-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 4 FEB .... เทคนิคให้ปุ๋ยทางใบ- มันเทศญี่ปุ่น
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 4 FEB .... เทคนิคให้ปุ๋ยทางใบ- มันเทศญี่ปุ่น

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11614

ตอบตอบ: 04/02/2014 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 4 FEB .... เทคนิคให้ปุ๋ยทางใบ- มันเทศญี่ป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 4 FEB

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************


สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (099) 167-38xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันพูดถึงเทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบ ทางราก ที่เป็นวิชาการ (วิชาการ) ให้พืชได้รับสูงสุด เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ ผมมีไม้ผลให้ผลผลิตแล้ว 12 ไร่ มะม่วง ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เป็นสวนพื้นราบ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- อยู่จังหวัดไหนก็น่าจะบอกมาหน่อย เพราะธรรมชาติแต่ละพื้นที่ไม่เหมือน กัน อย่างเช่น เชียงรายกับนราธิวาส ตราดชายทะเลกับศรีษะเกษ การที่ธรรมชาติต่างกันทำให้ความต้องการสารอาหารทั้ง “ชนิดและปริมาณ” ต่างกันด้วย .... เอาเป็นว่า รู้แบบกว้างๆ ไว้ก่อนก็แล้วกัน

– หลักการพื้นฐาน คือ ต้นพืชรับสารอาหารหรือปุ๋ยได้ 2 ทาง ทางใบกับทางราก เมื่อไม่รู้ว่าทางรากส่งสารอาหารไปเลี้ยงต้นได้หรือไม่ เราก็ให้ทางใบแทน แม้ไม่เต็มร้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย หรือแม้ว่า ทางรากส่งสารอาหารได้แล้วให้ทางใบเพิ่มเข้าไปอีก ก็เท่ากับได้ทั้ง 2 ทาง ซึ่งต้องดีกว่าได้รับทางเดียวแน่นอน

- ปัจจัยที่มีผลต่อพืชหลังจากได้รับสารอาหาร (ปุ๋ย) ทั้งทางใบและทางรากไป แล้ว การตอบสนองหรือการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน ได้แก่

** ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตามโซนภูมิศาสตร์โลก .... ในความชื้นมีไน โตรเจน ในเมื่อไนโตรเจนคือสารอาหารสร้างการเจริญโตโดยตรง ภาคไต้มีความ ชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง จึงไม่จำเป็นต้องให้มากนัก ในขณะที่ภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อย จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่พืช เช่น การใช้ยูเรก้า 412 เหมาะสำหรับพืชภาคเหนือ ส่วนยูเรก้าธรรมดา เหมาะสำหรับพืชภาคไต้

** ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตามฤดูกาล ภาคไต้มีฤดูร้อนกับฤดูฝน กับมีสายลมที่พัดขึ้นมาจากทะเลตลอดเวลา ในสายลมทะเลมีสารอาหารพืชที่ระเหิดขึ้นมาจากน้ำทะเล เช่น แม็กเนเซียม สังกะสี โซเดียม ปนเปื้อนอยู่ด้วย แต่ภาค เหนือ ทุกฤดูกาลจะไม่มีสารอาหารเหล่านี้เลย ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องจัดหาให้แก่พืช

** กับอีกหลากหลายปัจจัย ที่ทำให้ “ปุ๋ย” ทั้งทางใบและทางราก เกิดประ สิทธิภาพประสิทธิผลต่างกัน ทั้งที่เป็นสูตร (เรโช) เดียวกัน ให้แก่พืชชนิดเดียว กัน และทุกเทคนิคเดียวกัน....ที่กล่าวอย่างนี้มิใช่เจตนาบอกว่า “ไม่ต้องให้” แต่ตรงกันข้าม “ต้องให้” ด้วยซ้ำไป ตัดปัญหาปัจจัยต้านเหล่านั้นออกไปแล้วให้แบบ “ให้น้อย บ่อยครั้ง” แทน นั่นเอง

** ประสิทธิภาพของปุ๋ยทางใบจะบังเกิดได้ ต้องมีความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งรองรับ และความสมบูรณ์ของต้นมาจาก “6 ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” ของพืชชนิดนั้นๆ

** ปุ๋ยทางใบจะผ่านปากใบได้ เมื่อปากใบเปิด (แดดออก, เวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง) .... ฉีดพ่นน้ำเปล่าก่อนเพื่อกระตุ้นให้ปากใบเปิด ใบเริ่มแห้งจึงฉีดพ่นปุ๋ยทางใบตาม


