-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร13 เกษตร IT (ตอน) เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร13 เกษตร IT (ตอน) เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 25/09/2016 11:42 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (3) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (3)


บทที่ 3 Plant Factory (3.4)





(1) ทำเกษตร มีหลากหลายสารพัดวิธีที่อาจไม่มีในเชิงวิชาการ แต่สำหรับวิธีนี้ผมขอเรียกง่ายๆ ว่า การปลูกผักบนคันดิน หรือ การทำคันดินปลูกผัก โดยภาษาที่เข้าใจกันในสากลบอกไว้ว่าเป็นวิธีแบบ Hugelkultur

Hugelkultur คือวิธีการทำเกษตรที่เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติ ว่าในบริเวณต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ล้มที่ร่วงทับถมกันในป่านั้น จะเป็นพื้นที่ที่สามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ โดยรอบ และมักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นด้วย ตลอดระยะเวลานานนับ 10 ปี หลังจากที่เศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมดสิ้นแล้ว บริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound) ที่มีธาตุอาหารมากมาย




(2) วิธีการก็คือ ใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ มากองสุมเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผักหรือทำประโยชน์ต่างๆ ด้านการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้คือ พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่นำมากองสุมๆ เอาไว้และถูกย่อยสลายด้วยธรรมชาติ เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยแปลงเกษตรแบบนี้ แทบจะไม่ต้องรดน้ำเลย หรือใช้น้ำน้อยมากในการรดน้ำให้พืชผัก





ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkulture
http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html#




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Wildcat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/09/2014
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 07/12/2016 4:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง น้าทิดแดง...คุณออร์คิด


จากผัก IT เลยไปถึงผัก แยกะดิน หรือถึงผัก Resort รึยัง...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 05/03/2017 8:10 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน) เกษตรกรยุคใหม่ใส่สูทปลูกผัก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน) เกษตรกรยุคใหม่ใส่สูทปลูกผัก


บทที่ 3.5 เกษตรกรยุค IT- ใส่สูทปลูกผัก








(1) ไม่น่าเชื่อว่า ... เกษตรกรยุคใหม่ ใส่สูททำงาน ...

Credit : Many thanks to .....
- Picture from http://architizer.com/blog/pasona-hq-urban-farming-kono-designs/#.UVYgGL9uGM

Comments
1.- ผมว่าถึงยุคน่ากลัวมากกว่าเมื่ออาหารพื้นๆกลายมาเป็นสินค้าราคาแพง คนตั้งข้อแม้ในการกินและผู้ปลูกแบบธรรมดาหันไปปลูกแบบนี้กันหมดเมื่อไหร่ สังคมจะวุ่นวายเดือดร้อนเพราะของแพง อาหารแพงคนจนจะอยู่อย่างไรน่าคิดนะ


2.- จะใส่ชุดอะไรไม่สำคัญ ขอให้ใช้ความรู้ที่มีให้เต็มที่และเก็บเกี่ยวประการณ์มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์นั้นล่ะดี

3.- ธรรมชาติมีดีและลงตัวในแบบของมันเองอย่างไรผมก็ชอบปลูกกับดินและรับแสงจากดวงอาทิตย์เพราะธรรมชาติก็คือธรรมชาติไม่มีอะไรแทนได้

4.- มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าการเกษตรในปัจจุบันไม่ใช่แค่คนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ หรือคนตกงาน
ไม่มีอาชีพ ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรแล้วมาทำ หรือทำแล้วขายพ่อค้าคนกลางเท่านั้น
แต่อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่สำคัญ เพราะทุกคนต้องกิน จึงมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำอาชีพเกษตรกันมากขึ้น และคนเหล่านี้จะมีการบริหารจัดการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำนั่นเอง
ไม่ใช่เขาบ้าอากาศร้อนแล้วยังจะใส่สูตรทำงานกันหรอกจร้า

ต่างคนต่างคิด ก็ว่ากันไป....





(2) Intelligent Greenhouse – โรงเรือนอัจฉริยะ

(เมืองไทย มีสร้างกันแยะแล้วนะครับ เท่าที่เห็น ส่วนมากจะใช้ปลูกเมล่อน)

อันว่า การทำเกษตรกรรมนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1-) เกษตรกรรมกลางแจ้ง (Outdoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมที่ทำกันปกติอยู่แล้วครับ ซึ่งก็ต้องพึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ เป็นหลัก

2-) เกษตรกรรมในร่ม (Indoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในอาคาร หรือ โรงเรือน สามารถควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกได้เต็มที่

ถึงแม้ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรรมในร่มจะมีการทำกันน้อยมากๆ และมักทำกันในกรณีพิเศษ แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่า ในอนาคตมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอัตราที่สูงมากๆ ในบทความซีรีย์นี้ ผมเลยอยากจะเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ เกษตรกรรมในร่ม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ โรงเรือนอัจฉริยะ (เกษตรกรรมในร่ม ที่กำลังได้รับการพูดถึงค่อนข้างมากคือ เกษตรแนวดิ่ง (Vertical Farm) แต่เนื้อหาซีรีย์นี้ขอพูดถึงโรงเรือนอย่างเดียวนะครับ เพราะเนื้อหาของ Vertical Farm สามารถติดตามได้ในซีรีย์บทความที่แยกกันต่างหาก)

เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปดูระบบโรงเรือนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรม ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

ปกติแล้ว โรงเรือนที่เขาใช้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้มี 2 แบบ คือ โรงเรือนแบบปิด กับ โรงเรือนแบบเปิด โรงเรือนที่นั่นเป็นแบบปิด สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ป้องกันแมลงเข้าไปในโรงเรือน โดยโรงเรือนเป็นโครงเหล็ก ใช้วัสดุพลาสติกครอบทั้งด้านข้าง และ หลังคา พลาสติกที่ใช้ครอบโรงเรือนเป็นพลาสติกที่ออกแบบมาให้มีความแข็งแรง มีความใสที่สามารถผ่าน สเปคตรัมของแสงที่พืชต้องการให้เข้าไปในโรงเรือน และกันช่วงความยาวคลื่นที่ไม่ต้องการออกไป พลาสติกที่ว่านี้จะต้องทนรังสี UV ด้วยนะครับ มิฉะนั้นมันจะกรอบอันเนื่องมาจาก โมเลกุลพอลิเมอร์เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) แล้วเข้าทำปฏิกริยาในเนื้อพลาสติกกัน จนเกิดเป็นร่างแหของพันธะเคมี (Crosslinked Chains) ทำให้เสียสมบัติความยืดหยุ่นของพลาสติกในที่สุด

เท่าที่ผมดู โรงเรือนในศูนย์ก็ใช้กันมาประมาณ 4 - 5 ปีแล้ว (ณ ขณะนั้น) พลาสติกที่ว่าก็เริ่มกรอบเสียหายแล้ว โรงเรือนที่ว่านี้ บริษัทในประเทศอิสราเอลเป็นคนประกอบและสร้างให้ อีกปัญหาที่พบคือ ตัวคอนโทรลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับควบคุมการเปิดปิดน้ำเย็น (เพื่อควบคุมให้กล้วยไม้ได้รับอุณหภูมิสม่ำเสมอ) เปิดพัดลมระบายอากาศ ได้เสียหายไม่สามารถทำงานได้ แต่ก็ยังสามารถทำงานด้วยระบบมืออยู่ครับ ทางวิศวกรผู้ควบคุมโรงเรือนได้ให้ความช่วยเหลือในการพาเข้าชม และตอบข้อสงสัยทุกอย่าง ท่านอยากให้มีเทคโนโลยีของคนไทยเพื่อนำมาใช้ทดแทนโรงเรือนของนอก หรืออย่างน้อยสร้างอะหลั่ยที่ใช้ทดแทนของที่เสียหาย เช่น พลาสติก

(ผมไม่แน่ใจว่าเป็น Polycarbonate ผสมอนุภาคนาโนบางชนิดเพื่อทำให้เกิดความแข็งแรง และทนต่อ UV)

วัสดุที่ใช้เลี้ยงกล้วยไม้ก็น่าจะคิดทำได้ในเมืองไทย เซ็นเซอร์ที่วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง และระบบควบคุมก็น่าจะทำได้ในเมืองไทย เช่นกัน

(ภาพในรูปที่ 2 - โรงเรือน หรือ Greenhouse มีความจำเป็นในประเทศที่มีอากาศหนาว เพื่อควบคุมให้สภาพในโรงเรือนมีความอบอุ่น เหมาะกับการปลูกพืช แต่ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนนั้น จะต้องมีการดัดแปลงเทคโนโลยี เช่น สำหรับกล้วยไม้ จะต้องมีระบบทำความเย็น โดยจะปล่อยน้ำเย็นออกมาผ่านครีบระบายความร้อน แล้วอาศัยลมที่เกิดจากพัดลม ดูดอากาศเย็นให้มาผ่านกล้วยไม้)

ข้อมูลกับ Teerakiat Kerdcharoen





(3) รายละเอียด และราคาโรงเรือนในเมืองไทย ตามรูปนี้ครับ.....

รูปนี้ เป็นเพียง ผมนำเสนอรูปโรงเรือน และราคา แต่มิได้บอกสถานที่ว่า อยู่ที่ไหน ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ได้รู้จักกับเจ้าของภาพรายนี้ ....หากลุงคิมคิดว่าเป็นการโฆษณา ผมกราบขออภัย น้อมรับผิดทุกกรณี....เจตนา เพียงแต่นำเสนอรูปลักษณ์ แนวคิดของการสร้าง ซึ่งหากใครมีหัวทางช่าง อาจนำไปดัดแปลงสร้างได้เอง โดยยึดราคานี้เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า ราคาจะถูกกว่าตามนี้อย่างแน่นอน แต่....

เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย อาหารเสริม และอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้(ระบบน้ำหยด) ที่สำคัญคือ คำแนะนำสำหรับมือใหม่อยากทำ อยากปลูก จะไม่มี....

