ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 06/04/2016 8:47 am ชื่อกระทู้: ..... เจาะบ่อบาดาล .... |
|
|
.
.
ความเดิม......
ลูกผู้ชายชื่อ "หมู บาดาล" .....
หมู (094) 895-4667 อ.ศรีขรภูมิ สุรินทร์ อดีตนักจัดรายการเกษตร ทีวี. ผันตัวเองมาทำเกษตร เพราะความแล้งจึงตัดสินใจเจาะบาดาล บนพื้นที่ราบทำนา, เจาะลึก 86 ม., ท่อดูด 2 นิ้ว, ซัมเมิร์ซ 2 แรงม้า, ราคา 22,000.-, ก่อนตกลงจ้าง ประกันน้ำจืดสนิทคนกินได้ คนเจาะย้ายจุดเจาะ 2-3 จุด เพื่อความมั่นใจ
วันนี้ดูดน้ำจากบ่อแล้วส่งตรงไปแปลงระยะ 200 ม. (ไม่มีบ่อพักน้ำ) วางท่อ พีวีซี. ทำระบบท่อรั่วน้ำพุ่งสูงระดับอก ใช้งานในเนื้อที่ 10 ไร่ สบายๆ พร้อมขยายพื้นที่ได้อีก
......... ฯลฯ .........
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5381#31271
---------------------------------------------------------------------
1. คู่มือการเจาะบ่อบาดาล :
ความหมายของบ่อบาดาล (Ground Water Well)
ในทางวิชาการ หมายถึง รูหรือปล่องที่ขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำบาดาล เพื่อประสงค์ที่จะเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ฉะนั้น ในทางวิชาการจึงไม่กำหนดความลึกของบ่อเอาไว้ว่าบ่อลึกเท่าใด จึงจะเรียกว่าบ่อน้ำธรรมดา บ่อลึกเท่าใดจึงจะเรียกว่าบ่อบาดาล ผู้อ่านที่อ่านเรื่องการกำเนิดและชั้นน้ำบาดาลมาแล้วคงจะยังจำได้ว่า ชั้นน้ำบาดาลและระดับน้ำใต้ดินนั้นอาจจะอยู่เสมอระดับผิวดิน ต่ำกว่าผิวดินเพียงเมตรเดียว หรือหลายสิบเมตรก็ได้ ฉะนั้น บ่อทุกบ่อไม่ว่าลึกเท่าใดหากขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำก็เรียกว่า บ่อบาดาลได้ แต่ในทางความเข้าใจของคนทั่วไป คำว่า บาดาล ให้ความรู้สึกว่าอยู่ลึก แต่จะลึกเท่าใดไม่มีมาตรการใดจะบอกได้ จึงให้ความเห็นหรือความหมายของบ่อบาดาลแตกต่างกันไป ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ บ่อบาดาล ตามความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจได้น่าจะหมายถึงบ่อทุกประเภทที่ใช้เครื่องเจาะ เจาะลงไปเพื่อเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ โดยมีปริมาณพอใช้ตลอดปี
การมีหรือการเจาะบ่อบาดาลและสูบน้ำออกมาได้ตามความมุ่งหมาย ถือเป็นจุดหมายปลายทางของงานน้ำดาลที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่การสำรวจ การวางแผน และการเจาะ บ่อบาดาลที่ดีจะต้องเป็นผลเนื่องมาจากการสำรวจและวางแผนได้ดี ใช้เครื่องเจาะถูกต้อง พัฒนาบ่อถูกหลักและนำน้ำขึ้นมาใช้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามหลักการด้านชลศาสตร์ของบ่อต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงสาระสำคัญของบ่อน้ำบาดาลเป็นเรื่อง ๆ ไปโดยย่อ
การเลือกที่เจาะ
การเลือกที่เจาะที่ถูกหลัก ในท้องที่ที่ไม่เคยเจาะน้ำบาดาลมาก่อน หรือในท้องที่ที่ชั้นน้ำเป็นหินแข็ง จะต้องใช้ความรู้ทางวิชาการประกอบกับผลที่ได้จากการสำรวจด้วยวิธีการต่างๆที่กล่าวข้างต้น วิชาการส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบในการเลือกที่เจาะ คือ ความรู้ทางธรณีวิทยา และอุทกวิทยาน้ำบาดาลในบริเวณที่จะเจาะ การเจาะบ่อขนาดใหญ่ที่ต้องการน้ำมาก ๆ ในบางแห่งยังต้องมีการเจาะบ่อทดสอบ (Test hole) ดูเสียก่อน 2 3 บ่อ การเจาะบ่อทดสอบมีวัตถุประสงค์ที่จะหาความลึกของแหล่งน้ำบาดาล จุดที่ชั้นน้ำบาดาลหนาที่สุด จุดที่น้ำบาดาลมากที่สุด คุณภาพน้ำที่ดีที่สุด ผลจากการทดสอบและรายละเอียดการตรวจสอบอื่นๆ เช่น การตรวจสอบชั้นหิน การตรวจชั้นน้ำด้วยเครื่องมือไฟฟ้า และการทดสอบปริมาณน้ำ เมื่อมาประเมินให้ถูกหลักก็จะกำหนดจุดเจาะให้ได้ผลดีที่สุดได้ แต่ในบางกรณีผู้ที่จะเจาะน้ำบาดาล หรือผู้ที่อยากได้บ่อบาดาลไม่มีประสบการณ์หรือขาดความรู้ หรือขาดทุนทรัพย์ที่จะดำเนินการดังกล่าวข้างต้นได้ การเลือกที่เจาะจึงมักจะไม่ค่อยถูกหลัก ยิ่งกว่านั้นบางรายมักจะไปจ้างพ่อมดหมอผี หรือคนทรงนั่งทางในมาเลือกที่เจาะหรือขุดให้ บางรายก็ประสบผลสำเร็จ บางรายก็เสียเงินเปล่า ที่สำเร็จนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นที่ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้ใครเลือกให้ หรือไม่จำเป็นต้องใช้หมอผี จะขุดตรงไหนก็ได้น้ำ ข้อแนะนำข้างล่างนี้ให้ไว้สำหรับประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เพื่อนักวิชาการและหลักการที่ให้ไว้นี้ ก็เป็นหลักทั่วๆไป ไม่ใช่เฉพาะแห่งหนึ่งแห่งใด การเลือกใช้ข้อหนึ่งข้อใดเป็นแนวทาง ควรที่จะเลือกใช้ลักษณะภูมิประเทศของที่นั้นๆ มาร่วมพิจารณาด้วย
1) พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นทุ่งราบ ถามนักธรณีวิทยาได้ความรู้ว่า พื้นที่นั้นรองรับด้วยแหล่งกรวด ทราย หนาเกินกว่า 25 เมตร จากผิวดินลงไป ตรวจดูบ่อชาวบ้านถ้ามีบ่อน้ำใช้ตลอดปี ระดับน้ำในบ่อไม่ลึกมาก และกรวดทรายที่ชาวบ้านขุดขึ้นมามีลักษณะกลมมน พื้นที่นั้นๆ มักจะเป็นแหล่งน้ำ จะเลือกเจาะที่ไหนก็ได้
2) พื้นที่ใดมีลักษณะเหมือนในข้อ 1 แต่กรวดทรายที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาไม่กลมมน แต่มีเหลี่ยม มีแง่หรือมุม มีดินเหนียวขาว ๆ ปนอยู่ทั่วไป ลักษณะท้องที่นั้น มักจะไม่มีแหล่งน้ำ ทุกจุดที่เจาะ การเลือกที่เจาะควรปรึกษานักวิชาการน้ำบาดาลดีกว่าที่จะเลือกเอง
3) พื้นที่ใดเป็นทุ่งราบหรือหุบเขา มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน ตัวน้ำคดเคี้ยวไปมา และมีหาดทรายกว้างขวาง ฤดูฝนมักจะมีน้ำล้นฝั่ง ฤดูแล้งมีน้ำไหล ท้องที่นั้นจะเป็นแหล่งน้ำบาดาลอย่างดี จะเจาะตรงไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องไปจ้างคนทรงให้มานั่งทางในชี้จุดเจาะให้
4) พื้นที่ใดเป็นคุ้งน้ำ ควรเลือกเจาะบริเวณคุ้งน้ำด้านที่มีหาดทราย ด้านตรงข้ามซึ่งมีตลิ่งชันและน้ำเซาะไม่ควรเจาะ
5) ท้องที่ใดมีลักษณะเป็นทุ่งราบกว้างขวางริมทะเล จะเจาะที่ไหนก็ได้น้ำบาดาล แต่อย่าเจาะให้ลึกเกินไป อาจได้น้ำเค็ม
6) พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นที่ราบลานเทขั้นบันไดหลายชั้น ควรเลือกเจาะในบริเวณที่อยู่ระดับที่ต่ำที่สุด ที่ราบอยู่ระดับสูงๆ ถึงแม้จะมีน้ำก็จะมีระดับลึก
7) โดยปกติจะมีชั้นดินเหนียวสลับอยู่ในชั้นกรวดทราย การขุดบ่อในที่ใด ถ้าพบดินเหนียวไม่มีน้ำก็อย่าเพิ่งหมดหวัง ถ้ามีความสามารถจะขุดลึกลงไปอีก ก็จะถึงชั้นทรายมีน้ำ
8 ) บ่อเจาะ หรือขุด ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำโสโครก เช่น ส้วม หรือ ท่อระบายน้ำ ให้มาก ที่สุดเท่าที่จะมากได้ กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า บ่อขุดควรอยู่ห่างจากส้วมไม่น้อยกว่า 50 ฟุต
9) พื้นที่ใดเป็นทุ่งราบแล้ง แต่มีต้นไม้ขึ้นเขียวชอุ่มเป็นแนวยาว เป็นตอน ๆ ตลอดปี แสดงว่าบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำบาดาล ซึ่งอาจจะอยู่ในบริเวณร่องน้ำเก่า ๆ ก็ได้ ถ้าจะเจาะน้ำบาดาลบริเวณที่มี ป่าไม้ก็จะได้ผล
10) พื้นที่ใดเป็นหินไม่ว่าจะเป็นแบบโผล่ให้เห็นบนผิวดิน หรือฝั่งตื้นๆ อยู่ใต้ผิวดิน การเลือกเจาะน้ำบาดาลในบริเวณนั้นควรจะให้นักวิชาการเลือกให้ หรือให้คำแนะนำ เพราะแหล่งน้ำบาดาลในหินมิได้มีอยู่ทั่ว ๆ ไปเหมือนในกรวดทราย การเลือกจุดเจาะต้องอาศัยข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นหลัก แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกเองจริง ๆ ก็ควรจะเลือกในบริเวณต่ำ ๆ ยิ่งถ้ามีที่เจาะในที่ซึ่งเป็นหุบแนวยาว ๆ ด้วย ก็ยิ่งมีโอกาสได้น้ำ
11) พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำเค็ม หรือแหล่งเกลือ ดังเช่น ในที่ราบตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรจะเลือกที่เจาะในบริเวณที่เป็นเนินสูง ๆ มีป่าหรือพุ่มไม้ทั่วไป เพราะอาจมีโอกาสได้น้ำจืด
12) พื้นที่ซึ่งเป็นภูเขา มีหินแข็งโผล่ให้เห็นทั่วไป ชั้นหินก็เอียงเทลงไปทางเชิงเขา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเจาะน้ำบาดาลในบริเวณนั้น แต่ถ้าต้องการน้ำจริงๆ ก็ควรเลื่อนที่เจาะลงไปทางเชิงเขาอาจจะได้น้ำ และน้ำอาจจะพุ
การเจาะน้ำบาดาล
การเจาะบ่อเป็นเรื่องทางเทคนิคของช่างเจาะโดยเฉพาะ แต่การเจาะจะได้ผล ต้องอยู่ที่ผู้ เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบริษัทผู้รับเหมาเจาะ หรือผู้จ้างเจาะ หรือแม้แต่ผู้วางแผนการเจาะ ปัญหาสำคัญประการแรกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การเลือกใช้เครื่องเจาะให้ถูกต้อง การเลือกประเภทเครื่องเจาะนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญหลายประการ เช่น วัตถุประสงค์ที่จะเอาน้ำมาใช้ ปริมาณน้ำที่ต้องการ ความลึกของน้ำบาดาล สภาพความแข็งและการวางตัวของชั้นหิน และงบประมาณค่าใช้จ่าย ปัญหาเรื่องการเลือกใช้เครื่องเจาะไม่ถูกหลักนี้มีบ่อยๆ ในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งบริษัทผู้รับเหมาไปเจาะบ่อในแหล่งหินปูนบริเวณอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้เครื่องเจาะแบบ Reverse rotary เครื่องเจาะประเภทนี้เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม่อาจจะเจาะในหินแข็ง เช่น หินปูน ซึ่งโพรงมากมายได้ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เฉพาะแต่เจาะไม่ลงอย่างเดียว ยังมีปัญหาเรื่องน้ำที่ต้องใช้มากมาย แต่ซึมหายลงไปในโพรงหมดด้วย เมื่อพบปัญหาเรื่องนี้ผู้รับเหมาจึงเปลี่ยนเครื่องมาใช้เครื่องเจาะเพชร ซึ่งก็เจาะได้ลึกถึง 400 ฟุต ตามต้องการ แต่เจาะได้รูขนาด 2.5 นิ้ว จะคว้านรูโตขึ้นเพื่อใส่ท่อกรุก็ไม่ได้ เพราะเครื่องเจาะหัวเพชรไม่ใช่เครื่องเจาะน้ำบาดาล รวมเวลาที่เสียไปเพราะใช้เครื่องเจาะไม่ถูกต้องนี้ประมาณ 6 เดือน ต่อมาทางกรมทรัพยากรธรณีได้รับคำร้องขอจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ไปช่วยแก้ไข กรมทรัพยากรธรณีนำเครื่องเจาะแบบใช้ลมเจาะ ไปดำเนินการให้ และเจาะเสร็จภายใน 20 วัน
การก่อสร้างบ่อ(Well Completion)
การทำรูเจาะ ( Hole ) ให้เป็นบ่อน้ำ ( Water Well ) พร้อมที่จะพัฒนาเอาน้ำขึ้นมาใช้ได้ เรียกว่าการทำบ่อ ( Well Completion ) ซึ่งประกอบด้วยการออกแบบบ่อ ( Well Design ) การใส่ท่อกรุท่อกรอง และการกรุกรวด ( Gravel Packing)
1. การออกแบบบ่อ
การออกแบบบ่อ หมายถึงการนำรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการเจาะบ่อนั้น ๆ มาวางแผนการทำบ่อให้ได้ผลที่สุด ทั้งด้านปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำ หลักใหญ่ของการออกแบบ อยู่ที่การใส่ท่อกรุและท่อกรอง ให้ถูกขนาดและถูกตำแหน่งที่ควรจะอยู่ เช่น ท่อกรองจะต้องมีความยาวอย่างน้อย 2/3 ของความหนาของชั้นน้ำ ตำแหน่งของท่อกรองจะต้องอยู่ตรงกับชั้นน้ำ ในกรณีที่บ่อนั้นเจาะผ่านชั้นน้ำเค็ม ก็ต้องกำหนดวิธีการอุดหรือกันน้ำเค็มไม่ให้ปนกับน้ำจืด และเข้ามาในบ่อ เหล่านี้ เป็นต้น เพื่อเป็นอุทาหรณ์ใคร่จะนำการออกแบบบ่อจริง ๆ บ่อหนึ่งมาเป็นตัวอย่างดังนี้
บ่อกรมทรัพยากรธรณีบริเวณใกล้เคียงอำเภอพระประแดง เจาะลึก 900 ฟุต ด้วยหัวเจาะ ขนาด ? 6 1/4 นิ้ว มีจุดประสงค์ที่จะเจาะสำรวจสภาพน้ำบาดาลและชั้นหิน และพัฒนาเอาน้ำจืดขึ้นมาใช้ด้วย บ่อนี้เจาะชั้นกรวดทราย และดินเหนียวสลับกันไปถึงก้นบ่อ จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจชั้นน้ำแบบ ไฟฟ้า และแบบกัมมันตภาพรังสี ปรากฏว่า มีชั้นทรายน้ำจืดอยู่ที่ความลึก 252-307 ฟุต
1. คว้านบ่อด้วยหัวเจาะ 15 นิ้ว เพื่อใส่ท่อกรุและท่อกรองขนาด 8 นิ้ว
2. คว้านบ่อลงไปจนถึง 350 ฟุต ละปล่อยให้เศษดินลักรวดทรายลงไปถมถึง 900 ฟุต หากไม่เต็มก็ต้องหาดินหรือทรายจากภายนอกใส่เพิ่มเข้าไปจนเต็มถึงระดับ 350 ฟุต
3. อุดซีเมนต์ในบ่อที่คว้านขนาด 15 นิ้วนี้แล้ว จาก 295 ฟุต ไปจนถึง 350 ฟุต เพื่อไม่ให้น้ำ เค็ม ชั้นล่างเข้ามาปนน้ำจืด (ระยะจาก 295-307 ฟุต ซึ่งเป็นชั้นน้ำจืดนั้นอุดซีเมนต์ไว้ด้วย เพื่อให้การอุดมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น)
4. ใส่ท่อกรุขนาด 8 นิ้ว จากผิวดินลงไปจนถึงความลึก 270 ฟุต จาก 270-290 ฟุต ใส่ท่อกรองขนาดเดียวกัน โดยใช้ท่อกรองขนาดช่องว่าง 50/1000 นิ้ว จากระดับ 290-295 ฟุต อันเป็นระดับซีเมนต์ก้นบ่อ ใส่ท่อกรุอีกท่อนหนึ่งขนาดเดียวกัน ปลายท่อกรุล่างสุดปิด
5. ใส่กรวดคัดขนาด 1/8 1/4 นิ้ว รอบๆ ท่อกรองและท่อกรุ จากระดับ 265-295 ฟุต
6. ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังบ่อ ตั้งแต่ผิวดินจนถึง 265 ฟุต อุดไว้ด้วยซีเมนต์อีกครั้งเพื่อกันน้ำเค็มตอนบนลงไปปนน้ำจืด
7. ซีเมนต์ที่ใช้ทั้งหมดคำนวณได้ 18 ตัน ผลการทำบ่อนี้ ปรากฏว่า เมื่อพัฒนาบ่อเสร็จแล้ว ได้น้ำจืดตามความประสงค์
2. การใส่ท่อกรุท่อกรอง
ท่อกรุเป็นเหล็กเหนียวใช้ใส่ในบ่อเพื่อเป็นผนังถาวรของบ่อ และเป็นเรือนรับหัวดูดของเครื่องสูบน้ำบาดาลด้วย บ่อทุกบ่อที่จะเจาะในหินร่วนต้องใส่ท่อกรุเพื่อกันไม่ให้บ่อพัง บ่อเจาะในหินแข็งซึ่งเมื่อถูกน้ำแช่นาน จะแตกเปื่อยยุ่ย เช่นหินดินดานก็ต้องใส่ท่อกรุด้วย ส่วนบ่อที่เจาะในหินแข็งซึ่งสามารถจะทรงตัวอยู่ได้ไม่ว่าจะมีน้ำหรือไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ บ่อที่ไม่ใส่ท่อกรุเรียกว่า บ่อเปิด ( Open Hole )
ท่อกรุบ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่ยาวประมาณ 20 ฟุต โดยเฉลี่ยมีหลายขนาดตั้งแต่ 4 นิ้ว จนถึง 24 นิ้ว การเลือกใช้ท่อกรุ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะใช้น้ำ เช่น ถ้าใช้น้ำสำหรับครัวเรือนก็ใช้ขนาดเล็ก 4-6 นิ้ว ถ้าใช้น้ำเพื่อกิจการอื่น ๆ ที่ต้องการน้ำมาก ๆ ก็ใช้ขนาดตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การติดตั้งเครื่องสูบที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ตารางข้างล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดท่อกรุกับปริมาณน้ำที่จะสูบใช้ได้มากที่สุด โดยใช้เครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์ (โดยมีข้อแม้ว่าชั้นน้ำจะให้น้ำได้มากเท่ากับหรือเกินค่าที่กำหนดไว้ในตาราง)
ในการทำบ่อ บางกรณีใส่ท่อกรุตลอดตั้งแต่ปากบ่อจนถึงก้นบ่อ ที่ระยะลึก ๆ อาจลดขนาดท่อลงเพื่อประหยัดเงิน บริเวณที่เป็นชั้นน้ำจะเจาะรู ( !! ) หรือเซาะร่อง ( Perforated ) ไว้ให้เป็นทางน้ำไหลเข้าบ่อการใช่ท่อกรุแบบเจาะรูหรือเซาะร่องนี้มีส่วนดี ที่ราคาถูกกว่าท่อกรองมาก และยังทำได้ง่าย เพราะเจาะหรือเซาะเอาเองได้โดยใช้เครื่องเจาะหรือเครื่องเซาะร่อง ( Perforator ) หรือใช้หัวตัดไฟแก๊ส ข้อเสียของท่อเซาะร่องอยู่ที่ไม่อาจจะเซาะให้รูถี่มาก ๆ จำนวนช่องว่างที่จะให้น้ำไหลเข้าบ่อจึงมีน้อย และไม่อาจจะเซาะให้รูเล็กๆ พอที่จะกันไม่ให้ทรายเม็ดเล็กลอดเข้าไปในบ่อ บ่อบาดาลที่สูบน้ำปนออกมากับทราย มีผลเนื่องจากเหตุนี้
บ่อที่ต้องการประสิทธิภาพสูง สูบน้ำได้มาก และไม่มีทรายปน จะต้องใช้ท่อกรอง ( Screen ) แทนท่อเซาะร่อง ท่อกรองทำขึ้นจากการเอาลวดเหลี่ยม ซึ่งมีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พันรอบๆโครงเหล็ก หรือพันรอบ ๆ ท่อเหล็กซึ่งเจาะรูขนาดใหญ่ โดยใช้ด้านหน้ากว้างของเส้นลวด อยู่ด้านนอกช่องว่างระหว่างเส้นลวดมีขนาดต่างๆ กัน คิดเป็นเศษของ 1000 ส่วนของนิ้ว และเรียกช่องว่างขนาดต่างๆ นี้ว่า !! Number ฉะนั้น ท่อกรองขนาด !! No.50 หมายความว่ามีช่องว่างขนาด 50/1000 นิ้ว หรือท่อกรองขนาด !! No.20 หมายความว่ามีช่องว่างขนาด 20/1000 นิ้ว เป็นต้น วัสดุที่เอามาใช้ทำท่อกรอง มีมากมายหลายชนิดทั้งประเภทที่ทนความกัดกร่อนหรือสนิม แต่ที่นิยมใช้กันมักทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่า Red brass, Stainless Steel หรือ Evader Metal ความยาวของท่อกรองแต่ละท่อนที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปมีตั้งแต่ 5 ฟุต 10 ฟุต และ 20 ฟุต และมีขนาดแตกต่างกันเหมือนท่อกรุ ท่อกรองใช้ร่วมกับท่อกรุได้ ทั้งแบบต่อกันโดยใช้ข้อต่อ หรือใช้สวมเข้าไปในท่อกรุ แบบสวมในท่อกรุจะมีช่องว่างระหว่างปลายซึ่งเหลื่อมกันอยู่ ช่องว่างนี้อุดให้แน่นด้วยตะกั่วหรือยางส่วนดีของท่อกรองอยู่ที่ใช้ได้ดีที่สุดในชั้นน้ำประเภททรายขนาดต่างๆ ปนกัน หรือในชั้นทรายปนกรวดในการเลือกใช้ท่อกรองให้ถูกต้องจำเป็นต้องรู้ขนาดต่างๆของเม็ดทรายเสียก่อน แล้วจึงเลือกใช้ท่อที่มีขนาดช่องว่างเหมาะสม โดยถือหลักว่ายอมให้เม็ดทรายละเอียดผ่านรูท่อกรองเข้าไปได้ประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ทรายเม็ดหยาบหรือกรวดที่ค้างอยู่นอกท่อจะทำตัวเป็นชั้นน้ำ ที่มีความพรุนและความซึมได้สูงน้ำจึงไหลผ่านได้มาก ทั้งยังช่วยกรองน้ำได้ด้วย ข้อเสียของท่อกรองส่วนใหญ่ เกี่ยวกับราคาซึ่งมักจะแพงกว่า ท่อกรุเซาะร่องธรรมดาไม่น้อยกว่า 15 เท่า
3. การกรุกรวด (Gravel Packing)
ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่าช่องว่างระหว่างผนังบ่อกับท่อกรองต้องใส่กรวดไว้โดยรอบ กรวดเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนกับบ่ออีกบ่อหนึ่งหุ้มบ่อจริงไว้ บ่อเทียมนี้ประกอบด้วยกรวดที่มีความพรุนและความซึมได้สูง จึงยอมให้น้ำไหลผ่านได้มากที่สุด นอกนั้นยังช่วยกรองตะกอนต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปในบ่อจริง ๆ และช่วยกันไม่ให้ดินหรือทรายจากส่วนอื่น ๆ พังลงไปทับท่อกรุหรือท่อกรองด้วย กรวดที่กรุลงไปข้าง ๆ บ่อนี้ ถ้าทำได้ถูกต้องจริง ๆ จะทำให้น้ำไหลเข้าบ่อมากกว่าธรรมดา และแก้ไขปัญหาเรื่องทรายเข้าบ่อได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้นการใช้กรวดที่ถูกขนาดและได้สัดส่วนกับรูของท่อกรอง หรือท่อเซาะร่องและขนาดเม็ดทรายในชั้นน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ขนาดเม็ดทรายในชั้นน้ำหาได้แน่นอน โดยใช้วิธีการแยกส่วนโดยใช้ตะแกรงร่อน ส่วนขนาดท่อกรองรู้ได้โดยตรงจากบริษัทผู้ผลิต ซึ่งมักปั๊มเลขขนาดรูเอาไว้ที่ตัวท่อกรองแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการแยกส่วนเม็ดกรวดทรายโดยให้ตะแกรงร่อนมักจะทำกันไม่ได้ทั่วไป จึงกำหนดขนาดเม็ดกรวดที่ใส่รอบๆ บ่อไว้ว่าถ้าได้ขนาดตั้งแต่ทรายหยาบไปจนถึงกรวดขนาด 1/4 นิ้ว ก็จะได้ผลดี
ความหนาของกรวดกรุรอบ ๆ บ่อ ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตอยู่ที่ผนังบ่อ แต่ยิ่งหนาได้เท่าไรก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ในการพัฒนาบ่อมีวิธีการที่จะให้ผนังบ่อตรงชั้นน้ำขยายกว้างออกไป จึงเป็นช่องทางที่จะให้เติมกรวดเพิ่มให้มีความหนามากขึ้น บ่อที่มีกรวดกรุรอบ ๆ หนามาก จะสูบน้ำได้มากกว่าบ่อที่มีกรวดกรุบางๆเสมอไป
4. การพัฒนาบ่อ
เป็นงานขั้นสุดท้ายในการทำบ่อก่อนที่จะสูบน้ำจากบ่อออกไปใช้ การพัฒนาบ่อมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้บ่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้น ป้องกันไม่ให้ทรายเข้าบ่อ และทำให้อายุการใช้งานของบ่อ ยืนยาวขึ้น โดยมีรายละเอียดการดำเนินการบรรยายไว้ใน คู่มือการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล (คป.7)
5. การทดสอบปริมาณน้ำ
บ่อที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วถือว่าพร้อมที่จะติดตั้งเครื่องสูบ สูบน้ำขึ้นมาใช้ แต่ในทางปฏิบัติควรจะทดสอบปริมาณน้ำ ( Pumping test ) เสียก่อน เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะสูบขึ้นมาได้ และเพื่อหาข้อมูลสำหรับการเลือกใช้เครื่องสูบให้ถูกต้อง โดยมีรายละเอียดการดำเนินการบรรยายไว้ใน คู่มือ การทดสอบปริมาณน้ำ (คป. 8
http://www.dgr.go.th/water/waterforlife2_1.htm
--------------------------------------------
2. น้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดิน
น้ำบาดาลเป็นน้ำที่อยู่ใต้ดินมีประโยชน์และความสำคัญในหลายด้าน น้ำบาดาลจะอยู่ลึกลงไปหลายเมตร ขึ้นอยู่กับบริเวณที่พบน้ำบาดาลซึ้งอาจจะอยู่หลายกิโลเมตรก็ได้ ปกติแล้วน้ำบาดาลจะพบได้น้อยในพื้นที่รอบหรือถ้าพบก็ลึกลงไปมักจะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำด้วย ในพื้นที่แห้งแล้งก็อาจจะต้องเจาะลึกลงไปมาก การนำไปใช้ประโยชน์มักใช้ในครัวเรือนในหมู่บ้านที่ไกลแหล่งน้ำ ใช้ในการเกษตร มีความสำคัญต่อชั้นดินมาก วิชาที่ศึกษาเรียกว่า อุทกธรณีวิทยา
ตามที่ได้กล่าวไว้ว่าน้ำบาดาลในแต่ละที่จะมีระดับที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ที่อยู่ไม่ลึกก็ใกล้แหล่งน้ำ บริเวณที่ฝนตกมาก หากบริเวณหุบเขา หากพื้นที่แห้งแล้งเป็นทะเลทรายก็อาจจะต้องเจาะลึกลงไป โดยทั่วไปหากอยู่ในพื้นที่แหล่งน้ำก็ขุดได้ประมาณ 3 5 เมตรเรามักขุดเป็นบ่อน้ำเราตัดขึ้นมาใช้ แต่น้ำชนิดนี้มักขึ้นๆ ลงๆ ไปตามฤดูกาล บางที่อาจจะเจาไปหลายร้อยเมตรกว่าจะเจอ ระดับที่ลึกนั้นจะมีคุณภาพน้ำที่แตกต่างกันด้วย สรุปคือ
น้ำบาดาล คือน้ำที่อยู่ไต้ดินลึกลงไป เกิดจาการดูดซึมของดินและกินไหลลึกลงไป จนไปแทรกระหว่างหินและดินลึกลงไป หากมีแรกดันของน้ำที่ต่ำกว่าน้ำใต้ดินที่มีจะเกิดเป็นน้ำพุขึ้นมา มักเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงภูเขา
