-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรข้างทาง ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรข้างทาง ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 19/07/2011 9:29 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรข้างทาง .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.......................... เกษตรข้างทาง .......................





จากหอมแบ่งกินต้น เป็นหอมกินหัว....


1.
ของฝากจากอดีตคนงาน (เจ้าตุ้ม กลับบ้านไปเป็นทหาร) ฝีมือแม่ที่บุรีรัมย์เปอร์

(ซ้าย) หัวหอมแดงที่เกิดจากต้นหอมแบ่ง.....(ขวา) หัวหอมแดงที่เกิดจากต้นหอมกินหัวปกติ ไซส์นี้เป็นไซส์เล็ก




2.
(บน-ล่าง) เมื่อต้นหอมแบ่งสดราคาไม่ดี ตัดสินใจบำรุงต่อด้วย ระเบิดเถิดเทิง 1 : 2 : 8 (ทางราก) กับ 1 : 2 : 8
(เพียวๆ) อัตรา 2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ล./10 วัน (ทางใบ) ได้ไซส์ใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ เนื้อแน่น น้ำหนักดี อายุ
เก็บนานกว่าของแปลงข้างบ้าน ที่ทำแบบเดิมๆ

3.

การปลูกหอมต้น

การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือ ใช้หัวปลูก หรือใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า ใช้เวลาในการปลูก 45 วัน แต่ที่
นิยมปลูกจะใช้หัวปลูกเพราะระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 30-32 วันต้องรดน้ำทั้งเช้าเย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ลดน้ำ
ลงเหลือเพียงวันละครั้ง เคล็ดลับปลูกต้นหอมให้งามอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ แต่ระบายน้ำได้ดี โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง
เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน คลุมหน้าดินไว้ ต้นหอมโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ สูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ก็ถอนมาได้เลยค่ะ ส่วน
แมลงศัตรูตัวร้ายของต้นหอมคือ เพลี้ยไฟ ใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เพื่อป้องกัน หากเกิด
เพลี้ยไฟ ก็ฉีดพ่น 3-4 วันครั้ง


หอมมี 3 สายพันธ์ คือ
1.พันธ์ที่มาจากนครพนม
2.พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่ (หอมเหนือ)
3.พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย

ลักษณะทั้ง 3 สายพันธ์นี้จะชอบฤดูการปลูกที่แตกต่างกัน เช่น
- พันธ์ที่มาจากนครพนม......มีความทนทานต่อหน้าฝน
- พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่......ให้ผลผลิตมากในช่วงหน้าหนาว
- พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย........พันธ์นี้จะพิเศษกว่าเพื่อนทนได้ทาน ต้นใหญ่ใบหนาทนต่อโรค และสภาพอากาศ แต่ข้อเสียกลิ่นค่อน
ข้างแรงกว่า 2 สายพันธ์ที่กว่ามา

ขั้นตอนการปลูกหอม
เริ่มต้นจากการเตรียมดิน
ก่อนที่เราจะเริ่มปลูกเราควรเตรียมดิน อย่างน้อย 1 อาทิตย์ โดยไถพรวนดิน ภายในอาทิตย์นั้นๆ 2 ครั้ง โดย
3 วันไถครั้งหนึ่ง เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้วเราก็เริ่มลงมือปลูกเลย

สิ่งที่ต้องเตรียม
1.พันธ์หอมแบ่ง
2.ฟางข้าว หรือ แกลบ
3.อุปกรณ์ทำแปลงผัก เช่น จอบ คราด

เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างแล้วเรามาลงมือเลย
1.เริ่มจากการไถแปลงขนาดกว้าง 1.5 เมตร ความยาวแล้วแต่ความสะดวกในการรดน้ำ
2.เมื่อไถเสร็จเราก็เริ่มเขี่ยแปลงโดยใช้คราด ให้ดินสม่ำเสมอกัน
3.เมื่อแปลงเรียบดีแล้ว ก็ลงมือ ปักพันธ์ หอมลงในดินเลย ก่อนที่เราจะปักลงเราควรแกะกรีบหอมออกก่อน ระยะห่างระหว่างหัว
ประมาณ 3x3 ซม
4.เมื่อปักพันธ์หอมเสร็จเราก็นำฟางข้าว หรือ ว่า แกลบ มาคุมแปลง เพื่อดูซับความชื่น ในแปลงผัก
5. หลังจากนั้นเราก็รดน้ำ เช้า-เย็น
6. เมื่อผักเริ่มงอกและลำต้นยาว ประมาณ 3 ซม ระยะนี้จะใช้เวลา 10 วัน ให้เราเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ปุ๋ย ชีวภาพ หรือ เคมีก็ได้ ถ้า
เป็นเคมี แนะนำ สูตร 16-8-8 และก็ฉีดฮอร์โมน หรือ EM
7. ควรดูแลวัชพืช ช่วงนี้ด้วย
8.เมื่อผ่านไป 20 วัน เราก็เริ่มใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 และก็ทำเหมือนกันกับ ขั้นตอนที่ 6
9.เมื่อผักมีอายุ 30-32 วัน เราก็เริ่มเก็บได้

โรคและศัตรู
1. โรคโครนเน่า เกิดจากช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน หลายๆ วัน แล้วดินมันแชะ
2. หนอน กินใบ หนอนจะมีสองแบบ คือ กิน
ในหลอด และกินนอกหลอด ให้สังเกต ว่าหอมเรามีอาการเหียวเฉา หรือ ไม ถ้ามีอาการ แบบนั้น ก็ให้ไป แกะดูในใบหอม เริ่ม
หากเจอ หนอนในหลอด ก็ฉีดฉีดยา ฆ่ามันเลย

http://nontun.blogspot.com/


************************************************************************



ชมพู่ (ทิ้ง) ข้างทาง.....



4. ซัก 2-3 วันที่ผ่านมา ไปซื้อของที่หน้าวัดเขาช่อง เห็นแผงขายของ ๆชาวบ้านแผงหนึ่งมีชมพู่ทับทิมจันทร์
ใส่ถุงก๊อบแก๊บวางอยู่บนกระจาด กับที่ยังอยู่ในเข่งใหญ่อีก 2 เข่ง

คนขายเป็นหญิงชรา อายุอานามน่าจะไม่ต่ำกว่า 70 ท่าทางงกๆ เงิ่นๆ ตามประสา เห็นแล้วให้น่าสงสาร
หญิงชราคนนี้เป็นย่าหรือยายใคร ทำไมคนเป็นหลานถึงปล่อยให้ย่ายายมานั่งขายผลไม้ซะเอง เข้าไปสอบ
ถามแล้วจึงรู้ว่า....

