ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 13/07/2013 8:19 am ชื่อกระทู้: ถามลุงคิม-คุณแดง..ปุ๋ยกล้วยไม้ |
|
|
เรียนสอบถามลุงคิม และคุณแดง
อ่านในเวปบอร์ดและติดตามฟังทางวิทยุมานาน ผมชอบปลูกกล้วยไม้ครับ ผมปลูกเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน มีเวลาก็ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม โดยแหล่งความรู้นั้นมาจากทางอินเตอร์เน็ต 99% ไปอ่านเจอบทความในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร เขาบอกว่ากล้วยไม้ส่วนใหญ่เป็นพืช CAM ปิดปากใบในเวลากลางวัน และจะเริ่มเปิดปากใบในเวลากลางคืน การเปิดปากใบจะกว้างมากที่สุดในขณะที่ในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 70% การเปิดปากใบก็เพื่อดูดจับก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ และจะมีการคายน้ำ (ผมคิดว่าเมื่อพืชมีการคายน้ำก็ต้องมีการดูดน้ำเข้าสู่ลำต้นและใบ)
ก็เลยอยากถามลุงคิมหรือคุณแดง ศาลายาครับว่า โดยปกติชาวสวนกล้วยไม้รดน้ำให้ปุ๋ยกันช่วงเวลาไหน ?
สำหรับผม ก่อนหน้าที่จะได้อ่านบทความนี้ผมรดน้ำช่วง 7 โมงเช้า ถึงก่อน 9 โมงเช้า หลังจากได้อ่านบทความก็เปลี่ยนเวลา ตื่นขึ้นมารดน้ำตอนตี 4 - ตี.5
ปุ๋ยก็ใช้อยู่สองตัว ไบโออิ กับ ไทเป เดี๋ยวจะไปซื้อ ยูเรก้า กับ สูตรระเบิดเถิดเทิง เพิ่ม ไบโออิ ใช้แล้วใบเขียวเข้มดี (ต้องปรับสภาพน้ำให้มีค่า pH ประมาณ 6-6.5) ผมเพิ่งลองใช้ได้เดือนเดียว ซื้อที่ตลาด อตก.
มีอีกคำถามครับ ปุ๋ยน้ำสูตรระเบิดเถิดเทิงนี่เวลาเอามาใช้จะต้องผสมกับปุ๋ยเคมี เช่น 16-21-27 หรือ 8-24-24 อีกไหมครับ เฉพาะกับกล้วยไม้ครับ
วันนี้รบกวนเท่านี้ก่อนครับ มีปัญหาอะไรจะเข้ามาหา ถ้าไม่มีก็ไม่มา (เหมือนคนไปวัดไหมครับ ? เวลาปกติสบายดีไม่เห็นสนใจวัด เวลามีเรื่องเดือดร้อนทุกข์ใจดันเห็นวัดเป็นที่พึ่ง)
ขอขอบคุณคุณลุงคิม และคุณแดง ศาลายา ด้วยครับ
ธนพล
.เร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 14/07/2013 11:43 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
การผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้ ตอนที่ 1
การผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้ :
ในการ ปลุกเลี้ยงกล้วยไม้ นอกจากมีโรงเรือนที่ดีแล้ว เกษตรกรยังต้องรู้จักกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับต้องรู้จักการ ใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการใช้ ผลผลิตดอกกล้วยไม้ที่มีคุณภาพที่ดี
ปุ๋ยยอดนิยม :
ชาวสวนไม้ผลมีปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ 3 สูตร คือ
15-15-15 สำหรับเร่งการเจริญเติบโตหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
8-24-24 การกระตุ้นการออกดอก
13-13-21 เพิ่มคุณภาพผลผลิต
ในสวนกล้วยไม้ก็เช่นเดียวกัน จากการสอบถามข้อมูลการใช้ปุ๋ยของชาวสวนกล้วยไม้ ไม่ว่าจะปลูกล้วยไม้สกุลไหนก็พบว่า ปุ๋ยที่นิยมใช้พ่นมีอยู่ 2 สูตรคือ
20-20-20 การเติบโตระยะแรก
10-52-17 ระยะการออกดอก
16-21-27 เพิ่มคุณภาพดอก
นอกจากเกษตรกรยังมีการเปลี่ยนแปลงสูตรปุ๋ยให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศด้วย โดยที่ใน ฤดูฝนเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยที่มีธาตในโตรเจนต่ำ และใช้ปุ๋ยที่มีโพรแทสเซียมสูงในช่วงที่อากาศเปลี่ยน และก็มีบ้างที่ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าในสวนที่ปลูกกล้วยไม้ในวัสดุปลูกต่างๆ ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้ที่อยู่ในปัจจุบันเป็นปุ๋ยเกล็ดที่ละลายน้ำได้ 100% ใช้พ่นทางใบและรากกล้วยไม้
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การใช้ปุ๋ยที่มียูเรียสูงทำให้กล้วยไม้เน่าตาย และการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตช้า
ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ย :
ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่พ่นให้แก่กล้วยไม้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1,000 ถึง 4,000 ppm ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ที่ปลูก โดยที่ชาวสวนจะใช้ปุ๋ยที่มี
ความเข้มข้นต่ำ 1,000 ถึง 2,000 ppm พ่นให้แก่ออนซีเดียม
ความเข้มข้นสูง 3,000 ถึง 4,000 ppm พ่นให้แก่แวนดา และหวาย
การใช้ปุ๋ยกล้วยไม้โดยทั่วไปนั้น ชาวสวนจะใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมีการให้น้ำวันละ 1 ครั้ง วันที่ให้ปุ๋ยก็พ่นสารละลายของปุ๋ยแทนการให้น้ำปกติไปเลย ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ก็ทำผู้เขียนมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า ในเมื่อชาวสวนต้องการรดน้ำทุกวันหรือเว้นวันอยู่แล้ว ทำไมไม่ให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกครั้งที่รดน้ำด้วย โดยปรับลดความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยลง ซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่า และมีการสูญเสียของปุ๋ยน้อยกว่า แต่เมื่อถามชาวสวนกล้วยไม้ว่า ทำไมไม่พ่นสารละลายปุ๋ยเจือจางทุกวัน ก็ได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกวันจะทำให้กล้วยไม้เน่าตายได้ง่ายกว่าการพ่นปุ๋ย ใช้น้ำน้อยกว่าการให้น้ำตามปกติ
ทำไมไม่ผสมปุ๋ยใช้เอง :
ชาวสวนส่วนใหญ่คิดว่า การผสมปุ๋ยใช้เองเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ไม่รู้จะเลือกใช้แม่ป๋ยอะไร และไม่รู้จะผสมอย่างไร ประกอบกับผู้ผลิตบริษัทปุ๋ยเกล็ดสูตรต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ผสมธาตุอาหารรองและจุลธาตุไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การใช้ปุ๋ยเกล็ดสำเร็จรูปกับกล้วยไม้ประสบผลสำแร็จเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ต้นทุนค่าปุ๋ยในการผลิตกล้วยไม้ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับค่าจ้าง แรงงงานและค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ได้รับความสนใจจากชาวสวนกล้วยไม้เท่าที่ควรในแวลาที่ผ่านมา และจากภาวะวิกฤติปุ๋ยและสารเคมีป้องกันศัตรูพืชแพงในปัจจุบัน และราคาดอกกล้วยไม้ที่ไม่สำพันธ์กับราคาของปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก เริ่มหาวิธีต้นทุนการผลิต ซึ่งการผสมปุ๋ยใช้เองก็เป็นวิธีหนึ่งทีสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก ถ้ามีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง
ปุ๋ยทุกชนิดที่ละลายน้ำสามารถใช้รดน้ำกล้วยไม้ได้ ชาวสวนไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเกล็ดต่างๆ หรือปุ๋ยพิเศษใดๆเลย ผู้เขียนขอย้ำว่า แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้สามารถใช้เป็นปุ๋ยกล้วยไม้ได้เหมือนกับการใช้ปุ๋ยเกล็ดที่มีราคาค่อนข้างแพง หรือแม้แต่ปุ๋ยเม็ดที่ละลายน้ำค่อนข้างช้าและมีกากก็ใช้ได้ เพียงแต่ชาวสวนต้องรู้จักเลือกใช้และมีการจัดการที่ถูกต้อง สำหรับการเลือกใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายได้ดีนั้น การจัดการที่ผู้เขียนขอเน้นนั้น ความสำคัญก็คือ การผสมเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด และการผสมจุลธาติและธาติอาหารรองทุกชนิด ร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อย่างครบถ้วน ซึ่งการเติมจุลธาตุ และธาตุอาหารรองต่างๆ ลงในแม่ปุ๋ยผสม ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด ชาวสวนสามารถเลือกใช้จุลธาติรวมสำเร็จรูปซึ่งมักมีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วยแล้ว หรือจะเลือกปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารแต่ละชนิดก็ได้
นอกจากการใช้ปุ๋ยเกล็ดแล้ว ชาวสวนก็มีการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยการสรรหาฮอร์โมน วิตามิน หรือปุ๋ยน้ำที่เรียกกันว่าปุ๋ยชีวภาพ มาใช้โดยที่ไม่ทราบเลยว่าสิ่งเหล่านี้ มีผลเด่นชัดอะไรต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของกล้วยไม้ แต่ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีผลทางใจมากกว่าว่า อย่างน้อยเราก็ได้ทำเหมือนสวนอื่น ทั้งนี้ชาวสวนอาจจะลืมไปว่า การคิดหรือลองทำไม่เหมือนคนอื่นดูบ้าง อาจได้ผลที่ดีกว่าก็ได้
การยอมรับ :
เป็นที่ทราบกันว่า การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของชาวสวนเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ต้องการมีการพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ผลดีจริง ดังนั้น หลังจากการอ่านตำรับตำราทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ (ผู้เขียนไม่เคยรู้เรื่องหรือสนใจในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาก่อนเลยในชีวิต จนกระทั่งถูกเชิญมาร่วมทำงานวิจัยปุ๋ยกล้วยไม้) และจาการพูดคุยหรือสอบถาม เรื่องราวต่างๆในการจัดการปุ๋ยและน้ำในสวนกล้วยไม้จากชาวสวนผู้มีประสบการณ์ และผู้เขียนก็เริ่มคิดหากุศโลบายในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยวางแผนการดำเนินงาน ในสวนกล้วยไม้ที่เจ้าของสวนสนใจและยอมเสี่ยง (แบบมีหลักการ หลังจากที่ผู้เขียนอธิบายว่า ข้อดีมีมากกว่าข้อเสีย) ให้ผู้ เขียนศึกษากับต้นกล้วยไม้ในสวนได้เป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1
เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า "การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ใช่เรื่องยาก" ผู้เขียนได้คิดการคำนวณปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยใช้โปรแกรมเอ็กเซล (Excel) เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณปริมาณปุ๋ยแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในการผสมให้ได้สูตรปุ๋ย ความเข้มข้นปุ๋ย และปริมาณของสารละละปุ๋ยตามที่ต้องการ ซึ่งชาวสวนที่มีคอมพิวเตอร์สามารถคิดคำนวณได้เอง หรือให้ลูกหลานคำนวณให้ก็ได้ และการผสมก็ทำได้ง่ายเพียง ชั่งปุ๋ยแต่ละชนิด ใส่ลงในถังแล้วก็เดิมน้ำตามปริมาณที่ต้องการใช้ กวนให้ปุ๋ยละลายหมดก็ใช้พ่นกล้วยไม้ได้เลย
ขั้นที่ 2
เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า การใช้ปุ๋ยที่ผสมเองให้ผลไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเกล็ด ผู้ เขียนเลือกใช้แม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่ละลายน้ำได้ดี และไม่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ 40-0-0, 15-0-0, 0-52-34 และ 13-0-46 มาผสมให้ได้ปุ๋ยสูตรเดียวกันกับปุ๋ยเกล็ด ที่ชาวสวนใช้อยู่เดิมและให้ชาวสวนตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุอาหารรองและจุลธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตผสมลงไปด้วย เพื่อให้กล้วยไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน และสะดวกแก่ชาวสวนในการจัดการ
ขั้นที่ 3
หาปุ๋ย "สูตรที่ใช่" หรือ "สูตรที่เหมาะสม" กับ กล้วยไม้ทุกอายุ จากประสบการณ์ในการศึกษาความต้องการธาติอาหารของพืชสวนหลายชนิด และจากข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืชพบว่า สัดส่วนของปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในพืชโดยทั่วไปไม่ใช่ 1:1:1 (ปุ๋ยสูตร 20-20-20, 21-21-21,หรือ 15-15-15 มีสัดส่วนของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเท่ากับ 1:1:1) การพ่นปุ๋ยสูตรเสมอแก่กล้วยไม้เปรียบเสมือนคนบังคับให้ทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนมากกว่าสุขภาพ
ขั้นที่ 4
ลดต้นทุนค่าปุ๋ยโดยการใช้ธาตุรองและจุลธาตุแต่ละชนิดมาผสมเอง เนื่องจากปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุรองและจุลธาตุครบถ้วนมีราคาค่อนข้างแพง การทดลองที่องค์ประกอบของธาติอาหารเหล่านี้ให้ครบถ้วนตามที่กล้วยไม้ต้องการ น่าจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อีกอย่างน้อย 20%
ขั้นที่ 5
ศึกษานความเป็นไปได้ในการใช้แม่ปุ๋ยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ชาวสวนกล้วยไม้ทุกคนไม่กล้าใช้ปุ๋ยคลอรีนเป็นองค์ประกอบทั้งๆที่คลอรีนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นธาตุหนึ่งสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ของพืชทุกชนิด เนื่องจากแม่ปุ๋ยที่มีคลอไรค์มีราคาถูกและละลายน้ำได้ดีการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะสมบ้างจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้อีกส่วนหนึ่ง
ขั้นที่ 6
หาเวลาในการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากกล้วยมีการสังเคราะห์แสงแบบพืชกลางคืน (ปากใบของพืชกลางคืนปิดเวลากลางวันเพื่อลดการสูญสียน้ำ และเปิดเวลากลางคืน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงเพื่อรับคาร์บอนไดออกไซต์เข้าสู่ใบ) จึงเกิดคำถามว่า "จำเป็นหรือไม่" ที่ต้องการให้ปุ๋ยและน้ำ ในเวลาที่สอดคล้องกันกับเวลาการปิดเปิดของปากใบทั้งๆที่สามารถละลายปุ๋ยสามารถซึมผ่านผิวใบได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าทางปากใบ
การศึกษา การผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้เริ่มในปีงบประมาณ 2549 โดยดำเนินการศึกษาที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสวนเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม นนท์บุรี และอยุธยา รวม 4 ราย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรให้ต้นกล้วยไม้นำไปทดลองที่เชียงรายด้วย ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณเกษตรกรทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้เขียน จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลาเกือบ 3 ปี การศึกษามีความก้าวหน้ามาจนถึงขึ้นที่ 5 แล้ว ผลการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยใช้เองโดยใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีและมีราคาถูก ได้แก่
ปุ๋ย 40-0-0 และ 15-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ย 0-52-34 และ 12-60-0 เป็นแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส
ปุ๋ย 13-0-46 เป็นแม่ปุ๋ยโพแทสเซียม
ผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 20-20-20, 21-21-21, 16-21-27 และ 10-52-17 และผสมจุลธาตุสำเร็จรูปลงไปก่อนนำไปใช้นั้น ใช้ผลเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป แต่การผสมปุ๋ยใช้เองมีต้นทุนต่ำกว่า ในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากหรือหาซื้อได้ยากในอย่างปัจจุบันนี้ทำให้ เกษตรกรหันมาให้ความสนใจกับการผสมปุ๋ยใช้เองกันมากขึ้น
นอกจากจะมีเกษตรกรสนใจโปรแกรมกาคำนวนปุ๋ยใช้เองมากขึ้นแล้ว ยังมีเกษตรกรไปดูงานในสวนที่มีการใช้ปุ๋ยผสมเองมากขึ้นดเวย ปัจจุบันผู้เขียนได้ทำตารางการผสมจุลธาตุเพิ่มเติมแทนการใช้จุลธาตุสำเร็จรูป เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมเองมีราคาถูกลงอีกและกำลังดำเนินการทดลอง ในสวนแวนดาที่จังหวัดนครปฐมที่พ่นด้วยปุ๋ยที่ผสมเองทั้งหมดก็มีกาเจริญติบโต ดีไม่แตกต่างการใช้ปุ๋ยราคาแพง เหลือเพียงการเฝ้าดูรอดูการออกดอกและคุณภาพของดอกเท่านั้นว่า จะดีทัดเทียมกันหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ทดลองผสมปุ๋ยใช้เองก็พอใจที่ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตดี และมีความแข็งแรงกว่าเดิม
ตั้งแต่ต้องมารับผิดชอบดำเนินงานวิจัยเรื่องปุ๋ยกล้วยไม้ ผู้เขียนก็เริ่มหากล้วยไม้มาปลูกต้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ชอบที่จะเลือกหาแต่ต้นเล็กๆมาปลูกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อที่จะได้สังเกต และเรียนรู้เรื่องการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ไปด้วย ที่บ้านใช้น้ำประปารดน้ำต้นไม้หลากชนิด ที่ปลูกไว้ผู้เขียนก็ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นกล้วยไม้ ที่บ้านใช้น้ำประปารดต้นไม้หลากชนิดที่ปลูกไว้ ผู้เขียนก้ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นยกล้วยไม้ และใช้น้ำประปารดต้นกล้วยไม้เช่นเดียวกับต้นไม้อื่น ๆเป็นประจำทุกวันโดยไม่มีการเก็บน้ำใส่โอ่งไว้ก่อนเพื่อรอให้คลอรีนในน้ำ ประปาระเหยหายไป ต้นกล้วยไม้ก็จะเจริญเจิบโตดีในสายตาของผู้เขียน และก็ทยอยออกดอกให้ชื่นชมอยู่เรื่อยๆ ข้อเสียของการใช้น้ำประปาก็คงมีอยู่เพียงประการเดียว คือ มีราคแพงแต่ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือหมู่ บ้านจัดสรรทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่อยากมีเรือนกล้วยไม้เล็กๆ ไว้ชื่นชมจากการที่ผู้เขียนใช้น้ำประปารดกล้วยไม้และกล้วยไม้มีการเจริญเติบ แออกดอกเป็นปกตินี้ ทำให้คิดว่าคลอไรค์ไม่น่าที่จะมีผลเสียต่อกล้วยไม้มากอย่างที่แกษตรกรมีความ เชื่อกันมานาน ซึ่งงานวิจัยใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์ที่กำลังดำเนินการทอลองอยู่ที่ศูนย์วิจัย พืชสวนเชียงรายก็มีแนวโน้มให้เห็ฯว่ากล้วยไม้ที่ได้รับปุ๋ยคลอไรค์ก็มีการ เจริญเติบโตไม่แตกต่างจากต้นกล้วยไม้ที่ใส่ปุ๋ยที่ไม่มีคลอไรค์
ทั้งหมดที่เขียนเล่าสู่กันฟังนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์เล็กๆน้อยๆ แก่ชาวสวนกล้วยไม้ และเมื่องานวัยสิ้นสุดลง ในอีก 2 ปีข้างหน้าคงจะมีโอกาสได้นำผลการศึกษาทั้งมดมาเล่าสู่กันฟังต่อไป
****โปรดติดตามตอนต่อไปน่ะจ๊ะ***
แหล่งที่มา : นันทรัตน์ ศุภกำเนิด กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร (02)940-5484 ต่อ 143
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
ศูนย์บริการจัดการเครือข่ายข้อมูลกล้วยไม้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=840538 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 14/07/2013 12:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประสบการณ์ตรง ....
