ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/12/2014 12:07 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 GMO โจรปล้นชาติ 3 - อุ๊แม่เจ้า พริกหยวก GMO |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO
บทที่ 1 (1) .....หยุด GMO
เรื่องนี้ ใหม่สด ๆ ซิง ๆ เมื่อ 30 ตุลาคม 2557....แต่ไม่ร้อน....เพราะผ่านมาหลายวัน
แล้ว ...แต่ยังไม่เก่า และคิดว่า อีกหลายร้อย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสน อาจจะเป็น
หลายล้านคน แม้กระทั่งผมเองเคยได้ยินได้ฟัง แต่ยังไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน ......
(แต่กระเหรี่ยงอยู่บนดอย (ดัน)รู้เรื่องนี้..)
น่าสนใจมาก ๆ ครับ....เพราะมันเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย และคนทั้งโลกทุกคน.....
.....ขอบคุณ ชาชา (คุณชลธิชา ฯ ) กระเหรี่ยงสาวชาวดอย ...เจ้าหน้าที่ อบต.
xxxx....นักศึกษาภาคพิเศษ ม.ราชภัฏ xxxx สาขา เกษตรกรรมทางเลือก..ปีไหนแล้ว
หว่า....จำไม่ได้แฮะ)...เธอเป็นคนแนะนำข้อมูลเรื่องนี้ให้ผม
เนื่องจาก..เรื่องนี้ ยาววววว ผมขออนุญาตลุงคิม เปิดกระทู้ใหม่....เกษตรสัญจร 12 ครับ.......
แนวเศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลไม่ค่อยสนใจ แต่หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศ ภูฏาน ส่ง
คนมาศึกษา และนำไปใช้
ผม.......ขอกราบเบื้องพระยุคลบาท เทิดไท้องค์ราชันย์...KING of All KINGS
..
KING of the WHOLE WIDE WORLD.
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
(เค้กอันนี้ จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าถวายแด่องค์จอมราชันย์...รู้แต่ว่า
กลุ่มพยาบาลเป็นคนทำ แต่ไม่ได้บอกชื่อคนทำ เพราะช่วยกันทำกัน
หลายคน ขอขอบคุณเจ้าของและคนทำ ทำได้ยังไงไม่รู้ ฝีมือสุดยอด
ทำดอกไม้ได้เหมือนจริง ๆ ....)
จากบทความของ Biothai
(1).- หยุด GMO
Biothai
29 ตุลาคม
เราจะไม่ยอมนิ่งเฉย ปล่อยให้บรรษัทคุกคาม
1. ร่วมลงนามคัดค้านกับพวกเรา หรือแสดงออกการคัดค้านในรูปแบบของตนเองได้โดยอิสระ
2. แชร์โปสเตอร์นี้และแผนภาพข้อมูล(infographic)อื่นๆเกี่ยวกับความรู้และผลกระทบ
ของจีเอ็มโอไปให้กว้างขวางมากที่สุด เพื่อทุกคนจะได้มีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหว
3. กดไลค์เพจไบโอไทย
https://www.facebook.com/biothai.net
และเพจขององค์กรอื่นๆที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการคัดค้านจี
เอ็มโอ หรือเข้าร่วมปฏิบัติการกับเครือข่ายของพวกเราต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม/ประสานงาน
นภวรรณ งามขำ 087-4161573
กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา 081-5308339
........ ไม่ลองสร้างแคมเปญในchange.org. หละคะ
29 ตุลาคม เวลา 13:02 น.
Biothai
เครือข่ายพันธมิตร และกลุ่มเกษตรในจังหวัดต่างๆ ได้แก่
นครสวรรค์ เชียงใหม่ มหาสารคาม ขอนแก่น ยโสธร สุรินทร์ สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา
สงขลา พัทลุง
จะได้ยื่นหนังสือในประเด็นเดียวกันนี้ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในวันและเวลาเดียวกัน
29 ตุลาคม เวลา 15:30 น.
..C P คือปัญหาใหญ่ของประเทศไทยในอนาคต
29 ตุลาคม เวลา 19:13 น.
ถูกแล้วครับ CP.กำลังผูกขาดอาหารจากธรรมชาติที่ทุกคนมีสิทธิ์ เอาไปไว้
ในมือคนเดียว แถมยัดเยียดมะเร็งมาในหมู ไก่ ปลาระบบฟาร์มของมันอีกด้วย
30 ตุลาคม เวลา 16:17 น.
ยังมีต่อ ฮ่ะ...รับรอง สนุก มันส์...
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 09/12/2016 1:30 am, แก้ไขทั้งหมด 62 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/12/2014 9:49 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO(ตอน 1/1) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO ( 1/1)
บทที่ 1 (1/1) .....ไก่สายพันธุ์ใหม่ จากการตัดต่อพันธุกรรม
ผมกำลังจะนำเสนอตอนที่ 2 เกิดได้ข้อมูลมาใหม่ ก็เลยนำมาเสนอก่อน เป็น ตอนที่ 1/1 นะครับ
(1)
(2)
(1 2) ข้อมูลจาก FB. โดย Terryh Jonny
ไก่สายพันธ์ใหม่ ตัดต่อพันธุกรรม ไร้ขน เพื่อประหยัดต้นทุน
ตามหลักระบบทุนนิยม... (เอามาให้คนกิน - ชั่วช้า) สามาน กำลังระบาดแพร่กระจายไป
ทั่วโลก ซึ่ง มีความเสี่ยงสูงที่อาจป่วยเนื้องอก ซึ่งมีการทดลองบางแห่งนำเนื้อไก่ตัดต่อพันธุ
กรรมให้ หนูกินทุก ๆ วัน นานนับปี ได้เริ่มป่วยเนื้องอก
[img]
http://upic.me/i/jv/9c3.-.jpg[/img]
(3) ไม่ประหลาดใจ ทำไม ณ เวลานี้ ถึงมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเนื้องอกพุ่งสูง
ขึ้นอย่างรวดเร็ว พบผู้ป่วยนับ ล้านๆ คน ในหมู่ผู้ชื่นชอบบริโภคเนื้อไก่ โดยเฉพาะวัยรุ่น
สมัยใหม่ ที่นิยมกิน เนื้อไก่ทอด
ที่มา
Scientists have bred a controversial featherless chicken
which they say is faster growing.
FDA Finally Admits Chicken Meat Contains Cancer-Causing
Arsenic August 16
http://www.collective-evolution.com/
/fda-finally-admits-c
/
ความเห็น
หมอ ชาวนา
โรคพวกนี้มาจากอาหาร พีซี ทั้งนั้น เร่งโต
Terryh Jonny
องค์การอาหารและ ยา แห่งสหรัฐ ได้ออกมายอมรับแล้ว เนื้อไก่ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้อง
ตลาด มีสารพิษ ปนเปื้อนอันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงป่วย โรคเนื้องอก และ โรคมะเร็งหลายชนิด
FDA Finally Admits Chicken Meat Contains Cancer-Causing
Arsenichttp://www.collective-evolution.com/.../fda-finally.../
Terryh Jonny
สารพิษปะปนมากับยาโฮโมนเร่งโต และ ยาฆ่าเชื้อโรค ล้วนอยู่บนความโลภของมนุษย์ อยาก
ได้เงิน เร็วๆ รวยเร็วๆ
[img]
http://upic.me/i/ht/g14.-.jpg[/img]
(4) ...เหนี่ยวไก่ (ข้าวเหนียวไก่ย่าง)
ไก่ย่าง เป็นอาหารที่กินได้ทุกเพศทุกวัย กินมื้อไหนๆ ก็อร่อย กินคู่กับข้าวเหนียวที่นึ่งนุ่มๆ
ร้อนๆ อร่อยเด็ดเกินบรรยาย ยิ่งถ้ามีส้มตำเพิ่มมาอีกจานหนึ่งด้วยแล้วแซ่บ จี๊ดถึงใจ
แต่เพื่อนๆ ทราบไหมว่าการจะย่างไก่ให้อร่อยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีเคล็ดลับในการหมัก
ไก่ รวมทั้งวิธีย่างไก่เพื่อให้ไก่สุกเกรียมพอดี เนื้อจะนุ่มได้ที่ หนังจะกรอบพอเหมาะ การย่างไก่
ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแม่บ้านคลับช่วยได้
เชิญพบกับสูตรเด็ดในการย่างไก่ได้เลยครับ
ส่วนผสม :
ไก่สด (ตัวเกลี้ยงผิวเนียน หนังไม่ฉีกขาด ) 1 กิโลกรัม
รากผักชี 2 ราก
กระเทียมกลีบเล็ก 30 กลีบ
พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
ลูกผักชี 2 ช้อนชา
ซอสปรุงรส 5 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำไก่มาล้างให้สะอาด ดึงปอดที่ติดสันหลังทิ้ง ตัดคอและขาออก พักให้สะเด็ดน้ำ
2. นำเครื่องเทศทั้งหมดใส่ครกโขลกให้ละเอียด ตักใส่ถ้วยเตรียมไว้
3. นำภาชนะที่สามารถใส่ไก่ได้ นำเครื่องที่โขลกไว้ใส่ทั้งหมดพร้อมซอสปรุงรสคนให้เข้ากัน
แล้วชิมดู ถ้ารสไม่จัดให้ใส่เพิ่มตามที่เราชอบ แต่เครื่องปรุงไก่ควรให้รสจัดๆเอาไว้
4. นำไก่ที่เตรียมไว้คว่ำอกลง ใช้มือทั้ง 2 ข้างกดไก่ให้เข้ากับเครื่องเทศแล้วบีบเนื้อส่วนอก
ให้เครื่องเทศเข้าไปในเนื้อไก่ ส่วนด้านหนังไก่ใช้มือวักน้ำเครื่องเทศทาให้ทั่ว ก่อนนำไก่ขึ้น
ให้ใช้มือบีบน้ำเครื่องเทศออกจากไก่สักหน่อยเพื่อป้องกันรสเค็มเกินไป
วิธีย่าง :
ติดไฟให้แดงจนได้ที่แล้วเกลี่ยถ่านให้เรียบเสมอกัน ความสูงของถ่านเมื่อเกลี่ยแล้วประมาณ
4 นิ้ว โรยด้วยขี้เถ้าหนาประมาณ 1 นิ้ว
การย่างไก่ให้สวยควรเอาด้านท้องไก่ลงก่อนเพราะไฟระยะนี้กำลังแรง ย่างจนสุกแล้วค่อย
พลิกกลับด้านหนังลง ย่างจนหนังเหลืองแล้วค่อยพลิกกลับไปกลับมาอีกด้านละครั้ง เท่านี้ก็จะ
ได้กินไก่อร่อยๆ
อยู่กันไม่เกิน 100 ปีก็ตายแล้ว .... อะไรจะเกิดมันต้องเกิด กินเข้าไปเถอะครับ .... ดี
กว่าไม่มีอะไรกิน ยังไงๆ ก็ต้องกิน ไม่ของ พีซี ก็ เบทาโก้ หรืออาจจะเป็น สหฟาร์ม...
.
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 28/12/2014 11:59 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (2) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (2)
บทที่ 1 (2) .....หยุด GMO
(2) No GMO
ในนามองค์กรเกษตรกร องค์กรผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่ง
ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย สหพันธ์องค์กรผู้
บริโภค คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เครือข่าย
เกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เครือ
ข่ายทุ่งทองยั่งยืน มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิ
รักษ์ดิน รักษ์น้ำ (Earth Safe) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิชีววิถี
(BioThai) ซึ่งได้ติดตามการปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในประเทศต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
ขอเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้โปรดทบทวนนโยบายและการดำเนินการเกี่ยวกับพืช
ดัดแปรพันธุกรรมดังต่อไปนี้
1. ขอให้ยับยั้งการอนุญาตให้มีการปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด จนกว่าประเทศไทย
จะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งกำหนดให้มีการชดเชยความเสียหายและ
รับผิดชอบกรณีที่เจ้าของหรือผู้ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุ
กรรมกับพืชทั่วไป พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากร
ชีวภาพ/ทรัพยากรธรรมชาติในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายข้างต้น ให้มีการอนุญาตในการปลูก
ทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมในโรงเรือนทดลอง หรือให้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น
2. ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ภายใต้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ จัดทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรกรรมอินทรีย์ ทั้งนี้โดย
ให้มีตัวแทนของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเครือข่ายเกษตรกรและ
ชุมชนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของประเทศสามารถเชื่อมโยงประสานกันโดยไม่ขัดแย้งกัน
ความเห็น
.........มีแต่นายทุนและนักวิชาการหิวเงินที่อยากได้พืช GMOs
30 ตุลาคม เวลา 9:22 น.
............พืชทั่วไป มีมาก ไทย อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และ วิถีความเป็น
อยู่ อย่างพอเพียง ใยต้องนำพืช GMO ที่มุ่งเน้น ประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในระบบปลูก
พืชตามแนวคิดแบบ อุตสาหกรรมมาใช้ ไม่เข้าใจนักวิชาเกิน จริงๆ ทุกอย่างที่คิดก็ดีหมด
น่ะเข้าใจ แต่ ทำเพื่อ?????
31 ตุลาคม เวลา 9:32 น.
.......พี่จะส่งมะละกอไปโรงงาน เขาให้ไปตรวจ จีเอ็มโอ ไม่รู้ไปตรวจที่ใหนแถวเชียงใหม่ ลำพูน
2 พฤศจิกายน เวลา 10:52 น.
.............ตอนนี้มีตัวไหนเป็นGMO บ้างจะได้ระวังไม่ซื้อ
2 พฤศจิกายน เวลา 19:33 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 29/12/2014 8:25 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ...หยุด GMO (3)..0 24 หยุดเอาเปรียบคนกินซะที |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 .....หยุด GMO (3)..0 24 หยุดเอาเปรียบคนกินซะที
บทที่ 1 (3) .. Dr.Thierry Vrain หยุด GMO ...หันมาทำเกษตรอินทรีย์
จริงหรือไม่ คิดเอาเอง......
(3) Dr.Thierry Vrain
นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุวิศวกรรมและปฐพีวิทยาที่อุทิศตนสำหรับการทำงานภายใต้
กระทรวงเกษตร แคนาดามายาวนาน 30 ปี โดยเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่โฆษณา
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับผลประโยชน์และความปลอดภัยของ จีเอ็มโอ
แต่หลังจากเกษียณจากงานเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เขามีโอกาสได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับ
จีเอ็มโอ จากงานวิชาการและประสบการณ์จากทั่วโลก Thierry Vrain ได้เปลี่ยนจุดยืน
มาอยู่ตรงกันข้าม ปัจจุบันเขากลายเป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ เผยแพร่และบรรยาย
ปัญหาและความเสี่ยงของพืชดัดแปลงพันธุกรรมแก่ผู้สนใจ
อ่านคำสัมภาษณ์เขาได้ที่
http://www.theecoreport.com/green-blogs/sustainability/agriculture/gmo/an-interview-with-dr-thierry-vrain/
ความเห็น.....
เหมือนหนังฝรั่งที่เราดูๆกันเลย ต่อไปก็จะมีมนุษย์กลายพันธุ์ ถ้ายังเพิกเฉยกับอาหารที่กินเข้าไป
1 ธันวาคม เวลา 19:38 น.
...............สงสัย...ตอนเป็นเจ้าหน้าที่ไม่รู้เหรอว่ามันไม่ดี เงินทำได้ทุกอย่าง
เมื่อวานนี้ เวลา 18:43 น.
. อาหารอะไรบ้างล่ะ จะได้ไม่กิน
11 ชั่วโมงที่แล้ว
. แทบทุกอย่างแล้วค่ะตอนนี้ ในซุปเปอร์น่ะตัวดีเลย นอกเสียจากว่าปลูกเอง ไม่ใช่แน่นอนค่ะ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 31/12/2014 6:44 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (4) ผลประโยชน์มหาศาลของ GMO |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (4)
บทที่ 1 (4) ..... ผลประโยชน์มหาศาลของ GMO ..
