-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 72, 73, 74
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 10/10/2013 11:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง ...


1,959. ปุ๋ยเคมีทำลายผืนดินไทยมหาศาล เร่งวิจัยจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษ

----------------------------------------------------------------------------------------------------



1,959. ปุ๋ยเคมีทำลายผืนดินไทยมหาศาล เร่งวิจัยจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษ


กรมพัฒนาที่ดินระบุผืนดินไทยกว่า 100 ล้านไร่เข้าขั้นเสื่อมโทรม ฉุดผลผลิตต่อไร่ลดฮวบแพ้ประเทศคู่แข่ง เพราะเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยเคมีมายาวนานกว่า 50 ปี พร้อมเผยผลวิจัยจุลินทรีย์แก้ปัญหาดินเสื่อม ตั้งเป้าพัฒนาจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษสร้างโรงผลิตปุ๋ยในดิน ระบุหากประสบผลสำเร็จเกษตรกรจะไม่ต้องซื้อปุ๋ยอีกต่อไป ลดปริมาณนำเข้าปุ๋ยเคมีมูลค่ามหาศาล

นับตั้งแต่ประเทศไทยปฏิวัติเขียวเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา โดยปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรพื้นบ้านเป็นการทำเกษตรแบบแยกส่วน เน้นการผลิตแบบเชิงเดี่ยวปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวในพื้นที่ติดต่อกันผืนใหญ่ในลักษณะของเกษตรอุตสาหกรรม ที่เน้นเพิ่มผลผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตรต่างๆ เพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ก่อผลเสียสะสมมาอย่างยาวนานจะทำให้ผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านถึง 1 เท่าตัว รวมทั้งสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภคก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ

ผลสำรวจพบที่ดิน 70% เสื่อมโทรม :
ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของเกษตรกรมาสู่การพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืชปรับเปลี่ยนผืนดินที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนไปสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และรักษาผืนดินให้สามารถสร้างผลผลิตได้อีกยาวนาน โดยในขณะนี้พื้นที่ทำการเกษตรของไทยทั้งหมด 150 ล้านไร่ มีพื้นดินที่เข้าขั้นเสื่อมโทรมอยู่ถึง 100 ล้านไร่ หรือเกือบ 70% ของพื้นที่ทั้งประเทศ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่กรมพัฒนาที่ดินจะต้องเร่งเข้าไปแก้ไข

โดย ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาที่ดินเสื่อมโทรมของไทยนับวันก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพื่อนำไปซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรเพิ่มขึ้นเพื่อคงระดับของผลผลิตไม่ให้ลดลง แต่การแก้ไขปัญหาตามแนวทางนี้ก็ยิ่งทำให้พื้นดินเสื่อมโทรมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะองค์ประกอบดินที่อุดมสมบูรณ์จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ สัตว์ขนาดเล็กจำพวกใส้เดือนฝอยไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ใส้เดือน ปลวก มด ที่ทั้งหมดนี้จะมีหน้าที่ทำให้ดินมีความสมบูรณ์ แต่การใช้สารเคมีเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ และสัตว์ต่างๆเหล่านี้ตายลง ทำให้ที่ดินเสื่อมลงเรื่อยๆ

ปุ๋ยเคมีแพง ดันยอดใช้ปุ๋ยชีวภาพพุ่ง :
ดังนั้นในการฟื้นฟูให้ดินกลับขึ้นมาดีอีกครั้งจะต้องเริ่มที่การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่างๆให้มีปริมาณเพื่มขึ้น และเมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้มีมากขึ้นสัตว์บำรุงดินน้อยใหญ่ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามมา ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อยๆทำให้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทางวัตถุดิบมาจากปิโตรเลียมก็มีราคาสูงขึ้น ทำให้มีเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพเพิ่มขึ้นก็ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณ 25%

ทั้งนี้กรมพัฒนาที่ดินได้เร่งวิจัยที่จะพัฒนาพันธุ์จุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงดินเพิ่มสารอาหารในดินให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยได้ออกไปเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในป่าที่อุดมสมบูรณ์มาคัดแยกพันธุ์ให้ได้เชื่อจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.ชนิดต่างๆ ซึ่งลักษณะเด่นที่ทำให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพต่างจากจุลินทรีย์ในกลุ่มอื่นๆคือความสามารถในการตรึงในโตรเจน เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร และความสามารถในการผลิตฮอโมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งล่าสุดกรมพัฒนาที่ดินได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ พด.12 ที่สามารถตรึงในโตรเจนจากอากาศและในพื้นดินให้เกิดประโยชน์กับพืช เพิ่อประสิทธิภาพในการย่อนสลายฟอสฟอรัส และโพแตสเซียมให้พืชนำขึ้นมาใช้ได้ รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างฮอโมนกระตุเนการเจริญเติบโตของพืช

