ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
hang สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 11/11/2009 ตอบ: 25
|
ตอบ: 17/11/2009 1:08 am ชื่อกระทู้: ข้อดี-ข้อเสีย ของสารจับใบ |
|
|
1.ผมรู้ว่ามันแพงแต่ที่เหลือมันจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไรกับพืชครับ
ความรู้ องค์คาพยศใดๆ ใครมีเกี่ยวกับเรื่องนี้จัดมาเลยครับยินดีรับเต็มที่(ยากรู้มาก....)ไวๆเด๊อ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 17/11/2009 2:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มันคืออะไรเหรอครับ
หมายถึงผลิตภัณฑ์ของประเภท DIRECTSELL หรือเปล่าครับ _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 17/11/2009 9:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อดีและคุณสมบัติของสารจับใบ
ที่มา http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1231
สารจับใบที่ใช้ในภาคเกษตร เป็นสารที่ช่วยลดแรงตึงผิวของใบพืช เมื่อผสมสารจับใบแล้ว ส่วนผสมของสารเคมีเกษตรกรที่มีสารจับใบอยู่ด้วยจะไม่เกาะตัวเป็นหยดน้ำ และไหลหล่นจากใบพืช แต่สารเคมีเหล่านี้จะกระจายไปทั่วทั้งใบ ทำให้มีประสิทธิภาพในการแทรกซึมเข้าไปในใบพืชมากขึ้น สารจับใบอาจผสมจาก สาร surfactant (น้ำยาล้างจ้านก็มีสารประเภทนี้ผสมอยู่) และอาจมีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า adjuvant เข้าไป
อย่างไรก็ตามถ้าหาซื้อไม่ได้ การใช้ "ผงซักฟอก -
น้ำยาล้างจาน" ผสมลงไปในสารเคมีเกษตร ก็สามารถช่วยให้สารเคมีติดกับใบพืชมากขึ้น
โดย: รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น
ที่มา http://www.cactiland.com/?q=node/97
สารจับใบหรือสารเสริมประสิทธิภาพ
ประกอบด้วย
-สารลดแรงตึงผิว
-พาราฟฟินิก ออยล์
คุณสมบัติของสารจับใบ
-ลดแรงตึงผิวของละอองน้ำยา ทำให้น้ำยาแบนและแผ่กว้าง
-เพิ่มประสิทธิภาพของยาฆ่าแมลง,ยาฆ่าเชื้อรา,ปุ๋ย,และยากำจัดวัชพืช ทำให้จับใบแล้วดูดซึมเข้าใบหรือลำต้นได้ดี และเร็วขึ้น
-ทำให้ละอองน้ำยามีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี และแห้งเร็วกว่าปกติ
-ลดการสูญเสียของสารเคมี เนื่องการการชะล้างของฝนหรือน้ำช่วยรักษาอุปกรณ์พ่นยา ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด
-ลดต้นทุนการใช้สารเคมี เนื่องจากลดจำนวนครั้งในการใช้สาร และความเข้มข้นที่ต่ำ
-ทำให้ต้นไม้ดูสวยงามไม่เป็นคราบที่เกิดจากปุ๋ยและยา
ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีกับต้นไม้ควรจะผสมร่วมกับสารจับใบทุกครั้ง
ข้อเสียของสารจับใบ
ที่มา http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2312
สารจับใบ หรือ surfactant เป็นสารช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ถ้าใช้ปริมาณมาก จะไปล้างเอาไข หรือส่วน cuticle ที่ผิวของพืชออก ทำให้พืชไม่มีระบบป้องกันการสูญเสียน้ำจากใบ เนื่องจากสารจับใบอาจผสมสารชนิดอื่น ที่เรียกว่าสารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ adjuvant เข้าไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับพืช สารชนิดที่เพิ่มมานี้เป็นความลับของบริษัทผู้ผลิต การใช้มากเกินจำเป็น ใบจะบาง ไม่มีไข (นวล) และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จึงควรใช้เพียงปริมาณเล็กน้อย ในกรณีที่ไม่สามารถหาซื้อสารจับใบ ใส่ "ผงซักฟอกหรือสบู่" ลงไป ก็ให้ผลเช่นเดียวกันค่ะ