"ลูกๆเขาทำ ราคามันตก ยายเลยเอามาขาย"
"ขายยังไงเนี่ยยาย"
"ถุงละ 10 บาท"
"ทำไมมันถูกจังเลยล่ะ นี่ถุงนึงเลยกิโลอีกนะเนี่ย"
"ก็นั่นแหละ"
"งั้นซื้อ 2 ถุงนะยาย"
"ได้ซี่ เลือกเอาเลย"

ไม่ได้เลือกอะไรมากนัก ถุงไหนก็ได้ ที่ซื้อนี่เพราะอยากช่วยมากกว่า คุณยายคนขายพอรู้ว่าเลือกถุงไหน
แน่ จัดการหยิบชมพู่ในเข่งใส่เติมให้อีกถุงละ 2 ลูก ใส่จนถุงก๊อบแก๊บรัดปากถุงไม่ได้

"พอแล้วยาย"
"เอาไปเถอะ เอาไปกินเล่นๆ"

กลับถึงบ้านกล้อมแกล้ม เอาถุงชมพู่ขึ้นตาชั่งจึงรู้ถุงละโลครึ่ง .... เฮ่ ! ทับทิมจันทร์ กิโลครึ่งมูลค่า 10 บาท
เท่านั้นเองเหรอ ก็ไหนเมื่อราว 3 เดือนที่แล้ว โลละตั้ง 60 บาท นี่นา....




5. วันรุ่งขึ้นต่อจากวันซื้อชมพู่ยายหน้าวัด ก็คือวันวานของวันนี้ วันที่ร่ายเรื่องเกษตรข้างทางเดิน

ทับทิมจันทร์แปรสภาพเป็น "ทับทิมจน" กองเอ๊าะเยาะอยู่ริมถนน สภาพยังใหม่สด รูปลักษณ์สันฐานน่าจะ LOT
เดียวกันกับของยายหน้าวัด แต่จะใช่ชมพู่ของยายหน้าวัดหรือของคนอื่น อันนี้ไม่แน่ใจ ด้วยปริมาณซัก 50 กก.
คงไม่ถึง 100 โดยสายตา ข้างกองมีใบตองยังเขียวสด มันคือใบตองรองผลชมพู่ในเข่งที่ชาวสวนนิยมปฏิบัติ
เห็นแล้วคลับคล้ายคลับคลา เหมือนใบตองรองเข่งชมพู่ยายหน้าวัดเปี๊ยบๆ

วิเคราะห์ที่มาของทับทิมจันทร์ริมถนนกองนี้ เหมือนยกเข่งจากกระบะรถแล้วเทลงไปเลย ไม่เกลี่ย ไม่เขี่ย ไม่กวาด
ให้พ้นสายตา ทิ้งมันไปด้วยอารมย์รังเกียจเดียดฉัน ไม่เหลือเยื่อใยสายสัมพันธ์.....เททิ้ง เททิ้ง และเททิ้ง




6. ก่อนหน้ากำเนิดไร่กล้อมแกล้ม ต.เขาสามสิบหาบ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งผลิตชมพู่ทับทิมจันทร์
ที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของประเทศ เคยมีชาวสวนเอาไป "ถวาย" อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (เสียชีวิตแล้ว)
ฯพณฯ อธิบดีถึงกับตะลึง ไม่เชื่อสายตาที่เห็น ไม่เชื่อมือที่สัมผัส ไม่เชื่อลิ้นที่ชิม ว่านี่คือ "ชมพู่ทับทิมจันทร์
ต.เขาสามสิบหาบ" ดินแดนโพ้นทะล ไกลปืนเที่ยง ลูกเมียน้อยของโครงการส่งเสริม

ณ ช่วงเวลานั้น ชมพู่ทับทิมจันทร์กว่า 100 แปลง ตั้งแต่ขนาดเล็ก 5 ไร่ ถึง 100 ไร่ กระจายอยู่ทั่วตำบล
สร้างความร่ำรวยให้แก่ชาวสวนไม่น้อย ช่วงปีใหม่ ขนาดจัมโบ้ไซส์ 5-6 ลูก/กก. ราคาหน้าสวน กก.ละ 80
บาท เกรดคละ กก.ละ 40 บาท แต่ช่วงตรุษจีนกลับราคาหน้าสวน ไซส์จัมโบ้ 10 บาท/กก. เท่านั้น

และนี่คือที่มาแห่งปรัชญาการเกษตร "เกรด เอ. - จัมโบ้ - โกอินเตอร์ - ขึ้นห้าง - ออกนอกฤดู - คนนิยม"
เท่านั้น จึงจะอยู่รอด

อนิจจาวันนี้ ทับทิมจันทร์เขาสามสิบหาบ ทิ้งไว้เพียงตำนานเล่าขาน ทั้งตำบลคงเหลือเป็นอนุสรณ์เพียง
2-3-4-5 แปลง ๆละ 1-5 ไร่ เท่านั้น ต้นตอสาเหตุมาจาก "เคมีบ้าเลือด" นั่นเอง





7..
ไซส์นี้ราว 6-7 ลูก/กก. ได้มาตรฐานเกรดตลาดแล้ว นอกจากขนาดแล้ว สังเกตุทรงผลด้านข้างเหยียดตรง
ไม่โค้งคอด รวมถึงผิวพรรณ สี บ่งบอกว่า "ถึงปุ๋ย-ถึงฮอร์โมน" รวมทั้งการห่อผล ตัดแต่งช่อผล จนได้ระดับนี้
นั่นคือ "ต้นทุน" ที่จ่ายลงไป ราคาที่ได้รับช่างไม่คุ้มกันเลย ..... ใช่หรือไม่ เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ
"เทคโนโลยีการตลาด" และนี่คือสาเหตุหลักซะละมัง ที่ทับทิมจันทร์เขาสามสิบหาบ หายสาบสูญไป



เทคนิคหนึ่งในการบังคับทับทิมจันทร์ให้ออกนอกฤดูได้ คือ ก่อนลงมือเปิดตาดอก ต้นต้องได้รับแสงแดด 100%
หรือฟ้าเปิดอย่างน้อย 10-15 วัน ทั้งนี้ ถ้ามีฝนหรืออากาศปิด จะเปิดตาดอกไม่ออก

บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการประกวดผลผลิตทางการเกษตรระดับประเทศ สนามใดที่ผู้ส่งผลผลิตเข้าประกวดแล้ว
ต้องการโล่ชนะเลิศ ต้องพูดว่า "ใช้ผลิตภัณท์" ของบริษัทนี้เท่านั้น แม้ในความเป็นจริงจะไม่ได้ใช้ก็ตาม เพราะ
นอกจากได้โล่แล้วยังได้ออก ทีวี.อีกด้วย เกษตรกรผู้ส่งผลผลิตเข้าประกวดยินดีพูดตามนั้น เพื่อหวังโล่ชนะเลิศ
เป็นเกียรติประวัติ

