ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Neung หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/10/2015 ตอบ: 16
|
ตอบ: 05/11/2015 6:49 pm ชื่อกระทู้: ต้นกล้าเพาะเนื้อเยื้อกล้วย |
|
|
สวัสดีครับ ลุงคิมที่เคารพ
สวัสดีครับ คุณแดงที่นับถือ และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เดี๋ยวผมจะเข้าไปดูและถามรายละเอียดในกระทู้นั้นน่ะครับ
ขอบคุณครับ
หนึ่ง ชัยภูมิ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/11/2015 6:55 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน ที่ 6 ไร่ปลูกแตงกวา ได้เดือนล |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน ที่ 6 ไร่ปลูกแตงกวา เดือนละ 2 แสน
(A10.7)-(2.1) ปลูกแตงกวา
เกษตรทำเงิน : ปลูกแตงกวาคว้าเงิน เดือนละ 2 แสน
(1) เพชรบูรณ์ 5 ต.ค. ช่วงเกษตรทำเงิน การทำการเกษตรให้ได้เงินนั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อย่างเกษตรกรที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเคยปลูกแต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขาดทุนติดต่อกันทุกปี แต่พอหันมาลองปลูกแตงกวา สามารถสร้างรายได้ถึงเดือนละ 200,000 บาท เลยทีเดียว
(2)
(3)
(2 - 3) พื้นที่กว่า 6 ไร่ ในบ้านวังนาแหน ต.บ่อไทย อ.หนองไผ่ ที่เพชรบูรณ์ ของพี่ประคอง มีมุข วัย 48 ปี ตอนนี้แตงกวาที่ปลูกไว้กำลังออกผลผลิตขนาดกำลังกิน มีแตงกวาให้เก็บขายได้ไม่เว้นแต่ละวัน เฉลี่ยวันละ 1 - 2 ตัน โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงหน้าสวน ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท สร้างรายได้ให้พี่ประคอง เดือนละกว่า 200,000 บาททีเดียว
(4) ตอนนี้ชาวบ้านที่นี่หลายรายเริ่มกันมาปลูกแตงกวากันมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี่หลายคน รวมทั้งพี่ประคอง เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องลงทุนสูงทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ใช้เวลา 4 เดือน จึงจะได้ผลผลิต เสี่ยงต่อฝนทิ้งช่วงผลผลิตเสียหาย แถมราคายังตกต่ำ ทำให้ขาดทุนมาหลายปี จึงหันมาปลูกแตงกวา ซึ่งปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย และเป็นผักที่ตลาดต้องการทั้งปี
(5)
(6)
(7)
(5 7) การปลูกแตงกวาเริ่มตั้งแต่ยกร่องขึ้นแปลง วางสายระบบน้ำหยด คลุมพลาสติกแล้วเจาะหลุม หยอดเมล็ดพันธุ์ ปักไม้ไผ่ขึงตาข่ายให้ต้นแตงกวาเลื้อยขึ้นไป ลงทุนครั้งหนึ่ง 30,000-50,000 บาท ผ่านไป 30 - 35 วัน ก็เริ่มเก็บแตงกวาขายได้แล้ว ปีหนึ่งปลูกแตงกวาได้ 3 - 4 ครั้ง สร้างรายได้ไม่น้อย ทำให้ชีวิตครอบครัวของพี่ประคองดีขึ้น
(8 )
(9)
(8 - 9) แม้แตงกวาจะทำเงินได้ดี แต่พี่ประคองเลือกกระจายความเสี่ยง โดยกันพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าวไว้กิน เลี้ยงวัวอีกกว่า 40 ตัว ไว้เป็นทุนสำรอง พื้นที่ที่เหลือปลูกมันสำปะหลังและปลูกมะระไว้เป็นรายได้เสริมและช่วยทำเงินให้อีกทาง.
ขอบคุณข้อมูลจาก - สำนักข่าวไทย
.
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 07/02/2017 11:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 14/11/2015 1:49 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน แหกตาดอกมะม่วง |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน แหกตาดอกมะม่วง (1)
(A10.7)-(2.2) อ่านจากลุง ก็ทำตามที่ลุงบอกนั่นแหละ
มะม่วงกำลังมาแรง ....หลังปลายฝนต้นหนาว ใกล้จะออกดอก แต่ฝนตกไม่หยุดยั้ง จากที่ควรจะออกเป็นช่อดอก ก็แตกเป็นใบอ่อนก็จะอดกินลูก.....
แต่ทำตามสูตรกระชากตาดอก หรือจะว่าแหกตาดอกของลุงคิมแล้ว ช่อดอกมันออกมาให้เห็นไม่ผิดหวัง ......
ใครชอบมะม่วงอะไรก็ว่ากันไป แต่ผมชอบมะม่วงอกร่องแบบไทย ๆ กินกับข้าวเหนียว มันทั้งหอมทั้งหวาน .....เสียดายว่า หลังน้ำท่วมปลายปี 54 มะม่วงที่มี เกือบ 300 ต้น รอดตายเหลือ สามสี่ต้น ปลูกทดแทนใหม่ ปลูกอกร่องอย่างเดียว
อ่านจากลุง ก็ทำตามที่ลุงบอก ได้ผลยังไงไปดูกันครับ
(1)
(2)
(1 2) เตรียมความพร้อมที่จะให้ออกดอกในช่วงฝนตก แล้วทำตามที่ลุงแนะนำ
ทางดิน
ใช้ 8-24-24 + ขี้ค้างคาว + กระดูกป่น หว่านรอบบริเวณทรงพุ่ม,
ผสมระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ฉีดพ่นทั่วแปลง
ทางใบ
ไทเป + 13-0-46 +ยูเรีย จี
บำรุงดอก
ไบโออิ + 15-30-15 ทุกอาทิตย์.. กลางอาทิตย์ สลับให้แคลเซียม โบรอน กับ NAA อาทิตย์ละ 1 ครั้ง .
บำรุงผล
ทางใบ .... ไบโออิ + ยูเรก้า 2 ครั้ง สลับด้วย แคลเซียม โบรอน + กลูโคส 1 ครั้ง
ตัดหญ้าคลุมหน้าดินพอชื้น ๆ พอถึงเวลา ดอกมันก็ออกมาให้เห็น
(3) เพาะเมล็ดทำสต๊อกต้นตอเอาไว้เสียบยอดหรือทาบกิ่ง
(4) ต้นตอก็มาจากมะม่วงกะล่อน ซึ่งทนทาน แข็งแรง หากินเก่ง
(5) หลังจากเอาเนื้อไปทำมะม่วงกวน เมล็ดก็เอามาเพาะ....
(6)
(7)
(8 )
(9)
(6 9) พอต้นตอโตขนาดดินสอดำ ก็เอามาทาบกับต้นแม่พันธุ์
]...และขอบอกนะครับ....มะม่วงของผมเอง จากสวนน้อย ๆ ของผมเอง ในรูปไม่มีลายเส้น ลายน้ำ ไม่มีลิขสิทธิ์ ใครจะ ก็อป ใครจะ ปี้ หรือเด็กนักเรียนจะเอาไปเขียนไปทำรายงาน ผมอนุญาต เพื่อเป็นวิทยาทาน....คนเราตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ซักอย่าง จะหวงไว้ทำไม
(10) มะม่วงในยุค ไอที ลูกโตกว่ามะพร้าว แต่กินไม่เป็นท่า เหม็นขี้ไต้อีกต่างหาก เห็นมีมะม่วงที่ RKK เท่านั้นแหละ กินแล้วต้องขนกลับบ้าน เผลอแว๊บเดียว เหลือแต่เมล็ด....
(11) รูปนี้ขอยืมเค้ามา(ขอบคุณครับ) มะม่วงบ้าอะไรไม่รู้ ลูกดกมหาโหดจริง ๆ ลูกใหญ่อีกต่างหาก มีซักสองสามต้น คงเอาแจกได้ทั้งตำบล....
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 08/02/2017 12:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 15/11/2015 1:42 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน แหกตาดอกมะม่วง (2) |
|
|
[size=22]สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน แหกตาดอกมะม่วง (2)
(A10.7)-(2.2) ตอน 2 ความพร้อมที่จะออกดอก เป็นฉันใด
(1) ความพร้อมที่จะให้มะม่วงออกดอก น่าจะเริ่มจาก...ใบ ก่อนละนะครับ ใบแข็ง เขียวเป็นมัน เส้นใบโปนแบบคนเป็นเส้นเลือดขอด แบบนี้เรียกว่า พร้อมที่จะออกดอกหรือยัง
(2) ตาที่ปลายยอด โผล่ออกมาแบบนี้ จะเป็นตาดอก หรือจะเป็นตาใบ อีกไม่นานคงรู้
(3) ตายอดเมื่อออกเป็นใบ ผมจะหักทิ้ง เพราะช่วงนี้ เราจะเอาดอก ไม่ได้เอาใบ....พอเด็ดทิ้งมันแตกตาใหม่ออกมาทางข้าง ส่วนจะออกเป็นช่อดอก หรือเป็นใบ ก็ว่ากันอีกที ถ้าเป็นช่อดอกก็เอาไว้ ถ้าเป็นใบก็เด็ดทิ้ง
(4)
(5)
(6)
(7)
(4 7) ที่ออกเป็นช่อดอกก็ดีไป ฉีดพ่น CB ไปซะรอบ ตามด้วยสมุนไพร เผ็ดจัด ขมจัด ผสม BIOI ลงไปซะหน่อย เพื่อให้มันติดลูก....ดอกมะม่วง ถ้าออกพร้อมกันแยะ ๆ กลิ่นมันหอมชื่นใจนะครับ
(8 ) 1 + 1 ไม่ได้ 2 เสมอไป ลุงคิมบอกเสมอว่า ปุ๋ยถูก ใช้ผิด ไม่ได้ผล ต้นนี้ก็ผสมฉีดชุดเดียวกับที่ฉีดพ่นต้นอื่น ๆ ผลที่ได้ ติดลบด้วยซ้ำ แต่ไม่แน่ อาจจะออกดอกภายหลังก็ได้....
(9)
(10)
(9 10) ไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่มีเป็นเม็ด ๆ ขนาดเมล็ดถั่วเขียว ติดที่ใบมะม่วง ใครรู้บ้างว่า เม็ดอะไร....คือ ไข่ตั๊กแตนตำข้าวครับ ปลายฝนต้นหนาว จะมีตั๊กแตนตำข้าวมาวางไข่บนใบมะม่วง เต็มไปหมด ไม่เป็นอันตรายกับใบมะม่วงครับ อย่าได้เอาสารเคมีมาฉีดนะครับ ตั๊กแตนตำข้าวช่วยกินแมลงร้าย พอมันออกเป็นตัวแล้ว ไข่นี้ก็จะหมดสภาพ หลุดร่วงไปเอง
(11) ไม่เหมือนตัวนี้ ผีเสื้อมาวางไข่เอาไว้ พอฟักเป็นตัวก็กลายเป็นหนอน กัดกินใบอ่อนดีนักแลฯ
(12)
(13)
(12 13) แม่ลูกดก ไม่ต้องเร่ง ไม่ต้องฉีด ยังไง ก็มีลูกให้ผลทั้งปี มีเท่าไหร่ไม่พอขาย แม่ค้าส้มตำ ร้านขายยำ รับซื้อหมด
(14) ต้องขออภัย มือใหม่หัดทำเล่นยามว่างครับ.....ติดบ้าง หลุดบ้าง ตายบ้าง ก็ว่ากันไป....
(15) ต้นแม่พันธุ์ มีอยู่บ้าง นิด ๆ หน่อย ๆ แค่มะม่วงพื้น ๆ ไม่ดัง แต่ก็ไม่ดับ แล้วก็ไม่เหม็นขี้ไต้นะ.....
(16) ถึงเวลารากเดินดีแล้ว ก็ตัดเอามาใส่ถุงชำเอาไว้ ก็แค่นั้นเอง
(17)
(18 )
(17 18 ) ดอกนี้มีชื่อ แต่จำไม่ได้ครับ มีสีม่วง กับสีม่วงอมชมพู ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ถ้าไม่ตัดแต่งก็รกบ้านรกสวนดีเหมือนกัน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 08/02/2017 12:19 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 07/01/2016 2:51 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน 7 ตุ้ยนุ้ยอกหัก ปลูกผักคนเดี |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน 7 ตุ้ยนุ้ยอกหัก ปลูกผักคนเดียว
(A10.7-2.2.1) ตุ้ยนุ้ยปลูกผัก
หนีแล้งปลูกพืชน้ำน้อย เลี่ยงทำนามาปลูกคะน้าแทน ความเสี่ยงต่ำ ดีกว่าทำนา
(1) เมื่อวันที่ 4 พ.ย.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพบเกษตรกรคนหนึ่งคือ คุณประพิมพ์ รอบุญ บ้านอยู่ ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ยึดอาชีพปลูกผักคะน้าขายแทนการทำนา
(2) เนื่องจากในพื้นที่ที่ผ่านมาฝนตกลงมาน้อยมาก ส่งผลทำให้บางพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง ส่วนบางพื้นที่ที่ยังพอมีน้ำอยู่ตามสระที่ขุดไว้ใช้ ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกผักคะน้า เพราะให้ผลผลิตไวใช้เวลาเพียง 50 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ ใช้น้ำน้อยและต้นทุนต่ำ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการทำนา เก็บผลผลิตส่งขายตลาดได้ตลอด เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้แก่ครอบครัว
คุณประพิมพ์ รอบุญ เปิดเผยว่าตนได้หันมาทำอาชีพปลูกผักคะน้าขายจำนวน 2 ไร่ แทนการทำนา เป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว เนื่องจากผักคะน้าเป็นผักที่ใช้น้ำน้อย ต้นทุนต่ำ ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าว และราคาดี ใช้เวลาประมาณ 50 วัน ก็เก็บผลผลิตได้
ในเนื้อที่ 2 ไร่ ปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผักคะน้าได้ 1,800 2,000 กิโลกรัม ซึ่งขายส่งในราคากิโลกรัมละ 15 บาท
(ราคาตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 7 มกราคม 59... แขนงคาน้า กก.ละ 45.- บาท ต้นคาน้า กก.ละ 16.- บาท ยอด คาน้า 20.- แถมชะอม กก. ละ 10.-)
(3) ...ถึงแม้ว่าในพื้นที่ฝนจะตกลงมาน้อยมาก ทำให้ประสบกับปัญหาภัยแล้ง แต่สามารถสูบน้ำจากสระที่เตรียมไว้นำมารดผักคะน้าได้ เนื่องจากใช้น้ำรถผักแค่วันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ซึ่งตนคิดว่าการปลูกผักคะน้าในช่วงนี้น่าจะได้รายได้ดีกว่าข้าว เนื่องจากใช้น้ำน้อย ทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยกว่า เพียงเดือนกว่าๆ ก็สามารถเก็บผลผลิตได้" คุณประพิมพ์ กล่าวทิ้งท้าย
(คุณประพิมพ์ ทำคนเดียวได้ขนาดนี้ไม่ต้อง รอบุญแล้ว...แบบนี้เผลอ ๆ บุญหล่นทับด้วยซ้ำ อย่าทับมาทางผมละกัน มีหวังแบนจมแปลงผักแน่ ๆ )
.
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณสร้อย ศรีสวัสดิ์
เครดิท : thairath
ที่มา เกษตรอินทรีย์ เออีซี ฟาร์ม - AEC Farm
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11664
|
ตอบ: 07/01/2016 5:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
มีอีกหลายตัวอย่าง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วก็ทำจนประสบความสำเร็จ บางคนก็จบปริญญามา ปริญญาตรี ปริญญาโท วันนี้กลับมาทำการเกษตรหมดแล้วหลายราย แล้วก็ร่ำรวย ผมก็บอกว่าฝากไปดูคนอื่นๆ ด้วย รวมกลุ่มให้ได้ ไปพัฒนาเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วย ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
ผมเห็นจากที่มานำเสนอให้ผมทราบในงานต่างๆ ที่ผ่านมา ก็อยากจะฝากให้สื่อทุกสื่อช่วยกันสร้างสรรค์ นำเสนอเป็นทางเลือกเหล่านี้ เสนอเป็นข้อมูล ให้กับพี่น้องชาวไร่ชาวสวน ถ้าไปมองในจุดอ่อน จุดบกพร่อง เช่น แล้วจะขายใคร ตลาดที่ไหน ก็เขามีเจ้าหน้าที่แนะนำอยู่
COMMENT :
ระดับไทยรัฐ (อ้างอิง) น่าจะเสนอข่าวหน่อยว่า
- ผักอินทรีย์ หรือ ผักเคมี หรือ ผักอินทรีย์-เคมี
- ใช้สารเคมี หรือ สารสมุนไพร
หรือไม่/อย่างไร
วันนี้เราต้องพยายามเชื่อฟังบ้าง แล้วก็นำให้ตัวเองนั้นเข้าสู่การพัฒนาตนเองในระบบที่ต้องใช้ความรู้ ใช้เทคโนโลยี ต่างๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ มาปฏิบัติตาม ให้เหมาะสมกับตนเอง ตามขีดความสามารถของตนเองด้วย เช่น
รายการ คืนความสุขให้คนในชาติ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2559
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 15/01/2016 6:00 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอนเด็ก นร. ปลูกผัก Organic ขายว |
|
|
.
.
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เด็ก นร. ปลูกผัก Organic ขายวันละ 2,000
(A10.7-2.2.2) เด็ก นร.ปลูกผัก Organic ขายกิโลละ 100...ฟังหูไว้หูก่อนที่จะเชื่อนะครับ
(ณ วันที่ 15 มค.59 ผักราคากิโลละ 100 บาท ก็จะมี สลัดใบแดง กับ บัตเตอร์เฮด ....แล้วก็มีเรดคอส กิโลละ 90 บาท ส่วน... กรีนคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค สลัดคอส ราคา กิโลละ 60 บาท)
ข่าว คือ ข่าว...ผมเก็บข้อมูลจาก 2 ข่าว แต่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพราะคิดว่านักข่าว(น่าจะ)เป็นคน ๆ เดียวกัน (ก็ว่ากันไป)....เชิญติดตามครับท่านผู้ชม
ข่าวซ้ำกัน คงไม่เป็นไรนะครับ ทีบ้านทรายทอง ยังดูซ้ำ ๆ ๆ ได้เลย ผมเคยดูมาตั้งแต่เด็ก ป่านนี้ คนที่แสดงเป็นชายน้อยคนแรก เป็นปุ๋ยไปแล้วมั๊ง....
ภาค 1 ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/559310
ไอเดียสุดเจ๋ง!! เด็ก ม.6 ปลูกผัก Organics ขายโลละ 100 สร้างรายได้ 2,000 บาท/วัน!!
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 7 ม.ค. 2559
(1) น้องหยก นร.ชั้น ม.6 วัย 17 ปี ปลูกผักอินทรีย์สร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว ทั้งยังได้รับรางวัลมาตรฐานจาก ออร์แกนิกไทยแลนด์ เพื่อยกระดับมาตรฐาน นับเป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศ เผย อยากศึกษาต่อด้านเกษตร...
เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยัง บ้านเลขที่ 52 หมู่ 1 ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เพื่อพบกับ นายจุลเทพ บุณยกรชนก หรือน้องหยก อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสตรีอ่างทอง ที่ปลูกผักอินทรีย์ขาย สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว จนได้รับใบประกาศเป็นผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 5 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และใบประกาศผ่านมาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์แล้ว
(2) นายจุลเทพ เปิดเผยว่า ช่วงที่อยู่บ้านได้ช่วยเหลือครอบครัวปลูกผักอินทรีย์สร้างรายได้โดยการปลูกผักออร์แกนิกขาย ได้ราคากิโลกรัมละ 100 บาท โดยแต่ละวันขายได้ถึง วันละ 10 - 20 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับผลผลิตและลูกค้าสั่งจอง ทั้งนี้ ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ ตลอดจนวิธีการปลูกจากพ่อ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
(3) "ช่วงแรกที่นำผลผลิตออร์แกนิกส่งขายออกสู่ท้องตลาดกลับไม่ได้ราคาอย่างที่คาดหวัง เนื่องจากผู้บริโภคไม่รู้ว่า ผักที่ครอบครัวตนเองปลูกแล้วส่งขายนั้น เป็นผักอินทรีย์
ซึ่งตนเองได้ปรึกษากับพ่อเพื่อขอตรารับรองจาก ออร์แกนิกไทยแลนด์ เพื่อที่จะได้รับรองผลผลิตที่ทางครอบครัวปลูกขายออกสู่ท้องตลาดว่า มีมาตรฐานและการรับรอง แต่ปัจจุบันได้รับใบประกาศผ่านมาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์แล้ว ซึ่ง.....หลังจากนี้จะดำเนินการปลูกผักออร์แกนิก และการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ตรารับรอง Organic Thailand ต่อไป
ในอนาคตจะเข้าศึกษาต่อในวิชาการทางด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ และการต่อยอดการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ที่ครอบครัวได้ทำอยู่แล้ว" นายจุลเทพ กล่าว
ภาค 2 ข้อมูลจาก http://www.naewna.com/local/196237
(4) 7 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพบนายจุลเทพ บุณยกรชนก หรือน้องหยก อายุ 17 ปี นักเรียนชายที่ช่วยเหลือครอบครัวในการปลูกผักอินทรีย์ขายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ด้วยการเรียนไปด้วยและช่วยพ่อแม่ปลูกผัก ออร์แกนิค ส่งขาย และตนเองได้รับใบประกาศเป็นผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 5 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และตอนนี้ได้รับ ใบประกาศ ผ่านมาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์แล้ว
(5)
(6)
(5 - 6) นายจุลเทพ เปิดเผยว่า ตนเองเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 สาย ศิลปะคำนวณ ได้ใช้ชีวิตประจำในช่วงที่อยู่บ้านได้ช่วยเหลือครอบครัวปลูกผักอินทรีย์สร้างรายได้โดยการปลูกผักออร์แกนิคขายได้ราคากิโลกรัมละ100 บาท โดยแต่ละวันขายได้ถึง วันละ10 - 20 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับผลผลิตและลูกค้าสั่งจอง และอนาคตจะเข้าศึกษาต่อในวิชาการทางด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ และการต่อยอดการเรียนรู้ ทำเกษตรอินทรีย์ที่ครอบครัวได้ทำอยู่แล้ว ได้ทำการศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ ตลอดจนวิธีการปลูก จากพ่อซึ่งทำให้ตนเองเกิดความรู้ความเข้าใจ
(7) นายจุลเทพ กล่าวต่อว่า ในช่วงแรกที่นำผลผลิต ออร์แกนิค ส่งขาย ออกสู่ท้องตลาดกลับไม่ได้ราคาอย่างที่คาดหวัง เนื่องจาก ผู้บริโภคไม่สามารถรู้ได้ว่าผักที่ครอบครัวตนเองปลูกแล้วส่งขายนั้น เป็นผักอินทรีย์ ซึ่งตนเองได้ทำการปรึกษากับพ่อเพื่อขอตรารับรองจาก ออร์แกนิคไทยแลนด์ เพื่อที่จะได้รับรองผลผลิตที่ทางครอบครัวปลูกขายออกสู่ท้องตลาดว่ามีมาตรฐานและการรับรอง
(8 ) ในปัจจุบันนี้ ตนเองได้รับใบประกาศ ผ่านมาตรฐานช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์แล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะทำการดำเนินการปลูกผักออกแกนิค และการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ ตรารับรอง organic thailand ต่อไป
จบข่าว...
เรื่องอื่นก็ว่ากันไป....แต่เป็นแนวคิดที่ดีนะครับ มีที่ดินแปลงน้อย ๆ ก็น่าจะทำได้ แม้จะอยู่บ้านจัดสรร ที่ดินไม่มีก็ปลูกใส่ตะกร้า หรือปลูกในกระถางก็ได้น่ะครับ....
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 27/01/2016 7:58 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน กรมพัฒนาที่ดิน เปิดอบรมฟรี |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน กรม พด. เปิดอบรมฟรี เรื่อง นวัตกรรมจุลินทรีย์ 16, 17, 18 มีนาคม 2559
A10.7.1(1)- 0 กรมพัฒนาที่ดินเปิดคอร์ส นวัตกรรมจุลินทรีย์ สอนทำปุ๋ยอินทรีย์-น้ำหมักชีวภาพ ฟรี
(1) นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานที่มีงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพทางการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม ได้ผลิตนวัตกรรมจุลินทรีย์ สารเร่ง พด. ชนิดต่างๆ บริการแจกจ่ายให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักไว้ใช้เองสำหรับช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และสามารถเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้ เนื่องจากมีฮอร์โมนและกรดอินทรีย์ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและติดดอกออกผลของพืช มีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ดับกลิ่นเหม็นจากคอกสัตว์เลี้ยง และกลิ่นไม่พึงประสงค์จากกองขยะ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กรมพัฒนาที่ดิน จึงจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร การใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ พด. เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยจะดำเนินการ 6 รุ่น รวม 360 คน ใช้เวลาฝึกอบรมรุ่นละ 1 วัน
ดำเนินการแล้ว 3 รุ่น
รุ่นที่ 1 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 2 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 3 วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
และมีกำหนดการอีก 3 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 4 วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 5 วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559
และรุ่นที่ 6 วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
ที่ห้องประชุมกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน และศูนย์เรียนรู้แปลงขยะเป็นทอง กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน ภายในกรมพัฒนาที่ดิน
ซึ่งเป็นการอบรมถ่ายทอดให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ พด. เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกพืช มีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อม และน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพทางการเกษตรและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ต้องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง เพื่อช่วยลดต้นการผลิตจากการใช้สารเคมี
โดยขอรับใบสมัครหรือติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม และกลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรียวัตถุ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน
กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน
กรมพัฒนาที่ดิน เลขที่ 2003/61
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร 1760 ต่อ 1379,1354 หรือ 02-579-2875, 02-576-0679, 02-579-7563
สิริบังอร เธียรชาติอนันต์ / รายงาน
(2) การเก็บตัวอย่างดิน
พด.แนะเกษตรกรเก็บตัวอย่างดิน เพื่อตรวจวิเคราะห์ ต้องทำถูกวิธีป้องกันผลวินิจฉัยผิดพลาด
กรมพัฒนาที่ดิน แนะเกษตรกรเก็บตัวอย่างดิน เพื่อตรวจวิเคราะห์สำหรับการปลูกพืช ทำให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์และปัญหาของดินในแปลงปลูกพืช พร้อมรับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดินตามความจำเป็น เพื่อให้การปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นโดยมีต้นทุนต่ำ
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากแนวทางการดำเนินนโยบายในการพัฒนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ประกาศ เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร นั้นจะต้องครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ
1. ต้องลดปัจจัยการผลิต
2. ต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น
3. ต้องเน้นเรื่องบริหารจัดการ
4. เรื่องของการตลาด
ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นกลไกสำคัญที่นำนโยบายรัฐสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง ทั้งนี้ในส่วนที่กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการโดยตรงก็คือเรื่องของการลดปัจจัยการผลิต นับตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อดูความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชที่พืชแต่ละชนิดต้องการ เพื่อใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยจะเน้นให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมี และมาใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรทำเอง รวมทั้งลดการใช้สารเคมีฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืช แต่จะเน้นใช้เมล็ดพันธุ์ให้พอดีกับพื้นที่และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
แต่ในความเป็นจริงของการปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลดี จำเป็นต้องทราบถึงความอุดมสมบูรณ์และปัญหาของดินในแปลงเพาะปลูก ทั้งนี้เกษตรกรควรทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ และต้องทำอย่างถูกต้องไม่เช่นนั้นอาจได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด
โดยหลักสำคัญของการเก็บตัวอย่างดิน ได้แก่
1. ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป โดยเผื่อเวลาสำหรับการส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ ระยะเวลาทำงานของห้องปฏิบัติการ ตลอดจนถึงการส่งผลกลับมาประมาณ 1 - 2 เดือน
2. พื้นที่เก็บตัวอย่างดินควรมีความชื้นเล็กน้อยเพื่อให้ขุดและเก็บได้ง่าย
3. ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน โรงเรือนเก่า จอมปลวก ควรเก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน คอกสัตว์ และจุดที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่
4. อุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาดไม่เปื้อนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือสารเคมีอื่น ๆ
5. บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน ให้มากที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด
ส่วนวิธีเก็บตัวอย่างดิน ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ พลั่ว จอบ เสียม ภาชนะใส่ดิน ผ้ายาง หรือผ้าพลาสติกและถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปตรวจวิเคราะห์ หลังจากนั้นจึงสุ่มเก็บตัวอย่างโดยแบ่งเป็นแปลงและกระจายเก็บให้ครอบคลุมทั่วแต่ละแปลง ๆ ละ 15 - 20 จุด แล้วขุดหลุมแต่ละจุดให้เป็นรูปตัว V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 เซนติเมตร ก่อนแซะเอาดินด้านหนึ่งเป็นแผ่นหนา 2 - 3 ซ.ม.
นำดินทุกจุดใส่รวมกันในถังพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้ ซึ่งได้ตัวอย่างดินของแต่ละแปลงโดยทำเช่นกันนี้ทุกแปลงจากนั้นให้ตากดิน ให้แห้ง โดยเทดินในแต่ละถังลงบนแผ่นผ้าพลาสติกหรือผ้ายางแยกกัน ถังละแผ่นเกลี่ยดินผึ่งในที่ร่มจนแห้ง และ
นำตัวอย่างดินที่เก็บมาแปลงละครึ่งกิโลกรัม ใส่ในถุงพลาสติกที่สะอาด พร้อมแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดของตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้ว ปิดปากถุงให้แน่น ใส่ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้น แล้ว
ส่งไปตรวจวิเคราะห์ ที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้าน หรือสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ทั้งนี้ตัวอย่างดินเมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะส่งผลกลับไปให้พร้อมกับคำแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้ปุ๋ยกับพืชที่ต้องการปลูก
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวในตอนท้ายว่า วิธีการส่งตัวอย่างดิน เกษตรกรสามารถส่งตัวอย่างดินได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะส่งทางพัสดุไปรษณีย์ นำไปส่งด้วยตนเอง ฝากกับหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านให้ช่วยส่ง หรือฝากกับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน
ทั้งนี้เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการเก็บตัวอย่างดิน และวิธีปฏิบัติตามคำแนะนำจากรายงานผลวิเคราะห์ดิน สามารถสอบถามได้จากหมอดินอาสาในชุมชน หรือติดต่อสอบถาม ไปยังสำนักงานวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 025614179 หรือ โทรสายด่วน 1760 ต่อ 3120
บริการวิเคราะห์ดิน
http://www.ldd.go.th/web_Soilanaly/Index.html
เอกสารการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์สำหรับปลูกพืช
http://lddmapserver.ldd.go.th/soilanaly2/SoilCollecting.pdf
สิริบังอร เธียรชาติอนันต์ / รายงาน
(3) หมอดินใหญ่แนะ ปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มผลผลิตได้ยั่งยืนแน่นอน
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักทางด้านวิชาการที่มีความเชียวชาญในการสำรวจดินและการพัฒนาที่ดินที่ดิน ซึ่งมีสถานีพัฒนาที่ดินกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านต่าง ๆ กว่า 80,000 คน เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ในการทำหน้าที่เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรดินและน้ำ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติเองและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรรายอื่น ๆ ต่อไปได้
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินและน้ำ เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ มีทั้งการป้องกันและแก้ไขการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมและต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนตลอดไป
ซึ่งการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์เพื่อทำการเกษตรอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยขาดการจัดการที่ถูกวิธี และขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม จะทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม ขาดอินทรียวัตถุ เนื้อดินแน่นทึบ ดินมีสภาพเป็นกรดจัด และความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทำให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตที่ลดน้อยลง
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการปรับปรุงบำรุงดินให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยทำการปรับปรุงดินทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ตลอดจนการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้สูงขึ้น ซึ่งแนวทางหรือวิธีการปรับปรุงบำรุงดินประกอบไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. ปรับสภาพความเป็นกรดของดินให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก โดยการใช้วัสดุปูนชนิดต่าง ๆ เช่น นาข้าวใช้ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น (หินปูนบด) ไม้ผลใช้ปูนโดโลไมท์ หรือ ปูนขาว เป็นต้น สำหรับอัตราที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดในดิน โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ในนาข้าว 0.5 - 1.5 ตัน/ไร่ แปลงปลูกผัก 1 - 2 ตัน/ไร่ ไม้ผล อัตรา 3 - 5 ก.ก./หลุมปลูก
2. ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ เช่น การไถกลบตอซังฟางข้าว ร่วมกับการรด ด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 อัตราการใช้ 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 2 4 ตัน/ไร่ คลุกเคล้ากับแปลงปลูกผัก ไม้ดอก หรือบริเวณหลุมปลูกไม้ผล ใช้อัตราเฉลี่ย 25 50 ก.ก./ไร่ ปลูกพืชปุ๋ยสด
เช่น โสนอัฟริกัน ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้าและไถกลบลงดิน ในช่วงเริ่มออกดอก (ประมาณ 50 60 วัน หลังปลูก) ก่อนที่จะปลูกพืชหลักทุกชนิด เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดี การระบายน้ำดี ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางหรือวิธีการปรับปรุงบำรุงดินนั้น ยังสามารถใช้วิธีการเพิ่มฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ฉีดพ่นให้ต้นพืช หรือรดราดลงดิน ช่วยให้รากพืชแข็งแรง การดูดใช้ธาตุอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พืชเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น
หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีตามความจำเป็น ชนิดและอัตราตามคำแนะนำโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
รวมทั้งการดูแลรักษาความชื้นในดิน โดยการใช้วัสดุ ต่าง ๆ คลุมดิน เช่น ฟางข้าว แกลบสด ใบหญ้าแฝก หรือพลาสติก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชและรักษาความชื้นในดิน
หรือการใช้และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เมื่อฟันไถกลบลงดินให้ย่อยสลายเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชที่ปลูกด้วย ตลอดจนการจัดการดินหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้ไถกลบ หรือสับกลบ ตอซัง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินให้สมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกพืชในฤดูกาลต่อไป
สำหรับพื้นที่ดินที่ลาดชัน หรือที่สูงควรทำการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางความลาดเท หรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวระหว่างแถวปลูกพืช ปลูกหญ้าแฝกรอบโคนต้นไม้หรือปลูกหญ้าแฝกครึ่งวงกลม ตัดใบคลุมดินบริเวณโคนต้น ใบหญ้าแฝก ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน เมื่อย่อยสลายก็จะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน รากและลำต้นช่วยดูดซับน้ำ ปลูกเป็นกำแพงชะลอการไหลบ่าของน้ำ ลดการสูญเสียหน้าดินและธาตุอาหารพืช
ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวข้างต้น เป็นวิธีการที่ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่เสื่อมสภาพ และสามารถปลูกพืชให้ผลผลิตสูงได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ต้องมีการตรวจวิเคราะห์ดิน ทุก 1 - 2 ปี จะทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดิน และนำผลการตรวจวิเคราะห์ไปพิจารณา หาแนวทาง หรือวิธีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมต่อไป รวมถึงครอบครัวเกษตรกรควรงดเผาตอซังฟาง หรือเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาโดยเด็ดขาด แนะนำให้ใช้วิธีการไถกลบตอซังข้าวหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว และรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ ก่อนเตรียมดินปลูกพืชฤดูกาลต่อไป
ดังนั้นหากเกษตรกรหรือท่านที่สนใจวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในชุมชน หรือติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทร. 02-579-8515
สิริบังอร เธียรชาติอนันต์/รายงาน
(4) พด. ชี้จุดยืน..โซนนิ่ง ช่วยลดต้นทุน สร้างผลผลิตและรายได้ที่แน่นอน
พด. ชี้จุดยืนการกำหนดเขตความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ รวมถึงปศุสัตว์ ประมง การปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด เพื่อการบริหารจัดการใช้ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "โซนนิ่ง" สามารถช่วยลดต้นทุน สร้างเสถียรภาพราคา และสร้างรายได้ที่แน่นอนให้เกษตรกร
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการกำหนดเขตความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิด รวมถึงปศุสัตว์ 5 ชนิด และประมง 2 ชนิด โดยร่วมมือกับหน่วยงานหลายหน่วยงาน เพื่อการบริหารจัดการการใช้ที่ดิน หรือ "โซนนิ่ง" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการลดช่องว่างผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ
สำหรับโครงการการจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตรนั้น มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพปรับเปลี่ยนการทำเกษตรของประเทศ ให้มีความเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาการผลิต โดยมีการนำองค์ความรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขาเชื่อมโยงและบริหารจัดการผลิตและการตลาดเข้าด้วยกัน โดยคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้ประกาศพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับคุณภาพดิน น้ำ อากาศ และปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ ไปแล้ว
13 ชนิดพืช (ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ทุเรียน เงาะ ลำไย มะพร้าว มังคุด กาแฟ )
ปศุสัตว์ 5 ชนิด (ได้แก่ โคเนื้อ โคนม สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่)
และประมง 2 ชนิด (ได้แก่ กุ้งทะเล และสัตว์น้ำจืด) โดยสำรวจข้อมูลพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ของแต่ละจังหวัดในพื้นที่จริง
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวย้ำอีกว่า การกำหนดเขตที่เหมาะสมของกระทรวงเกษตรฯ ยึดหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานที่พร้อมจะนำข้อมูลแต่ละด้านมาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของดินที่กรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้ดูแล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีหน้าที่วางแผนการผลิตอุปสงค์และอุปทานในภาพรวมของทั้งประเทศว่าสินค้าชนิดไหนเกิน ชนิดไหนขาดโดยเอาข้อมูลทางเศรษฐกิจมาเป็นตัวจับเพื่อดูเรื่องของผลตอบแทนและต้นทุนการผลิต ใช้สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานของการกำหนดเขตเศรษฐกิจการเกษตร
ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร และสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องการที่จะเห็นจากการทำโซนนิ่ง คือ เกิดการปรับเปลี่ยนในพื้นที่เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสม เนื่องจากถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทาน ก็จะเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำหรือผันผวนไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำซากเป็นประจำทุกปี
สิริบังอร เธียรชาติอนันต์/รายงาน
(5) พด. เพิ่มทักษะถ่ายทอดความรู้ด้วย "เทคนิคการเป็นวิทยากร"
กรมพัฒนาที่ดิน จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "เทคนิคการเป็นวิทยากร" จำนวน 2 รุ่น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และเทคนิคในการเป็นวิทยากรให้แก่ข้าราชการของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงาน ด้านวิชาการ บุคลากรในกรมมีทั้งสายงานหลักและสายงานสนับสนุน ซึ่งในปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีมาตรฐาน มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับบุคลากรขององค์กรทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ในสายงานตนเองสู่เพื่อนข้าราชการ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง หรือถ่ายทอดสู่หมอดินอาสาและประชาชน ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ และทัศนคติที่ดีพร้อมจะร่วมกันสร้างคุณภาพและมาตรฐานการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "เทคนิคการเป็นวิทยากร" ให้แก่ข้าราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ต่อเนื่องจากรุ่นที่ 1 อีก 2 รุ่น ๆ ละ 40 คน รวม 80 คน
โดยรุ่นที่ 2 อบรมระหว่างวันที่ 18 - 22 มกราคม พ.ศ. 2559 และ
รุ่นที่ 3 อบรมระหว่างวันที่ 25 - 29 มกราคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสายงานหลักและสายงานสนับสนุน มีความรู้ความเข้าใจเกิดทักษะของการเป็นวิทยากร สามารถประยุกต์ใช้หลักการเทคนิคการเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้แก่ผู้บุคลากรในหน่วยงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ส่งเสริมให้เกิดการประสานงาน และสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนางานต่อไป
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 02-579-8515 โทรสาร.02-941-2139
http://www.ldd.go.th/
สิริบังอร เธียรชาติอนันต์ / รายงาน
(6) กรมพัฒนาที่ดิน สนองนโยบาย
การช่วยเหลือเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งปี 58/59
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเพาะปลูกของเกษตรกร ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป
แม้ว่าน้ำใน 4 เขื่อนหลักจะได้ปริมาณน้ำใช้การได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมาก เพียงพอเฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรังในฤดูแล้งนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้ที่จะถึงนี้และต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม 2559
จึงขอให้เกษตรกรพิจารณางดการทำนาปรัง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสูง ทำให้ต้องประสบปัญหาการขาดทุน ดังนั้นจึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต
จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เห็นชอบโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559 เพื่อสนับสนุนโครงการบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/2559 มีกรอบการดำเนินงานจำนวน 5 มาตรการ ดังนี้
(1) มาตรการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
(2) มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน
(3) มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
(4) มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง
(5) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
(6) มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน
(7) มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
( 8 ) มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ
นายสุรเดช เตียวตระกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินงานสนองนโยบายดังกล่าว โดยดำเนินการจัดทำแผนงาน/งบประมาณ ในการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59
ตามข้อมูลโครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้งด้านการเกษตร ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภายใต้กรอบมาตรการ ที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน จำนวน 2 โครงการ คือ
โครงการการจัดทำปุ๋ยหมัก เป้าหมาย 763 ตัน เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 1,180 ราย และโครงการทำน้ำหมักชีวภาพ เป้าหมาย 503,232 ลิตร เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 2,975 ราย
นอกจากนี้กรมพัฒนาที่ดินได้สนับสนุนกิจกรรมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 7,827 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์ 862 ราย
และดำเนินการตามกรอบมาตรการที่ 4 โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/2559 โดยให้สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดเข้าไปร่วมบูรณาการ การทำงานด้านต่าง ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ และชุมชนท้องถิ่น ในการทำหน้าที่สำรวจพื้นที่และชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายความช่วยเหลือของรัฐบาลกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พร้อมทั้งเสนอทางเลือกให้กับประชาชนตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลของโครงการตามแผนชุมชนของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรพื้นที่เป้าหมายจำนวน 4,115 ราย จะได้รับประโยชน์โครงการดังกล่าว
นางสาวสิริบังอร เธียรชาติอนันต์ นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ / รายงาน
(7) แล้งนี้ ! กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนเกษตรกรปลูกปอเทือง ฟื้นฟูดินเลว
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ๒๒ ที่คาดว่าจะมีช่วงวิกฤตที่ขาดแคลนน้ำ โดยขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง งดการปลูกข้าวเพราะเสี่ยงต่อการขาดทุน ให้หันมาปลูกพืชปุ๋ยสดซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วแทนในพื้นที่นาเพื่อช่วยปรับปรุงบำรุงดิน โดยดำเนินการตามรายชื่อเกษตรกรที่แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการปลูกพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) กับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 862 ราย มีเนื้อที่ประมาณกว่า 7,000 ไร่
ซึ่งการปลูกปอเทืองเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขายเป็นการสร้างรายได้ โดยให้เกษตรกรนำเมล็ดปอเทืองไปหว่านปลูกในพื้นที่นาข้าว เมื่อครบ 4 เดือน สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อขายให้เกษตรกรรายอื่นๆ โดยตรง ช่วยสร้างรายได้เสริมทดแทนการทำนาและยังมีประโยชน์ทางอ้อมคือ ได้ปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรไปในคราวเดียวกัน เนื่องจากที่รากปอเทืองมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศสร้างเป็นสารประกอบที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อไถกลบลงดินจะปลดปล่อยไนโตรเจนให้กับดิน ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เมื่อดินดีเกษตรกรจึงลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตพืชในฤดูต่อๆ ไปได้ ดังเช่น
ในพื้นที่ 1 ไร่ เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กก. เมื่อปลูกแล้วจะได้เมล็ดพันธุ์คืนมาประมาณ 150 200 กก. ถ้าขายจะได้เงินประมาณ 2,000 3,000 บาท แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกปอเทืองพื้นที่ 1 ไร่ และไถกลบ จะทำให้ชาวนาได้น้ำหนักต้นปุ๋ยพืชสด 2,500 กก. หรือได้ปุ๋ยแห้ง 500 กก.
ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า การปลูกปอเทืองในพื้นที่ 1 ไร่ แล้วไถกลบเมื่อต้นปอเทืองอายุ 50 วัน เทียบเท่ากับการได้ปุ๋ย 3 ชนิด คือ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 30 กก. ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ ฟอสเฟต (0-46-0) จำนวน 2.4 กก. และโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) จำนวน 20 กก.คิดเป็นเงินค่าปุ๋ยรวม 940 บาท/ไร่ ทำให้เกษตรกรได้ปุ๋ยเคมีแบบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
ทั้งนี้ เกษตรกรหรือท่านที่สนใจการปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถติดต่อสอบถามขอรับการบริการได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกแห่ง หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในชุมชน หรือติดต่อสอบถามที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 02-579-8515 หรือ โทร.สายด่วน 1760 ต่อ 2230
นางสาวชนิษฎา กล้าหาญ นักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ /รายงาน
Comments:- อ่านครับ มันดี เพราะเป็นเรื่องจริง
(1)ตอนนี้ซื้อเมล็ดพันธุ์เตรียมปลูกเองแล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ฤดูหน้า ไม่รอทางราชการแล้วครับพึ่งพายาก. ช่วยตัวเองดีกว่า
(2)มันคันมากนะครับเมล็ดปอเทืองเวลาเก็บ ที่เชียงรายไปขอก้อเงียบ แต่เคยได้ถั่วพร้า อันนี้น่าสนกว่า ไม่คันด้วยครับ เป็นคนไทยคงต้องพึ่งตัวเองครับ
(3) เคยไปขอที่พัฒนาที่ดินขอนแก่น ไม่ประทับใจเลยพูดจาไม่ค่อยดี เขาคงจะไม่ทราบความหมายคำว่าข้าราชการ
(8 ) งดเผาตอซัง
กรมพัฒนาที่ดิน แนะ งดเผาตอซัง ใช้ไถกลบเพื่อบำรุงดินให้ดี
กรมพัฒนาที่ดิน แนะเกษตรกรในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้หยุดเผาทำลายตอซังฟางข้าว และเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำลายกายภาพเคมีและชีวภาพของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ปลูกพืชได้ผลผลิตที่ไม่คุ้มกับต้นทุน โดยการใช้นวัตกรรมบ้าน ๆ ด้วยการไถกลบตอซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจาก สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่แจกให้ใช้ฟรี!
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ แพร่ และน่าน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของทุกปี จะมีสภาพหมอกควันปกคลุมหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง อันมีสาเหตุหลักเกิดจากเผาขยะเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาและการเผาป่า เพื่อเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร
ทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน และอุสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้ลดทัศนวิสัยการมองเห็น ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายบนท้องถนน ซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้น จากการเผาตอซัง ฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นานั้น เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปอาจคาดคิดไม่ถึง ว่าจะทำให้เกิดฝุ่นละอองเถ้าเขม่า ควันไฟและก๊าซหลายชนิด ฟุ้งกระจายปกคลุมไปทั่วในบริเวณกว้าง ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
ก่อให้เกิดมลพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังส่งผลกระทบ อย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้สูญเสียน้ำในดิน เนื้อดินจับตัวกัน แน่นแข็ง สูญเสียอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดิน เป็นการทำลายจุลินทรีย์ในดินตลอดจนไส้เดือนดิน หรือแมลงที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง นอกจากนั้นตัวอ่อน ของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืช รวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น ส่งผลเสีย ต่อเกษตรกร ทำให้การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ปริมาณผลผลิตที่ไม่ดี ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดิน จึงให้สถานีพัฒนาที่ดินทั้ง 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ร่วมกับ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านต่าง ๆ ทำการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรทราบถึงประโยชน์ของการงดเผาตอซัง ฟางข้าว แล้วใช้วิธีไถกลบลงดินแทน ซึ่งเกษตรกรสามารถทำเองได้โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นนวัตกรรมพื้นบ้านแบบง่าย ๆ ที่ได้ผลในการปรับปรุงโครงสร้างดินและบำรุงดินได้เป็นอย่างดี ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ซึ่งข้อดีและผลของการหมักฟางในนาข้าวด้วยน้ำหมักชีวภาพ จะช่วยให้ตอซังอ่อนนิ่มย่อมสลายได้ง่ายขึ้น จะมีจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุที่ช่วยคืนชีวิตในพื้นดินได้ทันที
ถ้าหากเกษตรกรมีการปลูกพืชปุ๋ยสดร่วมด้วย เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง ฯลฯ ในอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ ปลูกนานประมาณ 45 - 48 วันแล้วไถกลบลงดิน จะเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุที่มีมวลชีวภาพสดประมาณ 3 - 5 ตัน/ไร่ ให้กับดินได้โดยตรง ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยง่ายต่อการเตรียมดิน การระบายอากาศของดิน มีเพิ่มมากขึ้น เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชและเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินเป็นการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชกลับคืนสู่ดิน มีผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตพืชมากขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในการผลิต และช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีลงได้เป็นอย่างดี
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันนี้เกษตรกรควรงดเผาตอซัง ฟางข้าว เศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา แล้วใช้วิธีไถกลบร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
กล่าวได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน นอกจากการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าวเพื่อการไถกลบลงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นของดินไว้ได้อย่างดี ทั้งนี้ถ้าหากเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจ วิธีการ ไถกลบตอซังฟาง ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพิ่มปริมาณผลผลิต ให้มีคุณภาพ โดยมีต้นทุนต่ำ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินใกล้บ้าน หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในชุมชน หรือโทรสอบถามได้ที่ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร.02-579-2875
นางสาวสิริบังอร เธียรชาติอนันต์ นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ / รายงาน
(9) รายงานพิเศษ
พด.แนะเกษตรกรปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 หน้า 13
จากปัญหาการนำพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำการเกษตรอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยขาดการจัดการที่ถูกวิธีและขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม จนทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่งผลให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร ทำให้สารเคมีตกค้างในดิน น้ำ พืช สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้ผลิตผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
ดร.อภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า จากภารกิจหลักของกรมพัฒนาที่ดินที่ดูแลในเรื่องของการสำรวจดิน วิเคราะห์และวิจัยดิน สิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิน การติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดิน การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน และการแก้ไขปัญหาดินที่มีปัญหาในการทำการเกษตร โดยได้มอบนโยบายให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตทั้ง 12 แห่ง สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ตลอดจนหมอดินอาสาซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินในชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้รณรงค์ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยวิธีการปรับปรุงบำรุงดินที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ คือ
การใช้ปุ๋ยพืชสด ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ ปลูกแล้วให้ทำการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ใบ ส่วนต่างๆ ลงดินในขณะที่พืชยังเขียวสดอยู่ มีธาตุอาหารและน้ำหนักสูงสุด และควรไถกลบขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปจนถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด
เมื่อไถกลบจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุไนโตรเจนสะสม และธาตุอื่นๆ อยู่ในดินสูงด้วย ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายผุพัง จึงปลูกพืชหลักตามหลังได้หลังไถกลบประมาณ 7-15 วัน ซึ่งปัจจุบันนี้เกษตรกรอาจเลือกปลูกพืชบางชนิดที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน แล้วจึงไถกลบเศษซากพืชลงไปในดิน ก็พอจะอนุโลมเป็นปุ๋ยพืชสดได้เช่นกัน นอกจากนี้ พืชที่ปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดยังช่วยคลุมดิน รักษาความชื้นในดิน ลดการชะล้างพังทลายของดินและควบคุมวัชพืช
สำหรับพืชที่จะนำมาปลูกเพื่อไถกลบเป็นพืชปุ๋ยสดควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง ถั่วลาย ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วกระด้าง โสน เนื่องจากพืชประเภทนี้เจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นพืชตระกูลถั่วซึ่งมีแบคทีเรียกลุ่มไรโซเบียมอาศัยอยู่ในปมรากถั่ว ทำให้สามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนที่มีอยู่ในอากาศและนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อไถกลบพืชเหล่านี้ลงดินและเกิดการเน่าเปื่อยผุพังสลายตัว ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในพืชก็จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ดิน และอยู่ในรูปที่พืชปลูกติดตามมาสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวอีกว่า การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบบำรุงดิน อาจปลูกทั้งพื้นที่ในแปลงใหญ่แล้วไถกลบก่อนปลูกพืชหลัก หรือปลูกแซมระหว่างร่องของพืชหลัก โดยปลูกหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นไถกลบลงในร่องระหว่างแถวพืชหลัก หรือปลูกในพื้นที่อื่นแล้วตัดสับมาใส่ในแปลงพืชที่ปลูกไว้ การตัดหรือสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดควรทำในขณะที่พืชนั้นกำลังเติบโตเต็มที่ คือต้นพืชอยู่ในระยะออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชมีปริมาณไนโตรเจนและน้ำหนักสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูแล้งนี้ เกษตรกรควรปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน โดยไถกลบให้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ตลอดจนเก็บเมล็ดพืชปุ๋ยสดบางส่วนไว้จำหน่ายให้กับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อสร้างรายได้ และบางส่วนก็เก็บไว้ใช้ในปีต่อไป
รายงาน : นางสาวชนิษฎา กล้าหาญ นักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 09/02/2017 11:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 07/02/2016 2:20 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เสียบยอดแตงโมบนตอฟักทอง |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เสียบยอดแตงโมบนตอฟักทอง
(A10.7.1-2) เอายอดแตงโมไปเสียบยอดฟักทอง
ผมอ่านในกระทู้ 5283...14 มค.59
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5283
ผมติดใจที่ลุงคิมพูดไว้ในตอนหนึ่ง ว่า
.
ปล.
(1) ทดลองเอายอดแขนง(ฟักทอง)ที่เด็ดออกมา เสียบบนตอ "พลูฝรั่ง" แบบใบใหญ่ซิ ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรไทยบอกว่า รากพลูฝรั่งหากินเก่ง จะช่วยเลี้ยงฟักทองให้สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอกติดผลดี .... ก็มีนะ
(2) .ที่เขาเอายอดแตงโมเสียบบนตอฟักทอง ก็ได้เหมือนกัน .... เขาว่านะ (อย่าเชื่อ)
ผมขอเรียนลุงว่า.....เชื่อหรือไม่เชื่อ ตามใจ แล้วคอยดูต่อไป คงเห็นนนน.....
(1)
(2)
(1 2) เกษตรกรญี่ปุ่นปลูกแตงโมโดยวิธีเปลี่ยนยอดกับต้นตอฟักทอง ได้แตงโมที่แข็งแรงช่วยป้องกันโรคเน่าที่มักเกิดกับต้นแตงโม
อาโนเนะ...โดโม๊ะ อาริกาโต โกไซมะชิตะ....เสียดายที่ภาษาญี่ปุ่น ผมอ่านก็ไม่ออก ฟังก็ไม่รู้เริ่อง ไม่อย่างนั้นคงสนุก....ก็เอาแค่ตาดูที่เค้าทำ ก็พอเดาได้บ้างไม่มากก็น้อย...โชคดีสำหรับคนที่อ่านและฟังภาษาญี่ปุ่นรู้เรื่อง ....แต่บางคน ถึงจะอ่านและฟังรู้เรื่อง แต่อาจจะทำไม่เป็นเรื่องก็ได้นะ ไฮ้...
ลองทำดูครับ ทำใหม่ ๆ ครั้งแรก 100 ต้น รอดตายเหลือแค่ต้นเดียวก็เก่งแล้ว
.ทำบ่อย ๆ นานๆเข้า มันก็จะ Skill แบบ HITASHI เสียบปุ๊บ ติดปั๊บ ....
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(8 )
(9)
(10)
(11)
(12)
(13)
(14)
(15)
(16)
(17)
(18 )
(19)
(20)
(21)
(22)
(23)
(24)
(25)
(26)
(27)
อยากดูคลิป.....คลิกเลยครับ
https://www.youtube.com/watch?v=MZ9goudaABA&feature=youtu.be
คนทำนี่ ใจเย็นสุด ๆ ทำแบบสบาย ๆ ไม่รีบร้อน เสียบที่ละต้น ๆ เป็นพัน เป็นหมื่นต้น สมาธิต้องนิ่ง ใจต้องมุ่งมั่น มือต้องแม่น มีดต้องเฉียบคม ที่สำคัญ คนไม่บ้าทำไม่ได้...
วีดีโอต้นฉบับ
https://youtu.be/MZ9goudaABA
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/02/2016 1:30 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่ค |
|
|
ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด....
