ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 06/10/2012 7:32 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร 2 ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 1
บทที่ 1 ตอนที่ 1 - 13 สค.55 เริ่มปลูก
ขอชี้แจงว่า ในเกษตรสัญจรภาค 1 เป็นเรื่องเล่าจากการที่ผมไปเยี่ยมเพื่อนกะเหรี่ยงบนดอย โอกาสที่จะไปได้แต่ละครั้งยากนักหนาและมีโอกาสน้อยมาก
ผมได้พบอะไรก็เก็บมาล่าให้เพื่อนที่ไม่เคยมีโอกาสสัมผัสกับสภาพบนดอยได้ฟัง เหมือนการพาเที่ยวชมธรรมชาติแปลก ๆ
ส่วนเกษครสัญจรภาค 2 นี้ จะเล่าเรื่องการปลูกข้าวบนดอยโดยเฉพาะ เพื่อให้ สมช.ที่สนใจ ได้ดูจากการปฏิบัติของคนดอยจริง ๆ เผื่อว่า ใครจะเอาข้าวที่ปลูกบนยอด
ดอย มาปลูกบนดินพื้นราบตามสภาพบ้านเรา จะได้คิดดัดแปลงสภาพแวดล้อม ตาม
ความเหมาะสม เพื่อให้ข้าวดอยที่ปลูกบนพื้นราบมีดอกออกรวง อาจได้ผลดีกว่าปลูก
บนดอยก็เป็นไปได้.....
ผมมีรูปเก็บตกจากบ้านวัดจันทร์มาให้ดู คือ ในตอนท้ายบทที่ 7 ที่ผมบอกว่า พ่อ
หลวงให้ผมยืม ว.สื่อสาร ติดตัวเผื่อมีอะไรฉุกเฉิน จะได้รู้ว่าผมอยู่พิกัดไหน เมื่อไปถึงปายก็ให้ผมเอาไปฝากไว้ที่นั่น.....
หลังจากผมกลับถึงนครปฐมแล้ว ผมก็ส่งข่าวบอกไปว่า หากพ่อหลวงเข้าไปเอา ว.ที่ปาย เมื่อผ่านโค้ง ปราบเซียน ถ้าทัศนะวิสัยดี ให้ช่วยถ่ายรูป แล้วให้ลูกสาวส่งให้ผมด้วย เพราะวันที่ผมกลับ หมอกลงจัด ถ่ายรูปไม่ได้ แล้วก็เร่งรีบที่จะต้องขึ้นไปรับลูกสาวที่ปางมะผ้าด้วย
รูปที่ 1 ผมอยากให้คุณดูรูป โค้งปราบเซียนว่าเส้นทางมันโหดสุดยอดแค่ไหน แต่
เส้นทางแบบนี้ คนดอยขับรถปิ๊คอัพบรรทุกของ (กระเทียม หัวหอม) หนักเกือบ 3
ตัน (รถเสริมแหนบ) ขับขึ้นๆ ล่องๆ สบายมาก ...รถ 6 ล้อพอไปได้ แต่ 10 ล้อ หมดสิทธิ์ สภาพรถโดยเฉพาะเบรค ไฟสัญาณ แตรรถ...ต้องชัวร์ แล้วต้องใช้ สติ สมาธิ และใจ ครับ ถ้าใจไม่ถึงอย่าลอง มีสิทธิ์ได้จัดงานกินข้าวต้มรอบค่ำ ...
ในรูปนี้ ลองสังเกตให้ดี (ลองขยายออกมาดู) จะมีรถวิ่งอยู่ 6 คัน คันแรกกำลังดิ่งลงดอยเข้าโค้งแรกทางซ้ายมือ อีกสามคันข้ามสะพานน้ำตกมาหน่อย คันหน้าเป็นรถ 6 ล้อ สองคันหลังเป็นรถปิดอัพ คันที่ 5 เห็นเป็นจุดขาวๆ อยู่เยื้องกับรถ 6 ล้อ เลยธารน้ำตกเล็กมา กำลังเข้าโค้งก่อนถึงลำธารน้ำตกสายเล็กที่จะมารวมกับสายใหญ่ คันที่ 6 วิ่งเลยคันที่ 5 ไปประมาณไม่เกิน 300 เมตร
จากเส้นทางนี้สุดสายตาก็จะขนานไปกับธารน้ำตก จะผ่านเหมืองแร่ฟลูออไรด์ (ซึ่งขุดกันมานานจนแร่จะหมดแล้ว - คนแถวนี้ฟันขาวจนน่ากลัว) เลยเหมืองไปอีกไม่ไกลก็จะเข้า อ.ปาย...
จากจุดที่ถ่ายรูปนี้ไปทางซ้าย จะมีสะพานข้ามน้ำตกที่เห็นทางซ้ายมือ ขับรถอ้อมเขาไป ก็จะมาเจอเส้นทางที่โค้งลงมา.... ถ้าไปทางขวามือ ก็จะขึ้นไปบ้านวัดจันทร์ ..ก็ไม่แน่ใจว่าพ่อหลวงถ่ายรูปนี้ขาเข้าปาย หรือขากลับบ้านวัดจันทร์ ....ผมยอมยกนิ้วให้กับคนที่ตัดถนน คิดได้ยังไง ถือว่าสุดยอดคนจริง ๆ
เอ้า มาดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอยกันครับ
ตามที่เล่าให้ฟังตั้งแต่แรกว่า ผมเดินทางจากปาย ขึ้นมาถึงบ้านวัดจันทร์ตอนสายวัน
ที่ 10 กค. หลังจากพักผ่อนพอสบายหายเหนื่อย ตอนบ่ายก็นั่งล้อมวงคุยกัน ผมคุยกับลูกชายพ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) ถึงวิธีการปลูกข้าวของชาวกะเหรี่ยง คุยไปคุยมา ได้โอกาส ผมก็บอกให้เค้าทดลองหยอดเมล็ดน้อยๆ หยอดแบบห่างๆ (ตามที่ผมเคยฟังลุงคิมพูดว่า ปลูกห่างๆ ข้าวจะแตกกอดี แล้วต้นจะใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย) อยากลองของว่า ข้าวชาวดินมันเคยทำได้ (เพราะเคยแนะนำให้สมบัติ เชียงราย ดำนาแบบห่าง ๆ ได้ผลมาแล้ว) แล้วถ้าจะลองปลูกข้าวบนดอยแบบเดียวกัน มันก็น่าจะทำได้ ....ผมบอกเค้าว่า ผมเคยทดลองใช้พันธุ์ข้าวหอมดอยที่ได้จากปาย ปลูกที่นครปฐมแบบบนดินแห้งน้ำได้ผลมาแล้ว ย้ำว่าการปลูกห่างๆ จะทำให้ข้าวแตกกอดี ..เค้าบอก ทำไม่ได้...ผมบอกว่า ทำได้ จากการคุยก็กลายเป็นการเถียงกันว่า.... ทำได้ ...ทำไม่ได้... ...กว่าจะตกลงยอมทำตาม ก็เถียงกันเสียงดังจนชาวกะเหรี่ยงแตกตื่นเกือบจะทั้งหมู่บ้าน การตกลงยอมทำตาม คือ ต้องมีเดิมพัน
ตามปกติการปลูกข้าวของชาว ชาวปกากะญอ จะปลูกบนดอยแบบปลูกบนดินแห้ง
ข้าวได้รับความชื้นจากน้ำค้างยามดึกถึงรุ่งอรุณ และได้ละอองน้ำจากเมฆที่พัดผ่าน
ยอดดอย กับน้ำฝนที่ตกเป็นบางวัน ก็สามารถเจริญงอกงามได้ เจ้า โชเล่ ไปงัดเอา
รูปมาให้ดูว่า เค้าเคยทำกันมาแบบนี้ (ในใจผมก็นึกว่า ...นั่นมันก็เรื่องที่เคยทำมาแต่
ดึกดำบรรพ์ แต่ที่จะแนะนำนี่มันเป็นวิธีที่จะให้ลองทำแบบใหม่)
รูปที่ 2 การปลูกแบบหยอดเมล็ด คนหนึ่งแทงดินให้เป็นรู อีกคนหนึ่งหยอด
เมล็ดตาม เอาเท้าเขี่ยดินกลบ แทงแล้วหยอดเป็นระยะๆ เวลาข้าวงอกก็จะเหมือนดำ
เป็นแถวเป็นแนว
รูปที่ 3 คนหนึ่งใช้เหล็กแบนปลายงอ แบบจอบเล็กๆ ลากให้ดินเป็นร่อง อีก
คนเดินโรยเมล็ดตาม แบบนี้คล้ายหว่าน แต่หยอดด้วยวิธีโรยเมล็ด ...เปลืองเมล็ด
พันธุ์กว่าหยอด เวลาข้าวงอกขึ้นมา ก็คล้ายๆ ดำเป็นแถว แต่ข้าวจะขึ้นเบียดกันแน่น
จะเห็นว่า เมล็ดข้าวที่เค้าเคยหยอดเคยทำกันมา ดูแล้วมันมากเหลือเกิน ....ผมก็ถามว่า ทำไมใช้เมล็ดแยะนัก เค้าบอกว่า อาจจะมี นก หนู แมลงมากัดกิน และหากเกิดฝนตกก่อนข้าวงอก น้ำอาจพัดพาเมล็ดข้าวส่วนหนึ่งไปได้ ....โอ๊ะโอ๋ หัวอกชาวนาบนดอย ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติและศัตรูรอบด้าน เมล็ดพันธุ์ที่โรยหรือหยอดเผื่อนกเผื่อหนูนี่นะ ถ้าทำนามากๆ ปีหนึ่งคงเสียเป็นกระบุง
ดังนั้น การเปลี่ยนทัศนคติจากการที่เคยทำแบบเดิมๆ จึงเป็นเรื่องยากส์มากๆ ก็เหมือนชาวนาพื้นราบทั่วๆ ไปแถบบ้านเรานั่นแหละ ...หลังจากเถียงกันจนเรื่องทำท่าว่าจะไม่จบง่ายๆ . ก็ลงเอยด้วยการที่ต้องมีเดิมพัน ...เดิมพันอะไร ติดตามอ่านต่อครับ....
ขอบอกก่อนเพราะ สมช. อาจสงสัยว่า ผมคุยกับกะเหรี่ยงรู้เรื่องหรือ....รู้เรื่องครับ
เพราะคนที่เป็นเพื่อนกับผม เป็นพ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) มีกิจธุระยุ่งทั้งวัน ไม่ค่อยได้
คุยกันซักเท่าไหร่ ปู่ย่าตายายอยู่บ้านวัดจันทร์มาตั้งแต่แกยังไม่เกิด มีบัตรประชาชน เป็นคนไทย เชื้อสายปกากะญอ (แบบคนไทยเชื้อสายมอญน่ะครับ) พูดภาษาไทยได้รู้เรื่อง ไม่งั้นก็เป็นพ่อหลวงไม่ได้...
ลูกสาว จบ ปวส. จากเชียงใหม่ ทำงาน อบต. ส่วนลูกชาย จบ ป.6 เป็นเพื่อนซี้กับผมมากกว่าพ่อ ..ก็พออ่านออกเขียนหนังสือไทยได้พอสมควร ส่วนสำเนียงพูดก็แปร่งๆ พอฟังกันรู้เรื่อง แต่ผมซีครับแย่หน่อย พูดและฟังภาษากะเหรี่ยง ไม่เป็นสับปะรดเลย ....
เกษตรสัญจร ถือว่าเป็นเรื่องเล่าสนุกๆ จากสิ่งที่พบเห็น ไม่อาจนำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการได้ .....
หลังจากที่มีเดิมพันแล้ว เรื่องก็สงบ .....
..โชเล่ สูจะหยอดข้าววันไหน .....
อี่สาวา (อีกสามวัน ผมมาทันพอดี คงจะวันที่ 13 กค)
.
สูรู้จักต้นบอระเพ็ดมั๊ย ที่เป็นเถามันเป็นตุ่มๆ ขมๆ เลื้อยอยู่บนต้นไม้ เอามาทำยาน่ะ
.
ไม่รู้จะ เต่มีโต้ไอ้เน่ เครือมันโข เม่อามาทายา สูจาอามาทาอารา สูเปไข้หรา (ไม่
รู้จัก แต่มีต้นไอ้นี่ เถา (เครือ) มันขม แม่เอามาทำยา สูจะเอามาทำอะไร สูเป็นไข้
เหรอ) ....
เออน่า ทำอะไรเดี๋ยวรู้เอง สูไปตัดมาให้เฮา ใส่กระบุงนี้มา ....
โอเค ได้เลอ เด๋โชเล่จ่าห้า (โอเค ได้เลย เดี๋ยว โชเล่จัดให้ เจอกะเหรี่ยงไฮโซว่ะ
เฮ้ย มีโอเค มีเดี๋ยวจัดให้ด้วยแน่ะ)
สูไปจำคำพูดนี้จากที่ไหนมา โอเค เดี๋ยวจัดให้ นี่น่ะ ...
ดูลาโคทีวี ทู้คื..จาด้า. (ดูละคร (น้ำเน่า) ทุกคืน จำได้...คำว่า น้ำเน่า ผมเติมให้
เอง ) ....
โชเล่...เดี๋ยวสูไปริมน้ำเหมือง (ธารน้ำ) ไปจับปูใส่กระบุงเล็กนี้มา แล้วก็ถอนต้นว่าน
น้ำมาให้เฮาซักสองกำมือด้วย.ไปมาเร็วๆ เลย ..
จาอาปูมาโต้กีหรา อาโต้ว่าน้ามาโต้กีเก้ท้ออื่อหรา...(จะเอาปูมาต้มกินเหรอ เอาต้น
ว่านน้ำมาต้มกินแก้ท้องอืดเหรอ)....
เออน่า ไปเอามาก็แล้วกัน เดี๋ยวจะทำอะไรให้ดู อ้อเอามะพร้าวแก่ กับมะพร้าวอ่อนมาให้อย่างละ 1 ลูกด้วย...
รูปที่ 4 - บอระเพ็ด
รูปที่ 5 - ปูภูเขา
รูปที่ 6 - ว่านน้ำ
พอได้มาครบ ผมก็บอก อันนี้คนไทยเค้าเรียก บอระเพ็ด (ชื่อกะเหรี่ยงเรียกยากผมจำไม่ได้) ...โบ รา เพ้ .... เออ จำไว้เผื่อมีโอกาสไปกรุงเทพฯ จะได้เรียกถูก...ทีนี้ก็ทุบ ๆๆๆ ให้มันแตก เอาใส่ในกระบุงไว้ก่อน ..แล้วก็เอาว่านน้ำมาทุบตรงหัว แล้วสับเป็นท่อนๆ ....โชเล่ สูมีอะไรที่จะเอาของพวกนี้ใส่มั๊ย เฮาจะเอาของทั้งหมดนี่ลงต้ม
.โชเล่ไม่ตอบ เดินหายไปซักพัก กลับมาพร้อมกับกระทะใบใหญ่เบ้อเริ่ม เด็กเกิดใหม่ลงไปนอนได้สบาย...
.นี่แม่หลัวอาว้าโต้ข้าห้าหมูกี...(นี่แม่หลวงเอาไว้ต้มข้าวให้หมูกิน) ...
เจ๋งมาก สุดยอดเลยเพื่อน...เอ้าช่วยปอกมะพร้าวแล้วผ่าออก เอาแต่น้ำใส่ขัน
พลาสติกไว้ ใส่รวมกันทั้งน้ำมะพร้าวอ่อนและแก่ เนื้อมะพร้าวแก่เอาไปให้แม่หลวงทำแกงนกกวัก เห็นสูดักมาได้หลายตัวไม่ใช่รึ ส่วนเนื้อมะพร้าวอ่อน เฮากินเอง
มาดูวิธีต้มน้ำสมุนไพรขมๆ แบบกะเหรี่ยงกันเลยครับงานนี้ ยกของทั้งหมด ไปที่เตา
ไฟ ที่แม่หลวงใช้ต้มข้าวหมู แต่เราจะต้มน้ำสมุนไพร (ผมจะถ่ายรูป เค้าบอก-No
photo-ที่เตาไฟ กะเหรี่ยงเค้าถือครับ)
เครื่องสมุนไพร (สูตรบ้าๆ บอ ๆ เท่าที่มีบนดอย) ก็มีตั้งแต่ บอระเพ็ด ปูภูเขา ว่านน้ำ ใบและกิ่งสะเดา ใบสาบเสือ ใบไม้อีกหลายอย่าง ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น พริกกะเหรี่ยง เดินเก็บ เดินหาเอารอบๆ ใกล้บ้านนั่นแหละ เป็นสมุนไพรสูตรรวมมิตรโดยแท้ ...บอกเจ้าโชเล่ว่า สูดูแล้วจำเอาไว้ทำเองนะ ...วัสดุและสรรพคุณใช้ทำอะไรบ้างผมก็จดใส่กระดาษให้เจ้าโชเล่ไว้แล้ว ถ้าสงสัยว่าอะไรเป็นอะไร ก็บอกว่าให้ถามน้องสาวคงจะพอรู้ และเวลาเก็บก็เห็นแล้วว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่า สมุนไพรพวกนี้ สมาชิกทุกท่านคงรู้กันแล้วเพราะลุงคิมพูดถึงอยู่ บ๊อย บ่อย ใครไม่สนใจจำ ไม่รู้จักทำใช้เอง ก็ช่วยกันไม่ได้ .....ดูรูปกระทะที่ใช้ต้มสมุนไพร...ผมขออนุญาตเค้าถ่ายรูปโดยเลี่ยงที่จะไม่ให้เห็นเตาไฟ ถ่ายแล้วให้แม่หลวงดูว่า แค่นี้พอจะอนุโลมได้หรือไม่ แม่หลวงพยักหน้า ก็แสดงว่าอนุญาต...
รูปที่ 7 กระทะขนาดนี้ คนไทยเรียกกระทะใบบัว สมัยก่อนเอาไว้หุงข้าวเลี้ยงพระเลี้ยงแขกเวลามีงานทำบุญ
รูปที่ 8 เอาพืชสมุนไพรที่กล่าวข้างต้นใส่ลงไป เอาน้ำใส่กระทะเกือบเต็ม + น้ำ
มะพร้าวลงไปด้วย ต้มตอนเย็นวันที่ 10 กค. ก็นั่งคุยกันไปแล้วเติมฟืนไปด้วย พอพืชบางส่วนเริ่มเหี่ยวมันก็ยุบตัวลง เอาไม้พายเขี่ยกลับที่อยู่ข้างบนลงข้างล่าง เติมน้ำลงไปอีกนิดหน่อย เติมไฟ นั่งคุยนั่งจิบกันต่อ เล่านิทานรอบกองไฟตามเรื่อง อยู่ใกล้เตาไฟมันก็อุ่น ซักสี่ทุ่มก็หยุดเติมฟืน ปล่อยทิ้งเอาไว้ให้ไฟมอดดับไปเอง
รูปที่ 9 เช้าวันที่ 11 น้ำแห้งลงไปแยะเหมือนกัน ก็ได้น้ำสีน้ำตาลปนดำคล้าย
กากน้ำตาลนั่นแหละ น่ากินนะ น้ำที่ได้เป็นน้ำสมุนไพรสูตรรวมมิตร จากพืช
หลายอย่าง มีรสขมจัด + ปูภูเขาต้ม (ได้สารไคตินหรือ ไคโตซาน แต่ก็คงได้นิด
หน่อยเอง) แล้วก็มีสารอาหาร (จิ๊บ + NAA) จากน้ำมะพร้าว . สำหรับว่านน้ำจะได้
สารป้องกันเชื้อรา จากนี้ก็กรองเอาแต่น้ำได้ประมาณ 10 ลิตรกว่าๆ แล้วเติมเหล้า
มังกรพ่นไฟ ที่ต้มเองลงไปลิตรนึง ... โชเล่ ลองเอานิ้วจุ่มน้ำที่ต้มแตะที่ลิ้น ทำหน้า
เหย๋เก ...
เป็นไงเพื่อน ...
มาโข ซ่าๆ (มันขม ซ่าๆ ) พูดพร้อมกับ ....บ้วนน้ำลายทิ้ง
...ผมคงพูดอธิบายอะไรมากไม่ได้ นอกจากจะทำให้เค้าดู .ซึ่งจากการเห็นวิธีการ
เค้าจะจำได้ง่ายกว่า ..เนื่องด้วยเวลามันกระชั้นชิด
.อย่ากระนั้นเลย เอาข้าวมาแช๋
ซะเช้านี้เลยเนาะ
แช่ตอนเช้า ตอนเย็นเอาขึ้นบ่ม แช่เมล็ดประมาณ 12 ชั่วโมง บ่มเมล็ดอีก 36
ชั่วโมงน่าจะพอเนาะ .....บอกเพื่อน.....สูดูแล้วก็จำไว้นะ แต่เฮาจะจดลงสมุดให้สู
ไว้อ่านด้วย
รูปที่ 10 --- แช่ข้าวเช้าวันที่ 11 กค.
ขั้นแรก ผมเอาน้ำสมุนไพรขมๆ ที่ต้มเอาไว้ เทใส่โอ่ง ตามสูตรลุงต้องผสมน้ำส้ม
สายชู + กลูโคส แต่อยู่บนดอยน้ำส้มสายชูพอมี แต่กลูโคสคงหาไม่ได้ ไปถามหา
กลูโคลินที่ร้านขายยาก็ไม่มี เล่นไม่ยาก กระทิงแดง ลิโพ เอ็ม150 มีขายแน่ ๆ บอก
ให้ไปซื้อจากร้านค้ามาเลย (กระทิงแดงมีสารอะไรผสมบ้างผมไม่รู้ รู้แต่ว่ามีฟลุค
โต๊ส หรือกลูโคสผสมแน่ๆ)
...เทและผสมน้ำให้ได้ค่อนโอ่ง (โอ่งจุประมาณ 50 ลิตร) ใส่เอ็ม150 ลงไป 1 ขวด คน ๆๆๆๆ เอาข้าวที่จะหยอด 2 กระบุง เทโครมลงไปกด ๆๆๆๆ ให้ข้าวจมน้ำ เอากระสอบปุ๋ยปิด เอาหินทับบน เจ้าโชเล่เห็นแล้ว งง ทำตาปริบ ๆ สงสัยว่าเพื่อนกูทำอะไรของมันวะ แต่ไม่ถาม ไม่พูด มองดูเฉย ๆ
ขั้นที่สอง ข้าวที่แช่ไว้ตั้งแต่เช้าถึงเย็นประมาณ 12 ชม. ก็บอกให้ตักเอาขึ้นมาใส่
กระบุงแล้วเอามาเทบนกระสอบป่าน ทำให้ดูเป็นตัวอย่างเลย ง่ายดี .....
ทำอย่างนี้นะเพื่อน..เกลี่ยแผ่บาง ๆ ให้หน้าเสมอกัน ..เอากระสอบอีกใบ จุ่มน้ำขมในโอ่งผสมเอ็ม 150 เอาขึ้นมาคลุมไปบนข้าว แล้วเอากระสอบแห้ง คลุมทับอีกสอง
สามชั้น ทำแบบนี้นะ ปล่อยทิ้งไว้ถึงเช้าวันที่ 13 เลย ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน..
ห้ามสูมาแอบเปิดดูนะ เดี๋ยวแม่โพสพจะโกรธ....ผมบอก เพื่อนหยักหน้า ถ้าไม่
บอกอย่างนี้มีหวังเจ้าโชเล่ต้องมาแอบเปิดดูบ่อยๆ แน่ๆ
อากาศเย็น คืนกะวัน 36 ชั่วโมงข้าวจะงอกมั๊ยหว่า ไม่งอกก็พอหยอดได้น่า อย่าง
น้อยก็แช่น้ำขม + น้ำต้มปู + น้ำมะพร้าว ผสมกลูโคสจาก เอ็ม แล้ว เค้าเคยหยอด
แบบไม่ต้องแช่ข้าวก่อนยังหยอดได้นี่หว่า
หลังจากแช่ข้าวเสร็จ ผมก็ชวนเพื่อนออกไปเดินดูพื้นที่ ๆจะหยอดข้าว ....เดินไกล
เหมือนกันแฮะ มองด้วยสายตา เป็นที่ราบเอียงนิดๆ กะประมาณไม่เกิน 3-4 ไร่ ถ้า
ถางรอบบริเวณที่มีหญ้าขึ้นออกหมดน่าจะได้ถึง 56 ไร่ก็บอกเค้าไว้ว่า ตรงโน้นน่า
จะถางหญ้าออกให้หมด ที่จะได้กว้างขึ้น ที่ก็จะโปร่งขึ้นด้วย เค้าไม่พูด แต่พยักหน้ารับ
โชเล่ ตรงนี้ สูเคยใช้ข้าวหยอดมากแค่ไหน....โชเล่ไม่พูดแต่ยกมือขึ้นมาทำให้ดูว่า
6 นิ้ว แล้วชี้มือไปที่กระบุง....แสดงว่า ใช้ประมาณ 6 กระบุง เท่ากับไร่ละ เกือบ 2
กระบุง -กระบุงข้าวเปลือกมาตรฐาน 1 ถัง 20 ลิตร ประมาณ 10 กิโลกรัมก็เท่า
กับใช้เมล็ดข้าว ไร่ละ 20 กก. ทำไมผมไม่ถามเค้าว่า ที่ตรงนี้ได้ข้าวมากแค่ไหน ไม่
จำเป็นครับ เพราะรู้กันอยู่ว่า ผลผลิตข้าวดอย อย่างมากที่สุดก็ไม่น่าจะเกิน 35
40 ถัง จำที่โชเล่บอกได้ไหมว่า หยอดข้าวเป็นกำมือยังได้ข้าวไม่มาก ถ้าหยอดตาม
ที่ผมแนะนำ จะได้ข้าวซักแค่ไหน มีหวังไม่ได้กินข้าว ....จึงต้องมีการเดิมพันกัน
โชเล่ น้ำไหลจากทางไหนไปทางไหน ...ชี้มือจากซ้ายไปขวา..... ลมพัดจากทาง
ไหนไปทางไหน ...ชี้มืออีก จากหลังไปหน้า ...ฝนล่ะ ตกจากทางไหนไปทาง
ไหน ...ชี้มือจากขวาไปซ้าย ทิศเหนือทางไหน ชี้มือจากขวาไปซ้าย นาแปลงนี้
ขวางตะวัน ถูกโฉลกดีแท้ ... ...ชาวกะเหรี่ยง อยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด ย่อมรู้จัก
เรื่องของธรรมชาติเป็นอย่างดี
โชเล่ สูเป็นอะไร ทำไมไม่พูดไม่จาได้แต่ชี้มือ ....
ป่าแต่ ..โดเม่โต่ป่า ที่เฮา ทาโล๊ะก่าสู .... (ปากแตก โดนแม่ตบปาก ที่ทะเลาะกับ
ผมเรื่องปลูกข้าว)....ผมบอกว่า ดี โสน้าหน้า
โอ๊ย ขำกลิ้ง สะใจว่ะ ....โช่เล่ทำตา
ประหลับประเหลือก...ผมปลอบด้วยการเอามือตบไหล่เบา ๆ ...
พรุ่งนี้ จะหยอดข้าวตามตำราวันดีคืนดีสำหรับปลูกข้าวของกะเหรี่ยง ...13 ก.ค.วัน
ศุกร์ แรม 2 ค่ำ...ไม่เหมือนตำราเลือกวันปลูกข้าวให้ได้รวงแยะๆ ของไทยแฮะ...
รูปที่ 11 ขั้นที่สาม ผลจากการแช่ 12 ชม. บ่ม 36 ชม. ไม่น่าเชื่อว่าข้าวจะงอก วันที่13 ก.ค.55 วันหยอดเมล็ดข้าว....
กำลังหลับสบาย เสียงคนแหกปากลั่นบ้านตะเช้ามืด โฮ๊ย มันอะไรกันวะนี่ ยังไม่ทันสว่างเลย หนาวอีกด้วย ... ไอ้เพื่อนซี้มันปลุก เรียกให้ทุกคนในบ้านพร้อมกับมาลากผมจากที่นอนให้มาดู ข้าวมันงอกรากแพลมออกมา ....โอ๊ย กูจะบ้า ไม่เคยเห็นข้าวมันออกรากรึไง ...
เค้าบอกว่า วิธีการของเค้า ตามรูปที่ 23 เตรียมแปลง คือ ถางหญ้าเสร็จ คนหนึ่งเดินเจาะดินให้เป็นหลุม อีกคนเดินตาม เอาข้าวเปลือกลงหยอดเลย หรือไม่ก็อีกคนลากให้เป็นร่อง อีกคนเดินโรยตาม อาจโรยขี้หมูหรือขี้วัวแห้งตามลงไปด้วย ปล่อยให้มันออกงอกเอง แต่วิธีที่ผมแนะนำนี้ไม่เคยทำ (ก็ต้องไม่เคยทำอยู่แล้ว) .. กูว่าแล้ว หยอดข้าวแห้งๆ มิน่า นก หนู แมลงถึงได้มาแอบกิน เลยต้องหยอด หรือโรยกันเป็นกำมือ ...
จากข้าวที่เอาลงแช่สองกระบุง เป็นข้าวงอกแล้วสองกระบุงกว่า โชเล่ มันเกณฑ์ทุก
คนในบ้านไม่พอ แถมไปเรียกเพื่อนๆ และญาติๆ มาช่วยกันอีก สั่งแม่หลวงให้หุงข้าว
แยะๆ เพื่อเลี้ยงคนมาช่วยหยอดข้าว เสียงเจี๊ยวจ๊าวไปหมด มันกลัวว่า รากข้าวที่งอก
จะเหี่ยวหยอดไม่ทัน ...
.เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปตอนที่กะเหรี่ยงหยอดข้าว กล้องแบตหมด กล้องจากโทรศัพท์ก็ห่วยแตก ถ่ายแล้วมัว อาจเป็นเพราะหมอกยามเช้าที่ตาคนมองไม่เห็น แต่เลนส์กล้องมันเห็นก็ได้ เพราะถ่ายออกมามัน ฝ้า
ขั้นที่สี่ ผมได้แต่สั่งการ บอกให้หยอดห่างๆ หยอดขุม (หลุม) ละ 25 เมล็ด
ห้ามมากกว่านี้ ทำมือให้ทุกคนดูว่า หยอดห่างแค่ศอกเดียว เพื่อนมันส่ายหัว พูด
ทำนองว่า ขนาดปลูกโรยเป็นแถว หรือหยอดเป็นกำมือ ปีหนึ่งยังได้ข้าวไม่มาก ปลูก
ห่างแบบนี้จะได้กินอะไร ก็เลยต้องมีเดิมพันตามที่บอกข้างต้น เป็นพันธะสัญญา
(Gentleman agreemants)
โดยเดิมพันกันว่า ปลูกแบบนี้แล้ว ถ้าได้ข้าวน้อยกว่าที่เขาเคยได้ในแต่ละปี ผมยินดีรับซื้อและจะให้ราคาเท่าที่เขาเคยขายได้ในฤดูที่ผ่านมา แต่เขาจะต้องดูแลข้าวแปลงนี้ให้ดีที่สุด และถ้าได้ผลผลิตมากกว่า หรือเท่ากับปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นผลได้เท่าที่เคยได้ แต่เค้าจะประหยัดโดยใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลงกว่าครึ่งของที่เคยใช้ .....
ผมบอกให้ปลูกห่างๆ พวกก็ปลูกห่างจริงซะด้วย ทำมือให้ดูแล้วว่าแค่ศอกเดียว พวกหยอดห่างระหว่างต้นเกือบแขน ประมาณสองฟุต ศอกคนดอยโคตรยาวจริงๆ เห็นเพื่อนปลูกห่างแบบนี้ ผมก็ใจแป้วเหมือนกัน มันห่างจริงๆ ด้วย แล้วอีแบบนี้ มันจะแตกกอดีมั๊ยครับลุง งานนี้เกิดแตกกอไม่ดี มีหวังเสียเงินแน่ละเว๊ย ตู ..เสียเงินพอว่า แต่อายสาวกะเหรี่ยงนี่ซิ ....มันมองหน้าใครไม่ติดเลยแหละ คงต้องทำใจละงานนี้
รูปที่ 12 - ข้าวที่หยอดบนพื้นที่ราบบนดอย เมื่อวันที่ 13 กค.55 รูปนี้ส่งมาภาย
หลังที่ผมกลับนครปฐมแล้ว เพื่อนมันปลูกซะห่างน่าดู แทนที่จะห่างแค่ศอก บางกอ
ดันปลูกห่างเป็นแขน ก็ต้องลุ้นดูกันต่อไปว่า ข้าวดอยมันจะแตกกอดีแค่ไหน ก่อน
วันกลับ ผมบอกฝากน้องสาวเจ้าโชเล่ ถ้าวันไหนฟ้าโปร่ง อากาศดีให้ช่วยถ่ายรูปส่ง
เมล์ มาให้ผมเป็นระยะๆ จนถึงวันเกี่ยวด้วย ....
ดูจากในรูปผมถามไปว่า พี่ชายเค้าทำอะไร...คำตอบ คือ ที่ผมบอกให้เค้าดูแลนา
แปลงนี้ให้ดีที่สุด เค้าจึงหมั่นถางหญ้า และพรวนดินในแปลงนา แล้วจะถอนข้าวจาก
ขุม(กอ) ที่ขึ้นมากๆ เอามาดำลงระหว่างกอที่มันห่าง ให้ห่างประมาณ 1 ศอกแขน
แล้วเอาขี้หมู + ขี้วัว + กากถั่ว ที่หมักเอาไว้มาโรยใส่เป็นปุ๋ยด้วย ..
.ผมทึ่งกับคำว่า ถางหญ้า และพรวนดินในแปลงนา มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย ส่วนคำว่า ที่ผมให้เค้าดูแลนาแปลงนี้ให้ดีที่สุด น้องสาวโชเล่บอกว่า จากการที่เค้าคุยกันเวลากินข้าว ตอนแรกเค้าคิดว่าผมกลัวจะต้องเสียเงินซื้อข้าวของเค้าตามสัญญา แต่ตอนนี้เค้ารู้และเข้าใจแล้วว่า ถ้าเค้ายิ่งดูแลรักษานาแปลงนี้ได้ดีมากเท่าไหร่ ผลผลิตที่ได้จะเป็นของเค้ามากเท่านั้น ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเค้าเลย ...
ไม่ต้องสงสัยครับว่า อยู่บนดอยมีเน็ตใช้ด้วยหรือ มีครับท่านมี Wi-Fi บริการให้ครับ
เพราะที่บ้านวัดจันทร์มีโครงการหลวงสองแห่ง มีอำเภอ มี อบต. มีหน่วย
ราชการ ....เยอะแยะ เรื่องระบบการสื่อสารไม่ต้องห่วง ต้องสุดยอดอยู่แล้ว มือถือ
ใช้ยิงผ่านดาวเทียม อยู่บนยอดดอยไม่มีสิ่งกีดขวาง ดีกว่าเน็ตบ้านผมซะอีก เดี๋ยว
หลุดๆ ความเร็วจาก 7 เม็ก เหลือไม่ถึง 3 เม็ก แต่เก็บเงินในราคา 7 เม็ก ตอนนี้ก็
อืดอาดช้าเป็นเรือบรรทุกเกลือ ฮ่วย
หลังหยอดข้าวเสร็จ เพื่อนบอกว่า กลัววัวคนข้างบ้านจะมาย่ำรบกวน จะพูดไม่ออก
เพราะเป็นญาติกัน วันต่อมาผมเลยชวนเค้าเอารถอีต๊อกไปซื้อมุ้งเขียวมาล้อมเป็นรั้ว
รอบนาที่เค้าปลูกเพื่อกันวัว เข้ามากินหญ้าและกินข้าว มีขายด้วยหรือ มีครับ มีแต่มุ้ง
เขียว ไม่มีซาแรน ....ผมลงทุนขนาดนี้เลยหรือ
....ดูก่อน ภารดา ผมไปกินไปนอนอยู่ที่นั่น กินอาหารวันละ 3 มื้อ มีที่หลับนอนแสนสุขสบาย ฟรีทุกอย่าง ให้เงินเค้าก็ไม่เอา ..เค้าบอกว่า ผมช่วยลูกสาว/น้องสาวเค้า (จบ ปวส.จากเชียงใหม่) ให้เข้าทำงาน อบต.ที่ปาย มีที่ให้ลูกเค้าพักที่ปายฟรี ๆ อยู่เป็นปี เมื่อตอนโน้น ผมยังไม่เคยคิดอะไรจากเค้าเลย
เมื่อวัดจันทร์ตั้งเป็นอำเภอก็ต้องมี อบต. เค้าก็เลยขอย้ายมาทำงานที่ อบต.บ้านวัดจันทร์ ซึ่งผมไม่ได้ออกแรงอะไรเลย พอดีเค้ามีประกาศรับสมัครคน ผมแค่บอกฝากคนรู้จักกันให้ช่วยรับเข้าทำงานด้วยแค่นั้นอง แต่เค้าถือเป็นบุญคุณอันยิ่งใหญ่ ตอบแทนกันไม่หมด เค้าบอกว่า ผมจะไปอยู่กับเค้าเป็นเดือนเป็นปีก็ได้ ถ้าผมอยากจะอยู่ ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไงเหมือนกัน เพราะไม่เคยคิดอะไรเลย และถ้าคิดค่า
ที่พัก ค่าอาหารแล้ว ราคาเกินกว่าราคามุ้งเขียว 3 ม้วน แถมยังได้น้ำใจ ได้ความ
ประทับใจกลับมาด้วยความเกรงใจจากเพื่อนกะเหรี่ยงซะอีกด้วย นี่คือสังคมแห่งการ
แบ่งปัน
จากการที่ได้เคยคุยกัน เค้าบอกว่า ถ้าเค้าปลูกตามวิธีที่ผมแนะนำ (ความจริงต้องเป็นแนวของลุงคิม) แม้จะได้ผลผลิตเท่ากับทุกปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าดีมากแล้ว เพราะเค้าจะใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลงกว่าครึ่งของที่เคยใช้ (นี่เป็นความคิดของกะเหรี่ยงนะครับ)..เช่น เคยใช้ไร่ละสองกระบุง ก็จะใช้เมล็ดพันธุ์เหลือแค่ 1 กระบุงเดียว และถ้าทำแบบนี้แล้วมันดี เค้าจะแนะนำให้ญาติและคนในชุมชนลองทำตาม ผมบอกว่า ผมจะคุยกับพ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) บอกให้ โชเล่ เป็นแกนนำ ....เพื่อนผมยิ้มกว้างเห็นฟันดำเลยแหละ (กะเหรี่ยงชอบกินหมากครับ) .
...ผมบอกว่า ถ้าทำคราวหน้า จะให้ทดลองหยอดแค่ไร่ละครึ่งกระบุง ....คราวนี้เค้าไม่ยักเถียง คงไม่ใช่กลัวจะถูกแม่ตบปาก แต่เค้าบอกว่า ...จะทดลองทำตามที่ผมแนะนำ โดยพยายามหยอดหลุมละไม่เกิน 3 เมล็ด ...ผมบอกว่า สูต้องคัดเมล็ดข้าวก่อนปลูก ในเวลาว่างที่นั่งคุยกัน ก็ให้ทุกคนช่วยกันคัดเอาแต่เมล็ดที่ดูว่ามันดีเก็บเอาไว้ ...ผมเลือกตัวอย่างให้เค้าดู เค้าพยักหน้ารับ แสดงว่าเข้าใจ
รูปที่ 13- เมื่อวันที่ 26 สค.55 เวลาผ่านไป 47 วัน น้องสาวเพื่อนที่บ้านวัดจันทร์
ส่งรูปมาให้ดูการเจริญเติบโตของข้าวที่หยอด ซึ่งตอนแรกดูว่าหยอดห่าง แต่ตอนนี้
ข้าวขึ้นเบียดชิดกัน ต้นข้าวระหว่างกอจะดูโปร่ง เพื่อนบอกมาว่า จากการที่หยอดห่างตอนแรก มันห่างก็จริง แต่พอข้าวเริ่มแตกกอ เค้าก็ถอนจากกอที่มีต้นมากเกินไปเอามาดำแซมระหว่างกลาง ตรงที่หยอดห่างมากในตอนแรก เมื่อแตกกออีกครั้งข้าวมันจะดูไม่ห่างเกินไป
รูปที่ 14 วันที่ 1 กันยา 55 ข้าวอายุ 51 วัน ต้นมันแตกกอขึ้นแน่นแบบนี้
รูปที่ 15 วันที่ 1 กย.55 จะเห็นว่าข้าวที่ปลูกห่างในตอนแรก เวลานี้แตกกอขึ้น
แน่น เพื่อนฝากบอกมาว่า แตกกอดีแบบนี้ คงจะได้ข้าวดีกว่าทุกปี ข้าวแห้งน้ำ มัน
งามได้ยังไงครับลุง ปุ๋ยแทบจะไม่ได้ใส่ น้ำก็ไม่มี ...หรือใครว่า ข้าวปลูกบนดิน
แห้ง แตกกอไม่ได้ ก็ตามรูปข้างขึ้นบนดินแห้งแตกกอได้ขนาดนี้ มีใครว่าไม่ดี
(16)
(17)
รูปที่ 16 17 วันที่ 8 กย.55 เวลาผ่านมา 58 วัน ข้าวที่หยอดห่างๆ แตกกอแน่น
แบบนี้ ข้าวไร่ ข้าวดอยนะครับ เพื่อนบอกมาว่า ข้าวขึ้นเป็นกอดีมาก น่าจะได้ข้าวดี
กว่าที่เคยทำมาทุกปี แต่ละวันจะมีเพื่อนบ้านมาดู... โปรดสังเกตว่า หญ้า แทบจะไม่มี ความจริงมันมีครับ แต่เค้าบอกผมว่า ใช้ยาฆ่าหญ้าตรามือ คือ ใช้มือช่วยกันถอน และใช้จอบถาก เป็นไปตามพันธะสัญญาว่า สูจะต้องดูแลข้าวแปลงนี้ให้ดีที่สุด
ความดีทั้งหมดขอยกให้ลุงคิม ที่ให้ผมได้มีโอกาสไปแนะนำสิ่งดีๆ ให้ชาวดอยได้ทำตามวิธีนี้ คงจะเป็นแนวทางให้พวกเขานำวิธีไปทำต่อไปในวันข้างหน้า ไปไม่เสียเที่ยวจริงๆ และไม่เสียข้าวสุกที่เขาให้ผมกินด้วย
(18 )
(19)
รูปที่ 18 19 ผมบอกน้องสาวโชเล่ ว่า ขอให้ถ่ายใกล้ๆ ให้เห็นกอข้าวหน่อย วันที่
8 กันยา 55 ก็ได้รูปออกมาตามที่เห็น ข้าวดอยบนดินแห้ง ดูการแตกกอซีครับ ผมว่ามันดีพอสมควรทีเดียว ....ถ้าได้ปุ๋ยลุงคิมครบสูตรนะ เจ้าโชเล่เอ๊ย ข้าวแปลงนี้ของเพื่อนรวงจะโค้งถึงดินแน่ๆ
รูปที่ 20 มี ตชด.มาช่วยแม่หลวง (เมียผู้ใหญ่บ้าน) ใส่ปุ๋ยข้าวโพด
รูปที่ 21 - วันที่ 13 กันยา 55 ตชด. มาอีก เพราะมีข่าวกรองว่า มีคนแปลกหน้า
เข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน ก็คงจะเป็นผม....(ทุกหมู่เหล่าย่อมมี.... คนรักเท่าผืนหนัง คน
ชังเท่าผืนเสื่อ ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ครับ) ตชด. เค้าก็มาตรวจตราตามระเบียบ แต่มาช้าไป ต๋อย ผมกลับมาซะก่อน ...พ่อหลวงชี้แจงว่าอะไรเป็นอะไร เอารูปให้ดู ถ้ายังมีอะไรสงสัย ให้ไปถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ปาย
รูปที่ 22 - ผมเอาพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์เดียวกับที่เคยให้ลุงคิม เอาไปฝากแม่หลวงเมีย
ผู้ใหญ่บ้าน เค้าเห็นสีม่วงดำมันแปลกดี ก็เอาปลูก ปลูกมากน้อยแค่ไหนผมไม่ได้
ถาม แต่ลูกสาวคนส่งรูปบอกว่า แม่กำลังนั่งนับเงินจากการขายข้าวโพดต้ม .....
จากข้าวโพด 20 ฝัก ที่ผมเอาไปฝาก ปลูกแล้วต้มขายได้เงิน หมื่นกว่า โอ๊ย ผมฟังแล้วตกใจ อะไรจะปานนั้น เค้าบอกว่าต้มใส่ถุงละ 5-6 ฝัก 10 บาทไปขายหน้าตลาดอำเภอ ปรากฏว่ากินกินอร่อยเลย มีแม่ค้ามาเหมาไม่ต้องไปขายเอง ให้ถุงละ 8 บาท ผมลองนึกดูข้าวโพด 20 ฝัก ปลูกแล้วได้ผลถึง 6,000 ฝักเชียวหรือ ฝักนึงมันมีกี่เมล็ดกันหว่า ไม่เคยนับซักที
รูปที่ 23- ยังมีเหลือเก็บแขวนเอาไว้ทำพันธุ์อีกไม่น้อยเลย ผมบอกไปว่า ถ้าครั้งต่อ
ไปแม่หลวงปลูกทีเดียวหมดที่แขวนนี่ สงสัยต้องใช้เนื้อที่ เต็มเขาทั้งลูกละมั๊งเนี่ย ...
รูปที่ 24- เนื่องจากน้ำพริกกะเหรี่ยงมีแต่เค็มกับเผ็ด (โคตรๆ) ผมเลยเอามะนาวกิ่ง
ตอนขึ้นไปฝาก ให้ปลูกพร้อมพริกขี้หนูสวน (เพาะขึ้นหรือยังไม่รู้) เอาไว้เผื่อผมมา
คราวหน้าจะได้มีน้ำพริกใส่มะนาวด้วย ปลูกได้เกือบสองเดือนนิดๆ ลูกที่ติดกิ่งไป มัน
ไม่ร่วง เค้าเลยถ่ายรูปมาให้ดู แค่สองเดือนลูกโตแค่นี้เชียวรึ จะเป็นเพราะผมเอากิ่ง
แช่ ยูเรก้า ก่อนเอาขึ้นไปหรือเปล่าครับลุง
รูปที่ 25 ของฝากจากเพื่อนชาวดินก่อนกลับลงดอย ที่แอบทำแล้วแอบฝากน้องสาว
ไว้ให้หนุ่มดอย เมล็ดข้าวกล้องงอก ผมบอกน้องสาวเค้าว่า ถ้าผมกลับถึงปายแล้วจะ
ติดต่อกลับมา แล้วจึงให้เอาถุงนี้มาเปิดต่อหน้าทุกคนในบ้านให้ดูว่าเป็นอะไร
เมื่อผมกลับถึงปายก็ติดต่อกลับ น้องสาวเจ้าโชเล่ บอกว่า หลังจากที่เค้าเอาไถ้ (ถุง
เล็กๆ) ที่ผมฝากเอาไว้ มาเทเปิดต่อหน้าทุกคนในบ้าน ทุกคนก็งงว่า ทำไมข้าวกล้อง
มันงอกได้ เค้าก็ถาม ผมก็บอกว่า เป็นข้าวกล้องที่หุงกินกันนั่นแหละ ผมเอามาเพาะ
ให้มันงอก จะได้พันธุ์ข้าวที่ดีต่อไป เพราะได้คัดเลือกเอาแต่เมล็ดที่ดีที่สุดเอามาเพาะ
เจ้าโชเล่ถามว่า ...ตอนที่อยู่ทำไมสูไม่บอก แล้วจะให้เค้าทำยังไง.... ก็บอกไปว่า
เอาที่งอกนี่ไปหยอดปลูกได้เลย เค้ารู้อยู่แล้วว่าข้าวที่หุงกินเป็นข้าวพันธุ์อะไร ก็คงจะได้ต้นข้าวมากพอสมควร แตกกอละ 10 ต้น ก็จะได้ข้าวกอละ 10 รวง...ถ้าอยากจะปลูกวิธีนี้ เมื่อถึงเวลาปลูกข้าวคราวหน้า จะบอกวิธีให้ เพราะถ้าขืนบอกไป ก็ต้องนั่งเถียงทะเลาะกันเสียงดังให้คนแตกตื่นอีก แล้วสูก็จาโดเม่โต่ป่าแต่ 555 (แล้วสูก็จะโดนแม่ตบปากแตกอีก 555)
รูปที่ 26 - กะเหรี่ยงที่อยู่ตีนดอย มีพื้นที่น้ำเข้าถึง เค้าทำนาดำ แต่ชาวดินทำนา
หว่าน ๆๆ ๆๆ วิธีการลงแขกแบบนี้ ชาวนาพื้นราบไม่มีอีกแล้ว ทุกอย่างใช้เงินทั้งนั้น
ขนาดทำงานไม่เป็น ยังขอค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300
รูปที่ 27 เคยเห็นดอกว่านน้ำมั๊ยครับ ไปเดินท่อมๆ ริมน้ำเดี๋ยวก็เห็น ผมบอกเจ้าโช
เล่..เขียนใส่กระดาษเอาไว้ให้ อ่านเอาเอง...ดอกว่านน้ำ + กระเทียม ตำแหลก +
แอลกอฮอล์ (เหล้า) + กากเหล้าที่ต้มแล้ว + น้ำขมๆ หมักเอาไว้ เวลาจะใช้ ตักมา
1-2 ถ้วยกาแฟ ผสมน้ำ 1 ถัง (เป้) ใช้ฉีดพ่นกำจัดเชื้อราดีนักแลฯ (ต้องผสมอะไร
เพิ่มอีกหรือเปล่าครับลุง)
งานนี้ ยังไม่จบ เพราะข้าวยังไม่ได้เกี่ยว รอรับรายงานผลอยู่ ฮาโหล ...ว.2 ว.8 ..ที่นี่ ..1188 สายด่วนสี่ตัว ฝากคำถามฝากข้อความก่อนเริ่มรายการ...ถ้าฝากขณะทำรายการ โดนเต็มๆ .......
ผมก็อยากรู้ผลครับว่า นาหยอดตามวิธีใหม่บนดอยแปลงนี้ จะได้ผลแค่ไหน จาก
เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เคยใช้ข้าว 6 กระบุง ก็เหลือใช้ข้าวแค่ 2 กระบุง แช่ข้าวแล้ว
ได้ 2 กระบุงกว่า ข้าวโดนน้ำมันคงพองออก หยอดหลุมละ 34 เมล็ด .....
งานนี้ ถ้าไม่มีลุงคิม ผมคงเป็นคนไร้ค่าได้แต่นั่งกินนอนกินในหมู่กะเหรี่ยง เพียงแค่คิดว่าเคยมีบุญคุณฝากน้องให้ได้มีงานทำจะทำยังไงก็ได้ .... แต่งานนี้มันมากเกินกว่านั้น เกินกว่าคำพูด เป็นสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างก็จะจดจำกันไว้ไม่รู้ลืม
ยังมีต่อครับ...........>มีข่าวมาว่า ข้าวเริ่มท้อง ออกรวงเร็วกว่ากำหนด...ชะอุ๊ย ยัง
กะท้องก่อนแต่งแน่ะ
ขอส่งก่อนที่เน๊ตจะหลุด แถมช้ามากอีกต่างหาก
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 11/02/2017 11:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 29 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 06/10/2012 9:04 pm ชื่อกระทู้: ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 2 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร 2 ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 1
บทที่ 1 ตอนที่ 2 - 24 กย. 55 ข้าว 74 วัน
ผมได้รับรูปกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอยมาอีกชุดนึง เรามาดูกันครับ
รูปที่ 28 29 วันที่ 24 กย.55 ข้าวอายุ 74 วัน ระยะห่างระหว่างกอประมาณ 1
ศอกแขน ปลูกห่าง บนดินแห้ง ต้นข้าวแตกกอดีพอสมควร หญ้าแทบจะไม่มี ...
เพราะเค้ารักษาสัญญาว่าจะดูแลข้าวแปลงนี้ให้ดีที่สุด....แต่รู้แล้วว่า การที่เค้าดูแลดี
ที่สุด เค้าจะได้ผลผลิตข้าวดีที่สุดด้วย .....ลองทายกันดูซีครับว่า ข้าวดอยแปลงนี้
จะได้ผลผลิตไร่ละ ซักเท่าไหร่
รูปที่ 30 32....คันนากว้าง ใหญ่ ดีแท้ มีดอกผักกาดพื้นเมืองขึ้นแซมด้วย ดอกสี
เหลืองในรูป 32
รูปที่ 33. ถ่ายจากมุมสูงให้เห็นการแตกกอของต้นข้าวให้ดูด้วย แล้วใครบอกว่า ข้าว
ที่ปลูกบนดินแห้ง เพียงแค่ได้รับน้ำค้างและละอองน้ำจากเมฆบนยอดดอย ดินก็แค่
ชื้น ๆ ปุ๋ยก็แค่แค่จากชี้วัว ขี้หมู เศษซากพืช ฉีดด้วยน้ำต้มขม ๆ ที่เหลือจากใช้แฃ่ข้าว
ข้าว ฉีดพ่นทุก 7 วัน ข้าวจะไม่แตกกอ ข้าวจะไม่งาม
รูปที่ 34 35 เห็นข้าวงามแบบนี้ เจ้าโชเล่คงนอนวาดฝันไว้แล้ว.....ต่อไปเค้าคง
ทำแบบนี้ แต่คนอื่นจะทำตามหรือไม่ ผมตอบไม่ได้ครับ
รูปที่ 32...มีข้อความในเมล์จากบ้านวัดจันทร์ว่า.... พ่อ(หมายถึงผม)เคยบอกว่า
อยากเห็นไผ่ยักษ์ที่ใหญ่มาก ๆ วันนี้หนู ไปติดต่องานที่แม่ละอูบ กับ ที่แจ่มหลวง มี
โอกาสได้ไปเห็น เลยถ่ายรูปส่งมาให้พ่อดู แม่บอกว่า แต่ก่อนทุกต้นมันใหญ่เท่านี้
ปัจจุบันมันเล็กลงมาก ต้นขนาดนี้ นาน ๆ จะมีสักครั้ง ต้นนี้เขาขออนุรักษ์เอาไว้ให้ลูก
หลานได้ดู ห้ามตัด ...ด้วยความเคารพ และด้วยความคิดถึงมาก ๆ ทุกคนบ่นคิด
ถึง..โดยเฉพาะพี่โชเล่.ให้ถามว่า เมื่อใดพ่อจะขึ้นมาอีก อยากให้พ่อมาเกี่ยวข้าวใน
แปลงนี้เป็นคนแรก..จากลูก ชาชา(ชลธิชา)...
เนื่องจากชุดนี้มีรูปส่งมาแค่นี้ จึงขอพักแค่นี้ก่อน ยังมีต่อครับ......
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 17/09/2016 12:59 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 06/10/2012 9:33 pm ชื่อกระทู้: .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 3 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2
.....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 3
วันที่ข้าวออกรวงก่อนกำหนด วันแห่งความดีใจของเพื่อนกะเหรี่ยง
ผมได้รับรูปกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอยมาเป็นชุดที่ 3 เรามาดูกันครับ
รูปที่ 33 ได้รับข่าวมาว่า เจ้าโชเล่ เห็นข้าวที่ปลูกมันงอกงามดี ตอนนี้บุกเบิกที่รก
ร้าง ขยายเป็นที่ทำนา(ไม่ได้บุกรุกทำลายป่านะครับ เป็นที่ ที่ปู่ย่าตายายเค้าจับจอง
เอาไว้) แล้วก็ปลูกข้าวตามวิธีที่ผมแนะนำ... ดูจากรูปแล้ว คราวนี้ปลูกถี่ไปหน่อยรึ
เปล่า เค้าจะโชว์ต้นข้าว หรือโชว์ที่นากันหว่า นึกไม่ออกว่าจุดนี้อยู่ตรงไหน ...เห็น
บอกว่าจะทยอยปลูกไปเรื่อย ๆ ......ผมถามไปว่า แช่ข้าวไว้มากมั๊ย เค้าบอกมา
ว่า... แช่ทีละน้อย หยอดไปเรื่อย ๆ ก็เลยบอกไปว่า ให้หยุดแค่นี้ก่อน แล้วจะเข้าปา
ยวันไหนให้บอก จะให้ไปเอาข้าวหอมนิลที่ปาย มาลองปลูกดูบ้าง เผื่อว่ามันอาจจะ
ดี.....เค้าบอกว่า ..พ่อหลวงจะเข้าปายวันที่..... ก็เลยบอกให้โชเล่ติดรถมาด้วย
แล้วให้เข้าไปเอารถมอไซด์ ที่บ้านเวียงเหนือ ไปถึงแล้วให้ติดต่อกลับ จะบอกว่าให้ไป
เอาข้าวที่ไหน .....พ่อหลวงให้ถามว่า อยู่ไกลจากอำเภอปายมั๊ย เดี๋ยวกลับวัดจันทร์
ไม่ทัน....บอกว่า ...ไม่ไกล จากเวียงเหนือ ขับตัดออกท้ายสนามบิน เลยค่ายโสณ
บัณฑิตไปนิดเดียว .......
รูปที่ 34 35 วันที่ 1/10/55 ข้าวอายุ 85 วัน ข้าวเริ่มออกรวง... ชลธิชาบอก
ว่า พี่ชายดีใจมาก ๆ ที่เห็นข้าวออกรวงก่อนกำหนด เรียกใครต่อใครไปดู (ผมเดาว่า
คงไม่เรียกธรรมดา คงต้องแหกปากตะโกนตามความเคยชิน)
ซึ่งปกติข้าวดอยพันธุ์ข้าวเหนียว จะออกรวงเมื่อข้าวมีอายุประมาณ 3 เดือนขึ้น
(90 - 95 วัน) ...เค้าถามผมว่า ทำไมข้าวมันออกก่อนกำหนดได้ยังไง...ผมก็บอก
ว่า I dont know ...ม่ายรู้เหมือนกัน ... ถ้าให้ผมเดา อาจเป็นเพราะข้าวที่แช่น้ำ
สมุนไพรขม ๆ + น้ำมะพร้าว + เอ็ม150 และฮอร์โมนบางอย่างจากสมุนไพรก็เป็น
ได้ ....ข้อนี้ ผมขอถามลุงคิมครับ ว่าเพราะอะไร ข้าวถึงออกรวงเร็วก่อนกำหนดได้
ผมเคยสังเกตไอ้เจ้าต้นบอระเพ็ด กับชิงช้าชาลี ที่บ้านนครปฐมนะครับ มันเลื้อยพัน
อยู่บนต้นไม้ แต่มันจะออกรากยาวลงมาที่ดิน เพื่อหาอาหารและน้ำ พอรากมันแตะถึง
ดิน มันจะแพร่ขยายรากฝอยออกเต็มเลย และรากอันนี้ ยาวเร็วมาก ผมจะเด็ดหรือตัด
ออกทิ้งอยู่บ่อย ๆ ผมก็มาคิดว่า มันน่าจะมีฮอร์โมนบางอย่างที่ช่วยเร่งให้รากมัน
ยาวออกมาเร็ว ๆ ขอเวลานิด ผมจะถ่ายรูปมาให้ดูว่าความสูงจากพื้นดินประมาณ
1.50 เมตร รากยาวถึงดินมันใช้เวลากี่วัน ...จากความคิดอันนี้ พอผมตัดรากมัน
ออก ผมจะม้วน ๆ เอาไม้ทุบให้มันช้ำ แล้วเอายัดลงถังหมักปลาทะเลที่ผมหมักไว้ทำ
ปุ๋ย และไอ้เจ้ารากบอระเพ็ดและรากชิงช้าชาลี เมื่อเอาลงใส่ในถังปลาหมัก มันช่วย
ขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากปลาที่หมัก ไม่ให้มีกลิ่นไปด้วย จากความขม จากอะไร
ไม่ทราบอีกแหละครับ ก็ไม่ใช่นักวิชาการนี่ครับ....ความคิดเรื่องฮอร์โมนเร่งเจริญเติบ
โตจากรากบอระเพ็ดและรากชิงช้าชาลีนี่ ผมไม่ยืนยันนะครับ ผมคิด ผมทำของผมใช้
เอง ต้นไม้มันจะโตหรือจะตายก็เป็นต้นไม้ของผม เพียงแต่ผมสังเกตและเล่าให้ฟัง
หากใครทำตามแล้วมันไม่ดี จะมาด่าผมภายหลังไม่ได้นะครับ ...บอกแล้วว่า สูตร
ใครก็สูตรใคร
จากกรณีข้าวเจ้าโชเล่ ออกรวงก่อนกำหนด ผมก็ส่งข้อความบอกเค้าไปว่า มันอาจ
เป็นเพราะการใช้สมุนไพรหลาย ๆ อย่าง + ...ที่เอามาต้ม ตามที่กล่าวมาข้างต้น ...