สำหรับน้ำที่ผสม ควรเป็นน้ำที่มี พีเอช. เป็นกลางๆ อาจเป็นน้ำธรรมชาติ หรือน้ำประปา แต่น้ำประปา อาจมีคลอรีนมาก การใช้น้ำผสม ควรฉีดพ่นเป็นเวลาเช้า หรือเย็นที่แดดอ่อนๆ ค่ะ ป้องกันใบไหม้
โดย: รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 17/11/2009 9:57 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เมื่อคืนก็เพิ่งทำสารจับใบใช้เองค่ะ ซื้อส่วนผสมมาจาก ธ.ก.ส. ราคา 80 บาท ทั้งชุดมี N 70 (ปริมาณ 1 ก.ก) และเกลือ
อีก 1 ก.ก ผสมกับน้ำทั้งหมด 14 ลิตร
ทำเองก็ได้ ง่ายจัง
ปุ้มระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 17/11/2009 1:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พืชกินอาหารทางใบเป็นหน่วย PPM หรือ Part Per Million หากไม่ได้ใช้สารจับใบ พืชก็คงสามารถกินอาหารจากใบได้อยู่แล้ว ขนาดกล้วยและสัปปะรดที่มีนวลใบมาก ยังสามารถดูดกินได้เลย
สาเหตุที่มีการใช้สารจับใบกันอย่างแพร่หลายคงเป็นเพราะเสียดายเงินค่าปุ๋ย/ฮอร์โมนที่ซื้อมาราคาแพง แต่กลุ่มเราสามารถทำปุ๋ย/ฮอร์โมนได้เอง คงไม่ต้องเสียดายมากนัก ถึงใบจะกินไม่หมด มันก็ตกลงพื้นสู่ดินให้รากกินต่อ
เพราะฉะนั้นหากหากแลกกับการอ่อนแอต่อโรคของพืชก็คงไม่น่าใช้เท่าไร _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 17/11/2009 2:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารจับใบ กับ นวลใบพืช :
หลักการและเหตุผล.....นวลใบพืชเปรียบเสมือนหนังกำพร้าของคน.....หนังกำพร้าของคนทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคเข้าที่จะผ่านเข้าไปถึงหนังแท้แล้วเข้าสู่ร่างกายต่อไป สังเกตุคนที่ร่างกายเป็นแผลไฟไหม้ เมื่อหนังกำพร้าถูกทำลาย......อุปมาอุปมัย หนังกำพร้าของคนช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ฉันใด นวลใบพืชก็สามารถช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่สรีระของพืชได้ ฉันนั้นแล.... ฉนี้แล้ว จะยังจำเป็นต้องใช้สารจับใบกับพืชต่อไปอีกหรือไม่
ก่อนตกลงใจใช้สารจับใบ ทั้งชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาด หรือทำเอง (สูตรทึ่คุณปุ้ม.) หรือใช้น้ำยาล้างจาน. หรือใช้น้ำสบู่. ให้วิเคราะห์ความจำเป็นต้องใช้ ดังนี้
1. ฉีดพ่นน้ำเปล่า หรือน้ำ + สารอาหาร หรือน้ำ + สารสมุนไพร หรือ ฯลฯ ไปที่ใบพืชเป้าหมายแล้วสังเกตุอาการแผ่กระจายของน้ำที่ฉีดพ่นออกไป ถ้าน้ำนั้นแผ่กระจายดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารจับใบใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าน้ำนั้นแผ่กระจายไม่ดี (ช้า - ไม่ทั่วถึง) ก็ให้วิเคราะห์สาเหตุก่อน ค้นพบสาเหตุแล้วหาทางแก้ไข จนกระทั่งแน่ใจว่าไม่สามารถแก้ไขได้แน่แล้ว จึงตัดสินใจใช้สารจับใบ
2. พืชที่นวลใบหนา - หนามากๆ ได้แก่ บัว. กล้วย. ดอกรัก. ..... สังเกตุดีๆ พืชที่ตัวเองปลูกมีนวลใบมาก/น้อย หรือไม่ และจำเป็นต้องใช้หรือไม่
3. เลือกใช้สารจับใบที่ราคาถูกที่สุด
4. สารจับใบ DIRECTSELL สนนราคาแกลลอน (5 ล.) ละ 3,500 ตกราคาลิตรละ 700 .....คนขายเป็นถึง ศ.ดร. มือขายระดับแหวนเพชร ได้โบนัสไปเที่ยวต่างประเทศฟรีทุกปี.....เป็นอาจารย์สอนใน ม.เกษตร ลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ...... นี่
แหละ "คุณวุฒิสูง คุณธรรมต่ำ......คนขายรวย คนซื้อตาย มีแต่ตายกับตาย......
