-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - โซเดียมคลอเรต-โซเดียมคลอไรด์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

โซเดียมคลอเรต-โซเดียมคลอไรด์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 30/11/2009 10:16 am    ชื่อกระทู้: โซเดียมคลอเรต-โซเดียมคลอไรด์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เนื่องจากว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งอวดอ้างว่ามีสารราดลำไย ให้ออกนอกฤดูได้ผลมาก ได้การรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งสารนั้นชื่อว่า "โซเดียมคลอเรท" แต่ที่เรียนมาทราบว่าเกลือแกงที่เรากินกันอยู่เนี่ย มันมีชื่อว่า "โซเดียมคลอไรด์" เลยอยากทราบว่า
1. เจ้าสารที่ว่านั้นมันแตกต่างอย่างไรกับเกลือที่เรากิน???
2. แล้วทำไมราคามันถึงได้แตกต่างกันมากนัก???
3. แล้วถ้าจะใช้เกลือแกงแทนเจ้าสารที่ว่านั้นจะได้ไหม???
4. แล้วผลกระทบต่อพืชและดินที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้เจ้าสารโซเดียมคลอไรด์???

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ป้อมเพชร

ปล. ผมเพิ่งปลูกลำไยครับ แต่จะปฏิบัติตามแนวทางของลุงคิมครับ ที่ถามเพราะว่ากระแสมันแรงเหลือเกิน สงสารเกษตรกรสวนข้างเคียงครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 30/11/2009 12:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอ้าพี่อ้อ งานเข้าแล้วครับ

ขอเพิ่มเติมก่อนนะครับ สารทั้ง2 ตัวคงแตกต่างกันนะครับ ไม่สามารถใช้แทนกันได้ โซเดียมคลอไรด์ สูตรทางเคมีก็คือ NaCl เป็นสารที่ประกอบด้วย โซเดี่ยม(Na) กับ คลอรีน(Cl) หากนำมาใช้กับพืช พืชก็จะได้รับธาตุอาหารทั้ง โซเดี่ยมและคลอรีน ซึ่งจะมีเพียงพืชตระกูลปาล์มเท่านั้นที่ต้องการมากกว่าพืชอื่นๆ สำหรับพืชชนิดอื่นภายในดินน่าจะมีเพียงพอสำหรับความต้องการอยู่แล้ว คงไม่จำเป็นต้องใส่เกลือให้กับต้นไม้อีก

ทั้งนี้ทั้งนั้นการใส่เกลือซึ่งมีอนุภาคของธาตุอาหารที่ใหญ่ และมีประจุ(ไอออน)เป็นบวก ซึ่งจะไปจับกับอนุภาคของดินที่มีไอออนเป็นลบ ทำให้ดินกลายเป็นดินเค็ม ดินไม่กินปุ๋ยเพราะดินไม่เหลือไอออนลบที่จะไปจับปุ๋ยที่มีประจุเป็นบวก แก้ไขยากต้องใช้อินทรีย์วัตถุเข้าไปเพิ่มไอออนลบให้กับดิน นี่จึงน่าจะเป็นที่มาของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ปุ๋ยเคมี

ทั้งหลายทั้งปวงผมพูด(เขียน)ตามความเข้าใจของผมนะครับ ไม่มีเอกสารวิชาการใดๆ รองรับ

ส่วนเรื่องโซเดียมคลอเรท กับโซเดียมคลอไรด์ รอผู้รู้มาช่วยอธิบายครับ

อ๊อดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 30/11/2009 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถูกต้องแล้วอ๊อด.....คำตอบดีมาก......

เรื่องของธาตุอะไรต่อมิอะไรในเคมี นอกจากมีคุณลักษณะเฉพาะต่างกันแล้วยังต้องมี "โมเลกุล" เป็นโครงสร้างเข้ามาเกี่ยวอีกด้วย.....มันเป็นเรื่องทางวิขาการ "วิศวะเคมี" ซึ่งลุงคิมถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด

ลุงคิมก็ขอฝากคุณอ้อ. คุณปุ้ม. คุณ ฯลฯ. ช่วยโพสข้อมูลที่เป็นวิชาการแท้ๆ เอามาอ่านกันหน่อย แล้วจะรู้เลยว่ามันไม่ง่ายอย่างที่อ่าน.....อ่าน คือ "ภาคทฤษฎี" แล้วเมื่อเป็น "ภาคปฏิบัติ" ล่ะ

อย่าว่าแต่ "โซเดียม ฯ" เลย ในระบบการศึกษาของไทยว่าด้วยวิชา "ธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช" แต่ละตัวมีประสิทธิภาพต่อพืชอย่างไร เมื่อพืชได้รับแล้วมีอาการอย่างไร ถ้าพืชขาดมีอาการอย่างไร ถ้าพืชได้รับเกินมีอาการอย่างไร สอนกันละเอียดยิบ คนเรียนท่องได้เหมือนนกแก้ว. นกขุนทอง. นกกระตั้ว. อีกา. นกแขกเต้า. แต่หากต้องการเอาแต่ละตัวมาผสมกัน เหมือนที่บริษัทปุ๋ยเขาทำขายกลับไม่มีการสอน ขนาดหลักสูตรระดับปริญญาเอกยังไม่สอนแม้แต่วิธีทำ "แคลเซียม โบรอน" เลยคุณ แล้วถ้าจะทำ "อเมริกาโน่ - ยูเรก้า" จะทำได้ไหม