และในการต่อไปก็แนะนำให้ลองทำแปลงทดลอง ใช้วัสดุอย่างนั้น อย่างนี้ ทำ
แล้วอย่างไหนมันให้ผลดี ก็ใช้อันนั้นแหละเป็นหลักต่อไป ...แล้ววิธีการหมัก ไม่ต้อง
ไปหากากน้ำตาลตามหนังสือ ให้คั้นน้ำอ้อยสด ๆ มาใช้ในการหมัก ถ้าสงสัยอย่าง
ใด และถ้ามีโอกาสเข้าเชียงใหม่ ให้เลยไปหา อจ.ดร.สุจิตร โนคำ ที่ไร่ปิงเกษตร
ธรรมชาติ เจ้าของสูตรน้ำหมักจากน้ำอ้อยสด อยู่เลยแม่โจ้ไปหน่อย ให้ที่อยู่และเบอร์
โทรศัพท์ใว้เรียบร้อย แล้วก็บอกด้วยว่า ให้ลองไปชิม อินทผาลัมสด ๆ แล้วเอาเมล็ด
ขึ้นไปลองปลูกไว้ที่บ้านวัดจันทร์ ..........ผมออกนอกเรื่องไปหน่อย
รูปที่ 36 - 37 38 วันที่ 1/10/55 รวงข้าวเริ่มโผล่ออกมา ผมว่ามันสวยมี
เสน่ห์นะครับ
รูปที่ 39 40 นี่ก็วันที่ 1/10/55 เช่นกัน แบบนี้รวงหนึ่งจะได้ถึง 100 เมล็ดมั๊ยเอ่ย
รูปที่ 41 -01/10/55 กำลังจะเริ่มตากเกสร
.จากตรงนี้แล้ว จะให้ฉีดพ่นด้วยอะไร
ต่อครับลุงคิม ให้รวงมันยาว เมล็ดมีเนื้อแยะ ...วัสดุที่พอจะหาได้คือ น้ำขม ๆ ...น้ำ
มะพร้าว... นมวัวสด.... ยาคูลท์ เอ็ม
รูปที่ 42 43 มีปลูกหอมแบ่งด้วย เค้าบอกว่าเอาไว้ทำพันธุ์ ผมก็คิดว่าใช่ เพราะ
ถ้าขายเป็นหอมแบ่งหัวแดง ใบโทรมขนาดนี้ ใครจะซื้อ
รูปที่ 44 45 อันนี้ส่งแต่รูปไม่เล่าแจ้งแถลงไขว่าปลูกอะไร เน็ตมันหลุดไปซะ
ก่อน เอาไว้รอถามคราวหน้า
รูปหมดแค่นี้..ก็คงต้องเอาไว้ต่อคราวหน้านะครับ ผมก็รอลุ้นว่ามันจะได้ผลประการใด
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 07/10/2012 6:56 am ชื่อกระทู้: Re: .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 3 |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
.....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 3
ซึ่งปกติข้าวดอยพันธุ์ข้าวเหนียว จะออกรวงเมื่อข้าวมีอายุประมาณ 3 เดือนขึ้น (90-95 วัน) ... เค้าถามผมว่า ทำไมข้าวมัน
ออกก่อนกำหนดได้ยังไง ... ผมก็บอกว่า I dont know ... ม่ายรู้เหมือนกัน ... ถ้าให้ผมเดา อาจเป็นเพราะข้าวที่แช่น้ำสมุน
ไพรขมๆ + น้ำมะพร้าว + เอ็ม150 และฮอร์โมน บางอย่างจากสมุนไพรก็เป็นได้ .... ข้อนี้ ผมขอถามลุงคิมครับ ว่าเพราะ
อะไร ข้าวถึงออกรวงเร็วก่อนกำหนดได้
ตอบ :
สัจจธรรมธรรมชาติ : ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และสูตรสำเร็จ ......
วันนี้มนุษย์รู้จักธรรมชาติในด้านวิชาการเพียงเศษเสี้ยวส่วนล้านของข้อมูลทางวิชาการทั้งหมดเท่านั้น แต่มนุษย์โมเมอุป
โหลกว่า รู้มาก รู้จริง (คิดเอง ถามเอง ตอบเอง) ในความเป็นจริงนั้น มนุษย์รู้จักธรรมชาติจากประสบการณ์ตรงทีเรียกว่า
"ภูมิปัญญา" (WISDOM) ซะมากกว่า แต่ไม่เชื่อ ไม่เชื่อแม้กระทั่งตัวเอง ..... เคยมีคนกล่าวว่า มนุษย์โกหกตัวเอง จน
กระทั่งเชื่อตัวเอง.....
สารอาหารหลักเพื่อการเจริญเติบโตของพืช คือ แป้งและน้ำตาล (แปลภาษาวิชาการเป็นภาษาชาวบ้านแล้ว) เพราะฉนั้น
ถ้าเปลี่ยนหรือเพิ่มสารธรรมชาติจากพืชรสขมๆ มาเป็นพืชรสหวานๆ หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน น่าจะดีขึ้นไปอีกระดับหนึ่ีง
พืชในป่า ไม่มีใครเอาสารอาหารอะไรให้แก่มัน ยังโตได้ แล้วก็โตดีกว่าที่คนเอาสารอาหารไปให้อีกด้วย นั่นเพราะพืชสร้าง
สารอาหารทุกตัวที่ต้องการใช้ได้เอง
แนวคิดจากกรณีนี้ หลากหลายอย่าง อาทิ
- สารขมในสมุนไพร....สมุนไพร คือ พืช ..... โดยธรรมชาติแล้ว พืชสามารถสร้างฮอร์โมนเพื่อพัฒนาตัวเองได้เองเสมอ (ไม่
งั้นพืชในป่าจะโตได้ไง....) แต่เราไม่รู้ว่านั่นคือฮอร์โมน เพราะยึดติดในรสขมๆ ว่ารสขมคือ ยา ยา และยา เท่านั้น ทั้งๆที่ไม่
เคยชิมลิ้มรสฮอร์โมนว่ามันมีรสอย่างไรด้วยซ้ำ.....อ่าน LINE ธรรมชาติออกแล้ว สามารถตอบได้เลยว่า สารรสขมในสมุนไพร
นั้น แท้จริง คือ ฮอร์โมน + สารอาหาร + สารสำคัญ เพียงแต่ว่า อย่างไหนจะมี มาก/น่้อย กว่ากัน ขึ้นกับโครงสร้างทางสรี
ระวิทยาพืชแต่ละชนิด ..... สรุป : สารที่มนุษยพบใน "สมุนไพรรสขมๆ" นั้นแท้จริง คือ สารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช
ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม นั่นแล.....
- น้ำมะพร้าวมีสารไซโตไคนิน. สารเอสโตรเจน. แคลเซียม. แม็กเนเซียม. ฟอสฟอรัส, น้ำตาลโมเลกุลเดียว,
- เอ็ม 150 มีกลูโคส (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) เช่นเดียวกันกับน้ำตาลในตัวพืช ส่วนสารอื่นๆในเอ็ม 150 ที่เป็นส่วนผสมนั้น ตัวใด
ที่มีประโยชน์พืช ๆก็จะนำไปใช้ ตัวใดไม่มีประโยชน์ก็จะไม่นำไปใช้ ข้อควรระวังต่อตัวที่ไม่มีประโยชน์ คือ ต้องไม่เป็นพิษต่อพืช
รูปที่ 41 -01/10/55 กำลังจะเริ่มตากเกสร
.จากตรงนี้แล้ว จะให้ฉีดพ่นด้วยอะไรต่อครับลุงคิม ให้รวงมันยาว เมล็ดมีเนื้อแยะ
...วัสดุที่พอจะหาได้คือ น้ำขมๆ ...น้ำมะพร้าว... นมวัวสด.... ยาคูลท์..... เอ็ม
ตอบ :
"ข้าวตากเกสร" หมายถึง ช่วงที่เกสรพร้อมรับการผสม โดยเกสรตัวผู้จะลอยหรือปลิวไปหาเกสรตัวเมีย หากเกสรเปียก เกสรตัว
ผู้จะลอยหรือปลิวไม่ออก และเกสรตัวเมียก็รับการผสมไม่ได้ เมื่อเกสรทั้งสองไม่อาจผสมกันได้ก็จะไม่เกิดเป็นผล
ชาวนาทั่วรู้ดีว่า ช่วงที่เกสรรอการผสมนี้จะไม่ฉีดพ่นสารเหลวใด บางพื้นที่จะไม่ลงไปเดินในแปลงข้าว อ้างว่า ข้าวจะท้องแตก
ตาย นี่ก็เหตุผลเดียวกัน ดังนั้น การปฏิบัติใดๆต่อต้นข้าวในระยะนี้ ต้องทำก่อนหรือหลัง "ข้าวตากเกสร" เท่านั้น....นั่นคือ การ
ให้สารอาหารต่างๆตามที่กล่าวถึง จึงควรให้ตั้งแต่ก่อนระยะตากเกสร ซึ่งแท้จริงก็คือ การบำรุงต้นให้สมบูรณ์ไว้ล่วงหน้านั่นเอง
เมื่อต้นสมบูรณ์ อะไรๆก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น.....ก็แค่นี้แหละ อยากรู้เหมือนกันว่า นาข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมีบ้าเลือดน่ะ เขาคิด
ยังไง.....กะเหรี่ยงไม่มีความรู้ เพราะไม่ได้ร่ำเรียนมา จะอ่านหนังสือก็ไม่มีหนังสือให้อ่าน ความรู้ทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
ก็ไม่มี แล้วกะเหรี่ยงทำได้ยังไง
ประสบการณ์ตรง : กว่า 10(+) ปีมาแล้ว นาข้าวที่บางปลาม้า สุพรรณบุรี ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ก่อนข้าวถึงระยะตากเกสร 7 วัน
จากนั้นเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้กับ 2 แปลงข้างเคียง ที่ไม่ได้ให้ เอ็นเอเอ. จำนวน 3 รอบการผลิต ปรากฏว่า แปลงที่ให้ เอ็นเอเอ.
ได้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้ถึง 15-20% .....
มะม่วงเขียวเสวยจัดว่าเป็นมะม่วงที่มีเกสรสมบูรณ์เพศน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมะม่วงพันธุ์อื่นๆ ครั้นได้ให้ เอ็นเอเอ.แก่มะม่วงเขียว
เสวย เมื่อดอกในช่อบานพร้อมรับการผสม 1 ใน 4 ของดอกทั้งช่อ โดยให้ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน พบว่ามะม่วงเขียวเสวย
ติดเป็นผลได้เพิ่มขึ้น 20-25% (ข้อมูล : ดร.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ / ม.ขอนแก่น)
.
|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/11/2012 10:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/10/2012 7:07 pm ชื่อกระทู้: ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2
.....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 4
วันที่ 10 ตค.55 ผมได้รับรูปจากน้องสาวกะเหรี่ยงที่ปลูกข้าวบนดอยมาเป็นชุดที่ 4
เป็นวันที่ผมเห็นรูปข้าวกะเหรี่ยงออกรวงแล้วชื่นใจ ตื่นเต้นไม่น้อยกว่าเพื่อนชาวกะเหรี่ยง
ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณลุงคิมที่ตอบคำถาม (แปลภาษาวิชาการเป็นภาษาชาวบ้าน
แล้ว) แต่ผมต้องแปลภาษาชาวบ้าน ให้เป็นภาษาที่กะเหรี่ยงเข้าใจ อีกครั้งหนึ่ง และ
ส่งไปให้กะเหรียงที่บ้านวัดจันทร์เรียบร้อยแล้ว....
ผมคิดแต่แรกแล้วว่า การปลูกข้าวตามคำแนะนำของลุงคิม แบบใช้เมล็ดน้อย จะดำ
หรือจะหยอดแบบห่าง ๆ ไม่ว่าจะปลูกบนพื้นที่แบบไหนก็ตาม เพียงขอให้มีน้ำนิด
หน่อย(เจ๊าะแจ๊ะ)หรือให้ดินมีความชื้น ข้าวต้นจะไม่สูง(หนีน้ำ)และมันจะแตกกอดี
อาจจะแตกกอไม่มากจาก 1 เมล็ดแตกเป็น 10 20 ต้น ก็ได้ข้าวกอละ 10 20
รวง ก็นับว่าดีแล้ว ...ซึ่งที่ผมกล้าแนะนำให้กะเหรี่ยงทำแบบนี้ เพราะเคยบอกไว้ว่า
ผมเคยใช้ข้าวดอยปลูกบนดินแห้ง ๆ ที่นครปฐมมันได้ผลมาแล้ว ..ซึ่งเป็นการทดลอง
ปลูกโดยบังเอิญ ถ้าไม่เคยทำได้ผล จะกล้าเดิมพันกับเจ้า โชเล่ ได้ยังไง และ ถึงแม้
จะไม่ได้ผล ก็ถือว่าผิดเป็นครู เป็นการทดลองทำ นักทดลองนักวิจัยทั้งหลายกว่าจะ
ได้ผลต้องผ่านความผิดหวังมานับครั้งไม่ถ้วน....ก็ตั้งใจว่าจะเขียนกระทู้ลงเว็ปของ
ลุง รวบรวมรูปและข้อมูลไว้พอสมควรเพื่อพิสูจน์คำพูดของลุงคิม แต่ยังไม่สบ
โอกาส
ก่อนดูข้าวบนดอย มาดูรูปข้าวดอยปลูกที่นครปฐมกันก่อน .....เพื่อที่ใครคิดอยาก
ปลูกจะได้ดูเอาไว้ ก็ให้ดูพอเป็นพิธีก่อน ว่ามันปลูกได้ผล คงจะนำเสนอรายละเอียด
ในโอกาสต่อไป
รูปที่ 46 47 ที่บอกว่าปลูกโดยบังเอิญ คือหลานผมมันเอาข้าว(เปลือก)หอมดอย
จากปายมาเล่นขายของประมาณ 3 กำมือ ป้ามันจะตี ผมบอกเด็กมันไม่รู้เรื่อง ไม่
ต้องตีแต่บอกว่า ข้าวเปลือกเล่นไม่ได้ มันจะคัน ผมก็เลยกวาดใส่ที่โกยผง ชวนชวน
หลานเอาลงมาหว่านมันตรงนี้แหละวะ ก็บอกว่าให้หนูหว่านอย่างนี้นะ ก็ไม่คิดว่า
ข้าวจะงอก เพราะรู้อยู่ว่าดินก้นคลองปลูกอะไรไม่ได้ผล จะเห็นว่า คันดินที่เห็นเป็นคัน
ดินที่เรือขุดเอาดินในคลองขึ้นมากั้น กันน้ำท่วม เมื่อปลายปี 2554 แล้วเอากระสอบ
ทรายทับข้างบนอีกที กันได้มั๊ย เอาไม่อยู่ครับ น้ำท่วมเกือบมิดกระสอบทราย
รูปนี้ถ่ายเมื่อ 8 มีค.55 ข้าวอายุประมาณ 15 วัน ดินก้นคลองไม่มีธาตุอาหาร ปลูก
ตะไคร้ยังไม่ขึ้น ผมเอา 30 10 10 ผสมปุ๋ยปลาที่หมักไว้เองผสมน้ำเจือจาง ใส่
ฝักบัวรดลงดิน ทุก 3 วัน คุณดูใบมะเขือพวง 2 ต้นที่เห็นในรูปนั่นซีครับ ได้ปุ๋ย
ระเบิด +
. ใบโตเบ้อเริ่มเทิ่ม ตอนนี้มันสูง 3 เมตร
รูปที่ 48 27 มีค.55 อายุประมาณ 29 วัน มันก็โตขึ้นขนาดนี้ ไอ้เจ้าต้นพริกที่
ปลูกเอาไว้ด้วยตั้งแต่ต้นเริ่มแตกใบเบี้ย มันก็โตขี้นด้วย
รูปที่ 49 2 เมษา 55 อายุประมาณ 35 วัน รดปุ๋ย 30-10-10 บำรุงดินทุก 15
วัน + ไบโออิ + แคล เซี่ยมโบร่อน + ยูเรก้า อย่างละ 1 ฝากระทิง ก็ลุงเคยพูด
เสมอว่า ข้าวพื้นเมืองไม่ชอบปุ๋ยเคมี ไม่ลองก็ไม่รู้ เมื่อฉีดพ่น อินทรีย์นำ เคมีเสริมไป
แล้ว ข้าวดอยอายุ 35 วันออกรวงแบบนี้ ไม่ใช่ข้าวนก ไม่ใช่ข้าวปน ไม่ใช่ข้าวดีด
ข้าวเด้ง จะให้ผมบอกว่ายังไงล่ะว่า ข้าวพื้นเมืองไม่ชอบปุ๋ยเคมี แล้วคุณก็ดูมะเขือ
พวงได้รับปุ๋ยลุงคิม มันโตวันโตคืนแค่ไหน แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ถ้าให้ผมเดา
สภาพภูมิอากาศ ดิน ฟ้า อากาศ น้ำ สารอาหารในดิน รวมกับที่ให้ทางดินทางใบด้วย มั๊ง
รูปที่ 50 วันที่ 19 เมษา 55 อายุประมาณ 51 วัน บางรวงมันก็เริ่มแก่ รวงห้อย
เมล็ดเต่ง เนื้อเต็ม ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฉีดไทเป หรือสารลมเบ่งซักแหมะเดียว
รูปที่ 51 52 วันที่ 20 เมษา 55 อายุ 52 วัน ข้าวดอยปลูกบนดินแห้งที่
นครปฐม จาก 1 เมล็ดแตกกอได้ขนาดนี้ กอละกว่า 25 ต้น ผมเคยทำแต่สวน ไม่
เคยทำนา แต่ทดลองทำได้แค่นี้ผมว่าผมพอใจแล้วนะ
รูปที่ 53 วันที่ 21 เมษา 55 ข้าวอายุ 53 วัน รวงอาจไม่ถึง 100 เมล็ด แต่ผมมอง
แล้วผมว่ามันสวยนะ
รูปที่ 54 55 วันที่ 28 พค. 55 ข้าวอายุ 89 วัน เปรียบเทียบกับรูปที่ 51 52
ข้าวกอเดียวกัน ต้นเก่าโทรมไป ต้นใหม่แตกขึ้นมา แสดงว่า ปุ๋ยของลุงสารพัดสูตร
มันช่วยให้ข้าวแตกกอไม่เลิก แล้วต้นที่แตกใหม่ก็อวบอ้วนเหมือนเดิม แบบนี้ถ้าทำ
ข้าวตอซัง ดีแน่ ๆ ผมคงต้องแนะนำให้ สมบัติ เชียงราย ลองใช้ดูปีนี้ (ปีที่แล้ว มัน
สองคนผัวเมีย ไปเกี่ยวข้าวเรื้อ หรือข้าวตอซัง หรือข้าวคนทุกข์ที่ชาวนาทางเหนือ
เค้าปล่อยทิ้ง เอาไปขายโรงสีได้เงินเป็นหมื่น โรงสีตีราคาเป็นข้าวผสม ให้เกวียนละ
8,000)
รูปที่ 56 57 รูปวันที่ 28 พค.55 พื้นที่ ๆ ใฃ้ทดลองปลูกข้าวดอยที่ นครปฐม ก่อ
อิฐบล๊อกขึ้นมา 3 ก้อน(ของเดิม) รวมคันดินกั้นน้ำก็สูงประมาณ เมตรกว่า ๆ ดินไม่ดี
เลย ใช้ปุ๋ยลุงคิม + ปุ๋ยปลาทะเลหมักเอง + ธาตุรองธาตุเสริมผสมลงไปด้วยใส่ฝัก
บัวเดินราดที่ดิน(ประหยัดปุ๋ยลุงน่ะครับ)
รูปที่ 58 59 วันที่ 28 พค.55 ข้าวอายุ 89 วัน ข้าวเคยอยู่บนดอยความสูง
1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล เอามาปลูกบนดินพื้นราบ ความสูง 6 เมตรจากระดับ
น้ำทะเล ออกรวงมาอย่างที่เห็น มีตำราเล่มไหนบอกว่าไม่ออกรวง แถมออกรวงก่อน
กำหนดด้วย
รูปที่ 60 61 ใครบอกว่า ข้าวที่ออกรวงดูไม่สวย ลองดูสองรูปนี้เอาเองก็แล้วกัน รวง
โค้ง อ่อนช้อย ก้มโค้งลงเพื่อคาราวะต่อพระสุธาที่ให้รากได้อาศัยยึดเกาะยืนสู้เปลว
แดด สายฝนและสายลม ........ไม่แน่ใจว่าจะนำเรื่องข้าวดอยที่นครปฐมมาลงจะดี
หรือไม่ เพราะเป็นเพียงแค่การทดลองเล็ก ๆ ของผมเท่านั้นเอง
ทีนี้ก็มาดูกะเหรียงปลูกข้าวบนดอยกันต่อครับ
รูปที่ 62 วันที่ 8-10-55 ข้าวอายุ 93 วัน เป็นวันที่ข้าวบนดอยออกรวง เริ่มตากเกสร
รูปที่ 63 64 ข้าวที่ฉีดพ่นด้วยน้ำต้มสมุนไพรรสขมผสมสารอาหารเท่าที่จะหาได้
ในแดนกะเหรี่ยง ที่ผมบอกก่อนกลับ ให้กะเหรี่ยงฉีดพ่นทุก 7 วัน วันที่ 8 ตค.55 ข้าว
อายุ 93 วัน ก็เท่ากับฉีดพ่นประมาณ 13 ครั้ง
รูปที่ 65 66 ตามรายงานข่าวบอกว่า คืนวันที่ 7 ถึงเช้าวันที่ 8 ตค.55 ใต้ฝุ่น
เข้า บนยอดดอยฝนตกตลอดคืน ลมแรงด้วย ฝนหยุดเอาตอนสาย จากรูป จะเห็นมี
น้ำขังในแปลงนา แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะตอนบ่าย ถ้าฝนไม่ตกน้ำก็คงแห้ง เพราะน้ำ
จะไหลซึมลงดินและไหลลงดอยไปหมด
รูปที่ 67 68 ข้าวบนดอยโดนพายุฝน ลมแรง แต่ทำไมข้าวไม่ล้ม เพราะเค้าไม่
ได้ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยยูเรียครับ
รูปที่ 69 70 อีกมุมมองหนึ่ง แต่ละกอมีรวงไม่น้อยเลย
รูปที่ 71 72 ในรูปจะเห็นพระเอกหนุ่ม โชเล่ ใส่เสื้อคลุมกันฝนสีฟ้า เดินท่อม ๆ
สำรวจแปลงนา พร้อมกับชื่นชมข้าวในนาไปด้วย ผมถามน้องสาวไปว่า พี่ชายเห็น
ข้าวออกรวงแบบนี้ คุ้มค่ากับที่โดนแม่ตบปากมั๊ย มีข้อความบอกว่า อยากให้ผมขึ้น
ไปตบซ้ำเพื่อเป็นการ ขอโทษอีกด้วย
รูปที่ 73, 74, 75 จะเห็นระยะห่างระหว่างกอประมาณ 1 ศอกแขน ให้ดูการแตก
กอ มันโล่งโปร่งดีหรือไม่ และดูรวงข้าวในแต่ละกอว่ามันเป็นยังไง แล้วแบบนี้โรคและ
แมลงจะมีมั๊ย โชเล่บอกว่า ทั้งคุณภาพและปริมาณ ปีนี้ ต้องดีเกินคาด
รูปที่ 76, 77, 78 ปรกติแล้ว บนดอยนี่ หญ้าขึ้นง่ายและขึ้นเร็วที่สุดเพราะความชื้น
และสภาพอากาศเอื้ออำนวย แต่เพื่อน ๆ มองเห็นหญ้าในนาข้าวแปลงนี้ตรงไหนบ้าง
ไหมครับ
รูปที่ 79 80 สองรูปนี้ถ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน รูปซ้าย 80 ถ่ายวันที่ 8 ตค.55
เวลา 12.56 รูปขวา 81 ถ่ายวันที่ 8 ตค. 55 เวลา 13.00 ห่างกันประมาณ 4
นาที ให้คุณสังเกตที่ท้องฟ้าครับ รูปซ้ายฟ้าครึ้มเมฆทึบ รูปขวาฟ้าโปร่ง อากาศบน
ดอยเปลี่ยนเร็วเพราะลมแรงครับ ลมจะพัดเมฆก้อนเก่าลอยไป แล้วก็จะมีเมฆก้อน
ใหม่มาแทน
รูปชุดนี้ก็หมดแค่นี้ ถ้าสนใจก็ติดตามต่อนะครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 20/10/2012 8:18 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจรภาค 2 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 5
ระหว่างที่ผมรอรูปข้าวที่จะส่งมาจากบนดอย ได้ข่าวมาว่า เน็ตบนดอยล่มเนื่องจากโดนพายุฝน เลยยังส่งข้อมูลไม่ได้
ไม่เป็นไรครับ มีเรื่องเล่าให้ฟัง ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับตอนท้ายของ เกษตรสัญจร ภาค 1 กล่าวคือ ตอนที่ผมลง
จากดอยมาจะเข้าปาย ได้ถ่ายรูปเก็บเอาไว้ แต่ตอนนั้นรีบร้อนมาก เนื่องจากเวลาจำกัด เพราะเมื่อถึงปายแล้วจะ
ต้องย้อนขึ้นไปรับลูกสาวที่ปางมะผ้า แล้วเตรียมตัวจะเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจะมาเยี่ยมพ่อที่ป่วยหนักอยู่โรงพยาบาล ทำ
อะไรก็เลยรีบเร่ง ร้อนรนไปหมด ผมก็ขอเอารูปชุดนั้นมาแทรกไว้ตรงนี้ด้วย ...แต่ขอคุยเรื่องน้ำก่อนนะครับ
เมื่อวันที่ 17 ตค.55 ปี 2555 วันเดียวกันนี้แหละเมื่อ 17 ตค. 2554 ที่น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านช่องเรือกสวนไร่นา
แถบ ศาลายา มหาสวัสดิ์ นครชัยศรี บางเลน นครปฐม ฉิบหายวายวอดวินาศสันตะโร ปีนี้ดีหน่อยที่ฝนหยุดตก ระดับ
น้ำเลยยังไม่สูงมากแต่ก็ยังไว้ใจไม่ได้ แม้ฝนจะหยุดตก แต่ถนนทางเข้าบ้าน เป็นที่ลุ่ม น้ำเริ่มท่วมแล้ว
คุณเคยเห็นภาพนี้ และบุคคลในภาพนี้ มั๊ยครับ เป็นภาพเก่านานมาแล้ว
ดูให้เต็มตา แล้วก็จดจำไว้ในก้นบึ้งแห่งหัวใจ
ไม่เห็นมีคนในรัฐบาลหน้าไหนใครจะกล้าทำได้เยี่ยงนี้
......... ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ...............
บังเอิญ ผมไปเจอรูปเกี่ยวเนื่องด้วยน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 เป็นรูปของชายนักสู้คนหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา
ในขณะที่น้ำท่วมถึงหน้าอก แต่เค้าปลูกข้าวลอยน้ำ ตั้งแต่เริ่มดำ จนมันโต ออกรวงแล้วก็เกี่ยว แสดงว่าน้ำท่วมอยู่
นานกว่า 3 เดือน ...ชายคนนี้มีความเพียรพยายามแบบในหนังสือ มหาชนกเลยแหละ
รูปที่ 81 รอยยิ้มบนคราบน้ำตา ไม่มีใครช่วยคุณได้ถ้าคุณไม่ช่วยตัวเอง ผมยอมนับถือ สุดยอดคนจริง ๆ
ตามที่บอกว่า มีรูปตกค้างอยู่ในกล้องมือถือ ในวันที่ผมกลับจากบ้านวัดจันทร์..ปกติผมจะเก็บรูปไว้ใน Mem.Card แต่
รูปนี้มันเข้าไปเก็บอยู่ในเครื่องโทรศัพท์ได้ยังไง งง... คือเมื่อขับลงเขามาได้ประมาณ 3 ฃั่วโมง เวลาประมาณ 10 โมง
เช้า ก็จะถึงรอยต่อแดนระหว่างแม่ฮ่องสอน(ปาย)กับเชียงใหม่(บ้านวัดจันทร์) ก็จะมีด่าน เค้าก็โบกให้ผมจอด ก็มี
การไต่ถามตรวจตราตามระเบียบน่ะนะ ไม่มีอะไรเค้าก็ให้ผมผ่าน แต่ผมขอเข้าห้องน้ำ พอออกมาเห็นมีรถเปิดไฟวิ่ง
เข้าด่าน ผมเห็นมุมกล้องมองดูแล้วมันดูดีก็เลยถ่ายรูปเก็บเอาไว้ นี่คือบรรยากาศบนดอยเวลาประมาณ 10 โมง
เช้าวันที่ 26 กค.55 ครับ ทั้งเมฆทั้งหมอกมืดครึ้มแบบนี้แหละ เจ้าหน้าที่เค้าบอกว่าเมื่อวาน คือวันที่ 25 กค.