ว่าไปแล้ว โรงเรือนขนาด 6 x 24 ราคา 320,000 รวมทุกอย่าง ปลูกเมล่อนได้ 800 ต้น ขายลูกละ 300.- หักต้นทุนแล้ว ขาย 3 รุ่นก็เกินคุ้มแล้ว






(4) ตามที่กล่าวมาแล้วว่า เกษตรกรรมอาจจะแบ่งได้อย่างกว้าง เป็น 2 รูปแบบครับคือ

1-) เกษตรกลางแจ้ง (Outdoor Farming) เป็นเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ

2-) เกษตรในร่ม (Indoor Farming) เป็นเกษตรในร่ม ในสิ่งปลูกสร้างที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม

ปกติเกษตรในร่มที่ทำกัน ก็มักจะทำในโรงเรือน (Greenhouse) ซึ่งใช้แสงธรรมชาติ แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เริ่มมีการนำเอาหลอดไฟ LED ที่ให้เฉพาะแสงช่วงที่พืชต้องการ คือสีแดง กับ สีฟ้า เมื่อมาผสมกันก็มักจะได้สีออกม่วงอมชมพู ทำให้โรงเรือนแบบนี้มีชื่อเรียกใหม่ เก๋ไก๋ว่า Pinkhouse ซึ่งจะมีข้อดีคือ

- หลอดไฟ LED ให้เฉพาะแสงในช่วงที่พืชต้องการ จึงประหยัดพลังงาน ไม่เกิดความร้อน

- พืชโตเร็วกว่าปกติ เพราะได้รับแสงที่ต้องการจริงๆ

- การใช้หลอดไฟ LED แทนแสงธรรมชาติ ทำให้สามารถเพาะปลูกแบบแนวดิ่งหรือ Vertical Farming ได้ ในขณะที่หากใช้แสงธรรมชาติ จะเกิดเงา ทำให้พืชที่อยู่ใต้ๆ ลงมาไม่ค่อยได้รับแสง แต่การใช้ LED สามารถออกแบบให้หลอด LED เข้าไปตามหลืบต่างๆ ได้

ผมเชื่อว่า เกษตรในเมือง (Urban Farming) ที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดเป็นฟาร์มในร่มที่น่าจะใช้โกดังตามชานเมือง มากกว่าที่จะเป็นการปลูกผักในอาคารสูง อย่างที่เป็นกระแสในสื่อต่างๆ ... แต่ถ้าหากเป็นในอนาคตยาวๆ ละก็ มันก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ




(5) เคยบอกไว้ว่า บริษัทโตชิบา กับ ฮุนได ซุ่มพัฒนาตู้ปลูกผัก เพื่อเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวใหม่ ...

วันนี้ขอพูดถึง เอ็มไอที (MIT) หรือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเซ็ตต์ บ้างครับ
เอ็มไอที เป็น สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก เป็นอันดับหนึ่งทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์มาตลอด ...

แม้ว่า เอ็มไอที จะไม่มีคณะเกษตรศาสตร์ แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เอ็มไอทีทุ่มงบวิจัยพัฒนาทางด้านอาหาร รวมทั้งเกษตร มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง เอ็มไอที ได้ไปจัดเสวนาเรื่อง Rethink Food ว่าด้วยเรื่องของการ "คิดใหม่ ในเรื่องอาหาร" ซึ่งได้เชิญบริษัทต่างๆ มากมายในซิลิกอนวัลเลย์ มาระดมสมอง หาวิธีสร้างอุตสาหกรรมอาหารแบบใหม่ รับเทรนด์ผู้สูงวัย และประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น

โครงการ MIT CityFarm เป็นโครงการที่เอ็มไอทีหวังจะให้การปลูกผักในร่มเป็นเรื่องง่าย โดยจะพัฒนาเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูแลผักที่ปลูก ให้ผู้ปลูกสามารถใช้งานง่ายที่สุด โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจวัด และระบบควบคุมต่างๆ ... จะว่าไปก็คล้ายๆ สิ่งที่โตชิบา และ ฮุนได ทำนั่นหล่ะครับ คือทำให้อัตโนมัติที่สุด ซึ่งสิ่งที่เอ็มไอที เน้นจะทำให้ได้คือ "ทำยังไง จะให้การปลูกแบบนี้คุ้มและถูกกว่าการปลูกแบบเดิม"

Plant Operating System software หรือ ระบบปฏิบัติการการเพาะปลูก ... คือสิ่งที่เอ็มไอทีหวังจะให้เกิด โดยจะพัฒนาระบบปลูกให้เหมาะสมกับคนเมือง ทั้งในระดับเพาะปลูกกินเอง และทำเป็นอุตสาหกรรม

ระบบของ เอ็มไอที สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 98% ประหยัดพลังงาน (น่าจะคิดรวมการขนส่ง และพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอดการปลูก) ได้เป็น 10 เท่า และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ผักที่เคยปลูกด้วยวิธีการเดิมนั้น จากการใช้เวลาโต 100 วัน จะเหลือเวลาเพียง 15-20 วัน เท่านั้น ... ซึ่งก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับของ โตชิบา ที่ผมเคยได้ไปดูมาครับ

และผมเชื่อว่า อีกไม่นาน เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก จะได้กินผักที่ปลูกแบบนี้ !!!

Credit :
- Picture from http://blog.crismanphoto.com/wp-content/uploads/crisman_wired_uk_MIT_city_farm_007-590x327.jpg

- Picture from http://nmelp3rtl8l2tnuwd2blzv3ecu.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2014/10/The-Urban-Farm-That-Is-Soil-Free-3-800x0-c-default.jpg

- Data from http://nationswell.com/cityfarm-mit-develop-soilfree-urban-farm/

- Data from http://www.sustainablebrands.com/

คอมเม้นต์
ถ้าเทร็นตามนี้การใช้แสงสว่างจากหลอด LED ก็คงจะมาแทนการปลูกผักโดยใช้แสงแดด ดังในไต้ไหวัน จีนและมองโกเลียประเทศที่อากาศหนาวๆ จึงมีการปลูกผักในโรงเรือนที่ใช้พลังงานแสงแดดและพลังงานลม





(6) เนเธอร์แลนด์ ประเทศแห่งโรงเรือนเกษตร ....