@@ ปุ๋ยทางใบ :
ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่ละลายดีแล้วฉีดพ่นทางใบ เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช ทั้งเพื่อเพิ่มสารอาหารโดยตรง และเพื่อทดแทนสารอาหารที่ระบบรากไม่สามารถรับสารอาหารแล้วส่งไปให้ต้นได้

@@ ชนิดของปุ๋ยทางใบ :
1. ปุ๋ยเกล็ด คือ ปุ๋ยเคมีชนิดแข็ง เป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มาผสมกันให้ได้สูตรที่ต้องการ และละลายน้ำง่าย
2. ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือ ปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ย 2-3-4 ตัว หรือมากกว่า ในน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับชนิดพืช ระยะพัฒนาการ และปัจจัยเสริมหรือปัจจัยต้าน ของพืชชนิดนั้นๆ

@@ ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้

3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็วกว่า
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย

7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด

@@ ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชได้ จึงควรให้ทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งทางใบและทางราก หรือใช้ควบคู่กัน
2. การให้ปุ๋ยทางใบควรให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

3. ให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชใบไหม้
4. ปุ๋ยชนิดน้ำไม่สามารถทำให้มีเปอร์เซ็นต์เนื้อปุ๋ยสูงๆ ได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารหลัก (N+P2O5+K2O) รวมไม่เกิน 30 %

5. ปุ๋ยชนิดเกล็ด มักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้ว จึงทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว
6. ราคาของปุ๋ยชนิดเกล็ดสูงกว่าปุ๋ยชนิดเม็ดมาก

7. ปุ๋ยชนิดน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยชนิดน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของโพลิฟอสเฟต และสารคีเลต
8. ปุ๋ยชนิดน้ำควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด

@@ คุณสมบัติที่ดีของปุ๋ยทางใบ :
1. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมบางธาตุ หรือหลายๆ ธาตุ นอกเหนือ จากธาตุอาหารหลัก N-P-K
2. เป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25 – 0.30 % ของตัวปุ๋ย (อัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5 – 6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดัง กล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

3. ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดสามารถละลายน้ำได้เร็ว และละลายน้ำได้ทั้งหมด
4. ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูง และไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1%

@@ วิชาการ V.S. การปฏิบัติ :
- ศึกษาหลัก “สมการปุ๋ย” จากที่นี่ให้เข้าใจแล้วปฏิบัติตามนั้น
- ศึกษาธรรมชาติให้กระจ่าง ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีโวลลุ่ม ทุกอย่างต้องดำเนินไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อม

– อย่าใจร้อน อย่าเล็งผลเลิศ แต่ให้ระวังเรื่องต้นทุนไว้ก่อน

--------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 812-45xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ ขอวิธีปลูกมันเทศญี่ปุ่นด้วยค่ะ .... เกษตรกรสระแก้ว
ตอบ :
- ในพื้นที่ จ.สระแก้ว มีหน่วยทหาร (ไม่รู้ว่าหน่วยไหน) ออกไปส่งเสริมเกษตรกรชายแดนด้านนั้นมานานแล้ว ปัจจุบันก็ยังดำรงภารกิจนี้อยู่ .... พื้นที่ จ.สระแก้ว พืชต่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากก็คือ แตงกวาญี่ปุ่น รวมทั้งแคนตาลูป ที่นั่นก็ปลูกกันมาก ก็ลองคิดดูว่า เขาเอาไปขายที่ไหน เพราะฉะนั้น มันเทศญี่ปุ่นก็น่าจะตลาดเดียวกัน เป็นไปได้ไหม รวมกลุ่มรวมพื้นที่ แล้วติดต่อห้างให้มารับซื้อ คงไม่ใช่แค่มันเทศญี่ปุ่นอย่างเดียว อาจจะมีอย่างอื่นพ่วงมาอีกก็ได้ ปัญหาก็คือ เกษตรกรรวมใจ รวมกลุ่ม รวมพื้นที่ รวมเทคโนโลยี ได้หรือไม่เท่านั้น....?

- มันเทศญี่ปุ่น ก็เหมือนๆมันเทศไทยนี่แหละ

@@ เตรียมดิน เตรียมแปลง :
(.... ดินสำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่งทั้งๆที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่ง ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยไร่ละเป็นกระสอบๆ .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ซื้อสารปรับปรุงบำรุงดิน .... จ่ายน้อยกว่า ผลผลิตดีกว่า อนาคตดินดีกว่า....)