55 หมอกหนาทึบยิ่งกว่านี้ มิน่า พ่อหลวงถึงเป็นห่วงแทนที่จะให้ผมกลับวันที่ 25 ให้ผมอยู่ต่ออีกวัน นี่ขนาด
จางแล้วนะ
รูปที่ 82 ด่านรอยต่อแดนระหว่างแม่ฮ่องสอน(ปาย)กับเชียงใหม่(บ้านวัดจันทร์) เวลาประมาณ 10 โมงเช้า
วันที่ 26 กค.55 ไม่ใช่จะหนาวอย่างเดียว แต่จะเปียกชื้นจากละอองน้ำในเมฆอีกด้วย สุนัขที่เห็น มียศเป็น สตต.
มีเงินเดือนกินนะครับ เค้าฝึกมาเพื่อดมกลิ่นยาบ้าไม่เคยพลาด เป็นหมาแม้วผสมหมาเมือง ทนร้อนทนหนาว
รูปที่ 83 84 ลงมาใกล้จะถึงปาย เห็นมีนาข้าวข้างทาง แม้บรรยากาศจะครึ้มแต่ก็ดูสวยดี เลยถ่ายรูปเอาไว้
เจ้าของบ้านไม่อยู่ ไม่กล้าเข้าไปใกล้กว่านี้ ก็เลยไม่รู้ข้อมูล น่าจะเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง หรือไม่ก็ กข.4
หรือ กข.14 เพราะเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่คนทางเหนือชอบกิน นึ่งสุกแล้วมันนุ่มครับ นึ่งตอนเช้าเอาผ้าขาว
บางห่อใส่กระติกทิ้งไว้ถึงเย็นยังนุ่ม ไม่เหมือนข้าวเหนียวที่แม่ค้าส้มตำไก่ย่างนึ่งขายที่กรุงเทพฯ เอาข้าว
เหนียวอะไรมานึ่งขายก็ไม่รู้ ขนาดว่านึ่งสุกใหม่ ๆ ยังแข็งโป๊กเลย จะเห็นยอดเขาที่เมฆคลุมครึ้ม ๆ ลิบ ๆ
นั่นแหละ บ้านวัดจันทร์อยู่บนนั้นครับ
รูปที่ 85 86 นาข้าวใกล้ อ.ปาย อีกมุมมองหนึ่งครับ กำลังออกรวง สวยงามทีเดียว ต้นสูงประมาณหน้าอก
ชาวนาที่ปาย เกี่ยวข้าวแล้วไม่นิยมเผาฟาง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ปุ๋ยหมักครับ ส่วนมากจะทำเองเพราะมีศูนย์ของ จ.แม่ฮ่อง
สอนมาเปิดอบรมที่ปาย นอกจากนี้ ฟางหลังเกี่ยวข้าวแล้ว เค้าจะมัดเป็นฟ่อน ๆ เอาไว้ทำกระต๊อบชั่วคราวหลังเล็ก ๆ
กลางนานั่นแหละ คือทำเป็นจั่วเอาฟางคลุมจนถึงพื้น แบบเต็นท์พักแรมครับ คนที่ไปเที่ยวในช่วงปีใหม่ (HIGH
SEASON) จะชอบพัก โดยเฉพาะ ฝรั่ง เพราะข้างในมันอุ่น กระต๊อบที่ว่า ค่าผ่านประตู คืนละ 500 นะครับ
ห้องน้ำต่างหาก(หรือจะไปพักที่แห่งหนึ่ง คืนละ 30,000 มีจริง ๆ ครับ) ถ้าจะถามว่า แล้วไม่คาย ไม่คันหรือ ชาว
ดอยเค้ามีวิธีทำไม่ให้คาย ไม่ให้คันครับ
หลังจากหมดฤดูท่องเที่ยวแล้ว ฟางที่ปายก็ยังมีประโยชน์ มีคนซื้อเอาไปคลุมแปลงปลูกกระเทียมครับ ส่วน
ตอที่ยังเหลือในนาเค้าก็ไม่เผากัน ก็มีบ้างคือคนที่มาเช่ากระท่อมนอนนั่นแหละครับ หาฟืนมาก่อไฟผิงกัน ตอที่
เหลือเค้าใช้เครื่องตัดหญ้าตัดตอซังแล้วปล่อยทิ้งตากน้ำค้าง จากนั้นก็ใช้ รถไถเดินตาม เปลี่ยนหัวไถเป็น
หัวปลายแหลม มีปีกออกสองข้าง เค้าไถ ยกร่องเพื่อปลูกกระ -เทียม ครับ
กระเทียมปายถือว่าเป็นกระเทียมมีชื่อมากเพราะหัวไม่โตมาก แต่กลิ่นฉุนจัด อร่อยมาก หากินยากเพราะมันแพง
ออกจากไร่ก็ กิโลเป็นร้อยแล้ว มีพ่อค้ามาตั้งโกดังรับซื้อแถว ๆ แม่ริม ส่งเข้าเยาวราชหมด เค้าเรียกเป็นกระ
เทียมระดับ ฮ่องเต้ คนละเกรดกับกระเทียมหัวโต ๆ ส่งมาจากไหนไม่รู้น่ะ อันนั้นเค้าเรียกกระเทียม กระยาจก
ครับ แล้วอย่าคิดว่า ไปปายจะหาซื้อกระเทียมปายกลับมาได้ง่าย ๆ ไม่มีขายครับ มีก็น้อย เดินเข้าตามหมู่
บ้าน จะมีแขวนไว้เป็นราวบนขื่อตามบ้าน ไม่ได้เอาไว้ป้องกัน แครกคูล่า นะครับอันนั้นเค้าเก็บไว้ทำพันธุ์ ถ้า
ไม่ซี้กันจริง ๆ เค้าไม่แบ่งขายให้คุณหรอก กระเทียมที่ขายในตลาดเมืองปาย เป็นกระเทียมส่งไปจาก
เชียงใหม่ครับ ใครที่ซื้อกระเทียมในตลาดเมืองปาย เอามาฝากญาติ ก็เท่ากับว่า ซื้อกระเทียมเชียงใหม่
ในราคากระเทียมปาย และถ้ามาซื้อที่กาด(ตลาด)เชียงใหม่ แม่ค้าก็จะบอกว่า หอมขาว(กระเทียม) จากปาย
เจ๊า ...จุ๊กกรู๊ ซื้อมาเถอะครับ นึกว่าช่วยเกษตรกรทางอ้อม .....
รูปที่ 87 88 อีกมุมมองหนึ่งครับ ข้าวแปลงซ้ายมือนี้ใกล้จะเกี่ยวได้แล้ว ในรูป ขวามือ จะเห็น ลำเหมือง
(ลำธารน้ำ) เป็นน้ำที่ไหลมาจากน้ำตกบนเขาทางลงจากบ้านวัดจันทร์ ไหลไปลงแม่น้ำแม่ปาย เรื่องน้ำทำเกษตร
ไม่ต้องห่วง มีมากน้อยตลอดปี แต่น้ำเย็นเจี๊ยบเลยละครับ น้ำผ่านบางที่เค้ากั้นทำฝายน้ำล้น ติดเทอร์โบกังหัน
น้ำ ปั่นไฟใช้เอง น้ำฟรี ไฟฟรี สบายแฮ ...ปายมีน้ำตกด้วยเหรอ มีครับ มีหลายแห่งด้วย บ่อน้ำร้อนยังมีเลย
ครับ เช่น บ่อน้ำร้อนท่าปาย ....ร้อนขนาด ต้มไข่สุกก็แล้วกัน
รูปที่ 89 90 จุดนัดพบ ผมกับเจ้าโชเล่ ...ตรงนี้เป็นรูปป้าย บ้านโฮ่ง ต.เวียงเหนือ เป็นป้ายชื่อหมู่บ้าน
ตั้งอยู่มุมหน้าบ้านพักที่ปาย แต่ก่อนนี้ไม่มีใครดูแล โทรมมาก ๆ ปล่อยให้หญ้าขึ้นปกคลุมรกรุงรัง ตามรูปซ้ายมือ
ซึ่งถ่ายเมื่อ 21-6-2548 (วันไปดูที่ ผมเอาเท้าย่ำหญ้าข้างหน้าป้ายให้แบนพอราบ แล้วก็ถ่ายเก็บไว้) นึกใน
ใจว่า ถ้าได้อยู่ตรงนี้จะทำให้ดีเลย ....ต่อมาผมอุตส่าห์ซ่อมแซมทำใหม่ซะสวย เสาแขวนป้าย เป็นซุงทั้งต้น
เสร็จแล้วผมหาต้นไม้ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ ขาว ๆ มาปลูคลุมดินเอาไว้กันหญ้าขึ้น แต่ .....
ในรูปขวามือ (ถ่ายเมื่อ 12 ตค.55 นี่เอง)พนักงาน อบต.เวียงเหนือ เอายาฆ่าหญ้ามาฉีดหญ้าริมถนน ดันมา
ฉีดไอ้ต้นดอกขาวนี้ด้วย แห้งตายเรียบอย่างที่เห็น ..ลูกสาวโทรมาบอกผม ผมก็โทรไปต่อว่านายก อบต.
ว่า ทำไมให้ลูกน้องโง่ ๆ มาฉีดยาฆ่าหญ้าต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ เค้าขอโทษบอกว่าจะหามาปลูกแทนให้ ผม
บอกว่า ผมซื้อพันธุ์มาจากเกษตรแม่โจ้ ที่ปายไม่มีขายหรอก
...รูปนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 12 ตค.55 คนถ่ายคือ ชลธิชา น้องสาวเจ้าโชเล่ คือ เรื่องมันอย่างนี้ครับ
ในเกษตรสัญจร ตอนที่ 3 รูปที่ 33 ที่ผมบอกว่า โชเล่กำลังขยายพื้นที่ปลูกข้าวออกไป ผมก็บอกให้ระงับ
ไว้ก่อน ถ้าพ่อหลวงจะเข้าปายเมื่อไหร่ ให้บอกผมแล้วให้โชเล่ติดรถมาด้วย ให้พ่อหลวงมาส่งที่บ้านโฮ่ง
เวียงเหนือ ก็คือจุดนัดพบนี่แหละ แล้วให้โชเล่เอา แมงกะไซด็ที่บ้านพัก ขี่ไปเอาข้าวหอมนิล ที่บ้านแม่
นาเติง เพื่อเอาไป ทดลอง ปลูกบนดอยที่บ้านวัดจันทร์ จากความสูง 1400 เมตร(ที่ปาย) ขึ้นไปเป็น
ประมาณ 1500 เมตร (ที่บ้านวัดจันทร์)
พอดีวันที่ 12 ตค. พ่อหลวงเข้ามาทำธุระที่ปาย ทั้งเจ้าโชเล่ และ ชาชา(ชลธิชา)ติดรถมาด้วย พ่อหลวง
มาส่งสองคนที่บ้านพักเวียงเหนือ แล้วไปทำธุระต่อ ...สมัยที่ชลธิชาทำงานที่ อบต.เวียงเหนือก็พักอยู่
ที่นี่ พอรู้ว่าจะเข้าปาย ชาชา(ชลธิชา) เลยเบี้ยวงานขอติดรถมาด้วยเพื่อจะได้เจอเพื่อนเก่า ๆ หลาย
คน คงได้ เมาท์ กันสนุกไป
เอารถมาเองแบบนี้ ของฝากคงเพียบตามแบบกะหรี่ยง...
ผมก็เลยบอกให้ถ่ายรูปป้ายบ้านโฮ่งส่งไปให้ดูผ่าน MMS เลย อยากเห็นว่าหญ้ามันตายแบบไหน ให้
ลูกสาวถ่ายให้ดูไม่ยอมถ่ายให้ซักที เห็นรูปที่หญ้าตายไม่เหลือแล้วน่าโมโห .....ผมบอกลูกสาวว่า ให้
โชเเล่ เอามอไซดที่บ้านไป ให้ลัดออกทางสิบสองปันนา ขี่ข้ามสะพานไม้ไผ่ที่ข้ามแม่น้ำปาย ลัดออก
ท้ายสนามบิน ออกถนนใหญ่ ผ่านกรมทางหลวง ผ่านค่ายโสณบัณฑิต ถึงทางแยกบ้านแม่นาเติง
เลี้ยวขวาเข้าไปทางบ้านเมืองน้อย เข้าไปซักสองร้อยเมตรจะเห็นบ้าน อจ.ต้วน ซึ่งเป็นศูนย์อบรมเกษตร
อินทรีย์ที่ปาย แล้วถามหาบ้านคุณธิดา อยู่ใกล้ ๆ กันนั่นแหละ ได้นัดหมายไว้เรียบร้อยแล้ว จะปลูกกี่ไร่
ใช้เมล็ดพันธุ์เท่าไหร่ คุยกับคุณธิดาผู้ชำนาญการเรื่องสายพันธุ์ข้าวดอยยิ่งกว่าเกษตรอำเภอ แล้วให้
ซื้อมาเผื่อผมด้วย 2 กก. เอาสตางค์ที่ลูกสาว แล้วฝากเค้ามาเพราะวันที่ 18 ลูกสาวจะเข้ากรุงเทพฯ....
โชเล่กลับมาถึงก่อนพ่อหลวง ชาชา บอกว่า ยิ้มหน้าบานกลับมาเลยเพราะได้ทั้งของลด ของแจก ของ
แถมกลับมาเพียบ อย่าสงสัยว่า แค่รถมอไซด์คันเล็ก ๆ จะบรรทุกอะไรได้แค่ไหน ...ขนาดกระชุใส่หมู
5 ตัวเค้าบรรทุกขี่ขึ้นดอยมาแล้วครับนับประสาอะไรกับพันธุ์ข้าวแค่ 2 กระสอบปุ๋ย โชเล่บอก แค่นี้สบายมาก
ผมได้คุยกับเจ้าโชเล่ ก็ถามว่า เป็นยังไงล่ะ ข้าวที่ให้หยอดห่าง ๆ แตกกอออกรวงดีมั๊ย เห็นข้าวออก
รวงแบบนี้แล้วชอบมั๊ยล่ะ....โชเล่บอกว่า ตอนนี้อยากให้ขึ้นมาตบปากอีกครั้ง... ผมก็บอกว่าไปให้แม่ตบ
แทนก็แล้วกัน เค้าบอกไม่เอา.... ถามว่าทำไม ...เค้าบอกว่าแม่มือหนัก และยอมรับว่าไม่น่าเชื่อว่าทำ
แบบวิธีนี้มันจะดีจริง ๆ จะทำต่อ ๆ ไป ...ผมบอกว่า เป็นวิธีของครูบาอาจารย์ที่แนะนำ ไม่ใช่ผม .....
เค้าบอกอีกว่าข้าวกล้องงอกที่ฝากใส่ถุงไว้ให้ ก็ได้หยอดไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 กค.55 ตอนนี้อายุ
ได้ 80 วันแล้ว กำลังท้องจะออกรวง ที่ออกแล้วก็มี แม่เป็นคนหยอดเอง ดูแลเอง โดยให้โชเล่เป็นคนฉีด
พ่นสมุนไพรตามสูตรที่เคยบอกไว้ หยอดหลุมละ 2 เมล็ดได้ 100 กว่าหลุม ที่ไม่ขึ้นก็มีบ้าง ผมบอกว่า
เอาช้อนกินข้าวตักขึ้นมา 4 ช้อน ไม่ได้นับว่ากี่เมล็ด..และบอกว่า 100 หลุม ถ้าแตกกอหลุมละ 10 ต้น
จะได้ข้าว 1000 ต้น ออกรวงแล้วจะได้ 1000 รวง จะได้เมล็ดข้าวมากน้อยแค่ไหน เค้าบอกว่า บางกอ
แตกมากกว่า 20 ต้นก็มี .ก็บอกว่า ไม่เห็นถ่ายรูปส่งให้ดูบ้างเลย เค้าบอกว่า ทีผมยังแอบทำแบบเงียบ ๆ
เค้าก็เลยทำแบบเงียบ ๆ บ้าง แต่ให้น้องถ่ายไว้แล้วแต่ยังไม่ให้ส่งให้ผมดู กะเหรี่ยงก็มีลูกเล่นแบบนี้ก็มี
ด้วยว่ะ
ก็ถามว่า ข้าวที่ออกรวงแล้วนี้จะเกี่ยวได้เมื่อไหร่ เค้าบอกว่า คงประมาณไม่เกินกลาง เดือน
พฤศจิกา ...วิธีการทำข้าวกล้องงอก ผมบอกให้ลูกสาวพิมพ์จากคอมให้ไปอ่านดูเอง สงสัยไม่เข้าใจ
ถามก็แล้วกัน
เมื่อพ่อหลวงกลับมาก็บ่ายแก่ ๆ บอกว่าจะรีบกลับ....พอดีลุงรัตน์ เพื่อนบ้าน เป็นลูกคนเมืองผสมกะเหรี่ยง
บ้านเดิมอยู่ อ.สะเมิงมาก่อน ชวนค้างซักคืน วันที่ 13 ค่อยกลับ ด้วยความเกรงใจและถูกหลาย ๆ คนคะ
ยั้นคะยอ พ่อหลวงเลยจำต้องยอมค้างคืน ลูกสาวบอกว่า คืนนั้น ทั้งพ่อหลวง ลุงรัตน์ โชเล่ อ้าย (พี่) ป๋อง
(ลูกลุงรัตน์) ป้าปุ๋ม ร้องเพลงกันสนุกสนานบนศาลารับลมหลังนี้แหละ
รูปที่ 91 ศาลารับลมที่ปาย ซึ่งพ่อหลวง ลุงรัตน์ โชเล่ อ้ายป๋อง(ลูกลุงรัตน์) ป้าปุ๋ม ร้องเพลงกันสนุก
แล้วก็นอนหลับไปจนรุ่งเช้า ..ทุกคนบอกว่า ขาดผมไปคน ถ้าผมอยู่จะสนุกกว่านี้ ก็ได้แต่คิดถึงกัน
เท่านั้น พอตอนสาย ต่างก็ล่ำลา แยกย้ายกันไป ... ลูกสาวเล่าให้ฟังว่า ลุงรัตน์เอากระเทียมมีชื่อ
ของปาย(ที่เก็บเอาไว้ทำพันธุ์)ฝากให้พ่อหลวงเอาไปกินที่บ้านวัดจันทร์เต็มกระสอบปุ๋ย (บ้านวัดจันทร์
อากาศเย็นมากเกินไป ปลูกกระเทียมกินหัวไม่ค่อยได้ผล นอกจากกระเทียมกินต้น ต้นใหญ่ ๆ แบบส่ง
ห้างน่ะครับ)...ตอนค่ำ ชาชาส่งข่าวบอกว่า ออกจากปาย 10 โมงเช้า ไปถึงวัดจันทร์ เกือบ 5 โมงเย็น
เพราะพ่อแวะหาเพื่อนระหว่างทางสองแห่ง
รูปที่ 92 ส่งจากบ้านวัดจันทร์วันที่ 14-10-55 ได้รับเพียงรูปเดียว เนื่องจากบนดอยฝนตกหนัก เน็ตล่ม
ส่งข้อมูลไม่ได้ ในภาพ โชเล่กำลังระบายน้ำออกจากแปลงนาเพื่อให้ไหลลงดอย จะเห็นข้าวออกรวงดีไม่น้อยทีเดียว
รูปที่ 93 คนนี้แหละครับที่ผมพูดถึง และให้โชเล่ขับรถไปขอซื้อพันธุ์ข้าว.... คุณธิดา ผู้ชำนาญการ
เรื่องข้าวดอยเกือบจะทุกสายพันธุ์ มีความรอบรู้เก่งกว่าเกษตรอำเภอปาย ชำนาญเรื่องข้าวดอยตั้งแต่แก
ยังไม่เกิด(อยู่ในท้องแม่) รูปนี้ลูกสาวถ่ายก่อนวันเดินทางกลับจากปายแกเอาข้าวกล้องมาขาย
ถนนคนเดินในเมืองปาย
รูปที่ 94 มีการนึ่งใส่ถุงให้ลูกค้าชิมด้วย
รูปที่ 95 ข้าวกล้องลืมผัว ปลอดสารพิษด้วยประการทั้งปวง เป็นข้าวที่คุณ ธิดา ปลูกเอง สีเอง ขายเอง
สด ๆ ใหม่ ๆ วันต่อวันไม่มีค้าง เอามาขายที่ถนนคนเดินเมืองปาย
รูปที่ 96 อันนี้ สลับฉาก ไม่มีอะไรหรอกครับ แต่อยากให้ดู ความสวยงามถาดของเก่าโบราณ เก่าแค่ไหน
ไม่ทราบ แต่แม่เคยบอกว่า ...ของยาย กูใช้มาตั้งแต่กูเป็นเด็ก แม่ตายมา 7 ปี ตอนท่านอายุ 86 ถ้าอยู่
ถึงปีนี้ก็ 93 งั้นถาดใบนี้อายุน่าจะเป็น 100 ปี ปกติจะเก็บ ไม่ค่อยได้เอาออกมาใช้ แต่วันนี้จำเป็นต้องใช้
เพราะ.....
รูปที่ 97 ที่บอกว่า ผมให้โชเล่ซื้อข้าวหอมนิลจากคุณธิดาฝากลูกสาวมาด้วยเพราะวันที่ 18 เค้าจะเข้ากรุงเทพฯ ....
วันที่ 20 ตค.55 ผมออกจากนครปฐมมาที่บ้านพ่อ เพื่อมาเอาข้าวหอมนิลจากปายอันนี้แหละ ผมได้รับ
เป็นของฝากจำนวนประมาณ 2 กก. และที่จำเป็นต้องใช้ถาดโบราณมาใส่เพราะผมถือว่า ข้าว มีเทพนารี
คือ แม่โพสพประจำอยู่ จึงเป็นของสูง การใช้ของเก่ามาใส่ของที่มีคุณค่าย่อมเป็นการดี(ใครจะว่าบ้าก็
ช่างหัวใคร)
รูปที่ 98 เมล็ดข้าวหอมนิลจากปาย คำแนะนำของคุณธิดา ผู้ชำนาญการเรื่องข้าวดอยบอกว่า ข้าวนี่เกี่ยวใหม่
เพิ่งจะตีออกจากรวง ยังไม่แห้งสนิทดี ต้องตากแดดให้แห้ง 2 แดด ผึ่งในร่มอีก 2 วัน เพื่อจะคัดแยกเก็บไว้
ทำพันธุ์ต่อไป คุณธิดาแอบบอกมาว่า ข้าวหอมนิลรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ 3 เป็นข้าวที่เธอพัฒนาสายพันธุ์ขึ้น
เองใหม่ แตกกอดีพอสมควร รวงจะหนา เมล็ดจะมากขึ้น ต้นจะเตี้ยกว่าข้าวหอมนิลสายพันธุ์เดิม ต้น
เตี้ยขนาดที่คนเกี่ยวบ่นเมื่อยหลังเพราะเวลาเกี่ยวต้องก้ม ......
ผมโทรไปแนะนำเธอว่า ให้ทดลองใช้เครื่องตัดหญ้า ดัดแปลงเป็นเครื่องเกี่ยวข้าว ได้ส่งรูปให้เธอทาง
เน็ตแล้ว ให้ลูกเปิดให้ดู ถ้าจะทำเอง ให้พิมพ์รูปเอาไปให้ลุงรัตน์ที่เวียงเหนือดู ลุงรัตน์มีเครื่องมือพร้อม ....
และบอกว่า ขอขอบคุณสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมนิลที่ฝากไปให้ ...ถ้าปลูกที่นครปฐมต้นจะ
สูงหรือเตี้ย ยังบอกไม่ได้ ...
เกษตรสัญจรก็แบบนี้แหละ มีสิ่งละอัน พันละน้อย นึกอะไรได้ก็เล่าสู่กันฟัง คงไม่ไร้สาระจนเกินไป
นะครับ สำหรับรูป ข้าวบนดอย ยังไม่ได้รับการติดต่อ คงต้องรอไปก่อน
ก็เอาไว้ต่อคราวหน้านะครับ อยากไปเที่ยวปายบ้างมั๊ยครับ ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศเย็นสบายดี
ธรรมชาติสวยงามมาก ๆ เลย
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 21/10/2012 11:11 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร - ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 6 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 6
ผมได้รับรูปข้าวบนดอยชุดใหม่มาแล้ว
.ตามข้อมูลบอกว่า รูปชุดนี้ถ่ายไว้ตอนเช้า
วันที่ 14 ต.ค. 2555 เตรียมจะส่งตอนเย็น แต่ตอนบ่ายถูกลมพายุฝน เน็ตล่มเลย
ส่งข้อมูลไม่ได้ มาส่งได้เมื่อตอนเช้าวันที่ 21 ต.ค.55.....เรามาดูกันต่อเลยครับ.......
รูปที่ 99 วันที่ 14 ตค.55 ข้าวอายุ 99 วัน ข้าวเริ่มเป็นเมล็ด (ถ้านับถึงวันที่ 21
ตค.55 ข้าวจะมีอายุ 106 วัน
รูปที่ 100 ข้าวเริ่มสร้างเนื้อ คงจะมีนกลงกิน มีการแขวนชุดไล่นก นกจะกลัวมั๊ยหว่า
รูปที่ 101 รวงข้าวแบบนี้ เมล็ด (เนื้อ) จะดีหรือเปล่า ต้องถามผู้ชำนาญการเรื่องข้าว
รูปที่ 102 สังเกตได้ว่า ข้าวที่อยู่ใกล้ร่มไม้ ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ รวงจะไม่ค่อยมี
รูปที่ 103 ต่างกับข้าวที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ รวงแน่นปึ๊กเลยแหละ
รูปที่ 104 กอนี้มันกี่ต้นกันนะนี่ น่าจะนับมาให้ด้วย รวงแน่นกอดีจัง
รูปที่ 105 ถึงจะเห็นรวงแน่นแบบนี้ ก็ยังคาดคะเนไม่ได้ว่า ผลจะเป็นอย่างไร เพราะ
กว่าข้าวจะแก่จนเกี่ยวได้ ยังผ่านอุปสรรคอีกหลายวัน (20 กว่าวัน)
รูปที่ 106 หญ้าเริ่มจะมีขึ้นเหมือนกัน แต่หญ้าขนาดนี้คงไม่เป็นอุปสรรคซักเท่า
ไหร่ เหตุผลคือ เนื่องจากใกล้จะหมดฝน ถ้าข้าวในระยะนี้ขาดน้ำ เมล็ดอาจมีลีบ น้ำ
ค้างอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องปล่อยให้มีหญ้าขึ้นบ้าง เอาไว้เพื่อคุมความชื้นในดิน
แล้วอีกอย่าง การปลูกคราวนี้ ปลูกระยะห่างไม่เหมือนเดิม ๆ ที่เคยปลูก (แบบถี่ ๆ)
ผมบอกเค้าว่า คราวหน้าจะให้ลองเอาถั่วเขียวหว่านบนคันนา หลังปลูกข้าวซัก 45
วัน พอ 65 วันถั่วแก่ เก็บถั่วไว้ทำพันธุ์ต่อ เหลือก็ขาย แล้วตัดต้นทิ้งคลุมดิน ถึงวัน
นั้นข้าวจะอายุได้110 วัน ข้าวใกล้จะแก่ รออีก 10 กว่าวันน่าจะเกี่ยวข้าวได้ ....
หลังเกี่ยวข้าวแล้วก็เขี่ยต้นถั่วลงแปลงนา ใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดตอซัง ทิ้งไว้สักพัก
หว่านถั่วเหลืองต่อ ....
สำหรับการหว่านถั่วเหลืองหลังเกี่ยวข้าว กะเหรี่ยงและชนเผ่าบนดอยเค้าทำกันมา
ทุกปีอยู่แล้วครับ ด้วยประการฉะนี้ ปลูกข้าวบนดอยจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมากนัก
เพราะมีถั่วเหลืองที่เก็บผลแล้วเป็นปุ๋ย แต่วิธีการที่ผมแนะนำปีนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
ที่น่าจะช่วยคุมหญ้าได้ และคิดว่า นาภาคกลางก็น่าจะทำได้
รูปที่ 107 ข้าวออกรวงแบบนี้ผมดูว่ามันสวยนะครับ
รูปที่ 108 อีกมุมมองหนึ่ง ถึงจะปลูกห่าง แต่แตกกอแน่นพอสมควร ข้าวได้รับแสง
ทั่วถึง
รูปที่ 109 น้ำแห้ง หน้าดินพอชื้น ๆ กอข้าวห่างกันกว่า 1 ศอกแขน ข้าวแตกกอ
แล้วออกรวงแบบนี้ได้ยังไงครับลุง
รูปที่ 110 นี่ก็อีกรูปหนึ่งที่ข้าวแตก กอ บนดินชื้น ๆ มี่น้ำขัง
รูปที่ 111 กอหนึ่งน่าจะมีไม่น้อยกว่า ยี่สิบ ต้น
รูปที่ 112 นอกจากแขวนหุ่นไล่นกแล้ว ยังขึงตาข่ายป้องกันด้วย ช่วงฝนต้นหนาวนี่
นกแยะครับ นกหนีหนาวมาจากดินแดนเมืองจีนอันไกลโพ้น ถือได้ว่า เจ้าโชเล่...