(4) ผลประโยชน์ของ จีเอ็มโอ
มีมูลค่ามหาศาลเกินกว่าจะประเมินได้ หากใครควบคุมและผูกขาดเมล็ดพันธุ์ได้ นั่นหมายถึง
การควบคุมระบบเกษตรและอาหารของประเทศและของโลกเอาไว้ในมือของตน
"วิทยาศาสตร์" ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันจีเอ็มโอให้กลายเป็นที่ยอมรับ
ของประชาชนทั่วไปและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางนโยบาย โดยทำให้วิทยาศาสตร์
กลายเป็น "วิทยาศาสตร์บรรษัท" หรือ Corporate Science มีตัวอย่างของการใช้
วิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ของบรรษัททั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก เป็นจำนวนมาก
1) การใช้งานวิจัยของบรรษัทในการขออนุญาตปลูกพืชจีเอ็ม พืชจีเอ็มโอไม่ว่าจะเป็นพืชที่
ผลิตสารพิษบีที และพืชต้านทานสารปราบวัชพืชโดยทั่วไปจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการปลูก
จนกว่าจะมีผลการทดลองว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- รายงานการประเมินดังกล่าวส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นรายงานที่ทำโดยบริษัท
- บริษัทขัดขวางไม่ให้นักวิทยาศาสตร์อิสระนำพันธุ์พืชจีเอ็มของตนไปทดลองเรื่องผลผลิต
และผลกระทบ
(http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=do-seed-
companies-control-gm-crop-research )
- แต่ที่ย่ำแย่ไปยิ่งกว่านั้นคือจากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า 81% ของพืชจีเอ็มที่ได้รับ
อนุญาตให้ปลูกอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่าง
เพียงพอ (http://www.biosafety-info.net/article.php?aid=1108)
2) บรรษัทจ้าง/สนับสนุนเงินทุนแก่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการรวมไปถึงแม้กระทั่ง
สถาบันทางวิทยาศาสตร์หรือสถาบันการศึกษา วิจัยและเผยแพร่งานที่เป็นประโยชน์ของตน เช่น
- บริษัทมอนซานโต้สนับสนุนเงินแก่มหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อให้มีการเตรียมการทดลองข้าว
โพดจีเอ็มโอ NK603 โดยก่อนหน้านี้ได้สนับสนุนกรมวิชาการเกษตรให้ทำการทดลองฝ้าย
บีที การวิจัยดังกล่าวอ้างว่าเป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ทั้งๆที่
จริงๆแล้วเป็นการทำงานวิจัยเพื่อบริษัทจะได้ใช้งานวิจัยดังกล่าวเพื่อยื่นขออนุญาตให้มีการ
ปลูกพืชจีเอ็มดังกล่าวในประเทศไทยเท่านั้น
- CropLife Asia ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยบรรษัท เช่น มอนซานโต้ ดูปองท์ ซินเจนทา
เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งการสนับสนุนข้อมูลและการจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือเรื่อง "หนึ่งทศวรรษ
ของพืชจีเอ็มโอในทวีปยุโรป ความหวาดกลัวและข้อเท็จจริง" โดยข้อมูลส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่
เป็นข้อมูลที่ได้มาจากบรรษัท (https://www.facebook.com/photo.php?
fbid=10152892227539579&set=pb.741079578.-2207520000.14
17052552.&type=3&theater)
- บริษัทสนับสนุนให้นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อาวุโสในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนบทความ
สนับสนุนประโยชน์ของการปลูกฝ้ายบีทีในประเทศไทย (มีผู้ปฏิเสธที่จะเขียนบทความดัง
กล่าวแม้ว่าจะได้ค่าตอบแทนสูงมาก เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเขียนบทความที่เป็นการส่งเสริม
ผลประโยชน์ของบริษัทไม่ใช่บทความทางวิชาการที่ควรจะเป็น)
3) บริษัทมอนซานโต้ประเทศไทย จ้างนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์พันธุ
วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ที่จัดทำนโยบายความปลอดภัยทาง
ชีวภาพของกรมวิชาการเกษตร และข้าราชการจากสำนักนโยบายและแผน กระทรวง
เกษตรฯ ซึ่งมีใกล้ชิดกับผู้บริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงวิทยาศาสตร์
มาเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัท โดยมีหน้าที่หลักสำคัญคือใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อผลักดัน
ให้ประเทศไทยอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็ม เช่น เดียวกับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จ้างอดีต
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปลัดกระทรวงเกษตร และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนเพื่อเอื้อ
ประโยชน์ในการทำงานให้บริษัท
4) บรรษัทสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนนโยบายของตน เช่น
สนับสนุนการตั้ง ISAAA ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เผยแพร่เกี่ยวกับข้อมูลสถิติ และ
ประโยชน์ของจีเอ็มโอ โดยใช้วิธีการนำเสนอข้อมูล คัดเลือก หรือแม้กระทั่งการบิดเบือน
ข้อมูลที่เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อบรรษัทไปเผยแพร่
( https://www.foeeurope.org/press/2009/Feb10_Biotech_indsutry
_fakes_growth_of_GM_crops.html )
หรือในกรณีประเทศไทยมีการตั้งสมาคมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งคน
ของบรรษัท หรือคัดเลือกบุคคลที่ส่งเสริมผลประโยชน์บรรษัทไปทำหน้าที่ในคณะกรรมการ
ต่างๆของรัฐ รวมทั้งการสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ สื่อมวลชน (โดยเฉพาะสื่อมวลชน
เกษตร) และเกษตรกรไปดูงานในต่างประเทศ และจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับประโยชน์ของจีเอ็มโอ
การดำเนินการดังกล่าวของบรรษัทเป็นการทำให้วิทยาศาสตร์ซึ่งควรเป็นรากฐานของการ
แสวงหาความจริงและเป็นรากฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของสาธารณะแปร
เปลี่ยนเป็น "วิทยาศาสตร์เพื่อผลประโยชน์บรรษัท"
ความเห็น
..........ที่ไหนก็มีนะ....นักวิชาการ ขายตัว
28 พฤศจิกายน เวลา 18:10 น.
............ทำนองเดียวกับบริษัทผลิตยาค่ะ
..........ก็โลกมันเป็นแบบเนี้ย คนจนปัญญาน้อยก็อยู่ลำบากซะงั้น
..........น่าเศร้านะครับเห็นประโยชน์ส่วนตนแต่ทำลายเพื่อนชาวเกษตรเกือบทั้งโลก
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 04/01/2015 3:19 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (5) ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 1 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (5) ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 1
บทที่ 1 (5) .....
(5) ความจริงเกี่ยวกับจีเอ็มโอ # 1
การยอมรับเรื่องจีเอ็มโอขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับจริง ส่วนโพลล์สนับสนุนที่นำมาอ้างว่า
ประชาชนยอมรับจีเอ็มโอนั้นเป็นการตั้งคำถามแบบชี้นำ
หลังจากการดีเบทระหว่างไบโอไทยและผู้สนับสนุนเรื่องจีเอ็มโอทั้งที่จัดขึ้นโดย เถียงกันให้รู้
เรื่อง-ไทยพีบีเอส คมชัดลึก-เนชั่นทีวี และ เจาะข่าวเด่น-ช่อง3 คู่ดีเบทของเราได้เขียน
อธิบายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น
"เก็บตกเรื่องจีเอ็มโอ #1 การยอมรับจีเอ็มโอ ขึ้นกับข้อมูลที่ได้รับ"
"เก็บตกเรื่องจีเอ็มโอ #2 การเพาะปลูกพืชไร่จีเอ็ม เพิ่มขึ้นโดยตลอดทุกปี"
"เก็บตกเรื่องจีเอ็มโอ #3 อาหารจีเอ็ม เป็นที่ยอมรับของวงการวิทยาศาสตร์ ว่าปลอดภัย"
"เก็บตกเรื่องจีเอ็มโอ #4 ยาปราบวัชพืชไกลโฟเสต ไม่ได้อันตรายอย่างที่กล่าวหา" เป็นต้น
ไบโอไทย เห็นว่าจะเกิดประโยชน์หากได้รับข้อมูลจากทั้งสองด้าน จึงขอแลกเปลี่ยน โดย
ลำดับดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจที่ตั้งคำถามโดยไม่ชี้นำทั้งที่ดำเนินการอย่างเป็นทางการโดยอียู สำนักโพลล์
ต่างๆ ไปจนถึงโพลล์ของสื่อต่างๆ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประชาชนทั้งในยุโรป สหรัฐ และอีก
หลายประเทศส่วนใหญ่ปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว แต่
สิ่งที่ไบโอไทยเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญของผลการสำรวจที่น่าสนใจมากที่สุดมี 2 ประเด็นคือ
1) ยิ่งมีเวลาผ่านไป เรายิ่งพบความเป็นจริงว่าประชาชนยิ่งให้การสนับสนุนจีเอ็มโอน้อยลง
โพลของสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีแรกๆที่มีการนำจีเอ็มโอ
มาปลูกเชิงพาณิชย์ จนมาถึงปีหลังๆ ตัวอย่างเช่น คนในสเปนเคยสนับสนุนจีเอ็มโอถึง 66
% เมื่อปี 1996 แต่ในปี 2010 กลับลดเหลือเพียง 35% ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในฝรั่งเศส
เคยสนับสนุนถึง 43% แต่ลดเหลือ 16% เท่านั้น และน่าสนใจด้วยว่าแนวโน้มดังกล่าว
เป็นจริงด้วยสำหรับทั้งฝั่งยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก
ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการศึกษาเรื่อง
"Europeans and Biotechnology in 2010 - Winds of change?"
ได้ที่ http://ec.europa.eu/research/science-
society/document_library/pdf_06/europeans-biotechnology-
in-2010_en.pdf
2) ประชาชนในสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับประเด็นการถกเถียงเรื่องจีเอ็มโอมาก
นักเมื่อ 1-2 ทศวรรษที่แล้ว แต่บัดนี้กลับมีความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
กระแสการขับเคลื่อนให้มีการบังคับติดฉลากนั้นประชาชนอเมริกันเห็นพ้องต้องกันมากกว่า
90% แต่กลับถูกขัดขวางโดยมอนซานโต้และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ผลประโยชน์จากจีเอ็ม
โอ น่าสนใจมากว่าอนาคตเกี่ยวกับจีเอ็มโอในสหรัฐซึ่งเป็นเมืองหลวงของพืชจีเอ็มโอจะเป็น
เช่นไร เมื่อประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ
3) ส่วนผลการสำรวจที่นำมาอ้าง เช่น ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยยอร์ก (ดู
http://2014.igem.org/Team:York/Surveys) ที่ถามคำถามว่า "คุณจะสนับ
สนุนหรือคัดค้านโครงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ใช้ GMO ? อันนี้ไม่ใช่คำถามทั่วไป แต่เป็น
คำถามชี้นำ คำตอบที่ได้ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนต่อการยอมรับอาหารจีเอ็มแต่
ประการใด เช่นเดียวกับคำถามว่า ประชาชนยุโรปส่วนใหญ่จะซื้ออาหารจีเอ็ม ถ้าพวกเค้า
ทราบว่ามันทำให้สุขภาพดีกว่า มียาฆ่าแมลงน้อยกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวด
ล้อมมากกว่า นี้ก็เป็นคำถามชี้นำ เพราะสรุปเอาเองว่าอาหารจีเอ็มมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
น้อยกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริงหลายกรณีกลับเป็นเรื่อง
ตรงกันข้าม
การอ้างผลสำรวจโดยใช้โพลล์ที่ตั้งคำถามชี้นำจึงไม่สามารถหักล้างความจริงที่ไบโอไทยนำ
เสนอได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้อ่านคงต้องตัดสินใจเอาเองว่า โพลล์ประเภทไหนที่เป็นโพลล์ที่น่า
เชื่อถือมากกว่ากัน
Biothai Mizz'ma GooDway งานศึกษาของ EU ชื่อ "Europeans and
Biotechnology in 2010 - Winds of change?" ดาวน์โหลดได้จาก
http://ec.europa.eu/.../europeans-biotechnology-in-2010...
1 พฤศจิกายน เวลา 5:56 น.
Biothai Waraporn Siriworakunchai เราไม่เคยพูดว่ายุโรปทั้งหมดปฏิเสธ จีเอ็มโอ
เราบอกว่าสัดส่วนประชาชนยุโรปที่สนับสนุนจีเอ็มโอลดลงครับ
1 พฤศจิกายน เวลา 20:56 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mongkol สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010 ตอบ: 136
|
ตอบ: 10/01/2015 6:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เมืองไทยเงินซื้อความชอบธรรมได้แม้สิ่งนั้นมันจะทำลายคนไทยในอนาคต
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 16/02/2015 4:09 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (6) ความจริงเกี่ยวกับ GMO # 2 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (6)
บทที่ 1 (6) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 2
ตามที่คุณมงคลพูด ถูกต้องที่สุด เป็นความจริงที่ว่า.....
..การกระทำใด ๆ ก็ตาม ไม่วันใดก็วันหนึ่ง สิ่งที่ทำนั้นจะต้อง Feed Back กลับไปหาผู้
กระทำนั้น ๆ มันเป็นสัจธรรมครับ
(6) ความจริงเกี่ยวกับจีเอ็มโอ # 2
พื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอเพิ่มขึ้นจริง แต่เพิ่มขึ้นในอัตราลดลง ที่สำคัญพื้นที่พืชจีเอ็มโอในโลก
ประมาณ 90% อยู่ใน 5 ประเทศของโลกเท่านั้น
---------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนจีเอ็มโอได้เขียนในเพจของเขาว่า
"ในการดีเบตทางไทยพีบีเอส ทาง NGO ได้แสดงแผนภูมิที่บอกว่าการ
เพาะปลูกพืชไร่จีเอ็มนั้นมีแนวโน้มลดลง"
ไบโอไทยไม่เคยพูดว่าพื้นที่ปลูกจีเอ็มโอลดลง แต่บอกว่า
อัตราการเติบโตของการปลูกพืชจีเอ็มโอลดลง (โปรดดูคำบรรยาย
กราฟที่ใช้ประกอบในการดีเบท-ภาพที่3)
ดังนั้นเมื่อเราสังเกตกราฟการเติบโตของพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ เราจะเห็นว่าพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจริง
แต่เราจะพบว่าความชันของกราฟเริ่มลดลง
ฝ่ายสนับสนุนจีเอ็มโอมักใช้แผนที่(ภาพที่2)และการระบายสีพื้นที่ของ ISAAA (ซึ่งเป็น
องค์กรที่ตั้งขึ้นจากการสนับสนุนของอุตสาหกรรมจีเอ็มโอ) ให้ดูเสมือนว่าพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็ม
โอขยายไปทั่วโลกแล้ว เพื่อชี้นำโน้มน้าวให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเรากำลังจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และเราจำ
เป็นต้องยอมรับจีเอ็มโอเพราะเกือบทุกประเทศในโลกยอมรับจีเอ็มโอกันหมดแล้ว
ในความเป็นจริง พื้นที่เกษตรที่เป็นจีเอ็มโอทั้งโลกในปัจจุบัน
มีอยู่เพียง 12% ของพื้นที่เกษตรกรรมโลกเท่านั้น โดยพื้นที่
ที่ปลูกจีเอ็มโอทั้งหมดนั้นประมาณ 90% กระจุกอยู่ใน 5 ประเทศ
เท่านั้น(ภาพที่1)
ภายใต้ความเป็นจริงที่ว่า 1) พืชจีเอ็มโอไม่ได้เพิ่มศักยภาพในการเพิ่มผล
ผลิต 2) ไม่ได้ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ 3)แนวโน้มการไม่ยอมรับอาหารจีเอ็ม
มากขึ้นๆนั้น เป็นเรื่องยากที่จีเอ็มโอจะเติบโตแบบที่เคยเป็นในอดีต
อย่างไรก็ตามควรตระหนักอย่างหนึ่งว่า การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกพืชชนิดใหม่ๆไม่ได้เป็นสิ่ง
รับประกันว่าสิ่งนั้นจะนำประโยชน์มาสู่เกษตรกร
บทเรียนจากการปฏิวัติเขียว จากการส่งเสริมและโหมโฆษณา "ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์" เมื่อ
5 ทศวรรษที่แล้วคือบทเรียนที่พึงสังวร ในกรณีดังกล่าว ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริงแต่
เกษตรกรกลับต้องใช้ทั้งปุ๋ยและสารเคมี เจอปัญหาการระบาดของโรคแมลงจนแก้ไม่ตก
ปฏิวัติเขียวให้ประโยชน์ชาวนาชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะยาวต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพิ่ม
ขึ้นจนไม่คุ้มทุน
ระบบเหล่านี้อยู่รอดมาได้หลายทศวรรษเพราะระบบธรรมชาติคอยค้ำจุนอยู่ เมื่อผืนดิน
อินทรีย์วัตถุ ความหลากหลายทางชีวภาพ เสื่อมโทรมลง น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากฟอสซิ
ลที่ใช้กับการเกษตรมีราคาสูงขึ้นไปสู่ค่าที่มันควรจะเป็น ระบบนี้ก็จะพังทลายลงในที่สุด
อยากสื่อสารไปยังกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องจีเอ็มโอว่า การใช้และตีความข้อมูลมีความสำคัญ แต่
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ จุดมุ่งหมายของการตีความนั้นนำไปสู่ความจริง และนำไปสู่ประโยชน์
ของมหาชนหรือไม่
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 18/02/2015 1:36 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (7) ความจริงเกี่ยวกับ GMO # 3 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO
บทที่ 1 (ตอนที่ 7) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 3
(7) ความจริงเกี่ยวกับจีเอ็มโอ #3
ไม่มีฉันทามติในประชาคมวิทยาศาสตร์ว่าพืชจีเอ็มโอมีความปลอดภัย การพูดว่า
จีเอ็มโอปลอดภัยเป็นคำพูดที่ขาดความรับผิดชอบ
นักวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนจีเอ็มโออ้างว่า เดี๋ยวนี้องค์การวิทยาศาสตร์และสาธารณสุขมี
ความเห็นสอดคล้อง เป็น consensus กันว่า อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชจีเอ็ม
นั้น มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับอาหารจากพืชธรรมดาที่เป็นต้นแบบของมัน เราไม่เห็น
ด้วยกับคำกล่าวนั้น
เดวิด ซูซูกิ นักพันธุศาสตร์ซึ่งเขียน An Introduction to Genetic Analysis
ตำราพันธุศาสตร์ที่ใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า
นักวิทยาศาสตร์คนใดที่บอกคุณว่าจีเอ็มโอปลอดภัยหรือไม่ต้องเป็นกังวล ถ้าไม่ใช่เพราะไม่
ประสีประสากับความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์แล้ว ก็เป็นเพราะพวกเขาจงใจ
โกหก แท้จริงแล้วไม่มีใครทราบหรอกว่าผลกระทบระยะยาวของจีเอ็มโอจะเป็นเช่นไร
คณะทำงานของ UN ที่ใช้ชื่อว่า International Assessment of Agricultural
Knowledge Science and Technology for Development (IAASTD)
ซึ่งเป็นคณะทำงานระหว่างประเทศเพื่อประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางการเกษตรสำหรับ
การพัฒนา ซึ่งสนับสนุนโดย WHO, FAO, UNEP, UNDP UNESCO และ World
Bank ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกระบวนการประเมินจาก 110 ประเทศ 900 คน ได้เผยแพร่เอกสาร
ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของจีเอ็มโอว่า
ผลกระทบของจีเอ็มโอยังเป็นที่เข้าใจน้อยมากในปัจจุบัน ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมใน
การตัดสินใจทางนโยบายและทำให้การวิจัยเรื่องความเสี่ยงเปิดเผยต่อสาธารณะ
(GlobalSummary, p. 20).