เซลล์คนหนึ่งของบริษัทนี้ พื้นฐานความรู้จบปริญญาโท ขี่รถเบ็นซ์ ผูกเนคไทตลอดเวลา เข้าไปเสนอขาย
"ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมี" สำหรับชมพู่ทับทิมจันทร์ให้กับสวนหนึ่ง ย่านเขาสามสิบหาบ โดยว่า แม้อากาศปิด ปุ๋ย
ของตัวเองก็เปิดตาดอกทับทิมจันทร์ได้ .... เจ้าของสวนทับทิมจันทร์ไม่เชื่อจึงเกิดการต่อรองพร้อมกับเดิมพันกันขึ้น

ทับทิมจันทร์ 5 ไร่ ถ้าเปิดตาดอกไม่ออก บริษัทต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียโอกาสเป็นเงิน 200,000 แต่ถ้า
เปิดตาดอกออกได้ ยินดีจ่ายค่า ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมี ทุกอย่างตามราคา แล้วจะช่วยหาลูกค้าให้อีก ....
เซลล์ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทตอบตกลงทันที

เดิมพันครั้งนี้เซลล์เข้ามาควบคุมการใช้ ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมี ด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด ทุกขั้นตอน ท่ามกลาง
อากาศปิด ทั้งอาทิตย์ บางวันมีฝนน้อยๆโปรยลงมาแถมอีกต่างหาก ผลปรากฏว่าทับทิมจันทร์ไม่ออกดอก
แต่แตกใบอ่อนจนเต็มต้นแทน มิใยจะซ้ำเปิดตาดอกด้วยสูตรเข้มข้นขึ้นเพียงใด ทับทิมจันทร์ก็ไม่ผลิดอก
ออกมาให้เห็นแม้แต่ดอกเดียว

กระทั่ง 3 เดือนผ่านไป เจ้าของสวนต้องอาศัยใบอ่อนที่ออกมานั้น เข้าสู่ขั้นตอนสะสมตาดอก - ปรับ ซี/เอ็น
เรโช. แล้วเปิดตาดอกตามสูตรของตัวเอง นั่นแหละ ทับทิมจันทร์จึงออกดอกได้

งานนี้เซลล์ปริญญาโทเป็นฝ่ายแพ้เดิมพัน ต้องจ่าย 200,000 ตามสัญญา แล้วหายหน้าจากเขาสามสิบหาบ
ไปเลยตั้งแต่บัดนั้น ............ สงสัย เข็ดจนตาย



***********************************************************************




จะปลูกอะไรไม่สำคัญ - สำคัญที่ต้นทุนค่าไม้ค้าง....



8.
แปลงนี้ไม่รู้ว่าจะปลูกอะไร เพราะไม่เห็นเจ้าของ ไม่ได้สอบถาม เลยไม่รู้ไง ถ้าจะให้เดา ขอเดาว่า "แตงกวา"
เพราะระหว่างเสามีตาข่ายขึงด้วย ..... เห็นต้นทุนค่าเสาแล้ว ใจแว้บ เหมือนกันนะ คำนวนง่าย เสาไม้ไผ่ลำใหญ่
ขนาดข้อมือ ลำละเท่าไหร่ แปลงนี้บวกลบคูนหารแล้วใช้กว่า 3,000 ลำ ถ้าลำละ 5 บาท ก็ตก 15,000 ถ้า
ลำละ 10 บาท ก็ตก 30,000 แล้ว ว่ามั้ย แล้วไหนจะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าสารเคมียาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน กับอีก
ค่าสาระพัด แล้วมันจะเหลือกำไรซักเท่าไหร่ ........................ วะน่ะ

9.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 25/07/2011 10:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชะอม 3 ไร่ เลี้ยงชีพมากว่า 10 ปี....


10.
คุณเกียว (080) 981-9600, (034) 204-018 สาวโสดอยู่กับแม่อายุ 80 แค่ 2 คนในบ้านหลังใหญ่
แห่งกำแพงแสน นครปฐม กับชะอมข้างบ้าน เนื้อที่ 3 ไร่ ทำคนเดียวเดี่ยวๆ ไม่จ้างแรงงานใดๆให้มะเร็ง
กินอารมย์ ทุกวันทำงานแค่เช้าถึงเที่ยง อย่างดีก็บ่ายอ่อนๆ มีแม่ค้าขาประจำมารับถึงบ้าน ราคาวันนี้ กก.
ละ 5-6 บาท รวมรายได้ราว 500-600 บาท ทุกวัน ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 10 แล้ว

ช่วงหน้าฝน ราคาหน้าสวน 5-6 บาท แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวต่อหน้าแล้ง ชะอมไม่ค่อยแตกยอด ราคาจะขึ้นไป
20-30 บาท/กก. ต้องทำ "ชะอมนอกฤดู" แค่ไร่เดียวก็รวยได้.....ว่าแต่ทำเป็นไหมล่ะ ?




11.
ชะอม - พริก - มะเขือ อยู่ด้วยกัน บำรุงสูตรเดียวกัน แปลงเล็กๆ ริมถนนหน้าบ้านพอกินในบ้านสบายๆ
เหลือแบ่งปันเพื่อนบ้านได้อีกด้วย





อ้างอิง :


"ชะอมไร้หนาม" อาชีพรองแต่สร้างรายได้หลักที่ อ.ตะพานหิน

แหล่งที่มา : เดลินิวส์


“ชะอม” ผักพื้นบ้านที่มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัวใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทยหลากหลายชนิดและได้รับความนิยมในการ
บริโภคไม่แพ้ผักชนิดอื่น ๆ แต่สำหรับเกษตรกรที่ปลูกชะอมมักจะมีความเข้าใจว่าต้นชะอมมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือต้นชะอมที่มีหนาม
เกษตรกรต่างรู้ดีว่าหนามในต้นชะอมเป็นอุปสรรคสำคัญในการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้ง ในขณะที่เกษตรกรในหมู่บ้านคลองข่อย ต.
ไผ่หลวง อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร จะปลูกชะอมที่ไม่มีหนามหรือที่หลายคนเรียกว่า “ชะอมไร้หนาม” กันทั้งหมู่บ้าน