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด
(A10.7-1- 1.2) 3 มุมมองคนเกษตรอินทรีย์ วิพากษ์หนังสือ นักวิชาการ มหาฯ ลัยเกษตรฯ เขียนหนุน ปุ๋ยเคมี
(1) หนังสือเล่มนี้ เป็นตรรกะ ป่วยที่สุดเท่าที่เคยเจอ แล้วหนังสือเล่มนี้ยังส่งไปยังสถานที่ราชการ หน่วยงานต่างๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากที่เกิดขึ้นสถาบันการเกษตรที่มีชื่อเสียง
เมื่อเร็วๆ นี้ สภาเกษตรแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน จัดเวทีสัมมนาวิชาการ ความจริง...เรื่องเกษตรอินทรีย์ ณ อาคารวิทยบริการ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ช่วงหนึ่งในเวทีมีการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเรื่อง ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี
กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า เป็นงานต่อมาจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน เขียนโดยคนเขียนคนเดียวกัน คือสมาคมการค้าปุ๋ย ซึ่งแปลกใจมากว่าเผยแพร่ออกมาในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าอับอาย มีการใช้งานตำแหน่งของงานวิชาและชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งมีชื่อเสียงมายาวนานเพื่อเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ของบริษัทขายปุ๋ย
หนังสือเล่มนี้แย่อย่างไรนั้น ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า เกษตรแบบอินทรีย์เป็นการเกษตรแบบองค์รวม แต่ในหนังสือเล่มนี้เป็นตรรกะป่วย ใส่ความเชื่อผิดๆ เป็นความเชื่อที่ว่า ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีลงไปเท่าไหร่จะได้ผลผลิตมากเท่านั้น ปุ๋ยเคมีเท่ากับผลผลิตพืช ต้องใส่เท่าไหร่ถึงจะคุ้มค่า เป็นตรรกะป่วยที่สุดเท่าที่เคยเจอ แล้วหนังสือเล่มยังส่งไปยังสถานที่ราชการ หน่วยงานต่างๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากที่เกิดขึ้นสถาบันการเกษตรที่มีชื่อเสียง
การใช้ปุ๋ยเคมีในการทำเกษตรกรรมมีการศึกษามาโดยตลอด การใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปนั้นจะเห็นว่า ผลผลิตยิ่งน้อยลง และเลวร้ายกว่าเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมีด้วยซ้ำ มีสารตกค้างในพืชผลไม้เกินกว่ามาตรฐานนายวิฑูรย์ กล่าว และว่า หนังสือเล่มนี้บอกเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มาตรฐาน แต่ความเป็นจริงตรงกันข้าม แม้ในตอนนี้เกษตรกรหลายท่านเห็นผลแล้ว แต่เราอยากให้เห็นผลในอนาคตด้วย
ส่วนนายวิฑูรย์ ปัญญากุล ผู้อำนวยการ Green net
กล่าวถึงผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ เขียนขึ้นโดยปราศจากความเข้าใจกลไกความสัมพันธ์ของวงจรแร่ธาตุอาหารที่ซับซ้อนดังกล่าว ลดทอนความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของพืชกับปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี โดยชักจูงให้เชื่ออย่างผิดๆ โดยปราศจากการทดลองหรือการศึกษาใดๆ รองรับว่า ปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลผลิตที่ได้รับ และ การปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตเท่ากันต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมาก เพื่อให้มีธาตุอาหารหลักมากในระดับเดียวกับปุ๋ยเคมี
นอกจากนี้ นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ผู้เขียนยังเปรียบเทียบ ผลผลิตพืชที่ได้ โดยเปรียบเทียบ ธาตุอาหารหลัก (N-P-K) ที่มีใน ปุ๋ยเคมี กับที่มีใน ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก แล้วสรุปเอาเองว่า การซื้อปุ๋ยเคมี เปรียบเทียบกับการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าให้ได้ผลผลิตพืชเท่ากันจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 8-70 เท่า ขณะเดียวกันยังมีความเชื่อแบบผิดๆ ของชาวเกษตร ว่า เกษตรแบบอินทรีย์มีผลผลิตน้อยกว่าการเกษตรแบบเคมี จริงๆแล้วไม่ได้เป็นข้อสรุปตายตัว แต่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อไรก็ได้ "แต่บอกได้เลยเกษตรแบบอินทรีย์ให้ผลผลิตที่ดีกว่าเกษตรเคมีเป็นกี่เท่าก็ได้"
ด้านนายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ
ตั้งข้อสังเกตหนังสือเล่มดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า เขียนขึ้นมาแบบรู้ไม่จริง แถมมีอีแอบด้วยจ้างพิมพ์ แล้วเอามาแจกฟรี โดยไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้สนับสนุน
สารเคมีดีตรงไหน มีแต่ทำลายล้าง ผลกระทบที่ตามมามีมากมาย แล้วจะมาบอกว่า เกษตรเคมีดีกว่า เป็นไปได้หรือ แล้วยังจะมาบอกว่าปุ๋ยเคมีไม่มีสารพิษ แค่เขียนคำนำก็ผิดแล้ว คนอ่านหนังสืออ่านคำนำกับสารบัญ ก็พอรู้แล้วว่า เนื้อหาข้างในน่าจะเป็นอย่างไร ฉะนั้นการไม่รู้แล้วเอาเขียนจะยิ่งทำให้คนไม่รู้ ยิ่งไม่รู้เข้าไปอีก การมาว่า ระบบอินทรีย์นั้นแสดงว่าคนเขียนรู้จักอินทรีย์ยังไม่ดีพอ เพราะระบบอินทรีย์ต้องแบบองค์รวม คน สัตว์ พืช การทำเกษตรเคมีทำให้เกษตรยากจน ไม่มีคนไหนที่จะร่ำรวย แต่บางคนก็ยังทำต่อ
ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ กล่าวด้วยว่า การทำเกษตรแบบอินทรียีเป็นการคิดแบบองค์ เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรแบบธรรมมะ แต่เกษตรเคมีเป็นฝ่ายอธรรม ผมพูดตามหลักธรรม แล้วการเกษตรแบบเคมีเป็นธรรมมะตรงไหนไม่มีเลยแม้แต่น้อย แถมเพิ่งเกิดด้วย และกำลังจะย่อยสลายลงไป เพราะไม่ใช่เป็นการเกษตรแบบยั่งยืน
ข้อมูลจาก Siwa Hong
http://www.isranews.org/isranew.../item/38462-100558011.html
(2) ชำแหละตรรกะนักวิชาการ ม.เกษตรฯ โจมตี เกษตรอินทรีย์ เชียร์ ปุ๋ยเคมี ออกนอกหน้า
ASTVผู้จัดการ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ชี้หนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด ซึ่งสนับสนุนการใช้ปุ๋ยเคมี และโจมตีปุ๋ยอินทรีย์อย่างออกนอกหน้า มีปัญหาเรื่องตรรกะและบกพร่องในเนื้อหา ทั้งๆ ที่เขียนและประทับตราคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ กังขามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสมาคมผู้ค้าปุ๋ย หวั่นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในระยะยาว
นับว่าเป็นเรื่องสั่นคลอนวงการเกษตรกรรมไม่น้อย เมื่อมีนักวิชาการผู้หนึ่งได้ออกหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม ซึ่งได้ออกภายใต้ตราประทับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีในวงการว่าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นแหล่งรวมงานวิจัยและนักวิชาการชั้นนำทางด้านเกษตรอันดับหนึ่งของประเทศ
ชื่อหนังสือดังกล่าวทำให้คนในแวดวงเกษตรกรรม ตื่นตัวและลุกขึ้นมาตั้งคำถามไม่น้อยถึงอุดมการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว คนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็มิใช่ใครอื่น ซ้ำยังเป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แน่นอนว่าเมื่อมีตราของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือไม่น้อย
ผมทำหน้าที่นักวิชาการที่ดีแล้ว รู้อะไรก็พูดไปตามที่รู้ ท่านจะคิดอย่างไรคงไปจับมือทำไม่ได้ แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดจริง อยากให้สังคมรู้ว่า ผมได้ทักท้วงแล้ว
ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา
เมื่อไม่นานมานี้ สภาเกษตรแห่งชาติและภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน จัดเวทีสัมมนาวิชาการ ความจริง...เรื่องเกษตรอินทรีย์ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือดังกล่าวว่าเป็น ตรรกะที่ป่วยที่สุดของวงการเกษตรกรรม
หนึ่งในผู้ที่ออกมาวิพากษณ์ก็คือ นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี นักพัฒนาผู้คร่ำหวอดในวงการ NGOs มายาวนานกว่า30ปี ได้ให้สัมภาษณ์ ASTVผู้จัดการ วิพากษ์ถึงเบื้องหน้า-เบื้องหลังของหนังสือเล่มดังกล่าว
ถาม : คิดว่าจุดประสงค์หลักของการออกหนังสือเล่มนี้คืออะไร?
ตอบ : เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีมันเป็นความเชื่อของกลุ่มนักการเกษตรกลุ่มหนึ่งและกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีและเป็นหลักของหนังสือเล่มนี้ เราอาจจะต้องตั้งคำถามกลับกันว่าแท้จริงแล้ว ระบบเกษตรกรรมเท่าที่ผ่านมาและในอนาคตจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้สารเคมี ขอย้อนหลังเสียหน่อยว่าปุ๋ยเคมีในอดีตเพิ่งจะถูกนำมาใช้ในการเกษตรได้ไม่นานมานี้ หลังจากมีการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ จัสตัส วอน ลีบิก (Justus von Liebig) ประกาศทฤษฎีว่า ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช
ไนโตรเจนช่วยให้ใบเจริญเติบโต ฟอสฟอรัสช่วยให้รากและดอกเติบโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการนำเอาปุ๋ยเคมีนำมาใช้ในการเกษตรและปุ๋ยเคมีที่ถูกนำมาใช้จำนวนมากเป็นผลสืบเนื่องมาจากระเบิดซึ่งต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย เช่นเดียวกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงต่างๆ แรงจูงใจในการผลิตก็มาจากเรื่องสงคราม
ประเด็นก็คือว่าการตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ปุ๋ยเคมี มันมีเหตุผลเบื้องหลังที่แตกต่างกัน ทางเราไม่เคยพูดว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการผิดหลักเกษตรกรรม ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้บอกว่าการเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นทางเลือกเดียว ซึ่งการเลือกใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดมันมีบริบทการใช้ของมันอยู่ สิ่งสำคัญที่หนังสือเล่มนี้คือทำขึ้นมาเพื่อโจมตีปุ๋ยอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด แล้วยังลามไปถึงการโจมตีเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
ที่มา.-
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000056429
(3) ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยเข้าไปสู่วงจรการผลิตและเพื่อส่งออกซึ่งจะเน้นหนักไปทางการเร่งผลผลิตและปริมาณเป็นหลัก นอกจากนั้น มีการพัฒนาเรื่องพันธุ์พืชรวมไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นภายในทศวรรษที่ผ่านมาปุ๋ยเคมีจึงมีบทบาทสำคัญภายใต้บริบทที่ว่ามา เวลาผ่านไปเราก็พบว่าหากยิ่งใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากในพืชเชิงเดี่ยว ผลผลิตของมันไม่ได้มากดังที่เราต้องการแต่กลับมีต้นทุนที่สูงขึ้น ซ้ำจะเกิดปัญหาแมลงและโรคระบาดตามมา เกิดปัญหาในเรื่องคุณภาพของดินถึงขนาดที่ว่าการผลิตแบบนี้ของประเทศไทยมีผลต่อการแข่งขันระดับประเทศและระดับภูมิภาค
ทิศทางในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผ่านมาในเชิงเดี่ยวจึงไม่ควรจะเป็นทิศทางหลักของวงการเกษตรบ้านเรา มันต้องกลับไปสู่เรื่องเกษตรอินทรีย์ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินในวิธีชีวภาพมากขึ้น อยู่มาวันหนึ่งก็มีนักวิชาการบางคน เอาชื่อของมหาวิทยาลัยพิมพ์หนังสือขึ้นมา เพื่อโจมตีเรื่องเกษตรอินทรีย์โดยปราศจากความเข้าใจ เนื้อหาและข้อมูลไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการทางวิชาการ ตรรกะที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ผมถือว่าเป็นตรรกะป่วย ไม่มีความสมเหตุสมผล นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราต้องออกมาตอบโต้
ถาม : ในหนังสือมีการระบุเป็นข้อๆ เช่นว่าคุณสมบัติของปุ๋ยเคมีดีกว่า อาทิปลูกได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่สร้างมลพิษ ความโปร่งแข็งของหน้าดิน
ตอบ : หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาโดยใช้ตรรกะที่ว่าเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อยู่ดีๆ ก็มีตรรกะนี้ขึ้นมาลอยๆ โดยที่ไม่ได้มีผลการทดลองหรือทฤษฎีมารองรับเลย จากนั้นก็ใช้วิธีเปรียบเทียบเช่นถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ผลผลิตพืชเท่ากับปุ๋ยเคมีจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ขนาดเท่าไหร่ ในเมื่อปุ๋ยอินทรีย์มีสารเอ็นพีเคน้อยคุณจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มหาศาล ซึ่งจะได้ผลิตที่มาก ตรรกะนี้จึงล้มเหลวแต่ต้น
ส่วนตัวเห็นว่ารายละเอียดต่างๆ ในหนังสือมีความผิดเพี้ยนจึงไม่จะโต้ตอบ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ มีตัวธาตุอาหารเอ็นพีเคไม่เท่ากับปุ๋ยเคมีอยู่แล้ว เนื่องจากมันเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา แต่การทำเกษตรกรรมอินทรีย์ไม่ได้เพิ่มเน้นธาตุหลักเหล่านี้ เกษตรอินทรีย์เป็นวิธีการเกษตรที่มองถึงองค์รวม นอกจากนั้นปุ๋ยก็ไม่ได้มีเพียงตัวเดียว แต่ในหนังสือเลือกที่จะพูดถึงเอ็นพีเคเป็นหลัก เป็นการเลือกเอามาพูดเพียงเสี้ยวเดียว สารเสี้ยวเดียวก็ใช่ว่าจะใส่ไปเท่าใดก็ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นนะ เพราะว่าในระบบนิเวศการที่พืชจะใช้ประโยชน์จากสารอาหารมันไม่ได้ใช้โดยตรง ไม่ได้ช่วยในเรื่องของดินและไม่ได้รับประกันว่าผลผลิตจะมากขึ้นด้วย
ถาม : ในทางปฏิบัติมีข้อพิสูจน์ออกมาแล้วว่าการใช้ปุ๋ยเคมีมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น?
ตอบ : ที่หนังสือกล่าวอ้างมาในทางปฏิบัติ คุณต้องทำให้เห็น ยิ่งในทางปฏิบัติมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ยิ่งทำให้ผลิตจะลดลงด้วยซ้ำ ในระบบนิเวศตามธรรมชาติ ตามหลักการเกษตรอินทรีย์จะเน้นไปถึงการจัดการในระบบนิเวศทางเกษตรทั้งหมดเพื่อเกื้อกูลกันในทุกส่วน การให้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นกับดิน ไม่จำเป็นต้องมีธาตุเอ็นพีเคสูงก็ได้ แต่จะทำให้กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดินให้อยู่ในรูปที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้ รากของพืชสามารถดูดสารอาหารเหล่านี้มาได้ ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์จะเหมาะกับกระบวนการแบบนี้สูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี
ในทางปฏิบัติหากใช้ปุ๋ยเคมีในครั้งแรกกับพืชจะเห็นว่าเราจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจริง เป็นเพราะว่าโครงสร้างของดินและสิ่งมีชีวิตในดินนั้นสมบูรณ์อยู่แล้วปุ๋ยเคมีจึงมีส่วนในการช่วยกระตุ้น แต่เมื่อเราใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปเรื่อยๆ กลับพบว่าผลผลิตพืชจะน้อยลงไป ผมได้ดูงานวิจัยนาข้าวที่ศึกษามาเป็นร้อยปีก็ได้ข้อมูลตามที่ว่ามา
ผลวิจัยระบุว่าในปี 2491 - 2495 หากใช้ปุ๋ยเคมีจำนวน 1 ตัน สามารถให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 15 ตัน ขณะเดียวกัน ผลเมื่อปี 2502 - 2504 ตัวเลขลดลงมาเหลือ 10 ตัน แล้วจากนั้นผลผลิตในปีต่อไปจะลดลงเรื่อยๆ การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ให้ผลผลิตตามที่เราใช้หรือต้องการให้เป็นเสมอ เป็นเพราะว่าความอุดมสมบูรณ์ของดินยังดีอยู่
ผลเสียของปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่คือ
อย่างแรก - มันเข้าไปทำลายวงจรธรรมชาติระบบนิเวศของดินซึ่งมีสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อพืชอยู่ ในทางเกษตรอินทรีย์ถ้าพูดถึงดิน ก็คือดินที่มีชีวิต คนละด้านกับปุ๋ยเคมีที่เป็นเชิงจักรกลคือเน้นการใส่ธาตุอาหารลงไปเอง
เรื่องที่สอง - คือเรื่องโครงสร้างของดิน ดินที่เราเห็นเกิดขึ้นมาของการผุพังหินอายุเป็นล้านปีกว่าจะมาเป็นโครงสร้างของดินเหล่านี้ที่เป็นอยู่ รวมไปถึงซากพืชซากสัตว์ก็รวมมาเป็นดินเหล่านี้ เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมันมีส่วนไปกระทบโครงสร้างของดินจากการศึกษาและลงไปในพื้นที่พบว่าสภาพดินที่ถูกใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานานจะพบดินที่แน่นขึ้น ไม่ร่วนซุย ระบายน้ำไม่ดี เกิดปัญหาทางชีวภาพและกายภาพ การรักษาความชื้นในดินจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ถาม : แสดงว่ามีความบกพร่องในหนังสืออยู่หลายจุดมาก หากลงลึกไปในรายละเอียดใช่ไหม?
ตอบ : เราพบว่าหนังสือเล่มนี้มีความบกพร่องทางเนื้อหาจำนวนมาก เป็นการไปยกเอางานทดลองเพียงแค่ชิ้นสองชิ้นมากล่าวอ้าง แล้วมาสรุปว่าเป็นข้อมูลทั่วไป ซึ่งในทางปฏิบัติการใช้วิธีลักษณะนี้มันเชื่อถือไม่ได้
สิ่งสำคัญที่อยากจะพูดถึงที่สุดคือเบื้องหลังของเรื่องผลประโยน์ที่เกี่ยวข้องกับงานในแต่ละชิ้นของผู้เขียน ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งในเล่มที่ได้ไปอ้างอิงการวิจัยของสมาคมโปแตสฯ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ขายปุ๋ยโปแตส เพื่อมาสนับสนุนสมมติฐานของงานเขียนตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ประหนึ่งว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดพิมพ์ และมีการแจกจ่ายเป็นจำนวนมากแบบไม่จำกัดจำนวน มีคนตั้งคำถามเช่นกันว่ามันมาจากงบประมาณของทางมหาลัยวิทยาลัยเกษตรฯหรือเปล่า
ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเล่มนี้ก็เคยเขียนหนังสือในลักษณะนี้ออกมาคล้ายกัน เนื้อหาหลายส่วนในเล่มที่เราวิพากษ์ก็ถูกดึงข้อมูลมาจากหนังสือเล่มแรก ที่ถูกจัดพิมพ์โดยสมาคมพ่อค้าปุ๋ยแห่งประเทศไทย และที่สำคัญผู้เขียนยังมีชื่ออยู่ในกรรมการผู้ค้าปุ๋ยอีกด้วย ทำให้คนในแวดวงเกษตรกรรมต้องตั้งคำถาม
ถาม : คุณวิฑูรย์กำลังจะบอกว่ามีนักวิชาการด้านเกษตรเป็นตัวแทนเครือข่ายนายทุนปุ๋ยเคมีหรือเปล่า?
ตอบ : การพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมาก็ชัดเจนว่ามาจากการสนับสนุนเรื่องผลประโยชน์เรื่องปุ๋ยเคมี เนื่องจากผู้เขียนยังเคยเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการของสมาคม เล่มก่อนหน้านี้ผู้ที่เขียนคำนำก็ยังเป็นนายกสมาคมผู้ค้าปุ๋ยอีกต่างหาก เรียกว่ามีผลประโยชน์สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก นอกเหนือจากคนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ยังมีกลุ่มนักวิชาการเกษตรที่ว่าด้วยเรื่องปุ๋ย เรื่องปฐพีวิทยา อีกกล่มหนึ่งที่คอยสนับสนุนวิธีคิดคล้ายหนังสือเล่มนี้อยู่
ถาม : เครือข่ายของบริษัทปุ๋ยเคมีและกลุ่มนักวิชาการ เชื่อมโยงกันอย่างไร?
ตอบ : ประเทศไทยได้เข้าสู่เกษตรกรรมแบบปฏิวัติเขียว มีการใช่เทคโนโลยีในการผลิต เช่นการผสมพันธุ์พืชสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น โดยทิศทางเกษตรบ้านเราถูกครอบงำมาในทิศทางนี้มาโดยตลอดในช่วง 4-5 ทศวรรษ นักวิชาการจำนวนมากก็ตกอยู่ในวิธีคิดลักษณะนี้ ภาควิชาปฐพีมีจำนวนมากและที่ร่ำเรียนมาด้านปุ๋ยเคมี ในช่วงหลังมีการเรียนในเรื่องระบบนิเวศดินมากขึ้น
ถาม : เหตุผลที่ไม่อยากตอบโต้เนื้อหาในหนังสือเป็นรายข้อ
ตอบ : เขามองแค่เพียงว่าเกษตรอินทรีย์คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมันไม่ใช่แต่มันคือการจัดการเชิงระบบ ครั้นพอจะมานั่งเถียงเป็นข้อๆ ก็เหมือนเราเข้าไปสู่ในเกม วาทกรรมของเขา บางเรื่องที่มีปัญหาเรื่องตรรกะป่วยจริงๆ ก็ตอบโต้ไปบ้างเช่นกัน
ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้เกิดโลกร้อน เราก็ตอบกลับไปเหมือนกันว่าไม่จริง หรือเรื่องคุณค่าทางอาหารในหนังสือคุณก็ไปอ้างเอาแค่งานวิจัยบางชิ้นมาเท่านั้น ซึ่งการจะนำข้อมูลมาอ้างอิงแบบถูกต้องนั้นควรจะทำในแบบสำรวจเชิงวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก นำข้อมูลจำนวนมากมาสังเคราะห์ นำมาไล่เรียงคัดเลือกว่างานวิจัยชิ้นไหนน่าเชื่อถือที่สุด อย่างเรื่องต้นทุน เกษตรอินทรีย์มีต้นทุนต่ำกว่าจากข้อมูลของทีดีอาร์ไอ ที่ทำการสำรวจการปลูกข้าวอินทรีย์ทั่วประเทศเมื่อปี 2557 กล่าวได้ว่าหนังสือที่ออกมาไม่ได้มีความหนักแน่นทางวิชาการเลย นับเป็นความอับอายของมหาวิทยาลัยเกษตรฯ ที่ปล่อยสิ่งพิมพ์แบบนี้ออกมาได้โดยมีตราประทับรับรอง
ถาม : บริษัทยักษ์ใหญ่เกี่ยวกับวงการปุ๋ยเคมี พอจะมีใครเป็นผู้เล่นหลักๆ บ้าง?
