-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2013 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....


147. ฝาง 60 (Fang 60)
148. ข้าวสาลีพันธุ์ อินทรี 1
149. ข้าวสาลีพันธุ์ อินทรี 2
150. ชาวนาเวียดนาม รวยกว่าชาวนาไทย

151. ข้าวพม่า โค่นแชมป์ "หอมมะลิ" ครองสุดยอดข้าวอร่อยที่สุดในโลก
152. แม่โจ้ 2 ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย
153. ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ กข6 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
154. ไบโอไทย แฉข้อเท็จจริง "ข้าวพันธุ์ผสม" สวนทางคำโฆษณา "ซีพี"
155. ปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง

156. พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง กอใหญ่ และต้านทานการล้ม
157. ชาวนาจีนเพาะ "โคตรข้าว" ผลผลิตสูง ทำลายสถิติโลก
158. ปีนี้ ข้าวหอมเขมร ขึ้นแท่นข้าวคุณภาพดี ที่สุดในโลก
159. เขมรซุ่มวิจัยข้าวหอมพันธุ์ใหม่ เชิญต่างชาติทำนา
160. ข้าวเจ้า พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105

161. ข้าวหอมมะลิ หรือ ข้าวดอกมะลิ
162. การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดู
163. ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย
164. ข้าวกับสาระน่ารู้
165. เปรียบเทียบ สารกาบาในข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก

166. หอมมะลิ ๘๐
167. 'รกหมู' ยืดอายุเมล็ดพันธุ์ข้าว
168. การทำนา ให้ได้กำไรสุทธิ 1.5 แสนต่อไร่ (แถมเหนื่อยน้อย)

------------------------------------------------------------------------------------------




147.


ชื่อพันธุ์
- ฝาง 60 (Fang 60)

ชนิด
- ข้าวสาลีชนิดใช้แป้งทำขนมปัง

คู่ผสม
- Pitic62 / Frondosa /// Pitic62 / Mazoe // Mexipak

ประวัติพันธุ์
- เดิมคือข้าวสาลีเบอร์ 1015 เป็นข้าวสาลีขนมปัง ซึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิจัยการปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก เป็นสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมซ้อนของ Pitic62 / Frondosa /// Pitic62 / Mazoe // Mexipak นำมาปลูกครั้งแรกที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง ในปี พ.ศ. 2516–2517 ผ่านการศึกษาพันธุ์ (WTON) และการเปรียบเทียบผลผลิต (WTYN) ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงปี พ.ศ. 2528–2529

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวสาลี สูงประมาณ 85–95 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 95 วัน
- ลำต้นสีเขียว มีนวลเคลือบ (Eqicuticular Wax) ใบยาวเรียวเล็ก มีสีเขียวเข้มปานกลาง มีนวลเคลือบ ก้านรวงมีลักษณะคดงอ
- เมล็ดมีรูปร่างวงรี เยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลืองนวล น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 37 กรัม มีขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่
- ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 10–11%

ผลผลิต
- ประมาณ 280 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- สามารถปลูกในสภาพร้อนและแห้งแล้งได้ดี
- ต้านทานโรคราสนิมใบปานกลาง
- เป็นแป้งชนิดเอนกประสงค์เหมาะสำหรับใช้ทำคุกกี้ บิสกิต และขนมปัง

พื้นที่แนะนำ
- ปลูกในแหล่งที่มีช่วงฤดูหนาวสั้น อากาศร้อนเร็ว และค่อนข้างแห้งแล้ง ทั้งในสภาพไร่ และสภาพนาชลประทานในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=55:fang-60&catid=42:wheat&Itemid=65


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/06/2013 10:25 am, แก้ไขทั้งหมด 33 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2013 4:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

148. ข้าวสาลีพันธุ์ อินทรี 1







แหล่งที่มา ดร.งามชื่น รัตนดิลก ( ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Triticum aestivum L.

ชื่อสามัญ Wheat

ประวัติพันธุ์
ข้าวสาลีอินทรี 1 เป็นพันธุ์ข้าวสาลีที่ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์แท้จากการกลายพันธุ์ของข้าวสาลีที่นำมาจาก CIMMYT เมื่อทดสอบที่ไร่ สุวรรณฯ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นครั้งแรกปี 2525 ในสภาพร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งคัดต้นที่มีการปรับปรุงตัวดีในสภาพร้อนแห้งแล้ง มาขยายพันธุ์ โดยใช้ชื่อ รหัส KU # 12 และได้ปลูก คัดเลือกแบบ Ear-to-row และทดสอบผลผลิตและคุณภาพ ถึงปี 2527 ในสภาพให้น้ำ และอาศัยฝนที่ไร่สุวรรณฯ และทดสอบทั่วไป ในปี 2528-29 ร่วมกับพันธุ์มาตรฐานในเขตภาคเหนือตอนบน และภาคิสานตอนบนเพื่อทดสอบ

ความสามารถในการให้ผลผลิต และทดสอบโรค ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางในปี 2530-31 และได้ทดสอบคุณภาพและเสถียรภาพของ ผลผลิตตลอดจนศักยภาพของผลผลิตจากผลการทดสอบ พบว่าข้าวสาลีอินทรี 1 มีคุณสมบัติทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี แตกกอดีมีผลผลิตสูง ทนต่อหนอนกอและโรคราสนิม ต่างๆ ได้ดีปานกลาง คุณภาพเมล็ดได้

เนื่องจากมีปริมาณกลูเตนสูง และคุณภาพแป้ง ได้มาตรฐานสูง
เมล็ดมีแป้งแกร่ง เมื่อบดสามารถทำขนมปังปอนด์ได้ดี

ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวสาลีพันธุ์อินทรี 1 เป็นข้าวสาลีทำขนมปังปอนด์ ความสูงต้น 90 เซนติเมตร อายุการออกดอก 50% 55 วัน อายุการเก็บเกี่ยว 94 วัน น้ำหนัก 36 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด จำนวนเมล็ด 1 ช่อมี 28-30 เมล็ด

ผลผลิตเมล็ด 400-600 กก./ไร่


ทรงต้นแตกกอเป็นรูปถ้วย สีของต้นมีสีเขียวเข้ม มีไขเคลือบ ทนแล้งได้ดี
ลักษณะใบเรียวยาวมีเขี้ยวใบสีขาว รูปร่างคล้ายขนนก

ลักษณะช่อดอกเรียวปลายช่อแหลม จำนวนช่อดอก ประกอบด้วยดอกย่อย 30-40 ดอก/ต่อช่อ
เมื่อติดเมล็ดลักษณะเมล็ดยาว สีน้ำตาลอ่อน แป้งแข็งแกร่ง

ความสามารถ ในการปรับตัว ปรับตัวได้ดีในเขตร้อน
ผลผลิตสูงปานกลาง มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตทุกสภาพ

ต้านทานโรคราน้ำค้าง และราสนิม ปานกลางและทนต่อโรค head scap
ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนต่อหนอนกอได้ดี

เหมาะสำหรับทำแป้งขนมปัง เนื่องจากเมล็ดแกร่ง
คุณภาพเมล็ดมีโปรตีนปานกลางมีปริมาณกลูเตนพอเหมาะ


http://www.rdi.ku.ac.th/seed/SaleeInsee1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 4:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2013 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

149. ข้าวสาลีพันธุ์ อินทรี 2







แหล่งที่มา ดร.งามชื่น รัตนดิลก (ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Triticum aestivum L.

ชื่อสามัญ Wheat

ประวัติพันธุ์
ข้าวสาลีอินทรี 2 เป็นพันธุ์ข้าวสาลีที่ได้ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์แท้จากการกลายพันธุ์ของข้าวสาลีที่นำเข้ามาทดสอบผลผลิตจาก CIMMYT ในสภาพที่ร้อนและแห้งแล้ง ที่ไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นครั้งแรกในปี 2525 และได้ใช้รหัสคัดเลือกว่า KU HR #6 ซึ่งได้ปลูก ขยายพันธุ์แบบ Ear-to-row และทำการทดสอบผลผลิตและคุณภาพในสภาพต่าง ๆ จนผ่านการทดสอบทนร้อน ทนแล้ง ปัญหาโรคแมลง ตั้งแต่ปี 2525-2529

จากผลการทดสอบศักยภาพ เสถียรภาพผลผลิตและคุณภาพ พบว่าข้าวสาลีอินทรี 2 มีคุณสมบัติดี ทนต่อสภาพอากาศ ร้อนและแห้งแล้งได้ดี แตกกอดีมีผลผลิตสูง ทนต่อหนอนกอและโรคราสนิมปานกลาง คุณภาพเมล็ดใช้ทำแป้งเอนกประสงค์ได้

ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวสาลีอินทรี 2 เป็นข้าวสาลีทำแป้งเอนกประสงค์ ความสูงต้น 72 ซม. อายุการออกดอก 50% 53 วัน อายุการเก็บเกี่ยว 92 วัน น้ำหนัก 41 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด จำนวนเมล็ด 1 ช่อมี 34-36 เมล็ด

ผลผลิตเมล็ด 400-600 กก./ไร่

ทรงต้น ตั้งตรงแตกกอดี สีของต้นมีสีเขียวเข้ม มีไขเคลือบทั่วไป ทนแล้งได้ดี ลักษณะใบเรียวยาวมีเขี้ยวใบสีขาวรูปขนนก

ลักษณะช่อดอกยาว จำนวนช่อดอก ประกอบด้วยดอกย่อย 36-40 ดอก
ลักษณะเมล็ดยาว สีน้ำตาลเข้ม แป้งเมล็ดแข็งปานกลาง

ความสามารถในการปรับตัว ปรับตัวได้ดีในเขตร้อน
ผลผลิตสูงมีเสถียรภาพการให้ผลผลิตดี
ต้านทานโรคราสนิม และราน้ำค้างปานกลาง

ทนต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนต่อหนอนกอได้ดี
คุณภาพเมล็ด เหมาะสำหรับทำแป้งเอนกประสงค์และแบะแซ


http://www.rdi.ku.ac.th/seed/SaleeInsee2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2013 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

150. ชาวนาเวียดนาม รวยกว่าชาวนาไทย


" ลม เปลี่ยนทิศ"


ในขณะที่ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังเร่งหาเสียงก่อนเลือกตั้ง หว่านเงินงบประมาณภาษีของประชาชน ลงไปใน โครงการประชานิยมเก่าๆ ที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ประชาวิวัฒน์ ตั้งแต่ ราคาน้ำมัน ยัน ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบ แต่ รัฐบาลเวียดนาม กลับประกาศ เพิ่มรายได้ชาวนาอีกร้อยละ 30 ในปีนี้

ผมเอามาเล่าเพื่อสะท้อนให้เห็นถึง วิสัยทัศน์ผู้นำ ที่แตกต่างกันระหว่าง ผู้นำไทย กับ ผู้นำเวียดนาม ที่ใช้บริหารประเทศ

ในหนังสือ ไทยแลนด์ อีโคโมมิค แอนด์ บิซิเนส รีวิว ของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย ฉบับล่าสุดได้สรุป " 10 ประเด็นที่ทำให้ข้าวไทยสู้ข้าวเวียดนามไม่ได้ในตลาดอาเซียน" ไว้ อย่างน่าสนใจ เนื้อหาสะท้อนให้เห็นถึง แนวคิดการบริหารประเทศ ของผู้นำเวียดนาม ที่แตกต่างไปจาก นายกฯอภิสิทธิ์ อย่างเห็นได้ชัด

เมื่อไม่กี่ปีก่อน ไทยครองตลาดข้าวในอาเซียน ขายข้าวได้มากกว่าเวียดนาม แต่วันนี้เวียดนามขึ้นมาครองตลาดข้าวอาเซียนแทนเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 67.5 สาเหตุไทยแพ้เวียดนาม หอการค้าสรุปออกมา 10 ข้อ ผมขอยกตัวอย่างบางข้อก็แล้วกัน

1. ผลผลิตข้าวต่อไร่ของเวียดนามสูงกว่าไทย อย่างในปีนี้ เวียดนามมีผลผลิตข้าวเฉลี่ย 853 กก.ต่อไร่ สูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย รองจาก เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และสูงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แต่ชาวนาไทยผลิตข้าวได้ 447 กก.ต่อไร่ น้อยกว่ากันเกือบครึ่ง อยู่อันดับ 13 ของเอเชีย และอันดับ 7 ของอาเซียน

2. ชาวนาเวียดนามมีต้นทุนการผลิตข้าวต่ำกว่าชาวนาไทย แต่ได้ กำไรสูงกว่าชาวนาไทย โดยเปรียบเทียบแหล่งปลูกข้าว จังหวัดเกิ่นทอ ของเวียดนามกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของไทย ชาวนาไทยมีต้นทุนการผลิต 5,800 บาทต่อไร่ แต่ชาวนาเวียดนามมีต้นทุนการผลิต 4,978.9 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย 821.1 บาทต่อไร่ แต่มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย 99 กก.

3. นโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม รัฐบาลเวียดนามประกาศใช้นโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม ในการเพิ่มผลผลิตและรายได้ชาวนา 3 ลด คือ ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสม ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และ ลดการใช้ยาปราบศัตรูพืชและ 3 เพิ่ม คือ เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และ เพิ่มกำไร จากนโยบายนี้ ทำให้ชาวนาเวียดนามมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 และรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

4. มาตรการลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนา กระทรวงการคลังเวียดนาม กำลังยกร่างมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรหลายด้าน เช่น อุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อวัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต ยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและจัดตั้ง กองทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตและส่งออกข้าว เป็นต้น

5. ชาวนาต้องกำไรอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเพิ่งประกาศนโยบายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ให้ส่วนกลาง

และคณะกรรมการประชาชนจังหวัดต่างๆ กำหนดราคาข้าวเปลือกที่จะขายให้พ่อค้าคนกลาง ต้องให้เกษตรกรได้กำไรอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ โดยมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ ไปกำหนดระเบียบและวิธีคำนวณต้นทุนการผลิต รัฐบาลเวียดนาม ตั้งเป้าว่า ในอนาคตจะให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มเป็น 2.5-3 เท่าของต้นทุน

ยกมา 5 ข้อก็เกินพอแล้ว รัฐบาลที่ทำงานเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง กับ รัฐบาลที่ทำงานเพื่อความมั่งคั่งยั่งยืนของประชาชนและประเทศ แตกต่างกันอย่างไร

ผมเห็นว่า นโยบายรัฐบาลเวียดนาม เป็นการบริหารประเทศที่ถูกต้อง รัฐบาลที่ดี จะต้องหาทาง เพิ่มรายได้ประชาชนและเกษตรกรให้พอเพียง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ใช่การตรึงราคาน้ำมัน พักหนี้ หรือ ให้เงินกู้ดอกเบี้ยถูกหนี้นอกระบบ แต่ ไม่คิดเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างพอเพียง สุดท้าย หนี้เน่ารายได้ไม่พอจ่าย หนี้นอกระบบ ก็หวนกลับมาเป็นปัญหาอีกไม่รู้จบ.


http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=2268


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/06/2013 7:10 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2013 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

151. ข้าวพม่า โค่นแชมป์ "หอมมะลิ" ครองสุดยอดข้าวอร่อยที่สุดในโลก



หนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัลรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากการประกวดสุดยอดข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานการประชุมข้าวโลก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19-21 ต.ค. ที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยในปีนี้ คณะกรรมการได้จากข้าวกว่า 30 สายพันธุ์ที่ส่งเข้าประชันงานประกวดข้าว โดยเกณฑ์การตัดสินข้าวจะพิจารณาจากรสชาติ สี และคุณภาพของตัวข้าวเป็นสำคัญ การประกวดที่เริ่มเมื่อ 2 ปีก่อน ภายใต้การสนับสนุนของไรซ์ เทรดเดอร์ส องค์การที่ปรึกษาข้าวระดับโลก โดยข้าวหอมมะลิของไทยได้ครองตำแหน่งสุดยอดข้าวไปครองติดต่อกันใน 2 ปีแรก ขณะที่ในปีนี้โดยตัดสินให้ข้าว "Pearl Paw San" จากประเทศพม่า ได้ตำแหน่งชนะเลิศไปครอง





นายไมเคิล ครอส พ่อครัวจากสถาบันด้านศิลปะการทำอาหาร เลอ กอร์ดอง เบลอ จากเมืองซาเครเมนโต สหรัฐฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินข้าวหลากหลายสายพันธุ์ โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติของตัวข้าวเป็นหลัก โดยไม่มีส่วนผสมอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง



ด้านนายเจเรมี สวิงเกอร์ ประธานสมาคมไรซ์ เทรดเดอร์ เปิดเผยว่า ผู้ผลิตข่าวทั่วโลกมักมีข้อถกเถียงกันมานานว่า ใครเป็นเจ้าของสายพันธุ์ข้าวที่มีรสชาติดีที่สุด และในบางชาติ นั่นอาจถือเป็นความภูมิใจของชาติ อีกทั้งข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ต่างก็มีความพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร โดยข้าวสายพันธุ์ที่พลาดแชมป์ไปอย่างฉิวเฉียดในปีนี้คือข้าวพันธุ์ Venere ซึ่งเป็นข้าวเม็ดสีดำที่ปลูกในอิตาลี และข้าวหอมมะลิจากไทย

นายอดัม แทนเนอร์ หัวหน้าพ่อครัวจากโรงแรมเชอราตัน ไซง่อน และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมการตัดสินรสชาติข้าวที่มีสายพันธุ์ที่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ทำให้การตัดสินข้าวแตกต่างจากการชิมเครื่องดื่ม อย่างชา หรือไวน์ แต่โชคดีว่าทางงานประกวดมีเกณฑ์ในการตัดสินเป็นแนวทางให้คณะกรรมการ

ทั้งนี้ หนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญก็คือกลิ่นหอมเฉพาะของข้าวแต่ละสายพันธุ์ โดยข้าวพันธุ์ใดที่ยังคงรักษากลิ่นหอมเฉพาะนั้นๆ ไว้ได้หลังจากที่ผ่านการหุงให้สุกแล้ว ก็จะได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจากคณะกรรมการนอกเหนือไปจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ต้องบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ เมล็ดเต็มสมบูรณ์ และไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ

ด้านสมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่าเปิดเผยว่า ข้าวสายพันธุ์ Pearl Paw San ซึ่งชนะในการประกวดครั้งนี้ เป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดกลมหนา โดยมีความยาวประมาณ 5-5.5 มม. และเมล็ดข้าวจะมีขนาดยาวมากขึ้นกว่าเดิม 3-4 เท่าตัวเมื่อผ่านการหุงเรียบร้อยแล้ว และยังสามารถรักษากลิ่นหอมเฉพาะไว้ได้

ครอสและแทนเนอร์ เห็นว่า การที่ข้าวสามารถขยายขนาดได้เมื่อผ่านการหุง ความแน่นของตัวข้าวเมื่อเคี้ยวและผิวสัมผัสที่ดี ล้วนส่งให้ข้าวPearl Paw San ของพม่าเฉือนเอาชนะข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวสีดำสายพันธุ์ Venere ของอิตาลีได้อย่างฉิวเฉียด



http://legendnews.net.a18.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539350515&Ntype=47


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/06/2013 10:24 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 29/01/2013 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


152. แม่โจ้ 2 ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย


ผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ปี 55






เกษตรมหัศจรรย์ / กนกวรรณ แซ่หล่อ


“ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2” ผลงานวิจัยของ ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีมงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทดลองและปรับปรุงพันธุ์นานถึง 7 ปี โดยใช้ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับ และข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ให้ ใช้วิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น ด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร ประจำปี 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผศ.ดร. วราภรณ์ กล่าวว่า ปกติแล้วการปรับปรุงพันธุ์รูปแบบเดิมจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่า 10 ปี แต่งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีผสมกลับและการคัดเลือกยีนส์ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล ซึ่งเป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความนิยมของแวดวงวิชาการด้านพันธุกรรมในปัจจุบัน เพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ได้มาก โดยเฉพาะลักษณะที่ต้องการ โดยคำนึงถึงความต้องการที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร เช่น เลือกลักษณะยีนส์ควบคุมความเป็นข้าวเจ้าและยีนส์เรื่องความหอมของข้าวหอมมะลิ และลักษณะต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งสามารถใช้เป็นพันธุ์ทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวเหนียวหอมในฤดูนาปรัง เพราะ กข 6 ไม่สามารถปลูกได้ในฤดูนาปรัง

“ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2” จึงมีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร ลักษณะต้นเตี้ย ช่วยต้านทานต่อการหักล้มและง่ายต่อการใช้รถเก็บเกี่ยว แก้ปัญหาการขาดแรงงานเก็บเกี่ยว ความเป็น “ข้าวเหนียวหอม” ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวเหนียว เนื่องจากสายพันธุ์แม่โจ้ 2 มีกลิ่นหอม ซึ่งโดยปกติข้าวหอมจะมีราคาสูงเพราะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากกว่า ที่สำคัญคือ มีความต้านทานต่อโรคและแมลงในระดับเดียวกับข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งจัดว่ามีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว จึงช่วยลดการใช้สารเคมีลง”

ผศ.ดร. วราภรณ์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลจาก วช. ครั้งนี้ เพราะการทำงานนี้ต้องใช้ความพยายาม ทุ่มเท และใช้ระยะเวลานานมาก แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อยากให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร เพราะชาวนาไทยน่าเห็นใจมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมาต้องเจอกับวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งก็เกิดเป็นโจทย์ใหม่ให้เราคิดอยากช่วยพื้นที่เพาะปลูกในภาคกลาง และขณะนี้นักศึกษาทีมงานก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและทดลอง “ข้าวขึ้นน้ำ” หากได้ผลที่ชัดเจนแม่นยำ และค่อนข้างนิ่งแล้ว จึงจะเผยแพร่ให้ทราบต่อไป”

สำหรับ “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยแม่โจ้ 2” ขณะนี้กำลังอยู่ในการทดลองปลูกสถานีสุดท้ายก่อนเผยแพร่พันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจต่อไป สอบถามรายละเอียด “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2” ติดต่อ ที่ ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. (089) 759-0331

ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย แม่โจ้ 2 จะมีมาให้ชมอย่างใกล้ชิด ในงานเกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2012 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ชั้น 4 เอ็มซีซี ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ระหว่าง วันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2555 นี้เท่านั้น



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1329196291&grpid=no&catid=&subcatid=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 29/01/2013 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

153. ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ไบโอเทค สวทช. ได้เปิดตัวข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์แบบการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อรวมยีนโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน โดยข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ RGD05219-12-12-B (KDML105/IR62266) ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และพันธุ์ RGD04069-1-179-1 (RD6*5/Jao Hom Nin)*3///(KDML105*5/IR1188) ซึ่งเป็นสายพันธุ์รับ และทำการคัดเลือกแบบสืบประวัติจนได้ข้าวเหนียวต้นเตี้ยสายพันธุ์ดี






ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่เป็นข้าวนาปีที่มีความไวต่อช่วงแสง มีลักษณะเด่นคือ สามารถต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง มีขนาดลำต้นสูงเฉลี่ย 130 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายด้วยเครื่องจักร มีการแตกกอดี ลำต้นมีความแข็งแรง จึงมีความทนทานต่อลมแรง ลดปัญหาการหักล้ม เมล็ดเรียวยาว เมื่อนำมาหุงต้ม มีคุณภาพและความเหนียวนุ่มคล้ายพันธุ์ กข6 มี ผลผลิตข้าวแห้งเฉลี่ย 700-800 กิโลกรัมต่อไร่ โดยขณะนี้ได้มีการนำไปเพาะปลูกแล้วในจังหวัด น่าน เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง

ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่นี้เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากไบโอเทค กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และกรมการข้าว ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 ให้มีความต้านทานโรคและแมลงสำคัญ สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และให้ผลผลิตสูง

ประกาศเมื่อ 7 มกราคม 2556



http://www.biotec.or.th/th/index.php/info-center/news/tempnews/738-2013-01-07-03-45-33
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 29/01/2013 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

154. ไบโอไทย แฉข้อเท็จจริง "ข้าวพันธุ์ผสม" สวนทางคำโฆษณา "ซีพี"


ที่ศูนย์พัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ได้จัดแถลงผลการศึกษาเรื่อง "ปัญหาของพันธุ์ข้าวลูกผสม ศึกษากรณีการผลักดันพันธุ์ข้าวลูกผสมของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์" ทั้งนี้ การแถลงผลการศึกษานี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากกรณีที่มีการนำเสนอยุทธศาสตร์ข้าวของนายธานินท์ เจียรวนนท์ ที่เสนอให้ใช้ข้าวพันธุ์ผสมที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นที่ชลประทาน 25 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือใช้สำหรับปลูกพืชพลังงานทดแทน


นายจักรกฤษณ์ พูลสวัสดิ์กิติกุล นักวิจัยจากไบโอไทย ได้แถลงผลการศึกษาว่า จากการการสำรวจข้อมูลผลของการปลูกข้าวลูกผสมซีพี 304 ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และอุตรดิษฐ์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2551- พฤษภาคม 2551 โดยสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวนาที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวลูกผสมจำนวน 9 ราย โดยอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร 4 ราย และจังหวัดอุตรดิษฐ์ 5 ราย พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยของชาวนาที่ปลูกข้าวลูกผสมจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 958 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่อ้างโดย ซีพี ในการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์หลายครั้งที่บอกว่าข้าวลูกผสมของซีพีสามารถให้ผลผลิตสูงถึง 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จะพบว่าผลผลิตที่ได้ในทางปฏิบัตินั้น ต่ำกว่าที่ ซีพี โฆษณาถึง 36% ในขณะเดียวกัน การศึกษาในพื้นที่พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมนั้นสูงเฉลี่ย 4,462 บาท/ไร่ โดยสัดส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์และปักดำนั้นสูงถึง 1,700 บาท/ไร่ หรือสูงถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนการทำนาทั้งหมด แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผลักดันให้ปลูกข้าวลูกผสมนั้น บริษัทเอกชนจะได้ประโยชน์จากการขายเมล็ดพันธุ์เป็นสำคัญ


จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการปลูกข้าวลูกผสมกับการปลูกข้าวทั่วไป เห็นได้ชัดว่า ต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมสูงมากจนชาวนาได้รายได้สุทธิน้อยกว่าการปลูกข้าวทั่วไป "จากการสำรวจทัศนคติของชาวนาที่เข้าร่วมโครงการทราบว่า มีชาวนาจำนวน 20-30% จะเลิกทำนาโดยใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมในฤดูปลูกที่จะมาถึงนี้" นายจักรกฤษณ์กล่าว


นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.ไบโอไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า คุณภาพของข้าวลูกผสมของซีพี นั้นมีคุณภาพต่ำมากเมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวทั่วไป โดยที่ผ่านมามีการเสนอให้นำข้าวลูกผสมไปแปรรูปเป็นเอธานอล หรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้แต่ ซีพี เองที่รับซื้อข้าวพันธุ์นี้ก็เอาไปสีทำเป็นข้าวนึ่งซึ่งเป็นตลาดข้าวสำหรับประเทศในทวีปแอฟริกา


"ปัญหาข้าวลูกผสมจะเป็นปัญหาสำหรับทั้งต่อเกษตรกรและต่อตลาดข้าวของไทยในอนาคต เนื่องจากในขณะนี้เกษตรกรขายข้าวลูกผสมในราคาข้าวทั่วไป แต่ในระยะยาวเมื่อมีการปลูกข้าวลูกผสมมากขึ้น ข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าข้าวทั่วไป ที่สำคัญ คือ เมื่อข้าวลูกผสมเหล่านี้ผสมปนกับข้าวขาวทั่วไปของไทยโดยไม่แยกแยะเป็นชั้นพันธุ์ข้าวอีกระดับหนึ่ง จะส่งผลให้คุณภาพข้าวจากประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีได้รับผลกระทบ สร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวทั้งหมดในที่สุด" นายวิฑูรย์ กล่าว


นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของนายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โดยการลดพื้นที่ปลูกข้าวให้เหลือ 25 ล้านไร่ แล้วปลูกข้าวลูกผสมปีละ 3 ครั้ง นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นกลอุบายในการผลักดันให้มีการปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งจะทำให้ ซีพี ได้ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวมีมูลค่าสูงถึง 37,000 ล้านบาท/รอบการผลิต หรือมากกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี โดยเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จาก ซีพี ไปปลูกต่อทุกปี เช่นเดียวกับ การปลูกข้าวโพดลูกผสม หรือการเลี้ยงปลาทับทิม ทั้งนี้ไม่นับผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการขายปุ๋ยเคมี สารเคมีการเกษตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆของบริษัท


นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอีสานว่า ขณะนี้เกษตรกรกำลังกลายเป็นเหยื่อของบริษัทการเกษตร ตัวอย่างเช่น มีเกษตรกรเป็นจำนวนมากถูกหลอกให้ปลูกยางพาราที่เรียกว่า "ยางตาสอย" ซึ่งเมื่อปลูกไปเพียงสองปีต้นยางต้นเล็กๆ ก็ออกดอกออกผลและจะไม่ให้น้ำยางแล้ว เพราะต้นตอที่ได้รับมานั้น นำตายางแก่มาติดตากับต้นพันธุ์ ถือว่าเป็นการหลอกลวงที่โหดร้ายต่อเกษตรกรมาก และ ซีพี จะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย เพราะได้สัมปทานขายต้นกล้ายางพาราหลายล้านต้นในภาคอีสาน


"ในกรณีการโฆษณาข้าวลูกผสมก็เช่นเดียวกัน ชาวนาจะต้องรวมตัวกันฟ้องร้องบริษัทถ้าหากผลผลิตไม่ได้ตามที่โฆษณา หรือมีต้นทุนสูงกว่าที่บริษัทโฆษณาชวนเชื่อ หรือผู้บริหารของบริษัทได้ให้สัมภาษณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ " นายอุบล กล่าว


หลังจากการจัดเสวนาครั้งนี้แล้ว ไบโอไทยยังได้ส่งนักวิจัยไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม การปลูกข้าวลูกผสมในจังหวัดอื่นๆนอกเหนือจากจังหวัดกำแพงเพชร และอุตรดิษฐ์ โดยข้อมูลการศึกษาทั้งหมดจะถูกนำเสนอต่อเครือข่ายของเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 10 เครือข่าย มากกว่า 300 คน ที่จะมารวมกันในงาน "สมัชชาความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหาร" ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแนวทางและกำหนดการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการปลูกข้าวลูกผสม การเตรียมการฟ้องร้องหากมีการโฆษณาเกินจริง ตลอดจนกดดันมิให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชน แทนที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร



http://prachatai.com/journal/2008/06/16913
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 11:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

154. “การปลูกข้าวต้นเดียว ให้ผลผลิตสูง...จริงหรือ ?”


“ข้าว” (rice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. เป็นอาหารประเภทคาโบไฮเดรทที่หล่อเลี้ยงพี่น้องชาวไทยมาช้านาน ข้าวนั้นจัด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลำต้นเป็นปล้อง ซึ่งมีทั้งพันธุ์ชวาที่ปล้องกลวงและตัน ใบมีลักษณะยาวรี ปลายแหลม ดอกมีสีน้ำตาลและออกเป็นช่อ ดอกเป็นประเภทสมบูรณ์เพศ เพราะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่ จึงเป็นการผสมกันในตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยแมลง รากต้นข้าวเป็นรากฝอย และต้นข้าวแต่ละต้นอาจมีหน่อได้ตั้งแต่ 5-15 หน่อ ซึ่งหน่อแต่ละหน่อจะให้รวงข้าวหนึ่งรวงโดยในแต่ละรวงจะมีเมล็ดตั้งแต่ 100-200 เมล็ด ข้าวที่โตเต็มที่จะสูงตั้งแต่ 1-2 เมตร

“ฝนฟ้าช่างเป็นใจ” จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในสมรภูมิที่ดีเหมาะแก่การทำนาปลูกข้าว พอถึงฤดูกาลทำนา (พ.ค.-ก.ค.) พี่น้องเกษตรกรต่างก็ขะมักเขม้นในการเตรียมแปลงเพื่อหว่านไถ ปักดำ ในการทำนาปลูกข้าวของพี่น้องเกษตรกร บ้างก็ทำนาดำ บ้างก็ทำนาหว่าน แล้วแต่ความพร้อมด้านแรงของแต่ละครอบครัว ซึ่งปีนี้ฝนฟ้ารู้สึกจะเป็นใจอย่างมากซึ่งค่อยๆ ตกมาอย่างเรื่อยๆ ดูสีหน้าของพี่น้องเกษตรกรแล้วล้วนแต่ยิ้มแย้มแจ่มใส หน้าตาเบิกบานเพราะพยากรณ์แล้วว่าหากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ คงจะมีผลผลิตข้าวที่ดีเป็นแน่แท้ทีเดียว

“ปลูกข้าวต้นเดียว นวัตกรรมการผลิตแบบใหม่” เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการปลูกข้าวต้นเดียว กับพี่พันธ์ คำพันธ์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งพี่พันธ์เล่าให้ฟังว่า