น้ำบาดาลเกิดจาก น้ำฝนที่อยู่ชั้นบรรยากาศตกลงมาสู่พื้น กลายเป็นน้ำผิวดิน ส่วนหึ่งก็จะเกิดการซึมลงไปอีกส่วนก็ระเหย หรอรวมตัวกันเป็นแหล่งน้ำต่างๆ แหล่งน้ำเหล่านั้นหากซึมลงไปก็จะถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินที่ลึกลงไป ตามรูพรุนของหิน ซึ่งลงไปหลายเมตรจนถึงเป็นกิโลเมตร น้ำบาดาลที่อยู่ในหินเรียกว่า น้ำในกิน หากบริเวณที่มีหินหนืดหรือใกล้เคียง เรียกว่า น้ำหินหนืด
น้ำบาดาลสามารถที่จะขุดเจาะได้ตามบริเวณชั้นหินลึกลงไป แต่บางที่อาจจะลึกไม่มากนิยมสูบมาใช้งาน น้ำบาดาลมักจะอยู่ในระดับการซึมเข้าไปถึงและเป็นชั้นที่เก็บน้ำได้ หากลึงลงไปมากกว่า 15 กิโลเมตรมักจะไม่มีน้ำพบแต่ชั้นหินเท่านั้น
ปัจจัยที่ต่างๆของน้ำบาดาลจะมีการกระจายของน้ำและความลึกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1. ความพรุนของหินและดิน เป็นปัจจัยที่กำหนดการเก็บน้ำบาดาล หากมีความพรุนมาจะมีปริมาณของน้ำแทรกตัวอยู่มากการไหลและการเก็บน้ำจะทำได้รวดเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับช่องว่างของหินในแต่ละชนิดอย่างเช่นหินอัคนีมีความพรุนที่น้อยกว่าหินทราย เนื่องจากมีการอัดแน่นกว่า
2. ความสามารถในการซึมผ่าน การซึมผ่านของน้ำ ผ่านหินต่างๆ จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความพรุนของหิน ถ้ามีความพรุนมากก็จะมีการซึมผ่านที่รวดเร็ว รวมถึงรูปร่างของหินก็ส่งผลต่อการซึมผ่านด้วย
3. การแทรกซึม การแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหิน ขึ้นอยู่กับน้ำผิวดินความพรุนของหอนและชนิดของหิน การแทรกซึมในแต่ละชั้นจะเกิดการอิ่มตัวก่อนที่จะแทรกเข้าไปในชั้นถัดลงไป
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับน้ำใต้ดิน ได้แก่
1. การแทรกซึมผ่านของหิน
2. ปริมาณน้ำที่แรกซึมลงไป
3. ลักษณะภูมิประเทศ
เขตในชั้นใต้ดินหรือน้ำบาดาลอยู่
1. เขตของดิน เป็นเขตที่รับน้ำจากบรรยากาศหรือน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีมากหรือไม่มีเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับฝนที่จะตกน้อยหรือมาก เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับน้ำฝนนั้นเอง
2. เขตอิ่มตัว น้ำที่ตกลงมาสู่พื้นบางส่วนจะเกิดการอิ่มตัวลงไปในชั้นหินและดินตามช่องว่างที่มี เป็นเขตอขงน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดิน
3. ระดับน้ำใต้ดินเป็นน้ำที่มีไม่สม่ำเสมอต่ำกว่าน้ำบาดาล มีน้ำตามฤดูกาล และภูมิประเทศ
ระดับน้ำบาดาล
ปกติแล้วระดับของน้ำบาดาลักพบอยู่สองระดับและมีการสำรวจในประเทศไทยเองเช่นเดียวกัน
ชั้นที่ 1 เป็นชั้นที่อยู่ใกล้กับน้ำผิวดินเกิดจากแทรกลงไปของน้ำที่ผิวดิน และจากแหล่งน้ำที่ซึมลงไป มีความลึกประมาณ 40 -150 ฟุต เป็นระดับน้ำบาดาลที่ไม่มีแรงดัน
ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่อยู่ลึกลงไปจากชั้นแรก ชั้นนี้มักมีแรงดินน้ำอยู่ด้วยแล้วแต่บริเวณที่เจาะพบมีความลึกลงไป 350 ฟุต ถ้าระดับ 150 -300 มักจะไม่มีแรงดันของน้ำ ระดับน้ำที่แรงดันหากเจอะจะมีการซึมของน้ำหรือเกิดเป็นน้ำพุได้ขึ้นอยู่กับความสูงต่ำ ระดับน้ำขึ้นอยู่กับภูมิประเทศอาจจะมีความแตกต่างกันระหว่างชั้นหินและแรงดันของน้ำด้วย
การเคลื่อนไหวของน้ำบาดาล
การเคลื่อนไหวของน้ำบาดาลปกติน้ำบาดาลจะเคลื่อนไหวอย่างช้า อาจจะวัดเป็นเซนติเมตรต่อวัน โดยน้ำจะไหลไปตามชั้นหินตามแรงดันในแต่ละพื้นที่ และขึ้นอยู่กับรูพรุนของหิน นอกจากนั้นการที่เราสูบก็ทำให้เพิ่มความเร็วของการไหลน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากการสูบน้ำทำให้ระดับและความดันของน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ระดับน้ำอยู่บริเวณรอบๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย
การสำรวจแหล่งน้ำบาดาล
1. การสำรวจทางอุทกธรณีวิทยา เป็นการสำรวจโดยใช้ข้อมูลจากผิวดิน ตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยา และบริเวณภูมิประเทศโดยรอบ
2. สำรวจทางฟิสิกส์ ตรวจสอบจากความหนาแน่นของผิวดิน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความต้านทานของไฟฟ้า โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านชั้นหินต่างๆ ในระดับลึกลงไป หินที่มีและไม่มีน้ำจะมีความต้านทานที่แตกต่างกัน
3. การเจาะสำรวจ โดยการขุดเจาะบริเวณต่างๆ เพื่อทำการสำรวจในชั้นหินและบริเวณอุ้มน้ำ เมื่อก่อนใช้แรงงานคนจั้งตาสองคนขั้นไป เจาะได้เพียงตื้นๆเท่านั้น โดยใช้ท่อประมาณ 2 3 นิ้ว เจาะลึกลงไป 15 30 เมตรซึ่งมักใช้กับทางด้านการเกษตรและในครัวเรือน แต่มีข้อจำกัดในบางพื้นที่มีหินเหนียวหากแห้งจะไม่สามารถเจาะลงไปได้ ต่อมาจึงใช้เครื่องขนาดเล็กสามารถเจาะได้ลึกขั้นโดยการติดที่หัวเจาะ ทำการสูงน้ำแรงดันสูงไปตามหัวเจาะดินจะออกมาตามน้ำที่ไหลตามขึ้นช่องของท่อ ปัจจุบันมีเครื่องขนาดใหญ่สามารถเจาะได้หลายร้อยเมตร
4. การสำรวจจากภาพทางทางดาวทียม เป็นการตรวจสอบในบริเวณที่กว้าง เพื่อหาตำแหน่งในการขุดเจาะที่ง่ายขึ้น
ผลเสียจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไป
การสูบน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ที่จำกัดคงไม่มีปัญหาอะไร แต่มักมีการสูงมาใช้ในด้านอุสาหกรรมทำให้น้ำที่สูงมานั้นมากขึ้นจนขาดความสมดุลของน้ำใต้ดินทำให้เกิดผลเสียตามมาอย่างเช่นพื้นที่บริเวณกรุงเทพที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน มีการทรุดตัวของดินในทุกๆปี
1. เกิดการทรุดตัวของดิน เนื่องจากชั้นล่างของหินปูนที่มีน้ำแทรกอยู่ช่วยให้หนุนชั้นดินด้านบนไว้หากสูบมาในปริมาณมากจะทำให้น้ำในชันหินลดลงอย่างรวดเร็วทำให้แผ่นดินยุดตัวลง
2. การกัดกร่อน เนื่องจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นทำให้เกิดการไหลของน้ำได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมจะทำให้น้ำและตะกอนพัดไปอย่างรวดเร็วและไปทำให้บริเวณชั้นหินเกิดการผุกร่อนจนทำให้เกิดการยุบตัวหรือทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเป็นทางน้ำใต้ดิน
http://www.krabork.com
-------------------------------------------------------------------
การทดสอบปริมาณน้ำของบ่อบาดาล (ตอนที่ 3)
ความสำคัญของการทดสอบปริมาณน้ำ
บ่อที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วถือว่าพร้อมที่จะติดตั้งเครื่องสูบ สูบน้ำขึ้นมาใช้ แต่ในทางปฏิบัติควรจะทดสอบปริมาณน้ำ (Pumping test) เสียก่อน เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะสูบขึ้นมาได้ และเพื่อหาข้อมูลสำหรับการเลือกใช้เครื่องสูบให้ถูกต้อง การทดสอบแบบธรรมดาทำได้โดยการหาเครื่องสูบมาสูบน้ำออกให้ได้มากที่สุด พร้อมกับวัดระดับน้ำในบ่อก่อนที่จะสูบ ในขณะสูบ และหลังจากหยุดสูบ ตัวเลขที่ได้เอาไปคำนวณหาขนาดเครื่องสูบได้ การทดสอบแบบนี้ไม่ค่อยจะได้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของบ่อ หรือของชั้นน้ำมากนัก วิธีที่จะได้ข้อมูลจริงๆ ต้องทดสอบให้ถูกหลักทางอุทกวิทยาน้ำบาดาลที่เรียกว่า Aquifer test ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยย่อๆ ต่อไป แต่ก่อนจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีผู้อ่านควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชลศาสตร์ของบ่อน้ำ (Hydraulics of wells) ไว้เป็นพื้นฐานเสียก่อน
แหล่งน้ำบาดาลเกิดขึ้นได้ 2 แบบ แบบแรกชั้นน้ำอยู่ในโซนอิ่มตัวด้วยน้ำ มีระดับน้ำเรียกว่า ระดับน้ำใต้ดิน การไหลหลั่งของน้ำบาดาลเป็นไปตามแรงความโน้มถ่วงของโลก หรือไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ เหมือนน้ำในแม่น้ำลำคลอง บ่อบาดาลที่เจาะในแหล่งน้ำแบบนี้เรียกว่า Water table well น้ำบาดาลแบบที่สองเกิดอยู่ในอุ้มน้ำซึ่งถูกหุ้มทั้งข้างบนและล่างด้วยหินเนื้อแน่นที่เรียกว่าหินกันน้ำ ระดับน้ำบาดาลอยู่เหนือชั้นน้ำเพราะมีแรงดัน จึงเรียกว่าระดับผิดความดัน บ่อบาดาลที่เจาะในแหล่งน้ำแบบนี้เรียกว่า Artesian well ซึ่งแบ่งแยกออกได้อีกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดที่มีแรงดันมากๆ ทำให้น้ำพุขึ้นมาเหนือผิวดิน กับชนิดที่มีแรงดันต่ำ น้ำขึ้นมาอยู่เหนือระดับชั้นน้ำ แต่ไม่เกินระดับผิวดินบ่อชนิดแรกเรียกว่า บ่อพุบาดาล (Artesian flowing well) บ่อชนิดหลังยังไม่มีคำแปลในภาษาไทยแต่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Artesian non- flowing well) บ่อบาดาลทุกบ่อในกรุงเทพฯ จัดเป็นบ่อชนิดหลังนี้
เมื่อเจาะบ่อบาดาล ณ ที่ใดที่หนึ่ง น้ำในบ่อจะมีระดับคงที่ ณ จุดใดจุดหนึ่งเสมอ ไม่ว่าบ่อนั้นจะเป็น Water table well หรือ Artesian well ระดับน้ำคงที่นี้ เรียกว่าระดับน้ำปกติ (Static water level) เมื่อสูบน้ำออกจากบ่อ ระดับน้ำจะค่อยๆ ลดลงๆ จนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งลดลงน้อยจนแทบจะสังเกตไม่ได้ ระดับน้ำที่เกือบจะไม่ลดนี้เรียกว่า ระดับน้ำลด (Draw down) การหาค่าระยะน้ำลดจึงคิดได้ง่ายๆ โดยเอาค่าระดับน้ำปกติไปลบออกจากค่าระดับน้ำลด อัตราการสูบค่าหนึ่งๆ (คิดเป็นอัตราการสูบ เช่น แกลลอนต่อนาที หรือลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ฯลฯ) จะต้องมีความสัมพันธ์เป็นสัดส่วนกับค่าของระดับน้ำลด โดยปกติถ้าสูบน้ำน้อย ระยะน้ำลดก็น้อย ซึ่งหมายถึงว่าระดับน้ำลดก็จะน้อยด้วย และถ้าอัตราสูบน้ำมาก ระยะน้ำลดก็มาก และระดับน้ำลดก็จะมากไปด้วย
อัตราส่วนระหว่างอัตราการสูบกับระยะน้ำลด เป็นคุณสมบัติประจำตัวของบ่อและบ่อซึ่งเรียกว่าปริมาณน้ำจำเพาะ (Specific capacity) หาได้โดยเอาค่าระยะน้ำลดไปหารค่าอัตราปริมาณน้ำที่สูบ และมีหน่วยวัดของอัตราสูบต่อระยะน้ำลด 1 หน่วย ตัวอย่าง เช่น
ถ้าสูบน้ำในอัตรา 10 แกลลอนต่อนาทีต่อระยำน้ำลด 1 ฟุต ซึ่งเมื่อตีความหมายคุณสมบัติของบ่อนี้จะได้ความจริงว่า ถ้าสูบน้ำในอัตรา 10 แกลลอนต่อนาที บ่อนี้จะมีระยะน้ำลด 1 ฟุต หรือถ้าสูบน้ำให้มีระยะน้ำลดเพียง 1 ฟุต ก็จะสูบน้ำได้ 10 แกลลอนต่อนาที แต่มิได้หมายความว่า ถ้าสูบน้ำ 100 แกลลอนต่อนาที ควรมีระยะน้ำลด 10 ฟุต หรือถ้าสูบน้ำ 1,000 แกลลอนต่อนาทีควรมีระยะน้ำลด 100 ฟุต ซึ่งเป็นผลการคำนวณวิธีบัญญัติไตรยางศ์ ความจริงค่าที่คำนวณออกมานี้มีส่วนใกล้เคียงมาก ค่าที่แท้จริงหรือค่าที่ผิดไปต้องหาเอาโดยวิธี Aquifer test ที่กล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พอจะถือได้ว่า ถ้าบ่อนั้นเป็นบ่อ Artesian well ค่าที่คำนวณได้ก็เกือบจะถูกต้อง แต่ถ้าบ่อนั้นเป็น Water table well ค่าที่คำนวณได้โดยวิธีบัญญัติไตรยางศ์ เมื่อบวกกับค่ากันผิด (Safety factor) เข้าไปอีกประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ ก็เกือบจะได้ค่าที่แท้จริง ค่าต่างๆ เหล่านี้เป็นหลักการขั้นต้นที่จะใช้ในการคำนวณ หรือเลือกใช้เครื่องสูบให้ถูกต้องกับคุณสมบัติของบ่อ
สาเหตุที่ Artesian well หรือ Water table well มีคุณสมบัติต่างกันจนใช้วิธีการคำนวณจากค่าปริมาณน้ำจำเพาะผิดกัน ดังตัวอย่างข้างต้นนั้น เนื่องมาจากพฤติการณ์การไหลของน้ำเข้าสู่บ่อไม่เหมือนกัน กล่าวคือ น้ำที่สูบขึ้นมาจากบ่อประเภท Water table well เกิดจากการไหลของน้ำรอบๆบ่อ เข้าสู่บ่อได้เพราะระดับน้ำในบ่ออยู่ต่ำกว่า การไหลนี้มีลักษณะเหมือนกับน้ำซึม น้ำทุกๆ หยดในบริเวณระดับน้ำใต้ดินรอบๆ บ่อ จะซึมเข้าไปสู่บ่อก่อนที่น้ำจากจุดซึ่งไกลออกไปจะซึมเข้าไปถึง และบริเวณที่น้ำซึมออกไปแล้วนี้จะแห้งไปชั่วระยะหนึ่งในตอนที่สูบน้ำอยู่ ฉะนั้น ถ้าวัดระดับน้ำในบ่อสังเกตการณ์จำนวนมากๆ รอบๆ บ่อซึ่งกำลังสูบน้ำ จะพบว่าบริเวณรอบในใกล้บ่อสูบ ระดับน้ำจะลดมากกว่าบริเวณที่อยู่ไกลๆ และยิ่งไกลออกไป ระยะน้ำลดจะยิ่งน้อยลงๆ จนถึงจุดหนึ่งน้ำจะไม่ลดลงเลย ผิวระดับน้ำลดทั้งในบ่อที่กำลังสูบและบริเวณรอบๆ นี้ ถ้าสามารถมองทะลุลงไปได้ ก็จะเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนกรวยหงาย ยอดกรวยอยู่ที่ระดับน้ำลดในบ่อสูบ ฐานกรวยก็คือระดับน้ำใต้ดินเดิม ขอบกรวยก็คือระดับน้ำในบ่อสังเกตการณ์ เริ่มต้นแต่จุดใกล้บ่อที่กำลังสูบ ไปจนถึงบ่อสุดท้ายที่น้ำไม่ลด ทางวิชาการเรียกกรวยนี้ว่า กรวยน้ำลด (Cone of depression) (ดูรูป ลักษณะของกรวยน้ำลดในชั้นน้ำบาดาล) ระยะทางระหว่างบ่อที่กำลังสูบน้ำไปถึงจุดแรกที่น้ำไม่ลดนี้เรียกว่า รัศมีกรวยน้ำลด (Radius of influence)
เมื่อเข้าใจการเกิดกรวยน้ำลดของบ่อประเภท Water table แล้วก็พอจะกล่าวได้ว่าน้ำทุกๆ แกลลอน หรือทุกลิตรที่สูบออกมาจากบ่อนั้น มาจากน้ำที่อยู่ในกรวยน้ำลด ซึ่งไหลเข้าสูบ่อได้เพราะว่าแรงโน้มถ่วงของโลกดูดให้ไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ ฉะนั้นเมื่อสูบน้ำในอัตราเพิ่มขึ้น กรวยน้ำลดก็ต้องขยายออกไป เพราะต้องเสียน้ำไปให้บ่อมากขึ้น การที่กรวยน้ำลดขยายออกนี้หมายความว่าระยะทางที่น้ำจะไหลย่อมจะไกลขึ้น แรงเสียดทานต่างๆ เนื่องจากการไกลผ่านชั้นหินก็ย่อมมีมากขึ้นกว่าเดิม น้ำแต่ละหยดจึงไปถึงบ่อได้ช้า การไปถึงช้านี้เป็นเหตุให้ระดับน้ำในบ่อลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น ฉะนั้นถ้ายิ่งสูบน้ำมากขึ้น ระยะน้ำลดก็จะยิ่งมากกว่าที่ควรจะคำนวณได้โดยวิธีบัญญัติไตรยางศ์ จากค่าปริมาณน้ำจำเพาะทุกครั้งไป สาเหตุดังกล่าวนี้ทำให้ต้องมีการบวกค่ากันผิด (Safety factor) เข้าไปด้วย
การสูบน้ำในบ่อ Artesian well จะมีลักษณะการลดของระดับน้ำในบ่อสังเกตการณ์ เหมือนกับกรณีของบ่อ Water table well แต่กรวยที่เกิดขึ้นมีฐานกว้างกว่า และการกำเนิดกรวยมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าเปรียบเทียบน้ำบาดาลในชั้นน้ำประเภทนี้ เหมือนกับน้ำที่ไหลอยู่เต็มท่อประปา ดังที่เคยอุปมามาในตอนต้นๆ การเจาะบ่อหลายๆ บ่อ ก็เหมือนกับการเจาะรูในท่อหลายๆ รู แล้วเอาหลอดแก้วปักลงไป จะเห็นว่าในหลอดแต่ละหลอดมีน้ำขึ้นมาอยู่เหนือระดับผิวท่อเพราะแรงดันในท่อ ถ้าดูดน้ำออกจากหลอดหนึ่งหลอดใด จะเห็นว่าระดับน้ำในหลอดอื่นๆ พลอยลดลงไปด้วย ทั้งๆ ที่น้ำยังไหลอยู่เต็มท่อ ระดับน้ำที่ลดลงนี้มีสาเหตุอย่างเดียวกัน ฉะนั้น การเกิดกรวยน้ำลดในกรณีนี้ จึงมีผลเนื่องมาจากการลดความดัน ไม่ใช่เพราะน้ำไหลออกจากกรวย เหมือนดังบ่อ Water table well กรวยประเภทนี้จึงมีชื่อเรียกว่ากรวยความดันลด (Cone of pressure relief) ส่วนการไหลของน้ำ จากชั้นน้ำเข้าสู่บ่อ ในระหว่างที่ทำการสูบในอัตราต่างๆ กัน มาจากชั้นน้ำที่หนาเท่ากัน ผ่านตัวกลางหรือช่องว่างในหินอย่างเดียวกันตลอดเวลา ความเสียดทานต่างๆ จึงมีค่าเท่ากัน ค่าปริมาณน้ำจำเพาะจึงมีเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะสูบในอัตราเท่าใด การคำนวณจึงไม่ต้องมีค่ากันผิด (Safety factor)
วิธีการทดสอบปริมาณน้ำ
การทดสอบบ่อที่เจาะเสร็จใหม่ๆ เพื่อให้รู้ปริมาณน้ำบาดาลที่จะสูบได้ มีวิธีการแบบธรรมดาๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่การทดสอบในทางอุทกธรณีวิทยาจริงๆ ต้องดำเนินการให้ละเอียดลงไปอีก คือตลอดระยะเวลาที่ทำการสูบ จะต้องสูบให้ได้อัตราคงที่สม่ำเสมอ และต้องวัดระดับน้ำในบ่อที่ค่อยๆ ลดลงไปตลอดเวลา จนกว่าน้ำจะไม่ลดลงต่อไปอีก การวัดระดับน้ำพร้อมทั้งจดเวลาที่ใช้สูบน้ำ จนน้ำไม่ลดลงนี้ บางทีต้องใช้เวลาติดต่อกันถึง 7 วัน 7 คืน หลังจากหยุดสูบแล้วจะคอยวัดระดับน้ำที่คืนตัว (Recovery) ขึ้นมาอีก กล่าวคือ เมื่อสูบน้ำ น้ำจะลดลง แต่เมื่อหยุดสูบ ระดับน้ำจะคืนตัวกลับมาอยู่ที่เดิมเสมอ ทั้งนี้หมายรวมถึงบ่อสังเกตการณ์ หรือบ่อใกล้เคียงที่น้ำในบ่อลดลงไปทั้งๆ ที่มิได้สูบ แต่ละลงเนื่องจาก อิทธิพลการสูบ หรือเนื่องจากอยู่รัศมีกรวยน้ำลดด้วย
การวัดระดับน้ำในบ่อบาดาลอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่แน่นอนได้แก่การวัดด้วยเทปวัดระยะ เทปที่ใช้มี 2 ประเภท คือ เทปเหล็ก และเทปไฟฟ้า การวัดด้วยเทปเหล็กทำได้โดยหย่อนเทปลงทางช่องว่างในบ่อ โดยกะให้ปลายเทปจมอยู่ในน้ำ พร้อมๆ กับอ่านตัวเลขที่เทปที่ปากบ่อหรือปากท่อกรุ แล้วดึงเทปขึ้นมาอ่านตัวเลขส่วนที่จมน้ำหรือเปียกน้ำตอนบนสุด ตัวเลข 2 ค่านี้ เมื่อลบกัน ก็จะได้ความลึกของระดับน้ำนับจากปากบ่อ ส่วนการวัดปริมาณน้ำนั้น ได้กล่าวในตอนต้นแล้ว ว่าเป็นการวัดอัตราการไหลของน้ำจึงคิดเป็นแกลลอนต่อนาที หรือลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง อย่างใดอย่างหนึ่ง การวัดปริมาณน้ำมีหลายวิธีเช่นเดียวกัน แต่ในที่นี้จะกล่าววิธีง่ายๆ ที่เรียกว่า วิธีการตวง กล่าวคือ ใช้ภาชนะที่รู้ปริมาตรแน่นอนไปรองรับน้ำจากเครื่องสูบ พร้อมทั้งจับเวลาที่น้ำไหลลงสู่ภาชนะตั้งแต่ต้นจนน้ำเต็ม จำนวนวินาทีหรือนาทีที่น้ำไหลเต็มภาชนะ ซึ่งรู้ความจุที่แน่นอนแล้ว เมื่อเปรียบเทียบบัญญัติไตรยางศ์โดยคิดเป็นเวลา 1 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็จะได้ค่าปริมาณน้ำที่ไหลได้ภาชนะที่ใช้ได้ดีได้แก่ปี๊บน้ำมันก๊าดแบบมาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่าปี๊บ 20 ลิตร (จุน้ำได้ 5.5 แกลลอน) หรือถังน้ำมันที่เรียกถัง 200 ลิตร (จุน้ำได้ 55 แกลลอน) ตัวอย่างเช่นใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร (ความจริง 208 ลิตร) ในการตรวจตวงน้ำ และตวงได้เต็มภายในเวลา 11 วินาที เมื่อเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ก็ปรากฏว่าใน 1 นาที จะมีน้ำไหล 55 คูณด้วย 60 หารด้วย 11 = 300 แกลลอน ฉะนั้นปริมาณน้ำที่สูบในขณะนั้น จึงเท่ากับ 300 แกลลอนต่อนาทีเป็นต้น การวัดปริมาณน้ำด้วยวิธีนี้ จะได้ค่าที่ถูกต้องแน่นอน เมื่อจับเวลาได้ถูกต้อง เวลาที่จับต้องคิดเป็นวินาทีเสมอไป
http://202.129.59.73/tn/sub/sub3.htm
-------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2016 5:44 am, แก้ไขทั้งหมด 38 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 07/04/2016 5:55 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เจาะน้ำบาดาลด้วยสว่านก้านแป๊บ :
Underground Water Drilling by Simple Tools
การเจาะน้ำบาดาลระดับตื้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ นั้นไม่ยากเลย ไม่ต้องไปจ้างใครให้เสียเงินเสียทองมาก ลองมาใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน มาเจาะดินดู
เริ่มจากการทำหัวหอกปลายแหลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ลับปลายให้คม ต่อด้วยแป๊บ 6 หุน ทำเป็นก้านๆ ก้านละ 1 เมตร ต่อด้วย ข้อต่อตรง ท่อนที่ต่อบนสุด ทำเป็นมือหมุน ปลายสุดต่อด้วยสายยางที่ใช้ปั้มความดัน
วิธีการใช้งาน เริ่มจากการต่อหัวแหลม กับก้านแป๊บ หมุนแป๊บไปทางเดียว ห้ามหมุนกลับเพราะเกลียวจะคลาย ปั้มน้ำอัดลงตามก้าน น้ำจะอัดดินเป็นน้ำขุ่นถูกดัน ขึ้นมาด้วยแรงดันน้ำล้นปากรูเจาะขึ้นมา เมื่อจมลงได้ระดับก็ต่อท่อแป๊บให้ยาวขึ้น ก็จะเจาะได้ลึกขึ้น ความลึกในการเจาะดินเหนียว ได้ถึง 25 เมตร เวลาถอนก็ใช้วิธีหมุนทางเดียว แล้วยกขึ้นมา
หลังจากเจาะเสร็จ ก็ใช้ท่อแป๊บ 1.5 นิ้ว มาใส่หัวกระโหลก หย่อนลงไป แล้วต่อลงไปเรื่อยๆ จนให้ปลายพ้นพื้นดินประมาณ 50-70 เซนติเมตร เอาท่อครึ่งนิ้วมาใส่ในท่อลงถึงก้นบ่อ ต่อกับปั้ม เพื่อสูบขึ้นมาใช้ต่อไป
พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management
http://www.budmgt.com/miscell/mc01/ug-water-drill-simple.html
---------------------------------------------------------------
ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน :
น้ำยังคงเป็นปัญหาใหญ่ บันทึกนี้แนะนำหัวขุดสำหรับเจาะหาน้ำบาดาลในระดับตื้นๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ง่ายๆ ด้วยท่อ พีวีซี โดยตะไบปลายท่อ พีวีซี ให้เป็นปากฉลาม (วิธีนี้จะขุดผ่านหินไม่ได้ แต่ว่าขุดผ่านดิน ดินเหนียว ทรายได้ ส่วนดินดานอาจจะเจาะยากหน่อยครับ)
ส่วนการขุด ก็ใช้วิธีเดียวกับการขุดบ่อบาดาลทั่วไป คือ หมุนท่อขุดไปเรื่อยๆ หมุนกลับไปกลับมาก็ได้ แต่ส่งน้ำลงไปกลางท่อ ทำให้น้ำที่ไหลออกด้านล่าง ดันดินและทรายขึ้นมาบนผิวดิน
คำว่าบ่อบาดาลตื้น หมายถึงบ่อที่มีระดับน้ำ (Water table) 5-8 เมตร ซึ่งมักจะเป็นที่ลุ่ม เพราะว่าท่อที่ใช้ขุดมีขนาด 2 นิ้ว ทำให้ต้องติดตั้งปั๊มบนผิวดินแล้วดูดน้ำขึ้นมา; ถ้าใช้ท่อขนาดใหญ่ 4 นิ้วเพื่อที่จะเอาปั๊มแบบ submerge ใส่ลงไปที่ก้นบ่อ ก็จะต้องใช้น้ำที่มีแรงดันอัดลงไปในตอนขุด ซึ่งอาจไม่เหมาะที่จะเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีชาวบ้าน แต่ถ้ามีเครื่องเจียรโลหะ ก็อาจใช้ท่อโลหะเจียรเป็นปากฉลามได้
ในเมืองสร้างตึกระฟ้ามีน้ำประปา บ้านนอกในขณะนี้ต้องพึ่งพาตนเองมาก จะไปหวังให้เป็นเหมือนเมืองในทันทีทันใดคงไม่ได้ ก็ต้องมองทางด้านตรงข้ามบ้างเหมือนกัน แทนที่จะมองไปบนฟ้า ผมว่ามองลงไปในดินอาจจะเหมาะกว่าครับ
http://lanpanya.com/wash/archives/1718
-----------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5233
ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ 29 NOV *วิธีหาน้ำบาดาล-บาดาลที่ RKK
------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2016 4:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 09/04/2016 7:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ใช้น้ำบาดาลในไร่อ้อย..ก็ต้องขออนุญาต นะพี่นะ
..... มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายน้ำบาดาลมานิดๆ หน่อยๆ .. เลยเอามาให้พี่ๆ ชาวอ้อยและน้ำตาลได้ทบทวนความจำ..