ป้าดอกไม้ อินอ้น ประธานกลุ่มผู้ปลูกชะอมไร้หนามบ้านคลองข่อย ได้เล่าถึงข้อแตกต่างของต้นชะอมมีหนามกับต้นชะอมไร้หนาม
ว่า ยอดของชะอมมีหนามมีกลิ่นฉุนกว่ายอดชะอม ไร้หนามแต่รสชาติไม่แตกต่างกัน เกษตรกรที่ ปลูกชะอมไร้หนามต่างก็ยอมรับ
ในเรื่องของความสะดวกในการเก็บเกี่ยวยอดในแต่ละครั้งว่าเก็บง่ายและไม่โดนหนามทิ่มแทง ที่สำคัญต้นชะอม ไร้หนามจะแตก
ยอดได้เร็วกว่าชะอมมีหนามโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ยอดชะอมมีราคาแพงที่สุด ป้าดอกไม้เคยมีอาชีพทำนามาก่อน
ย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาได้นำต้นชะอมไร้หนามมาปลูก วัตถุประสงค์แรกเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ต่อมา
ยอดชะอมไร้หนามขายได้เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงได้ขยายพื้นที่ปลูกจำนวน 3 ไร่ มาจนถึงทุกวันนี้และเก็บยอดชะอมขายมีรายได้กว่า
การทำนาถึง 10 ไร่ จากอาชีพเสริมได้กลายมาเป็นอาชีพหลัก

ป้าดอกไม้เล่าให้ฟังว่ายอดชะอมจะ มีราคาแพงที่สุดในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะขายได้ราคากำละ
10 บาท (ชะอม 1 กำ มีน้ำหนัก 200 กรัม หรือ 2 ขีด) เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนเดือนมีนาคม-เมษายน ราคาจะตกลงมาเหลือกำ
ละ 2-5 บาท และราคาจะต่ำสุดในช่วงตลอดฤดูฝนเหลือกำละ 1.50-2 บาทเท่านั้น ในการเก็บยอดชะอมในแต่ละวันจะเก็บกัน
ในช่วงเวลาเช้าเท่านั้น พอถึงเวลา 09.00-10.00 น. จะหยุดเก็บ เนื่องจากเมื่อยอดชะอม ได้รับแสงแดดแล้วสีของยอดจะ
เปลี่ยนสีจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขียวเข้มที่เกษตรกรมักจะเรียกว่า “ยอดดำ” หลังจากที่เก็บยอดชะอมเสร็จแล้ว ในแต่ละครั้งจะ
ต้องนำยอดมาพรมน้ำหรือจุ่มน้ำสะอาดและเก็บไว้ในที่ร่ม หลังจากนั้นนำมาเข้ากำเสร็จรอพ่อค้ามารับซื้อในช่วงบ่ายและส่งต่อไป
ขายตลาดกรุงเทพมหานคร

ทุกวันนี้ป้าดอกไม้มีรายได้จากการเก็บยอดชะอมไร้หนามขายเฉลี่ยเดือนละ 5,000-10,000 บาท ราคาถูก-แพงขึ้นอยู่กับ
ฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีรายได้จากการขายกิ่งพันธุ์เป็นประจำทุกปีไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท โดยขายกิ่งพันธุ์ในราคากิ่งละ 10
บาทเท่านั้น

ต้นชะอมไร้หนามมีศัตรูพืชรบกวนไม่มากอาจจะพบหนอนและด้วงกินใบบ้าง ถ้าพบการระบาดไม่มากป้าดอกไม้จะใช้วิธีการจับ
ทำลาย แต่ถ้าระบาดมากจะฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร.



ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=15545&action=edit&joomla=1





การบังคับกิ่งชะอมแตกยอดนอกฤดู

แหล่งที่มา : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน

ชะอมเป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานยอดอ่อนกันมาช้านาน ชะอมเป็นพืชทนทานต่อโรคและแมลง
เนื่องจากมีกลิ่นค่อนข้างฉุนโดยธรรมชาติแตกยอดอ่อนในฤดูฝนและฤดูร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
ได้ก็จะจำหน่ายได้ราคาสูง การบังคับให้ชะอมแตกยอดก่อนฤดูกาลสามารถทำได้ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์
1. กรรไกรตัดกิ่ง
2. เชือก

ขั้นตอนวิธีทำ
1.โน้มกิ่งชะอมให้เป็นแถวยาวตามร่องหรือแปลงเพื่อความสะดวกในการให้น้ำและเก็บผลผลิต
2. ตัดแต่งกิ่งชะอมที่ไม่แข็งแรงรวมทั้งตัดใบชะอมให้หมด ระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน ของทุกปี
3. ให้น้ำสัปดาห์ละครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง จากนั้นอีก 15 วัน ชะอมจะแตกยอดอ่อนสามารถเก็บขายได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
ยอดอ่อนชะอมนอกฤดูกาลจะมีราคาแพงกว่าปกติ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปจำหน่ายตามหมู่บ้าน ตลาดในท้อง
ถิ่นหรือจังหวัด

http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=2150&action=edit&joomla=1





เล่า…สู่…กันฟัง จากประสบการณ์

อ.ขยัน กล่าวว่า ความแปรปรวนของอากาศ (หรือที่เราเรียกกันว่าโลกร้อนขึ้น) ก็มีผลทำให้แมลงระบาดได้ ตัวอย่างเช่น ที่สวนผักชะอม
เขตพื้นที่แถว อ.สันทราย และ อ.แม่แตง มีการระบาดของหนอนคืบชะอมเรือนหมื่นเรือนแสน มันกัดกินชะอมจนโกร๋นเหลือแต่กิ่งก้าน
ทำให้พยายามคิดหาทางแนะนำเกษตรกรว่า ควรแก้ไขอย่างไร เพราะชะอมกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านเราไปแล้ว

แต่พอมาทราบตอนหลังจากเกษตรกรผู้ปลูกชะอมเอง กลับได้รับคำตอบว่า ยิ่งเป็นผลดี เพราะการที่หนอนคืบเข้าทำลายกัดกินนั้น เท่ากับ
เกษตรกรไม่ต้องรูดใบตัดกิ่ง เพื่อให้มันแตกยอดใหม่ เพราะมีเจ้าหนอนคืบตัวนี้ จัดการตามธรรมชาติให้แล้ว โดยเฉพาะการผลิตชะอม
นอกฤดูจำเป็นต้องรูดใบตัดกิ่งเพื่อให้แตกยอดใหม่ ซึ่งก็นับเป็นความรู้ใหม่จากการลงพื้นที่ชุมชน

http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=689









http://raitamfun.blogspot.com/2010/11/blog-post_27.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/11/2012 3:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 26/07/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กล้วย "กูลิกุดี" ศรีลังกา...


17.
เริ่มสุก ถ้าสุกกว่านี้ กระทั่งเปลือกเริ่มออกสีดำ นั่นแหละความอร่อยสูงสุด แบบนี้เท่ากับอายุหลังผลสุกนานขึ้นน่ะซี...



18.
ยอมรับว่าอร่อยกว่ากล้วยหอมทองของไทย....