การปลูกข้าวต้นเดียวหรือการปลูกข้าวแบบเข้มข้น (System of Rice Intensification : SRI) เป็นนวัตรกรรมใหม่ที่เพื่อนเคยไปดูงานที่ประเทศเขมร มาเล่าให้ฟังว่าการทำนาในประเทศเขมรนั้นเขาเริ่มปรับเปลี่ยนละพัฒนามากแล้ว เขาเริ่มทดลองปลูกข้าวนาดำโดยวิธีใช้ต้นข้าวต้นเดียวไปปักดำ ปรากฏว่าข้าวแตกกอดี ข้าวสวยงาม ไม่มีโรคแมลง อีกทั้งให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการเดิมที่เราทำอยู่ ดังนั้นเมื่อปีที่แล้วพี่พันธ์จึงได้ทดลองทำในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในพื้นที่ 1 ไร่ ปรากฏว่าผลที่ได้มากกว่าการทำนาแบบเดิมถึง 2 เท่าตัว แล้วผมจึงถามพี่พันธ์ต่อว่าแล้วในขั้นตอนการทำนั้นทำอย่างไรบ้าง พี่พันธ์ก็กล่าวต่อว่า ในปีที่แล้วพี่เขาใช้ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิพื้นเมือง ที่ได้มาจากพี่บุญมี สุริวงศ์ จังหวัดยโสธร จากนั้นก็นำมาตกกล้า เมื่อกล้าอายุได้ 25 วัน ก็ทำการถอนไปปักดำโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 50 x 50 ซม. อย่างอื่นๆ ก็ทำเหมือนกันกับนาดำทุกประการ หลังจากที่พี่พันธ์ปลูกข้าวโดยวิธีนี้แล้วพบว่าข้าวแตกกอดีมาก เฉลี่ย 17 ต้น (รวง) ต่อกอ และได้ ผลผลิตสูงถึง 800 กิโลกรัม โดยไม่ใช้สารและปุ๋ยเคมีเลย

“ปลูกข้าวต้นเดียว ประหยัดเมล็ดพันธุ์ และต้นทุน” พี่พันธ์กล่าวต่อว่าการปลูกข้าวต้นเดียวนั้น เป็นการปลูกข้าวที่มีต้นทุนต่ำ และได้ผลผลิตสูง กล่าวคือ ใช้เมล็ดพันธุ์ น้อย เพียง 3-5 กิโลกรัม ในขณะที่นาดำทั่วไปใช้ประมาณ 7–10 กิโลกรัม และนาหว่านใช้เมล็ดพันธ์ถึง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตัน แล้วก่อนหน้านั้นได้ ได้มีการปลูกพริก และข้าวโพดแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดหลังเก็บผลผลิตหมดแล้ว ส่วนสาร หรือยากำจัดศัตรูพืชต่างๆ รวมทั้งปุ๋ยเคมีไม่ได้ใช้เลย

ครับจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นก็เป็นอีกนวัตรกรรมหนึ่งที่พี่น้องเกษตรกรจะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสังคมโลก คงเป็นเรื่องยากครับที่พี่น้องเกษตรกรเราจะเพิ่มพื้นที่การผลิตให้มากขึ้นเนื่องจากที่ดินก็มีจำกัด และราคาก็สูง แต่สิ่งที่ผมมีความเชื่อและจะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้นี้คือการเพิ่มขีดความสามารถในการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ และการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เพราะ “อาชีพการทำนาเป็นอาชีพที่ส่งผ่านมาทางสายเลือด” ของพี่น้องเกษตรกรไทยอยู่แล้ว

ขอบคุณครับ
อุทัย อันพิมพ์



http://www.gotoknow.org/posts/41162


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/02/2013 7:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 11:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

155. ปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง :

โดย ... ดลมนัส กาเจ





เมื่อวันพุธที่แล้ว พูดว่าเรากำลังเสียแชมป์การส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก และที่ผ่านมา ที่ไทยครองแชมป์ส่งข้าวออกไปยังตลาดโลกมายาวนาน ก็เพราะประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดนั่นเอง ไม่ใช่เพราะไทยเรามีศักยภาพในการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง หากแต่ผลผลิตของเราอยู่อันดับท้ายๆ เฉลี่ยพื้นที่นา 1 ไร่ เราผลิตข้าวได้เพียง 461 กก. แต่จีนได้ไร่ 1,054 กก. เวียดนามได้ละ 875 กก. และอินโดนีเซียได้ไร่ละ 774 กก. อันนี้ไม่ร่วมกับสหรัฐอเมริกาที่ปลูกข้าวส่งออกด้วย



แม้ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ จะยืนยันและมั่นใจว่า ไทยยังเป็นแชมป์ส่งออกไปตลาดโลก เพราะครึ่งปีหลังจะส่งออกถึง 5 ล้านตัน เฉลี่ยทั้งปีจะไม่ต่ำกว่า 8 ล้านตัน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะส่งออกได้ถึง 9.5 ล้านตัน ก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงคาดการณ์ แต่ที่ฝ่ายยืนยัน ณ วินาทีนี้อไทยส่งออกข้าวน่าจะตกอยู่อันดับ 3 รองจากเวียดนาม และอินเดีย เพราะภาคการผลิตของเราต่ำนั่นเอง

เห็นแล้วน่าห่วงครับ ! ทั้งที่ความจริงบ้านเรานั้นอุดมสมบูรณ์ทั้งคุณภาพของดินและน้ำ ซึ่งในโอกาสนี้ผมมีข้อมูลที่ได้มากสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู แนะวิธีในการปลูกข้าว หรือทำนาให้มีผลผลิตสูงครับ เพียงของให้ชาวนาปฏิบัติคือ

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ดี ที่มาหรือแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่รับมานั้นต้องเชื่อถือได้ และได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร มีการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คืออประมาณ 20-25 กก./ไร่ เพื่อต้นข้าวเจริญเติบโตได้ในระยะที่เหมาะสมและไม่แน่นจนเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ถือว่าศัตรูของต้นข้าวตัวร้ายทีเดียวครับ

2. ต้องปรับปรุงหรือบำรุงดิน ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า พื้นที่นานั้นเกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมที่มาจากการเผาตอซังและฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ฉะนั้นควรหันมาไถกลบหรือหมักฟางในนา ด้วยการเร่งการย่อยสลายด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้มาก ทั้งยังช่วยลดการระบาดของหนอนกอ การบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด อาทิ ปอเทือง พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

3. การใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสม หรือที่เรียกว่า การใช้ "ปุ๋ยสั่งตัด" นั่นเอง ใส่ปุ๋ยตามที่ดินต้องการ เพราะที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งของเกษตรกร คือ ใช้ปุ๋ยเคมีผิดสูตร ในแต่ละปีเกษตรกรใช้ไนโตรเจนเกินจำเป็น มีมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยผิดเวลาและผิดอัตรา ฉะนั้นต้องตรวจดูก่อนว่าดินเราขาดอะไร ก็ใส่ปุ๋ยตัวนั้น

4. การใช้สารเคมีฆ่าแมลงให้เหมาะสม เพราะการใช้สารฆ่าแมลงตามเหมาะสม ต้องไม่เกินความจำเป็น ก่อนใช้ควรสำรวจแมลงศัตรูข้าวก่อนฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุกครั้ง และต้องรักษาแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงปอ มวนจิงโจ้น้ำ แมงมุม ด้วย เพราะแมลงเหล่านี้จะช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ จำพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น

ถ้าเกษตรกรปฏิบัติได้ นอกจากจะให้ข้าวเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย ทั้งเรื่องค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง แต่ที่สำคัญอย่างหนึ่งเกษตรกรจะต้องเป็นคนทำนาเองด้วย



จำง่ายๆ ครับ การทำนา ถ้า "เมล็ดพันธุ์ดี-ดินดี-ดูแลดี" แค่นี้ก็มีชัยเกินครึ่งแล้วครับ


http://www.komchadluek.net/detail/20120801/136547/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 11:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

156. พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง กอใหญ่ และต้านทานการล้ม





พันธุ์ข้าวที่ใช้ยีน Moc 1 เข้าช่วยในการแตก


ด้วยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์สามกลุ่มจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า กับนักวิชาการข้าวจากสถาบันวิจัยข้าวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทำการศึกษาวิจัยยีนที่ให้ผลผลิตของข้าว และได้ค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตของข้าว โดยพบว่ายีนที่ควบคุมการปลดปล่อยฮอร์โมนในการขยายตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ต้นข้าวในช่วงของการเจริญเติบโตนั้น ถ้าสามารถทำให้ลดการปลดปล่อยฮอร์โมนของยีนดังกล่าวนี้ได้ ก็จะทำให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตและแตกกอมากขึ้น อันจะเป็นการนำไปสู่การติดรวงเพิ่มจำนวนเมล็ดข้าวมากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่จากผลที่ว่านี้ จะเกิดผลเสียติดตามมานั่นก็คือ ต้นข้าวที่มีลักษณะเป็น “หัวโต ตีนเล็ก” ทำให้ต้นข้าวไม่แข็งแรงล้มพับหักงอง่าย


เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาผลความขัดแย้งของการเพิ่มผลผลิต แต่ต้นไม่แข็งแรง หักล้มง่าย จึงได้นำผลงานวิจัยยีนต้นเตี้ย SD1 และยีนทรงต้น MOC1 (single tiller 1) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในการปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ต้นเตี้ย กอใหญ่ขึ้น

ก่อนหน้านี้ทางกลุ่มนักวิจัยพันธุ์ข้าวของมหาวิทยาลัยนาโกย่าก็ได้ค้นพบยีน Gn1a ที่มีผลต่อการติดดอกออกรวงของข้าวมาแล้ว และพบว่าว่าถ้ายีนดังกล่าวลดการทำงานลงก็จะทำให้การเจริญเติบโตของยีนผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งได้มีการผสมปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ถึง 23% และตั้งชื่อสายพันธุ์ข้าวนี้ว่า Yue Guang Paddy rice

หลังจากประสบความสำเร็จในการผสม-ปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ร่วมมือทำการวิจัยนี้แล้ว ได้ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตข้าวที่ได้ระหว่างสายพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่กับสายพันธุ์ Yue Guang แล้ว ปรากฏว่าสายพันธุ์ใหม่นี้ให้ผลผลิตสูงกว่า 20% เมื่อเทียบผลผลิตต้นต่อต้นโดยที่มีคุณภาพเหมือนเดิมทุกประการ



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=456648&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 11:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

157. ชาวนาจีนเพาะ "โคตรข้าว" ผลผลิตสูง ทำลายสถิติโลก


นายสวี่ย์ เยว์จิ๋น เกษตรกรในหมู่บ้านไป่เหลี่ยงเฉียว มณฑลเจ้อเจียง ในแปลงข้าวสายพันธุ์"หย่งโย่ว 12" ซึ่งเขาเป็นผู้เพาะขึ้นและทดลองปลูกในผืนนาสาธิตของตนที่หนิงปั่ว มณฑลเจ้อเจียง จนออกรวงเต็มทุ่ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ด้วยปริมาณสูงสุดเป็นสถิติโลกที่ 14.45 ตัน/เฮกตาร์ (ประมาณ 2,408 กก. /ไร่) (ภาพซินหวา)


เอเยนซี - ชาวนาจีน เพาะข้าวสายพันธุ์ใหม่ ทำลายสถิติให้ผลผลิตมากที่สุดในโลกราว 2,408 กก. /ไร่ หลังข้าวจีนเคยทำสถิติฯ ปีก่อนไว้ที่ประมาณ 2,224 กก./ไร่

ซินหวารายงาน (30 พ.ย.) ว่า นายสวี่ย์ เยว์จิ๋น ชาวนาจีน ในหมู่บ้านไป่เหลี่ยงเฉียว มณฑลเจ้อเจียง สามารถเพาะข้าวสายพันธุ์ใหม่ "หย่งโย่ว 12" และทดลองเพาะปลูกในผืนนาของตนที่หนิงปั่ว มณฑลเจ้อเจียง จนออกรวงเต็มทุ่ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ด้วยปริมาณสูงสุดเป็นสถิติโลกที่ 14.45 ตัน/เฮกตาร์ (ประมาณ 2,408 กก. /ไร่)

รายงานข่าวกล่าวว่า เพื่อให้ผลการคำนวณผลผลิตเป็นไปอย่างถูกต้อง เจ้าหน้าที่ผู้เชียวชาญฯ ได้เริ่มกระจายสุ่มเก็บเกี่ยวตามผืนนากว่า 8.5 เฮกตาร์ของเขามาตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา

นายจาง สี่ว์ฟู่ ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรจีน กล่าวกับซีซีทีวีว่า ได้ตรวจสอบผืนนาปลูกข้าวสายพันธุ์ "หย่งโย่ว 12" นี้ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีการผสมปนข้าวสายพันธุ์อื่นๆ

สำหรับปริมาณผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ "หย่งโย่ว 12" นี้ ทำลายสถิติ ข้าวสายพันธุ์จีน DH2525 ซึ่งครองสถิติให้ผลผลิตสูงที่สุดในโลก เมื่อปีกลาย(กันยายน 2554) โดยครั้งนั้น ทำการทดลองปลูกที่เมืองหลงฮุย ได้ให้ผลผลิตที่ 13,900 กก./เฮกตาร์ หรือประมาณ 2,224 กก./ไร่ จนทำให้จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการวิจัยพันธุ์ข้าวข้ามสายพันธุ์ชั้นนำของโลก

ข้อมูลของกระทรวงเกษตรจีนระบุว่า ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และจีนมีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ทำให้รัฐบาลถือเป็นภารกิจหลักในการที่จะต้องพึ่งตนเองด้านการผลิตอาหารให้ได้ พร้อมกับสนับสนุนการพัฒนาวิจัยสายพันธุ์ข้าวต่างๆ มากมาย จนปัจจุบันนี้ มีข้าวสายพันธุ์พิเศษ หรือ ซูเปอร์ไรซ์ มากกว่า 96 สายพันธุ์ที่ได้รับอนุมัติให้เพาะปลูกแล้ว ในพื้นที่นากว่า 7.4 ล้านเฮกตาร์ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของแปลงนาข้าวในประเทศจีน

รายงานข่าวกล่าวว่า ผลผลิตข้าวต่อไร่ของจีนนั้น ปัจจุบันกำลังได้รับการพัฒนาให้สูงกว่าชาติใดๆ ในโลก ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ นั้น ผลผลิตเฉลี่ยปัจจุบัน อยู่ที่ 1,270 กก. /ไร่ สูงกว่าเกาหลีใต้ 1,216 กก. /ไร่ ลำดับรองลงมาคือเวียดนามเฉลี่ยอยู่ที่ 836 กก. /ไร่ อินโดนีเซียเฉลี่ย 799.76 กก. /ไร่ พม่าเฉลี่ย 653 กก. /ไร่ ลาวเฉลี่ย 576 กก. /ไร่ ฟิลิปปินส์เฉลี่ย 574 กก. /ไร่ ไทยเฉลี่ย 459 กก. /ไร่ กัมพูชาเฉลี่ย 453 กก. /ไร่

ทั้งนี้ การพัฒนาผลผลิตต่อไร่ของข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆ ยังนับเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตของชาวนาจีน และทำให้มีรายได้มากขึ้น

"หย่งโย่ว 12" ข้าวสายพันธุ์ที่จัดว่าเป็น "ซูเปอร์ไรซ์" ที่ให้ผลผลิตสูงเป็นสถิติโลกใหม่ที่ ประมาณ 2,408 กก. /ไร่ (ภาพซินหวา)

นายสวี่ย์ เยว์จิ๋น ผู้กลายเป็นคนดังของหมู่บ้าน ขณะรับสายโทรศัพท์แสดงความยินดีทั้งวัน หลังสามารถทำลายสถิติโลกด้วยพันธุ์ข้าวที่เพาะขึ้นมากับมือตนเอง (ภาพเอเยนซี)


คลิกดูภาพ....
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000146459


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 2:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

158. ปีนี้ ข้าวหอมเขมร ขึ้นแท่นข้าวคุณภาพดี ที่สุดในโลก


ข้าวกัมพูชาขึ้นแท่นข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลกประจำปีนี้ (World's Best Rice 2012) อย่างน่าประหลาดใจ ประเทศนี้เพิ่งฟื้นฟูการปลูกข้าวและเพิ่งจะเริ่มส่งออกเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ปริมาณเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1ของโลกตลอดมาจนกระทั่งปีที่แล้วและข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย ยังเป็นข้าวหอมที่ขายได้ราคาแพงที่สุดในโลก รัฐบาลยังคงยืนกรานขายข้าวในราคาแพงต่อไป ขณะที่สถานการณ์ตลาดเปลี่ยนไปไม่หยุดยั้ง ซึ่งปัจจุบันตลาดโลกมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้น. -- http://www.trtworldrice.com/


ข้าวหอมจากกัมพูชาได้รับคะแนนสูงสุดให้เป็นข้าวหอมคุณภาพดีที่สุดในโลกประจำปีนี้ (World's Best Rice 2012) ในการประกวดที่บาหลี อินโดนีเซีย ระหว่างการประชุมข้าวโลก (World Rice Conference) เมื่อเร็วๆ นี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ข้าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่ง ถัดจากข้าวพม่าเมื่อปีที่แล้ว

