-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไคโตซาน.กับนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไคโตซาน.กับนาข้าว
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
tumburirum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 09/10/2009
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 22/10/2009 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ไคโตซาน.กับนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกี่ยวข้าวนาปีเสร็จก็จะลองทำนาปรังแบบเกษตรอินทรีย์ดู จะแบ่งพื้นที่เพื่อ
ลองหลายๆวิธี แต่สงสัยว่าการใช้ไคโตซานพืชกับนาข้าวเมื่อผสมไคโตซาน
20 หรือ 40 ซีซี กับน้ำ 20 ลิตร แล้วควรฉีดพ่นในพื้นที่เท่าไหร่ครับ รบกว
นด้วยครับเพราะเพิ่งออกจากงานบริษัทได้เกือบปีแล้ว

ทำนาปีปีนี้ก็ทำแบบเคมีเดิมๆดูแล้วก็คงได้ไม่เท่าไหร่ ว่างๆก็ลองหาข้อมูลดู
จนมาเจอเว็ปนี้ ได้ความรู้มากครับเปลี่ยนความคิดเก่าๆไปเลย ถ้ามีโอกาศคง
ได้ไปอบรมกับลุงคิมครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 22/10/2009 9:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาติถามพี่ tumburirum ครับ
-ไคโตซานพืช เป็นอย่างไรเหรอครับ ถ้ามียี่ห้อ เป็นยี่ห้ออะไรครับ?
-เหตุใดจึงใช้ ไคโตซาน ใช้เพื่ออะไร ใช้ตอนไหน?
-รู้เรื่องไคโตซาน จากไหน ใครแนะนำ?
-เพราะเหตุใดจึงลาออกจากงาน?
-นามีกี่ไร่ กี่แปลง และผลผลิตใน Crop ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
tumburirum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 09/10/2009
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 22/10/2009 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

- ไคโตซานพืช เป็นอย่างไรเหรอครับ ถ้ามียี่ห้อ เป็นยี่ห้ออะไรครับ?
ไค-เวม , Tro-D หรือ Red ปู มั้ง


- เหตุใดจึงใช้ ไคโตซาน ใช้เพื่ออะไร ใช้ตอนไหน?
ทุกที่ก็บอกคล้ายๆกันแต่อยากทราบปริมาณต่อพื้นที่ว่าจะคุ้มหรือไม่
คลุกเมล็ดพันธุ์ ( การเคลือบเมล็ดพันธ์ ) ไค โตซาน 40 CC + น้ำ 20 ลิตร คนละลาย
ให้เข้ากันแล้วนำไปรด/ราด บนเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่แช่แล้วในกระสอบปิดปากกระสอบไว้
เหมือนเดิม ทิ้ง 1 คืน จากนั้นนำไปหว่าน ผลที่ได้เมล็ดพันธุ์ข้าว จะงอกเร็วและรากจะ
งอกยาวกว่าปกติ เพื่อสร้างต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานโรค

อายุต้นข้าวได้ 1 เดือน ( ให้ฉีดพร้อมยาคลุมหญ้า )ไคโตซาน 30 CC + น้ำ 20 ลิตร
คนให้เข้ากันแล้วใส่ยาคลุมหญ้าไปทีหลัง

อายุต้นข้าวได้ 2 เดือน ฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 40 CC + น้ำ 20 ลิตรฉีดให้ทั่ว

อายุต้นข้าวได้ 3 เดือน ข้าวต้งท้องฉีดอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 40 CC+ น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว

ข้าวออกรวง ( หางปลาทู ) ฉีดอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 40 CC+ น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว

- รู้เรื่องไคโตซาน จากไหน ใครแนะนำ?
เริ่มต้นจากเว็ปเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เขาคุยเรื่องเกี่ยวกับการทำไคโตซานเอง

- เพราะเหตุใดจึงลาออกจากงาน?
แม่ผ่าตัดเมื่อธันวาปีที่แล้วก็เลยออกมาเลย อยากเป็นเจ้านายตัวเองบ้าง

- นามีกี่ไร่ กี่แปลง และผลผลิตใน Crop ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
2 แปลง 10 กับ 14 ไร่ แปลงแรกมีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่ น้ำท่วม แปลงที่สองก็ดินไม่ค่อยดี
ปีนี้เจอฝนทิ้งช่วงคงได้แค่ 3xx กิโลต่อไร่ เป็นข้าวมะลิ 105
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 22/10/2009 11:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาติถามอีกครับ

-การฉีดไคโตซานเดือนที่ 1,2,3,ออกรวง นั้นจะทำให้ข้าวได้ผลอย่างไรครับ?
-เว็บไซต์ที่คุยเรื่องการทำไคโตซานเองคือเว็บไหนครับ? สอนทำอย่างไรครับ?
-หลังจากที่พี่ tumburirum ออกมาทำนา เสียงตอบรับจากคนรอบตัวเป็นอย่างไรครับ? มี
อุปสรรคไหมครับ?

