-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกถั่วฝักยาวพันธ์เนื้อ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกถั่วฝักยาวพันธ์เนื้อ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 13/04/2013 7:36 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกถั่วฝักยาวพันธ์เนื้อ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ


ขอรบกวนปรึกษาครับ
ผมจะปลูกถั่วฝักยาวพันธ์เนื้อ โดยใช้วิธีแบบไร่กล้อมแกล้ม ไม่ทราบว่าผมจะต้องทำอย่างไรบ้างครับ ปลูกขายครับ

อยากทราบวิธีตั้งแต่ ต้นจนเก็บเกียวเลยครับ

ขอบคุณครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 14/04/2013 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถั่วฝักยาวไร่กล้อมแกล้ม "ไม่เหมือนใคร ใครไม่เหมือน"



พันธุ์ :
- ถั่วฝักยาว "พันธุ์ถั่วเนื้อ" เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ฝักยาวมากสุด 30-40 ซม. ถ้าบำรุงแบบ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม-สารเคมียาฆ่าแมลง ขนาดฝักจะ เล็ก-สั้น-คดงอ-หางหนูยาว แต่ถ้าบำรุงแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-สารสมุนไพร ขนาดฝักจะ ใหญ่-ตรง-หางหนูสั้น เนื้อมาก และรสชาดดีกว่า กินสดๆจะออกรสหวานชัดเจน

- ถั่วฝักยาว "พันธุ์ถั่วหลา" เป็นพันธุ์ลูกผสมใหม่ ฝักยาว 80 ซม.- 1 ม.กว่า นิยมบำรุงแบบ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม-สารเคมียาฆ่าแมลง แม้จะได้รูปทรงฝักตามสายพันธุ์ แต่เนื้อน้อย รสชาดอร่อยน้อยกว่าพันธุ์เนื้อ

- ระหว่างถั่วพันธุ์เนื้อไร่กล้อมแกล้ม (บำรุงสไตล์ไร่กล้อมแกล้ม) กับ ถั่วพันธุ์เนื้อบ้านข้างๆ อยู่ติดกัน (บำรุงตามประเพณี) .... แปลงของไร่กล้อมแกล้มเก็บได้นานกว่าแปลงบ้านข้างๆ นานนับเดือน .... สมช.ทุกคนที่ไปไร่กล้อมแกล้มเด็ดกินสดๆจากต้น ติดอกติดใจตามๆกัน จนต้องเก็บห่อใบตองเป็นของฝากให้เอากลับไปผัดไข่กินกับน้ำพริกนรก (พันท้ายนรสิงห์) อร่อย....



เตรียมดิน เตรียมแปลง :
เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อนดินต้องมาก่อนดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ดินดีคือดินที่มีอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์.... ใส่ ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ เศษซากวัชพืชในแปลง คลุกเคล้าให้กันดีกับเนื้อดิน ยกแปลงเป็นสันลูกฟูก กว้าง 1 ม. ยาวตลอดแปลง คลุมสันแปลงด้วยเศษหญ้าแห้งหนาๆ แล้วรดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ปล่อยทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวฃลาแก่จุลินทรีย์ กระทั่งมีวัชพืชขึ้นเริ่มงอกขึ้นมาแล้ว แสดงว่าโครงสร้างดิน (สารอาหาร จุลินทรีย์ พีเอช น้ำอากาศ) พร้อมปลูกได้แล้ว จัดการถอนวัชพืชออกให้หมด


เตรียมเมล็ด :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน "น้ำ 1 ล.+ ไบโออิ (เอาสังกะสี) 1 ซีซี. + ยูเรก้า (เอาไคโตซาน) 1 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน (เอาโบรอน) 1 ซีซี." นาน 3-4 ชม. นำไปหยอดในหลุมปลูกจริงได้เลย หลุมละ 2 เมล็ด....เปอร์เซ็นต์งอก 100%




เตรียมค้าง :
เหนือแปลงตรงดิ่งตั้งฉาก ใช้สลิงเล็กๆ (ของฟรี) ขึงเป็นราวตากผ้า สูงจากพื้นราว 2 ม. มีเสาไม้หลักปักรับทุกระยะ 3-4 ม. ป้องกันตกท้องช้าง สลิงตัวนี้นอกจากสำหรับรับน้ำหนักท่อ พีอี.สปริงเกอร์แล้ว ยังใช้ทำค้างกระยาจก...(ค้างถั่วฝักยาวไร่กล้อมแกล้ม ต้นทุนไร่ละ 35 บาท ที่ไหนๆเขาใช้ไม้รวกใช้งานได้ 1 ปี ต้นทุนไร่ละ 3,500 บาท ถ้าใช้ไม้รวกใช้งานได้ข้ามปี ต้นทุนไร่ละ 5,000).... ได้อีกด้วย โดยใช้เชือกปอพลาสติก 1 เส้นฉีกแบ่งเป็น 4 เส้น ปลายหนึ่งผูกที่สลิงราวตากผ้า อีกปลายหนึ่งผูกปลายไม้แทงลงดินที่โคนต้นถั่ว เนื่องจากต้นถั่วฝักยาวไม่มีมือจับ เมื่อต้นถั่วยาวสูงขึ้น ขั้นแรกให้คนช่วยจับเถาเกาะกับเชือกปอพลาสติกก่อน จับเกาะครั้งเดียวแล้วเถาจะพันเกาะเชือกปอพลาสติกขึ้นไปจนถึงสลิงราวตากผ้าเอง เมื่อจับสลิงได้แล้วเถาถั่วฝักยาวจะช่วยตัวเองตลอดอายุขัย

สังเกตุ : ต้นถั่วฝักยาวสูงราว 1 ศอกแขน เริ่มขึ้นค้าง ถ้าสูงขึ้นอีก 1-2 ศอกแขนก็จะเริ่มให้ผลผลิต แต่สภาพ ณ วันนี้กำลัง "บ้าใบ" งานนี้ต้องแก้ไข....



บำรุง :
ระยะต้นเล็ก ถึง เริ่มออกดอกติดผล ไม่ต้องให้ปุ๋ยใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางรากหรือทางใบ เพราะต้นถั่วฝักยาวได้รับสารอาหารจากดินที่เตรียมไว้เมื่อช่วงเตรียมดินเตรียมแปลงอย่างเพียงพอแล้ว สิ่งบอกเหตุ คือ "บ้าใบ" แสดงว่า N มากเกิน วิธีแก้ไข คือ ให้ "น้ำ 20 ล. + ไทเป 10 ซีซี.+ 13-0-46 (1 ชต.) + สารสมุนไพร 50 ซีซี." 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังให้ครั้งสุดท้าย 5-7 วัน ดอกชุดแรกก็เริ่มแทงออกมาให้ห็น....ระยะต้นเล็ก ตั้งแต่โชว์ใบได้ 2-4 คู่ ต้องฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพราะถั่วฝักยาวมีศัตรูพืชหลายชนิดมาก

ระยะให้ผลผลิตแล้ว.... ให้ "น้ำ 20 ซีซี. + ไบโออิ 5 ซีซี. + ไทเป 5 ซีซี.+ ยูเรก้า 5 ซีซี. + สมุนไพร 50 ซีซี." 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ทุก 5-7 วัน


ศัตรูพืช :
ถั่วฝักยาวเป็นผักสวนครัวที่มีศัตรูพืชมากที่สุด ในบรรดาผักสวนครัวด้วยกัน

เพลี้ยอ่อน...........ใช้น้ำส้มสายชู + เหล้าขาว
เพลี้ยไฟ.............ใช้น้ำเปล่า ฉีดพ่นตอนเที่ยง แดดจัด
เพลี้ยแป้ง............ใช้สมุนไพรสูตรรวมมิตร + น้ำยาล้างจาน (สารจับใบ)
หนอนเจาะ ฯ........ใช้ กลอย/สะเดา/น้อยหน่า/ฟ้าทะลายโจร/บอระเพ็ด/น้อยหน่า
รา....................ใช้พริกแกง

