-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ยาฆ่าหญ้าตรา "เปลือกสับปะรด"
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ยาฆ่าหญ้าตรา "เปลือกสับปะรด"

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 05/08/2011 10:18 pm    ชื่อกระทู้: ยาฆ่าหญ้าตรา "เปลือกสับปะรด" ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยาฆ่าหญ้า ตรา "เปลือกสับปะรด" เมด อิน ไร่กล้อมแกล้ม...


มูลเหตุจูงใจ :

ไร่กล้อมแกล้ม เนื้อที่ 18 ไร่ ใช้งบประมาณเฉพาะค่าน้ำมันเครื่องตัดหญ้าอย่างเดียว ตกเดือนละ 3,000-3,500 ตั้งแต่กำเนิด
มาถึงวันนี้ (12 เดือน X 5 ปี X 3,000 = ? ) ด้วยความกลัวว่า สารพิษในยาฆ่าหญ้าจะไปทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งมี
น้อยอยู่แล้ว วันนี้ก็ยังกลัวอยู่ .... ยอมรับ ใจไม่ถึงจริงๆ

เกือบ 2 ปีเต็ม หรือจะกว่า 2 ปีล่ะ ที่ได้พยาบยามค้นหา "สารสำคัญ" ในพืชอะไรที่เป็นพิษต่อพืชอื่นโดยเฉพาะวัชพืชบ้าง เท่าที่มี
ข้อมูล รู้ว่า เอื้องหมายนา, ผักกาดน้ำ, และล่าสุดคือ เปลือกสับปะรดมีสารที่เป็นพิษต่อพืชอื่น...จากการทดสอบใช้เอื้องหมายนา-
ผักกาดน้ำ แล้วนั้น เบื้องต้นพบว่า "ไม่ได้ผล" กระทั่งมาพบเปลือกสับปะรด ทดสอบแล้ว "ได้ผล" อย่างที่ประจักษ์

งานทดสอบต่อไป :
- ทดสอบใช้สารในเปลือกสับปะรดฉีดพ่นให้แก่พืชอื่น มากชนิดที่สุดเท่าที่โอกาสอำนวย โดยเฉพาะพืชประธาน
- ทบทวน/ปรับปรุง เทคนิคการสกัดและใช้สารสำคัญใน เอื้องหมายนา - ผักกาดน้ำ ใหม่ แล้วทดสอบซ้ำ





1. ชื่อยาฆ่าหญ้าเพราะทำให้ "หญ้าตาย" .... ตราเปลือกสับปะรดเพราะทำมาจาก "เปลือกสับปะรด" ด้วยกรรมวิธี "ชีวภาพ" ก็
แค่นี้แหละ ไม่เห็นมีอะไรเลย



2. ดงนี้ฉีดตอน 9 โมงเช้า แดดแจ๋ ตกบ่ายวันนั้นเกิดฝนตกหนัก คิดอยู่เหมือนกันว่า ผลจะออกมาอย่างไร ปรากฏว่าอีก 3 วัน
ต่อมา หญ้าตายอย่างที่เห็น....อันที่จริงจะเรียกว่าหญ้าตายคงไม่ได้ เพราะมันยังไม่ตาย แต่แค่ "ใบไหม้" เท่านั้น ก็เหมือนๆกับ
"ยาฆ่า-ยาคุม" หญ้าวัชพืชที่ใช้กันทั่วๆไปนั่นแหละ....ว่ามั้ย




3. สังเกตุเงาไม้ ต้องแดดแจ๋ 10 โมงเช้าแบบนี้ ปากใบหญ้าเปิดเต็มที่ จากประสบการณ์ตรงพบว่า พื้นที่หญ้าบางๆ ฉีดพอสัมผัส
ใบพอได้ แต่ถ้าหญ้าขึ้นหนาแน่น ต้องฉีดโชกๆ



4. ฉีดอัดให้ถึงโคนต้น เปียกทั้งใต้ใบบนใบ ไม่ต้องกลัวเปลือง เพราะตรา "เปลือกสับปะรด" เราทำได้เอง ลิตรละไม่ถึง 50 ตังค์....




