ๋ยต่างกันตามชนิดของอาหารและปริมาณน้ำที่สัตว์ดื่ม เช่น ปุ๋ยมูลไก่ จะมีธาตุปุ๋ยมากกว่าปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยอินทรีย์มักถูกใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก เนื่องจากจะช่วยปรับสภาพวัสดุปลูกและค่อย ๆ สลายตัวปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช ปุ๋ยปลาเป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยน้อย แต่มีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ดี สันนิษฐานว่าอาจมีสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือ กรดอมิโนบางชนิดอยู่ อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยปลากับพืชในช่วงฤดูฝน อาจทำให้พืชอ่อนแอเป็นโรคง่าย จึงต้องระมัดระวังในการใช้


2. ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากเกลือแร่ต่าง ๆ มักมีธาตุปุ๋ยในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยประเภทนี้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ

2.1 ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยไม่ครบ 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว ปุ๋ยดินประสิว ซึ่งมีไนโตรเจนและโปแทสเซี่ยม ปุ๋ยกลุ่มนี้มักจะถูกนำมาผสมกันเป็นปุ๋ยผสม แต่บางครั้งอาจถูกนำมาใช้โดยตรงเพื่อปรับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการใช้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

2.2 ปุ๋ยผสม เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยครบ 3 ธาตุ โดยเป็นผลจากการผสมปุ๋ยเดี่ยวหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยแบ่งตามสูตรปุ๋ยได้ เป็น 4 ประเภทคือ

(ก). ปุ๋ยสูตรเสมอ คือ ปุ๋ยที่มีธาตุทั้ง 3 ในปริมาณที่เท่ากัน ใช้เมื่อไม่ต้องการเร่งส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ คือให้พืชเจริญเติบโตตามปกติ เช่นสูตร 15-15-15, 20-20-20 เป็นต้น

(ข) ปุ๋ยหน้าสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุ ไนโตรเจนมากกว่าธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางต้น มักให้ในระยะกล้า จะทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น ต้นโตขึ้น เช่นสูตร 30-20-10, 20-10-10 เป็นต้น

(ค) ปุ๋ยสูตรกลางสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางราก หรือเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้น เช่น ปุ๋ย สูตร 15-30-15, 12-24-12 เป็นต้น

(ง) ปุ๋ยหลังสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุโปรแตสเซียมมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุฟอสฟอรัส ใช้เร่งสีให้เข้มขึ้น หรือเพิ่มความหวานให้มากขึ้น เช่นสูตร 12-12-27, 10-20-30 เป็นต้น



ปุ๋ยผสมนี้ยังแบ่ง ตามลักษณะ เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
(ก) ปุ๋ยเม็ด เป็นปุ๋ยที่มักคลุกเคล้าดินกับธาตุปุ๋ยจากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว เป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชได้ค่อนข้างรวดเร็วตามการละลายของเม็ดปุ๋ย ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาถูก เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป มักใส่ให้พืชทุก 1-4 สัปดาห์

(ข) ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยที่ธาตุปุ๋ยได้จากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว ถูกปั้นให้เป็นเม็ด แล้วเคลือบผิวด้วยสารที่ยอมให้น้ำผ่านเข้าไปภายในได้ทีละน้อย ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารผันแปรตามอุณหภูมิ และ/หรือความชื้นของวัสดุปลูก ปุ๋ยจึงอาจให้อาหารแก่พืชได้อย่างต่อเนื่อง 3-12 เดือน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาแพง จึงใช้กันในวงจำกัด เฉพาะที่ปลูกพืชเป็นเวลานาน โดยมีแรงงานให้ปุ๋ยไม่เพียงพอ

(ค) ปุ๋ยเกร็ด เป็นปุ๋ยที่มีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง สามารถละลายน้ำได้ดี เกิดจากการนำปุ๋ยเดี่ยวคุณภาพสูงมาคลุกเคล้ากัน ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการเพิ่มไวตามินบี และสารควบคุมการเจริญเติบโตเข้าไปด้วย ปุ๋ยกลุ่มนี้ต้องละลายน้ำรดให้แก่พืช หรือผสมไปในระบบน้ำก็ได้ ปุ๋ยกลุ่มนี้อาจถูกเรียกว่าปุ๋ยใบ เพราะพืชดูดไปใช้ได้ทั้งทางรากและใบ มักนิยมใช้กับกล้วยไม้ หรือพืชที่ต้องการปุ๋ยอย่างเร่งด่วน การที่ต้องให้ปุ๋ยกลุ่มนี้บ่อยจึงทำให้เป็นปุ๋ยที่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ค่อนข้างสูง