การประเมินเทคโนโลยีนี้ยังตามหลังการพัฒนาของมัน ข้อมูลที่มียังไม่เพียงพอ กระจัด
กระจายและขัดแย้งกันเอง ทั้งประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบและผลประโยชน์ของมัน ทั้งใน
ประเด็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ(SR Summary, p. 14)
นโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพ ต้องมั่นใจว่าสามารถป้องกันการปนเปื้อนทางพันธุ
กรรมของแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพ (Summary of
the
regional report on Latin American and the Caribbean,
Spanish original, p. 20)
สำหรับประเทศที่ตัดสินใจเลือกจีเอ็มโอ ระบบกฎหมายต้องใช้หลักป้องกันเอาไว้ก่อนและปก
ป้องสิทธิของผู้บริโภคในการเลือก (Summary of the regional report on
Latin American and the Caribbean, Spanish original, p. 20)
อุปสรรคสำคัญสำหรับการทดสอบความปลอดภัยของพืชจีเอ็มโอ เกิดจากการขัดขวางของ
บริษัทผู้ผลิตจีเอ็มโอไม่ให้มีการนำผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อให้นักวิชาการอิสระทำการประเมิน
เรื่องความปลอดภัยนั้น เรื่องนี้ ทำให้ประชาคมวิทยาศาสตร์อดรนทนไม่ได้จนต้องทำ
จดหมายร้องเรียนรัฐบาลสหรัฐ
(โปรดดูในลิงhttps://www.facebook.com/biothai.net/photos/pb.183063271732
202.-2207520000.1414799680./611716498866875/?
type=3&theater )
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาที่รวมตัวกันในนาม
เครือข่ายนักวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป (The European
Network of Scientists for Social and Environmental
Responsibility- ENNSSER) ก็ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวว่า ประชาคมวิทยาศาสตร์
เห็นพ้องต้องกันว่าจีเอ็มโอปลอดภัย เช่นเดียวกัน เครือข่ายดังกล่าวได้จัดทำแถลงการณ์
เป็นการเฉพาะเรื่อง No scientific consensus on GMO safety มีผู้ร่วมลงชื่อ
หลายร้อยคน โดยระบุเหตุผลสำคัญ ต่างๆ เช่น
1) ยังไม่มีข้อยุติว่าอาหารจีเอ็มปลอดภัย งานศึกษาจำนวนมากทำโดยผู้ผลิตจีเอ็ม รวมทั้งมี
งานวิจัยจำนวนมากที่ขัดแย้งกันเอง
2) ยังไม่มีงานศึกษาเชิงระบาดวิทยา (epidemiological studies)เกี่ยวกับผลกระทบ
ต่อสุขภาพของมนุษย์จากการบริโภคอาหารจีเอ็ม ดังนั้นการอ้างว่ามีผู้บริโภคในอเมริกา
เหนือบริโภคจีเอ็มโอมาเป็นเวลานานนับสิบปีแต่ก็ไม่เห็นปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพ เป็น
เพียงการพูดลอยๆโดยไร้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์รองรับ
3) มีงานวิจัยหลายร้อยรายงานที่ไม่ยืนยันเรื่องความปลอดภัย
4) มีงานศึกษาที่ระบุอย่างชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่น ผลกระทบของพืชบีทีต่อ
แมลงที่ไม่ใช่ศัตรูพืช การเพิ่มขึ้นของการใช้สารเคมีปราบวัชพืช แมลงและวัชพืชดื้อยา เป็นต้น
ในฐานะประชาชน เราควรได้เรียนรู้จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นฝ่ายสนับสนุนจีเอ็มและฝ่าย
ที่ไม่สนับสนุน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเชื่อฝ่ายใดเราควรยึดหลัก ปลอดภัยไว้ก่อน
เสมอ สิ่งที่เราควรได้เรียนรู้ร่วมกันคือ แม้แต่องค์การอนามัยโลก(WHO) ก็ยังเคยทำที่สิ่งที่
ผิดพลาดมาก่อน ตัวอย่างเช่น การนำ DDT มาใช้ในโครงการกำจัดยุงที่เป็นสาเหตุของโรค
มาลาเรีย แต่ต่อมาพบว่าสารเคมีนี้มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย และสิ่ง
แวดล้อม และใช้เวลานานถึง 34 ปี ประชาคมโลกถึงได้เรียนรู้ว่าสารเคมีนี้เป็นภัยร้ายแรงจน
มีการยกเลิกการใช้ในที่สุด
ภายใต้สถานการณ์ที่ประชาคมวิทยาศาสตร์ยังถกเถียงกันไม่เลิก หลักการปลอดภัยไว้
ก่อน หรือ Precaution Principle เป็นหลักการที่ประชาชนและประเทศต่างๆควรยึด
ถือ การอวดอ้างว่า ประชาคมวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าจีเอ็มโอปลอดภัย นอกจาก
ไม่เป็นความจริงแล้วยังเป็นคำกล่าวที่ขาดความรับผิดชอบด้วย
หมายเหตุ
ในการดีเบทรายการ เถียงกันให้รู้เรื่อง ช่องไทยพีบีเอส ไบโอไทยได้แสดงให้เห็นว่ามีองค์กร
ทางการแพทย์ที่เรียกร้องให้มีการติดฉลาก เช่น 1) British Medical Association
-150,000 members 2) German Medical Association - 430,000
members 3) American Public Health Association - 30,000
members 4) California Medical Association - 39,000 members
5) American College of Physicians-137,000 members เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นคู่ดีเบทได้โต้แย้งว่า ปัจจุบันทาง BMA ได้เปลี่ยนจุดยืนไปแล้ว
จากรายงานฉบับแรกในปี 1999 ไบโอไทยขอยืนยันว่าข้อมูลของเราถูกต้อง จุดยืน
BMA ในการเรียกร้องให้มีการติดฉลากในรายงานปี 2004 นั้น ยังคงเหมือนกับรายงาน
ฉบับแรกเมื่อปี 1999 กล่าวคือแม้ว่า BMA จะลดระดับความกังวลลงแต่ยังยืนยันชัดเจน
ว่า มาตรการในการติดฉลากจำเป็นต้องดำเนินต่อไป เพื่อเอื้ออำนวยต่อการศึกษาวิจัยผล
ต่อสุขภาพ และให้สาธารณชนมีโอกาสเลือกว่าจะบริโภคอาหารจีเอ็มหรือไม่
(Labelling of GM-containing foods should be continued in order
to facilitate further health research and allow the public to
choose whether they consume GM food or not) และสรุปว่า อย่างไรก็
ตาม ภายใต้ข้อมูลที่เรามีอยู่ในขณะนี้ ความกังวลในเรื่องความปลอดภัย ไม่สามารถขจัด
ออกไปได้
.................ให้ เจ้าหน้าที่ของบริษัท และเจ้าที่หรือคนที่เห็นด้วย กินอาหารที่ทำจาก
พืชจีเอ็มโอ ทุกมื้อตลอดระยะเวลา 10-15 ปี แล้วค่อยสรุป
1 พฤศจิกายน เวลา 12:32 น.
.........ถ้าหลังจากปลูกพืชจีเอ็มโอแล้วพืชเหล่านี้เราต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทด้วย
ราคาแพง มันจะน่าปลูกอีกต่อไปหรือ คนวิจัยเขาลืมตรงนี้รึเป็นการผูกขาดที่น่าเจ็บปวด พืช
พื้นเมืองจะค่อยๆหายไปแล้วพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจก็จะมีมากขึ้นความหลากหลายที่
เคยมีจะหายไป มันคุ้มแล้วหรือกับระบบนิเวศน์ที่จะค่อยๆถูกทำลายไปทีละน้อย
1 พฤศจิกายน เวลา 16:33 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/02/2015 9:06 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (8 ) ความจริงเกี่ยวกับ GMO # 4 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (8 )
บทที่ 1 (ตอนที่ 8 ) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 4
(8 ) ความจริงเรื่องจีเอ็มโอ #4
ไกลโฟเสทไม่ได้เป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยกว่า
การบอกว่าไกลโฟเสทปลอดภัยกว่า เป็นข้ออ้างของบรรษัท กรณีพืชจีเอ็มโอทำให้มีการใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น
มายาคติสำคัญของจีเอ็มโอคือการสร้างภาพว่า จีเอ็มโอลดการใช้สารเคมี
มายาคติที่พวกเขาสร้างขึ้นขณะนี้ได้พังทลายลงไปแล้วจากผลที่เกิดขึ้นจริงในทางปฎิบัติ ผล
การศึกษาประสบการณ์ปลูกพืชจีเอ็มโอสิบกว่าปี ของ Charles Benbrooks ซึ่งใช้
ข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เอง พบว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอทำให้มีการใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นถึง 183 ล้านกิโลกรัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สารเคมีปราบวัชพืชไกลโฟเสท(หรือชื่อการค้าราวด์อั๊พ)
การใช้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของราวด์อั๊พเกิดขึ้นเนื่องจากประมาณ 90% ของเมล็ดพันธุ์
ถั่วเหลือง ข้าวโพด และฝ้ายที่ปลูกในสหรัฐนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรมใส่ยีนต้าน
ทานสารเคมีปราบวัชพืชไกลโฟเสทซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของมอนซานโต้เข้าไปด้วย
เกษตรกรอเมริกันจึงใช้ไกลโฟเสทได้มากเพราะไม่ต้องกังวลว่าพืชปลูกจะได้รับผลกระทบจาก
สารปราบวัชพืช
นอกเหนือจากนี้ เมื่อใช้ไกลโฟเสทมากๆติดต่อกัน วัชพืชหลายชนิดก็พัฒนาตนเองจนต้าน
มากขึ้นๆ ความจริงเหล่านี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว และปรากฎในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน
วารสารทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
เมื่อความจริงปรากฏขึ้น มอนซานโต้และนักส่งเสริมจีเอ็มโอจึงสร้างวาทกรรมใหม่ว่า
ถึงแม้จะมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการเปลี่ยนจาก
สารเคมีอันตรายไปใช้สารเคมีที่ปลอดภัยกว่า
พวกเขาอ้างว่าไกลโฟเสทหรือราวด์อั๊พปลอดภัยกว่าสารเคมีชนิดอื่น ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริง
ในการประเมินความปลอดภัยและผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของสารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชนั้น มีเกณฑ์ที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ซึ่งมีความสำคัญพอๆกันและหากพบ
เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีการยกเลิก(ban) หรือต้องควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด
(restricted use) เกณฑ์ดังกล่าวคือ
1) ความเป็นพิษเฉียบพลัน( Acute toxicity)
2) ความเป็นพิษเรื้อรัง(Chronic toxicity) เช่น ก่อให้เกิดมะเร็ง กระทบต่อระบบสืบ
พันธุ์ เป็นต้น และ
3) ตกค้างในระบบนิเวศและส่งผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
เป็นความจริงที่ไกลโฟเสทหรือราวด์อั๊พมีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ แต่ปัญหาสำคัญของ
สารเคมีนี้คือความเป็นพิษเรื้อรัง โดยงานวิจัยเป็นจำนวนมากในระยะหลังกลับพบว่า ไกลโฟ
เสทเป็นสารที่เป็นอันตรายกว่าที่เคยเข้าใจกันทั่วไป(จากคำกล่าวอ้างของเจ้าของ
ผลิตภัณฑ์) โดยเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง อัลไซม์เมอร์ ออทิสติก เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
สารกำจัดวัชพืชที่มีไกลโฟเสทเป็นส่วนผสมมีความเป็นพิษและรบกวนการทำงานของ
เซลล์ต่อมไร้ท่อของมนุษย์ (Gasnier C. และคณะ ตีพิมพ์ใน Toxicology. 2009
Aug 21; 262(3): 184 91) งานวิจัยนี้พบว่าแม้ใช้สารนี้ในระดับที่ต่ำเช่นเพียง
0.5 ppm ก็มีผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ และมีผลกระทบต่อ DNA ในระดับที่ใช้เพียง 5
ppm เท่านั้น นักวิจัยได้เสนอให้มีการพิจารณาสารเคมีนี้เป็นสารก่อมะเร็งและก่อกลายพันธุ์
งานวิจัยชิ้นสำคัญในประเทศไทยที่สนับสนุนข้อค้นพบของประชาคมวิทยาศาสตร์คืองานวิจัย
ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (โดย Thongprakaisang S., Thiantanawat A.,
Rangkadilok N., Suriyo T., Satayavivad J.) ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Food and Chemical Toxicology( Food and Chemical Toxicology
59 (2013) 129136) เรื่อง ไกลโฟเสท ชักนำให้เซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์เจริญ
เติบโต โดยผ่านทางตัวรับของฮอร์โมนเอสโตรเจน
ข้อค้นพบสำคัญของงานศึกษานี้คือ ไกลโฟเสท ทำให้เพิ่มการเจริญขยายตัวเฉพาะในโรค
มะเร็งเต้านมที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนของมนุษย์ และ ไกลโฟเสท ในขนาดความเข้มข้นต่ำก็มี
ผลกระทบต่อการทำงานของเอนไซม์เอสโตรเจน
นอกเหนือจากนี้ ยังมีงานศึกษาอื่นๆที่พบด้วยว่าไกลโฟเสทยังเกี่ยวข้องกับเอ็นไซม์อื่นๆ ซึ่งจะ
ส่งผลกระทบต่อการล้างสารพิษแปลกปลอม ส่งผลกระทบต่อเนื่องสู่ระบบอื่นในร่างกาย ซึ่งทำ
ให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง เช่น อัลไซม์เมอร์ เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์ควรวางตัวในระดับที่เป็นอิสระต่อการเปิดรับความจริงและข้อมูลใหม่ๆ แต่น่า
เป็นห่วงนักวิทยาศาสตร์บางคนที่จุดยืนการสนับสนุนจีเอ็มโออาจถลำลึกไปสู่การใช้ข้อมูล
ด้านเดียวโดยเฉพาะข้อมูลที่มาจากฝั่งอุตสาหกรรมเป็นหลัก
หมายเหตุ
ไบโอไทยยกเหตุผลเรื่องความไม่ปลอดภัยของไกลโฟเสทโดยกล่าวถึงการแบนสารนี้ในศรี
ลังกา ในระหว่างการดีเบทที่ไทยพีบีเอส นักวิทยาศาสตร์คู่ดีเบทของเราได้เขียนในเพจให้
ข้อมูลว่า เพิ่งมีการยกเลิกการแบนสารดังกล่าวแล้วเมื่อเร็วๆนี้ และ ผลการศึกษาต่อมาของ
คณะทำงานในยุโรปได้ข้อสรุปว่า ไกลโฟเสต ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องโรคไต
1. กรณีการอ้างว่าไกลโฟเสทไม่เกี่ยวกับโรคไต ยังเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นกับไต
ไม่ได้เกิดจากไกลโฟเสทโดยตรง แต่เกิดจากไกลโฟเสทไปจับกับโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม และ
ส่งผลกระทบต่อไตเเมื่อมันเข้าสู่ร่างกาย GM Watch เตือนว่า คณะทำงานในยุโรป ที่ถูก
อ้างโดยนักวิทยาศาสตร์ที่เราดีเบทด้วยนั้นจริงๆแล้วคือ คณะที่ประกอบขึ้นจากมอนซานโต้
และบริษัทสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในยุโรปนั่นเอง จนกระทั่งปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงในเรื่องนี้
(http://www.icij.org/blog/2014/04/sri-lanka-delays-herbicide-ban-kidney-disease-origin-remains-elusive)
และมีความเคลื่อนไหวเพื่อแบนและควบคุมสารนี้อย่างเข้มงวดในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส
เยอรมนี เอลซัลวาดอร์ บราซิล เป็นต้น
(http://www.thehealthyhomeeconomist.com/roundup-banned-netherlands-france-brazil-likely-soon-follow/)
2. กรณีการชะลอการแบนไกลโฟเสทในศรีลังกา ไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ามันปลอดภัย แต่
อธิบายให้เห็นถึงอิทธิพลของบรรษัทสารเคมี-จีเอ็มโอมากกว่า ใครที่ติดตามการต่อสู้เพื่อปก
ป้องผลประโยชน์ของประชาชนจะทราบดีว่าการต่อสู้เพื่อยกเลิกสารพิษแต่ละตัวไม่ได้เป็น
เรื่องง่าย ตัวอย่างเช่น การที่อียู และมาเลเซีย แบนสารเคมีปราบวัชพืช พาราควอท แต
ต่อมา ก็ต้องยกเลิกการแบนด้วยแรงกดดันจากบริษัทซินเจนทาและอุตสาหกรรมสารเคมี
กำจัดศัตรูพืช แม้กระนั้นสารอันตรายร้ายแรงชนิดนี้ได้ถูกแบนแล้วในมากกว่า 20 ประเทศ
3. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)จะมีการจัดประชุมวิชาการสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชในต้นปี 2558 นพ.พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง จะมานำเสนอปัญหาของไกล
โฟเสท และพาราควอทโดยละเอียด และไทยแพนยังเตรียมการเชิญคณะผู้วิจัยไกลโฟเสทมา
นำเสนองานวิจัยนี้ในการประชุมดังกล่าวด้วย
. ฆ่าหญ้า ฆ่าดิน ฆ่าคน
4 พฤศจิกายน เวลา 9:53 น.