5. เครื่องฉีดพ่นแบบมือโยก แรงดันไม่แรงจริง ละอองยาลงไม่ถึงโคนต้น ต้องฉีดจี้นาน เสียเวลาน่ะ.....เปลี่ยนมาใช้เครื่อง
ฉีดพ่นแบบปั๊มเครื่องยนต์ คราวนี้สะใจจอร์จ ละอองน้ำเม็ดใหญ่ พุ่งแรงถึงพื้นดิน เปียกโชกทั้งใต้ใบใบ ประหยัดเวลากว่าครึ่ง



6. ผ่านการทดสอบมา 2-3 รอบ ท่ามกลางสภาพอากาศที่ต่างกัน ถึงวันความมั่นใจว่าได้มีมากกว่า 3 ใน 4 ก็เหลืออยู่แต่จะพัฒนา
สูตรให้เข้มขึ้นไปอีกได้อย่างไร ? คำตอบสุดท้าย คือ อะไร ? อยู่ที่ไหน ? เท่านั้น



7. จำภาพ "5 AUG" กับ "หญ้า + พืชประธาน" รอบๆให้ดี ในอีก 3 วัน 5 วัน ข้างหน้าจะเอาภาพนั้นมาให้ดู



8. ระหว่าง "หญ้าแก่ กับ หญ้าอ่อน" ความต้านทานต่อสารพิษน่าจะต่างกันนะ คิดตามประสาคนไม่เคยกินหญ้าว่า หญ้าอ่อน
ต้องอ่อนแอกว่าหญ้าแก่แน่ ..... ว่าแล้วเลยสั่งตัดหญ้าแก่ก่อน รอให้มันแตกใบใหม่ซัก 50-75% ของจำนวนต้นทั้งหมด
หรือสูงซักฝ่ามือ แล้วค่อยส่งตรา "เปลือกสับปะรด" ไปให้ ให้โชกๆ ช่วงสายๆ แดดแจ๋เหมือนเดิม ..... งานนี้น่าจะซัก 7-10
วันได้บรรเลงแน่ จากนั้น 3-4 วัน ภาพก็จะมาปรากฏบนเว้บนี้ ..... ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ เปลือกสับปะรด


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2013 10:39 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 08/08/2011 9:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



เปรียบเทียบ ฉีดวันแรก (ภาพบน) กับหลังฉีด 3 วัน (ภาพล่าง)...... 5 AUG ภาพบนถ่ายตอน 10 โมงเช้า ส่วน 5 AUG ภาพ
ล่าง ถ่ายวันที่ 8 AUG ตอน 8 โมงเช้า แสดงว่าด้วยเวลาเพียง 30 ชม. ภาพใบหญ้าที่เขียวชะอุ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้


7.






8. ความสูงต้นหญ้าราวครึ่งหน้าแข้ง ท่าทางร่อแร่ๆ จะรอดมั้ยเนี่ย แบบนี้ต้องซ้ำ รอบ 2 มั่นใจว่า ชัวร์แน่




9. ตราเปลือกสับปะรดสูตรเดียว ใช้ได้ทั้งวัชพืชใบกว้าง และใบแคบ...




10. แค่นี้ก็น่าจะพอใจแล้วมั้ง.....




11. ดงนี้อยู่ในร่ม แนวทางแก้ไข ตือ....1) ฉีดพ่นซ้ำ 2-3 รอบ....2) ตัดต้นก่อน รอให้แตกยอดใหม่แล้วฉีดพ่นที่ยอดใหม่นั้น




12. ดูสภาพหญ้าแล้วระหว่าง ยาฆ่าหญ้าตราเปลือกสับปะรด กับ ยาฆ่าหญ้าเคมี โฆษณาบ้าเลือด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ต่างกันตรงไหน ยังไงๆ มันก็แค่ใบไหม้เหมือนกัน ไม่ใช่เหรอ....





