-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - นาข้าว.....FARMER CENTER
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

นาข้าว.....FARMER CENTER

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:27 pm    ชื่อกระทู้: นาข้าว.....FARMER CENTER ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงห่วงใยชาวนาไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก


นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในฤดูต่อไป เนื่องจากชาวนาขายข้าวได้ราคาดี จึงไม่สนใจจะเก็บพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง หวังพึ่งพาหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งขณะนี้กรมการข้าวผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของชาวนาทั้งประเทศ ดังนั้น ขอให้ชาวนาที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวในระยะนี้ เก็บสำรองเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเอง หรือรวมกลุ่มกันผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้ในชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคเอกชนเอาเปรียบขายเมล็ดพันธุ์ข้าวในราคาสูงกว่าความเป็นจริง

http://webnew.moac.go.th/ewt_news.php?nid=1907&filename=index


ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบล




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/10/2010 7:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตามไปดูแหล่งผลิตพันธุ์ข้าว ที่นี่ปลูกข้าวแต่ไม่ขายให้โรงสี

ผลพวงจากราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจนทะลุตันละหมื่นบาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงแม้ว่าวันนี้ภาวะราคาจะแกว่งตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลง แต่สถานการณ์ยังสร้างความลังเลใจให้กับเกษตรกรทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะคนที่ปลูกพืชอื่นไม่ว่าจะเป็นสวนผลไม้ นาแห้ว นากุ้ง จะเปลี่ยนใจมาทำนากันดีหรือไม่ แม้บางส่วนได้ตัดอกตัดใจลงทุนโค่นสวนผลไม้ ถมนากุ้ง เป็นผืนนาเพื่อทำนากันบ้างแล้วก็ตาม

ความตื่นตัวปลูกข้าวรับข้าวราคาแพงของเกษตรกร ความกังวลหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมล็ดพันธุ์ข้าวจะมีเพียงพอหรือไม่ คุณภาพเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างไร เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวของส่วนราชการผลิตรองรับได้เพียงปีละ 70,000 ตัน จากความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ 1 ล้านตัน ฉบับนี้ทีมข่าว "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปดูแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ ซึ่งวันนี้ที่นี่ได้กลายเป็นธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวส่งไปขายทั่วประเทศไทย และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวนาภาคอื่นๆ สามารถมาศึกษาเพื่อผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองได้อีกด้วย

แหล่งผลิตพันธุ์ข้าวแหล่งใหญ่สุดของประเทศ ที่เรากำลังกล่าวถึงคือตำบลนางลือและตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เมื่อทีมข่าวได้เข้าไปถึงพื้นที่ของสองตำบล ความรู้สึกที่สัมผัสได้ก็คือพื้นที่นาที่นี่จะปราศจากวัชพืช ต้นข้าวที่ออกรวงจะมีรวงโตเหลืองอร่ามสวยงาม หากยังไม่ออกรวงจะมีสีเขียวขจีของต้นข้าวเท่านั้นไม่มีวัชพืชปะปน ที่สำคัญเกือบทุกบ้านในย่านสองตำบลจะมีโกดังเก็บสินค้าและป้ายที่บ่งบอกว่าเป็นแหล่งขายพันธุ์ข้าว เช่น "วรรณาพันธุ์ข้าวปลูก" "สัญญา 9 พันธุ์ข้าวปลูก" เป็นต้น เพราะที่นี่ชาวนาเขาทำนาขายข้าวสำหรับผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว จะไม่ได้ขายให้กับโรงสีเหมือนกับจังหวัดอื่นๆ เขาจึงต้องดูแลคุณภาพข้าวอย่างดี

วรรณา เกิดศรี วัย 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 131 หมู่12 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท ผู้ริเริ่มผลิตและขายพันธุ์ข้าวปลูกคนแรกของหมู่บ้าน บอกว่าชาวนาที่นี่อดีตจะปลูกข้าวแล้วขายข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท ซึ่งจะนำไปทำพันธุ์ข้าวขายให้กับเกษตรกรทั่วไป ชาวนาที่นี่จึงมีความรู้เรื่องการปลูกข้าวสำหรับทำพันธุ์กันเป็นอย่างดี คือรู้จักวิธีกำจัดวัชพืช ดูแลรักษาข้าว เพราะมีนักวิชาการมาให้ความรู้ เธอบอกว่าเมื่อก่อนทำนา50ไร่ ข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวสำหรับทำพันธุ์เพื่อขายให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท เมื่อศูนย์รับซื้อไม่หมด จึงนำส่วนที่เหลือมาขายให้กับเพื่อนบ้านและคนบ้านไกลที่สนใจซื้อพันธุ์ข้าว โดยติดป้ายเล็กๆ ไว้หน้าบ้านว่า "มีพันธุ์ข้าวขาย" พอมีคนมาซื้อมากๆ จึงคิดปลูกเองขายเองไม่ได้ป้อนให้กับศูนย์ฯ

วรรณา ผู้ซึ่งเติบโตจากชีวิตชาวนา วันนี้กลายเป็น "เถ้าแก่" ขายพันธุ์ข้าวเปลือกตรา "ชาวนาเงินล้าน" บอกว่าปัจจุบันเธอมีลูกแปลงนาข้าว 20 คน พื้นที่ 300 ไร่ โดยเธอจะเป็นผู้รับซื้อข้าวจากลูกแปลงของเธอทั้ง 20 คน ในราคาที่สูงกว่าโรงสีรับซื้อเพราะคุณภาพข้าวจะดีกว่ากันแล้วนำมาผลิตเป็นพันธุ์ข้าวขายซึ่งเวลานี้ส่งขายไปทั่วประเทศไทย ต่อมาเพื่อนบ้านที่เคยทำนาขายข้าวให้กับศูนย์ก็ได้หันมาผลิตและขายพันธุ์ข้าวกันเอง การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจึงกลายเป็นอาชีพของชาวนาที่นี่ไปแล้ว

นอกจากชาวนาของต.นางลือและต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท จะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายในรูปของเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ขายให้กับโรงสีเหมือนกับชาวนาจังหวัดอื่นๆ จนกลายเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ ทีมข่าวยังได้รับการบอกเล่าจากทองอยู่ ปิ่นทอง รองประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต.นางลือ-ท่าชัย ว่ากลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต.นางลือ-ท่าชัย นับได้ว่าเป็นกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกลุ่มเดียวในประเทศไทยที่มีโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง โดยได้รับงบสนับสนุนจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชัยนาทแบบบูรณาการเมื่อปี 2548 วงเงิน 20 ล้านบาท

เขาเล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า กลุ่มดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาทมาตั้งแต่ปี 2522 ขณะนั้นมีสมาชิกเพียง 9 ราย พื้นที่นา 200 ไร่ วันนี้มีสมาชิก 110 ราย พื้นที่ 2,600 ไร่ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ปีละกว่า 1,000 ตัน โดยมีโรงงานปรับปรุงเป็นของตัวเองขนาดกำลังผลิต 2.5-4 ตันต่อชั่วโมง พร้อมกันนี้เขาได้เล่ากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้ฟังว่าเริ่มจากเลือกพื้นที่ขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานราชการ ตรวจตัดพันธุ์ปน อบลดความชื้น คัด-ทำความสะอาดปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ในโรงงานของกลุ่ม แล้วได้เมล็ดพันธุ์มาตรฐานสูงออกจำหน่ายให้กับเกษตรกรทั่วประเทศในที่สุด

ทองอยู่บอกด้วยว่าวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นกลุ่มนำร่องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ของกลุ่มอื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนทั้งชุมชนผู้ผลิตเกษตรกรในชุมชนผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากโครงการ

หากกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศของไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ นั่นหมายความว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวนา หรือหากผลิตเชิงการค้าขึ้นมาได้ก็จะทำให้ชาวนามีรายได้ขึ้นมาอีกทาง ไม่ต้องห่วงปัญหาเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอกับความต้องการ การทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายทั้งโดยเกษตรกรเอง และของกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต.นางลือ-ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท จึงเป็นแหล่งที่ชาวนาทั่วประเทศน่าเข้าไปเรียนรู้และศึกษาเป็นอย่างยิ่ง


http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=2191&d_id=2188
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดปลูกเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ข้าวต้นหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไปในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตที่ได้จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีการสูญเสียน้อย ได้ผลผลิตมากกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุ์เป็นสิ่งจำกัดผลผลิตสูงสุด
หากเปรียบเทียบการให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน การปฏิบัติดูแล ในปริมาณที่เท่ากัน ข้าวพันธุ์ดี ย่อมให้ผลผลิตที่มากกว่า และการเพิ่มปัจจัยต่างๆ มากขึ้น จนถึงจุดๆ หนึ่ง พันธุ์ที่ด้อยกว่า จะหยุดการให้ผลผลิตเพิ่ม ในขณะที่พันธุ์ที่ดีกว่ายังคงให้ผลผลิตเพิ่มได้ นั่นคือ ความสามารถให้การให้ผลผลิตสูงสุด ของพันธุ์ดีจะสูงกว่า