ดูแลข้าวในนาแปลงนี้ดีที่สุดตามสัญญาจริง ๆ ป้องกันทุกวิถีทางที่จะให้ได้ข้าวออก
มาดีที่สุด
รูปที่ 113 114 ข้าวกอนี้น่าจะได้ถึง ยี่สิบ ต้นนะครับ
รูปที่ 115 116 ตอนที่แช่ข้าวปลูก มัวแต่รีบ ก็ลืมถามว่าข้าวพันธุ์อะไร ผลออก
มาผู้ไม่มีประสบการณ์ อย่างผมก็ดูไม่ออกว่าข้าวพันธุ์อะไร บางรวงมีสีแดงๆออกที่
เมล็ดบางเมล็ดด้วย ถามเจ้าโชเล่ก็ยังไม่ยอมบอก
รูปที่ 117 118 เจ้าโชเล่บอกให้ผมทายว่าเป็นข้าวพันธุ์อะไร เค้าอยากให้ผม
เรียนรู้ เพราะได้บอกชื่อและลักษณะพันธุ์ข้าวดอยให้แล้ว แถมมีบอกด้วยว่า ...ถ้าสู
อย่ารู้ไปถาเท่ธิดาดอดูอาเอ....นั่นแน่ มีบอกว่า ถ้าอยากรู้ให้ไปถามเทพธิดาดอย
(คุณธิดา)ดูเอาเอง....
รูปที่ 119 120 หยดน้ำค้างปลายเมล็ดข้าวยามเช้า 07.52 น.วันที่ 14 ตค.55
อายุข้าว 99 วัน...จะแปดโมงเช้า น้ำค้างยังไม่แห้งเลยนะครับ ....
ข้าวอะไรของมันหว่า
ตามที่เจ้าโชเล่เคยบอกผมไว้ ข้าวดอยก็จะมีพันธุ์ ข้าวเจ้าลีซอสันป่าตอง, อาร์
258, น้ำรู, เจ้าฮ่อ, ขาวโป่งไคร้, ข้าวหลวงสันป่าตอง, ยากู่, ขามเหนี่ย
26, บือโปะโละ 39, บือพะทอ 12, กข4
ถ้าเป็นข้าวปลูกไว้กินเองต้องเป็นพันธุ์ข้าวเหนียว ดังนั้น ข้าวเจ้าตัดไปได้เล ก็จะ
เหลือ ข้าวหลวงสันป่าตอง, ขามเหนี่ย 26, บือโปะโละ 39, บือพะทอ 12, กข
4 เดาไม่ถูกว่าจะเป็นพันธุ์อะไร
รูปที่ 121 อนิจา วตะ สังขารา ใกล้หน้าหนาว จะมีนกหนีหนาวมาจากเมืองจีน ถ้าตัว
สองตัวพอว่า แต่ถ้ามากันเป็นฝูง ลงกินข้าวสามวันหมดแปลงแน่ ๆ นกที่เห็น ตัว
ขนาดเท่านกกระจอก เป็นลักษณะเดียวกับนกที่ลงกินข้าวที่นครปฐม เสียงร้อง ปรี๊ด
ๆๆๆ ลุงคิมเคยบอกว่าเป็นนกหวีด ...โชเล่บอกว่า แต่ละวันจะมีติดตาข่าย 10 20
ตัว คงจะพอแกงป่าได้ละสูเจ้าเอย
รูปชุดนี้ก็มีแค่นี้ คงต้องรอดูชุดต่อไป แต่ข้อมูลจากบนดอย บอกมาว่า ตั้งแต่วันที่
22 26 ตค.55 ติดราชการต้องไปอบรมที่เชียงใหม่ จะส่งรูปชุดใหม่มาให้ได้
ประมาณวันที่ 27 หรือ 28 ตค. 55 คงจะทันก่อนเกี่ยวข้าว
ถ้าคิดว่า ไม่น่าเบื่อ กรุณาติดตามต่อนะครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 21/10/2012 4:58 pm ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร - ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 6 |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 6
รูปที่ 101 รวงข้าวแบบนี้ เมล็ด (เนื้อ) จะดีหรือเปล่า ต้องถามผู้ชำนาญการเรื่องข้าว
COMMENT :
ธรมชาติของเมล็ดข้าว จะเริ่มแก่จากเมล็ดปลายรวงลงมาหาเมล็ดโคนรวง เมื่อ
เมล็ดจากปลายมาถึงโคนแก่ได้ 3 ใน 4 ใบธงจะเริ่มเหลือง นั่นคือ การบอกลาของ
ใบ หยุดการสังเคราะห์อาหารแล้ว ในเมื่อเมล็ดอีก 1 ใน 4 ที่โคนรวงยังไม่มีเนื้อ
(แป้ง) แต่ใบหยุดสังเคราะห์อาหารซะแล้ว เมล็ดข้าวที่โคนรวงจึงไม่ได้สารอาหาร
ส่งผลให้กลายเป็นเมล็ดลีบนั้นเอง
แนวทางแก้ไข คือ ..... ให้ "แม็กเนเซียม" เพื่อช่วยสร้างฃคลอโรฟีลด์ จะช่วยให้
ใบเขียวถึงวันเกี่ยว ..... ให้ "สังกะสี" เพื่อช่วยสร้างแป้ง ทำให้เมล็ดทุกเมล็ดมีแป้ง
รูปที่ 102 สังเกตได้ว่า ข้าวที่อยู่ใกล้ร่มไม้ ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ รวงจะไม่ค่อยมี
COMMENT :
ในร่มไม้ คือ บริเวณที่แสงแดดไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ (อาจจะได้รับแค่ช่วงเช้า หรือช่วง
บ่าย ตามเงาของต้นไม้เท่านั้น) ข้าวในร่มเงาแบบนี้ ใบมาก-รวงน้อย เพราะ
กระบวนการสังเคราะห์อาหารโดยใบไม่เต็มร้อยนั่นเอง......เหมือนข้าวนาหว่านที่ต้น
ขี้นเบียดกัน จนใบรับแสงแดดได้ไม่เต็มที่ ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้คุณภาพของเมล็ด
ข้าวไม่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งแพร่ของศัตรูพืชอีกด้วย
รูปที่ 103 ต่างกับข้าวที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ รวงแน่นปึ๊กเลยแหละ
COMMENT :
ข้าวกอห่าง (นาดำ/หยอด) ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดเฉาก๊วย ..... ข้าวกอชิด (นา
หว่าน) ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดยาคูลท์ ..... ขนาดของลำต้นบ่งบอกถึง
คุณภาพ-ปริมาณ-โรค อีกด้วย......ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี (เอเซียด้วยกัน) เขาทำ
นาดำด้วยเครื่องกันทั้งนั้น เพราะรู้แน่แล้วว่า "ดีกว่า-เหนื่อกว่า" นาหว่าน ก็มีแต่พี่
ไทยเรานี่แหละที่ยังยึดอยู่กับ นาหว่านน้ำตม-นาหว่านสำรวย น่าจะเรียกว่า "นามัก
ง่าย-นาขี้เกียจ-นาขี้โม้-นาขี้คุย-นาเป็นหนี้" ซะมากกว่านะ
รูปที่ 104 กอนี้มันกี่ต้นกันนะนี่ น่าจะนับมาให้ด้วย รวงแน่นกอดีจัง
COMMENT :
นี่คือ สัจจะธรรมของธรรมชาติ ยังไงก็ต้องเป็นเยี่ยงนี้ แต่สัจจะธรรมของธรรมชาติ
ของคน คือ ปลูกข้าวไม่เชื่อข้าวแต่เชื่อคน เชื่อคนขายปุ๋ยขายยา ......
ว่ามั้ย เกษตรกรวันนี้ โกหกตัวเอง จนกระทั่งเชื่อตัวเอง
ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน......
|
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 03/11/2012 9:40 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 ....ทุ่งบัวตอง |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 7 / 1
ก่อนอื่นขอขอบคุณลุงคิม ที่มีรายการ Comment ให้น่ะครับ คนบนดอยก็คงได้อ่าน
แล้วเหมือนกันครับ
เนื่องจากคนส่งข้อมูลจากบนดอยบอกว่า ต้องไปอบรมที่เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 22
26 ตุลาคม ...ผมก็รอมาจนถึงวันที่ 1 พ.ย. จึงได้รับข้อมูลว่า มีเหตุขัดข้องบาง
ประการ ยังไม่สามารถส่งรูปข้าวมาให้ได้ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาระหว่างที่รอ ก็
จะมีรูปสวย ๆ แปลก ๆ ที่เธอถ่ายเอาไว้ระหว่างที่เดินทางไปอบรมที่เชียงใหม่และเดิน
ทางกลับบ้านวัดจันทร์ ซึ่งถ่ายแล้วเก็บรูปไว้ใน Flash Drive ก็เลยส่งมาให้ดู
ก่อน ....จึงขอแบ่งปันให้สมาชิกได้ดูกัน ก็ถือว่าเป็นการพาเที่ยวในเส้นทางที่หลาย
คนไม่เคยไป
เข้าเรื่องเกษตรสัญจร ภาค 2 ตอนที่ 7 / 1 กันเลยครับ
รูปที่ 122 เธอบอกว่าดอกอะไรไม่รู้จัก ดูแปลก น่ารัก สวยดี ..ผมก็ไม่รู้จักเหมือนกัน
รูปที่ 123 ผีเสื้อตัวนี้แปลกจังเลย ปีกมันใสมองทะลุไปได้ กว่าจะถ่ายได้ หนูตั้งท่า
คอยตั้งนาน
รูปที่ 124 หนูไม่แน่ใจว่าจะใช่ดอกมะเขือหรือเปล่า เห็นมุมกล้อง แสงสี มันดูสวย เลยลองถ่าย รูปก็ออกมาดีเหมือนกันนะคะ
COMMENT : ภาพนี้จัด "มุมแสง" ได้ดีมาก ระดับส่งประกวดได้เลยนะเนี่ย....ลุงคิม
แล้วรูปนี้ล่ะครับ ชาชา คนถ่ายรูป แต่รูปนี้บอกว่า วานคนอื่นถ่ายให้ พอจะไปวัดไปวาได้มั๊ย กะเหรี่ยงในชุด ม้ง ....เค้าบอกว่า
วันประชุมวันแรก เค้าให้แต่งตัวสลับเผ่ากัน รูปออกมาเลยดูแปลก ๆ ....ขออนุญาตเปิดตัวหน่อยเถอะนะ ชาชา
เดี๋ยวใครไม่รู้จะนึกว่า กะเหรี่ยงหน้าตามอมแมมเคี้ยวหมากปากเปรอะ
รูปที่ 125 126 อันนี้ของแปลกแน่ ๆ ค่ะพ่อ เพื่อน ๆ หลายคนเห็นแล้ว กรี๊ดเลยแต่หนูรู้
เพราะพ่อเคยพูดถึงว่ารูปร่างเหมือนการ์ตูนมิกกี้เมาส์ นี่แหละค่ะ มะเขือการ์ตูน ....หนูได้ลูก
มาแล้ว ...เมล็ดคงจะถึงพ่อในไม่ช้านี้ ....กลับถึงบ้าน หนูเอาให้ทุกคนดู ยังไม่ทันจะว่า
อะไร พี่โชเล่บอก (เป็นภาษากะเหรี่ยง) เอาเมล็ดตากแห้ง แบ่งส่งให้อาปาด้วย แม่นั่งยิ้ม
พยักหน้าหงึก ๆ ...เลยบอกว่า ไม่ต้องห่วง ส่่งให้แน่ ๆ ...
COMMENT : เคยได้ยินมา บางที่เรียก "มะเขือนมแพะ" จะใช่่ตัวเดียวกันนี้หรือเปล่า ไม่รู้ แล้วเจ้าในรูปนี้
กินได้รึเปล่าล่ะ......ลุงคิม
น่าจะใช่น่ะลุง เท่าที่ผมเคยเห็น มันมีหลายรูปแบบครับหรือหลายพันธุ์ก็ไม่ทราบ น่าจะกินได้ครับเพราะเป็นมะเขือ เค้าปลูกเป็น
ไม้ประดับ ...ใจเย็น ๆ ครับ เมล็ดกำลังเดินทางลงจากยอดดอย คงได้ไปโชว์ตัวที่ไร่กล้อมแกล้มบ้างละน่า
รูปที่ 127 สวย น่ารักมากเลยค่ะพ่อ เค้าเรียก ดอกตุ้มหูนางฟ้า ไม่รู้เค้าใช้อะไรปลูก มองดูไม่เห็นมีฝัก เลยจนปัญญา
รูปที่ 128 เห็นเค้าเขียนว่า Summary Pepper เป็นพริกค่ะพ่อ จะเผ็ดแบบพริก
กะเหรี่ยงหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะชื่อแปลว่า
เป็นศูนย์รวมของพริกไทย เมล็ดยังไม่แก่ เลยไม่ได้พันธุ์มาอีก
วันที่ 28 ต.ค. เป็นวันเดินทางกลับ แต่หลังเลิกงานเลี้ยงตอนค่ำวันที่ 26 เจ้าหน้าที่
อบต.ขุนยวม ชวนกลับทางขุนยวม จะพาไปเที่ยวชมทุ่งบัวตองที่ดอยแม่อูคอ สำหรับ
หนู ติดต่อกลับบ้านวัดจันทร์ รายงานนายกทราบแล้วขอให้พี่ชายเอารถมารับที่ปาง
อุ๋ง ขอเบิกค่าน้ำมันด้วย ...โทร.ติดต่อบอกพี่โชเล่ ...พี่ชายรีบรับปากรับคำโดยไม่มี
ข้อโต้แย้ง บอกว่าจะรีบออกแต่เช้าเลย ถามด้วยว่าจะค้างที่ปางอุ๋งหรือเปล่า ..ตอบ
ว่าคงไม่ค้าง แต่ให้มารอที่ปางอุ๋ง พี่เค้าบอก น่าจะค้างซักคืน......การที่พี่โชเล่รีบรับ
ปากรับคำโดยไม่เกี่ยงงอน เพราะพี่เค้าเคยมี กิ๊ก อยู่ที่ปางอุ๋ง นาน ๆ จะได้มีโอกาส
มาเจอกัน .... น้องสาวรู้ทันก็แล้วกันน่า....
...หนูซื้อแผนที่มาฉบับตามที่พ่อเคยบอก เวลาไปทางไหนจะได้รู้ แบบฝรั่งมีแผนที่
ฉบับเดียวไปได้ทุกที่ ...เดี๋ยวนี้หนูดูแผนที่เก่งแล้วนะพ่อ... อาจารย์สอนดีน่ะไม่
ว่า....เดี๋ยวหนูจะบอกพ่อว่า ไปทุ่งบัวตอง เดินทางโดยใช้เส้นทางไหน ....
28 ต.ค. ออกจากเชียงใหม่ 05.30 ขับรถออกมาทาง อ.หางดง พอถึง อ.สันป่า
ตอง เลี้ยวขวาออกเส้นทาง 1013 เส้นทางลาดยางรถวิ่งสบาย พอถึง อ.แม่วาง เข้า
แยกขวาไปออกบ้านห้วยทราย ถึงบ้านห้วยทราย จะเป็นทางสามแยก แยกขวามือจะ
ไป ต.บ่อแก้ว จะมีทางต่อไปบ้านวัดจันทร์ เส้นทางที่พ่อเคยมาสะเมิงกับพ่อหลวง
และพี่โชเล่ นั่นแหละ....แต่ถ้าจะมาขุนยวมต้องเลี้ยวซ้าย ถนนช่วงนี้ยังไม่ค่อยดีนัก
รูปที่ 129 รถวิ่งปุเลง ๆ มาถึง บ้านโป่งสะมึต ตรงนี้จะมีไร่กาแฟของอาข่า มีรูปมาให้
พ่อดูด้วย อาข่ากำลังเก็บกาแฟ สวยนะพ่อ กาแฟสวยหรือคนเก็บสวยก็ม่ายรู้ละ อิ
อิ ...เสียดายเวลาน้อย เลยไม่มีข้อมูลมาฝาก
รูปที่ 130 131 ออกเดินทางต่อ รถวิ่งขึ้นเขาอ้อมหลังดอยอินทนนท์ พอลงดอยก็
ถึง ต.แม่นาจร เจอป่าต้นไม้มีแต่ใบแดงสวยมาก ๆ เลยค่ะพ่อ เจ้าหน้าที่ขุนยวมเค้า
บอกว่า เป็นต้นเมเปิ้ล เค้าปลูกเอาไว้ทำน้ำตาลจากต้นเมเปิ้ล ค่ะพ่อ ...
(ใครเป็นคนแนะนำและหาพันธุ์มาให้ชาวเขาชาวดอยปลูก คงไม่ต้องบอกนะครับ มี
องค์เดียวในโลก พ่อหลวง ร.๙ ทรงทราบได้อย่างไรว่า ตรงนี้ต้องปลูกไอ้นั่น ตรงนั้น
ต้องปลูกไอ้นี่)
รูปที่ 132 พอเลยต.แม่นาจรมานิดเดียวก็ถึงทางสามแยก ทางดี๊ดี ถ้าจะไป อ.ขุน
ยวม ก็ต้องเลี้ยวขวา เข้าเส้นทาง 1263 ตามแผนที่เป๊ะเลย ขับเลยโค้งยึกยักตรงนี้
ไปอีกหน่อยเดียว ก็จะมีทางสามแยกอีกแห่ง ให้เลี้ยงซ้ายไปตามเส้นทาง 1263 ..
ถนนดีที่เห็นในรูป แต่ทางโค้งแยะ ...ทางโค้งนี้หนูชินซะแล้วละ มาถึงทางแยกปาง
อุ๋ง เกือบ 10 โมงเช้า ...จอดรถลงมา โทรหาพี่ชาย ไม่รับสาย แต่เห็นเดินยิ้มออก
มาจากร้านขายของข้างทาง.. หนูถามว่ามาถึงนานหรือยัง เค้าบอกว่ามาถึงก่อน แปด
โมง ...ถามว่า ออกจากบ้านมาตั้งแต่เมื่อไหร่... เค้าบอกว่าออกมาตั้งแต่ตีสี่ โอ้โฮ
อะไรกันพี่เรา ...ถามว่าจะไปทุ่งบัวตองด้วยกันมั๊ย ...เค้าบอกว่า ไปกันเถอะ เค้าไป
มาเบื่อแล้ว ถ้าจะกลับตอนออกจากทุ่งบัวตองให้โทรมาบอกจะวิ่งรถไปรับที่ทางแยก
เข้าทุ่งบัวตอง จากปางอุ๋งไปแค่นี้ 10 กว่ากิโลเอง วิ่งรถแป๊บเดียวก็ถึง....ที่ไม่ไป
ด้วยเพราะจะอยู่คุยกับกิ๊กก็ว่ามาเถอะน่า.....
ออกจากปางอุ๋ง รถวิ่งมาอีกประมาณสิบกว่ากิโลก่อนเข้าเขต อ.ขุนยวม จะมีทางแยก
ขวามือ ไปตามทางเส้นนี้อีก 12 กม.จะถึงทุ่งบัวตอง ซึ่งจะเริ่มบานมาตั้งแต่กลาง ๆ
เดือนตุลาที่ผ่านมา เริ่มมีคนมาจองที่พักกางเต้นท์ เค้าจะเปิดให้เที่ยวเป็นทางการ
ตั้งแต่ 1 พ.ย. ไปจนถึงปลายเดือนมกราคม
รูปที่ 133 134 ทุ่งบัวตองที่ ดอยแม่อูคอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ดอกเพิ่งจะ
เริ่มบาน ก็เลยยังดูโหลงเหลงไปหน่อย ถ้าดอกบานเต็มที่ จะเหลืองไปทั้งดอย จะ
สวยกว่านี้
ประมาณ บ่ายสองโมงครึ่ง โทรนัดพี่โชเล่ให้เอารถมารอรับที่ปากทางแยกเข้าทุ่งบัว
ตอง ...ออกมาถึงปากทาง พี่โชเล่มารออยู่แล้ว .. ...จากนั้นก็ถึงเวลาล่ำลาเจ้าหน้า
ที่ อบต.ขุนยวม เจ้าหน้าที่แม่ฮ่องสอน เจ้าหน้าที่ปางมะผ้า และเจ้าหน้าที่ปาย ก็
แยกย้ายกันไป ....พี่โชเล่ขับรถย้อนกลับมาที่ปางอุ๋ง ขอจอดรถแวะแป๊บนึง บอกว่า
ลืมของ ...รู้ทันหรอกน่า....จากปางอุ๋งขึ้นบ้านวัดจันทร์ 3 ชั่วโมงคงถึง
จากปางอุ๋งขับรถขึ้นมาทางบ้านแม่ขุนรวม ทางยังไม่ดีนัก พี่โชเล่จอดรถที่บ้านแม่ขุน
รวม ถามว่าจอดทำไม... เค้าบอกว่า หิวข้าว ยังไม่ได้กินข้าวกลางวัน ....อะไรกัน
จะบ่ายสี่โมงแล้ว คุยกับสาวจนลืมกินข้าวเลยนะพี่เรา ....จากนั้นก็เดินทางต่อ มาถึง
บ้านแม่ละอูบ บอกพี่ชายให้เลี้ยวเข้าไปที่แจ่มหลวงหน่อย (ระยะทางราว ๆ กิโลกว่า
ๆ ) จะเอาเอกสารไปให้ที่นั่น เพราะ ต.แจ่มหลวง รวมกับ ต.บ้านวัดจันทร์ ตั้งเป็น
อำเภอกัลยาณิวัฒนา ...
รูปที่ 135 คิดว่าพ่อคงจำไผ่ยักษ์ที่แจ่มหลวงกอนี้ได้นะคะ มีรูปเปรียบเทียบให้ดูด้วย
รูปที่ 136 ไผ่ต้องห้าม(ตัด) แต่ให้พ่อลองดูดี ๆ วันนี้ จะเห็นมีรอย BAMBOO
TATTOO เต็มไปหมด ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือนักท่องเที่ยวหรือฝีมือกะเหรี่ยง นอกจากจะ
ปลูกได้หรือตัดใช้งานได้ในพื้นที่แล้ว เค้าห้ามขนย้ายลำต้นออกนอกพื้นที่โดยเด็ด
ขาด ทางการห้าม ถ้าจับได้โดนปรับหนัก แต่ถ้ากะเหรี่ยงจับได้ ไม่ปรับ แต่อาจ
โดนอย่างอื่น ชาวกะเหรี่ยงจะไม่ชอบการตัดต้นไม้ค่ะนอกจากจำเป็นใช้งาน....
ตอนออกจากแจ่มหลวงมาถึงแม่ละอูบ พี่โชเล่คุยให้ฟังว่า พ่อเคยบอกว่ามีวิธีที่จะได้
พันธุ์เอามาปลูก โดยไม่ต้องตัดต้น หรือ บางครั้งทางหมู่บ้านอาจมีการประชุม ขอตัด
ต้นเล็ก ๆ ที่เบียดชิดกันมากเกินไปออก เราก็ใช้วิธีคือ 1.......2..... ตามวิธีของ
พ่อ หนูว่าน่าจะทำได้ ..หนูกับพี่จะลองคุยกับพ่อหลวงดู
รูปที่ 137 จากแม่ละอูบ ขึ้นมาอีกไม่นานจะถึงดอยที่เห็น ใกล้จะถึงบ้านแล้วค่ะ
พ่อ ...พ่อหลวงบอกว่าสมัยทีปู่ยังอยู่ เดิมบริเวณนี้เป็นป่าทึบ มาสมัยพ่อเป็นเด็กก็มี
คนมาตัดจนกลายเป็นเขาหัวโล้น และตอนที่พ่อเป็นหนุ่มมีชาวบ้านเข้าไปเพาะปลูก ก็
ถูกจับหาว่าบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า จนในที่สุดได้ยื่นถวายฎีกาต่อพ่อหลวง ร.๙ และได้
รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าปลูกพืชทำมาหากินได้ให้มีเพียงแต่สิทธิ์ทำกินห้ามซื้อ
ขาย หากพ่อตายให้ลูกทำกินต่อได้ ....ป่าทั้งป่า เขาทั้งลูกนะพ่อ ชาวบ้านอย่างเรา
จะเอาปัญญาที่ไหนไปตัดไปขน จะเอาไปขายที่ไหนยังไม่รู้เลย แค่เอามาทำบ้านก็
เป็นไม้ต้นเล็ก ๆ ทำบ้านแล้วก็อยู่กันชั่วลูกหลานไม่ตัดกันอีก นอกจากเอามาซ่อม
แซมเป็นบางครั้ง ....ทั้งบ้านวัดจันทร์ ทั้งแจ่มหลวง ไม่มีใครอยากให้กลายเป็น
อำเภอหรอกพ่อ ...พวกเราเคยอยู่กันมาเงียบสงบ ไม่มีเงิน แต่มีที่อยู่ มีเสื้อผ้า มี
ข้าว มีอาหาร มีปลา มีปู มีไก่ เราอยู่ได้ มีความสุข แต่ถ้าเรามีแต่เงิน ไม่มีอาหาร เรา
อยู่ไม่ได้นะพ่อ .....ถึงบ้านเกือบค่ำ อากาศเย็นกว่าตอนที่พ่อมา เพราะเริ่มเข้าหน้า
หนาว ...วันนี้เดินทางมาเพลีย ขอพักก่อนนะคะ
รูปที่ 138 เมื่อคืนหลับยาว จากบ้านไปหลายวัน ขอเดินสูดอากาศรับอรุณหน่อย เห็น
น้ำเหมย (น้ำค้าง) เริ่มเกาะตามยอดไม้ ใกล้จะเป็นแม่คนิ้ง ....
รูปที่ 139 นี่ก็อีกรูปที่ดูสวยดี เลยถ่ายรูปเก็บเอาไว้ ก็ดีนะ ที่พ่อบอก เราเห็นอะไร
แปลก ๆ ก็ถ่ายรูปเก็บเอาไว้ มันจะเป็นบันทึกเรื่องราวที่นานไปอาจจะลืม แต่พอเห็น
รูปจะทำให้นึกขึ้นได้ว่า เราไปไหนมาบ้าง
วันที่ 29 ตค. เมื่อมาถึงแล้วต้องไปรายงานตัวก่อนตามระเบียบ แต่ความจริงมีสิทธิ์
ได้พักอีก 1 วัน ...ไม่พักดีกว่า คงมีเรื่องที่เพื่อน ๆ จะรุมซักถาม ซึ่งต้องเล่าให้ฟังกัน
ตามธรรมเนียม
หนูมีรูปการทำนาขั้นบันไดให้พ่อดู ถ่ายเก็บเอาไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มปลูกเมื่อกลางหน้า
ฝน จนถึงวันเกี่ยว
รูปที่ 140 นาขั้นบันได เมื่อกลางฤดูฝน
รูปที่ 141 ปลายฝน ต้นหนาว ข้าวแก่ใกล้จะเกี่ยวได้แล้ว
รูปที่ 142 กำลังเกี่ยว ข้าวแปลงนี้ปลูกก่อนข้าวของพี่โชเล่ จึงได้เกี่ยวก่อน เกี่ยว
แล้วก็กองบนตอข้าวเพื่อตากให้แห้ง แล้วจับเอามาฟาดมีที่รอง แล้วก็เอาใส่กระสอบ
แบกขึ้นเก็บในยุ้ง ต้องใช้วิธีร่วมแรงช่วยกัน คนไทยเรียก ลงแขก นั่นแหละ จ้างแรง
งานคงไม่ไหว ส่วนมากจะช่วยกันค่ะ
สำหรับรูปข้าวของพี่โชเล่คงต้องรอพ่อหลวงกลับมาก่อน จะรีบส่งมาให้ค่ะ......บาย
ครับ คงต้องอดใจรอรูปข้าวบนดอยอีกวันสองวันนะครับ ผมก็รอดูอยู่เหมือนกัน
เกษตรสัญจรชุดนี้คงไม่ไร้สีสันจนเกินไปนะครับ เพราะมีสิ่งแปลก ๆ มาให้ดูด้วย ....
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 05/11/2012 6:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 03/11/2012 9:55 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 ....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 7 / 2
ส่งมาแล้วครับรูปข้าวกะเหรี่ยงบนดอย รูปชุดนี้ ค่อนข้างจะมัวไปหน่อย ไม่ชัดเจน
นัก คนส่งรูปบอกว่า ย่างเข้าปลายฝนต้นหน้าหนาว อากาศค่อนข้างจะมัวเพราะทั้ง
ฝนก็จะหมด เมฆก็จะไป หมอกก็จะมา บางครั้งต้องเช็ดหน้าเลนซ์บ่อย ๆ เพราะเป็น
ฝ้า ....เรามาดูกันต่อครับ
รูปที่ 143 เมื่อวันที่ 30 ต.ค.55 ข้าวอายุ 115 วัน โปรดสังเกต เมล็ดปลายรวงเริ่ม
แก่ เมล็ดโคนรวงยังเขียว ส่วนใบก็ยังเขียวดีอยู่ บางจุดเริ่มเหลือง
COMMENT : การแก่ของเมล็ดในรวง จะแก่จากปลายรวงเข้ามาโคนรวง เมื่อ
จำนวนเมล็ดในรวงแก่ได้ 3 ใน 4 ของรวง ใบธง (ใบที่เกิดสุดท้ายของต้น หรือใบ
ในสุดของต้น) จะเริ่มเหลือง นั่นคืออาการ BYE-BYE ของเขา พูดง่ายๆก็คือ หมด
อายุขัย เขาหยุดสังเคราะห์อาหารแล้ว ในเมื่อเมล็ด 1 ใน 4 ที่โคนรวงยังไมสมบูรณ์
แป้งยังเป็นน้ำ (น้ำนม) แล้วไม่ได้รับสารอาหาร เมล็ดจึงเป็นเมล็ดลีบ มีแต่แกลบไง
ล่ะ.....แนวทางแก้ไข คือ ต้องทำให้ใบยังคงเขียว เพื่อให้เขาสังเคราะห์อาหารต่อ
ไป ด้วยการให้ "แม็กเนเซียม" ให้ตั้งแต่แรก ตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด กระทั่งงอกขึ้นมา
แล้วก็ยังบำรุงต่อตามระยะๆ จนถึงก่อนเกี่ยว ง่ายๆ ไม่ต้องคิดยาก "ใบเขียวยันวัน
เกี่ยว" นั่นแล......
ประสบการณ์ตรง :
ถึงกำหนดครบวันเกี่ยว เด็กหนุ่มคนขับรถเกี่ยว ก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่
รถเกี่ยว : ลุงครับ ข้าวนี่ยังเกี่ยวไม่ได้นะครับ
ลุงคิม : มึงรู้ได้ไง ?