.. ผมคิดว่าเรื่อง GMOs ต้องแบ่งย่อยหลายประเด็น ถ้ารวบเป็นมัดแล้วตัดทิ้งเลยก็
จะตัดตอนการวิจัยและพัฒนาสายพันธ์ไป ซึ่งเมื่อสายพันธ์พืชถูกแยกแล้วว่าเป็นเส้นใย
เกรน หรืออาหาร ก็แยกรายละเอียดในการวิจัยไป ให้มีกฎหมายรองรับ ข้ออ้างต่างๆของ
ละฝ่ายควรได้รับข้อพิสูจน์ในแต่ละพื้นที่เพาะปลูกจริงโดยการควบคุมปัจจัยการผลิต
ผมไม่เชื่องานวิจัยต่างประเทศเท่าไหร่ เพราะทีมวิจัยเพื่อแก้ต่างชี้ประโยชน์และโทษเป็นเรื่อง
ของการจัดการผลประโยชน์ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา IR8 และพลวัติของสายพันธ์นี้ ถ้าทีม
วิจัยของไทยพัฒนาได้เองและแบ่งเป็นเทคโนโลยีในราคาถูกได้ ประโยชน์ย่อมเกิดมหาศาล
และมีทีมพฤกษศาสตร์และชีววิทยา คอยสกัดความสะเพร่าเลินเล่อต่างๆของแต่ละแนวคิด
ถ้าต่างคนต่างทำเพื่อแนวคิดของตน เราสามารถหยิบข้อผิดพลาดของผู้คิดต่างออกมาได้
เสมอครับ แต่มันช่างไร้ประโยชน์ถ้าส่วนดีไม่ถูกนำมาใช้เพราะขาดความสมบูรณ์แบบ
4 พฤศจิกายน เวลา 13:21
.. เรื่องจริง ประเทศไทยนำเข้าไกลโฟเสทเยอะมาก
4 พฤศจิกายน เวลา 19:37 น.
Biothai
ท่านที่สนใจกรณีไกลโฟเสทเป็นพิเศษ ประชุมวิชาการสารเคมีกำจัดศัตรู
พืชที่จะจัดโดย เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) จะมีการนำเสนอ
เรื่องนี้โดย นพ.พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง ม.ขอนแก่น และคณะวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
7 พฤศจิกายน เวลา 5:04 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 04/03/2015 3:30 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO (9) ความจริงเกี่ยวกับ GMO # 5 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (9)
บทที่ 1 (9) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 5
(9) ความจริงเรื่องจีเอ็มโอ #5
การอยู่ร่วมกัน ของการปลูกจีเอ็มโอร่วมกับการปลูกพืชทั่วไปและเกษตรอินทรีย์เป็นไปได้ยาก
วาทกรรมนี้เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้มีการยอมรับการปลูกพืชจีเอ็มโอ เป็นแนวคิดและแนว
ปฏิบัติที่อยู่ในกระดาษแต่ จัดการ ไม่ได้จริงในทางปฏิบัติ
เมื่อทศวรรษที่แล้วอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอได้พัฒนาแนวความคิดและการปฏิบัติว่า
ด้วย Co-existence เพื่อให้มีการยอมรับการปลูกพืชจีเอ็มโอว่าสามารถทำได้โดยผ่าน
การบริหารจัดการรูปแบบต่างๆ ทั้งในการกำหนดระยะห่างระหว่างการปลูกระหว่างพืชจีเอ็มโอ
กับพืชที่ปลูกในระบบทั่วไปและเกษตรอินทรีย์ การกำหนดให้มีบัฟเฟอร์โซน ไปจนถึงข้อ
กำหนดมาตรการต่างๆในการแยกเครื่องจักรกลการเกษตร โรงสี การจัดการโกดังเก็บ ฯลฯ
โดยอ้างว่า การจัดการที่ดี จะสามารถทำให้สามารถปลูกพืชจีเอ็มโอร่วมกับพืชอื่นได้
แต่ในทางปฏิบัติได้เกิดการปนเปื้อนและเกิดความเสียหายในหลายกรณี ตัวอย่างเช่น ใน
กรณีการปนเปื้อนของข้าวโพดสตาร์ลิงค์เมื่อปี 2000 ในสหรัฐ ข้าวโพดจีเอ็มโอสายพันธุ์นี้
ของบริษัทเอเวนติสไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นอาหารของมนุษย์แต่สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
แต่ต่อมาได้ผสมปนเปื้อนจนเกิดความเสียหาย
ในบทความเรื่อง Coexistence strategies, the Common Law of
Biotechnology and Economic Liability risks โดย A. Bryan Endres
ได้ยกเอกสารการพิจารณาของศาลในกรณีดังกล่าว โดยศาลได้แยกแยะแจกแจงว่าการปน
เปื้อนนั้นเกิดจาก 1) เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกโดยไม่ทราบว่าเป็นพันธุ์ที่มีข้าวโพด
สตาร์ลิงค์บรรจุอยู่ 2) เกิดการผสมเกสรข้าม 3) เกิดจากกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว ขน
ส่ง และจัดเก็บ 4) ปนเปื้อนระหว่างกระบวนการแปรรูป
(กรณีนี้เป็นการตอบโต้นักวิทยาศาสตร์คู่ดีเบทของไบโอไทย ที่ยืนยันในระหว่างการดีเบทว่า
การปนเปื้อนเกิดขึ้นในขั้นตอนการรวบรวมผลผลิตเท่านั้น ทั้งๆที่ไม่ใช่ ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่อง
โด่งดังมาก ผู้อ่านสามารถอ่านย้อนหลังรายงานข่าวเกี่ยวกับความยุ่งเหยิงของปัญหานี้ได้
ตามรายงานข่าวย้อนหลังได้ทั่วไป ส่วนกรณีที่นักวิทยาศาสตร์คนดังกล่าวได้โพสต์ข้อความ
ภายหลังว่า การปะปนของข้าวโพดสตาร์ลิงค์จึงไม่ได้เกิดจากการละอองเกสรข้ามระหว่างไร่
ข้าวโพดแต่อย่างไร ก็ไม่เป็นความจริงตามเอกสารการพิจารณาของศาลข้างต้น)
การเกษตรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าวโพด ข้าว หรือถั่วเหลือง
นั้น เกษตรกรมีพื้นที่การผลิตตั้งแต่หลายร้อยจนถึงเป็นหมื่นไร่ อีกทั้งต้องมีข้อกำหนดที่เคร่ง
ครัดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนแต่ก็ยังเกิดความเสียหายอย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทย
พื้นที่การทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15-25 ไร่เท่านั้น ข้อกำหนดต่างๆ เช่น ต้อง
ปลูกพืชห่างกัน 200 เมตร หรือ 1 กิโลเมตรตามข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์บางคนแทบ
เป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติด้วยเหตุผลทางบริบทเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปในทางปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย
ความเสียหายจากการปนเปื้อนทางพันธุกรรมที่สำคัญๆในสหรัฐอเมริกา เช่น
กรณีข้าวโพดสตาร์ลิงค์ของบริษัทเอเวนติส (ปัจจุบันคือ Bayer CropScience) ใน
ปี 2000 มีการคาดการณ์ว่าได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมาณ 1 พันล้านเหรียญ
บริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเกษตรกรที่ฟ้องร้อง 110 ล้านเหรียญ ใช้เงินอีก 110 ล้าน
เหรียญเพื่อซื้อคืนผลิตภัณฑ์ ฯลฯ กรณีที่นักวิทยาศาสตร์คู่ดีเบทของเราอ้างว่าได้มีการ
จัดการกับปัญหานี้แล้ว และขณะนี้ปัญหาดังกล่าวไม่ปรากฏแล้วก็ไม่เป็นความจริงเพราะแม้
เวลาจะผ่านพ้นไปแล้วถึง 14 ปี ปรากฏว่าเมื่อเร็วๆนี้ยังพบปนเปื้อนอยู่ในระบบอาหารที่
ประเทศซาอุดิอาระเบีย (http://rt.com/news/banned-gm-resurfaces-
saudi-arabia-074/ หรือ http://www.foodexposed.co.za/banned-
gm-maize-found-in-saudi-arabia-a-decade-after-it-was-
removed-from-the-u-s-market/)
กรณีข้าวดัดแปลงพันธุกรรมลิเบอร์ตี้ลิงค์ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีการปลูกในเชิง
พาณิชย์พบว่าได้ปนเปื้อนกับข้าวทั่วไปในอุตสาหกรรมข้าวของสหรัฐในปี 2006 โดยในปี
2007 อุตสาหกรรมข้าวของสหรัฐส่งออกลดลงถึง 20% มีการพบข้าวปนเปื้อนจากสหรัฐ
ที่ส่งออกไปยังแอฟริกา ยุโรป และอเมริกากลาง บริษัทไบเออร์ตกลงจ่ายชดเชยความเสียหาย
คิดเป็นเงิน 750 ล้านเหรียญแก่เกษตรกรอเมริกา 11,000 รายที่ได้รับผลกระทบ และ
ต้องจ่ายเงินอีก 137 ล้านเหรียญให้แก่บริษัท Riceland ซึ่งได้รับผลกระทบจากการสูญ
เสียตลาดในอียู อ่านเพิ่มเติมจากhttp://www.bloomberg.com/news/2011-
07-01/bayer-to-pay-750-million-to-end-lawsuits-over-
genetically-modified-rice.html และ
http://www.nature.com/nbt/journal/v29/n6/full/nbt0611-
473c.html)
ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ข้าวโพดจีเอ็มโอสายพันธุ์ Viptera หรือ MIR 162ของบริษัทซินเจน
ทา ซึ่งปลูกในสหรัฐคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 3% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด แต่ยังไม่ได้รับการ
อนุมัติให้นำเข้าจากรัฐบาลจีน แต่ปรากฏว่าข้าวโพดสายพันธุ์นี้ปนเปื้อน ในข้าวโพดที่ส่ง
ออก ประเทศจีนได้ตีกลับข้าวโพดคิดเป็นปริมาณนับล้านตัน สมาคมธัญพืชและอาหารสัตว์
แห่งชาติของสหรัฐ ประมาณการว่าเกิดความเสียหายต่อเกษตรกรคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1
พันล้านเหรียญ ขณะนี้บริษัทคาร์กิลยักษ์ใหญ่การค้าธัญพืชของสหรัฐ และ
เกษตรกรอเมริกันที่ปลูกข้าวโพดได้ฟ้องร้องบริษัทซินเจนทา โดยคาดว่าบริษัทนี้จะต้องจ่าย
ค่าเสียหายเป็นจำนวนมากจากการปนเปื้อนที่เกิดขึ้น
(http://www.reuters.com/article/2014/10/06/syngenta-seed-
farmers-idUSL2N0S12KF20141006)
การปนเปื้อนในลักษณะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นแต่เกิดขึ้นใน
ยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น แม้กระทั่งสเปนซึ่งถูกอ้างว่าเป็นต้นแบบของการจัดการ การอยู่
ร่วมกัน ก็ประสบปัญหาจนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ลดลงจากการปนเปื้อนทางพันธุกรรมผ่าน
การผสมข้าม (อ่านพิ่มเติมได้จาก Binimelis R. Coexistence of plants and
coexistence of farmers: Is an individual choice possible? J Agric
Environ Ethics. 2008;21:437457)
นี่คือหลักฐานและเหตุผลว่า การอยู่ร่วมกัน หรือ Co-existence ของการปลูกจีเอ็มโอ
ร่วมกับการปลูกพืชทั่วไปและเกษตรอินทรีย์นั้นเป็นไปได้ยาก วาทกรรมนี้เป็นเพียงข้ออ้าง
เพื่อให้มีการยอมรับการปลูกพืชจีเอ็มโอ เป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติที่อยู่ในกระดาษ เป็นส่วน
หนึ่งของการโฆณาชวนเชื่อเพื่อผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ แต่ จัดการ ไม่ได้จริงใน
ทางปฏิบัติ
..............พี่ๆๆผมขอถามว่าแล้วผู้บริโภคกินพืช GMO มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้างครับ
4 พฤศจิกายน เวลา 9:12 น.
5 พฤศจิกายน เวลา 17:50 น.
.....ขอตอบแทน นะครับ ผลกระทบต่อผู้บริโภค อาจจะไม่เกิดผลในระยะสั้น เพราะพืช GMO
อย่างเช่น ข้าวโพด ไวเปอร ด้านบน มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของพืช เพื่อต้านทาน
โรค ใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อย เติบโตในช่วงเเล้งๆได้ดี ทนต่อสภาพภูมิอากาศ นี่คงเป็น
ประโยชน์ ในการเพาะปลูก ของพืช GMO
แต่เมื่อเปลี่ยน ลำดับเบส ในสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ทำให้ พันธุกรรม ข้าวโพดเปลี่ยนไป
คือ หน้าตาเหมือนข้าวโพด แต่รหัสพันธุกรรม มันไม่ใช่ ผลต่อผู้บริโถคผมก้อไม่ทราบว่าจะ
ดี หรือเลวร้าย แย่ลงกันแน่
....ที่สำคัญ ถ้าชาวไร่ปลุก1ครั้ง จะปลุกครั้งต่อไปต้องซื้อเมล็ดพืช จากบริษัทเอกชน ไม่
สามารถนำเมล็ดมาปลุกซ้ำได้ เพราะ GMO เป็น Patent ไม่สามารถทำซ้ำ หรือดัดแปลงได้อะ
ยิ่งไปกว่านั้น Monsato เปน บริษัทเดียวที่ครอบครองสิทธิบัตรถึง 50% ของพืชทั้งหมด
อะ ทุกวันนี้แค่กินไก่ที่โตจากพืช GMO ก็แย่อยุ่ละ
5 พฤศจิกายน เวลา 20:20 น.