เมื่อเลือกชนิดของปุ๋ยได้ตามความเหมาะสมแล้ว เราต้องเลือกสูตรและตราของปุ๋ยที่จะใช้ด้วย การเลือกในกรณีหลังนี้คงต้องมีการศึกษาทดลองกับพืชที่เราปลูกเลี้ยงอยู่ เนื่องจากการเลือกสูตรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้อยู่ เพราะวัสดุปลูกที่ต่างกันจะมีธาตุอาหารพืชในปริมาณที่ต่างกัน ความต้องการธาตุปุ่ยจึงต้องต่างกันไป นอกจากนี้ปุ๋ยแต่ละตรายังมีธาตุอาหารอื่น ๆ แตกต่างกันไป จึงเหมาะกับวัสดุปลูกที่ต่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อปุ๋ยควรต้องคำนึงเรื่องราคาไว้ด้วย


การให้ปุ๋ย
วิธีการให้ปุ๋ยไม้ดอกกระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดใบต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ใบต้องแห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ยคือ

1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้ อัตราการใช้ 50 ถึง 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ระยะใบเลี้ยง ถึง 6 ใบจริง ให้ใช้อัตราต่ำคือ 50 กรัม/20 ลิตร ต่อจากนั้นใช้อัตรา 60 ถึง 100 กรัม/20 ลิตร รดตอนเช้า และรดน้ำล้างอีกเล็กน้อยในตอนสายเพื่อป้องกันการตกค้างของปุ๋ยบนใบหรือดอก

ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม
ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/ 20 ลิตร

ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบติดน้ำยากต้องผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของกล้า จึงจะได้ผลดี แต่ในระยะกล้าควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบ และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)
ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม

ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 กรัม ปุ๋ยเม็ดละลายช้าจะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย)

ระยะกล้าถึง 6 ใบจริงไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น ข้อระวังคือ ไม้ดอกบางชนิดโตช้า เช่น พังพวย และผีเสื้อ ต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ดอกที่โตเร็ว เช่น ดาวเรือง และบานชื่น

นอกจากการใช้ปุ๋ยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกอาจให้อาหารเสริม ธาตุรอง ไวตามิน น้ำตาล สารเร่งราก หรือยาโด๊ปชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพของต้นไม้อีกก็ได้ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักไม่คุ้มทุนในเชิงการค้า จึงไม่กล่าวถึงในที่นี้

ที่มา
http://www.yupparaj.ac.th/DigitalLibrary/agri/flowers/flw08fer.htm



คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก
สำหรับคุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) นั้นจะแตกต่างกันไปตามแหล่งวิธีการเลี้ยงและการเก็บรักษา ถ้ามองในแง่ของธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแล้วจะมีค่อนข้างน้อย ยกเว้นมูลสุกร มูลไก่ และมูลค้างคาวซึ่งค่อนข้างจะมีธาตุอาหารหลักอยู่สูง แต่ข้อดีของมูลสัตว์คือจะให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม และคลอรีน นอกเหนือจากนั้นยังให้ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับพืชอีกมากมายอีกด้วย ดังรายละเอียดใน ตารางที่ 1


ผลวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ ดูตารางสารอาหารได้ที่นี้ครับ

http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm




แนวทางการใช้ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
ออมทรัพย์ นพอมรบดี (2540:113-114) ได้กล่าวถึงแนวทางการใช้ปุ๋ยคอกไว้ดังนี้คือ มูลโคและมูลกระบือ โดยทั่วไปแล้วมีธาตุอาหารต่ำกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นเพราะเป็นสัตว์กินหญ้า ไม่ควรใส่แปลงปลูกผักโดยตรง เพราะจะมีปัญหาเมล็ดวัชพืชปะปนมา ควรนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักเสียก่อน หรือนำไปผลิตก๊าซชีวภาพแล้วนำกากที่เหลือไปใช้จะได้ประโยชน์มากกว่า มูลแห้งเหมาะสำหรับใส่แบบหว่าน ในสวนไม้ผล หรือรองก้นหลุมปลูกพืช

มูลไก่และมูลเป็ด เป็นมูลที่มีธาตุอาหารค่อนข้างสูง โดยมีการเลี้ยงกันเป็นการค้าและกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ มูลไก่กระทงมีแกลบปนประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมูลไก่ไข่มีแต่เนื้อมูลล้วน ฉะนั้นควรใช้มูลไก่ไข่น้อยกว่ามูลไก่กระทงครึ่งหนึ่ง มูลไก่สดไม่ควรนำไปใช้ในสวนไม้ผล และพืชผัก โดยตรง ควรนำไปทำปุ๋ยหมักให้สมบูรณ์ก่อนที่จะนำไปใช้ส่วนเป็ดนั้นจะเลี้ยงกันบริเวณริมน้ำและมากที่สุดบริเวณริมฝั่งทะเล มูลที่ขุดมาได้จากเล้าอาจจะมีเกลือปะปนมา ทำให้คนนิยมน้อยกว่ามูลไก่

มูลสุกร เป็นมูลที่ธาตุอาหารค่อนข้างสูงโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส มูลแห้งนั้นชาวสวนผักนิยมใช้มากที่สุด มูลสุกรมักจะมีปริมาณทองแดงมาก การใช้สะสมนาน ๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อพืชได้ ควรนำไปทำปุ๋ยหมักร่วมกับแกลบ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ก่อนที่จะนำไปใช้ถึงจะดี