13. ในโลกแห่งความจริงของยาฆ่าหญ้า "....ไม่มียาฆ่าหญ้ายี่ห้อใด ฆ่าหญ้าให้ตายสนิทอย่างแท้จริงได้ เมื่อใช้ตามอัตรากำหนด
ในฉลากข้างขวด..." สภาพของต้นหญ้าทั้งหลายที่ปรากฏหลังการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าที่แท้จริง คือ "ใบไหม้" เท่านั้น แต่หัว เหง้า
ไหล ยังอยู่ ไม่ช้าไม่นาน หญ้าต้นนั้นก็จะงอกขึ้นมาใหม่ โตกว่าเก่า งามกว่าเก่า พร้อมกับภูมิต้านทานสูงกว่าเก่า

ยาฆ่า-ยาคุม หญ้าในนาข้าว ช่วงระยะกล้า ถึง ระยะออกรวง มักยังไม่พบว่ามีหญ้าขึ้นแทรกต้นข้าว ชาวนาก็ว่า ยาฆ่า-ยาคุม ยี่ห้อนี้ดี
แต่ครั้นต้นข้าวถึงระยะออกรวง กลับมีต้นหญ้าโตแทรกแข่งกับต้นเต็มทั้งแปลง คราวนี้ชาวนากลับเงียบกริบ ไม่กล้าแม้แต่สงสัยว่า
หญ้าขึ้นมาจากไหน ขึ้นมาได้ไง

จะมีชาวนา หรือคนใช้ยาฆ่าหญ้าสักกี่คนที่รู้ว่า ทันทีที่ผสมยาฆ่าหญ้ากับน้ำเปล่าเสร็จ ยาฆ่าหญ้าจะเสื่อมสภาพทันที ด้วยปฏิกิริยา
เคมีเบื้องต้น (กรด + ดาง = เกลือ + น้ำ) เมื่อเอาไปฉีดหญ้าจึงไม่ตาย ชาวนาหรือคนใช้ยาฆ่าหญ้ากลับแก้ปัญหาด้วยการเพิ่ม
อัตราการใช้ให้มากขึ้น มากขึ้น มากเกินกำหนดข้างขวด 300-500% นั่นคือ นอกจากสิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นการเพิ่มสารพิษ (ในยา
ฆ่าหญ้า) ต่อพืชประธาน ดิน น้ำ อากาศ แมลงธรรมชาติ จุลินทรีย์ และสภาพโครงสร้างดินอีกด้วย



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/08/2011 3:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 09/08/2011 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides)


สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ยาฆ่าหญ้า” ในประเทศไทยมีใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว
และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแรงงานในภาค เกษตรกรรมมีลดลง จึงจำเป็นต้องนำสารเคมีเข้ามาทดแทนมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาสารเคมีกลุ่มนี้ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพใน การ
กำจัดวัชพืชที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้


ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มของสารเคมีกำจัดวัชพืชหลายแบบ เช่น การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการเตรียมดิน
ก่อนปลูกพืช (pre-planting), สารเคมีที่ใช้หลังหว่านพืช (pre-emer gence) และสารเคมีที่ใช้หลังจากพืชงอกพ้นดินแล้ว
(post-emer gence) หรือการแบ่งตามกลไกการเกิดพิษต่อพืช ได้แก่ สารเคมีที่มีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในการทำลายพืชบางชนิด
(selective), สารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อสัมผัสถูกใบ (contact) และสารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในระบบลำเลียง
น้ำและอาหารของพืช(translcated) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตามโครงสร้างของสารเคมี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็น
ภาพของสารเคมีแต่ละชนิดที่มีผลต่อการทำงานของพืช บทความนี้จึงขอแบ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชออก เป็นประเภทต่างๆตามกล
ไกการออกฤทธิ์ในพืช และแบ่งย่อยตามโครงสร้างทางเคมี พร้อมทั้งตัวอย่างของสารเคมีกำจัดวัชพืชในแต่ละประเภทที่มีจำหน่าย
ในประเทศไทย รวมทั้งความเป็นพิษต่อมนุษย์ ที่เกิดจากสารเคมีกลุ่มนี้ด้วย



(A) Growth regulators :
เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ออกฤทธิ์ต่อความสมดุลย์ของฮอร์โมน
Phenoxy carboxylic acids : 2,4-D; 2,4-DB
Benzoic acids : dicamba
Pyridine carboxylic acids : picloram, triclopyr
Quinoline carboxylic acids : quinclorac
Phthalamates : naptalam (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
Semicarbazones : diflufenzopyr-Na (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
Othes: benazolin-ethyl (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)