ตอบ : บริษัทที่ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ....อันดับที่ 2 บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่มาแรงคือ บริษัทเทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ของเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี นอกจากนั้นยังมีบริษัทข้ามชาติก็มี ปุ๋ยตราเรือใบยาร่า จากประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกเรื่องปุ๋ยเคมี
วงการนี้ผู้เล่นเยอะและเงินที่หมุนเวียนก็เป็นจำนวนสูง มูลค่านำเข้าปุ๋ยแต่ละปีมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตลาดของปุ๋ยเคมีตกปีละ 150,000 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย จึงเห็นได้ว่ามีผลประโยชน์มหาศาลทับซ้อนอยู่ ในช่วงหลัง 4-5ปี มานี้จะเห็นได้ว่ามีทิศทางที่ผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมาก ทางฝ่ายการเมืองพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันมากขึ้น
ทัศนคติของประชาชนในการใช้ปุ๋ยเคมีจึงเป็นไปในทางลบมากขึ้น แม้แต่ละครหลังข่าวยังมีการสอดแทรก ยกตัวอย่างพวกปุ๋ยเคมีจะเป็นพวกผู้ร้ายในละคร เทียบกับยอดขายตอนนี้คงยังไม่กระทบมากนักแต่อาจจะส่งผลในระยะยาว การออกหนังสือดังกล่าวก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่กลุ่มผลประโยชน์ได้ออกมาโจมตีปุ๋ยอินทรีย์และปกป้องผลประโยชน์ของเขาแบบหนึ่ง
ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ที่เราเห็นการรวมตัวของกลุ่มทุนปุ๋ยเคมี สารเคมีและสิ่งกำจัดศัตรูพืช ก่อนหน้านี้เคยเกิดมาครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีนโยบายผลักดันในเรื่องเกษตรยั่งยืน จะมีการตั้งกองทุนสนับสนุนเรื่องเกษตรยั่งยืน โดยมาจากภาษีของสารเคมี เป็นแค่ความคิดที่เสนอขึ้นมายังไม่ได้ถูกผลักดันเป็นกฎหมาย เป็นจุดเริ่มต้นที่เห็นว่ากลุ่มผลประโยชน์เรื่องปุ๋ยเคมีลุกขึ้นมาคัดค้าน ซึ่งหลายคนในจำนวนนั้นก็ยังมาอยู่ในกลุ่มที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ผิดๆ ด้านการเกษตรออกไปสู่ประชาชน
ถาม : หนังสือเล่มนี้ส่งผลอะไรต่อความคิด ความเชื่อของเกษตรกรบ้าง?
ตอบ : ด้วยเหตุที่หนังสือนี้ถูกผลิตขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรฯ แต่คนในมหาวิทยาลัยที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้มีจำนวนมาก อาจจะถูกปิดปากไม่กล้าพูดถึงนัก หลายคนที่เป็นศิษย์เก่าหลายคนถึงกับรับไม่ได้กับหนังสือเล่มนี้ ผิดหวังกับมหาวิทยาลัยมาก ที่ปล่อยให้มีนักวิชาการบางกลุ่มเข้าไปใช้ชื่อมหาวิทยาลัยและออก ส่วนหนังสือก็ถูกนำไปแจกจ่ายในเวทีวิชาการ แจกจ่ายไปในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้น ยังมีหนังสือนำโดยหัวหน้าภาควิชาปฐพีวิทยาส่งไปเบื้องต้นด้วย แน่นอนว่าสร้างความลังเล สงสัย ความไม่แน่ใจ ให้กับประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตร เนื่องจากอาจไม่มีความเข้าใจด้านนี้ดีพอให้ไขว้เขวได้ ซึ่งคงจะมีผลอยู่พอสมควร ส่วนด้านผลกระทบต่อเกษตรกรมองว่าอาจส่งผลในระยะยาวมากกว่า
(4) ประวัติผู้เขียน ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด
(5) หนังสือความจริงเกี่ยวกับปุ๋ยในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ฉบับพิมพ์ปี 2550 จัดทำโดยสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย
อ่านเพิ่มเติม :
3 มุมมองคนเกษตรอินทรีย์ วิพากษ์หนังสือนักวิชาการมก.เขียนหนุน ปุ๋ยเคมี
ฟังอีกด้าน ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ หลังโดนวิพากษ์หนังสือปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิดฯ
(6) ฟังอีกด้าน ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ หลังโดนวิพากษ์หนังสือปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิดฯ
ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ โต้เอ็นจีโอวิพากษ์หนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิดฯ เขียนหนุนปุ๋ยเคมี เตือนระวังพูดไม่ดีเสี่ยงละเมิดสิทธิ ระบุทำตามหน้าที่นักวิชาการ รู้อะไรพูดไปอย่างนั้น เดินหน้าคัดค้านต่อ
เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งดีที่สุด สิ่งดีที่สุด คือ เกษตรปลอดสารพิษ
นี่คือคำยืนยันของ ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม ซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากเครือข่ายภาคประชาสังคมว่า มีวาระซ่อนเร้น ยัดเยียดข้อมูลผิด ๆ เพื่อหวังเปลี่ยนแนวคิดให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยเคมีแทนอินทรีย์มากขึ้น
โดยความตอนหนึ่งในคำนำของหนังสือ ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ เขียนไว้ว่า ปัจจุบันได้เกิดกระแสความคิดและหรือความเชื่ออย่างกว้างขวางในระดับโลก รวมถึงในประเทศไทยว่า การผลิตพืชอินทรีย์เป็นการผลิตที่ดีที่สุด ทั้งในแง่ต้นทุนการผลิตพืชต่ำ มีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดมลพิษ หรือมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง ไม่มีสารพิษในผลผลิต ทำให้โรคและแมลงทำลายพืชน้อย และคุณภาพด้านโภชนาการของผลผลิตสูง
การผลิตพืชอินทรีย์ในที่นี้ หมายถึง การผลิตพืชที่ไม่ใช่ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีเลย เช่น ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช รวมทั้งไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่ใช่สารพิษ แต่เป็นสารที่ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า ขัดกับหลักความจริงและหลักวิชาการ โดยความจริงปุ๋ยเคมีมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ทำได้ดีกว่าและมีความได้เปรียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ...
ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ เล่าว่า หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยต่าง ๆ ส่วนใหญ่หลังปี 2544 เพื่อนำมาสรุป ฉะนั้นรายละเอียดทั้งหมดจึงมีเอกสารอ้างอิง และตั้งใจแจกให้แก่ทุกคนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ความจริงเป็นอย่างไร
"แต่จะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ ซึ่งน่าเสียดายหากปล่อยให้เกษตรกรเดินผิดทาง โดยเลือกเชื่อหลักเกษตรไสยศาสตร์มากกว่าเชื่อหลักวิชาการ"
(ชอบใจกับคำว่า...เกษตรไสยศาสตร์....หมายความว่า เกษตรที่ ปู่ ย่า ตา ทวด ทำมาแต่ครั้งโบราณ โดยไม่มีปุ๋ยเคมี เป็นเกษตรไสยศาสตร์ ....)
ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม ทราบดีถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่รู้สึกน้อยใจ แต่ลึก ๆ แล้ว เขาบอกว่า ดีใจด้วยซ้ำ เพราะทำให้มีคนสนใจอ่านหนังสือเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อจะได้ทราบความจริงเป็นอย่างไร และได้แจ้งให้สังคมทราบแล้ว จะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็นอนตายตาหลับ แต่ขอเตือนคนพูดไม่สร้างสรรค์ต้องระมัดระวังอาจเข้าข่ายล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสถาบันการศึกษาได้
ผมทำหน้าที่นักวิชาการที่ดีแล้ว รู้อะไรก็พูดไปตามที่รู้ ท่านจะคิดอย่างไรคงไปจับมือทำไม่ได้ แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดจริง อยากให้สังคมรู้ว่า ผมได้ทักท้วงแล้ว
นักวิชาการ มก. ยืนยันว่า หากเขาไม่ทำหน้าที่ อนาคตอาจมีคนถามหาอาจารย์อำนาจอยู่ที่ไหน ทำไมไม่ศึกษาเรื่องนี้ให้สังคมได้รู้
ต่อให้อีก 50 ปี ก็พิสูจน์ไม่ได้ว่า อินทรีย์ 100%
อาจารย์อำนาจ ยอมรับ การปลูกพืชอินทรีย์นั้นมีข้อดี เพราะปลอดสารพิษ แต่ผลวิจัยที่ศึกษามา ต่างไม่ยืนยันว่า เกษตรอินทรีย์ดีต่อสิ่งแวดล้อม ตรงกันข้ามกลับก่อให้เกิดมลพิษ และมีโอกาสสะสมคราบโลหะหนักในดินและทำให้ดินแข็งได้
(เพิ่งจะรู้ว่า นักวิชาการระดับ Doctor บอกว่า เกษตรอินทรีย์ก่อให้เกิดมลพิษ และมีโอกาสสะสมคราบโลหะหนักในดินและทำให้ดินแข็งได้ ...งั้น ที่ปู่ย่าตาทวดทำเกษตรอินทรีย์มาแต่โบราณกาล ดินก็เป็นมลพิษ ดินแข็งไปหมดแล้ว จึงต้องใช้ปุ๋ยเคมี)
อีกอย่างหนึ่ง คือ เปิดช่องให้มีการหลอกลวงผู้บริโภค เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า พืชที่อ้างว่า อินทรีย์ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีตามกฎที่กำหนดหรือไม่ ต่อให้อีก 50 ปี ก็ไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่า เป็นพืชอินทรีย์ 100% นอกจากบังคับให้ใส่ปุ๋ยเคมีในรูปไอโซโทปเท่านั้น แต่หากบังคับไม่ได้ ก็พิสูจน์ไม่ได้เช่นกัน
ใครปลูกอะไรก็อ้างเป็นอินทรีย์ มะพร้าวอินทรีย์ ข้าวหอมอินทรีย์ แต่ไม่มีใครรู้ว่า แอบใส่ปุ๋ยเคมีหรือไม่ ดังนั้น จึงสนับสนุนให้ ปลูกพืชปลอดสารพิษ เเละ 'ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ' มากกว่า โดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ใช้ปุ๋ยเคมีได้ เพราะไม่นับเป็นสารพิษ และสามารถนำพืชตรวจหาสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน หากพบผู้กระทำผิดก็ลงโทษได้
ถ้าไม่เชื่อเขาท้าให้ลองไปสอบถามชาวไร่อ้อยที่ทำด้วยตัวเองและพูดความจริง จะทราบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว แม้จะช่วยให้ลำต้นใหญ่ แต่กลับไม่เกิดความหวาน เพราะอ้อยต้องการโพแทสเซียม ดังนั้นจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารดังกล่าวด้วย เช่นเดียวกับการปลูกผลไม้ชนิดต่าง ๆ
พร้อมตอกย้ำหนักแน่นว่า ข้อมูลทั้งหมดมีงานวิจัยรองรับ ทุกอย่างมีเหตุมีผล มิได้พูดขึ้นจากความคิดส่วนตัว
แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่า งานวิจัยที่อ้างอิงถูกต้องสมบูรณ์ นักวิชาการ มก.ตอบทันทีว่า ให้หานักวิชาการที่เป็นกลางมาอ่านงานวิจัยและประเมินว่า ผลสรุปถูกต้องหรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะให้ไปเชื่อใคร เราจะเลือกใช้ความเชื่อและปฏิบัติตามหลักเกษตรไสยศาสตร์เชียวหรือ ก่อนเปรียบการทำไปตามความเชื่อเหมือนถูต้นไม้ขอเลขแทงหวย แทงร้อยรายก็ถูกสักราย เพราะแต่ละคนเห็นตัวเลขแตกต่างกัน
หากยังไม่มีวิธีตรวจสอบพืชอินทรีย์ 100% จริงหรือไม่ ในอนาคตต้องทำอย่างไร ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ ไม่เห็นทางออกเช่นกัน นอกเสียจากควบคุมแปลงปลูกพืชอินทรีย์ตลอดเวลา ซึ่งกลางวันตรวจได้ แต่กลางคืนอาจตรวจไม่ได้ และจะกลายเป็นจังหวะให้แอบนำปุ๋ยเคมีมาใส่
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันจะมีองค์กรรับรองมาตรฐาน ถามว่า เมื่อคนรับรองกลับบ้านแล้ว เกษตรกรก็อาจแอบใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เป็นพืชอินทรีย์จริง นอกจากอาศัยความเชื่อใจเท่านั้น
ถ้าเห็นทางออกก็ช่วยบอกหน่อย ผมจะได้เปลี่ยนคำสรุปในหนังสือ ยินดีจะเปลี่ยนคำสรุปให้ หากเห็นทางว่ามีวิธีตรวจอย่างไร
ทั้งนี้ คำสรุปในหนังสือ ระบุว่า การปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยทั้งสามอย่าง ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ให้เหมาะสมกับดินและพืช ทำให้ต้นทุนผลผลิตต่ำกว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษน้อยกว่า หรือมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงกว่า ทำให้พืชและแมลงทำลายพืชน้อยกว่า และคุณภาพด้านโภชนาการของผลผลิตสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชอินทรีย์
การปลูกพืชอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งดีที่สุด แต่คงห้ามใครให้เลิกทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ เพียงแค่ต้องการให้ผู้บริหารประเทศทราบว่า ความจริงคืออะไร และควรเลือกดำเนินนโยบายรูปแบบใด"
ทั้งนี้ ยืนยันจะคัดค้านต่อไป เเต่คงไม่ถึงขั้นวางระเบิด .
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:3 มุมมองคนเกษตรอินทรีย์ วิพากษ์หนังสือนักวิชาการมก.เขียนหนุน ปุ๋ยเคมี
ข้อมูล.- Isranews Agency | สำนักข่าวอิศรา
(7) นี่แหละ เขาละ....
(8 )
(9)
(8 - 9) ม.เกษตรแม่โจ้ มีพื้นที่ทั้งหมด 10,682 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ 900 ไร่ ..
ดอกเตอร์ นักวิชาการบอกว่า....หากยังไม่มีวิธีตรวจสอบพืชอินทรีย์ 100% จริงหรือไม่ ในอนาคตต้องทำอย่างไร ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ ไม่เห็นทางออกเช่นกัน นอกเสียจากควบคุมแปลงปลูกพืชอินทรีย์ตลอดเวลา ซึ่งกลางวันตรวจได้ แต่กลางคืนอาจตรวจไม่ได้ และจะกลายเป็นจังหวะให้แอบนำปุ๋ยเคมีมาใส่
เอาปุ๋ยเคมีมาใส่ตอนกลางคืนเนี่ยนะ....งูกัดตายหอง
(10)
(11)
(10 - 11) ตีนดอย ทำเกษตรอินทรีย์.....บนดอย เกษตรอำเภอให้ปลูกเจ้าต้นไอ้นี่ บำรุงดิน....นักวิชาการดอกเตอร์ให้ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต....ชาวไร่ชาวนา ตาสี ยายสา อย่างพวกผม จะเดินไปทางไหน....
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 24/02/2016 8:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11664
|
ตอบ: 24/02/2016 12:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
แดง..... อันนี้ ใช่มั้ย ?
ชำแหละตรรกะนักวิชาการ ม.เกษตรฯ โจมตี เกษตรอินทรีย์ เชียร์ ปุ๋ยเคมี ออกนอกหน้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ซ้าย) และหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด (ขวา)
ASTVผู้จัดการ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ชี้หนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด ซึ่งสนับสนุนการใช้ปุ๋ยเคมี และโจมตีปุ๋ยอินทรีย์อย่างออกนอกหน้า มีปัญหาเรื่องตรรกะและบกพร่องในเนื้อหา ทั้งๆ ที่เขียนและประทับตราคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ กังขามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสมาคมผู้ค้าปุ๋ย หวั่นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในระยะยาว
นับว่าเป็นเรื่องสั่นคลอนวงการเกษตรกรรมไม่น้อย เมื่อมีนักวิชาการผู้หนึ่งได้ออกหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม ซึ่งได้ออกภายใต้ตราประทับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีในวงการว่าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นแหล่งรวมงานวิจัยและนักวิชาการชั้นนำทางด้านเกษตรอันดับหนึ่งของประเทศ
ชื่อหนังสือดังกล่าวทำให้คนในแวดวงเกษตรกรรม ตื่นตัวและลุกขึ้นมาตั้งคำถามไม่น้อยถึงอุดมการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว คนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็มิใช่ใครอื่น ซ้ำยังเป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แน่นอนว่าเมื่อมีตราของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือไม่น้อย
ผมทำหน้าที่นักวิชาการที่ดีแล้ว รู้อะไรก็พูดไปตามที่รู้ ท่านจะคิดอย่างไรคงไปจับมือทำไม่ได้ แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดจริง อยากให้สังคมรู้ว่า ผมได้ทักท้วงแล้ว ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา
เมื่อไม่นานมานี้ สภาเกษตรแห่งชาติและภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน จัดเวทีสัมมนาวิชาการ ความจริง...เรื่องเกษตรอินทรีย์ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือดังกล่าวว่าเป็น ตรรกะที่ป่วยที่สุดของวงการเกษตรกรรม
หนึ่งในผู้ที่ออกมาวิพากษณ์ก็คือ นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี นักพัฒนาผู้คร่ำหวอดในวงการ NGOs มายาวนานกว่า 30 ปี ได้ให้สัมภาษณ์ ASTV ผู้จัดการ วิพากษ์ถึงเบื้องหน้า-เบื้องหลังของหนังสือเล่มดังกล่าว
ถาม : คิดว่าจุดประสงค์หลักของการออกหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ?