ปล.ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ของพี่ tumburirum หายไวๆ นะครับ
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
tumburirum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 09/10/2009
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 23/10/2009 12:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

-
การฉีดไคโตซานเดือนที่ 1, 2, 3, ออกรวง นั้น จะทำให้ข้าวได้ผล
อย่างไรครับ?


ก็อปมาจากคำโฆษณานะครับ เพราะเป็นเกษตรกรมือใหม่จริงๆ เลย
ไม่ค่อยรู้ จบอิเล็กทรอนิกส์มา

ประโยชน์ไคโตซานพืช
ออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ของพืชให้กินอาหารได้ดีขึ้น เร่งราก ลำ
ต้น ใบ ดอก และผล ทำให้พืชโตไว โตเร็ว ใบเขียวเข้ม ผลดอก ขั้วเหนียว
เพิ่มผลผลิตสูง พืชแข็งแรง ทานต่อโรคแมลง และ ศัตรูพืช เคลือบเมล็ด
ป้องกันเชื้อรา ป้องกันและกำจัดโรคที่จะเข้าทำลายเมล็ดและต้นอ่อน เพิ่ม
เปอร์เซ็นการงอกของเมล็ด เร่งรากสำหรับกิ่งชำหรือกิ่งตอน แช่ปลายกิ่งชำ
ทาน้ำยาเข้มข้นที่บริเวณรอยควั่นป้องการและกำจัดแมลง กลิ่นเฉพาะของ
ไคโตซาน แมลงมื่อได้กลิ่นจะบินหนี ทำให้พืชผลิตน้ำย่อย

ไคติเนส (chtinase) ป้องกันและกำจัดโรคพืช ช่วยเสริมให้พืชสร้างสารต่อ
ต้านโรคพืช เช่นไฟโตอะเล็กซิน ไคติเนส มีผลให้เชื้อราอ่อนแอลงเนื่อง
จากสร้าง RNA ได้น้อยลง เป็นปุ๋ยให้แก่พืช เป็นธรรมชาติที่ไม่เสถียรย่อย
สลายได้ง่าย ปลดปล่อยธาตุ ไนโตรเจนแก่ดิน ตรึงไนโตรเจน พืชได้รับกระ
บวนการตรึงในโตรเจนของไรโซเบียมในปมรากสามารถดูดซึม ธาตุอาหาร
พืชในดินหลายชนิด โปแตสเซียม แมกนีเซียม ฟอสเฟต แคลเซียม. เหล็ก.
ไนเตรท.

ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก PH5.5-6.3 ฟื้นฟู
จุลินทรีย์ในดิน Effeetive micro-organisms,Actiomycetes. Sp Trichoderma sp
p., Zymogenous. ลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช Furarium-Phythopthora spp

- เว็บไซต์ที่คุยเรื่องการทำไคโตซานเองคือเว็บไหนครับ? สอนทำอย่างไรครับ?
http://www.are101.org ก็เลยมารู้จักเว็ปนี้
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J8284770/J8284770.html

- หลังจากที่พี่ tumburirum ออกมาทำนา เสียงตอบรับจากคนรอบตัวเป็นอย่างไร
ครับ? มี อุปสรรคไหมครับ?
มีแต่คนถามว่าเมื่อไหร่จะไปกรุงเทพ


ปล.ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ของพี่ tumburirum หายไวๆ นะครับ

ขอบคุณครับ หัวใจแกเต้นประมาณ 20-30 ครั้งต่อนาที ตอนนี้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
แล้ว เต้นอยู่ประมาณ 60-120 ครั้งต่อนาที ใช้ชีวิตได้เป็นปกติแต่ไม่ให้ทำงานหนักครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/10/2009 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มาhttp://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J8284770/J8284770.html

ไคโตซาน...................ทำเองก็ได้ง่ายกว่าเห็นๆ... vote [ถูกใจ] [แจ้งลบ]
ไปแอบดูกระทู้ชาวบ้าน ที่หว้ากอมาเจอกระทู้นี้เข้าน่าสนใจดี
เลยแอบเอามาให้พี่ๆ น้องๆ พ้องเพื่อนได้ดูกันครับ... ^^



ปัจจุบัน โรงงานอาหารทะเลบ้านเราทำไคโตซานขายกันเยอะพอสมควร
ราคาตกลงมาอยู่ที่กิโลละไม่ถึงพันบาทแล้ว ล่าสุดดูในเนต ราคาปลีก
ไคโตซานผงอยู่ที่โลละ 600-700 บาท