1) ณ โรงเรียนนายสิบทหารปืนใหญ่ ลพบุรี หลังกองร้อยมีสวนหย่อมต่อกับห้องอาบน้ำ ระหว่างห้องอาบน้ำกับสวนหย่อมจึงสร้างเรือนกล้วยไม้ขั้นไว้เพื่อบังสายตาและป้องกันจินตนาการของคน....แขวนกล้วยไม้แวนด้า 200 ต้น กับสั่งการให้ให้นักเรียนนายสิบ 1 คน "ฉี่ 1 ครั้ง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ" รดให้แวนด้า ตอนค่ำเพื่อไม่ให้คนเห็น ทุกเย็นวันอาทิตย์ ระยะเดือนแรกแวนด้าที่สภาพต้นโทรมจนทิ้งแล้วฟื้นตัวขึ้นมา อีก 1 เดือนต่อมา เริ่มทะยอยออกดอกราวกับกล้วยไม้ใหม่ รวมเวลา 3 เดือน แวนด้า 200 กระถาง ออกดอกไม่ต่ำกว่า 198 ต้น บางต้นออกซ้อน 2 ช่อ เป็นอย่างนี้ตลอดปี
2) เรือนกล้วยไม้ "หวาย" 10 ไร่ อ.บางเลน นครปฐม ใช้ "ผงชูรส 2 ช้อนชา + น้ำ 20 ล." ก็ออกดอกได้เต็มเรือน .... สูตรเดียวกันนี้ไปใช้กับ แวนด้า. ฟาแลน, แคทริยา. ไม่ออกดอก
3) กล้วยไม้ที่สนามบินสุโขทัย ใช้ ยูเรก้า 3:1:2 (21-7-14) ดอกไม่โต แต่พอเปลี่ยนเป็นยูเรก้า 2:1:3 (14-7-21) ดอกโตขึ้น
4) กล้วยไม้ที่ ปากน้ำ สมุทรปราการ ใช้ไคโตซานกับหวายดอกโตดี แต่กับกล้วยไม้สายพันธุ์ไม่โต ทั้งๆที่อยู่ในเรือนเดียวกัน
5) สมช. สวพ. 91.0 เลี้ยงเพชรหึง จนอายุต้น 10 ปี ขนาดต้นสูงท่วมหัวคน ทรงพุ่มกว้างกว่า 1 วาแขน สภาพต้นสมบูรณ์มาก ไม่เคยออกดอกจนเชื่อว่า กล้วยไม้สายพันธุ์ไม่ออกดอก หรือไม่ก็ว่า นี่ไม่ใช่พืชตระกูลกล้วยไม้ ครั้นให้ฮอร์โมนไข่ไทเปเข้าไปออกดอกเต็มต้น ก้านดอกยาวกว่า 1 ม. กว่า 10 ช่อในต้นเดียว หนังสือบ้านและสวนไปทำข่าว
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 14/07/2013 2:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณลุงคิมอีกครั้งครับ
ได้อ่านบทความแล้วครับ
เรื่องเวลาที่จะทำการรดน้ำและให้ปุ๋ยกับกล้วยไม้กระจ่างแล้วครับ
แต่ผมยังไม่เชื่อครับ ลุงคิมบอกทุกวันว่าให้เชื่อคนในกระจก
ผมคงต้องทดสอบก่อน
สรุปว่า ที่ผมรดน้ำตอน ตี.4 - ตี.5 มันไม่ถูก
เมื่อเช้าผมไปที่วัดส้มเกลี้ยงมา ไปซื้อสินค้าที่กองคาราวาน
ได้เจอคุณวินัยกับคุณชาตรี ก็เลยลองสอบถามดู
คุณชาตรีบอกว่าให้รดน้ำ (รวมทั้งการให้ปุ๋ย) ให้ช่วงเย็น 5 โมง เป็นต้นไป
อันนี้ก็ตรงกับที่คุณลุงตอบมาใน "ประสบการณ์ตรง"
ส่วนในช่วงเช้าคุณชาตรีบอกว่าถ้าจะให้น้ำก็ควรผสมสารป้องกันเชื้อรา
อันนี้มีเหตุผลครับ
สรุปว่า ไอ้ที่ผมทำมาน่ะ...มันสวนทางกันโดยสิ้นเชิง
โชดยังดีที่ผมได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผมจะเริ่มทำตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอย้ำอีกครั้ง...ผมยังไม่เชื่อจนกว่าจะเห็นผลงาน
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 14/07/2013 5:51 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
tanapol บันทึก: | ขอบคุณลุงคิมอีกครั้งครับ
ได้อ่านบทความแล้วครับ
เรื่องเวลาที่จะทำการรดน้ำและให้ปุ๋ยกับกล้วยไม้กระจ่างแล้วครับ
แต่ผมยังไม่เชื่อครับ ลุงคิมบอกทุกวันว่าให้เชื่อคนในกระจก
ผมคงต้องทดสอบก่อน
สรุปว่า ที่ผมรดน้ำตอน ตี.4 - ตี.5 มันไม่ถูก
เมื่อเช้าผมไปที่วัดส้มเกลี้ยงมา ไปซื้อสินค้าที่กองคาราวาน
ได้เจอคุณวินัยกับคุณชาตรี ก็เลยลองสอบถามดู
คุณชาตรีบอกว่าให้รดน้ำ (รวมทั้งการให้ปุ๋ย) ให้ช่วงเย็น 5 โมง เป็นต้นไป
อันนี้ก็ตรงกับที่คุณลุงตอบมาใน "ประสบการณ์ตรง"
ส่วนในช่วงเช้าคุณชาตรีบอกว่าถ้าจะให้น้ำก็ควรผสมสารป้องกันเชื้อรา
อันนี้มีเหตุผลครับ
สรุปว่า ไอ้ที่ผมทำมาน่ะ...มันสวนทางกันโดยสิ้นเชิง
โชดยังดีที่ผมได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผมจะเริ่มทำตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอย้ำอีกครั้ง...ผมยังไม่เชื่อจนกว่าจะเห็นผลงาน
. |
สวัสดีครับลุงคิม และคุณ tanapol
คนที่ถามปัญหาลุงคิมเกือบจะทุกคนเหมือนกันหมด คือ ไม่บอกว่า พืชที่ปลูกนั้น อยู่ที่ไหน ตำบล อำเภอ จังหวัด อะไร ดังนั้น คำตอบที่ได้คือ เหวี่ยงแหตอบ ไม่ตรงประเด็นตามที่ต้องการ
ถ้าคุณ tanapol ไปถามสวนที่เค้าปลูกกล้วยไม้ แม้กระทั่งสวนอยู่ติดกัน พี่น้องกันด้วยซ้ำ ไม่มีใครเค้าบอกข้อมูลที่ถูกต้องให้คุณหรอกครับ
คำตอบส่วนใหญ่ลุงคิมตอบไปแล้ว
ก็ไม่รู้ว่าคุณปลูกกล้วยไม้อยู่ที่ไหน ปลูกสกุลอะไรเป็นหลัก เพราะกล้วยไม่แต่ละสกุล กินอาหารไม่เหมือนกัน น้ำสำหรับกล้วยไม้ สำคัญที่สุด มากกว่าปุ๋ย น้ำดี ประหยัดปุ๋ยไปได้แยะ
(1) ขอถามคุณก่อนว่า ก่อนที่คุณจะใช้น้ำรดกล้วยไม้ คุณใช้อะไรปรับสภาพน้ำของคุณ อย่าบอกว่า ใช้น้ำส้มสายชูนะครับ เพราะอันนั้นลุงคิมบอกให้ปรับสภาพน้ำกับพืชทางดิน
(2) หลังฝนหยุดตก คุณทำอะไรกับกล้วยไม้ของคุณบ้าง
(3) ปลายรากกล้วยไม้ที่คุณปลูก อยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับสารอาหารมากน้อยแค่ไหน
(1) 14 กค.56 17.29 น.
(2) 14 กค.56 17.29 น.
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(
3 - 8 คือตัวอย่างปลายรากของกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพพร้อมี่จะดูดซึมสารอาหาร เสียดายที่กล้องของผมถ่ายจากมือถือราคาถูก วันที่ 14 กค.56 เวลา 17 น.เศษ ไม่สามารถถ่ายใกล้ๆ ให้คุณเห็นปลายรากที่สมบูรณ์ได้
ดูเล่นเพลินๆ แค่นี้ก่อนนะครับ สูตรปุ๋ยที่ลุงคิมบอก ยังไม่พิสดารพันลึกเท่าที่ผมเคยรู้เคยเห็นสวนกล้วยไม้เค้าใช้กัน ...ยาฉีดหญ้า ครับ
เนื่องจากผมไม่ใช่มือปลูกกล้วยไม้มืออาชีพ แค่สมัครเล่นนิดหน่อยเท่านั้น แต่เรื่องนี้ยาว ขอเวลาไปทำธุระที่ปายก่อน กลับมาจะสาธยายให้ฟัง
ดีแล้วครับที่คุณไม่เชื่อ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในกาลมสูตร ดังนั้น ทดลองดูให้เห็นกับตาตัวเอง แต่ถ้าน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ของคุณไม่ดีพอ กล้วยไม้ก็จะงามอยู่แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น สวนกล้วยไม้แถวบ้านผมใช้น้ำในคลองขึ้นมา ปรับสภาพน้ำก่อน แล้วผ่านท่อระบบสปริงเกลอร์ไปรดกล้วยไม้ครับ
กรุณาตอบคำถามที่ผมถามคุณด้วย เพื่อที่คุณจะได้ข้อมูลที่ไม่มีสวนกล้วยไม้ที่ไหนใครเค้าบอกคุณ และถ้าจะให้ดี นำรูปมาลงแชร์ให้ลุงคิม และเพื่อนสมาชิกได้ดูกันด้วยก็จะดีไม่น้อยเลยครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 14/07/2013 6:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับคุณแดง
ต้องขอโทษด้วยครับที่ลืมบอกสถานที่
ผมอยู่กรุงเทพ ย่านเตาปูน(เขตบางซื่อครับ)
น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ผมใช้น้ำประปาครับ โดยเปิดใส่ถังพักน้ำไว้ 1-2 วัน
พอน้ำพร่องก็เติมให้เต็ม กะให้คลอรีนเหลือตกค้างน้อยที่สุด..กรุงเทพก็มีแต่น้ำประปา
ค่า pH = 7 ก่อนทำการผสมปุ๋ย
ผมใช้ ไวตาไลเซอร์ (เป็นกรดซิลิสิค แอซิด ผสมกับ วิตามิน อี, สังกะสี, โบรอน)
ทำการปรับสภาพน้ำ ค่อยๆใส่ทีละน้อย คนให้เข้ากันแล้วทำการตรวจวัดค่า pH
ส่วนมากก็จะอยู่ระหว่าง 6-6.5 ครับ (ตั้งใจให้ค่า pH อยู่ในระดับนี้)
กล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้เพื่อหาประสบการณ์และเพื่อการพักผ่อนมี...
