-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 MAY *กระรอกกินมะม่วง, มะม่วงสุกผลจุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 MAY *กระรอกกินมะม่วง, มะม่วงสุกผลจุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11698

ตอบตอบ: 01/05/2014 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 MAY *กระรอกกินมะม่วง, มะม่วงสุกผลจุด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 1 MAY

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (081) 294-39xx
ข้อความ : สวด. คุณตาค่ะ แม่ให้ถามคุณตาว่า กระรอกชอบกัดกินมะม่วง ใช้ยาสมุนไพรตัวไหนคะ.... หลานปูค่ะ
ตอบ :
- ที่จริงกระรอกไม่ได้อยากกินมะม่วงหรอกนะ แต่เพราะมันหิวแล้วไม่มีผลไม้ที่มันชอบ ก็เลยจำเป็นต้องกินมะม่วง....กระรอกชอบแตงกวา ถั่วฝักยาว เอาแตงกวา ถั่วฝักยาว ใส่ถาดวางไว้ที่โคนต้น แล้วเอาสมุนไพร “ขมขัด” ฉีดที่ผลมะม่วงซี่ คิดดู ถ้ามะม่วงขมแล้วมีแตงกวา ถั่วฝักยาวอร่อยให้กิน แล้วกระรอกจะเลือกกินอะไร กระรอกอิ่มแล้วก็จะกลับบ้านนอน หิวใหม่มากินใหม่ เราก็เอาแตงกวา ถั่วฝักยาว มาวางไว้อีก ก็แค่นี้แหละ

– กระรอกยอดนักชิม ลูกไหนนกกิน แสดงว่าแก่จัดแล้ว รสชาติอร่อยนกมันรู้ด้วยสัญชาติญาน ให้เก็บได้เลย ถ้ามีรุ่นเดียวก็เก็บได้เลย มะม่วงดิบกินดิบ มะม่วงสุกเอาไปบ่ม

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ :
1. วิธีกล : เป็นวิธีที่ทำโดยใช้แรงงานหรือเครื่องมือต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อตัวของศัตรูพืชโดยตรง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้มีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของศัตรูพืช หรือ เชื้อโรคพืช ได้แก่

1.1 การใช้มือจับแมลงมาทำลาย : เป็นวิธีง่ายๆ เหมาะสำหรับการปลูกพืชในปริมาณน้อยๆ ปริมาณแมลงหรือหนอนมีไม่มากนัก เมื่อจับแล้วอาจนำไปทำลายหรือใส่ถุงทิ้งออกจากแปลง

1.2 การเปิดไฟล่อแมลงเวลากลางคืน : เพื่อล่อแมลงให้มาเล่นไฟ ควรติดตั้งหลอดไฟไว้เหนือบ่อปลา แมลงที่ตกลงมาในน้ำจะกลายเป็นอาหารของปลา ถ้าไม่มีบ่อปลา ควรวางอ่างน้ำผสมสบู่หรือน้ำยาล้างจานเล็กน้อยไว้ใต้หลอดไฟเพื่อดักแมลงที่ตกลงมาไม่ให้บินหนีไปได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับกำจัดเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น ตัวเต็มวัยของหนอนกระทู้ หรือแมลงที่ชอบเล่นไฟในตอนกลางคืน

1.3 การใช้กับดักกาวเหนียว : ทำโดยใช้กาวเหนียวทาบนแผ่นวัสดุที่มีสีเหลือง แล้วนำไปปักไว้ในแปลงผักให้ทั่วๆ แมลงที่บินมาจะคิดว่าเป็นดอกไม้หรือผลไม้ จึงบินมาเกาะและติดอยู่กับกาว เมื่อมีแมลงมาติดมาก แล้วจึงเปลี่ยนแผ่นกาว วิธีนี้ควรใช้เมื่อมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก แต่มีข้อเสียคืออาจมีแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมาติดกับดักได้

1.4 การใช้หุ่นไล่กา : เป็นการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น นก ตั๊กแตน ที่มักบินมากินเมล็ดข้าวในนา เมื่อเห็นหุ่นไล่กา ก็คิดว่าเป็นเกษตรกรจึงบินหนีไป เป็นวิธีเก่าแก่แต่ก็ยังมีให้เห็นทั่วไป

1.5 การใช้วัตถุสะท้อนแสง : แขวนไว้ในสวน เป็นการแขวนกระจกหรือแผ่นซีดีไว้ในสวนหรือแปลงพืช เมื่อนกหรือแมลงที่จะบินมากัดกินพืชผล กัดกินดอกไม้ เห็นแสงสะท้อนทำให้ตกใจบินหนีไป