(B) Amino acid synthesis inhibitors :
เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เฉพาะเจาะจง ในการป้องกันการสร้าง amino acid ซึ่งเป็นสารประกอบที่
สำคัญในการเจริญ เติบโตของพืช ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ ได้แก่
Imidazolinones : imazapyr, imazethapyr
Sulfonylureas : bensulfuron-methyl, metsul furon-methyl, pyrazosulfuron-ethyl
Triazolopyrimidines : diclosulam, metosulam (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Pyrimidinyl (thio) benzoates : bispyribac-Na, pyribenzoxim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Sulfonylaminocarbonyl-triazolinones : flucarba zone-Na, procarbazone-Na (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Glycine: glyphosate, sulfosate
Phosphinic acid: glufosinate-ammonium



(C) Lipid synthesis inhibitors :
เป็นสารเคมีที่มีผลต่อ การยับยั้งการสร้าง fatty acid ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ cell membrane
Cyclohexanediones : alloxydim, butroxydim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Aryloxyphenoxypropionates : quizalofop, fenoxaprop, propaquizafop, haloxyfop-R-methyl
Thiocarbamates : EPTC, benthiocarb, molinate
Phosphorodithioates : bensulide (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
Benzofuranes: benfuresate, ethofumesate (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Chlorocarbonic acids : dalapon



(D) Seedling growth inhibitors :
เป็นสารเคมีที่ออก ฤทธิ์รบกวนการงอกของพืช โดยยับยั้งการเจริญเติบโตของราก หรือลำต้น ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่
Dinitroanilines : butralin, pendimethalin
Phosphoroamidate : amiprophos-methyl, butamiphos (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Pyridine : dithiopyr, thiazopyr (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
Benzomides : tebutam, pronamide (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
Benzoic acids : chlorthal-dimethyl (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
Carbamates : asulam
Chloroacetamides : alachlor, butachlor, aceto- chlor, pretilachlor, propisochlor
Acetamides : diphenamid, naproanilide (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
Oxyacetamides : flufenacet, mefenacet (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
Tetrazolinones : fentrazamide (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
Others: anilofos, piperophos



(E) Photosynthesis inhibitors :
เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง่กระบวนการสังเคราะห์แสง โดยการจับกับ specific site ในคลอโรฟิล ตัวอย่างของสารเคมีใน
กลุ่มนี้ได้แก่
Triazines : ametryn, atrazine, dimethametryn, hexazinone, matribuzin
Triazinones : metribuzin (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
Uracils : bromacil
Pyridazinones : pyrazon (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
Phenylcarbamates : desmedipham (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
Ureas : diuron, linuron
Amides : propanil
Nitriles : bromoxynil (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Benzothiadiazinones : bentazon
Phenylpyridazines : pyridate (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)



(F) Cell membrane disrupters :
เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำลาย เนื้อเยื่อของพืช โดยการทำให้มีการแตกสลายของ cell membrane ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้
ได้แก่
Bipyridyliums : paraquat
Diphenylethers : CNP, fomesafen, oxyfluorfen
Phenylpyrazoles : fluazolate (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
N-phenyl phthalimides : flumioxazim (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
Thiadiazole: thidiazim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
Oxidizoles : oxadiazon
Triazolinones : carfentrazone-ethyl, sulfentra- zone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Triazolopyridinones : azafenidine (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
Oxazolidinediones: pentoxazone (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
Dinitrophenols: dinoseb, DNOC (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)



(G) Pigment inhibitors :
เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง การสร้างรงควัตถุที่จำเป็นในการสังเคราะห์แสง สารเคมีกลุ่มนี้มีเพียง Nicotinan ตัวอย่า
งของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่
Isoxazolidinones : clomazone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Pyridazinones : norflurazon(ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Nicotinanilides : diflufenican
Triketones : mesotrione, sulcotrione (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Isoxazloes : isoxachlortole, isoxaflutole (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Pyrazoles : benzofenap, pyrazolynate(ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Triazole : amitole (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Ureas : fluometuron (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Diphenylether : aclonifen (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Others : benflubutamid, fluridone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)