.GMOs ถ้าถามเรื่องความปลอดภัยอันนี้ไม่มีใครฟันธง 100% ว่าปลอดภัยหรือไ
ม่ แต่งานวิจัยทั่วโลกเกี่ยว GMOs ปลอดภัยไหมเริ่มมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันคือกิน
ได้ อาจจะต้องรอเวลาศึกษาอีกสักพัก ส่วนที่บอกเปลี่ยนลำดับ ซีเควนเบส นั้น คือ เป็นการ
ตัดเอายีนจากสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้ความรู้ความ
สามารถทางจากดีเอ็นเอเทคโลยี
แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะแค่ มอนซานโต ก็ครอบคลุมด้านพืชพันธุวิศก
รรมไปเกือบหมดทำให้เกิดการผูกขาด
5 พฤศจิกายน เวลา 21:57 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 18/03/2015 1:48 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO ตอน ปลาแซลมอน GM |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO ตอน ปลาแซลมอน GM
บทที่ 1 (ภาคพิเศษ) ปลาแซลมอนกลายพันธุ์
มีหวังเป็นโรคที่ไม่รู้สาเหตุ ได้ตายกันหมดทั้งโลกละครับคราวนี้
(1)
(2)
(3)
(4)
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร NGO ครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 23/03/2015 8:21 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (10) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (10)
บทที่ 1 (10) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 6
(10) ความจริงเรื่อง จีเอ็มโอ # 6
มีปัญหาในการส่งข้อมูลครับ....เวลากด ส่ง....จะย้อนกลับไปที่หน้าแรกของเว็ปครับ....
ลองสาม สี่ครั้งแล้ว ไม่ผ่าน.....ต้องแบ่งข้อความส่งถึง 3 ครั้ง.....เง็ง
มายาคติ จีเอ็มโอ เพิ่มผลผลิต ที่ถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า
ไม่เป็นความจริงจากประสบการณ์การปลูก จีเอ็มโอ 18 ปีในสหรัฐ
ในทางตรงกันข้ามการปลูกพืชทั่วไปในยุโรปกลับให้ผลผลิตมากกว่า
และใช้สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืชน้อยกว่า
การโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง จีเอ็มโอ โดยเฉพาะคำกล่าวอ้างที่บอกว่า จีเอ็มโอ สามารถ
เพิ่มผลผลิต เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และการไม่ตัดสินใจเดินไปสู่วิถี จีเอ็มโอ
จะทำให้ถูกละทิ้งไว้ข้างหลัง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง จากประสบการณ์จริง
ของการปลูก จีเอ็มโอ ในสหรัฐ และผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลผลิตของการพืช
จีเอ็ม ในสหรัฐกับการปลูกพืชทั่วไปของยุโรป
Union of Concerned Scientists ได้ตีพิมพ์การศึกษาชื่อ Failure to Yield ที่
ได้รับการอ้างอิงและเผยแพร่อย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 2009 พบว่า พืช จีเอ็ม ไม่ได้เพิ่ม
ศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต (intrinsic or potential yield) เนื่องจากคุณลักษณะ
การให้ผลผลิตนั้นถูกควบคุมด้วยยีนหลายตัว มีการทำงานที่ซับซ้อน เท่าที่ผ่านมาจึงไม่มี
การพัฒนา จีเอ็มโอ ที่มีเป้าประสงค์นี้
UCS ยังได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า ผลผลิตถั่วเหลือง จีเอ็ม ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ส่วนข้าวโพดผล
ผลิตเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้เกิดจากตัวเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมโดยตัวมันเอง แต่เกิดจากการ
ตัดต่อยีนไปใส่ในข้าวโพดผลผลิตสูงที่ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีปกติ และเมื่อเปรียบเทียบกับการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตในยุคก่อน จีเอ็ม กับยุคหลัง จีเอ็ม กลับพบว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิต
ยุคก่อน จีเอ็ม สูงกว่าช่วงเวลาของการใช้ จีเอ็ม ในสหรัฐอเมริกา (โปรดดูกราฟบนในแผนภาพ)
ความจริงที่ตอกย้ำงานวิเคราะห์ของ UCS ที่นำโดย Gurian-Sherman D. อดีตที่
ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพของ EPA (สำนักงานสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา) คือ
รายงานผลการปลูกพืช จีเอ็ม ล่าสุด(2014) ของสหรัฐ ซึ่งอาจสรุปได้ว่า ตลอด 15 ปี
ของการปลูกพืช จีเอ็ม ในสหรัฐ พืช จีเอ็ม ไม่ได้แสดงว่ามีศักยภาพการให้ผลผลิตที่เพิ่ม
ขึ้น และในทางปฏิบัติมีบางกรณีที่พืช จีเอ็ม ต้านทานสารเคมีปราบวัชพืชและพืช จีเอ็ม บี
ที ให้ผลผลิตต่ำกว่าพืชทั่วไป
( http://www.reuters.com/article/2014/02/24/usda-gmo-report-
idUSL1N0LT16M20140224 )
งานศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ (2013) ใน International Journal of
Agricultural Sustainability ศ.แจ๊ค ไฮน์มันน์ (Jack A. Heinemann)
University of Canterbury ได้เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง 50 ปี ของการปลูกข้าว
โพด คาโนลา และข้าวสาลี โดยเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะระหว่างพืช จีเอ็ม ที่ปลูกในสหรัฐกับ
พืชที่ไม่ใช่ จีเอ็ม ที่ปลูกในยุโรปตะวันตก (กราฟล่างในแผนภาพ) ปรากฏว่าพืช จีเอ็ม ใน
สหรัฐให้ผลผลิตน้อยกว่า ในขณะที่พืชทั่วไปที่ปลูกในยุโรปให้ผลผลิตต่อแฮกตาร์มากกว่า
อีกทั้งใช้สารเคมีกำจัดแมลงและกำจัดวัชพืชน้อยกว่ามากด้วย
ไฮน์มันน์ กล่าวว่า สหรัฐและอุตสาหกรรมสหรัฐโอ้อวดเกี่ยวกับการที่พืช จีเอ็ม บีที ว่า
สามารถลดการใช้สารเคมีแมลง ซึ่งเป็นความจริงแบบผิวเผิน เพราะนั่นเป็นการลดสารเคมี
กำจัดแมลงลงเหลือประมาณ 85% ของระดับที่ใช้ก่อนหน้ายุคพืช จีเอ็ม แต่สิ่งที่พวกเขา
ไม่ได้บอกคุณ คือ ความจริงที่ว่า ประเทศฝรั่งเศสสามารถลดการใช้สารกำจัดแมลงลงไปจน
เหลือเพียง12% ของระดับก่อนหน้า ฝรั่งเศสยังเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดมากที่สุดลำดับที่ 4
ของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีที่ใหญ่ที่สุด ทั้งๆที่ประเทศนี้มีขนาดเพียง
11% ของประเทศสหรัฐเท่านั้น
(http://www.salon.com/2013/06/27/study_monsanto_gmo_food
_claims_probably_false_partner/ )
แม้ความจริงเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยมากขึ้นๆ แต่มายาคติที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้สนับสนุน จี
เอ็มโอ ว่า พืช จีเอ็มโอ เพิ่มผลผลิต พืช จีเอ็มโอ สร้างความั่นคงทางอาหารเพื่อรองรับ
ประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้น จะยังคงเป็นมายาคติที่ถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทย
ท่ามกลางบรรยากาศการถกเถียงว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้าน จีเอ็มโอ อย่าลืมว่ายังมีวิธีการ
เกษตร การจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีอื่นๆที่ดีกว่า และยั่งยืนกว่าดังที่ ศ.ไฮมันน์ ได้นำ
เสนอให้เห็น
. แล้วเขาใช้วิธีอะไรถึงทำได้แบบไม่ใช้ GMO อ่ะครับ ผมอ่านก็ยัง งงๆ คือ
ไม่สรุปอะไรเลย อะบทความนี้ อ่านดูแล้วโจมตี GMO หนักมาก แทบไม่เสนอแนวทางแก้ไข
และยกตัวอย่างประกอบ
6 พฤศจิกายน เวลา 14:26 น.
... จากการศึกษาและทดลองทำการเกษตรระบบอินทรีย์
(คือ ไม่ใช้สารเคมี) เมื่อเราบำรุงดินให้มีสารอาหารเพียงพอ
ต่อการเติบโตของพืชผัก จะได้ผลผลิตที่มากกว่า
การปลูกในดินที่ใช้สารเคมีอย่างน้อย 2 เท่า ลองดูนะ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 01/04/2015 2:17 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (11)
บทที่ 1 (11) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 7
(11) ความจริงเรื่อง จีเอ็มโอ # 7
การผลักดันให้มีการทดลอง จีเอ็มโอ นับตั้งแต่อดีตและปัจจุบันไม่ใช่การพัฒนาเทคโลยีของ
สาธารณะ(Public Research) แต่เป็นแค่เพียงการ "ทดสอบความปลอดภัยทาง
ชีวภาพ" เพื่อบรรษัทใช้เป็นข้ออ้างในการขออนุญาตให้ปลูกเชิงพาณิชย์
การผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอนับตั้งแต่อดีต เช่น ฝ้าย บีที มะละกอ จีเอ็มโอ รวมทั้งข้าว
โพดต้านทานสารเคมีปราบวัชพืชไกลโฟเสท NK-603 ซึ่งมอนซานโต้และสมาคมการค้า
เมล็ดพันธุ์ไทยกำลังผลักดันคสช.และรัฐบาลอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่มีบรรษัท
เป็นเจ้าของสิทธิบัตร (มะละกอ จีเอ็มโอ เป็นสิทธิบัตรร่วมของคอร์แนลและมอนซานโต้) ข้อ
อ้างว่าการอนุญาตให้มีการทดลองเป็นไปเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศจึงเป็นเรื่องเหลว
ไหล ในทางตรงกันข้าม การอนุญาตให้มีการปลูกทดสอบที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ
หรือมหาวิทยาลัย ยิ่งเป็นการนำเอาทรัพยากรของสาธารณะ เช่น นักวิชาการ/ข้าราชการที่
กินเงินเดือนภาษีของประชาชน และสถานีทดลองต่างๆซึ่งเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน เพื่อนำ
มาสนับสนุนส่งเสริมบรรษัทผูกขาดเหล่านี้ให้แสวงหาผลกำไรและผูกขาดยิ่งๆขึ้นไป
การอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพสามารถทำได้ หากมี
กฎหมายคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิของเกษตรกร ตลอดจนการชดเชยและ
เยียวยาความเสียหายในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยว
ข้องกับการปลูกทั่วไปและเกษตรอินทรีย์ แต่การเร่งรัดผลักดันให้มีการปลูกทดลองในช่วง
รัฐบาลชั่วคราวนี้ โดยไม่นำพาต่อกติกาทางสังคมที่หลายฝ่ายวางหลักร่วมกันแล้วว่าต้องมี
กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพก่อนเป็นเรื่องที่ไม่ชอบมาพากลอย่างยิ่ง
ภาคการผลิตเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะในสาขาพืชไร่ และผักนั้น ขณะ
นี้มีบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัทเป็นผู้ครอบครองตลาดอยู่แล้ว แต่การอนุญาตให้มีการปลูกพืช
จีเอ็มโอ จะยิ่งเป็นการผูกขาดโดยเบ็ดเสร็จ ดังประสบการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาในแผนภาพ
มีข้อมูล ความจริง และรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมากจนยากที่จะลิงค์ได้ครบถ้วน
ข้างล่างเป็นเพียงข้อมูลเล็กๆบางส่วนเท่านั้น
http://www.gmeducation.org/latest-news/p207220-the-monsanto-monopoly.htm
http://www.organicconsumers.org/articles/article_28059.cfm
http://www.scientificamerican.com/article/do-seed-companies-control-gm-crop-research/
http://en.reset.org/knowledge/privatisation-seeds
อนุรักษ์พันธุ์พื้นบ้าน ทุกชนิดดีที่สุด ออกกฎหมาย คุ้มครองพันธุ์พื้นบ้าน ฟ้องร้องเรียกค่า
เสียหายบริษัท ฯ ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ ที่มาทำให้พันธุ์พื้นบ้านเสียหายกลายพันธุ์
เพราะสุดท้ายก็แค่ต้องการรักษาประโยชน์ตนแต่ผู้เดียว โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายต่อผู้อื่น
6 พฤศจิกายน เวลา 9:40 น.
.............ทำไงใด้รัฐบาลทุกรัฐบาลทำเพื่อต่างชาติมานานแล้ว
6 พฤศจิกายน เวลา 10:30 น.
.. กรรม ของเกษตรกรไทย
8 พฤศจิกายน เวลา 14:11 น.
ขืนตัดต่อกันขนาดนี้ อีกหน่อยจะมี X-men มนุษย์กลายพันธุ์
9 พฤศจิกายน เวลา 15:18 น.
เจ้าของพันธ์พืช GMO ยังไม่กินของมันเองเลย ... ระยำ_ จริงๆ
.............เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ยังเกี่ยวข้องกับประเด็นอำนาจของการสร้างความจริงอีก
ด้วย วัตถุที่เรียกว่า "ยีนส์" เอาเข้าจริง เป็นทั้งวัตถุและอุดมการณ์ทางความคิดแบบหนึ่งใน
เวลาเดียวกัน มันจึงเต็มไปด้วยการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ที่ล้วนสัมพันธ์กับตัวเราและคน
อื่นๆ ในสัง...ดูเพิ่มเติม
3 พฤศจิกายน เวลา 11:45 น.
เรื่องประเด็นการจัดการ
.ตอบได้ดีมากแล้วครับ ส่วนเรื่องพื้นที่ข้อมูลก็ชัดอยู่
แล้วว่ามันมีแค่ 12% ของโลกเท่านั้น ถ้าจะขยายมันเติบโตได้อีกเยอะ เราจะเข้าใจเรื่องนี้
ง่ายขึ้นถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องปฏิวัติเขียว(ใช้ HYVs ไม่ใช่ GM Crops) ซึ่งใ...ดูเพิ่มเติม
3 พฤศจิกายน เวลา 15:08 น.
....ผมรับฟังทางฟังNGOด้วยอยู่แล้วครับ และผมมองว่าไม่ใช่ GMOs ไม่มีปัญหาเลย แต่
มันมีปัญหาเยอะในระดับนึงจริงๆ ขนาดผมมองมันเป็นเครื่องมือ แล้วเอนไปทางสนับสนุน แต่
ผมก็เห็นปัญหาของมัน ซึ่งถ้ามันควบคุมไม่ได้ มันก็ยังไม่ควรนำลงมาให้เกษตรกร...ดูเพิ่มเติม
3 พฤศจิกายน เวลา 17:00 น.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 13/04/2015 11:28 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 8 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (12)
บทที่ 1 (12) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ..# 8
(12)ความจริงเรื่องจีเอ็มโอ # 8
การใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง "สร้างความกลัว"* เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชน
และผู้ตัดสินใจทางนโยบายตัดสินใจเลือกจีเอ็มโอมากกว่าทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
กระบวนการปั้นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงเพื่อสนับสนุนให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ไปจนถึงการ
แปรข้อมูลในทิศทางที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของตนเป็นยุทธวิธีที่บรรษัทและนักส่งเสริม จีเอ็มโอ
ดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง
เมื่อปี 2550 สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (ซึ่งมีบริษัทมอนซานโต้เป็นผู้สนับสนุน
และเป็นสมาชิกสำคัญ) ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผลักดันให้มีการปลูก
มะละกอ จีเอ็มโอ ซึ่งมีคอร์แนลและมอนซานโต้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร โดยได้ลงโฆษณาและ
เผยแพร่ข่าวในสื่อต่างๆว่ามะละกอในประเทศไทยถูกโรคระบาดไวรัสใบด่างจุดวงแหวนทำลาย
จนทำให้พื้นที่ปลูกมะละกอลดลง มะละกอขาดแคลนและมีราคาแพง ทั้งๆที่ความเป็นจริงสถิติ
ย้อนหลังกลับพบว่าพื้นที่มะละกอและผลผลิตมะละกอเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
(http://www.prachatai.com/journal/2007/11/14949)
เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุน จีเอ็มโอ ได้เผยแพร่คลิปที่ผลิตซ้ำข้อมูลที่ไม่เป็น
ความจริงดังกล่าว (คลิป "วิทยาตาสว่าง" ตอนมะละกอจีเอ็มโอ นาทีที่ 2.30 โดย
ประมาณ) ไปจนถึงการกล่าวข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงผ่านรายการโทรทัศน์บางรายการโดย
ให้ข้อมูลว่าส้มตำเดี๋ยวนี้มีมะละกอแค่ครึ่งจาน อีกครึ่งเป็นแครอท เพราะมะละกอดิบแพงมาก
(รายการ "คมชัดลึก"ออกอากาศในเนชั่น ทีวี วันที่ 22 ตุลาคม 2557 นาทีที่ 14.35
โดยประมาณ) ** ทั้งๆที่ในความเป็นจริงคือ
1) ราคามะละกอดิบเฉลี่ยที่ตลาดสี่มุมเมืองตั้งแต่เดือนมกราคม 2557- พฤศจิกายน
2557 มีราคา 7.8 บาท/กิโลกรัม แต่ราคาแครอทนอกมีราคา 25.16 บาท/ก.ก.