รถเกี่ยว : ใบยังเขียวอยู่เลยครับ
ลุงคิม : งั้นมึงลงมานิ ลงมา ลงมานี่....
เด็กหนุ่มพูดจากประสบการณ์ที่ผ่านงานรับจ้างเกี่ยวข้าวมานักต่อนัก ลงจากรถเกี่ยว
เขามาหา ลุงคิมเด็ดรวงข้าวข้างทางขึ้นมา 1 รวง แล้งบรรจุงเด็ดเมล็ดโคนสุดของ
รวงให้อั้ยเด็กหนุ่มเห็น แล้วยื่นให้มัน เด็กหนุ่มมีประสบการณ์จริงๆ ไม่ต้องบอก ไม่
ต้องอธิบาย มันส่งข้าวเมล็ดเดียวเมล็ดนั้นเข้าปากแล้วเคี้ยว ๆๆ ด้วยสายตางงงง
ตีหน้าเหรอหรา ลุงคิมชู้ดคำถามทันที
ลุงคิม : เกี่ยวได้ยัง ?
รถเกี่ยว : ได้แล้วครับ
ลุงคิม : เมื่อกี้นี้มึงบอกยังเกี่ยวไม่ได้ไง ?
รถเกี่ยว : ก็ใบมันบังเขียวอยู่เลยนี่.....ลุงทำยังไงน่ะ แบบนี้ไม่มีข้าวลีบแน่
ลุงคิม : ไป ไป ไป ขึ้นรถ เกี่ยวข้าว ไม่ต้องถาม....
มองไปรอบตัว เห็นชาวบ้านทั่วราชอาณาจักรที่รู้ข่าววันเกี่ยวข้าวจากวิทยุกว่า 100
คน มาดูให้เห็นกับตา หลายคนเลียนแบบดารา ก้มเก็บรวงข้าวขึ้ันมาแล้วเด็ดเมล็ด
ล่างสุดของโคนรวง ใส่ปากลองเคี้ยวด้วยฟัน ไม่ต้องบอก ไม่ต้องพูด แค่อ่านสาย
ตาก็รู้ว่า "ทดสอบ เมล็ดข้าวลีบ ทำยังงี้เอง...."
นา 5 ไร่ ขอยืมนาคนข้างบ้าน งวดนี้ได้ 123 ถัง/ไร่ ราคาส่งโรงสีราคา ณ วันนั้
ได้ 6,000 แต่งานนี้ไม่ต้องส่งโรงสี เกี่ยวเสร็จเอาข้าวเปลือกมาเทที่ลานในไร่
กล้อมแกล้ม คนที่ดูเจรจาขอซื้อทันที บอกจะเอาไปทำข้าวปลูก ลุงคิมเรียกราคา
ถัง (10 กก.) ละ 90 นั่นเท่ากับเกวียนละ 9,000 ลงตัวพอดี รายหนึ่งมาจาก
ไชโย อ่างทอง เอาไปกว่า 100 ถัง แล้วส่งข่าวว่า ทันทีที่ถึงบ้านมีคนข้างบ้านมา
ขอซื้อต่อถังละ 120 บาทขาดตัว ไม่พอขาย .... นี่ไง ก.ทำกะมือ
รูปที่ 144 ปลายรวงแก่เข้ามาประมาณ 3 ใน 4 เหลืออีก 1 ใน 4 น่าจะสร้างเนื้อ
ได้เต็มเมล็ด รอลุ้นดูอีกซัก 7 วัน ว่าผลจะเป็นอย่างไร ....แต่ น้ำยังพอมีตกค้างอยู่
บ้าง ดินไม่ถึงกับแห้งซะทีเดียว โชเล่บอกว่า มีน้ำแบบนี้ ข้าวโคนรวงคงจะไม่ลีบ คง
จะได้เมล็ดเต็มรวง
COMMENT :
ก่อนเกี่ยว 7-15 วัน พื้นดินต้องไม่มีน้ำ จะช่วยให้่เมล็ดข้าวแกร่ง เมล็ดใส เก็บไว้
ได้นาน ...... ก่อนเกี่ยว 7 วัน ให้นมสด 1 ครั้ง (น้ำ 100/นมสด 100-200 ซี
ซี.) ทำให้คุณภาพของเมล็ดข้าวเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วดีกว่าไม่ได้ให้ ชนิดเทียบกัน
ไม่ได้เลยเชียวแหละ ...... นาข้าวภาคอื่น ถ้าก่อนเกี่ยวไม่เอาน้ำออก ดินอ่อนนุ่ม
มากๆ นอกจากรถเกี่ยวจะลงไม่ได้หรือทำงานไม่สะดวกแล้ว ยังทำให้ข้าวเปลือกมี
ควงามชื้นสูงงอีกด้วย ...... กรณีปลูกข้าวไว้กินเอง ใช้แรงงานคนเกี่ยว อาจไม่มี
ปัญหา........ลุงคิม
รูปที่ 145 บางรวงเริ่มโค้งห้อยย้อยระย้า น้ำหนักเมล็ดน่าจะดี
COMMENT :
แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ - คลอโรฟีลด์ ช่วยสังเคราะห์อาหาร
สังกะสี สร้างแป้งและน้ำตาล - แป้งและน้ำตาล ก็คือเนื้อข้าวสาร
มีแต่น้ำแต่ไม่มีสารอาหาร คุณภาพจะดีได้ไง..... เหมือนคนอ้วน ร่างกายมักไม่แข็งแรง
ข้าวพันธุ์ลูกผสม ต้องการปุ๋ยเคมีธาตุหลัก 10/ไร่ (อีรี่).....ข้าวพื้นเมืองต้องการปุ๋ย
เคมีเพียง 2-3 กก./ไร่ ....... ลุงคิม
รูปที่ 146 อีกประมาณไม่เกิน 15 วันน่าจะเกี่ยวได้แล้ว
รูปที่ 147 ลองย้อนกลับไปดูรูปที่ 12 และ 13 ซิว่า การปลูกแบบห่าง ๆ ในตอน
แรก เมื่อข้าวแตกกอแล้วยังขึ้นเบียดกันแน่นและออกรวงได้ขนาดนี้ ลมพัดผ่านกอ
ข้าวได้ แสงแดดส่องทั่วถึง โรคและแมลงแทบจะไม่มี ผมคิดว่าข้าวจากนาแปลงนี้น่า
จะได้ข้าวมากกว่าทุกปี
รูปที่ 148 149 รวงหนึ่งน่าจะได้เกินกว่า 100 เมล็ด จิ้งหรีดที่เห็นในรูป คอย
ดักกินแมลงอื่น ๆ
รูปชุดนี้ก็ส่งมาให้แค่นี้เอง มาถึง ณ วันนี้ ข้าวแปลงนี้มีอายุ 120 วัน ก็รอลุ้นว่า
เมื่อเกี่ยวแล้วจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน
ถ้ายังสนใจก็ติดตามดูต่อนะครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 04/11/2012 6:49 am ชื่อกระทู้: |
|
|
น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับ
รูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ
เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่
มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่าง
แพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่อง
ดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก
อ้อย (sugar cane) ,
ต้นตาล (sugar palm),
ต้นมะพร้าว (coconut palm),
ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล (sugar maple) และ
หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ
น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส
เป็นที่เก็บพลังงาน ที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยา ของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิค
ที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส
.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 04/11/2012 2:11 pm ชื่อกระทู้: ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล (Sugar Maple) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
ผมว่าจะข้าม ไม่พูดถึงน้ำตาลจากต้นเมเปิ้ลแล้วเชียวนา ลุงมา Comment แล้วเน้นสีแดงตรงคำว่า ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล
(sugar maple) ให้คนอยากรู้อยากเห็นต้องขยายผลต่อ ....
ก็เป็นอันว่า เกษตรสัญจรคราวนี้ คงต้องออกนอกเรื่องข้าวบนดอย เพื่อขยายความที่มาที่ไปของไอ้เจ้าน้ำตาลจาก
ต้นเมเปิ้ล ซักนิดพอเป็นสังเขป ใครอยากเห็นกรรมวิธีทำน้ำตาลเมเปิ้ล ก็ไปดูได้ที่ ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียง
ใหม่นะเจ้า แต่ถ้าอยากไปเห็นต้นตำรับก็ต้องไปที่ เมืองควินเบก ประเทศแคนนาดา...ทำไม่ยากแต่ใช้เวลาเคี่ยว
24 ชั่วโมง ตามสูตรมาตรฐาน 40 :1 คือใช้ น้ำหวานจากต้นเมเปิ้ลจำนวน 40 ลิตร หรือใช้เป็น ถัง หรือ.ภาชนะ
อะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นน้ำ 40 หน่วย ใส่ลงในภาชนะที่จุน้ำได้ 40 หน่วยที่ใช้ ถ้าเป็นลิตรก็ใช้ถังขนาดบรรจุ 50 ลิตร
เคี่ยวไปใหได้ 8 ชั่วโมง แล้วก็เปลี่ยนถ่ายใส่ภาชนะใบที่สอง เคี่ยวต่อไปอีก 8 ชั่วโมง แล้วก็เปลี่ยนภาชนะใบที่ 3
เคี่ยวต่อไปอีก 8 ชั่วโมง รวมแล้วใช้เวลาเคี่ยว 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ก็เป็นอันเสร็จพิธี ก็จะได้น้ำเชื่อมจากต้นเมเปิ้ล
ที่เข้มข้น ซึ่งเค้าบอกว่าแสนหวานอร่อย มีการทำออกมาหลายรูปแบบครับ
ใบเมเปิ้ลอีกครั้ง เพื่อให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้นอีกหน่อย
น้ำหวานจะหยดออกมาทีละหยดแบบนี้ ....กว่าจะได้ 40 ลิตร หรือ 40 ถัง ....ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ นะ
กว่าจะได้ซักขวดแบบนี้ ....แต่ก็คุ้มราคานะครับ
น้ำเชื่อมเมเปิ้ล สุดยอดอาหาร ป้องกันมะเร็ง ทำอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์เผยน้ำเชื่อมเมเปิ้ล จัดเป็นสุดยอดอาหารเหมือน บล็อคโคลี่ บลูเบอร์รี่ และปลาที่เต็มไปด้วยโอเมก้า 3
ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่ยักกะมีข้าวไรซ์เบอรี่ด้วยแฮะ
ผลการทดสอบพบว่า น้ำเชื่อมเมเปิ้ลที่ผ่านวิธีการต้ม จะพบสารที่จัดการกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งยังมีผลช่วยยับยั้ง
มะเร็งและการอักเสบ
สารโพลีฟีนอลที่อยู่ในน้ำหวานที่สามารถละลายน้ำ ส่วนประกอบนี้สามารถขัดขว้างเอ็นไซม์ที่เปลี่ยนแปลง
คาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล เป็นแนวทางใหม่ที่จะจัดการเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งยังพบสารสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่จะช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันและการเสื่อมอายุของเซลล์ของร่างกาย ที่ไม่พบในน้ำหวานจากธรรมชาติอื่นๆ
ดร.นาวินดรา ศรีราม ผู้นำการวิจัยของมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์ กล่าวว่า เราไม่ทราบว่าสารในน้ำเชื่อมเมเปิ้ล
มีส่วนช่วยให้สุขภาพดี แต่เราทราบว่าน้ำเชื่อมเมเปิ้ลให้สารอาหารที่หลากหลายที่ต้องยกให้เป็นสุดยอดของ
อาหาร ทั้งนี้สารโพลีฟีนอลยังพบในอาหารอื่น เช่น ไวน์ ชา และผลเบอร์รี่
...........................................................
มารู้จักน้ำเชื่อมเมเปิ้ล
น้ำเชื่อมเมเปิ้ลนั้นทำมาจากน้ำเลี้ยงต้นเมเปิ้ลซึ้งมีความหวานตามธรรมชาติอยู่ ชนิดของต้นเมเปิ้ลที่ใช้ในการ
ทำน้เชื่อมก็สามารถใช้ได้ทั้งเมเปิ้แดงและเมเปิ้ลดำ น้ำหวานของต้นเมเปิ้ลเกิดจากการเปลี่ยนแป้งในหน้าหนาว
ให้เป็นน้ำน้ำตาลในฤดูใบไม้ผลิทำให้น้าเลี้ยงลำต้นมีรสชาติหวานขึ้น การนำน้ำหวานภายในต้นเมเปิ้ลมาใช้โดย
การเสียบท่อเข้าไปในลำต้นและปล่อยให้ไหลลงถังและรวบรวมไปยังหม้อต้มเพื่อใช้ความร้อนทำให้น้ำระเหย
ออกจนเป็นน้ำเชื่อมที่เข้มข้น
เมืองควินเบก ประเทศแคนนาดาเป็นผู้ผลิตน้ำเชื่อมเมเปิ้ลที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็น 85 เปอร์เซ็นของผลผลิตโดย
รวมของทั้งโลก และยังมีเทศกาลเมเปิ้ลไซรัปที่จะจัดราวๆเดือน มีนาคม-เมษายนของทุกปี
ขอขยายความแค่นี้นะครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 04/11/2012 11:59 pm ชื่อกระทู้: น้ำเชื่อม เมเปิ้ล(Maple Syrup) |
|
|
สวัสดัครับลุงคิม
ผมไม่ทราบจริง ๆ ว่า เมเปิลที่เค้าเอามาทำน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม เป็นสายพันธุ์ไหน เท่าที่ค้นดูแล้ว เค้าบอกไว้ว่า
ต้นเมเปิลที่ผลิตน้ำเชื่อมได้จะเป็นต้นเมเปิลพันธุ์ Acer saccharum หรือเป็นต้นเมเปิลดำพันธุ์ A.nigrum ซึ่งจะให้
น้ำเชื่อมที่มีคุณภาพดี ซึ่งเค้าไม่ได้บอกว่า ใบเป็นสีอะไร ...แต่พันธุ์ใบแดงนั้น เข้าหน้าหนาวจะเริ่มเปลี่ยนสีแล้วจะ
ผลัดใบ ที่เอามาปลูกในเมืองไทยจะเป็นพันธุ์ไหนยังไม่ทราบรายละเอียดครับ ...ถ้าหากมีโอกาสไปดูทุ่งบัวตอง
ที่ขุนยวม ก็จะหาโอกาสเข้าไปที่แม่นาจร เพื่อหาข้อมูล ...ก็มีรูปฝากมาให้ดูกันอีกหน่อย เผื่อบ้านใครปลูกต้น
เมเปิ้ลเอาไว้ อาจจะลองทำน้ำตาลเมเปิ้ลดูบ้าง
กรรมวิธีในการเคี่ยวน้ำตาลจากเมเปิ้ล
นี่ก็เป็นขวดใส่น้ำเชื่อมจากเมเปิ้ลอีกแบบหนึ่ง ครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 05/11/2012 6:11 am ชื่อกระทู้: |
|
|
งานเข้าเลย (ว่ะ) แดง.....
นี่แหละที่เขาว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่-ยิ่งโตยิ่งเซ่อ เพราะมันมีอะไรต่อมิอะไรที่เราไม่รู้ออกมาบอกเราว่า เรายังไม่รู้-เรายังโง่ อีกเยอะมาก
เรียนเพื่อรู้ต่อไป นะแดงนะ อย่างน้อยก็เอาไว้คุยกับใครเขา เขาจะได้ว่า อั้ยนี่พูดมีหลักการ ไม่ใช่พูดอะไรออกมาที อั้ยนี่ขี้โม้
ต่ออีก หาคำตอบสุดท้ายให้ได้ว่า ใช่-ไม่ใช่ นั่นแหละ...
คราวหน้าจะขึ้นไป "วัดจันทร์" เมื่อไหร่ แจ้งล่วงหน้าหน่อย จะฝาก "ระเบิดเถิดเทิง 30-30-30" ให้
เขาเอาไปใช้กับนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่นั่น.....เอาไปซัก 300 ล. รถบันทุกไหวไหม ....
ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ต้องการสารอาหารประเภท "ปุ๋ยเคมี" น้อยอยู่แล้ว เฉพาะที่ใส่เพิ่มในน้ำหมักระเบิดฯ
น่าจะพอ.....อัตราใช้แค่ 2 ล./ไร่ ใส่ครั้งเดียวตอนทำเทือก
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/11/2012 3:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 05/11/2012 7:07 pm ชื่อกระทู้: กาแฟโรบัสต้า บนดอยโป่งสะมึ๊ต |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 7 / 3
ก็เป็นอันว่า เกษตรสัญจร เรื่องน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมจากต้นเมเปิ้ล เบรค ไว้แค่นั้นก่อนนะครับ ถ้ามีคนสนใจอยากจะปลูก
ผมว่าดีกว่าต้นยูคานะครับ เพราะ น้ำจากในต้นทำน้ำตาลได้ ส่วนต้นโตแค่คนโอบก็ตัดขายได้ ไม้เมเปิ้ล แปรรูป สวยงาม
แจ่มแจ๋วครับ พอ ๆ กับไม้มาฮอกกานี กิ่งที่ตรง ๆ ไม่คดงอ เค้าเอาไปทำไม้เบสบอล นัยว่า มันเหนียวและมีสปริงดี ฟัง
เขาเล่ามาน่ะครับ
ทีนี้ก็มาคุยต่อครับ....
รูปที่ 150 ...ขออนุญาตเปิดตัว ชาชา หรือ ชลธิชา น้องสาว เจ้าโชเล่ สาวกะเหรี่ยงในชุด ม้ง คนถ่ายรูปและส่งข้อมูล
เรื่อง ข้าว บนดอยให้ผม รูปนี้เธอบอกว่า เป็นการแต่งกายสลับเผ่าในวันเปิดประชุมที่เชียงใหม่ เมื่อ 22 ตค.55 ใครไม่
รู้เดี๋ยวจะจินตนาการว่า กะเหรี่ยงดอยหน้าตามอมแมม เคี้ยวหมากปากเปรอะ นู่นมันสมัยโบราณครับ สมัยนี้ยุค ไอที แล้ว
หน้าตาพอจะพาไปวัดได้สบาย เพราะบ้านเธออยู่ใกล้วัดจันทร์
ลุงถามว่า คราวหน้า (ผม) จะขึ้นไป "วัดจันทร์" เมื่อไหร่ แจ้งล่วงหน้าหน่อย
กิเลส : ความอยากจะไปน่ะ ใจเกินร้อย แต่ยังกำหนดไม่ได้ครับ ติดภารกิจหลายอย่าง ที่สำคัญ หลังการล้มสวนทำนา
ครั้งแรกในชีวิตผ่านไป ได้ผลไม่ประทับใจนัก(7 ไร่ได้ข้าว 6480 กก.) ตอนนี้ จะทำครั้งที่สอง ย่ำเทือกไปแล้ว 3 รอบ จะตี
เทือกรอบที่ 4 กำลังรอคิวรถไถอยู่ ยิ่งกว่าเชิญเจ้าอีกครับ แล้วรอจะทำบุญ 100 วันให้พ่อด้วย อาจจะเป็นต้นหรือกลางมกรา.
ซึ่งยังไม่แน่นอนครับ
; ลุงบอกว่า จะฝาก "ระเบิดเถิดเทิง 30-30-30" ให้เขาเอาไปใช้กับนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่นั่น....
: ระเบิดเถิดเทิง 30-30-30 นี่เป็นสูตรใหม่ เฉพาะใช้กับดินบนดอยหรือครับ
: ลุงถามว่า เอาไปซัก 300 ล. รถบันทุกไหวไหม ....
รูปที่ 151 ปกติ ผมใช้คันนี้ขับขึ้น ๆ ล่อง ๆ กทม. - ปาย อยู่เป็นประจำ รูปนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 4 พย.54 แต่ปีนี้ 5 พย.55 ซ่อม
ช่วงล่างมาเรียบร้อย ลุยได้แล้ว ถ้าบรรจุถังขนาด 20 ลิตร 15 ถัง น้ำหนักเท่ากับคนประมาณ 5 คน จากแม่มาลัยไปปาย ขึ้น
เขา 178 โค้ง น่าจะพอไหว ไปเปลี่ยนรถที่ปาย แล้วต่อไปบ้านวัดจันทร์
รูปที่ 152 ถ้าขอยืมคันนี้ขับจากปายเข้ากรุงเทพฯ จะเอามาได้หรือเปล่าครับ กลัวคนจะแตกตื่นนึกว่า ปฏิวัติหรือไงหว่า ถ้า
คันนี้ ถัง 200 ลิตร 6 ถัง สบายมากเลย ถ้าได้นะครับ พอขึ้นก่อนถึงลำพูน เลี้ยวซ้ายตัดออกสันป่าตอง ออก อ.แม่วาง ผ่าน
โป่งสะมึต แวะกินกาแฟ โรบัสต้า บ้านอาข่า ผ่าน ต.แม่นางจร แวะชิมน้ำตาลเมเปิ้ลซักนิด ตัดไปออกปางอุ๋ง ขับเลยไป
เที่ยวชมดอกบัวตองซักพัก ย้อนกลับมาปางอุ๋ง ตัดขึ้นแจ่มหลวงเข้าบ้านวัดจันทร์ เอาของลงเสร็จแล้วผมก็ต่อไปปาย....
พูดซะเป็นคุ้งเป็นแควยังกับว่าจะได้ไปง่าย ๆ งั้นแหละ เอาเป็นว่า ถ้าผมจะขึ้นเมื่อใด จะเรียนให้ลุงทราบล่วงหน้าครับ
รูปที่ 153 ดูรูปบรรยากาศที่ปางอุ๋งกันซักนิด ถ้าเป็นหน้าหนาว บริเวณนี้จะหนาวมาก ๆ จะมีคนไม่กลัวหนาวมานอน
กางเต็นท์ แล้วจะมีกิจกรรมรอบกองไฟ ....ค่าที่นอนกางเต็นท์ คืนละ 300 นะครับ เป็นของกรมวนอุทยาน ใครที่ชอบ
ไปเที่ยวเมืองนอก ผมว่า ....ไม่ทราบซีครับ นานาจิตตัง ฝรั่งมาเที่ยวเมืองไทย แต่คนไทยไปเที่ยวเมืองฝรั่ง ...เย้..
ลุงบอกว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ต้องการสารอาหารประเภท "ปุ๋ยเคมี" น้อยอยู่แล้ว เฉพาะที่ใส่เพิ่มในน้ำหมักระเบิดฯ น่า
จะพอ ....อัตราใช้แค่ 2 ล./ไร่ ใส่ครั้งเดียว
อีตรงนี้ขออนุญาตเรียนว่า อัตรานี้ น่าจะต้องใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ลิตร จะได้ผลดีกว่า เพราะถ้าใส่ครั้งเดียว เกิดจับพลัด
จับผลู ฝนตก น้ำฝนจะพัดพาปุ๋ยที่ตกค้างไหลไปตามน้ำหมดน่ะครับลุง เพราะฝนบนดอยมันเอาแน่ บ่ ได้ หน้าร้อน หน้า
หนาว มีโอกาสที่ฝนจะตกได้ถ้าบรรยากาศเอื้ออำนวย มันเป็นฝนประเภทที่เค้าเรียกว่า Summer Rain หรือ Winter
Rain อะไรนี่แหละ เผลอ ๆ หน้าร้อน ลูกเห็บตก(บางครั้งโตเท่าลูกมะนาว)ก็ยังมี ...เอาเป็นว่าใส่ครั้งแรกตอนเตรียม
ดิน ครั้งที่สองตอนข้าวแตกกอได้มั๊ยครับลุง ก็อยากให้ลุงเห็นสภาพพื้นที่นาของชาวกะเหรี่ยงซักนิดนึงครับ
รูปที่ 154 สภาพพื้นที่ดูว่าราบเรียบ แต่ความเป็นจริง ลาดเอียงครับเพราะเป็นตีนดอย บางพื้นที่ น้ำอาจจะมาจาก
ทางซ้าย ไหลไปทางขวามือ หรืออาจจะมาจากทางขวามือ ไหลไปซ้าย เป็นการทำนาของชนชาวเขาทำโดยการใช้การ
น้ำระบายจากบนเขาลงสู่ตีนเขาเบื้องล่าง เค้าเรียกอะไรล่ะ ระบบชลประทานภูเขาใช่หรือเปล่าครับ ซึ่งก็เป็นไปตาม
สภาพพื้นที่
รูปที่ 155 อย่างตามรูปนี้จะเห็นชัดเจนครับ เนินซ้ายมือเป็นแปลงผัก ที่เห็นสีแดงขวามือรู้สึกว่าเพิ่งจะปลูกถั่วดิน(ถั่วลิสง)
ส่วนสองแปลงเล็ก ๆ ตรงกลาง เป็นแปลงตกกล้าครับ และจะมองเห็นแปลงนาอยู่ข้างหน้าไกลปู๊น ซึ่งจะมองเห็นความ
ลาดเอียงของพื้นที่ครับ
รูปที่ 156 แปลงนาที่จัดว่าดูเรียบที่สุด แต่ความจริง เอียงครับ เอียงจากขวามือไปซ้ายมือ
ทีนี้ลุงพูดถึง ตอนทำเทือก
รูปที่ 157 - 158 เครื่องมือ หรือเทคโนโลยี หรือตัวช่วย ที่ชาวดอยใช้ทำนา ทำเทือก ก็คือ สองรูปนี้ครับ พูดภาษา
ไทย เค้าไม่รู้ฟังหรอกครับ ต้องใช้ภาษากะเหรี่ยง ผมก็ชักจะลืม ๆ ไปว่า ไอ้เจ้านี่มันทำเทือกได้มัย ...และการใช้เครื่อง
จักรทำนาในสภาพภูมิประเทศเชิงเขาจะทำได้แค่ไหน
...ผมคิดนะครับลุงว่า จะเป็นไก่ได้พลอย หรือวานรได้แก้วหรือเปล่า ขนาดว่าจะให้หยอดใช้เมล็ดน้อย ๆ ยังเถียงกัน
ซะไม่มี แทบจะเลิกคบกัน ผลสุดท้ายมัน ฟลุ๊ค ข้าวเลยออกมาดี มันก็เลยได้ผลผลิตดีไป อีกอย่าง เกรงจะเหมือนที่เจ้า
หน้าที่แนะนำเรื่องการคุมกำเนิด แต่ลูกก็ยังแยะ ปรากฏว่า ตอนหมอสาธิตให้ดู เอาถุงยางสวมหัวแม่มือ เวลาเจ้าคน
นั้นนอนกับเมีย มันก็เอาถุงยางสวมหัวแม่มือตามที่หมอทำให้ดู ลูกมันก็เลยยังดกเหมือนเดิม ...ผมว่า ขอเวลาให้
ผม ทำกับมือ ให้เพื่อนมันเห็นก่อนนะครับ ...อย่างตอนนี้ เรื่อง การต้มน้ำขม ๆ ใส่เหล้า ใส่น้ำมะพร้าว ใส่กระทิง
เอาแช่ข้าว เอาฉีดพ่นพืชผัก เป็นเรื่องที่คุยกันมากในหมู่บ้านที่เจ้าโชเล่อยู่ ....ต้นสมุนไพรทุกอย่างที่ขม เหม็น
เผ็ด แล้วปูภูเขา จะหมดป่าเอาน่ะนะลุง พริกกะเหรี่ยงขึ้นชื่อว่ายอดเผ็ดอยู่แล้ว แถมด้วย ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ...
ผมจะไปบ้านวัดจันทร์ไม่ได้เอาน่ะนะ เพราะร้านขายปุ๋ย ขายยาฆ่าแมลงจะดักเอาปีนยิงไล่ผมน่ะซี
เกษตรสัญจรคราวนี้ คุยเรื่องน้ำตาลเมเปิ้ลจบแล้ว ผมก็มีรูป กาแฟอาข่ามาให้ดู ด้วยครับ
เพื่อให้เรื่องเชื่อมต่อกัน ผมขอเอารูปเก่ามาลงให้ดูอีกครั้งนะครับ
รูปที่ 159 คงจำน้องอาข่ากำลังเก็บกาแฟคนนี้ที่ ชาชา เอามาลงให้ดูได้นะครับ เรามาดูรายละเอียดกันบ้าง
รูปที่ 160 ตามข้อมูลบอกว่า เป็นกาแฟพันธุ์ โรบัสต้า ชาชาขอเค้ามา จะเอาไปปลูกดูเล่นที่บ้านวัดจันทร์ ...
ความจริง ปลูกดูจริง ๆ ก็ได้น่า ซักร้อย สองร้อยต้น เผลอ ๆ ซักสองสามปี ก็ได้ผลแล้ว
รูปที่ 161 ว่าแล้วมั๊ยล่ะ นี่เป็น โรบัสต้า อายุ 3 ปีครับ
รูปที่ 162 แล้วต้นนี้ อายุเท่าไหร่ ไม่ได้บอก ลูกดกขนาดนี้ อายุก็คงจะ ห้าหรือหกปีขึ้นไปละน่ะ
รูปที่ 163 ถ้าได้ปุ๋ยลุงคิม ลูกมันจะดก และลูกจะใหญ่กว่านี้มั๊ยครับ แล้วมีใครรู้หรือเปล่าว่า กาแฟที่สตาร์บั๊ค ชงให้
ลูกค้าน่ะ ได้จากกะเหรี่ยง ชื่อ ตาเลอะ ที่แม่ฮ่องสอนนี่แหละเป็นคนปลูกส่งให้สตาร์บั๊ค ในหลวงเคยเสด็จที่บ้าน
ตาเลอะด้วย ขอหาข้อมูลก่อนครับ
รูปที่ 164 - 165 เมล็ดกาแฟจะแก่และสุกไม่พร้อมกัน จึงจำเป็นต้องทยอยเก็บ ชาวไร่กาแฟก็จะมีงานทำตลอด ใครเป็น
ลูกเขยอาข่าที่นี่ ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอน ไม่ต้องทำอย่างอื่น เพราะกินกาแฟและเก็บกาแฟอย่างเดียว ย้ำอีกครั้งว่า กาแฟ
ที่เห็นนี่เป็นสายพันธุ์ โรบัสต้า ครับ ดอกกาแฟเวลาบานนี่กลิ่นจะหอม คล้ายดอกมะลิป่าครับ .....ที่รู้เพราะผมเคยไปที่
บ้านน้องชาย ที่เชียงราย แม่ยายแกปลูกกาแฟเอาไว้ ก็เลยรู้ว่าดอกกาแฟกลิ่นหอมเหมือนดอกมะลิ
.....จากข้าวดอย มาถึงน้ำตาลเมเปิ้ล มาถึงกาแฟ ....แต่ข้าวเกี่ยวหรือยัง ไม่มีข้อมูล ไม่ยักกะส่งรูปมาซักที มีแต่เรื่องอื่น ๆ
เป็นการขัดตาทัพ เราก็รอลุ้นอยู่นี่แหละ ....เกษตรสัญจรเรื่องต่อไป อะไรดี
เอาไว้ต่อคราวหน้านะครับ
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 08/11/2012 8:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 06/11/2012 11:05 am ชื่อกระทู้: ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 8 / 1
มีรายการ Surprise จากเพื่อนกะเหรี่ยงบนดอย.........