2. พันธุ์เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพ
การคัดเลือกผสมพันธุ์ เพื่อผลิตพันธุ์ใหม่แต่ละพันธุ์ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภค รวมถึงสภาพแวดล้อม ความต้านทานโรค แมลง การตอบสนองต่อปุ๋ย ตามวัตถุประสงค์ของผู้ผสมพันธุ์ เพื่อให้ผ่านการรับรองพันธุ์ของคณะกรรมการนั้น การผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ดังกล่าว วัตถุประสงค์หลัก ก็คือคุณภาพของผลผลิตที่ได้จากพันธุ์นั้น ต้องมีคุณภาพที่ดี ตรงตามความต้องการตลาดนั่นเอง

3. พันธุ์ดีจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ในการลงทุนที่เท่ากันหรืออาจสูงกว่า เมื่อหักต้นทุนแล้ว การใช้พันธุ์ที่ดีกว่า จะได้รับผลตอบแทนต่อหน่วยที่มากกว่า จึงเป็นการลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิต ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงโค(วัว) ที่มีสายเลือดของพันธุ์ที่มีความสูงใหญ่อย่าง ฮินดูบราซิล พร้อมๆ กับโคพื้นเมืองพม่า ซึ่งมีขนาดเล็กผอมแห้ง แม้การให้อาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน ความแตกต่างก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าโคพันธุ์ จะมีขนาดที่สูงใหญ่ เติบโตได้เร็วกว่า ผลตอบแทนหรือความคุ้มค่าของการเลี้ยง ย่อมสูงกว่า การ ใช้ข้าวพันธุ์ดีก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

4. เพิ่มผลผลิต
พันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ที่ผ่านการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์จนได้รับการรับรองพันธุ์นั้น จะมีความสามารถ ในการต้านทานโรค แมลง ศัตรูพืช อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในพันธุ์เดียว หากเราเลือกใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรค หรือ แมลง ได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเคยเกิดการระบาด? พันธุ์นั้นจะยังคงให้ผลผลิตได้ มากกว่าพันธุ์ที่ไม่ต้านทาน และสิ่งสำคัญ พันธุ์ที่ผ่านการรับรองพันธุ์ จะต้องให้ผลผลิตสูงกว่าพั นธุ์มาตรฐานเสมอ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์?การผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

หลักการสำคัญเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้ได้ตามมาตรฐานนั้น มีสิ่งที่สำคัญเป็นหลักในการปฏิบัติ คือ

??ต้องมีการป้องกันการปนพันธุ์ มีการกำจัดพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดีผ่านมาตรฐาน?ความหมายสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ?คุณภ?าพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ คือ

1. ต้องกำจัดพันธุ์ปน
เกิดจาก การผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย (เราพูดถือเรื่องของพืช) คือการถ่ายทอดลักษณะด้านพันธุกรรม (ภายใน DNA) ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะเกิดลักษณะที่เปลี่ยนไป อาจจะแสดงออกในชั่วชีวิตใดไม่แน่นอน

หากลักษณะที่แสดงออก ไม่ตรงกับพันธุ์ที่เราปลูก ข้าวต้นนั้นก็คือ พันธุ์ปน

2. ต้องป้องกันการปนพันธุ์
คือ พืชพันธุ์อื่น ที่เราไม่ต้องการ มาเกิด เจริญเติบโต ในพื้นที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

3. ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดี
ได้มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว มาตรฐานแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์

ตามพระ ราชบัญญัติ เมล็ดพันธุ์ กำหนดให้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สามารถจำหน่ายได้ ต้องมีคุณภาพตามลักษณะที่กำหนดใน พรบ.เมล็ดพันธุ์พืช และมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ข้าว จะมีพันธุ์ปน(พืชอืน) ได้ คือ

ระยะพืช สิ่งกำหนด
จำนวนที่ยอมให้มีได้

ชั้นพันธุ์ขยาย
ชั้นพันธุ์จำหน่าย

แปลงกล้า พันธุ์อื่น (สูงสุด)
1:2,000 (0.05%)
1:1,000 (0.10%)

แปลงปลูก พันธุ์อื่น (สูงสุด)
1:2,000 (0.05%)
1:1,000 (0.10%)

ข้าวแดง (สูงสุด) 0
1:100,000 (0.001%)


การผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว มีการผลิตตั้งแต่ปี 2519 เพื่อ วัตถุประสงค์ในการส่งเสริม สนับสนุนโครงการภาครัฐ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรทั่วไป และที่สำคัญคือการสำรองเมล็ดไว้ใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ การ ผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จะผลิตจากแปลงขยายของเกษตรกรผู้มีความรู้ความชำนาญ โดยได้รับการอบรมจากศูนย์ฯ? และการควบคุมติดตามโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านพืชและพันธุ์นั้นๆ และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจะควบคุมโดยการตรวจสอบจากนักวิชาการเกษตรของ ศูนย์ฯ

องค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพที่ดี ได้มาตรฐานมี 3 ส่วน คือ

การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์


1. การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
?การ ผลิตเมล็ดพันธุ์ในไร่นา มีความสำคัญที่สุดในด้านคุณภาพ หากผลผลิตที่ได้จากไร่นา มีคุณภาพไม่ดี ไม่แข็งแรง มีพันธุ์ปนสูงไม่ได้มาตรฐาน เกิดการผสมข้ามกับพืชพันธุ์อื่นแล้ว เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวจะไม่สามารถปรับปรุงให้มีคุณภาพดีได้ ฉะนั้นเกษตรกรผู้ทำนา ผู้ปฏิบัติงานซึ่งรับจ้าง ใช้เครื่องจักรเครื่องมือ ในการเตรียมดิน การปลูก การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว ทุกคนทุกขั้นตอน จะเป็นผู้ที่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้น

1) เกษตรกรผู้จัดทำแปลง
เกษตรกร ต้องเป็นผู้ที่มีความขยันในการปฏิบัติ ตั้งใจในการป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน รู้จักลักษณะของพืชพันธุ์ที่ปลูก? และสังเกตลักษณะความแตกต่างของข้าวพันธุ์ปลูกข้าวพันธุ์ปน และข้าวพันธุ์อื่น? มีจิตสำนึกที่ดี มุ่งมั่นจะผลิตเมล็ดพันธุ์ดีเป็นอันดับแรก โดยทำความเข้าใจถึงประโยชน์การใช้เมล็ดพันธุ์ดี และผลเสียหายที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่นำเมล็ดที่ไม่ได้มาตรฐานจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการดูแลป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกระทำในสิ่งที่มีผลเสีย ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย

2) พื้นที่ทำแปลงที่เหมาะสม
การ จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ จะมีการปฏิบัติและการลงทุน ที่เพิ่มมากกว่าการเพาะปลูกทั่วไป โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกทำแปลงพันธุ์ จะต้องเป็นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหมายถึงจะมีปริมาณน้อยส่วนมากมีไม่เพียงพอ และราคามักจะสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป? ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูกให้มีสภาพเหมาะสม ?มีความเสี่ยงต่อการเสียหายน้อยที่สุด และเพื่อป้องกันการปนพันธุ์จากข้าวเรื้อ ข้าวปลูกพื้นเดิมซึ่งปลูกพันธุ์อื่น ควรกำจัดข้าวเรื้อก่อนที่จะปลูกข้าว เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

3) เมล็ดพันธุ์เพื่อจัดทำแปลง
การ เลือกพันธุ์ข้าวปลูกหรือเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นสิ่งสำคัญอันแรก ของการทำนา การเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ดี ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดี คุ้มกับการลงทุน ดังสำนวนคนโบราณกล่าวไว้ถึงการเลือกไว้ว่า จะดูวัวให้ดูที่หาง จะดูนางให้ดูที่แม่ จะเลือกให้ดีแน่ๆ ต้องดูถึงยาย เมล็ดพันธุ์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งการสืบเชื้อสายแก่ลูกหลาน คือการสืบทอดลักษณะพันธุกรรม (ลักษณะที่แสดงออก และลักษณะภายในที่ซึ่งแฝงอยู่ในสายเลือด) หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ DNA การ เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นง่ายกว่ามาก เพราะมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ และมีผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นมาตรฐานของหน่วยงานราชการ โดยมีการตรวจรับรองพันธุ์ว่าเมล็ดพันธุ์ การเริ่มจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีความงอกสูง สิ่งเจือปนน้อย ความบริสุทธิ์สูงตรงตามสายพันธุ์มีพันธุ์ปนไม่เกินมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ปราศจากโรค แมลงปราศจาก วัชพืช (โดยเฉพาะข้าววัชชพืช ห้ามมีโดยเด็ดขาด) และต้องเป็นพันธุ์ที่ต้องของผู้ปลูกและผู้ซื้ออีกด้วย