การผสมจากไคโตซานผง
ก่อนอื่นก็ซื้อไคโตซานผงมาก่อน โดยติดต่อโรงงานต่างๆที่ขายอยู่ในเนต
ถ้ารวมๆซื้อกันแบบกระสอบได้ก็จะคุ้มหน่อย

วิธีใช้งานแบบที่ ๑
ไค โตซาน 1 กก ละลายน้ำส้มสายชู 1 ลิตร ต้มให้เดือด กวนๆ ทิ้งไว้ข้ามคืน
จะออกเป็น ของหนืดๆ เหนียวๆ ถ้าละลายไม่หมด ก็เติมน้ำส้มลงไปอีก ...
เอาทั้งหมดเทใส่ถังใหญ่ เติมน้ำลงไปให้เป็น 50 ลิตร กวนๆ จะได้ไคโตซาน 2%
น่าจะเป็นความเข้มข้นที่ใกล้เคียงกับของ red crap ในราคาลิตรละประมาณ 14 บาท
(red crap ขายลิตรละสามร้อยถึงสี่ร้อยบาท) ใช้งานแบบเดียวกันคือผสม 20 cc ใน
น้ำ 20 ลิตรสำหรับการฉีดพ่นในนาข้าว นอกจากนี้ยังใช้ฉีดพ่นกล้วยไม้หรือเคลือบผล
ไม้ได้อีกด้วย

จากคุณ : PUF
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 23/10/2009 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ว่ามานี่มันไม่ใช่ "ไคโตซาน" นะ แล้วมันคืออะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
วิเคราะห์แล้วน่าจะมี "ไนโตรเจน" กับ "คาร์บอน" อีกนิดหน่อยเท่านั้น

โถ.....เวรกรรม
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/10/2009 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมเคยบอกว่า รศ. สุวลี จันทร์กระจ่าง เป็นต้นกำเนิดของไคติน-ไคโตซาน

ที่มา คัดลอกจากhttp://www.material.chula.ac.th/CCB/staff/Suwalee_T.htm

รศ. สุวลี จันทร์กระจ่าง



ประวัติโดยย่อของ รศ. สุวลี จันทร์กระจ่าง

ประวัติการศึกษา

2505 วท.บ. (เคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2512 วท.ม. (Nutrition Science) สถาบัน Columbia University



หน้าที่ปัจจุบัน

- อาจารย์พิเศษแผนกเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

- ที่ปรึกษาพิเศษด้านไคติน/ไคโตซาน สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- อาจารย์พิเศษในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- ที่ปรึกษาพิเศษด้านเทคนิคองค์การอาหารและเกษตร (FAO) แห่งสหประชาชาติ (เลขที่ 36590)

- ประธานคณะทำงานชมรมไคติน/ไคโตซานแห่งประเทศไทย





Publications

Lertsutthiwong, P., Chandrkrachang, S., Nazhad, M.M. and Stevens, W.F. Chitosan as a dry strength agent for paper. Appita Journal 2002; 55(3): 208-212.

Noomhorm, A., Kupongsak, S. and Chandrkrachang, S. Deacetylated chitin used as adsorbent in production of clarified pineapple syrup. J Sci Food Agric 1998; 76: 226-232.

Nwe, N., Chandrkrachang, S., Stevens, W.F., Maw, T., Tan, T.K., Khor, E. and Wong, S.M. Production of fungal chitosan by solid state and submerged fermentation. Carbohydrate Polymers 2002; 49: 235-237.

A step-by-step guide on the small-scale processing of agar-agar and comment on aquasanitation. FAO Fisheries Circular. No. 848 Rome, FAO, 1992.

Chandrkrachang, S. and Wanichpongpan, P. Modification of chitosan membranes by some additive substances. Proc. Conf. Sci. Technol. Bangkok, 23rd, 1997; p.1000.

Ng, C.H., Wanichpongpan, P. and Chandrkrachang, S. Study of some physical properties of chitosan membrane in comparing with cellulose acetate membrane. Proc. Conf. Sci. Technol. Bangkok, 23rd, 1997; p.996.

Wanichpongpan, P., Ng, C.H., Stevens, W.F. and Chandrkrachang, S. The study of dialysis of ammonium sulphate solution through the chitosan membranes in comparing with the cellulose acetate membranes. Proc. Conf. Sci. Technol. Bangkok, 23rd, 1997; p.998.

Chinadit, U., Wanichpongpan, P., Ng, C.H., Stevens, W.F. and Chandrkrachang, S. Chemical deacetylation of shrimp chitin in different conditions. Advan. Chitin Sci. Taiwan 1998; 3: 165-168.