ตอบ : เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีมันเป็นความเชื่อของกลุ่มนักการเกษตรกลุ่มหนึ่งและกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีและเป็นหลักของหนังสือเล่มนี้ เราอาจจะต้องตั้งคำถามกลับกันว่าแท้จริงแล้ว ระบบเกษตรกรรมเท่าที่ผ่านมาและในอนาคตจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้สารเคมี ขอย้อนหลังเสียหน่อยว่าปุ๋ยเคมีในอดีตเพิ่งจะถูกนำมาใช้ในการเกษตรได้ไม่นานมานี้ หลังจากมีการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ จัสตัส วอน ลีบิก (Justus von Liebig) ประกาศทฤษฎีว่า ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไนโตรเจนช่วยให้ใบเจริญเติบโต ฟอสฟอรัสช่วยให้รากและดอกเติบโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการนำเอาปุ๋ยเคมีนำมาใช้ในการเกษตรและปุ๋ยเคมีที่ถูกนำมาใช้จำนวนมากเป็นผลสืบเนื่องมาจากระเบิดซึ่งต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย เช่นเดียวกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงต่างๆ แรงจูงใจในการผลิตก็มาจากเรื่องสงคราม
ประเด็นก็คือว่าการตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ปุ๋ยเคมี มันมีเหตุผลเบื้องหลังที่แตกต่างกัน ทางเราไม่เคยพูดว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการผิดหลักเกษตรกรรม ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้บอกว่าการเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นทางเลือกเดียว ซึ่งการเลือกใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดมันมีบริบทการใช้ของมันอยู่ สิ่งสำคัญที่หนังสือเล่มนี้คือทำขึ้นมาเพื่อโจมตีปุ๋ยอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด แล้วยังลามไปถึงการโจมตีเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยเข้าไปสู่วงจรการผลิตและเพื่อส่งออกซึ่งจะเน้นหนักไปทางการเร่งผลผลิตและปริมาณเป็นหลัก นอกจากนั้น มีการพัฒนาเรื่องพันธุ์พืชรวมไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นภายในทศวรรษที่ผ่านมาปุ๋ยเคมีจึงมีบทบาทสำคัญภายใต้บริบทที่ว่ามา เวลาผ่านไปเราก็พบว่าหากยิ่งใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากในพืชเชิงเดี่ยว ผลผลิตของมันไม่ได้มากดังที่เราต้องการแต่กลับมีต้นทุนที่สูงขึ้น ซ้ำจะเกิดปัญหาแมลงและโรคระบาดตามมา เกิดปัญหาในเรื่องคุณภาพของดินถึงขนาดที่ว่าการผลิตแบบนี้ของประเทศไทยมีผลต่อการแข่งขันระดับประเทศและระดับภูมิภาค
ทิศทางในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผ่านมาในเชิงเดี่ยวจึงไม่ควรจะเป็นทิศทางหลักของวงการเกษตรบ้านเรา มันต้องกลับไปสู่เรื่องเกษตรอินทรีย์ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินในวิธีชีวภาพมากขึ้น อยู่มาวันหนึ่งก็มีนักวิชาการบางคน เอาชื่อของมหาวิทยาลัยพิมพ์หนังสือขึ้นมา เพื่อโจมตีเรื่องเกษตรอินทรีย์โดยปราศจากความเข้าใจ เนื้อหาและข้อมูลไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการทางวิชาการ ตรรกะที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ผมถือว่าเป็นตรรกะป่วย ไม่มีความสมเหตุสมผล นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราต้องออกมาตอบโต้
ถาม : ในหนังสือมีการระบุเป็นข้อๆ เช่นว่า คุณสมบัติของปุ๋ยเคมีดีกว่า อาทิปลูกได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่สร้างมลพิษ ความโปร่งแข็งของหน้าดิน
ตอบ : หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาโดยใช้ตรรกะที่ว่าเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อยู่ดีๆ ก็มีตรรกะนี้ขึ้นมาลอยๆ โดยที่ไม่ได้มีผลการทดลองหรือทฤษฎีมารองรับเลย จากนั้นก็ใช้วิธีเปรียบเทียบเช่นถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ผลผลิตพืชเท่ากับปุ๋ยเคมีจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ขนาดเท่าไหร่ ในเมื่อปุ๋ยอินทรีย์มีสาร เอ็นพีเค น้อยคุณจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มหาศาล ซึ่งจะได้ผลิตที่มาก ตรรกะนี้จึงล้มเหลวแต่ต้น
ส่วนตัวเห็นว่ารายละเอียดต่างๆ ในหนังสือมีความผิดเพี้ยนจึงไม่จะโต้ตอบ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ มีตัวธาตุอาหารเอ็นพีเคไม่เท่ากับปุ๋ยเคมีอยู่แล้ว เนื่องจากมันเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา แต่การทำเกษตรกรรมอินทรีย์ไม่ได้เพิ่มเน้นธาตุหลักเหล่านี้ เกษตรอินทรีย์เป็นวิธีการเกษตรที่มองถึงองค์รวม
นอกจากนั้นปุ๋ยก็ไม่ได้มีเพียงตัวเดียว แต่ในหนังสือเลือกที่จะพูดถึงเอ็นพีเคเป็นหลัก เป็นการเลือกเอามาพูดเพียงเสี้ยวเดียว สารเสี้ยวเดียวก็ใช่ว่าจะใส่ไปเท่าใดก็ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นนะ เพราะว่าในระบบนิเวศการที่พืชจะใช้ประโยชน์จากสารอาหารมันไม่ได้ใช้โดยตรง ไม่ได้ช่วยในเรื่องของดินและไม่ได้รับประกันว่าผลผลิตจะมากขึ้นด้วย
ถาม : ในทางปฏิบัติมีข้อพิสูจน์ออกมาแล้วว่าการใช้ปุ๋ยเคมีมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น ?
ตอบ : ที่หนังสือกล่าวอ้างมาในทางปฏิบัติ คุณต้องทำให้เห็น ยิ่งในทางปฏิบัติมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ยิ่งทำให้ผลิตจะลดลงด้วยซ้ำ ในระบบนิเวศตามธรรมชาติ ตามหลักการเกษตรอินทรีย์จะเน้นไปถึงการจัดการในระบบนิเวศทางเกษตรทั้งหมดเพื่อเกื้อกูลกันในทุกส่วน การให้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นกับดิน ไม่จำเป็นต้องมีธาตุเอ็นพีเคสูงก็ได้ แต่จะทำให้กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดินให้อยู่ในรูปที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้ รากของพืชสามารถดูดสารอาหารเหล่านี้มาได้ ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์จะเหมาะกับกระบวนการแบบนี้สูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี
ในทางปฏิบัติหากใช้ปุ๋ยเคมีในครั้งแรกกับพืชจะเห็นว่าเราจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจริง เป็นเพราะว่าโครงสร้างของดินและสิ่งมีชีวิตในดินนั้นสมบูรณ์อยู่แล้วปุ๋ยเคมีจึงมีส่วนในการช่วยกระตุ้น แต่เมื่อเราใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปเรื่อยๆ กลับพบว่าผลผลิตพืชจะน้อยลงไป ผมได้ดูงานวิจัยนาข้าวที่ศึกษามาเป็นร้อยปีก็ได้ข้อมูลตามที่ว่ามา ผลวิจัยระบุว่า
ในปี 2491-2495 หากใช้ปุ๋ยเคมีจำนวน 1 ตัน สามารถให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 15 ตัน
ขณะเดียวกัน ผลเมื่อปี 2502-2504 ตัวเลขลดลงมาเหลือ 10 ตัน
แล้วจากนั้นผลผลิตในปีต่อไปจะลดลงเรื่อยๆ การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ให้ผลผลิตตามที่เราใช้หรือต้องการให้เป็นเสมอ เป็นเพราะว่าความอุดมสมบูรณ์ของดินยังดีอยู่
ผลเสียของปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ คือ มันเข้าไปทำลายวงจรธรรมชาติระบบนิเวศของดินซึ่งมีสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อพืชอยู่ ในทางเกษตรอินทรีย์ถ้าพูดถึงดิน ก็คือ ดินที่มีชีวิต คนละด้านกับปุ๋ยเคมีที่เป็นเชิงจักรกลคือ เน้นการใส่ธาตุอาหารลงไปเอง เรื่องที่สองคือ เรื่องโครงสร้างของดิน ดินที่เราเห็นเกิดขึ้นมาของการผุพังหินอายุเป็นล้านปีกว่าจะมาเป็นโครงสร้างของดินเหล่านี้ที่เป็นอยู่ รวมไปถึงซากพืชซากสัตว์ก็รวมมาเป็นดินเหล่านี้ เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมันมีส่วนไปกระทบโครงสร้างของดินจากการศึกษาและลงไปในพื้นที่พบว่าสภาพดินที่ถูกใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานานจะพบดินที่แน่นขึ้น ไม่ร่วยสุย ระบายน้ำไม่ดี เกิดปัญหาทางชีวภาพและกายภาพ การรักษาความชื้นในดินจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ถาม : แสดงว่ามีความบกพร่องในหนังสืออยู่หลายจุดมาก หากลงลึกไปในรายละเอียดใช่ไหม ?
ตอบ : เราพบว่าหนังสือเล่มนี้มีความบกพร่องทางเนื้อหาจำนวนมาก เป็นการไปยกเอางานทดลองเพียงแค่ชิ้นสองชิ้นมากล่าวอ้าง แล้วมาสรุปว่าเป็นข้อมูลทั่วไป ซึ่งในทางปฏิบัติการใช้วิธีลักษณะนี้มันเชื่อถือไม่ได้
สิ่งสำคัญที่อยากจะพูดถึงที่สุดคือเบื้องหลังของเรื่องผลประโยน์ที่เกี่ยวข้องกับงานในแต่ละชิ้นของผู้เขียน ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งในเล่มที่ได้ไปอ้างอิงการวิจัยของสมาคมโปแตสฯ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ขายปุ๋ยโปแตส เพื่อมาสนับสนุนสมมติฐานของงานเขียนตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ประหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดพิมพ์ และมีการแจกจ่ายเป็นจำนวนมากแบบไม่จำกัดจำนวน มีคนตั้งคำถามเช่นกันว่า มันมาจากงบประมาณของทางมหาลัยวิทยาลัยเกษตรฯ หรือเปล่า
ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเล่มนี้ก็เคยเขียนหนังสือในลักษณะนี้ออกมาคล้ายกัน เนื้อหาหลายส่วนในเล่มที่เราวิพากษ์ก็ถูกดึงข้อมูลมาจากหนังสือเล่มแรก ที่ถูกจัดพิมพ์โดยสมาคมพ่อค้าปุ๋ยแห่งประเทศไทย และที่สำคัญผู้เขียนยังมีชื่ออยู่ในกรรมการผู้ค้าปุ๋ยอีกด้วย ทำให้คนในแวดวงเกษตรกรรมต้องตั้งคำถาม
ถาม : คุณวิฑูรย์กำลังจะบอกว่ามีนักวิชาการด้านเกษตรเป็นตัวแทนเครือข่ายนายทุนปุ๋ยเคมีหรือเปล่า ?
ตอบ : การพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมาก็ชัดเจนว่ามาจากการสนับสนุนเรื่องผลประโยชน์เรื่องปุ๋ยเคมี เนื่องจากผู้เขียนยังเคยเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการของสมาคม เล่มก่อนหน้านี้ ผู้ที่เขียนคำนำก็ยังเป็นนายกสมาคมผู้ค้าปุ๋ยอีกต่างหาก เรียกว่ามีผลประโยชน์สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
นอกเหนือจากคนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ยังมีกลุ่มนักวิชาการเกษตรที่ว่าด้วยเรื่องปุ๋ย เรื่องปฐพีวิทยา อีกกล่มหนึ่งที่คอยสนับสนุนวิธีคิดคล้ายหนังสือเล่มนี้อยู่
ถาม : เครือข่ายของบริษัทปุ๋ยเคมีและกลุ่มนักวิชาการ เชื่อมโยงกันอย่างไร ?
ตอบ : ประเทศไทยได้เข้าสู่เกษตรกรรมแบบปฏิวัติเขียว มีการใช่เทคโนโลยีในการผลิต เช่นการผสมพันธุ์พืชสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น
โดยทิศทางเกษตรบ้านเราถูกครอบงำมาในทิศทางนี้มาโดยตลอดในช่วง 4-5 ทศวรรษ นักวิชาการจำนวนมากก็ตกอยู่ในวิธีคิดลักษณะนี้ ภาควิชาปฐพีมีจำนวนมากและที่ร่ำเรียนมาด้านปุ๋ยเคมี ในช่วงหลังมีการเรียนในเรื่องระบบนิเวศดินมากขึ้น
ถาม : เหตุผลที่ไม่อยากตอบโต้เนื้อหาในหนังสือเป็นรายข้อ
ตอบ : เขามองแค่เพียงว่าเกษตรอินทรีย์คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมันไม่ใช่แต่มันคือการจัดการเชิงระบบ ครั้นพอจะมานั่งเถียงเป็นข้อๆ ก็เหมือนเราเข้าไปสู่ในเกม วาทกรรมของเขา บางเรื่องที่มีปัญหาเรื่องตรรกะป่วยจริงๆ ก็ตอบโต้ไปบ้างเช่นกัน ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้เกิดโลกร้อน เราก็ตอบกลับไปเหมือนกันว่าไม่จริง หรือเรื่องคุณค่าทางอาหารในหนังสือคุณก็ไปอ้างเอาแค่งานวิจัยบางชิ้นมาเท่านั้น ซึ่งการจะนำข้อมูลมาอ้างอิงแบบถูกต้องนั้น ควรจะทำในแบบสำรวจเชิงวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก นำข้อมูลจำนวนมากมาสังเคราะห์ นำมาไล่เรียงคัดเลือกว่างานวิจัยชิ้นไหนน่าเชื่อถือที่สุด อย่างเรื่องต้นทุน เกษตรอินทรีย์มีต้นทุนต่ำกว่าจากข้อมูลของ ทีดีอาร์ไอ ที่ทำการสำรวจการปลูกข้าวอินทรีย์ทั่วประเทศเมื่อปี 2557 กล่าวได้ว่าหนังสือที่ออกมาไม่ได้มีความหนักแน่นทางวิชาการเลย นับเป็นความอับอายของมหาวิทยาลัยเกษตรฯ ที่ปล่อยสิ่งพิมพ์แบบนี้ออกมาได้โดยมีตราประทับรับรอง
ถาม : บริษัทยักษ์ใหญ่เกี่ยวกับวงการปุ๋ยเคมี พอจะมีใครเป็นผู้เล่นหลักๆ บ้าง ?
ตอบ : บริษัทที่ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ อันดับที่ 2 บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่มาแรงคือ บริษัทเทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ของเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
นอกจากนั้นยังมีบริษัทข้ามชาติก็มี ปุ๋ยตราเรือใบยาร่า จากประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกเรื่องปุ๋ยเคมี วงการนี้ผู้เล่นเยอะและเงินที่หมุนเวียนก็เป็นจำนวนสูง มูลค่านำเข้าปุ๋ยแต่ละปีมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตลาดของปุ๋ยเคมีตกปีละ 150,000 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย จึงเห็นได้ว่ามีผลประโยชน์มหาศาลทับซ้อนอยู่ ในช่วงหลัง 4-5 ปีมานี้จะเห็นได้ว่ามีทิศทางที่ผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมาก ทางฝ่ายการเมืองพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันมากขึ้น
ทัศนคติของประชาชนในการใช้ปุ๋ยเคมีจึงเป็นไปในทางลบมากขึ้น แม้แต่ละครหลังข่าวยังมีการสอดแทรก ยกตัวอย่างพวกปุ๋ยเคมีจะเป็นพวกผู้ร้ายในละคร เทียบกับยอดขายตอนนี้คงยังไม่กระทบมากนักแต่อาจจะส่งผลในระยะยาว การออกหนังสือดังกล่าวก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่กลุ่มผลประโยชน์ได้ออกมาโจมตีปุ๋ยอินทรีย์และปกป้องผลประโยชน์ของเขาแบบหนึ่ง
ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ที่เราเห็นการรวมตัวของกลุ่มทุนปุ๋ยเคมี สารเคมีและสิ่งกำจัดศัตรูพืช ก่อนหน้านี้เคยเกิดมาครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีนโยบายผลักดันในเรื่องเกษตรยั่งยืน จะมีการตั้งกองทุนสนับสนุนเรื่องเกษตรยั่งยืน โดยมาจากภาษีของสารเคมี เป็นแค่ความคิดที่เสนอขึ้นมา ยังไม่ได้ถูกผลักดันเป็นกฎหมาย เป็นจุดเริ่มต้นที่เห็นว่ากลุ่มผลประโยชน์เรื่องปุ๋ยเคมีลุกขึ้นมาคัดค้าน ซึ่งหลายคนในจำนวนนั้นก็ยังมาอยู่ในกลุ่มที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ผิดๆ ด้านการเกษตรออกไปสู่ประชาชน
ถาม : หนังสือเล่มนี้ส่งผลอะไรต่อความคิด ความเชื่อของเกษตรกรบ้าง ?
ตอบ : ด้วยเหตุที่หนังสือนี้ถูกผลิตขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรฯ แต่คนในมหาวิทยาลัยที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้มีจำนวนมาก อาจจะถูกปิดปากไม่กล้าพูดถึงนัก หลายคนที่เป็นศิษย์เก่าหลายคนถึงกับรับไม่ได้กับหนังสือเล่มนี้ ผิดหวังกับมหาวิทยาลัยมาก ที่ปล่อยให้มีนักวิชาการบางกลุ่มเข้าไปใช้ชื่อมหาวิทยาลัยและออก ส่วนหนังสือก็ถูกนำไปแจกจ่ายในเวทีวิชาการ แจกจ่ายไปในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
นอกจากนั้น ยังมีหนังสือนำโดยหัวหน้าภาควิชาปฐพีวิทยาส่งไปเบื้องต้นด้วย แน่นอนว่าสร้างความลังเล สงสัย ความไม่แน่ใจ ให้กับประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตร เนื่องจากอาจไม่มีความเข้าใจด้านนี้ดีพอให้ไขว้เขวได้ ซึ่งคงจะมีผลอยู่พอสมควร ส่วนด้านผลกระทบต่อเกษตรกรมองว่าอาจส่งผลในระยะยาวมากกว่า
ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ผู้เขียนหนังสือ ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด
หนังสือความจริงเกี่ยวกับปุ๋ยในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ฉบับพิมพ์ปี 2550 จัดทำโดยสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย
อ่านเพิ่มเติม :
3 มุมมองคนเกษตรอินทรีย์ วิพากษ์หนังสือนักวิชาการ มก. เขียนหนุน ปุ๋ยเคมี
ฟังอีกด้าน ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ หลังโดนวิพากษ์หนังสือปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิดฯ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000056429
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/02/2016 5:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 24/02/2016 9:58 pm ชื่อกระทู้: ไม่เป็นไร ไม่ต้องเกรงใจ กันซะบ้างเลย.... |
|
|
kimzagass บันทึก: | .
.
แดง....โพสใหม่
มือไว+มืออ่อน กดคีย์ผิด ลบหมดเลย กู้คืนไม่เป็นซะด้วย
. |
สวัสดีครับลุงคิม
Post ใหม่แล้วครับ ลิ้นห้อยเลยแหละ........ลุงยิงปืนกลซะเคย เลยรีบร้อน มือไว(ใจเร็ว)ไปหน่อย....ไม่เป็นไร ไม่ต้องเกรงใจ กันซะบ้างเลย....
(1)
(2)
(3)
(1 - 3) ลุงครับลุง....ฝากเด็กฝึกงานซักคนได้มั๊ยครับ....ขยัน..ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน แต่ ขี้บ่นสุดๆ
(4)
(5)
ทุกครั้งที่ผ่านมา เพาะเมล็ดขึ้นอย่างมากก็ ต้น สองต้น
(6) แต่คราวนี้ ขึ้นเป็นดง คุยไม่หยุดปาก.....
(7) แกใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตร Universal (ครอบจักรวาล)ครับ..30-10-10 + BIOI + TAIPE + UREGA ไม่แน่ใจว่าผสม Cal-Bo ลงไปด้วยหรือเปล่า...แกใส่ฝักบัวเดินรดลงไปเลย แกบอกว่า รำคาญ ใส่ทีละอย่างสองอย่าง สู้แบบนี้ไม่ได้ม้วนเดียวจบ...
(8 ) อันนี้ไม่เกี่ยวกับลุงคิมนะครับ.....ไปเจอที่ บิ๊กซีบางใหญ่...เก็บมาฝาก
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 28/02/2016 8:44 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน งานวันเกษตรแห่งชาติ มหาฯ ลั |
|
|
.
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน งานวันเกษตรแห่งชาติ มหาฯ ลัยแม่โจ้
(A10.7.1)-(1)-(1.2.2) 27 กุมภาพันธ์ 6 มีนาคม 2559
(1)ผมเป็นงงกับหนังสือเล่มนี้ครับ.....นักวิชาการ ระดับดอกเตอร์ มหาฯ ลัย เกษตรบางเขน เขียนตำราบอกว่า ปลูกพืชอินทรีย์ ไม่ดีอย่างที่คิด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นการปฏิบัติตามหลักเกษตรไสยศาสตร์ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต....