ฉีดบ่อยๆ วันเว้นวัน วันต่อวัน ถึงจะเอาอยู่ งานแบบนี้ต้องเครื่องใช้ทุ่นแรงเท่านั้น ขืนมัวแต่สพายถัง ลากสายยางเดินฉีดพ่นจะเอาไม่อยู่เพราะทำไม่ทัน





สปริงเกอร์ :
ท่อ พีอี. ขนาด 1 นิ้ว ราคาเมตรละ 3 บาท (ตลาดบ้านโป่ง) ใช้หัวสปริงเกอร์แบบพ่นฝอยละเอียด ฝังลงไปในท่อ พีอี. ทุกระยะ 1-1.20 ม. ราคาหัวละ 50 สตางค์ .... หลายคนที่มาเห็นบอกว่า หัวแบบนี้ตันง่าย ใช้งาน 3-5-7 วันก็ตันแล้ว แต่ที่ไร่กล้อมแกล้มใช้งานมาจนถึงวันนี้ 4-5 ปี ไม่เคยตันเพราะเป็นระบบล้างตัวเองได้ ที่นี่ใช้กลองเพล เอามาจากวัด ไม่ใช่กรองอิสราเอล กรองไต้หวัน ใดๆทั้งสิ้น.... ไม่ได้โม้


หมายเหตุ :
- อากาศหนาว ดอกออกมาแล้วผสมไม่ติด แก้ไขโดยปรับสูตรปุ๋ยเป็นให้ "น้ำ 20 ล. + สหประชาชาติ + เอ็นเอเอ 10 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี." ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ..... ได้ผล ดอกพรึ่บ ฝักเพี่ยบ

- ธรรมชาติของถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ ฝักคด หางหนูยาว แก้ไขด้วยการให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม แคลเซียม โบรอน" สม่ำเสมอ .... ได้ผล ฝักตรง ไม่มีหางหนู เนื้อแน่น น้ำหนักดี รสชาดดี



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/04/2013 8:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 14/04/2013 5:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง






ถั่วฝักยาว ไร้ค้าง คือถั่วฝักยาวชนิดหนึ่งที่ ถูกปรับปรุงพันธุ์ การจนกระทั่ง ไม่จำเป็นต้องการ ใช้ค้างในการปลูก จุดประสงค์ที่สำคัญ ก็คือ ลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการ ทำค้างให้ถั่วฝักยาว และความสะดวก ในการปลูกถั่วชนิดนี้


ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ มข. 25 ได้รับการปรับปรุงขึ้นที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 โดยเกิดจากการผสมระหว่างถั่วพุ่มกับถั่วฝักยาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ มี ลำต้นตั้ง แข็งแรง ฝักยาว ไม่ต้องใช้ค้าง สามารถเจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย อากาศร้อน ต้องการแสงแดด ส่องตลอดทั้งวัน ถ้าปลูกในร่มหรืออากาศ เย็นในเดือนกรกฎาคม ลำต้นจะเลื้อยเล็กน้อย สามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่การเจริญเติบโต จะหยุดชะงักเมื่ออากาศเย็น ถั่วนี้สามารถทนอากาศร้อน และแห้งแล้งได้ ดีกว่าถั่วฝักยาวธรรมดา

การเตรียมดินปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง :
ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหารเช่น ฟอสฟอรัสและ โปแตสเซียม อยู่อย่างเพียงพอ มีระดับความเป็นกรด-ด่าง (พี.เอช) อยู่ระหว่าง 5-6.5 เตรียมดินเหมือนกับการปลูกพืชผักทั่วๆ ไป คือ มีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตายแล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย

ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ และใส่อีกครั้ง 10 กก./ไร่ เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ ถ้าดินเป็นกรดมากควรใส่ปูนขาวประมาณ 80 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน

การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง :
ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บฝักสด ใช้ระยะแถว 50 ซม. ระยะต้น 30 ซม. หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น (ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยก จะทำให้ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้นจะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด)

อัตราเมล็ดพันธุ์และความลึกในการหยอดถั่วฝักยาวไร้ค้าง :
- ถ้าปลูกระยะ 30 x 50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กก./ไร่
- ถ้าปลูกระยะ 20 x 50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3.5 กก./ไร่

ถ้าดินปลูกเป็นดินเหนียวควรปลูกตื้นกว่าดินทราย ถ้าดินมีความชื้นพอดีควรปลูกลึกประมาณ 2-3 ซม. ก็พอ ถ้าดินมีความชื้นต่ำ อาจปลูกลึก 3-5 ซม. จึงจะทำให้เมล็ดงอกได้ดี

การดูแลรักษาถั่วฝักยาวไร้ค้าง :
การให้น้ำ จะให้น้ำก่อนปลูก หรือหลังปลูกก็ได้ อย่าให้น้ำจนเปียกแฉะเพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า หรือรากเน่าได้ การให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ

แมลงที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบด่าง (ไวรัส) จะสังเกตได้ง่ายถ้าปรากฏว่ามีมดดำ หรือมดคันไฟ ไต่อยู่ในแปลงหรือตามต้นถั่วแสดงว่าเพลี้ยอ่อนจะเริ่มมา ให้รีบพ่นสารเคมีก่อนที่เพลี้ยอ่อนจะปรากฏ เพราะถ้าเพลี้ยอ่อนมาดูดน้ำเลี้ยงก็จะปลดปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายได้กับถั่วฝักยาว ทำให้ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ย :
ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อเตรียมดินปลูก อัตรา 20 กก./ไร่ และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ การใส่ครั้งที่ 2 ควรเปิดร่องห่างต้น 15-20 ซม. ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 40 กก./ไร่ โดยโรยลงไปในร่อง แล้วกลบ พร้อมกับการกลบโคนถั่วฝักยาวไร้ค้าง เพื่อป้องกันต้นล้ม

การกำจัดวัชพืช :
หลังปลูกให้ฉีดสารป้องกันวัชพืชแลสโซก่อนงอกจะป้องกันได้ 2-3 สัปดาห์ โดยใช้อัตรา 450 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร พ่นหลังปลูกในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังงอกให้ใช้การตายหญ้าด้วยจอบ ควรระวังอย่าให้จอบหรือเครื่องมือ ที่ใช้ถูกลำต้น เพราะจะทำให้ลำต้นเป็นแผลและเน่าตายในที่สุด

การเก็บเกี่ยว :
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง สามารถเก็บฝักสดครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 42-45 วัน หลังปลูกและจะเก็บได้เรื่อยๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจากเก็บฝักสดชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอกถั่วไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง เมื่อเก็บฝักหมดควรไถกลบ เพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีก

โรค-แมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วฝักยาวไร้ค้าง :
โรค ที่พบคือ โรคโคนเน่า และ ฝักเน่า การป้องกันใช้ เบนแลท อัตรา 6-8 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพร้อมสารฆ่าแมลง หรือใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูกก็ได้ อย่าให้แปลงมีน้ำหรือชุ่มมากเกิน

แมลง เพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนเจาะฝัก ทำความเสียหายอยู่เป็นระยะๆ ควรป้องกันตั้งแต่ถั่วอายุ 7-10 วัน ใช้อะไซดรินพ่นป้องกันเพลี้ยอ่อนและแมลงต่างๆ หลังจากนั้นควรฉีดพ่นทุกๆ 10-14 วัน ตามความจำเป็น เมื่อถั่วเริ่มออกดอกและพบว่ามีผีเสื้อตัวเล็กๆ ลายน้ำตาลมาบินอยู่ในแปลงควรฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หากจำเป็นต้องใช้ควรใช้สารประเภทถูกตัวตาย เช่น คาราเต้ แทน

การคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ :
เมื่อต้องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ควรเลือกจากต้นที่มีลำต้นทรงพุ่มเป็นฝักยาวเพื่อเอาเมล็ดทำพันธุ์ปลูกต่อไป การปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกในช่วงปลายสิงหาคม-กลางกันยายน จะได้เมล็ดพันธุ์ดีไม่เชื้อราเจือปน หรือช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีและผลผลิตสูงกว่าปลูกฤดูอื่น ๆ

เมื่อเก็บมาแล้วควรตากแดด 3-4 แดด ให้แห้งสนิท ระหว่างที่ตากจะมีมอดมาวางไข่ไว้ตามผิวของเมล็ด ไข่จะมีสีขาว คล้ายจุดเล็ก ๆ ซึ่งฟักตัวกลายเป็นหนอนภายใน 24 ชั่วโมง ตัวหนอนจะเจาะกินเข้าไปในเมล็ด ดังนั้น หลังจากตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกันแมลง แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด หรือถุงพลาสติกปิดปากให้แน่น แล้วเก็บในที่เย็นและมีอากาศแห้งต่อไป



ภาพประกอบจาก http://www.nanagarden.com/ถั่วฝักยาวไร้ค้าง-106199-4.html


http://www.vegetweb.com/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/04/2013 6:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 14/04/2013 5:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถั่วฝักยาวอวกาศ






เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวก็เป็นเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งที่ได้นำไปใส่ไว้ในยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกนอกเหนือบรรยากาศโลกเรา แล้วนำกลับลงมาปลูกทดสอบเพื่อทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ หลังจากที่ได้ปลูกคัดเลือกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งลักษณะทางพันธุกรรมนิ่งไม่แปรปรวนอีกต่อไปแล้ว จึงพัฒนาได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง มีเรียกชื่อว่า หังเจียง เบอร์ 2

พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ หังเจียง 2 นี้มีลักษณะประจำพันธุ์ดังนี้ ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อย เติบโตได้ดี ความสูง (ยาว) ของต้นประมาณ 3.2 เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเป็นรูปหัวใจ สีเขียว มีขนเล็กน้อย ออกดอกติดฝักพร้อมกันทั้งต้นและกิ่งแขนง สีดอกออกเป็นสีม่วงแดง ฝักดก ความยาวฝักเฉลี่ย 90 เซ็นติเมตร ฝักที่ยาวสุดร่วม 120 เซ็นติเมตร สีฝักออกเขียวสด เก็บได้นาน เมล็ดมีรูปร่างเป็นรูปไต ผิวสีดำมันวาว ทนโรค ฝักกรอบอร่อย ไม่เหนียว เยื่อใยน้อย ผลผลิตประมาณ 7,500 กิโลกรัมต่อไร่ นับว่าผลผลิตสูงเอาการอยู่



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=498085&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 14/04/2013 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมครับ ( สูตรไบโออิ ) สาหร่ายทะเลนี่ ใช้แบบไหนครับใช่ที่ ใส่ในแกงจืดหรือเปล่าวครับ

อยากให้ลุงคิมช่วยชี้ทางหน่อยครับว่าจะหาวัตถุดิบได้จากไหนเช่น

อาเซติค แอซิด
อะมิโนโปรตีน


ปลูกแล้วได้ผลอย่างไรผมจะถ่ายรููปมาลงให้ดูนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 14/04/2013 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พวกนี้เล่นเน็ต ทำไม "มืออ่อน" จัง (วะ)

ลุงคิมไม่เคยเรียนใดๆทั้งสิ้น แค่ลูกน้องบอกว่าทำยังงั้นทำยังงี้ เหมือนแสงสว่างปากถ้ำ เราก็พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ

อยากรู้เรื่องอะไร เปิดกูเกิ้ล พิมพ์คำว่า "สาหร่ายทะเล หรือ อะมิโนโปรตีน หรือ เรื่องอะไรก็ได้ที่อยากรู้ ลงไป แล้วกด "เอ็นเทอร์" เดี๋ยวเรื่องนั้นก็ออกมา จากนั้นเราก็ใช้วิจารณญานเลือกเอาเอง "เชื่อ/ไม่เชื่อ - ซื้อ/ไม่ซื้อ" ก็ว่าไป

สคบ.สอนว่า ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ลุงคิมแถมให้ ฉลาดใช้ ฉลาดคิด ฉลาดวางแผน ก็แค่นี้แหละ .... O.K. ?




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 15/04/2013 1:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

สมาชิกเว็ปลุงนี่แปลกครับ เมื่อเวลาเปิดตัวแล้ว มีน้อยคนที่จะบอกว่า เป็นคนจังหวัดไหน ไม่รู้กลัวคนไปทวงหนี้หรือยังไง ไม่กล้าบอก เพราะถึงจะบอก ก็ไม่รู้หรอกว่าอยู่ตรงไหน

อย่างผม แดง ศาลายา บอกว่าอยู่ ตำบลศาลายาต่อกับตำบลคลองโยง จังหวัด นครปฐม บอกด้วยอีกว่า อยู่ห่างจากศาลายาออกมา 10 กว่ากิโลเมตร... มีใครรู้บ้างว่า ผมอยู่ตรงไหน ขนาดยัยเฉิ่ม ขับรถผ่านทางเข้าบ้านผมหลายครั้ง (ขับผ่านบ้านลุงคิมด้วยเอ้า)...ยังไม่รู้เลยว่าผมกับลุงคิมอยู่ตรงไหน (จะเอาหนังสติ๊กยิงหัวซะหลายครั้งแล้ว)

แต่เมื่อผมถามปัญหาลุงคิม บอกข้อมูลมาว่าผมอยู่ตรงบริเวณนี้นะ ลุงบอกผมได้เลยว่า ...ค่า Ph. ของดินตรงนี้เป็นหยั่งงี้โว๊ย ต้องปรับปรุงอย่างนี้ หนักปุ๋ยตัวนี้ ลดปุ๋ยตัวนั้น ทำให้ผมได้ข้อมูล และข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

การบอกภูุมิลำเนาว่าอยู่ที่ไหน มันจะมีประโยชน์กับตัวสมาชิกเอง เพราะอย่างน้อย เวลาถามปัญหา ถ้ารู้พื้นที่ว่าอยู่ที่ไหน ก็จะให้คำแนะนำได้ง่ายขึ้น ลุงคิมว่ามั๊ย

อย่างคุณ suwinai ถามปัญหาเรื่องถัวฝักยาว แถมจะปลูกขายซะอีกด้วย แต่ไม่ได้บอกภูมิลำเนาว่าอยู่บริเวณไหนของประเทศไทย การตอบปัญหาลุงก็ต้องตอบกันแบบ เดาสุ่ม หรือแบบ กำปั้นทุบดิน โดยยกตัวอย่างการปลูกถั่วจากไร่กล้อมแกล้ม ..ก็ดินบ้านคุณ ดินบ้านผม มันเหมือนกันซะที่ไหน ...ถ้าใครเอาสูตรของไร่กล้อมแกล้มตามที่ลุงบอกไปปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ รับรองว่า จะร้องไห้ยิ่งกว่ากุลา...และถั่วฝักยาวจะกลายเป็นถั่วฝักสั้นแค่ไม่ถึงคืบ ....สุดท้ายก็บอกว่า ลุงคิมพูดยวน ลุงคิมด่า

ผมละชอบนักที่จะให้ลุงคิมด่า เพราะจากการที่โดนด่า ผมจะได้นอกเหนือจากสิ่งที่ผมอยากจะได้ ทำให้ผมรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ มากมายมหาศาล....ครูบาอาจารย์ด่า ได้วิชากลัวทำไม

ทีนี้ก็มาถึงเรื่องสาหร่าย (ทะเล) ที่คุณ suwinai ถาม ลองศึกษาจากกระทู้ 3049 ที่ยกมาให้ศึกษาใกล้มือ (คลิก) แล้ว ...ถ้ายังไม่สะใจ ลองศึกาาจากข้อมูลนี้ดู มีComments ไว้ให้แล้ว

Faber & Faber, 1968

________________________________________
Chapter 7
Seaweed and Plant Growth

Buy the book at Amazon.com

1.Seaweed contains all major and minor plant nutrients, and all trace elements; alginic acid; vitamins; auxins; at least two gibberellins; and antibiotics.