Pan, Y., Montet, D., Rakshit, S.K., Nuchnoi, P., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Utilization of Partially Deacetylated Chitin and Chitosan as Flocculent and Decolorant in Refining Sugar. Advan. Chitin Sci. Taiwan 1998; 3: 481-488.

Chandrkrachang, S. and Wanichpongpan, P. Preparation and characterization of controlling pore size chitosan membranes. Advan. Chitin Sci. Potsdam 2000; 4: 349-354.

Chandrkrachang, S., Anal, A.K., Ng, C.H., Stevens, W.F., Sathirakul, K. and Wanichpongpan, P. Research and development of chitin/chitosan membrane for bioseparation techniques for clinical application. Proc. 1st Thailand Materials Science and Technology Conf., Bangkok 2000; 68-71.

Lertsutthiwong, P., Stevens, W.F. and Chandrkrachang, S. Improved paper performance using chitosan. Proc. 1st Thailand Materials Science and Technology Conf., Bangkok 2000; 361-363.

Ng, C.H., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Effect of the rate of deacetylation on the physico-chemical properties of cuttlefish chitin. Advan. Chitin Sci. Potsdam 2000; 4: 50-54.

Poonpolwatanaporn, P., Parkpian, P. and Chandrkrachang, S., Absorption of heavy metals from sewage sludge by using chitosan: a preliminary study. Proc. Conf. Sci. Technol. Bangkok, 26th, 2000; p. 295.

Rao, M.S., Kungsuwan, A., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Drum Reactor for Lactobacillus fermentation of shrimp biowaste for production of chitin and other value added products. Proc. Seminar on the production of protein and the utilization of shrimp head. Bangkok 2000; 118-125.

Siraleartmukul, K., Limpanath, S., Udomkichdecha, W. and Chandrkrachang, S. The relationship between the crystallinity and degree of deacetylation of chitin from crab shell. Advan. Chitin Sci. Potsdam 2000; 4: 330-333.

Siraleartmukul, K., Psutiworanat, R., Rattanawaleedirojn, P., Hannongbua, S., Siriwong, K., Jaiboon, N. and Chandrkrachang, S., A study of chitosan coating on different types of national fiber by scanning electron microscopy (SEM). Proc. Conf. Sci. Technol. Bangkok, 26th, 2000; p. 714.

Wanichpongpan, P., Annachhatre, A.P. and Chandrkrachang, S. Bioseparation of protein from cheese whey by using chitosan coagulation and ultrafiltration membranes. Advan. Chitin Sci. Potsdam 2000; 4: 116-121.

Chandrkrachang, S., Anal, A.K. and Wanichpongpan, P. Pore size control in microporous chitosan membranes. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 64-67.

Hein, S., Ng, C.H., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. A systematic approach to quality assessment system of chitosan. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 32-335.

Lertsutthiwong, P., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. The effect of chitosan on properties of handsheet paper. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 163-164.

Ng, C.H., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Effect of the deacetylation conditions on the distribution pattern of the N-acetamide groups in partially deacetylated chitin. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 336-339.

Nwe, N., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Fungal chitosan from solid-state fermentation. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 482-484.

Rao, M.S., Tuyen, M.H., Stevens, W.F. and Chandrkrachang, S. Deproteination by mechanical, enzymatic and Lactobacillus treatment of shrimp waste for production of chitin. Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 301-304.

Wanichpongpan, P., Suriyachan, K. and Chandrkrachang, S. Effects of chitosan on the growth of gerbera flower plant (Gerbera jamesonii). Chitin and Chitosan: Chitin and Chitosan in Life Science. Yamaguchi 2001; 198-201.

Lertsutthiwong, P., Ng, C.H., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Effect of chemical treatment on the characteristics of shrimp chitosan. Journal of Metals, Materials and Minerals 2002; 12(1): 11-18.

Lertsutthiwong, P., Stevens, W.F. and Chandrkrachang, S. The utilization of chitosan for the production of high quality paper. Proc. 2nd Thailand Materials Science and Technology Conf., Bangkok 2002; 146-147.