– ไถดะ ไถแปร ไถพรวน ใส่ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, กระดูกป่น, ทำแปลงแบบลูกฟูก, รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 .... บ่มดินทิ้งไว้ 25-30 วันลงมือปลูก

@@ เตรียมท่อนพันธุ์ :
- เลือกยอดจากต้นที่อายุไม่เกิน 45 วัน ลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ยาว 30 ซม. ลิดใบแก่ออกเหลือแต่ใบยอด ซึ่งจะแทงยอดใหม่แล้วโตเร็วกว่ายอดที่ไม่ลิดใบ

– แช่ท่อนพันธุ์ใน ไบโออิ+ แคลเซียม โบรอน + ยูเรก้า นาน 10-20 นาที นำขึ้นผึ่งลม 2-3 วัน จะมีตุ่มรากออกมาให้เห็น ให้นำไปปลูกได้

หมายเหตุ :
- ท่อนพันธุ์มันเทศที่ตัดจากต้นแม่ควรเป็นยอดประธาน จะโตเร็ว ให้ผลผลิตดี ถ้าใช้ยอดแขนงมาปลูกจะโตช้า และให้ผลผลิตไม่ดีนัก
- การปลูกด้วยยอดควรใช้เพียง 3 รุ่น จากนั้นให้สร้างต้นพันธุ์ขึ้นมาใหม่โดยขยายพันธุ์จากหัว

@@ เทคนิคการปลูก :
- ก่อนลงมือปักท่อนพันธุ์ รดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มน้ำ ใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินให้เป็นรู เอียง 45 องศา ลึก 10-15 ซม. แล้วปักท่อนพันธุ์ลงไป 2-3 ข้อและมีข้อเหนือดิน 2-3 ข้อเช่นกัน กดดินยึดโคนต้นให้แน่นพอประมาณ .... ไม่ควรใช่ยอดพันธุ์แทงลงดินโดยตรง เพราะอาจะทำให้โคนก้านช้ำแล้วแตกรากใหม่ไม่สมบูรณ์

- ระยะห่างระหว่างต้น x ระหว่างแถว 25-30 ซม. เนื้อที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 11,000-12,000

@@ การบำรุง :
** ระยะต้นเล็ก : ช่วง 3 วันแรกหลังปักท่อนพันธุ์ ให้น้ำวันละ 2 เวลา เช้าเย็น หลังจากนั้นให้ 3 วัน/ครั้ง

** ระยะเริ่มลงหัว ถึง เก็บเกี่ยว :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (20 ซีซี.)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน .... ฉีดพ่นให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบลงถึงพื้น

- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (1 ล.) รดโคนต้น น้ำโชกๆ ให้ 1 ครั้งหลังปักท่อนพันธุ์ .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 3 วัน

@@ การเก็บเกี่ยว :
- อายุในการเก็บเกี่ยว เฉลี่ยอยู่ที่ 120-150 วันหลังปลูก วิธีการสังเกตว่ามันเทศแก่และเก็บเกี่ยวได้ ให้ดูผิวดินสันแปลงซึ่งจะแยกออก พร้อมกับเถามันเริ่มเหี่ยว และออกดอก .... วิธีที่มั่นใจที่สุด คือ สุ่มขุดขึ้นดู ใช้มีดเฉือนหัวมันดูว่ามียางไหลออกมามากหรือน้อย ถ้ามียางออกมาน้อย แสดงว่าหัวมันแก่แล้ว

- ก่อนลงมือขุด ให้ตัดเถามันออกก่อน เพื่อความสะดวกต่อการขุด
- การขุดหัวมันในแต่ละครั้ง อาจขุดเป็นรุ่นเดียวทั้งแปลง หรือทยอยขุดเป็นรุ่นๆก็ได้ โดยรุ่นที่ยังไม่ขุดก็ให้บำรุงต่อไปก่อน

- หัวมันที่ขุดขึ้นมาแล้ว ยังไม่ต้องล้างทำความสะอาด เก็บในที่ร่ม ไม่ให้โดนน้ำ สามารถเก็บได้นาน 3 อาทิตย์ ถึง 1 เดือน เมื่อจะนำส่งขายจึงล้างทำความสะอาด

-----------------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©