ผมสงสัยมานานแล้วว่า ประเทศเล็กๆ อย่างเนเธอร์แลนด์ ทำไมถึงมีมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ... จนกระทั่งเมื่อผมไปยุโรปครั้งที่ผ่านมา ตลอดทางที่นั่งรถไฟจากเบลเยียม ไปที่อัมสเตอร์ดัม ผมได้เห็นโรงเรือน กับ กังหันลมผลิตไฟฟ้า ตลอด 2 ข้างทางเยอะมาก เลยมาหาข้อมูลต่อ ถึงรู้ว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่เกษตรกรรมในโรงเรือน ต่อ พื้นที่ทั้งหมด สูงมากที่สุดในโลก ซึ่งก็ทำให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ได้ตลอดทั้งปี และมีผลผลิตต่อพื้นที่ค่อนข้างสูงมาก




(7)


(8 )


(9)

(7 – 9 ) ยุคที่ "ใครๆ ก็ปลูกได้" - Now Everyone Can Grow

กระแสปลูกผักในบ้าน ในครัว ในทาวน์เฮ้าส์ ในอาคาร บนหลังคา กำลังมาแรงครับ .... ต่อไปการทำฟาร์มเล็กๆ ในบ้าน หรือ Micro-Farming จะไฮเทคขึ้นไปอีก ในต่างประเทศเริ่มมีการพัฒนาระบบปลูกผัก ที่ควบคุมผ่าน App. กันหลายๆ เจ้าแล้วครับ

บริษัทใหญ่ๆ อย่าง ฮิตาชิ พานาโซนิก ฟูจิตสึ โตชิบา เอ็นอีซี ฮุนได ก็กำลังพัฒนา "ตู้ปลูกผัก" กันครับ รวมไปถึงพวกสตาร์ทอัพ (Startups) หลาย ๆ เจ้า ก็เริ่มทำกันค่อนข้างเยอะแล้ว ... แม้แต่เอ็มไอที (MIT) ที่เรารู้จักกันว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันดับหนึ่งของโลกทางด้านวิศวกรรม ก็ยังหันมาทำเกษตร ?!?!

แต่เชื่อสิครับว่า .... ตู้ปลูกผักเหล่านี้ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ พืชผักสวนครัวของไทย !!

จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนไทยที่จะเริ่มทำตู้แบบนี้สำหรับพืชผักไทยครับ


คอมเม้นต์

ที่เขาทำเพราะ สภาพอากาศ อากาศบ้านเขา มันไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูก ต้องเข้าปลูกในโรงเรือนควบคุมสภาวะแวดล้อม บ้านเราไม่จำเป็น แค่มีน้ำปลูกได้หมด ... ไม่ใช่เห็นเทคโนโลยี แล้วแห่ ทำตาม





(10) พื้นที่เพียง 530 ตร.ม. ให้ผลผลิตได้ถึง 68 ตันต่อปีกับผักไฮโดร ทำได้สุดยอดจริงๆ

ถาพจาก H20hidrogarden ครับ

Comments.
ที่ไหน แล้วให้น้ำยังไง ผมว่าถาดมันน่าจะต้องหมุนได้แน่ๆเลย หมุนๆไปรับแสง
เขาเปิดไฟใส่หรือเปล่าครับ





(11) ยังมีอีกหลายบริษัทของญี่ปุ่นนอกจาก โตชิบา เช่น ฟูจิตสึ โอลิมปัส ฯลฯ และอีกหลายประเทศ เช่น อิสราเอล จีน ไทย ฯลฯ

ก็กำลังให้ความสำคัญกับการผลิตผักปลอดเชื้อ ผักอินทรีย์ ผักอนามัย ผักไฮโดรโพนิกส์ ฯลฯ แบบอุตสาหกรรมในรูปแบบของโรงงาน-โรงเรือนที่ ใช้เทคโนโลยีในหลากหลายระดับ ในการควบคุมสภาพแวดล้อม และเพิ่มผลผลิต !!!

นอกจากจะสร้าง "มูลค่าเพิ่ม" แล้ว... ยังสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับมนุษยชาติอีกด้วย !!!

ขอขอบคุณ... ทุกงานวิจัย-อุตสาหกรรม... เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า !!!





(12) เกษตรอัจฉริยะ - Smart Farm via Open Agriculture Initiative

หลังจากที่รัฐแคลิฟอร์เนียเจอปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ตอนนี้ การปลุกพืชผักในร่ม (Indoor Farming) กำลังกลายเป็นกระแสฮอต ติดเทรนด์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา

นักวิจัยของ MIT ได้พยายามพัฒนาระบบปลูกพืชผัก โดยสร้างสูตรสภาพแวดล้อมของพืชแต่ละชนิด ที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์อาหาร" (Food Computer) โดยจะทำให้เป็นระบบ Open Source ที่ใครๆ ก็สามารถดาวน์โหลด เอาไปปลูกพืชที่ต้องการ ที่ใดก็ได้บนโลก

(ดูวิดีโอได้จาก link นะคะ)

https://www.facebook.com/smartfarmthailand/posts/337694876405656?notif_t=notify_me_page

Siwa Hong
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=508476742586856&set=a.523098951124635&type=3&hc_location=ufi

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&hc_location=ufi


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&theater






(13) Toshiba’s new plant factory to bring perfect veggies to Japan
May 2014

When you think of Toshiba, you probably immediately imagine electronics products like televisions and computers. However, the company has made a name for itself in the healthcare industry, too, thanks to its CT and other diagnostic imaging machines and technology. Now, Toshiba wants to go further to promote their healthcare initiatives, by introducing 100 percent pesticide-free vegetable factories in Japan.