(2)
(3)
(2 3) แต่ มหาฯ ลัยเกษตรแม่โจ้ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ปี 2559 จัดพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ บนเนื้อที่ 900 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 10,682 ไร่
(4) ) หากย้อนไปเมื่อ 68 ปีก่อน งาน วันเกษตรแห่งชาติ เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2491 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ขณะนั้น) จัดขึ้นภายใต้ชื่องาน ตลาดนัดเกษตรกลางบางเขน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรไปสู่ประชาชน และเน้นให้บุคคลในอาชีพอื่นได้เห็นความสำคัญของอาชีพการเกษตรว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างชาติไทยให้อยู่รอด ต่อมาสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รื้อฟื้นและยกระดับเป็นงาน งานเกษตรแห่งชาติ ในปี 2505
หลังจากปี 2510 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดจัดงานวันเกษตรแห่งชาติเป็นประจำทุกปี จนถึงปี 2528 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ได้มีมติให้กระจายการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติไปยังมหาวิทยาลัยในภาคต่างๆ ที่มีคณะเกษตรตั้งอยู่ สลับกับส่วนกลางที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีเว้นปีโดยมีกระทรวงเกษตรฯ ยังเป็นแม่งานหลัก กระทั่งปี 2548 จึงให้มีการหมุนเวียนการจัดงานไปยังมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรทั้ง 4 ภาคเริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และปีนี้ (2559) มาครบบรรจบถึงคิวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด คนไทยใจเกษตร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์-วันที่ 6 มีนาคม
การจัดงานเกษตรแห่งชาติ 59 นายโอภาส กลั่นบุศย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับ ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่าย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก่อนหน้านี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2559 รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านการเกษตร การเผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยี โดยเน้นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ให้ปี 2559 ซึ่งเป็นปีแห่งการลดต้นทุน และเกษตรอินทรีย์ โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ 22 หน่วยงานร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเกษตร และให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิตอาหารและเป็นครัวของโลกในอนาคต
สอดคล้องแนวคิดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งผศ.พาวิน กล่าวระหว่างนำสื่อมวลชนไปดูความพร้อมในการเตรียมงานว่า งานวันเกษตรแห่งชาติ 59 เป็นงานยิ่งใหญ่ที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรในทุกรูปแบบและทุกมิติมาเผยแพร่ต่อเกษตรกรและประชาชน ซึ่งทางแม่โจ้ใช้พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ในบริเวณมหาวิทยาลัย เนรมิตให้เป็นศูนย์กลางการเกษตรทางเลือกที่ครบวงจร เน้นให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ กลไกการตลาด และกระแสความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีจุดแข็งที่ดำเนินการมานานแล้ว อาทิ พืชที่เหมาะกับความแห้งแล้ง และตลาดต้องการ เป็นต้น
แม่โจ้เราเป็นสถานการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรมายาวนานถึง 82 ปีแล้ว ทำให้เรามีจุดแข็งด้านการเกษตรระดับแนวหน้าของประเทศหรือระดับโลกก็ว่าได้ ฉะนั้นเมื่อเรามีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานวันเกษตรแห่งชาติร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เราถือโอกาสนี้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการการเกษตร การประมง ที่มีการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นการเลี้ยงปลาด้วยแสงอาทิตย์ มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการ อาทิ ปลาบึกสยามแม่โจ้ รวมถึงปศุสัตว์ สมัยใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน อย่างเกษตรอินทรีย์ การลดต้นทุนการผลิตเราทำมานานและสอนเด็กอยู่แล้ว ฉะนั้นมาชมงานนี้จะได้ความรู้นำไปใช้ในชีวิตจริง โดยเฉพาะในโซนของมหัศจรรย์พืชมีกิจกรรมหลากหลายมาก ผศ.พาวิน กล่าว
ด้าน อ.ปรีชา รัตนัง นักวิชาการชำนาญการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ดูแลในส่วนของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นส่วนของมหัศจรรย์พืช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทำเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว ที่ผ่านมามีการผลิตเมล็ดพืชผักอินทรีย์สู่ท้องตลาด แต่เกษตรกรบางรายอาจข้องใจว่าเมล็ดพันธุ์ผลิตมาจากไหน จึงเปิดโอกาสให้ผู้สนใจแปลงเกษตรอินทรีย์ให้มาชมกัน และเมื่อเข้ามาแล้ว จะได้เรียนรู้ถึงการทำเกษตรอินทรีย์ด้วย และจะได้สัมผัสและเห็นกับตาถึงพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่าง ถั่วแขกสีม่วง สิรินธร 1 ถัวฟักยาวลายเสือจักรพันธ์ เป็นต้น
ในช่วงที่จัดงานวันเกษตรแห่งชาติปี 59 เรามีพืชผักหลากหลาย มีบริษัทเมล็ดพันธุ์ชื่อดังหลายค่าย มาร่วมจัดแสดงพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการดูแลรักษา จะมีแปลงสาธิตด้านการผลิตผัก การฝึกอบรมระยะสั้นหลายหลักสูตร และไฮไลท์สำคัญที่เราจัดเตรียมไว้เพื่อทุกท่าน คือชมตัวอย่างการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกขั้นตอนกระบวนการด้วย อ.ปรีชา กล่าว
นับเป็นมิติใหม่ของงาน วันเกษตรแห่งชาติ ที่ได้เน้นกิจกรรมที่เป็นการเกษตรยุคใหม่ หรือเกษตรทางเลือกที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันในแทบทุกมิติ หากสนใจสามารถไปชมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
สวิตเซอร์แลนด์แห่งแม่โจ้สำนักฟาร์มฯ
สำหรับงานวันเกษตรแห่งชาติ 59 ซึ่งจัดที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ นอกจากจะมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการแปลงสาธิตด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร การประกวดไม้ดอก ไม้ประดับ การจัดประชุมเสวนาวิชาการ การแสดงผลงานงานวิจัย นวัตกรรมด้านการเกษตร กิจกรรมแปลงสาธิตด้านพืช ปศุสัตว์แล้ว ผู้ที่เข้าไปชมงานตื่นตาตื่นใจลานไม้ดอกหลากหลายชนิดบานสะพรั่งตระการตารอรับผู้มาเยือนราวกับดินแดนแห่งสวิตเซอร์แลนด์ ในพื้นที่ 907 ไร่ ของสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินสูง ห่างจากตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทางทิศตะวันออกราว 6 กม.
อ.แสงเดือน อินชนบท นักวิชาการเกษตร สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บอกว่า พื้นที่ทั้ง 907 ไร่ ใช้จัดกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์ทั้งไม้ผล พืชผัก การเพาะเห็ด มีพืชผักหลายชนิด มีโรงเลี้ยงไส้เดือนกำจัดขยะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพตามโรงเรือนเปิดดอกเห็ดหลินจืออินทรีย์ แปลงสมุนไพรอินทรีย์ กาดหมั้วครัวฮอม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์อีกด้วย
"ผู้ที่จะมาชม เรามีการจัดสรรพื้นที่และกิจกรรมให้ท่านที่มาท่องเที่ยวได้ชม แชะ ชิม ช็อป กันอย่างครบครัน โดยจะมีจักรยานมาคอยบริการให้ท่านปั่นท่องเที่ยวในทุกส่วนของสำนักฟาร์ม ได้ตลอดระยะเวลา 9 วันของการจัดงาน อ.แสงเดือน กล่าว
ที่มา:คมชัดลึก
(5)
(6)
(7)
(8 )
(5 8 ) บริเวณที่จัดงานในมหาฯลัยแม่โจ้ ปี 2559
(9) การแต่งงานกลางแปลงเกษตรอินทรีย์ เป็นการแต่งงานแบบเกษตรไสยศาสตร์ด้วยหรือเปล่า...และถ้าเป็นแปลงผักที่ ฉีดสารเคมีและยาฆ่าแมลง จะมีใครหน้าไหนกล้าจะลงมาถ่ายรูปแบบนี้บ้างไหม...
(10)
(11)
[color=blue(10 - 11) ตีนดอย บนดอย ทำเกษตรอินทรีย์.....เกษตรอำเภอให้ปลูก ปอเทือง บำรุงดินแทนการใช้ปุ๋ยเคมี[/color]
(12)
(13)
(14)
(12 - 14) ชาวไร่ชาวนา ตาสี ยายสา ตามา ยายมี อย่างพวกผม ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหน....ได้แต่ก้มหน้า...หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน....กันต่อไป แบบ เนี๊ยะ.... (เครดิท เจ้าของภาพครับ)
ที่นี่ประเทศไทยครับ
[size=24]อำนาจเงินมันยิ่งใหญ่เสียนี่กระไร.....แต่ไม่มีใคร และไม่มีอะไรอยู่ค้ำฟ้า....ไม่ว่าจะเป็น อิยิปต์....อาณาจักรโรมัน....อาณาจักไรซ์-ไฮ ฮิตเล่อร์ ทุกวันนี้ก็เหลือแต่เพียงตำนาน.....และอีกไม่เกิน 100 ปี ผู้ที่บอกว่า ข้านี่ยิ่งใหญ่ซะเหลือหลาย ก็จะเหลือเพียงตำนานเช่นกัน............
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/02/2017 12:14 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 22/09/2016 5:43 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม
A10.7.1-(1)- (1.2.3)
กระท่อมน้อย ในแปลงผัก
(ทดสอบการฝากรูปลงเว็ปครับ ลองดูว่ารูปจะหายอีกหรือไม่
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/02/2017 12:22 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 26/11/2016 11:30 pm ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เด็ก นศ.แม่โจ้ฝากกราบขอบคุณลุ |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เด็ก นศ.แม่โจ้ฝากกราบขอบคุณลุงคิม
(A10.7.1)-(1)-(1.2.4)
(1) เด็ก นศ.แม่โจ้ ฝากกราบขอบคุณลุงคิม โดยนำคำพูดที่เคยฟังจากลุงคิมไปตอบคำถาม ในหัวข้อ (ข้อนี้เป็นข้อ 1 ในหลายข้อ)
(คำถาม) จงให้คำนิยามว่าด้วยการให้ปุ๋ยกับพืช
(คำตอบ)(จำจากลุงคิมไปตอบ)
1) ปุ๋ยถูก ใช้ผิด ไม่ได้ผล
2) ปุ๋ยผิด ใช้ถูก ไม่ได้ผล
3) ปุ๋ยผิด ใช้ผิด ตายหมดทั้งแปลง
4) ปุ๋ยถูก ใช้ถูก ได้ผลสองเท่า
5) ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน
6) อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม และ/หรือ
7) เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสม
8 ) นอกจากดิน มี น้ำ อุณหภูมิ สายลม แสงแดด และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ
เพื่อน ๆ ตอบคนละ 3 4 หน้ากระดาษคำตอบ....แต่หนูตอบไปแค่นี้...ได้คะแนน A+ ดีใจแทบตาย
อจ. บอกว่า เป็นคำนิยามที่ครอบคลุม และมองเห็นภาพ ว่าด้วยการให้ปุ๋ยกับพืช โดยไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายใด ๆ เพิ่มอีก.....
ฝากกราบขอบพระคุณลุงคิมด้วยนะพ่อ.....
(2)
(3)
(4)
(2 4) เมื่อ 31 ตค. 59 นศ. แม่โจ้ แปรอักษรถวายในหลวง
...พ่อเห็นหนูรึเปล่า หนูอยู่ตรงตัว ก.ไก่ ตัวแรก......
เห็นชัดเลยว่ะ....โห....
(5) กองทัพเดินได้ด้วยท้อง.....ชุดนี้แบบ เบา ๆ กับน้องน่ะ
ขอบคุณครับลุงคิม
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/02/2017 12:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Wildcat หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/09/2014 ตอบ: 19
|
ตอบ: 07/12/2016 3:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุง
น้าทิดแดง...
เขียนต่อด้วยครับ.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 10/12/2016 2:46 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน จาก ผักชีไทย ถึง หอมแบ่ง |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน จาก ผักชีไทย ถึง หอมแบ่ง
A10.7.1 (1)-1.2.5 มีคนอยากปลูก ต้นหอม ผักชี ขอคัดลอกจากตำรามาให้อ่านก็แล้วกัน
ท่านถาม....
1) ผักชีปลูกยังไง ปลูกหลายครั้งแล้วไม่ขึ้น
2) ดูแลแบบไหน
3) หอมแบ่งปลูกยังไง
เราตอบ
คัดลอกจากตำราในเว็ปมาตอบ
ก่อนอื่น ดูราคาผักแต่ละวัน ตลาด สี่มุมเมืองกันก่อน
http://www.taladsimummuang.com/dmma/Portals/PriceListItem.aspx?id=010212010
ท่านว่าจะปลูกผัก ต้องดูทิศทางลม โดยเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าเป็นสถิติว่า ในช่วงเดือนนั้น ๆ ผักแต่ละอย่างราคาเป็นอย่างไร
ถ้าเดือนใด เห็นผักอะไรราคาดี ปลูกตามก้นคนอื่น เจ๊งทุกราย ต้องดูสถิติ แล้วเก็งราคา หรือคาดคะเนราคา แล้วปลูกล่วงหน้าครับ
(1)
(2)
(1 2) ราคาเฉลี่ยผักชีไทย ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2559 อยู่ที่ กก.ละ 60.- บาท
(3)
(4)
(3 4) ราคาเฉลี่ยต้นหอม ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2559 อยู่ที่ กก.ละ 50.- บาท
(5) แปลงผักชีฝรั่ง....อุ๊บ ขออภัย ผิดคิว อันนี้เป็นแปลงผักชีฝรั่ง ส่วนจะเป็นของใคร อย่าไปรู้ของเค้าเลยนะครับ...เรื่องนี้เป็นเรื่องผักชีไทย
ผักชีไทย.....ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง
ผักชีเป็นผักที่ปลูกง่าย เพราะสามารถปลูกได้ทุกสภาพดินปลูกโดยไม่ใช้ดินเลยก็ยังได้
วิธีการปลูกผักชี
1) การเลือกเมล็ดพันธุ์ผักชี เมล็ดพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกกันเนื่องจากปลูกง่าย หาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและเจริญงอกงามดี ได้แก่พันธุ์ เมล็ดผักชีพันธุ์สิงคโปร์และเมล็ดผักชีไต้หวัน
(6)
(7)
(รูป 6 7)
2) การเตรียมดินเพื่อปลูกผักชี การปลูกผักชีสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกในแปลงดิน การปลูกในกระถางเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปลูกรับประกินเอง และการปลูกในแปลงดินเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย
สำหรับท่านที่ต้องการปลูกในแปลงดินควรขุดดินหรือพรวนดินขึ้นมาตากแดดไว้ก่อนสัก5 7 วัน แล้วทำการพรวนดินซ้ำอีกทีนึงเพื่อให้ดินมีความร่วนและทำการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดคลุกเคล้ากับแปลงดิน
3) เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักชีมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักชีให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1 3 วัน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักชีจะทำให้ผักชีเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักชีที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักชีเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น
4. เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ผักชีแล้ว นำไปผึ่งลม เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักชีเริ่มงอกก็นำไปหว่าน
5. ก่อนการนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่านควรรถน้ำแปลงดินให้ซุ่ม แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่าน และคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความชุ่มชื้นของแปลงดิน
6. การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2 ครั้ง แต่อย่ารถน้ำมากเกินไป เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต
7. การใส่ปุ๋ยให้ผักชีหลังจากแตกใบแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมัก
(8 )
(9)
(รูป 8 9) การเก็บเกี่ยวผักชี
ผักชีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40 45 วัน
ก่อนการเก็บเกี่ยวควนรดน้ำให้ซุ่มแปลงดินเพื่อการถอนผักชีที่ง่ายขึ้นทำให้รากต้นผักชีไม่ขาด การเก็บเกี่ยวผักชีทำได้โดยการใช้มือจับที่โคนรากแล้วถอนดึงขึ้นมา แล้วสะบัดดินออก แล้วนำไปล้างน้ำ คัดใบสีเหลืองหรือใบที่เน่าออก มัดๆเป็นกำแล้วใส่ตะกร้าเพื่อทำการขนส่งต่อไป ต้นผักชีที่เป็นสีเขียวสม่ำเสมอจะขายได้ราคาดี
โรคและแมลงศัตรูของผักชี
โรคที่เป็นง่ายและพบเจอกันบ่อยๆก็คือ โรคใบเน่าใบเหลืองและแมลงศัตรูของผักชี คือ เพลี้ย ปัญหาทั้ง 2 อย่าง แก้ไขโดยการฉีดพ่นยา
บทสรุป
ผักชี เป็นผักที่เป็นที่ต้องการของตลาดและราคาสูง ผักชีเป็นผักที่มีประโยชน์มาก ใช้ได้ทั้งต้นและใบที่ใช้นำไปประกอบอาหาร ส่วนรากผักชีมีนำมาตำเพื่อเป็นเครื่องแกงเนื่องจากมีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยขึ้น
ข้อเสนอแนในการการปลูกผักชี
1. หมั่นรดน้ำ
2. ให้ผักชีโดนแดดตลอดวันหรือเกือบทั้งวัน
3. ดินต้องร่วนซุน ไม่ขังน้ำ
4. ถ้าผักชีงอกแล้วใบหงิก แสดงว่ามีเพลี้ยไฟ
5. ระวังมด
- ขอบคุณ รูป จาก เฟสบุค
ที่มา ปลูกผักชีไทย
http://www.vigotech.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539852556&Ntype=8
(10) ว่าด้วย หอม....
(11)
(12)
(11 - 12) ปลูกในกระถาง เอาไว้กิน
(ตอนที่ 1)การปลูกหอมแบ่ง
1.พันธุ์ ที่นิยมปลูก คือพันธุ์จากจังหวัดศีรสะเกษ อุตรดิตถ์ เชียงราย
(13)
(14)
(13 - 14)
2. การเตรียมดิน พืช ที่ปลูกด้วยหัวทุกชนิดควรตากดินหลายๆ แดดอย่างน้อย 10 วันขึ้นไป เพื่อฆ่าเชื้อรา เมื่อไถแตกแล้ว หากก้อนใหญ่หรือไม่ร่วนต้องไถครั้งที่สอง (ไถแปร) แล้วตีดินหรือพรวน ยกร่องด้วยแทรคเตอร์ จะใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ก็ได้ หรือปุ๋ยคอกด้วยยิ่งดี
(15)
3. การปลูก เมื่อ เตรียมดินยกร่องแล้วเกษตรกร จะทำการรดน้ำให้ชื้น และดินนิ่มพร้อมปลูก แล้วทำการกรีดร่องแนวขวาง ระระประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วทำการปลูก (ภาษาชาวบ้านทางจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า แต้ม ) แล้วแนวกรีดประมาณ 15 เซนติเมตร ระยะ 7 - 9 ต้น แนวร่องกรีด เมื่อเสร็จแล้วรดน้ำให้ดินชื้น พ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชด้วย Oxcediazon (สอนสตาร์) ทิ้งไว้ 1 คืน โรยฟางกลบ รดน้ำเช้า-เย็น 4 วัน ก็งอกพ้นฟาง
(16)
(17)
(18 )
(16 18 ) แปลงปลูกหอม
4. การให้น้ำ ควรรดน้ำเช้าเย็นระยะก่อนงอก และทุกวันเมื่องอกแล้ว
5. การใส่ปุ๋ย หอม แบ่งเป็นพืชอายุสั้น ต้องการน้ำและปุ๋ยมาก ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-7-7 หรือ
12-8-8 ระยะแรกๆ หรือ 20-20-0 และหยุดใส่ก่อนถอนประมาณ 7-10 วัน
6. การเก็บเกี่ยว หอม แบ่งเมื่อปลูกเป็นการค้า จะเข้าโควต้าของพ่อค้า เมื่ออายุประมาณ 50-55 วัน ก็จะถอนได้แล้ว โดยพ่อค้าจะนำคนงานมาถอน แล้วนำไปลอกมัดเป็นมัดๆ ละ 1 กก. การซื้อขายจะตกลงราคาเป็นกิโล หรือเหมาเป็นไร่
7. โรค โรคหอมที่สำคัญ คือ โรคเน่า โรคใบจุดสีม่วง โรคแอนเทรคโนส ควรพ่นด้วย โปรครอราช แมนโดเซป และไดฟีโนโคนาโซล โดยสลับกันพ่น
8. แมลงศัตรู หนอนกระทู้ผัก หนอนหอม หนอนชอนใบ พ่นด้วย อะมาเม็คติน สปิโนแสด โดยพ่นตามการระบาดของแมลงศัตรู
ที่มา
(1) สถาบัณวิจัยพืชสวน
http://www.doa.go.th/hort/index.php?