สำหรับอัตราการใช้ปุ๋ยคอกชนิดต่าง ๆ เป็นดังนี้ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 แสดงอัตราการใช้ปุ๋ยคอกชนิดต่าง ๆ ดูตารางสารอาหารได้ที่นี้ครับ

http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm




วิธีการใส่ปุ๋ยคอกสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้
1. ใส่รองก้นหลุม เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพเช่นกัน เช่น การรองก้นหลุมปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ หลุมปลูกแตงโมโดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มูลวัว และกระบือ รองก้นหลุม ๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/หลุม

2. ใส่ในร่องรอบรัศมีพุ่ม สำหรับในสวนไม้ยืนต้น เช่น สวนส้ม เงาะ ทุเรียน เป็นต้น จะทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบต้นไม้ในร่องรัศมีพุ่มและขยายออกไปทุก ๆ ปี ตามรัศมีพุ่มจนกระทั่งต้นไม้โตเต็มที่

3. ใส่แบบหว่าน สำหรับสวนไม้ผลที่โตแล้วซึ่งในสวนเหล่านี้ จะมีหญ้า วัชพืชขึ้นคลุม เพียงแต่มีการตัดถางแล้วปล่อยคลุมดินโดยไม่มีการไถหรือสับกลบ โดยส่วนใหญ่กสิกรนิยมหว่านมูลโคและกระบือ

4. กองใต้ร่มเงาใช้สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มี C/N เรโช สูง ๆ สลายตัวช้าใช้ กับพืชที่ต้องการคุณภาพของผลผลิต เช่น กล้วย ไผ่ หน่อไม้ฝรั่งและในสวนไม้ผล

5.ใส่แบบหว่านแล้วสับกลบ เหมาะสำหรับพืชอายุสั้น (Annual crops) เช่นพืชผัก พืชไร่ต่างๆ

6. ใส่ในร่องแถวปลูกพืช เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว ทั้งพืชอายุสั้นและอายุยาว (Annual and perenial Crops) และมีปริมาณปุ๋ยอินทรีย์จำกัด


วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอก
พิรัชฌา วาสนานุกูลและคณะ (2540: 152-153) ได้กล่าวถึงวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกและข้อควรคำนึงในการใช้ปุ๋ยคอกไว้ว่า การเก็บรักษาปุ๋ยคอกมีความสำคัญมาก หากเก็บรักษาไม่ดีจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในปุ๋ยคอกโดยจะสูญเสียไปดังนี้ คือ ไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูญเสีย 50 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม 20 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 25 เปอร์เซ็นต์ กำมะถัน ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี 30 เปอร์เซ็นต์ ในการเก็บรักษาควรใช้เศษหญ้า ฟางข้าว แกลบ หรือขี้เลื่อย ผสมในอัตราส่วนดังนี้ คือ ฟางข้าว 1 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 4 ส่วน และเนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียไปในรูปแอมโมเนียมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องลดอัตราการสูญเสียไนโตรเจน โดยทำให้แห้งโดยเร็ว และเติมปุ๋ยฟอสเฟตลงไปประมาณ 5-10 กิโลกรัมต่อปุ๋ยคอก 1 ตัน เพราะปุ๋ยฟอสเฟตที่เพิ่มลงไป นอกจากจะช่วยยกระดับฟอสฟอรัสในปุ๋ยแล้วยังช่วยรักษาไนโตรเจนในปุ๋ยคอกไม่ให้สูญเสียไปอีกด้วย

ที่มา
http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm




หน้าที่ความสำคัญของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นอย่างไร

ธาตุไนโตรเจน
ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH(,4)('+)) และไนเทรตไอออน (No(,3)('-)) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย

พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้าและไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่วๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย


ธาตุฟอสฟอรัส
ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับwbr>wbr> ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H(,2)PO(,4)('-) และ HPO(,4)('-)) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก


ธาตุโพแทสเซียม
ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K('+)) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก (K('+)) พืชก็ยังดึงดูด ไปใช้เป็นประโยชน์อะไรไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำในดิน หรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้

เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ดินมักจะมีไม่พอ ประกอบกับพืชดึงดูดจากดินขึ้นมาใช้แต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก จึงทำให้ดินสูญเสีย ธาตุเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าเสียปุ๋ยในดินไปมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ดินที่เราเรียกว่า "ดินจืด" เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับธาตุอาหารพืช N P และ K ที่สูญเสียไป เราจึงต้องใช้ปุ๋ย



โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกได้กี่ประเภท
โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์พวกหนึ่งและปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร


ปุ๋ยคอก
ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก


ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ นั้น ก็คือ ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้า โรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกรองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง


ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง


ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2)O อยู่ร่วมกันสองธาตุ


ปุ๋ยผสม
ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง




เรามีหลักในการเลือกชนิดของปุ๋ยอย่างไร
หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P(,2) O(,5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K(,2)O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่wbr>wbr ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ

๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้

๓.๓ การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที



การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร
ปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้


ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช


ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
๓. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์
ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
๓. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)

ที่มา
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter8/t18-8-l2.htm#sect3



http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/11/J7196370/J7196370.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 14 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©