20.
หน่อกล้วยทำพันธุ์ทุกสายพันธุ์ เหง้าใหญ่ปลูกแล้วโตขึ้นจะให้ผลผลิตดีกว่าเหง้าเล็ก



21.
กล้วยสายพันธุ์นี้ แม้ต้นแม่ตัดเครือไปแล้วเลี้ยงหน่อต่อในกอเดิม นอกจากหน่อจะ
ให้ผลผลิตดีเหมือนต้นแม่แล้ว ยังไม่เกิดอาการกอลอย หรือหน่อลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิว
ดินอีกด้วย การที่หน่อไม่ลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวดินทำให้ต้นไม่ล้มง่าย




22.
กล้วยทุกสายพันธุ์ตอบสนองต่อ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" ดีมากๆ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/07/2011 7:54 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 26/07/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นข้าวไรซ์เบอร์รี่....



23.
ทั้งกอเกิดจากเมล็ดเพียง 1 เมล็ดเท่านั้น




24.
ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย......นึกถึงขนาดลำต้นข้าวนาหว่านซิ
ขนาดหลอดดูดยาคูลท์ ใช่หรือไม่




25.


26.


27.
ไม้บันทัดเทียบขนาดเป็นไม้บันทัดแบบ 2 ฟุต (60 ซม.)




28.


29.


30.


31.
(บน-ล่าง) รากข้าวที่ดี คือ รากสีขาว อวบ อ้วน ยาว จำนวนมากๆ ยิ่งมากยิ่งดี


32.


33.


34.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 05/08/2011 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นาข้าวข้างทาง....



1. นาดำแบบนี้น่าจะเรียกว่า "ดำระยะชิด" เพราะระยะห่างระหว่างต้น-ระหว่างแถว ประมาณ 15-20 ซม. หรือราว 1 คืบมือ
เท่านั้น ทั้งนี้นาดำด้วยเครื่องดำนาที่นิยมทำ คือ ระยะห่างระหว่างต้น-ระหว่างแถว 25-30 ซม. ...... การจัดระยะห่างระหว่าง
ต้น-ระหว่างแถว ควรเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม สายพันธุ์ที่แตกกอดีมากให้ดำระยะห่าง สายพันธุ์ที่แตกกอน้อยให้ดำระยะถี่




2. ปกติน้ำหล่อโคนต้นระดับนี้ถือว่ามากเกินแล้วสำหรับข้าวระยะนี้ เป็นน้ำที่มาจากฝนโดยเฉพาะ เท่าที่สังเกตุดู นาข้าวย่าน
ท่ามะกา กาญจนบุรี ทำคันนาต่ำกว่าหัวเข่ากันทั้งนั้น บางแปลงสูงกว่าตาตุ่มนิดเดียวก็มี คันนาต่ำๆแบบนี้ทำให้ระดับน้ำในแปลง
ไม่สูง เมื่อระดับน้ำในแปลงไม่สูงต้นข้าวก็จะไม่สูง และต้นข้าวไม่สูงก็ไม่ล้ม ก็แค่นี้เอง....



3.นาวข้าว แปลงนี้เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เท่าที่ดูด้วยสายตา ความสูงต้นประมาณเลยหัวเข่าผู้ใหญ่เล็กน้อย กว่า 90 (+) % ของ
ทุกต้นสูงเท่ากัน ไม่พบวัชพืช ไม่มีต้นล้ม ออกรวงพร้อมกันและเสมอกัน

(.....อยู่ริมถนนสายท่ามะกา - ไร่กล้อมแกล้ม ไม่รู้จักเจ้าของ ไม่รู้สายพันธุ์ ไม่รู้เทคนิคการปลูก ไม่รู้อะไรทั้งนั้น กะว่า ถ้ารู้วันเกี่ยว
วันนั้นจะไปขอรายละเอียดจากเจ้าของ....)





4. เมื่อรวงข้าวเริ่มโค้ง (ก้ม) ลง นั่นคือเมล็ดข้าวเริ่มแก่ โดยเมล็ดในรวงจะเริ่มแก่จากเมล็ดปลายสุดของรวง ไล่ตามลำดับมาหา
โคนรวง ...... เมื่อเมล็ดแก่ได้ 50-75% หรือ 3 ใน 4 ของจำนวนเมล็ดทั้งรวง ใบธงหรือใบที่อยู่ด้านในสุด ซึ่งเป็นใบสุดท้ายของ
การเจริญเติบโตของต้นข้าว จะเริ่มแก่ สีออกเหลือง การที่ใบอายุน้อยสุดเริ่มเหลือง ใบที่เกิดก่อนก็ต้องเหลืองด้วย อาการใบเหลือง
คือ หมดอายุขัย นั่นหมายถึง ทุกใบในต้นหยุดการสังเคราะห์อาหารแล้ว เมื่อไม่มีใบสังเคราะห์อาหาร เมล็ดโคนรวงซึ่งยังไม่แก่จึง
ไม่ได้รับสารอาหาร และเมื่อไม่ได้รับสารอาหารก็กลายเป็นเมล็ดลีบ ไม่มีเนื้อ (แป้ง) มีแต่แกลบ นั่นเอง


แนวทางแก้ไข :
- ให้แม็กเนเซียมเพื่อสร้างคลอโรฟีลด์ ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะน้ำนม 3-4 รอบ โดยแบ่งช่วงการให้เท่าๆกัน ก็เป็นการแก้ปัญหา
ต้นข้าวขาดแม็กเนเซียมได้เช่นกัน

- ให้สังกะสีเพิ่อสร้างแป้ง ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะน้ำนม 3-4 รอบ โดยแบ่งช่วงการให้เท่าๆกัน

- ให้แคลเซียม โบรอน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้น สร้างความสมบุณร์ให้แก่เมล็ด (ไม่หัก ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดใส) ตั้งแต่
ระยะกล้าจนถึงระยะน้ำนม 3-4 รอบ โดยแบ่งช่วงการให้เท่าๆกัน



5. ธรรมชาติของต้นข้าว เมื่อรวงเริ่มโค้งลง ใบจะเริ่มเหลือง เริ่มจากใบแก่ด้านนอกก่อน แล้วไล่ตามลำดับไปถึงใบด้านในสุด





6. "นาข้าวสร้างมูลค่าเพิ่ม" รูปร่างหน้าตาแบบนี้ สัญชาติญานคนทำนาเห็นปุ๊บรู้ปั๊บยอมรับ ใช้ทำ "ข้าวปลูก" ได้ จะ
เข้ามาติดต่อขอซื้อตั้งแต่ก่อนเกี่ยว ว่ามั้ย ข้าวเปลือกขายให้โรงสี อย่างดีก็ 8,000 (ถังละ 80) แต่ถ้าขายเป็นข้าวปลูก
ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000-12,000 (กันเอง) สบาย