แก้ไขคำตอบ.......
ลุงคิมว่าคลิกไปอ่านเรื่องลำไยที่เมนู "ไม้ผล" ก่อนดีกว่ามั้ง.....แต่เอ้ สงสัย-สงสัย ไอ้ที่ใช้กับลำไยน่ะ มัน "โปแตสเซียม คลอเรต" ไม่ใช่หรือ แล้วคุณไปเอาข้อมูลเรื่องใช้ "โซเดียม คลอเรต" กับลำไยมาจากไหน หรือว่าเป็นสารชนิดใหม่ แรงกว่าตัวเก่าละ.......ลุงคิมคลิกไปดูเรื่องลำไย เลยรู้ว่า "มั่วตามคุณ" ก็เป็นเหมือนกัน มิน่า อ่านโจทย์คุณครั้งแรกมันรู้สึกตะหงิดๆ ว่าต้องมีบางอย่างผิดเพี้ยนแน่ สุดท้ายจึงรู้ความจริง โปแตส
เซียม. ไม่ใช่โซเดียม


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/11/2009 8:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 30/11/2009 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงครับ ผมไม่กล้ารับคำท้าลุงหรอกครับ กลัวอายุสั้นครับ 555
ผมจะยอมเป็นคนบ้าตามสายตาของสวนข้างบ้านครับ ทำอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา แต่ตอนนี้เริ่มมีคนสนใจในแนวทางนี้บ้างแล้ว กำลังหาเวลาที่จะไปเรียนรู้ที่ไร่กล้อมแกล้มกันครับ

ทางอำเภอฝาง เมื่อสมัยก่อนมีการใช้เกลือแกงหว่านโคนต้นลิ้นจี่ ต้นละประมาณ 1 กิโลกรัม เมื่อลิ้นจี่เริ่มสุก เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางด้านรสชาติ ให้หวานแหลมขึ้นและเนื้อแห้ง (เวลาแกะเปลือกรับประทานแล้วไม่มีน้ำหยดออกมาให้เปื้อนมือ) เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะทำการใส่ปุ๋ยคอก ใช้ใบและกิ่งที่ตัดแต่งออกสุมโคนต้นไว้แล้วรดน้ำ (เหมือนอย่างที่น้องอ๊อดสันนิฐานไว้) ทำอย่างงี้ทุกปี ส่งลิ้นจี่ประกวดทุกปี ได้รางวัลที่ 1 ทุกปี ปัจจุบันเกษตรกรท่านนี้เสียชีวิตไปแล้ว ลูกก็เลิกทำสวนลิ้นจี่ไปแล้ว (ขายสวนเพื่อไปทำอาชีพอื่น)

ป้อมเพชร
...............................................................................................................................................


แก้ไขคำตอบ.......
ลุงคิมว่าคลิกไปอ่านเรื่องลำไยที่เมนู "ไม้ผล" ก่อนดีกว่ามั้ง.....แต่เอ้ สงสัย-สงสัย ไอ้ที่ใช้กับลำไยน่ะ มัน "โปแตสเซียม คลอเรต" ไม่ใช่หรือ แล้วคุณไปเอาข้อมูลเรื่องใช้ "โซเดียม คลอเรต" กับลำไยมาจากไหน หรือว่าเป็นสารชนิดใหม่ แรงกว่าตัวเก่าละ.......ลุงคิมคลิกไปดูเรื่องลำไย เลยรู้ว่า "มั่วตามคุณ" ก็เป็นเหมือนกัน มิน่า อ่านโจทย์คุณครั้งแรกมันรู้สึกตะหงิดๆ ว่าต้องมีบางอย่างผิดเพี้ยนแน่ สุดท้ายจึงรู้ความจริง โปแตสเซียม. ไม่ใช่โซเดียม


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 01/12/2009 8:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่มั่วหรอกครับลุงคิม

เดิมคือโปแตสเซียมคลอเรต ที่มันระเบิดได้แต่ตัวใหม่คือ โซเดียมคลอเรต ผมถึงได้ถามไงครับว่า ต่างจากโซเดียมคลอไรด์อย่างไร เพราะมันคือเกลือเหมือนกันไงครับ (ต่างกันตรงที่เป็นคลอเรต กับคลอไรด์)