4) การป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน
สิ่ง สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีการผสมพันธุ์แบบใช้เพศ(คล้ายกับของคนแหละครับ แต่ต่างกันช่วงของวิธีการที่จะแลกเปลี่ยน) ทั่วไปข้าวพันธุ์ของไทยเราจะผสมตัวเอง และมีอัตราการผสมข้ามเพียงร้อยละ .05 เท่านั้น แต่เมื่อมีการผสมพันธุ์จะมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมของเพศผู้และเพศเมีย ฉะนั้น แปลงข้าวที่ เพาะปลูกทุกแปลงไม่ว่าจะใช้เมล็ดพันธุ์ดี ขนาดไหน หรือจากที่ใดก็ตาม ทุกครั้งที่ปลูกและทุกแปลงจะต้องมีพันธุ์ปน เกิดขึ้นเสมอ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการผสมข้าม และลักษณะที่แสดงออกนั้น แตกต่างจากพันธุ์ปลูกของเรา วิธีที่จะช่วยลดพันธุ์ปน ทำได้โดยป้องกันธุ์มิให้มีข้าวพันธุ์อื่นปนเข้ามาในแปลงปลูกของเรา ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการผสมข้ามกับข้าวพันธุ์อื่นลดลง และต้องมีการกำจัดพันธุ์ปนก่อนมีการผสมพันธุ์

ลักษณะพันธุ์ปน ในแต่ละครั้ง แต่ละพืช แต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันไปตามแต่สภาพแวดล้อม การจะระบุให้ชัดเจน ควรได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และเห็นของจริงในไร่นา จะเป็นวิธีการที่ดีและถูกต้องที่สุด

5) การปฏิบัติดูแลรักษา
การ ปฏิบัติดูแล เหมือนการเพาะปลูกข้าวทั่วไป มีส่วนที่ต้องเพิ่มในเรื่องของการป้องกันการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน และที่ควรระวังเรื่องการใช้สารเคมีที่มีผลต่อความมีชิวิตของเมล็ด เนื่องจากเมล็ดที่ได้อย่างแรกต้องเป็นเมล็ดที่ยังไม่ตาย ต้องมีชีวิต และถ้ามีชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ก็ยิ่งดี สารเคมีที่ต้องระวัง เช่น สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ซึ่งนอกจากต้นข้าวจะตายแล้วยังจะมีผลต่อเมล็ดอาจถึงตายได้เช่นกัน

6) การเก็บเกี่ยว
ขั้น ตอนที่เกิดความเสียหายในการผลิตเมล็ดพันธุ์มากที่สุด และเกิดการปนพันธุ์มากที่สุด คือ ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวนี่เอง เครื่องเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ทำความสะอาด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ นั่นหมายถึง มีเมล็ดข้าวจากแหล่งอื่นมาปนในข้าวพันธุ์ของเรา 1-3 ถัง หมายความว่า การปฏิบัติ การป้องกันการปนพันธุ์ การกำจัดพันธุ์ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นไม่มีเลย เพาะตอนเก็บเกี่ยวเรากับนำเมล็ดพันธุ์อื่นมาปนกับเมล็ดพันธุ์
ที่เราผลิต ซึ่งอาจจะมากกว่าที่เรากำจัดออกเสียอีก

7) ลดความชื้นและการทำความสะอาดเบื้องต้น
ความ ชื้นของเมล็ดมีผลต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์มากที่สุด กระบวนการเคมีภายในเมล็ดจะเกิดมากหรือน้อยมีผลจากความชื้น ความชื้นที่สูงจะช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมาก และมีผลพลอยได้ เป็นความร้อนสะสมโดยรอบเมล็ดหากอุณหภูมิสะสมสูงเกิน 51 องศาเซนเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน เมล็ดจะตาย หากยังไม่ถึงตากอาหารภายในเมล็ดจะถูกใช้ไปกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น จะลดน้อยลงจนมีผลต่อความแข็งแรงของเมล็ดและอายุการเก็บรักษาด้วย ถ้าความชื้นสูงเพียงพอต่อการงอก (ข้าวใช้ความชื้นเพื่อการงอก 45%ของน้ำหนักเมล็ด) เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่

การทำความสะอาดเบื้องต้น โดยการคัดแยกเศษหิน ดิน ทราย และเศษพืช ที่ติดมากกับเมล็ด จะช่วยลดแหล่งอาศัยของ เชื้อโรค แมลงและไข่แมลง???? ได้อย่างมาก รวมทั้งลดแหล่งสะสมความชื้นอีกด้วย


2. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
1) การควบคุมเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อป้องการการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน ให้มีได้ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน พรบ.เมล็ดพันธุ์

ด้านการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสรรค์ จะมีคณะกรรมการตรวจติดตามควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน และมีการตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ก่อนการเก็บเกี่ยวทุก แปลง โดยการตรวจสอบในกระบวนการผลิต ได้แก่

- การตรวจสอบเครื่องจักรเครื่องมือ สำหรับปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ หลังการทำความสะอาดในการเปลี่ยนพันธุ์พืช
-?การตรวจรับรองมาตรฐานแปลงขยายพันธุ์ โดยคณะกรรมการ
-?การตรวจสอบสภาพการเก็บรักษา อันได้แก่ สภาพแวดล้อม การทำลายของแมลง สัตว์ ศัตรูในโรงเก็บ และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ระหว่างการเก็บรักษา

2) การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
เพื่อให้ทราบสถานะปัจจุบันของเมล็ดพันธุ์ ว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเมล็ดพันธุ์หรือไม่ ในการตรวจสอบคุณภาพนั้นทุกวิธีการจะใช้หลักสำคัญโดยการใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในแต่ละกลุ่ม แต่ละชุด ด้วยหลักวิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการ แล้วแบ่งตัวอย่างมาปฏิบัติการทดสอบ ได้แก่

- การทดสอบ ความชื้น เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำในเมล็ด ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับการเก็บรักษาหรือไม่ ความชื้นที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ควรอยู่ที่ ไม่เกินร้อยละ 14 ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นถึงความชื้นที่มีผลต่อปฏิกริยาเคมีภายในเมล็ด
- การทดสอบความงอก หรือความมีชีวิตของเมล็ด สิ่งมีชีวิตเมื่อเกิดแล้วก็จะมีแต่เสื่อมและตายในที่สุด การทดสอบความงอก โดยนำเมล็ดมาเพาะแล้วคำนวนหาว่ามีความงอกร้อยละเท่าไหร่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนความงอกของเมล็ดที่เหลืออยู่ทั้งหมด
- การทดสอบความบริสุทธิ์ เพื่อค้นหาว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นมีส่วนของเมล็ดพืชพันธุ์ที่ระบุ และเมล็ดพืช พันธุ์อื่น หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มากน้อยร้อยละเท่าไหร่
- การทดสอบสิ่งเจือปน สิ่งที่รวมอยู่กับเมล็ดพันธุ์นอกเหนือจากเมล็ดพันธุ์แล้ว สิ่งอื่นถือเป็นสิ่งเจือปนทั้งสิ้น ได้แก่ เศษดิน เศษหิน เศษชิ้นส่วนของพืช ฯลฯ การทดสอบโดยการคัดแยกส่วนที่เป็นเมล็ดพืช และสิ่งที่ปนมา คิดคำนวนหาสัดส่วนของน้ำหนักเป็นร้อยละ'

3. การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
1) คัดทำความสะอาดเบื้องต้น
เมล็ด ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในไร่นา มักจะมีส่วนที่ไม่ใช้เมล็ด ดังที่กล่าวไว้คือสิ่งเจือปน การคัดแยกในครั้งแรกนี้ จะใช้เครื่องคัดโดยใช้ตะแกรงและแรงลม วัตถุประสงค์เพื่อนำสิ่งที่ไม่ใช้เมล็ดออกก่อนจะนำเมล็ดเข้าอบลดความความ ชื้น ซึ่งจะไม่สูญเสียเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์?

