ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/11/2011 7:34 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลำดับเรื่อง.....
1,037. การเผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
1,038. แท่งเชื้อเพลิงเขียว เพื่อทดแทนฟืนและถ่าน
1,039. สารอาหารที่ทำให้ผมสวย
1,040. น้ำท่วมไทย กระทบราคาข้าวไทยในฮ่องกง
1,041. สุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย 2554
1,042. "เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนานํ้าตม"
1,043. สกัดสารจากเห็ดนางรม ทำผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย
1,044. วิจัยโครงสร้าง "เจลสตาร์ชข้าว"
1,045. เครื่องขนถ่าย และนับลูกปลา
1,046. ม.อ. เร่งวิจัยสกัดน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก
1,047. ฟาร์มใหม่แจ้งเกิดผลิตภัณฑ์นมควาย
1,048. พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
1,049. เปลี่ยนความหวานเป็นพลังงานชีวมวล
1,050. สจล.พัฒนาหัวเตาเผาน้ำมันพืชใช้แล้ว
1,051. แปลงรำข้าวเป็นตัวช่วยผู้ป่วยเบาหวาน-ธาลัสซีเมีย
1,052. สารสกัดกระชายดำยาบำรุงผู้สูงวัย
1,053. จากขี้เลื่อย ยางพารา สู่แผ่นยางปูพื้นสนามหญ้า
1,054. น้ำนมถั่วชิกพี เทรนด์อาหารเอาใจคนแพ้โปรตีนวัว
1,055. เปลี่ยนลูกหม่อนเป็น มัลเบอร์รี่คริสตัล ฝีมือ (ว่าที่) เชฟ มทร
1,056. สวทช. วิจัยข้าวทนแล้ง อร่อยนุ่มลิ้น
1,057. ปุ๋ยนาโนเทค ประสิทธิภาพสูง ไร้สารตกค้าง
1,058. นักเก็ตปลาส้ม นวัตกรรมอาหาร จากเกษตรศาสตร์
1,059. ไข่ - มะตูมรักษาโรค คว้ารางวัล นานาชาติ !
1,060. ต่างชาติเตรียมรับมือ "ข้าวไทยแพง" ผลพวงวิกฤติน้ำท่วม
1,061. เด็กไทยคว้า 10 รางวัลนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับโลก
----------------------------------------------------------------------------------------
1,037. การเผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
เนื่องจากแกลบที่อัดแล้วไม่สามารถรักษาสภาพให้เป็นแท่งอยู่ได้ เมื่อถูกน้ำ หรือน้ำฝนจะแปรสภาพเป็นแกลบบดเช่นเดิม แต่เมื่อนำแกลบที่อัดแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน จะสามารถคงสภาพตามรูปที่อัดได้
พ.ศ. ๒๕๓๐ บริษัท อุสาพัฒนาเศรษฐกิจ จำกัด ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เตาเผาถ่าน ขนาด ๒ ตัน มูลค่า ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท และทางโครงการได้จัดสร้างโรง สำหรับเก็บเตาเผาถ่าน และเก็บถ่าน เป็นเงิน ๒๑,๓๗๒.๐๐ บาท ดำเนินการนำเอาแกลบอัดจากโรงบดแกลบมาเผาเป็นถ่าน เพื่อสะดวกในการใช้คือ ไม่มีควัน แกลบที่นำมาเผาเป็น ถ่านแล้วพบว่าน้ำหนักแกลบอัดจะหายไป ๗๐% ถ่านที่ได้จากแกลบมีค่าพลังงานความร้อนพอ สมควรแต่ความร้อนน้อยกว่าถ่านที่ทำจากไม้ทางโครงการฯ ได้บรรจุถ่านใส่ถุงออกจำหน่ายถุงละ ๒ กิโลกรัม ราคา ๘.๐๐ บาท นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการอัดแกลบชนิดแน่นและไม่แน่น นำไปเผาถ่าน ผลวิเคราะห์ค่าความร้อนทั้งสองชนิดเท่ากัน ความหนาแน่นไม่เท่ากัน ทำให้ระยะเวลาใช้งานไม่เท่ากัน ถ่านที่ทำจากแกลบอัดชนิดแน่นจะใช้ได้นานกว่า
พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้มอบนโยบายให้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพจากเดิม เดือนละ ๕ - ๖ ตัน ให้สามารถ จัดส่งค่ายผู้อพยพสหประชาชาติ เดือนละ ๑๐ ตัน ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ และการจัดการจนจัดส่งได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ได้ย้ายไซโลเหล็กที่เดิมใช้เก็บข้าวสารนำมา ใช้ข้างโรงอัดแกลบ ใช้สำหรับเก็บแกลบดิบจากโรงสี ซึ่งแต่เดิมไม่มีที่เก็บและมีฝุ่นฟุ้งกระจาย มาก ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้น
พ.ศ. ๒๕๓๓ โรงบดและอัดแกลบ ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน จนปัจจุบันเครื่องอัดแกลบเครื่องหนึ่ง สามารถอัดแกลบแท่งได้ประมาณวันละ ๕๐๐ ก.ก. ถ้าทำเต็มที่ ๒ เครื่อง ได้วันละ ๑,๐๐๐ ก.ก. ส่วนเกลียวอัดราคาอันละ ๒,๕๐๐.๐๐ บาท สามารถที่จะทำการซ่อมแซมโดยการพอกเกลียวใหม่ได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายในด้านนี้ ๐.๑๖ บาท ต่อแกลบอัดแท่ง ๑ ก.ก.
พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื่องจากมีแกลบเหลือจากโรงสีข้าวส่วนพระองค์ เป็นจำนวนมากกว่าที่จะนำมาทำแกลบอัดแท่งได้ทัน โรงบดและอัดแกลบ จึงนำแกลบส่วนที่เหลือ มาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่าง ๆ
พ.ศ. ๒๕๓๖ นำแกลบอัดแท่งมาเผาเป็นถ่าน และหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ หนาท่อนละประมาณ ๑ นิ้ว บรรจุถุงเพื่อสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น
พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๒ เตา โดยความร่วมมือ ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๘ ปรับปรุงห้องเก็บแกลบอัดแท่ง เพื่อสามารถเก็บแกลบ อัดแท่งและ
ถ่านที่ผลิตมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๔ เตา โดยได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยก่อสร้าง
http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/charcoal_fun5.php
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/11/2011 4:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/11/2011 7:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,038. แท่งเชื้อเพลิงเขียว เพื่อทดแทนฟืนและถ่าน
จากสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของประชาชน โดยเฉพาะในชนบทยังนิยมใช้ฟืนและถ่านในการหุงต้ม ซึ่งกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้รายงานว่า ปี 2539 ประเทศไทยใช้ฟืนและถ่านคิดเป็น 16.7% เทียบกับการใช้พลังงานอื่น ๆ ประกอบกับพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับฟืนและถ่านได้ลดลงเหลือเพียง 25.62% ในปี 2539 (กรมป่าไม้, 2540) ดังนั้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานทดแทนอื่นๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วน แต่โดยที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่ ดังนั้นจึงมีสิ่งสูญเสีย (WASTE) และสิ่งเหลือใช้ (RESIDUES) จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ชานอ้อยเน่าเปื่อย หรือวัชพืชต่างๆ อยู่มาก การนำชานอ้อยเน่าเปื่อยหรือวัชพืชต่างๆ เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่ของพลังงานทดแทนฟืนและถ่าน โดยเฉพาะสำหรับประชาชนในชนบทก็จะทำให้ได้มีพลังงานเชื้อเพลิงใช้ได้ในราคาถูก และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติที่เหลือน้อยลงทุกวัน
โครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงและส่งเสริมการใช้แท่งเชื้อเพลิงเขียว เป็นโครงการที่กรมป่าไม้ ได้รับการสนับสนุนทุนศึกษาวิจัยจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษาในอันที่จะสนองแนวทางดังกล่าวเบื้องต้น โดยได้ทำการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรืออุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ชานอ้อยเน่าเปื่อย, วัชพืช หรือใบไม้ มาอัดเป็นแท่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโต 7 เซนติเมตร โดยกระบวนการอัดเย็น จากเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวแบบสกรูที่ทำจากสแตนเลสและขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2 แรงม้า แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จะได้แท่งเชื้อเพลิงที่สามารถใช้แทนฟืนและถ่านได้เป็นอย่างดี
แท่งเชื้อเพลิงเขียวคืออะไร
คือ แท่งเชื้อเพลิงที่ได้จากการอัดแท่ง (โดยไม่ใช้ความร้อน) จากวัสดุชีวมวล/เศษวัชพืชต่าง ๆ หรือเศษวัสดุที่เหลือจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ชานอ้อยเน่าเปื่อย, ผักตบชวา ฯลฯ มาอัดเป็นแท่ง โดยอาศัยความเหนียวของยางในวัสดุเหล่านั้นเป็นตัวเชื่อมประสานและมีความชื้นพอดี เมื่ออัดออกมาเป็นแท่งเช้วก็จะได้แท่งอัดเชื้อเพลิงที่ใช้ประโยชน์แทนฟืน, ถ่าน หรือแก๊สหุงต้ม ได้เป็นอย่างดี
การอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียว (การอัดเปียก)
เป็นการอัดโดยใช้เครื่องอัดแบบเกลียวหรือสกรู ซึ่งจะสามารถทำได้ทั้งกับวัสดุสดและแห้ง (แต่ถ้าวัสดุมีความชื้นปานกลางจะอัดได้สะดวกและรวดเร็ว) และสามารถทำได้กับวัสดุชนิดต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่ในโครงการนี้จะทดลองใช้กับชานอ้อยเน่าเปื่อย (ชาวบ้านเรียกขี้เป็ด) เนื่องจากสามารถหาได้ง่าย-สะดวก-เสียค่าใช้จ่ายต่ำ ซึ่งประเทศไทยจะมีโรงงานผลิตน้ำตาลมาก ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นเทคโนโลยีการอัดแท่งแบบง่ายๆ สะดวก และไม่สร้างความยุ่งยากให้ชาวบ้านในท้องที่ จึงเป็นความ สมดุลย์ และน่าทึ่งที่เหมาะสำหรับชาวบ้านที่จะผลิตแท่งเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการหุงต้ม ตลอดจนใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในครัวเรือนและรวมถึงในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
การอัดแท่งเชื้อเพลิงในลักษณะนี้ได้ถือกำเนิดมาจากการอัดถ่านเขียว (green charcoal) ของประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ.2523 ซึ่งค้นพบโดย มร. กอนซาโล คาแทน (Gonzalo O. Catan) และคณะโดยการนำเศษใบไม้ ใบหญ้า ไปหมักให้เน่าเปื่อยด้วยจุลินทรีย์บางชนิดแล้วจึงอัดโดยใช้ตัวเชื่อมประสานจากภายนอกช่วย
เครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียว
ใช้หลักการของเครื่องที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าโดยทั่วๆ ไป ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบดูว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับเครื่องมีขนาด แรงดัน (โวลท์) และความสามารถในการจ่าย กระแสไฟ (แอมป์) ได้เพียงพอและถูกต้อง ดังนี้
1. สำหรับมอเตอร์ชนิด 2 สาย ใช้ไฟ 220 โวลท์ จ่ายกระแสไฟได้ไม่น้อยกว่า 10 แอมป์ ต่อ 1 เครื่อง การต่อสายไฟจากเครื่องเข้ากับระบบจ่ายไฟจะต้องผ่านคัทเอ้าท์ หรืออุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า ที่มีฟิวส์หรือระบบป้องกันกระแสเกิน ขนาด 10 แอมป์ เป็นตัวป้องกัน
2. สำหรับมอเตอร์ชนิด 3 สาย ใช้ไฟ 380 โวลท์ จ่ายกระแสไฟได้ไม่น้อยกว่า 5 แอมป์ ต่อ 1 เครื่อง การต่อสายไฟจากเครื่องเข้าระบบจ่ายไฟจะต้องผ่านคัทเอ้าท์ หรืออุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า ชนิด 3 สาย ที่มีฟิวส์หรือระบบป้องกันกระแสเกิน ขนาด 10 แอมป์ เป็นตัวป้องกัน
การต่อคัทเอ้าท์จะต้องใช้แยก เครื่องละ 1 ตัวเท่านั้น ห้ามต่อรวมกันโดยใช้คัทเอ้าท์หรืออุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า ตัวเดียวเป็นอันขาด แต่สำหรับเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวที่ได้พัฒนาและปรับปรุงสำหรับโครงการนี้จะใช้ไฟ 220 โวลท์ ตามหัวข้อ 1. ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้ได้ทั่วไป
กระบวนการอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียว
กระบวนการอัดแท่งเชื้อเพลิงในโครงการนี้ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วจะใช้ชานอ้อยเน่าเปื่อย หรือชาวบ้านเรียกขี้เป็ด (ต่อไปนี้จะใช้คำเรียกเฉพาะชานอ้อย) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายต่ำมาอัดแท่ง โดยที่โรงงานน้ำตาลจะเปิดทำการช่วงประมาณเดือนมกราคมเรื่อยไป ประมาณ 3 เดือนของทุกปี ดังนั้นช่วงดังกล่าวจะต้องดำเนินการนำชานอ้อยมาเก็บไว้เพื่อใช้ผลิตแท่งเชื้อเพลิงตลอดปี จากการทดลองอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวกับเครื่องมือ พบว่า ถ้าผสมชานอ้อยกับขุยมะพร้าว (หาซื้อได้ง่าย-ราคาไม่สูง) ในอัตราส่วนชานอ้อย : ขุยมะพร้าว ตั้งแต่ 1:1, 2:1, 3:1, และ 4:1 จะสามารถผลิตแท่งอัดได้เร็วกว่าใช้ชานอ้อยล้วนๆ รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1
ส่วนผสม ความยาวแท่งเชื้อเพลิง
(เมตร) เวลาที่ใช้ (ประมาณ) หมายเหตุ
ชานอ้อย (100%) 1 3.5 นาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน คือ 7 ซม.
ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว (1 : 1 ) 1 1.5 นาที
ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว (2 : 1 ) 1 1.5 นาที
ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว (3 : 1 ) 1 2 นาที
ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว (4 : 1 ) 1 2 นาที
ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว (5 : 1 ) 1 3-3.5 นาที เป็นอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสม
ตารางที่ 1 แสดงระยะเวลาของการอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวในอัตราส่วนผสมต่างๆ
แต่ถ้าใช้ขุยมะพร้าวล้วนๆ อัดแท่งจะไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้จากการสังเกตพบว่าขุยมะพร้าวมีเส้นใยที่ยาวและแข็ง ซึ่งจะพันรอบเกลียวในขณะอัดแท่ง ถ้าหนาแน่นมากเข้า เกลียวจะหยุดหมุน สำหรับชานอ้อยถ้าละเอียดมากๆ ก็จะมีปัญหาต่อการอัดเช่นเดียวกัน การผสมชานอ้อยกับขุยมะพร้าว ในอัตราส่วนที่ใช้ชานอ้อยสูงกว่าขุยมะพร้าว เมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพหรือระยะเวลาของการหุงต้มแล้ว จะใช้เวลาต้มน้ำนานกว่าชานอ้อยล้วน ๆ เพียง 1-2 นาที ในอัตราส่วนผสม ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว = 2 : 1 ดังแสดงในตารางที่ 2 ดังนั้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน จึงต้องผสมขุยมะพร้าวในอัตราต่ำ ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากราคาของขุยมะพร้าวจะสูง (ชานอ้อยจะได้มาจากโรงงานฟรี แต่เพียงเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง) ในชั้นนี้ อัตราส่วนผสมที่แนะนำให้ผสมคือ ชานอ้อย : ขุยมะพร้าว = 4 : 1 ซึ่งเวลาการต้มน้ำก็อยู่ในช่วง 21 ถึง 18 นาที
ค่าความร้อนและความหนาแน่นของแท่งเชื้อเพลิงเขียว
จากการเอาแท่งเชื้อเพลิงเขียวไปทดสอบหาค่าความร้อนกับเครื่อง Caloremeter Bomb แล้วค่าที่ได้จากการใช้ชานอ้อยเน่าเปื่อยล้วนๆ จะสูงกว่าที่ผสมกับขุยมะพร้าว แต่จะต่ำกว่าของไม้ฟืนและถ่าน ทั้งนี้เนื่องจากถ่านได้ผ่านขบวนการเผา (Carbonization) ซึ่งทำให้มีปริมาณคาร์บอนเสถียรสูงค่าความร้อนก็สูงตาม แต่ทั้งนี้แท่งอัดเชื้อเพลิงเขียวก็ยังให้ค่าความร้อนสูง ซึ่งสามารถต้มน้ำเดือดภายในเวลาประมาณ 18-34 นาที ในขณะที่ฟืน (ไม้มะขามเทศ) ใช้เวลาเฉลี่ย 28 นาที และถ่าน (ไม้มะขามเทศ) ใช้เวลาเฉลี่ย 36 นาที
การตากแห้ง
ในการอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวนั้น จะใช้วัสดุที่มีความชื้นสูง (สูงกว่า 100%) ดังนั้นก่อนนำไปใช้ก็จะต้องทำให้แห้ง วิธีการที่สะดวกและประหยัด สำหรับชาวบ้านก็คือการตากแดดโดยตรง อาจจะตากบนพื้นซีเมนต์ หรือบนสังกะสีลูกฟูก ฯลฯ ก็นับว่าเป็นวิธีการที่ประหยัด ซึ่งสำหรับโครงการนี้ก็ทำการทดลองตากแดดโดยตรงบนพื้นซีเมนต์ เป็นเวลา 2-3 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ก็มีวิธีการตากหรือการทำให้แห้งหลายวิธี นอกจากตากแดดโดยตรง คือ
- อบในตู้อบแสงอาทิตย์
- อบด้วยความร้อนจากเตาเผาขยะ
- อบด้วยความร้อนที่เหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
- อบด้วยความร้อนจากเครื่องทำความร้อน
การเก็บรักษาแท่งเชื้อเพลิงเขียว
การตัดให้เป็นแท่งเพื่อให้ดูสวยงามและสะดวกในการหีบห่อ การตัดควรกระทำหลังตากแห้งเรียบร้อยแล้ว การตัดอาจจะใช้มีดคมๆ หรือใบมีดคัดเตอร์ตัดเป็นท่อนๆ ตามต้องการ การตัดเป็นจำนวนมากๆ จะใช้เครื่องตัดก็ได้ ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องการความสวยงามก็ใช้มือหักเอา
การบรรจุหีบห่อโดยที่เชื้อเพลิงเขียวจะมีลักษณะโปร่ง (porosity) ดังนั้นถ้าเก็บไว้ในที่มีความชื้นสูง จะทำให้แท่งเชื้อเพลิงมีราขึ้น เหตุนี้จึงต้องเก็บไว้ในที่แห้ง การใส่ถุงพลาสติกแล้ว ซีลปากถุงก็จะช่วยได้มากจะใช้ถุงเล็กหรือถุงใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ต้องการเก็บไว้ใช้และความสะดวกที่มี หากไม่สะดวกจะใช้เชือกผูกแท่งเชื้อเพลิงไว้เป็นมัดๆ ก็ได้ ข้อสำคัญต้องเก็บไว้ในที่แห้งที่ฝนหรือละอองน้ำไม่กระเซนเข้าไป
การนำแท่งเชื้อเพลิงเขียวไปใช้ในการหุงต้ม
หักแท่งเชื้อเพลิงให้เป็นท่อนสั้นๆ มีความยาวสัก 1 นิ้ว จำนวน 3-4 ท่อน จุ่มลงในแอลกอฮอล์จุดไฟ แล้ววางเรียงในเตาเพื่อใช้เป็นเชื้อติดไฟ (starter) เอาแท่งเชื้อเพลิงที่ไม่ได้จุ่มแอลกอฮอล์วางซ้อนเป็นชั้นๆ ในเตาแล้วจึงจุดไฟ หรือจะใช้น้ำมันแก๊สโซลีน เศษกระดาษหรือเศษฟืนเล็กๆ เป็นเชื้อติด
http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/Green%20Fuel%20Briquette.php |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/11/2011 9:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,039. สารอาหารที่ทำให้ผมสวย
อาหารที่ทานในแต่ละวัน มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมแค่ไหน? และเส้นผมต้องการสารอาหารชนิดใดเพื่อบำรุงให้สวยงาม
ผมแต่ละเส้นมีระยะเวลาในการเติบโตประมาณ 6-7 ปี จากนั้นจึงจะหลุดร่วงไปตามธรรมชาติแล้วมีผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เส้นผมมีวงจรการเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอาจต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วง ผมบาง ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการดูแลอย่างไม่ถูกต้องหรือขาดสารอาหาร เนื่องจากเส้นผมเป็นสิ่งที่สะท้อนสุขภาพโดยรวม ซึ่งแร่ธาตุที่ทำให้เส้นผมเจริญเติบโตเร็วประกอบด้วย ธาตุเหล็ก ที่มีในเซลล์เม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้ดีและทำให้เส้นผมไม่เปราะขาดง่าย
สังกะสี เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการขาดร่วงของเส้นผม มีมากในงาและดาร์ค ชอคโกแลต ส่วน อินโนซิทอล ช่วยในการย่อยไขมันให้กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ และช่วยในการสร้างเซลล์กระดูกใหม่ๆ เซลล์เส้นผม ผิวหนัง และเยื่อหุ้มเซลล์
ด้านวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของผมได้แก่ วิตามิน เอช. ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ไบโอติน หรือวิตามิน บี-7 พบได้ในถั่วและไข่แดง วิตามิน เอช.จะช่วยป้องกันการเกิดผมขาวและผมหลุดร่วง วิตามิน เอ.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงผม มีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ ชีส ผักขม ปลา นม บร็อคโคลี แครอท และผักกะหล่ำ
วิตามิน ซี. จะช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ผมไม่เปราะหักง่ายและกระตุ้นการเกิดใหม่ของเส้นผม อย่างไรก็ตามควรทานผลไม้ที่มีวิตามิน ซี. อย่างฝรั่งหรือส้ม มากกว่าทานวิตามิน ซี.แบบเม็ด ยกเว้นตามคำสั่งแพทย์ ด้านวิตามิน อี. ทำให้โลหิตไหลเวียนบริเวณหนังศีรษะได้ดี พบมากในผักใบเขียว ถั่วเหลือง แต่ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงไม่ควรทาน
สุดท้าย วิตามิน บี-5 ทำให้เส้นผมแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย และป้องกันการเกิดผมขาว มีในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ตับ เครื่องในสัตว์ ไข่แดงและผัก
ทีมเดลินิวส์ ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=172281&categoryID=424 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 9:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,040. น้ำท่วมไทย กระทบราคาข้าวไทยในฮ่องกง
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ เมืองฮ่องกง เปิดเผยว่า ราคาข้าวไทยในฮ่องกง มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาอุทกภัยในประเทศไทยทำให้ปริมาณส่งออกข้าวลดลง และจากการที่มีข่าวว่ารัฐบาลไทยได้ประเมินผลกระทบของอุทกภัยครั้งนี้จะมีต่อการผลิตข้าวถึง 6-7 ล้านตัน
ผู้ค้าข้าวของ ฮ่องกงคาดการณ์ว่า ในเดือนตุลาคมปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอาจจะลดลงจาก 1 ล้านตัน เหลือเพียง 550,000 ตัน และภายในสิ้นปีนี้ ราคาข้าวอาจสูงขึ้นอีกร้อยละ 20 นาย Lee Kwong-lam ผู้ค้าส่งชาวฮ่องกงกล่าวว่า
ปัจจุบันผู้ค้าข้าวไทยได้เสนอราคาขายข้าวที่สูงกว่าราคาก่อนเกิดอุทกภัยร้อย ละ 20 และแม้ปัจจุบันราคาข้าวไทยในตลาดฮ่องกงยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าเมื่อข้าวหมดสต๊อก คาดว่าราคาข้าวไทยในฮ่องกงอาจจะสูงขึ้น
นาย Eric Chu กรรมการบริษัท Lick Sang Rice ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำเข้าข้าว ให้ความเห็นว่า นาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นนาข้าวที่ปลูกข้าวเกรด กลาง-ต่ำ ในขณะที่ผู้บริโภคชาวฮ่องกงส่วนใหญ่บริโภคข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวเกรดสูง ราคาข้าวไทยในตลาดฮ่องกงจึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ดี นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไทยที่ประกาศใช้ก่อนหน้านี้ได้ส่งผลให้ราคาข้าวไทย สูงขึ้น โดยปัจจุบันผู้นำเข้าข้าวชาวฮ่องกงต้องซื้อข้าวไทยในราคาสูงกว่าเดิมร้อยละ 10
ฮ่องกงเป็นผู้นำ เข้าข้าวไทยอันดับต้นๆ โดยในเดือน ม.ค.-ก.ย. 2554 ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากไทยจำนวน 153.7 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 61.8 ของปริมาณการนำเข้าข้าวทั้งหมด
http://www.mmthailand.com/mm/news/news-mmthailand/thai-rice.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:24 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,041. สุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย 2554
ผลักดันอย่างต่อเนื่อง กับ โครงการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ที่ปีนี้มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จัดขึ้นเป็นปีที่ 5
โดยหวังว่าจะมีส่วนทำให้ประเทศไทยเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตข้าวทั้งระบบ ไม่ใช่แค่การผลิตเมล็ดข้าวขายเป็นเกวียน แต่ต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวของไทย
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิข้าวไทยฯ บอกว่า ยุคของวิกฤติสงครามแย่งน้ำมันกำลังจะหมดไป เพราะไม่มีเหลืออีกแล้ว แต่ยุคหน้าจะเป็นยุคของการแย่งน้ำแย่งอาหาร เพราะประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นโดยคาดกันว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีเพิ่มขึ้นถึง 9,000 ล้านคน จากปัจจุบันที่มีกว่า 6,900 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายล้านคนที่ไม่มีจะกิน
ดังนั้น ข้าว...สำหรับคนไทย ไม่ใช่เพียงแค่อาหารหลักที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังเป็นความมั่นคงด้านอาหาร และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ
การประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ก็เป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวไทยเพิ่มมากขึ้น และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และพัฒนาความใฝ่รู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน
ทั้งนี้ได้มีการประกาศผลรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ประจำปี 2554 จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 36 ผลงานพิเศษปีนี้แบ่งเป็น 2 ระดับคือระดับอุตสาหกรรมและระดับวิสาหกิจชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบด้านการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา
สำหรับระดับอุตสาหกรรม ปีนี้ไม่มีผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่มีได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง หรือที่ 2 จำนวน 2 ผลงาน