เขาบอกว่าพืชดูดซึมได้เร็วกว่าโปแตสเซียมคลอเรต ถึง 7 เท่า ไม่ทำให้ต้นโทรม ไม่ระเบิด ฯลฯ แล้วยังได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรอีกด้วย ว่าได้ผลตามนั้นจริง ๆ สินค้าของบริษัท กฤษ.... (เดี๋ยวจะกลายเป็นโฆษณาให้เขา) ตอนนี้กระแสมันแรง เพราะใกล้ถึงเวลาเตรียมต้นให้ลำไยออกดอกไงครับ เขากะว่าจะทำให้ลำไยออก (ขาย) ช่วงสงกรานต์ครับ ซึ่งปกติที่ อ.ฝาง ลำไยจะออกช้ากว่าที่อื่น (ปลายฤดู) อยู่แล้วซึ่งขายได้ราคาแพงกว่าที่อื่น ๆ แต่เขาจะทำลำไยก่อนฤดูกันครับ แต่ผมกะว่าจะทำลำไยให้ตรงเทศกาลไหว้เจ้าครับ เพราะคนจีนมีกำลังซื้อมากกว่า 555 ปีนี้จะลองทำดูครับ มี 10 ต้น ที่อายุ 5 ปี (กำลังเป็นสาวเอาะ ๆ เลย) ปีที่แล้วขนาดไม่ได้ทำอะไรลูกเต็มต้น

ป้อมเพชร..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 01/12/2009 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณมาก.....ข้อมูลคุณ UPDATE มากๆ......ความที่ลุงคิมไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่อง "สารบังคับ" ทุกชนิด ในไม้ผลทุกประเภท เลยทำให้ตกข่าวเรื่องนี้ไป

ลุงคิมชอบและสนใจวิธีบังคับต้นไม้แบบ "บำรุง" มากกว่าแบบ "ทรมาณ" น่ะ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 01/12/2009 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=616

เตือนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ให้ระวังการใช้สารกลุ่มคลอเรต


นายอรรถ อินทลักษณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า โพแทสเซียมคลอเรตและโซเดียมคลอเรตเป็นสารเคมีที่ผู้ปลูกลำไยนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการเร่งการออกดอกเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูป้อนตลาด ซึ่งแนวโน้มการใช้ สารดังกล่าวมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ปลูกลำไยนอกฤดูได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ไร่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม สารทั้ง2 ชนิดนี้ เป็นวัตถุอันตรายซึ่งอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องระมัดระวังในการเก็บรักษาและใช้ให้ถูกวิธี โดยต้องเก็บไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่าน ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยคอก ขี้เลื่อย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือ แอมโมเนียมเกือบทุกชนิด อาทิ แอมโมเนียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายต่อการติดไฟและอาจเกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้

นอกจากนั้นเกษตรกรไม่ควรทุบบด กระแทกสาร หรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้เกิดการระเบิดได้ ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพตนเองด้วย เพราะโพแทสเซียมคลอเรตและโซเดียมคลอเรตสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หากสะสมในร่างกายในปริมาณมาก อาจมีผลต่อไต ทำลายเม็ดโลหิตแดง ทั้งยังเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจด้วย เกษตรกรจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารโดยตรง และต้องทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังใช้สาร
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำว่า เกษตรกรควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือโซเดียมคลอเรต ในอัตรา 50-60 กรัม ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม1เมตร ถือเป็นอัตราที่เหมาะสม ที่ทำให้ลำไยออกดอกติดผลเต็มที่ ได้ผลน่าพอใจ อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้ผิดไม่ตรงตามระยะการเจริญเติบโตของลำไยและอัตราความเข้มข้นไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดอันตรายต่อการพัฒนาดอกของลำไย เกษตรกรจึงควรปรึกษานักวิชาการก่อนใช้ อีกทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดช่วงชักนำการออกดอกของลำไยด้วย โดยต้องคำนึงถึงช่วงเก็บเกี่ยว ผลผลิตและช่วงการเจริญเติบโตของผลลำไย ถ้าอยู่ในช่วงฤดูแล้ง สวนลำไยควรมีแหล่งน้ำเสริมให้เพียงพอตลอดช่วงออกดอกติดผล เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 02/12/2009 6:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำไยพวกนี้ส่วนใหญ่ "ลูกเล็ก - เมล็ดใหญ่" เพราะเป็นผลผลิตที่เกิดจากต้นที่ถูกบังคับด้วยวิธีทรมาน กระทั่งเป็นผลออกมาแล้วก็ยังขาดการบำรุงอย่างถูกวิธี หรือไม่ก็ไม่ได้รับการบำรุงเลย อีกด้วย

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า....ผู้ผลิตทนทำอยู่ได้อย่างไร กับผู้มีหน้าที่ส่งเสริมทนดูอยู่ได้อย่างไร


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/12/2009 5:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 03/12/2009 5:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นอกจากลูกเล็ก เม็ดใหญ่แล้ว ยังมีกลิ่นเหม็นคาวอีกด้วยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loongtui
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/10/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 21/12/2009 5:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลกระทบของคลอเรตต่อสิ่งแวดล้อมในสวนลำไยและแนวทางการลดผลกระทบ