The first Toshiba vegetable factory will open in a few months in Yokusuka, Japan. But this isn’t just a greenhouse: Toshiba’s plant factory will be a high-tech facility. It’ll include optimized lights set to a wavelength to grow perfect plants and specialized air-conditioning that keeps temperature and humidity set to a constant level. Managers can remotely monitor the factory from another location and keep an eye on plant growth, with the ability to change settings as needed. The factory itself will be completely sterile, creating a super-clean facility with plants that won’t need pesticides.

Because of the clean environment, all plants will be germ-free, which means they’ll have longer shelf lives and be fresher and higher in nutrients than farm-grown vegetables. Toshiba will sell their produce to grocery stores, restaurants and convenience stores, focusing on cities where urban growth often prevents fresh vegetables from being readily available. Not only do residents of cities benefit from this, but Toshiba benefits financially, with estimated yearly sales around $3 million.

If successful, Toshiba may build a larger plant outside of Japan and sell its plant factory technology to other cities worldwide. It’s certainly a good solution to providing nutrition in urban areas where fresh pesticide-free produce is almost non-existent.


คำแปลแบบ ลูกทุ่ง ๆ

(13) โรงงานใหม่ของโตชิบา ส่งผักปลอดเชื้อไปญี่ปุ่น

พฤษภาคม 2014 (พ.ศ. 2557)

เมื่อคุณคิดถึงโตชิบา ต้องนึกได้ทันทีว่า เป็นบริษัทผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม (ใครจะคิด และรู้ว่า) บริษัท ฯ ได้สร้างชื่อให้ตัวเองในด้าน อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพอีกด้วยนะครับ

ต้องขอบคุณฝ่าย CT ที่ใช้เทคโนโลยี ในการการวิจัย เครื่องมือในการสร้างภาพที่เรียกว่า สร้างมโนภาพขึ้นมา ซึ่งในตอนนี้โตชิบาได้เดินหน้าต่อไป ในอันที่จะส่งเสริมความคิดริเริ่มในด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแนะนำโรงงานผักปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์มาใช้ในประเทศญี่ปุ่น

อีกภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ (ปี 2014 – 2557 ครับ) โรงงานผัก (ปลอดสารพิษ 100 %) ของโตชิบาที่ว่านี้ จะทำการเปิดตัวครั้งแรก ที่ Yokusuka ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตอนนี้ มันไม่ใช่เป็นแค่เพียงเรือนกระจกเล็ก ๆ แต่(โรงงานของโตชิบา) มันจะประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง(ไฮเทค) คือ ติดตั้งระบบไฟที่สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการตั้งค่าความยาวคลื่นแสงให้เหมาะสมกับการปลูกพืชอย่างชนิดที่เรียกว่า สมบูรณ์แบบ มีเครื่องปรับอากาศ ช่วยปรับอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่คงที่ สามารถ ควบคุม ดูแล และจัดการ จากโรงงานที่อยู่ในที่ห่างออกไปได้ในระยะไกล.... นอกจากนี้ยังสามารถ จะตรวจดูความเจริญเติบโตของพืช โดยการ เปลี่ยนแปลง ปรับสภาพ และตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ และ ณ โรงงานที่ปลูกผักนี้ จะไม่จำเป็นต้องใช้คนมานั่งคอยเฝ้า คือจะเป็นโรงงานที่เป็นหมันโดยสมบูรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของพืชผักที่ปลูกอยู่ในนี้ ได้ถูกสร้างขึ้น ให้มีความสะอาด จะไม่มีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด

เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด พืชทั้งหมดจะปลอดเชื้อโรคซึ่งหมายความว่าผักพวกนี้ จะ สด สะอาด เก็บรักษาให้มีอายุยาวนานขึ้นกว่า ผักที่ปลูกในฟาร์มโดยใช้สารอาหาร(ปุ๋ย และ ฯ)

โตชิบาจะขายผลผลิตพวกนี้ไปยังร้านขายของชำ ร้านอาหารและร้านค้าสะดวกซื้อ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเมืองที่มีการขยายตัวเติบโต ซึ่ง(สังคม)คนเมืองมักจะต้องการผักสด ๆ ที่พร้อมใช้งานได้ทุกเมื่อ ซึ่งไม่เพียงแต่คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้รับประโยชน์จากการนี้เท่านั้น แต่ผลประโยชน์ทางการเงินของโตชิบา จะมียอดขายโดยประมาณอยู่ที่ $ 3 ล้านเยนต่อปีเลยทีเดียว