แวนด้า, ช้างกระ, ช้างแดง, มิสอุดรซันไฌน์ (แวนด้า), หวายตัดดอก,
เหลืองโคราช, ไอยเรศ, ออนซิเดียม, แคทลียา ... มีอย่างละไม่มาก
การจัดวาง/แขวน จะแยกตามชนิด บางชนิดก็วางปนกัน
มีออนซิเดียมเท่านั้นที่ผมแยกต่างหาก (เพราะไม่ใช่พืชตระกูล CAM)
สารป้องกันและกำจัดเชื้อราก็ให้บ่อย 2-3 วันครั้ง (แต่ผมให้ตอนเย็น)
ก่อนหน้านี้ให้ปุ๋ยตอน ตี.4 ส่วนสารป้องกันและกำจัดเชื้อราให้ตอนค่ำ
แต่วันนี้ (14/7/2556) ปรับเปลี่ยนใหม่ ให้สารป้องกันเชื้อราช่วงเช้าตรู่ (ก่อน 6 โมง)
ส่วนน้ำและปุ๋ยจะให้ตอนหัวค่ำ
ถ้าฝนตกมากๆ จะรีบให้สารป้องกันเชื้อราทันที
แต่ก็ไม่วายที่จะเจอเชื้อรา ทั้งโรคใบจุด ใบปื้นเหลือง
การให้ปุ๋ย ผมจะใช้สูตรบำรุงต้นเป็นหลัก จะไม่พยายามเร่งดอก
ยังไงๆ ขอให้ต้นสมบูรณ์เข้าไว้ โรคภัยไม่มี ถึงเวลา เมื่อทุกอย่างพร้อมดอกจะมาเอง
เรื่องที่ผมสงสัยเป็นอย่างยิ่งคือ "เวลาที่เหมาะสมในการให้น้ำให้ปุ๋ย"
มันคือช่วงเวลาใดกันแน่ ? พยายามค้นหาในกูเกิ้ลก็ยังไม่เจอ
เรื่องที่ทำให้ผมสับสนก็เพราะว่ากล้วยไม้เป็นพืชที่มีการสังเคราะห์แสงแบบ CAM
ซึ่งต่างจากพืชทั่วไป
ทุกวันนี้ยังสงสัยอยู่ว่ากล้วยไม้ที่อยู่ตามธรรมชาติ ฝนไม่ได้ตกทุกวัน
แต่มาอยู่บ้านคน...ดันรดน้ำทุกวัน มันงามสู้ธรรมชาติไม่ได้
ป่าคอนกรีตนี่มันช่างแตกต่างจากป่าไม้โดยสิ้นเชิง
ปลูกไป ศึกษาไป มีอะไรบางอย่างไม่เหมือนกัน
บางสวนบอกถ้าเครื่องปลูกยังชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ ผมว่ามันก็ถูกของเขา
จากที่ผมเลี้ยงมา ผมว่าสารป้องกันเชื้อรานี่จะขาดไม่ได้เลย
กล้วยไม้..ถ้าป่วย ต่อให้ รดน้ำ+ให้ปุ๋ย ดีเพียงใดก็คงไม่งาม เพราะมันป่วย
กล้วยไม้ที่คุณแดงถ่ายรูปมารากสวยงามมากครับ รากขาว ปลายรากเขียว
ผมขอรบกวนคุณแดง ถ้ามีเวลาก็เขียนให้ผมได้อ่านได้ศึกษาบ้างนะครับ
ดูจากภาพที่ถ่ายมาให้ดู ผมว่าไม่ธรรมดาแน่
เพิ่มเติมข้อมูล สถานที่ปลูกมีลมพัดผ่าน อากาศถ่ายเทสะดวกครับ
มีซาแรนพลางแสง 50%
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 15/07/2013 12:38 am ชื่อกระทู้: ดูรูปเล่นเพลิน ๆ ไปก่อนนะครับ |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม คุณ tanapol
เรื่องกล้วยไม้ ใกล้ม้วย คุยกันยาวตั้งแต่แม่สายถึงสุไหงโกลกก็ไม่จบ ผมเตรียมเรื่องและเคยคิดจะเขียนนานแล้ว
แต่หลังจากถูกน้ำท่วม บอกตามตรงว่า ไม่อยากเขียน เพราะมันเจ็บปวด
ดูรูปเล่นเพลิน ๆ ไปพลาง ๆ ก่อน ครับ
(1)
(2)
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(
(9)
(10)
(11)
(12)
(13)
(14)
(15)
(16)
(17)
(1
(19)
(20)
(21)
ดูแล้วจินตนาการไปก่อนนะครับ เพราะยังไม่มีเวลาอธิบาย
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 15/07/2013 10:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิมและคุณแดง
ผมยังติดตามกระทู้อยู่ตลอดครับ เรื่องอื่นๆ ผมก็ดู, อ่าน อยู่เสมอ
ถึงแม้ว่าเวลานี้ผมไม่ใช่เกษตรกร แต่ผมรักด้านการเกษตร
การใฝ่หาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเกษตรนี่เรียนไม่จบ
โลกมีวิวัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พืชและสัตว์ก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอด
เพื่อความอยู่รอด เพื่อการรักษา สืบทอดเผ่าพันธุ์เอาไว้
ในเมื่อทั้งพืชและสัตว์มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด อยู่ตลอดเวลา
การเรียนรู้ด้านการเกษตรคงไม่มีวันจบ
หลักทฤษฎี หรือทฤษฎีหลักอาจไม่เปลี่ยนแปลง
แต่รายละเอียดปลีกย่อยมันเปลี่ยนได้
ได้ดูภาพและได้อ่านข้อความล่าสุดของคุณแดงแล้ว ผมดีใจมากครับ
คุณแดงครับ หลังจากที่ได้ดูภาพถ่ายผมมีข้อสงสัยอยากถามดังนี้
ภาพที่2 ใช้ปุ๋ยออสโมโค้ท เป็นสูตรอะไรครับ ?
ภาพที่4 เห็นแล้วเศร้าครับ ถ้าผมมีอาชีพทำสวน แล้วโดนแบบนี้ สงสัยแย่แน่
ภาพที่11 04/04/2013 เวลา 16.48 น.
เป็นการให้น้ำ หรือให้น้ำ+ปุ๋ย หรือการให้สารป้องกันเชื้อราครับ?
คุณแดงครับ คุณแดงว่างเมื่อไหร่ค่อยตอบก็ได้ครับ
ผมไม่รีบร้อน ค่อยๆอ่าน สังเกตุ ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ
ทำทีละนิด ดีกว่าคิดแล้วไม่ทำ
คุณแดงมีประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ น่าจะเขียนบอกเล่าประสบการณ์
ที่ได้พบ ผมว่ามันมีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือคนมี่รักกล้วยไม้
สิ่งที่คุณแดงเขียน แล้วนำมาลงไว้ในเวปไซด์จะมีคุณค่ามหาศาล
ถือว่าเป็นการให้วิทยาทานแก่ผู้ใฝ่เรียนรู้
ตอนนี้ขอเวลาทำงานก่อนครับ...เป็นลูกจ้างเขา...ต้องทำงานให้เขา
เดี๋ยวเขาว่าเอา เช้าขับรถแท็กซี่ สายๆมาทำงาน เลิกงานก็ขับรถแท็กซี่
เวลาว่าง (ความจริงไม่เคยว่าง เพราะมันหาเรื่องทำตลอด) ก็เลี้ยงกล้วยไม้บ้าง
หาความรู้เพิ่มเติมบ้าง
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 16/07/2013 7:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม คณtanapol
เรื่องราวเกี่บวกับกล้วยไม้ในอดีต มันนานแสนนาน ว่าจะไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บ คุณมาจดประกายให้อาจจะ ...แค่อาจจะปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ......
คนเก่าที่ใกล้จะแก่ ก็คงได้แค่เล่าเรื่องราวเก่า ๆ เพราะเทคโนโลยีในวงการกล้วยไม้ก้าวหน้าไปไกลแสนไกล จนตามไม่ทัน ....พูดไปก็อายนักวิชาการเค้าน่ะครับ ผมก็แค่นักทดลองสมัครเล่น เคยทำมากับพ่อและน้องชาย เทียบได้แค่หิ่งห้อยน้อย กบในกะลา เท่านั้นเอง ไม่อาจแนะนำในเรื่องยุ่งยากและละเอียดอ่อนได้...ยิ่งโดนน้องน้ำมาเยี่ยมเยือน ทุกอย่างก็เลือนหาย
มีของเก่าเก็บมาให้ดู ถ่ายเมื่อ 16 กค.2556 สมัยก่อน ทั้งทดลองผสม เพาะเมล้ด และถ่ายขวด ทำกันหลายคน ตัวหลักคือ พ่อ ผม น้องชาย.....เวลานี้ก็แยกย้ายกันไปคนละทาง พ่อ ไปไม่กลับ...ผมอยู่นครปฐม น้องชายอยู่ เหนือสุดในสยาม เพื่อนร่วมงานหลายคนล้มตายหายจาก ที่เหลือก็ไปกันคนละทิศละทาง ไม่ได้ข่าวคราว
(1)
(2)
.............
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 16/07/2013 8:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม (ลุงจะอ่านหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) และคุณแดง
คุณแดงครับ ประสบการณ์เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ช่วยถ่ายทอดให้ผมได้รับรู้บ้างเถิด
ผมเพิ่งมาหัดเลี้ยงกล้วยไม้ได้ไม่กี่ปี ตอนนี้อายุก็51ย่าง52แล้ว
ซื้อหนังสือมาอ่าน ค้นหาตามเวปไซด์ต่างๆ
แม้กระทั่ง e-book ของท่าน ศ.ระพี สาคริก ยุค IT มันดีอย่างนี้นี่เอง
เรียนไป ลงมือหัดเลี้ยงไป มีเวลาดูแลแค่ตอนเช้ามืดกับช่วงหัวค่ำ
ตอนนี้ทดลองทำแบบลุงคิมดูสัก3เดือนก่อนให้น้ำตอนเย็น-ค่ำ
ให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติ(ไม่ได้ใช้น้ำปัสสาวะ)
ถ้าดูแล้วเครื่องปลูกชื้นมากติดต่อกัน2-3วันก็จะให้ยากันเชื้อราในตอนเช้ามืดทีหนึ่ง
ตอนนี้นอกจากกล้วยไม้ ผมเริ่มขยับมาปลูกพืชผักสวนครัวในกระถาง
เคยอ่านในเวปลุงคิม ปลูกในกระถาง ซ้ำที่ แต่ไม่ซ้ำดิน
ปลูกเองกินเองประหยัดดี อะไรปลูกได้ ปลูก ใช้กิ่งก้านผักที่ซื้อมาจากตลาด
พริกขี้หนูก็ซื้อจากตลาด ดินผสมที่ซื้อมาเนื้อดินไม่ค่อยจะมี ต้องปรับปรุงใหม่
ถ้าคุณแดงมีเวลาว่างช่วยเขียนถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงกล้วยไม้ลงหน่อยครับ
ผมเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่คนที่ได้มาอ่าน
ราตรีสวัสดิ์ครับลุงคิมและคุณแดง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 16/07/2013 9:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
tanapol บันทึก: |
สวัสดีครับลุงคิม (ลุงจะอ่านหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) และคุณแดง
คุณแดงครับ ประสบการณ์เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ช่วยถ่ายทอดให้ผมได้รับรู้บ้างเถิด
ผมเพิ่งมาหัดเลี้ยงกล้วยไม้ได้ไม่กี่ปี ตอนนี้อายุก็ 51 ย่าง 52 แล้ว
ซื้อหนังสือมาอ่าน ค้นหาตามเวปไซด์ต่างๆ
แม้กระทั่ง e-book ของท่าน ศ.ระพี สาคริก ยุค IT มันดีอย่างนี้นี่เอง
เรียนไป ลงมือหัดเลี้ยงไป มีเวลาดูแลแค่ตอนเช้ามืดกับช่วงหัวค่ำ
ตอนนี้ทดลองทำแบบลุงคิมดูสัก 3 เดือนก่อน ให้น้ำตอน เย็น-ค่ำ
ให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติ (ไม่ได้ใช้น้ำปัสสาวะ)
ถ้าดูแล้วเครื่องปลูกชื้นมากติดต่อกัน 2-3 วัน ก็จะให้ยากันเชื้อราในตอนเช้ามืดทีหนึ่ง
ตอนนี้นอกจากกล้วยไม้ ผมเริ่มขยับมาปลูกพืชผักสวนครัวในกระถาง
เคยอ่านในเวปลุงคิม ปลูกในกระถาง ซ้ำที่ แต่ไม่ซ้ำดิน
ปลูกเองกินเองประหยัดดี อะไรปลูกได้ ปลูก ใช้กิ่งก้านผักที่ซื้อมาจากตลาด
พริกขี้หนูก็ซื้อจากตลาด ดินผสมที่ซื้อมาเนื้อดินไม่ค่อยจะมี ต้องปรับปรุงใหม่
ถ้าคุณแดงมีเวลาว่างช่วยเขียนถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงกล้วยไม้ลงหน่อยครับ
ผมเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่คนที่ได้มาอ่าน
ราตรีสวัสดิ์ครับลุงคิมและคุณแดง
|
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/08/2013 10:15 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 17/07/2013 7:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
tanapol บันทึก: |
ให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติ (ไม่ได้ใช้น้ำปัสสาวะ)
|
ในสหประชาชาติ (ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า) น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ไม่ O.K. เพราะ กล้วยไม้ไม่เหมือนพืชอื่นๆ
ตัวที่น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) O.K. กับกล้วยไม้เห็นจะเป็น "ไบโออิ" อย่างน้อยแปลงกล้วยไม้ที่สนามบินสุโขทัย ส่งข่าวมาว่า ใช้ไบโออิแล้วเขียวดี ใช้ยูเรก้าแล้วดอกไม่โตจริง ส่วนไทเปไม่ได้แจ้ง
เกษตรานุสติ :
- ปุ๋ย ไม่ใช่ของวิเศษ
- สมการเกษตร : ปุ๋ยถูก ใช้ผืด, ปุ๋ยผิด ใช้ถูก, ปุ๋ยผิด ใช้ผิด, ปุ๋ยถูก ใช้ถูก
- พืชทุกชนิดต้องการ "ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-
สารอาหาร-สายพันธุ์/โรค)" ตามความเหมาะสม .. ? ..