2.Of the seaweed contents listed after nutrients and trace elements, the first, alginic acid, is a soil conditioner; the remainder, if the word may be forgiven in this context, are plant conditioners. All are found in fresh seaweed, dried seaweed meal and liquid seaweed extract -- with the one exception of vitamins: these, while present in both fresh seaweed and dried seaweed meal, are absent from the extract.

3.We will deal first with alginic acid as a soil conditioner. It is a matter of common experience that seaweed, and seaweed products, improve the water-holding characteristics of soil and help the formation of crumb structure. They do this because the alginic acid in the seaweed combines with metallic radicals in the soil to form a polymer with greatly increased molecular weight, of the type known as cross-linked. One might describe the process more simply, if less accurately, by saying that the salts formed by alginic acid with soil metals swell when wet and retain moisture tenaciously, so helping the soil to form a crumb structure.

4.These brief notes cover two examples: one of the way in which seaweed helps to produce a crumb structure in the soil, another of the way in which it helps soil to retain moisture.

5.We have a market gardener customer at Sittingbourne in Kent who tells us that before he used seaweed meal, heavy rain used to run down his sloping plots and carry all his seedlings and fertilizers into the ditch. Since his introduction of seaweed, the structure of his silty, sandy soil has so improved that soil, seedlings and nutrients are no longer of being washed away, even in the heaviest rain.

6.As to water-retaining characteristics, Miss Constance MacFarlane of the Nova Scotia Research Foundation told members of the Fourth Seaweed Symposium at Biarritz, in 1961: 'In the spring of 1956 I was greatly impressed with fields in the island of Jersey. This was not in any way a scientific experiment, but the results were most obvious. The year 1955 had been exceedingly dry. The only fields suitable for a second crop of hay were those which had been fertilized with seaweed. All the others had dried out, and had to be ploughed up for other crops.'

7.Research confirms this observation: two workers at the Agricultural Research Council's unit of soil metabolism (now disbanded) reported in 1947 that 0.1 of a gram of sodium alginate added to 100 grams of soil increased its water-holding power by 11 per cent. This is the first way in which seaweed and seaweed products condition the soil: by increasing its water-holding capacity, and encouraging its crumb structure. This in turn leads to better aeration and capillary action, and these stimulate the root systems of plants to further growth, and so stimulate the soil bacteria to greater activity.

8.As far as soil-conditioning is concerned -- and that is all we are to consider for the moment -- bacterial activity in the presence of seaweed has two results: first the secretion of substances which further help to condition the soil; and second, an effect on the nitrogen content of the soil. We will deal with these in turn.

9.The substances secreted by soil bacteria in the presence of seaweed include organic chemicals known as polyuronides. Polyuronides are chemically similar to the soil conditioner alginic acid, whose direct effect on the soil we have already noticed, and themselves have soil-stabilizing properties. This means that to the soil-conditioning agent which the soil derives from undecomposed seaweed -- alginic acid -- other conditioning agents are later added: the polyuronides, which result from the decomposition of seaweed.

10.The second effect of adding seaweed, or seaweed meal, to a soil well populated with bacteria, has already been mentioned briefly. It is a more complex matter, and requires consideration in some detail. Basically, the addition of seaweed leads to a temporary diminution of nitrogen available for crops, then a considerable augmentation of the nitrogen total.

11.When seaweed, or indeed any undecomposed organic matter, is put into the soil, it is attacked by bacteria which break the material down into simpler units -- in a word, decompose it. To do this effectively the bacteria need nitrogen, and this they take from the first available source, the soil. This means that after seaweed has been added to the soil, there is a period during which the amount of soil nitrogen available to plants is reduced. During this period seed germination, and the feeding and growth of plants, can be inhibited to greater or lesser degree. This temporary nitrogen deficiency is brought about when any undecomposed vegetable matter is added to the soil. In the case of straw, for example, which is ploughed in after harvest, bacteria use up soil nitrogen in breaking down its cellulose, so that a 'latent' period follows. Farmers burn stubble after harvest to avoid this latent period, and the short-term loss of available nitrogen which causes it. But such stubble-burning is done at the cost of soil structure, soil fertility, and long-term supplies of nitrogen which ultimately would have been released from the decomposed straw.

12.It has been said by one authority that the latent period following the application of seaweed to the soil is one of fifteen weeks. But during this period, while there is a temporary shortage of available nitrogen, total nitrogen in the soil is being increased. This increase makes itself felt after the seaweed is completely broken down. Total nitrogen then becomes available to the plant, and there is a corresponding upsurge in plant growth.

13.It is therefore clear that while seaweed, in common with all organic matter, is beneficial to soil and plant, it has to be broken down, or decomposed, before its benefits are available. (I have already pointed out, but repeat it here, that liquid seaweed extract is not subject to this latent period. The nutrients and other substances it contains are available to the plant at once.)

14.This period of decomposition -- or composting, as gardeners know it -- usually extends over months. It can, however, be reduced by the use of dried blood and loam according to the technique invented by Mr. L. C. Chilcott, Brent Parks Manager. Only fourteen days of heating up are required before the mixture is used, and no latent period follows. This technique is described in detail on page 182.

15.So much for the soil conditioning effects of seaweed. Now a word about what I have called its plant-conditioning contents, beginning with vitamins.

16.Brown seaweeds, which are the ones used in agriculture and horticulture, not only contain vitamins common to land plants, but also vitamins which may owe their origin to bacteria which attach themselves to sea plants, in particular vitamin B12. There is still some doubt about this -- B12 may be contained in the seaweed, although in some cases it is in associated bacteria. Vitamins known to be present in the brown seaweeds include vitamin C (ascorbic acid), which appears in as high a proportion as in lucerne. Vitamin A is not present, but its precursor, beta-carotene, is, as well as fucoxanthin, which may also be the precursor of Vitamin A. B group vitamins present are B1 (thiamine), B2 (riboflavin), B12, as well as pantothenic acid, folic acid and folinic acid. Also found in brown seaweeds are vitamin E (tocopherol), vitamin K, and other growth-promoting substances. The unusual nature of the vitamin E in seaweed should be stressed. It has valuable characteristics (put technically, a complete set of isomers) found only in such seed oils as wheat germ oil.

17.Auxins in seaweed include indolyl-acetic acid, discovered in seaweed in 1933 for the first time. Two new auxins, as yet unidentified, but unlike any of the known indolyl-acetic acid types, were also discovered in 1958 in the Laminaria and Ascophyllum seaweeds used for processing into dried seaweed meal and liquid extract. These auxins have been found to encourage the growth of more cells -- in which they differ from more familiar types of auxin which simply enlarge the cells without increasing their number. One of the auxins also stimulates growth in both stems and roots of plants, and in this differs from indolyl-acetic acid and its derivatives, which cause cells to elongate but not to divide. The balanced action of this seaweed auxin has not been found in any other auxin.