สมชาย องค์ประเสริฐ, ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร, และศุภธิดา อ่ำทอง
ภาควิชาดินและปุ๋ย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การค้นพบว่าสารคลอเรตสามารถกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ เป็นประโยชน์แก่ชาวสวนลำไยอย่างมากในระยะสั้นแน่นอน แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าถ้ามีการใช้สารคลอเรตในสวนลำไย อย่างกว้างขวางและในระยะยาวแล้วจะมีผลกระทบต่อต้นลำไย ต่อดินจุลินทรีย์ดิน และจะมีการปนเปื้อนของคลอเรตในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน และในผลลำไยหรือไม่ อย่างไร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้สนับสนุนให้คณะผู้วิจัย ศึกษาถึงผลกระทบของการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตและโซเดียมคลอเรตต่อสิ่งแวด ล้อมในส่วนลำไย ตลอดจนหาแนวทางลดผลกระทบถ้ามี

การวิจัยนี้ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 11 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีวิธีการและผลการดำเนินการโดยย่อดังต่อไปนี้

1.การคัดเลือกสวนลำไยและดินที่ใช้ในการวิจัย
ใน จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนมีพื้นที่ปลูกลำไยมากถึง 68% ของประเทศ และพื้นที่ปลูกลำไยใน 2 จังหวัดนี้เป็นพื้นที่ลุ่ม 53% ส่วนอีก 47% เป็นพื้นที่ดอน หลังจากได้ศึกษาแผนที่ดินสำรวจสภาพดินและสวน และพูดคุยกับเจ้าของสวน 34 สวนแล้ว ได้คัดเลือกสวนลำไย 25 สวน แบ่งเป็นสวนในที่ลุ่ม 12 สวน ที่ดอน 13 สวน ตามหลักการจำแนกดิน ดินในสวนทั้ง 25 สวน แบ่งได้เป็น 10 ชุดดิน (Soil series) ซึ่งเป็นดินที่พบมากในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และมี คุณสมบัติประการต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างกว้างขวางเพียงพอที่จะใช้ศึกษาตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

2.การศึกษาการสลายตัวของคลอเรตและผลกระทบต่อสมบัติของดิน
นำ ดิน 10 ชนิดตามข้อ 1 มาผสมกับโพแทสเซียมคลอเรตและโซเดียมคลอเรตอัตรา 0, 100, 200, 300 และ 400 มก./กก. (อัตรา 400 มก./กก. นี้เป็นอัตราประมาณ 2 เท่าของการราดคลอเรตที่แนะนำโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้) แล้วบ่มไว้ในห้องทดลอง ก่อนจะนำมาวิเคราะห์ปริมาณคลอเรตเมื่อ 50, 100, 184 และ 230 วันหลังจากผสม ส่วนหนึ่งของผลการทดลองแสดงในตารางที่ 1 พบว่าคลอเรตสลายตัวได้มากน้อยต่างกันอย่างมากระหว่างดินชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่สลายตัวเกือบหมดใน 50 วันไปในดินหนึ่ง (ที่ความเข้มข้น 100 มก./กก.) จนถึงเกือบไม่สลายตัวเลยใน 100 วัน ในอีกดินหนึ่ง (ที่ความเข้มข้น 400 มก./กก.) เมื่อบ่มดินนาน 230 วัน คลอเรตจากโพแทสเซียมคลอเรตสลายตัวได้มากกว่า 90% ในดินที่คลอเรตสลายตัวได้เร็ว 4 ดิน ขณะที่ในดินที่คลอเรตสลายตัวช้า คลอเรตสลายตัวไปเพียงประมาณ 28-43% เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าการใส่โซเดียมคลอเรตทำให้คลอเรตสลายตัวช้า คือสลายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของการใส่โพแทสเซียมคลอเรตคลอ เรตสลายตัวได้เร็วในดินที่มีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม และ CEC สูง และสลายตัวได้ช้าในดินที่มี % ทราย และ AEC สูง นั้นคือคลอเรตสลายตัวได้เร็วในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง นอกจากนี้ยังพบว่าการใส่โพแทสเซียมคลอเรตในระดับความเข้มข้น 100-400 มก./กก. ไม่มีผลต่อความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ แอมโมเนียมและ ไนเตรต แต่มีผลให้ปริมาณโพแทสเซียมในดินเพิ่มขึ้น

3.การศึกษาว่าจุลินทรีย์ดินมีส่วนในการสลายตัวของคลอเรตในดินมากน้อยเพียงใด
ได้ ผสมโพแทสเซียมคลอเรตกับดิน 5 ชนิดจากข้อ 1 ที่ผ่านและไม่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ แล้วบ่มไว้ 15, 30, 63 และ 93 วัน จึงวิเคราะห์หาปริมาณคลอเรตในดิน ได้ผลว่าคลอเรตที่ผสมกับดินทุกชนิดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อทุกความเข้มข้นและ ทุกระยะการบ่มไม่สลายตัวเลย คือพบคลอเรตใกล้เคียง 100% ของที่ผสมลงไป แต่กับดินที่ไม่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อมาก่อน คลอเรตสลายตัวได้มากน้อยต่างกันในดินแต่ละชนิด ดังตัวเลขในตารางที่ 2

ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการสลายตัวของคลอเรตทั้งหมดในดิน เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินล้วน ๆ การทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยตรงระหว่างคลอเรตกับองค์ประกอบของดินไม่มีส่วนใน การสลายตัวของคลอเรตเลย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจุลินทรีย์จะมีกิจกรรมมาก คลอเรตจึงสลายตัวได้เร็ว

4.การศึกษาการเคลื่อนที่ของคลอเรตในดิน
ได้ ศึกษาโดยบรรจุดินลงในท่อพีวีซี ขนาด 10 ซม. ยาว 50 ซม. ใส่โพแทสเซียมคลอเรตอัตรา 200 และ 400 มก./กก. แล้วรดน้ำในปริมาณต่างกัน คือรดพอให้ดินเปียกลึก 15, 30 และ 45 ซม. (โดยไม่มีน้ำซึมออกจากดิน) รดน้ำอยู่ 3 ครั้งในเวลา 30 วัน แล้วแยกดินในท่อเป็นชั้น ๆ ชั้นละ 5 ซม. นำมาวิเคราะห์หาปริมาณคลอเรต พบว่าคลอเรตเคลื่อนที่ในดินไปกับน้ำได้ดีเมื่อให้น้ำมากคลอเรตก็เคลื่อนที่ ลึกลง

จากการคำนวณปริมาณคลอเรตที่ค้างอยู่ในดินชั้นต่าง ๆ พบว่าการให้น้ำมากซึ่งทำให้คลอเรตเคลื่อนที่ได้ลึกมากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงทำให้คลอเรตกระจายเฉลี่ยไปในชั้นดินเท่านั้น แต่ยังทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้นด้วย ในการทดลองกับดิน 2 ชนิด คือดินน้ำพองที่บ้านแม่โจ้ อำเภอสันทราย และดินปากช่องที่บ้านแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว พบว่าเมื่อให้น้ำพอให้ดินเปียกลึก 45 ซม. ทำให้คลอเรตสลายตัวได้มากเป็น 1.5 เท่าของการให้น้ำเพียงพอให้ดินเปียก 15 ซม.

5.การศึกษาผลกระทบความเข้มข้นของโพเทสเซียมตลอเรตต่อการหายใจของจุลินทรีย์ดิน
ได้ผสมผงถั่วเหลืองบดเล็กน้อยและเติมน้ำให้ดินชื้อพอเหมาะกับดิน 5 ชนิด แล้วแบ่งดินแต่ละชนิดเป็น 4 ส่วน ผสมโพแทสเซียมคลอเรตเข้มข้น 0, 100 และ 1,000 มก./กก. กับดิน 3 ส่วนแรกและนำดินส่วนที่ 4 ไปนึ่งฆ่าเชื้อจากนั้นก็วัดปริมาณ CO2 ที่เกิดจากดินทุกระยะ 3 วันจนถึง 18 วัน

ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าดินที่ไม่ถูกนึ่งแต่มีคลอเรตผสมอยู่ 0, 100 และ 1,000 มก./กก. ทุกดิน และทุกระยะของการวัด มีปริมาณ CO2 เกิดขึ้นมากเท่า ๆ กัน ขณะที่ในดินที่ถูกนึ่งฆ่าเชื้อมี CO2 เกิดขึ้นเล็กน้อยนั้น คือจุลินทรีย์ในดินที่ถูกนึ่งฆ่าเชื้อตายเกือบหมด ขณะที่จุลินทรีย์ในดินที่ใส่คลอเรตยังหายใจเป็นปกติ สรุปได้ว่าจากการใส่โพแทสเซียมคลอเรต 1,000 มก./กก. ไม่ได้ทำให้ จุลินทรีย์ดินโดยรวมตายหรืออ่อนแอลง ดังตัวเลขในตารางที่ 3

6.การศึกษาผลกระทบของโพแทสเซียมคลอเรตต่อกระบวนการไนตริฟิเคชั่น
ได้ผสมผงถั่วเหลืองบดเล็กน้อยและเติมน้ำให้ดินชื้นพอเหมาะกับดิน 5 ชนิด แล้วแบ่งดินแต่ละชนิดเป็น 4 ส่วน ผสมโพแทสเซียมคลอเรตเข้มข้น 0, 1,000 และ 3,000 มก./กก. กับดิน 3 ส่วนแรก และนำดินส่วนที่ 4 ไปนึ่งฆ่าเชื้อ แล้วบ่มดินดังกล่าวทั้งหมดไว้ 7, 14, 28 และ 35 วัน จากนั้นก็นำไปวิเคราะห์ปริมาณ NH4+, NO2- และ NO3-

ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าดินที่ถูกนึ่งไม่มี NH4+, NO2- และ NO3- เกิดขึ้นเลยในทุกดินในทุกระยะของการวัด สำหรับในดินที่ไม่ถูกนึ่งทั้งที่ใส่และไม่ใส่คลอเรตต่างมี NH4+ เกิดขึ้นมากในระยะ 7 วัน แต่ในดินที่ไม่ใส่คลอเรต มี NH4+ ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อวันที่ 14, 28 และ 35 ขณะที่ในดินที่ใส่คลอเรต 1,000 และ 3,000 มก./กก. มีปริมาณ NH4+สูงเกือบเท่ากับเมื่อ 7 วัน แสดงว่าคลอเรต 1,000 และ 3,000 มก./กก. ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง NH4+ ไปเป็น NO2

เมื่อ วันที่ 28 และ 35 หลังจากบ่มดิน ในดินที่ใส่คลอเรตมี NO2- สูงกว่าในดินที่ไม่ใส่คลอเรต แต่มี NO3- ต่ำกว่า ข้อมูลนี้จึงยืนยันให้เห็นว่าคลอเรต 1,000 และ 3,000 มก./กก. มีผลบ้างต่อการเปลี่ยนแปลง NH4+ ไปเป็น NO2- และขัดขวางการเปลี่ยนแปลง NO2- ไปเป็น NO3- เกือบสิ้นเชิง

จึงสรุปได้ว่าโพแทสเซียมคลอเรตเข้มข้น 1,000 มก./กก. ขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนแปลงของไนโตรเจนในดินในช่วงการเปลี่ยน NO2- ไปเป็น NO3- จะได้ศึกษาต่อไป คลอเรตเข้มข้น 50-500 มก./กก. ซึ่งมักพบในสวนลำไยในเดือนแรกหลังใส่คลอเรตจะมีผลดังกล่าวหรือไม่ต่อไปที่ ข้อมูลบางส่วนของการทดลองนี้แสดงในภาพที่ 1

7.การศึกษาหาความเข้มข้นของโพแทสเซียมตลอเรตในดินที่ทำให้ไส้เดือนดินตาย
จาก การสังเกตเมื่อราดคลอเรตในสวนลำไยในฤดู พบว่าไส้เดือนจะพยายามหนีออกจากแนวที่ราดคลอเรตทันที ไส้เดือนจึงน่าจะใช้เป็นตัวกำหนดค่าความเข้มข้นวิกฤตของคลอเรตต่อสิ่งแวด ล้อมในดินได้ดีอีกชนิดหนึ่ง จึงได้ทดลองเลี้ยงไส้เดือนในดินที่ผสมคลอเรต โดยใช้ดินน้ำพอง 3 กิโลกรัม (ซึ่งคลอเรตสลายตัวช้าในดินนี้) ผสมปุ๋ยคอก 150 กรัม แล้วเติมโพแทสเซียมคลอเรตเข้มข้น 0, 100, 200, 300 และ 500 มก./กก. และน้ำให้ดินชื้นพอเหมาะใส่ไส้เดือน 10 ตัวต่อการทดลอง 1 ซ้ำ ทำการทดลอง 4 ซ้ำ จากนั้นตรวจนับไส้เดือนสัปดาห์ละครั้ง พบว่าที่ความเข้มข้น 500 มก./กก. ไส้เดือนตายเกือบหมดในสัปดาห์แรก ที่ความเข้มข้น 200 และ 300 มก./กก. ไส้เดือนตายเกือบหมดในสัปดาห์ที่ 2 และที่ความเข้มข้น 100 มก./กก. ไส้เดือนตายเกือบหมดในสัปดาห์ที่ 4ขณะที่ในดินที่ไม่มีคลอเรต เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 4ไส้เดือนยังอยู่เป็นปกติทั้งตัว ข้อมูลที่ได้แสดงว่าความเข้มข้น วิกฤตของคลอเรตต่อไส้เดือนจึงน่าจะต่ำกว่า 100 มก./กก. แต่ยังไม่สามารถทดลองเลี้ยงไส้เดือนเพื่อหาความเข้มข้น วิกฤตที่แน่นอนได้ เนื่องจากเข้าระยะปลายฤดูฝนที่ไส้เดือนตัวโตเต็มวัยจะตายเองโดยธรรมชาติ จึงจะได้ทำการทดลองต่อไปในต้นฤดูฝน พ.ศ. 2544

8.การติดตามตรวจสอบวัดผลตกค้างของสารคลอเรตในดินในสวนลำไย
ได้ ติดตามเก็บข้อมูลการใช้คลอเรต ได้แก่ วันที่ใส่ อัตรา และวิธีการใส่ ขนาดทรงพุ่ม และอายุของต้นลำไยในสวนลำไย 25 สวนที่คัดเลือกไว้ และได้เก็บตัวอย่างดินในสวนลำไยทั้ง 25 สวนมาวิเคราะห์แล้ว 7 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน 2543 การเก็บตัวอย่างดินทั้ง 7 ครั้ง เป็นการเก็บดินหลังจากเกษตรกรใส่สารคลอเรตตั้งแต่ 2-540 วัน พบว่ามีปริมาณคลอเรตในดินแตกต่างกันอย่างมาก มีตั้งแต่ตรวจไม่พบเลยจนถึงมีมากถึง 569 มก./กก.