2) ลดความชื้น
การ ลดความชื้นเมล็ดพันธุ์นั้น ใช้หลักการโดยให้ความร้อนผสมกับอากาศ ทำให้อากาศขยายตัวลอยสูงขึ้น เมื่ออากาศผ่านไปตามช่องว่างระหว่างเมล็ดจะเกิดการถ่ายเทความชื้นจากเมล็ด ที่มีมากกว่าติดไปกับอากาศ มีผลให้ความชื้นของเมล็ดลดลง

3) คัดแยกทำความสะอาด และคัดขนาด
ความ สม่ำเสมอของเมล็ด มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต เนื่องจาก การงอก ความแข็งแรง การเติบโตของพืชที่เป็นไปพร้อมๆ กัน ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน จะช่วยลดความเสียหายจากการตกหล่น เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดแยกทำความสะอาดและคัดขนาด จะมีขนาดสม่ำเสมอ สิ่งเจือปนทั้งที่มีขนาดใหญ่กว่าและเล็กกว่าเมล็ดพันธุ์รวมถึงเศษฝุ่นผง ละอองจะมีปริมาณไม่เกินมาตรฐาน

4) คัดแยกโดยน้ำหนัก
เมล็ด ที่ได้จากการคัดแยกขนาดบางส่วน อาจจะมีเมล็ดที่ขนาดเท่ากัน แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภายในเมล็ดมีเนื้อแป้งไม่เต็มเมล็ด (เมล็ดลีบ) หรือถูกแมลงทำลายภายในเมล็ด การคัดแยกโดยน้ำหนักจะช่วยให้เมล็ดมีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

5) คลุกสารเคมี
สารเคมีสำหรับคลุกเมล็ดพันธุ์ มีประโยชน์ในการกำจัดเชื้อโรค แมลงซึ่งติดมา
กับ เมล็ด เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรค แมลง ระหว่างการเก็บรักษา จนถึงเวลาก่อนปลูกในไร่นา เป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ปราศจากโรคแมลง ซึ่งอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

6) บรรจุถุง
เมล็ด พันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจะบรรจุถุงขนาดถุงละ 25 กิโลกรัม โดยมีสัญญลักษณ์ของกรมการข้าว และทุกถุงจะมีป้ายกำกับระบุ ชื่อ พืช พันธุ์? สถานที่ผลิตไว้ ซึ่งสามารถสอบทวนกลับได้

7) การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
ศูนย์ฯจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่โครงการของรัฐฯ ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และเกษตรทั้วไป สามารถติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ได้โดยตรงที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์


http://nsw-rice.com/index.php/seedtechno/process/19-seedtechno-fund
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ข้าววัชพืช ผลกระทบร้ายแรงต่อผลผลิตข้าวไทยหากไม่รีบจัดการ

ปัญหาเรื่องผลผลิตข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดมีเกิดขึ้นตลอดเวลาในหลากหลายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนแต่มีที่มาของปัญหาแทบทั้งสิ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของข้าววัชพืชที่ได้เข้ามามีบทบาททำให้ผลผลิตข้าวตลอดถึงกระบวนการเพาะปลูกข้าวมีผลกระทบเรื่อยมา

สิ่งที่สำคัญของข้าววัชพืชเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีการเจือปนในแปลงปลูกของฤดูการเพาะปลูกต่อมา เนื่องจากมีการเจือปนในเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวนับเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตข้าว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ลงทุนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น ปุ๋ยและสารเคมี หากมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ดีตั้งแต่ต้นจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ลดลง ทำให้การจัดการยุ่งยากมากขึ้นเสียเวลาและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต นอกจากนี้การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ได้มาตรฐานยังเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้าววัชพืชแพร่กระจายจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

ข้าววัชพืชที่พบทั่วไปในนาข้าวมีหลากหลายลักษณะ มีทั้งต้นสูงและต้นเตี้ยใกล้เคียงกับข้าวปลูกลักษณะเมล็ดต่างกันมีทั้ง เมล็ดสั้น เมล็ดยาวเรียว สีเปลือกมีสีฟางหรือน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้มและสีดำ บางชนิดมีหางบางชนิดไม่มีหางบางชนิดมีหางบ้างไม่มีหางบ้าง มีทั้งร่วงง่ายมากถึงร่วงปานกลางเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งสีขาวและสีแดง เมล็ดข้าววัชพืชที่เป็นข้าวแดง(ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง)ที่พบในนาข้าวภาคกลางมีระยะพักตัวประมาณ 3-10 สัปดาห์ ข้าววัชพืชประเภทนี้มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวทั้งเพื่อใช้เมล็ดพันธุ์และเพื่อเป็นการค้าหากมีมากขายเข้าโรงสีจะถูกตัดราคา

นางอัญชลีประเสริฐศักดิ์นักวิชาการเกษตร8ว.ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เปิดเผยว่าทางกรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยข้าวศูนย์บริการวิชาการและปัจจัยการผลิตด้านข้าวรวม 27 แห่งทั่วประเทศนอกจากจะมีหน้าที่ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ๆที่มีผลผลิตสูงและคุณภาพดีแล้ว ยังมีหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ชั้นพันธุ์คัดและพันธุ์หลักเพื่อเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ดีในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรต่อไป

อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ที่ทางส่วนราชการผลิตยังมีไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร ซึ่งทางภาครัฐผลิตได้ประมาณ 10% ของความต้องการทั้งหมดดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหาเมล็ดพันธุ์จากนอกระบบเช่นร้านค้าเพื่อนบ้านหรือเก็บไว้ใช้เองซึ่งมักประสบปัญหาได้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมีข้าวแดงและข้าวพันธุ์อื่นปนมาก

ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งอื่นควรเลือกซื้อจากร้านค้าหรือแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือเกษตรกรสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองโดยเริ่มต้นจากเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกที่ได้มาตรฐาน หมั่นดูแลรักษาตรวจตัดข้าวปนอย่างสม่ำเสมอ การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูกไม่ควรปฏิบัติต่อเนื่องเกิน 3 ปี เนื่องจากคุณภาพของผลผลิตจะลดลงกว่าเดิมเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น

“ในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางที่ปลูกข้าวต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาข้าววัชพืชนี้ซึ่งจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรีได้ตระหนักถึงปัญหาจึงได้ดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อหาแนวทางป้องกันและกำจัดข้าววัชพืชที่ระบาดในปัจจุบัน ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเอกชนผู้ประกอบการและตัวเกษตรกรเอง” นางอัญชลีกล่าว

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นนางอัญชลีแนะนำว่า ควรใช้การจัดการแบบผสมผสานอย่างต่อเนื่องทั้งการใช้เมล็ดพันธุ์ดีร่วมกับการจัดการการผลิตที่ดีมีการพักดินหรือปล่อยดินแห้งอย่างน้อย 1-2 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นพ้นระยะพักตัวในสภาพธรรมชาติจากนั้นเอาน้ำเข้ากระตุ้นให้เมล็ดงอกหรือล่อข้าวรื้ออีก 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-7 วันแล้วไถกลบขังน้ำหมักประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนไถคราดทำเทือกครั้งสุดท้ายอาจร่วมกับการใช้สารเคมีประเภทคลุมวัชพืชก่อนงอกทิ้งไว้ 2-5 วันขึ้นกับชนิดของสารเคมี จากนั้นจึงหว่านข้าวหลังจากหว่านข้าวประมาณ 7-10 วันเอาน้ำเข้ารักษาระดับน้ำไว้ที่ 5-10 เซนติเมตร ตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าว ทำการตรวจตัดข้าวปน 2-3 ครั้งในระยะแตกกอออกดอกและก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยลดปริมาณข้าววัชพืชที่สะสมในนา ตลอดจนทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนทำการเก็บเกี่ยวข้าวและใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาดซึ่งทั้งนี้ความสำเร็จในการปฏิบัติขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ของเกษตรกร

การใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีร่วมกับการจัดการการผลิตที่ดีหมั่นดูแลตรวจตัดข้าวปนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาข้าววัชพืชได้อย่างยั่งยืนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาจช่วยลดข้าววัชพืชได้บ้าง แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ปริมาณมากอาจจะมีผลต่อข้าวปลูกและสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากข้าววัชพืชส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกับข้าวปลูกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า OryzaSativaและข้อจำกัดของการใช้สารเคมีคือใช้ได้เฉพาะข้าววัชพืชที่พ้นพักตัวแล้วเท่านั้น ดังนั้นเกษตรกรไม่ควรหวังพึ่งสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/each.asp?newsid=72014
http://www.news.cedis.or.th/detail.php?id=2493&lang=en&group_id=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี

เป็นการรักษาพันธุ์ข้าวให้เป็นข้าวให้เป็นข้าวพันธุ์ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อม ไม่กลายพันธุ์ ทำให้ได้ ผลผลิตมีคุณภาพดี ขายได้ราคา ตามปกติเกษตรกรมีวิธีการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวของเกษตรกรอยู่แล้ว เช่นเลือกเก็บรวงข้าวที่ใหญ่ ไม่มีโรคแมลงทำลายหรือเลือกเกี่ยวจากแปลงข้าวที่งอกงามและนวดแยกเก็บไว้ต่างหาก ซึ่งเป็นการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์วิธีหนึ่ง แต่วิธีการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่ทางราชการจะแนะนำต่อไปนี้ก็เป็นวิธีที่ง่าย เกษตรกรทั่วไปสามารถทำเองได้ เหมือนกับการปลูกข้าวโดยวิธีปักดำทั่วไป เพียงแต่เพิ่มขั้นตอนในการปฏิบัติเข้าไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวดี ไม่ต้องเปลี่ยนพันธุ์ใหม่ทุก ๆ 3 ปี

ประโยชน์ของเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
- ตรงตามพันธุ์
- ความงอกและความแข็งแรงสูง
- เจริญเติบโตเร็วและสม่ำเสมอ
- ทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป
- สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป 10-20%
- ประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ เพราะใช้อัตราต่ำกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป

ประเภทของเมล็ดพันธุ์ข้าว
• เมล็ดพันธุ์คัด
• เมล็ดพันธุ์หลัก
• เมล็ดพันธุ์ขยาย
• เมล็ดพันธุ์จำหน่าย



ขั้นตอนและวิธีการ

1.การเลือกแปลงปลูกข้าวพันธุ์ดี
1.1.ควรเป็นแปลงที่ควบคุมน้ำได้และสามารถเอาน้ำเข้าออกได้ง่าย
1.2.ควรเป็นแปลงที่ได้แสงแดดจัดไม่อยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่หรือสิ่งก่อสร้าง
1.3.ไม่ควรอยู่ใกล้คอกสัตว์ บ่อเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงกุ้ง เพราะอาจทำให้ต้นไม้ข้าวงอกงามเกินไป
1.4.ควรมีพื้นที่นาราบเรียบสม่ำเสมอ
1.5.ไม่เป็นดินกรดจัดด่างจัดหรือเกลือหรือมีสารพิษใดๆ
1.6.แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวควรมีเนื้อที่ 1-2 ไร่ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์เพียงพอแก่นาที่ทำอยู่

2.การเลือกพันธุ์ข้าวปลูก
2.1.เลือกใช้พันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกปริมาณน้ำฝนและน้ำในท้องที่
2.2.ใช้พันธุ์ข้าวที่อยู่ในความต้องการของตลาด
2.3.ก่อนปลูกควรได้ศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของพันธุ์ข้าวเช่น
-เป็นพันธุ์ข้าวนาปีหรือนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยวเมื่อไร
-มีรูปแบบ ขนาด สี ต้น รวง และเมล็ดอย่างไร เมล็ดร่วงหล่นง่ายหรือยาก
-มีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร เช่น เป็นข้าวแตกกอดีหรือไม่ ฟางอ่อนส้มง่ายหรือไม่ต้านทานโรคแมลงอะไรได้บ้างเป็นต้น

หมายเหตุ
การรู้ลักษณะและคุณสมบัติของพันธุ์ข้าวก่อนปลูก จะทำให้สามารถดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนั้นได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดความเสียหายและรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ถูกต้องตรงตามพันธุ์

3.การทำแปลงกล้า
3.1.เมื่อฝนตกน้ำขัง หรือเอาน้ำเข้าแช่นาเป็นเวลา 5-6 วัน จนดินอ่อนจึงไถดะให้ลึก 6-8 นิ้ว แล้วปล่อยขี้ไถแช่น้ำไว้2-3วัน
3.2.เมื่อขี้ไถอ่อนตัวแล้วให้ไถแปร 1-2 ครั้ง จนเห็นว่าก้อนขี้ไถมีขนาดพอที่จะคราดได้สะดวกจึงหยุด
3.3.คราดดินทำเทือกให้อ่อนพอเหมาะเสร็จแล้วเก็บตอชังหรือต้นวัชพืชออกให้หมด
3.4.ปรับดินให้ได้ระดับโดยระบายน้ำน้ำออกให้แห้งแล้วคราดดินจากที่ดอนไปใส่ในที่ลุ่มทำย่างนี้หลายๆครั้งจนดินเรียบได้ระดับ
3.5.การกำจัดวัชพืช ปล่อยให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวตกอยู่ในนาได้งอกเป็นเวลา 7-10 วัน จึงเอาน้ำเข้าแล้วคราดหรือไถ การปล่อยให้เมล็ดวัชพืชหรือเมล็ดข้าวเรื้อได้งอก 1-2 ครั้ง จะตัดปัญหาวัชพืชและข้าวปนให้หมดไปทำให้ได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่มีคุณภาพ
3.6.การปั้นแปลงกล้า ปล่อยน้ำออกแล้ว ปั้นแปลงกล้าให้กว้าง 1-2 เมตร ยาวไปตามทิศทางลมร่องน้ำระหว่างแปลงกล้า 30 เซนติเมตร แปลงกล้าควรนูนโค้งเป็นรูปหลังเต่า เพื่อสะดวกในการระบายน้ำ
3.7.การใส่ปุ๋ยแปลงกล้า ถ้าแปลงกล้ามีดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ไร่ละ 20-30 กิโลกรัมหรือ 100-150 กรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร แต่ถ้าแปลงหล้าดินดีแล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ย
3.8.แปลงกล้าที่ดีควรมีดินร่วนซุ่ยเพื่อให้การถอนกล้าและการล้างดินออกจากกล้าทำได้ง่ายโดยไม่ต้องหาดต้นกล้ากับหน้าแข้ง ซึ่งจะทำให้ต้นกล้าช้ำ ดังนั้น แปลงกล้าจึงควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินร่วนซุย โดยไถกลบปุ๋ยเหล่านี้ให้จมลงไปในดินและปล่อยให้สลายเป็นเวลา15-20วันก่อนจะตกกล้า

4.เมล็ดพันธุ์และอัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรตรวจเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะดังนี้
4.1.เมล็ดพันธุ์ต้องสะอาดและไม่มีโรคแมลง ถ้าเมล็ดไม่สะอาด เมล็ดด่างดำมีโรคแมลง ให้หาเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนใหม่
4.2.ไม่มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่น ๆ ปะปน ถ้ามีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ปะปนไม่มากให้เก็บออก ถ้าเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่นปะปนมากเก็บออกไม่ไหวให้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ใหม่
4.3.ไม่มีเมล็ดวัชพืชปะปน ถ้ามีเมล็ดวัชพืชต่าง ๆ ปะปนให้หาทางเอาเมล็ดวัชพืชเหล่านั้นออกโดยการฝัดการร่อนการคัดน้ำเกลือถ้าไม่สามารถทำได้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ใหม่
4.4.ทดสอบความงอกของเมล็ดก่อน เมล็ดที่นำไปเพาะควรงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
4.5.อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ตกกล้า 50 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร หรือไร่ละ 80 กิโลกรัม