..... พึ่งรู้ว่า ก่อนเจาะบ่อบาดาล ต้องขออนุญาตจากพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ เสียค่าธรรมเนียมคำขอฯ 10 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 500 บาท
.. หลังเจาะได้แล้ว ต้องขออนุญาตใช้.. ค่าธรรมเนียมคำขอ 10 บาท และผู้ใช้ต้องส่งน้ำไปวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อยืนยันว่าไม่มีสารเคมีอันตรายในแหล่งน้ำสามารถใช้อุปโภค บริโภคได้.. เรื่องนี้สำคัญนะพี่นะ ที่ลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่ ..บ่อบางแห่งมีแร่ฟลูออไรด์เกินกำหนด เด็กดื่มทำให้ฟันตกกระ เป็นจุดดำ แม่ดื่มทำให้ลูกมีปัญหาโครงสร้างของกระดูก.. เรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้น้ำเอง .. เสียค่าวิเคราะห์ 1200 บาท.. และถ้าน้ำมีคุณภาพดีสามารถใช้ได้ ต้องเสียค่าใบอนุญาตอีก 500 บาท
.. การใช้น้ำเพื่อการเกษตร (เฉพาะปลูกพืช) ในเขตไม่มีน้ำประปา ไม่เรียกเก็บค่าใช้น้ำ "แต่ก็ต้องขออนุญาต นะพี่นะ" (ค่าใช้น้ำคิดจากมิเตอร์ในอัตรา ลูกบาศก์เมตรละ 3.50 บาท)
.. กรณีไม่ขออนุญาต หรือที่เรียกว่าบ่อเถื่อน ถูกจับได้.. "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะริบเครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ก็ได้"
.. พี่ๆ ชาวไร่อ้อยที่สูบน้ำเข้าไร่ทำเงินกันเพลิน.. หวังว่าจะขออนุญาตถูกต้องตามกฏหมายนะเสี่ยนะ
.. พี่ๆ ฝ่ายไร่ของโรงงาน ก่อนอนุมัติเงินกู้ค่าเจาะบ่อบาดาล คงไม่ลืมเตือนชาวไร่ให้ทำตามกฎหมายนะพี่นะ เสียตังค์เพิ่มไม่เท่าไหร่หรอก สงสารชาวไร่ที่ไม่รู้กฎหมายจะเสียประโยชน์ภายหลัง หรือถ้าอยากให้แน่ใจว่ากฎหมายที่รู้มาจะถูกผิด คลาดเคลื่อนหรือไม่อย่างไร ลองเสนอให้ทางราชการช่วยเป็นเจ้าภาพอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้น้ำบาดาลและการสร้างบ่ออย่างถูกวิธี รวมถึงการใช้น้ำบาดาลอย่างอนุรักษ์อีกเรื่องนึง ให้กับตัวแทนทุกโรงงานฯ .. วันเดียวก็น่าจะได้การ..
.. อย่ามองข้ามการเจาะบ่ออย่างถูกวิธี เคยได้ยินพี่ๆ ทาง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เล่าว่าบ่อที่เจาะลึก 30 เมตร เมื่อปีก่อนยังใช้น้ำได้ ปีนี้แล้งต้องเจาะลึกเป็น 50 เมตร.. ทิ้งเงินไปหลายตังค์เลย .. บ่อที่เจาะถูกวิธี จะเจาะให้ลึกไว้ก่อนเพื่อเลือกระดับความลึกที่ให้น้ำปริมาณมากสุด และสร้างบ่อให้มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ใช่เป่าล้างบ่อทีเดียวบ่อพัง
.. สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ กฎหมายกำหนดให้ ช่างเจาะน้ำบาดาลต้องเก็บตัวอย่างดินทุกความลึก 1.50 เมตร ส่งให้พนักงานน้ำบาดาล ซึ่งตัวอย่างดินเหล่านี้จะถูกนำไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาด้านสารสนเทศน้ำบาดาลต่อไป.. การเลี่ยงกฎหมายโดยการเจาะบ่อแบบเถื่อนๆ ทำให้เราเสียโอกาสการเพิ่มฐานข้อมูลชั้นดินและน้ำบาดาลอย่างน่าเสียดาย..
.. ถึงแม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะผ่อนปรนความเข้มงวดเรื่องการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ตามนโยบายแก้ปัญหาภัยแล้ง.. แต่สักวันเรื่องนี้ต้องถูกนำมาพิจารณาแหงๆ และแน่ใจได้เลยว่าไม่มีการแจกสร้อยทอง 2 บาทให้เจ้าของบ่อเถื่อนแน่.. จะมีก็แต่เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งวัดดวงว่าใครจะโดนเท่าไหร่ "ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่"
.. ดังนั้น จึงขอเสนอแนะถึงผู้ที่จะเจาะบ่อบาดาลในอนาคตอันใกล้นี้ โปรดทำตามขั้นตอนของกฏหมาย ที่ทำให้เสียตังค์เพิ่มขึ้น 2,220 บาท แต่.. สบายใจไปนาน..
.. และสำหรับผู้ที่เจาะบ่อโดยไม่ขออนุญาต.. แนะนำให้สูบน้ำเข้าไร่อ้อยโดยให้เมียคุมเครื่องสูบ.. ส่วนพี่ก็ดอดไปแจ้งพนักงานน้ำบาดาลให้มายึดของกลาง (โดยถือเมียเป็นส่วนควบของของกลาง) ไปเข้ากรุ.. ก็.. สบายใจได้หลายวัน.. เหมือนกัน..
ที่เคยไปคุยกะชาวไร่และฝ่ายไร่อ้อยแถวสุพรรณ-อุทัย เขาบอกว่าไม่รู้เลยว่าการเจาะบ่อบาดาล ทำไมเจาะแล้วไม่ได้น้ำแต่ผู้รับเจาะขอเงินค่ากินเปล่า 10-20% ต่อบ่อบ้าง บางทีรู้สึกเหมือนถูกหลอกให้เจาะหาไป 2-3หลุม ไม่ได้น้ำแต่ต้องเสียเงินเปล่าๆหลายหมื่น ทำไงให้มั่นใจในการทำบ่อบาดาล
ตามวิธีการที่ทำตามหลักการสำรวจทั้งสากลหรือที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลใช้ จะต้องนำการสำรวจด้วยนักธรณีวิทยาหรือนักอุทกธรณีฯ ที่มีการศึกษาข้อมูลน้ำบาดาลภูมิหลัง หรือหากเป็นพื้นที่ใหญ่ก็จะมีการใช้เครื่องมือธรณีฟิสิกส์ช่วยก่อน เพื่อให้ทราบประมาณการความลึก-ความหนา-ปริมาณ-และคุณภาพของชั้นน้ำบาดาลก่อนลงมือตัดสินใจเลือกตำแหน่งเจาะบ่อบาดาล
หลังจากเจาะเสร็จตัวอย่างดินหินที่ขึ้นมาขณะเจาะจะบ่งบอกแค่ลักษณะชั้นน้ำได้พอประมาณแต่ยังมีคลาดเคลื่อนที่ตำแหน่งความลึกและความหนาชั้นน้ำ หากไม่ได่ใช่เครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ช่วย ก็จะทำให้การกำหนอการวางท่อเซาะร่องไม่ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุด (ที่ได้น้ำบาดาลดีที่สุดน้ำมากที่สุด) รวมทั้งการก่อสร้างบ่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่อาจก่อปัญหาตามมา เช่น สูบมาใช้แล้วน้ำแห้งไว หรืออายุบ่อบาดาลใช้ได้ไม่กี่ปีก็ต้องปิดบ่อแล้วเป็นต้น จึงใคร่เสนอไว้เพื่อให้ประกอบการพิจารณา
อีกนิดหนึ่ง การคาดการณ์ในอนาคตของบ่อน้ำบาดาล กะ ไร่อ้อย
เนื่องจากว่าไร่อ้อยหากไปเปรียบกะกลุ่มทำนา ไร่อ้อยดูๆ ว่าในสายตามองว่าไม่ค่อยมีการสนับสนุนส่งน้ำผิวดินให้ (แต่คงไม่ไปเปรียบว่าเป็นลูกเมียน้อยนะ) อาจเป็นเพราะเราก็ยังต้องกินข้าวอยู่และการใช้น้ำของอ้อยก็ไม่ได้ต้องขังน้ำให้ท่วมในแปลงอ้อยนะ ขอมีน้ำมาใช้รด มาหยดบ้างยามฝนแล้ง อ้อยก็ได้ร่วม 25 ตันต่อไร่
มองไปว่าคำตอบสำหรับไร่อ้อยในอนาคตที่คิดได้วันนี้ คงต้องมีบ่อบาดาลกระจายหลาย 100 บ่อต่อ 1 กลุ่มไร่อ้อยในแต่ละพื้นที่โรงงาน
หากเป็นจริงดังว่ากฏหมายควบคุมบ่อบาดาลก็คงเข้มข้นเรื่อยๆ เพราะกรณีตัวอย่างหลายที่เช่นโรงงานที่รายรอบ กทม.-ปริมณฑล การสร้างบ่อบาดาลไม่ดีหรือบ่อเถื่อน ก่อให้เกิดการเสียหายต่อชั้นน้ำบาดาล เพราะบ่อรั่ว-บ่อพัง-เลิกใช้ไม่อุดกลบที่ดีพอ หรือใช้น้ำเกินปริมาณเหมาะสม ก่อให้เกิดการแทรกของน้ำเค็ม หรือน้ำเสียไหลลงไปในบ่อบาดาล พาลให้อดใช้น้ำบาดาลกันเป็นบริเวณกว้าง (ชั้นน้ำบาดาลระดับตื้นเสียหาย) เลยต้องหนีไปใช้ลึกขึ้นๆ ไง เสียดายเงินกะ ก่อผลโดยอ้อมต่อระบบนิเวศของน้ำบาดาล
ดังนั้นหากชาวไร่และโรงงานเล็งเห็นปัญหาในข้อนี้ ก็ฝากไว้ให้พิจารณาใช้บริการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเถอะ เผลอๆ จะได้บ่อบาดาลมาเจาะให้ฟรีนะ ลองดูซิ ให้โรงงานฝ่ายไร่นั่นแหละช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำร่องเดินเข้าไปทำความรู้จัก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะดีไหม อยู่แถวแยกเกษตร กทม. ครับ
http://oldweb.ocsb.go.th/webboard.asp?where=answer&id=230&VIEW=4947
---------------------------------------------------------------------
ธุรกิจขุดเจาะบ่อบาดาลงานล้นมือ ชาวนาทุ่มสุดตัวบ่อละแสนแห่ตุนน้ำปลูกข้าวนาปรัง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อานิสงส์ภัยแล้ง-กรมชลประทานหยุดส่งน้ำทำนาปรัง ธุรกิจรับขุดเจาะบ่อบาดาลเฟื่องฟู ชาวนาภาคกลางลุ่มเจ้าพระยาทุ่มหมดหน้าตักแห่สำรองน้ำ ผู้ประกอบการเมืองพิจิตรเผยงานล้นมือในรอบ 10 ปี ยอดพุ่ง 50% ต้องแจกบัตรคิวรับมือลูกค้าทะลัก พร้อมดัมพ์ราคาช่วยชาวนา ขณะที่กลุ่มลูกค้ารีสอร์ต-โรงงานชะลอตัว หลังเศรษฐกิจซบนาน
โตเงียบ - จากสถานการณ์น้ำต้นทุนในเขื่อนสำคัญทางภาคเหนือเหลือน้อย มีโอกาสเกิดภัยแล้งรุนแรงในปี 2558 ทำให้ชาวนาและประชาชนภาคกลางแห่ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลรับมือ ส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว
นายบุญช่วย จ่าเชิญ เจ้าของกิจการขุดเจาะน้ำบาดาล บริษัท บ่อบาดาล จำกัด ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตั้งแต่กลางปี 2557 จนถึงขณะนี้มีชาวนาในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และนครสวรรค์แห่ขุดบ่อบาดาลมากขึ้น เพื่อสำรองน้ำไว้ทำนา และเตรียมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 หลังจากน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์เหลือน้อย ซึ่งกรมชลประทานจะงดจ่ายน้ำสำหรับการทำนาปรัง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2557-30 เม.ย. 2558
ทั้งนี้ ทำให้ชาวนาตื่นตระหนกแห่ขุดบ่อบาดาลเพิ่มขึ้น 50% เป็นปรากฎการณ์สูงสุดในรอบ 10 ปี แนวโน้มต้นปี 2558 จะสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้บริษัทขาดแคลนบุคลากร ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า แม้ว่าจะนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยแล้วก็ตาม จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยการออกบัตรคิวให้ลูกค้า ส่วนราคาขุดเจาะอยู่ที่บ่อละ 1 แสนบาท แต่บริษัทได้ปรับลดราคาลง 20-30% เพื่อช่วยเหลือชาวนา และยังสามารถจ่ายเป็นงวด เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของชาวนาอีกด้วย
นอกจากนั้น ธุรกิจรับซ่อมท่อน้ำบาดาลเก่าก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วย รวมทั้งการติดตั้งหอถังเหล็กเก็บน้ำ เครื่องสูบน้ำบาดาล ระบบกรองน้ำบาดาล และถังพลาสติกขนาดใหญ่ที่ใช้เก็บน้ำได้ในปริมาณมาก ซึ่งขณะนี้ในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ตลาดมีความต้องการสูงมาก
นางสำเนา มาฆะ ชาวนาตำบลคอทราย อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า ชาวนาในจังหวัดสิงห์บุรีเริ่มหันมาขุดบ่อบาดาลมากขึ้น เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ทำนาและอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งปีนี้ ทำให้ธุรกิจขุดเจาะน้ำบาดาลคึกคักมาก และยังมีกลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบล เริ่มทำแผนสำรองน้ำรับมือภัยแล้งแล้ว
แหล่งข่าวจากบริษัทรับจ้างขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ในจังหวัดสมุทรปราการเปิดเผยว่า ธุรกิจขุดเจาะน้ำบาดาลสำหรับเกษตรกรรมเติบโตขึ้น เพราะเกษตรกรได้เร่งหาน้ำสำรองเพื่อทำนาปรัง โดยมียอดจองขุดบ่อเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30-40% โดยเฉพาะในจังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี ราคาค่าเจาะบ่อละ 6 หมื่นบาท
"ขณะนี้มีคิวจองไว้ 10 กว่าบ่อ โดยปกติจะขุดลึก 20-30 เมตร แต่ปัจจุบันต้องเจาะบ่อให้ลึก 40-60 เมตร จึงจะคุ้มค่าได้น้ำเพียงพอ เพราะน้ำในดินถูกสูบนำไปใช้มากแล้ว"
สำหรับธุรกิจอื่นๆ เช่น รีสอร์ต บ้านพัก มีสัดส่วนลูกค้า 30-40% แต่ปัจจุบันบริษัทได้งดรับงานขุดเจาะในธุรกิจประเภทนี้แล้ว เพราะรัฐบาลเข้มงวดการอนุญาตขุดเจาะ และควบคุมพื้นที่ชายเขา/รอยต่อพื้นที่ป่า เพื่อป้องกันการรุกพื้นที่รัฐ โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ซึ่งมีกิจการที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก
นายเอกพันธ์ สืบเพ็ง เจ้าของกิจการบ้านน้ำบาดาล จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า มียอดเฉลี่ยขุดเจาะบ่อบาดาลเดือนละ 4-5 บ่อ ซึ่งเกษตรกรต้องมีกำลังซื้อพอสมควร เพราะราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ 3-5 หมื่นบาท/บ่อ ถ้าขุดลึกถึง 100 เมตร ราคาจะอยู่ที่หลักแสนบาท
ปัจจุบันพบปัญหาบ่อบาดาลไม่ได้คุณภาพจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าซ่อมบ่อบาดาลอีก 10,000-20,000 บาทต่อครั้ง หรือบางรายต้องทุบแล้วสร้างบ่อใหม่ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรตรวจสอบผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ การออกแบบให้ตรงตามมาตรฐาน และมีสัญญาจ้างที่ชัดเจน
ด้านนายจักรพันธ์ มีสุขยอด ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด อาณาจักรวิศวกรรมบาดาล กล่าวถึงความต้องการเจาะบ่อบาดาลในภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ว่า ธุรกิจภาพรวมไม่เติบโต เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้การลงทุนใหม่ หรือขยายกิจการมีน้อย ฉะนั้น ธุรกิจน้ำบาดาลที่เน้นภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก จึงต้องรอดูว่าปี 2558 ภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414995547
----------------------------------------------------------------------
เฮ! ยิ่งกว่าถูกหวย
เจ้าหน้าที่เร่งขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ภาคอีสานสู้ภัยแล้ง ปรากฏบ่อหนึ่งที่บ้านผือ อุดรธานี มีน้ำบาดาลล้นทะลักขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ชาวบ้านเจ้าของบ่อถึงเฮลั่น ละล่ำละลักดีใจยิ่งกว่าถูกหวย ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ชี้เกษตรกรให้ความร่วมมือส่วนใหญ่งดทำนาปรัง คาดสามารถบริหารจัดการน้ำผ่านวิกฤติไปได้
นายอิศเรศ ดลประสิทธิ์ หัวหน้าช่างเจาะบ่อบาดาล สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 10 อุดรธานี เปิดเผยถึงการขุดเจาะน้ำบาดาลในโครงการแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในที่ดินสำนักงานการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ว่า ศูนย์อุดรธานีมีทีมเจาะบาดาล 7 ชุด ชุดละ 6 คน ดูแลรับผิดชอบ 6 จังหวัดอีสานตอนบน แต่ละชุดจะใช้เวลาเจาะเฉลี่ย 2-4 วัน ปรากฏว่าการขุดเจาะที่บ้านโนนดู่ หมู่ 5 ต.โนนทอง อ.บ้านผือ เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา ของนางทองใส เสียงสนั่น อายุ 58 ปี พบบ่อบาดาลพุมีน้ำไหลออกมาจากบ่อเจาะเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบ ในอัตรา 40 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ซึ่งมีโอกาสน้อยมากในพื้นที่ภาคอีสาน และไม่เคยเห็นเช่นนี้มาหลายปีแล้ว เมื่อปล่อยให้น้ำไหลออกมากพอสมควรจึงนำท่อมาสวมไว้ นับว่าธรรมชาติได้มอบของขวัญปีใหม่ให้กับราษฎรบ้านโนนดู่
ขณะที่นายวิทยา มีนิสัย ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลที่ 10 อุดรธานี กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้รับงบเจาะ 121 บ่อ เฉลี่ยจังหวัดละ 20 บ่อ ถึงวันนี้เจาะไปแล้ว 80 บ่อ คาดจะแล้วเสร็จในเดือนหน้า น้ำที่ได้ไม่เป็นกรด-ด่าง ไหลออกมา 40 ลบ.ม.ต่อ ชม. ไม่ต้องใช้เครื่องสูบ ปริมาณน้ำสูงกว่าบ่อบาดาลมาตรฐานที่จะมีน้ำจากการสูบ 10 ลบ.ม.ต่อ ชม. ถือเป็นความโชคดีที่สุด ตามแผนจะได้รับการพัฒนาจาก 3 ฝ่าย คือ กลุ่มชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล ที่จะมีการพูดคุยกันเร็วๆ นี้
สำหรับน้ำบ่อบาดาลพุที่บ้านของนางทองใสแห่งนี้ มีความลึกลงไป 62 เมตร เกิดในชั้นหินภูทอก สภาพเหมือนกับภูทอกที่ จ.บึงกาฬ ส่วนอีกบ่อที่พบ จ.สกลนคร น้ำไม่มากเท่าครั้งนี้ การเจาะพบบาดาลพุก็มีน้อยมาก
ด้านนางทองใสกล่าวว่า ดีใจมากกว่าถูกหวยหลายเท่า เพราะน้ำไหลออกมาไม่หยุด จึงชวนเพื่อนบ้านทำเครื่องไหว้แม่พระธรณี ตามประเพณีอีสานเป็น พาหวาน คือ ไม่มีเนื้อสัตว์ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่ดีที่สุด ตั้งใจจะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งนี้เป็นข้าวโพด ขอขอบคุณรัฐบาลที่มีโครงการดังกล่าวมาสู่ชาวบ้าน
บุรีรัมย์ จากภาวะภัยแล้งที่ปีนี้มาเร็ว และขยายวงกว้างครอบคลุมในพื้นที่หลายอำเภอของ จ.บุรีรัมย์ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งไปทั่วทุกหนแห่ง น้ำในหนองน้ำขนาดเล็กในหลายหมู่บ้านต่างแห้งขอด รวมทั้งแหล่งน้ำข้างทาง ทำให้จับปลาได้ง่าย ชาวบ้านจึงพลิกวิกฤติเป็นโอกาส โดยชาวบ้านบ้านหนองไทร ต.หนองขมาร อ.คูเมือง ได้รวมกลุ่มกันขี่รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง พร้อมด้วยอุปกรณ์จับปลาพื้นบ้านที่มีในครัวเรือน ทั้งสวิง ตะแกรง และถังน้ำ ตระเวนออกหาจับปลาในหนองน้ำที่ใกล้แห้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำที่มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อน้ำแห้งขอดก็สามารถจับปลา กุ้ง ปู กบ โดยเฉพาะปลาช่อนและปู รวมทั้งปลาซิวได้จำนวนมาก นำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัว เหลือก็จะนำไปขายในหมู่บ้านและตามตลาด เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวในช่วงหน้าแล้ง เฉลี่ยวันละ 200-500 บาท
นางแต คงทน อายุ 60 ปี หนึ่งในชาวบ้านบ้านหนองไทรที่มาหาปลา บอกว่า ปกติทำงานรับจ้างทั่วไป ช่วงนี้ว่างงาน ในแต่ละวันได้พากันขี่รถจักรยานยนต์พ่วงข้างตระเวนออกหาจับปลาตามแหล่งน้ำที่ตื้นเขินในหมู่บ้านและแหล่งน้ำข้างทาง ได้ทั้งปลาตัวเล็ก-ใหญ่ กุ้ง ปู หอย นำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัว ส่วนที่เหลือก็จะนำไปขายให้กับเพื่อนบ้านและขายที่ตลาดสด มีรายได้ได้ไม่ต่ำวันละกว่า 200-500 บาท ดีกว่าไปขายแรงงานต่างจังหวัดและยังได้อยู่ดูแลครอบครัวอีกด้วย
นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ กล่าวว่า หลังจากเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้มีปริมาณน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำน้อยลง แต่ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในการงดทำนาปรัง ทำให้สถานการณ์น้ำยังสามารถบริหารจัดการได้ จากภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร ทำนาปรังน้อยมาก โดยทั่วประเทศมีการทำนาปรังกว่า 1,660,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี และปทุมธานี ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดดังกล่าวอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ของตัวเอง
ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์มั่นใจว่าหากไม่มีการทำนาปรังเพิ่มขึ้นจะสามารถผ่านวิกฤติแล้งนี้ไปได้ ส่วนสถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์อยู่ที่ 4,657.20 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48.97 ปริมาณน้ำพร้อมใช้งาน 1,807.20 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27.14 มีการปล่อยน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภควันละ 8.58 ล้านลูกบาศก์เมตร.
http://www.thaipost.net
------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 09/04/2016 7:21 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ปรึกษาด่วนค่ะ หน่วยบาดาลจะให้จ่ายค่าใช้นํ้าย้อนหลังร่วมแสน
กระทู้คำถาม
กฎหมายชาวบ้าน
ที่บ้านอยู่ชานเมืองต่างจังหวัด ทำร้านอาหารด้วย เจาะนํ้าบาดาลใช้มาสิบปีแล้ว ตอนเจาะถามคนมารับเจาะว่าต้องขออนุญาติมั้ย เค้าบอกเจาะไม่ลึกไม่ต้องขอ แถวบ้านไม่มีประปา เราจึงใช้บาดาลมาตลอด
สองวันก่อน คนจากหน่วยบาดาลมาด้อมๆมองๆ เห็นเราใช้นํ้าบาดาล ก็มาบอกว่าผิดกฏหมายให้ไปขออนุญาติ ติดมิเตอร์ และเสียค่าปรับ แถมค่าใช้นํ้าย้อนหลัง 5 ปี รวมกันเป็นเงินร่วมแสน
อยากทราบว่า เคยมีใครต้องจ่ายค่าใช้นํ้าย้อนหลังกันบ้างมั้ยคะ เค้ามีสิทธิในการเรียกเก็บจริงหรือ
ค้นดูใน พรบ.นํ้าบาดาลก็ไม่มีระบุว่าต้องจ่าย จะทำไงดีคะ มันหลายตังค์อยู่นะ
---------------------------------------------------------------------
CookingMink
17 สิงหาคม 2556 เวลา 13:06 น.