เมื่อ พิจารณาเป็นรายสวนพบว่ามีสวน 20 สวนใน 25 สวนที่ศึกษา ที่ปริมาณคลอเรตในชั้นหนึ่งชั้นใดของดินลดลงเหลือไม่เกิน 15 มก./กก. ภายในระยะเวลา 365 วันหลังการใส่โพแทสเซียมคลอเรต (ภายใน 1 รอบปี) โดยในสวนที่คลอเรตลดลงเร็วที่สุด คือ มีคลอเรตที่ชั้นหนึ่งชั้นใดในดินลดลงเหลือไม่เกิน 15 มก./กก. ภายใน ระยะเวลา 75-85 วัน ในจำนวนนี้มี 3 ส่วนที่ใส่คลอเรตเป็นปีที่ 2 จาก 4 สวนที่เหลือ ผลการวิเคราะห์ครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน 2543 พบว่ายังมีคลอเรตตกค้างเกิน 15 มก./กก. แต่ไม่เกิน 35 มก./กก. ซึ่งสวนทั้ง 4 นี้มีดินที่จัดว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ (เป็นดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำ) ใน 4 สวนนี้มีสวนหนึ่งใส่คลอเรตทุก ๆ ระยะ 9 เดือนมาแล้ว 3 ครั้ง สุดท้ายสวนที่ 25 นั้นมีการใส่โพแทสเซียมคลอเรตซ้ำซ้อนกันถึง 3 ครั้งภายในปีเดียว จึงพบว่ามีคลอเรตสะสมอยู่มากตลอดเวลา โดยเฉพาะในการวิเคราะห์ 3 ครั้งหลังสุด จึงจำเป็นต้องติดตามวิเคราะห์ดินในสวนทั้ง 5 สวนหลังนี้ต่อไป

สรุปได้ว่า ในสวนส่วนใหญ่ ภายใต้การจัดการที่เกษตรกรทั่วไปกระทำอยู่ในปัจจุบัน คลอเรตจะสูญเสียไปจากดินจนเหลือตกค้างอยู่ในดินตรงแนวที่เกษตรกรราดคลอเรต โดยตรงในระดับใดระดับหนึ่งของชั้นดินไม่เกิน 15 มก./กก. ภายในเวลา 75 ถึง 360 วันหลังจากใส่คลอเรต ยกเว้นดินที่เป็นดินทรายและมีอินทรียวัตถุต่ำเหลือตกค้างอยู่ไม่เกิน 35 มก./กก.

9.การติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนของสารคลอเรตในน้ำในบ่อและร่องคูใกล้สวนลำไยที่ใช้คลอเรต
ใน จำนวนสวนในที่ลุ่ม 12 สวน ที่ศึกษา มี 5 สวนที่มีแหล่งน้ำผิวดินที่อยู่ติดต้นลำไยที่ใส่คลอเรต ประกอบด้วยสระน้ำ และคูระหว่างร่องปลูกลำไย ได้เก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำเหล่านี้มาวิเคราะห์หาปริมาณคลอเรต 3 ครั้งในเดือนสิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน 2543 พบว่าไม่มีคลอเรตตกค้างในแหล่งน้ำที่ติดอยู่กับกลุ่มต้นลำไยที่ใส่คลอเรต แม้ในระยะ 1 เดือนหลังจากใส่คลอเรต ซึงพบคลอเรตตกค้างอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก

10.การติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนของสารคลอเรตในน้ำใต้ดิน
ได้ เก็บน้ำใต้ดินที่ระดับ 50-75, 75-100, 100-125 และ 125-150 ซม. จากสวน 9 สวนมาวัดปริมาณคลอเรต รวม 5 ครั้ง พบว่าปริมาณคลอเรตในน้ำใต้ดินใน 7 สวนจาก 9 สวน สอดคล้องกับปริมาณคลอเรตตกค้างในดินต่ำ คลอเรตในน้ำใต้ดินก็ต่ำด้วย ในบางสวนพบว่าคลอเรตในน้ำใต้ดินในบางความลึกของต้นลำไยบางต้น มีความเข้มข้นสูงกว่าที่พบทั่วไปนั้น คือพบระหว่าง 90-110 มก./กก. ในระยะ 23-64 วันหลังใส่คลอเรต โดยทั่วไปสรุปได้ว่าปริมาณคลอเรตที่ปนเปื้อนในน้ำใต้ดินในสวนส่วนใหญ่ (7 ใน 9 สวน) มีไม่เกิน 10 มก./กก. หลังจากใส่คลอเรตเกิน 138 วัน กำลังดำเนินการเลี้ยงกุ้งและปลาในน้ำที่มีคลอเรตความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอ้างอิงกำหนดเป็นค่าวิกฤติของคลอเรตในน้ำ