18.It has been proved at the Marine Laboratory at Aberdeen that indolyl-acetic acid and the other newly discovered seaweed auxins are extracted in increased quantities by the process of alkaline hydrolysis. We believe that much of the value of our hydrolized seaweed extract is due to this auxin content; but since the amount of auxin in the extract is scarcely enough to promote the increased growth which follows its use as a foliar spray, we think plants so treated are themselves stimulated to produce more vitamins and growth hormones than would otherwise be the case.

19.At least two gibberellins (hormones which simply encourage growth, and have not, like auxins, growth-controlling properties too) have been identified in seaweed. They behave like those gibberellins which research workers have numbered A3 and A7 -- although they may in fact be vitamins A1 and A4.

20.We now come to trace elements, some of the most important and most complex of all seaweed constituents. Two things must be said at once. The first is, that the more one studies the effect of trace elements on plants and animals, the more difficult and involved the subject becomes. Even those who devote their whole working life to the subject are far from having a complete grasp of it. The second point to make here is that while one can hope, at first, to treat trace elements separately for plants and animals, there comes a time when the two become hopelessly mixed. I shall try, in this chapter, to deal with the effect of trace elements on plants only; but some mention of their effect on animals will be inevitable, if only because animals eat plants and the trace elements they contain.

21.We have seen that seaweed contains all known trace elements. This is important. But it is also important that these elements are present in a form acceptable to plants. We have seen that trace elements can be made available to plants by chelating -- that is, by combining the mineral atom with organic molecules. This overcomes the difficulty that many trace elements, and iron in particular, cannot be absorbed by plants and animals in their commonest forms. This is because they are thrown out of solution by the calcium carbonate in limy soils, so that fruit trees growing in these soils can suffer from a form of iron deficiency known as chlorosis. It is for this reason that plants such as rhododendrons and azaleas, which are particularly sensitive to iron deficiency, can grow only in acid soils. In these soils, iron does not combine with other elements to form insoluble salts which the plant cannot absorb, and it is therefore more freely available.

22.It is true that an iron salt such as iron sulphate can be dissolved in water and the solution poured on the soil, injected into an animal, or put into its feed. But iron has such a tendency to become bound up with other elements that it is not available to plants or animals when introduced in this way. If, on the other hand, iron in the form of iron oxide is dissolved in an organic compound, there will be no fusion with other chemicals in the soil, and it will be available to the plants which need it. This is the technique of chelating which makes possible the absorption of iron by living matter.

23.Such chelating properties are possessed by the starches, sugars and carbohydrates in seaweed and seaweed products. As a result, these constituents are in natural combination with the iron, cobalt, copper, manganese, zinc and other trace elements found naturally in seaweed. That is why these trace elements in seaweed and seaweed products do not settle out, even in alkaline soils, but remain available to plants which need them.

24.Hydrolized seaweed extract also 'carries' trace elements in this way, in spite of the fact that the liquid is alkaline, having a pH of nine -- in the ordinary way so alkaline a solution would automatically precipitate trace elements. This precipitation does not take place in seaweed extract because the trace elements already form part of stronger, organic, associations.

25.With liquid extract, this ability to chelate can be taken a stage further than happens naturally with seaweed and seaweed meal. Chelation can also be used, artificially, to cause extract to carry more trace elements than are found in fresh seaweed, in seaweed meal, or in ordinary hydrolized extract.

26.We have ourselves exploited these chelating properties of liquid seaweed extract by manufacturing three special types, one containing added iron, one added magnesium, and one containing the three trace elements of iron, magnesium and manganese. We have also made experimental batches with copper and boron. Most metals could be chelated in this way.

27.It will be remembered that liquid seaweed extract differs from seaweed meal in that it can be used directly on the plant in the form of a spray. We know that the minerals in seaweed spray are absorbed through the skin of the leaf into the sap of the plant -- and not only minerals, but the other plant nutrients, auxins and so on, listed earlier. Experience further suggests that plants' needs for trace elements can be satisfied at lower concentrations if those elements are offered to the leaves in the form of a spray, rather than being offered through the soil to the roots.

28.It is also possible that seaweed sprays stimulate metabolic processes in the leaf and so help the plant to exploit leaf-locked nutrients -- for it is known that trace elements won from the soil, and delivered by the plant to the leaf tissue, can become immobilized there. And if, as has been suggested by E. I. Rabinowitch in a standard work on photosynthesis, a 'considerable proportion' of photosynthesis is carried out by bacteria at the leaf surface, spraying with seaweed extract at this point may feed and stimulate them, and thus increase the rate of photosynthesis.

29.We now come to the debatable matter of antibiotics in seaweed -- debatable, not because there is any doubt that seaweed contains therapeutic substances, but because the precise nature of those substances is unknown. We call them antibiotics for convenience.

30.It is known that plants treated with seaweed products develop a resistance to pests and diseases, not only to sap-seeking insects such as red spider mite and aphides, but also to scab, mildew and fungi. Such a possibility may seem novel, but it is in keeping with the results of research in related fields. The control of plant disease by compounds which reduce or nullify the effect of a pathogen after it has entered the plant is an accepted technique. It is in this way that streptomycin given as a foliar spray combats fireblight in apples and pears, and antimycin and malonic acid combat mosaic virus in tobacco. The subject of controlling plant disease by introducing substances into the plant itself is known as chemotherapy, and is dealt with in a useful round-up article in the Annual Review of Plant Physiology, 1959, by A. E. Dimond and James G. Horsfall of the Connecticut Agricultural Experiment Station, New Haven, United States.

31.As far as chemotherapy through seaweed is concerned, the annual report for 1963 of the Institute of Seaweed Research stated that trials in which soil-borne diseases of plants were reduced by adding seaweed products to the soil were the first recorded instance of the control of disease by organic manure. 'Hitherto', the report ran, 'the majority of agricultural scientists believed that the value of organic manures was restricted to their nitrogen-phosphorus-potassium content, with perhaps some additional value as soil conditioner. This new discovery challenges this over-simplified view of the value of organic manures, and has initiated a new appraisal of this very complex problem.'

32.The reason why seaweed and seaweed products should exert some form of biological control over a number of common plant diseases is unknown. Soil fungi and bacteria are known to produce natural antibiotics which hold down the population of plant pathogens, and when these antibiotics are produced in sufficient quantities they enter the plant and help it to resist disease. The production of such antibiotics is increased in soil high in organic matter, and it may be that seaweed still further encourages this process.

33.I am aware that the claims made here, and elsewhere in this book, for the control of diseases by seaweed products, are supported more by the practical experience of growers than by the result of trials at research institutions. We have reported such trials as have taken place, but they are few in number. I cannot accept that the testimony of hard-headed farmers and horticulturists is any less reliable than that of academic researchers. But the reader might think that my attitude has been coloured by my interest, and for this reason I would say a word or two about the evidence on which these statements are based.

34.I have said elsewhere in this book that the evidence of the disease-controlling qualities of seaweed came to us as a complete surprise. It was those who used seaweed extract as a foliar nutrient, or seaweed meal as fertilizer, who first discovered these characteristics, and described them to us. We make no other claims than these, only record what users say, and it would be a poor service to truth to censor this evidence of the value of seaweed because it has not been confirmed in all respects by trials at research stations. Where these trials have taken place they are later reported. Trials in this country [UK] have been few, for a variety of reasons which need not concern us. We might regret that state-supported stations noted for a high standard of scientific integrity are also conservative in outlook, and little disposed to test that which is unusual. It is not for us to criticize their choice of subjects for research, but our own information is so striking that we should wholeheartedly welcome testing of seaweed and seaweed products by those with complete facilities for doing so. The evidence we have collected would then be respectably 'scientific' -- and we do not doubt that the findings would corroborate our claims to the full.