(H) Cell wall synthesis inhibitors :
เป็นสารที่ออกฤทธิ์ โดยการยับยั้งการสร้าง cellulose ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ cell wall ในประเทศไทยไม่มีสารเคมี
กลุ่มนี้จำหน่าย ตัวอย่างของ สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่
Nitriles : dichlobenil, chlorthiamid
Benzamides : isoxaben
Triazolocarboxamides : flupoxam



(I) Unknown :
Arylaminopropionic acids : flamprop-M-methyl-isopropyl (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
Pyrazolium : difluzoquat (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
Organoarsenicals: DSMA, MSMA
Others : cinmethylin, dazomet, fosamine



จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชมาก บ่อยครั้งที่มักเกิดความเข้าใจผิดของผู้ใช้
ผู้ที่ได้รับพิษ ตลอดจนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ให้การรักษาผู้ป่วย ในเรื่องเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีพบว่า เมื่อกล่าว
ถึงยาฆ่าหญ้า ก็มักจะคิดว่าเป็น Gramoxone หรือ paraquat เสมอ เนื่องจากในอดีตสารดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด
ที่นิยมใช้กันมาก ขณะเดียวกันก็มีความเป็นพิษต่อมนุษย์สูง จากความเข้าใจผิดดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ได้รับพิษได้รับการรักษาที่
ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือมากเกินความจำเป็น

ถึงแม้ว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชจะมีหลายกลุ่ม แต่ในแง่ความเป็นพิษต่อมนุษย์แล้ว อาการเป็นพิษเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเป็น
local effects เช่น อาการทางระบบทางเดินอาหาร จะมีคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น ระบบทางเดินหายใจ
จะมีอาการระคายเคืองหายใจไม่สะดวก ส่วน systemic effects ที่เกิดจากสารเคมี กำจัดวัชพืชนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
ที่รู้จักกันดีคือ paraquat และ 2,4-D



paraquat
นอกจากทำให้เกิดอาการระคายเคืองในทางเดินอาหารส่วนต้น และอาการบวมแดงในปากจากฤทธิ์กัดกร่อน ประมาณ 1-4 วัน
หลังได้รับ paraquat จะมีไตวายจาก acute tubular necrosis ต่อมาจะมีพิษต่อตับโดยเกิด hepatocellular damage
และสุดท้ายมีพิษต่อปอด การเกิด lung injury ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ตามปกติ มีภาวะ hypoxia จนเกิด respiratory
failure ได้ ในรายที่ได้รับเข้าไปปริมาณมากจะเกิด multiple organ failure และเสียชีวิตในเวลาอันสั้น จากความเป็นพิษ
รุนแรงดังกล่าว จึงมีการผสมสีน้ำเงิน-ฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่ม และยากระตุ้นให้อาเจียนลงในผลิตภัณฑ์
ในผู้ที่กิน paraquat เข้าไป จึงมักจะอาเจียนหลังกินและอาจจะตรวจพบมีสีน้ำเงินปนเปื้อนรอบๆ ปากให้เห็นได้ หรือ gastric
content เป็นสีฟ้าๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยืนยันการวินิจฉัย



2,4-D
แม้โดยทั่วไปจะมีอาการเฉียบพลันที่ไม่รุนแรงนัก แต่มีรายงานผู้ป่วยบางรายเกิดอาการรุนแรงจนชักและหมดสติได้ (รายละเอียด
ในเรื่อง Agent Orange (จุลสารพิษวิทยา ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2542)

อย่างไรก็ตาม ยังมีสารเคมีกำจัดวัชพืชอีกหลายชนิดที่มีข้อมูลว่ามีความเป็นพิษในมนุษย์ต่ำ บางชนิดไม่ทราบกลไกการเกิดพิษ
ที่แน่ชัดในมนุษย์ แต่มีรายงานการเกิดพิษรุนแรงได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ glyphosate, butachlor