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
กำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกน้ำบาดาลในเขตพื้นที่จังหวัดต่างๆ
กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม
ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า 15 เมตร
-------------------------------------------------------------------------
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า 20 เมตร
-------------------------------------------------------------------------
กระบี่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตราด ตรัง ตาก นครนายก นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เพชรบุรี แพร่ พังงา พัทลุง ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน สงขลา สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อ่างทอง อุทัยธานี อุตรดิตถ์
ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า 30 เมตร
-------------------------------------------------------------------------
ที่บ้านอยู่จังหวัดอะไร ก็ให้ดูที่ความลึกเป็นหลักตามที่ระบุไว้
- ถ้าที่บ้านคุณเกินกว่าที่กำหนด ก็ต้องทำให้ถูกต้องครับ ในเรื่องของน้ำบาดาล คือไปยื่ขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล
ส่วนเรื่องค่าปรับ เท่าที่อ่านมา ไม่มีข้อกำหนดในการปรับ หรือค่าใช้น้ำย้อนหลังครับ * คนจากหน่วยบาดาล ที่คุณว่ามา ไม่มีสิธิเรียกเก็บครับ *
กรณีที่มีบ่อน้ำบาดาลอยู่แล้ว (บ่อเก่าที่ยังไม่เคยได้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล)
กรณีที่ผู้ครอบครองบ่อน้ำบาดาลอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เคยได้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หากประสงค์จะขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (ตามแบบ นบ.2) ต่อพนักงานน้ำบาดาลท้องที่ พร้อมตัวอย่างน้ำบาดาลจากบ่อที่จะขอรับใบอนุญาต ไม่น้อยกว่า 1.5 ลิตร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและเคมีพร้อมชำระค่าธรรมเนียนคำขอๆละ 10 บาท และค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำบาดาล ตัวอย่างละ 1,200 บาท (หากวิเคราะห์จากสถาบันอื่นแล้วไม่ต้องส่งตัวอย่างน้ำ แต่ต้องส่งผลวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำนั้น)
เอกสารที่ต้องยื่นพร้อมคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล
1. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอหรือผู้รับมอบอำนาจ
2. หนังสือมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง)
3. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน (กรณีเป็นโรงงานอุตสาหกรรม)
4. แผนที่สังเขปแสดงเส้นทางและสถานที่ตั้งบ่อน้ำบาดาล
-------------------------------------------------------------------------
- ถ้าไม่เกินที่กำหนดจะเรียกว่าเป็น น้ำใต้ดิน ไม่ใช่น้ำบาดาล ถ้าเขาจะฟ้องก็ให้ฟ้องเลยครับ เพราะ ไม่เข้าเกณฑ์ของข้อกำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกน้ำบาดาลในเขตพื้นที่จังหวัดต่างๆ
ถึงฟ้องมา ผมคิดว่ายังไงก็ชนะครับ แต่จะเสียเวลาและความรู้สึกมากกว่าครับ
(ถ้าเขาฟ้องจริง ก็สามารถฟ้องกลับในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, เรียกรับสินบน, ขมขู่ ขืนใจให้ปฏิบัติ และหรือไม่ปฏิบัติ ฯลฯ กับเจ้าหน้าที่คนนั้นด้วย แล้วอย่าลืมถ่ายรูปหรือวิดีโอ (กล้องวงจรปิดก็ได้) )
ผิดถูกอย่างไร เดี๋ยวให้คนรู้เรื่องกฎหมายมาช่วยอีกทีก็ดีครับ
http://pantip.com/topic/30853850
----------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2016 4:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 09/04/2016 7:35 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ตะลึง ! ชาวบ้านเจาะบ่อบาดาลเจอแก๊ส LPG เหลว ติดไฟได้
เจ้าของอู่ซ่อมรถ อ.แม่สอด จ.ตาก วอนเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบด่วน หลังขุดบ่อเจาะน้ำบาดาล แต่กลับเจอแก๊ส LPG จำนวนมาก หวั่นเกิดอันตราย เพราะแก๊สที่พบสามารถติดไฟได้
วันที่ 2 มิถุนายน 2558 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายสัญญา สัญญาศิริ อายุ 41 ปี เจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์ สัญญาศิริ เลขที่ 334 ม.2 ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก ว่า หลังทำการขุดเจาะน้ำบาดาลบริเวณอู่ซ่อมรถ กลับพบแก๊สพุ่งขึ้นมาส่งกลิ่นเหม็น จนต้องแก้ไขด้วยการวางท่อเอสล่อนแล้วใช้น้ำหล่อลงไปในท่อเพื่อดับกลิ่นแก๊ส
ทั้งนี้ นายสัญญา เปิดเผยว่า ตนได้ทำการว่าจ้างรถมาเจาะน้ำบาดาล เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความแห้งแล้ง แต่เมื่อเจาะลึกลงไปประมาณ 70 เมตร ก็ไม่พบน้ำแต่กลับพบกลิ่นแก๊สโชยมาแทน ตนจึงใช้วิธีฝังท่อเพื่อหล่อน้ำไม่ให้ความดันของแก๊สโชยขึ้นมา พร้อมกับทดลองเอาถุงพลาสติกขนาดใหญ่อัดแก๊สเอาไว้แล้วใช้ไฟจุด ปรากฏว่าแก๊สสามารถติดไฟได้ จึงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบในเรื่องนี้โดยด่วน
ล่าสุด นายปรีชา ใจเพชร นายอำเภอแม่สอด ได้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องราวดังกล่าว ผลปรากฏว่าแก๊สที่พบนั้นเป็นแก๊สแอลพีจีเหลว ที่สามารถนำไปใช้งานได้
ทั้งนี้จึงวอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ และจัดการในเรื่องนี้โดยด่วน เพราะขณะนี้ตนไม่กล้าใช้เครื่องเชื่อมเหล็กบริเวณอู่ เพราะกลัวประกายไฟไปติดแก๊สและทำให้ไฟลุกไหม้ขึ้นได้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
http://hilight.kapook.com/view/121321
คลิกดูภาพ :
----------------------------------------------------------
แตกตื่น ! ชาวชัยภูมิพบน้ำในบ่อบาดาล จุดไฟติด
Spring Update ทันเหตุการณ์ ท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 08 เมษายน 2016 เวลา 11:29 น. pawinee
ชาวบ้าน จ.ชัยภูมิ พบบ่อบาดาลที่เคยขุดทิ้งไว้นานกว่า 20 ปี มีน้ำเหนียวข้น สามารถติดไฟได้ คล้ายกลายเป็นบ่อน้ำมัน พร้อมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนเกิดอันตราย
วันที่ 8 เม.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้าน บ้านโนนงิ้ว หมู่ 1 ต.หนองขาม อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นำน้ำจากบ่อบาดาลมาจุดไฟให้ผู้สื่อข่าวดูว่าสามารถเป็นเชื้อเพลิงได้ โดยบ่อบาดาลดังกล่าว อยู่ในบ้านของ นายคำปุ่น และ นางราตรี คำพล สองสามีภรรยาชาวไร่ข้าวโพด
นายคำปุ่น ระบุว่า พบความแปลกประหลาดของน้ำภายในบ่อบาดาลแห่งนี้ หลังจากเมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมา ตนทำการล้างบ่อบาดาล ซึ่งขุดและปล่อยทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี เพื่อนำน้ำมาใช้หลังเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างหนักในพื้นที่ แต่เมื่อสูบน้ำขึ้นมา ปรากฏว่า น้ำมีลักษณะเหนียวข้นและมีกลิ่นคล้ายน้ำมัน ตนจึงไปบอกเพื่อนบ้านให้มาช่วยดู ซึ่งต่างก็บอกว่าเป็นน้ำมัน และพากันทดลองนำน้ำที่ตักขึ้นจุดไฟ ก็สามารถติดได้อย่างง่าย และลุกไหม้อย่างรวดเร็วไม่ต่างจากน้ำมัน
ทั้งนี้ หลังจากข่าวแพร่สะพัดออกไป ได้มีชาวบ้านพากันมาดูด้วยความตื่นเต้น หลายคนถึงขนาดตักใส่ขวดกลับบ้าน เพื่อนำไปใช้เติมเครื่องสูบน้ำ และใช้จุดไฟตะเกียงใช้ตามบ้าน เพื่อทดลองดูอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตนเชื่อว่าด้านล่างใต้ที่ดินที่ตนเคยขุดเจาะบ่อบาดาลไว้ น่าจะมีน้ำมันอยู่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลงมาตรวจสอบ เพราะหวั่นเกิดอันตราย หากมีใครโยนทิ้งไฟลงไปในบ่อ
ติดตามสถานการณ์อื่นๆ ผ่าน Official Account Line SpringNews
http://www.springnews.co.th/local/northeast/284748
คลิกดูภาพ :
-----------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 10/04/2016 4:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ระทึก ! ! ปี 2559 ประเทศไทยอาจแล้งที่สุดประวัติศาสตร์
แม้ว่าในขณะนี้ประเทศไทยจะมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ จนเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำท่วมฉับพลัน แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วประเทศไทยมีโอกาส ความสุ่มเสี่ยงในระดับที่สูงอย่างยิ่งที่จะเผชิญกับวิกฤตภัยแล้งที่หนักหนาสาหัสมากกว่าเมื่อช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
เป็นเพราะว่าฝนที่ตกลงมาไม่ได้ตกลงในส่วนของการกักเก็บน้ำทำให้ปริมาตรน้ำในอาจเก็บกักขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศมีปริมาตรน้ำที่น้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง1เท่าตัว เพราะฉะนั้นแทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่าหากสภาพดินฟ้าอากาศยังเป็นเช่นนี้ สถานการณ์ภัยแล้งในปีหน้าจะหนักหนามากกว่าปีนี้อย่างแน่นอน
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 41,730 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 56 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 17,927 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35)
ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2557 (46,778 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63) น้อยกว่าปี 2557 จํานวน 5,048 ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จํานวน 253.90 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จํานวน 93.27 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 33,058 ล้าน ลบ.ม
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ วันที่ 7 ตุลาคม 2558 โดยกรมชลประทาน
อ่างเก็บน้ำภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่างกักเก็บ 36% ปริมาตรน้ำใช้การได้ 10%
อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่างกักเก็บ 48% ปริมาตรน้ำใช้การได้ 25%
อ่างเก็บน้ำแควน้อยฯ ปริมาตรน้ำในอ่างกักเก็บ 36% ปริมาตรน้ำใช้การได้ 32%
อ่างเก็บน้ำป่าสักฯ ปริมาตรน้ำในอ่างกักเก็บ 32% ปริมาตรน้ำใช้การได้ 32%
ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจำนวน 11,151 ล้านบาทเศษ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งปี 58/59 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
โดยเป็นการเสนอขออนุมัติงบกลางเพิ่มอีกจำนวน 4,071 ล้านบาท งบประมาณปกติจำนวน 6,752 ล้านบาท และงบกลางเดิม 327 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายพื้นที่วิกฤตภัยแล้งการเกษตรในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด มีเกษตรกรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 330,000 ครัวเรือน และพื้นที่ภัยแล้งทั่วไป 55 จังหวัด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีระบุ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเพื่อรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเดือนเมษายนปีหน้า หลังปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศเหลือเพียง 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปีที่แล้วมีปริมาณ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น เกษตรกรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูก จากเดิมที่ทำนาควรหันมาปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย หรือเลี้ยงปศุสัตว์แทน ทั้งนี้ ขอให้เชื่อฟังรัฐบาล เพราะหากฝืนต่อไปและเกิดความเสียหาย รัฐบาลไม่สามารถอุดหนุนหรือชดเชยค่าเสียหายให้ได้ตลอด
ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ คสช. ลงพื้นที่สำรวจแปลงนาและแหล่งน้ำว่า พื้นที่ใดสามารถเพาะปลูกได้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน เนื่องจากสถิติเก่าที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ได้
เพราะฉะนั้นทางรอดในวิกฤตการภัยแล้งในครั้งนี้ จะต้องฝากฝังไปที่ปริมาณน้ำฝนในภายภาคหน้า แต่ถ้าหากว่าสภาพดินฟ้าอากาศยังแปรปรวนเหมือนกับปีที่ผ่านมา ก็ทำให้การหาแหล่งน้ำสำรองมาใช้ทำให้มีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งแหล่งน้ำสำรองที่มีอยู่ในประเทศไทยก็คือบ่อกักเก็บตามพื้นที่ต่างๆ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของโครงการแก้มลิงอันเนืองมาจากพระราชดำริ ซึ่ง ณ. ขณะนี้ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง
โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้
ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้
แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง
ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ
ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว
ประเภทของโครงการแก้มลิง โครงการแก้มลิงมี 3 ขนาด คือ
1. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น
2. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
3. แก้มลิงขนาดเล็ก คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง
ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ขณะนี้ต่างเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง
จังหวัดสุโขทัย นายปิติ แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า การลงพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำจากประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อำเภอสวรรคโลก ตลอดเส้นทางน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวาถึงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวง อำเภอเมืองสุโขทัย จะมีการยกบานประตูระบายน้ำแม่น้ำยมบ้านหาดสะพานจันทร์สูงขึ้นจาก 25 เซนติเมตร เป็น 50 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำเข้าสู่แก้มลิงทุ่งทะเลหลวง
ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 12 ล้านลูกบากศ์เมตร จากความจุทั้งหมด 32 ล้านลูกบากาศ์เมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาของจังหวัด นอกจากนี้ได้เตรียมขุดลอกปรับพื้นที่ในแม่น้ำยม 2 จุด คือ ตำบลวังไม้ขอนถึงตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก และตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง ซึ่งจะใช้รถแบคโฮขุดดินขึ้นมาทำคันตลิ่ง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรกรรมและไร่อ้อยของประชาชน ขณะทำการผันน้ำตลอดเส้นทาง 30 กิโลเมตร
จังหวัดบุรีรัมย์ นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำใน อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตประปาหล่อเลี้ยงประชาชนในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์รวมถึงห้างร้านและสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญยังไม้พ้นวิกฤตภัยแล้งแม้จะได้รับอิทธิพลจากพายุ มูจีแกทำให้มีฝนตกในพื้นที่แต่ก็ไม่ในพื้นที่เป้าหมายทำให้ปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้น
ทางจังหวัดบุรีรัมย์ได้เรียกประชุมด่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีข้อสรุปว่าทางการประปาส่วนภูมิภาคจะจัดหางบประมาณ มาดำเนินการสูบผันน้ำจากลำน้ำมาศ อ.ลำปลายมาศ ระยะทาง 16 กิโลเมตร มาเติมไว้ในอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากอีกประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสำรองไว้ผลิตประปา ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงหน้าแล้ง
จังหวัดชัยภูมิ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ จนถึงปัจจุบัน(6 ต.ค.5 มีปริมาณน้ำ 68.69 ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 41.95 ของความจุอ่างเก็บน้ำ มีน้ำที่สามารถใช้งานได้ 31.47ล้าน ลูกบาศก์เมตร จนถึงปัจจุบัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ส่งผลให้เขื่อนจุฬาภรณ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อยและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ในส่วนของเขื่อนห้วยกุ่ม มีปริมาณน้ำ 16.23ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 80.23 ของความจุอ่างเก็บน้ำ มีน้ำที่สามารถใช้งานได้ 14.23 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ในส่วนของการระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูฝนและอุปโภคบริโภค ตลอดทั้งปี 2558 เขื่อนจุฬาภรณ์ ได้ทำการระบายน้ำไปแล้วทั้งสิ้น 30 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
จังหวัดกาญจนบุรี นายวิจิตร กมลวารินทร์ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของรัฐบาลว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีได้สนองนโยบายรัฐบาล ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะกรณีที่มีเกษตรกรได้เรียกร้องว่าภาครัฐไม่ให้ทำนาปรัง ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน
พร้อมกล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดได้ประชาสัมพันธ์ว่า ปีนี้น้ำน้อย จึงขอให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว หรือเลี้ยงสัตว์ แทนการทำนา ที่ผ่านมาได้คาดการณ์ว่าปีนี้ไปจนถึงปีหน้ามีน้ำน้อย จะเกิดปัญหาภัยแล้งเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลก็ได้เชิญชวนให้หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ซึ่งการทำนาต้องใช้น้ำมาก หากมีปริมาณน้ำน้อย อาจทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้
http://www.tnews.co.th/html/contents/164045/
-----------------------------------------------------------------------
แล้งจริง ต้องปีหน้า
สถานการณ์แล้งในเมืองไทย ต้องแก้ปัญหาแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่รอฝน
หากจะบอกว่า แล้งปีนี้ อาจไม่มากเท่าแล้งปีหน้า...
นี่คือ ส่วนหนึ่งของการพยากรณ์จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ซึ่งคาดคะเนจากข้อมูลหลายส่วน โดยสิ่งที่เขาตระหนักรู้และย้ำเสมอ ก็คือ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คนไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ รับกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์พยากรณ์เรื่องน้ำ โดยพยายามใช้ข้อมูลรอบด้านในการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อให้เกิดการคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เพราะปัญหาน้ำครึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องการจัดการน้ำและการให้ข้อมูลประชาชน ได้สร้างความสับสนไม่ใช่น้อย
จากข้อมูลที่อาจารย์ศึกษาวิเคราะห์หลายมุม เพื่อพยากรณ์น้ำ อาจารย์เสรีบอกว่า "ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี 2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย"
แล้วความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ ต้องทำอย่างไร ลองตามอ่าน...
ในความเห็นของอาจารย์ ต้องบริหารความเสี่ยงอย่างไร ?
ต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อมีภัยแล้งในฤดูฝน พอฝนทิ้งช่วง น้ำที่เป็นต้นทุนที่เรามีอยู่ ก็จะถูกดึงมาใช้ การดึงมาใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดวิกฤติแล้งหนัก ถ้าไม่ดึงน้ำมาใช้ก็ไม่แล้ง กรมอุตุนิยมเคยรายงานว่า ช่วงเวลานั้นฝนจะตก กรมชลฯก็บอกให้ชาวนาปลูกข้าวได้ เมื่อฝนไม่ตก กรมชลฯก็ต้องดึงน้ำมาช่วยเหลือเกษตรกรร้อยเปอร์เซ็นต์ แทนที่จะอาศัยน้ำฝนปกติ โดยทั่วไปการใช้น้ำ จะมีการแบ่งเป็นปริมาณน้ำฝน 70 เปอร์เซ็นต์ และน้ำจากเขื่อน 30 เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่า เราต้องดึงน้ำมาใช้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัญหาก็เกิดขึ้น แต่กลายเป็นว่า ประชาชนไม่รู้จะฟังใคร ไม่ว่าฝนจะตกหรือไม่ตก หน้าที่ของรัฐบาลคือ บริหารความเสี่ยง การประเมินเรื่องน้ำ สำคัญมาก อีกอย่างผมคิดว่า หลายหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการน้ำ มีปัญหาเรื่องการให้ข้อมูล
ถ้าจะบอกว่า แล้งเพราะการบริหารจัดการน้ำได้ไหม ?
การคาดการณ์ พยากรณ์ หรือการให้ข้อมูลไม่มีทางที่จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก รัฐบาลต้องมีผู้เชี่ยวชาญบริหารความเสี่ยง แต่หน่วยงานรัฐบริหารความเสี่ยงไม่เป็น ซึ่งต่างจากหน่วยงานเอกชนสามารถบริหารจัดการตรงนี้ได้ ผมขอยกตัวอย่างการบริหารความเสี่ยง ถ้าฝนไม่ตกตามที่ประเมินไว้ อาจตกน้อยกว่า 10 20 หรือ 30 40 ...เปอร์เซ็นต์ แล้วจะดำเนินมาตรการอย่างไร ต้องคิดไปเลยว่า ถ้าฝนไม่ตกหรือฝนตก จะมีปริมาณน้ำเหลือให้ใช้อยู่แค่ไหน เพื่อให้คนในพื้นที่ท้ายน้ำได้รู้ว่า ถ้าฝนตก จะระบายน้ำเท่าไหร่ เพราะอาจมีบางพื้นที่น้ำท่วม
เมื่อเกิดปัญหาน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝนไม่ตกตามฤดูกาล น้ำในอ่างไม่มี พอถึงฤดูฝน เป็นธรรมดาที่ฝนอาจจะตกหนักในบางพื้นที่ หน่วยงานดังกล่าวต้องประเมินปริมาณน้ำที่จะใช้หน้าแล้งให้ได้ ประชาชนที่อยู่เหนืออ่างไม่มีปัญหาน้ำท่วม แต่ประชาชนท้ายอ่าง จะเจอปัญหาน้ำท่วมบางพื้่นที่ อาทิ พระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดการ แต่ผมไม่เห็นหน่วยงานที่จะตัดสินใจเรื่องนี้ และทราบมาว่า รัฐได้ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแล้ว เมื่อตั้งมาแล้ว การบริหารจัดการ ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
เป็นไปได้ไหม ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ ?
ขณะนี้่คือ แล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เป็นปัญหาอันดับหนึ่ง แล้วพื้นที่ปลูกข้าวกี่ล้านไร่ของเกษตรกรที่กำลังจะเสียหาย รัฐต้องรีบแก้ไข ก่อนหน้านี้รัฐบอกว่า ห้ามใช้น้ำชลประทาน ทำให้ชาวบ้านเกิดแรงต้าน แต่ละคูคลองที่ปลูกข้าวก็ต้องมีผลผลิต เพราะข้าวตั้งท้องแล้ว เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ จะไปห้ามเขาสูบน้ำไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เกษตรกรก็ตั้งคำถามว่า น้ำเป็นของใคร
ตอนนี้รัฐก็ไฟเขียวแล้ว ถ้าบอกว่า ไม่ให้ใช้น้ำทางการเกษตร แล้วเอาน้ำมาให้คนกรุงเทพฯใช้ มันไม่ใช่ การใช้น้ำต้องเป็นธรรม รัฐต้องศึกษาว่า จะมีพื้นที่เกษตรที่ไม่ได้ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ และพื้นที่ที่ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ ไม่ต้องมาแย่งน้ำกัน ไม่ใช่เหมารวมว่าต้องเยียวยาทั้งหมด เพราะข้าวเกษตรกรตั้งท้องแล้ว พวกเขาก็จะมีรายได้ไร่ละ 7,500 บาท มากกว่าที่จะเยียวยาไร่ละ 1,000-2,000 บาท แต่ตอนนี้ก็มีการปล่อยน้ำให้เกษตรกรแล้ว
ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องทำตอนนี้คือเรื่องใด
รัฐต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่า
1. ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ไหนที่ปลูกข้าว แล้วต้องให้น้ำ สามารถช่วยเหลือให้เกษตรกรอยู่รอดบนพื้นที่กี่ไร่ และพื้นที่ไหนไม่ได้น้ำ ซึ่งกรณีนี้มีทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น แล้วรัฐจะช่วยเหลือเยียวยายังไง
2. รัฐต้องให้ความมั่นใจว่า น้ำอุปโภคบริโภคที่จะส่งมาให้คนท้ายน้้ำมีเพียงพอไหม ต้องยอมรับว่า หน่วยงานรัฐบริหารจัดการจากปริมาณน้ำฝนตกที่ตกลงมา ไม่ได้บริหารจัดการจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ มันเป็นการบริหารที่เปราะบาง รอฝนอย่างเดียว มันไม่ได้ ปกติการพยากรณ์ธรรมชาติว่า ฝนจะตกหรือไม่ตก พยากรณ์จากข้อมูลได้ไม่เกิน 3 วัน จึงกลับมาที่ประเด็นการบริหารความเสี่ยง ต้องทำ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้ากรมอุตุนิยม บอกว่า น้ำจะท่วมบริเวณจุดไหน ก็ต้องบอกกล่าวทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่นั้นรับทราบ
ระยะสั้น รัฐต้องจัดลำดับความสำคัญ
รัฐก็ต้องสนับสนุนให้ปลูกข้าวพันธุ์ที่ใช้น้ำน้อย
ตรงนี้สำคัญกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และการดึงน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ เราต้องลดปริมาณการใช้น้ำ ทุกคนต้องกลับมาดูตัวเอง
ถ้าจะบอกว่า การให้ข้อมูลในเรื่องการจัดการน้ำไม่ชัดเจนจะได้ไหม ?