2. วิธีเขตกรรม : หมายถึงการปลูกพืชส่ลับกันในแต่ละฤดู เช่น เมื่อปลูกข้าวโพด จะมีตั๊กแตนมากัดกินและอาศัยอยู่ในแปลงข้าวโพด ถ้าเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่น เช่น ถั่ว ตั๊กแตนไม่ชอบกินถั่วจะบินไปแหล่งอื่น เมื่อเก็บเกี่ยวถั่วแล้วจึงหมุนเวียนมาปลูกข้าวโพดอีกครั้งหนึ่ง

3. วิธีทางชีวะ : หมายถึงการใช้สิ่งมีชีวิตมากำจัดศัตรูพืช เช่น การปล่อยกบ คางคก ไว้ในสวนเพื่อให้กินแมลงศัตรูพืช หรือการที่มีงู หรือนกฮูกในธรรมชาติคอยกินหนูที่เข้ามากัดกินต้นข้าว ฯลฯ แมลงบางชนิด ที่เรียกว่าแมลงตัวห้ำ ตัวเบียน เป็นแมลงที่กินหรือทำลายแมลงศัตรูพืช ก็สามารถช่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสวนได้ เช่น มวนเพชฌฆาต ต่อ แมลงขาหนีบ ด้วงดิน ตั๊กแตนตำข้าว แมลงช้างปีกใส ฯลฯ

4. วิธีทางสมุนไพร : หมายถึงการใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถไล่แมลง หรือ ฆ่า แมลงศัตรูพืชได้ เช่น สะเดา คูน ผกากรอง ดีปลี ยี่โถ พริกไทย บอระเพ็ด สาบเสือ ขมิ้นชัน ฯลฯ มาตำผสมกับน้ำ ฉีดพ่นไปที่แมลงหรือปลูกไว้รวมกับพืชเพื่อส่งกลิ่นไล่แมลงได้

ขอขอบคุณ ศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.นครราชสีมา
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=sasikarn&topic=1

-------------------------------------------------------------



จาก : (089) 031-34xx
ข้อความ : ผู้พันครับ มะม่วงอกร่อง พิมเสน น้ำดอกไม้ ตอนเก็บไม่มีอะไร พอเริ่มสุกเริ่มเป็นจุดดำ แล้วเน่าลามเข้าเนื้อ กินไม่ได้ เกิดจากอะไร ใช้สมุนไพรตัวไหนครับ...ขอบคุณครับ
ตอบ :
โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)
สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloesporioides Penz.

ลักษณะอาการ :
เป็นโรคที่ทำความเสียหายทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงเป็นอย่างมาก สามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วงไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการอย่างน้อยก็เป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยว และร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่างประเทศ

อาการระยะกล้า :
จะพบอาการของโรคทั้งที่ใบและลำต้น ซึ่งถ้าต้นกล้าที่ เป็นโรคอ่อนแอหรือตายไป ไม่สามารถทำเป็นต้นตอได้ จะทำความเสียหายแก่การผลิตกิ่งทาบเพื่อการค้าอย่างมากอาการบนใบ เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในสภาพความชื้นสูง แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่ ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบแห้งทั้งใบหรือใบบิดเบี้ยว เมื่อแก่ขึ้นเพราะเนื้อที่ในบางส่วนถูกทำลายด้วยโรค ถ้าในสภาพที่อุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสม แผลบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็ก กระจัดกระจายทั่วไปบริเวณกลางแผล ซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อนกว่าขอบแผล และมีลักษณะบางกว่าเนื้อใบ อาจจะฉีกขาดและหลุดออกเมื่อถูกน้ำ ทำให้แผลมีลักษณะเป็นรูคล้ายถูกยิงด้วยกระสุนปืน

อาการที่ลำต้นอ่อน :
จะเป็นแผลที่ค่อนข้างดำ ลักษณะแผลเป็นรูปไข่ยาวไปตามความยาวของลำต้น อาการของโรครุนแรง แผลจะขยายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งรอบลำต้น ทำให้ต้นแห้งตาย แต่ถ้าต้นกล้าเป็นโรคเมื่อเนื้อเยื่อเริ่มแก่แล้ว แผลที่อาจจะลุกลามไปได้ไม่มากนักจะเป็นจุดแผลมีลักษณะเป็นวงรีสีดำยุบตัวลงไปเล็กน้อย บริเวณกลางแผลจะเห็นเม็ดสีดำ ๆ หรือสีส้มปนบ้างเรียงเป็นวงอยู่ภายในแผล ถ้าโรคนี้เกิดกับยอดอ่อนก็จะทำให้ยอดแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ และอาจตายทั้งต้นได้เช่นเดียวกัน