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 17/07/2013 9:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: | tanapol บันทึก: |
ให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติ (ไม่ได้ใช้น้ำปัสสาวะ)
|
ในสหประชาชาติ (ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า) น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ไม่ O.K. เพราะ กล้วยไม้ไม่เหมือนพืชอื่นๆ
ตัวที่น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) O.K. กับกล้วยไม้เห็นจะเป็น "ไบโออิ" อย่างน้อยแปลงกล้วยไม้ที่สนามบินสุโขทัย ส่งข่าวมาว่า ใช้ไบโออิแล้วเขียวดี ใช้ยูเรก้าแล้วดอกไม่โตจริง ส่วนไทเปไม่ได้แจ้ง
เกษตรานุสติ :
- ปุ๋ย ไม่ใช่ของวิเศษ
- สมการเกษตร : ปุ๋ยถูก ใช้ผืด, ปุ๋ยผิด ใช้ถูก, ปุ๋ยผิด ใช้ผิด, ปุ๋ยถูก ใช้ถูก
- พืชทุกชนิดต้องการ "ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-
สารอาหาร-สายพันธุ์/โรค)" ตามความเหมาะสม .. ? ..
. |
สวัสดีครับลุงคิม คุณ tanapol
ว่าจะยังไม่เข้ามาคุยแล้วเชียวนา....อดไม่ได้ครับ คุยสั้น ๆ ส่วนเรื่องยาว ขอให้กลับลงมาจากดอยก่อน
ใช้ยูเรก้าแล้วดอกไม่โตจริง ...ยูเรก้า กับกล้วยไม้.. ตามที่ผมเคยทดลองใช้ ขอย้ำว่า ผมบ้าทำของผมเองนะครับ ไม่ใช่ฟันธงว่าต้องใช้สูตรนี้เกิดว่าใครเอาไปทำแล้วไม่ได้ผล จะมาด่าผมว่าบอกสูตรผิด
ผมใช้ ยูเรก้า + 13-26-7+1%Mag....20 ซีซี / น้ำ 30 ลิตร ...ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต แต่ว่า จะเอาดอกโต แล้วบานไม่ทนไปทำไม ไม้ตัดดอกต้องการดอก size ปกติ แต่ขอให้บานทน ....ผมทดลองใช้ BIOI + UREGA สองอย่างรวมกันแล้วใช้ 20 ซีซี./น้ำ 30 ลิตร ดอกบานเกือบสองเดือน ไม่อยาก Said เดี๋ยวจะว่า ผมบ้าปุ๋ยตาคิม ดูรูปเอาเองครับ
(1) ถ่ายเมื่อ 05 มีค. 56 ดอกบานทะโลกขนาดนี้อย่างน้อยก็บานมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 วันขึ้นไป
(2) ถ่ายเมื่อ 08 เมย. 56 เวลาผ่านไป 1 เดือน ดอกก็ยังบานดีอยู่
(3) วันที่ 8 เมย.56 เหมือนกันถ่ายใกล้เข้ามาอีกนิด
หลังจากนี้ไม่ได้ถ่ายต่อ เพราะคิดว่าคงอยู่ได้อีกนาน แต่อนิจา วะตะสังขารา ..สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เพื่อนบ้าน ฉีด หมาแดง ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร แค่กลิ่นที่โชยมา กลีบกล้วยไม้ที่แสนงามก็มีอันเป็นจุดฝอย ๆ เล็ก ๆ เต็มไปหมด นี่ดีว่าเพื่อทำการทดสอบความทนทานของดอกด้วยการใช้ปุ๋ย E-Kim ถ้าปลูกตัดดอกเจอแบบนี้ ใช้หนี้กันตายเลย
ส่วนไทเปไม่ได้แจ้ง
ขอเรียนว่า กล้วยไม้ของผมไม่ชอบกินนม ไม่ชอบกินไข่ครับ ...ผงใช้เลี้ยว ยอกมังน่าว(ของคนอื่นผมไม่รู้นะ)
เคยทดลองนะครับ ประมาณต้น กุมภา 56 ใช้ ยูเรีย จี + จู๋น ห้าจ๋อง จ๋ามจี่ + อะโนเน๊ะ ....ปื๊ด ๆ
ลองทำเล่น ๆ ..ไม่ได้ดูว่าผลเป็นยังไง ..3 มีค. 56 อุ๊ยตายว๊ายกรี๊ด สามปอยขุนตาน ออกดอกมาให้เห็นน่ะครับ
ยังไง ๆ ถ้าลุงจะเผาตำราทิ้ง อย่าเผานะครับ ขอให้ผมเต๊อะ.....
กลับจากปายแล้วว่ากันใหม่....ชวนลุงไปงานเทศกาล จับนม ที่เผ่าอี๋ ลุงก็ไม่ตอบ ผมไปกับเจ้าโชเล่สองคนก็ได้....
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 17/07/2013 11:05 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม, สวัสดีครับคุณแดง
ขอบคุณลุงคิมครับที่ให้คำแนะนำ ตั้งใจว่าจะให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติในวันอาทิตย์ที่21/7/2556 นี้อยู่แล้วเชียว
ดีว่าลุงคิมทักมาก่อน ไม่งั้นเสียเปล่า นี่แหละครับคนที่ไม่มีประสบการณ์
ต้องได้คนที่มีประสบการณ์มาเป็นครู
เท่าที่ผมใช้ไบโออิมา1เดือน(กว่าๆ)ใบเขียวขึ้นจริงครับ ให้ตอนตี4 7วัน/ครั้ง
ลุงคิมครับถ้าจะใช้สูตรสหประชาชาติกับพริกขี้หนู เป็นอย่างไรครับ ผมคิดว่าน่าจะได้
แล้วสำหรับพืชผักกินใบอย่าง โหระพา, กะเพรา, ผักชีฝรั่ง นี่ผมจะใช้ ไบโออิ สลับกับยูเรก้าจะดีไหมครับ
พืชสวนครัวนี่ปลูกในกระถาง ใช้ดินถุง เอามาผสมหน้าดินแถวๆบ้านผม(เตาปูน)
ใส่ขี้วัวแห้ง, กระดูกป่น, ยิปซั่ม
อ้อ! ดินถุงเป็นดินผสมใบก้ามปูครับ เก็บมาเป็นปีๆ เปิดถุงออกมามีแต่ผงสีดำๆละเอียดยิบเลยครับ
วันไหนมีเศษปลาสด ผมก็เอาใส่เครื่องปั่น(เละเลยครับ)แล้วใส่เชื้อจุลินทรีย์ลงไป หมัก7วัน แล้วเอาไปหยอด(เอาด้ามเสียมเจาะดินให้เป็นรู)ตามกระถาง
อยากเขกหัวตัวเองดันลืมซื้อ 15-0-0 แคลเซี่ยม โบรอน มาไว้ใช้ คงต้องรอเสาร์-อาทิตย์ที่สองของเดือน สิงหาคม
คุณแดงครับ..."เคยทดลองนะครับประมาณต้น กุมภา 56 ใช้ ยูเรีย จี + จู๋น ห้าจ๋อง จ๋ามจี่ + อะโนเน๊ะ ....ปื๊ด ๆ"
อะโนเน๊ะ ....ปื๊ด ๆ ตัวนี้มันคืออะไรครับ
ถ้าให้ผมเดา..น่าจะเป็นธาตุรอง,ธาตุเสริม ใช่ไหมครับ? (หรือว่าผงชูรส?)
ที่ไม่เดาว่าเป็น"ฉี่"เพราะตามสูตรมียูเรีย จี อยู่แล้ว
รบกวนขอทราบอัตราส่วนได้ไหมครับ จะทดลองดู
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย tanapol เมื่อ 17/07/2013 11:12 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 17/07/2013 11:06 am ชื่อกระทู้: |
|
|
DangSalaya บันทึก: |
ผมใช้ ยูเรก้า + 13-26-7+1%Mag .... 20 ซีซี. / น้ำ 30 ลิตร ...ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต แต่ว่า จะเอาดอกโต แล้วบานไม่ทนไปทำไม ไม้ตัดดอกต้องการดอก size ปกติ แต่ขอให้บานทน .... ผมทดลองใช้ BIOI + UREGA สองอย่างรวมกันแล้วใช้ 20 ซีซี./น้ำ 30 ลิตร ดอกบานเกือบสองเดือน ไม่อยาก Said เดี๋ยวจะว่า ผมบ้าปุ๋ยตาคิม ดูรูปเอาเองครับ
|
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง :
ยูเรก้า + 13-26-7+1%Mag หมายถึง ยูเรก้าแดง ที่คุณเป็นคนทำขึ้นมา
BIOI + UREGA หมายถึง ไบโออิ ลุงคิมทำ + ยูเรก้าแดง ... ใช่ไหม ?
หมายเหตุ :
การตั้งชื่อ PRODUCT ขึ้นอยู่กับ "ส่วนผสม" ถ้าส่วนผสมต่างกัน ชื่อก็ควรต่างกันด้วย....ว่ามั้ย
ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ซี่ ของดีของแท้ ดังได้-ขายได้-รวยได้ นะ จะ บอก ให้....