ลุงคิมเคยเห็น ข้าวเปลือกจากนาแปลงหนึ่งใกล้ๆไร่กล้อมแกล้ม เอาไปขายที่โรงสี ราคาประกันวันนั้น 8,000 พอโรงสี
เห็นข้าวเปลือกจากแปลงนี้ให้ 8,500 บอกตามตรงว่าจะเอาไว้ขายเป็นข้าวปลูกให้สมาชิก ก็มีชาวนาอีกคน เอาข้าว
เปลือกไปขายให้กับโรงสีพร้อมกัน แต่โรงสีให้แค่ 8,000 ตามราคาประกัน เจ้าของข้าวเปลือกทำท่าจะไม่ยอม อ้างว่า
มาพร้อมกันทำไมไห้ราคาไม่เท่ากัน เจ้าของโรงสีก็ชี้แจงว่า เพราะข้าวเปลือกของเจ้านั้นมี "ข้าวปน" มาก ส่วนเจ้านี้
ของเขาไม่มีข้าวปน เอาไปทำข้าวปลูกได้ จึงให้ราคาแพงกว่า แล้วโรงสีก็ตัดบท ถ้า 8,000 ไม่ขาย ก็ไปขายที่อื่น





89. วิธีคำนวณวัดผลผลิตข้าวต่อไร่

การวัดผลผลิตข้าวในแปลงคำนวนโดยใช้การสุ่มตัวอย่างในพื้นที่อย่างน้อย 1 x 1 หรือ 2 x 2 เมตร นับจำนวนต้นหรือรวงข้าว
แล้วสุ่มนับจำนวนเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ ต่อรวง ซึ่งเมล็ดข้าว 1,000 เมล็ด จะมีน้ำหนัก 22-24 กรัม

จากนั้นคำนวณ ใช้สูตร ผลผลิตข้าว กก./ไร่ = จำนวนต้นต่อ 1 ตร.ม. x 1,600 ตร.ม. x จำนวนเมล็ด ต่อ 1 ตร.ม. x 0.24
(น้ำหนักเมล็ด 1,000 เมล็ด 1,000 )

http://www.kasetonline.net/newsite/index.php?id=45





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 8:01 am, แก้ไขทั้งหมด 19 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 05/08/2011 10:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดฝักอ่อน...



1.



2.



3.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/08/2011 4:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 05/08/2011 10:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สปริงเกอร์แบบ "ถอด-ประกอบ" ด้วยแรงงานคนเดียว



1. ริมถนนสาย ท่ามะกา-บ้านเขาช่อง แปลงผักแปลงนี้เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ปลูกผักใบอายุสั้นฤดูกาลเดียว ใช้ระยะเวลา 3-4
เดือน/รุ่น เห็นทำประจำอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เริ่ม ไป-กลับ ไร่กล้อมแกล้ม



2. สปริงเกอร์เป็นแบบ ถอด-ประกอบ ได้ โดยเก็บผักหมดก็ถอดสปริงเกอร์เก็บ พักดิน 1 เดือน ก็จะลงมือเตรียมดิน ปรับแปลง
แล้วติดสปริงเกอร์ใหม่ ทำซ้ำอย่างนี้รุ่นแล้วรุ่นเล่า การ ถอด-ประกอบ ใช้แรงงานแค่คนเดียวเท่านั้น


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/08/2011 11:50 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 06/08/2011 5:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระเทียมจีน V.S. กระเทียมไทย





กระเทียมจีน กระเทียมจีน คือ กระเทียมสายพันธุ์ของประเทศจีน ปลูกในประเทศจีน แล้วเอามาขายในประเทศไทย
ด้วยต้นทุนราคาขายต่ำกว่ากระเทียมไทย ที่น่าสังเกตุก็คือ ต้นทุนที่แท้จริงของเขาต้องต่ำมากๆ ตั้งแต่ต้นทุนการผลิต
จนถึงต้นทุนค่าขนส่ง คำนวนต้นทุนง่ายๆ ราคาขายให้เอเย่นต์ (คนกลาง) ในประเทศไทยเท่าไหร่ หมายถึงต้นทุน
ที่คนปลูก (เกษตรกรจีน) เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น จากในประเทศไทยก่อนถึงคนกิน เอเย่นต์ก็ต้องมีกำไรอีกส่วนหนึ่ง
กระทั่งสุดท้ายถึงคนกินราคายังต่ำกว่ากระเทียมไทย ครึ่งต่อครึ่ง.....ฉนี้แล้วคิดซิว่า คนปลูกจะได้จริงๆซักกี่หยวน
(1 หยวน = 4 บาท....)

แต่ในความเป็นจริง กระเทียมหัวใหญ่ๆอย่างนี้ไม่ได้มาจากประเทศจีน แต่มาจากประเทศลาว เรื่องแบบนี้พิจาณาได้
2 รูปแบบ คือ 1) คนลาวเอาสายพันธุ์มาจากประเทศจีนแล้วปลูกเองขายเอง กับ.....2) คนจีนเข้ามาเช่าที่ดินประ
เทศลาว เอาสายพันธุ์มาจากประเทศของตน ปลูกแล้วส่งมาขายในประเทศไทย

ใครๆก็ว่า กระเทียมจีนรสจืด กระเทียมไทยรสเข้มข้นกว่า แต่จากการชิม (กินดิบกับข้าวขาหมู) บอกได้เลยว่า กระเทียม
จีนไม่ได้รสจืดชืดดั่งคำล่ำลือแม้แต่น้อย นั่นคือ ใช้แทนกระเทียมไทยได้ 100%

ตลาดกระเทียมไทย คือ ครัวตามบ้าน แต่ละบ้านกินกระเทียมวันละกี่กลีบ ในขณะที่ตลาดกระเทียมจีนอยู่บนภัตตาคารใหญ่ๆ
ร้านอาหารขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้กระเทียมครั้งละมากๆ แต่ละที่ใช้กระเทียมวันละหลาย 10 กก. แล้วภัตตาคารหรือร้านอาหาร
ใหญ่ๆเคยบอกไหมว่าเขาใช้กระเทียมจีน แม้แต่คนกินก็ไม่รู้ตัวด้วยว่า กระเทียมที่กินน่ะ กระเทียมจีนหรือกระเทียมไทย

ด้วยกฏหมายทางการค้าระหว่างประเทศ วันนี้สินค้าหลายรายการจากประเทศเพื่อนบ้านยังเข้ามาได้ไม่สดวกนัก แต่เมื่อ FTA
กฏหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าเสรีมีผลบังคับใช้ เกษตรกรไทยรู้ตัวกันหรือยังว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดสินค้าไทยบ้าง
มิได้หมายถึงกระเทียมอย่างเดียว เพราะยังมีสินค้าเกษตรอีกหลายรายการที่ต้องได้รับผลกระทบ

วันนี้ ใครจะรู้บ้างว่า ข้าวเปลือกที่จำนอง ธ.ก.ส.น่ะ เบื้องหลังจริงๆ คือ ข้าวเปลือกจากเวียนาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 08/08/2011 9:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นสาละ ไม้พุทธประวัติ หลังทรงตรัสรู้....