ผลงานแรก คือ คิง ครีมเทียมจากน้ำมันรำข้าว ผลงานจากบริษัทน้ำมันบริโภคไทย จำกัด ซึ่งนายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหารบริษัทฯ บอกว่า เป็นผลงานล่าสุดของบริษัท หลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศปีที่แล้วซึ่งพัฒนาเนยขาวจากกระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าวได้เป็นครั้งแรกของโลก ส่วนปีนี้ก็เป็นการพัฒนาต่อยอดจากการผลิตน้ำมันรำข้าว อีกเช่นกัน โดยนำมาทำเป็นครีมเทียมจากน้ำมันรำข้าว ที่ผ่านกระบวนการทางกายภาพ แช่เย็นและตกผลึกหลายขั้นตอนภายใต้สภาวะควบคุมแล้วนำไขอ่อนซึ่งมีเพียง 4% ของวัตถุดิบตั้งต้นไปผลิตเป็นครีมเทียม ไม่มีกรดไขมันอิ่มตัว ปราศจากไขมันทรานส์ และมีสารแกมมาโอรีซานอลสูง ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าใหม่ของสินค้ามากกว่า 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันรำข้าวแบบปกติ
ส่วนอีกหนึ่งผลงานคือ ไอศกรีมข้าว 15 นิ้ว จากบริษัทฟู้ดดี้ส์ พลัส จำกัด เจ้าของนวัตกรรมไอศกรีมผลไม้รูปไข่แบรนด์ไอมารุ ที่เคยคว้ารางวัลด้านนวัตกรรมอาหารมาก่อน นายมรุต ชโลธร เจ้าของผลงาน บอกว่า แม้ข้าวจะเป็นของใกล้ตัวแต่เมื่อนำมาคิดเป็นเชิงพาณิชย์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเกิดแนวคิดที่จะนำมาทำเป็นส่วนผสมของไอศกรีมที่ทุกคนคุ้นเคย
โดยเลียนแบบไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ( Soft Serve) มีส่วนผสมจากข้าว นมและถั่วเหลือง มีจุดขายที่เป็นไอศกรีมที่ไม่ละลาย เนื่องจากนำส่วนผสมแป้งดิบ ผ่านกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยวิธีทางกายภาพ ทำให้ละลายได้ในน้ำเย็นและคงตัว ใช้ได้กับเครื่องปั่นไอศกรีมทั่วไป สามารถสร้างมูลค่ามากกว่า 20 เท่า ของแป้งข้าวเจ้าปกติ ส่วนคำว่า 15 นิ้วเป็นเทคนิคการขายที่จะให้แข่งกันทำไอศกรีมที่สูงที่สุดซึ่งปัจจุบันสามารถทำสถิติได้ประมาณ 13-14 นิ้ว
สำหรับรางวัลที่ 3 ก็มี 2 รางวัลคือ ผลงาน แป้งพัฟจากแป้งข้าวเจ้า Oryze ของบริษัท ไทยโปรดักส์ อินโนเวชั่น จำกัดที่นำแป้งข้าวเจ้ามาดัดแปลงให้มีความละเอียดสูง ทดแทนทัลคัมให้ความรู้สึกลื่นเรียบเนียน ป้องกันความชื้น ดูดซับความมันได้ดี และมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักร่วมกับสารสกัดธรรมชาติ พัฒนาสูตรเป็นผลิตภัณฑ์แป้งพัฟ ที่มีลักษณะเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากแป้งพัฟที่ผลิตจากทัลคัม และผลงานข้าวสุกอบกรอบสำเร็จรูป โอแคร์มีล จากบริษัท โอแคร์ จำกัด ที่สามารถนำมาปรุงได้ 2 ลักษณะใน 1 ซองคือ โจ๊ก และธัญพืชพร้อมดื่ม
นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษคือระบบกำจัดแมลงศัตรูพืชในข้าวสารด้วยก๊าซไนโตรเจน จากบริษัท สยาม วอเตอร์เฟลม จำกัด ซึ่งใช้ก๊าซไนโตรเจนที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 99.99 สำหรับการฆ่าแมลงหรือมอดในข้าว ทดแทนการใช้สารเคมี และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ส่วนรางวัลระดับวิสาหกิจชุมชน มีผลงานได้รับรางวัลชมเชย 2 รางวัลคือ ผลงาน ข้าวหมากเย็น ยายอิ ที่ประยุกต์ข้าวหมากให้มีความทันสมัย ทานง่ายคล้ายทานไอศกรีม และผลงานธัญพืชไฮโดรไลซิส ข้าวซ้อมมือเต็มเมล็ดอบกรอบ ที่สามารถนำไปเป็นอาหารข้าวที่มีคุณค่าได้
เห็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ของนวัตกรรมด้านข้าวของไทยแล้วน่าชื่มชมและเป็นกำลังใจให้ เพราะหากมีการพัฒนานวัตกรรมข้าวไทยมากขึ้น เกษตรกรไทยก็จะยิ่งมีโอกาสและทางเลือกมากขึ้นเช่นกัน!!!
นาตยา คชินทร
แหล่งที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=8863 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,042. "เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนานํ้าตม" ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการปลูกข้าว
งานถนนเทคโนโลยี 2554 ที่จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีกิจกรรมอีกหนึ่งอย่างในงานก็คือ การจัดประกวด นวัตกรรมเพื่อการเกษตร โดยผลการประกวดครั้งนี้มีผลงานที่น่าสนใจมากมาย
รางวัลชนะเลิศ ก็คือผลงาน เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตม ของ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก โดย นายวัฒนชัย สุภา ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก นายประมาณ แย้มชู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ นายประพันธ์ พงษภู่ นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน
นายประมาณ แย้มชู หนึ่งในผู้ประดิษฐ์ นวัตกรรมชิ้นนี้ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการคิดค้นเครื่องนี้ขึ้นมา เนื่องจากที่ผ่านมาทางศูนย์ฯ ได้รับมอบหมายจากกรมการข้าวให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปีละประมาณ 5,500 ตัน โดยแต่ละปีจะมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์หลักประมาณ 160 ตัน แต่ก็ประสบปัญหาเมล็ดพันธุ์หลักมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการ ทางศูนย์ฯ จึงคิดประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตม เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกรลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ โดยที่ไม่มีผลต่อคุณภาพ ปริมาณผลผลิต และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรได้
สำหรับโครงสร้างของเครื่อง จะประกอบด้วยต้นฐานรองรับส่วนกลไกหยอดเมล็ดพันธุ์ ใช้วัสดุที่เป็นเหล็กเพื่อรองรับส่วนกลไกหยอดเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้วัสดุเป็นท่อพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว นำมาตัดเป็นท่อนยาว 13 ซม. แล้วเจาะเป็นรูครึ่งวงกลมจำนวน 12 รู และส่วนที่ประกอบใช้ สแตนเลสทำเป็นรูปกล่อง โดยท่อนพลาสติกจะหมุนแล้วตักเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก กล่องสเตนเลส ลงแปลงปลูก
สำหรับในส่วนขับเคลื่อน ประกอบไปด้วยวงล้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 ซม. มีเพลาติดกับล้อโซ่พร้อมสเตอร์ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังให้ส่วนของกลไกการหยอดเมล็ดทำงาน ส่วนการบังคับการทำงานจะใช้วิธีการล็อกแผ่นเหล็กสองแผ่นเข้าหากัน มีสลักบังคับให้ส่วนกลไกหยอดเมล็ดทำงาน หรือหยุดทำงานได้ โดยสามารถใช้เครื่องนี้ร่วมกับรถไถเดินตาม
นายประมาณ กล่าวต่อว่า ก่อนเครื่องมือจะสำเร็จต้องลองผิดลองถูกทำการวิจัยเป็นเวลา 2-3 ปี และเพิ่งประดิษฐ์สำเร็จและทดลองจนได้ผลที่พอใจเมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณในการประดิษฐ์จำนวน 35,000 บาทต่อเครื่อง จากการนำไปทดลองใช้ในแปลงนาทดลองของเกษตรกร ที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก พบว่าสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนได้ประมาณ 1,250 บาทต่อไร่
ทั้งนี้ปัจจุบันเกษตรกรจะมีต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ยประมาณ 4,000-5,000 บาทต่อไร่ และต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อทดลองใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตม แล้ว ทำให้ใช้ต้นทุนในการปลูกข้าวเหลือประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อไร่ และจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหลือเพียง 6-10 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ขณะที่ผลผลิตที่ได้มีปริมาณเท่าเดิม คือ 700 กิโลกรัมต่อไร่ โดยเกษตรกรจะมีต้นทุนลดลงจากการใช้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงในปริมาณต่อไร่ที่ลดน้อยลง แต่คุณภาพข้าวที่ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก ได้มอบผลงานให้หน่วยงานทางต้นสังกัด คือ กรมการข้าว เป็นผู้ดูแล ซึ่งจะมีการนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์หรือไม่นั้น ทางอธิบดีกรมการข้าวจะเป็นผู้พิจารณา ส่วนเกษตรกรที่สนใจผลงานสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก โทร.0-5531-1018 หรืออีเมล : psl_rsc@ricethailand.go.th
จิราวัฒน์ จารุพันธ์
Jirawatj@dailynews.co.th
แหล่งที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=7690
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/11/2011 11:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:31 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,043. สกัดสารจากเห็ดนางรม ทำผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย
นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. ได้ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัดธรรมชาติเห็ดนางรมทองและนางรมดอย (เพียว สมูท : Pure-Smooth) ปลอดสารเคมี 100 % จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวลดริ้วรอย (Pure - Smooth Anti-wrinkle Serum) และ ผลิตภัณฑ์แผ่นผ้ามาร์คหน้า (Pure - smooth Anti-wrinkle Facial Mask)
นางภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 นั้นได้สารสกัดมาจากเห็ดนางรมทองและเห็ดนางรมดอย ซึ่งเห็ดนางรมทองมีศักยภาพในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนต่อผิวหนัง สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ ส่วนเห็ดนางรมดอยมีคุณสมบัติเฉพาะทำให้เกิดการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดี เมื่อนำมาผสมผสานกันจึงทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน
นางภัทรา เล่าต่อว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นความสำเร็จจากการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางต้านริ้วรอยจากสมุนไพร ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550-2554 ในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสมุนไพร ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่วัตถุดิบจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านการทดสอบความปลอดภัย ไม่ก่อการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง ทั้งยังไม่ก่อความเป็นพิษเฉียบพลันต่อผิวหนังอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้นำไปทดสอบกับผู้ใช้จริง ปรากฏว่าเมื่อใช้ไป 1 เดือน สามารถลดริ้วรอยได้ถึง 70% ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก และเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป เนื่องจากการสร้างคอลลาเจนจะลดลง ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นน้อยลงจนเกิดริ้วรอยตามมา นางภัทราให้ข้อมูล
จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ทราบได้ว่า นอกจากจะนำเห็ดมาบริโภคเพื่อคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อช่วยลดการใช้เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศได้อีกด้วย
โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเห็ดเขตหนาวดอยปุย จ.เชียงใหม่ ในการนำเห็ดมาทำการวิจัย และพร้อมเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในมูลนิธิโครงการหลวงและกลุ่มเกษตรกรทั่วไป ให้เพาะเห็ดนางรมทองและเห็ดนางรมดอยในระดับเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ให้เกษตรกรต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากเห็ดนางรมนี้ ได้ยื่นจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยทาง วว.ได้นำมาเปิดตัวระหว่างการแถลงข่าวผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัดธรรมชาติเห็ดนางรมทองและนางรมดอย เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยี วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจหรือบริษัทเอกชน สามารถติดต่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ โดยสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ที่ โทร.0-2577-9300 หรือ 0-2577-9000 เว็บไซต์ http://www.tistr.or.th/ อีเมล์ tistr@tistr.or.th
นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถมาชมผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากเห็ดนางรมได้ที่งาน "เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 48 ปี วว." ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 พ.ค 54 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ที่ วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี.