5.การเพาะเมล็ดและการตกล้า
5.1.การเอาเมล็ดแช่น้ำ เอาเมล็ดใส่กระสอบป่านหรือถุงผ้าดิบให้หลวม ๆ แล้วนำถุงเมล็ดไปแช่ในน้ำสะอาดโอ่ง ถังหรือในแม่น้ำลำคลอง แช่น้ำไว้ 24 ชั่วโมง
5.2.การเพาะเมล็ด เอาเมล็ดขึ้นมาหุ้มอีก 24-48 ชั่วโมง ในขณะหุ้มต้องรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนรดน้ำต้องพลิกกลับกระสอบ เพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ เสร็จแล้วเอากระสอบป่าคลุมเพื่อให้เมล็ดชุ่มขึ้น
5.3.เมล็ดงอกพอเหมาะควรงอกเป็นตุ่มหรืองอกรากยาว 1-2 มิลลิเมตร ไม่ควรให้งอกมากไปกว่านี้ เพราะบางครั้งหลังจากหว่านเมล็ดบนแปลงกล้าต้องลูบเมล็ดให้จมลงไปในดินเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากนก หนู ถ้าเม,ดงอกยาว รากหรือต้นจะขาดได้ง่าย
5.4.การหว่านเมล็ดในแปลงกล้า แปลงกล้าที่ดีเมื่อหว่านเมล็ด เมล็ดควรจมลงไปครึ่งหรือค่อนเมล็ด ถ้าในท้องที่มีนก หนู หรือเป็นฤดูฝนให้ลูบเมล็ดกล้าจมลงในแปลง เพื่อลดความเสียหาย
5.5.การรดน้ำแปลงกล้า ถ้าแปลงกล้าแห้งให้รดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง เช้า เย็น หรือ เช้า กลางวัน เย็น
5.6.การเอาน้ำเข้านา เมื่อกล้างอกได้ 5-6 วัน ให้เอาน้ำเข้าแปลงกล้า แล้วเพิ่มน้ำขึ้นทุกวัน และรักษาระดับน้ำไว้ที่ 5 หรือ 10 เซนติเมตร
5.7.การดูแลรักษาแปลงกล้า แมลงและโรคที่ควรระวังในแปลงกล้า คือ
-เพลี้ยไฟ มักจะเกิดในช่วงอากาศร้อนจัดหรือในช่วงฝนทิ้ง จะสังเกตเห็นได้ที่ปลายใบข้าวจะมีสีข้าว ถ้าเป็นมากจะแห้งเป็นสีแดง ให้พ่นสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน 85% WP
-หนอนกระทู้กล้า จะเกิดในแปลงกล้าที่งาม ๆ ให้พ่นสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน 85% WP
-โรคไหม้ จะเกิดขึ้นกับต้นกล้าที่งาม และเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีความต้านทานโรค จึงไม่ควรให้ต้นกล้างอกงามเกินไป ถ้าเป็นโรคนี้ให้ใช้สารเคมีกำจัดโรคนี้พ่น เช่น บีม เบ็นเลท หรือใช้สารเคมีเบ็นลท คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้า

6.การถอนกล้าและการปักดำ
6.1.ต้นกล้าข้าวนาปรังควรมีอายุ 20-25 วัน ข้าวนาปี 30-40 วัน
6.2.น้ำในแปลงปักดำควรมีระดับ 5-10 เซนติเมตร
6.3.ในแปลงนาที่มีปู และหอยมาก ให้ระบายน้ำออกให้แห้ง เพื่อไม่ให้ปูหรือหอยน้ำมากัดกินต้นข้าวได้ และจะต้องปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตแข็งแรง จนปูและหอยไม่สามารถทำอันตรายได้จึงเอาน้ำเข้าขัง
6.4.ควรปักให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อให้ต้นข้าวได้เจริญเติบโตเท่าๆ กัน จะได้ออกดอกออกรวงพร้อม ๆ กัน
6.5.แปลงปักดำควรเตรียมเช่นเดียวกับแปลงกล้า
6.6.ควรปักดำจับละ 1 ต้น ระยะ 20 x 20 เซนติเมตร สำหรับข้าวนาปรัง ระยะ 25 x 25 เซนติเมตร สำหรับข้างนาปี ซึ่งจะดีกว่าปักดำจับละ 2-3 ต้น
หมายเหตุ การปักดำจับละ 1 ต้น จะดีกว่าปักดำจับละ 2-3 ต้น เพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์จากต้นข้าวแต่ละต้นที่มีลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ เหมือนกัน ถ้าเป็นการปักดำหลายต้น ลักษณะที่แตกต่างกันไม่มากเมื่อนำมาปักดำกันจะไม่สามารถแยกออกได้ในการตรวจข้าวปน
6.7.การซ่อมข้าว ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรซ่อมข้าว เพราะต้นข้าวที่ซ่อมจะออกรวงล่ากว่าจ้นข้าวที่ไม่ได้ปลูกซ่อม แต่ถ้าจำเป็นต้องซ่อม ควรซ่อมให้เสร็จภายใน 1-5 วัน

7.การดูแลรักษาแปลงปลูกข้าวพันธุ์ดี
7.1 น้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกข้าวและมีผลกระทบต่อผลิตข้าว ในระยะ 30 วัน แรกหลังปักดำไม่ควรให้ขาดน้ำเพราะวัชพืชจะขึ้นกับข้าว ระดับน้ำในช่วงแตกกอหรือหลักปักดำ 30-40 วัน ไม่ควรมาก เพื่อให้ต้นข้าวได้แตกกอมากและไม่หนีน้ำ สำหรับข้าวต้นเตี้ยเพียง 5-10 เซนติเมตร สำหรับ ข้าวต้นสูง 10-20 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่แล้วเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้ต้นแตกหน่อที่ไม่สมบูรณ์ออกมา หลังข้าวออกดอก 20 วัน หรือก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน ให้ระบายน้ำ ถ้าเป็นดินทรายให้ระบายน้ำออกก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน เพื่อให้เมล็ดสุกพร้อมกันและเก็บเกี่ยวได้สะดวก

7.2.การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว
-หนู ในท้องที่มีชุกชุม จะต้องวางยาเบื้อหนูก่อนปลูกข้าว และในช่วงปลูกข้าวจนเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีหนูมากจนทำความเสียหายให้แก่ข้าวที่ปลูก
-นก ควรกะเวลาปลูกข้าวให้ตั้งออกรวงพร้อมกับข้าวส่วนใหญ่ เพื่อลดความเสียหายจากนก
-ปู หอย นอกจากใช้วิธีเก็บออก ในช่วงปักดำหรือหว่านข้าว ปล่อยน้ำให้แห้งจนต้นข้าวเติบโตแข็งแรง จน ปู หอย ไม่สามารถทำลายได้จึงเอาน้ำเข้า
-วัชพืช สำหรับนาดำ ถ้านาไม่ขาดน้ำ วัชพืชจะไม่เป็นปัญหา
-โรคแมลง ถ้าได้ตรวจดูนาโดยใกล้ชิด คอยดูโรคแมลงที่เกิดขึ้น ถ้าเห็นว่าบ้างแต่ไม่ถึงขั้นที่จะทำความเสียหายให้แก่ข้าวที่ปลูก ก็ไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมีกำจัด แต่ถ้าเห็นว่าจะทำความเสียหายให้มาก ให้พ่นสารเคมีกำจัดให้ตรงกับโรคแมลงนั้น

7.3.การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ย ดังนี้
-การใส่ปุ๋ยในช่วงแตกกอ ควรใส่ 2 ครั้ง เพื่อให้ต้นข้าวงอกงามสม่ำเสมอ ครั้งแรกควรใส่ปุ๋ยรองพื้น โดยคราดให้จมลงไปในดินในช่วงคราดปรับดิน หรือหลังปักดำ 4-5 วัน ปุ๋ยที่ควรใส่ ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งไร่ละ 15-20 กิโลกรัม ถ้าเป็นดินทรายให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตราเดียวกัน หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกไปแล้ว 15-20 วัน ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยใช้สูตรเดียวกัน อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านแต่งให้ต้นข้าวงอกงามสม่ำเสมอกัน
-การใส่ปุ๋ยในช่วงตั้งท้อง ก่อนใส่ปุ๋ยข้าวในช่วงตั้งท้อง หรือก่อนออกดอก 30 วัน ให้ดูสีสัน ต้น ใบ และอาการต้นข้าวก่อน ถ้าต้นข้าวยังไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพราะปุ๋ยที่ใส่ลงไปจะทำให้ต้นข้าวฟุเฝือใบ ให้ใส่ปุ๋ยเมื่อต้นข้างเริ่มแสดงอาการขาดปุ๋ย คือ ใบสีซีดลง ใบค่อนข้างตั้งตรง ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตหรือแอมโมเนียมคลอไรด์ ไร่ละ 10-2 ไร่ กิโลกรัม หรือยูเรีย ไร่ละ 5-10 กิโลกรัม

8.การตรวจตัดข้าวปน ควรตรวจตัดข้าวปน 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ระยะแตกกอ ให้ตัดกอข้าวที่มีรูปแบบของต้น ขนาดของต้น ใบ สี และความสูงของต้นใบที่แตกต่างไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ออกให้หมด

ครั้งที่ 2 ระยะแรกดอก ให้ตัดกอข้าวที่ออกดอกไม่พร้อมกอข้าวส่วนใหญ่ออกให้หมด กอข้าวเหล่านี้ได้แก่กอออกดอกก่อน หรืออกดอกทีหลัง