glyphosate
เป็นสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง amino acid ในพืช ปัจจุบันในประเทศไทยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีชื่อการค้ามากมาย
เช่น ราวด์อัพ, ทัชดาวน์, สปาร์ค, ไกลโฟเสท ฯลฯ โดยเป็นสารที่จัดว่ามีความเป็นพิษในมนุษย์ค่อนข้างต่ำ แต่มีการศึกษาในผู้ป่วย
ที่ได้รับ glyphosate ที่มารักษาในโรงพยาบาล Changhau Christian ที่ไต้หวัน พบว่าจากจำนวนผู้ป่วย 93 รายเป็น ใน
กลุ่มแรก ไม่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการเล็กน้อย กลุ่มหลังมีอาการตั้งแต่ เจ็บคอ, กลืนลำบาก, เลือดออกในทางเดินอาหาร, เกิด
อันตรายต่อตับ ไต ปอด ระบบหลอดเลือด และระบบประสาท ในจำนวนนี้เสียชีวิต 7 รายด้วยความดันโลหิตต่ำ, pulmonary
edema นอกจากนี้ยังมี รายงานการเกิด pneumonitis ในเกษตรกรที่สัมผัสกับสารชนิดนี้ด้วย

สารเคมีอีกชนิดหนึ่ง คือ butachlor มีรายงานว่าทำให้เกิด methemoglobinemia ขึ้นในผู้ป่วยรายหนึ่ง
ที่กินสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดนี้เข้าไป

จะเห็นว่าแม้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะมีหลายประเภท หลายชนิด แต่ถ้าได้ศึกษาความหลากหลายนี้แล้ว คงจะพอเข้าใจถึงพิษภัยที่จะ
เกิดแก่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม บางชนิดอาจจะไม่มีข้อมูลด้านความเป็นพิษต่อมนุษย์ หรือจัดว่าเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่ำ ในเวชปฎิบัติ
พบว่าสามารถทำให้เกิดพิษรุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าได้มี การรายงานภาวะการเกิดพิษดังกล่าวขึ้น จะช่วยให้
แพทย์ผู้รักษาได้ตระหนักถึงเมื่อมีผู้ป่วยได้รับพิษจากสารเคมีชนิดนั้นๆ เพื่อให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป




เอกสารประกอบการเรียบเรียง
Ecobichon DJ. Toxic effects of herbicides: Herbicides. In: Klaassen CD, Amdur MO, Doull J, editors. Casarett and Doull’s Toxicology: The Basic Science of Poisons. 5th ed. New York: McGraw-Hill. 1996. p.670-6.
Gunsolus JL, Curran WS. Herbicide Mode of Action and Injury Symptoms. [Online] North Central Regional Extension Publication No.377: Reviewed 1999. Available from: URL:http/ /www.extension.umn.edu/Documents/D/C/DC3832.html. [Access 1999 June 15].
Schmidt RR. HRAC Classification of Herbicides accord- ing to Mode of Action. [Online] Brighton Crop Protection Conference Weeds 1133-1140,1997. Available from: URL: http://www.plant protection.org/HRAC/MOA.html. [Accessed 1999 July 2].
Talbot AR, Shiaw MH, Huang JS, et al. Acute poisoning with a glyphosate-surfactant herbicide (Roundup): a review of 98 cases. Hum Exp Toxicol 1991:10:1-8.
Tominack RL, Yang GY, Tsai WJ, Chung HM, Deng JF. Taiwan National Poison Center survey of glyphosate- surfactant herbicide ingestions. J Toxicol Clin Toxicol 1991;29(1):91-109.
Satianrapapong Y, Wananukul W, Sriapha C. Severe methemoglobinemia: an uncommon presentation of poisoning of herbicide containing butachlor. Rama Med J 1997;20:169-173.
รายชื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว ์ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย: สารเคมีกำจัดวัชพืช. (ข้อมูลชื่อการค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จากกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชา การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2540) [โปรแกรม คอมพิวเตอร์]. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2541.



http://www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter/bulletin/bul99/v7n3/Herb.html


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/11/2020 5:58 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 10/08/2011 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลงานตรา "เปลือกสับปะรด" แน่อน-นอนแน่....เรียบร้อย-ร้อยเรียบ