แหล่งที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=7242 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,044. วิจัยโครงสร้าง "เจลสตาร์ชข้าว"
รศ.ดร.สงวนศรี เจริญเหรียญ รับรางวัล จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.
อาหาร สำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง...เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้น เนื่องจากความต้องการในด้าน ความรวดเร็ว สะดวกสบาย และ อาหารที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการ...
"ข้าว"...เป็นสินค้าส่งออกอันดับ ต้นๆไปต่างประเทศ และยังเป็นอาหารหลักของคนไทย ณ ปัจจุบันนี้ ก็ยังได้รับความนิยมและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง...
ดังนั้น การพัฒนาข้าวไทยให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งด้านของ การเกษตรและคุณค่าทางอาหาร ในการนำข้าวมาผลิตเป็นส่วน ประกอบอาหารสำเร็จรูปแช่ เยือกแข็ง...จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
รศ.ดร. สงวนศรี เจริญเหรียญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิจัยเรื่อง "การพัฒนาโครงสร้างในเจลสตาร์ชข้าวให้ทนต่อการแช่เยือก แข็งและทำลายโดยการเติมสารพอลิแซคคาไรค์ ของไทย" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก...สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
รศ.ดร. สงวนศรี บอกว่า...เจลสตาร์ชข้าว หรือ องค์ประกอบหลักของข้าวสุก ซึ่ง ประกอบด้วยน้ำและแป้งข้าวสุกนั้น เมื่อผ่าน การแช่เยือกแข็งและทำละลายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ได้แก่ การเกิดโครงสร้างแบบฟองน้ำ เนื้อสัมผัสที่แน่นแข็ง และการแยกตัวของน้ำ ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่ไม่ พึงประสงค์ของผู้บริโภค
โครงการวิจัย นี้... ได้ตั้งสมมติฐานว่า สารพอลิแซคคาไรด์ของไทยบางชนิดสามารถช่วยลดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ โดยได้เลือก สารพอลิแซคคาไรด์ของไทย 3 ชนิด คือ ผงบุกคอนยักกลูโคแมนแนน แป้งข้าวเหนียว และ สตาร์ชมันสำปะหลัง
รศ.ดร.สงวนศรี บอกอีกว่า ผลการวิจัยพบว่า สารพอลิแซคคาไรด์ ทั้ง 3 ชนิด สามารถช่วยทำให้ โครงสร้างของเจลสตาร์ชข้าวทนต่อการแช่ เยือกแข็งและทำละลายได้ โดยที่สารแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพและกลไกในการปรับโครงสร้างที่แตกต่างกัน
...ผง บุกคอนยักกลูโคแมนแนน มีประสิทธิภาพในการลดการเกิดโครงสร้างแบบฟองน้ำในเจลสตาร์ชข้าวแช่เยือกแข็ง และทำละลายได้ดีที่สุด รองลงมา คือ สตาร์ชมันสำปะหลัง และแป้งข้าวเหนียวตามลำดับ สำหรับสตาร์ชมันสำปะหลังนั้น...ถึงแม้จะลดการแยกตัวของน้ำและลดการเกิดโครง สร้างแบบฟองน้ำได้ แต่ก็ยังทำให้เจลสตาร์ชมีความแน่นแข็งมากขึ้น
ใน อนาคตจะเป็นประโยชน์และสามารถนำมาช่วยปรับปรุงคุณภาพของอุตสาหกรรมอาหาร เกี่ยวกับข้าว และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมายได้ทันต่อตลาดโลก...
ผลงานนี้จึงส่งผลให้ได้รับรางวัล นักวิจัยรุ่นใหม่ 2010 TRF-CHE-Scopus Researcher Awards ในสาขา Agricultural Science and Technology โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบรางวัลในการประชุม...นักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ 10.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
แหล่งที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=1171 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,045. เครื่องขนถ่าย และนับลูกปลา
ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สร้างผลงานนวัตกรรม เครื่องขนถ่ายและนับลูกปลา (Fish Transfer & Counter-WE511) โดยใช้เทคนิคการขนย้ายแบบแอร์ลิฟต์ ปั๊ม และเทคนิคการตรวจนับด้วยโฟโต้ เซ็นเซอร์ เพื่อ ใช้ในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจซื้อขายสัตว์น้ำ เป็นเครื่องมือเชิงอุตสาหกรรมได้
เครื่องขนถ่ายและนับลูกปลา เป็นผลงานของน.ส.ชาลิตา จันทรศรีวงศ์ นายปองพล ยังวิจิตร และนายพชร วิศวะกุล บัณฑิตจากภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ทีฆวุฒิ พุทธภิรมย์ ภาควิชาทรัพยากรน้ำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รางวัลชมเชย จากการประกวดนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2552
เครื่องขนถ่ายและนับลูกปลา สร้างขึ้นจากการนำหลักการพื้นฐานทางด้าน ฟิสิกส์และวิศวกรรมชลศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องขนถ่ายย้ายสัตว์น้ำ ซึ่งมีเทคนิคสองประการ คือ เทคนิคการขนย้ายโดยใช้ แอร์ลิฟต์ ปั๊ม และ เทคนิคการตรวจนับด้วยโฟโต้เซ็นเซอร์ ใช้หลักการสะท้อนของแสงต่อวัตถุซึ่งแปรผันกับสัญญาไฟฟ้ามาเป็นตัวตรวจนับ สามารถใช้ได้กับปลาเหยื่อในตลาดทั้ง 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก และแม่นยำมากที่สุดกับปลาเหยื่อขนาดใหญ่ ไม่สร้างความบอบช้ำหรือความเครียดต่อสัตว์น้ำที่ขนถ่าย อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เป็นอุปกรณ์ที่หาง่ายและใช้อยู่แล้วในธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงามและการขนย้ายปลาเหยื่อ สามารถนำไปประกอบด้วยตนเองได้
ทีมนักวิจัย บอกว่า ปัจจุบันการซื้อขายสัตว์น้ำยังใช้วิธีการนับด้วยกำลังคนซึ่งใช้เวลามากและตรวจสอบลำบาก งานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาธุรกิจการซื้อขาย ขนถ่าย และนับจำนวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่มีความละเอียดแม่นยำสูงสำหรับสัตว์น้ำที่มีราคาแพง ใช้ได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีความทนทานเสียหายยาก สามารถนำไปใช้กับสัตว์น้ำได้หลายชนิดและพัฒนาประยุกต์ใช้ใน ด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มผลิตผลในเชิงการค้าอีกด้วย.
แหล่งที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=1156 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:45 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,046. ม.อ. เร่งวิจัยสกัดน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกามาศ เจษฎ์พัฒนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับคณะผู้วิจัยจัดทำ โครงการการผลิตพลังงานทดแทนจากสาหร่ายขนาดเล็ก โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายหลักเพื่อให้สามารถใช้สาหร่ายขนาดเล็ก เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตพลังงานทดแทนในอนาคต
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการผลิตพลังงานจากพืชในประเทศไทย มักจะพบปัญหาการขัดแย้งด้านวัตถุดิบ เนื่องจากพืชที่ใช้สกัดเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ปาล์มน้ำมัน เป็นชนิดเดียวกับพืชน้ำมันที่ใช้บริโภค อีกทั้งต้องใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกมาก และใช้ระยะเวลานานในการเจริญเติบโต
ซึ่งเมื่อพบว่า สาหร่ายขนาดเล็กหรือ Microalgae บางสายพันธุ์ มีปริมาณน้ำมันและปริมาณสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนเหมาะสมที่จะผลิตเป็นพลังงาน และใช้เวลาในการเจริญเติบโตเพียง 1 สัปดาห์ก็สามารถนำไปสกัดน้ำมันได้ จึงได้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าวขึ้น
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า น้ำมันในสาหร่ายมีองค์ประกอบหลายส่วน บางชนิดมีองค์ประกอบที่สกัดแล้วได้น้ำมันที่มีคุณค่าทางอาหาร แต่ในงานวิจัยนี้ จะเน้นการนำมาผลิตไบโอดีเซล และไบโอแก๊สโซลีน ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
การที่จะได้สาหร่ายชนิดที่จะนำมาสกัดเป็นพลังงานในครั้งนี้ ได้มีการร่วมมือกับนักวิชาการที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงสาหร่ายที่มีปริมาณน้ำมันสูงจากคณะอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้มีการศึกษาการเลี้ยงสาหร่าย โดยมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่พบในแหล่งน้ำในท้องถิ่น และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์ Chlorella ซึ่งมีรายงานว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพ
เมื่อได้สาหร่ายสายพันธุ์ที่ต้องการแล้ว เราต้องมาหาวิธีการเก็บเกี่ยว และสกัดน้ำมันที่เหมาะสม เนื่องจากวิธีการสกัดสาหร่ายแบบดั้งเดิมจะต้องเป็นสาหร่ายที่ทำให้แห้งแล้ว แต่สาหร่ายตัวอย่างที่นำขึ้นมาจากบ่อ จะมีเนื้อสาหร่ายจริงอยู่ไม่ถึง 5% ที่เหลือเป็นน้ำ ซึ่งในการสกัดน้ำมันแต่เดิมนั้นมีหลายวิธี เช่น การใช้การบีบอัด ซึ่งไม่เหมาะสมเนื่องจากสาหร่ายมีขนาดเล็กมาก และการใช้เฮกเซน (hexane) มาเป็นตัวทำละลาย แต่สารชนิดนี้ เป็นตัวทำละลายที่ไม่ละลายในน้ำ
ดังนั้น หากมีน้ำผสมอยู่จะทำให้การสกัดทำได้ไม่ดี สาหร่ายจึงต้องไปผ่านกระบวนการอบแห้งมาก่อน ซึ่งต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ดังนั้น โครงการวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาและพัฒนาเรื่องการเก็บเกี่ยว และวิธีการสกัดน้ำมันโดยใช้ตัวทำละลายตัวอื่นที่ไม่จำเป็นต้องอบสาหร่ายให้แห้งเสียก่อน เพียงแต่ทำให้สาหร่ายตกตะกอนแล้วนำไปสกัดได้เลย ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกามาศ กล่าว
จากการศึกษาพบว่า สาหร่ายขนาดเล็กเป็นพืชที่ให้น้ำมันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันที่สกัดได้กับพืชน้ำมันชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ เป็นต้น โดยใน 1 กรัมของมวลสาหร่ายแห้งจะมีน้ำมันอยู่ประมาณ 30% แต่การที่จะเลี้ยงเพื่อนำมาสกัดน้ำมันให้เพียงพอนั้น ต้องใช้พื้นที่มาก ซึ่งหากมีการพัฒนารูปแบบวิธีการเลี้ยงสาหร่ายที่เหมาะสมจะสามารถประหยัดพื้นที่ได้มากขึ้น เช่น ออกแบบให้เลี้ยงในท่อ เป็นต้น
แม้โครงการนี้จะกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย ซึ่งจะใช้การเลี้ยงสาหร่ายด้วยสารอาหารในน้ำธรรมดา อย่างไรก็ตาม หากมีการศึกษาต่อไป ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้ในแหล่งน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาจทำอาชีพให้กับเกษตรกรได้ เพราะสาหร่ายขนาดเล็กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผลิตพลังงานในอนาคต เนื่องจากไม่ไปแย่งน้ำมันจากพืชที่ใช้บริโภคซึ่งเคยเกิดปัญหาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
แหล่งที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=1128 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:48 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,047. ฟาร์มใหม่แจ้งเกิดผลิตภัณฑ์นมควาย
หลังจากสร้างตลาดสำหรับน้ำนมกระบือภายใต้ชื่อ มูร์ร่าห์ฟาร์ม เป็นแห่งแรกของไทย ชาริณี ชัยยศลาภ ผู้จัดการบริษัท มูร์ร่าห์ แดรี่ จำกัดยังมองหาช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากนมกระบือ โดยเฉพาะเนยแข็งมอสซาเรลลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยได้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มาช่วยทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
เราเริ่มทำเนยแข็งมอสซาเรลลาในช่วงปี 2550 อาศัยการดูงานในอิตาลี และศึกษาข้อมูลจากหนังสือต่างประเทศ แต่ผลที่ได้กลับไม่เป็นไปตามคาด เนยแข็งมอสซาเรลลายังไม่ได้มาตรฐาน ชาริณีกล่าว