2.



3.



4.



5.



6.

พบเห็นสาละ 3-4 ต้นนี้ เส้นผ่าศูนย์กลางต้น ณ ความสูงจากพื้น 1 ม. ประมาณ
12 (+) นิ้ว อายุต้นประมาณ 30 ปี ที่โรงเรียน (ขอสงวนนาม) ย่านปริมณฑล มี
คนมาขอซื้อต้นละ 35,000 ครูใหญ่ต้องการขาย อ้างเหตุผลว่าจะเอาเงินมาทำอย่าง
อื่น พร้อมกับจะหาสาละต้นใหม่มาปลูกแทน แต่บรรดาครูน้อยไม่เห็นด้วย จึงพากัน
คัดค้าน โดยว่าสาละกลุ่มนี้อยู่คู่กับโรงเรียนมานจาน กับระยะเวลากว่า 30 ปี ไม่อาจ
ตีเป็นเงินได้ เอาต้นใหม่มาปลูก เป็นต้นเล็ก กว่าต้นจะโตเท่านี้ คนปลูกไม่ได้ดู คนดู
ไม่ได้ปลูก.....





อ้างอิง :

ต้นสาละอินเดียกับพระพุทธศาสนา

สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า “Sal” เป็นไม้ที่มีความสำคัญ
เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความ
สำคัญในพุทธประวัติดังนี้


ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ
ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบ
กำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทว
ทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ (ที่การ
คลอดบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิง) เมื่อขบวน
เสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อ
ว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้ “สาละใหญ่”


พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบัน คือ ตำบล “รุมมินเด” แขวงเปชวาร์
ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้น
เองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วัน
เพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”


ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้และแสดงธรรมเทศนา
เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรง
อธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถ
ทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฏ
ว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้
สาละใหญ่ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับ
นั่งบนบัลลังก์ภายใต้ร่มเงาต้นโพธิ์ และได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมา
สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุณยามสาม ณ วันเพ็ญเดือน 6
ก่อนพุทธศักราช 45 ปี


ครั้นวันเพ็ญเดือน 8 สองเดือนหลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละ
ใหญ่อันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมือง
พาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมม
จักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยจึงเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก
นี้ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์


ตอนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก ได้
เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เป็นเวลาใกล้ค่ำ
ของวันเพ็ญเดือน 6 วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช ได้ประทับในบริเวณ
สาลวโณทยาน พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ซึ่งเป็นองค์
อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละใหญ่
2 ต้น แล้วพระองค์ก็ทรงเอนพระวรกายลง ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยา เป็นอนุฏ
ฐานไสยา คือ การนอนครั้งสุดท้าย โดยพระปรัศว์เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระ
บาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=149.0



คลิกไปดูต้นสาละ "ลูกดกมาก" .....
https://onemoon.wordpress.com/2009/07/17/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-baby-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 18/09/2011 10:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เหลืองอินเดีย (มีชื่ออื่นไหม ?) เกาะกลางถนนแสงชูโต...




1.



2.



3.



4.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 17/01/2012 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แปลงอ้อย....





อ้อยแปลงนี้ของใครไม่รู้ อยู่ข้างทางถนนสาย ท่ามะกา-ไร่กล้อมแกล้ม สภาพที่เห็น
นี้ คือ เดือน ธ.ค.54 เป็นอ้อยตอ 2 ..... จำได้เมื่อ ม.ค.53 ครั้งนั้นหลังตัด แล้ว
เจียนตอเสร็จ ยังไม่ได้เผาเศษใบอ้อยที่พื้น วันรุ่งขึ้นมาฝนหนักตกลงมา อาทิตย์ต่อ
มาฝนตกอีกครั้ง ทำให้หมดโอกาสเผาเศษใบ เจ้าของคงปล่อยอย่างนั้น ช่วงกลางปี
54 มีฝนเติมให้อีกตลอดปี อ้อยจึงโตเอาๆ กระทั่งสิ้นปี 54 ลงมือตัด กะด้วยสายตา
แล้วคาดว่าไม่ต่ำกว่า 20 ตัน/ไร่ ..... เจ้าของคงรู้และเข้าใจในธรรมชาติของอ้อย
ว่า ต้องการน้ำ เพราะฝนที่ตกคือน้ำอย่างดี





54.
ปลายปี 54 ต่อต้นปี 55 ตัดอ้อย-เจียนตอ เห็นเศษซากใบอ้อยแผ่กระจายเต็มพื้นที่
แปลง ตลอด 2 อาทิตย์แรกก็พยายามตามดูว่า จะมีการจัดการเศษซากใบอ้อยเหล่า
นี้อย่างไรหรือไม่ เพื่อให้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน ถูกย่อยสลายกลายเป็นสารอาหาร
แก่ต้นอ้อยและจุลินทรีย์ในดิน




72.
และแล้ววัฏจักรแห่งการทำเกษตรตามประเพณี ปลูกอ้อยตามใจคนแต่ขัดใจอ้อยก็
เกิดขึ้น พ่อเผาเรียบ.....ปุ๋ย-จุลินทรีย์-แหล่งกักเก็บน้ำและความชื้น ไม่มีอะไร
เหลือสำหรับอ้อยแม้เพียงน้อยนิด





73.
ความสามารถของชาวไร่อ้อย......