ข้าวกัมพูชาได้รับคะแนนสูงสุดจากคณะกรรมการที่ประกอบด้วย นักชิมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว กับกุ๊กจากโรงแรมระดับ 5 ดาวในบาหลีที่ได้รับเชิญ ในการ “ชิม” ที่ไม่มีการระบุประเภท ชนิด หรือแหล่งที่มาของข้าว สำนักข่าวของทางการรายงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเหตุการณ์การประชุม 3 วันบนเกาะท่องเที่ยวสำคัญของอินโดนีเซียที่สิ้นสุดลงในวันที่ 28 ก.ย. ซึ่งการประชุม WRC จัดขึ้นประจำทุกปี โดยจัดวาระที่มุ่งศึกษาทิศทางตลาดข้าว และวิเคราะห์แนวโน้มราคาข้าว

การประชุมประจำปีครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมมีผู้เข้าร่วมกว่า 400 คน เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เทียบกับการประชุมครั้งแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้วในฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย ผู้บริหารจัดการด้านอาหาร เจ้าหน้าที่ทางการ ผู้แทนสมาคมกับบริษัทค้าข้าวจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งน.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งเป็นประธาน และซีอีโอของกลุ่มกมลกิจ มีรายงานเรื่องนี้ใน http://www.trtworldrice.com/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการประชุม

เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้แทนภาคเอกชนจากกัมพูชาจำนวน 12 คน ไปร่วมการประชุมครั้งนี้ สำนักข่าวกัมพูชากล่าว

สำนักข่าวของรัฐบาลไม่ได้ระบุชนิดของข้าวหอมที่ส่งเข้าประกวด แต่ตามรายงานของสื่อทางการก่อนหน้านี้ กัมพูชาปลูกข้าวคุณภาพดีอยู่ 2 ชนิด คือ ข้าวหอมดอกลำดวน (ที่นิยมปลูกกันมากใน จ.ศรีสะเกษ) กับ “ข้าวดอกมะลิ” ที่นำเมล็ดพันธุ์ไปจากประเทศไทย

สื่อของทางการรายงานในขณะเดียวกันว่า 3 ไตรมาสที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น 2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นายจอม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีอาวุโส ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า เปิดเผยตัวเลขนี้ในที่ประชุมเรื่องข้าว (Rice Forum) ที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญเป็นครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่แล้ว

จนถึงปลายเดือน ก.ย.กัมพูชาส่งออกข้าวสารได้ทั้งหมด 123,000 ตัน กับข้าวเปลือกอีก 167,000 ตัน หรือคิดเป็นข้าวสารรวมกันประมาณ 180,000 ตัน เพิ่มขึ้น 2% เทียบกับช่วง 9 เดือนของปี 2554 นายประสิทธิ์กล่าว

รัฐมนตรีผู้เรียกร้องไปยังภาคส่วนต่างๆ ให้ขยายการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายส่งข้าวออกอย่างน้อยปีละ 1 ล้านตันในปี 2558 นี้ สำนักข่าวของทางการกล่าว.
.

ตัวแทนจากกัมพูชาชูรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ภายหลังการประกวด "ข้าวดีที่สุดของโลก" ประจำปี 2555 ที่เกาะบาหลี ระหว่างการประชุมข้าวโลก ที่มีตัวแทนจากทั่วโลกราว 400 คน เข้าไปร่วม รวมทั้งจากสมาคมผู้ออกข้าวไทยด้วย. -- http://www.trtworldrice.com/


http://www.manager.co.th/indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123219








http://www.facebook.com/anti.plea/posts/368437509900229

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 3:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

159. เขมรซุ่มวิจัยข้าวหอมพันธุ์ใหม่ เชิญต่างชาติทำนา


ทางการกัมพูชามีประกาศจะเปิดตัวข้าวหอมลูกผสมพันธุ์ใหม่ในวันจันทร์ (16 พ.ย.) นี้ ใน จ.กัมปงธม (Kampong Thom) พร้อมเตรียมที่นา 50,000 เฮกตาร์ (321,000 ไร่เศษ) เชิญชวนต่างชาติเข้าลงทุนผลิตจำหน่าย

รัฐบาลกัมพูชาประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ จะส่งออกข้าวอีก 2 ล้านตันในปีหน้า ปริมาณส่งออกนี้เท่าๆ กับในปีนี้และปีที่แล้ว

ข้าวหอมพันธุ์ใหม่นี้เป็นผลงานการวิจัยและทดลองโดยบริษัท มาเลย์นีเซียรีสอร์สเซส (Malaynesia Resources) เป็นระดับ “ซูเปอร์ไฮบริด” (Super Hybrid) ให้ผลผลิตสูง 7-8 ตันต่อเฮกตาร์ (1.12-1.28 ตันต่อไร่) เทียบกับข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปที่ให้ผลิตเฉลี่ยเพียง 2.5 ตัน (400 กก.ต่อไร่)

ตามรานงานของหนังสือพิมพ์แคมโบเดียเดลี่ (Cambodia Daily) ทางการได้ชวนเชิญบริษัทเอกชนจากสิงคโปร์กับนักลงทุนจากตะวันออกกลางไปร่วมงานเปิดตัวข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ด้วย

ฤดูนาปีที่ผ่านมาบริษัท มาเลย์นีเซีย ได้ทดลองปลูกในเนื้อที่ 2 เฮกตาร์ (12.5 ไร่) ในแปลงทดลอง จ.กัมปงธม และ กำลังจะเก็บเกี่ยว ผู้เข้าร่วมงานจะได้ทดลองรับประทานข้าวหอมพันธุ์ใหม่นี้ด้วย

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้กล่าวว่า ทางการจะขยายเนื้อที่ทดลองปลูกข้าวหอมลูกผสมพันธุ์ดีนี้ออกเป็น 200 เฮกตาร์ (1,250 ไร่) ในฤดูการผลิตที่จะถึง นายลูยส์ แขก (Louis Khek) ผู้บริการของบริษัทเอกชนที่วิจัยทดลองพันธุ์กล่าวว่ามีความมั่นใจที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุน

ครั้งหนึ่งกัมพูชาซึ่งมีที่ราบใหญ่และทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่อันอุดม มีลำน้ำลำธารหลายสาย เคยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวได้ปริมาณมากในแต่ละปี แต่สงครามได้ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักลง

หลายปีมานี้ มีการขยายระบบชลประทานอย่างกว้างขวางทำให้ผลิตข้าวได้มากขึ้น จนสามารถส่งออกได้อีกครั้ง

ปีนี้รัฐบาลคูเวตและกาตาร์ ได้ตกลงจะเข้าลงทุนทำนาในกัมพูชา ทั้งที่ทำเองโดยขอเช่าที่นานับแสนๆไร่ และ ว่าจ้างชาวนากัมพูชาผลิตและรับซื้อ

รัฐบาลคูเวตได้ให้เงินกู้แก่รัฐบาลกัมพูชา 600 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายระบบชลประทานใน จ.กัมปงธม ซึ่งเป็นที่ราบใหญ่อู่ข้าวในภาคกลาง รวมทั้งสร้างเขื่อนกั้นน้ำ และตัดถนนเข้าสู่เขตชนบท

ส่วนรัฐบาลกาตาร์สนใจขอเช่าที่นาในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชา และวางแผนจะเข้าลงทุนขยายระบบชลประทานให้แก่กัมพูชาอีกด้วย


http://www2.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000135471&TabID=2&
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

160. ข้าวเจ้า พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าหอมนาสวน ไวต่อช่วงแสง
- ต้นสูงประมาณ 138 เซนติเมตร
- ทรงกอตั้ง ลำต้นสีเขียวจาง
- ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน
- ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงยาวปานกลาง
- เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง
- ขนาดของเมล็ดข้าวเปลือกเฉลี่ย กว้าง 2.48 เซนติเมตร ยาว 10.37 มิลลิเมตร หนา 1.96 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 27.7 กรัม หรือ 10.64 กิโลกรัมต่อถัง
- คุณภาพข้าวสุก อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์




ผลผลิต
ประมาณ 363 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม
- มีคุณภาพการขัดสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใสและแกร่ง เรียวยาว
- คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม และอ่อนนุ่ม

พื้นที่แนะนำ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน ในที่ลุ่มทั่วไป ที่มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 80 เซนติเมตร

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ





ลักษณะเมล็ดพันธุ์ดี
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
- ตรงจามพันธุ์
- ขนาดเมล็ดมีความสม่ำเสมอ
- ไม่มีสิ่งเจือปน เช่น เศษหิน ดิน ทราย
- ไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นๆ หรือพืชอื่นปน
- ไม่มีโรค และแมลงทำลาย
- ความงอก และความแข็งแรงสูง

การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
1. การพิจารณาเลือกใช้พันธุ์ข้าว ต้องทราบคุณสมบัติของพันธุ์ข้าว ที่จะใช้ปลูกว่าเป็นข้าวนาปี หรือนาปรัง มีความต้านทานโรคแมลงอย่างไร พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก ข้ำจำกัด หรือข้อควรระวังในการปลูก และความต้องการของตลาด

2. คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ตามมาตรฐานเพื่อการจำหน่ายของกรมการข้าว ต้องมีเมล็ดพันธุ์สุทธิไม่น้อยกว่า 98.0% เมล็ดอื่นๆ ไม่เกิน 20 เมล็ดใน 500 กรัม ข้าวแดงไม่เกิน 10 เมล็ดใน 500 กรัม สิ่งเจือปนไม่เกิน 2.0% ความงอกไม่น้อยกว่า 80% และความชื้นไม่เกิน 14.0%

3. อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งคาดว่า จะต้องมีต้นกล้าที่สมบูรณ์เจริญเติบโต จำนวน 400,000 ตัน ต่อไร่
- มาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์สุทธิ ร้อยละ 98 คือ เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 980 กรัม (0.98 กิโลกรัม) ถ้าใน 1,000 เมล็ดมีน้ำหนักประมาณ 26.91 กรัม แสดงว่าใน 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวสมบูรณ์ จำนวน 37,161 เมล็ด
- คุณภาพความงอกร้อยละ 80 คือ เมล็ดพันธุ์ข้าว 100 เมล็ด จะมีต้นกล้างอกได้ 80 ตัน ถ้าใน 1 กิโลกรัม จะมีต้นกล้างอกสมบูรณ์ได้ไม่น้อยกว่า 29,144 ต้น
- การปลูกใช้วิธีแบบหว่านใน 1 ไร่ ควรพิจารณาจำนวนต้นงอก ที่สมบูรณ์ต่อกิโลกรัม จึงแนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ จะเหมาะสมที่สุด
- การปลูกใช้วิธีแบบปักดำใน 1 ไร่ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 5-7 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจะให้ผลผลิตตามศักยภาพ ของแต่ละสายพันธุ์

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแล และรักษาแปลงข้าว ของเกษตรกรหากใช้อัตราการปลูกข้าว ที่สูงกว่าคำแนะนำมาก จะมีผลกระทบต่อการระบายอากาศในแปลงข้าว ทำให้เกิดการระบาดของโรค และแมลงศัตรูพืชได้ง่าย ถ้าดูแลไม่ทั่วถึง จะได้รวงข้าวที่ไม่สมบูรณ์ เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยไม่เกิดผลตอบแทน

ระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม
- ปลูกในช่วงฤดูฝน
- ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 จะออกดอกประมาณวันที่ 25 ตุลาคม ดังนั้น ควรปลูกไม่เกินเดือนกรกฎาคม เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโต และมีการสะสมความสมบูรณ์เต็มที่ก่อนออกดอก จะได้ผลผลิตข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย

การปฏิบัติดูแลรักษา
- รักษาระดับน้ำไว้ที่ 5-10 เซนติเมตร ตลอดระยะการเจริญเติบโต ก่อนเก็บเกี่ยวให้ระบายน้ำออกจากนา 7-10 วัน และเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง
- การใส่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรควรใส่ให้ถูกชนิด ถูกสูตร ถูกอัตรา และถูกเวลา
- ป้องกัน กำจัด ศัตรูข้าว เช่น นก หนู ปู หอย วัชพืช โรค และแมลง ตามความจำเป็น
- เฝ้าระวังการระบาดของโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก
- เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ




การเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ดี
- ซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือที่ได้รับการรับรองจากสถาบัน หรือหน่วยงานตรวจรับรอง มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์การเกษตร และร้านค้าที่ขึ้นทะเบียน เป็นตัวแทนจำหน่ายของกรมการข้าว
- ภาชนะที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ต้องไม่มีรอยฉีกขาด ไม่เปียกชื้น
- ต้องมีป้าย หรือฉลากแสดงคุณภาพ และแหล่งผลิตที่ชัดเจน




การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนการปลูก
- ไม่ควรวางถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์ บนพื้นดิน หรือพื้นซีเมนต์โดยตรง
- ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สะอาด และไม่เปียกชื้น
- ควรเก็บในที่ห่างไกลจากแสงแดด ลมฝน และสารเคมี
- ระวังเรื่องของแมลง และศัตรูข้าวต่างๆ เช่น นก หนู มารบกวน หรือทำลายเมล็ดพันธุ์





http://www.websanom.com/sanom_info_rice_thailand_02.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 3:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

161. ข้าวหอมมะลิ หรือ ข้าวดอกมะลิ

เรียบเรียงโดย:
ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์
ศ.ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์


ข้าวหอมมะลิ หรือ ข้าวดอกมะลิ (jusmine rice)
ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ (jusmine rice) เป็นพันธ์ข้าว (rice) มีที่มาจากสีของข้าวที่ขาวเหมือนดอกมะลิ มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมมะลิ คือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนุ่ม มากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป แต่ร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอม เป็นข้าวเจ้าที่มีคุณภาพเมล็ดดีมาก เมล็ดข้าวสารใส แข็งแรง คุณภาพการขัดสีดี


พันธุ์
ข้าวหอมมะลิมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข.15 ซึ่งข้าว กข.15 ก็คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่นำไปอาบรังสีแกมมาทำให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 4-6 %

ซึ่งข้าวทั้งสองพันธุ์นี้มีลักษณะ คือ เมล็ดข้าวจะฟักตัวในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาล ยาว 7.4 มม.รูปร่างเรียว เมื่อข้าวสุกจะหอมนุ่ม amylose 14-17 %




ข้าวหอมมะลิ 105 มีผลผลิต เฉลี่ยประมาณ 515 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด ประมาณ 27.7 กรัม


http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1730/jusmine-rice-ข้าวหอมดอกมะลิ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

162. การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดู





ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าข้าวหอมมะลิ เป็นข้างคุณภาพสูงของประเทศไทยเป็นที่นิยมของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จำหน่ายได้ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากข้าวสุกมีกลิ่นหอมและนุ่มนวล

ข้าวพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ปัจจุบันแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้หรือใกล้เคียง ได้แก่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคามและกาฬสินธุ์ พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มที่จะขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

แต่เดิมเชื่อกันว่าข้าวพันธุ์นี้ไม่สามารถปลูกนอกฤดูหรือปลูกเป็นครั้งที่สองได้เพราะเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง การออกดอกถูกบังคับด้วยช่วงเวลาของแสงแดด

จากการค้นคว้าวิจัยของกรมวิชาการเกษตร พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ จะตั้งท้องเตรียมออกดอกเมื่อช่วงแสงต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง แล้วแต่วันปลูก ในประเทศไทยช่วงแสงดังกล่าวจะอยู่ระหว่างกลางเดือนกันยายน-กลางเดือนมีนาคม ซึ่งหมายความว่าในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวนี้ หากปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ก็จะยังได้ผลแต่ข้าวจะอายุสั้นลงเพราะมีเวลาเจริญเติบโตทางลำต้นน้อย ด้วยข้อมูลดังกล่าวทำให้การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดู มีความเป็นไปได้ หากการปลูกอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม

การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดูที่บ้านแร่ ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครเป็นงานต่อเนื่องจาก “โครงการพัฒนาการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ เพื่อการส่งออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อหาความเป็นไปได้ในการผลิตข้าวพันธุ์นี้ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่แปลงใหญ่ โดยความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน เกษตรกร บริษัทเอกชนที่สนับสนุนสารปราบวัชพืชและโรงสีผู้รับซื้อข้าวในปี ๒๕๓๒ ตั้งเป้าหมายไว้ ๓๓๓ ไร่ แต่ดำเนินการได้ ๒๗๐ ไร่ คือที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ๒๕๐ ไร่ และที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๒๐ ไร่

ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจ ได้ผลผลิตไร่ละ ๓๐-๔๐ ถัง เนื่องจากเป็นการดำเนินงานครั้งแรกจึงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น ศัตรูข้าว วัชพืช ความไม่คุ้นเคยของเกษตรกรในการปลูกข้าวพันธุ์นี้นอกฤดู ซึ่งมีความแตกต่างกับการปลูกในฤดูปกติอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีปัญหาเหล่านี้ไม่ยากสำหรับการแก้ไขให้ได้ผลดีขึ้นในปีต่อไป

การใช้ข้าวไวต่อช่วงแสงเช่นข้าวขาวดอกมะลิ ในพื้นที่ที่ดินเป็นดินทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเกษตรกรส่วนใหญ่ยังยากจน ไม่สามารถใช้ปัจจัยการผลิตในระดับสูง โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยเหมือนเกษตรกรในภาคกลาง น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องในสภาพเช่นนี้การใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง เช่น กข ๗ กข ๑๐ กข ๒๑ ก็จะไม่ให้ผลผลิตที่สูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิและเงื่อนไขที่สำคัญก็คือข้าวขาวดอกมะลิมีราคาสูงสุดในตลาด


ประสูติ สิทธิสรวง
สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร



http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 31/01/2013 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

163. ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย





พันธุ์ข้าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี

จากอดีต ถึงปัจจุบัน (ปี 2553) สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไป ให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศน์ต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ข้าวญี่ปุ่น ข้าวลูกผสม และธัญพืชเมืองหนาว จำนวน 118 พันธุ์ ดังนี้

ชนิดของพันธุ์ข้าว
จำนวน (พันธุ์)
พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง 44
พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง 38

พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง 6
พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง 6

พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง 1
พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง 9

พันธุ์ข้าวไร่์ไม่ไวต่อช่วงแสง 1
พันธุ์ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง 2

พันธุ์ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง 1
พันธุ์ข้าวญี่ปุ่น 2

พันธุ์ข้าวสาลี 4
พันธุ์ข้าวบาร์เลย์ 2

พันธุ์ข้าวลูกผสม 2

รวมจำนวนพันธุ์ข้าวทั้งหมด 118


พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูุกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม

พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ

อย่างไรก็ตามงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะพันธุ์ที่ออกแนะนำแล้วปัจจุบัน บางพันธุ์เกษตรกรอาจจะยังคงนิยมปลูกอยู่ แต่บางพันธุ์เกษตรกรอาจเลิกปลูก เนื่องจากมีข้อด้อยบางประการ

การนำเอาพันธุ์ข้าวเหล่านั้นไปใช้ของเกษตรกรจึงเป็นไปในลักษณะของการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ออกพันธุ์ข้าวนั้นเท่านั้น รวมทั้งบางพันธุ์เมื่อแนะนำให้ปลูกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจไม่มีความเหมาะสมในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือโรค แมลงศัตรูข้าวมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดโลก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงต้องดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์โดยไม่มีที่สิ้นสุด


http://www.brrd.in.th/rvdb/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/02/2013 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 31/01/2013 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

164. ข้าวกับสาระน่ารู้



พันธุ์ข้าวรับรองใหม่ 5 พันธุ์



สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ จากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว กรมการข้าว เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 จำนวนรวม 5 พันธุ์ เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า 4 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวเหนียว 1 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข45 กข47 ช่อลุง 97 ไข่มดริ้น 3 และ กข16 เพื่อแนะนำและเผยแพร่ให้เกษตรกรปลูก และผู้สนใจ รายละเอียดเพิ่มเติม



ข้าวพันธุ์เจ้าแดง ข้าวไร่พันธุ์พญาลืมแกง และข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว



ข้าวเป็นพืชวิถีชีวิตของคนไทยด้วย ชีวิตคนไทยผูกพันกับข้าวและปลูกเพื่อนำมาเป็นอาหารหลักมาช้านาน การบริโภคข้าวของคนไทยทั้งข้าวเหนียและข้าวเจ้านั้น นอกจากจะนำมาหุงเป็นข้าวสวยบริโภคร่วมกับอาหารต่างๆแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีก เช่น ขนมจีน เส้นหมี่ และเส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งพันธุ์ข้าวที่เหมาะสำหรับนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์เจ้าแดง มีปริมาณโปรตีนสูง จึงนิยมปลูกเพื่อนำไปทำเส้นขนมจีน จะได้เส้นขนมจีนที่เหนียวนุ่มและเก็บได้นานไม่เสียง่ายหรือทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนอาหารหวานนั้น อาจนำมาใช้ทั้งเมล็ดหรือนำมาแปรสภาพเป็นแป้งก่อนที่จะทำขนมต่างๆ พันธุ์ข้าวที่นิยมนำไปทำขนมข้าวเหนียวสังขยา ข้าวหลาม ข้าวเม่า ได้แก่ ข้าวไร่พันธุ์พญาลืมแกง,ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว เป็นต้น



ข้าวไม่ต้องหุง



การพัฒนาข้าวไม่ต้องหุงจากข้าวนึ่งดำเนินการที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ โดยใช้ข้าวเปลือก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ ภายใต้กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสี ให้เป็นข้าวสารก่อน เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุก ดาวน์โหลดรายละเอียด



ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว




ข้าวพันธุ์นี้ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ หรือที่เรียกกันว่า “ข้าวเหนียวดำ” เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ด้วยรสชาติที่อร่อย ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศ ที่เหมาะสม ได้ 490 กก./ไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 200-350 กก./ไร่

- วีดีโอ แนะนำข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว จากรายการเจาะข่าวเด่นกับคุณสรยุทธ คลิ๊กที่นี่
- เอกสารความรู้ เรื่องข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว : พันธุกรรมอนุรักษ์เพื่อคุณค่าโภชนาการ คลิ๊กที่นี่
- เอกสารความรู้ เรื่องข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว : สิ่งสำคัญที่ควรทราบบางประการ คลิ๊กที่นี่
- เอกสารความรู้ เรื่องผลวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว คลิ๊กที่นี่
- เอกสารความรู้ เรื่องวิธีทำเครื่องดื่มเย็นจากข้าวกล้องข้าวลืมผัว คลิ๊กที่นี่
- เอกสารความรู้ เรื่องวิธีทำเครื่องดื่มร้อนจากข้าวกล้องข้าวลืมผัว คลิ๊กที่นี่
-เอกสารความรู้ เรื่องประโยชน์ของสารบางชนิดในข้าวกล้องมีสี คลิ๊กที่นี่




การค้นพบตำแหน่งยีนต้านทาน bph4 บริเวณเดียวกับยีนต้านทาน Bph3



การศึกษาก่อนหน้านี้ระบุว่ายีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล bph4 มีตำแหน่งอยู่บนบริเวณส่วนปลายสั้นของโครโมโซม 6 แต่ตำแหน่งที่ชัดเจนยังไม่สามารถกำหนดได้ เพื่อหาตำแหน่งของยีนดังกล่าว ได้คัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมายชนิด simple sequence repeat (SSR) ครอบคลุมระยะห่างตั้งแต่ 0.0-63.4 cm บนโครโมโซม 6 ใช้สำรวจต้นข้าวกลุ่มต้านทานและอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กลุ่มละ 15 ต้น จากประชากรข้าวชั่วที่ 2 ของคู่ผสม TN1/Babawee จำนวน 95 ต้น และ Babawee/ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 78 ต้น จากการวิเคราะห์พบโมเลกุลเครื่องหมาย RM586 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มต้านทานและอ่อนแอ คัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมายที่มีตำแหน่งอยู่ใกล้กับ RM586 เพื่อที่จะกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจนของยีนต้านทาน bph4 จากนั้นจัดทำแผนที่ยีนและการวิเคราะห์ QTL analysis ของประชากรข้าวชั่วที่ 2 จำนวน 95 และ 78 ต้น พบว่า ยีนต้านทาน bph4 มีตำแหน่งอยู่ระหว่างโมเลกุลเครื่องหมาย RM589 และ RM586 ซึ่งโมเลกุลเครื่องหมายดังกล่าวสามารถอธิบายลักษณะต้านทานได้ร้อยละ 58.8–70.1 สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นอกจากนั้นผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่า ยีนต้านทานที่เป็นยีนด้อยอาจกลับกลายเป็นยีนเด่นได้ เมื่อพื้นฐานพันธุกรรมของคู่ผสมแตกต่างกัน ดาวน์โหลดรายละเอียด



สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม



พื้นที่ดินเค็มประมาณ 7% ของพื้นที่ดินทั้งหมดทั่วโลก ในพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทยมีความเค็มกระจายอยู่ทั้งในพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทานและนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักพบสภาพดินเค็มกระจายโดยทั่วไป และเนื่องด้วยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนปริมาณความเค็มจึงเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ไม่มีน้ำขังในนา เช่น ช่วงฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะไปทำให้ข้าวลดการเจริญเติบโต และทำให้รวงไม่ติดเมล็ดส่งผลให้ผลผลิตเสียหายเป็นอย่างมาก รายละเอียดเพิ่มเติม



ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการรับรองพันธุ์



ข้าวเหนียวพันธุ์ กข14 (RD14) :
ได้จากการผสมคู่ (double cross) ระหว่างคู่ผสม IR54883-8-2-3 และ กข6 กับคู่ผสม IR54883-8-2-3 และขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ในปี 2535 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี และนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และแปลงทดลองดงหลักหมื่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในจังหวัดแพร่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ และแม่ฮ่องสอน ในฤดูนาปี 2544-ฤดูนาปรัง 2548 รายละเอียดเพิ่มเติม


น้ำข้าวกล้องงอกผสมธัญพืช



ข้าวกล้องมีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากกว่าในข้าวขาวหรือข้าวสาร เพราะว่าในข้าวกล้องยังคงมีเนื้อเยื่อที่หุ้มเมล็ดข้าวอยู่ และมีคัพภะ (rice germ) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่สำคัญในเมล็ดข้าว ในคัพภะข้าวและเนื้อเยื่อที่หุ้มเมล็ดประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังพบสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น แกมม่าออริซานอล (gamma oryzanol) วิตามินอี ซึ่งเป็นสารประเภทต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชลอความแก่ และกรดแกมม่าอมิโนบิวทิริก (gamma amino butyric acid) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า กาบ้า (GABA) ดาวน์โหลดรายละเอียด


http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=36&Itemid=48
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/02/2013 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

165. เปรียบเทียบ สารกาบาในข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก


สารกาบา ในข้าวกล้องงอก: สารกาบา (gamma aminobutyric acid: GABA) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคต่างๆ

แม้ว่า ข้าวกล้องงอก จะประกอบไปด้วยสารอาหารจำนวนมากมาย เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี แต่ที่รู้จักกันดีจนทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ในข้าวกล้องงอก คือ สารกาบา สาร GABA (gamma aminobutyric acid) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว และที่สำคัญ คือ

สารกาบาจัดอยู่ในกลุ่มโปรตีนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้สมองเกิดการผ่อนคลาย ป้องกันการทำลายสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ หรือ อัลไซเมอร์

ในการผลิตข้าวกล้องงอกนั้นส่วนใหญ่ใช้วิธีงอกจากข้าวสาร แต่จากกรรมวิธีดังกล่าวพบว่าข้าวกล้องงอกยังมีสีเข้มและรสชาติยังไม่ถูกปาก ผู้บริโภคนัก ด้วยเหตุนี้ รศ.วรนุช ศรีเจษฏารักข์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จึงได้ทำการศึกษาการผลิตข้าวกล้องงอกด้วยวิธีการนำข้าวเปลือกมางอกทั้ง เปลือกก่อนนำมาทำเป็นข้าวกล้อง โดยได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวกล้องงอกด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ได้สาร GABA มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ข้าวกล้องงอก ยังมีสีสวย ไม่คล้ำ ข้าวมีลักษณะนุ่ม รสชาติปนหวานนิดๆ ถูกใจผู้บริโภคกลุ่มผู้รักสุขภาพมากขึ้น

สำหรับขั้นตอนการศึกษานั้น เริ่มจากการนำข้าวเปลือกมาผ่านขบวนการแรก คือ แช่ที่อุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซนเซียส ใช้เวลา 10-12 ชั่วโมง จากนั้นนำขึ้นมาวางไว้ในถาดเพื่อทำการเพาะงอกโดยให้ออกซิเจน และอยู่ในห้องที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ใช้เวลาประมาณ 20-30 ชั่วโมง จะเริ่มมีรากออกมาจากข้าวเปลือก หลังจากนั้น นำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ ประมาณ 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 15 ชั่วโมง เสร็จขั้นตอนนี้จึงนำข้าวเปลือกที่ผ่านการอบแห้งมาสีกระเทาะเปลือกเป็น ข้าวกล้องงอก

รศ.วรนุช กล่าวด้วยว่า จากการศึกษาพบว่า พันธุ์ข้าวที่สามารถให้สาร GABA สูงที่สุด คือ ข้าวมะลิแดง โดยมีสาร GABA เพิ่มขึ้น เป็น 12 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง มากกว่าข้าวทุกสายพันธุ์ ที่เคยนำมาทำข้าวกล้องงอก ไม่ว่าจะเป็น ข้าวขาวดอกหอมมะลิ 105 ข้าวชัยนาท ข้าวคลองหลวง กข.6 และข้าวเหนียวดำ

"ข้อดีของการทำข้าวกล้องงอกแบบงอกทั้งเปลือก คือ สีข้าวจะสวยกว่าข้าวกล้องงอกทั่วไป รสชาติดี กรุบกรอบ หวานมัน นอกจากนี้เวลากะเทาะเปลือกงอกได้เม็ดข้าวเต็มสูง และปริมาณข้าวหักน้อยกว่ากะเทาะเปลือกที่ไม่ผ่านการงอก ผู้บริโภคยอมซื้อในราคามากกว่า 1.5-2 เท่าของราคาข้าวกล้องปกติอีกด้วย" รศ.วรนุช กล่าว

รศ.วรนุช กล่าวอีกว่า จากการศึกษายังพบอีกว่า ภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ระยะเวลาในการพักข้าวเปลือกก่อนการนำไปงอก มีผลต่อปริมาณการงอกและปริมาณ สารกาบา โดยระยะเวลาพักข้าวเปลือกนาน ปริมาณการงอกจะสูง แต่ปริมาณสารกาบาลดลง ดังนั้น จึงต้องศึกษาระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวก่อนนำไปเพาะให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ สารกาบา ในปริมาณที่สูงที่สุด

นอกจากนี้ในอนาคต รศ.วรนุช ยังมีแผนจะพัฒนาต่อโดยการแปรรูปข้าวกล้องงอกไปเป็นน้ำข้าวกล้องงอกผสมน้ำผล ไม้ ที่ให้ทั้ง สารกาบา และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงในเครื่องดื่มชนิดเดียว กัน โดยขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ดี การค้นพบวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกโดยวิธีเพาะทั้งเปลือกในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงประโยชน์ที่จะตามไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าวไทย การนำผลวิจัยไปพัฒนาต่อยอดในด้านการแพทย์เพื่อสุขภาพ และ ขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม สร้างรายได้ให้เกษตรกร

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ รศ.วรนุช ศรีเจษฏารักข์ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 081-050-3311 หรือ 043-362-132.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ข้าวกล้องงอก “กาบาไรซ์ (GABA-rice)” [No. 0]
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวไทยในตลาดโลก
"ข้าวคือชีวิตของคนไทย" เนื่องจากข้าวกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย มีความผูกพันกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีมาช้านาน ในทางโภชนาการข้าวเป็นธัญญพืชชนิดเดียวที่คนนิยมบริโภค ดังนั้นข้าวจึงเปรียบเสมือนเม็ดยา ซึ่งข้าวเมล็ดเล็กๆ มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด


สถานการณ์ข้าวของประเทศไทย
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออก "ข้าว" เป็นอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันมากว่า 20 ปี โดยในปี พ.ศ. 2548 มูลค่าการส่งออกสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปมีมูลค่าสูงถึง 98,777 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปของ "ข้าวสาร" ที่ไม่ได้มีการแปรรูปถึงร้อยละ 95 หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 92,919 ล้านบาทของมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ข้าวทั้งหมด

จากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าสัดส่วนการส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่มาจากอุตสาหกรรม ข้าวไทยเพียง ร้อยละ 5 หรือคิดเป็นมูลค่า 5,858 ล้านบาท ดังนั้น หากเราสามารถนำ "นวัตกรรม" มาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา ?ข้าวสาร? ให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้ มากกว่าเดิม 1-5 เท่า ก็จะส่งผลให้ประเทศมีศักยภาพทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมข้าวไทย ในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น


การพัฒนานวัตกรรมข้าวไทย
จากการศึกษาทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เมล็ดข้าวขาว รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเปลือกข้าว อนึ่ง สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุ ที่แยกไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภทไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จึงมักนิยมนำรำข้าวมา แปรรูปเป็นน้ำมันรำข้าวที่มีส่วนประกอบของวิตามินอีเป็นหลัก

ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโต จะมีการเปลี่ยน-แปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้นเมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมี จนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็น กรดอะมิโน และเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่างๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ "สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด" หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา" (gamma-aminobutyric acid, GABA) (ที่มา: http://pcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2549/06-2549/rice.doc)



GABA-rice
"GABA-rice" ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับ ความสนใจจากผู้ประกอบภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก เนื่องจาก GABA ถือเป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสําคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้น anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการ สร้างเนื่อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ และเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันไขมัน


จากการศึกษาในหนู พบว่าการบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสาร GABA สารกาบา มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมองเนื่องจากสารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซด์เมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำสาร GABA มาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น


แนวทางการพัฒนานวัตกรรม GABA ของ สนช.
ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) ถือเป็นการ นำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งผลที่ได้จากกระบวนการนี้จะช่วยในการเพิ่มปริมาณสาร GABA สารกาบา ในข้าวกล้องได้ ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จึงได้ริเริ่มในการพัฒนาโครงการข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และกลุ่มธุรกิจข้าวรายใหญ่ของประเทศจำนวน 3 บริษัท ในการพัฒนาสายการผลิตต้นแบบ สำหรับ ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย

โครงการนี้ มุ่งเน้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมข้าวกล้องงอกสำหรับรับประทานที่มีเนื้อ สัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานง่าย และผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกแปรรูปเพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น อาหารว่าง ซุป และเครื่องดื่ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกดังกล่าวมีคุณประโยชน์จากสารอาหารจํานวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินบี วิตามินอี และ GABA ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ตลอดจน ช่วยในการควบคุมนํ้าหนักตัวอีกด้วย

ชาญวิทย์ รัตนราศรี / ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ


http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=16055
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/02/2013 10:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

166. หอมมะลิ ๘๐


ขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม ทีมวิจัยดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80 ผ่านบรูณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเน้นการใช้เทคนิคโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือก (DNA Marker Assisted Selection) ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับ (Backcrossing) เพื่อถ่ายทอดยีนที่ทนน้ำท่วมซึ่งทีมวิจัยค้นพบบนโครโมโซมที่ 9 เข้าสู่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 วิธีการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ลง ผลจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว ทำให้ได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มียีนทนน้ำท่วมฉับพลันเพิ่มเติมเข้ามา โดยยังคงลักษณะคุณภาพการหุงต้มและความอร่อยของข้าวขาวดอกมะลิไว้





วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80
ข้าวหอมมะลิ 80 ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย ของยีนควบคุมความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นนำสายพันธุ์ที่ได้ไปทดสอบความทนทานต่อน้ำท่วมในพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาในจังหวัดต่างๆ พร้อมกับทำการประเมินการยอมรับของเกษตรกรที่เคยปลูกขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ดั้งเดิมในปี พ.ศ. 2550 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสายพันธุ์หอมมะลิ 80 นี้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงประทานช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน


ลักษณะประจำพันธุ์
- ทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
- ข้าวเจ้าหอม ความสูงประมาณ 155 เซนติเมตร
- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณช่วงวันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี
- จำนวนรวงต่อกอประมาณ 10 – 12 รวง (นาดำ) .
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- การเกิดท้องไข่ประมาณ 0.8
- ข้าวเปลือกสีฟางคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105






คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
- ปริมาณอะไมโลส 14-15%
- ระดับค่าการสลายตัวในด่าง (1.7% KOH) ประมาณ 7 % เหมือนข้าวขาวดอก มะลิ 105
- ค่าการยืดตัวของแป้งสุกประมาณ 70 - 95 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับพันธุ์ขาว ดอกมะลิ 105 ซึ่งมีค่า 70 – 85 ม.ม.
- คุณภาพข้าวสุก ความนุ่ม และกลิ่นหอม คล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ105
- เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวประมาณ 63% ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ105


(ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)



http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4-%E0%B9%98%E0%B9%90.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/02/2013 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

167. 'รกหมู' ยืดอายุเมล็ดพันธุ์ข้าว







ใช้ 'รกหมู' ยืดอายุเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลงานเด่นนักวิจัย มทร.ศรีวิชัย

"จากการเข้าไปคลุกคลีกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใน จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ได้ทราบถึงความเชื่ออย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เชื่อว่าการแช่เมล็ดข้าวในน้ำสกัดชีวภาพจากรกหมูจะทำให้เมล็ดมีความงอกสูงขึ้น"

ผศ.มนทนา รุจิระศักดิ์ อาจารย์ประจำสาขาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวถึงอาชีพชาวนาในประเทศไทยนับเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทยที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานและสภาพภูมิอากาศก็เอื้อต่อการทำเกษตรกรรม แต่ด้วยสภาพร้อนชื้นตลอดทั้งปีของภาคใต้เป็นสภาวะที่ไม่เหมาะต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวเสื่อมคุณภาพลงอย่างรวดเร็ว

หากจำเป็นต้องเก็บรักษาเมล็ดไว้เป็นเวลานานจะทำให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังมีความจำเป็นต้องเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ จึงหาวิธีในการทำให้เมล็ดงอกได้สูงขึ้น จนสามารถนำเมล็ดกลับมาทำพันธุ์ได้อีกครั้ง ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบางรายใน จ.นครศรีธรรมราช เชื่อว่าการใช้น้ำสกัดชีวภาพที่หมักจากรกหมูแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนนำไปปลูกจะทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวมีความงอกสูงขึ้นได้

ผศ.มนทนา เปิดเผยต่อว่า หลังจากได้เข้าไปคลุกคลีกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในแปลงนาด้วยเป็นนักเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Seed Tech) ก็รู้ว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชาวบ้านนำมาให้ดูเป็นเมล็ดพันธุ์เก่า โดยนำมาแช่ในน้ำสกัดชีวภาพจากรกหมูจะทำให้เมล็ดมีความงอกมากขึ้น ซึ่งขัดกับทฤษฎีที่ได้เรียนมาเมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพแล้วไม่สามารถงอกออกมาได้อีกในฐานะนักวิชาการก็เอามาดูก่อนว่ามีคำอธิบายในเชิงวิชาการอย่างไรเพื่อหาเหตุผลทางวิชาการก็เลยมีแนวคิดที่จะทำงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเพื่อยกระดับพันธุ์ข้าว

"เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ในการทดลองมี 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ชัยนาทและพันธุ์สังข์หยดพัทลุง ซึ่งมีความแตกต่างกันคือ ข้าวพันธุ์ชัยนาทไม่ไวต่อแสงที่มากระทบ ปลูกเมื่อไหร่ก็ได้ขอให้มีน้ำ ส่วนข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง ไวต่อแสงจะออกดอกได้เมื่อเจอแสงในรอบปีจะมีลักษณะแบบนี้ครั้งเดียวและที่สำคัญอีกประการคือข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุงเป็นพันธุ์ข้าวที่กำลังมาแรงซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์ ในอนาคตอาจจะมีพื้นที่ปลูกมากยิ่งขึ้น"

ผศ.มนทนา ระบุอีกว่า การทำวิจัยชิ้นนี้จะช่วยเกษตรกรในเรื่องของเมล็ดพันธุ์เก่าแทนที่จะทิ้ง ถ้าหากเราเอามาใช้ในการทำให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นก็จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ได้การวิจัยทั้งหมดมีหลายขั้นตอน ซึ่งครั้งแรกนำมาทดลองแบบเกษตรกรทุกประการคือนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวมาแช่น้ำเปล่าธรรมดาและเอาเมล็ดพันธุ์มาแช่ด้วยน้ำสกัดชีวภาพจากรกหมู ซึ่งก็ดูผลที่ได้ระหว่างนำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่ในน้ำเปล่าธรรมดาและเอามาเมล็ดพันธุ์มาแช่ด้วยน้ำสกัดชีวภาพจากรกหมูมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด

"ผลการวิจัยพบว่าน้ำสกัดชีวภาพรกหมูมีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยวิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ต่างกัน แต่ไม่มีผลต่อดัชนีการงอกของเมล็ดและน้ำหนักของต้นกล้า แต่น้ำสกัดชีวภาพจากรกหมู เพิ่มให้เมล็ดพันธุ์งอกมากกว่า ซึ่งงอกมากถึง 12.62 ต้นต่อวัน ในน้ำธรรมดาเมล็ดพันธุ์งอกเพียง 11.78 ต้นต่อวัน" หัวหน้าทีมวิจัยคนเดิมระบุ

สำหรับความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ในการนำสารละลายน้ำสกัดชีวภาพไปใช้เป็นส่วนประกอบของสารพอกเมล็ดแทนสารเคมีบางชนิดในเมล็ดพอก (pellet seed) ในเมล็ดที่มีมูลค่าสูง หรือเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อไป นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นสิ่งที่กระทำต่อเนื่องกันมาและมีความเป็นไปได้จริง แต่หากนักวิชาการได้เข้าไปช่วยพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ ก็จะทำให้เกษตรกรเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง


แหล่งข้อมูล : คมชัดลึก ออนไลน์



http://www.bedo.or.th/bd021_ArticlesDetail.aspx?RowID=2813
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/02/2013 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

168. การทำนา ให้ได้กำไรสุทธิ 1.5 แสนต่อไร่ (แถมเหนื่อยน้อย)


เหนื่อยน้อยกว่าเดิม 3 เท่า (เช่นไม่ต้องก้มดำนา ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ยหรือทำหญ้า) แต่ได้กำไรกว่าเดิม 100 เท่า (จากพันห้า เป็น แสนห้า)

แม้ผมจะไม่เคยทำนามาก่อนในชีวิต แต่ก็ได้พยายามศึกษาหาความรู้จากการอ่าน การถาม การดูเสมอมา บัดนี้ผมได้คิดวิธีการทำนาชีวภาพแบบใหม่ ที่น่าจะดีกว่าการทำนาแบบเดิมๆโดยเฉพาะเหนื่อยน้อยกว่า แต่รายได้มากกว่า แถมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ม โดยทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมดิน ถึงการอบแห้ง จะเป็นวิธีการใหม่ที่ต่างจากระบบเดิมทั้งสิ้น

หากท่านอ่านแล้วเห็นว่าดี หรือ พอมีทางเป็นไปได้ โปรดช่วยนำไปสานต่อ ช่วยโพนทะนา วิจัย ทดลอง แต่หากเห็นว่าไม่ดี เป็นไปไม่ได้ ผมก็ขออภัยด้วยที่ทำให้ท่านต้องเสียเวลาอ่านโดยเปล่าประโยชน์ (ยาวมากซะด้วย เพราะเป็นการสั่งสมความรู้ความคิดมาประมาณ ๑๐ ปี ในขณะที่มีเรื่องอื่นคู่ขนานอีก ๑๐๘ เรื่อง)

นาชีวภาพนี้จะไม่ฉีดพ่นสารใดๆ แม้สารชีวภาพ...เหมาะสำหรับนาอีสานส่วนใหญ่ ที่ไม่มีการชลประทาน แต่ถ้ายิ่งที่มีชลประทานก็ยิ่งดี

ชาวนาอีสานเฉลี่ยมีนา 5 ไร่ ทำนาแล้วไม่พอกิน (ทำให้ต้องไปหาลำไพ่รับจ้างลงคะแนนเลือกตั้งและรับจ้างชุมนุม) เพราะได้กำไรสุทธิเพียงไร่ละประมาณ 1500 บาทเท่านั้น (หลังจากหักค่าปุ๋ย สารเคมีแล้ว)

จึงได้คิดค้นวิธีการทำนาน้ำฝน ที่เหนื่อยน้อยกว่าเดิม 3 เท่า (เช่นไม่ต้องก้มดำนา ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ยหรือทำหญ้า) แต่ได้กำไรกว่าเดิม 100 เท่า หลักการกว้างๆคือ เราจะเลี้ยงปลาเล็กที่กินหญ้า กินไรน้ำ หอยขม เขียดน้อย แมงปอ ในนา พร้อมทั้งปลูกพืชน้ำ เช่น สาหร่าย และสันตะวา ให้เป็นอาหารปลา ส่วนร่องน้ำกลางนาเราจะเลี้ยงสาหร่ายโตเร็ว พร้อมปลาจีน (หรือเปลาเฉา) จะมีการเวียนน้ำเพื่อบำบัดและเพิ่มสารอาหารให้ปลาพร้อมกันไป จะมีการปลูกผักสลัดที่ชอบแดดรำไร (และมีราคาแพง) ภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ผลที่ได้คือ ชาวนาลดความเหนื่อยล้า เพราะไม่ต้องฉีดพ่นยา ไม่ต้องใส่ปุ๋ย และไม่ต้องทำหญ้า แต่ประการใด แต่จะมีรายได้สุทธิประมาณ 150,000 บาทต่อไร่ต่อ 1 รอบการทำนา

นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวยังทุ่นแรงได้มาก เพราะไม่ต้องตากตอซัง เก็บตอซัง นวด แต่จะใช้วิธีหวีซึ่งเป็นการเกี่ยวนวดในตัวแล้วเอามาตากแห้งบนแคร่พรุน 2 วัน

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างครบวงจรทำให้ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ย หรือทำหญ้า แถมได้ผลผลิตเพิ่มพูนมหาศาล ขั้นตอนในรายละเอียดดังนี้

• แปลงนาเป็นสี่แหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 12 เมตร และยาวตามชอบ อาจยาว 33 เมตร จะได้พื้นที่ประมาณ 1 งานพอดี ตรงกลางร่องนาตามแนวยาวให้ขุดเป็นร่องน้ำลึก 1.5 เมตร กว้าง 2 เมตร ร่องนี้จะเอาไว้ กักน้ำ เลี้ยงสาหร่าย และเลี้ยงปลาจีน (grass barb) ซึ่งเป็นปลากินผักหญ้า สาหร่ายหางกระรอกโตเร็วมาก จะเป็นอาหารหลักของปราจีน โดยไม่ต้องให้อาหารอื่นใด ยกเว้นอาหารเสริมเป็นครั้งคราว

• ดินที่ขุดขึ้นจากร่อง ให้เอามาทำเป็น ”คันนาในคันนา” ล้อมร่องน้ำไว้ แต่ให้เปิดช่องต่อกับผืนนาไว้ กว้างสักประมาณ 30 ซม. (เป็นช่องระบายน้ำ)

• พอฝนเริ่มตกในช่วงเดือนพค. น้ำในนาจะไหลมาลงร่องกลาง เช่น ถ้าตกสัก 10 ซม ในเดือนพค. ก็จะได้น้ำในร่องลึกประมาณ 50 ซม. น้ำที่ขังไว้ได้นี้เราจะเอาไปทำระบบชลประทาน บริหารจัดการน้ำในนาได้ ทำให้สามารถปลูกข้าวได้ในต้นเดือน มิย. ทันที แม้ฝนทิ้งช่วงเราก็สามารถใช้น้ำในร่องนี้สูบเข้านาที่แห้งได้

• พอมีน้ำขังในร่องถึงระดับเราเริ่มเอาลูกปลา หอย ลงไปอภิบาลได้เลย โดยกั้นด้วยผ้าไนล่อนให้เป็นคอกเล็กๆ ให้อาหารเสริมตามสมควร เราจะเลือกเลี้ยงปลาที่กินไรน้ำพืชเท่านั้น เพราะเตรียมอาหารให้ได้ง่ายกว่าปลาที่กินไรน้ำสัตว์

• เตรียมดิน ตามปกติ คือ ไถดะ ไถแปร คราด ทำเทือก เพียงแต่การบริหารเวลาจะต่างออกไป โดยเฉพาะก่อน “หยอดหล่น” (การปักดำ หรือหว่าน) กล่าวคือ พอไถดะเสร็จจะไม่ตากดินไว้ 10 วัน เหมือนปกติ แต่จะทำการไถแปรทันที จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 10 วันเพื่อให้เมล็ดวัชพืชงอกให้หมด (การปล่อยให้หญ้างอกในช่วงไถดะ อย่างที่นิยมกันนั้น หญ้ามันอาจงอกไม่หมด เพราะถูกกดทับไว้ในระดับลึกไว้ด้วยก้อนดินใหญ่ๆ สู้ไถแปรเลยจะดีกว่า ทำให้ดินละเอียด ลดการกดทับ ทำให้เมล็ดหญ้างอกมากกว่า) พอหญ้างอกเต็มที่ใน 10 วัน ก็คราด “ละเอียด” และทำเทือก การคราดละเอียดเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำการถอนรากหญ้าออกหมด และจะไม่มีการพลิกฟื้นหน้าดินให้เมล็ดหญ้าใต้ดินมีโอกาสขึ้นมางอกอีก ดังนั้นจึงจะไม่มีหญ้างอกอีกต่อไป....การ “คราดละเอียด” คือการครูดแต่ผิวหน้าดินให้ถอนรากหญ้าโดยไม่พลิกหน้าดินให้เมล็ดหญ้าใต้ดินลึกๆ ลอยขึ้นมาอีก โดยคราดนี้จะทำเป็นหัวตัว V เล็ก ไถไปที่ผิวลึกสัก 1 ซม พอถอนรากหญ้าออก ทำเป็นแถวสลับฟันปลาสัก 4 แถว (เรื่องนี้ไม่ยาก ทำได้แน่ แต่ต้องการนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญสักหน่อย)