กระบวนการผลิตเนยแข็งแบบ "ครูพักลักจำ" ทำให้ผลผลิตเนยนุ่มบ้าง แห้งบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ถูกน้ำเปื่อยยุ่ย และไม่ยืดตัว จนกระทั่งได้ผู้เชี่ยวชาญจากสจล. เข้ามาปรบปรุงกระบวนการผลิตหาต้นเหตุของการผลิตที่ยังไม่เข้าที่เข้าทาง
ปัญหาที่ รศ.ดร.วรรณา ตั้งเจริญชัย หัวหน้าโครงการจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร พบคือ กระบวนการผลิตที่ยังขาดความเที่ยงตรงแม่นยำ อาศัยการประมาณส่วนผสมทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้สม่ำเสมอ
เราเริ่มปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่การพาสเจอร์ไรซ์นมที่ถูกวิธี เปลี่ยนจากการต้มโดยตรงมาเป็นต้มแบบหม้อ 2 ชั้น จากนั้นพัฒนาสูตรการหมักนม โดยวางสัดส่วนนมและเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ จัดให้มีการชั่ง ตวง วัดที่แน่นอน ขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมค่าความเป็นกรด/ด่าง (pH) ของนมตั้งแต่เริ่มหมัก รศ.ดร.วรรณา อธิบายกลไก
ค่า pH มีความสำคัญต่อการยืดตัวของชีส จากเดิมนมมีค่า pH 6.5 หากต้องการทำให้ชีสยืดตัว ต้องคงอุณหภูมิให้อยู่ที่ 41-42 องศาเซลเซียส จนจบกระบวนการผลิต เพื่อให้ค่า pH ค่อยๆ ลดลงมาอยู่ระดับ 5 ซึ่งชีสยืดตัวได้ดี
กระบวนการผลิตที่ชัดเจนขึ้นถูกนำไปทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการจนสำเร็จ ก่อนเดินเครื่องทดสอบในขนาดที่ใหญ่ขึ้น ผลผลิตชีสมอสซาเรลลาที่ได้จากกระบวนการผลิตใหม่ มีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น เนื้อไม่ยุ่ย มีความยืดตัว คุณภาพดี และแน่นอนทุกครั้งที่ผลิต เทียบเคียงได้กับของอิตาลี
หลังจากประสบความสำเร็จในการนำงานวิจัยมาช่วยปรับปรุงคุณภาพเนยแข็งมอสซาเรลลา ผู้จัดการบริษัท มูร์ร่าห์ แดรี่ จำกัดเผยว่า มีแผนที่จะทำวิจัยร่วมกับ สกว. โดยมอง หางนม หรือ Whey ซึ่งเป็นของเหลือจากการผลิต ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
ปกติ หางนมจะถูกนำไปทำริคอตต้าชีส และเป็นน้ำนมเลี้ยงลูกควาย แต่ก็ยังเหลือในปริมาณมาก ประกอบกับเรามองเห็นโอกาสในตลาดที่มีการนำหางนมวัวไปทำ เวย์โปรตีน อาหารเสริมมูลค่าสูง และนมควายมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า จึงอยากที่จะลองหาช่องทางพัฒนา ชาริณีกล่าว
เวย์โปรตีน มักผลิตในในรูปผง ซึ่งการทำผงต้องใช้เครื่องสเปรย์ดราย ราคากว่า 10 ล้าน จึงมองเป็นผลิตภัณฑ์อื่น อาจเป็นเครื่องดื่มเวย์โปรตีนจากนมควาย ที่จะทำตลาดได้ดี ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการทำโครงการและค้นหานักวิจัยผู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนต่อไป
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com/
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=496 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,048. พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ทุกวันนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า อีเวสต์ (e-waste) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียและเสื่อมสภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานแล้ว กำลังมีเพิ่มมากขึ้นทุกวันและถือเป็นสิ่งที่กำจัดทิ้งได้ยาก พราะเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของคน รวมถึงมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ทั้งนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่คนไม่ต้องการนั้นชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก ถือเป็นวัสดุที่ย่อยสลายเองได้ยากหรือต้องใช้เวลานาน ซึ่งในภาวะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน มีการรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มีการพูดถึงกันมากก็คือการนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการรีไซเคิล
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ที่เป็นพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวันกำลังเป็นปัญหาที่แก้ยากขึ้น เพราะปริมาณความต้องการใช้พลาสติกกลับไม่เคยลดลง ตราบเท่าที่เรายังต้องอาศัยเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเหล่านี้อยู่ แต่สิ่งที่ทุกคนร่วมมือทำกันได้ก็คือ ช่วยกันลดปริมาณการใช้ให้น้อยลงและใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อลดปัญหาที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนการใช้พลาสติก หรือการทำพลาสติกที่ ย่อยสลายได้ในเวลาไม่นานและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทั้งกระบวนการการผลิต การนำไป ใช้ และการย่อยสลาย ซึ่งก็ได้มีการทำการวิจัยคิดค้นจนเป็นผลสำเร็จแล้ว
งานวิจัยชิ้นนี้ คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Electronic Parts Made from Environmental Friendly Plastics) ผลงานของ นางวีราภรณ์ ผิวสอาด จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งยังได้ไปคว้าเหรียญเงินจาก การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรีในงาน Korea International Women's Invention Exposition 2010 (KIWIE 2010) ประเทศเกาหลีใต้ มาด้วย
นางวีราภรณ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่นำพลาสติกเข้ามาใช้ โดยชิ้นส่วนส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก ที่เรียกว่า พลาสติกวิศวกรรม ได้แก่ Acylonitrile-butadiene-styrene (ABS) หรือ Polycarbonate (PC) เป็นต้น ซึ่งเมื่อใช้แล้วทิ้งเป็นขยะสู่สิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี ปริมาณที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อนอย่างที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
งานวิจัยที่ทำขึ้นเป็นการนำพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาใช้ทดแทนพลาสติก กล่าวคือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเป็นพลาสติกที่เตรียมจากสารตั้งต้นที่มาจากธรรมชาติ พวก biomass เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด นำมาผ่านกระบวนการหมักและกระบวนการพอลิเมอไรเซชั่นได้เม็ดพลาสติก จากนั้นจึงนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็ได้ทดลองทำงานขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนเลนส์โฟกัสของเครื่องฉายภาพ
จากนั้นได้ทำการทดสอบ พบว่าหลังการใช้งานเมื่อเป็นขยะที่ทิ้งปนในสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และจากการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ จะขับถ่ายออกมาเป็น Co2 และน้ำ ที่พืชนำกลับไปใช้เป็นอาหารในการสังเคราะห์แสงด้วย จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการย่อยสลายไม่ได้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด ์สู่สภาวะสิ่งแวดล้อมเลย นอกจากนี้หากมีการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมากยิ่งขึ้น ยังจะเป็นผลดีกับเกษตรกรผู้ปลูกพืชอีกด้วย
ทั้งนี้ใครจะคิดว่า พืชจำพวก อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด จะกลายสภาพมาเป็นพลาสติกได้ ที่สำคัญพลาสติกที่ผลิตได้ จากพืชเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
ความสำเร็จครั้งนี้จึงนับได้ว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้แบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยในอนาคตข้างหน้า.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=490 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 11:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
1,049. เปลี่ยนความหวานเป็นพลังงานชีวมวล
ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่า ขณะนี้การดำเนินงานในเฟสแรกคือ บดลำไยหน้าโกดัง 60 แห่ง ใน 4 จังหวัดภาคเหนือ เรียบร้อยแล้ว และจะนำไปอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล คาดว่าสามารถนำออกจำหน่ายให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นเงินรายได้คืนสู่ภาครัฐไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท ทีเดียว
โครงการนี้นอกจากจะแปรสภาพลำไยค้างสต๊อกที่เน่าเสียให้มาเป็นเชื้อเพลิงและทำให้รัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดังเพื่อจัดเก็บแล้ว ที่สำคัญยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อลำไยในต่างประเทศว่าจะไม่มีการปลอมปนลำไยค้างสต๊อก ช่วยทำให้ราคาลำไยที่ส่งออกสูงขึ้นอีกด้วย และความสำเร็จที่ได้มานี้...ปฏิเสธไม่ได้กับความสำคัญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้แก้ไขปัญหา
ดร.รังสรรค์ ทองทา อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) บอกว่าได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ร่วมมือกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย พัฒนาเครื่องจักรเพื่อดำเนินการรีไซเคิลลำไยอย่างบูรณาการทั้งด้านวิชาการและวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเทคโนโลยีหลักที่ใช้ก็คือ เครื่องบดย่อยหน้าโกดัง และเครื่องอัดแท่งชีวมวลที่เป็นการพัฒนาต่อยอดเครื่องจักรในโครงการวิศวกรรมย้อนรอย
นอกจากนี้ยังมีการนำเทค โนโลยีมาใช้ในหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจนับจำนวนและปริมาณลำไยจากโกดังด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ซึ่งมีการขนกล่องใส่รถเข็นผ่านระบบเครื่องชั่ง มาตรฐานพร้อมให้คนงานแตะบัตรที่เป็นของตัวเอง ทำให้ข้อมูลทั้งจำนวนกล่องและน้ำหนักลำไยถูกส่งผ่านคอมพิวเตอร์ มีการพิมพ์รายละเอียดลงบนกระดาษคาร์บอนเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน ขณะเดียวกันข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปเก็บยังเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางโดยระบบส่งผ่านข้อมูลผ่านดาวเทียม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูการทำงานผ่านเว็บไซต์ติดตามผลได้ทันที
และเพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดไร้สายครอบคลุมพื้นที่การทำงานทั้งหมด บันทึกตลอดระยะเวลาการทำงาน และใช้ระบบจีพีเอส แทร็คกิ้งติดตามรถขนส่งต่าง ๆ
สำหรับการดำเนินงานในเฟสสอง ดร.รังสรรค์ บอกว่า จะเป็นขั้นตอนของการพัฒนาเป็นชีวมวล ซึ่งมีการลำเลียงลำไยที่บดย่อยแล้วไปสถานที่ผลิต 2 จุดใหญ่ คือ ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งสมาคมเครื่องจักรกลไทยเป็นผู้ดำเนินการ และที่จังหวัดสระบุรี มทส.เป็นผู้ดำเนินการ
โดยเครื่องอัดแท่งชีวมวลจะทำการอัดแท่งลำไยที่บดแล้วขึ้นรูปเป็นพิวเล็ต (pillet) หรือเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ พร้อมใช้ในอุตสาหกรรมและโรงอบลำไยต่าง ๆ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งในส่วนของ มทส.ที่สระบุรี ได้ตกลงจำหน่ายเชื้อเพลิงดังกล่าวกับภาคอุตสาหกรรมคือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะนำไปใช้ที่โรงงานแก่งคอยและท่าหลวง
สุดท้ายแม้แต่ปัญหาระดับชาติ .... วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีคำตอบ!!!!.