ใช่ เพราะบางพื้นที่เกษตรกรคิดว่า ข้าวที่ปลูกไว้ รอดตายแล้ว จริงๆ แล้วข้าวที่ปลูกและอยู่ใกล้ริมคลองชลประทานทุกเส้นทางรอดตาย คนที่ใช้น้ำต้นคลองจะมีน้ำใช้ แต่ต่ปลายคลองน้ำไปไม่ถึง ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ ก็ให้ข้อมูลประชาชน เป็นข้อมูลเปิดเผยอยู่แล้ว แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ข้อมูล
ในปีนี้อาจารย์พยากรณ์เรื่องน้ำอย่างไร ?
อีกสามเดือนข้างหน้า จะมีน้ำเข้ามาประมาณ 1,800-3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร จะมีน้ำต้นทุนอยู่ ณ วันที่ 1 พฤศิกายน 2558 น้ำที่เข้ามาน่าจะคล้ายๆ ปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณน้ำเท่านี้ ปีหน้าต้องใช้อย่างระมัดระวังมาก เพราะช่วง 6 เดือนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเดียวก็ใช้ไปปริมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร พอถึงหน้าแล้ง ฝนไม่ตก จะบริหารจัดการยาก ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2559 เป็นช่วงที่แล้งจริงๆ โดยฝนจะหมดฤดูกาล 30 ตุลาคม นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนจะไม่มีปริมาณน้ำฝน แม้จะมี ก็ปริมาณน้อย จะแล้งไปถึงเดือนเมษายน 2559 น้ำอาจจะไม่เพียงพอต่อการทำนาปรัง แล้วรัฐจะมีแผนระยะสั้น กลาง และยาว อย่างไร หากเกษตรกรจะไม่ได้ทำนาปรังในปีหน้าอีก รัฐจะสร้างอาชีพอื่นๆ ให้เกษตรกรหรือจะสนับสนุนให้ปลูกพืชกินน้ำน้อยยังไงในช่วงแล้งปีหน้า รัฐต้องคิดแล้ว
แสดงว่า น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง
ใช่ ในปีนี้น้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค ไม่น่าเป็นห่วง เป็นธรรมดาของพื้นที่ลุ่มต่ำ ฝนตก น้ำก็ท่วมปกติ ปีนี้ผมไม่กังวลเรื่องน้ำท่วมใหญ่ จะมีน้ำท่วมเป็นจุดๆ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ปีหน้าไม่แน่ น้ำท่วมใหญ่อาจจะมาก็ได้ ดูแนวโน้มแล้ว อาจต้องระวังตั้งแต่กลางปีหน้า
แต่สำหรับเกษตรกร ทั้งปีนี้และปีหน้า น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรายังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย ต้องมีการบริหารความเสี่ยง ผมห่วงสถานการณ์ปีหน้า ผมกังวลว่า ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนาคือ นาปรังปีที่แล้ว นาปีปีนี้ และนาปรัง ปี 59 ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนา เป็นเวลาปีกว่าๆ แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนใช้
ปีหน้าอาจจะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ?
ถ้าถามว่าจะเหมือนน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาไหม บอกไม่ได้เลย ปลายปี 59 ต้องระมัดระวัง คนไทยต้องประหยัดน้ำแล้ว ไม่อย่างนั้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้าจะเจอวิกฤติ เพราะปริมาณน้ำน้อย เจอทั้งปัญหาการจัดการและปัญหาธรรมชาติ
ถ้าจะแก้ปัญหาแล้ง ต้องทำอย่างไร ?
รัฐบาลควรจะมีคณะทำงานที่ไม่ได้เป็นข้าราชการฝ่ายเดียว ควรมีคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อกลั่นกรองมาตรการต่างๆ ที่ฝ่ายข้าราชการเสนอมา แล้วพิจารณาว่า เหมาะสมไหม เหมือนต่างประเทศจะมีผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งมากลั่นกรอง ประกาศเป็นมติครม.
http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/657833
-------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/04/2016 3:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 10/04/2016 4:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เจาะน้ำใต้ดินเติม"บึงสีไฟ"รักษาระบบนิเวศ
จากสภาวะภัยแล้งที่ครอบคลุมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 เม.ย. นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผวจ.พิจิตร พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ชลประทานจังหวัด ประมงจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพิจิตร และโยธาธิการจังหวัด เดินทางไปตรวจระดับ น้ำที่ได้จากการขุดเจาะบ่อบาดาลบริเวณศาลาเก้าเหลี่ยมบึงสีไฟ อ.เมืองพิจิตร เพื่อจะแก้ปัญหาสภาพขาดแคลนน้ำของบึงสีไฟ ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ ทำให้นกนานาพันธุ์กว่า 48 ชนิด ต้องอพยพหนีไปหากินที่อื่น ทำให้ทางจังหวัดร่วมมือกับภาคเอกชนแก้ปัญหาด้วยการเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่ จำนวน 6 บ่อ และสำนักน้ำบาดาลเขต 4 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มาขุดเจาะให้อีก 2 บ่อรวม 8 บ่อ เพื่อเติมน้ำให้บึงสีไฟในจุดบริเวณแหล่งท่องเที่ยวเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่
โดยจะทำเป็นแนวขอบคันกักเก็บน้ำ โดย คาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์บึงสีไฟจะมีน้ำเต็มบริเวณบึงสีไฟในพื้นที่ 100 ไร่ ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถมีน้ำเล่นในเทศกาลสงกรานต์ และจากการตรวจระดับน้ำที่พุ่งจากดินใต้ดิน ที่ทำการติดตั้งเครื่องสูบอย่างเต็มรูปแบบมาประมาณ 1 สัปดาห์ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีน้ำจากใต้ดินมาเติมบึงสีไฟ ประมาณวันละ 10,000 คิว ขณะนี้มีน้ำเติมบึงสีไฟแล้วประมาณ 70,000 คิว ระดับน้ำสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ซม.แล้ว หากถึงวันสงกรานต์จะมีน้ำในบึงสีไฟมากกว่า 100,000 คิว ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผวจ.พิจิตร เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อเติมน้ำให้บึงสีไฟในวันนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และเทศกาลสงกรานต์ปีนี้บึงสีไฟจะมีน้ำแน่นอน แต่ก็ขอ ความร่วมมือประชาชนให้ใช้น้ำกันอย่างประหยัดด้วย
ด้าน พล.ต.ทรงวุฒิ จิตตานนท์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 (ผบ.บชร.3) พร้อม ว่าที่ ร.ต.พยุงศักดิ์ สุวรรณโณ นายอำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย นายธนู ประสงค์ ผจก.การประปาส่วนภูมิภาคสาขาศรีสัชนาลัย ร่วมปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรที่ประสบภัยแล้ง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โดยนำรถบรรทุกน้ำขนาดความจุ 6,000 ลิตร ของหน่วยทหารรวม 6 คัน ร่วมกับรถน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆในพื้นที่ ประสานกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาศรีสัช-นาลัย ทยอยนำน้ำประปาแจกจ่ายให้กับราษฎรตำบลต่างๆเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง
พล.ต.ทรงวุฒิ เผยถึงสถานการณ์น้ำใน จ.สุโขทัย ว่า ปีนี้แล้งกว่าทุกปี แต่ยังพอมีน้ำสำหรับให้ประชาชนใช้เพื่ออุปโภคบริโภค บางส่วนที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ทางกองกำลังฯได้ร่วมกับส่วนราชการทุกส่วน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น นำรถเข้าแจกจ่ายน้ำให้กับราษฎรวันละ 1 แสนลิตรโดยประมาณ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 5 อำเภอ ยังเหลืออีก 4 อำเภอ ซึ่งจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร.
https://www.thairath.co.th/content/602912
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/04/2016 5:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 10/04/2016 5:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: |
.
.
น้ำที่ได้จากการขุดเจาะบ่อบาดาล บริเวณศาลาเก้าเหลี่ยม บึงสีไฟ
COMMENT :
- ศาลาเก้าเหลี่ยม คือ ศาลาพักผ่อนอยู่ในบึง น้ำในบึงล้อมรอบ
- บ่อน้ำบาดาลตรงนี้ คือ สูบน้ำที่อยู่ไต้ดินในบึง ขึ้นมาอยู่บนบึง นั้นเอง
- สูบน้ำขึ้นมาจากไต้พื้นดิน เอามาไว้บนดิน แล้วน้ำไม่ไหลซึมกลับลงไปที่เก่าหรือ ?
- คำตอบ คือ "ไม่" เพราะเนื้อดินจากผิวดินก้นบึงลึกลงไประดับ 50-100 ม. เป็นเนื้อดินที่เหนียวแน่น อิ่มน้ำอุ้มน้ำมานานนับ 1,000(+) ปี
*** หลักการ หรือ ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับแหล่งน้ำธรรมชาติอื่นๆ ที่อายุพอๆกับบึงสีไฟ จะได้หรือไม่ ? เพราะอะไร ?
-------------------------------------------------------------------------
จำนวน 6 บ่อ และสำนักน้ำบาดาลเขต 4 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มาขุดเจาะให้อีก 2 บ่อรวม 8 บ่อ เพื่อเติมน้ำให้บึงสีไฟในจุดบริเวณแหล่งท่องเที่ยวเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ .
เพราะมีน้ำจากใต้ดินมาเติมบึงสีไฟ ประมาณวันละ 10,000 คิว ขณะนี้มีน้ำเติมบึงสีไฟแล้วประมาณ 70,000 คิว ระดับน้ำสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ซม.แล้ว หากถึงวันสงกรานต์จะมีน้ำในบึงสีไฟมากกว่า 100,000 คิว ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
COMMENT :
- บาดาล 8 บ่อ สูบน้ำ 1 อาทิตย์ ได้น้ำสำหรับพื้นที่ 100 ไร่ เสร็จสงกรานต์แล้วสูบต่อได้ไหม ?
- ถ้าบาดาล 20-30 บ่อ สูบน้ำ 1-2-3 เดือน จะได้น้ำเท่าไหร่ ?
*** ใช้งบราชการ ในนาม "รัฐสวัสดิการ" (เหมือนรถไฟขาดทุน) .... หรือ
*** รับบริจาค จากคนรวยใน อำเภอ/จังหวัด แล้วมอบโล่ +ลดภาษี จะได้ไหม ?
----------------------------------------------------------------------
*** บึงสีไฟวันนี้เป็น บึงสีไฟ โมเดล เอาหลักการนี้ไปสร้าง :
- ลำตะคลอง โมเดล
- บึงพลาญชัย โมเดล
- หนองหาญ โมเดล
- กว๊านพะเยาว์ โมเดล
- บึงบอระเพ็ด โมเดล
- บึงมักกะสัน โมเดล
- ฯลฯ โมเดล
รวมทั้งอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ทุกเขื่อนทั่วประเทศ เจาะบาดาลสูบน้ำไต้ดินด้านล่างขึ้นมา ติดตั้งเครื่องสูบขนาดใหญ่ 10-20 เครื่อง
ในแม่น้ำ ทำคันกั้นน้ำ ยาว 5-10 กม. กว้างเท่าความกว้างของแม่น้ำ ติดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ กม.ละ 1 จุด
ทั้งสูบน้ำในอ่างเหนือเขื่อน และน้ำในแม่น้ำ ใช้งบประมาณไปเลยแหล่งละ 100 ล้าน ระดมสูบน้ำบาดาล 5จุด 10จุด 20จุด นาน 3เดือน 6เดือน ข้ามปี
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5381#31271
|
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 11/04/2016 9:06 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
วันนี้ 11 APR
น้ำในเขื่อนทั้่วประเทศ 33 เขื่อน
มีน้ำรวมกัน 22% เท่านั้น
เมื่อวาน รายงานผลการทำฝนหลวงเขตอิสานไต้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ถามว่า....
นี่คือฝนหลวง ครั้งที่ 1 ..................... แล้ว
เมื่อไหร่จะมีฝนหลวง ครั้งที่ 2
เมื่อไหร่จะมีฝนหลวง ครั้งที่ 3
เมื่อไหร่จะมีฝนหลวง ครั้งที่ 4
เมื่อไหร่จะมีฝนหลวง ครั้งที่ 5 .............. หรือไม่ ?
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 11/04/2016 9:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ทีวี. ทำแต่ข่าวแล้ง แล้ง แล้ง และแล้ง
มีแต่ภาพข่าวดินแตกระแหง ต้นไม้ยืนตาย แม้แต่พืชใช้น้ำน้อยยังยืนตาย
มีแต่ภาพข่าวเกษตรกรเรียกร้อง รัฐบาลช่วย รัฐบาลช่วย รัฐบาลช่วย
เห็นแล้วหดหู่ หมดกำลังใจ
ทำไม ทีวี. ไม่ทำข่าวคนสู้แล้ง
ถ่ายภาพข่าวเจาะบ่อบาดาล ในแปลงนา ริมห้วยข้างบึงที่น้ำแห้งหมดแล้ว
เพื่อมาเป็น มูลเหตุจูงใจ แรงบันดาลใจ เยี่ยงอย่าง ให้เกษตรกรทำตาม ช่วยเหลือตัวเอง ว่า...
เขาทำได้ .... เราต้องทำได้ เราต้องทำได้ เราต้องทำได้ เย !
ประเด็นนี้ เนื้อข่าวมุมนี้ ผู้สื่อข่าวมอง HIGHLIGHT ของข่าวไม่ออก .... ก.ไม่เชื่อ
หลักการทำข่าวของนักข่าว.....
1. หมากัดคน ไม่เป็นข่าว ........ คนโดนภัยแล้ง แล้วพ่ายแพ้ภัยแล้ง ......... มีมาก
2. คนกัดหมา นั่นแหละข่าว ..... คนแก้ไขภัยแล้ง แล้วประสบความสำเร็จ ... มีน้อย
3. แมลงวัน ไม่ตอมแมลงวัน ..... ทางใครก็ทางใคร เพราะอาชีพเดียวกัน ..... ทุกราย
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว (จำผิด ขออภัย) นสพ.ยักษ์ใหญ่สีเขียว กับ นสพ.ยักษ์ใหญ่สีบานเย็น
ทำสัญญาสุภาพบุรุษ (สัจจะลูกผู้ชาย) ต่อกันว่าจะ "ไม่วิภาควิจารย์" ซึ่งกันและกัน
ผลรับออกมา ....
นสพ.รวยทั้งคู่ ถูกต้องทั้งคู่
คนอ่าน ถูกยัดเยียดข่าวสาร
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/04/2016 4:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 11/04/2016 3:17 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
การบริหารจัดการน้ำชุมชน พื้นที่ป่าต้นน้ำ
เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ต้นน้ำจำนวนมากทั่วทุกภาคของประเทศไทยเกิดความเสื่อมโทรม จากการตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า บุกรุกเข้าแผ้วถางป่า เพื่อนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตร หรือทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะหน้าดินและทำลายอินทรีย์วัตถุในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำจนดินเสื่อมคุณภาพ น้ำฝนที่เคยไหลซึมลงไปเก็บสะสมอยู่ในดินมีปริมาณลดลงกว่าเดิม ฝนตกถึงพื้นก็ชะผิวดินเกิดน้ำท่วมฉับพลันและการพังทลายของหน้าดินตามมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ จำเป็นต้องฟื้นฟูและรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ต้นน้ำที่เสมือนอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่คอยปลดปล่อยน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเรื่อง น้ำ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เนื่องจากป่าไม้ก็คือ ต้นน้ำ แต่ที่ผ่านมาป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิดน้ำท่วมฉับพลันและมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเกิดปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวยิ่ง แนวพระราชดำริในการบริหารจัดการป่าต้นน้ำ มีหลายวิธี อาทิเช่น
สร้างป่าเปียก : นับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยาก และช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง วิธีการสร้างป่าเปียก มีดังนี้
วิธีการแรก : ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลองนี้
วิธีที่สอง : สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน
วิธีที่สาม : โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นหากป่าขาดความชุ่มชื้น
วิธีที่สี่ : โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า Check Dam (เช็คแดม) ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น ป่าเปียก
วิธีที่ห้า : โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป ภูเขาป่า ให้กลายเป็น ป่าเปียก ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
วิธีที่หก : ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 4 - 6 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก
สร้างภูเขาป่า : หมายถึง ภูเขาที่มีต้นไม้นานาชนิดซึ่งปกคลุมดินในอัตราหนาแน่นที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศแต่ละแห่ง ต้นไม้เหล่านั้นจะมีผล ช่วยรักษาระดับความชุ่มชื้นในธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะไม่แห้งแล้งเกินไป และยังช่วยยึดพื้นผิวดินอันมีค่าไม่ให้ถูกน้ำเซาะทลายลงมายังพื้นที่ราบอีกด้วย
สร้างฝายขนาดเล็กบริเวณลำธารบนภูเขา : ด้วยการสร้างฝายขนาดเล็กปิดกั้นร่องน้ำในเขตต้นน้ำลำธาร เพื่อแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปให้กว้างขวาง อันจะช่วยฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณที่สูงให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้กลายเป็น ภูเขาป่า ในอนาคต
สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น และฝายดักตะกอน : คือ สิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลเทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
http://cwrmn.haii.or.th
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 11/04/2016 3:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เมื่อ "ปิง" กับ "วัง" พบกันเป็น "แควใหญ่"
เมื่อ "ยม" กับ "น่าน" พบกันเป็น "แควน้อย"
เมื่อ "แควใหญ่" กับ "แควน้อย" พบกันที่ "ปากน้ำโผล่"
เมื่อจากปากน้ำโผล่ ไหลเรื่อยๆ ไปเรียงๆ ลงถึงอ่าวไทย จึงเป็น "เจ้าพระยา"
ปริมาณน้ำในเจ้าพระยา 40% มาจาก "น่าน"
น่าน ได้น้ำมาจาก ...................... "ป่าต้นน้ำ"
ป่าต้นน้ำมี ............................... "น้ำไต้ดิน"
น้ำไต้ดินมาจาก ......................... "น้ำบนดิน"
น้ำบนดินมาจาก ......................... "ฝน"
ฝนบนฟ้ามาจาก ......................... "ความชื้น"
ความชื้นมาจาก .......................... "ป่าไม้"
วันนี้น้ำไต้ดินที่น่าน "ไม่มี" เพราะ "ไม่มีป่า" เป็นต้นน้ำ
จากน่าน ย้อนกลับไปมอง ปิง - วัง - ยม กับแควสาขา อีหร็อบเดียวกัน ว่ามั้ย ?
จากเจ้าพระยา ย้อนกลับไปมองแม่น้ำอื่น ทุกแม่น้ำก็ "ไม่มีป่า" เป็นต้นน้ำเหมือนกัน ว่ามั้ย ?
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 12/04/2016 6:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
น้ำของโลก :
พื้นดินเพียงร้อยละ 30 หรือ 148 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านั้น
โลกของเรามี พื้นน้ำ ถึงร้อยละ 70 มีส่วน
ในเชิงปริมาณน้ำทั้งหมด ที่มีอยู่ในโลก ทั้ง 3 สถานะ (ของแข็ง ของเหลว และไอหรือก๊าซ) มีประมาณ 1,385 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 97.3 หรือเท่ากับ 1,348 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น น้ำเค็ม ในทะเลและมหาสมุทร
ส่วนน้ำจืด ซึ่งรวมถึงไอน้ำในบรรยากาศด้วยมีเพียงร้อยละ 2.7 หรือเท่ากับ 37 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
---------------------------------------
ปริมาณน้ำจืด
ที่มีอยู่ในโลกนี้ ประกอบด้วยน้ำแข็งขั้วโลก ร้อยละ 76.5 หรือเท่ากับ 28.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ร้อยละ 22.9 หรือเท่ากับ 8.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำผิวดิน (ทะเลสาบ คลอง บึง ฯลฯ) ร้อยละ 0.6 หรือเท่ากับ 16.3/76.5 = 0.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้สอย มีประมาณ ร้อยละ 10.71 ของปริมาณน้ำจืดทั้งหมด
โดยส่วนใหญ่ราว 3,7400,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น น้ำใต้ดิน ที่ลึกไม่เกิน 800 เมตร
เป็นน้ำในทะเลสาบ 125,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
เป็นความชื้นในดิน ที่ต้นไม้ดูดซับไว้ 69,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
เป็นไอน้ำในอากาศ 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตร
และเป็นน้ำผิวดิน ในแม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ เพียงร้อยละ 0.04 หรือเท่ากับ 1,500 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
----------------------------------------
สถานการณ์น้ำของประเทศไทย
ประเทศไทยมี พื้นที่รวม 512,000 ตารางกิโลเมตร
จำแนกทางอุทกวิทยาออกเป็น 25 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก
มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปีทั้งประเทศ ประมาณ 1,700 มิลลิเมตร
ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นปริมาณน้ำจากน้ำฝน ปีละประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จะซึมลงใต้ดินและระเหยกลับไปสู่บรรยากาศ
เหลือเพียง 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งน้ำ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง 650 แห่ง และโครงการขนาดเล็ก 60,000 แห่ง
สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ 70,800 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี ส่วนที่เหลือ ไหลลงสู่ทะเล
อนาคต ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มนุษย์จะแย่งกันมาสุด คือ "น้ำจืด"
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 13/04/2016 7:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ :
คนในสังคมหลงเชื่อมานานแล้วว่า ปัญหาหมอกควันพิษในภาคเหนืออันเกิดขึ้นทุกปีในช่วงหน้าแล้ง มาจากการเผาป่าเพื่อหาเห็ด หาผักหวานของชาวบ้าน แต่สาเหตุสำคัญคือการเผาซากไร่ข้าวโพด และเผาป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพด ในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ไม่มีใครกล้าพูดถึง เราเผาป่าต้นน้ำหลายสิบล้านไร่เพื่อเปลี่ยนเป็นข้าวโพด ทำอาหารสัตว์ ส่งออกขายเมืองนอกทำกำไรให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ทางเกษตรมหาศาล กับสิ่งที่แลกมา คือ หมอกควันพิษ ดินถล่ม น้ำท่วม น้ำแล้ง และความยากจนเป็นหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย
หลายปีก่อน เคยขับรถมุ่งหน้าจากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสู่อำเภอสวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ คืออำเภอแม่แจ่ม หนทางคดเคี้ยว แต่สองข้างทางเป็นภูเขาป่าใหญ่ บางช่วงมีลำธารทอดขนานไปกับถนน
เห็นสภาพป่าแล้วต้องไขกระจกรถออกมาสูดอากาศและชมความสมบูรณ์ความเขียวขจีของป่าต้นน้ำ จำได้ว่าเคยหยุดพักทอดสายตาดูแม่น้ำแม่แจ่ม มีต้นน้ำมาจากป่าใหญ่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวงไหลผ่านอำเภอแม่แจ่มและไปออกสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอฮอด
แต่วันนี้หากใครเดินทางไปแถวนั้น จะเห็นภาพจำได้ติดตา คือ ภูเขาหัวโล้นสุดลูกหูลูกตา
ผู้บุกรุกเผาป่า ถางป่าเตรียมพื้นที่เพาะปลูกไร่ข้าวโพด พอหลังฤดูเก็บเกี่ยว ก็เผาซากไร่เพื่อเตรียมเพาะปลูกใหม่
ปัจจุบันแม่แจ่ม จึงเป็นหุบเขาแห่งข้าวโพด (corn valley) กลายเป็นอำเภอที่มีปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าและซากไร่มากที่สุดในประเทศจากการติดตามและรวบรวมสถิติจุดที่ตรวจพบความร้อน หรือจุดที่เกิดไฟ (Hotspot) ของทางการพบว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอำเภอแม่แจ่ม มีจำนวนมากถึง ๔๗ จุด โดยพื้นที่เผานั้นเกือบทั้งหมดอยู่ในไร่ข้าวโพดซึ่งมีประมาณ สองแสนไร่ และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำในระบบเกษตรแบบใหม่ หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดเสร็จ ชาวไร่ต้องรีบกำจัดซากไร่ ตอซังข้าวโพด ฯลฯ ด้วยวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด และไม่จำเป็นต้องใช้ทุนใด ๆ คือ การเผาทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการผลิตรอบใหม่ การเผาจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันแทบจะทุกพื้นที่เพราะต่างคนต่างก็เร่งที่จะกำจัดขยะและเริ่มทำการเพาะปลูกในรอบต่อไปให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายให้พ่อค้าก่อนชาวไร่รายอื่นจะนำผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาด
เมื่อผลิตมาก ราคาก็ตก ผลประโยชน์ก็อยู่กับพ่อค้าเต็ม ๆ ขณะที่ต้นทุนราคาเมล็ดพันธุ์ ค่ายา ค่าปุ๋ย คงที่ เป็นคำตอบว่าทำไมชาวไร่ที่หันมาทำไร่ข้าวโพด จึงมีฐานะยากจนไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ป่าถูกทำลายเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด และมีข้อสังเกตว่า หากราคาข้าวโพดปีใดสูงขึ้น การเผาก็จะมีมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศมีมากเกือบ ๔๐๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปกติกำหนดให้ไม่เกิน ๑๒๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่ามาตรฐานเกือบสี่เท่า
หากย้อนหลังไปดูสถิติย้อนหลัง จะพบว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน ปริมาณฝุ่นละอองทางภาคเหนือมีประมาณร้อยกว่าไมโครกรัม เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ภายหลังจากมีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการบุกรุกป่า เผา ถางเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา
รัฐบาลหลายยุคที่ผ่านมาจนถึงสมัยคสช.ในปัจจุบัน ได้สนับสนุนพืชเศรษฐกิจสำคัญสี่ชนิด คือ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ตามคำร้องของสภาหอการค้าไทย และเมื่อเปิดดูรายชื่อของประธานสภาหอการค้าไทย ก็คือเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลรายใหญ่ ขณะที่รองประธานคนหนึ่งคือ ผู้ใหญ่ในบริษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่ของโลก
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ที่เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ จึงพร้อมใจกันส่งเสริมให้ชาวไร่ปลูกข้าวโพดเป็นหลัก และธนาคารของรัฐก็ปล่อยกู้ให้กับชาวบ้านที่ปลูกพืชเหล่านี้ และในบางพื้นที่ข้าราชการกลายเป็นตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอีกต่างหาก โดยมีบริษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และการประกันราคาพืชผล หรือที่รู้จักกันในนามของเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming)
หลายครั้งที่ผมเดินสำรวจป่าบนภูเขา พบต้นไม้ใหญ่ถูกตัดและเผาทิ้งเป็นถ่าน เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่า มีเจ้าหน้าที่บริษัทเอาเมล็ดพันธุ์มาให้บอกแค่ว่า ปีนี้ปลูกได้ ๖๐๐ กิโล ปีหน้าขอเป็น ๘๐๐ กิโลนะ จะรับซื้อหมด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านต้องถางป่าเพิ่มผลผลิต
หากรัฐบาลไม่ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด ไม่มีการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ไม่มีการรับซื้อจะมีชาวบ้านรายใดกล้าขยายพื้นที่ บุกรุกเผาป่าหลายสิบล้านไร่ โดยที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่กล้ายุ่ง
สิ่งที่ตามมาคือ คนเชียงใหม่ มีอัตราการป่วยของมะเร็งปอดสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ตั้งแต่มีปัญหาเรื่องหมอกควัน มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น ๙ เท่า โรคหลอดเลือด โรคตาอักเสบและโรคผิวหนังอักเสบ มีผู้เข้ารับการรักษาวันละ ๑๐,๐๐๐ คน
ภาคเหนือของประเทศ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ ๕.๖ ล้านไร่ อยู่ในพื้นที่ป่าเกินครึ่ง นั่นหมายความว่า มีภูเขาหัวโล้นประมาณ ๓ ล้านไร่ การส่งเสริมให้บุกป่าปลูกพืชไร่ ไม่ได้มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้นแต่ยังลุกลามไปในประเทศพม่า ลาว จีน กินอาณาบริเวณหลายล้านไร่
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีไทยมีมติ ให้ดำเนินงาน Contract Farming บริเวณชายแดน ประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้มาตรการลดหย่อนภาษี กำหนดพื้นที่นำร่อง ๓ ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง เพื่อส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ๘ ชนิด
ที่สำคัญคือ ข้าวโพด คนในวงการทราบดีว่า ผู้ได้ผลประโยชน์สูงสุด คือ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตรกรรมของไทยที่มีอยู่ไม่กี่ราย
ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นถึงจุดที่เกิดไฟ ตามบริเวณประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ก็สันนิษฐานได้เลยว่า ปัญหาหมอกควันพิษเช่นเดียวกับบ้านเรา คือ การเผาป่า เผาซากไร่ข้าวโพดในอนาคตการทำลายป่าต้นน้ำเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพด จะทำให้แม่น้ำปิง วัง ยม น่านขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