(ส่วนแครอทที่ปลูกในประเทศ ปัจจุบันราคา ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 มีราคาสูงถึง
50 บาท/กิโลกรัม)
(http://www.taladsimummuang.com/ )
การที่แม่ค้าหรือผู้ปรุงส้มตำใส่แครอทลงไปในจานจึงมาจากเหตุผลอื่นมิใช่จากมะละกอ
มีราคาแพงแต่อย่างใด
2)ผลผลิตมะละกอของประเทศไทยย้อนหลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 195,373 ตันในปี 2007 เพิ่มขึ้นเป็น 215,000 ตันในปี 2012 (FAOSTAT)
3) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของมะละกอในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1,576 ก.ก./
ไร่ เพิ่มขึ้นเป็นระหว่าง 2,714-2,850 ก.ก./ไร่ ในช่วง 2001-2011 (FAOSTAT)
บราซิลและเม็กซิโกสามารถส่งออกมะละกอมากที่สุดเป็นอันดับ 1-2 ของโลก ในขณะที่
มาเลเซียเพื่อนบ้านพรมแดนติดกับประเทศไทยสามารถส่งออกมะละกอมากที่สุดในภูมิภาค
และมากเป็นลำดับที่ 5 ของโลกโดยไม่ต้องพึ่งพาจีเอ็มโอแต่ประการใด
การโหมประโคมข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงดังกล่าวไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือ "ความไม่รู้" เป็น
การ "สร้างความหวาดกลัว" ให้กับประชาชนและผู้ตัดสินใจทางนโยบายที่รับฟังแต่ข้อมูล
ด้านเดียว ทำประเทศถูกบีบให้ต้องเลือกจีเอ็มโอเพื่อแก้ปัญหาทางการเกษตร ทั้งๆที่มีทาง
เลือกอื่นที่ดีกว่า โดยไม่เสี่ยงต่อปัญหาการส่งออก การผูกขาดโดยระบบสิทธิบัตร และการ
ปนเปื้อนทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
------------
หมายเหตุ
1) *วลี "สร้างความกลัว" เป็นวลีที่นักส่งเสริมจีเอ็มโอมักกล่าวหากลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับ
การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างไม่จำแนก
2) **ไบโอไทย มิได้มีเจตนาทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ แต่
ประสงค์จะชี้ให้เห็นปัญหาของการใช้ "ข้อมูล" ของกลุ่มผู้สนับสนุนจีเอ็มโอบางกลุ่มเพื่อสนับ
สนุน จีเอ็มโอ อย่างไม่ถูกต้องเท่านั้น
3) ไบโอไทย ได้นำเสนอความจริงนี้ในระหว่างการดีเบทในรายการ "เจาะข่าวเด่น" ช่อง 3
แต่เนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้ถูกนำออกอากาศ
Biothai Jeeba Jiab Siwakorn Punyawatthananukool นักวิทยาศาสตร์
บางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรมาก ลองอ่านข่าวต่อไปนี้ดูครับ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx...& และ
http://www.prachatai.com/node/526/talk
ถ้าเป็นไปได้กรุณาแชร์ไปให้ท่านที่ไม่ได้รับทราบเรื่องเหล่านี้ได้รับทราบด้วยจะขอบคุณมากครับ
แฉ มะกันขโมยจดสิทธิบัตร มะละกอไทย - Manager Online
MANAGER.CO.TH
มองในแง่ตัวตนของนักวิทยาศาสตร์ อันนี้อาจสะท้อนปัญหาอีกอันที่ผมเห็นคือ
นักวิทยาศาสตร์บ้านเรากลัวน้อยหน้าเพื่อนบ้านในการแข่งขันด้านความรู้ทางชีวภาพ
หรือกล่าวได้ว่า พวกเขาทำใจไม่ได้ที่จะต้องเห็นนักวิทยาศาสตร์จากประเทศที่เขาเห็น
ว่า "ล้าหลังกว่า" ก้าวแซงหน้าตัวเองไปแล้ว โถก็ถึงขนาดโชว์ให้โลกรู้ว่าตัวเองแกะรอยพิมพ์
ดีเอ็นเอ พืชได้แล้ว แต่ก็ตามหลังพม่า เวียดนาม ลาว ฟิลิปินส์ในด้านจีเอ็ม หุหุ
10 พฤศจิกายน เวลา 22:44 น.
... เรามักจะเห็นการที่พวกเขาพยายามเปรียบเทียบให้สาธารณะเห็นถึงการแข่งขันดังกล่าว
อยู่เสมอ ดังนั้น ผมคิดว่า หากเราทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวพร้อมไปกับมองไปที่
ความพยายามของการชูภาพการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์และโดยเฉพาะจีเอ็มในภูมิภาคขึ้น
มา สิ่งที่เรียกว่า มันเป็น "แค่" เมล็ดพันธุ์นั้น เอาเข้าจริง มันกลายเป็นเรื่องของวิกฤตอัต
ลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่พยายามจะชูตัวเองขึ้นมาหรือวางตัวเองให้อยู่เหนือนัก
วิทยาศาสตร์เพื่อนบ้านเลยทีเดียว
10 พฤศจิกายน เวลา 23:26 น.
... ตอนนี้ในต่างประเทศเค้าต่อต้านไม่เอากันมาก แถมยังเรียกร้องให้ติดป้ายบอกด้วยถ้า
เป็น จีเอ็มโอ เลยพยายามเอามาให้ประเทศไทย แหม! งานนี้ต้องมีคนบางกลุ่มได้รับผลประ
โยชนกันบ้างล่ะนะ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 27/04/2015 3:56 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO - ความจริงเกี่ยวกับ GMO ตอนที่ 9 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO (13)
บทที่ 1 (13) ..... ความจริงเกี่ยวกับ GMO ตอนที่ 9
(13)ความจริงเรื่องจีเอ็มโอ ตอนที่ 9
เกษตรนิเวศ(Ecological Agriculture)ต่างหากที่เป็นทั้งทางเลือกและทางออก
ของเกษตรกรรม ไม่ใช่ จีเอ็มโอ ที่เดินตามแนวทางเกษตรเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล (monoculture
and fossil fuel based-agriculture)
ในขณะที่ถกเถียงว่า "เอา จีเอ็มโอ" หรือ "ไม่เอา จีเอ็มโอ" เราอาจตกอยู่ภายใต้กับดัก
ของการหาเหตุผลสนับสนุนระหว่างระบบเกษตรกรรมที่เป็นอยู่ (conventional farming)
กับเกษตรแบบ จีเอ็มโอ โดยไม่รู้ตัว ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ระบบเกษตรกรรมที่เป็นอยู่กับ จีเอ็มโอ
มีฐานรากเดียวกัน คือ เกษตรกรรมเชิงเดี่ยว (monoculture) ที่พึ่งพาปุ๋ยสารเคมี
และมีรากฐานการใช้เชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ในการขับเคลื่อน
ทางออกที่ดีกว่าในทุกด้านคือ "เกษตรนิเวศ" (Ecological Agriculture) ซึ่งเป็นระบบ
เกษตรที่ใช้ความรู้เชิงนิเวศเพื่อใช้สำหรับการจัดการการผลิตทางการเกษตร การตลาด
และการบริโภคที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การใช้จุลินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ
อินทรีย์วัตถุในการบำรุงดิน การจัดการแมลง/วัชพืชโดยชีววิธี การจัดการผลิตหลาก
หลายอย่างผสมผสาน (Integrated Farming) เป็นต้น
เกษตรนิเวศ เป็นการให้ความหมายระบบเกษตรในเชิงกว้าง (เช่นเดียวกับคำว่า "เกษตรกรรม
ยั่งยืน") ดังนั้นจึงรวมรูปแบบการผลิตหลากหลายรูปแบบ เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรม
แบบผสมผสาน วนเกษตรกรรม เป็นต้น เกษตรนิเวศให้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำ และมีความ
ยั่งยืนสูง แต่ไม่ได้รับการส่งเสริม เนื่องจากระบบเกษตรกรรมปัจจุบันถูกครอบงำ
โดยอุตสาหกรรมเกษตรเชิงเดี่ยวและกลไกเชิงสถาบัน เช่น สถาบันวิจัยระหว่างประเทศ
นโยบาย/การบริหาร/การจัดงบประมาณของหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาด้าน
การเกษตร หลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย รวมถึงการครอบงำสื่อ
ทำให้วิถีเกษตรกรรมนี้ถูกละเลยมานานหลายทศวรรษ
แต่ความล้มเหลวและผลกระทบแง่ลบของเกษตรกรรมตามแนวทางการปฏิวัติเขียว วิกฤติ
อาหารและพลังงาน และวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการเผชิญหน้ากับการ
เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำให้เกษตรนิเวศกลายเป็นทั้ง "ทางเลือก" และ "คำตอบ"
ของวิถีเกษตรกรรมในปัจจุบันและอนาคต
มีประสบการณ์ของเกษตรกรภายใต้เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทย และทั่วโลกเป็น
จำนวนมากที่ยืนยันเหตุผล 10 ประการในแผนภาพว่า ทำไมเกษตรเชิงนิเวศจึงดีกว่า
เกษตรกรรมตามแบบแผนปัจจุบันและจีเอ็มโอ
ต่อไปนี้คือตัวอย่าง (เล็กๆน้อยๆ) ของงานศึกษาวิจัยของสถาบันทางวิชาการบางส่วนใน
ประเทศไทยที่ถอดบทเรียนกรณีการทำนาอินทรีย์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกษตรนิเวศ)
ในประเทศไทย
1. การศึกษาเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และ
ร้อยเอ็ด รวมจำนวน 476 ราย พบว่า 2547/48 ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ยต่อไร่
(373 กก./ไร่) สูงกว่าผลผลิตข้าวหอมมะลิทั่วไปเฉลี่ยต่อไร่ (334 กก./ไร่) ประมาณ
40 กก./ไร่ (นันทิยา, 2547)
2. การศึกษาเปรียบเทียบเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 173 ราย กับเกษตรกรที่ทำ
เกษตรแบบทั่วไป 157 รายในจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด และอุบลราธานี พบว่าเกษตรกรผู้ปลูก
ข้าวแบบอินทรีย์มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวทั่วไปโดยได้ผลผลิต
เฉลี่ย 317.36 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไปที่ได้ผลผลิต
เพียงเฉลี่ย 247.81 กิโลกรัมต่อไร่(สาธิต,2556)
3. การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ถูกผลิต
แบบอินทรีย์และแบบทั่วไปในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผลผลิตเกษตรกรปลูกข้าวทั่วไปได้
ผลผลิตเพียง 276 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ที่ได้ผลผลิตถึง 295
กิโลกรัมต่อไร่ (สุวัฒน์ และอัญชณา,2554)
4. การศึกษาเปรียบเทียบของมาฆะสิริ พบว่าผลผลิตข้าวอินทรีย์ที่บ้านศรีจอมแจ้ง ได้ค่า
เฉลี่ย 540 ก.ก./ไร่ ในขณะที่การปลูกข้าวขาวทั่วไปนั้นได้ผลผลิตเฉลี่ย 411 ก.ก./ไร่
(มาฆะสิริ,2551)
5. การทดลองในศูนย์วิจัยข้าวที่สุรินทร์พบว่าในช่วง 3 ปีแรก การทำนาอินทรีย์ได้ผลผลิต
น้อยกว่าเล็กน้อยแต่เมื่อถึงปีที่ 4 ผลผลิตข้าวอินทรีย์จะดีกว่า ส่วนการทดลองที่สถานีวิจัย
ข้าวสกลนครพบว่า ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ได้ผลผลิตข้าวมากกว่า (637 กับ 533
กิโลกรัมต่อไร่) (กรรณิกา และคณะ,2550)
6. การทดลองเมื่อปี 2552 ของสถาบันวิจัยข้าวปทุมธานีพบว่าการปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ
ในแปลงที่ดูแลโดยวิธีเคมีและอินทรีย์นั้น การทำนาแบบอินทรีย์ให้ผลผลิตมากกว่า โดยมีค่า
เฉลี่ย 604.04 และ 675.17 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (อภิชาติ และคณะ,2553)
7. การสำรวจวรรณกรรมของ ทีดีอาร์ไอ พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่ต่ำกว่า
การทำนาแบบทั่วไป (TDRI,2555)
ด่วน ! นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการระหว่างประเทศจำนวน 22 คน
ลงนามในจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ
เครือข่ายต่างๆในประเทศไทย เพื่อให้ยับยั้งการทดลองและปลูกพืช จีเอ็มโอ ในแปลงเปิด ------
ตามที่มีความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลไทยและการผลักดันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ
เพื่อดำเนินการให้มีการทดลองและปลูกพืช จีเอ็มโอ เชิงพาณิชย์ในแปลงเปิด จนนำไปสู่การ
คัดค้านของเครือข่ายและองค์กรต่างๆเช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ เครือข่ายเกษตรกรรมทาง
เลือก สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี กรีนพีซเซาท์
อีสเอเชีย และองค์กรอื่นๆ รวมกันมากกว่า 13 องค์กร โดยได้มีการยื่นหนังสือถึงนายก
รัฐมนตรี ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล และที่ศาลากลางจังหวัดต่างๆ รวม 11 แห่ง เช่น จังหวัด
สงขลา พัทลุง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ สุรินทร์ ยโสธร ขอนแก่น
มหาสารคาม และเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2557) นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการต่างประเทศที่มีชื่อเสียง
จำนวน 22 คนได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึก เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ
ประชาชนในประเทศไทย นักวิชาการที่ลงชื่อในจดหมายดังกล่าว เช่น
ดร.ไมเคิล แอนโทนิโอ (Dr. Michael Antoniou) ภาควิชาการแพทย์และพันธุศาสตร์
โมเลกุล คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
ดร.มิเชล พิมเบิร์ต (Dr. Michel Pimbert) ผู้อำนวยการศูนย์นิเวศเกษตร
มหาวิทยาลัยโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ
ดร.ราช พาเทล (Dr. Raj Patel) มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
ดร.จอห์น ฟาแกน (Dr. John Fagan) นักชีววิทยาโมกุล ชาวสหรัฐอเมริกา และ
ดร.วันทนา ศิวะ นักฟิสิกส์และนักสิ่งแวดล้อมชาวอินเดีย ที่ได้รับรางวัลโนเบลทางเลือก (Right Livelihood Award) ในปี 1993 เป็นต้น
โดยในจดหมายได้สนับสนุนจุดยืนของสภาเกษตรกรแห่งชาติและเครือข่ายต่างๆในประเทศ
ไทยว่า ในระหว่างที่ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าพืช จีเอ็มโอ สามารถเพิ่มผลผลิต
แต่กลับมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ การผูกขาดโดยระบบสิทธิบัตร จน
เกษตรกรต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ในราคาแพง อีกทั้งจะเกิดปัญหาต่อการส่งออก และกระทบ
ต่อการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยนั้น ให้ยุติการนำ จีเอ็ม
เพื่อปลูกในแปลงเปิด และสนับสนุนให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์
เกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทน
ในจดหมายยังย้ำด้วยว่า เราและประชาคมวิทยาศาสตร์มีความกังวลเป็นอย่างมากหากมีการ
นำพืช จีเอ็ม มาใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นทั้งประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอาหารและเป็นประเทศที่มี
ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก จีเอ็มโอ จะส่งผลกระทบในทางลบอย่างสำคัญ เรา
เสนอรัฐบาลไทยให้นำเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพ เช่น การผสมพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยี
ยีนเครื่องหมาย (marker-assisted plant breeding) และการผลิตแบบนิเวศ
เกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ
ภูมิอากาศและปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อนึ่ง ขณะนี้ได้มีการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวไปในหมู่นักวิชาการระหว่างประเทศ
โดยเชื่อว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน ร่วมลงนามใน
จดหมายเปิดผนึกนี้
อ่านจดหมายฉบับเต็มภาษาไทยและต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.biothai.net/node/24597
เมล็ดพืชที่ปลูกได้ ฤดูกาลเดียว...ถ้าจะปลูกใหม่ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้งที่ปลูก....