งานเข้า :
ปุ๋ยทางใบถั่วไร่ (เขียว เหลือง แดง ดำ) +ธาตุหล็ก จี. ลงไปด้วยซัก 0.5 - 1.0 % คุณภาพน่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) ดีขึ้นนะ
ไม่มี ธาตุหล็ก จี. ใช้เลือดสด (วัว ควาย ไก่ เป็ด ห่าน หมู หมา แมว คนต่างถิ่น) 1 ล./ไร่ ละลายน้ำรดลงดินไปเลยก็ได้
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 17/07/2013 12:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
[quote="tanapol"]สวัสดีครับลุงคิม, สวัสดีครับคุณแดง
ขอบคุณลุงคิม ครับที่ให้คำแนะนำ ตั้งใจว่าจะให้ปุ๋ยสูตรสหประชาชาติในวันอาทิตย์ที่ 21/7/2556 นี้อยู่แล้วเชียว
ดีว่าลุงคิมทักมาก่อน ไม่งั้นเสียเปล่า นี่แหละครับคนที่ไม่มีประสบการณ์
ต้องได้คนที่มีประสบการณ์มาเป็นครู
เท่าที่ผมใช้ไบโออิมา 1 เดือน (กว่าๆ) ใบเขียวขึ้นจริงครับ ให้ตอน ตี.4 (7 วัน/ครั้ง)
ลุงคิมครับ ถ้าจะใช้สูตรสหประชาชาติกับพริกขี้หนู เป็นอย่างไรครับ ผมคิดว่าน่าจะได้
แล้วสำหรับพืชผักกินใบอย่าง โหระพา, กะเพรา, ผักชีฝรั่ง นี่ผมจะใช้ ไบโออิ สลับกับยูเรก้าจะดีไหมครับ
พืชสวนครัวนี่ปลูกในกระถาง ใช้ดินถุง เอามาผสมหน้าดินแถวๆบ้านผม (เตาปูน)
ใส่ขี้วัวแห้ง, กระดูกป่น, ยิปซั่ม
อ้อ ! ดินถุงเป็นดินผสมใบก้ามปูครับ เก็บมาเป็นปีๆ เปิดถุงออกมามีแต่ผงสีดำๆละเอียดยิบเลยครับ
วันไหนมีเศษปลาสด ผมก็เอาใส่เครื่องปั่น (เละเลยครับ) แล้วใส่เชื้อจุลินทรีย์ลงไป หมัก 7 วัน แล้วเอาไปหยอด (เอาด้ามเสียมเจาะดินให้เป็นรู) ตามกระถาง
อยากเขกหัวตัวเองดันลืมซื้อ 15-0-0 แคลเซี่ยม โบรอน มาไว้ใช้ คงต้องรอเ สาร์-อาทิตย์ ที่สองของเดือน สิงหาคม
คุณแดงครับ..."เคยทดลองนะครับประมาณต้น กุมภา 56 ใช้ ยูเรีย จี + จู๋น ห้าจ๋อง จ๋ามจี่ + อะโนเน๊ะ ....ปื๊ด ๆ"
อะโนเน๊ะ ....ปื๊ดๆ ตัวนี้มันคืออะไรครับ
ถ้าให้ผมเดา..น่าจะเป็น..หรือว่า....ผงชูรส ?
ส่วน ปื๊ด ๆ คือ ลุงคิมใช้ฉีดปุ๋ยทางดิน สองปื๊ด หรือ ปื๊ดๆ ผมเลยเอามาใช้ให้ปุ๋ยทางใบ
รบกวนขอทราบอัตราส่วนได้ไหมครับ จะทดลองดู
DIY Please.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 17/07/2013 1:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
[quote="kimzagass"] DangSalaya บันทึก: |
ผมใช้ ยูเรก้า + 13-26-7+1%Mag .... 20 ซีซี. / น้ำ 30 ลิตร ...ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต แต่ว่า จะเอาดอกโต แล้วบานไม่ทนไปทำไม ไม้ตัดดอกต้องการดอก size ปกติ แต่ขอให้บานทน .... ผมทดลองใช้ BIOI + UREGA สองอย่างรวมกันแล้วใช้ 20 ซีซี./น้ำ 30 ลิตร ดอกบานเกือบสองเดือน ไม่อยาก Said เดี๋ยวจะว่า ผมบ้าปุ๋ยตาคิม ดูรูปเอาเองครับ
|
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง :
ยูเรก้า + 13-26-7+1%Mag หมายถึง ยูเรก้าแดง ที่คุณเป็นคนทำขึ้นมา
ลุงครับ
ยูเรก้า - ลุงคิม
13-26-7 - เจ๊กเส็ง
Mag(speed) - เฮียหมง จากคุณชาตรี
รวมแล้ว คิม+เส็ง+หมง+ตรี+แดง ขืนใช้ชื่อนี้ บ้าตายโหงเลยละครับ
BIOI + UREGA หมายถึง ไบโออิ ลุงคิมทำ + ยูเรก้าแดง ... ใช่ไหม ?
BIOI & UREGA -ของลุงคิมทำ ...ผม(กับน้องชาย)แต่งเติมเสริมต่อ ให้เหมาะกับการใช้กับกล้วยไม้ ตามประสาคนบ้า
หมายเหตุ :
การตั้งชื่อ PRODUCT ขึ้นอยู่กับ "ส่วนผสม" ถ้าส่วนผสมต่างกัน ชื่อก็ควรต่างกันด้วย....ว่ามั้ย
ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ซี่ ของดีของแท้ ดังได้-ขายได้-รวยได้ นะ จะ บอก ให้....
ผมทำไม่ได้ครับลุง....เพลงอะไรน๊า ...ใจไม่ด้านพอ ...ใจไม่ด้านพอ...
งานเข้า :
ปุ๋ยทางใบถั่วไร่ (เขียว เหลือง แดง ดำ) + ธาตุหล็ก จี. ลงไปด้วยซัก 0.5 - 1.0 % คุณภาพน่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) ดีขึ้นนะ
ไม่มี ธาตุหล็ก จี. ใช้เลือดสด (วัว ควาย ไก่ เป็ด ห่าน หมู หมา แมว คนต่างถิ่น) 1 ล./ไร่ ละลายน้ำรดลงดินไปเลยก็ได้
ขอบคุณครับลุง ...โห ใจคอลุงจะให้ใช้เลือดคนต่างถิ่นเลยเหรอ ใครจะเสียเลือดให้ใครยังไม่รู้เลย และ...ลุงยังไม่ได้ดูเกษตรสัญจร 8 ตอนที่ 7 แน่ ๆ วันที่เคยถามลุง ลุงบอกให้ใช้ธาตุเหล็กกับถั่วเหลือง ผมบอกไปที่ลุงรัตน์ แกไปซื้อเหล็กคีเลตชนิดซองมาผสมน้ำฉีดพ่น มีเสียงจากมือถือบอกว่า
บอกอาจังคิงดั้ว ใบเขียวปี๋เลอ(บอกอาจารย์คิมด้วย ใบเขียวปี๋เลย)
กระซิบ(เน้นย้ำ) ลุงครับ ไม่ไปเทียวงาน จับนมสาว ที่เผ่าอี๋ด้วยกันเหรอครับ ไม่ไปแน่นา...เหอ ๆๆๆ งานนี้ ตูจะได้กลับมาโดยสวัสดิภาพครบ 32 มั๊ยหว่า
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 25/07/2013 10:22 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 19/07/2013 11:45 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม, สวัสดีคุณแดงด้วย
กำลังหาข้อมูลผสมปุ๋ยใช้เองอยู่ จะทำปุ๋ยที่มี เรโช 2:1:3 + ธาตุรอง, ธาตุเสริม
ลองหัดผสมปุ๋ยใช้เอง...ไม่ยาก..ไม่ยาก แต่มันจะประสบความสำเร็จหรือเปล่า ?
นี่แหละคือปัญหาที่ต้องใช้เวลาเท่านั้นถึงจะได้คำตอบ
เท่าที่ได้อ่านๆมา กล้วยไม้ส่วนใหญ่สามารถใช้ปุ๋ย เรโช 2:1:3 ได้เป็นอย่างดี
การใช้เรโชนี้เป็นประจำจะช่วยให้ดอกใหญ่สมบูรณ์ (เขาว่ามา)
ได้ช่อดอกซุปเปอร์ เพียงแต่ดอกจะไม่ดก
ส่วนเนื้อปุ๋ยจะให้อยู่ที่ 20-10-30
(ก็เขาว่ามาอีกนั่นแหละ ว่ากล้วยไม้ใช้ปุ๋ย N-P-K 3 ตัว รวมกันเกิน 50)
วางแผนไว้ว่าจะทำในเดือนสิงหาคม 2556 รอซื้อแม่ปุ๋ยจากกองคาราวานสีสันฯ
ผมอยู่ใกล้วัดส้มเกลี้ยง ตอนนี้มีแต่ 46-0-0 ไบยูเรีย (ซื้อจากคุณชาตรี)
ยังขาด 0-52-34 กับ 13-0-46 ซื้ออย่างละ 1 ก.ก. ก่อน (แค่ทดลอง)
เดือนนี้คงต้องใช้ไบโออิไปก่อน
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 19/07/2013 1:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
tanapol บันทึก: |
ส่วนเนื้อปุ๋ยจะให้อยู่ที่ 20-10-30
(ก็เขาว่ามาอีกนั่นแหละ ว่ากล้วยไม้ใช้ปุ๋ย N-P-K 3 ตัว รวมกันเกิน 50)
|
ถ้า 20-10-30 เกิน 50
ลอง 14-7-21 ซิ เรโชนี้แค่ 42 ที่กองคาราวานฯ มีขาย...
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapol หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2013 ตอบ: 8
|
ตอบ: 19/07/2013 8:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงคิมครับ ผมเขียนไม่เคลียร์เองครับ
คือกล้วยไม้ต้องใช้เนื้อปุ๋ยมากกว่าร้อยละ 50 (N+P+K ควรจะมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50)
ปุ๋ยกล้วยไม้สูตรเสมอที่นิยมใช้จะมี 20-20-20, 21-21-21
สูตรกลางสูงก็จะเป็น 10-52-17, 15-30-15
กลาง-ท้ายสูงก็ 13-27-27
ท้ายสูงนี่เห็นมีหลายตัวเลย
ที่สำคัญ...ต้องมีธาตุรองและธาตเสริมด้วย
ความจริงผมคิดว่าเนื้อปุ๋ยจะน้อยกว่าร้อยละ 50 มันก็ใช้ได้
เพียงแค่เราให้ปุ๋ยบ่อยขึ้นเท่านั้นเอง เหมือนที่ลุงเคยบอก ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง
ส่วนปุ๋ยตัวไหนมันเข้มข้นไป เราก็ลดปริมาณการใช้แต่ละครั้งลง เท่านั้นเอง ใช่ไหมครับ ?
คือผมอยากเรียนรู้การผสมปุ๋ยเองครับ เผื่อวันข้างหน้าจะได้ยืนได้ด้วยตัวเอง
แม้วันข้างหน้าผมอาจไม่ได้ทำเกษตร ผมก็ยังได้ความรู้ติดตัว ไม่เสียหาย
ราตรีสวัสดิ์ครับลุง
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 21/08/2013 9:13 pm ชื่อกระทู้: ดูเล่นเพลิน ๆ ครับ |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม คุณ tanapol
วันนี้ 21 สค.56 มีดอกไม้สี BLUE (ตามที่เค้าเรียกกัน)มาฝากให้ดูเล่นเพลิน ๆ ไม่แน่ใจว่าคุณ tanapol ยังติดตามดูอยู่หรือเปล่า น่าจะเปืดอ่านหลาย ๆ เรื่องนะครับ อาจจะมีสูตรปุ๋ยต่าง ๆ แทรกอยู่ในกระทู้อื่น ๆ ซึ่งอาจนำไปประยุกต์หรือดัดแปลงใช้กับกล้วยไม้ได้
ดูรูปกันครับ
(1)
(2)
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(8 )
(9)
เรื่อง ใกล้ม้วย กล้วยไม้ สำหรับคนที่ชอบ คุยกันได้เป็นวัน ๆ จิบน้ำชาไป คุยกันไป ใจเย็น ๆ ครับ...