11.การศึกษาการเร่งสลายคลอเรต
เมื่อ การใส่คลอเรตให้ผลที่ต้องการคือทำให้ลำไยออกดอกแล้ว โดยปกติภายใน 1 เดือน ก็น่าจะกระตุ้นให้คลอเรตที่เหลือตกค้างอยู่ในดินสลายตัวหมดไปจากดินโดยเร็ว จึงได้ทดลองหาวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น เช่น น้ำกากส่า ซึ่งมีน้ำตาลปนอยู่จำนวนหนึ่ง และปุ๋ยอินทรีย์เหลว (ที่นิยมเรียกกันว่าน้ำสกัดชีวภาพ) และตัวจุลินทรีย์เอง (ที่ถูกอ้างว่ามีประสิทธิภาพ) ตลอดจนปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) โดยตรงมาผสมกับดินที่ใส่คลอเรต ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการซ้ำ 2 ครั้ง พบว่ามีแต่น้ำกากส่าเท่านั้นที่ทำให้คลอเรตสลายตัวได้เร็วขึ้น ขณะนี้กำลังดำเนินการศึกษาในสนาม

12.จากผลการวิจัยสู่การปฏิบัติ
แม้ จะยังไม่ถึงเวลาสรุปผลกระทบของการใช้สารคลอเรตในสวนลำไยต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่โดยสามัญสำนึกทั่วไปน่าจะกล่าวได้ว่า จะต้องมีการจัดการต่าง ๆ เพื่อให้คลอเรตมีผลตกค้างเหลืออยู่ในดินน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและต้นลำไยน้อยที่สุดด้วย มาตรการที่ขอเสนอเพื่อให้มีผลตกค้างของคลอเรตอยู่ในดินน้อยที่สุด ได้แก่

1. การใส่คลอเรตในปริมาณที่เหมาะสมกับชนิดดิน คำแนะนำการใส่คลอเรตที่มีอยู่ในปัจจุบันยังเป็นคำแนะนำทั่วไป แต่ผลการวิจัยในข้อที่ 2 พบว่าคลอเรตสลายตัวในดินแต่ละชนิดได้เร็วช้าต่างกัน ประกอบกับมีรายงานในต่างประเทศว่าความเป็นพิษของโซเดียมคลอเรตต่อพืชนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ดังนั้นปริมาณคลอเรตที่พอเหมาะเพื่อกระตุ้นการออกดอกของลำไยที่ปลูกในดิน ต่างชนิดจึงน่าจะต่างกัน ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยในหัวข้อนี้ จึงน่าจะมีการสนับสนุนให้มีการใช้คลอเรตที่เหมาะสมกับดินแต่ละชนิดต่อไป

2. ผลการวิจัยข้อ 4 ที่ว่า “การให้น้ำมากซึ่งทำให้คลอเรตเคลื่อนที่ได้ลึกมากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงทำให้คลอเรตกระจายเฉลี่ยไปในชั้นดินเท่านั้น แต่ยังทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้นด้วย” ดังนั้นเมื่อลำไยออกดอกแล้วในหน้าแล้ง จึงน่าจะให้น้ำมาก ๆ พอให้ดินเปียกลึก ถึง 30-40 ซม. สัก 2 ครั้ง แทนที่การให้น้ำเพียงให้ดินเปียกลึก 15-25 ซม. ตามที่เกษตรกรทั่วไปทำกันอยู่ ก็จะทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้น การให้น้ำมากนี้จะต้องให้ระยะเวลาห่างกัน พอให้ดินแห้งก่อนจะให้น้ำอีกครั้ง มิฉะนั้นจะทำให้มีน้ำแฉะในดินติดต่อกันนานเกินไป จนทำให้ต้นลำไยตายได้

3. อีกแนวทางหนึ่งที่น่าจะทำเพื่อเร่งให้คลอเรตสลายตัวได้เร็วคือการบำรุงให้ ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง จากผลการวิจัยข้อ 3 ที่ว่า “การสลายตัวของคลอเรตในดินเกิดจากกิจกรรมของ จุลินทรีย์ดินล้วน ๆ คลอเรตจึงสลายตัวได้เร็วในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง”

4. จากผลการวิจัยข้อ 2 ที่ว่า “การใส่โซเดียมคลอเรตทำให้คลอเรตสลายตัวช้ากว่าการใส่โพแทสเซียมคลอเรต” ทำให้มีอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการลดผลกระทบของการใช้สารคลอเรต คือควรใช้โพแทสเซียมคลอเรตแทนโซเดียมคลอเรต

แหล่งข้อมูล:

http://rescom.trf.or.th/display/show_colum_print.php?id_colum=922
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©