เราทราบกันมานานแล้วว่า ป่าต้นน้ำมีความสำคัญมาก ในพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ เมื่อฝนตกลงมา ร้อยละ ๘๐ ของปริมาณน้ำฝนจะถูกกักเก็บไว้ในป่า ที่เหลือจะถูกไหลลงมาสู่สายน้ำ และค่อยๆ ปล่อยน้ำซึมไหลออกมาตามลำธาร ทำให้แม่น้ำมีน้ำมาเติมตลอดในช่วงหน้าแล้ง ที่ไม่มีฝนตกมาหลายเดือนเลย
แต่เมื่อป่าต้นน้ำกลายเป็นไร่ข้าวโพด เป็นภูเขาหัวโล้น เมื่อฝนตกลงมา น้ำส่วนใหญ่จะไหลลงสู่ข้างล่างหมด ไม่มีป่าคอยกักเก็บน้ำ พอถึงหน้าแล้ง จะไม่มีน้ำในแม่น้ำอีกต่อไป
ดังนั้นในอนาคต อย่าได้แปลกใจหากหน้าแล้ง แม่น้ำปิงน้ำจะแห้งเหือด เพราะน้ำจากป่าต้นน้ำอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงสู่แม่น้ำปิงมากที่สุด แต่ป่าในอำเภอแม่แจ่มถูกทำลายมากที่สุดเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดหลายแสนไร่ ไม่นับปัญหาดินถล่มจากภูเขาเพราะไม่มีต้นไม้ใหญ่มีรากคอยยึดผืนดินไว้เมื่อฝนตกหนัก และปัญหาน้ำท่วมบนที่ราบฉับพลัน เพราะไม่มีป่าใหญ่บนภูเขาคอยซับน้ำไว้
แม่น้ำน่านก็เช่นกัน เมื่อป่าต้นน้ำเมืองน่านหายไปล้านกว่าไร่แล้ว เพื่อเปลี่ยนเป็นทุ่งข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา เมื่อไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ และมีความเป็นไปได้ ในอนาคตแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือกำเนิดมาจากแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ก็จะขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ส่งผลให้น้ำทะเลทะลักเข้ามา จะสร้างอีกกี่เขื่อนก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้ง
น่าอนาถใจที่เราเปลี่ยนพื้นที่ป่าต้นน้ำอันอุดมสมบูรณ์หลายล้านไร่ ที่ให้อากาศบริสุทธิ์ ให้น้ำ ให้ความสมบูรณ์กลายเป็นไร่ข้าวโพดนำมาแปรรูปเป็นอาหารให้หมู เป็ด ไก่ ปีละร่วม ๕ ล้านตัน และสัตว์เหล่านี้กลายเป็นอาหารสำเร็จรูปเพื่อบริโภคภายในและเป็นสินค้าส่งออก สร้างความร่ำรวยกำไรมหาศาลให้กับหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และภูมิใจกันว่า เราคือแหล่งอาหารโลก เราคือครัวของโลก
ไร่ข้าวโพดที่ต้องเผาซากไร่ เผาป่า มีส่วนทำให้ลูกหลานเราสูดอากาศเป็นพิษ ทำให้น้ำในสายน้ำเหือดแห้ง ทำให้เกิดดินถล่ม และเกิดไฟป่า
บริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรหลายบริษัท พวกท่านสบายใจดีอยู่ใช่ไหม หัวใจพวกท่านทำด้วยอะไรครับ
-------------------------------------------------------------------------
5. ความเห็น ต่อ ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ
เรื่องนี้จริงที่สุด เพราะอยู่เชียงใหม่ เป็นอย่างที่เขียนเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลยอมได้อย่างไร ทำลายโลกจริงๆ เห็นแก่ตัวมากๆ
บทความคุณวันชัย..บทนี้ดูว่าจะเขียนด้วยอารมณ์มากไปจนขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ..ไม่ใช่เรื่องที่ว่าสังคมเชื่อว่าสาเหตุการเผามาจากหาของป่า ฯลฯ หรอกครับ
แต่เขาอยู่กับความจริง..ไม่ได้นั่งเทียนเขียนส่งเดชอย่างที่คุณวันชัยเขียนในบทความนี้ จนทำให้ชาวอำเภอแม่แจ่มเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อความนี้
ปัจจุบันแม่แจ่มจึงเป็นหุบเขาแห่งข้าวโพด (corn valley) กลายเป็นอำเภอที่มีปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าและซากไร่มากที่สุดในประเทศ
ซึ่งส่อแสดงว่าคุณวันชัยไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย..จนมองว่าแม่แจ่มเป็บหุบเขาข้าวโพด เผาป่ามากที่สุดในประเทศ
แน่นอนครับถ้าในระดับจังหวัดเชียงใหม่ แม่แจ่มถือว่ามากกว่าทุกอำเภอ
แต่ถ้าในระดับประเทศแล้ว แม่แจ่มมองไม่เห็นฝุ่นหรอกครับหากเทียบจังหวัดอื่นๆ เช่น เพชรบูรณ์ น่าน ตาก เชียงราย ฯลฯ
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ คุณวันชัย..ไม่เคยมีปัญญาเสนอทางออกต่อปัญหาเหล่านี้ ดีแต่วิจารณ์อย่างขาดข้อมูลในการวิเคราะห์ และไม่มีความอาจหาญทางจริยธรรมที่จะเอ่ยชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซีพีแม้แต่น้อย
อย่าบอกว่าที่เชียงใหม่ ปัญหาหมอกควัน มาจากการเผาป่าของชาวบ้าน
นายสมเกียรติมีธรรม แกมันมั่วแล้ว แกร้อนตัวแทน ซีพี ทำไม
สวัสดีค่ะ คุณวันชัย ตัน
พอดีดิฉันได้ไปลงพื้นที่จังหวัดน่านมาค่ะ
ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่นั่นและชาวบ้าน
อยากจะแชร์สิ่งที่ได้พบที่นั่นให้คุณวันชัย ตันลองอ่านดูค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1717
-------------------------------------------------------------------------
จากแพะภูเขาถึงล่องแก่งน้ำว้ากับความเข้าใจในการแก้ปัญหาสังคม
ครั้งหนึ่งเจ้าสัวธนินท์เคยเล่านิทานให้ฟังว่า มีคนเอาพันธุ์แพะภูเขาที่เลี้ยงง่ายและให้ลูกดกไปให้ชาวบ้านในหมู่บ้านลองเลี้ยง และบอกกับชาวบ้านว่า ต่อไปแพะจะเพิ่มจากไม่กี่สิบตัวเป็นร้อยเป็นพันตัว ทำให้ชาวบ้านร่ำรวย แต่พอถึงสิ้นปี แพะกลับเหลือไม่กี่ตัว เพราะที่เหลือถูกชาวบ้านกินหมดแล้ว คนที่เอาแพะไปให้ก็สงสัยว่า ทำไมชาวบ้านพูดไม่รู้เรื่อง ก็บอกอยู่ว่า แพะพวกนี้จะทำให้พวกเขารวย
จริงๆ แล้ว ชาวบ้านก็พอจะเข้าใจสิ่งที่เขาพยายามบอก แต่ชาวบ้านยากจน ต้องเอาแพะมากินเพื่อให้ชีวิตรอดก่อน
นิทานที่เจ้าสัวเล่ามาพยายามจะบอกอะไร ?
ไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเมืองน่าน เมืองน่านและหลายจังหวัดในภาคเหนือกำลังประสบปัญหาการเผาทำลายป่า แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาทั้งปราบปราม ทั้งรณรงค์ให้ความรู้ถึงผลเสียของการบุกรุกทำลายป่า เผาป่าสักแค่ไหน ก็ไม่เป็นผล
ทำอย่างไรได้ล่ะ เหตุผลร้อยแปดที่ว่ามา ไม่ใช่ชาวบ้านเขาไม่เข้าใจ แต่ท้องมันร้อง ลูกเต้ายังต้องกินต้องใช้ เขาก็จำเป็นต้องทำ
ชาวบ้านที่นี่ก็คงอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างกับชาวบ้านในนิทานที่เจ้าสัวเล่าให้ฟัง
จังหวัดน่านภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาถึง 85% (ความลาดชันเกินกว่า 30 องศา) ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด พื้นที่ราบลุ่มมีน้อย ขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ถึง 85% อยู่ในภาคการเกษตร ปัญหาการขาดพื้นที่ทำกินจึงเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดน่านที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะปัญหาการรุกป่า และปัญหาหมอกควัน
แทนที่จะมองว่า ชาวบ้านไม่เข้าใจที่เราพยายามจะบอก ที่พยายามจะให้ความรู้ว่า การรุกป่ามันไม่ดี พวกเราคนเมืองทั้งหลายเองหรือเปล่าที่ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ?
ไม่เข้าใจว่า ชาวบ้านเขาก็ต้องมีรายได้
ไม่เข้าใจว่า ชาวบ้านก็มีลูกเต้าต้องเลี้ยง
ถ้าไม่ให้เขาขึ้นไปเพาะปลูกบนภูเขา แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนกิน ?
เมื่อไม่เข้าใจ ก็แก้ไขปัญหากันไม่ตรงจุด ตีความไปว่า ชาวบ้านไม่มีความรู้ ก็เลยส่งคนไปพูดให้ฟัง ทำเอกสาร แผ่นป้ายรณรงค์มากมาย หรือถ้าใครตีความในมิติทางกฎหมาย ก็อาจจะไปแก้โดยการปราบปราม ส่งเจ้าหน้าที่ไปจับเสียให้หมด
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปคุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในพื้นที่ พบความจริงที่ว่า การไล่จับชาวบ้านไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แถมเจ้าหน้าที่อาจจะเจอปัญหาเข้าเสียเองอีกต่างหาก
ทำไมน่ะหรือ ? ก็เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ไปจับกุมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่จะถูกชาวบ้านทั้งชุมชนเกลียดชัง อย่าหวังเลยว่า ไปตลาดแล้วจะมีคนขายของให้ ครอบครัวของเจ้าหน้าที่เองจะถูกรังเกียจ ความปลอดภัยก็จะไม่มีอีกต่อไป อยู่ได้ไม่เป็นสุข เจ้าหน้าที่ที่ทนรับสภาพไม่ไหว ลาออกไปก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ
ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกมองว่า เป็นศัตรูกับชาวบ้านเสียแล้ว ก็ยากที่จะได้รับความร่วมมือ ปัญหาก็ไม่มีทางได้รับการแก้ไข
เมื่อไม่เข้าใจ ก็ตีความผิด ตีความผิดก็แก้ปัญหาผิด ไม่จบไม่สิ้น
ผู้เขียนได้ติดตามทีมงานโครงการธรรมชาติปลอดภัย (กลุ่มคนเล็กๆ ที่ผู้เขียนต้องยกนิ้วให้ในความอึด ถึก ลุย และมีความเพียรขั้นสูงจากกลุ่มธุรกิจครบวงจร :ข้าวโพด) ขึ้นไปที่อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ดูสภาพพื้นที่ พบว่า มีการรุกป่า เผาป่าอยู่จริง และข้าวโพด ก็คือ พืชที่มักถูกกล่าวอ้างถึงว่า เป็นหนึ่งในสาเหตุของรุกป่าที่ว่านี้
อันที่จริงแล้ว การปลูกข้าวโพดบนภูเขานั้นได้ผลผลิตต่ำและเสี่ยงอันตราย (ปลูกๆ อยู่ ตกเขา เสียชีวิต ก็มีบ่อยๆ) แต่เราจะไปห้ามเกษตรกรเขาปลูกแบบตรงๆ ก็คงไม่ได้ ชาวบ้านไม่ฟังเราแน่ๆ แถมจะไล่ตะเพิดกลับมาอีก เพราะไปขัดขวางทางหารายได้เลี้ยงครอบครัว
หัวหน้าโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ที่ 2 จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เมืองน่านนี้มานาน มองเห็นปัญหา และรู้ว่า รากเหง้าของปัญหานั้นคือ เรื่องของปากท้อง การแก้ไขปัญหาด้วยการปราบปรามนั้นทำได้เพียงชั่วคราว แต่เมื่อท้องหิว ชาวบ้านก็ขึ้นมารุกป่าอีกอยู่ดี
แล้วจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านสมัครใจเลิกรุกป่า ลงมาจากภูเขาเอง ?
กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ชื่อว่า ล่องแก่งน้ำว้าแม่สะนาน จึงเกิดขึ้นภายใต้การนำของหัวหน้าโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ที่ 2 จังหวัดน่าน และการมีส่วนร่วมเล็กๆ จากโครงการธรรมชาติปลอดภัยในการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกิจการ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนคนต้นน้ำ เป็นอาชีพทางเลือกให้กับชาวบ้านทดแทนการขึ้นไปรุกป่าทำการเกษตรบนภูเขา
ล่องแก่งน้ำว้าแม่สะนาน จึงไม่ใช่แค่ธุรกิจท่องเที่ยว แต่เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาให้กับชุมชนและสังคม
ที่นี่นอกจากจะให้ความสนุกตื่นเต้นในแบบที่ใกล้ชิดธรรมชาติแล้ว ใครที่ได้ไปยังได้มีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชาวบ้านเลิกรุกป่าและหันมาร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา ต้องมาจากความเข้าใจ จริงๆ
ปล.
ต้องขออภัยอีกครั้งค่ะ เนื่องจากดิฉันไม่สามารถแปะลิงค์ได้ จึงขอแปะเนื้อหามาแชร์แทนค่ะ
ต้องขออภัยในความไม่สะดวกและขอขอพระคุณมากค่ะ
- See more at: http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1717#sthash.CXcbkefh.dpuf
http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1717
------------------------------------------------------------------------
น่าน...
ถือเป็น แหล่งต้นน้ำ ที่สำคัญของประเทศไทย จากการสำรวจของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงปริมาณมวลน้ำทั้ง 4 สาขา คือ ปิง วัง ยม น่าน ที่มาบรรจบเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา พบว่ามาจาก แม่น้ำน่าน ถึง 40% ปัจจัยที่ทำให้ จ.น่าน เป็นแหล่งต้นน้ำ เพราะกว่า 85% ของพื้นที่ทั้งหมด 7.6 ล้านไร่เป็นภูเขาและป่าไม้
ทว่า...ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ของ จ.น่าน ลดลงเหลือเพียง 50% เนื่องจากการบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะ ไร่ข้าวโพด ทำให้ภูเขาที่เคยปกคลุมด้วยป่าเขียวขจี กลายเป็น เขาหัวโล้น กระทบไปถึงป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่าน และอีก 22 จังหวัดของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ คนน่าน ตกเป็น จำเลยสังคม ในฐานะ ตัวการ ทำลายป่าไม้ และต้นน้ำสำคัญ
ข้อมูลของ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ พบว่า ปัญหาป่าไม้ จ.น่าน มีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลประกาศนโยบายพัฒนาประเทศเมื่อ 50 ปีที่แล้ว โดยมีการเปิดสัมปทานป่าไม้ทำให้มีการตัดไม้ยืนต้นจากป่าจำนวนมาก จนมาถึงยุคปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อย่าง ข้าวโพด ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ โดยปี 2535 คนน่าน เริ่มหันมาปลูกข้าวโพดมากขึ้น เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ต้องขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นจนรุกเข้าไปในป่า ทำให้ป่ากลายเป็น เขาหัวโล้น โดยปัจจุบัน จ.น่าน มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดราว 8 แสนไร่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่า หรือที่ดินไม่มี เอกสารสิทธิ
ในจุดนี้เองทำให้ คนน่าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันกลับมาศึกษาถึงผลกระทบ เพื่อจัดการพื้นที่ทำกินและป่า โดยมุ่ง ลด ละ เลิก ปลูกข้าวโพด แล้วหันมาทำเกษตรแบบผสมผสานแทน ซึ่งหนึ่งในกรณีศึกษาเรื่องเขาหัวโล้น-ไร่ข้าวโพด ที่ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็น เขตปลอดข้าวโพด ต้นแบบ คือ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติชุมชนบ้านสะปัน ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ หรือ...
ดงพญาโมเดล !!!
พระครูสุจิณนันทกิจ เจ้าอาวาสวัดโป่งคำจ.น่าน หนึ่งในศูนย์เรียนรู้ภายใต้เครือข่าย ดงพญาโมเดลบอกว่า เมืองน่าน กำลังถูกจับตามองอย่างมากจากสังคมภายนอก ทั้งสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหาจากการทำเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชนจาก นโยบายรัฐ-ระบบทุน ที่ถาโถมเข้าใส่ ซึ่งล้วนมีผลกับคนน่านทั้งสิ้น คนในชุมชนจึงลุกขึ้นมาค้นหาคำตอบผ่านกระบวนการเรียนรู้จนพบทางออกที่จะพลิกฟื้น เขาหัวโล้น ให้เป็นเขาหัวเขียว และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเอาไว้ โดยยึดหลัก ดินดี น้ำดี และคนดี
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายใน จ.น่าน เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ภาครัฐได้พยายามส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากวิถีเกษตรดั้งเดิมแบบพออยู่พอกิน เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว จากนโยบายที่ไม่ได้มองขึ้นไปจากวิถีชุมชน แต่ใช้วิธีคิดจากบนลงล่าง ทำให้เกิดปัญหา ถ้าจะแก้ปัญหาต้องเริ่มจากเปลี่ยนวิธีคิดจากฐานชุมชนขึ้นไป เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ กล่าว
ด้าน เมธวัฒน์ พุทธิธาดากุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ดงพญา กล่าวว่า ชาวบ้านใน ต.ดงพญา ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราว 30% ของพื้นที่ ต่อมาได้เล็งเห็นถึงปัญหา ทั้งความเสี่ยงด้านสุขภาพ และผลกำไรจากการทำไร่ข้าวโพดที่ไม่มาก เมื่อเทียบกับผลกระทบแล้วถือว่า ไม่คุ้ม โดยเราได้ทำบัญชีสรุปรายรับ-รายจ่ายตลอด 1 ปี พบว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วบางรายไม่เหลือเงิน แถมยัง ติดลบ เราจึงมานั่งคุยกันว่าจะทำต่อไปทำไม เพราะไม่คุ้ม หนำซ้ำยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
เมธวัฒน์ กล่าวอีกว่า จากการวิจัยที่เราทำร่วมกับ สกว. พบว่า การปลูกข้าวโพดมีผลกระทบหลายด้าน เช่น ทำให้สิ่งแวดล้อม และป่าไม้ถูกทำลายจากการ รุกคืบเข้าไปของไร่ข้าวโพด , แหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมี เนื่องจากมีการชะล้างสารเคมีจากที่สูงมาสู่แหล่งน้ำ และวิถีชุมชนเปลี่ยนไป จากพึ่งพิงธรรมชาติ เก็บผักหญ้าในผืนป่ามาบริโภค ก็เปลี่ยนมาใช้จ่ายด้วยเงิน ทาง อบต.ดงพญา จึงนำงานวิจัยนี้มารณรงค์ให้ความรู้ เพื่อให้คนในชุมชนลดการปลูกข้าวโพดลง
ต.ดงพญา เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีแหล่งน้ำลำห้วย 239 แห่ง ที่ไหลลงสู่แม่น้ำหรือลำน้ำวะ ซึ่ง 60% ของแม่น้ำน่าน มาจากลำน้ำวะ โดยในอดีตลำน้ำวะมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันสัตว์น้ำลดลง เพราะสารเคมีที่เกษตรกรใช้ในไร่ข้าวโพดไหลลงสู่ลำน้ำ ถ้า ต.ดงพญา มีการปลูกข้าวโพดก็จะเป็นปัญหากับพี่น้องอีกหลายๆจังหวัด เพราะน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคจะปนเปื้อนสารเคมี นายก อบต.ดงพญา กล่าว
นายก อบต.ดงพญากล่าวด้วยว่า จากการตรวจสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ในอดีต พบว่า มีสารเคมีในกระแสเลือดมาก แต่หลังจากที่มีการรณรงค์ให้เลิกปลูกข้าวโพด และสร้างอาชีพ หรือปลูกพืชอื่นทดแทน ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะชาวบ้านมี กำไร มากกว่าการทำข้าวโพด มีความสุขแบบพอเพียง ที่สำคัญสุขภาพก็ดีขึ้น ปริมาณสารเคมีในร่างกายลดลง ในที่สุด ต.ดงพญา ก็กลายเป็น เขตปลอดข้าวโพด สำเร็จ
ขณะที่ เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิจัย สกว.กล่าวว่า ทางออกของการแก้ปัญหา เขาหัวโล้น คือ ต้องสร้างระบบการดูแลฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มั่นคง ชาวบ้านต้องอยู่ได้ บริษัทก็มีกำไร มี ประชารัฐ ในการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างประชาชนและภาครัฐ บนฐานความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ให้เกิดเป็น เกษตรหุ้นส่วน ไม่ใช่เกษตรพันธะสัญญา ใช้ฐานของคนในท้องถิ่น ปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลและปกป้อง เพื่อผลประโยชน์ของชุมชน
ปัญหาเขาหัวโล้นใน จ.น่าน ทั้งกรมป่าไม้ เทศบาล ชุมชน และนักวิชาการ ต้องมาคุยกัน เพื่อออกแบบการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อฟื้นฟูป่าและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ให้คนน่านหลุดพ้นจากการเป็นจำเลยของสังคมในการทำลายป่า เชื่อว่าผลที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจของทุกคน เพราะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เกื้อกูลสิ่งแวดล้อม นักวิจัย สกว.กล่าว
ปัจจุบัน คนน่าน ตื่นตัว และรับรู้ว่าการบุกรุกทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะ ไร่ข้าวโพด คือ การทำลายป่าและต้นน้ำ วันนี้ วิถี...คนน่าน จึงเปลี่ยนไป พวกเขาหันกลับมา รักษ์...ป่า-ต้นน้ำ มากขึ้น ทำให้เชื่อว่าภาพ เขาหัวโล้น ที่น่าน จะกลับมาเขียวขจี เป็นป่าต้นน้ำหล่อเลี้ยง แม่น้ำเจ้าพระยา สายเลือดใหญ่ของคนไทยได้ในอีกไม่นานนี้
- See more at: http://m.naewna.com/view/highlight/182391#sthash.2oHOXWoJ.dpuf
http://m.naewna.com/view/highlight/182391
----------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 25/04/2016 10:43 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
การให้น้ำของป่าต้นน้ำ
ประโยคสั้นๆ ที่ว่า "มีป่ามีน้ำ" หรือ "ป่าต้นน้ำ" คงเป็นคำที่ได้ยินคุ้นหูกันมานาน เป็นคำง่ายๆ แต่ที่มานั้นไม่ง่าย ระบบการให้น้ำของป่านั้นมีเรื่องราวมากมาย และมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของพืช สัตว์ป่า มาจนถึงมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันความสำคัญเหล่านั้นในปัจจุบันก็มีภัยคุกคามต่างๆ ที่สร้างผลกระทบให้แก่พื้นที่ป่าต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการรุกของการทำเกษตรในพื้นที่ป่า ตลอดไปจนการสร้างเขื่อน (อย่างเขื่อนแม่วงก์) เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ seub.or.th จึงขอนำเสนอเรื่องราวที่มาของป่าต้นน้ำ โดนนำมาจากเอกสารเร่ื่อง "การให้น้ำของป่าต้นน้ำ" โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อทำความเข้าใจและมีวามตระหนักต่อการให้น้ำของป่าต้นน้ำมากยิ่งขึ้น
ระบบนิเวศต้นน้ำ
ต้นน้ำ หรือ Head watershed หมายถึงส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความลาดชัน และหรืออยู่บนพื้นที่สูง ส่วนคำว่า ลุ่มน้ำ หรือ watershed หมายถึง พื้นที่ที่อยู่เหนือจุดๆ หนึ่งบนลำธาร ที่ทำหน้าที่รองรับน้ำฝน และนำน้ำในส่วนเกินจากน้ำ 3 ส่วน คือ
1. การนำขึ้นไปใช้ในการคายน้ำของต้นไม้
2. การดูดยึดไว้ของดิน
3. การรั่วซึมผ่านชั้นหินที่อยู่ใต้ดินออกนอกลุ่มน้ำไป
โดยจะนำน้ำในส่วนที่เกินจากน้ำสามส่วนนี้ลำเลียงให้กับลำธารทั้งทางผิวดินและใต้ดิน แล้วจึงระบายให้กับพื้นที่ท้ายน้ำโดยไหลผ่านจุดที่กำหนดให้นั้นต่อไป พื้นที่ต้นน้ำ หรือ ระบบนิเวศต้นน้ำ มีองค์ประกอบใหญ่ๆ อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1. โครงสร้าง (structure) ของระบบนิเวศ ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ ที่ประกอบตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างหน้าตาของพื้นที่ต้นน้ำ เช่น ดิน น้ำ ต้นไม้ หรือป่าไม้ สัตว์ป่า และอากาศ เป็นต้น
2. การทำงานตามหน้าที่ (function) ของระบบนิเวศ คือ กระบวนการ (process) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาโต้ตอบซึ่งกันและกัน ระหว่างปัจจัยแต่ละตัวที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างระบบนิเวศ ได้แก่ กระบวนการสร้างดิน กระบวนการหมุนเวียนของน้ำกับธาตุอาหาร และกระบวนหมุนเวียนของพลังงาน ทั้งสามกระบวนการจะมีส่วนเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดเป็นส่วนต่อไป
3. การให้บริการ (service) ของระบบนิเวศที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบไปด้วย การให้ผลผลิตที่เป็นเนื้อไม้ ของป่า และอาหารจากสัตว์ป่า การควบคุมการดูดซับน้ำฝนของดินและการระบายน้ำจากชั้นดินลงสู่ลำธาร การควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน การบรรเทาความรุนแรงของอากาศ การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ป่าต้นน้ำเก็บน้ำได้เท่าไหร่
จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินของป่าชนิดต่างๆ มากกว่า 200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ปรากฎว่าป่าไม้ที่มีลักษณะชุ่มชื้นไปจนถึงป่าไม้ที่มีลักษณะแห้งแล้ง คือป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังของประเทศไทย มีระดับความลึกของชั้นดินเท่ากับ 82 เซนติเมตร (อยู่ในช่วงระหว่าง 30 ซม. ของป่าเต็งรัง ถึง 150 ซม. ของป่าดิบเขา) มีค่าเฉลี่ยความพรุนของดิน หรือ ปริมาณช่องว่างภายในดินเท่ากับ 49.61% (อยู่ในช่วงระหว่าง 43.53% ของป่าเบญจพรรณถึง 63.17% ของป่าดิบแล้ง) มีผลทำให้ค่าเฉลี่ยความสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุดมีค่าเท่ากับ 687.84 ลบ.ม./ไร่ (อยู่ในช่วงระหว่าง 230.64 ลบ.ม./ไร่ ของป่าเต็งรัง ถึง 1,516.08 ลบ.ม./ไร่ ของป่าดิบเขา)
น้ำในลำธารนั้นมาจากไหน
จากการพิจารณาวัฎจักรของน้ำ พบว่า น้ำที่ไหลในลำธารเกิดจากปริมาณและลักษณะการตกของฝน เป็นปัจจัยที่นำน้ำเข้าสู่ระบบนิเวศต้นน้ำ โดยมีป่าไม้ทำหน้าที่แบ่งน้ำฝนที่ตกลงมาแต่ละครั้งออกเป็นน้ำผิวดินและน้ำใต้ผิวดิน ลักษณะภูมิประเทศจะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำผิวดิน ในขณะเดียวกันชนิดดินและความลึกของชั้นดินจะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนตัวของน้ำใต้ผิวดิน ทั้งน้ำผิวดินและน้ำไหลใต้ผิวดินจะไหลและเคลื่อนตัวลงมารวมกันเป็นน้ำท่าไหลในลำธาร
ป่าต้นน้ำให้น้ำท่าเท่าไหร่
จากการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ต้นน้ำป่าธรรมชาติที่ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ในท้องที่ต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ น่าน สกลนคร นครราชสีมา ระยอง นครศรีธรรมราช และสงขลา ของส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ป่าต้นน้ำทั่วไปจะทำให้น้ำท่าไหลในลำธารเฉลี่ย 464.1 มม./ปี (อยู่ในช่วงระหว่าง 107.4 มม./ปี ของป่าเต็งรัง ถึง 897.1 มม./ปี ของป่าดิบเขา) หรือร้อยละ 22.91 (อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 6.7 ของป่าเต็งรัง ถึงร้อยละ 42.9 ของป่าดิบเขา) ของฝนที่ตกลงมาทั้งปีโดยเฉลี่ยคือ 1,896.9 มม. (อยู่ในช่วงระหว่าง 1,347.7 มม. ของป่าเบญจพรรณ ถึง 2,516.6 มม. ของป่าดิบชื้น)
สำหรับลักษณะการไหลของน้ำท่าในช่วงระยะเวลาต่างๆ กันของรอบปีนั้น โดยทั่วไปป่าต้นน้ำจะให้น้ำท่าไหลในลำธารตลอดทั้งปี ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าถ้าต้นน้ำใดที่มีความสมบูรณ์สูง อาทิ ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น น้ำฝนที่ตกลงมาเป็นจำนวนมากในช่วงต้นของฤดูฝนจะถูกเก็บกักเอาไว้ในชั้นดินเป็นส่วนใหญ่
โดยมีบางส่วนที่ถูกต้นไม้ดึงกลับขึ้นไปใช้ในการเจริญเติบโตและการคายน้ำ และปล่อยให้น้ำฝนที่เหลือจากการดูดยึดของดิน และการใช้น้ำของต้นไม้ ระบายให้กับลำธารในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามเมื่อฤดูแล้งเริ่มขึ้น ระดับของน้ำท่าในลำธารลดลง ความแตกต่างของระดับน้ำท่าในลำธารกับระดับน้ำในชั้นดิน จะเป็นตัวผลักดันให้น้ำในดินระบายให้กับลำธารอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ป่าต้นน้ำในปัจจุบัน
ในประเทศไทยได้กำหนดพื้นที่ต้นน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงและมีความลาดชัน และเป็นพื้นที่ที่สมควรเก็บรักษาไว้เป็นป่าอนุรักษ์ เป็นจำนวนทั้งสิ้นร้อยละ 24.18 ของพื้นที่ืั้งประเทศ ภาคเหนือมีต้นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 46.30 รองลงมาเป็นภาคใต้ ภาคกลาง-ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ 27.54, 25.94, 11.40 และ 9.70 ตามลำดับ
ผลของการประเมินพื้นที่ป่าไม้ในปัจจุบัน จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ในอดีตด้วยวิธีการทางสถิติพบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีเนื้อที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 23.01 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งน้อยกว่าพื้นที่ต้นน้ำทั้งหมดที่กำหนดไว้ โดยมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง-ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 42.25, 23.55, 20.39, 16.60 และ 12.27 ตามลำดับ
เมื่อป่าต้นน้ำถูกทำลายจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
หากพื้นที่ป่าไม้เกิดการเปลี่ยนแปลง (ในที่นี้ยกตัวอย่างผลกระทบที่มาจากการทำการเกษตร) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (structure) ของระบบนิเวศต้นน้ำ เมื่อโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป การทำงานตามหน้าที่ (function) ของระบบต้นน้ำก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูดซับน้ำฝนของผิวดินจะลดลง เฉลี่ยร้อยละ 48.36 และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการให้บริการ (services) ของระบบนิเวศต้นน้ำ เช่น กาควบคุมการพังทลายของดิน
จากการศึกษาของส่วนวิจัยต้นน้ำพบว่า การทำลายป่าต้นน้ำทำให้เกิดการกัดชะพังทลายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉลี่ย 10.02 เท่าของป่าธรรมชาติ
เมื่อการดูดซับน้ำลดลง (ฝนซึมลงดินได้น้อย) ฝนที่ตกตามมาภายหลังจึงกลายเป็นน้ำไหลบ่าบนผิวดิน ทำให้สัดส่วนขององค์ประกอบน้ำท่าเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์น้ำบ่าไหลหลากและอุทกภัยในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งในแต่ละปีอาจมีการลดลงของปริมาณน้ำฝนรายปี การกระจุกของฝนเฉพาะในช่วงฤดูฝน เป็นเหตุส่งให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ
เรียบเรียงจาก การให้น้ำของป่าต้นน้ำ
โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช
http://www.seub.or.th
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 27/04/2016 6:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
สถานการณ์แล้งในเมืองไทย ต้องแก้ปัญหาแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่รอฝน
หากจะบอกว่า แล้งปีนี้ อาจไม่มากเท่าแล้งปีหน้า...