ถ้าไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่อาบรังสี(แกมม่า) ก็เป็นเมล็ดพันธุ์ GMO
..
สนุกมั๊ยครับ.....
แต่ไม่ต้องกลัวครับ......ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะเอาชนะธรรมชาติได้.....ไม่มีทาง
สิ่งที่จะมา ล้างบางไอ้เจ้าพวกนี้.. คือ ภัยธรรมชาติครับ....
ผมเชื่อในเรื่อง กฎแห่งกรรม....คนที่คิดทำสิ่งนี้ขึ้นมา จะไม่ตายง่าย ๆ แต่จะตายแบบ
เจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส กินไม่ได้ ถ่ายไม่ออก....
จบภาค 1 ..............
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 01/05/2015 11:22 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2(1) GMO กับปัญหาการส่งออกมะละกอไทย |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 GMO กับปัญหาการส่งออกมะละกอไทย
ภาค 2 (1) งานนี้ พังพาบ ยิ่งกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพ.....
การส่งออกมะละกอไทยเข้าสู่วิกฤต
(1)
(2)
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(1 7)....มะละกอ GMO ของสวนข้างบ้าน แดง ศาลายา (สวนติดกันครับ เดินข้ามร่งก็ถึง)...
ผมไม่มีข้อมูลและไม่กล้าถามเจ้าของสวนนี้ว่า เอาเมล็ดพันธุ์จากแหล่งไหนมาปลูก
เพราะเห็นแกปลูกมา 2 3 รุ่นแล้ว ปุ๋ยก็ใส่ ฮอร์โมนก็พ่น ยาก็ฉีด
ผลออกมาเป็นแบบนี้หมดทุกรุ่น....
APRIL 24, 2014
(8 )
จริงๆ แล้วการเตือนเรื่องมะละกอ GMO ของไทยนั้นมีมานานแล้ว เตือนการส่งออกมะละกอ
เข้าใกล้วิกฤต เหตุยุโรปตรวจพบมะละกอที่นำเข้าจากประเทศไทยปนเปื้อนมะละกอ จีเอ็มโอ
มากเป็นประวัติการณ์ ชี้ไทยอาจสูญเสียตลาดทั้งหมดในยุโรปและญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นเริ่มต้น
มาตรการตรวจเข้มเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา
หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ได้สั่งให้ตรวจเข้ม
ผลิตภัณฑ์มะละกอจากประเทศไทยมากขึ้น โดยสุ่มตรวจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของการ
นำเข้าทั้งหมด พร้อมทั้งขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยตรวจหาสาเหตุของการ
ปนเปื้อนผลิตภัณฑ์มะละกอของไทย หลังจากตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้งเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะละกอ จีเอ็มโอ ต้านโรคใบด่างจุดวงแหวน (Papaya Ring Spot
Virus) ซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยซึ่งขัดต่อกฎหมายสุขอนามัยอาหาร
(Food Sanitation Act) ของญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา
ขณะนี้มีสัญญาณชี้ว่าการส่งออกมะละกอของไทยกำลังเข้าสู่วิกฤตแล้ว เนื่องจาก
สหภาพยุโรปพบการปนเปื้อนของมะละกอ จีเอ็ม จากประเทศไทยมากเป็นประวัติการณ์
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวว่า จากการติด
ตามระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid Alert System
for Food and Feed) ของสหภาพยุโรปพบว่า เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา
ยุโรปตรวจพบมะละกอผลดิบและผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้งที่นำเข้าจากประเทศไทยปน
เปื้อน จีเอ็มโอ สูงถึง 24 ตัวอย่างทั้งๆที่เป็นการสุ่มตรวจเพียงแค่ 9 เดือนแรกของปี 2556 เท่านั้น
โดยจากสถิติที่ผ่านมา อียูเพิ่งพบการปนเปื้อนของมะละกอ จีเอ็มโอ ครั้งแรกจากประเทศไทย
เมื่อปี 2549 จำนวน 1 ตัวอย่าง ปี 2552 จำนวน 3 ตัวอย่าง ปี 2555 จำนวน 11 ตัวอย่าง
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีชี้ว่า การตรวจพบมะละกอ จีเอ็มโอ จากผลิตภัณฑ์มะละกอจาก
ประเทศไทยในระดับสูงขนาดนี้จะทำให้ อียู ยกระดับการตรวจเข้มมะละกอจากประเทศไทยเช่น
เดียวกับญี่ปุ่น โดยอาจสุ่มตรวจในระดับมากถึง 50% ของจำนวนตัวอย่างที่นำเข้า และ
หากประเทศไทยยังไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้อียูอาจสั่งห้ามการนำเข้ามะละกอจาก
ประเทศไทยในที่สุด
ปัญหานี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อเกษตรกรที่ปลูก ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกมะละกอ
และผลิตภัณฑ์มะละกอจากประเทศไทยที่จะต้องมีภาระเสียค่าใช้จ่ายสำหรับห้องปฏิบัติการ
เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีการปนเปื้อน จีเอ็มโอ ก่อนการส่งออกหรือไม่ และเชื่อว่า
อียู จะขยายการตรวจสอบไปยังผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้มะละกอเป็นส่วนผสม เช่น ซอส และฟรุต
สลัดที่มีมะละกอเป็นองค์ประกอบด้วย
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกซึ่งจะต้องตรวจสอบเมล็ด
พันธุ์มะละกอของตนว่ามาจากแหล่งที่ปลอดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม ผู้ประกอบการที่รวบ
รวมผลผลิต แปรรูปและส่งออก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้อง
จัดการปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมอย่างจริงจังมากกว่านี้
ปัญหาการตีกลับและการตรวจสอบเข้มมะละกอ อาจทำให้ประเทศสูญเสียตลาดการส่งออก
มะละกอไปยังยุโรป อียู และอีกหลายประเทศให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และ
ฟิลิปปินส์
จากสถิติเมื่อปี 2554 ของ FAO ประเทศที่ส่งออกมะละกอมากที่สุดคือ เม็กซิโก ส่งออก
104,797 ตัน รองลงมาคือ บราซิล 28,823 ตัน ส่วนประเทศในอาเซียนที่ส่งออกมาก
ได้แก่มาเลเซีย 22,207 ตัน และฟิลิปปินส์ 2,945 ตัน ส่วนไทยส่งออก 995 ตัน
ปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมของมะละกอ จีเอ็มโอ ในประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก
ในประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยเกิดจากการหลุดลอดของมะละกอ จีเอ็มโอ ซึ่งอยู่ระหว่างการ
ปลูกทดสอบที่สถานีวิจัยพืชสวน ของกรมวิชาการเกษตร จ.ขอนแก่น
รายงานจากการเฝ้าระวังของมูลนิธิชีววิถียังรายงานด้วยว่านอกจากมะละกอ
แล้ว ปัญหาการปนเปื้อน จีเอ็มโอ ในข้าวโพดซึ่งยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รวมทั้งความ
พยายามของบางฝ่ายที่จะนำข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม NK603 ของบริษัทมอนซานโต้
มาปลูกทดสอบในแปลงเปิด จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้
เอวังฯ
Posted in Organic
Tagged การปลูกมะละกอ, มะละกอ GMO, มะละกอฮอลแลนด์, มะละกอแขกดำ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/05/2015 7:01 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO ภาค 2(3) ...กินผักนิวเคลียร์กันดีกว่ |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 หยุด GMO ภาค 2(3) ...กินผักนิวเคลียร์กันดีกว่า
ภาค 2 (3) พึงระวังเมล็ดพันธุ์ผักนิวเคลียร์ลูกผสมจากญี่ปุ่น
(1)
(2)
(3)
(4)
(1 4) จากรูปทั้งหมด เหนือคำบรรยาย คงไม่ต้องมีคำอธิบาย
เพื่อน ๆ สมาชิกรู้หรือไม่ว่า เมล็ดพันธุ์ผักและผลไม้หลายอย่างจากญี่ปุ่น จะปลูกได้ครั้งเดียว
และการกระทำดังกล่าว เมล็ดพันธุ์พืชผักในเมืองไทยในปัจจุบัน ก็ทำแบบเดียวกับของญี่ปุ่น
คือปลูกได้ครั้งเดียว.....
จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้งที่ปลูก
เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกใหม่ทุกรุ่น จะต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง พร้อมทั้งย่าฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้น ....
ไม่เชื่อลองสังเกตดู ทดลองดูก็ได้....
ปลูกครั้งแรก ใช้ปุ๋ย 1 กระสอบ ยาฆ่าแมลง 1 ลิตร ยาฆ่าหญ้า ครึ่งลิตร / ไร่..
ปลูกครั้งที่ 2 ต้องใช้ปุ๋ย 1 กระสอบครึ่ง ผาฆ่าแมลง 1 ลิตรครึ่ง ยาฆ่าหญ้า
เศษ 3 ส่วน 4 ลิตร / ไร่
และการใช้ปุ๋ยและยาจะเพิ่มขึ้น จนในที่สุด จากข้าวที่เคยได้ 100 ถัง / ไร่
จะเหลือแค่ 80 ถัง / ไร่เท่านั้น....
แล้วก็จะมี พันธุ์พืช พันธุ์หญ้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมา หญ้าที่เกิดใหม่
คือหญ้าเก่าที่กลายพันธุ์ ซึ่งยาฆ่าหญ้าจะปราบไม่ได้....
สิ่งที่น่ากลัวคือ....ถ้าญี่ปุ่น เอาเมล็ดหรือพันธุ์พืชที่เกิดจากพันธุ์พืชนิวเคลีย
มาผสมกับพันธุ์พืชธรรมดา ๆ ....กลายเป็นเมล็ดพันธุ์พืชนิวเคลียลูกผสม....และผมเชื่อว่า
ญี่ปุ่นต้องทดลองทำแน่ ๆ รับรองว่า งานนี้ พังพาบ ยิ่งกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพ.....
นี่คือสงครามล้างเผ่าพันธุ์...
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 02/07/2015 2:00 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 กินอาหาร GMO จะเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ ตอนท |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 กินอาหาร GMO จะเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ ตอนที่ 1
ภาค 2 (1) จดหมายเปิดผนึก หยุด GMO ในประเทศไทย
(1) ด่วน ! นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการระหว่างประเทศจำนวน 22 คน ลงนามใน
จดหมายเปิดผนึกสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสภาเกษตรกรแห่งชาติและเครือข่ายต่างๆ
ในประเทศไทยเพื่อให้ยับยั้งการทดลองและปลูกพืช GMO ในแปลงเปิด
ตามที่มีความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลไทยและการผลักดันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ
เพื่อดำเนินการให้มีการทดลองและปลูกพืช จีเอ็มโอ เชิงพาณิชย์ในแปลงเปิด จนนำไปสู่การ
คัดค้านของเครือข่ายและองค์กรต่างๆ เช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ เครือข่ายเกษตรกรรม
ทางเลือก สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี กรีน
พีซ เซาท์อีส เอเชีย และองค์กรอื่นๆรวมกันมากกว่า 13 องค์กร โดยได้มีการยื่นหนังสือถึง
นายกรัฐมนตรี ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาลและที่ศาลากลางจังหวัดต่างๆ รวม 11 แห่ง เช่น จังหวัด
สงขลา พัทลุง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ สุรินทร์ ยโสธร ขอนแก่น
มหาสารคาม และเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น
(9 พฤศจิกายน 2557) นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการต่างประเทศที่มีชื่อเสียงจำนวน
22 คนได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเทศไทย
นักวิชาการที่ลงชื่อในจดหมายดังกล่าว เช่น
ดร.ไมเคิล แอนโทนิโอ (Dr. Michael Antoniou) ภาควิชาการแพทย์และพันธุศาสตร์
โมเลกุล คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
ดร.มิเชล พิมเบิร์ต (Dr. Michel Pimbert) ผู้อำนวยการศูนย์นิเวศเกษตร
มหาวิทยาลัยโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ
ดร.ราช พาเทล (Dr. Raj Patel) มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
ดร.จอห์น ฟาแกน (Dr. John Fagan) นักชีววิทยาโมกุล ชาวสหรัฐอเมริกา และ
ดร.วันทนา ศิวะ นักฟิสิกส์และนักสิ่งแวดล้อมชาวอินเดีย ที่ได้รับรางวัลโนเบลทางเลือก
(Right Livelihood Award) ในปี 1993 เป็นต้น
โดยในจดหมายได้สนับสนุนจุดยืนของสภาเกษตรกรแห่งชาติและเครือข่ายต่างๆในประเทศ
ไทยว่า ในระหว่างที่ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าพืชจีเอ็มโอสามารถเพิ่มผลผลิต แต่
กลับมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ การผูกขาดโดยระบบสิทธิบัตร จน
เกษตรกรต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ในราคาแพง อีกทั้งจะเกิดปัญหาต่อการส่งออก และกระทบ
ต่อการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยนั้น ให้ยุติการนำ จีเอ็ม
เพื่อปลูกในแปลงเปิด และสนับสนุนให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์
เกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทน
ในจดหมายยังย้ำด้วยว่า เราและประชาคมวิทยาศาสตร์มีความกังวลเป็นอย่างมากหากมีการ
นำพืชจีเอ็มมาใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นทั้งประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอาหารและเป็นประเทศที่มี
ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก จีเอ็มโอ จะส่งผลกระทบในทางลบอย่างสำคัญ เราเสนอ
รัฐบาลไทยให้นำเทคโนโลยีอื่นๆที่มีศักยภาพ เช่น การผสมพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยียีน
เครื่องหมาย (marker-assisted plant breeding) และการผลิตแบบนิเวศเกษตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิ
อากาศและปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อนึ่ง ขณะนี้ได้มีการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวไปในหมู่นักวิชาการระหว่างประเทศ
โดยเชื่อว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอีกหลายคนร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกนี้
อ่านจดหมายฉบับเต็มภาษาไทยและต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่
http://www.biothai.net/node/24597
ความคิดเห็นจากบุคคลหลายฝ่าย
...ถือเป็นข่าวที่น่ายินดี....โล่งไปเปลาะหนึ่ง.
ทั่วโลกตื่นตัวไม่รับ GMO แต่ไทยกลับปัญญานิ่ม
...........ทำแล้วใครรวยล่ะ แต่เกษตรกรจนเพราะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้งเพราะ
ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ของพืชผลนั้นมาเพาะได้อีก
...........ปัจจุบันข้าวโพดไร่ที่ปลูกกันเค้าก็เก็บเมล็ดปลูกต่อไม่ได้อยู่แล้วครับ
มีให้เลือกหลากหลายพันธุ์ จากหลายบริษัทครับ
ไม่จำเป็นว่าปลูก GMOs ถึงจะผูกขาดซื้อจากบริษัทเดียว
หากสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงได้ก็นำเงินเคยใช้ซื้อสารเคมีมาจ่ายเป็นค่าเมล็ดพันธุ์
หากมันแพงก็กลับไปใช้ เมล็ดพันธุ์ non GM หากคุ้มค่าลดต้นทุนได้ก็ใช้
ต่อไปเกษตรกรควรมีโอกาสเลือกครับ
..............นักวิชาการไทยหาย (หัว)ไปไหน ต่างชาติเขาเป็นห่วงเกษตรกรไทย
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/07/2015 10:23 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 กินอาหาร GMO จะเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ ตอนท |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 กินอาหาร GMO จะเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ ตอนที่ 2
บทที่ 2 (2) ..... เกสรข้าวโพดปลิวไปผสมข้ามได้ไกลถึง 4.5 กิโลเมตร
(2) งานวิจัยล่าสุด โดย Frieder Hofmann และคณะซึ่งศึกษาประสบการณ์การปลูก จีเอ็มโอ
ของยุโรป โดยใช้เวลายาวนานในการติดตามถึง 10 ปี (2001-2010) ศึกษาในพื้นที่ 216 แห่ง
ในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม พบว่าเกสรข้าวโพดสามารถปลิวไปผสมข้ามได้ไกลถึง 4.5 กม.