หากงานนี้ ประสบความสำเร็จ โตชิบาอาจสร้างโรงงานขนาดใหญ่นอกประเทศญี่ปุ่นและขายเทคโนโลยีโรงงานโรงงานไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก(เฟรนด์ชายด์)..ซึ่ง แน่นอนว่า มันเป็นทางออกที่ดีที่ในชุมชนคนเมือง จะได้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อันประกอบด้วย ผลิตผลจากผักสด ที่ปลอดสารพิษ ซึ่งมันเกือบจะไม่มีอยู่จริง……

(ความเห็นส่วนตัว) เมืองไทย เกษตรกรไทย คงยาก... ถั่วฝักยาว ผักคาน้า กะหล่ำปลี ....ฉีดยาเช้า บ่ายเก็บขาย.... ฉีดเย็น เช้าเก็บขาย – ขนาดใส่ถุงมือยางเก็บ เล็บยังกุด…ส่วนคนกิน ไม่ต้องพูดถึง...ตายผ่อนส่ง ..
http://www.suiteappetite.com/content/37

https://www.youtube.com/watch?v=NnycizKw04s

https://www.youtube.com/watch?v=bRyBKWqLzI8

https://www.youtube.com/watch?v=0X8E7MmeYL4


// การปลูกพืช... ตามความต้องการสภาพอากาศ ฯลฯ และปลูกได้ทุกพื้นที่ของโลก...

- สามารถปลูกพืชได้เร็วขึ้น 3-4 เท่า...
- ใช้น้ำน้อยลง 50-70%
- ลดพลังงานในการขนส่งไกลๆ
ฯลฯ

น่าสนใจมากค่ะ... Food Computer
โดย Caleb Harper นักวิจัยสถาบัน MIT

ข้อมูลเพิ่มเติม......

โตชิบา คอร์ปฯรุกตลาดผักปลอดเชื้อ เล็งสยายปีกตั้งโรงงานในต่างประเทศ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2557 21:27 น.

โตชิบา คอร์ปอเรชั่น โตเกียวเล็งสร้างโรงงานผลิตผักปลอดเชื้อนอกประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนองความต้องการของตลาดโลก หลังพบว่าผักปลอดเชื้อสะอาดกว่าปลูกผักบนดินถึงพันเท่า

นายโนริอากิ มัทสุนะกะ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท โตชิบาคอร์ปอเรชั่น โตเกียว เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาธุรกิจใหม่เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยก่อตั้งโรงงานผลิตผักปลอดเชื้อขึ้นในเขตโยโกซูกา เมืองคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลิตผักกาดหอม ผักใบเขียว ผักขม ผักมิซูมา และผักชนิดอื่นๆ ในสภาพแวดล้อม แบบปิด ที่อยู่ภายใต้สภาวะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และ ยาฆ่าแมลง ทำให้ผักมีความสด สะอาด และอายุยืนนาน ซึ่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว จะพบเชื้อโรคบนผักเพียง 1 ต่อ 1,000 ของระดับปกติเมื่อเทียบกับผักที่ปลูกบนดิน

โดยบริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่ายผลผลิตดังกล่าวไปยัง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าสะดวกซื้อและร้านอาหารต่างๆ แล้ว คาดว่าจะมียอดขายประมาณ 300 ล้านเยนต่อปี

ทั้งนี้ โรงงานผลิตผักปลอดเชื้อดังกล่าว มีพื้นที่ 1,969 ตรม. เป็นโรงงานระบบปิดที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงภายใต้ มาตรฐานเดียวกับการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ในโรงงานใช้ระบบหลอดไฟเรืองแสง ที่มีความ ยาวแสงเพียงพอเหมาะสมให้ผักเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีระบบเครื่องปรับอากาศที่ให้อากาศ และความชื้นสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ บริษัท ฯมีแผนจะสนองความต้องการของตลาดโดยเสนอสินค้าผักเสริมโพลีฟีนอล (Polyphenols) และวิตามินซี ซึ่งปลูกภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างระมัดระวังด้วย โตชิบากำลังหาสถานที่ก่อสร้างโรงงานปลูกผัก ระบบปิดปลอดเชื้อขนาดใหญ่นอกประเทศญี่ปุ่น

http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000073241





( 14) 30 มิถุนายน 2014 •
"กษัตริย์จิกมี" ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจริงๆ... สำหรับโลกอนาคตที่ต้องการอาหาร ไม่เฉพาะแค่มีปริมาณเพียงพอเท่านั้น... แต่ต้อง "ปลอดภัย" ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค...

จึงจะทำให้อาหารนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างสมบูรณ์ !!! และไม่มีพิษภัยจากสารพิษ-สารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการปนเปื้อนรวมอยู่ด้วย
ภูฎาน... ดินแดนที่บริสุทธิ์ สวยงาม... กำลังจะเต็มไปด้วย "อาหารปลอดภัย" ต่อประชากรของตัวเองและชาวโลก !!! และกำลังจะส่งต่อ "ความสุข" ของตัวเองไปยังชาวโลกด้วยเช่นกัน...

ฮือฮา! ภูฏานประกาศสร้างดินแดนอาหารปลอดภัยแห่งแรกในโลก “ กษัตริย์จิกมี ” ไฟเขียวเชิญผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเป็นที่ปรึกษา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2557 15:05 น.