นี่คือ ส่วนหนึ่งของการพยากรณ์จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ซึ่งคาดคะเนจากข้อมูลหลายส่วน โดยสิ่งที่เขาตระหนักรู้และย้ำเสมอ ก็คือ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คนไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ รับกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์พยากรณ์เรื่องน้ำ โดยพยายามใช้ข้อมูลรอบด้านในการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อให้เกิดการคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เพราะปัญหาน้ำครึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องการจัดการน้ำและการให้ข้อมูลประชาชน ได้สร้างความสับสนไม่ใช่น้อย
จากข้อมูลที่อาจารย์ศึกษาวิเคราะห์หลายมุม เพื่อพยากรณ์น้ำ อาจารย์เสรีบอกว่า "ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย" แล้วความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ ต้องทำอย่างไร ลองตามอ่าน...
ในความเห็นของอาจารย์ ต้องบริหารความเสี่ยงอย่างไร ?
ต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อมีภัยแล้งในฤดูฝน พอฝนทิ้งช่วง น้ำที่เป็นต้นทุนที่เรามีอยู่ ก็จะถูกดึงมาใช้ การดึงมาใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดวิกฤติแล้งหนัก ถ้าไม่ดึงน้ำมาใช้ก็ไม่แล้ง กรมอุตุนิยมเคยรายงานว่า ช่วงเวลานั้นฝนจะตก กรมชลฯ ก็บอกให้ชาวนาปลูกข้าวได้ เมื่อฝนไม่ตก กรมชลฯ ก็ต้องดึงน้ำมาช่วยเหลือเกษตรกรร้อยเปอร์เซ็นต์ แทนที่จะอาศัยน้ำฝนปกติ โดยทั่วไปการใช้น้ำ จะมีการแบ่งเป็นปริมาณน้ำฝน 70 เปอร์เซ็นต์ และน้ำจากเขื่อน 30 เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่า เราต้องดึงน้ำมาใช้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัญหาก็เกิดขึ้น แต่กลายเป็นว่า ประชาชนไม่รู้จะฟังใคร ไม่ว่าฝนจะตกหรือไม่ตก หน้าที่ของรัฐบาลคือ บริหารความเสี่ยง การประเมินเรื่องน้ำ สำคัญมากอีกอย่าง ผมคิดว่า หลายหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการน้ำ มีปัญหาเรื่องการให้ข้อมูล
ถ้าจะบอกว่า แล้งเพราะการบริหารจัดการน้ำได้ไหม ?
การคาดการณ์ พยากรณ์ หรือการให้ข้อมูลไม่มีทางที่จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก รัฐบาลต้องมีผู้เชี่ยวชาญบริหารความเสี่ยง แต่หน่วยงานรัฐบริหารความเสี่ยงไม่เป็น ซึ่งต่างจากหน่วยงานเอกชนสามารถบริหารจัดการตรงนี้ได้ ผมขอยกตัวอย่างการบริหารความเสี่ยง ถ้าฝนไม่ตกตามที่ประเมินไว้ อาจตกน้อยกว่า 10 20 หรือ 30 40 ...เปอร์เซ็นต์ แล้วจะดำเนินมาตรการอย่างไร ต้องคิดไปเลยว่า ถ้าฝนไม่ตกหรือฝนตก จะมีปริมาณน้ำเหลือให้ใช้อยู่แค่ไหน เพื่อให้คนในพื้นที่ท้ายน้ำได้รู้ว่า ถ้าฝนตก จะระบายน้ำเท่าไหร่ เพราะอาจมีบางพื้นที่น้ำท่วม
เมื่อเกิดปัญหาน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝนไม่ตกตามฤดูกาล น้ำในอ่างไม่มี พอถึงฤดูฝน เป็นธรรมดาที่ฝนอาจจะตกหนักในบางพื้นที่ หน่วยงานดังกล่าวต้องประเมินปริมาณน้ำที่จะใช้หน้าแล้งให้ได้ ประชาชนที่อยู่เหนืออ่างไม่มีปัญหาน้ำท่วม แต่ประชาชนท้ายอ่าง จะเจอปัญหาน้ำท่วมบางพื้่นที่ อาทิ พระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดการ แต่ผมไม่เห็นหน่วยงานที่จะตัดสินใจเรื่องนี้ และทราบมาว่า รัฐได้ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแล้ว เมื่อตั้งมาแล้ว การบริหารจัดการ ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
เป็นไปได้ไหม ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ ?
ขณะนี้่คือ แล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เป็นปัญหาอันดับหนึ่ง แล้วพื้นที่ปลูกข้าวกี่ล้านไร่ของเกษตรกรที่กำลังจะเสียหาย รัฐต้องรีบแก้ไข ก่อนหน้านี้รัฐบอกว่า ห้ามใช้น้ำชลประทาน ทำให้ชาวบ้านเกิดแรงต้าน แต่ละคูคลองที่ปลูกข้าวก็ต้องมีผลผลิต เพราะข้าวตั้งท้องแล้ว เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ จะไปห้ามเขาสูบน้ำไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เกษตรกรก็ตั้งคำถามว่า น้ำเป็นของใคร
ตอนนี้รัฐก็ไฟเขียวแล้ว ถ้าบอกว่า ไม่ให้ใช้น้ำทางการเกษตร แล้วเอาน้ำมาให้คนกรุงเทพฯใช้ มันไม่ใช่ การใช้น้ำต้องเป็นธรรม รัฐต้องศึกษาว่า จะมีพื้นที่เกษตรที่ไม่ได้ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ และพื้นที่ที่ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ ไม่ต้องมาแย่งน้ำกัน ไม่ใช่เหมารวมว่าต้องเยียวยาทั้งหมด เพราะข้าวเกษตรกรตั้งท้องแล้ว พวกเขาก็จะมีรายได้ไร่ละ 7,500 บาท มากกว่าที่จะเยียวยาไร่ละ 1,000-2,000 บาท แต่ตอนนี้ก็มีการปล่อยน้ำให้เกษตรกรแล้ว
ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องทำตอนนี้คือเรื่องใด ?
รัฐต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่า
1. ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ไหนที่ปลูกข้าวแล้วต้องให้น้ำ สามารถช่วยเหลือให้เกษตรกรอยู่รอดบนพื้นที่กี่ไร่ และพื้นที่ไหนไม่ได้น้ำ ซึ่งกรณีนี้มีทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น แล้วรัฐจะช่วยเหลือเยียวยายังไง
2. รัฐต้องให้ความมั่นใจว่า น้ำอุปโภคบริโภคที่จะส่งมาให้คนท้ายน้้ำมีเพียงพอไหม ต้องยอมรับว่า หน่วยงานรัฐบริหารจัดการจากปริมาณน้ำฝนตกที่ตกลงมา ไม่ได้บริหารจัดการจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ มันเป็นการบริหารที่เปราะบาง รอฝนอย่างเดียว มันไม่ได้ ปกติการพยากรณ์ธรรมชาติว่า ฝนจะตกหรือไม่ตก พยากรณ์จากข้อมูลได้ไม่เกิน 3 วัน จึงกลับมาที่ประเด็นการบริหารความเสี่ยง ต้องทำ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้ากรมอุตุนิยม บอกว่า น้ำจะท่วมบริเวณจุดไหน ก็ต้องบอกกล่าวทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่นั้นรับทราบ
ระยะสั้น รัฐต้องจัดลำดับความสำคัญ ส่วนระยะยาว ถ้าจะจัดการเรื่องน้ำ เกษตรกรและผู้ใช้น้ำต้องปรับตัว ถ้าจะให้เกษตรกรปลูกข้าวแบบเดิม ต้องศึกษาดูว่า พื้นที่นาปี นาปรัง มีปริมาณกี่ล้านไร่ โดยพื้นที่ปลูกข้าวต้องมีผลผลิตเพียงพอต่อผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก เกษตรกรเองก็ต้องปรับตัว รัฐก็ต้องสนับสนุนให้ปลูกข้าวพันธุ์ที่ใช้น้ำน้อย ตรงนี้สำคัญกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และการดึงน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ เราต้องลดปริมาณการใช้น้ำ ทุกคนต้องกลับมาดูตัวเอง
ถ้าจะบอกว่า การให้ข้อมูลในเรื่องการจัดการน้ำไม่ชัดเจนจะได้ไหม ?
ใช่ เพราะบางพื้นที่เกษตรกรคิดว่า ข้าวที่ปลูกไว้ รอดตายแล้ว จริงๆ แล้วข้าวที่ปลูกและอยู่ใกล้ริมคลองชลประทานทุกเส้นทางรอดตาย คนที่ใช้น้ำต้นคลองจะมีน้ำใช้ แต่ต่ปลายคลองน้ำไปไม่ถึง ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ ก็ให้ข้อมูลประชาชน เป็นข้อมูลเปิดเผยอยู่แล้ว แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ข้อมูล
ในปีนี้อาจารย์พยากรณ์เรื่องน้ำอย่างไร ?
อีกสามเดือนข้างหน้า จะมีน้ำเข้ามาประมาณ 1,800-3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร จะมีน้ำต้นทุนอยู่ ณ วันที่ 1 พฤศิกายน 2558 น้ำที่เข้ามาน่าจะคล้ายๆ ปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณน้ำเท่านี้ ปีหน้าต้องใช้อย่างระมัดระวังมาก เพราะช่วง 6 เดือนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเดียวก็ใช้ไปปริมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร พอถึงหน้าแล้ง ฝนไม่ตก จะบริหารจัดการยาก ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2559 เป็นช่วงที่แล้งจริงๆ โดยฝนจะหมดฤดูกาล 30 ตุลาคม นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนจะไม่มีปริมาณน้ำฝน แม้จะมี ก็ปริมาณน้อย จะแล้งไปถึงเดือนเมษายน 2559 น้ำอาจจะไม่เพียงพอต่อการทำนาปรัง แล้วรัฐจะมีแผนระยะสั้น กลาง และยาว อย่างไร หากเกษตรกรจะไม่ได้ทำนาปรังในปีหน้าอีก รัฐจะสร้างอาชีพอื่นๆ ให้เกษตรกรหรือจะสนับสนุนให้ปลูกพืชกินน้ำน้อยยังไงในช่วงแล้งปีหน้า รัฐต้องคิดแล้ว
แสดงว่า น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง
ใช่ ในปีนี้น้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค ไม่น่าเป็นห่วง เป็นธรรมดาของพื้นที่ลุ่มต่ำ ฝนตก น้ำก็ท่วมปกติ ปีนี้ผมไม่กังวลเรื่องน้ำท่วมใหญ่ จะมีน้ำท่วมเป็นจุดๆ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ปีหน้าไม่แน่ น้ำท่วมใหญ่อาจจะมาก็ได้ ดูแนวโน้มแล้ว อาจต้องระวังตั้งแต่กลางปีหน้า
แต่สำหรับเกษตรกร ทั้งปีนี้และปีหน้า น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรายังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย ต้องมีการบริหารความเสี่ยง ผมห่วงสถานการณ์ปีหน้า ผมกังวลว่า ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนาคือ นาปรังปีที่แล้ว นาปีปีนี้ และนาปรัง ปี 59 ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนา เป็นเวลาปีกว่าๆ แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนใช้
ปีหน้าอาจจะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ?
ถ้าถามว่าจะเหมือนน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาไหม บอกไม่ได้เลย ปลายปี 59 ต้องระมัดระวัง คนไทยต้องประหยัดน้ำแล้ว ไม่อย่างนั้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้าจะเจอวิกฤติ เพราะปริมาณน้ำน้อย เจอทั้งปัญหาการจัดการและปัญหาธรรมชาติ
ถ้าจะแก้ปัญหาแล้ง ต้องทำอย่างไร ?
รัฐบาลควรจะมีคณะทำงานที่ไม่ได้เป็นข้าราชการฝ่ายเดียว ควรมีคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อกลั่นกรองมาตรการต่างๆ ที่ฝ่ายข้าราชการเสนอมา แล้วพิจารณาว่า เหมาะสมไหม เหมือนต่างประเทศจะมีผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งมากลั่นกรอง ประกาศเป็นมติ ครม.
http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/657833
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 28/04/2016 11:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
โมเดลสู้แล้งอีสานถึงตะวันออก
ผลไม้ภาคตะวันออก...กำลังทยอยออกสู่ตลาด เมื่อเจอกับปัญหา ภัยแล้ง...อยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงอย่างหนัก ต้องแข่งกับเวลา เพราะถ้าต้นตาย...จะเสียหายรุนแรงมาก
สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร บอกว่า ไม้ผลเป็นพืชที่อายุยาว ปลูกแล้วกว่าจะเริ่มออกดอกให้ผล บางชนิดต้องใช้เวลา 5 ปี...7 ปี...มังคุด 8 ปีกว่าจะได้ ทุเรียนอย่างน้อยก็ 6 ปี ถ้าตายจะเสียหายมาก เพราะกว่าจะฟื้นฟูได้ต้องใช้เวลาอีกหลายปี
กรมฯ ให้ความสนใจดูแลเป็นพิเศษอย่างเช่น ภาคตะวันออก เขตปลูกไม้ผลประเทศไทย ปีนี้กระทบแล้งมากๆมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ต้องหาซื้อน้ำมารดต้นไม้ บางพื้นที่ก็ไม่มีให้ซื้อ ชาวบ้านก็ดิ้นรน
พยายามให้คำแนะนำทางวิชาการ เช่น ให้ข้อมูลดูความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน เขตรากพืช ถ้าเนื้อดินละเอียดอุ้มน้ำได้ดีกว่าเนื้อดินหยาบหรือดินทราย อาจต้องสร้างวิธีการให้เกษตรกรเข้าใจ
ประการต่อมา...พยายามทำความเข้าใจว่า อุณหภูมิสูง...ความชื้นในอากาศต่ำ...ลมแรง จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น หรือแม้กระทั่งตจการจัดการสวน ในการไว้ผลไม้ต่อต้น
ถ้าหากไว้ลูกมากเกินไป อัตราความต้องการน้ำก็จะยิ่งมีมากขึ้น ฉะนั้น...ในช่วงวิกฤติอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ พี่น้องเกษตรกรสวนผลไม้ปลูกทุเรียนอยู่...ถ้าจะต้องรักษาต้นเอาไว้ก็อาจจะต้องเอาลูกออกบางส่วนไม่ให้แน่น จนมีความต้องการน้ำสูง บางสวนจึงอาจต้องตัดทุเรียนออกสัก 30 ...40 เปอร์เซ็นต์
ถัดมา...แนะนำให้เกษตรกร เปลี่ยนวิธีการใช้น้ำ...จากที่ใช้แบบฟุ่มเฟือย ปล่อยน้ำไหลไปทั้งผืนเลย ก็เปลี่ยนระบบน้ำหยด หัวน้ำสปริงเกอร์ นอกเหนือจากนั้นก็ให้เปลี่ยนเวลาให้น้ำ แทนที่ให้กลางวันก็เป็นช่วงกลางคืน ลดอัตราการสูญเสียจากการระเหย ที่สำคัญไม่ต้องตัดหญ้าโคนต้นผลไม้ เพราะจะเสียน้ำได้ง่าย และเสริมด้วยวัสดุคลุมดินที่หนาแน่นพอสมควร คลุมโคนต้นเอาไว้เพื่อรักษาความชื้น อาจจะใช้ใบพืช ต้นเก่า โคนต้นไม่ควรเปิดโล่ง
ประเด็นต่อมา...การแก้ปัญหาภัยแล้ง การเข้าไปช่วยให้มีอาชีพเสริม ยกตัวอย่างภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ในพื้นที่อาจจะมีน้ำไม่มากก็เปลี่ยนวิธีการปลูก เข้ามาร่วมทำการเกษตรแปลงรวมในพื้นที่ 10 ไร่ ก็แบ่งกันทำคนละงาน สองงาน สามงาน จัดการแบ่งพื้นที่กันแล้วแต่ความสามารถ ทำท้องร่อง ปล่อยปลาเลี้ยงเอาไว้ด้วย แล้วก็ดึงแหล่งน้ำเข้ามาปลูกผักอายุสั้น การจัดการศัตรูพืชก็ไม่ให้มีการใช้สารเคมี ใช้ไส้เดือนฝอยคุมศัตรูพืช
น่าสนใจว่า กลุ่มที่รวมกันเฉพาะกิจไปได้สวย ผลิตผักสู้แล้ง ส่งขายได้ มีรายได้ดีทีเดียว
สมชาย บอกอีกว่า อีกโครงการทำกับวัดทุ่งกุลาเฉลิมพระเกียรติฯ หลวงพ่อมีที่ว่าง 21 ไร่ ก็ขอพื้นที่มาทำโครงการ ด้วยปัญหาทุ่งกุลาพอถึงหน้าแล้งทำอะไรไม่ได้เลย ต้องหนีออกมาทำงานที่อื่น รับจ้าง แต่ด้วยความมั่นใจว่า ถ้ามีน้ำ มีการจัดการที่ดีเราทำได้แน่ ก็เลยลองใช้ที่วัดแบ่งคนละงาน ยกร่อง ใช้น้ำวัดที่ใส่แท็งก์ที่มีไม่มาก
วางท่อจัดการระบบให้ดีๆ เริ่มต้นจากปลูกพืชผักง่ายๆ ผักบุ้ง เย็นก็มารดน้ำ ตัดผักรอส่ง...ติดต่อขายส่งไปยังห้างสรรพสินค้า สองเดือนที่ผ่านมาไม่น่าเชื่อว่า เกษตรกรสามารถทำรายได้กว่าเดือนละ 5,000 บาท ในยามแล้งจัดขนาดนี้ถือเป็นรายได้ที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ภาพใหญ่ การแก้ปัญหาที่ผ่านมา ในบทบาทกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการแก้ปัญหา ภัยแล้ง ตามนโยบายรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งลดพื้นที่การปลูกข้าว หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่ากลุ่มพืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ที่ดำเนินการมาล่วงหน้า เตรียมพันธุ์ ให้ใช้ได้ทันฤดูกาล ตั้งแต่ 25 พฤศจิกายนปีที่แล้ว...
รอปลูกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในเดือนธันวาคม...ขณะนี้กำลังเก็บเกี่ยวกันอยู่ ได้ผลผลิตออกมาแล้วตามสมควร ในบางพื้นที่ก็ได้ผลผลิตค่อนข้างดี บางพื้นที่อาจจะมีปัญหาบ้างกระทบแล้ง หรือว่าในช่วงมกราคมอาจจะกระทบหนัก เพราะถั่วเขียวเจอกับอากาศหนาวเย็น อาจจะมีกระทบบ้าง...แต่ในภาพรวมคิดว่าได้ผลดี
เช่น ถั่วเหลือง 400 กว่าราย ได้ผลผลิตค่อนข้างดี...ถั่วเขียว 212 ราย ...ถั่วลิสง 144 รายที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ กลุ่มที่สมัครใจเมื่อได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์แล้วจะคืนกลับมาใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ผลิตต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ
ส่วนที่เหลือ กลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเอง ขายถั่วเอง...1,113 ราย พื้นที่ 1,970 กว่าไร่ ได้ผลผลิตก็จะขายตามราคาท้องตลาด ก็เป็นที่พอใจของพี่น้องเกษตรกรเช่นกัน
มองไกลต่อเนื่องเมื่อผ่านวิกฤติภัยแล้งไปแล้ว ก็ต้อง เตรียมการเข้าสู่ ฤดูฝน ความพร้อมด้านปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาเคมีที่ต้องใช้ในแปลง เมื่อมีฝนปุ๊บก็เพาะปลูกได้ทันที
อธิบดีสมชาย ย้ำว่า การควบคุมมาตรฐาน การจำหน่ายปัจจัยการผลิต ต้องเข้มงวด บริษัท ห้างร้านที่จะขายของให้พี่น้องเกษตรกร ที่ผ่านมากรมฯ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก เข้าไปตรวจสอบใกล้ชิด นับตั้งแต่การนำเข้า สุ่มตรวจตามศูนย์จำหน่าย ร้านค้ามากกว่า 12,800 ครั้ง
ตรวจแล้วก็เก็บตัวอย่างกลับมาเพื่อตรวจสอบว่าเป็นปุ๋ยปลอมไหม สารเคมีมีคุณภาพหรือเปล่า หรือว่าด้อยคุณภาพ นอกเหนือจากนั้น เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรต้องเตรียมก็เข้าไปเก็บตัวอย่างเพื่อดูว่ามีมาตรฐานจริงๆ
ปุ๋ย...ปีหนึ่งเรานำเข้ามากว่า 5 ล้านตัน มีมูลค่า 50,000-60,000 ล้านบาท ปีที่แล้วนำเข้า 4.6 ล้านตัน...มูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท ถือว่าต่ำสุด...สูงสุดในปี 2555 นำเข้า 5.3 ล้านตัน...มูลค่า 8.1 หมื่นล้านบาท
นำเข้าน้อยลง แต่ปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น...เป็นทิศทางที่ดี เกษตรกรปรับเปลี่ยนใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น อาจใช้เสริมเป็นอินทรีย์ เคมี ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้พืชสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ดี
ทั้งหมดเหล่านี้นำไปสู่เรื่อง การลดต้นทุนการผลิต ที่ถูกต้องที่สุดก็คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เลือกพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำที่มีเหมาะสมกับพืช นับรวมไปถึงเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม...ใช้ปุ๋ยตามอัตราส่วนถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม...ตามที่พืชต้องการ
เหมือนกับเวลาเราจะกินอาหาร อิ่มอยู่จะให้อาหารอร่อยอย่างไรก็ไม่อร่อย กินไม่ลง แต่ถ้าให้เวลาหิว...เวลาที่พืชต้องการ แล้วก็ให้อาหารที่ถูกต้อง ก็สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ เจริญเติบโตได้ดี ถ้าให้เวลาไม่ถูกต้อง...ไม่ใช่เวลาที่ต้องการ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ สูญเงินโดยใช่เหตุ
เกษตรกรไทย อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 55 ปี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจจะยุ่งยากกว่า แต่วันนี้ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ถ้ายังทำการเกษตรอยู่แบบเดิมมีแต่จะ ขาดทุน ทำข้าว ทำนา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่นาก็ถูกยึดไปเพราะไม่สามารถมีเงินใช้หนี้ เป็นหนี้พอกพูนเพิ่มทุกปี
สมมติว่ามีที่ 15 ไร่...ถ้าทำนาต่อไร่ได้ข้าว 80 ถังต่อไร่ ได้ข้าวเปลือก 12 ตันกว่าเท่านั้น ข้าวราคาตันละ 7,000 บาท ขายได้ 80,000 กว่าบาทเท่านั้น คำถามสำคัญมีว่า...ใน 1 ปีทำนาขายข้าวได้เงินเท่านี้ หักต้นทุนแล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลย กำไรน่าจะไม่เกิน 20,000 บาท แต่ต้องใช้ทั้งปี...จะไหวหรือ
ปรับเปลี่ยนการผลิตสู้ภัยแล้ง ภัยเศรษฐกิจ...พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าว...เอาไว้ยังชีพ อีกส่วนหนึ่งไปทำอย่างอื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้มากขึ้นอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำการเกษตรระยะสั้น 30 วัน...50 วันก็ได้เงินมาใช้จ่ายหมุนเวียน ดำเนินตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ...เกษตรกรจะยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง
สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ทิ้งท้ายว่า เกษตรกรไทย...ต้องทำการเกษตรแบบคิดอย่างมีเหตุมีผล...ไม่ใช่ทำตามๆกันไป.
http://www.thairath.co.th/content/611205
------------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 28/04/2016 11:30 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระดับประเทศ
ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือฝนแล้งในช่วงฤดูฝนและเกิดฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนวดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่นๆที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
1. เนื่องจากสภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ
2. เนื่องจากการพัดพาของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
3. ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุม ทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
4. ความผิดปกติ เนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยน้อยกว่าปกติ
5. การเปลี่ยนแปลงความสมดุลของพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์
6. ผลกระทบจากปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก เนื่องจากส่วนผสมของบรรยากาศ
7. การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ
8. การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
1.จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อรวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน
2.การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน
3.การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
4.การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น
5. การทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย
http://www.armamentfairbelgrade.com
----------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 28/04/2016 11:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เวียดนามพยายามรับมือกับเหตุภัยแล้งรุนแรง :
เวียดนามกำลังต้องเผชิญกับเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมอย่างรุนแรงในตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา โดยปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เกิดฝนทิ้งช่วงจนส่งผลกระทบต่อการผลิตเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งยังเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นภาคกลางตอนใต้ เขตที่ราบสูงเตยเงวียน ทางทิศตะวันออกภาคใต้และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันนี้ รัฐบาลเวียดนามและท้องถิ่นต่างๆกำลังเร่งมือแก้ไขผลเสียหายจากปัญหาภัยแล้งให้เหลือน้อยที่สุด
ตอนนี้ สถานการณ์ภัยแล้งและน้ำทะเลซึมกำลังมีขึ้นอย่างรุนแรง โดยในภาคกลางตอนใต้ ในปี 2016 นี้ คาดว่าพื้นที่ 40,000 เฮ็กตา ต้องยุติการผลิตข้าว และประชาชน 50,000 คนจะขาดแคลนน้ำบริโภค ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ปัญหาน้ำทะเลซึมได้เกิดขึ้นรุนแรงกว่าปีก่อนๆ โดยซึมลึกเข้ามาในพื้นดินประมาณ 90 ก.ม. ซึ่งลึกกว่าปีก่อนๆประมาณ 10-20 ก.ม.
คาดว่าในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน อาจเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะทำให้ปัญหาภัยแล้งและน้ำทะเลซึมที่จังหวัดแทงฮว้า เหงะอาน กว๋างบิ่ง และกว๋างจิรุนแรงมากขึ้น
นายกาวดึ๊กฟาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำทะเลซึมกว่าครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในทางทิศใต้ของจังหวัดเกียนยาง พื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดก่าเมา บากเลียว ซอกจัง จ่าวิงห์และเบ๊นแจ
ส่วนจังหวัดเห่ายางนั้น พื้นที่ 3 ใน 4 ถูกน้ำทะเลซึม มีแต่จังหวัดด่งท้าปเท่านั้นที่ยังไม่เจอปัญหาดังกล่าว แต่เรื่องที่น่ากังวลคือ ช่วงนี้ยังไม่ถึงช่วงภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด โดยช่วงที่รุนแรงที่สุดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายน
ส่วนในภาคกลางตอนใต้จะเป็นเดือนเมษายนและพฤษภาคม ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนรอฝนในเดือนมิถุนายน ส่วนจังหวัดนิงถวน และบิ่งถวนต้องรอฝนถึงเดือนกันยายน
การชี้นำอย่างเร่งรัดจากส่วนกลาง
จากผลกระทบอย่างรุนแรงของเอลนีโญ รัฐบาลได้ระบุว่า ต้องเชื่อมโยงการรับมือปัญหาภัยแล้งในปี 2016 กับวิสัยทัศน์ในระยะยาว
โดยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้คำสั่งปฏิบัติมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม หลังตรุษเต๊ดประเพณี รองนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ และชี้นำการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ภัยแล้งในภาคกลางตอนใต้และเขตที่ราบสูงเตยเงวียน
เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมรัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและท้องถิ่นต่างๆเกาะติดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันการณ์
ส่วนแผนการในระยะยาว รองหัวหน้าสำนักรัฐบาลเหงียนคั๊กดิ๋งกล่าวว่า เราจะปรับปรุงองค์ประกอบพันธุ์พืชอย่างรวดเร็วในระยะยาว ซึ่งไม่เพียงแต่ปฏิบัติเฉพาะปีนี้เท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติในปีต่อๆไปด้วย และต้องเลือกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ให้เหมาะสมกับฤดูกาล ตลอดจนเงื่อนไขของแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าหากปลูกข้าว 1 เฮ็กต้า เราต้องการน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตร แต่ถ้าหากปลูกพืช แม้กระทั่งไม้ยืนต้น จะต้องการน้ำประมาณ 2,000-3,000 ลูกบาศก์เมตร แต่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าหรือเราจะเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการน้ำน้อย
กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีขยายการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ขุดอ่างเก็บน้ำและเตรียมน้ำบริโภคให้แก่ประชาชนในช่วงปี 2016-2020 โดยใช้งบประมาณ 55 ล้านล้านด่ง
ท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายรุกในการรับมือ
จากผลกระทบในทางลบที่นับวันรุนแรงมากจากปัญหาน้ำทะเลซึม ทางจังหวัดก่าเมาได้สั่งให้ปิดประตูเขื่อนกั้นน้ำเค็มเร็วกว่ากำหนด 1 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและสำรองน้ำจืด
นายเหงียนเตี๊ยนหาย ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมาได้เผยว่า ทางจังหวัดได้ขยายการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับมือกับปัญหาน้ำทะเลซึมและภัยแล้งให้ประชาชนได้รับทราบ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีและเทคนิกการปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแก่ประชาชน
ส่วนสำหรับแผนการระยะยาว ผู้บริหารจังหวัดก่าเมาเผยว่า ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้แก่การผลิต โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งเราได้มีโครงการชลประทานต่างๆแล้ว ถ้าหากลงทุนชลประทานให้แก่ท้องถิ่นใด ต้องทำอย่างพร้อมเพรียงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ทั้งภาค
ส่วนนายเหงียนฟองกวาง รองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้เผยว่า การป้องกันภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมเป็นปัญหาความอยู่รอดของภูมิภาคนี้ ต้องสร้างเขื่อนในเขตผลิตหลัก เช่น เขตสี่เหลี่ยมลองเซวียน ประกอบด้วย จังหวัดอานยาง เกียนยางและเกิ่นเทอ เพื่อเก็บรักษาน้ำจืดและป้องกันปัญหาน้ำทะเลซึม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การผลิต ซึ่งก่อนอื่นต้องปฏิบัติในท้องถิ่นแต่ละแห่งอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนในระยะยาว ต้องขอให้รัฐบาลหารือกับประเทศในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเกี่ยวกับปัญหาทะเลซึมและการสร้างเขื่อนเพราะนี่เป็นปัญหาระดับประเทศ
เหตุภัยแล้งและน้ำทะเลซึมจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึง ดังนั้น การที่รัฐบาลและท้องถิ่นต่างๆ เร่งปฏิบัติมาตรการรับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศ และเป็นฝ่ายรุกในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระยะยาวจะช่วยให้เวียดนามลดผลกระทบในทางลบจากปัญหาดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุดได้ในเวลาข้างหน้า.
http://vovworld.vn/th
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 28/04/2016 7:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลกับโครงการทดลองเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินผ่านระบบสระน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และจังหวัดพิจิตร
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดทำโครงการทดลองเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และพิจิตร เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม จากการที่ระดับน้ำบาดาลลดตัวลงอย่างต่อเนื่องและเป็นการหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และจังหวัดพิจิตร เนื่องจากไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
จากผลการศึกษาในพื้นที่ 6.56 ล้านไร่ ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย พบว่ามีการสูบน้ำบาดาลระดับตื้นขึ้นมาใช้เพื่อทำการเกษตรกรรมถึงปีละ 7,800 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นการใช้น้ำบาดาลเกินสมดุลถึงปีละ 820 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดตัวลงอย่างรวดเร็ว 10-30 เซนติเมตรต่อปี ในอดีตระดับน้ำบาดาลจะอยู่ที่ความลึก 5-10 เมตร จากผิวดิน ปัจจุบันระดับน้ำลดมาอยู่ที่ระดับ 10-25 เมตร จากผิวดิน โดยชั้นน้ำบาดาลระดับตื้นจะมีระดับต่ำสุด 30 เมตร
การลดตัวลงของระดับน้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำเพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายการทรุดบ่อมากขึ้น นอกจากนั้นยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ในระหว่างการทรุดบ่อน้ำบาดาล และหากยังมีการสูบน้ำบาดาลในปริมาณที่เกินสมดุลย์อย่างต่อเนื่องจะทำให้ชั้นน้ำบาดาลระดับตื้นแห้งตัวลง ในที่สุดกลายเป็นชั้นน้ำบาดาลตายหรือ Dead aquifer และจะส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรกรรม ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และสุโขทัย ที่มีมาอย่างช้านาน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีระบบชลประทาน ไม่มีแหล่งน้ำอื่นๆมีเพียงน้ำบาดาลระดับตื้นเท่านั้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ทำการศึกษาทดลองการเติมน้ำโดยคัดเลือกพื้นที่บ้านหนองนา ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษาทดลองเติมน้ำเนื่องจากมีความเหมาะสม ทางด้านอุทกธรณีวิทยา ดินเหนียวชั้นบนมีขนาดบางน้อยกว่า 3 เมตร ชั้นกรวดทรายระดับตื้นมีความหนาต่อเนื่องประมาณ 10-15 เมตร
นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้คลองส่งน้ำ โดยมีการก่อสร้างระบบเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลนำร่องในพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ ประกอบด้วยระบบผันน้ำ ระบบบึงประดิษฐ์ และระบบเติมน้ำขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) พร้อมด้วยระบบติดตามตรวจสอบปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำบาดาล (ดังรูปที่ 1) พบว่า สามารถเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลในช่วงฤดูฝนได้ 26,000 ลูกบาศก์เมตร และสามารถนำน้ำที่เก็บไว้มาใช้ในการปลูกข้าวได้ 16 ไร่ โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของน้ำบาดาล
สำหรับผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ระบบเติมน้ำควรมีพื้นที่ตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไปจะคุ้มทุนภายในระยะเวลา 4 ปี และระบบเติมน้ำที่มีขนาดมากกว่า 10 ไร่ จะมีความคุ้มทุนภายในระยะเวลา 3 ปี
จากการศึกษาพบว่ามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างระบบเติมน้ำรวมทั้งสิ้น 65 ตำบล แบ่งออกเป็นจังหวัดพิษณุโลก 28 ตำบล จังหวัดพิจิตร 25 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย12 ตำบล (รูปที่ 2) สามารถเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลระดับตื้นได้ไม่น้อยกว่า 935 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (มีปริมาณใกล้เคียงกับปริมาณกักเก็บของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คือประมาณ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร) โดยมีพื้นที่ได้รับผลประโยชน์จำนวนทั้งสิ้น 146,700 ไร่
ปัจจุบันโครงการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินอยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกันระหว่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ กบอ. เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานตามแผนบูรณาการที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดทำขึ้น
ถ้าในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการเติมน้ำ จะเกิดผลกระทบดังนี้
1. จะเกิดการขาดแคลนน้ำบาดาลระดับตื้น เพื่อนำมาใช้การเกษตรกรรม เนื่องจากน้ำบาดาลที่กักเก็บลดลงอันเนื่องจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่เกินสมดุล
2. ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากระดับบาดาลมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการสิ้นเปลืองพลังงานในการสูบน้ำมาใช้มากขึ้น
3. การลดลงของชั้นน้ำบาดาลทำให้เกษตรกรต้องทำการทรุดบ่อน้ำบาดาลให้มีระดับลึกมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำบาดาลทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตจากการขาดอากาศหายใจในระหว่างการทรุดบ่อน้ำบาดาล
http://www.aseangreenhub.in.th
----------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 29/04/2016 6:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ฝนหลวงช่วยเติมน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้าน ผอ. เผย สถานการณ์ไม่น่ากังวล คาดมีพอใช้ตลอดฤดูแล้ง :
นายปัญญา กัลปสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น ถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า ปัจจุบันทางเขื่อนมีน้ำกักเก็บอยู่ที่ 265 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นน้ำใช้การ 262 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะเพียงพอสำหรับการปล่อยให้ประชาชนใน จ.ลพบุรี, สระบุรี รวมถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้ใช้อุปโภคบริโภค และผลักดันน้ำเค็มตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
โดยที่ผ่านมาทางศูนย์ฝนหลวงและการบินเกษตรได้ติดตามพร้อมกับขึ้นบินปฏิบัติการเพื่อทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดมีฝนตกลงมาช่วยให้น้ำไหลเข้าเขื่อน ซึ่งแม้จะเป็นบางส่วนแต่ก็เป็นปริมาณที่มากพอจะพยุงระดับน้ำไว้ สถานการณ์จึงไม่น่าเป็นกังวล
อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ประชาชนใช้น้ำด้วยความประหยัด เพื่อสำรองน้ำที่มีไว้ใช้ในฤดูแล้งปีหน้าต่อ
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=694367
------------------------------------------------------------------------------------
ทำฝนหลวงเติมน้ำ3เขื่อนอีสานผนึกกำลังทัพอากาศสลายพายุลูกเห็บป้องกันพืชผลเกษตรเสียหาย
ก.เกษตรฯ * กรมฝนหลวงฯ จับมือชลประทานเตรียมขยายผล "R-Square Project" เติมน้ำลง 3 เขื่อนภาคอีสาน หลังประสบผลสำเร็จจากเขื่อนป่าสักฯ พร้อมผนึกกำลังกองทัพอากาศเฝ้ายับยั้งพายุลูกเห็บ ลดความเสียหายแหล่งปลูกพืชผักไม้ผลภาคเหนือ
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ร่วมกับกรมชลประทานดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำแบบครบวัฏจักรน้ำพื้นที่โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือ "อาร์สแควร์ โปรเจ็กต์" (R-Square Project) โดยมุ่งปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำลงในเขื่อนป่าสักฯ เพื่อให้กรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมช่วยบรรเทาภัยแล้ง พร้อมรักษาระบบนิเวศในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง และช่วยผลักดันน้ำเค็ม เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาสามารถปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำลงในเขื่อนดังกล่าวได้แล้วกว่า 11 ล้านลูกบาศก์เมตร
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 กรมฝนหลวงฯ จะย้ายฐานปฏิบัติการฝนหลวงจากจังหวัดนครสวรรค์มาที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะสามารถเติมน้ำลงในเขื่อนป่าสักฯ ได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร และเดือนมิถุนายนมีเป้าหมายขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำลงเขื่อนเพิ่มอีก 46 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 50-60 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายใน 2 เดือนข้างหน้า เพื่อให้เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำและมีศักยภาพเท่ากับเกณฑ์สูงสุดของการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักฯ
หากโครงการนำร่องนี้ประสบผลสำเร็จ กรมฝนหลวงฯ ได้มีแผนร่วมขยายผล R-Square Project เพื่อเติมน้ำลงในเขื่อนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย อาทิ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นต้น
"สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีเกษตรกรและประชาชนจาก 304 อำเภอใน 56 จังหวัด ร้องขอฝนหลวงเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งทางกรมฝนหลวงฯ ได้เตรียมความพร้อมเครื่องบิน จำนวน 30 ลำ รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์และสารเคมีที่จะใช้ทำฝนหลวง เช่น ยูเรีย และน้ำแข็งแห้ง ทั้งยังกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าตรวจสอบสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมประสานข้อมูลพยากรณ์อากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีความเหมาะสมก็ให้เร่งขึ้นบินทำฝนหลวงทันที และยังคอยติดตามว่าทำฝนหลวงแล้วมีฝนตกหรือไม่ด้วย" นายเลอศักดิ์กล่าว
นายเลอศักดิ์กล่าวว่า กรมฝนหลวงฯ ยังได้มีแผนปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศเฝ้าระวังการเกิดพายุลูกเห็บ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดพายุลูกเห็บสูงกว่าภาคอื่นๆ และเมฆมีการก่อตัวพัฒนาเป็นพายุลูกเห็บค่อนข้างเร็ว จึงจำเป็นต้องใช้เรดาห์ตรวจสอบและติดตามอย่างใกล้ชิด หากตรวจพบว่าจะมีพายุลุกเห็บเกิดขึ้น กองทัพอากาศจะใช้เครื่องบินอัลฟาเจ็ตที่มีความเร็วสูงขึ้นบินปฏิบัติการเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ซึ่งจะกลายเป็นฝนตกลงมาแทน เพื่อลดความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น พืชผักและสวนลำไยที่กำลังให้ผลผลิต รวมถึงบ้านเรือนประชาชน และการขึ้น-ลงของเครื่องบินในท่าอากาศยานด้วย
"ปัจจุบันกรมฝนหลวงฯ ได้ร่วมมือกับกองทัพอากาศเร่งดำเนินโครงการศึกษาวิจัยการใช้จรวดฝนหลวงเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาเรื่องวิถีการยิงจรวดและความแม่นยำของจรวดฝนหลวง และเริ่มยิงสาธิตไปแล้ว ซึ่งได้ผลในระดับหนึ่ง ยังต้องมีการพัฒนาต่ออีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จรวดฝนหลวงในอนาคต คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ และจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันและยับยั้งพายุลูกเห็บได้อย่างสมบูรณ์" อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกล่าว.
http://www.ryt9.com/s/tpd/2406957
---------------------------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 06/05/2016 7:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ปฏิบัติการฝนหลวงประสบความสำเร็จ 76.8% เติมน้ำในเขื่อนกว่า 50 ล้าน ลบ.ม.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วซึ่งออกปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา จนถึงช่วงก่อนสงกรานต์ ได้ออกปฏิบัติการบินไปแล้วทั้งสิ้น 537 เที่ยวบิน คิดเป็นชั่วโมงบินประมาณ 760 ชั่วโมง โดยมีฝนตกจากการออกปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 76.9 ของจำนวนเที่ยวบินที่ขึ้นทำการบิน
การปฏิบัติการฝนหลวง ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมประมาณ 51.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ การปฏิบัติการฝนเทียมในบางพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำส่งผลให้ไม่มีกลุ่มเมฆก่อตัวในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวทำให้เมฆไม่พัฒนาตัวหรือเมื่อก่อตัวแล้วก็สลายไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จากปฏิบัติการฝนเทียมได้ทำให้เกิดฝนตกกระจายตัวรวม 41 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียมทุกท่าน ที่ทำงานอย่างหนักต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีก่อนจนปีนี้ ที่เป็นกำลังสำคัญหน่วยหนึ่งในการคลี่คลายสถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทยลง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สถานการณ์ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ว่าเมื่อสิ้นฤดูฝน คือ 1 พฤศจิกายน 2558 มีปริมาณน้ำใช้การได้ 4,247 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำเข้าเขื่อน ทั้งสิ้น 1,042 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่จนถึงปัจจุบันมีการระบายน้ำออกเพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค และการรักษาระบบนิเวศ 2,169 ล้านลูกบาศก์เมตร
เมื่อหักปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในกิจกรรมทุกประเภท ตลอดช่วงเดือนเมษายน เชื่อว่าจะมีปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนหลักไว้ในต้นฤดูฝน คือ พฤษภาคม-กรกฎาคม จำนวน 1,814 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1,347 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปริมาณน้ำสำรองมากกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีน้ำใช้อย่างเหลือเฟือหรือเพียงพอ และยังมีความจำเป็นที่จะต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการประหยัดและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และขอขอบคุณพี่น้องเกษตรกรจำนวนมากที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการปรับเปลี่ยนวิถีการปลูกพืช จากพืชใช้น้ำมากไปสู่การปลูกพืชน้ำน้อย และการเลี้ยงปศุสัตว์ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการไม่ลักลอบนำน้ำไปใช้ในการปลูกข้าวนาปรัง ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการควบคุมการส่งน้ำไปถึงพื้นที่เป้าหมายเพื่อผลิตน้ำประปาสำหรับพี่น้องประชาชนได้มีน้ำกิน น้ำใช้ อย่างพอเพียงในฤดูร้อนนี้
http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9590000038752
-----------------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11637
|
ตอบ: 24/05/2016 6:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เกษตรฯ สั่งทำฝนหลวงเติมเขื่อนภาคกลาง
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงมาตรการรับมือภัยแล้งว่า ได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เร่งรัดปฏิบัติการทำฝนหลวง หลังจากประเมินสภาพอากาศมีความชื้นพอเพียงในช่วงนี้ จึงได้ตั้งชุดปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษขึ้นที่ จ.นครสวรรค์ ใช้เครื่องบิน 8 ลำ ดำเนินการขึ้นบินตั้งแต่วันที่ 20-24 มกราคมนี้ เพื่อเติมน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนกระเสียวและเขื่อนทับเสลา ที่ปริมาณน้ำมีระดับต่ำ ซึ่งก่อนขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงต้องประเมินสถานการณ์และตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดทุกครั้ง เพราะบางพื้นที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งอาจเกิดผลกระทบได้กำชับเร่งช่วยเกษตรกร 22 จว.
พล.อ.ฉัตรชัย ยังกล่าวถึงมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งว่า ได้กำชับหน่วยงานในพื้นที่ 22 จังหวัด เร่งนำมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลเข้าช่วยเหลือเกษตรกรให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และ จ.ชัยนาท ในวันที่ 22 มกราคมนี้ เพื่อติดตามการแก้ปัญหาภัยแล้ง 8 มาตรการของรัฐบาล โดยช่วงเช้าจะเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ 4 ต.บึงปลาทู จ.นครสวรรค์ เพื่อเยี่ยมชมนิทรรศการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้ง 8 มาตรการ จากนั้นจะเดินทางต่อไปยัง จ.ชัยนาท เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการฟื้นฟูสระเก็บน้ำบ้านหนองดู่ 400 ไร่ ซึ่งประชาชนได้ร่วมกันบริจาคที่ดิน และเป็นโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล แห่เจาะบ่อบาดาลดึงน้ำเลี้ยงข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดภัยแล้งคุกคามหลายพื้นที่ และกรมชลประทานประกาศให้เกษตรกรงดการทำนาปรัง เนื่องจากแม่น้ำสายหลัก สายรอง คูคลอง ต่างแห้งขอดเป็นวงกว้าง แต่ที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ชาวนายังคงมีการทำนาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าแม่น้ำยมสายหลัก ที่ไหลมาจาก จ.แพร่ ผ่าน จ.สุโขทัย เข้าสู่ เขต อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก จะแห้งขอดยาวมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงไหลผ่าน อ.บางระกำ แทบไม่มีน้ำเลย ทำให้ชาวนาที่ทำนาริมแม่น้ำยม กว่า 100 ราย ใช้วิธี ขุดเจาะบ่อบาดาล กลางแม่น้ำยม ดึงน้ำใต้ดินมา หล่อเลี้ยงนาข้าว โดยให้เหตุผลว่า การทำนาคืออาชีพหลัก ถ้าไม่ทำ ก็ไม่รู้จะไปทำอะไร และปีนี้ถือว่าแล้งกว่าทุกปีที่ผ่านมา น้ำในแม่น้ำยมแห้งขอด บ่อบาดาล ที่เคยขุดไว้ริมคันนา ไม่สามารถดึงน้ำมาใช้ได้
ชัยนาทกวดขันสูบน้ำทำนาปรัง :
วันเดียวกัน ร.ต.เพิ่มศักดิ์ เจือทอง ผบ.ควบคุมชุดประสานงานประจำพื้นที่ ชุดที่ 8 จ.ชัยนาท พร้อมด้วย นายวรุตม์ จารุนาค นายอำเภอสรรคบุรี และนายวิชัย พาตา ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ นำกำลังทหาร และฝ่ายปกครองลงพื้นที่ ตรวจแม่น้ำน้อย บริเวณ ม.5 ต.โพงาม และ ม.6 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
หลังได้รับแจ้งว่ามีเกษตรกรลักลอบสูบน้ำจากแม่น้ำน้อย เข้าพื้นที่การเกษตรอย่าง ต่อเนื่องเพื่อปลูกข้าวนาปรัง ทั้งที่ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจต่อเกษตรกรไปแล้วว่า ห้ามทำการสูบน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปรังโดยเด็ดขาด เนื่องจากต้องสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และจากการตรวจสอบ พบเกษตรกรนำเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าสูบน้ำจากแม่น้ำน้อยเข้าไปหล่อเลี้ยงข้าวนาปรัง จึงได้เข้าพูดคุย และทำความเข้าใจในสถานการณ์น้ำ ทำให้เกษตรกรได้ยอมหยุดสูบน้ำในทันที
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
http://www.pandinthong.com/news/preview.php?id=590100000076
-------------------------------------------------------------------------
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|