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 23/04/2014 9:11 pm ชื่อกระทู้: ลืมรหัสผ่านเข้าระบบ....ทำยังไงดีครับลุง |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม คุณ tanapol และ/หรือ tanapole
ลุงครับ คุณ tanapol และคุณ tanapole..น่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน(แน่ ๆ ) เคยเขียนถามเรื่องกล้วยไม้เอาไว้ในกระทู้ 3631...
แต่คุณ tanapol (นาน ๆ จะเข้ามาครั้ง)น่าจะลืมรหัสเลยเข้าระบบไม่ได้ จึงสมัครมาใหม่ใช้ชื่อว่า tanapole
ในกระทู้ 3631 มีบทความที่ลุงตอบเรื่องกล้วยไม้ มีหลายอย่าง เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
คุณ tanapole เขียนถามผมมาหลังไมค์ แต่ผมไม่อยากเปิดกระทู้ใหม่ อยากสานต่อในกระทู้ 3631 เพื่อเรื่องจะได้ต่อเนื่องกัน และอยากให้เกียรติ์คุณtanapol ซึ่งเป็นคนเปิดประเด็นด้วยครับ
..........จะทำยังไงดี.. จะให้เป็นในนามของคุณ tanapol หรือคุณ tanapole
ครับลุง....(มิน่า ที่ติดต่อไม่ได้เพราะยังงี้นี่เอง)
... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapole สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014 ตอบ: 48
|
ตอบ: 24/04/2014 10:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง ศาลายา
ความจริงผมก็เข้ามาอ่านทุกวัน แต่บราวเวอร์ที่ผมใช้มันมีหลายตัวครับ
ล่าสุดหันมาใช้ google chrome
เบื่อของไมโครซอฟท์ หันไปใช้ Firefox อยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็มากูเกิ้ลนี่แหละครับ
เวลาล็อคอินมันทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว พอเปลี่ยนเว็ปบราวเซอร์ มันต้องใส่ล็อคอินใหม่
ดันจำไม่ได้ ไอ้ที่จดเอาไว้ก็ดันหาไม่เจอ
ยังสนุกอยู่กับการทดลองและติดตามผล ไม่ได้คิดจะทำเป็นอาชีพ
แต่ทำเพราะรักต้นไม้และความอยากรู้
จริงอย่างที่ลุงคิมว่า...เรื่องการเกษตรนี่มันยากกว่าวิศวะ
มันเป็นสิ่งที่พอจะคาดเดาได้บ้างแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
ไม่เหมือนวิชาคำนวน มันคำนวนได้เป๊ะๆ (ยกเว้น..คำนวนผิด)
ต้นไม้มันพูดไม่ได้ ใบมันเหี่ยว...เหี่ยวเพราะอะไร? ต้นไม้บอกเราไม่ได้
ปุ๋ยก็เหมือนกัน มีมากมายหลายสูตร
ปุ๋ยผิด ใช้ผิด ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด ใช้ถูก ไม่ได้ผล
ปุ๋ยถูก ใช้ผิด ไม่ได้ผล
ปุ๋ยถูก ใช้ถูก ถูกทั้งกาละและเทศะ มันถึงจะสำเร็จ
ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ฤดูกาล ความชื้น ดิน สายพันธุ์
ที่สำคัญ..คน มันใส่ใจไหม ? มันรู้จักสังเกตุไหม ? (ด่าตัวเองครับ)
กล้วยไม้ที่ปลูกเพื่อศึกษาและเพื่อความเพลิดเพลิน
ณ เวลานี้ สภาพต้นดีกว่าเมื่อตอนที่ตั้งกระทู้เมื่อปีที่แล้ว
นอกจากกล้วยไม้ ผมก็ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกลงกระถาง
เวลานี้กำลังง่วนอยู่กับ Photosynthetic bacteria (PSB)
ชื่อไทยก็ "จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" ตัวช่วยผลิตสารอาหารให้กับพืช
ที่หันมาสนใจเรื่องจุลินทรีย์ ก็เพราะคำว่า "ดินต้องมาก่อน" ลุงคิมพูดอยู่เสมอๆ
ไม่ค่อยได้ยินคนถามเรื่องจะทำให้ดินดีได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่จะถามเรื่องการดูแลให้ติดดอกติดผล วิธีกำจัดแมลง
ผมว่าดินที่ดี คือ ดินที่มีชีวิต คือ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในดิน
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด "ต้องกิน ต้องหายใจ ต้องมีที่อยู่อาศัย"
และต้องอยู่ร่วมกัน เหมือนป่าที่สมบูรณ์ต้องมีหลายๆ อย่าง
มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่แบบพึ่งพากัน
มีผู้ผลิต ผู้ไล่ล่า ผู้ถูกล่า
จากกล้วยไม้มาเรื่องดิน มันจะมั่วไหมครับ ?
ไม่น่าจะมั่วนะ...กล้วยไม้บางชนิดก็เป็นกล้วยไม้ดิน และกึ่งดิน
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอิงอาศัย
ปัญหาของคนที่รักกล้วยไม้ (ที่ไม่ใช่ชาวสวนกล้วยไม้)
ที่เหมือนกัน คือ...ตอนซื้อมามีดอกสวยดี
ครั้นดอกนั้นได้ร่วงโรยไป ก็มิได้เห็นดอกอีกเลย
ผมเริ่มจะเข้าใจบ้าง...บ้านเรากับสวนกล้วยไม้ สภาพมันต่างกัน
เราไม่ใช่ชาวสวนกล้วยไม้ เราต้องทำงาน
งานของเรา คือ...รับใช้เจ้านาย งานของชาวสวน คือ ดูแลกล้วยไม้ให้ผลิดอกมากๆ
แค่นี้มันก็ต่างกันราวฟ้ากับเหวแล้ว
กล้วยไม้ต้องการความชื้น (เท่าที่ศึกษามาพบว่า ชอบความชื้นสัมพัทธ์ราวๆ 70%)
เราปลูกกล้วยไม้ไม่มาก ครั้นจะติดสปริงเกอร์ มันก็เหมือนกับขี่ช้างจับตั๊กแตน
จะใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกมันก็ผุพังเร็ว
ผมดันไปซื้อ "เปลือกสน" มาทำเครื่องปลูก ปัญหา...เก็บความชื้นไม่พอ
ผมแก้ด้วยการเปลี่ยนภาชนะที่ใช้ปลูก
ใช้ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่ เอามาตัดทำกระถาง
ผมใช้ด้านที่เป็นปากขวดเป็นกระถาง ปากขวดมีฝาเกลียวปิด
เจาะรูใส่ลวดแขวน ด้านที่เป็นปากขวดชี้ลงดิน
เวลาลดน้ำก็เอาน้ำใส่ให้เต็ม แค่พอท่วมถึงโคนต้น
ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วคลายเกลียวฝาขวดระบายน้ำออก
เอาฝาเก็บไว้ เปิดปากขวดเพื่อให้อากาศเข้าทางด้านล่าง รากจะได้รับอากาศไปในตัว
วิธีนี้เหมาะกับคนที่ปลูกกล้วยไม้ไม่มาก...มันใช้ได้ดีกับผม
ถ้าเป็นชาวสวนเขาคงหัวเราะกลิ้ง
มัวแต่ปิดฝาขวด เติมน้ำ เปิดฝาขวด ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
ก็เพราะ "สภาพของคน" ไม่เหมือนกัน แต่ต้นไม้มันต้องการเหมือนกัน
คุณแดงมีประสบการณ์เกี่ยวกับกล้วยไม้มาก่อน ถ้าจะกรุณาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
จะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ อาจไม่ใช่เพียงแค่ผมคนเดียว
แต่ทั้งนี้ ความรู้ที่ได้มาจะต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับ "อัตภาพ"
เขียนยาว...ตาเริ่มลาย
คืนนี้กราบราตรีสวัสดิ์คุณลุงคิม และราตรีสวัสดิ์ครับคุณแดง
tanapol tanapole ธนพล ชื่อเดียวเขียนหลายอย่าง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 29/04/2014 11:37 pm ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ ใกล้ม้วย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม....คุณ tanapole
กล้วยไม้ ใกล้ม้วย
บทที่ 1 ก่อนจะเริ่มรายการ
คุณ tanapole PM ถึงผมเมื่อ 22/04/2014 10:26 am
ผมเห็นว่า มีข้อความที่น่าสนใจ จึงขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเวลานำเสนอ เรื่องราวจะได้ต่อเนื่องกัน
สวัสดีครับคุณแดง
ผมไม่ได้หายไปไหนครับ ทำงาน........10.00-16.00 จ.-ศ. กับ.....เป็นงานอดิเรก ปลูกต้นไม้เป็นสันทนาการ
เรื่องกล้วยไม้ผมก็ยังเลี้ยงอยู่ครับ มีเวลาดูแลแค่ตอนเช้ามืดและตอนหัวค่ำ
ยกเว้นวันเสาร์-วันอาทิตย์ ถ้าไม่มีธุระไปไหนผมก็ง่วนอยู่กับต้นไม้ทั้งวัน
ที่เคยตั้งกระทู้เอาไว้ ผมเก็บเอาความรู้ที่คุณแดงกับลุงคิมกรุณาตอบ เอามาทดลอง
ถ้าคุณแดงตั้งกระทู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ผมว่าดีนะ อย่างน้อยที่สุด ประสบการณ์ที่คุณแดงได้รับมา ก็จะได้เป็นประโยชน์ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ และลองทำตาม
การเรียนรู้ด้วยตนเองมันต้องใช้เวลา ซึ่งอาจจะนานมาก แต่ถ้าได้อ่านเรื่องราวจากผู้มีประสบการณ์ จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น เหมือนคนขับรถ ถ้าได้ศึกษาเส้นทางมาก่อนก็จะไปได้อย่างคล่องแคล่ว
ผิดกับคนขับที่ไม่คุ้นกับเส้นทาง ต้องค่อยๆขับ ขับเร็วอาจพลาดผิดเป้าหมาย