1. รอวันเธอว่าง....ขอเวลาแดดจ้าแค่ 3 วันเท่านั้น เซ็ดมะก้องด้อง



2. งานนี้ขอแค่แปลงไม้ผล ที่ใบยังห่างจากสารออกฤทธิ์ของเจ้าตราเปลือกสับปะรด ส่วนแปลงพืชอย่างอื่น นาข้าว
ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชไร่ พืชสวนครัว ที่ใบอยู่ชิดติดกับหญ้า ยังไม่รับประกัน โดยเฉพาะนาข้าว ต้นข้าวก็พืชตระกูลหญ้า
โอกาส รอด/ไม่รอด ไม่รู้ ใครอยากทดลองก็เชิญ




3. งานเข้า....อนาคตเร็วๆนี้ ขอทดสอบกับพืชประธาน พืชนานาชนิด ทั้งใบอ่อน ใบแก่ ทั้งฉีดพ่นแบบผ่านบางๆ กับเจตนา
ฉีดพ่นให้โชกไปเลย ..... เอาน่า ขอซัก 2-3 รอบ เพื่อความแน่ใจ แล้วจะเอามาเล่าสู่ฟัง




4. ใบไหม้เหมือนตากแห้ง เมื่ออัดทับลงไปด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง เศษหญ้าแห้งพวกนี้ก็กลายเป็นปุ๋ยไปแล้ว




5. พวกหนึ่งใบไหม้แห้งเกรียมไปแล้ว แต่พวกหนึ่งยังเขียวอยู่ได้ ถึงจะไม่เขียวสดเหมือนเดิม ถ้าจะเอาผลงานแบบ
กล้อมแกล้มๆ ทำกันไปก็คงพอไหว แต่คำตอบสุดท้ายนี่สิ มันคืออะไร เพราะอะไร แก้ไขยังไง ได้ไหม ต่างหาก ที่มัน
คาใจ ..... นับ 1 แล้วต้องนับต่อ นับเองด้วย เพราะไม่มีใครมาช่วยนับให้




6. เป้าหมายต่อไป ขอวันแดดจ้าซัก 2-3-4 ชม.ช่วงเช้าเท่านั้น ตกบ่ายถึงจะมีฝนตรา "เปลือกสับปรด" ก็ไม่หวั่น...เปรียบเทียบ
ความหนาของหญ้กับความสูงของไอ้เจ้าเพนด้า หมาเรียกขะโมยเข้าบ้านก็ได้




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 1:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 10/08/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


15. มะม่วงดงนี้ตัดหญ้าเดิมก่อน รอให้แตกยอดใหม่ซัก 50-70% ถึงจะอัดตรา "เปลือกสับปะรด" ลงไป .... จินตนาการไว้ว่า
ใบอ่อนน่าจะกำจัดได้ง่ายกว่าใบแก่




16.




17.




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 12:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 11/08/2011 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ยาฆ่าหญ้าตรา "เปลือกสับปะรด" นวตกรรมโลกไร้พรมแดนของคนบ้าๆ.... LOT นี้ทุน 1 (+) บาท/ลิตร.....แพงไปหน่อย
ยังไม่รู้เหมือนกันว่า LOT นี้จะเหมือน LOT ที่แล้วหรือไม่ ไม่ต้องกลัวเพราะเรื่องแบบนี้ "ปรับ" ได้






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 26/08/2011 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


6.
ฉีดตอนเช้าราว 7 โมง ใบหญ้ายังเปีกเพราะฝนตกตอนกลางคืน ผลคือ ไม่ได้ผล



7.
เปลี่ยนเทคนิคใหม่ ให้ฉีดพ่นตอนสายๆ (9-10 โมง) แสงแดดจ้า กับคาดว่าทั้งวันของวันนั้นต้องมีแดดตลอดวันด้วย....
ถึงวันนี้แผนใหม่ยังไม่ได้เริ่ม เพราะท้องฟ้าไม่ครึ้มก็ฝน




8.
ผลงานจาก ฉีดพ่นตอนแดดจ้า 9-10 โมงเช้า ต่อด้วยแดดจัด 2 วันซ้อน




9.
ทดสอบซ้ำด้วยหลักการเดิม (ฟ้าฝนจะเหมือนเดืมหริอไม่ ไม่รู้) เพื่อดูว่า หญ้าสูงหนาขนาดนี้ ตราเปลือกสับปะรดจะสู้ไหวไหม ?