Small Farms Library Index

ถ้ายังไม่สาแก่ใจ มีอีก จัดให้

How to Use Seaweed to Mulch Your Garden

Seaweed is among the best gifts nature makes available for the gardener.

By GREG SEAMAN, EARTHEASY.COM Posted SEP 18, 2010

Seaweed is among the best gifts nature makes available for the gardener. Seaweed will benefit your garden any time of year, but it is especially useful as a mulch to protect plants during hot, dry weather. In our garden, we’ve come to rely on seaweed as a valuable, yet free, source of fertilizer, mulch and organic pest control all in one natural material.



Benefits of seaweed for gardening
Gathering seaweed for the garden has always been a favorite outing for our family. We usually take a small skiff to a nearby beach and load up with as many sacks as we can safely transport home. It’s fun for children, as they can participate as well as an adult, or they can simply enjoy the beach while we gather the seaweed. As we fill up our sacks, our thoughts drift to the many benefits this will bring our garden.
• Saves water, keeps soil moist at ground level
The purpose of any mulch is to keep garden soil from drying out at the surface. And by preventing moisture from evaporating, mulch reduces the need for watering. The practice of mulching is essential in areas where conditions are hot and dry.
• Eliminates the need to weed
Mulch covers the soil and blocks new weeds from sprouting. Because the soil beneath the mulch remains moist, any weeds which do manage to sprout through the mulch are easy to pick.
• Repels slugs and other pests
Slugs are immediately repelled by two things – salt and sharp-edged materials. Seaweed has a natural salt content which repels slugs, and within a few days of application it dries and becomes quite crispy. Slugs do not like “crispy” surfaces, as the sharp salty edges cut into the soft body tissue. While some mulches may provide hiding spots for slugs, earwigs and other pests, seaweed mulch does not have this disadvantage.
• Enriches the soil
Seaweed is a broad spectrum fertilizer that is rich in beneficial trace minerals and hormones that stimulate plant growth. Seaweed is high in carbohydrates which are essential building blocks in growing plants, and low in cellulose so it breaks down readily. Seaweed shares no diseases with land plants.
• Boosts lethargic plants
Seaweed fertilizer contains an abundance of fully chelated (ready to use) micro-nutrients which can be readily absorbed by plants without any further chemical decomposition needed.
• Helps lighten the soil
Compacted soil can benefit as seaweed mulch breaks down. As the material becomes incorporated into the soil, aeration is improved and the soil becomes more crumbly and moist.
• Does not contain weed seeds, unlike bark mulch
Two years ago we used commercial bark mulch to cover our garden pathways for the purpose of blocking weeds. Today, these pathways are sprouting horsetail, an invasive weed which can be difficult to eradicate. Seaweed does not bring any foreign weed seeds into your garden.
• It’s free!
But what about salt? Is this a problem?
We have been using seaweed as mulch for many years and have not seen any adverse effect, such as a salt overload in the soil. In our region we have plentiful rain. If you are concerned about salt, seaweed can be spread out over the driveway and rinsed with a hose. Of course this is not an issue if you are using freshwater lake weed.



Gathering seaweed for use in the garden
• Gather ‘mid-beach’
Seaweed is often found scattered on the beach from the water’s edge to the highest point of recent high tides. The seaweed ‘mid-beach’ is drier than seaweed at the tide line and therefore lighter to carry. It also has fewer bugs than the seaweed high up on the beach, and is a little more pleasant to gather.
• Use fine, broken up seaweed
Look for patches of seaweed that are smaller in leaf size as this will be easier to apply as mulch. Set large kelp fronds aside – the wide pieces are difficult to form around plants in the garden beds. The kelp can be used to make ‘kelp tea’ and used as a foliar spray to deter insect pests.
• Use onion sacks or woven poly bags or buckets
We like onion sacks for gathering seaweed because they are lightweight, the water drains out easily, and they are easy to grip. They are also small enough that we don’t overload ourselves with heavy sacks. Woven poly bags are great if you can find them – ask at your whole foods store because these bags are used to ship whole grains. Don’t use plastic garbage bags as they are too difficult to handle. Your hands get slimy when picking seaweed and this transfers to the bag making it slippery.
• Limit your impact by picking lightly from several areas
Each patch of seaweed provides food and shelter for many small marine species. Pick no more than a third of the seaweed from any patch, and move on to another spot.
Applying seaweed to your garden beds
• Apply seaweed within 36 hours of gathering
Seaweed breaks down quickly, especially when in an enclosed sack. If you leave the seaweed in the sacks too long, it gets sludgy and slimy, and is more difficult to spread evenly over the soil.
• Apply thickly, at least 4 – 6” deep
Spread the seaweed thickly and evenly around the garden beds to cover any exposed soil. You may think you’re adding too much, but in a few days you will think otherwise



• In this picture you can see the bare spots showing how much the seaweed has shrunk after the first application. Only a few days earlier, the seaweed was 4 – 6” deep with no soil showing through.
• Reapply in one week, another 4 – 6” deep
Seaweed shrinks when it dries. Even a generous layer of seaweed will dry in a few hot days to expose much of the soil. The seaweed will become very stiff and crispy. Ideally, you should reapply in a week or so, and this second application will dry out but still provide good coverage for your soil. Once we make the second application, our beds are usually well-mulched for at least 4 – 6 weeks even in hot, dry weather.
• Leave a clear space around plant stems
Once you have spread the seaweed around the plants, push it back just a little from the plant stems so they are not in direct contact with the wet seaweed. Once it dries, the seaweed will naturally ‘shrink’ away from the stems, but it’s a good habit with any mulch to keep plant stems clear.
• It’s OK to mix seaweed with other mulch
We use whatever mulch we can get, and it doesn’t matter if you mix several varieties of mulch on a garden bed. For example, our tomatoes are mulched with dried grass clippings (straw) and topped with seaweed. In the fall we’ll add maple leaves. Mix and match, it matters not.
• Don’t use seaweed to cover garden pathways
Some people use seaweed as a pathway mulch but this is a waste of good seaweed, which is better used on the garden soil for the reasons listed above. If seaweed is used on pathways, it quickly thins out to allow weeds to get through. And the seaweed will become very slippery underfoot after a rain.
Other uses for seaweed in your garden
• Save kelp for making kelp tea
You can put kelp, or any seaweed, into a bucket or large glass jar and fill with water. Leave this in the sun, covered, for a few days and your ‘tea’ will be brewed. Use this as a foliar spray to deter insect pests, or apply directly to the soil around seedlings. Bear in mind that this concoction will smell bad, so be sure to store it downwind!
• Use seaweed for sheet composting
If you have a good supply of seaweed, it is ideal for composting directly on a garden bed which is being prepared for planting. In our garden, we use seaweed to suppress green manure which is grown in the bed as a fertilizer and soil conditioner. The problem with growing green manure directly in a raised garden bed is digging in the finished green manure prior to planting without putting stress on the sides of the bed. Our solution is to ‘smother’ the green manure with seaweed for several weeks. This breaks down the green manure, with minimal disturbance to the raised beds or the soil organisms.



• In this picture, the bed on the right has ‘green manure’ fully grown and ready to dig into the soil. The bed on the left was identical before we added seaweed to smother the green manure, speeding its breakdown and making it easier to incorporate into the soil.
• Use seaweed as a supplement for chicken feed
If you have chickens, seaweed has a hidden benefit. Simply drop the sack (it must be porous, like an onion sack or woven poly bag) on the ground in the chicken yard. The next day, roll the sack over with your foot. You will likely see a cloud of insects emerge, freshly hatched sand fleas and other little bugs. The chickens will feast on these bugs! You can repeat this for a few days, then put the seaweed, which will now be sludgy, into the compost.
• Put seaweed in the compost as well as in the garden beds
When gathering seaweed for the garden, save a couple bags for the compost. This will help build and condition your compost with trace nutrients. While the instinct is to use your precious seaweed directly on the garden beds, you will get equal value from the enriched compost in a few months. This picture shows seaweed being mixed into compost.