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลภูฏาน ประกาศในวันพุธ (14 พค.57) เดินหน้าแผนการสร้างประเทศของตนให้เป็นดินแดนแห่งความปลอดภัยทางอาหาร ตั้งเป้าอาหารที่ผลิตในภูฏานจะต้องปลอดจากสารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 10 ปี ขณะที่ “ กษัตริย์จิกมี ” ทรงเปิดไฟเขียวให้รัฐบาลเชิญผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมาเป็นที่ปรึกษา

ลีออนโป เยชีย์ ดอร์จี รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและป่าไม้แห่งราชอาณาจักรภูฏานแถลงที่กรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศ โดยระบุว่า ราชอาณาจักรกลางเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ มีแผนจะเดินหน้าสู่การเป็น “ ประเทศแรกของโลก ” ที่ผลิตและบริโภคอาหารปลอดสารพิษแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายใน 1 ทศวรรษจากนี้

ถ้อยแถลงของรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของภูฏาน ได้รับการขานรับจาก เปมา กยัมต์โช ผู้นำพรรคฝ่ายค้านซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเดียวกันมาก่อน โดยผู้นำฝ่ายค้านภูฎานประกาศพร้อมจับมือกับรัฐบาลเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ แม้ในส่วนของพรรคฝ่ายค้านจะยังคงไม่มั่นใจว่า แผนการสร้างภูฏานให้เป็นประเทศที่มีอาหารปลอดภัยโดยสมบูรณ์เป็นประเทศแรกของโลกนั้น จะสำเร็จได้ภายในกรอบเวลา 10 ปีตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้หรือไม่

รายงานข่าวระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก องค์พระประมุขแห่งภูฏาน ทรงให้การสนับสนุนแผนดังกล่าวของรัฐบาล พร้อมทรงมีพระราชดำริให้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการเกษตรจากทั่วโลก มายังภูฏานเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลในการดำเนินโครงการนี้

ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจของรัฐบาลภูฏานระบุว่า ขณะนี้ผลผลิตทางการเกษตรราว 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสารเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างสิ้นเชิงแล้ว

อย่างไรก็ดี ข้อมูลของทางการพบว่า เกษตรกรที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกและภาคกลางของภูฏาน ยังคงเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการเพาะปลูกและแปรรูปค่อนข้างสูง

และเกษตรกรในภูมิภาคดังกล่าวยังคงมีความไม่มั่นใจว่า รายได้และผลผลิตของพวกเขาจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด หากพวกเขาเลิกใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิง

ทั้งนี้ ราชอาณาจักรภูฏานซึ่งเป็นบ้านของประชากรมากกว่า 740,000 คน ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร “Business Week” ของสหรัฐฯ ให้เป็นประเทศที่ “มีความสุขที่สุดในเอเชีย” และเป็นดินแดนแห่งความสุข “อันดับที่ 8 ของโลก”

ขอบคุณข้อมูลจาก
Siwa Hong

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000053904

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&theater





(15) สวนผัก สวนต้นไม้ บนตึก – สิงคโปร์....





(16) นาข้าวในตึก.....ญี่ปุ่น...




หมายเหตุ.- คำว่า ผม ค่ะ....ครับ....ในที่นี้ เป็นสรรพนามของเจ้าของบทความ นะครับ มายังไง ก็ไปตามนั้น.....


..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 11/06/2017 9:28 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตรยุค IT ตอน เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตรยุค IT ตอน เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว


บทที่ 3.6 เกษตรกรยุค IT- 12 แอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรไทย







12 แอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรไทย โหลดติดมือถือไว้ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ

ทุกวันนี้โลกของเรามีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ มาให้ใช้งานเยอะมาก ซึ่งมันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำธุรกิจและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่เว้นแม้แต่การทำเกษตรกรรม ถ้าเป็นแต่ก่อนการจะหาความรู้เกี่ยวกับวิถีการเกษตรนั้นอาจต้องนั่งเปิดตำรา อ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ แต่ตอนนี้ แค่ทุกคนมีแอพพลิเคชั่นทั้ง 12 แอพนี้ติดเครื่องไว้ การทำเกษตรกรรมของเพื่อน ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่อง่ายขึ้นอีกเยอะ





1. ProtectPlants

สุดยอดแอพพลิเคชั่นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืชและศัตรูพืช มีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย ทั้งในด้านขององค์ความรู้อารักขาพืช การวินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้น การวินิจฉัยชนิดพืช สามารถพยากรณ์เตือนสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังพยากรณ์เตือนการระบาดของศัตรูพืชที่อาจมีผลกระทบต่อการทำเกษตรของเราได้อีกต่างหาก เรียกได้ว่าเป็นแอพที่ครบเครื่องเรื่องการเกษตรและศัตรูพืชอย่างแท้จริงเลยล่ะ





2. WMSC

WMSC เป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลและนำเสนอข้อมูลข่าวสารในการบริหารจัดการน้ำ มีทั้งข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลปริมาณน้ำท่า ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ และคลองชลประทานต่าง ๆ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกะทันหันได้ ลดความสูญเสียลงไปได้เยอะเลยล่ะครับ