พูดถึงสายพันธุ์กล้วยไม้ ผมเลี้ยงมันดะ ต้นไหนสวยถูกใจซื้อ แต่มาอยู่กับผม มันไม่ค่อยจะงาม เลี้ยงใต้ซาแรน50% ลมพัดผ่านตลอดเวลา ส่วนแสงได้แค่ครึ่งวันเช้า
ที่เลี้ยงไว้ก็มีพวกหวายตัดดอก ไอยเรศ ช้าง ออนซิเดียม แคทลียา แวนด้า โดยเฉพาะแวนด้านี่ สำหรับผมแล้วเลี้ยงไม่ขึ้นจริงๆ หมดปัญญา คิดหาวิธีเพิ่มความชื้นในอากาศ แต่มันไม่คุ้ม มีแวนด้า2ต้นเอง พื้นที่ด้านล่างเป็นปูนหมด...สงสัยด้านล่างต้องปลูกเฟินใบมะขาม(ใส่กระถาง)
นับจากที่ตั้งกระทู้ถามไว้แล้วคุณแดงกับลุงคิมมาตอบ ตอนนี้กล้วยไม้เริ่มงาม
เนื่องจากผมมีเวลาดูแลไม่มากนัก การรดน้ำช่วงเช้าอาจจะน้อยไป
ผมเปลี่ยนกระถาง(หวายกับแคทลียา) ใช้ขวดน้ำอัดลม(ขวดเพ็ท) ขวดน้ำดื่มบ้าง เอามาตัดทำกระถาง ใช้ทางด้านที่มีฝาปิดเอามาทำกระถาง เจาะรูแขวนกับลวดแขวน โดยเอาทางปากขวดห้อยลง วัสดุปลูกใช้เปลือกสน(ชอบที่มันทน)
เวลารดน้ำ(ตี5)ผมก็ใส่น้ำจนท่วมถึงโคนต้น ให้น้ำขังอยู่ในกระถางประมาณ5-10นาที เปลือกสนจะได้ดูดซับน้ำได้เต็มที่ เสร็จแล้วผมก็เปิดฝาขวด(เป็นฝาเกลียว) เพื่อระบายน้ำออก ส่วนฝาก็เอาเก็บใส่กระป๋องเอาไว้(เปิดเพื่อให้อากาศเข้าจากด้านล่างทางปากขวด)
ผลคือ...กล้วยไม้งามดี ข้อเสียคือ...ห้ามลืมเปิดฝาขวดเอาน้ำออก ไม่งั้นกล้วยไม้เน่าตายเเหงๆ ก่อนรดน้ำครั้งต่อไปผมก็เอาฝาจุกมาปิด
ปิดๆเปิดๆมันอยู่นี่แหละ วิธีนี้ไม่เหมาะกับสวนกล้วยไม้ แต่มันเหมาะกับผม
... วิธีนี้ผมว่าให้ปุ๋ยไปด้วยในตัวก็น่าจะได้
น้ำที่ผมใช้รดกล้วยไม้ก็เป็นน้ำประปา เปิดใส่ถังขนาด100ลิตร ขังไว้1-2วัน ค่า pH ประมาณ 7 ผมใช้ซิลิสิคแอซิดปรับค่า pH จนเหลือประมาณ6.5 ผมใช้น้ำยาวัดค่าpH ครับ(ว่าจะซื้อ pHมิเตอร์ มาใช้สักตัว) ที่เลือกใช้ซิลิสิคแอซิดปรับค่าพีเอชก็เพราะจะได้ ธาตุซิลิก้า ให้กล้วยไม้ด้วย
ตอนนี้ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร12-25-6+1%Mg(ทดลองใช้ดู)
แล้วก็มีปุ๋ยลุงคิม(ไบโออิ ยูเรก้า ฮอร์โมนไข่)ฉีดพ่นสมทบ
ขั้นต่อไปจะทำการผสมปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำเอง(รอซื้อแม่ปุ๋ยจากคุณชาตรี)
เรื่องเชื้อรา...ตอนนี้ยังไม่มีปัญหา...(เดี๋ยวหน้าฝนคงได้เจอ)
เรื่องดอก...ผมเลี้ยงหวาย(ตัดดอก)ทำไมมันออกแค่ต้นละช่อเดียว
เห็นที่สวนออกต้นละ2-3ช่อ? สงสัยบำรุงแบบสุดๆ อัดปุ๋ยเร่งดอกแบบเต็มเหนี่ยว
ผมจะรออ่านบทความของคุณแดงครับ
สวัสดีครับ...คนรักต้นไม้
ก่อนจะเริ่ม(ความจริงเริ่มมาตั้งนานแล้ว...แต่ยังไม่ค่อยจะสมบูรณ์) ผมขอบอกก่อนครับว่า ผมไม่ได้มีความรู้ในเรื่องกล้วยไม้นักหนา และที่ปลูกเลี้ยงอยู่ก็มีนิดหน่อย และมีไม่กี่สกุล ดังนั้นจึงเพียงแค่พอคุยกันได้นิดหน่อยเท่านั้น และก็จะเป็นความรู้พื้น ๆ ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบโบราณ....ขอให้ถือว่าเป็นการคุยเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันนะครับ
และขอบอกว่า คุณ ธนพล มีความรู้ในเรื่องกล้วยไม้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว.....
ก็คงมีคุณ tanapole. คุยกับผม สองคนเท่านั้น (ลิงจะหลับ หรือคนจะหลับ คอยดูกันไป)เพราะเท่าที่ผ่านมา มีแต่คนอ่าน แต่ไม่เห็นเคยมีใครถามปัญหาลุงคิมเรื่องกล้วยไม้เลย หรือว่าเคยมี จำไม่ได้....
แต่ ยังไง ๆ งานนี้ก็ต้อง ทั้งอ้าง และอิง ลุงคิมละครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tanapole สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014 ตอบ: 48
|
ตอบ: 30/04/2014 1:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และ คุณแดง
นึกว่าไม่มาคุยกันเสียแล้ว...
ความรู้เรื่องกล้วยไม้ สำหรับผม..ไม่เท่าไหร่หรอกครับ
อาศัยอ่านหนังสือ ดูตามเวปไซต์ คุยกับคนที่ปลูกกล้วยไม้
พูดถึงการคุยกัน ถ้านั่งคุยกันสองคน หรือใช้โทรศัพท์คุยกัน
มันก็แค่รู้กันสองคน แต่ถ้ามาคุยกันในเวปบอร์ด ซึ่งใครๆก็เข้ามาอ่านได้
แทนที่จะรู้กันแค่สองคน แต่มันจะรู้กันไปทั่ว ประโยชน์มันมากกว่ากันอย่างเห็นได้ชัด
ผมจะ(หัด)ถ่ายรูป เพื่อนำมาลงในเวปบอร์ดแห่งนี้ จะพยายามทำให้ได้
การได้เห็นภาพจะช่วยให้สื่อสารได้ตรงจุดตรงประเด็นมากขึ้น
ตอนนี้ยังทำไม่เป็นครับ...อายจัง (กำลังศึกษาเรื่องการโพสต์รูป จากกระทู้คุณแดง)
เมื่อสัปดาห์ก่อน(เสาร์ 26.4.2557) เวลาตี 5 (เช้ามืด) ขณะกำลังรดน้ำกล้วยไม้
เจอคนเดินทางมาทักทาย(ผมรดน้ำอยู่นอกรั้ว ข้างบ้าน) แหม..ป๋าขยันจัง
แกพูดว่า...เมื่อก่อนผม(เขา)เคยเป็นลูกจ้างสวนกล้วยไม้แถวๆ "บางบอน"
เป็นลูกจ้างอยู่เกือบ20ปี ผมก็เลยถามว่า เอ่อ..แล้วทำอะไรล่ะ?
เขาก็ตอบว่า ก็รดน้ำ ตัดดอกกล้วยไม้ ส่งนอกบ้าง ส่งปากคลองตลาดบ้าง
ผมถามต่อ...อ้อ แล้วรดน้ำกล้วยไม้ตอนไหนล่ะ?
เขาตอบ...ก็ ตีสาม ตีสี่ นี่แหละ บางทีก็รดน้ำตอนสี่ทุ่ม
ผมถาม...เอ...รดน้ำตอนสี่ทุ่ม นี่เป็นการให้ยา(ภาษาชาวบ้าน)กันราหรือเปล่า?
เขาตอบ...รดน้ำเปล่า
จบการสนทนากันเท่านี้ เพราะเขาต้องรีบไปทำงาน(ตอนนี้เขารับทาสี)
ผมก็ฟังๆ เก็บข้อมูลเอาไว้ ของอย่างนี้ จริงเท็จอย่างไรเราต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ผมเคยรดน้ำตอนสี่ทุ่ม ปรากฎว่าเชื้อรามันมาเยือน
เลยต้องเปลี่ยน มารดน้ำตอนเช้ามืดแทน
แนวคิดของผมเกี่ยวกับกล้วยไม้....
กล้วยไม้ที่มันขึ้นเจริญงอกงามอยู่ตามป่าเขา
ไม่มีใครไปรดน้ำ ให้ปุ๋ย ให้สารป้องกันรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อรา กล้วยไม้ก็อยู่ได้
แต่ทำไมมาอยู่กับคน...ต้องปรนเปรอกันสารพัด
"ไม่มีใครไปรดน้ำ" ก็จริง...แต่ในป่าเขา บนดอยสูง ละอองน้ำในอากาศมี
และก็เพียงพอที่กล้วยไม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้
การมาอยู่กับคน...ที่ต้องปรนเปรอบำรุงกันอย่างดี เพราะคนอยากเห็นดอกกล้วยไม้
ถ้ากล้วยไม้ไม่มีดอก...มันก็คงอยู่แต่ในป่าเขาตามเดิม เพราะคนไม่สนใจ
ความสุขของผมคือการอยู่กับต้นไม้...
ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับต้นไม้ ผมสนใจ เวลาว่างผมใช้เวลาดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้
เชื้อจุลินทรีย์ EM ก็ใช้ (กลิ่นหอมดี)
ตอนนี้กำลังเพาะขยายเชื้อ PSB ซึ่งเป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสง
สีแดงอมม่วง...สวยจริงๆ แต่กลิ่น...เหมือนส้วมแตก มันเหม็นจริงๆ
อาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อ PSB ก็ใช้ ไข่เน่า ไข่เป็ด ไข่ไก่ที่เน่าๆนี่แหละ
แบคทีเรียพวกนี้มีอยู่ในธรรมชาติ อาศัยอยู่กับรากพืช กินอาหารที่มีอยู่ในดิน
พืชได้รับประโยชน์จากแบคทีเรียซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ
และตัวแบคทีเรียเองเมื่อตายลงก็เป็นอาหารของพืชได้อีก
เรื่องจะผสมปุ๋ยใช้เอง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมยังไม่ได้ไปวัดส้มเกลี้ยงเลย
คงต้องรอเดือนหน้า(สัปดาห์ที่4)
เดี๋ยวผมจะรออ่านประสบการณ์การเลี้ยงกล้วยไม้จากคุณแดง
กล้วยไม้อะไรก็ได้ครับ ตามแต่คุณแดงจะสะดวก
อ้อ...เมื่อ 2-3 วันก่อนเห็กระทู้เกี่ยวกับเรื่องข้าว ของ IRRI เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ในประเทศไทยมีคนทำแล้วนะครับ ปลูกห่างๆ หลุมละ 1 ต้น ระยะห่าง 50x50 ซ.ม.
น้ำท่วมขังแค่โคนต้นบ้าง แห้งบ้าง ข้าวแตกกอได้ดี ลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ได้
ไร่หนึ่งเห็นว่าได้หลายตันอยู่ เขาตั้งเป้าเอาไว้ไร่ละ 6 ตัน ขอให้สำเร็จ
ล้มสวนทำนาของคุณแดง อันนี้ยังไม่ได้อ่าน แต่จะอ่านดูในเร็วๆนี้แหละ
แม้ว่าตัวผมเองจะไม่ได้ปลูกข้าว แต่ผมชอบเรียนรู้ รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้ จริงไหมครับ?
สวัสดี....
ธนพล |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|