Lertsutthiwong, P., Chandrkrachang, S. and Stevens, W.F. Improved surface properties of printing paper using chitosan. Proc. of 5th Asia Pacific Chitin-Chitosan Symposium, Bangkok 2002. (In press).
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 23/10/2009 10:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ.สุวลีฯ กับ ลุงคิม. ซี้ปึ้กกันมากๆ......เคยร่วมกันลุยแนะนำ
ความรู้เรื่องไคโตซานเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว

อ.เคยมาออกอากาศเผยแพร่ความรู้เรื่อง "ไตติน- ไคโตซาน"
ทางสถานีวิทยุก็หลายๆครั้ง แบบนี้คงต้องเชิญมาออกอากาศ
อีกซะแล้ว จะได้รู้กันซะทีว่าเจ้า "ไคโตซาน ไดเรคเซลล์"
ที่กำลัง HOTHIT กันนั้น....... ขี้หกทั้งเพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/10/2009 10:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มาhttp://www.material.chula.ac.th/CCB/th-infoBenefit.htm

ของเหลือจากทะเลสู่ไคติน-ไคโตซาน
ในแต่ละปีประเทศไทยมีการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกุ้ง ปู
และปลาหมึกซึ่งอัตราการส่งออกนี้เป็นดัชนี แสดงถึงกากของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
อาทิ เปลือก-หัวกุ้งกระดองปู และแกนปลาหมึก โดยในปัจจุบัน ของเหลือเหล่านี้ถูกขายให้กับ
โรงงานผลิตอาหารสัตว์ในราคาที่ต่ำมาก ดังนั้น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็น
ที่จับตามองของนักอุตสาหกรรม

การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า







กากของเหลือจากทะเลเหล่านี้สามารถนำมาทำให้มีมูลค่าเพิ่มได้โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
ที่เรียกว่าไคติน และ ไคโตซาน

ไคติน มีชื่อทางเคมีว่า Poly [b-(1®4)-2-acetamido-2-deoxy-D-glucopyranose] ซึ่งพบ
มากในเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก ผนังเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์และเห็ดรา อย่างไรก็ตามการ
ผลิตเชิงพาณิชย์มักจะใช้เปลือกกุ้ง กระดองปูและแกนปลาหมึกเป็นวัตถุดิบ โดยผ่านกระบวนการผลิต
ที่ไม่ยุ่งยากนัก ได้แก่ กระบวนการสกัดโปรตีน โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจาง
และกระบวนการสกัดแร่ธาตุ โดยใช้กรดเกลือเจือจาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเรียกว่า “ไคติน”

ไคโตซาน มีชื่อทางเคมีว่า Poly [b-(1®4)-2-amino-2-deoxy-D-glucopyranose] ซึ่งเป็น
อนุพันธ์ของไคตินที่สกัดโดยผ่านกระบวนการดึงหมู่อะซิทิลของไคตินออกด้วยด่างเข้มข้น เรียกกระบวน
การนี้ว่า deacetylation ผลิตภัณฑ์ไคโตซานที่ได้จะมีคุณภาพและสมบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิค
และขั้นตอนการผลิต


ขั้นตอนการผลิตไคติน - ไคโตซาน

เปลือกกุ้ง (Shrimp Biowaste)

กระบวนการแยกโปรตีน (Deproteination)
ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจาง

กระบวนการแยกแร่ธาตุ (Decalcification)
ด้วยสารละลายกรดเกลือเจือจาง

ไคติน (Chitin)

กระบวนการดึงหมู่อะซิทิล (Deacetylation)
ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น

ไคโตซาน (Chitosan)


การประยุกต์ใช้ไคโตซาน
ไคติน-ไคโตซานเป็นวัสดุชีวภาพที่มีความหลากหลายและมีสมบัติที่โดดเด่น อาทิ มีความ
เป็นประจุบวกสูง สามารถทำเป็นแผ่นฟิล์ม มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถย่อยสลาย
ได้ตามธรรมชาติ ไม่มีพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ไคติน-ไคโตซานจึงสามารถนำ
มาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดังนี้:

Ø ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม อาทิ เป็นวัสดุตกแต่งแผล และควบคุมการปลด
ปล่อยของยา

Ø ด้านการเกษตร อาทิ เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชและเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต
ของพืช

Ø ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาทิ เป็นสารเติมแต่งในแป้งทาหน้า
แชมพู สบู่ และครีมทาผิว

Ø ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ อาทิ รักษาความสดใสของสีผ้า ระบาย
เหงื่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษ

Ø ด้านการแยกทางชีวภาพ อาทิ การทำเป็นแผ่นเมมเบรน เพื่อใช้ในการกรอง
แยกด้วยเทคนิคต่างๆ

Ø ประโยชน์ด้านอื่นๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์, สารเพิ่มความหนืด

“การผลิตไคตินและไคโตซาน”
วัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นไคตินและไคโตซานนั้น ได้มาจากเปลือกของสัตว์ไม่มี
กระดูกสันหลังที่มีข้อ-ปล้อง อาทิ กุ้ง ปู ปลาหมึก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเชิงพาณิชย์
ส่วนการผลิตจากเปลือกของแมลงและผนังเซลของเห็ดรานั้น ยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ

การผลิตไคตินและไคโตซานสามารถผลิตได้ด้วยวิธีทางเคมีและชีวภาพ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ
วิธีทางเคมีซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากในเชิงพาณิชย์ การผลิตจะเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะ
สับวัตถุดิบเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไม่ก็ได้ บางครั้งอาจจะนำมาล้างน้ำเพื่อกำจัดไขมัน โปรตีนและสิ่ง
สกปรกบางส่วนออกจากวัตถุดิบ ก่อนการนำ มาผ่านกระบวนการแยกโปรตีนด้วยด่างเจือจาง
และตามด้วยกระบวนการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือเจือจาง ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ สามารถสลับ
ลำดับก่อนหลังได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้ เรียกว่า “ไคติน”

จากนั้น นำไคตินที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการผลิตไคโตซาน โดยการแช่ไคตินในสาร
ละลายด่างเข้มข้น เพื่อดึงหมู่อะซิทิลออกจากไคติน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไคโตซาน
ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของด่าง สภาวะและขั้นตอนในการ
ผลิตไคติน อัตราส่วนของไคตินต่อสารละลายด่างเข้มข้น

จากรายงานวิจัย พบว่า
การผลิตไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งนั้น สารละลายด่างที่มีความเข้มข้น 4% เหมาะสำหรับ
การแยกโปรตีน ที่อุณหภูมิห้อง และการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือที่มีความเข้มข้น 4% ที่อุณหภูมิ
ห้องนั้น ควรจะแช่วัตถุดิบในกรดเกลืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ การผลิตไคโตซานที่มีความ
หนืดสูงๆ จะต้องใช้ ไคตินที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยขั้นตอนการแยกแร่ธาตุก่อนการแยกโปรตีน

อย่างไรก็ตามการผลิตไคโตซานให้ได้สมบัติจำเพาะตามต้องการและสามารถแข่งขันกับตลาด
โลกได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการควบคุมคุณภาพ



ที่มาข้อมูล:

1. No, H.K. and Meyers, S.P. Preparation of chitin and chitosan. Chitin Handbook. . p. 475-489. ISBN 88-86889-01-1. (1997).

2. Pranee Lertsutthiwog และคณะ Effect of chemical treatment on the characteristics of shrimp chitosan. Journal of Metals, materials and Minerals. 12(1): 11-18 (2002).
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 24/10/2009 5:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ไร่กล้อมแกล้มมี "เปลือกกุ้ง" ที่สกัด "โปรตีน. กับ ไขมัน." ออกหมดแล้ว
พร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็น "ไคติน - ไคโตซาน" ทันที

เปลือกกุ้งสกัดแล้วนี้น้ำหนักเบามากๆ สนนราคามิตรภาพ กก.ละ 3,500 บาท
ผลิตเป็นไคโตซาน.ได้ 100 ล.

อัตราใช้จริงๆเพียง 2 ซีซี./น้ำ 20 ล. ..... ในฮอร์โมนน้ำดำใส่ให้แล้ว 1 เปอร์เซ็นต์
ถือว่าเหลือเฟือสำหรับพืช (เน้นย้ำ.... 2 ซีซี. ต่อ น้ำ 20 ล.)

สรุป.....ไคติน. กับ ไคโตซาน. คนละตัวกัน แล้วก็คนละเรื่องกันด้วยนะ


อย่ามั่ว อย่าโมเมชั่น.....ขายสิ่งที่ถูกต้องเถอะ มันก็ได้กำไรเหมือนกันนั่นแหละ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
101
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 02/11/2009 12:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาติ ตอบกระทู้นี้นะครับ หากต้องการ ไคโตซานที่จะใช้
กับนาข้าว นั้น สามารถติดต่อ ไปใช้ได้ ครับ โดย มีนักวิชาการ
และการรับรอง จาก อ. สุวลี จันทร์กระจ่าง ครับ

หรือสามารถ ชมแปลงสาทิตได้ ว่า การใช้ที่แท้ จริงแล้ว ใช้อย่างไร
และใช้ช่วงไหน ครับ

ติดต่อได้ทาง เมล์ นะครับ pitak.X@gmail.com ครับ Wink
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 04/11/2009 8:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

101 บันทึก:
ขออนุญาติ ตอบกระทู้นี้นะครับ หากต้องการ ไคโตซานที่จะใช้
กับนาข้าว นั้น สามารถติดต่อ ไปใช้ได้ ครับ โดย มันักวิชาการ
และการรับรอง จาก อ. สุวลี จันทร์กระจ่าง ครับ หรือสามารถ
ชมแปลงสาทิตได้ ว่า การใช้ที่แท้ จริงแล้ว ใช้อย่างไร และใช้
ช่วงไหน ครับ