ผมได้รับข้อมูลจากเพื่อนกะหรี่ยงบนดอย บอกว่า ส่งรูปข้าวมาให้ ...นึกดีใจว่า ข้าวที่รอลุ้นคงจะเกี่ยวแล้ว จึงส่งรูปมาให้
.....แต่ผิดหวังนิดหน่อย เพราะไม่ใช่รูปข้าวที่รอลุ้น แต่เป็นข้าวที่ปลูกจากข้าวกล้องงอกที่ผมฝากไว้ก่อนจะกลับ
ลงดอย เมื่อ 26 กค.55
รูปที่ 166 คงพอจะจำรูปนี้(รูปที่ 25 ตอนที่ 1)ได้นะครับ คือก่อนกลับลงจากดอยผมได้ให้ถุงข้าวกล้องงอกจำนวน
หนึ่งกับน้องสาวเพื่อนชาวกะเหรี่ยงเอาไว้ และบอกว่า ข้าวนี้เอาไปปลูกได้ ปรากฏว่า แม่ของเพื่อนแกเอาไปปลูก
ด้วยตนเอง ถ้าจำไม่ผิด แกเอาปลูกวันที่ 28 หรือ 29 กค.55 แล้วบอกให้ลูกชายต้มน้ำขม ๆ ผสมเหล้าป่า + น้ำ
มะพร้าว + กระทิงแดง ตามแบบที่ผมเคยทำให้เพื่อน เพื่อเอาไว้ฉีดพ่นข้าวที่ปลูกอันนี้ ....เมื่อเวลาผ่านไป ผมก็
ไม่ได้ติดตามถามไถ่ เพราะคิดว่า เมื่อแม่แกปลูกแล้ว เกี่ยวได้ข้าว ก็คงจะเก็บเอาไว้กิน ...เพื่อนก็ไม่ได้พูดถึง จน
มาถึง ณ วันนี้ ก็มีข่าวและมีรูปมาให้ดูด้วย เพื่อนบอกว่า แม่แกดูแลข้าวแปลงนี้(ให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก พ่นยา-น้ำขม ๆ)
ด้วยตัวเอง วิธีการปลูกก็ทำตามที่ผมแนะนำลูกชายแกนั่นแหละ เพราะตอนที่ผมนั่งเถียง นั่งคุยกัน แกก็นั่งทำงาน
และฟังอยู่ด้วย เพื่อนบอกว่า แกหยอดหลุมละเมล็ด สองเมล็ด ระยะห่างเกินกว่าศอกแขน ก็ประมาณ 50 ซม.
เพราะข้าวพันธุ์นี้ต้นสูง เลยต้องปลูกห่างกว่าปกติ ...จากวันที่ 28 กค. ถึงวันนี้ 5 พย.เวลาผ่านมาประมาณ 100
วัน ผลของข้าวก็ได้ตามรูปที่เห็นทั้งหมดนี้แหละ เพื่อนบอกว่าเป็นรายการเซอร์ไพรส์
รูปที่ 167
รูปที่ 168
รูปที่ 169
รูปที่ 170
รูปที่ 171
รูปที่ 172
รูปที่ 173
รูปที่ 167 - 173 ที่เห็นนี่เป็นข้าวลืมผัว ปลูกจากข้าวกล้องงอกครับ ก็คิดว่า คงจะเกี่ยวไล่ ๆ กับข้าวของโชเล่ละครับ ...
ผมไม่คิดว่า สิ่งที่ผมทำให้เพื่อนดู จากข้าวกล้องงอกเพียง 1 ถุงประมาณ 1 ทะนานก็ประมาณ 1 ลิตร แม่แกจะเอาไป
ต่อยอด คือเอาไปลองปลูก จนได้ผลตามที่เห็น อย่างน้อย ก็จะได้ข้าวเอาไว้กินได้อีกหลายถัง
เพื่อที่ให้รายการเกษตรสัญจร มีครบทุกรส นอกจากการพาเที่ยวจากการดูรูปแล้ว น่าจะมีเรื่องราวที่เป็นสาระบ้าง ..เมือ
พูดถึงข้าวลืมผัว หลายคนอาจได้ยินได้ฟัง ดังนั้นควรจะรู้ที่ไปที่มาเพื่อเป็นการศึกษาด้วย เผื่อใครคิดอยากจะปลูกจะได้
รู้ว่า ควรจะปลูกอย่างไร ปลูกได้ในพื้นที่แบบไหน
เรามารู้จักข้าวลืมผัวกันซักนิดครับ
ข้าวลืมผัว
นามนี้ดึงดูดใจพอสมควร...หลังจากชุด โครงการวิจัยข้าวนาน้ำฝน คัดเลือกได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ จึงนำไปขึ้นทะเบียน
รับรองจากกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ กับ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี วิเคราะห์ คุณค่าทางโภชนาการ...และได้รับการการันตีว่า มีคุณค่าสูง
เหมาะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
ทำไม จึงชื่อ ข้าว ลืมผัว
เล่ากันว่า ปกติ ชาวเขาเผ่าม้ง จะมีข้าวพันธุ์ดีๆ รสชาติเยี่ยมยอดอยู่มาก แต่ข้าวเหนียวสีดำที่มีอยู่ มีคุณสมบัติโดด
เด่นมาก เมื่อก่อนเรียกว่า ข้าวดำ บางคนก็เรียก ข้าวก่ำ แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง ภรรยาหุงข้าวดำไว้รอสามี นางคิดไว้ว่า จะ
กินข้าวเย็นพร้อมกัน แต่สามีกลับมาช้า นางทนหิวไม่ไหว เลยกินข้าวก่อน กะว่าจะกินนิดๆ หน่อยๆ แต่ปรากฏว่า
นางเผลอกินจนหมด เพราะความหอมและนุ่มของข้าว (กินจนลืมนึกถึงผัว)
คุณสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว แจงข้อมูลดั้งเดิมว่า ...ข้าวเหนียวดำ พันธุ์ลืมผัวเป็นข้าวพื้นเมืองเดิม
ปลูกในสภาพไร่ บนภูเขา เป็นข้าวไร่ ที่เป็นข้าวเหนียวนาปี ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ตำ
บลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 650 เมตร
คุณพนัส สุวรรณธาดา เจ้าพนักงานการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ปัจจุบัน
เป็นข้าราชการบำนาญ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้นำมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ระหว่างปี 2534-
2538 เพื่อใช้ในโครงการตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถโดยได้มอบเมล็ด
พันธุ์บริสุทธิ์ให้ คุณไชยวัฒน์ วัฒนไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ขณะนั้น (ปัจจุบัน เกษียณราชการ
และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรมการข้าว) เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จากนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ไปให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่ปลูกดั้งเดิม
แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่า ข้าวลืมผัว มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นปน และไม่เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
สำนักวิจัยข้าว กรมการข้าว โดย คุณอภิชาติ เนินพลับ คุณอัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ คุณพงศา สุขเสริม และ
ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ โดย คุณวรพจน์ วัจนะภูมิ จึงได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์อีกครั้ง ภายใต้โครงการวิจัยและ
พัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ในปี 2551 และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อ
วันที่ 15 กันยายน 2552 ขณะนี้ อยู่ในโครงการนำร่องอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวเพื่อใช้ประโยชน์ ของสำนักวิจัยและ
พัฒนาข้าว กรมการข้าวข้าวลืมผัว มีต้นสูง ประมาณ 137 เซนติเมตร ออกดอกประมาณ วันที่ 15 กันยายน
จำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ย 130 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างอ้วน น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 37.9 กรัมสถิติ
สูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัม ต่อไร่
เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350 กิโลกรัม ต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ข้าว
ลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าว
เหนียวดำ หรือข้าวก่ำ คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนาปี 2552 พบว่า
มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ในปริมาณสูง ถึง
833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม
มีวิตามิน อี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม
มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม
มีกรดไขมัน ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิ
กรัม ต่อ 100 กรัม
มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08
มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
มีโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และ
ช่วยลดความอ้วนสูงถึง 1,146.41 มิลลิกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม
มีแอนโทไซยานิน 46.56 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัม ต่อ
กิโลกรัม
ส่วนแคลเซียม สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75,23.60 และ 35.38 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ..
เกษตรสัญจร ภาค 2 ตอนที่ 8 / 2
นอกจากนี้ ยังมีรายการ Surprise พิเศษให้อีกคือ เพื่อนบอกว่า แม่แกรู้ว่าผมชอบกินข้าวหอมนิล แกอุต
ส่าห์ไปหาพันธุ์มาปลูกให้ผมโดยเฉพาะประมาณ 1 ไร่ โดยปลูกหลังข้าวลืมผัว ประมาณ 10 วัน ...ปลูกข้าว
หอมนิลให้ผม 1 ไร่...ตายละกู ....ผมบอกเพื่อนไปว่า ทำไมแม่จะต้องวุ่นวายถึงเพียงนี้ ...เพื่อนบอกมา แม่
แกบอกว่า ไม่ต้องยุ่ง เรื่องของแกอยากจะทำให้ผม.....มีรูปมาให้ดูด้วย แกปลูกตรงไหน นึกภาพไม่ออก
รูปที่ 174
รูปที่ 175
รูปที่ 176
รูปที่ 177
รูปที่ 178
รูปที่ 179
รูปที่ 174 - 179....แม่ของเพื่อนชาวกะเหรี่ยงปลูกข้าวหอมนิล 1 ไร่ บอกว่า เก็บไว้ให้ผมคนเดียว เห็นรวงขนาด
นี้แล้ว ไร่นึงได้ข้าวประมาณซัก 50 60 ถังสีออกมาแล้วได้ข้าวกล้องประมาณ 300 กว่า กก. บรรจุกระสอบละ
15 กก.ได้ประมาณ 20 กระสอบ บ้านผมอยู่กันไม่กี่คน กินข้าวเดือนหนึ่ง ไม่ถึง 15 กก. หรือ 1 ถัง แล้วข้าว 20
30 กระสอบ กินเมื่อไหร่จะหมด ตาย ๆๆๆๆ ทำไงดี.....
แต่ไม่เป็นไร ผมมีทางออกทางออกของผมคือว่า ขณะนี้ วัด ที่บ้านวัดจันทร์กำลังสร้างโบสถ์ใหม่ เมื่อถึงเวลา ผม
ก็จะบอกเพื่อนให้บอกแม่ว่า ผมยอมรับข้าวที่แม่แกปลูกให้ผมทั้งหมด แต่เมื่อสีเป็นข้าวกล้องแล้ว ให้เอาใส่ถุงละ 1
กก. แล้วไปขาย ได้เงินเท่าไหร่ เอาไปถวายสมทบทุนสร้างโบสถ์วัดจันทร์ทั้งหมด ในนามพ่อแม่พี่น้องครอบครัวโชเล่
ส่วนผม(ขอเป็นแค่ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม) ...งานนี้ได้บุญสองเด้ง และผมก็ขออนุโมทนาบุญมาให้ลุงคิมและเพื่อน ๆ
สมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ..ตามรูปนี่แหละครับ
รูปที่ 180 โบสถ์เก่า
รูปที่ 181 โบสถ์ใหม่
รูปที่ 182 ลวดลายหน้าบรรณ ฝีมือกะเหรี่ยง + พม่า (กะเหรี่ยงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมบางอย่างจากพม่าครับ)
สังเกตให้ดีว่า ด้านล่างลายทอง จะเห็นมีรูปสลักเป็นกระต่าย อยู่หลายตัว ...เค้าสร้างเพื่ออุทิศให้พ่อหลวง ร.๙
ซึ่งเกิดปีกระต่ายครับ ...โอโฮ คนดอยคิดลึกซึ้งขนาดนี้ได้ไงวะ และตรงที่ว่างที่เห็นตรงกลาง ยังนึกไม่ออกว่า เค้า
จะเอารูปสบักอะไรใส่ตรงนี้
ทั้งข้าวลืมผัวและข้าวหอมนิล ป่านนี้คงน่าจะเกี่ยวไปแล้วละครับ เพราะอายุข้าวหอมนิลประมาณไม่เกิน 95 วันก็
เกี่ยวได้แล้ว มิฉะนั้นข้าวจะแก่เกินไป กินบ่รำ ....90 วันกำลังดี แต่แม่แกคงรู้ครับว่าจะเกี่ยววันไหน ...เกี่ยวเอง
ตีเอง ขนเอง อีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ...งานแบบนี้ถามเค้าก็คงไม่บอก พูดได้คำเดียวว่า ไม่ต้องยุ่ง ...เฮ้อ...พูดไม่ถูก
ครับ ขอจบแค่นี้ก่อนก็แล้วกัน เจ้าโชเล่ สูเจ้า กั๊ก รูปข้าวที่เกี่ยวแล้วเอาไว้แน่ ๆ เลย ถึงไม่ยอมส่งซักที
มารู้จักกับข้าวหอมนิลกันหน่อยครับ
ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีดำ เมล็ดใส ที่ได้จากการคัดพันธ์กลายของข้าวเหนียวดำต้นเตี้ยจากจีน ข้าวเจ้าหอมนิล
สูงประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีอายุวันเก็บเกี่ยว 95-105 วัน มีการแตกกอดี ใบและลำต้นสีเขียวปนม่วง มีหูใบ
โคนต้น ดอก และเมล็ดมีสีม่วงเข้ม
ปัจจุบันได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่ม
เหนียว หอม ข้าวสารหุงสุกมีสีม่วงอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมเช่นกัน คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวเจ้าหอมนิลคือ
ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ amylose 16 เปอร์
เซ็นต์ และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าว
ขาวดอกมะลิ นอกจากนี้ลักษณะดีเด่นของข้าวเจ้าหอมนิลที่พบนอกจากคุณค่าทางโภชนาการได้แก่ ทรงต้นเตี้ย
แตกกอดี เมล็ดมีน้ำหนักดี อายุสั้นเพียง 90 วัน ทำให้สามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้งต่อปี ดังนั้นหากได้รับการจัดการ
ที่เหมาะสมในการผลิตต่อปีสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ
ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัม/ไร่ จากการศึกษาเอกลักษณ์พันธุกรรม โดยใช้ microsatellite
จำนวน 48 ตำแหน่ง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างจากข้าว Hei Bao และ Xua Bue Huq จาก
จีน ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กสูง แสดงให้เห็นว่า ข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นข้าวพันธุ์เดียกัน
ตามที่กล่าวแล้วว่า ข้าวเจ้าหอมนิลนับเป็นข้าวที่มีโภชนาการสูง เหนียวนุ่ม เมล็ดยาว และมีกลิ่นหอม ข้าวเจ้า
หอมนิลมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ธาตุเหล็กแปรปรวนระ
หว่าง 2.25-3.25 มิลิกรัม/ 100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณแป้ง amylose ประมาณ 12-13 % ข้าวกล้องของข้าวเจ้าหอมนิลหุงสุก นุ่มมีกลิ่น
หอมแบบข้าวเหนียวดำและข้าวหอม มีปริมาณสาร 2-acety-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอม
ระเหยจำเพาะ เช่น Cyclohexanone ในปริมาณมาก
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณ antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล/กรัม มีน้ำมันรำข้าว 18 % ซึ่ง 80 %
เป็นชนิด C18 : C18:2 และพบว่ามี omega-3 ประมาณ1-2 % รำข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณ digestible fiber
ถึง 10 % จากข้อมูลคุณภาพแป้ง และโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการแปรรูปทาง
อุตสาหกรรมอาหารสูง ในการทำ cracker หรือ cooky
นอกจากนี้ ข้าวเจ้าหอมนิลยังมีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ และไหม้คอรวงระดับสูง ทนน้ำท่วมและทน
แล้งระดับปานกลาง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลระยะต่อมา ได้เข้าคู่ผสมกับข้าวหอม
มะลิ 105 และได้ทำการเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) จากรุ่น F3 ควบคู่กับการทำ pedigree
จนในที่สุดได้ลูกที่เป็น double haploid ที่มีเมล็ดสีม่วงหนึ่งสายพันธุ์คือ ข้าวเจ้า
หอมนิล DH และลูกที่ได้จากากรคัดเลือก pedigree พันธุ์ใหม่คือ ข้าวเจ้าหอมนิล # 1
(หรือต่อมาตั้งชื่อว่า ข้าวไรซ์เบอรี่) ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า เมล็ดเรียวยาว และให้สีเมล็ดเข้มสม่ำเสมอตลอดปี
ในคู่ผสมอื่น ๆ ก็ได้เน้นการปรับปรุงต้านทานแมลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้
จะมีข้าวที่มีโภชนาการเทียบเท่าข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ ผู้บริโภคต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นายจิรภัทร ลีเสย
29 หมู่ 2 ต.สัมพันธ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 25140
e-mail : jira_part@hotmail.com
โทร. 087-561-8838
หากคิดว่าอ่านสนุก กรุณาติดตามต่อครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 08/11/2012 9:57 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 ....ข้าวโพดห้าสี |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 ตอน..ข้าวโพดห้าสี (ข้าวโพด แก้วเบ็ญจรงค์)
ผมรอลุ้นข้าวของเพื่อนกะเหรี่ยง ยังไม่ส่งมาให้ซักที ระหว่างรอข้าวที่จะเกี่ยว ก็มีแต่ส่งรูปเรื่องอื่น ๆ มาให้
.จากข้าวลืมผัว
ข้าวหอมนิล มาคราวนี้ส่งรูปข้าวโพดห้าสี มาให้ดู....ในหนึ่งฝัก มีห้าสีจริง ๆ ....มาติดตามดูกันเลยครับ
ลุงคงจำได้นะครับว่า เมื่อประมาณเดือน กค. 54 ผมเคยนำข้าวโพดสองสีไปฝากลุง 2 ฝัก ลุงบอกว่านับเมล็ดได้ถึง หกร้อย
กว่าเมล็ด ลุงนำปลูกที่ไร่กล้อมแกล้ม หลังจากเก็บฝักอ่อน ฝักแก่แล้วก็ประกาศแจกเมล็ดพันธุ์...........
รูปที่ 183 - เมื่อ กค.54 ข้าวโพดสองสี 2 ฝักนี้มีเมล็ดถึง หกร้อยกว่าเมล็ดข้าวโพดพันธุ์นี้ผมได้เมล็ดพันธุ์มาจาก
น้องชายที่เชียงราย ปลูกที่นครปฐม ออกฝักมามันก็มีสอง หรือสามสี และเมื่อวันที่ 10 กค.55 ผมก็ได้นำข้าวโพด
พันธุ์นี้ขึ้นไปฝากแม่ของเพื่อนชาวกะเหรี่ยงที่บ้านวัดจันทร์ประมาณ 20 ฝัก แกก็เอาปลูก จนเก็บฝักได้ ก็เอาไปต้มขาย
รูปที่ 184 จากจำนวน 20 ฝัก แม่เพื่อนชาวกะเหรี่ยงปลูกแล้วต้มขายได้เงินเป็นหมื่น และมีเหลือเก็บไว้ทำพันธุ์อีกด้วย
จนกระทั่งเมื่อ วันที่ 8 พย.55 ก็มีรายงานมาว่า ได้ผลผลิตจากข้าวโพดเป็นรุ่นที่สอง ความจริงน่าจะเป็นรุ่นที่สาม เพราะ
ผมได้จากเชียงรายมาปลูก ถือเป็นรุ่นที่ 1 พอออกฝัก เก็บฝักแก่เอาไว้ปลูกต่อ ก็ถือเป็นรุ่นที่สอง เป็นรุ่นที่ผมเอามาฝาก
แม่เพื่อน ถ้าเอาปลูกต่อก็จะเป็นรุ่นที่สาม
รูปที่ 185
รูปที่ 186
รูปที่ 187
รูปที่ 185 187 ปรากฏว่ารุ่นนี้มันแปลก ที่หาคำตอบไม่ได้ว่ามันเป็นเพราะอะไร ดูรูปนะครับ จะเห็นว่า ข้าวโพด
ที่ปลูกบนดอยรุ่นนี้ ผลออกมากลายเป็นข้าวโพดห้าสี สีสันสวยงามมากเลยครับ
รูปที่ 188
รูปที่ 189
รูปที่ 190
รูปที่ 188 190 ดูใกล้ ๆ จะเห็นว่า เมล็ดมีห้าสี ดูแปลก สวยดีนะครับ น่าจะเรียกว่า ข้าวโพดแก้วเบ็ญจรงค์
นะครับ มันเริ่มกลายพันธ์ใช่ไหมครับลุงคิม ตามข่าวบอกว่า คนกินชอบเพราะสีมันแปลกครับ
รูปที่ 191 พริกกะเหรี่ยงสายพันธุ์ใหม่ ชื่อพันธุ์ คีรีราษฎร์ 1 โปรดสังเกต เวลากะเหรี่ยงเด็ดพริกจากต้น
เค้าจะต้องเด็ดให้เมล็ดติดกิ่งมาด้วย แล้วก็มาเอากรรไกรตัดกิ่งออกเหลือแต่พริกติดก้าน เป็นการเก็บพริกที่ถูก
หลัก เพราะถ้าเด็ดเอาแต่พริกติดก้าน เหลือกิ่งเอาไว้ กิ่งที่เคยออกเมล็ดแล้วจะไม่ออกดอกอีก ถ้าเด็ดกิ่งมาด้วยมัน
จะแตกยอดใหม่แล้วจะออกดอก อันนี้เป็นเคล็ดวิชา หญ้าปากคอก เส้นผมบังภูเขา .....ชาวสวนที่ปลูกพริกเค้า
จะไม่บอกเคล็ดวิชาให้คุณหรอกครับ ไม่มีใครอยากให้คุณเป็นคู่แข่งไงล่ะ แบบเดียวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ กก.ละ 1,800 ไงล่ะ
รูปที่ 192 193 ได้ยินลุงคิมพูดทางรายการ สีสันชีวิตไทย ถึงดอก เดหลี หรือเดหลีใบกล้วย ใครไม่เคยรู้จักไม่เคย
เห็นก็รู้จักเอาไว้ กลิ่นดอกเดหลีแมลงวันทองชอบตอม เค้าจะใช้เป็นตัวล่อแมลงวันทอง ..เป็นพืชสมุนไพรใช้ประโยชน์
ได้หลายอย่าง ทำอะไรได้บ้าง นึกไม่ออกครับ
รูปที่ 194 ปลายฝน ต้นหนาว อากาศบนดอย จะยังมีฝนตกด้วย แล้วน้ำฝนในหน้าหนาว มันเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็ง
มีข่าวจากปาย แจ้งให้ทราบว่า คืนวันที่ 7 พฤศจิกายน 55 เวลา ประมาณ 21.30 น.รถสิบล้อพ่วงติดหล่มเนื่องจาก
ดินสไลด์ลงจากเขา จุดที่ดินสไลด์ ก่อนลงถึงโอเคมาร์ท (ครึ่งทางระหว่างแม่มาลัย กับ ปาย)รถติดนานกว่า 2 ชั่วโมง
(ขอบอกว่า ตรงจุดนี้ มีเขาโอบล้อม ช่วงนี้หน้าหนาว มันเย็นอย่าบอกใคร) ซึ่งก่อนหน้านั้น มีดินสไลด์และทำการ
เคลียร์ได้ แต่รถ 10 ล้อพ่วงติดหล่ม ทำให้รถจากเชียงใหม่ไปปาย ไปแม่ฮ่องสอน ล่าช้า 2 ชั่วโมงครับ
อีกนิดครับ ตามข่าวบอกว่า ตรงจุดที่ดินสไลด์ จะมีรถแบ็คโฮจอดรออยู่ตรงนั้น(ข้าง โอเค มาร์ท)ครับ พร้อมเจ้าหน้าที่
ดูแล อำนวยความสะดวก เนื่องจากวันสองวันนี้ เชียงใหม่มีฝนตกครับ แนะนำครับ ว่า หากมีเจ้าหน้าที่คอยยืนบอก
หรือเตือน ให้เชื่อฟังนิดหนึ่งครับ เพราะตรงจุดนั้น ดินที่สไลด์ลงมา มีความหนามาก รถเก๋ง หรือปิ้คอั้พ อาจจะติดหล่ม
ได้ครับ
การเดินทางช่วงนี้ อาจจะลำบากนิดหนึ่งนะครับ ก่อนเดินทางควรตรวจสอบข้อมูลก่อนด้วยนะครับ /ขอบคุณครับ
หมายเหตุ .- ตำรวจน่าจะห้ามรถสิบล้อพ่วงขึ้นไปปายครับ เพราะบางโค้งแทบจะไม่มีมุมให้รถพ่วงของสิบล้อตีโค้ง
ได้ง่าย ๆ เลย เผลอ ๆ ตอนหักเลี้ยว ถ้าพ่วงท้ายไม่พ้นโค้ง อาจกลิ้งลงเหวเอาง่าย ๆ ...
ก็คงจบแค่นี้ก่อน เพราะคงต้องรอรูปข้าวบนดอยต่อไปก่อนครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 09/11/2012 3:04 pm ชื่อกระทู้: Re: กาแฟโรบัสต้า บนดอยโป่งสะมึ๊ต |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
รูปที่ 164 - 165 เมล็ดกาแฟจะแก่และสุกไม่พร้อมกัน จึงจำเป็นต้องทยอยเก็บ ชาวไร่กาแฟก็จะมีงานทำตลอด ใครเป็น
ลูกเขยอาข่าที่นี่ ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอน ไม่ต้องทำอย่างอื่น เพราะกินกาแฟและเก็บกาแฟอย่างเดียว ย้ำอีกครั้งว่า กาแฟ
ที่เห็นนี่เป็นสายพันธุ์ โรบัสต้า ครับ ดอกกาแฟเวลาบานนี่กลิ่นจะหอม คล้ายดอกมะลิป่าครับ .....ที่รู้เพราะผมเคยไปที่
บ้านน้องชาย ที่เชียงราย แม่ยายแกปลูกกาแฟเอาไว้ ก็เลยรู้ว่าดอกกาแฟกลิ่นหอมเหมือนดอกมะลิ
|
COMMENT :
ข้อมูลทางวิชาการว่า กาแฟอราบิก้า.ปลูกได้เฉพาะภาคเหนือเท่านั้น เพราะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเป็น
ตัวกำหนด แต่จากประสบการณ์ตรง วันนี้ อราบิก้า.ปลูกที่ อ.ไทรโยค กาญจนบุรี เอามาทำกาแฟอีเห็น ขายถ้วยละ 3,500
หน้าตาเฉย.....
ข้อมูลทางวิชาการว่า กาแฟโรบัสต้า. ปลูกได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น เพราะนอกจากความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางแล้ว
ธรรมชาติฝนแปดแดดสี่ยังเป็นตัวเสริมอีกด้วย แต่จากกระทู้นี้ กะเหรี่ยงปลูกโรบาสต้า หน้าตาเฉย.....
ที่ไร่กล้อมแกล้ม ปลูกโรบาสต้า.ไว้ 1 ต้น เอาไว้ดู นี่ไง กาแฟ....ท่าทางจะไปรอด สู้ดินปราบเซียนได้.....
กาแฟทุกสายพันธุ์ ออกดอกติดผลตลอดปี แบบไม่มีรุ่น จากดอกเป็นผล จากผลอ่อนเป็นผลแก่เก็บเกี่ยวได้ ใช้เเวลา 13
เดือน (มากกว่า 1 ปี) นั่นหมายความว่า กาแฟเป็นได้ทั้งไม้ประดับยืนต้น เป็นได้ทั้่งไม้เศรษฐกิจเอาผล แล้วก็เป็นไม้
ประดับบารมีด้วย......
ปลูกเถอะ อย่างน้อยก็ช่วยลดโลกร้อน ช่วยกักเก็บน้ำใต้ดิน ช่วยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไว้ทำฝนหลวง ....
.....ดีทั้งนั้น ว่ามั้ย
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/11/2012 3:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 09/11/2012 3:07 pm ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร ภาค 2 ....ข้าวโพดห้าสี |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
รูปที่ 190
รูปที่ 188 190 ดูใกล้ ๆ จะเห็นว่า เมล็ดมีห้าสี ดูแปลก สวยดีนะครับ น่าจะเรียกว่า ข้าวโพดแก้วเบ็ญจรงค์ นะครับ มันเริ่มกลาย
พันธ์ใช่ไหมครับลุงคิม ตามข่าวบอกว่า คนกินชอบเพราะสีมันแปลกครับ
|
COMMENT :
กลายพันธุ์-ไม่กลายพันธุ์ ไม่รู้ เพราะ 1) ไม่มีความรู้ทางวิชาการเรื่องนี้ 2) ไม่เคยเห็นของจริง 3) ไม่รู้ประวัติ 4) ยังไม่เคยกิน
(ก็ไม่เอามาฝาก นี่หว่า.....
