kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 14/06/2014 8:39 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 14 JUN ... **เลี้ยงไก่เบตง |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 JUN
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน ..........
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (082) 137-49 xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ปีที่แล้วเคยกินข้าวมันไก่ ไก่เบตงที่สุพรรณบุรี วันนี้ดู ทีวี. เห็นเรื่องไก่เบตง จึงเกิดความสนใจ ปกติผมเลี้ยงไก่ไทยพื้นเมืองอยู่แล้ว เป็นไก่กินเนื้อไม่ใช่ไก่ชน อยากถามว่า ไก่เบตงเลี้ยงที่สระบุรีได้ไหม หรือต้องปรับปรุงอะไรอย่างไรหรือไม่ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ไก่เบตง (ไก่เก้าชั่ง) ไก่ดำ ไก่ตอน เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ตลาดยังเปิดกว้าง
- ข้าวมันไก่ตอนธรรมดา จานละ 30 บาท แต่ข้าวไก่เบตงตอนจานละ 50 บาท
- เลี้ยงได้ทั่วประเทศ ตั้งแต่เบตง ยะลา ขึ้นถึงเชียงราย เลี้ยวไปกาญจนบุรี วกไปอุบล ข้ามไปลาว เขมร พม่า หรือจะย้อนกลับไปถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ได้ทั้งนั้น.... เลี้ยงไก่ไทยอยู่แล้ว เทคนิคการเลี้ยงเหมือนกันเดี๊ยะ เลี้ยงด้วยกันยังได้
ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตงนี้ เป็นไก่ซึ่งมีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์เลียงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพมาจากประเทศจีน มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งหลักแหล่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้นำไก่พันธุ์นี้มีมาแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันไก่พันธุ์นี้มีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพบ้านเรือนบ่อยๆ และราษฏรบางท้องที่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรค บางครั้งเกิดโรคระบาดขึ้นมาไก่ล้มตายเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง คือ ราคาจำหน่ายในท้องถิ่นหรือตลาดมีราคาสูงถึง กก. ละ 7080 บาท หาซื้อยากขึ้นเพราะจำนวนคนเลี้ยงลดน้อยลง กับทั้งตลาดผู้บริโภคไม่แน่นอน เพราะผู้คนไม่รู้เนื่องจากอ่อนประชาสัมพันธ์
การเลี้ยงไก่เบตง
ไก่พันธุ์เบตงชอบหากินอิสระในสนามหญ้าบริเวณบ้าน ตามป่าโปร่งๆ คงเป็นเพราะไก่พันธุ์นี้มีลักษณะไก่ป่าอยู่มาก ชาวบ้านเบตงเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ตามบริเวณลานบ้าน ในสวนยางพารา ไก่พันธุ์นี้เลี้ยงเชื่องมาก ชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งจะพบว่าตัวผู้จะฟักไข่และลูกไก่
อาหารไก่ :
ได้แก่ มด แมลง ไส้เดือน ตัวปลวก ผักต่าง ๆ หญ้าสด ปลายข้าวโพด ข้าวเปลือก และ อาหารสำเร็จรูป
คุณลักษณะของไก่พันธุ์เบตง :
หนังมีสีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่ม เนื้อสีออกเหลือง ๆ ไม่ค่อยมีไขมัน รสชาติอร่อยมากเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้านคนจีน ซึ่งถือกันว่ามีคุณภาพและรสชาดดีเลิศ ราคาค่อนข้างแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลตรุษจีน บางครั้งราคาสูงถึง กก. ละ 170 บาท
กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา ผลิตไก่พันธุ์เบตง เพื่อจำหน่ายและส่งเสริมราษฏร จังหวัดยะลา โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลา มีนโยบายจัดทำกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านขึ้น ในท้องที่อำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดยะลา และใกล้เคียง เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ราษฏร เพื่อการอยู่ดีกินดีของราษฏรต่อไป
การเลี้ยงไก่เบตง :
1. โรงเรือนหรือเล้าไก่ : ต้องมีโรงเรือน หรือเล้าให้ไก่นอน มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ไม่ควรเลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว คนบนเรือนจะถูกไรไก่กวนอีกด้วย เกษตรกรสามารถทำเล้าไก่แบบง่าย ๆได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ
สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอนไม่ชื้นแฉะ พื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อยหรือฟางแห้งหนา อย่างน้อย 4 ซม. และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก 3 เดือน ให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ
เล้า กว้าง 3 ม. ยาว 4 ม. สูง 2 ม. เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ประมาณ 3040 ตัว ควรมีกรงไก่ขนาดเล็กอีก 2 กรง คือ กรงหรือสุ่มสำหรับเลี้ยงแม่ไก่ กับลูกอ่อน 1 กรง กรงหรือสุ่ม สำหรับเลี้ยงไก่เล็ก 1 กรง
2. รางน้ำ : ต้องมีรางน้ำสำหรับใส่น้ำสะอาดให้ไก่กิน อาจใช้รางไม้ไผ่ ผ่าครึ่งก็ได้
3. รางอาหาร : ควรมีรางสำหรับให้อาหารไก่ เพราะการให้ไก่จิกอาหารบนพื้นดินทำให้ไก่เป็นโรคพยาธิได้ง่าย
4. รางใส่กรวดและเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น : ไก่ทุกขนาดต้องกินกรวดและเปลือกหอย เพื่อนำไปสร้างกระดูกและเปลือกไข่ กรวดและเปลือกหอยต้องตั้งทิ้งไว้ให้กินตลอดเวลา