ครั้งที่ 3 ระยะเมล็ดสุกก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน ให้ตัดกอข้าวที่มีขนาด สี ของเมล็ดและความสูงของต้นที่ไม่เหมือนต้นข้าวส่วนใหญ่ออกให้หมด
หมายเหตุ หลังจากตัดข้าวปนครั้งที่ 3 แล้ว ข้าวที่เหลืออยู่ในแปลงทุกกอจะต้องมีรูปแบบ ขนาด สี ความสูงของต้น ใบเมล็ด เหมือนกัน จึงจะได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี

9.การเก็บเกี่ยวตากนวด
หลังจากข้าวออกรวงได้ 30 วัน ให้เก็บเกี่ยววางราย หรือเกี่ยวสุ่มซัง ตากข้าวที่เกี่ยวไว้ในนา 3-4 แดด เมล็ดจะมีความชื้นต่ำกว่า 14% นวดเมล็ดให้สะอาด แล้วบรรจุใส่กระสอบสะอาด เก็บกระสอบข้าวไว้ในที่ร่มเย็นไม่ชื้น

หมายเหตุ
ในกรณีผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวซึ่งมักมีข้าวเจ้าเกิดขึ้น เนื่องจากการกลายพันธุ์ ให้เก็บเกี่ยว ดังนี้คือ เกี่ยวข้าวเป็นกอ ๆ แยกกันประมาณ 400-500 กอ เมื่อตากกอข้าวเหล่านี้แห้งแล้ว ให้เอาเมล็ดข้าวแต่ละกอประมาณ 100 เมล็ด บดเมล็ดข้างเหล่านี้ดูเมล็ดข้าวกล้อง ถ้ากอข้าวใดมีเมล็ดกล้องที่เป็นข้าวเจ้าเกิดขึ้นให้ทิ้งข้าวกอนั้นไป เก็บกอข้าวที่เมล็ดข้าวกล้องเป็นข้าวเหนียวล้วน ๆ ไว้ แล้วนวดกอข้าวเหล่านี้ รวมกัน เมล็ดที่ได้จากกอข้าวเหนียวเพียง 2 กิโลกรัม ก็เพียงพอจะปักดำจับละ 1 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่

สรุป
ขั้นตอนการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนที่ไม่ยาก เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งจะทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ถูกต้องตรงตามพันธุ์ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่สะอาด ไม่มีโรค ไม่มีแมลง ไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่นปะปน ไม่มีเมล็ดวัชพืชหรือสิ่งเจือปนอื่น ๆ แต่ สิ่งหนึ่งที่ควรระวังในการผลิตเมล็ดพันธุ์ก็คือ ฝน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูนาปีหรือนาปรัง จะต้องวางแผนการปลูกข้าวให้ช่วงการเก็บเกี่ยวอยู่ในเดือนที่ไม่มีฝน เพราะฝนจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เมล็ดพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนวิธีการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่กล่าวมานี้เป้นขั้นตอนที่สถานบันวิจัยข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยข้าว สถานีทดลองข้าว ปฏิบัติ และกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ชาวนาพันธุ์ดำเนินการอยู่



school.obec.go.th/talaungwit/.../rice.doc -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว

ข้าวเป็นพืชที่คนไทยบริโภคเป็นอาหารหลักประจำวัน คนในสังคมไทยมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับข้าวตั้งแต่เกิดจนตาย จนอาจกล่าวได้ว่าข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม มาช้านาน ข้าวที่บริโภคกันภายในประเทศเกือบทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกของชาวนาไทยและแม้ว่าประเทศจะได้พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีไปมาก แต่การทำนาปลูกข้าวยังถือว่ามีความสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ

การทำนาปลูกข้าวของชาวนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีการทำนาไปจากเดิม จากเทคโนโลยีการทำนาแบบพื้นบ้านได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและวิถีชีวิตของชาวนาดังเช่นกรณีของการพัฒนาพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการตลาด

การพัฒนาพันธุ์ข้าวจึงเน้นผลผลิตต่อไร่สูงสุดและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ชาวนาต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณสูงขึ้น ขณะที่ราคาปุ๋ยเคมีก็เพิ่มขึ้นสูงทุกปี อีกทั้งพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็มักจะมีความอ่อนแอต่อโรค ชาวนาในระบบเกษตรสมัยใหม่ก็มักจะจัดการปัญหาด้วยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควบคู่กันไป ส่งผลต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนาพันธุ์ข้าวตามระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่แม้จะได้ข้าวพันธุ์ดีแต่ก็ได้ทำให้ต้นทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนาเพิ่มขึ้นเพราะมีส่วนส่งเสริมให้ชาวนาหันไปซื้อพันธุ์ข้าวปลูก
แทนการเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองที่เคยทำมาแต่เดิมเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

การพัฒนาพันธุ์ข้าวในลักษณะนี้จึงมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
และระบบที่เป็นเกษตรเคมี มากกว่าให้ตอบสนองต่อความต้องการของชาวนา

ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันการทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวภาคเอกชน
บริษัทธุรกิจเมล็ดพันธุ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว
ที่มุ่งจะผูกขาดเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และทำกำไรจากการขายเมล็ดพันธุ์
รวมทั้งปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในลักษณะครบวงจร ทำให้ชาวนามีทางเลือกที่จำกัด
ในการผลิต และนับวันจะทำให้ชาวนาพึ่งตนเองได้น้อยลง


ความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ชาวนามีส่วนร่วม จึงเป็นงานที่มีความท้าทายต่อชาวนาทุกคนที่มีความสนใจเพราะเป้าหมายของการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวก็เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูความรู้ของชาวนา และพัฒนาความรู้ เทคนิคต่างๆในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มาจากชาวนาเอง ให้ตอบสนองต่อระบบการผลิตของชาวนาได้อย่างเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการทำนา ชาวนามีทางเลือกในการพึ่งตนเองจากอาชีพการทำนา มีวีถีชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถเป็นชาวนาได้อย่างมีศักดิ์ศรี



การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีหลายวิธีได้แก่ การรวบรวมข้าวพันธุ์ดีจากที่อื่นมาปลูกขยาย การคัดเลือกพันธุ์ การผสมพันธุ์ข้าวและการปลูกคัดเลือกหลังการผสมเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ การฉายรังสี เป็นต้น ซึ่งมูลนิธิข้าวขวัญได้นำเสนอเทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยวิธีการคัดข้าวกล้อง ซึ่งชาวนาและผู้สนใจทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในไร่นาของตนเองได้

การคัดเลือกพันธุ์ข้าววัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวนั้นๆไว้ซึ่งได้แก่ ความสูง ลักษณะทรงกอ สีใบ สีเมล็ด ชนิดข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า เป็นต้น ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์อาจเปลี่ยนแปลงได้หากชาวนาใช้พันธุ์เดิมปลูกต่อเนื่องกันโดยไม่มีการคัดเมล็ดพันธุ์ สาเหตุอาจเกิดการผสมข้าม

พันธุ์โดยธรรมชาติที่เรียกว่า ข้าวกลายพันธุ์ นอกจากนั้นยังมีหลายสาเหตุ เช่น ข้าวเรื้อในนาติดมากับรถเกี่ยวหรือปนมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลักษณะที่แตกต่างกันนั้นสามารถคัดเลือกให้เป็นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้ ซึ่งการคัดพันธุ์ของชาวนาแบบเดิมนั้นคัดจากต้นข้าวที่สมบูรณ์ ความสูงสม่ำเสมอ รวงยาว การติดเมล็ดดี ระแง้ถี่ การให้ผลผลิตดี ไม่มีโรค แมลงรบกวนเป็นต้น การคัดเลือกวิธีนี้จะคัดเลือกจากลักษณะที่สังเกตเห็นจากภายนอกเปลือกเท่านั้น แต่พบว่ายังมีปัญหาคุณภาพภายในเมล็ด เช่น การเป็นท้องไข่ ความมันวาว สีของข้าวกล้องไม่ตรงตามพันธุ์ เป็นต้น

มูลนิธิข้าวขวัญได้พัฒนาต่อยอดจากวิธีการคัดเลือกข้าวแบบดั้งเดิมเป็นการคัดเลือกพันธุ์จากข้าวกล้อง พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพข้าวได้ นอกจากนั้นและยังสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อีกด้วย และได้ขยายผลสู่เครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วมอบรมในโครงการปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนชาวนาในโครงการของมูลนิธิฯและผู้สนทั่วไป ตั้งแต่ปี 2547-ปัจจุบัน


มูลนิธิข้าวขวัญ
13/1 ม.3 ถ.เทศบาลท่าเสด็จ1 ซ.6 ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สพรรณบุรี 72230
office : 13/1 Mho 3 Tedsaban Tha saded1 Road, Soi 6 Tambon Sarkaew Muang District,
Suphanburi Province Thailand 72230
Tel. 035-597193 E-mail : khao-kwan@hotmail.com



http://www.khaokwan.org/improving.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 28/10/2010 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวหอม 10 ชนิด