• I realize that seaweed is not available to gardeners living away from the coasts, and I was a little reluctant to even write this article. But each region of the country has different advantages and disadvantages for the gardener, and making the most of what is locally available is essential for those looking for sustainable solutions for gardening.








แปลเอาหน่อยครับ รับรองว่า เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ๆ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 15/04/2013 2:01 am    ชื่อกระทู้: จะทำ ไบโออิ - ฮอร์โมนน้ำดำใช้เอง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม .....คุณsuwinai

ทีนี้ ก็มาถึง..
จะทำ ไบโออิ - ฮอร์โมนน้ำดำใช้เอง เพื่อลดต้นทุน ว่างั้นนะ

ปุ๋ยน้ำดำ ไบโออิ บำรุงต้น …
สูตรที่ 1 - จากหน้าแรกของ Web
ส่วนประกอบ : จัดเรียงเพื่อความสวยงาม ดังนี้
1. แม็กเนเซียม.
2. สังกะสี.
3. ยูเรีย จี.
4. ธาตุรอง. ธาตุเสริม.
5. ไคโตซาน.
6. สาหร่ายทะเล.
7. แคลเซียม โบรอน.
8. อะมิโนโปรตีน.
9. กลูโคส.

สูตรที่ 2 – สูตรจากกองคาราวาน – แก้ใบเหลือง ต้นโทรม พืชธาตุขาดอาหาร
1. น้ำโพลาลิส
2. น้ำส้มสายชู
3. สาหร่ายทะเล
4. ฮิวมิคแอซิค
5. มัลติแชมป์ (ธาตะรอง ธาตุเสริม)
6. สังกะสี
7. แมกนีเซี่ยม
8. NAA
9. จิ๊บ
10. 46-0-0 ทางใบ
11. กลูโคสน้ำ

สูตรที่ 3 สูตรจาก ตำนานที่อาจารย์เขียน - ฮอร์โมนทางด่วน เร่งการเจริญเติบโต
1. น้ำ RO (Ph 7.0)
2. น้ำส้มสายชู
3. กลูโคสน้ำ
4. ยูเรีย 46-0-0 ทางใบ
5. ธาตุรอง ธาตุเสริม
6. แม็กนีเซี่ยม
7. สังกะสี
8. สาหร่ายทะเล
9. ฮิวมิคแอซิค
10. NAA
11. จิ๊บ

ทั้ง 3 สูตร คือสูตรที่จะทำฮอร์โมนน้ำดำ – ไบโออิ .. จะเห็นว่าลำดับของสารอาหารในแต่ละสูตร ไม่ได้เรียงเหมือนกันเลย ....

สำคัญที่สุด เวลาจะทำจะเอาอะไรผสมก่อน อะไรผสมทีหลัง

ถ้าผสมผิด จะเกิดสารแขวนลอย คือ ธาตุอาหารบางอย่างไม่ละลายรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ไม่ได้ต้องเททิ้ง ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่รู้เคล็ดวิชา จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ (กว่าจะได้ เททิ้งมาหลายรอบ)

ดังนั้น เนื่องจากเป็นสารเคมี เวลาจะผสมจึงจำเป็นต้องจัดเรียงลำดับใหม่ และจะต้องผสมสารอาหารลงไปตามลำดับ .... ผสมเรียงลำดับอย่างไร จะมาบอกกันซึ่ง ๆ หน้าแบบนี้ อายเค้าตาย ลุงคิมถึงย้ำนัก ย้ำหนาว่า ถ้าทำได้ (เอง) จะตามไปกราบ ...ต้องถามเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของสูตรครับ ...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 15/04/2013 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม สวัสดีคุณ DangSalaya

ผมชื่อเล่นว่านาย อายุ 25 ปี /ประสบการณ์ยังน้อยนักครับ/

ผมอยู่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ละติจูด 13° 41' 23.9994"
ลองติจูด 101° 1' 48"

ไม่ทราบว่าเคยมา จ.ฉะเชิงเทรา กันหรือเปล่าวครับ หากมาก็แวะมาไหว้หลวงพ่อโสธรได้ครับ

-ดินบ้านผมที่ปลูกถั่วฝักยาว เหนียวและแข็ง เวลารดน้ำน้ำซึมผ่านได้ยาก
-ผมจะพยายามค้นหาและอ่านให้มากๆครับ

ขอบคุณครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 15/04/2013 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

suwinai บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม สวัสดีคุณ DangSalaya

ผมชื่อเล่นว่านาย อายุ 25 ปี /ประสบการณ์ยังน้อยนักครับ/

ผมอยู่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ละติจูด 13° 41' 23.9994"
ลองติจูด 101° 1' 48"


เออ แบบนี้แหละ ชัด แจ่ม แจ๋ว ...ลุงคิม ทหารเก่า หาพิกัดเอาเอง ผมไม่มี GPS


ไม่ทราบว่าเคยมา จ.ฉะเชิงเทรา กันหรือเปล่าวครับ หากมาก็แวะมาไหว้หลวงพ่อโสธรได้ครับ

ผม เคยมาทำงานที่บางคล้า และ ไปมี กิ๊ก ที่เกาะขนุน พนมสารคาม แล้วก็ย้ายไปบ้านบึง เลยต่อไป ลำนารายณ์ แล้วก็ลืมย้อนกลับไปพนมสารคาม สุนัขคาบไป แด..ซะแล้ว....


-ดินบ้านผมที่ปลูกถั่วฝักยาว เหนียวและแข็ง เวลารดน้ำน้ำซึมผ่านได้ยาก

งานเข้าแล้วครับลุง คงต้องใช้น้องฟาง + ยิบซั่มกระดูกป่น + ระเบิด ระเบ้อ เข้าช่วยแล้วละ

-ผมจะพยายามค้นหาและอ่านให้มากๆครับ

ขอบคุณครับ


...นอกจากถั่วฝักยาวแล้ว ไม่คิดจะปลูกอย่างอื่นไอ้ที่ราคาดี ๆ มั่งเลยเหรอ ...ถั่วฝักยาว ฉีดยากันแย่เลย ไม่ได้ปลูกเอง ไม่กล้ากิน...

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 15/04/2013 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


...นอกจากถั่วฝักยาวแล้ว ไม่คิดจะปลูกอย่างอื่นไอ้ที่ราคาดี ๆ มั่งเลยเหรอ ...ถั่วฝักยาว ฉีดยากันแย่เลย ไม่ได้ปลูกเอง ไม่กล้ากิน...

.



ที่ไร่กล้อมแกล้มไม่เคยฉีดยา (สารเคมียาฆ่าแมลง) เลย แม้แต่ "ปื้ด" เดียว

ถาม : มีเพลี้ยไฟไหม ? ...................... ตอบ : มี ฉีดน้ำเปล่าตอนเที่ยง
ถาม : มีเพลี้ยอ่อนไหม ? ..................... ตอบ : มี ฉีดด้วย เหล้าขาว+ส้มส้มสาชู
ถาม : มีเพลี้ยแป้งไหม ? ..................... ตอบ : มี ฉีดด้วย เผ็ดจัด+น้ำยาล้างจาน
ถาม : มีหนอน (ทุกหนอน) ไหม ? .......... ตอบ : มี ฉีดด้วยฟ้าทะลายโจร น้อยหน่า สะเดา กลอย
ถาม : มีโรค (รา แบคทีเรีย) ไหม ? ......... ตอบ : มี ฉีดด้วยเผ็ดจัด ร้อนจัด

ถาม : ถ้ามี โรค-แมลง-หนอน ทำไง ? ..... ตอบ : ปล่อย โดนสมุนไพรเข้าไปแล้วเหมือนมันป่วย รอวันตายเอง


สมุนไพรทุกตัวมีอยู่ในไร่กล้อมแกล้ม
ฉีดบ่อยๆ เช้ารอบค่ำรอบค่ำรอบเช้ารอบ ใช้เวลา 1 นาที แรงงาน 1 คน ด้วยสปริงเกอร์
สู้กับ หนอน-แมลง-โรค ทางใบ ...... แบบกันก่อนแก้ ฉีดก่อนมันเกิด
สู้กับโรค ทางดิน ...................... แบบบำรุงดิน ระวังดินเป็นกรด

ถั่วฝักยาวแปลงนี้ปลูกซ้ำที่มาแล้วขึ้นปีที่ 4 หรือ 5 จำไม่ได้ ไม่ปรากฏอาการดินสะสมเชื้อโรค เก็บหมดปลูกต่อเก็บหมดปลูกต่อ

ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากหน่อไม้ และไข่เต่า (ว่ะ....)