5. รังไข่
- ปกติแม่ไก่พื้นเมืองจะไข่ ในรังในรังเมื่อไข่ได้ 10 12 ฟอง จึงจะเริ่มฟัก
- การฟักไข่หากเลี้ยง 10 แม่ขึ้นไป ควรให้เครื่องฟักเพราะไก่พันธุ์นี้มีนิสัยไม่ค่อยชอบฟักไข่มากนัก ต้องมีจำนวนรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่ที่ไข่ เพื่อไม่ให้ไก่แย่งรังขนาดรังไข่กว้างและยาว 1 ฟุต สูง 8 นิ้วฟุตหรือใช้เข่งก็ได้รองด้วยหญ้า หรือฟางแห้งให้ถึงครึ่ง ควรตั้งรังไข่อยู่ในที่มิดชิด ไม่ร้อนเกินไปฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เดินเข้าออกสะดวก
6. ม่านกันฝน : ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีม่านผ้าใบ กระสอบหรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่
ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง :
1. อาหารประเภทแป้งเพื่อนำไปสร้างกำลังใช้ในการเดิน การวิ่ง ประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
2. อาหารประเภทเนื้อเพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อ หนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
3. อาหารประเภทไขมันนำไปสร้างความร้อนให้ร่างกายอบอุ่น ได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
4. อาหารประเภทแร่ธาตุไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จาก เปลือกหอยป่น กระดูกป่น
5. อาหารประเภทไวตามินสร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกายสร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา
การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำ ปลายข้าว และอาหารตามธรรมชาติก็เป็นเพียงพอแล้ว แต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกรจะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุก ๆ วัน
2. ให้อาหารผสมทุกเช้า เย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าว เปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
5. ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินตลอดเวลา
นอกจากนั้น เราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่น้ำเย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2 3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ถั่วเขียว 4 กระป๋องนม ให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
7. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่าย และผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญ เติบโตรวดเร็วขึ้น
8. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหาร ไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ยแสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว
การฟักไข่ :
แม่ไก่จะเริ่มให้ไข่ เมื่ออายุประมาณ 6 8 เดือน การไข่มีลักษณะเป็นชุด เฉลี่ยแล้วาจะไข่ ปีละประมาณ 4 ชุด ๆ ละ ประมาณ 10 12 ฟอง แม่ไก่เมื่อไข่หมดชุดแล้วก็จะเริ่มฟักไข่
ก่อนจะให้แม่ไก่ฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาบนตัวแม่ไก่เสียก่อน โดยจับแม่ไก่จุ่มน้ำยาฆ่าไร เหา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไรและเหารบกวนแม่ไก่ในขณะกกไข่
การคัดเลือกพันธุ์ไก่ :
1. พ่อไก่ที่ดีจะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ และแข็งแรง มีน้ำหนักตั้งแต่ 2.5 กก. ขึ้นไปมีอายุตั้งแต่ 9 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี
2. แม่ไก่ที่ดี จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์และแข็งแรงมีน้ำหนักตั้งแต่ 1.5 กก. ขึ้นไป เมื่อมีอายุตั้งแต่ 7 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี
- ให้ไข่อย่างน้อยปีละ 4 ชุด
- ให้ไข่อย่างน้อยชุดละ 12 ฟอง
- ฟักไข่ออกอย่างน้อยชุดละ 8 ตัว
- เลี้ยงลูกเก่ง เลี้ยงลูกรอดจนโตชุดละ 6 ตัว
- ไม่ดุร้าย คอยจิกตีลูกไก่ของแม่ไก่ตัวอื่น
3. หมั่นคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เสมอ ๆ ถ้าแก่เกิน 3 ปี ต้องคัดออก
4. พ่อพันธุ์ 1 ตัว สามารถใช้ผสมพันธุ์หรือคุมฝูงแม่ไก่ได้ 6 10 ตัว
5. เก็บลูกไก่ที่เกิดจากพ่อแม่ไก่ที่ดีไว้ทำพันธุ์ รุ่นละ 2 3 ตัว
การคัดเลือกพันธุ์ไก่ที่ดีไว้ทำพันธุ์จะช่วยให้ไก่ในฝูงมี ขนาดตัวโตให้ไข่ดก เลี้ยงลูกดี เลี้ยงลูกรอดมาก และลูกไก่โตเร็ว ทำให้ผู้เลี้ยงได้ผลตอบแทนสูง
การป้องกันและการรักษาโรค :
ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงไก่ คือ เรื่องโรค เช่นโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ และพยาธิต่าง ๆ ทั้งพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร หมัด พยาธิภายใน เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน พยาธินัยน์ตาไก่
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=6&sqi=2&ved=0CD8QFjAF&url=http%3A%2F%2Fwww.prd.go.th%2Fewt_dl_link.php%3Fnid%3D74875&ei=sUWUU72ENIGjugTQlYGIBQ&usg=AFQjCNHqSCmTuaklKqn4L2JmulZ2EKrR9A
----------------------------------------------------------------------------------------
. |
|