ติดต่อได้ทาง เมล์ นะครับ pitak.X@gmail.com ครับ Wink


ถ้าอย่างนั้นแล้วขอให้คุณ 101 นำข้อมูลมาอธิบายบนเว็บนี้ด้วยครับ
ว่าการใช้ที่แก้จริงแล้ว ใช้อย่างไร ใช้ช่วงไหน
แล้วภาพแปลงสาธิตที่ว่าใช้แล้วเป็นอย่างไร
และคำรับรองจากอ.สุวลี จันทร์กระจ่างครับ
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในวงกว้างครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
101
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 06/11/2009 9:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอตอบตามที่ถามมานะครับ

การใช้ในอัตราส่วนที เป็นสูตรของ อ.สุวรี คือ ใช้อัตราส่วนที่ 1 cc ต่อ
น้ำ 1 ลิตร ครับ ไม่ว่าจะแช่เมล็ดพันธุ์ หรือ ฉีดพ่นในนาข้าว ส่วนใน
พืชชนิดอืนๆ ต้องแจ้งมาว่า จะนำไปใช้กับพืชชนิดใด จะได้อธิบายว่า
ใช้ในช่วงระยะเวลาไหนถึง ได้ประโยชน์สูงสุดครับ


สำหรับรูปแปลงสาธิต ไม่สามารถลงให้ดูได้เพราะอาจโดน copy ครับ
สำรับ ที่อยู่ที่แจ้งไว้ว่า อยูระยอง นั้นสามารถ ติดต่อตามเมล์ได้ ว่าอยาก
เห็นพืชแบบ ไหนครับ เพราะทางเราเองเน้นที่ของจริง อาจเสียเวลา สักนิด
จะได้ไม่เสียใจไปอีกนานครับ

แถบระยองที่ ทำการอยู่นั้น จะเป็นมันสำปะหลัง และ ยางพารา และปาล์ม ครับ
โดยที่ มีบริษัทที่รับซือ ปาล์ม ริมถนนสายระยอง ใช้ในการเพราะต้นอ่อนอยู่
( ไม่สามารถเปิดเผยชือได้ ) ครับ เพราะอาจมีผลกระทบต่อสัญญา ครับ

สำหรับพี่ที่ถามมานั้น ตาม email ที่ผมแจ้ง สามารถ ติดต่อได้นะครับ จะได้อะไร
มากขึ้นครับ

ยินดีเสมอครับ Wink
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 06/11/2009 10:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วถ้าเป็นทุเรียน มังคุด เงาะ กล้วย และดอกไม้ทั่วไปหละครับ ใช้อย่างไร

ภาพถ่ายนั้น ใข้โปรแกรมตกแต่งภาพ ใส่ลายเซ็นต์ของคุณเข้าไปได้ เหมือน
อย่างช่างภาพทั่วไปที่เอามาภาพถ่ายของเขามาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตครับผม
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 06/11/2009 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สนใจการใช้กับยางพารา กับปาล์มน้ำมันครับ

ปาล์มน้ำมันกับฮอร์โมนน้ำดำสูตรลุงคิม "สุดยอดไปเลยครับ"

บริษัทที่รับซื้อปาล์มอยู่แถวบ้านก็มี 2 บริษัทเท่านั้น คือ สุขสมบูรณ์ปาล์มออย
กับไทยอีสเทิร์นปาล์มออย ว่าแต่บริษัทไหนละครับ

อ๊อด ระยองครับ
sonfrog@hotmail.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 06/11/2009 10:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สายระยอง นี่หมายถึง เส้นไปทางระยองเลยหรือเปล่าครับ ไม่ใช่บายพาส

พี่อ็อดจะไปดูไหมครับ ผมไปด้วย
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
man_supakarn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 03/11/2009
ตอบ: 166
ที่อยู่: ไร่กล้อมแกล้ม รุ่น 6

ตอบตอบ: 06/11/2009 10:42 pm    ชื่อกระทู้: แมน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณพี่อ้อครับ

ที่ให้ความรู้เรื่องไคติน-ไคโตซามอ่านแล้วเข้าใจดีครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ MSN
101
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 30/11/2009 12:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ

ตามคำตอบเรื่อง การนำรูปมาลงนั้น ตามที่แนะนำนั้นเราได้ทำไว้อยู่แล้วแต่โปรแกรมไม่สามารถ
ป้องกันการ copy ได้ครับ และที่สำคัญ จะลงรูปไปทำไมในเมื่อ ยังมีโอกาสที่จะเห็นด้วยตา และ
สัมผัสได้ ไม่ได้เสียเงินด้วยนะครับ การลงรูปไม่ต่างกับการโฆษาณาตัวเอง เลย เพราะฉะนั้น ก็ยัง
ไม่ลงรูปอยู่ดีครับ