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/04/2013 9:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 15/04/2013 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

suwinai บันทึก:


-ดินบ้านผมที่ปลูกถั่วฝักยาว เหนียวและแข็ง เวลารดน้ำน้ำซึมผ่านได้ยาก


.


เดินเหนียวเพราะไม่มีอินทรีย์วัตถุ เมื่อไม่มีก็ใส่ลงไป
ดินแข็งเพราะ ไม่มีอินทรีย์วัตถุ-ไม่มีจุลินทรีย์-ไม่มีน้ำ ลองมีครบ 3 อย่างซี่ มันจะกล้าเหนียวไหม ?

เตรียมดิน : ใส่แกลบดิบเยอะๆ (ใส่ครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิต) ขี้วัว ขี้ไก่ ยิบซั่ม กระดูป่น พอประมาณ บ่มดินด้วยระเบิดเถิดเทิง นาน 1-2 เดือน ระหว่างบ่มดินเอาหญ้าแห้งคลุมหน้าดินหนาๆ รักษาความชื้นหน้าดินสม่ำเสมอ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 16/04/2013 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ลุงคิม สวัสดีคุณ DangSalaya ครับ


รับทราบ พร้อมปฏิบัติครับลุงคิม ทหารเก่า

ผมเคยเป็นทหาร /ถูกเกณฑ์ไป ตอนจับสลากแจ่มจริงๆๆ จับคนสุดท้ายเหลือแต่ใบแดง แล้วจะหาใบดำได้ที่ไหน

เคยสังกัด นาวิกโยธินกองทัพเรือ ผลัด 3/51 หนึ่งปี

ฝึกหนัก พักน้อย ปล่อยช้า บ้าธง



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 16/04/2013 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:
suwinai บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม สวัสดีคุณ DangSalaya




...นอกจากถั่วฝักยาวแล้ว ไม่คิดจะปลูกอย่างอื่นไอ้ที่ราคาดี ๆ มั่งเลยเหรอ ...ถั่วฝักยาว ฉีดยากันแย่เลย ไม่ได้ปลูกเอง ไม่กล้ากิน...

.


ขอบคุณครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 18/04/2013 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ระวังอกหัก เรารักถั่วฝักยาว แต่ถั่วฝักยาวไม่รักเรา ลงถัวพูอีกอย่างเป็นไง บำรุงสูตรเดียวกัน

วันไหนถั่วฝักยาวไม่รักเรา เพราะราคาตก เราก็ยังมีถัวพูช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ แถมเป็นตัวเลือกให้กับคนรับซื้อด้วย


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 19/04/2013 6:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ระวังอกหัก เรารักถั่วฝักยาว แต่ถั่วฝักยาวไม่รักเรา ลงถัวพูอีกอย่างเป็นไง บำรุงสูตรเดียวกัน

วันไหนถั่วฝักยาวไม่รักเรา เพราะราคาตก เราก็ยังมีถัวพูช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ แถมเป็นตัวเลือกให้กับคนรับซื้อด้วย


.


ปุจฉา
นอกจากถั่วฝักยาวแล้ว ไม่คิดจะปลูกอย่างอื่นไอ้ที่ราคาดี ๆ มั่งเลยเหรอ

วิสัชชนา
วันไหนถั่วฝักยาวไม่รักเรา เพราะราคาตก เราก็ยังมีถัวพูช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ แถมเป็นตัวเลือกให้กับคนรับซื้อด้วย


ถั่วพู กินดีกว่าถั่วฝักยาว แต่แปลก คนปลูกกันน้อย ทั้ง ๆ ที่ปลูกถั่วพูหนเดียว เก็บกินได้เป็นสิบปี พอต้นมันแก่ ออกฝักน้อย ตัดทิ้ง ต้น ใบ ที่แห้งทำเป็นปุ๋ยได้ พอแตกต้นขึ้นมาใหม่ ก็จะดีเหมือนเดิม ....

ถั่วพู หั่นใส่ทอดมัน กินอร่อยกว่าใช้ถั่วฝักยาว
ถั่วพูยำ ทำได้หลายสูตร อร่อยอย่าบอกใคร

ถั่วพูดิบ กินดิบทั้งฝักก็ได้ หั่นฝอย กินกับขนมจีนน้ำพริก ว๊าว
ถั่วพูลวก จิ้มน้ำพริกกะปิ โอ๊ว

ถั่วพู ทนทานต่อโรคและแมลง แมลงและหนอน ไม่ค่อยรบกวน
ถั่วพู ปลูกเป็นแนว กั้นเป็นรั้วได้สบาย

ถั่วพู ปลูกขึ้นร้าน คลุมบังแดด (แบบที่ไร่กล้อมแกล้ม) แจ๋วมาก
ถั่วพู ใช้เป็นพืชบำรุงดินดีกว่าถั่วฝักยาว...เพราะถั่วฝักยาวต้องถูกฉีดพ่นสารเคมีมาก ไม่เหมาะที่จะเอามาเป็นปุ๋ย

ถั่วพู ทำเป็นผักส่งออกได้สบายมาก แต่ถั่วฝักยาว ชิดซ้ายไปเลย
หัวหรือรากถั่วพู เอามาเชื่อมกินอร่อยอีกด้วย

ถั่วฝักยาว คนปลูกเองไม่กล้ากิน
กินถั่วพูเวลาตดออกมา กลิ่นเหม็นน้อยกว่ากินถั่วฝักยาว ...ไม่เชื่อลองดูก็ได้นะ


เชื่อหรือไม่เชื่อตามใจ แล้วคอยดูต่อไป คงงงงง เห็นนนนนน !!!!!


....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 19/04/2013 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีลุงคิม สวัสดีคุณแดง

เยี่ยมครับ

ถั่วพูมีขึ้นอยู่ 5 ต้นข้างบ้านครับ แต่ไม่เคยคิดปลูกขาย

ต้องปลูกขายซะหน่อยแล้วละครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11677

ตอบตอบ: 19/04/2013 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำไมไม่ไปคุยกับ "แม่ค้า คนกลาง" แล้วจะรู้อะไรต่อมิอะไรเรื่องการค้าการขายอีกเยอะ

ปลูกขายตามใจแม่ค้า ปลูกกินตามใจแม่บ้าน....ไม่ใช่เหรอ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 20/04/2013 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ทำไมไม่ไปคุยกับ "แม่ค้า คนกลาง" แล้วจะรู้อะไรต่อมิอะไรเรื่องการค้าการขายอีกเยอะ

ปลูกขายตามใจแม่ค้า ปลูกกินตามใจแม่บ้าน....ไม่ใช่เหรอ




.




ขอบคุณมากครับ

อนิจจัง ...ก็เป็นด้วยประการละชะนี้


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©