- อ้อยตอ 1 ฝนดีได้ผลผลิต 12 ตัน
- อ้อยตอ 2 ฝนดีได้ผลผลิต 6 ตัน
- อ้อยตอ 3 ฝนดีได้ผลผลิต 3 ตัน

ทำไมตอเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตกลับลดลง



หลักการและเหตุผล :
- ต้นอ้อยเมื่อถูกตัดไปแล้วจะแตกหน่อใหม่จากข้อที่ลำต้น เรียกว่า "ตะเกียง" กับที่
รากใต้ดิน เรียกว่า "หน่อ" ..... ลำต้นที่ถูกทำลาย (เจียนตอ) ไปแล้วไม่สามารถ
แตกตะเกียงได้ แต่รากที่อยู่ใต้ดินยังสามารถแตกหน่อได้ ..... ต้นใหม่ที่เกิดมาจาก
ตะเกียง มีจำนวนน้อยและเมื่อโตขึ้นจะมีคุณภาพไม่ดี ต่างจากหน่อที่เกิดมากรากมำ
จำนวนมากกว่า และเมื่อโตขึ้นก็จะมีคุณภาพดีกว่าด้วย

- สาเหตุที่อ้อนตอเพิ่มขึ้นแต่ผลผลิตลดลงเป็นเพราะรากถูกทำลายจากไฟที่เผาเศษ
ซากใบ กับถูกแดดเผานานนับหลายๆเดือน (ตัดอ้อยเดือน ม.ค. แล้วปล่อยทิ้งรอ
ฝนเดือน พ.ค.-มิ.ย.) เมื่อหน่อแตกใหม่น้อย ผลผลิตย่อมน้อยไปด้วยเป็นธรรมดา


แนวทางแก้ปัญหา :
- หลังต้ดและเจียนตอเสร็จ ต้องให้น้ำทันทีภายในไม่เกิน 3 วัน

- จากน้ำเปล่า เป็น "น้ำ + กากน้ำตาล" ก็จะได้สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
ให้ไปช่วยบำรุงดินและย่อยสลายเศษซากใบอ้อยได้ด้วย

- จาก "น้ำ + กากน้ำตาล" เป็น "น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" นอกจากได้
สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น จุลินทรีย์ในน้ำหมักฯ แล้ว ยังได้สารอาหารพืช
ทั้งอินทรีย์ และเคมีอีกด้วย

- จากอ้อยตอ 1 ลงทุนปลูกครั้งแรกเพียงเดียว จากนั้นลงทุนให้น้ำรุ่นละ 4 ครั้ง
(ครั้งที่ 1 หลังปลูกใหม่หรือหลังเจียนตอ, ครั้งที่ 2 เริ่มย่างปล้อง, ครั้งที่ 3
และ 4 อ้อยโตแล้ว) แล้วได้อ้อยตอต่อๆมาอีก 9-10 ตอ โดยไม่ต้องลงทุนปลูก
ใหม่

- ให้น้ำ (น้ำเปล่า หรือ น้ำ + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง) แต่ละครั้ง โดยปล่อยไปตาม
ร่องระหว่างแถวปลูก จนเต็มร่อง เจิ่งนองท่วมสันร่อง จากนั้น 5-7 วัน น้ำจะซึมลง
ดินหมด แล้วอยู่ในดินได้นานนับเดือน ซึ่งจะช่วยให้อ้อยมีน้ำกินตลอดเวลา

- พึงระลึกเสมอว่า อ้อยเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา แล้วเขาจะเอาน้ำที่ไหนไป
สร้างความอวบ สร้างน้ำอ้อย สร้างความหวาน สร้างต้น สร้างความสมบูรณ์



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/01/2012 9:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 17/01/2012 2:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นาข้าว.....



70.
จะดีไหม ถ้า.....

- หลังเกี่ยวข้าเสร็จ ใช้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงที่ยังไม่ผสมปุ๋ยเคมี ปริมาณ 3-
5 ล. ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามถนัด สำหรับพื้นที่นาข้าว 1 ไร่.....สาดทับฟางให้ทั่ว
แปลง จากนั้นจึงไถกลบฟางลงไปอยู่ใต้ผิวดิน

- ระหว่างรอฤดูกาลทำนารุ่นหน้า จุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพระบิดเถิดเทิง นอกจาก
จะย่อยสลายฟางแล้ว ยังเป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่มีอยู่เดิมในดิน
อีกด้วย


-




71.






การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว

บทนำ
การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นาภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดิน
ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายใน
ดินซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไป

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟาง
ข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามี
ปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ คือจำนวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออกมีจำนวนฟางข้าวและ
ตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม

ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของ
พืชได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียมเฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืช
ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์



ประโยชน์จากการไถกลบตอซังข้าว
1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน
1.1 ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักดำกล้า และทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น
1.2 การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น
1.3 เพิ่มการซึมผ่านของน้ำ และการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2. ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน
2.1 เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง ถึงแม้ปริมาณธาตุอาหารจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี แต่จะมีธาตุอาหาร
ครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม
แมกนีเซียม และกำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆปลด
ปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว

2.2 ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิ
ภาพ และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

2.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตราย
ต่อพืช

2.4 ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน

2.5 ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม



3. ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน
3.1 อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดินมีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

3.2 การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลง


วิธีการไถกลบตอซังข้าว
พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้อง
เผาตอซังและฟางข้าว ให้ทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปล่อยน้ำเข้านา โดยให้ระดับน้ำพอท่วมวัสดุ หลังจากนั้นใช้ปุ๋ย
อินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1 : 20 ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าว
ย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่
เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ข้างฟ่าง ฯลฯ

พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝน หลัง
จากการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝน
ประมาณปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคม ให้ทำการเตรียมดินพร้อมกับการไถกลบตอซังและฟางข้าว แล้วปฏิบัติ
เช่นเดียวกับในเขตชลประทาน โดยทำการปล่อยน้ำเข้านาให้ระดับน้ำท่วมวัสดุที่ไถกลบ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในพื้นที่
1 ไร่ ใช้อัตรา 5 ลิตร โดยให้เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ก่อนราดลงในแปลงนาข้าว หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ตอซัง
ข้าวเกิดการย่อยสลาย แล้วจึงทำเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป



ผลเสียจากการเผาตอซัง
เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้อง
การกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ
เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง กล่าวคือ

1. ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์และ
อ่อนแอ การหาอาหารลดลงรวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำลายได้ง่าย

2. สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สูญเสียไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย

3. ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมการเปลี่ยน
ก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอนินทรีย์ฟอส
ฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัว
อ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผา
ทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น

4. สูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศ
อย่างรวดเร็ว ให้ความชื้นของดินลดลง



จัดทำโดย : กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน กองแผนงาน ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตรสำนัก
วิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

http://www.ldd.go.th/menu_moc/POSTER/rice/rice.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 23/01/2012 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมนิล



27.


28.


29.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 23/01/2012 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะนาว ระเบืด UN




1.
มะนาวดำเนินสดวก หลังจากมาปรึกษาที่ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย สี่แยกบางแพ
ราชบุรี แล้ว แนะนำให้ใช้ UN ทางใบ กับให้ ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ทางดิน จาก
นั้นประมาณ 3 เดือน อาการต้นโทรมหายไป โรคแมลงน้อยลง ผลผลิตมากขึ้น
ทั้งๆที่จ่ายน้อยกว่าเมื่อก่อนหลายเท่า.....วันนี้ ม.ค. มะนาวจัมโบ้ ราคาหน้าสวนลูก
ละ 2 บาท......รับทรัพย์


2.



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©