3. InsectShot

เพิ่มความสะดวกรวดเร็วจากการใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาแทนการสุ่มนับด้วยคน โดยเมื่อถ่ายภาพเสร็จก็จะส่งภาพไปที่เครื่องแม่ข่ายก็จะประมวลผลนับจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ทันที อย่างไรก็ตาม ในอนาคตยังมีโครงการที่จะพัฒนาโปรแกรมตรวจนับปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เข้าไปในกับดักแสงไฟ เพื่อลดขั้นตอนการนับด้วยแรงงานคนอีกด้วย





4. Rice Pest Monitoring

อีกหนึ่งสุดยอดแอพที่มีระบบสนับสนุนการพยากรณ์และเตือนภัยของกรมการข้าว เพื่อแจ้งใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดการระบาด (Rice Pest Monitoring) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไหม้ และเป็นเครื่องมือและนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับเกษตรกรในการติดตามเฝ้าระวังในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมการข้าว นักวิจัย นักวิชาการ กลุ่ม Smart farmer และกลุ่ม Smart officer





5. Ag-Info

แหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศและข่าวสารเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนทำการเกษตรและการตัดสินใจ อาทิ ราคาสินค้าเกษตร ณ ตลาดกลาง เป็นรายวัน ราคาสินค้าเกษตร ณ ไร่นา ปฏิทินสินค้าเกษตร การติดตามสถานการณ์การผลิตการตลาด การเตือนภัยและข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนนโยบายของรัฐ





6. เทคโนโลยีการผลิตข้าว

มาถึงทีชาวนาได้มีเฮกันบ้าง เพราะแอพพลิเคชั่นตัวนี้เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตข้าว โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การปลูก ดูแลรักษาและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัดวัชพืชในนาข้าวและเมล็ดพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ใครที่สนใจจะเริ่มปลูกข้าว ทำนา อย่างจริงจัง ลองโหลดไปหาความรู้กันดูนะ





7. AC AGRI VOCAB ศัพท์เกษตร 5 ภาษาอาเซียน

AC AGRI VOCAB แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานด้านการเกษตร เช่น ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น สัตว์ทางการเกษตร และคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมี 5 ภาษาให้เลือกฝึกและทำความคุ้นเคย ได้แก่ ภาษาไทย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และภาษาบาฮาซา นั่นเองครับ





8. Ldd Soil Guide รู้ไว้ใช้ดินเป็น

ระบบสารสนเทศดินและข้อมูลการใช้ปุ๋ย เป็นระบบที่แสดงข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งประเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลแผนที่จาก Google Map ได้เลย เมื่อคลิกเลือกพื้นที่ที่ต้องการ ระบบจะแสดงข้อมูลสถานที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด และจุดพิกัด ณ ตำแหน่งที่เลือก พร้อมทั้งแสดงข้อมูลกลุ่มชุดดิน ประกอบด้วย ลักษณะเด่นของกลุ่มชุดดินนั้น ๆ คุณสมบัติดิน ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (AWC) แสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช แสดงข้อมูลความเหมาะสมของดินในการปลูกพืช เรียกง่าย ๆ ว่าครบเครื่องเรื่องดินจริง ๆ เลยล่ะครับ





9. LDD’s IM Farm

มาถึงแอพพลิเคชั่นที่ให้ความรู้ในรูปแบบของเกมที่ใช้เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือกในการตัดสินใจการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด และใช้เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (e-Education) ด้านการเกษตร สำหรับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านการทำเกษตรกรรม ทั้งสนุกทั้งได้ความรู้เลยล่ะงานนี้





10. กระดานเศรษฐี: เกษตรกรมีโอกาส

แอพพลิเคชันกระดานเศรษฐี: เกษตรกรมีโอกาส ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และเปรียบเทียบต้นทุนจากการคำนวณกับต้นทุนเฉลี่ยของทางสำนักงานฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยยังมีข้อมูลตลาด และความเหมาะสมของสินค้าในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกลงทุนกับสินค้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนมากที่สุด





11. OAE OIC

แอพพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรประชาชน ในเรื่องข้อมูลปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร แหล่งรับซื้อราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ๆ เกษตรกรสามารถเข้าไปดูข้อมูลปฏิทินสินค้าเกษตรที่สำคัญรายเดือน เข้าถึงข่าวสารได้ง่าย รวดเร็ว มีข้อมูลปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญรายเดือน (Crop Calendar) เชื่อมโยงแหล่งผลิต แหล่งรับซื้อ และ ราคา สำหรับประชาชน เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิต และการตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ





12. MOAC App Center

สำหรับใครที่ไม่รู้จะโหลดแอพพลิเคชั่นไหนดี หรือขี้เกียจมานั่งค้นหาทีละอันให้ยุ่งยากก็สามารถโหลดแอพนี้แอพเดียวได้เลยครับ เพราะ MOAC App Center ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่ Mobile Application ของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ โดยเปิดให้เกษตรกรสามารถขอรับบริการและค้นหาความรู้ด้านการเกษตร ผ่านอุปกรณ์ Smart Device ได้เลยทันที มีครบทุกแอพที่จำเป็นรวมอยู่ในแอพนี้แอพเดียวแล้วล่ะครับ

ต้องการ App. ไหน กดที่นี่เพื่อ ดาวน์โหลด เลยครับ มีให้เลือกเยอะแยะไปหมด ทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

https://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=14725




สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษา Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สายด่วน 1333




http://www.bangkokbanksme.com/article/14192


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11666

ตอบตอบ: 22/06/2017 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©