อาการที่ช่อดอก :
จะเห็นลักษณะอาการเป็นจุดสีน้ำตาลดำประปรายบนก้านช่อดอก และก้านดอก ซึ่งทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วง ถ้าไม่รุนแรงนักจะทำให้การติดผลน้อย แต่ถ้าเป็นมาก ๆ ก็จะไม่ได้ผลผลิตเลย ในบางครั้งจะพบอาการของโรคที่ก้านช่อดอกไหม้ดำ ซึ่งจะแห้งไปในที่สุด ผลอ่อน ๆ อาจจะถูกเชื้อโรคทำลายทำให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และร่วงหล่น ผลที่มีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่แก่ก็เป็นโรคได้เช่นเดียวกัน หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม กล่าวคือมีความชื้นสูงและอุณหภูมิพอเหมาะ (24-32 ๐C)

ลักษณะอาการบนผล
จะเป็นจุดสีดำ รูปร่างกลม หรือรูขนาดตั้งแต่เล็กเท่าหัวเข็ม หมุด จนถึงขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 4 ซม. แล้วแต่ความรุนแรง บริเวณแผลจะพบรอยแตกและมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงรายเป็นวงภายใน แผล เมื่อมะม่วงเริ่มแก่ในระหว่างการบ่มหรือขนส่งจุดแผลเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และลุกลามออกไป ทำให้ผลเน่าทั้งผลได้ อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับมะม่วงเกือบทุกพันธุ์ เชื้อราโรคแอนแทรกโนส ยังสามารถติดอยู่กับผลโดยไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมภายหลังเหมาะสม เช่น ผลสุก หรือมีความชื้นสูง ในระหว่างการเก็บรักษา หรือบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่ง ก็จะแสดงอาการได้ ซึ่งก็ทำความเสียหายเป็นอย่างมาก

การป้องกันกำจัด :
โรคแอนแทรกโนสสามารถป้องกันกำจัดได้โดยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด ซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่จะลดความเสียหายจากโรคนี้ได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ซึ่งการใช้ต้องใช้ให้ถูกกับจังหวะการเข้าทำลายของเชื้อโรค ทั้งนี้เพื่อลดความสิ้นเปลือง และช่วยให้สารเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับมะม่วงที่ผลิตเพื่อการส่งออกนั้นจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงที่มะม่วงผลิตใบอ่อน ช่วงการออกดอก และติดผล ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อ การฉีดพ่นสารเคมีในแหล่งที่มีโรคแอนแทรกโนสระบาดเป็นประจำ เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดโรคที่ใบ อันจะมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของใบ และจะมีผลต่อการออกดอกติดผลที่สมบูรณ์ต่อไปการตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและกิ่งอ่อนที่เกิดตามโคนกิ่งใหญ่ ในทรงพุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แล้วทำลายเสีย ก็เป็นการลดปริมาณเชื้อโรคได้อีกวิธีหนึ่ง สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด เช่น benomyl, mancozeb, captan, copper oxychloride เป็นต้น สามารถใช้ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดในแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ก่อนที่มะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอก ควรทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงและโรคพืชครั้งหนึ่ง เพื่อลดปริมาณแมลงและโรคที่จะรบกวนช่อดอกใหม่ที่เริ่มผลิ หลังจากนั้นฉีดพ่นเป็นระยะ ๆ ทุก 10 - 15 วัน จนมะม่วงติดผลอ่อน สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น benomyl อาจจะใช้ได้ดีกว่าในการฉีดพ่นไปในช่วงฝนชุกหรือในช่วงผลใกล้เก็บเกี่ยว เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวด้วย ช่วยลดความเสียหายจากการเกิดผลเน่าได้เป็นอย่างดี สำหรับในช่วงออกดอกติดผลมะม่วงนั้นควรใช้สารเคมีชนิดอื่นพ่นสลับกันบ้างตามความเหมาะสม เช่น ระยะดอกอาจจะใช้ mancozeb ระยะติดผลอ่อนใช้ captan หรือ Copper Fungicide ระยะผลโตใช้ benomyl เป็นต้น ผลมะม่วงที่เก็บเกี่ยวแล้ว ควรจุ่มในสารละลายไธอาเบนดาโซล (พรอนโต 40) ผสมน้ำที่ 50 ๐C นาน 5 - 10 นาที แล้วผึ่งให้แห้งเพื่อกำจัดเชื้อที่แฝงอยู่