นาตยา คชินทร
nattayap@dailynews.co.th
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=485 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:01 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,050. สจล.พัฒนาหัวเตาเผาน้ำมันพืชใช้แล้ว
รศ.ดร.จารุวัตร เจริญสุข (เสื้อขาว)
ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.จารุวัตร เจริญสุข สาขาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) และคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย นายเกษมศิลป์ อ่อนทอง และนายอาวุธ ลภิรัตนากูล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงได้พัฒนาหัวเผาน้ำมันพืชใช้แล้วสำหรับการใช้กับเตาหุงต้มในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
โดยมีแนวคิดในการช่วยลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรและประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรวมทั้งเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง โดยในการคิดค้นหัวเผาดังกล่าวได้นำเทคโนโลยีการเผาไหม้โดยใช้วัสดุพรุนมาปรับใช้เพื่อให้เปลวไฟมีเสถียรภาพสูงสามารถกักเก็บอุณหภูมิได้ดี รวมทั้งนำน้ำมันปาล์มใช้แล้วมาเป็นเชื้อเพลิงในการทดสอบหัวเผาที่คิดค้นขึ้น โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับหัวเผาที่ใช้ก๊าซหุงต้ม
รศ.ดร.จารุวัตร กล่าวว่า จากการศึกษาโดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่ได้จากหัวเตาเผาน้ำมันปาล์มใช้แล้วกับหัวเผาก๊าซหุงต้มพบว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของหัวเผาน้ำมันปาล์มใช้แล้วมีค่าต่ำกว่าเล็กน้อย เนื่องจากความร้อนจากหัวเผาน้ำมันปาล์มส่วนหนึ่งจะต้องเสียให้กับขดท่อไอน้ำมัน ประกอบกับค่าความร้อนของเชื้อเพลิงของน้ำมันปาล์มต่ำกว่า LPG และคุณสมบัติของน้ำมันปาล์มที่มีการผสมกับอากาศและการเผาไหม้ที่ยากกว่าก๊าซ LPG
หัวเผาน้ำมันพืชใช้แล้วสำหรับการใช้กับเตาหุงต้มในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายจากการใช้งานของหัวเผาน้ำมันปาล์มกับหัวเตาเผา LPG ที่ใช้หุงต้มในครัวเรือนทั่วไป โดยนำมาทำการต้มน้ำให้เดือดที่ระดับพลังงานเดียวกันเป็นเวลา 30 วัน ๆ ละ 2 ครั้ง นำระยะเวลาในการต้มแต่ละครั้งมาคำนวณหาค่าการใช้เชื้อเพลิงจากการต้มน้ำของหัวเตาเผาทั้งสองชนิด ปรากฏว่าหัวเผาน้ำมันปาล์มใช้เวลาในการต้มนานกว่าหัวเผา LPG ประมาณ 1-3 นาที แต่เมื่อนำมาคำนวณค่าใช้จ่ายพบว่า หัวเตาเผาน้ำมันปาล์มใช้แล้วจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงมาได้ประมาณ 36.5% ต่อหน่วยพลังงานความร้อนที่ใช้ไป
รศ.ดร.จารุวัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการพัฒนาหัวเผาน้ำมันพืชใช้แล้วในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการให้ในท้องตลาดหรือครัวเรือนทั่วไป มีเตาให้ความร้อนที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิดโดยปรับให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิงที่หาได้ในขณะนั้น และมีขั้นตอนในการจุดและดับไฟที่ไม่ซับซ้อน ราคาไม่แพง เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่วไปหันมาใช้เตาหุงต้มชนิดนี้มากขึ้น
สำหรับต้นทุนของเตาหุงต้มที่คิดค้นขึ้นนี้มีต้นทุนเตาละประมาณ 3,000 บาท ดังนั้น หากสถานประกอบการที่มีการใช้ก๊าซหุงต้มในปริมาณมากและหัวเตาเผาน้ำมันพืชใช้แล้วที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับแก๊สหุงต้มที่ใช้อยู่เดิม จะสามารถคำนวณระยะเวลาคืนทุนได้ในระยะเวลาสั้น เช่น ครัวเรือนขนาดกลาง-ใหญ่ และผู้ประกอบการที่มีอัตราการใช้ก๊าซหุงต้ม 1 ถังต่อสัปดาห์ มีค่าใช้จ่าย 315 บาท/สัปดาห์
สำหรับผู้สนใจงานวิจัยดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.จารุวัตร เจริญสุข สาขาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) โทร.0-2326-4197 หรือ email: kcjarruw@kmitl.ac.th
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=475 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,051. แปลงรำข้าวเป็นตัวช่วยผู้ป่วยเบาหวาน-ธาลัสซีเมีย
ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย นักวิจัยฝ่ายเคมีอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยความก้าวหน้างานวิจัยในงานสัมมนา "นวัตกรรมผลงานวิจัย วช. สร้างมูลค่าเพิ่มข้าวไทยสู่อาหารเพื่อสุขภาพ" ว่า รำข้าวที่มักถูกทิ้งหรือขายในราคาถูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์สามารถเพิ่มมูลค่าสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
ผศ.ดร.รัชนีกล่าวว่า งานวิจัยนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับรศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำรำข้าวสินเหล็กและข้าวไรซ์เบอร์รี่มาวิจัยต่อยอด โดยเริ่มจากรำลูกกลอนและน้ำมันรำข้าว
เราพบว่า รำข้าวมีเบต้าแคโรทีน วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จึงนำมาพัฒนาเป็นรำลูกกลอน แล้วนำไปทดสอบในหนู
ทีมวิจัยใช้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องพึ่งอินซูลิน แล้วแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับรำลูกกลอนและกลุ่มควบคุม ซึ่งผลที่ได้พบว่า หนูที่ได้รับรำลูกกลอนนั้น มีปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง และยังพบว่า สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์อินซูลินได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยไม่พบผลทางพิษวิทยาเกิดขึ้นกับตับหรือไตของหนูทดลองอีกด้วย
ผศ.ดร.รัชนีเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารวิเคราะห์ผลโดยละเอียดของการทดสอบในหนู เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีในการทดสอบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์
ผลการทดสอบในคนคาดว่าจะได้ผลที่แน่ชัดภายในปี 2554 และหากสำเร็จเป็นที่น่าพอใจก็จะผลักดันให้ไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งรำลูกกลอนนี้จะช่วยลดต้นทุนค่ายา ลดความเสี่ยงตับไต และอวัยวะภายในถูกทำลายจำยารักษาเบาหวาน ในขณะเดียวกันก็ช่วยเกษตรกรไทยอีกด้วย นักวิจัยมหิดลย้ำ
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังมองว่า รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ตับและม้ามโต จากปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายสูง เม็ดเลือดแดงอายุสั้น จึงสกัดน้ำมันรำข้าวและทดสอบในหนู
ผศ.ดร.รัชนีกล่าวว่า หนูที่ถูกกระตุ้นให้เป็นธาลัสซีเมียจะได้รับน้ำมันรำข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน ผลที่ได้พบว่า โคเอนไซม์คิวเทน คอเลสเตอรอลชนิดดี และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบร่างกายและอวัยวะภายในทำงานได้ดีเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะเดียวกันก็ลดการเกิดภาวะออกซิเดทีฟสเตรส ทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงแข็งแรง อายุยืนขึ้น พร้อมที่จะเดินหน้าทดสอบในคนต่อไป
ข้าว เป็นอาหารที่สำคัญของคนไทย และยังเป็นแหล่งคุณค่าทางโภชนาการที่สามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่ากลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ช่วยเพิ่มราคาข้าว สร้างช่องทางให้เกษตรกรไทยสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น และขายได้ในทุกส่วนของผลผลิต แม้กระทั่งรำข้าว นักวิจัยฝ่ายเคมีอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลย้ำ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=473 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,052. สารสกัดกระชายดำยาบำรุงผู้สูงวัย
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผย วช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัทบางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิต ภัณฑ์และกรรมวิธีการผลิตสารสกัดหยาบกระชายดำที่มีปริมาณฟลาโวนอยด์สูง ผลงาน รศ.ดร.บังอร ศรีพาณิชกุลชัย คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นยาบำรุงสำหรับผู้อายุ เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
การวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรกระชายดำ ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2545 โดยศึกษาสรรพคุณทางยาและอาหารเสริม พบว่า มีสารสำคัญ ในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ชีวภาพต้านเชื้อมาลาเรีย เชื้อรา ต้านการอักเสบ และการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งมีฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็ง จึงจัดทำมาตรฐานสารสกัดกระชายดำที่ตรวจสอบปริมาณสารสำคัญฟลาโวนอยด์ได้ 11 ตัว เพื่อควบคุมคุณภาพของสารสกัดกระชายดำที่ผลิตได้ ซึ่งปริมาณสารสกัดกระชายดำที่ปลอดภัยขนาดสูงสุดคือ 500 มก./กก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทด สอบทางคลินิก.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.alternativecomplete.com/krachai1.jpg
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=471
[/img] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,053. จากขี้เลื่อย ยางพารา สู่แผ่นยางปูพื้นสนามหญ้า
ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรี ที่จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีนักวิจัยสตรี ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยหลายรางวัล หนึ่งในนั้น นอกจากจะได้เหรียญเงิน ยังมีความโดดเด่นของชิ้นงานที่นำเอาทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุด
สิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวถึงข้างต้น คือ แผ่นกระเบื้องยางปูสนามภายนอกอาคาร ทำจากวัสดุยางธรรมชาติคอมโพสิต ผลงานของ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ และนางสาวธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ผลงานที่คิดค้น มีจุดประสงค์เพื่อผลิตวัสดุที่มีต้นทุนต่ำเป็นทางเลือกนอกจากกระเบื้องเซรามิก ที่วางขายในตลาดที่มีราคาแพง ทั้งยังเห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา ส่งออกยาง และมีผลิตภัณฑ์จากยางพาราส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นในเมื่อวัตถุดิบในประเทศมีมากอยู่แล้วดังนั้นจึงเป็นอีกทางที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาพืชเศรษฐกิจและทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย แผ่นกระเบื้องยางปูสนามนอกอาคาร เกิดจากการคิดค้นสูตรและเทคนิคการใช้ยางธรรมชาติคอมโพสิต โดยนำขี้เลื่อยจากยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์มาผสมกับยางพารา ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม ในการนำไปผลิตทาง การค้า คือสูตรที่เติม ขี้เลื่อยในอัตราส่วน ที่เหมาะสม คือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แผ่นกระเบื้องยางปูพื้นที่ได้ มีขนาด 25 x 25 x 25 ซม. มีความ สวยงามสามารถต่อเป็นจิ๊กซอว์และสามารถรับแสงได้ดี ทนต่อสภาวะอากาศการใช้งานภายนอกอาคาร
จากการทดสอบพบว่า แผ่นกระเบื้องยางปูสนาม มีค่าคุณสมบัติการทนต่อแรงดึงเท่ากับ 4014 MPa ค่าทนทานต่อแรงดึงหลังจากทำการบ่มเร่งสภาวะที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 22 ชั่วโมงคือ 5.45 MPs ค่าความแข็งเท่ากับ 91.8 shor A ค่าการทนทานต่อการขัดถู 100 รอบ คือ 0.431 คุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีค่าสูงกว่ายางธรรมชาติบริสุทธิ์ และเปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำคือ 4.5%
เจ้าของผลงานเล่าว่า ได้พิจารณาและคำนึงปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ความทนทานต่อสภาวะอากาศ สามารถรับน้ำหนักได้ ไม่ลื่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการวางและง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา ตลอดจนสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยที่มีผลต่ออายุการใช้งานและการบำรุงรักษา อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนบริเวณภายนอกอาคารจะร้อนมาก วัสดุควรมีลักษณะเป็นฉนวนไม่นำความร้อนทำให้เราสามารถเดินบนสนามหญ้าได้ ไม่อุ้มน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญราคาต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับเซรามิกที่วางขายตามท้องตลาดทั่ว ไป สอบถามรายละเอียดได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-3923-9790.
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=464 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,054. น้ำนมถั่วชิกพี เทรนด์อาหารเอาใจคนแพ้โปรตีนวัว
นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร วว. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ น้ำนมถั่วชิกพี หรือ Chickpea milk มีโปรตีนสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย ได้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใหม่เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่แพ้น้ำนมวัว
ถ้าพูดถึงถั่วซิกพี คนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้จัก เนื่องจากถั่วชนิดนี้ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยุ่ในประเทศไทย แต่สำหรับชาวต่างชาติ อย่างตะวันออกกลางแล้ว มักจะคุ้นเคยกับถั่วซิกพี ถั่วหัวช้างหรือถั่วลูกไก่ เป็นอย่างดี ขณะที่บ้านเราการปลูกถั่วชนิดนี้ยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่พบตามตะเข็บชายแดน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่นิยมปลูกไว้เพื่อบริโภค
ดังนั้น นักวิชาการ วว. จึงได้เริ่มต้นศึกษาคุณสมบัติของถั่วชนิดดังกล่าว จนกระทั่งพบว่ามีเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ตลอดจนมีใยอาหารและคาร์โบไฮเดรตที่ช่วยทำให้ระบบการย่อยดีขึ้น จึงได้เริ่มต้นคิดสูตรน้ำนมถั่วซิกพีขึ้น จนสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มได้สำเร็จ
นายสายันต์ ตันพานิช ผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) บอกว่า ถั่วชิกพีในปริมาณ 100 กรัมเมล็ดแห้ง จะมีคุณค่าทางโภชนาการประกอบด้วย โปรตีน 20-30 กรัม กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย 5 ชนิด ได้แก่ methionine, cystine, threonine, tryptophane และ valine มีปริมาณไขมันต่ำกว่าปริมาณไขมันในถั่วลิสงและถั่วเหลือง
ข้อดีของถั่วซิกพี คือ สามารถทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งและมีความชื้นต่ำ ช่วยเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของดิน เนื่องจากความสามารถในการตรึงไนโตรเจน โดยทั่วโลกจะมีการปลูกถั่วชิกพีเป็นอันดับ 5 รองจากถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแขกและถั่วลันเตา จนกระทั่งวัตถุดิบที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการ
หากมีเอกชนสนใจเข้ามารับถ่ายทอดเทคโนโลยี เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกถั่วซิกพีให้ได้มากขึ้น โดยปลูกสลับกับข้าวนาปี ส่งเสริมให้มีการปลูกถั่วชิกพีภายในประเทศแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้ด้วย นักวิชาการกล่าว
ทั้งนี้นอกจากน้ำนมถั่วซิกพีแล้ว ในอนาคตทีมนักวิชาการมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากถั่วชิกพี ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับเด็กและนักกีฬา ผลิตภัณฑ์แป้งสำเร็จรูปสำหรับ เค้ก ขนมปัง คุกกี้ และผลิตภัณฑ์ขบเคี้ยว เป็นต้น
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=459 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,055. เปลี่ยนลูกหม่อนเป็น มัลเบอร์รี่คริสตัล ฝีมือ (ว่าที่) เชฟ มทร.