ชื่อข้าว มะลิแดง
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า ,นาปี
ลักษณะพันธุ์ ต้นสูงประมาณ 125 ซม. ใบสีเขียว แตกกอดี รวงยาว คอรวงยาว ติดเมล็ดดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีแดง คุณภาพการขัดสีดี คุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม ต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับการผลิตแบบอินทรีย์ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว มะลิดำ
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ต้นสูง 125 ซม. แผ่นใบใหญ่ ใบยาวสีเขียวคลุมวัชพืชได้ดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีดำรูปร่างเรียว ยาว การหุงต้ม นุ่ม เหนียว กลิ่นหอมอ่อน สรรพคุณทางยา มีธาตุเหล็กสูง ข้าวกล้องสีดำ ใช้ประโยชน์จากสีดำทำสีผสมอาหารได้ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว นางมลหอม
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนบ้าง ปล้องสีเหลือง ลำต้นค่อนข้างแข็ง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการหุงต้ม ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม



ชื่อข้าว ปทุมเทพ
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปรัง,นาปี
ลักษณะพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าหอม ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง อายุการเก็บเกี่ยว 110-125 วัน ทรงกอตั้ง แตกกอดีมาก ใบสีเขียว มีขน ใบธงยาว รวงอยู่ใต้ใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีหางสั้นบางเมล็ด ผลผลิต 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดคล้ายข้าวขาวมะลิ 105 คุณภาพการหุงต้มข้าวสุก นุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม อ่อน ต้านทานโรคไหม้ และ โรคขอบใบแห้ง



ชื่อข้าว ขาวตาเคลือบ
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง แตกกอดี ความสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขน ลำต้นแข็งปานกลาง ข้อต่อใบสีเขียว ปล้องสีเขียว รวงยาวประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานกลาง คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เมล็ดเรียว เป็นท้องไข่น้อย คุณภาพข้าวสุก นุ่ม ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม



ชื่อข้าว พวงเงิน
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ลำต้นสีเขียวใบใหญ่ และยาวสีเขียว แผ่นใบมีขน ต้นสูง 155 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี คอรวงยาว เมล็ดร่วงง่าย ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดยาว ข้าวกล้องสีขาว คุณภาพการหุงต้มนุ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน



ชื่อข้าว เหนียวดำ ใบดำ
ชนิดข้าว ข้าวเหนียว นาปี
ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ลำต้นสีม่วง แผ่นใบสีม่วง สีปล้องเส้นม่วง ต้นสูง 130 เซนติเมตร ต้นแข็งปานกลาง รวงยาวประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานกลาง คอรวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีม่วง-ดำ ข้าวกล้องสีม่วงดำ เมล็ดค่อนข้างป้อม คุณภาพการหุงต้มข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว โสมาลี
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ การแตกกอดี ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนเล็กน้อย ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดแน่น คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องสีขาว ใส มีเลื่อมมัน จมูกเล็ก การเก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ลำต้นอ่อน ล้มง่าย เมล็ดร่วงง่าย คุณภาพหุงต้ม ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม



ชื่อข้าว ประดู่แดง
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนบ้าง แตกกอดี ลำต้นแข็งปานกลาง ปล้องสีเหลืองอ่อน ออกรวงประมาณต้นพฤศจิกายน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเมล็ดข้าวกล้องเรียว คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกนุ่ม และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย



ชื่อข้าว เหลืองเลาขวัญ
ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ ต้นสูง 135 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบใหญ่ยาว คลุมวัชพืชได้ดี แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนเล็กน้อย รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการหุงต้ม ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ทนแล้งได้ดี เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม


http://www.khaokwan.org/seeds.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 27/12/2011 4:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคการปลูกข้าวหอมประทุมให้ได้ผลดีที่สุด ?

- ไม่ต้องรีบทำมาก ปีละ 2 ครั้งก็พอ ก่อนทำพยายามไถแล้วหมักฟางให้ดี แล้ว
ค่อย ไถ แล้วตีเทือก ระหว่างตีเทือกปรับที่ให้ดี

- หว่านข้าวก็ใช้เมล็ดพันธุ์สัก 2 ถังครึ่ง - 3 ถัง ก็พอไม่ต้องเผื่อนกเผื่อหนูเผื่อหอย
ให้มาก (เปลืองเงิน)

- ช่วงข้าวเล็กอายุ (20-25 วัน) ไม่ต้องบ้าจี้หว่านยูเรีย (46-0-0) ประเภทข้าวไม่
เขียวแล้วนอนไม่หลับเลิกพฤติกรรมนี้เสีย แต่ถ้าอยากหว่านปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยเต็มสูตร
เช่น 16-8-8 หรือ 18-4-5 ช่วงนี้ข้าวจะเริ่มแตกกอ

- ปล่อยให้ดินแห้งบ้างช่วง (35-45 วัน) (เวลาเกี่ยวข้าวจะได้ไม่หล่ม)

- พอข้าวอายุ 50-55 วัน ก็หว่านปุ๋ยเต็ม สูตร เช่น16-16-8 หรือ 20-20-8 ก็ได้
อัตรา 1 กส./3-4ไร่ พอข้าวได้ประมาณ 60-65 วันข้าวจะเริ่มท้อง พอข้าวได้สัก
80-90 วัน ข้าวจะออกรวงหมด ช่วงข้าวตากเกสรก่อนเข้าน้ำนมถ้ามีเงินก็หาปุ๋ยสูตร
เสมอ 15-15-15 หว่านอัตรา 1 กส./5 ไร่ เท่านี้ผลผลิตก็ โอแล้ว เกวียนขึ้น


ระหว่างปลูกข้าวก็ดูแมลงโรคบ้างล่ะ (เดินดุ่ยๆ เข้าในแปลงนะ ไม่ใช่ยืนอยู่หัว
คันนา )เห็นหลายคนแล้วอยากได้ข้าวดีแต่ไม่เคยโผล่หัวไปนาเลย


เพิ่มอีกนิด ถ้านาไม่ไกลจากบ้านก็หัดเดินไปบ้างไม่มอไซด์ยัน (เปลืองเงิน)
ลืมบอกไปพยายามเลี่ยงการออกรวงช่วงหนาวเพราะหอมปทุมไม่สู้หนาวเท่าไร
อายุหอมปทุมประมาณ 110 วัน ก็นับเอา


ฝากอีกถ้าคนมันจะรวยก็ ช้างก็ฉุดไม่อยู่ แล้วมั่นตามข่าวสารบ้านเมืองด้วยเพราะผล
ผลิตดี แต่มันโกงกันจนเหลือข้าวเกวียนละ 5,000 ก็ไม่ไหวนา....จะบอกให้



http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20091210014856AAwOY23
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 27/12/2011 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมปทุม เป็นข้าวหอมมะลิ หรือไม่ ?

ข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิมาก เมล็ดยาว สีขาวใสเหมือน
ข้าวหอมมะลิ แต่จะมีรอยถลอกจากการขัดสีเป็นทางยาว ปลายจะตรงไม่กระดก
เหมือนข้าวหอมมะลิ เมื่อหุงสุกแล้ว ขณะร่อนจะมีกลิ่นหอม นุ่มเหนียวเหมือนข้าว
หอมมะลิ แต่เมื่อเย็นตัวสีจะคล้ำลงและแข็งขึ้นอย่างชัดเจน


เมื่อผู้ผลิตผสมข้าวปทุมธานีกับข้าวหอมมะลิแล้ว จะสังเกตความแตกต่างได้ยาก ผู้
ผลิตบางรายจะไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบที่หน้าถุง โดยจะระบุเป็นข้าวหอมมะลิ 100%
ทางผู้ซื้อเห็น เป็นข้าวหอมมะลิ และเป็นข้าวเต็มเมล็ดซ้ำราคายังถูกก็มักจะตัดสินใจ
ซื้อ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อหุงออกมาแล้วแข็ง กระด้าง มีสีคล้ำเป็นจุดๆ สิ่งที่ถูก
ต้องที่ผู้ผลิตควรกระทํา คือ ระบุที่หน้าถุงให้ชัดเจนว่าเป็นข้าวหอมผสม รวมทั้งระบุ
ใน ส่วนผสมด้วยว่าเป็นข้าวประเภทใด ผสมกับประเภทใด
http://www.panomrungclub.com/issue_8/tip_1.html



http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080505032339AAtzgmp
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©