http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/mango/anthracnose.html


- นั่นแหละ “แอ็นแทรคโนส” ชาวบ้านเรียกว่า “โรคผลเน่า” .... เข้าใบเรียกว่า “โรคใบจุด” .... เชื้อโรคตัวนี้เกิดในดิน โตขึ้นปลิวล่องลอยมาตามลม มาเจอผลมะม่วงเข้าก็เข้าไปแฝงเกาะอยู่ที่ผิว ตอนที่ผลยังดิบอยู่ก็จะยังอยู่เฉยๆ แต่พอผลเริ่มสุก เนื้อในเริ่มมีรสหวาน เชื้อตัวนี้ก็จะซึมแทรกเข้าในผลแล้วกินเนื้อมะม่วงรสหวานนั้น .... เหมือนแมลงวันมทอง วางไข่ไว้ที่ผลมะม่วงตั้งแต่ยังเป็นผลดิบ พอผลเริ่มสุก ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน กินเนื้อมะม่วง ปัญหาก็คือ แม่แมลงวันทองรู้ได้ไงว่า มะม่วงผลนั้นจะสุกเมื่อไร แล้วไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนพอดีได้
- กรณีมะม่วงกินสุก เก็บดิบมาแล้วทำความสะอาดผิว ล้างยาง ใน “น้ำ แช่ ว่านน้ำ หรือ เหง้าปรือ (ธูปฤาษี)” เสร็จแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วค่อยบ่ม สุกแล้วจะไม่เป็นผิวจุด สุกจมงอมผิวเหี่ยวย่นก็ไม่เป็นผลจุด



ประสบการณ์ตรง :
1. ลำไยที่ลำพูน กลางวันฝนตก หลังฝนหยุดแล้วมีแดด เรียกว่า “ฝนต่อแดด” ตอนที่น้ำฝนยังเปียกใบลำไย เชื้อก็ยังแฝงอยู่กับน้ำฝนได้ แต่พอน้ำฝนแห้ง เชื้อจะแทรกซึมเข้าเนื้อใบลำไยเป็นจุดดำ ชาวเหนือเรียกว่า “ราน้ำฝน” วิธีแก้ไข คือ ทันที่ฝนหยุด หยดน้ำฝนยังไม่แห้ง ใช้น้ำเปล่าฉีดพ่นล้างใบทันที น้ำเปล่าชะล้างเชื้อราพวกนี้ตกลงดินให้เอง

2. เหตุเกิดที่สวนองุ่นย่านดำเนินสะดวก ดร.ร้อนวิชา ลงสวนพบคุณยาย นุ่งโจงกะเบน ใส่เสื้อคอกระเช้า เคี้ยวหมาก เดินหลังโก่ง สองมือไขว้หลัง เจ้าของสวนให้การต้อนรับ ขณะเดินเข้าไปในค้างองุ่น

ดร. : (ชี้ที่ใบองุ่น แล้วบอก) ยาย นี่โรคแอนแทร็คโนส นะยาย
ยาย : (เสียงสั่นเพราะวัยชรา) จ้า

ดร. : (ชี้ไปที่ผลองุ่น แล้วบอก) ยาย นี่แอนแทร็คโนส นะยาย
ยาย : จ้า

ดร. : (ชี้ไปที่ยอดองุ่น แล้วบอก) ยาย นี่แอนเแทร็คโนสะ นะยาย
ยาย : จ้า

ดร. : (ชี้ไปที่ก้านผลองุ่น แล้วบอก) ยาย นี่แอนแทร็คโนส นะยาย
ยาย : จ้า

ดร. : (ชี้ไปก้านดอกองุ่น แล้วบอก) ยาย นี่แอนแทร็คโนส นะยาย
ยาย : จ้า

กระทั่งทั่วสวน แอนแทร็คโนสแอนแทร็คโนสแล้วก็แอนแทร็คโนส ทั้งสวน ถึงเวลาอันควร ดร.จึงลากลับ....คุณยายเดิน 4 เท้า คลานขึ้นบันไดบ้านแบบเรือนไทยโบราณ ปากก็บ่น “โนสพ่อโนสแม่มึงน่ะซี.... นั่นมัน อีบุบเตาเผา โว้ย”



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©