เร่งวิจัยตั้งโรงผลิตปุ๋ยในดิน :
อย่างไรก็ตามแม้ว่า พด.12 จะมีประสิทธิภาพที่ครบถ้วนในการบำรุงพืช แต่กรมฯยังได้ทุ่มวิจัยพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยได้วางเป้าว่าจะผลิตจุลินทรีย์เพื่อสร้างโรงปุ๋ยในดิน ทำให้เกษตรกรแทบไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม ซึ่งได้พยายามปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ตรึงในโตรเจนที่ในปัจจุบันตรึงในโตรเจนได้เฉลี่ย 3 กิโลกรับต่อไร่ต่อปี เป็นเงินเฉลี่ย 97 บาทต่อไร่ ให้เพิ่มปริมาณการตรึงไนโตรเจนให้ได้ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งจะประหยัดค่าปุ๋ยในโตรเจนเป็นเงิน 440 บาทต่อไร่ ถ้าทำได้จะไม่ต้องพึ่งปุ๋ยในโตรเจนเลยในอนาคต

นอกจากนี้จะปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ที่ในปัจจุบันละลายหินฟอสเฟตได้ 435 มิลกรัมต่อกิโลกรัม ให้เพิ่มขึ้นอีก 30-45% รวมทั้งปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ละลายโพแตสเซียมให้ละลายเพิ่มขึ้นจากสูตรเดิมอีก 30% และปรับปรุงจุลินทรีย์ให้เพิ่มฮอโมนออกซิน จากในขณะนี้ 56.17 ppm เพิ่มขึ้นเป็น 297 ppm ซึ่งจะทำให้ในอนาคตเพียงหว่านหินฟอสเฟต พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เลยโดยม่ต้องซื้อปุ๋ย และมีฮอโมนที่มากพอในการกระตุนการเจริญเติบโตให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผืนดินมีโรงงานสร้างปุ๋ยในดินได้เองโดยพึ่งพาปุ๋ยจากภายนอกน้อยมาก ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง ลดการพึ่งพาสารเคมีมีสุขภาพดีขึ้น และยังเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

สำหรับเป้าหมายการเตรียมพื้นที่ที่จะเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์จะจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ให้ครบทุกหมู่บ้านภายในปี 2554 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะลงไปจัดตั้งกลุ่มให้ความรู้ในการใช้จุลินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมี ฝึกปฏิบัติในพื้นที่ สอนการบริหารกลุ่มให้เข้มแข็ง และมีการตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้เกษตรกรทั้งประเทศให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะค่านิยมในการใช้ปุ๋ยเคมีฝั่งแน่นในเกษตรกรไทยมายาวนานกว่า 50 ปี และการใช้ปุ๋ยเคมีก็มีความสะดวกสบายเห็นผลได้เร็วกว่า ต่างจากปุ๋ยอินทรีย์ที่ต้องลงมือผลิตเอง และใช้เวลาการในการหมักให้ได้คุณภาพ

ดันจุลินทรีย์ปราบศัตรูพืชทดแทนสารเคมี :
ไม่เพียงเท่านั้น กรมพัฒนาที่ดินยังได้วิจัยจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการปราบศัตรูพืชและรักษาโรคพืชด้วย เช่น ซุปเปอร์ พด.3 มีจุลินทรีย์ควบคุมเชื่อสาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืช ซึ่งจุลินทรีย์นี้สามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกมายับยั้งเชื่อที่ก่อให้เกิดโรคพืช หรือจุลินทรีย์ที่สามารถขับเอนไซม์ออกมาทำลายผนังเซลทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชแตกสลาย นอกจากนี้ยังมีสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ที่มีจุลินทรีย์ผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งกรมพัฒนาที่จะจะพย่ายามผลิตจุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดรายจ่ายให้กับเกษตรกรให้มากที่สุด โดยผลผลิตที่ได้ก็จะปลอดจากจากเคมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งยังทำให้พื้นดินมีความสมบูรณ์เหมาะกับการขยายผลผลิตรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจชาติในอนาคต



http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9530000104645
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 12/05/2024 2:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 72, 73, 74
หน้า 74 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©