สำหรับพี่ๆๆเพื่อนๆๆที่จะไปดูสามารถ ส่งเมล์มาได้นะครับ เวลาจะได้แจ้งให้ทราบ หากอยู่แถวนั้น ก็
ใกล้นิดเดียว เอง นะครับ เพราะนำไปใช้ในไร่ปลาม์ แถว นายายอารม ครับ ร่วมถึงไร่แถวแก่งหาง
แมว ครับ ( ในไร่ไหน ให้ไปได้ก้อ จะนำเข้าไปดูครับ ) บางไร่เจ้าของเค้าไม่ได้ให้คนนอกเข้า ก้อ
คงพาเข้าไปไม่ได้ครับ

สำหรับพี่ที่ถามมานั้น หากต้องการไปจริงๆๆแล้วส่งเมล์มานะครับ


ขอบคุณครับ Wink
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 30/11/2009 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แปลก แปลก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 30/11/2009 2:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แปลก....ใช่ แปลก....แปลกมากๆด้วย....
ไม่ใช่แปลกที่ไคโตซาน แต่แปลกที่คนตืนไคโตซานต่างหาก

กระแสหรือเปล่า....

จะอะไรกับมันนักหนา....มันก็แค่ธาตุ (ฮอร์โมน) อาหารพืชตัวหนึ่ง
อยู่ในกลุ่มอัตราส่วนผสม "เศษหนึ่ง-ส่วนสี่" เท่านั้น

ยังมีอีกหลายตัวที่มีความสำคัญต่อพืช แล้วก็ยั่งยืนถาวรกว่าด้วย



ระวังจะมีความรู้แค่โฆษณานะ
ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/03/2010 5:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
101
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 01/12/2009 10:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แปลกยังไง แปลกที่ไม่ยอมรับ หรือแปลกที่เราจะยอมรับว่า เราใกล้กันมากว่าตัวหนังสือ หรือ
แปลกที่เราปิดตัวเราไว้ไม่ให้รับรู้ว่ามีอย่างอืนๆๆ บนโลกนี้ หรือว่าเราเองทีแปลก ครับ

ยังมีอีกหลายอย่างทีสำคัญกับพีชตั้งมากมาย ในแต่ละอย่างก็ต้องออกไปพบเจอถึงจะได้รู้ว่า การ
นำมาใช้นั้น จะใช้ในลักษณะไหน และ ช่วงเวลาไหน ก็จะได้ประโยชน์ของตัวเองอย่างสุงสุด

ก็หวังว่า เพื่อนที่คิดว่าจะหาความรู้ให้ตัวเอง ก็คงต้องรอดูว่า ตัวท่านเองจะพบเราแค่ในตัวหนังสือ
หรือว่า พบของจริงจะดีกว่า ไม่มีใครเขาว่า ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ และควรใช้ที่เท่าไหร่ จะปิดตัวเอง
อ่านแต่ตัวหนังสือ ก็อยู่ที่ ท่านๆๆ นะครับ

Wink
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 01/12/2009 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่เข้าใจคร้าบบบบบบ...... อ่านแล้วไม่รู้เรื่องคร้าบบบบบ

แปลไทยเป็นไทยหน่อยเซ่.....นะคุณ "สองหารไม่ลงตัว"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
101
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 02/12/2009 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตนะครับ คือว่า ผมไม่ได้มาขาย และ ยังไม่คิดที่จะขาย เพียงแต่หากมีท่านที่ต้องการดูก็
สามารถ ส่งเมล์มาได้ครับ เพราะจะได้เห็นด้วยตาตนเอง โดยไม่มีการชวนเชือ หรือว่านตามๆๆกัน
ไป โดยไม่มีโอกาศเห็นครับ

สำหรับเรื่องรูปภาพนั้นเราสามารถทำเองก็ได้ ใครเข้าจะเอาภาพไม่ดีมาลงใช่ไหมครับ เพราะ
ฉะนั้น ผมเห็นว่า มันเป็นสิ่งที่ดีที่เดียว หากคนที่ต้องการรู้ จะได้เห็นไปพร้อมๆๆกัน ครับ และ มันจะ
ดีมาก หากในสถานที่ ที่ผมไปทำนั้นใกล้กับ บ้านหรือในสวนของพวกท่าน ท่านจะได้ทั้งประหยัด
และสะดวก โดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยคนที่รับความรู้คือพวกท่านที่ได้เห็นและ
ศึกษาไปในตัวนะครับ
pitak.x@gmail.com Wink

ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 02/12/2009 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใครต้องการไปดูบอกผมด้วยครับ "ผมจะได้ไม่ไป"

ใครไม่ไปก็บอกผมด้วยนะครับ "ผมไม่มีเพื่อนไป"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©