อาการกลายพันธุ์มี 2 ลักษณะ คือ ดีขึ้นกับเลวลง อาการนี้เกิดขึ้นเองทั้งโดยธรรมชาติ และน้ำมือคน..... ถ้ามันดีขึ้นกว่า
เดิมก็ถือว่า กลายเป็นไปในทางที่ดี จงปลูกต่อไป แต่ถ้ากลายไปในทางที่เลวลง จงทำลายทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์
เรื่องพัฒนาสายพันธุ์นี่ ใครพัฒนาขึ้นมาได้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ ตลาดนิยม แล้วจดทะเบียนลิขสิทธิ์ รับรองรวย ขายพันธุ์
ได้ทั่วโลก.....
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/11/2012 3:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 09/11/2012 4:29 pm ชื่อกระทู้: Re: กาแฟโรบัสต้า บนดอยโป่งสะมึ๊ต |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
: ลุงบอกว่า จะฝาก "ระเบิดเถิดเทิง 30-30-30" ให้เขาเอาไปใช้กับนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่นั่น....
: ระเบิดเถิดเทิง 30-30-30 นี่เป็นสูตรใหม่ เฉพาะใช้กับดินบนดอยหรือครับ
: ลุงถามว่า เอาไปซัก 300 ล. รถบันทุกไหวไหม ....
ลุงบอกว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ต้องการสารอาหารประเภท "ปุ๋ยเคมี" น้อยอยู่แล้ว เฉพาะที่ใส่เพิ่มในน้ำหมักระเบิดฯ น่า
จะพอ ....อัตราใช้แค่ 2 ล./ไร่ ใส่ครั้งเดียว
|
COMMENT :
ที่โน่นมีเน็ต ที่โน่นคงอ่านกระทู้นี้ นั่นหมายความว่า เขารู้เรื่อง "ระเบิดเถิดเทิง" แล้ว ว่าอะไรเป็นอะไร
ถึงวาระนั้น เขาไม่ได้รับ "ระเบิดเถิดเทิง" ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า อะไรจะเกิดกับใคร เพราะฉนั้น แม้จะไปยากแค่ไหนก็ต้องไป
ไม่งั้น.....มึงตัยยยยย
กาลครั้งนั้น ราว 3-4 ปีที่แล้ว ลุงคิมขึ้นไปบ้านนาสิริ อ.เชียงดาว (จากเชียงใหม่ ไป อ.เชียงดาว 110 กม.
จาก อ.เชียงดาว ต่อไปบ้านนาสิริ 90 กม. เส้นทาง 200 กม. กว่า 500 โค้งข้อศอก บางครั้ง
โค้งขึ้น บางครั้งโค้งลง ห่างจากชายแดนไทย-พม่า แค่ภูเขากั้น 1 ลูก....ไปเป็นคาราวาน
ปั๊คอั๊พ 12 คัน ของลุงคิมอีซูซุธรรมดาๆ บันทุกระเบิดเถิดเทิง 500 ล. วิ่งฉลุย ไม่เห็นต้องระดับ
จี๊บฮัมฟรี ยูเอสเอ เลย......เห็นมั้ย) เป็นบ้านชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ พูดภาษาไทยกลางไม่ได้เลย เอาวะงานนี้
"ไม่รู้เรื่อง แต่รู้เรื่อง" ซะมั้ง มีล่ามสาว สวย หมวย อึ๋ม ชื่อ น.ส.จารุณีฯ วุฒิปริญญาโท ม.เชียงใหม่ เป็นนักเรียนทุนใน
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เป็นล่ามแปลคำพูดลุงคิม ชนิดคำต่อคำ บางครั้งลุงคิมพูดคำเดียว ล่ามคนสวยแปลปน
ยิ้มซะยาวเหยียด สอบถามจึงทราบว่า ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะชาวไทยภูเขาที่นี่ไม่มีพื้นฐานความรู้ทางการเกษตรเลย
ไปคราวนั้นเอาน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงสำหรับถั่วแดงไปด้วย บอกวิธีใช้กับถั่วแดง (พันธุ์พระราชทาน) ใช้ "ระเบิดเถิด
เทิง 1 จอกกินเหล้า (50 ซีซี.) ห้ามเกิน ผสมน้ำในถังแบบสะพาย 20 ล. ฉีดลงโคนต้นถั่ว 1 ต้น โยกถัง 2 ครั้ง ทำ
ซ้ำ 2 อาทิตย์ต่อครั้งจนเก็บเกี่ยว ฉีดตอนเย็นดีกว่าตอนกลางวัน" ..... ก็แค่นี้แหละ
แนะนำเสร็จ เวลาตอนนั้นประมาณบ่าย 4 โมง ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศไม่ร้อน จากนั้นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง พลันเห็นมูเซอ
บ้านนาสิริที่มาฟังแล้วรับแจกน้ำหมักไป ซัก 50-100 คน บนหลังสะพายเป้ทุกคน เดินอยู่บนภูเขาหัวโล้น กระจายกัน
ตามแปลงถั่ว ขมีขมันบรรจงฉีดน้ำหมักฯ ลงใส่โคนกอถั่วอย่างตั้งอกตั้งใจ
แรกๆก็นึกอยู่เหมือนกัน ตอนที่เราพูดภาษาไทยกลาง มีล่ามสาวคอยแปลนั้น มูเซอฟังแล้ว รู้เรื่องไหม ? เข้าใจ
ไหม ? เชื่อไหม ? จะทำไหม ? ครั้นได้เห็นกับตา บอกปุ๊บทำปั๊บ แบบนี้ จะไม่เรียกว่า "ไม่รู้เรื่อง แต่รู้เรื่อง" ได้ยังไง
ผิดกับคนไทยภาคกลาง รับแจก (ฟรี) ไปแล้วไม่ใช้ วางไว้เฉย บางราย ซื้อ (จ่าย) ไปแล้วเก็บไว้เฉยๆ 3 ปี ถึงโทร
ถามมาว่ายังใช้ได้ไหม ใช้ยังไง แบบนี้ไม่เรียกว่า "รู้เรื่อง แต่ไม่รู้เรื่อง" ได้มั้ย
เวลาผ่านไป 4-5 เดือน หน่วยงานส่งเสริมเกษตรตามแนวพระราชดำริ บ้านนาสิริ (หัวหน้าป่าไม้ อ.เชียงดาว โดย
ตำแหน่ง) แจ้งข่าวมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ได้ผลผลิตถั่วแดงเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่
ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว
หมายเหตุ :
พืชตะกูลถั่วไร่ (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ งา) ต้องการธาตุเหล็กมาก ในน้ำหมักฯ มีเลือดหมักข้ามปี
ในเลือดมีธาตุเหล็กมาก วิธีการคือ เพิ่มส่วนผสมของธาตุเหล็ก (เลือด) ในน้ำหมักฯ เพิ่มขึ้นจากสูตรปกติ 10-
20 เปอร์เซ็นต์.....ก็แค่นี้แหละ
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/11/2012 4:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 10/11/2012 4:50 pm ชื่อกระทู้: ยางพารา จากใต้(ฝนแปด แดดสี่) สู่แดนอีสาน (ฝนสี่ แดดแปด) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
สมัยก่อนเชื่อกันว่า ยางพารา ปลูกได้เฉพาะภาคใต้ ปัจจุบัน อีสาน มียางพาราปลูกกันเกินกว่าล้านไร่แล้วมั๊ง
ดูจากรูปนี้และคำอธิบายประกอบครับ
วันนี้ ( 22 ก.พ.2012 ) นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผวจ.บึงกาฬ ได้พาสื่อมวลชนไปดูต้นยางพาราที่นำมาปลูกเป็นครั้งแรก
ที่บ้านหนองแวง หมู่ 2 ต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย ประวัติของต้นยางพาราต้นแรกคือ เมื่อปี 2503 ได้มีพระธุดงค์นามว่า หลวง
ปู่คำสิงห์ วรธรรมโม ได้เดินทางกลับจากไปแสวงธรรมเสริมสร้างบาลีที่ทางภาคใต้ คือ จังหวัดพัทลุงขณะที่ธุดงค์กลับมาก็
ได้นำเม็ดยางพาราติดย่ามมาด้วย 25 เม็ด ขณะมาปักกลดพักแรมเจริญภาวนาอยู่ที่บ้าน นายทอง คำมุงคุณ ซึ่งเป็นญาติ
กัน จึงได้บอกกับนายทองว่า ให้เอาเม็ดยางไปปลูก ซึ่งเป็นพืชที่แปลก เพราะให้น้ำยางตลอดและนำไปใช้ประโยชน์ได้หลาย
อย่าง แต่เม็ดยางเจริญงอกงามมาได้เพียง 5 เม็ดเท่านั้น แต่อยู่ได้แค่ 1 ปี ถูกฝูงควายเหยียบย่ำ จึงรอดมาได้เพียงต้นเดียว
ปัจจุบันต้นยางต้นแรกนี้ มีความสูงประมาณ 25 เมตร วัดรอบได้ 3.4 เมตร หรือประมาณ 2 คนโอบ
นางเต็ม นาของ อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 25 บ้านหนองแวง เจ้าของที่ดินต้นยางต้นแรกคนปัจจุบัน กล่าวว่า ได้กรีดยางต้น
นี้มานานหลายปีแล้ว น้ำยางจะไหลดีตลอด กรีดแต่ละครั้งน้ำยางจะไหลออกมากจนตกใจ ต้องใช้ถ้วยรองน้ำยางขนาดใหญ่
พิเศษขนาดเท่าถังตักน้ำใบเล็กจึงจะไม่ล้นออก แต่อยู่มาวันหนึ่ง ฝันว่ากรีดต้นยางต้นนี้มีเลือดไหลออกมาเป็นทางยาวไหล
ไม่หยุด และก็มีเสียงเหมือนผู้หญิงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวด ตกใจตื่นขึ้นมานำเรื่องไปเล่าให้หลวงพ่อท่านหนึ่ง
ฟังท่านบอกว่าเป็นเทวดาประจำต้นไม้ เขาได้รับบาดเจ็บจากการกรีดยาง หลังจากนั้นมาก็ไม่กรีดยางต้นนี้อีกมาได้ประมาณ
10 ปีแล้ว และได้ตั้งศาลขึ้นมาหนึ่งหลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดา
นายพรศักดิ์ กล่าวต่อว่า นี่คือปฐมบทแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพี่น้องประชาชนชาวบึงกาฬ ที่ได้ปลูกยางพารามานับตั้งแต่
วันนั้น จนถึงวันนี้ปลูกยางพาราแล้วถึง 8 แสนไร่ ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรเดือน
ละกว่า 800 ล้านบาทหรือปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท ในวันที่ 23- 25 ก.พ.นี้ ชาวบึงกาฬได้จัดวันยางพาราขึ้น
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและรำลึกถึงบุญคุณยางพารา และผู้มีส่วนสนับสนุนให้ปลูกอีกด้วย ในงานมีการแสดงและขาย
สินค้าเกี่ยวยางพาราในราคาถูก มีสินค้าธงฟ้า หากประชาชนสนใจก็ขอเชิญเที่ยวชมด้วย.
เมื่อยางพารายังปลูกได้ผลทั่วภูมิภาค(เพื่อนของผม เอาไปปลูกที่ดอยแม่สลอง ยังได้ผลดี) แล้วทำไม กาแฟโรบัสต้า
จากใต้ จะปลูกบนดอย ที่มีอากาศเย็น แต่มีความชื้นจากเมฆและหมอกทั้งวันทั้งคืนไม่ได้ ผลผลิตและรสชาด อาจดี
กว่าปลูกทางใต้ที่มีแต่ฝนตลอดด้วยซ้ำ
อีกอย่างหนึ่ง ผมเอาข้าวที่ปลูกบนดอย ไปปลูกที่นครปฐม ยังออกรวง มีเมล็ด มีเนื้อ ...เคยลงรูปให้ดูแล้ว พูดได้เลยว่า
ก...ทำมากับมือ....
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/11/2012 9:14 pm ชื่อกระทู้: มะเขือการ์ตูนมาแล้วจ้า |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 ...มะเขือการ์ตูนอีกครั้ง
รูปที่ 195 รูปมะเขือการ์ตูนอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งในรูปที่ 125 126 ผมลงรูปมะเขือการ์ตูนให้ดูมาครั้งหนึ่ง ซี่ง
ชาชา บอกว่า จะส่งเมล็ดพันธุ์ให้ผม....
มาเมื่อเย็นวันที่ 9 พย. 55 ผมได้รับกล่องพัสดุจากวัดจันทร์ ใช้เวลาเดินทาง 12 วัน ช้างในเป็นของสิ่งนี้ครับ
รูปที่ 196 ภายในกล่องมีของสิ่งนี้ พร้อมด้วยเมล็ดพันธุ์อื่น ๆ ลูกกลม ๆ เล็ก ๆ สีดำ ขวามือ เป็นลูกพุดป่า ดอก
มีกลิ่นหอมแรงมาก ส่วนลูกดำ ๆ ทางซ้ายมือ นี่แหละครับมะเขือการ์ตูน ลองบีบดู มันนิ่ม ๆ มือดีแฮะ ...ที่สีดำ
เพราะอบมาในกล่อง 12 วัน
(มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...หนูจะแกะเมล็ดตากให้แห้งแล้วจะส่งมาให้พ่อ แต่พี่โชเล่ ใจร้อนบอกให้หนูส่งมาให้พ่อ
ทั้งลูก ให้พ่อมาแกะเมล็ดเอาเอง)
มันจะใจร้อนอะไรขนาดนั้น(วะ) อบมา 12 วันไม่เน่าก็บุญแล้ว ลูกยาวประมาณ 3 นิ้วฟุต กว้างประมาณ 2 นิ้ว ส่วน
เมล็ดในถุงใสเขียนว่า นมแพะ คงจะเป็นเมล็ดมะเขือนมแพะ มะเขือการ์ตูนกับนมแพะมันคนละอย่าง หรืออย่างเดียว
กัน......... ขอเวลาให้ผมปลูกก่อน ได้ผลแล้วจะแจกเมล็ดพันธุ์ ถ้าใจร้อน จะไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกเองก็ไม่ว่ากัน
ขอบคุณครับลุง
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 14/11/2012 8:30 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 .....ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 10 / 1
ก่อนเข้ารายการ ....ผมขออัญเชิญสิ่งที่เป็นมงคลกับคนดีมาไว้ ณ ที่ตรงนี้ หากลุงคิมเห็นเป็นการ
ไม่สมควร ด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการ กรุณาลบออกด้วย (แต่ผมคิดว่า สะใจดีจัง) - ขอบคุณครับลุง
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ....ใครโดนในหลวงตำหนิ(ด่า)ละก็มึงเอ๊ย เห็นมาหลายคนแล้ว
ฉิบหายวายวอด ซวยทั้งโคตร ไม่มีวันเจริญ
คนเรานะครับ
.
คนหนึ่งรวยล้นฟ้า แต่มีศัตรูรอบทิศ เป็นมะเร็ง เป็นโรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเก๊าท์
กินของดีไม่ได้ หวาดผวานอนไม่หลับ ลูกหลานล้างผลาญไม่อยู่ในโอวาท ...
กับอีกคน พอมีพอกิน แต่สุขสบาย ไม่มีศัตรู ไม่มีโรคภัยตามที่กล่าวข้างต้นเบียดเบียน กินอิ่ม
นอนหลับ ลูกหลานเคารพเชื่อฟัง ...
คุณจะเลือกเป็นคน ๆไหนครับ
ผมได้รับรูปข้าวของกะเหรี่ยงจากบนดอยมาแล้วครับ ข้อมูลบอกว่า ......
ส่งรูปข้าวมาให้พ่ออีก 2 ชุด ไม่ได้แกล้งให้รอ แต่เพราะพี่เค้าตั้งใจว่าจะให้ข้าวแปลงนี้ได้ผลออกมาดีที่สุดตามสัญญา
ที่ให้กับพ่อไว้ ...ซึ่งข้าวออกมาดีกว่าที่เคยทำ แต่พี่เค้าห้ามหนูเล่าให้พ่อฟัง ...เค้าบอกจะคุยกับพ่อเอง ...เห็นข้าว
แล้วยิ้มหน้าบานทั้งวัน เอาน้ำสมุนไพรขม ๆ ตามสูตรที่พ่อบอก ต้มใส่ขวดตั้งเอาไว้ ใครไปใครมาคุยอวดไม่หยุด...
ตอนหนูกำลังจะออกไปถ่ายรูป แม่คงรำคาญ เอาก้อนดินขว้างใส่ไปหลายครั้ง
รูปชุดแรกถ่ายวันที่ 5 พย.55 ก่อนเกี่ยว 1 วัน พี่โชเล่บอกว่า วันนี้ข้าวอายุครบ 120 วันพอดี
ชุดที่สองถ่ายวันที่ 6 พย.55 โชคดีมาก ๆ เพราะที่คุยกัน พี่บอกว่าจะเกี่ยวบ่าย หนูกะจะลางานครึ่งวันมาช่วยเกี่ยว
แต่ตอน 8 โมงเช้า หนูกำลังจะออกไปทำงานเห็นเค้ากำลังเกี่ยวพอดี คงออกมากันตั้งแต่เช้า เกี่ยวกันสามคน
มีแม่ พี่โชเล่ พี่มิโส่ย (พี่สะใภ้) พ่อนี่โชคดีจริงๆ สมความปรารถนาเลย แต่หนูไม่มีเวลาเลือกรูปเพราะช่วงนี้งานเยอะ
มาก เลยส่งให้พ่อหมด พ่อไปเลือกเอาเองตามใจชอบนะคะ
มีแปลงผักกาดปลีให้ดูด้วย ยังไม่ทันจะเข้าปลี ถูกฝนตกทำให้ดินเปียกชื้นมากเกินไป ใบผักถูกฝนเสียหายมากด้วย ..
และรูปที่ถ่ายไม่ดีเท่าที่ควรเพราะรีบๆๆๆๆ เร่งๆๆๆๆ จะไปทำงาน แล้วอากาศก็หนาววววววว ค่ะ คำบรรยายจะส่ง
ตามมาให้นะคะ....พ่อไม่ขึ้นมาเที่ยวงานดอกบัวตองบานหรือคะ สาวไตงามกว่าสาวกะเหรี่ยงน๊า...
หลังจากที่คอยรูปมานานหลายวัน ...มาดูข้าวก่อนเกี่ยว 1 วันครับ
รูปที่ 197 วันที่ 5-11-55 ข้าวอายุครบ 120 วันพอดี ข้าวที่ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรขม ๆ + อีกหลายอย่างเรียกว่าสูตร
รวมมิตร ต้นแข็งตั้งตรงดี รวงก้มพอควร
รูปที่ 198 รูปนี้ถ้าเปรียบเทียบกับรูปที่ 12 ข้าวที่ปลูกห่างเป็นศอกแขนในตอนแรก มาถึงวันนี้ ข้าวแตกกอออก
รวงขึ้นเบียดกันแน่น แต่ประหยัดเมล็ดพันธุ์ จาก 6 ถังต่อ 3 ไร่ เหลือ 2 ถังกว่า ต่อ 3 ไร่ (ข้าวแช่น้ำแล้วขยาย
ตัวพองออกจึงได้ข้าวเกินกว่า 2 ถัง)
รูปที่ 199
รูปที่ 200
รูปที่ 199 200 ต้นแข็ง รวงแน่น เมล็ดเต็ม ไม่มีเมล็ดลีบปน
รูปที่ 201
รูปที่ 202
รูปที่ 201 202 รวงก้มแบบนี้ พี่เค้าบอกว่า น้ำหนักข้าวคงจะดี
รูปที่ 203 ...หอยทาก(ไม่อันตราย) ไม่ใช่หอยเชอรี่ (อันตราย)
.ถ้าเป็นหอยโข่งภูเขา(ไม่มีรูปให้ดู) เนื้อกินได้
รูปที่ 204
รูปที่ 205
รูปที่ 204 205 หยดน้ำค้างบนใบข้าว ....หนูเห็นมันสวยดี เลยถ่ายส่งมาให้พ่อดู (โชว์ฝีมือด้วย อิอิ)
รูปที่ 206
รูปที่ 207
รูปที่ 206 207 ...จากคำพูด .. สูจะต้องดูแลข้าวในแปลงนี้ให้ดีที่สุด นี่คือการรักษาคำมั่นสัญญาของ
กะเหรี่ยงบนดอย คุณมองเห็นอะไร .....ถ้าคิดไม่ออกจะบอกให้ ...หญ้าในแปลงนาและบนคันนา รวมทั้งการ
เอาใจใส่ดูแลต้นข้าวครับ ...หญ้าแทบจะไม่มีให้เห็น ต้นข้าวแตกกอดี ข้าวออกรวงเสมอกัน
รูปที่ 208
รูปที่ 209
รูปที่ 210
รูปที่ 211
รูปที่ 212
รูปที่ 213
รูปที่ 214
รูปที่ 215
รูปที่ 216
รูปที่ 217
รูปที่ 218
รูปที่ 219
รูปที่ 220
รูปที่ 221
รูปที่ 222
รูปที่ 208 222 มีคำอธิบายเพียงว่า...
พ่อเชื่อไม๊ว่า ยิ่งใกล้จะเกี่ยว พี่โชเล่เดินรอบแปลงนาเกือบทั้งวัน เอามือไขว้หลัง ฮัมเพลง เดินยิ้มคนเดียว
พ่อคิดยังไง ....(ผมจะคิดยังไง ลงสูเดินฮัมเพลง เดินยิ้มคนเดียวแบบนี้ ผมคงไม่ต้องจ่ายเงินซื้อข้าวของ
เจ้าโชเล่อย่างแน่นอน)
เป็นความเข้าใจผิดของเพื่อนกะเหรี่ยงตอนแรก ว่า การที่ผมบอกให้เค้าดูแลข้าวแปลงนี้ให้ดีที่สุด เค้าคิดว่า ผม
กลัวจะต้องแพ้พนันและต้องจ่ายเงินซื้อข้าวของเค้า ก็เลยบอกให้เค้าดูแลนาแปลงนี้ให้ดี แต่เค้าก็รักษาคำ
สัญญาดูแลด้วยดีมาตลอด เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งพ่อหลวง (พ่อ) แม่หลวง (แม่) และน้อง ๆ ของเค้า คุยกัน
ก็มองเห็นแล้วว่า การที่เค้าดูแลอย่างดี ข้าวมันเจริญเติบโตงอกงามไปตามระยะเวลาเป็นไปด้วยดี สุดท้าย
ทุกคนเห็นและเข้าใจแล้วว่า การดูแลอย่างดีผลผลิตจะต้องออกมาดี แล้วผลผลิตเป็นของใคร มันก็เป็น
ของเค้าเอง ผมไม่ได้มีส่วนได้อะไรกับเค้าด้วยเลย ....แต่ผมว่าผมได้นะ ได้มากเกินกว่าที่จะพูดเป็นคำพูด ....
ผมรู้แต่แรกแล้วว่า ถ้าผมทำตามคำแนะนำของลุงคิม ผลได้จะต้องออกมาดี ถ้าไม่ดีลุงคิมจะไม่กล้าแนะนำ
ผมเป็นอันขาด เพราะความเชื่อมั่น ผมจึงกล้าที่จะท้าพนันกับเค้า
ก็เหลืออีกนิดเดียวก็จะรู้ผลว่า ได้ข้าวมากน้อยแค่ไหน จากการที่คุยกัน เจ้าโชเล่บอกว่า ถึงจะได้ข้าวเท่าปี
ก่อน หรือได้น้อยกว่าปีก่อน ก็ถือว่าได้
.
1. ได้ความรู้หลายอย่าง จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน
2. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลง แค่ 2 กระบุง แทนที่จะใช้ถึง 6 กระบุง ....
มีคำถามที่ผมคิดไม่ถึงจากเพื่อนกะเหรียงว่า....อาปา ปีหน้าจะ ช้า ข้า หย่อ สะกั๊วะ เดีย ได่ ป่ะ (ปีหน้าจะใช้ข้าว
หยอดกระบุงเดียวได้หรือเปล่า - สะกั๊วะ ภาษากะเหรี่ยงแปลว่ากระบุงครับ)
คำตอบของผมคือ... ม่า รู้ อย่า รู้ ต้อ ลอ ทาม ดู..
(ม่ายรู้ อยากรู้ต้องลองทำดู).และบอกต่อว่า ให้แช่ข้าว
กระบุงครึ่ง เผื่อกระบุงเดียวไม่พอ ถ้าข้าวเหลือก็เอาไปหยอดในแปลงอื่นได้...และก่อนหยอดข้าว
จะมีน้ำมนต์วิเศษของอาจารย์เฮามาให้เป็นโอ่ง....
เจ้าโชเล่ถามว่า . อาว มา อ่า หรา ..(เอามาอาบหรือ...) ....ผมไม่รู้จะตอบว่ายังไงขี้เกียจอธิบาย(ยังไม่ถึงเวลา)
เลยตอบว่า ...เออ ...(ถ้าสูอาบน้ำมนต์ของอาจารย์เฮาได้ละก็ ขนขึ้นเต็มตัวกลายเป็นลิงแน่ ๆ เลยสูเอ๊ย)...
...งานต่อจากนี้ ไปดูกะเหรี่ยงเกี่ยวข้าวกันครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 15/11/2012 6:59 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 10-2 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ยัยเฉิ่ม
..และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร ภาค 2 ไปดูกะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอนที่ 10 2 วันเกี่ยว
ลุงคิมครับ มีรูปแปลกส่งมาจากบนดอย ขออนุญาตนำลงในเว็ปลุง ถือว่าเป็นภาพที่เป็นศิริมงคลกับสมาชิกรายการ
สีสันชีวิตไทยทุกท่านนะครับ
คำอธิบายใต้ภาพว่า ...เป็นรูปที่พี่โชเล่ ตัดจากหนังสือพิมพ์ใส่กรอบตั้งบนหิ้งบูชา ให้หนูถ่ายรูปส่งมาให้พ่อ....
คำอธิบายมีแค่นี้ ไม่ได้บอกรายละเอียดอื่น ๆ
ผมเห็นแล้ว ตื้นตัน ติดอยู่ที่คอ พูดไม่ออกครับ นึกไม่ถึงว่าคนบนดอยจะให้ความสำคัญต่อราชวงศ์ ถึงเพียงนี้ คงจะ
บูชาในฐานะเป็นแม่โพสพมั๊ง ผมเข้าใจว่าภาพนี้เป็นภาพตอนที่พระองค์เสด็จไปดำนาที่เขาชะโงก (รร.นายร้อย จปร.)
แน่ ๆ หรือลุงคิมคิดว่า ที่ไหนครับ
ตามข้อมูลบอกว่า วันที่ 6 พย.55 เป็นวันที่พี่โชเล่เกี่ยวข้าว.......มาดูรูปกันครับ
รูปที่ 223 ผมเห็นรูปนี้แล้ว กร๊ากกกก เลยครับ ขออธิบายเองว่า " ใช้กูจัง ตังค์ไม่เคยให้ " 5 5 5...เอารูปมาจาก
ที่ไหนวะเนี่ย
รูปที่ 224 เช้าวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ข้าวอายุ 121 วัน เริ่มเกี่ยวแล้ววางเรียงกองไว้บนตอข้าว
การเกี่ยวข้าวของคนภาคเหนือ หรือคนบนดอยเค้าเกี่ยวแล้วก็วางเรียงไปบนตอข้าวแบบนี้แหละ ที่ภาคอื่นไม่รู้เพราะ
ไม่ได้เห็นมานานนักหนาแล้ว ทั้งนี้เพื่อตากข้าวให้แห้งลงอีกหน่อย จะสะดวกเวลาหอบฟ่อนข้าวเอาไปตีหรือนวด
ทำไมผมถึงรู้ เพราะเคยไปเห็นบ้านน้องชายที่เชียงรายเค้าทำ
แบบนี้ ความจริงเป็นการฟาดข้าวแต่เค้าเรียกว่าตีข้าว ส่วนกะเหรี่ยงเค้าเรียกอะไร ผมไม่รู้ คงจะตีข้าวนั่นแหละ
เพราะเห็นมีเครื่องมืออยู่อย่างนึง ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า นอตอบือ แปลว่าไม้ตีข้าว
รูปที่ 225
รูปที่ 226
รูปที่ 225 226 เริ่มเกี่ยวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก เพราะอะไร ทำไม ถือโชค ถือลางหรือ .....เปล่าครับ
ชาวนาที่ไหนก็เกี่ยวแบบนี้กันทั้งนั้น ก็เพราะว่า เกี่ยวตอนเช้าจากทิศตะวันออกไปตะวันตก เป็นการหันหลังหรือหัน
ก้นให้แดด เวลาเกี่ยว แสงแดดจะได้ไม่เข้าตาไงล่ะครับคุณท่าน
รูปที่ 227
รูปที่ 228
รูปที่ 227 228 สามแรงแข็งขัน แม่ เมีย แล้วก็ตัวเอง
คิดว่า น้องสาวคงลางานมาช่วยอีกคนตอนบ่าย
รูปที่ 229
รูปที่ 230
รูปที่ 229 230 สามแรงคน ค่อยทำค่อยไป เหนื่อยนักก็พักก่อน เดี๋ยวก็เสร็จ
รูปที่ 231
รูปที่ 232
รูปที่ 233
รูปที่ 234
รูปที่ 235
รูปที่ 236
รูปที่ 237
รูปที่ 238
รูปที่ 239
รูปที่ 240
รูปที่ 241
รูปที่ 242
รูปที่ 243
รูปที่ 244
รูปที่ 245
รูปที่ 246
รูปที่ 247
รูปที่ 231 247 การเกี่ยวข้าวแบบนี้ นาภาคกลางคงจะไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว มีก็น้อยมาก ดูจากรูปคงไม่ต้อง
มีคำบรรยายนะครับ
คิดว่านาแค่สามไร่กว่า เกี่ยว สามคน ไม่เกินสองวันคงเสร็จ
รูปหมดแค่นี้ครับ ก็คงจบแค่นี้ก่อน...รอลุ้นการตีข้าวกันว่า ผลผลิตที่ได้จะได้มากน้อยแค่ไหน ....
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|