อันที่จริง DIRECTSELL บริษัทข้ามชาติบริษัทนี้ ยังมีสินค้าเพื่อการเกษตรประเภท ปุ๋ย - ฮอร์โมน ดีๆจำหน่าย ซึ่งนอกจากจะเป็นสินค้าเพื่อการเกษตรที่เกษตรกรไม่สามารถทำเองได้แต่จำเป็นต้องใช้แล้ว ยังเป็นประโยชน์และช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณต่อพืชอีกด้วย......
ทำไม คนระดับ ศ.ดร. ซึ่งเป็นถึงครูบาอาจารย์ จึงไม่มีแนวคิดส่งเสริมให้เกษตรกรทำเองแทนการซื้อ โดยบอกสูตรไปเลย แล้วขายเฉพาะผลิตภัณท์ที่เกษตรกรไม่สารมารถทำเองได้แทน...... หรือขายสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง แล้วไม่ได้กำไร ......
สารจับใบบริษัท DIRECTSELL จำหน่าย แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านจัดสรร ย่านบางแค คนปรุงซี้ปึ้กกันดีกับลุงคิม
สินค้า DIRECTSELL คนขายฉลาด คนซื้อโง่
ฉลาด คู่ เฉลียว นะจะบอกให้....
ลุงคิมครับผม
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/08/2019 11:11 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
goodwind สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009 ตอบ: 29
|
ตอบ: 17/11/2009 5:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
55+ ขอขำก่อนนะค่ะ
ตอนแรกก็งง อะไร
หนาวดึ่ง
สาวดี่
สาวดาม
...
ลองผวนดู อ๋อ หนาวดึ่ง -- >หนึ่งดาว
สาวดี่ --> สี่ดาว
ต้องขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ กับสารจับใบนะค่ะ เพิ่งได้ยินเหมือนกัน
เราจะได้ หนาว หรือ สาว หนอ หรือ อะไรอ่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 17/11/2009 5:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงคิมก็เพิ่งเห็นนี่แหละ
นี่ไงเขาว่า.....เห็นแต่ไม่สังเกตุ
ถ้าเป็นงูละก็ ถูกกัดตายไปแล้ว
IDEA ของ WEBMASTER เขาละ.....สงสัยว่างมาก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
hang สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 11/11/2009 ตอบ: 25
|
ตอบ: 17/11/2009 11:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอขอบคุณ ท่านผู้รู้ทุกท่านที่ตอบกระทู้นี้เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับเกษตรกรที่เข้ามาชมกระทู้นี้ได้มีความรู้กันทั่วหน้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของผมเองครับที่อยากให้ใครอีกหลายๆคนรู้เรื่องสารจับใบว่ามีคุณหรือโทษและ ขอขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านอีกครั้งครับ "ขอบคุณคราบ........."
ป.ล.แล้ววันหลังจะหลอกใช้อีกนะจ๊ะรักทุกคนคราบ.......(รักโดยไม่ต้องถามชื้อ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|