จากลูกหม่อนที่ไม่มีค่า เปลี่ยนเป็นคริสตัลสวยงามในการจัดแต่งอาหาร รักในการตกแต่งอาหาร จนได้รับรางวัลมามากมาย เช่น นักศึกษารางวัลพระราชทาน ปี 2549 เยาวชนดีเด่นแห่งชาติแห่งชาติ สาขาอาชีพ ปี 2548 รางวัลการประกวด Fusion thai Sweet Contest (ขนมไทยใส่ไอเดีย)
กวาง เล่าว่า มัลเบอร์รี่คริสตัล (Mulberry Crystals : Topping and Decoration) เป็นการศึกษาการนำลูกหม่อนซึ่งเป็นผลผลิตที่มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลูกหม่อนที่สุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมาะกับการทำผลิตภัณฑ์อาหาร
กรรมวิธีการผลิต เริ่มต้นที่การคัดเลือกลูกหม่อนเพื่อทำซอสก่อน นำลูกหม่อนไปล้างน้ำสะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ ชั่งน้ำหนักลูกหม่อนสีม่วง ต่อลูกหม่อนสีแดง ในอัตราส่วน 9:1 ทำการวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และวัดความเป็นกรด ด่าง ของลูกหม่อนแต่ละสี สกัดน้ำลูกหม่อน โดยใช้ลูกหม่อนทั้งสองสีมาต้มกับกรดซิตริกและน้ำ เพื่อใช้ความร้อนช่วยให้เพคตินละลายออกมากยิ่งขึ้นและทำให้โปรโตรเพคตินที่มีในผลไม้ เปลี่ยนเป็นกรดเพกตินิค หรือเพคตินได้ ซึ่งจะช่วยให้มีเพคตินในน้ำผลไม้ให้มากยิ่งขึ้น
อดีตเยาวชนดีเด่น เล่าถึงกรรมวิธีต่ออีกว่าให้นำลูกหม่อนมาปั่นและกรองน้ำลูกหม่อน ต้มเคี่ยวน้ำสกัดลูกหม่อนกับน้ำตาลทราย และเกลือ จากนั้นใส่แป้งดัดแปรที่ละลายน้ำในอัตราส่วน 1:1:5 ต้มต่อจนวัดอุณหภูมิได้ 105 องศา วัดความหวานได้ 63 องศาบริกซ์ ใส่น้ำมะนาว ยกลงปรับ pH ให้อยู่ในระดับ 3.7 การปรับ pH ของซอสทำโดยการเพิ่มปริมาณของสารละลายกรดซิตริก จะได้ซอสลูกหม่อนสำหรับนำไปบรรจุภัณฑ์ ทำการบรรจุซอสลูกหม่อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 90 95 องศาเซลเซียสลงในขวดแก้วที่ผ่านการล้างและลวกฆ่าเชื้อปิดฝาทันทีแล้วหุ้มด้วยฟิล์มหด วางพักไว้ให้เย็นซึ่งซอสลูกหม่อนที่ได้นำมาผลิตมัลเบอร์รี่คริสตัล โดยนำซอสลูกหม่อน 30% เจลาติน 5% และผงวุ้น 5% น้ำสะอาด 30% ของน้ำหนักที่กำหนด
จากนั้นนำไปต้มเคี่ยววัดความหวาน เมื่อต้มเคี่ยวได้ที่แล้วนำไปใส่ในถุงบีบซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว นำไปบีบลงบนน้ำมัน เทผ่านกระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำที่อุณหภูมิห้อง มัลเบอร์รี่คริสตัลที่ได้นำไปแช่ในน้ำเชื่อม และนำไปบรรจุลงในขวดแก้วที่ผ่านการล้างและลวกฆ่าเชื้อแล้ว โดยชั่งน้ำหนักสุทธิของมัลเบอร์รี่คริสตัลให้เท่ากันทุกขวด แล้วทำการปิดผนึกฝาทันที แค่นี้ก็จะได้มัลเบอร์รี่คริสตัลที่สามารถนำมาตกแต่งอาหารไม่เหมือนใคร ใครเห็นก็คิดว่าเป็นไข่ปลาคาเวียร์
ทั้งนี้ในอนาคตเจ้าของไอเดียฝากมาบอกอีกว่า ตนได้ยื่นจดสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะนำเอาผลไม้ไทยๆที่มีในแต่ละฤดู มาทำเป็นคริสตัลสีต่างๆ ซึ่งนอกจากความสวยงามแล้วในลูกหม่อนยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินเอ บี1 บี2 บี6 วิตามินซี แคมเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก กรดโฟลิค สารเควอซิติน(Quercetin) และเคมเฟอรอล (Kaempferol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง
การทำอาหารของผมส่วนใหญ่เกิดจากความชอบส่วนตัว อาหารทำให้ผมได้ใช้จินตนาการอยู่ตลอดเวลา อาหารไม่ใช่ต้องทำอย่างเดียวซ้ำๆ อาหารที่ผมได้สัมผัสมันคือความแตกต่าง เพราะแต่ล่ะสถานที่มีวัฒนธรรมการกินที่ไม่เหมือนกัน อาหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้อยู่ทุกๆ วัน อาหารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเหมือนโลกที่กำลังหมุนรอบตัวเอง ในความคิดของผมอาหารไม่ได้สำคัญเฉพาะรสชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่ความใส่ใจทุกรายละเอียดก็จะทำให้อาหารจานนั้นพิเศษกว่าจานอื่น เพราะอาหารจานนั้นปรุงแต่งจากหัวใจของคนทำ กวางกล่าวทิ้งท้าย
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.manager.co.th
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=453 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,056. สวทช. วิจัยข้าวทนแล้ง อร่อยนุ่มลิ้น
ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยแล้งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแต่ละปีมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและการกระจายตัวของฝนจึงเกิดสภาพ แล้งและน้ำท่วมเป็นประจำ ความแห้งแล้งจะเกิดได้ทุกระยะการปลูก คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดู หรือปลายฤดูฝน ถ้าปีไหนแล้งจัดก็อาจจะแห้งแล้งทั้งต้นและปลายฤดูปลูก เป็นต้น
การเกิดสภาพแล้งในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงนั้นทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีที่แล้งจัดเกษตรกรอาจจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเลย ทั้งนี้ ได้เร่งให้ สวทช.ซึ่งมีองค์ความรู้เรื่องพันธุกรรมข้าวหลายด้านเร่งเสนอมาตรการและแนวทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยขณะนี้ สวทช.โดยศูนย์ไบโอเทคได้ร่วมมือกับ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข6 ให้ทนแล้งได้สำเร็จ
ข้าวที่ได้จะยังคงคุณภาพเหมือน กข6 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม โดยใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) และใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทนแล้งและคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือก
การปรับปรุงพันธุ์ให้ทนแล้งอาจจะยากกว่าในลักษณะอื่นๆ เนื่องจากความทนแล้งมีระยะเวลาแตกต่างไม่เหมือนกัน เช่น ภาวะแล้งอาจจะมาในระยะต้น ระยะกลางหรือในระยะปลาย ซึ่งลักษณะข้าวที่จะทนแล้งแต่ละระยะที่จะพัฒนาก็จะไม่เหมือนกัน คณะนักวิจัยจึงเน้นพัฒนาพันธุ์ข้าวทนแล้งที่ระยะออกดอกให้ผลผลิตเนื่องจากเป็นระยะที่มีผลมากสุด
คณะนักวิจัยได้ทำการสืบหาตำแหน่งของยีน และพัฒนาเป็นดีเอ็นเอเครื่องหมาย เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวทนแล้ง ปัจจุบันสามารถพัฒนาสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนแล้ง ที่ยังคงคุณภาพการหุงตุ้มใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม จากการปลูกประเมินในสภาพแล้ง สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในสภาพแล้งที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม ซึ่งจะนำไปปลูกทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกรต่อไป และได้พัฒนาสายพันธุ์กข6 ทนแล้ง ที่ยังคงคุณภาพการหุงตุ้มใกล้เคียงกับพันธุ์ กข6 เดิม ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปลูกทดสอบผลผลิตระหว่างสถานี
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีความสามารถในการทนน้ำท่วมและทนแล้ง ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปลูกทดสอบผลผลิตระหว่างสถานี และจะปลูกทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้จะได้นำเข้ารายงานที่ประชุม ครม.เพื่อหาแนวทางขยายผลต่อไป
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.tnews.co.th/html/picture/tnews_1261992294_9124.jpg
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=450 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,057. ปุ๋ยนาโนเทค ประสิทธิภาพสูง ไร้สารตกค้าง
ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กล่าวว่า หลังจากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรมวิชาการเกษตร และผู้ประกอบการอ้อยและกล้วยไม้ ที่ประชุมตกลงคัดเลือกอ้อยและกล้วยไม้เป็นพืชนำร่องสำหรับปุ๋ยรุ่นใหม่ที่ควบคุมการปลดปล่อยสารเคมีส่งถึงพืชได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการจัดเวิร์คช็อปเมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการและเกษตรกรประสงค์ให้มีงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบควบคุมการปล่อยปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นอันดับต้น เพื่อเสริมศักยภาพในการส่งออกผลิตผลจากพืชทั้งสองชนิดและลดการนำเข้าปุ๋ยที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศในราคาแพง" นักวิจัย กล่าว
ที่ผ่านมา กล้วยไม้และอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส่งออกจำนวนมาก การเพาะปลูกยังต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต่อการปลูกมากกว่า 1 ครั้ง และเกิดโอกาสสูญเสียสารเคมีไปกับดินมากกว่าต้นไม้ ขณะที่ต้นไม้ดูดซึมปุ๋ยได้น้อย
นักวิจัย กล่าวต่อว่า การพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยคาดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีเป็นอย่างต่ำ ในการพัฒนารูปแบบที่จะใช้ โดยวางแผนพัฒนาเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบขึ้นรูปปุ๋ยพร้อมกับวัสดุดูดซึม และแบบใช้วัสดุดูดซึมเป็นตัวห่อหุ้มปุ๋ย เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงแข่งขันกับต่างประเทศได้
หลังจากนั้นทีมวิจัยและพัฒนามีกำหนดลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากภาคเกษตรกรเกี่ยวกับชนิดของปุ๋ย สภาพดิน อุณหภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงปุ๋ย ทดสอบสมบัติและนำไปทดสอบใช้ในแปลงสาธิตให้มีคุณภาพสูงสุด
ดร.วิยงค์ กล่าวว่า หากงานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จจะเป็นทางเลือกในการเพาะปลูกอ้อยและกล้วยไม้ให้กับเกษตรกรและผู้ค้าปลีกของไทย ช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยสูตรควบคุมการปลดปล่อยจากต่างประเทศที่ปัจจุบันมีราคาสูงมาก
ห้องปฏิบัติการที่ร่วมวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิต และห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง ในสังกัดศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมถึงกรมวิชาการเกษตรรับหน้าที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยให้ได้ตามมาตรฐานที่มีอยู่ ก่อนส่งไปทดสอบในแปลงสาธิตเพื่อดูประสิทธิภาพของปุ๋ยในขั้นตอนสุดท้าย
ดร.อภิชัย ดาวราย นักวิชาการจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า แนวโน้มในอนาคตภาคเกษตรกรรมมีต้องการใช้สารเคมีเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของประชากรโลก โดยพัฒนาการของสารเคมีในอนาคตจะเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีประสิทธิภาพในการทำลายศัตรูพืชที่จำเพาะเจาะจง รวมถึงสลายตัวได้เร็วไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบนอกหรือการส่งออก
ต่อไปเราจะหาปุ๋ยที่มีการพัฒนาสูตรขึ้นใหม่ยาก เพราะต้องใช้เวลาพัฒนานานมากกว่า 5 ปีกว่าจะได้ปุ๋ยแต่ละชนิดที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานจริง สิ่งที่จะเห็นต่อไปเป็นการนำปุ๋ยสูตรเดิมไปปรับคุณสมบัติ เช่น การนำสารเคมี 2-3 ชนิดที่มีอยู่มาผสมเป็นผลิตภัณฑ์เดียว เพื่อลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและเกิดความคุ้มค่าที่สุด" นักวิชาการด้านเกษตรกล่าว
สำหรับการจัดเวิร์คช็อปครั้งที่ 2 กำหนดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อระดมความคิดในการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ให้มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอยู่เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=442 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 12:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,058. นักเก็ตปลาส้ม นวัตกรรมอาหาร จากเกษตรศาสตร์
นักเก็ตปลาส้ม (Plaa-som Nuggets) เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารล่าสุดจากโครงการ IFRPD : ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยได้ศึกษาวิจัยการใช้กล้าเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ (starter culture) นำมาผลิตปลาส้มและพัฒนาปลาส้มในรูปแบบนักเก็ต ซึ่งเป็นปลาส้มที่มีคุณภาพดี ใช้เวลาหมักสั้น ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักที่ได้มาตรฐานสากล และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับปลาส้มด้วย
นายประมวล ทรายทอง และคณะวิจัย จากฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ปลาส้มเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักของไทยที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์และยังเป็นที่นิยมของคนทุกภาค มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่การหมักปลาส้มมักมีปัญหาเรื่องความเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์ และความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพและรสชาติเนื่องจากการหมักต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ
ดังนั้น คณะวิจัยจึงคิดโครงการศึกษาวิจัยกล้าเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ เพื่อนำมาผลิตปลาส้มและพัฒนาปลาส้มในรูปแบบนักเก็ต โดยใช้เทคโนโลยีการหมักและคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติดีมาใช้ทดแทนการหมักที่อาศัยเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งพบว่าเมื่อเติมกล้าเชื้อบริสุทธิ์ในกระบวนการหมักปลาส้มจะช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดการหมักที่ดีและใช้เวลาหมักสั้น ได้ปลาส้มที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปลอดภัย ช่วยประกันคุณภาพและลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
ผลิตภัณฑ์ นักเก็ตปลาส้ม (Plaa-som Nuggets) เป็นการแปรรูปปลาส้มให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สะดวกในการรับประทาน เพิ่มความน่าสนใจและยกระดับอาหารไทยสู่อาหารจานด่วนที่มีคุณค่าทางอาหาร สำหรับวิธีการทำนักเก็ตปลาส้มนั้นเริ่มด้วยการนำเนื้อปลาส้มมาบดละเอียด ปรุงรสด้วยเครื่องเทศตามสูตรต่าง ๆ แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะ
จากการปรุงรสในห้องปฎิบัติการได้ทดลองทำนักเก็ตปลาส้มสูตรผสมขิงสด สูตรผสมพริกแกง สูตรผสมพริกไทยดำ สูตรผสมตะไคร้ และสูตรผสมกระชาย จากการวิจัยพบว่าสามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นักเก็ตปลาส้มพร้อมบริโภคในกล่องบรรจุภัณฑ์ได้นานกว่า 6 เดือน ที่ -20°C ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคด้านรสชาติ กลิ่น รส และคุณภาพโดยรวม เป็นที่ยอมรับอย่างดีจากผู้บริโภคเมื่อเปรียบเทียบกับปลาส้มที่หมักโดยวิธีธรรมชาติ และยังเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภคด้วยเพราะเป็นรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์จากปลาส้ม
ปลาส้มที่ได้จากการหมักโดยใช้กล้าเชื้อบริสุทธิ์แล้วพัฒนาเป็นนักเก็ตนี้ นับว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมอาหารไทยสู่สากลอย่างแท้จริง เหมาะกับยุคสมัยเนื่องจากให้ความสะดวกในการรับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการ ดีต่อสุขภาพ เป็นอาหารจานด่วน (fast food) ที่ดีมีประโยชน์ และไม่อ้วนด้วย
ผู้ที่สนใจข้อมูลการทำนักเก็ตปลาส้ม หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้กล้าเชื้อบริสุทธิ์หมักปลาส้ม ติดต่อได้ที่ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2942-8629-35
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com
http://www.trueplookpanya.com/true/sarapan_detail.php?cms_id=436 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 3:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,059. ไข่ - มะตูมรักษาโรค คว้ารางวัล นานาชาติ !
(ไทยโพสต์)
วช.เผย ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนไทยคว้าเหรียญทองเวทีสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ที่เจนีวา โดยนำสารสำคัญในไข่แดงและผลมะตูมมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ช่วยบำรุงสมองและฟื้นฟูร่างกาย
เมื่อวันที่ 27 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แถลงข่าวเรื่องการแพทย์แผนไทยคว้าเหรียญทองผลงานประดิษฐ์จากเจนีวา โดย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า ผลงานวิจัยที่ ได้รับรางวัลระดับโลกคือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสกัดจากไข่แดงผสมมะตูม เป็นผลงานของ ดร.บุณยพร ยี่มี ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนไทย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในเวทีการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ระหว่างวันที่ 6-10 เมษายนที่ผ่านมา ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (International Exhibition Invention of GENEVA) ซึ่งในปีนี้มี 45 ประเทศเข้าร่วมงาน และมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 765 ราย มีจำนวนผลงานมากกว่า 1,000 ชิ้น แบ่งการประกวดสิ่งประดิษฐ์เป็น 8 สาขา ผล งานของ ดร.บุณยพรได้รับในสาขาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและจะสนับสนุนให้มีนักวิจัยไทยไปนำเสนอผลงานสิ่ง ประดิษฐ์นานาชาติในปีต่อไป
ศ.นพ.สุทธิพร กล่าวว่า สมุนไพร ไทยมีคุณประโยชน์มากมายต่อการบำบัดและรักษาโรค โดยสกัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งเป็นการนำเอานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์เข้ากับ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้ทัดเทียมต่างประเทศ และสามารถนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้อีกด้วย ทั้งนี้ พร้อมที่จะผลักดันผลงานของนักวิจัยการแพทย์แผนไทยไปสู่เชิงพาณิชย์ และให้ความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย
ดร.บุณยพร ยี่มี นักวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย ผู้คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ กล่าวว่า จุดเด่นของผลงานประดิษฐ์ชิ้นนี้คือ การนำเอาผลมะตูมและไข่มาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผ่านกระบวนการสกัดที่ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ เป็นการใช้ธรรมชาติบำบัดรักษาคนไข้โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ โรคตับ กระดูกพรุน ภูมิแพ้ หรือแม้กระทั่งโรคนิ่ว จากการค้นคว้าข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวกับไข่ไก่ ซึ่งมีสารอาหารมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยสกัดเอาเลซิตินที่อยู่ในไข่แดง ปราศจากคอเลสเตอรอลมาเป็นส่วนผสมกับผลมะตูมที่เป็นวัตถุดิบในประเทศไทย มาผลิตเป็นอาหารเสริมที่ออกฤทธิ์ในระดับยีนหรือดีเอ็นเอของผู้ป่วย
'ไข่แดงมีเลซิตินเป็นส่วนสำคัญ เราสกัดให้เหลือแต่น้ำมันไข่แดงที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงและฟื้นฟูร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน ส่วนผลมะตูมถือเป็นสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะ เราสกัดเอาสารสำคัญมาผสมกันอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการแพทย์แผนไทยที่ชาวต่างประเทศให้การยอมรับและมอบ รางวัลครั้งนี้ เพราะเป็นการประยุกต์ศาสตร์การแพทย์ไทยและตะวันตกได้อย่างลงตัว' ดร.บุณยพรเผย
http://www.healthupdatetoday.com/product/detail-15667.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/11/2011 4:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 4:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,060. ต่างชาติเตรียมรับมือ "ข้าวไทยแพง" ผลพวงวิกฤติน้ำท่วม
สิงคโปร์เตรียมรับมือปัญหาราคาข้าวไทยเพิ่มสูงขึ้น จากผลพวงอุทกภัยรุนแรงและนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ขณะที่รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหรกรรมชี้ ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบทั้งหมดจากแผนปรับราคาครั้งนี้...
สำนักข่าวสเตรทส์ไทมส์ ของสิงคโปร์ รายงานเมื่อ 11 ต.ค. ถึงสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในประเทศไทย โดยเตรียมรับมือปัญหาราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น จากผลพวงของภัยธรรมชาติครั้งนี้ ซึ่งผู้นำเข้าข้าวไทย 10 ยี่ห้อชื่อดัง จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ข้าวไทยจำนวน 10 ยี่ห้อ มีส่วนแบ่งในตลาดสิงคโปร์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ การปรับราคาครั้งนี้ สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยและนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ตามที่หาเสียงเลือกตั้งไว้ โดยจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรด้วยราคาสูงกว่าท้องตลาด 44 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ราคาข้าวเปลือกระดับคุณภาพ ซึ่งจัดเป็นเกณฑ์มาตรฐานวัดราคาข้าวทั่วโลก พุ่งขึ้นจากเดิม 988 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เป็น 1,130 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ภายในช่วง 6 เดือที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดีรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหรกรรมสิงคโปร์ ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบทั้งหมดจากแผนปรับราคาข้าวนำเข้าจากไทยครั้งนี้ โดยเมื่อปี 2008 ราคาข้าวคุณภาพเคยปรับขึ้นสูงมากถึง 1,200 ดอลลาร์/ตัน ขณะที่ นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า สถานการณ์ จะชัดเจนภายในเดือนหน้า เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวครั้งใหม่
อนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว สิงคโปร์นำเข้าข้าวเปลือกคุณภาพจำนวน 310,135 ตัน เป็นข้าวเปลือกจากไทย 53 เปอร์เซ็นต์ จากเวียดนาม 26.2 เปอร์เซ็นต์ และจากอินเดีย 13.8 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงพม่า สหรัฐฯ และจีน อีกเล็กน้อย.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://ge.gnv3.net/thread-204835-1-1.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/11/2011 4:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1,061. เด็กไทยคว้า 10 รางวัลนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับโลก
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเป็นเวทีให้เด็กได้แสดงความสามารถ ในระดับนานาชาติ โดยร่วมกับสมาคมการประดิษฐ์ไทย และสถาบันการประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น ในการร่วมคัดเลือกผลงานของเด็กและเยาวชนอายุ 6-18 ปี เข้าร่วมงานประกวดและแสดงสิ่งประดิษฐ์ ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนนานาชาติ (International Exhibition For Young Inventors/IEYI2008) ซึ่งในปีนี้ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2551 โดยมีประเทศไต้หวันเป็นเจ้าภาพ
ในส่วนของประเทศไทย สพฐ.ได้คัดเลือกและส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนเข้าร่วมประกวดจำนวน 9 ชิ้น ผลปรากฏว่า นักเรียนไทยคว้า 10 รางวัลจาก 5 สิ่งประดิษฐ์ ได้แก่
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องให้อาหารสัตว์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งจี้ จังหวัดลำปาง กวาด 4 รางวัล คือ รางวัลพิเศษประเทศเกาหลี รางวัลผลงานโดดเด่น รางวัลเหรียญเงินด้านการใช้วัสดุ และรางวัลเหรียญเงินด้านผลประโยชน์ส่วนรวม
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบต่ำเพื่อการตกตะกอนในห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดพิษณุโลก คว้า 2 รางวัล คือ รางวัลเหรียญเงินด้านความคุ้มค่า และเหรียญทองแดงด้านการส่งเสริมการศึกษา
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องบรรจุน้ำผลไม้ ของโรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร คว้า 2 รางวัล คือ รางวัลเหรียญเงินด้านความคุ้มค่า และเหรียญทองแดงด้านส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องหยอดปุ๋ย ของโรงเรียนกระบุรี จังหวัดระนอง ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงด้านการออกแบบกลไก และ
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องหว่านปุ๋ย ของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับรางวัล เหรียญทองแดงด้านทำประโยชน์ให้สังคม
ซึ่งนักเรียนและคณะทั้งหมดจะกลับถึงประเทศไทย โดยเที่ยวบิน ที จี 634 ไทเป-สุวรรณภูมิ ในวันที่ 30 กันยายน 2551 เวลา 22.00 น.
การจัดงานดังกล่าวมีเด็กและเยาวชนจาก 13 ประเทศทั่วโลกนำสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์เข้าร่วมประกวด จำนวน 149 ผลงาน ประกอบด้วย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ ให้นักประดิษฐ์ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากปัจจุบันสู่อนาคต และยังเป็นการส่งเสริม นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ให้เข้าร่วมเวทีทางวิชาการ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบและสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผลงานสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง และผู้อื่นอีกด้วย
ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก
http://news.buddyjob.com/sport/show_news-10462-2.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|