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
barthe
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 06/09/2013
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 06/09/2013 6:58 pm    ชื่อกระทู้: Re: ยาฆ่าหญ้าตรา "เปลือกสับปะรด" ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีเฟสบุคให้ติดตามไหมครับ อยากทราบส่วนผสม และอัตราการใช้ (ใช้ข้นหรือผสมน้ำเปล่าด้วย) Facebook/charatwit na bangchang เฟสผมครับ

ขอบคุณ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 06/09/2013 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ไม่มีครับ.....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kamonchai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/08/2013
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 10/09/2013 8:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากรู้วิธีทำจัง บอกได้มั้ยครับ Laughing Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11679

ตอบตอบ: 11/09/2013 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2483
สมุนไพรกำจัดวัชพืช...


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=363
ผักกาดน้ำกำจัดวัชพืช....


http://homeenrich.blogspot.com/2013/07/how-to-kill-grass-in-home.html
เปลือกสับปะรดกำจัดวัชพืช....


http://kasetsamunpri.blogspot.com/p/blog-page_3999.html
สมุนไพรกำจัดวัชพืช...


http://www.gotoknow.org/posts/30573
วิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงนาโดยไม่ใช้สารเคมี....


http://www.ban-nongkhon.com/บ้านหนองขอนดอทคอม/เกษตรอินทรีย์/สูตรสารป้องกันกำจัดวัชพืช/
สูตรน้ำหัวผักกาดหัวไชเท้าคุมหญ้า-ฆ่าหญ้าในนาข้าว/17/default.aspx
หัวไชเท้ากำจัดวัชพืช...


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2560e76221dc19fd
สูตรยาฆ่าหญ้าในไร่สับปะรด....



พอแล้วมั้ง....เยอะมากๆ ๆๆ ๆๆ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 11/09/2013 6:09 pm    ชื่อกระทู้: คนรุ่นใหม่ ความรู้อาจจะสูง แต่มารยาท....ไม่สูง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกผู้มีความรู้สูงและมีสติปัญญาทุกท่าน

ผมฟังรายการที่ลุงคิมออกอากาศเกือบจะทุกวัน เปิดรายการขึ้นมาลุงจะพูดก่อนเลยว่า

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วนสี่ตัว ฝากข้อความ ฝากคำถาม ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการ ที่โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986.....

คำว่า "ท่านผู้ฟังที่เคารพ" แสดงว่าลุงคิมให้เกียรติท่านผู้ฟังทุกท่าน แต่สมาชิกรุ่นใหม่ ระยะหลังๆ ที่เข้ามา เพื่อหาความรู้ อยากได้ความรู้ แต่หาได้รู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน การมีสัมมาคารวะ แต่อย่างใดไม่...

พุทธพจน์....ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้รับสิ่งที่เลิศกว่า .

..เว็ปของลุงคิม เปรียบเสมือนบ้านของลุงคิม คุณเข้าบ้านลุงคิม บางคนเข้ามาถึงบางคนแทบจะบีบคอลุงคิม ...ไอ้นี่ทำยังไง ไอ้นั่นทำยังไง

ผมเป็นคนรุ่น ไม่เก่า-ไม่ใหม่ แต่โชคดีที่ผมได้รับการอบรมมาดี ให้รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ รู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน

ขอให้คุณรับรู้ความรู้สึกของลุงคิม เอาเข้าไปไว้ในจิตใจของคุณบ้าง ถ้าเป็นคุณ มีคนมาพูดหรือมาทำแบบนี้กับคุณบ้าง คุณจะรู้สึกอย่างไร ขนาดผมไม่ใช่ลุงคิม เห็นแล้วผมยังมีความรู้สึก การกระทำแบบนี้ เข้าบ้านใครก็ตาม อดตาย ....อย่างดีก็แค่ให้น้ำกินพอแก้กระหาย

คำตอบที่ลุงคิมตอบคนประเภทนี้ ก็เปรียบเหมือน ลุงคิมให้น้ำกินพอแก้กระหายเท่านั้น ......


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©