• ในระหว่าง 10 วันที่รอหญ้าขึ้นนี้ ให้เอาลอบปูไปดักปูให้หมดนา ปูที่ดักได้จะช่วยเพิ่มรายได้ได้ดีทีเดียวเช่นเอาไปดองแล้วไปขายร้านแม่ค้าส้มตำ ..ปกติชาวนาวันนี้ใช้ยาฉีดฆ่าปู ทำให้เสียเงิน และทำลายสิ่งแวดล้อม แต่วิธีนี้ได้เงิน และไม่เหนื่อยมากด้วย (ไม่ต้องออกแรงฉีด) อีกวิธีคือปล่อยปลาไหลลงนาในช่วงนี้ ปลาไหลจะจับปูหอย (เชอรี่ โข่ง) กินหมดในช่วงนี้ จากนั้นทำการกู้ปลาไหล เอาไปขาย..ถ้าไม่กลัวบาป อิอิ )

• เมื่อคราดครั้งสุดท้าย หน้าดินนุ่มดี ให้ไขน้ำเข้านาพอแฉะ (สูบเข้าจากร่องตรงกลาง..ไม่ต้องรอฝน) แล้วทำการหยอดหล่นเมล็ดข้าวทันที (โปรดหาอ่านในโพสต์เก่าของผมถึงวิธีทำนาหยอดหล่น ข้อดีคือ ไม่มีการถอนรากกล้าให้ช้ำ แต่ได้ต้นข้าวเรียงแถวดี โดยไม่ต้องดำนาให้เหนื่อยยาก (ชาวนาชั้นสูงบางคนได้ยินเข้า อุทานว่า แบบนี้มันเร็วพอๆกับปักดำด้วยรถญี่ปุ่นเลยนะ ผมบอกว่าใช่ ต่างกันก็ตรงที่อัตราเสียหายของเราน้อยกว่ามาก และไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเขามา) ต้นข้าวจะแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี และโตเร็ว เนื่องจากไม่มีการชะงักตัวจากการที่รากกระเทือนอันเนื่องจากการปักดำ การต้านทานโรคดีนี้ยิ่งทำให้เหมาะต่อการทำนาชีวภาพ) ..ก้อนดินหยอดหล่นนั้นรากออกเป็นตุ่มแล้ว พอหยอดลงไปก็จะงอกทันที่ จะโตเร็วกว่าหญ้าซึ่งเหลือน้อยมากแล้ว หรือแทบไม่มีแล้วด้วยซ้ำ (ยกเว้นพวกที่ปลิวมาใหม่ในช่วงนี้) สนใจอ่านได้ที่นี่.... http://www.gotoknow.org/blogs/posts/455971


• การหยอดหล่นให้คำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ด้วย แถวติดกันให้สลับช่องว่างระหว่างต้น จะได้ไม่บังแดดกัน จะทำให้ข้าวโตไวขึ้น (เรื่องนี้ไม่มีใครคิดกันเลย สัมภาษณ์ชาวนามาทั่วประเทศ มีเพียงรายเดียว ที่ บ้านเชียงอุดรธานี ที่ชาวนาให้การว่า ปู่เขาเคยสอนเรื่องนี้ไว้ แต่เขาเองก็ไม่ได้ทำแบบนั้นแล้ว)

• ในระหว่างนี้ถ้าฝนทิ้งช่วงเราก็สามารถสูบน้ำจากร่องเข้าไปเลี้ยงนาได้ ข้าวก็ไม่ตาย ไม่ต้องคอยฝนอีกต่อไป

• พอข้าวโตถึงระดับก็ปล่อยน้ำเข้านาให้เต็มที่ หรือ รอฝนแล้วแต่กรณี

• ปล่อยปลาที่อนุบาลไว้ ซึ่งเป็นปลากินหญ้าลงไปเลี้ยง เช่นปลาจีน ปลากระดี่ ปลาตะเพียนทราย ตะเพียนขาว หอยขม กุ้งฝอย ดังนั้นต้นอ่อนวัชพืชที่กำลังจะโตตามข้าวมาก็จะถูกกินหมด เมล็ดวัชพืชน้ำที่ปลิวมาลงนาข้าวก็จะถูกปลาพวกนี้ตัดตอนเสียก่อนจะงอกด้วยซ้ำ เพราะมันชอบเมล็ดพืชมาก ดังนั้นการทำเช่นนี้เราได้หลายต่อมากๆ คือ ได้ปลา ได้การกำจัดวัชพืช และได้ ปุ๋ย จากมูลปลานั่นเอง

• พืชน้ำที่ปลูก เช่น สาหร่าย สันตะวา จะช่วยบำบัดน้ำเสียจากมูลปลาให้ดี แถมเติมออกซิเจน ให้น้ำด้วย จะเกิดการสมดุลระหว่างมูลปลา (ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว คือ แอมโมเนีย และ ฟอสเฟต) และการดูดซับส่วนเกิน ที่ทำให้เน่า ออกไปด้วยสาหร่าย สันตะวา ซึ่งกลายไปเป็นอาหารปลา นี่คือวงจรของความยั่งยืน ในนาข้าว ที่ไม่ต้องการอะไรเลย นอกจาก แสงแดด อากาศ น้ำ และดิน (ก็ดินน้ำลมไฟสมดุลกันเอง)

• ร่องน้ำลึกตรงกลางเลี้ยงปลาจีน (grass barb) สาหร่ายน้ำหลากหลายสกุล เพื่อให้ปลาจีนกิน (ไม่เลี้ยงผักลอยน้ำ เพราะพวกนี้จะบังแดดหมด ทำให้สาหร่ายไม่โต) ปลานี้ wikipedia บอกว่าโตเร็วมากเพราะกินอาหารวันละ 3 เท่าของนน. ตัวเอง ซึ่งสาหร่ายเช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ สาหร่ายข้าวเหนียว โตเร็วมาก ย่อมเพียงพอต่อการกินของปลาจีน ถ้ามีเหลือก็เกี่ยวเอามาทำปุ๋ย หรือ แก๊สชีวภาพ แต่น้ำจะเน่าเร็วมากจากอึปลาจีนที่กินเข้าไปมาก เลยต้องมีการเวียนน้ำจากนามาสู่ร่องและจากร่องไปสู่นา

• การเวียนน้ำดังกล่าว (โดยการสูบ) ได้ผลดีสองต่อคือ เอาน้ำอุดมอึปลาจีนไปให้นา เป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ต้นข้าว และ เพิ่มจุลินทรีย์ให้เกิดไรน้ำให้ปลาและกุ้งฝอยกิน ส่วนน้ำในร่องก็สะอาดขึ้น ปลาจีนก็ไม่ตายเพราะอึตนเอง ..แต่ต้องเสียค่าพลังงานในการสูบน้ำไปกลับเล็กน้อย ต้องมีปั๊มหนึ่งตัวที่ย้ายไปมาได้ ทำงานสลับกัน เช่น วันนี้สูบน้ำดีจากนาลงร่อง พรุ่งนี้สูบน้ำเสียจากร่องลงนา แล้วเวียนไปนาแปลงอื่น ข้าวก็ได้ปุ๋ยจากอึปลาจีนอย่างต่อเนื่อง

• กบใหญ่จะไม่เลี้ยงเพราะมันกินปลา แต่จะเลี้ยงเขียดน้อยๆ เช่น เขียดขาคำ เขียดน้อยจะขจัดแมลงน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ ทำให้ไม่ต้องฉีดยาให้เสียเงินและเสียแรง ..เรื่องกบเขียดกำจัดแมลงนี้ได้พบเห็นมาโดยบังเอิญแล้วว่า ใช้ได้ เพราะไปเจอนาที่อ.ประทาย ในขณะออกพื้นที่ เจ้าของนาเอากบมาเลี้ยงไว้ในสระน้ำริมนา ปรากฏว่านาของแก 5 ไร่ ไม่ฉีดยา ข้าวก็งามดีมาก )

• ปลาของเราจะเป็นปลาที่กินไรน้ำพืชเท่านั้น (ไม่กินไรนำสัตว์) เพราะมันทำให้เลี้ยงง่ายกว่ากันมากเลย การเพาะไรน้ำสตว์เหนื่อยมากกว่าการเพาะไรน้ำพืช

• ในการเวียนน้ำ ต้องมีเครื่องดูดโคลนผิวดินร่องน้ำไปกรองเก็บเอาไว้เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพราะดินนี้มีแอมโมเนียและฟอสเฟตสูงมาก (เกิดจากอึปลา) ส่วนน้ำปล่อยให้ไหลเข้าไปแปลงนา จะเป็นการลดสารพิษจากร่องน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะสารพิษส่วนใหญ่สะสมอยู่ที่หน้าดินก้นบ่อ (จากการตกตะกอนทับถม) ถ้าเราเอาดินที่กรองไว้นี้ ไปหมักกับฟาง แล้วเอามาโรยหน้าดินตอนไถแปรเตรียมนาในปีต่อไป ก็กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพมหาศาล จะเป็นการทำนาอย่างยั่งยืนและได้ผลผลิตมากมหาศาล ตลอดกาล

• จะเพิ่มรายได้ และเพิ่มความสมดุลนิเวศ ด้วยการเลี้ยงหอยขม ด้วยการเอาไม้ผุๆ ท่อนยาวๆ มาวางพาดลอยน้ำไว้ เช่น ไม้กระถิน ให้ลอยน้ำในนาข้าว แล้วปล่อยหอยขมลงไปเกาะ หอยจะกินเศษไม้เน่าๆ ใบพืชน้ำเน่าๆ ย่อยเป็นอาหารให้ต้นข้าวได้อีก ส่วนหอยขมขายออกไปก็น่าจะได้ราคาดี (หอยขมไม่กินพืชสด กินแต่ของเน่า ส่วนหอยโข่งกินใบข้าวอ่อน)..ดังนั้นการเลี้ยงหอยขมในนาข้าวจะได้ประโยชน์สองต่อ คือ ย่อยสลายของเน่าให้กลายเป็นธาตุอาหารให้ต้นข้าวและพืชน้ำ แถมยังช่วยสร้างจุลินทรีย์ที่เป็นอาหารของไรน้ำ

• แมงปอตัวน้อยสวยๆ ก็ช่วยกินแมลงได้มาก แถมช่วยสร้างสีสัน สวรรค์บ้านนาให้สวยงามอีกด้วย แมงปอเข็มตัวมันเล็ก มันน่าจะกินเพลี้ยต่างๆในนาข้าวได้

• เขียดกินแมลง ถ่ายมูลลงไปก็เป็นปุ๋ยให้นา กลายเป็นว่า แมลงไม่ใช่ศัตรูพืชอีกต่อไปแล้ว กลายเป็นมิตรด้วยซ้ำ เพราะมาช่วยเติมปุ๋ย แต่พอเราฉีดยา (แม้ยาชีวภาพ) กบเขียดปลาตายหมด

• เลี้ยงสาหร่ายในนาเช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ และพืชใต้น้ำทั้งหลาย เช่น สันตะวา พืชพวกนี้จะเป็นอาหารปลา (ที่กินพืช) และยังช่วยบังแสงทำให้วัชพืชอื่นๆ ไม่ขึ้นอีกด้วย ถ้ามีปริมาณมาก เราก็เกี่ยวขึ้นมาเลี้ยงหมู วัว อึวัวเอามาหมักทำแก๊สชีวภาพใช้หุงต้มในครัวเรือน ที่เหลือก็ขาย กากจากการหมักก็เอามาทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกผัก นมวัวเอาไปทำชีส เนย เพิ่มมูลค่า

• ผักบุ้ง สาหร่ายจากร่องกลาง ถ้ามีเหลือ เราเกี่ยวแล้วเอามาบด มาหมัก ให้เกิดจุลินทรีย์แล้วเอาไปโปรยลงแปลงนา ให้เกิดไรน้ำ หรือ หมักแบบ in situ คือ เอาไปถมไว้ตรงหัวมุมแปลงนา

• พอข้าวออกรวงได้สัก 20 วัน (ก่อนถึงระยะพลับพลึง 10 วัน) ก็ไขน้ำออกจากนา แต่ไม่ไขเอาไปทิ้งไหนให้เสียของ แต่สูบเอามาลงร่องกลางนา ซึ่งน้ำตอนนี้อุดมด้วยปุ๋ยอึปลา การสูบต้องสูบจากร่องน้ำหนึ่งไปยังอีกร่องหนึ่งของแปลงนาที่ติดกัน เพื่อให้น้ำไหลจากแปลงนาด้านซ้ายขวาผ่านช่องแคบมาลงร่อง ซึ่งจะสามารถเอาสวิงไปช้อนจับปลาที่ไหลมาลงร่องได้โดยง่าย จากนั้น ก็สูบจากร่องแปลงนาที่สูบไปฝากไว้กลับมามาลงแปลงนานี้บ้าง สลับกัน เราก็กู้ปลาไปขายได้โดยง่าย และเรายังจะได้ประโยชน์จากน้ำที่สูบมาสะสมไว้นี้ต่อไปอีกมากหลาย ในกาลต่อไป

• ช่วงไขน้ำออกนี้ เพื่อรอให้ข้าวสุกแบบพลับพลึงเป็นเวลา 10 วัน ก็เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจไว้ คือผักที่ชอบพื้นที่ชื้นแฉะ และแดดรำไร เช่น วอเตอร์เครสท์ (ผักราคาแพง ชื่อฝรั่งทั้งหลายที่คนกรุงกำลังนิยมเห่อกินเป็นผักสลัด)

• การเกี่ยวข้าว ใบข้าวก็ต้องไม่หลุดออก (เพื่อเอาไว้บังแดดให้ผัก) ซึ่งผมได้คิดค้นวิธีเกี่ยวแบบนี้ไว้แล้ว คือใช้หวีรูดเม็ดข้าวลงกระบุงที่ห้อยคอไว้เลย เป็นหวีตาถี่ห่างสามระดับ แบบนี้เราก็ไม่ต้องฝัดข้าวให้เหนื่อยยาก (ดูลิงคค์นี้......http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456456) เอาไปเทลงเครื่องอบแบบเตียงพรุนที่ผมได้ออกแบบทดลองไว้ได้ผลดีแล้วเช่นกัน (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456446) สองวันแห้งสนิท ก็เอาไปขายได้เลย ไม่ถูกตัดราคาเรื่องความชื้น โรงสีก็ชอบ เพราะไม่ต้องลงทุนเรื่องเครื่องอบแห้ง

• กล่าวฝ่ายแปลงนาเมื่อถูกเกี่ยวรวงไปแล้ว ความชื้นดินยังเหลือมาก ข้าวก็ยังบังแดด ก็ทำการปลูกผักสลัดราคาแพงที่ชอบร่มเงา (เช่น วอเตอร์เครสต์) วิธีปลูกน่าจะเป็นการหว่านเมล็ด ใช้เวลา 1 เดือน ก็เก็บผักชุดแรกได้ ทั้งนี้โดยไม่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยให้เหนื่อยยาก เพราะความชื้นในดินมีอยู่แล้ว ธาตุอาหารก็ตกค้างอยู่มาก เขียดก็ช่วยกินแมลง

• ภายใน 1 เดือนเก็บเกียวชุดแรกได้ พอตัดอีกทีมันก็แตกกอ ก็เกี่ยวชุดที่สองได้ ใช้เวลาอีก 10 วันเท่านั้น ..ถ้าดินเริ่มแห้งน้ำไม่พอ ก็ตักน้ำจากร่องกลางนามารด ซึ่งน้ำนี้เป็นน้ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารจากอึปลา เอามารดผักก็จักงอกงามดีมาก กบเขียดก็ยังทำหน้าที่พิทักษ์แมลงให้ผักต่อไป เป็นผักปลอดสารพิษ ราคาดีมาก ราคาส่งอย่างน้อยโลละ 50 บาท

• ทำนาแบบนี้เหมาะกับชาวนารายย่อย มีนา 5 ไร่ ทำด้วยตนเอง สองคนสามีภรรยา มีลูกช่วยบ้าง ก็น่าจะดำรงชีวิตได้อย่างมีสุข และ มีศักดิ์ศรี และไม่เหนื่อยยากมากเท่าใด เพราะ ไม่ต้องดำนา ไม่ต้องฉีดยาไม่ว่าชีวหรือเคมี ไม่ต้องทำหญ้า ได้ข้าว ได้ปลา ได้หอย ได้ปู ได้เขียด ได้ผัก(อันเหลังนี้มากหน่อย)