โดยในระยะห่างดังกล่าวยังมีโอกาสพบเกสรของข้าวโพดตั้งแต่หลายพันจนถึง 10,000 เกสร
(ข้าวโพดหนึ่งต้นมีเกสรมากถึง 5-50 ล้านเกสร)
ผู้วิจัยได้เสนอให้การปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอต้องมีระยะห่างจากแปลงข้าวโพดทั่วไปหรือ
พื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกสรจากพืชจีเอ็มโอมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น(เช่นแมลงที่ไม่ใช่เป็นศัตรูพืช)
เป็นหลักกิโลเมตร แทนที่จะมีระยะห่างเพียง 200 เมตร ดังที่เป็นอยู่ในหลายประเทศ
งานศึกษานี้ชี้ว่า เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมการปนเปื้อนทางพันธุกรรมอันเนื่องมาจากพืชจีเอ็มโอได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ปลูก
เฉลี่ยเพียงไม่กี่ไร่เท่านั้น
ดาวน์โหลดงานวิจัยนี้ได้จาก
http://www.enveurope.com/content/26/1/24
.
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 15/08/2015 7:41 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 15/08/2015 7:39 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO ภาค 2 (3) |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO ภาค 2 (3)
บทที่ 2 (3) ..... เมล็ดพันธุ์ธรรมดา กับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ธรรมดา
(3) ภาพเปรียบเทียบ เมล็ดพันธุ์ GMO กับเมล็ดพันธุ์ธรรมดา ดูรูปแล้วเข้าใจได้เองนะครับ.....
ถือเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดธรรมดา ไม่สรวมถุงมือ แต่มือขวา ถือข้าวโพด GMO ทำไมต้องสรวมถุงมือ....
คุณไม่สงสัยบ้างรึ ?
ผลจากการกินพืช หรือสัตว์ หรืออาหารที่ดัดแปลงพันธุกรรม ถ้าภูมิต้านทานไม่ดี
สิ่งที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ......ไวรัสชนิดร้ายแรงจากโรคใหม่ ๆ ....มะเร็งที่เป็นกันง่ายจังเลย
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 19/09/2015 6:09 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO ภาค 2 (4) |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO ภาค 2 (4)
บทที่ 2 (4) ..... ถ้าพืช GMO ไม่อันตราย แล้วสวมชุดป้องกันทำไม(วะ)
(4) พืช GMO อันตรายหรือไม่อันตราย ดูเอาเองว่า.....
ถ้าไม่อันตราย เจ้าหน้าที่ จะสวมชุด HAZMAT
เพื่อป้องกัน อันตรายจากสารปนเปื้อนในพืช GMO ทำไม
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 19/09/2015 7:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
"GMO" มีสถานะเป็น แก๊ซ หรือเชื้อโรค หรือรังษี จึงใส่เสื้อผ้าป้องกันแบบนี้
มันเหมือนเป็นสงครามระหว่าง "คนส่งเสริม GMO" กับ "คนต่อต้าน GMO"
ที่พูดกันคนละเวที คนละครั้ง ที่มุ่งผลประโยน์ตัวเองเป็นหลัก .... ประมาณนั้น
ไม่ได้ต่อต้านใคร ไม่ได้ส่งเสริมใคร แต่มันสงส้ย สงสัยมานานแล้ว....ว่ะ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 19/09/2015 8:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
อะไร ? คือ จีเอ็มโอ (GMOs)
โดย : นางพูนศรี เลิศลักขณวงศ์
จีเอ็มโอ (GMOs) มาจากภาษาอังกฤษ Genetically Modified Organisms
หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ( ยีน ) โดยการตัดแต่งเอายีนของสิ่งมี
ชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้มีลักษณะที่ต้องการดีเด่น
ขึ้น เช่น มีความต้าน ทาน ต่อโรคและแมลง เน่าเสียช้าลง ให้ผลผลิตสูงขึ้น มีสารอาหาร
บางตัวเพิ่มขึ้น
กินอาหาร จีเอ็มโอ ในระยะยาวมีผลกับร่างกายหรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงผู้ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอเข้าไปแล้วเกิดผลเสียต่อร่างกาย
ในระยะยาว แต่มีความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่ากรดอะมิโน
L-Tryptophan ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม
กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็นผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ
ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่หลังจากกระบวนการทำให้บริสุทธิ์มิใช่ตัว GMOs
ที่เป็นอันตราย
สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น
รายงานที่ว่าถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย
ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะ
กลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณสาร isoflavone
ต่อกลุ่มผู้บริโภค
ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้
ทำ GMOs นั้น ตัวอย่างที่เคยมี เช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อ
เพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์
ประเทศไทยกับ จีเอ็มโอ
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่เป็น จีเอ็มโอ ในเชิงพาณิชย์ นอก
จากอนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลอง
เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของพืช GMOs
ข้อดี
1. สามารถต้านทานโรคพืชชนิดรุนแรงได้
2. สามารถต้านทานต่อยาปราบวัชพืช
3. สามารถต้านทานอุณหภูมิต่ำๆได้
4. สามารถขยายอายุการเก็บได้
5. ทนต่อสภาพการขนส่งได้ดีขึ้น
6. มีผลต่อการแปรรูป
7. มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น ปริมาณบีต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กในข้าวเจ้า
ข้อเสีย
1. เกิดสารก่อภูมิแพ้
2. เกิดการต้านยาปฏิชีวนะ
3. เกิดไวรัสชนิดใหม่หรือทนทานต่อความแห้งแล้ง
4. เกิดวัชพืชชนิดใหม่
5. ศัตรูพืชที่มีความต้านทานสูงขึ้น
6. เกิดสารพิษชนิดใหม
7. เกิดการผูกขาดพันธุ์พืช
8. เป็นทาสความรู้ทางเทคโนโลยี
9. ราคาสินค้าอาจแพงขึ้นหลังจากถูกลง
การตัดต่อยีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งปกติไม่มียีนชนิดนั้น
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเดิม ซึ่งกว่าที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้นในโลก
ตามธรรมชาติได้ ต้องใช้ระยะเวลานับล้านๆ ปี
แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพริบตาเดียว ถ้าไม่มีการควบคุมปริมาณ
การบริหารจัดการที่ดี และจำกัดปริมาณเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์เท่าที่จำเป็น จนเกิดการ
แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม จึงเท่ากับเป็นการล้างเผ่าพันธุ์เดิม หรือสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่
ซึ่งอาจมีผลกระทบไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์มาเป็นเวลาช้านาน
กองโภชนาการ กรมอนามัย
http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=3&id=77
------------------------------------------------------
ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs (Advantages of GMOs) :
มะเขือเทศ GMOs :
ประโยชน์ทางด้านการเกษตร :
- ทำให้เกิดพืชที่ให้ผลผลิตมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น (เช่น มะเขือเทศมีผล
ขนาดใหญ่ขึ้น), ผลมีปริมาณมากขึ้น (เช่น ปริมาณเมล็ดข้าวต่อต้นมากขึ้น),
ผลมีน้ำหนักมากขึ้น (เช่น มะละกอที่มีน้ำหนักมากกว่ามะละกอปกติทั่วไป)
- ทำให้เกิดพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดย ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่
เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกหรือเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างเช่น พืชที่ทนแล้ง (เช่น
ข้าวทนแล้ง), พืชที่ทนต่อดินเค็ม (เช่น ข้าวทนดินเค็ม), พืชที่ทนต่อดินเปรี้ยว เป็นต้น
- ทำให้เกิดพืชที่ทนต่อศัตรูพืช เช่น พืชที่ทนต่อเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อ
เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช ทนต่อแมลงศัตรูพืช
หรือแม้แต่ทนต่อยาฆ่าแมลง และทนต่อยาปราบวัชพืช
- เมื่อทำให้พืชลดการใช้สารเคมี พิษจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรก็ลดลง
- ทำให้เกิดพืชที่มีผลผลิตที่สามารถเก็บรักษาเป็นเวลานาน และอยู่ได้นาน ทำให้ขั้นตอน
ในการขนส่งสามารถขนส่งในระยะไกลโดยไม่เน่าหรือเสีย เช่น มะเขือเทศที่ถูกทำให้สุกช้า
หรือถึงแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็งและกรอบ ไม่เละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค :
- ทำให้เกิด พืช ผัก ผลไม้ มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้มะเขือเทศมี
วิตามิน อี มากขึ้น ทำให้ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น ทำให้กล้วยมีวิตามิน เอ
เพิ่มขึ้น เป็นต้น
- ทำให้ลดการขาดแคลนอาหารได้ เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตและความ
ต้านทานต่างๆมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ตอบสนองต่อความต้องอาหารที่
เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ด้านการพาณิชย์ :
- ลดขั้นตอนและระยะเวลาของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งหากช่วงชีวิตของพืชที่ต้องการปรับปรุง
พันธุ์ด้วยวิธีเดิมยาวนานกว่าจะได้ผล และต้องทำการคัดเลือกพันธุ์อยู่หลายครั้ง
การทำ GMOs ทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก
- ทำให้เกิดพืชพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ในการพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพวกไม้ประดับที่มี
รูปร่างแปลกกว่าเดิม มีขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม (เช่น กุหลาบสีน้ำเงิน)
หรือมีความคงทนกว่าเดิม
ประโยชน์ต่อด้านการอุตสาหกรรม :
- หากทำพืช GMOs ให้สามารถลดการใช้สารเคมี และช่วยให้มีผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม
ทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงและเวลาที่ใช้ก็ลดลงด้วย วัตถุดิบที่ได้มาจากภาคการเกษตร
เช่น ซังข้าวโพด แกลบ กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์ จึงมีราคาถูกลง
- มี GMOs หลายชนิดที่ไม่ใช่พืช ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอนไซม์ที่ใช้ใน
การผลิตน้ำผักผลไม้ หรือ เอนไซม์ ไคโมซิน (Chymosin) ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก GMOs และทำมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ลดทั้งต้นทุนการผลิตและ
เวลาที่ต้องใช้ลง
ประโยชน์ต่อด้านการแพทย์ :
- การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดต่างๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs
ช่วยแทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนหรือตัวยาที่จำ
เป็นต่อมนุษย์
- ช่วยลดการขาดแคลนยาหรือวัคซีนได้มากขึ้น เพราะ GMOs สามารถช่วยเพิ่มการผลิต
สิ่งเหล่านี้ให้เพิ่มขึ้นได้
ประโยชน์ต่อด้านสิ่งแวดล้อม :
- หากทำพืช GMOs ให้สามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง จำนวนการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ
เพื่อการปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนอาจถึงไม่ต้องใช้เลยก็ได้ ทำให้มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ที่เกิดจากสารเคมีลดลง
- ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น เนื่องจากยีนที่มีการแสดงออกที่มี
ประโยชน์ถูกเลือกให้รับโอกาสในการแสดงออกในสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมากขึ้น
http://www.thaibiotech.info/advantages-of-gmos.php
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2015 6:07 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 19/09/2015 8:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
จีเอ็มโอ (GMOs) คือ อะไร (What is GMOs ?)
จีเอ็มโอ ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms
(GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์
ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม จากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
โดยจากการตัดเอายีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีน(gene)ของสิ่งมี
ชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน (gene) มาใส่เข้าไป
แล้วก็คือ จีเอ็มโอ (GMOs) ตัวอย่างเช่น นำยีน (gene) ทนความหนาวเย็นจากปลาขั้ว
โลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีน(gene)
จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีน (gene) ของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยา
ปราบวัชพืช นำยีน (gene) จากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบ
ด่างวงแหวนได้ เป็นต้น
โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีน (gene) จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วนคำว่า จีเอ็มโอ
(GMOs) เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน (gene)
พืช จีเอ็มโอ (GMOs)ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง,
มะเขือเทศ, มะละกอ, ฝ้าย, คาโนลา (Canola) (พืชให้น้ำมัน) และ สควอช (Squash)
http://www.thaibiotech.info/what-is-gmos.php
---------------------------------------------
จีเอ็มโอ ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms
(GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรม
จากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)โดยจากการตัดเอายีน
ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสม
พันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ
ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีนมาใส่เข้าไปแล้วก็คือ จีเอ็มโอ (GMOs) ตัวอย่างเช่น นำยีนทน
ความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศ
หนาวเย็นได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทาน
ต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่าง
วงแหวนได้ เป็นต้น
โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีนจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วนคำว่า จีเอ็มโอ
(GMOs) เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน
พืช จีเอ็มโอ (GMOs) ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง,
มะเขือเทศ, มะละกอ, ฝ้าย, คาโนลา (Canola) (พืชให้น้ำมัน) และ สควอช (Squash)
ได้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้
ได้พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยนำหน่วยพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งถ่ายเข้าไป
รวมหรือร่วมอย่างถาวรกับหน่วยพันธุกรรมกับหน่วยพันธุกรรม ของพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้
สามารถแสดงลักษณะที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติสำหรับพืชชนิดนั้น พืชชนิดนั้นจึงเรียกว่า
เป็นพืชที่ได้รับตัดต่อสารพันธุกรรม (Genetically Modified Plants)
ปัจจุบันมีพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นที่ยอมรับและได้มีการปลูก
เป็นการค้าในต่างประเทศหลายชนิด เช่น มะละกอ, ข้าวโพด, ฝ้าย และถั่วเหลือง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมดังกล่าวแล้ว ก่อให้เกิดความกังวล
ในหมู่สาธารณชนและนักวิชาการ ในการควบคุมภยันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อ
ป้องกันอันตรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึง
กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมไว้ 40 ชนิด ดังนี้
ชนิดของพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมที่เป็นสิ่งต้องห้าม :
1. ข้าว Oryza sativa L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
2. ข้าวโพด Zea mays L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
3. พืชในสกุลกอซซิเปียม Gossypium spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
4. พืชในสกุลลินั่ม Linum spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
5. ถั่วเหลือง Glycine max L. merr. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
6. พืชในสกุลฮีแลนธัส Helianthus spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
7. ผักกาดก้านขาว Brassica napus L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
8. มันฝรั่ง Solanum tuberosum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
9. หน่อไม้ฝรั่ง Asparagus officinalis L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
10. แบลคเคอเร้น Ribes nigrum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
11. พืชในสกุลบราสสิค่า Brassica spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
12. แครอท Daucus carota L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
13. กะหล่ำดอก Brassica oleracea var. botyrtis L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
14. ขึ้นฉ่าย Apium graveolens var. dulce (Mill.) pers. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
15. แตงกวา Cucumis sativus L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
16. มะเขือยาว Solanum melongena L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
17. พืชในสกุลวิตีส Vitis spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
18. กีวี Actinidia chinensis Planchon ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
19. ผักกาดหอม Lactuca sativa L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
20. แตงเทศ Cucumis melo L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
21. ถั่วลันเตา Pisum sativum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
22. พืชในสกุลรูบัส Rubus spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
23. พืชในสกุลแฟรกกาเรีย Fragaria spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
24. พืชในสกุลคูเคอบิต้า Cucurbita spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
25. ซูก้าร์บีท Beta vulgaris L. subsp.vulgaris ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
26. ยาสูบ Vicotiana tabacum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
27. มะเขือเทศ Lycopersicon esculentum Mill. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
28. คาร์เนชั่น Dianthus caryophyllus L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
29. พืชในสกุลคริสแซนธิมั่ม Chrysanthemum spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
30. พืชในสกุลอิโปเมีย Ipomoea spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
31. พืชในสกุลพิทูเนีย Petunia spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
32. ฮอส แรดิส Armoracia rusticana P. Gaerther, Meyer & Scherb. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
33. อัลฟัลฟ่า Medicago sativa L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
34. พืชในสกุลอะเมลแลนเซียร์ Amelanchier spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
35. พืชในสกุลสไตโลแซนเธส Stylosanthes spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
36. แอปเปิ้ล Malus pumila P. Mill. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
37. มะละกอ Carica papaya L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
38. พืชในสกุลพอปพูลัส Populus spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
39. แพร์ Pyrus communis L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
40. พืชในสกุลจักแกลนส์ Juglans spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ขอบคุณ Thaibiotech.info แหล่งรวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ
https://sites.google.com/site/jelopeso/cixemxo-gmos-khux-xari
-------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/09/2015 8:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|