• การทำนาแบบนี้รายจ่ายน้อยมาก ส่วนรายได้สูงมาก โดยเฉพาะการขายผักสลัดเมืองหนาวแดดรำไร 2 ชุด



วิเคราะห์รายได้ ต่อไร่
ข้าวเปลือก 40 ถัง 40x10x15 = 6000 บาท (ข้าวชีวภาพ โลละ 15 บาท แพงกว่าปรกติ)

ปลาเล็ก 100 กก. = 100x50 = 5000 บาท (ประเมินว่าน้ำ มี 320 ลบ.ม. 3.2 ลบ.ม.ได้ปลา 1 กก. น่าสมจริง)

กุ้งฝอย 50 กก. = 50x100 = 5000 บาท

เขียด 20 กก = 20x100 =2000 บาท

ปู 2 กก (60 ตัว) = 120 บาท

หอยขม 50 กก. = 2500 บาท

ปลาจีนเลี้ยงในร่อง 100 กก = 5000 บาท
............รวม 25,620 บาท


ผักสลัด 2 ชุดตัด 1300x50x2 = 130,000 บาท (คิดว่า 1 ตรม. ได้ผัก 1 กก. กก ละ 50 บาท 1 ไร่มีเพียง 1300 ตรม. เพราะหักหัวคันนา และร่องน้ำแล่นกลางออก

...............รวม 130,000 บาท


ค่าใช้จ่ายคือค่าเมล็ดพันธุ์ 5 กก = 75 บาท (ใช้พันธุ์ของเราเอง ไมต้องไปซื้อ) ...ค่าจ้างตัวเอง (ไม่คิด) ...ค่าพันธุ์ปลา...1000 บาท ...ค่าอาหารปลาในช่วงอภิบาล 1000 บาท ...ค่าเชื้อเพลิงสูบน้ำ 1000
..................กำไรสุทธิต่อไร่คือ 152,545 บาท



วิจารณ์ตนเอง
• 1) รายได้จากข้าวปลาหอยเขียด ดูสมจริง
• 3) รายได้ส่วนใหญ่มาจากผัก
• 4) ไม่พึงคิดว่าถ้างั้นก็เลิกทำนาหันมาปลูกผักอย่างเดียวมิดีกว่าหรือ ตอบว่าคงไม่ได้เพราะเรายังต้องกินข้าว อีกทั้งจะเอาน้ำอึปลามารดผักจากไหน อ้าวอย่างงั้นเลี้ยงแต่ปลา สาหร่าย กบ แล้วปลูกผักข้างๆนาปลาดีไหม ก็น่าพอไหวนะ แต่ว่าเรายังอยากเห็นว่ามีการปลูกข้าวด้วย อีกทั้งถ้าทำแบบนี้น้ำเลี้ยงปลาตักเอามารดแปลงผักมันก็แห้งหมด ปลาตาย

ถ้าเลี้ยงปลาปลูกผักเฉยๆ น้ำในบ่อปลาจะเสีย ปลาจะตาย แต่ถ้าทำนาด้วย มีการเวียนน้ำ และในนาปลูกพืชเติมออกซิเจนก็เป็นการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แล้วเวียนกลับมาลงบ่อปลา ปลาก็ไม่ตาย


....บุกเบิกแนวคิดโดย คนถางทาง


http://www.gotoknow.org/posts/485363
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 11:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

169. นวัตกรรมข้าวหอมทนน้ำท่วม

โดย...ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2554)



สถานะการน้ำท่วมในหลายจังหวัดได้สร้างความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรอย่างมหาศาล ต้นข้าวที่กำลังเติบโตจมอยู่ใต้น้ำชาวนาหลายคนสิ้นหวัง แต่ด้วยความสามารถของนักวิจัยไทยที่ได้ทำการคิดค้นพันธุ์ข้าวที่สามารถทนน้ำได้นวัตกรรมข้าวหอมทนน้ำข้าวหอมมะลิของไทยได้ถูกยกย่องจากผู้บริโภคข้าวหลายประเทศเป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพดีประเทศหนึ่งในโลก พื้นที่ในการทำนาข้าวจมอยู่ใต้ผืนน้ำในบางพื้นที่น้ำขังนาน ทำให้ต้นข้าวที่ชาวนาปักดำไว้เน่าตาย เนื่องจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกนั้นไม่สามารถทนน้ำท่วมได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ข้าวที่ปลูกปกติไม่สามารถที่จะอยู่ใต้น้ำได้ คือ ถ้าน้ำท่วมมาข้าวส่วนใหญ่จะตาย ปัญหาหลักการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่จะสามารถปลูกข้าวทนต่อน้ำท่วม



ภาพจาก Web Site
http://www.koratdailynews.com/wp-content/uploads/2012/01/1324.jpg
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/532/20532/images/ricee.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-12-55


สภาพน้ำท่วมในประเทศไทย แบ่งออกเป็นหลัก ๆ 2 ประเภท
1. น้ำท่วมฉับพลัน คือมาเร็ว บางครั้งน้ำท่วมสูง 2 เมตรหรือมากกว่านั้น แต่ใข้เวลไม่นานน้ำจะลดลง เรียกว่าสภาพของน้ำท่วมฉับพลัน

2. น้ำท่วมแบบน้ำค่อย ๆ มา แต่แช่ขังอยู่ระยะยาวกว่าน้ำจะลดลง ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันเป็นปัญหาหลัก ๆ คือ น้ำมาเร็วแล้วท่วมไม่นานก็ลดลง พันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมแบบฉับพลัน มีทำเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้แหล่งพันธุกรรมที่ไหนบ้างที่จะนำมาสามารถมาใช้ได้ จากการวิจัยปรากฏว่ามีข้าวของประเทศอินเดียสามารถที่จะทนต่อน้ำท่วมแบบฉับพลันได้ คณะวิจัยนำพันธุ์ข้าวจากประเทศอินเดียมาใช้เป็นแหล่งของพันธุกรรมเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวของประเทศไทย


คุณสมบัติพิเศษของข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ
1. ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิเป็นข้าวพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีความสามารถทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน พื้นฐานของพันธุ์ข้าวไทย คือ พันธุ์ข้าวคุณภาพข้าวดอกมะลิเป็นตัวตั้ง นำยีนทนน้ำท่วมฉับพลันเข้าไปผสมกับพันธุ์ต่างประเทศก็คัดให้เป็นข้าวไม่ไวแสง ซึ่งสามารถปลูกภาคกลางได้ ผลผลิตสูง ก็จะเป็นหน้าตาคล้าย ๆ ข้าว กข. ที่ปลูกในเขตภาคกลางอายุประมาณ 120 วัน มีคุณสมบัติพิเศษเมื่อเกิดน้ำท่วมสามารถรอดชีวิตโดยเกษตรกรไม่ต้องปลูกใหม่



ภาพจาก Web Site
http://www.isnhotnews.com/wp-content/uploads/2012/10/161461_73545.jpg
http://www.rakbankerd.com/ckfinder/userfiles/images/RICE/Rice/Rice%20field.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 6-12-55


2. คุณสมบัติในแง่ของการหุงต้มจะใกล้เคียงกับขาวดอกมะลิ ถือเป็นข้าวค่อนข้างดีเนื้อจะนุ่มหอม ในเขตภาคกลางปกติสายพันธุ์ที่ปลูกโดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวค่อนข้างจะแข็ง ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิเป็นข้าวที่มีคุณภาพค่อนข้างดี ในเกรดเดียวกับปทุมธานีขาวดอก
มะลิเป็นข้าวนุ่ม

3. ผลผลิตสูงไม่แตกต่างจากพันธุ์ข้าวของที่เกษตรกรปลูก คือผลผลิตปลูกไม่แตกต่างกับพันธุ์ข้าวเดิมที่เกษตรกรใช้ปลูกอยู่ในเขตภาคกลาง แต่ถ้าเกิดสภาพน้ำท่วมปกติและเกษตรกรปลูกพันธุ์ดั้งเดิมก็จะไม่ได้รับผลผลิตใด ๆ เพราะที่ปลูกข้าวตายหมด ในขณะที่ถ้าปลูกพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิก็ยังสามารถรอดชีวิตได้ คือตอนหลังก็อาจจะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับน้ำท่วมในระยะใด


การปลูกพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิมีดูแลรักษาที่ยุ่งยากหรือไม่
เหมือนกับการปลูกโดยทั่วไปใกล้เคียงกับพันธุ์โดยทั่ว ๆ ไป แต่มีจุดที่ต้องระมัดระวัง คือ ความต้านทานต่อตัวเพลี้ยกระโดด หอมชลสิทธิเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดด พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิทำมาเพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงต่อน้ำท่วม เพราะฉะนั้นเกษตรกรเองก็ต้องควรดูแลระมัดระวัง ในแง่ของพวกแมลง


คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการกำจัดหรือว่าป้องกันเพลี้ยกระโดด
เพลี้ยกระโดดเป็นเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจ คือในเขตภาคกลางปัญหาค่อนข้างจะรุนแรง เนื่องจากว่าการปลูกข้าวแบบต่อเนื่องตลอด คือไม่มีการตัดวงจร หมายถึงต้องสร้างความเข้าใจเกษตรกรในการปลูกพันธุ์สายพันธุ์หนึ่ง ๆ ต่อเนื่องระยะยาวนก็จะสร้างปัญหา ให้มีตัวเพลี้ยกระโดดระบาดมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ในแต่ละรอบการเก็บเกี่ยว น่าจะเป็นทางหนึ่งที่สามารถจะลดการระบาดลงได้ เพราะแต่ละพันธุ์จะมีความต้านทานหรือยีนต้านทานไม่เหมือนกัน เช่น ปทุมธานีให้มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดแตกต่างกัน

ในฤดูนี้ปลูกปทุมธานีที่มียีนต้านทาน ก. พอรอบฤดูหน้า ปทุมธานีต้านทาน ข. แมลงจะปรับตัวกินไม่ได้จะทำให้มีจำนวนลด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเข้าใจเหล่านี้ต้องใช้เวลากับวิธีการที่จะตัดวงจรหรือลด เกิดความหลากหลายในแง่ของความต้านทาน แล้วก็ต้องรู้สึกวิธีการตัดวงจรของแมลงเป็นวิธีทางหนึ่งที่เป็นไปได้



ภาพจาก Web Site
http://119.63.84.74/kaset/office/field/1614/pic_0/11614_0.jpg
http://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=1286&s=tblblog
ข้อมูลภาพ ณ วันที่6-12-55


การพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิในอนาคต
โปรแกรมพัฒนาพันธุ์ข้าวค่อนมีความสับซ้อนค่อนข้างมาก ถ้าจะพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิทนน้ำท่วม ให้มีความสามารถในการทนแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งก็คงใช้เวลาประมาณสองปี ก็น่าจะดำเนินการเสร็จส่วนในการพัฒนาพันธุ์อื่น ๆ ตอนนี้มีการรวบรวม
ความต้านทานโรคแมลง ซึ่งมีพันธุ์ข้าวที่ทนน้ำท่วมอยู่ด้วยกัน และมีความต้านทานต่อโรคแมลงต่าง ๆ ทั้งหลาย อนาคตคิดว่าผลงานวิจัยก็คงจะมีพันธุ์ข้าวที่มีหลากหลายลักษณะ ถ้าเกษตรกรสามารถเก็บไว้ใช้เป็นข้าวสายพันธุ์แท้ และเกษตรกรรู้จักวิธีการรักษาพันธุ์ก็สามารถจะเก็บรักษาพันธุ์ไว้ใช้ของตัวเองได้โดยไม่ต้องไปซื้อใหม่

ความร่วมมือในหลายระดับทั้งบูรณาการกันจากหน่วยงานไม่ว่าจะภาครัฐ หรือเอกชน รวมทั้งในระดับของชุมชนจะเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาอนาคต ด้านการทำความเข้าใจกับชุมชน และปัจจุบันชุมชนค่อนข้างจะมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจหลักการทางวิชาการเพื่อจะปรับใช้ได้โดยตรง มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะต้องผ่านทางขบวนการของภาครัฐซึ่งมีขั้นตอนมาก อาจจะเริ่มต้นจากนักวิจัยสู่ชุมชน งานวิจัยที่สำเร็จเป็นรูปธรรมนำลงชุมชน ซึ่งแตกต่างกับสมัยก่อนเกษตรกรยังไม่พร้อมที่จะรับ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจะลงไปให้ความรู้ ทักษะในการพัฒนาพันธุ์ การดูแลพันธุ์ข้าวแท้ๆ จากแปลงปลูกของเกษตรกรลดการซื้อพันธุ์ข้าว หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง เพราะชุมชนพร้อมที่จะรับความรู้และสามารถถ่ายทอดสู่คนในชุมชนต่อไป


นางอุษณีย์ จูฑะศิลป์ ผู้เรียบเรียง


http://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-56/page1-3-56.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 11:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

170. ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ กินต้านเบาหวาน !


ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก. พัฒนาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ได้ผลสำเร็จ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ หวังยกระดับราคาขายเทียบชั้นข้าวบาสมาติของอินเดีย เหมาะเป็นข้าวต้านเบาหวาน ช่วยเสริมข้าวไทยส่งออกตลาดโลกมากขึ้น เผยใช้ทำแป้งและเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ดี

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปรับปรุงข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่โดยเพิ่มคุณสมบัติเด่นคือ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งการวิจัยในห้องปฏิบัติการเสร็จสิ้นแล้วหลังใช้เวลาทดลองกว่า 2 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมทดลองปลูกในพื้นที่ภาคกลางหลังจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าจะเริ่มปลูกได้ในปีหน้า โดยเริ่มนำร่องที่วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

รศ.ดร.อภิชาติกล่าวอีกว่า การพัฒนาและปรับปรุงข้าวหอมมะลิดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมีแนวคิดจากความต้องการให้มีคุณสมบัติดี และขายได้ในราคาสูงเทียบเท่าข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมของอินเดีย เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลกได้ หลังจากที่ปล่อยให้ประเทศอื่นๆ พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทยมาหลายปี

"เนื่องจากข้าวบาสมาติ ซึ่งเป็นข้าวหอมของอินเดีย มีจุดเด่นคือ ดูดซึมน้ำตาลต่ำกว่าข้าวหอมมะลิของไทย เราจึงได้นำข้าวหอมพันธุ์ปิ่นเกษตร เบอร์ 3 มาเป็นหลักในการปรับปรุงข้าวพันธุ์ใหม่ให้มีคุณสมบัติเหมือนข้าวบาสมาติ แต่ไม่มีการนำข้าวบาสมาติมาปรับปรุง เราศึกษาโครงสร้างของยีนแป้งที่ทำให้มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อทำให้เหมือนกัน อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้สามารถต้านทานโรค แมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและทนน้ำท่วมฉับพลันอีกด้วย" รศ.ดร.อภิชาติเผย

รศ.ดร.อภิชาติได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จำนวน 41 ล้านบาท ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิให้เมล็ดมีความยืดตัวสูงขึ้นเมื่อหุงต้ม และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อให้เหมาะแก่ผู้บริโภคที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ระมัดระวังเรื่องน้ำตาล และสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงเช่นเดียวกับข้าวบาสมาติของอินเดีย

"เราไม่ได้ต้องการพัฒนาพันธุ์ใหม่เพื่อเป็นคู่แข่งของข้าวหอมมะลิเดิมของเรา แต่ต้องการทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพื่อเป็นการเสริมตลาดข้าวหอมมะลิที่มีอยู่เดิมให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น โดยคาดว่าสัดส่วนการตลาดข้าวหอมพันธุ์ใหม่ดัชนีน้ำตาลต่ำจะมีการบริโภคภายในประเทศประมาณ 50% และมีการส่งออกไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางอีก 50%" รศ.ดร.อภิชาติกล่าว และว่า ข้าวพันธุ์ใหม่นี้เป็นข้าวแข็ง ไม่นุ่มเหมือนข้าวหอมมะลิ เมื่อนำมาหุงจะขึ้นหม้อ เหมาะเป็นข้าวราดแกง และใช้ทำแป้งอุตสาหกรรม เส้นก๋วยเตี๋ยวเพื่อสุขภาพ และเส้นสปาเกตตีส่งขายยุโรป

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่นาข้าวในภาคกลาง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวแนะนำว่า ก่อนที่ชาวนาจะลงมือปลูกข้าวชนิดใดก็ควรศึกษาคุณสมบัติพันธุ์ข้าวให้ดีก่อน ตนคิดว่าจะต้องปลูกข้าวนาปี ไม่ควรปลูกข้าวนาปรัง และเลือกข้าวทนน้ำท่วมโดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม ก็จะทำให้ได้ผลผลิตข้าวมากขึ้น.


http://www.thaipost.net/node/47341
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©