option=com_content&view=article&id=157%3Awelshplant&catid
=25%3Aplantmanagement&Itemid=6
(ตอนที่ 2) หอมแบ่ง หรือต้นหอม
หอมแบ่ง หรือ ต้นหอม เป็นผักที่เป็นส่วนผสมหรือเป็นเครื่องปรุงในอาหารเกือบแทบจะทุกอย่างที่เป็นอาหารคาวของคนไทยก็ว่าได้ จึงทำให้ความต้องการใช้ในแต่ละวันสูงมาก
สำหรับใครที่สนใจอยากจะเริ่มปลูกไว้บริโภคเองในครอบครัวปลูกหอมแบ่งสำหรับขาย จะมีวิธีการปลูกอย่างไรให้ได้ผล บางกอกทูเดย์เราได้เรียบเรียงข้อมูลการปลูกหอมแบ่งหรือต้นหอมมาให้ศึกษาและลองทำ ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นธุกิจที่สร้างรายได้ในอนาคตก็เป็นไปได้
หอมแบ่ง หรือ ต้นหอม - มาทำความรู้จักกันก่อน
หอมแบ่ง หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Allumcepa var. aggregatum ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า ต้นหอม เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน มีใบเป็นรูปทรงกลมกลวงด้านใน ปลายเรียวแหลม ตั้งอยู่บนฐานของหัว (Bulb) รอบๆลำต้น บริเวณโคนมีกาบใบสีขาวหุ้มลำต้น
สรรพคุณ
ส่วนของกาบห่อหุ้มต้นทำให้มีลักษณะพองโตเป็นหัวเมื่อแก่เปลือกจะมีสีแดง นิยมรับประทาน ทั้งแบบสดและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกส่วน ตลอดจนยังมีสรรพคุณทางยาช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ
หากกินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ หรือนำต้นหอมประมาณ 5-6 ก้านต้มกับของ 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ช่วยขับเหงื่อและลดไข้อีกทั้งเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกสภาพดิน
การปลูกหอมแบ่ง หรือ ต้นหอม
การปลูกต้นหอม ถ้าเอาไว้แค่บริโภคในครัวเรือนก็คงเป็นเรื่องง่าย แค่มีกระถางปลูกไว้สัก 1 อันหรือปลูกไว้พืนที่เล็กๆก็คงเพียงพอ ตามความต้องการของแต่ละบ้าน แต่ถ้าสนใจอยากจะเริ่มทดลองปลูก ศึกษา เพื่อที่จะปลูกหอมแบ่งไว้ขายในอนาคตแล้วก็ควรศึกษาวิธีปลูกเชิงการค้า ซึ่งบางกอกทูเดย์เราก็เรียบเรียงมาไว้แบบสรุปให้สั้นแต่คงเนื้อหาสำคัญให้ศึกษาทดลองปลูกดังนี้
การเตรียมดินสำหรับปลูกต้นหอม
เริ่มจาการไถดินลึกประมาณ 20 30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ ประมาณ 10 15 วัน เพื่อกำจัดโรคพืช และศัตรูพืช ภายในแปลง
จากนั้นปรับสภาพดินด้วยการ ใส่ปูนขาว เล็กน้อยโรยบางๆ ให้ทั่วแปลง
ก่อนเสริมธาตุอาหารในดินด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพใส่ประมาณ 1-2 ตัน และใส่เศษซากพืช เช่น เศษใบไม้แห้ง เศษหญ้าแห้ง ประมาณ 3-4 ตัน พร้อมใส่เมล็ดสะเดาบดประมาณ 200 300 กิโลกรัม ทั้ง 3 ชนิดนี้ใส่คลุกเคล้าในดินพร้อมกันในพื้นที่ 1 ไร่
หลังจากนั้นยกร่องแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม หมักทิ้งไว้ 5 7วัน ก่อนนำต้นพันธุ์ มาปลูก
จัดระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 10 15 เซนติเมตร หลังจากเตรียมแปลงแล้วให้รดน้ำแปลงให้ชุ่ม
วิธีปลูกหอมแบ่ง
นิยมปลูกขยายพันธุ์โดยนำหัวกาบใบที่สมบูรณ์ มาตัดรากออกบางส่วน ตัดบริเวณส่วนยอดของหัวกาบใบแบ่งออกเพื่อให้เกิดการแตกหน่อที่รวดเร็วมากขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วันเมื่อมีการแตกหน่อออกมาจึงนำไปปลูกลงแปลงต่อไป
วิธีดูแลรักษา
การให้น้ำ
ให้รดน้ำเช้าและย็นจนกระทั่งใบยื่นยาว แล้วจึงรดน้ำเหลือเพียงวันละ 1 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตัน / ไร่ ของพื้นที่ก่อนปลูก ส่วนปุ๋ยเคมีใช้สูตร 20-10-10 หรือ 46 0 0 อัตรา 20-25 กรัม / ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งก่อนปลูกและหลังปลูก 20 วันหรือเมื่อต้นหอมแบ่งมีอายุได้ 20 25 วัน ให้ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 1 กิโลกรัม / ตารางเมตร พร้อมใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพเล็กน้อย
โดยส่วนผสมในปุ๋ยน้ำชีวภาพ มีคือ ปุ๋ยชีวภาพ 10 กิโลกรัม ปุ๋ยคอกแห้ง 3 กิโลกรัมและใบของพืชตระกูลถั่ว 5 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าในภาชนะใส่น้ำเปล่า 100- 200 ลิตร หรือใส่น้ำเปล่าจนท่วมสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน (อัตราส่วนการนำไปใช้ คือ ปุ๋ย น้ำชีวภาพ 2 ลิตร ต่อ น้ำเปล่า 18 ลิตร )นำไปฉีดพ่นทุก 7 วันครั้ง
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
หากต้นหอมเกิดโรคให้ตัดทิ้งและนำไปทำลายทันทีหรือป้องกันและรักษา เช่น โรคใบไหม้ ให้นำน้ำปูนใสมาราดใส่ในช่วงระบาด
รวมทั้งปลูกต้นผักชีแซมก็จะสามารถป้องกันหนอนหลอดได้เช่นกัน หรือถ้าหากฉีดน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นหอมแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคได้อีกทางด้วย
(19)
(20)
(19 20)
วิธีการเก็บเกี่ยวต้นหอม จะเก็บเมื่ออายุได้ประมาณ 45-60 วัน
สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปรับประทานได้ซึ่งก่อนเก็บเกี่ยวให้รดน้ำให้ชุ่มก่อน จากนั้นใช้มือจับที่บริเวณโคนต้นดึงขึ้นมาเบาๆ ให้ติดรากมาด้วย นำไปล้างดินออกให้สะอาด แล้วนำมาผึ้งให้แห้ง
ที่มา
(2) http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/30335
(ตอนที่ 3) หอมแบ่ง ผักหอม หรือ ต้นหอม
เป็นผักสวนครัวที่ทุกครอบครัวควรมีไว้ แต่เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้ากลายเป็นสังคมเมืองทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดน้อยหรือไม่มีเลย ประกอบกับเวลาที่น้อยลงของคนยุคใหม่ที่ต้องเอาไวลาทั้งหมดไปทำงาน เดินทาง การที่จะปลูกพืชผักต่างๆ ก็ไม่มีแน่นอน
ซึ่งบางกอกทูเดย์ทีมงานแอดมินเรามองว่าหอมแบ่ง หรือต้นหอมเป็นผักที่มีความต้องการที่สูงมาก ปลูกง่าย น่าจะเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกผักขาย อายุในการเก็บเกี่ยวก็สั้นด้วย
ผักในปัจจุบันมีแต่สารพิษปนเปื้อน โอกาสของเกษตรปลอดสาร
ถ้าหากคุณสามารถปลูกผักหอมแบบปลอดสารพิษได้แล้วในปริมาณที่มากพอ พร้อมกับการนำเสนอ การหีบห่อที่ดี พร้อมจัดส่งแล้วละก็ เชื่อแน่ว่าตลาดจะเข้ามาหาเอง อีกทั้งยังได้เป็นการลดความความเสี่ยงจากการทำเกษตรพร้อมๆกับการขายอาหารที่ดีมีคุณภาพปลอดสารให้แก่เพื่อนมนุษย์ด้วย
(21)
(22)
(21 22) ดอกหอม
ถ้าของดีปลอดภัยแล้ว ราคาสูงกว่าท้องตลาด คนก็ยอมซื้อผักที่ปลอดภัยแน่นอน และถ้าสามารถหาวิธีปลูกให้ได้ปริมาณที่มากขึ้นพร้อมลดต้นทุนผักปลอดสารได้แล้ว
อาชีพเกษตร คงเป็นอีกอาชีพที่มีรายได้สูงติดอันดับต้นๆแน่ๆ
BangkokToday.net เราเชื่อว่าเกษตรกรไทยอยู่ดีกินดีและร่ำรวยได้
แต่ต้องรวยความรู้เรื่องการทำเกษตรก่อน
ขอบคุณที่อ้างอิง หนังสือ รวยด้วยผักสวนครัวเพื่อการค้า
ที่มา:
(3) http://www.bangkoktoday.net/hom-bang/#sthash.5qngzRf0.PjRmO3WQ.dpuf
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/02/2017 12:25 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
LopLS หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 02/01/2017 ตอบ: 5 ที่อยู่: พังงา
|
ตอบ: 06/01/2017 6:00 am ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เพาะเห็ดโคนในวงบ่อ |
|
|
DangSalaya บันทึก: | .
.
สวัสดีครับลุงคิม ป้าห่าน และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน.
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน ตอน เพาะเห็ดโคน 2 ได้กินทั้งปี
A10.5 (2) เชื่อผมเต๊อะ คนไม่บ้า ทำไม่ได้ร๊อก
.
วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปี
วิธีการปลูกเห็ดปลวกเเละการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์จากปลวก ตามคำเรียกร้องครับ
วัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "เห็ดโคน" ภายในรังปลวก จะมีสวนเห็ด (fungus garden) ซึ่งเป็นที่ๆปลวกขับถ่ายเนื้อไม้เศษซากเซลลูโลส ซึ่งผ่านกระบวนการเคี้ยวและการย่อยสลายไปเพียงบางส่วนในลำไส้ของปลวก สวนเห็ดจะชุ่มไปด้วยความเปียกชื้นที่สูงมาก มีเส้นใยสีขาวของเห็ดราเจริญเติบโตทั่วไปหมดตามภาพ ที่เห็นนั้นคือ เส้นใยของเชื้อเห็ดราหลายชนิด รวมถึงเชื้อเห็ดโคนด้วย ที่ปลวกนำมาเพาะเลี้ยง ปกติแล้วเชื้อเห็ดราที่เกิดอยู่ภายในสวนเห็ดของปลวกนั้น มีเชื้อเห็ดปะปนกันอยู่หลายชนิด
เช่น เห็ดโคน, เห็ดก้านธูป ฯลฯปลวกจะกินตุ่มเห็ด และเส้นใยเห็ดราบนสวนเห็ดนี้เป็นอาหาร ดังนั้นในสภาวะปกติปลวกจำนวนมหาศาลภายในรังจะกินเห็ดราบนสวนเห็ดจนไม่มีโอกาสที่ตุ่มเห็ดจะเจริญเติบโตกลายเป็นไปดอกเห็ดได้ทันเลย
เมื่ออากาศอบอ้าวและร้อนจัด ฝนตกหนักพื้นดินเปียกชุ่มและอ่อนตัว มันเป็นฤดูอพยพย้ายรังของปลวกวรรณะสืบพันธุ์จำนวนมากนับแสนนับล้านตัว กลายร่างเป็นแมลงเม่าโบยบินออกไปจากรังปลวก ประชากรปลวกภายในรังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ปลวกที่เหลือกินเชื้อเห็ดราไม่ทัน ตุ่มเห็ดภายในรังปลวกจึงมีโอกาสเจริญเติบโตงอกทะลุขึ้นมาเหนือพื้นดินที่อ่อนนุ่มนี้ได้ มันช่างเป็นช่วงจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่ธรรมชาติจัดให้เพราะพื้นดินอ่อนนุ่มและชื้นแฉะ ซึ่งถ้าดินแห้งแข็งก็ไม่มีทางเลยที่เห็ดโคนจะแทงทะลุขึ้นมาขยายพันธุ์ได้
เมื่อดอกเห็ดโคนบานเหนือพื้นดินมันจะปลดปล่อยสปอร์ขนาดเล็กๆฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ ไกลออกไป ปลิวตกลงบนซากใบไม้ เนื้อไม้ผุๆ แมลงเม่าเจ้าชาย และเจ้าหญิงที่เพิ่งสลัดปีกและจับคู่ผสมพันธุ์กันสร้างอาณาจักรใหม่ที่เกิดบนดินเปียกแฉะ อาณาจักรแรกเริ่มที่มีขนาดเพียงไม่กี่ตารางเซ็นติเมตร มันจะเริ่มออกหาอาหารไปคาบเศษซากใบไม้ ซากเนื้อไม้ซึ่งก็จะมีสปอร์ของเห็ดโคนปะปนติดอยู่ด้วย นำกลับมาสร้างเป็นสวนเห็ดขนาดเล็กๆ เพาะเลี้ยงเห็ด และแพร่พันธุ์เพิ่มประชากรปลวก ขยายอาณาจักรให้ใหญ่โตเป็นจอมปลวก วนเวียนเป็นวัฏจักรไปไม่มีจบสิ้น
จำนวนจอมปลวกจึงทวีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีศัตรูที่น่ากลัวอย่างมนุษย์ไปรุกรานมัน ในธรรมชาติมีปลวกอยู่หลายชนิด แต่ผมเคยเห็นปลวกชนิดนี้มีเห็ดโคนเกิดรอบๆ ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ จึงเลือกใช้จาวปลวกจากจอมปลวกชนิดนี้ "วิธีขุดใช้เสียบหรือจอบขุดเบาๆ ไม่ต้องลึกมากจะเจอจาวปลวกอยู่จำนวนมาก เราเก็บมาแค่เล็กน้อยไม่ถึงขั้นต้องทำลายจอมปลวกทั้งหมด"
วิธีทำ
(1)
(2)
(1 2) จาวปลวกเล็กน้อยประมาณหนึ่งกำมือ ต่อ ข้าวสวย 1 กิโลกรัม
เสร็จแล้วก็คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ก่อนจะเติมน้ำเปล่าลงไปอีก 20 ลิตร
ตามหลักวิทยาศาสตร์...ปลวกย่อยเซลลูโลสเองไม่ได้ ต้องอาศัยโปรโตซัวและเชื้อราช่วย เราก็ประยุกต์ขยายเชื้อเหล่านั้นมาช่วยย่อยเศษใบไม้ใบหญ้าให้มันสลายตัวเร็วขึ้นหมักไว้ ๗ วัน จุลินทรีย์โปรโตซัวจะขยายตัวเป็นฝ้าสีขาว
การนำไปใช้
ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกเอาใส่นา รดผัก ผลไม้ ให้ผสมน้ำให้ไก่กิน ก็ได้ผลดีครับ บางคนเอาไปรดบนโคนตันไม้ เค๊าบอกเกิดเห็ดโคนขึ้นมา
ใช้อัตราส่วนประมาณ 1 ลิตร /น้ำ 10 ลิตรใช้ฉีดพ่นเพื่อย่อยสลายเศษวัชพืช(หมักทำปุ๋ยหมัก) หรือย่อยสลายตอซังข้าวก่อนทำการไถประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นไถกลบ และหากจะนำไปรดโคนต้นเพื่อบำรุงพืชผลอื่นๆก็ได้เช่นกัน ในอัตราส่วนข้างต้น ไม่ตายตัวสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
การเพาะเห็ดโคนจากจุลินทรีย์ปลวก
นำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกนี้ ไปราดที่จอมปลวก คลุมด้วยฟางข้าวหรือใบไม้ รดน้ำพอชื้น ประมาณ ๑๐ วัน ก็จะมีเห็ดโคนขึ้น นำไปประกอบอาหารที่เป็นเห็ดโคนธรรมชาติไร้สารเคมี เป็นเมนูอาหารที่วิเศษมากครับ"
(3)
(4)
(3 4 ) เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก เป็นเห็ดใน genus (สกุล)Termitomyces ยกตัวอย่างเช่น Termitomyces fuliginosus ซึ่งชนิด ( species) นี้จะรสชาติดี และเป็นที่นิยมกินกันมากที่สุด
เห็ดโคนจะมีให้เรากินในช่วงเวลาไหน?
ความจริงอยากจะตอบว่า จริงๆแล้วเห็ดโคนสามารถมีได้ทุกเวลาของปี แต่จะมีเงื่อนไขสำคัญว่า สภาพดินฟ้าอากาศจะต้องเอื้ออำนวยนั่นคืออากาศต้องร้อนอบอ้าวผิดปกติ อย่างที่เรียกกันว่า " ร้อนเห็ด "
หลังจากนั้น มีฝนตกลงมาอย่างหนัก และที่สำคัญคือจะต้องมีแมลงเม่า (หรือเขียนผิดๆว่าแมงเม่า) จำนวนมากบินออกมาจากรังปลวก
การที่แมลงเม่าทิ้งรังทำให้ เห็ดโคนในรังปลวกเหลือเพียงพอที่จะแทงทะลุดินออกมาให้เราได้กินกัน จากเงื่อนไขที่ปลวกทิ้งรังข้างต้นนี้ เราจึงพบว่าเห็ดโคนส่วนใหญ่จะออกในฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวเดือนธันวาคมก็ยังพบว่ามีเห็ดโคนบางชนิด เช่นแถวจังหวัดนนทบุรีจะมีเห็ดโคนข้าวตอกซึ่งเป็นเห็ดโคนขนาดเล็กออกมาให้เรากินกัน แต่อย่างไรก็ตามจะมีเห็ดโคนออกมามากในช่วงเทศกาลกินเจคือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี
การพยายามเพาะเห็ดโคน มีมานานมากแล้ว ย้อนหลังไปไม่ต่ำกว่า 40 ปี สมัยแรกถึงขั้นทะลายรังปลวกมากมาย นำมาศึกษาในห้องทดลอง ด้วยสมมุติฐานต่างๆ รวมทั้งมีบริษัทห้างร้านที่ให้เงินทุนวิจัย ด้วยหวังว่าถ้าสำเร็จก็จะนำมาซึ่งความร่ำรวยอย่างมหาศาล แม้ในปัจจุบันนี้ สมมุติฐานแทบทุกชนิดก็ถูกนำมาทดลองจนหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊สในรังปลวก มีผลต่อการกระตุ้นเส้นใยเห็ดหรือไม่
เพราะภายในรังปลวกจะมีแก๊สมีเทนในปริมาณที่เหมาะสมจำนวนหนึ่ง ทดลองถึงอุณหภูมิ ความดัน สารละลายในรังปลวก ฯลฯ
ในสมัยปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ถึงขั้นพยายามตัดต่อหน่วยพันธุกรรม( DNA ) ของเห็ดโคน เพื่อจะเพาะเลี้ยงมันขึ้นมาเองให้ได้ จนแล้วจนรอดก็ยังทำไม่สำเร็จ จนบางคนทนไม่ไหวขุดรังปลวก นำมาไว้ข้างบ้าน นำอาหารมาเลี้ยงดูปลวกเช่นใบไม้แห้ง กิ่งไม้แห้งเล็กๆ เพื่อจะได้อาศัยกินเห็ดโคนเล็กๆน้อยๆ ในบางช่วงเวลาก็ยังดีและในที่สุดทุกวันนี้ พวกเราจะพูดสรุปกันว่า " ถ้าจะเพาะเห็ดโคน ก็ต้องเลี้ยงปลวกด้วย "
ด้วยชื่อเสียงความมีรสชาติอร่อยของเห็ดโคน ภายหลังจึงมีคนสมองใส ได้นำเห็ดชนิดอื่น นำมาตั้งชื่อให้คล้ายเห็ดโคน (แต่ไม่ใช่เห็ดสกุล Termitomyces ) นำออกมาวางขาย ซึ่งมองในแง่ทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะเกษตรกรจะได้มีรายได้ ประเทศชาติมีเงินหมุนเวียน/
(เกษตรสวนกระเเส สถานีเเบ่งปันเมล็ดพันธุ์ความคิดเพื่อการพึ่งตนเอง ชอบกดไลค์ ถูกใจกดเเชร์ แฟนพันธุ์เเท้คอมเม้น อย่าลืมไลค์หน้าเพจเกษตรสวนกระเเส จะได้ติดตามกันง่ายๆ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม ทีมงานเพจเกษตรสวนกระเเส เพจน้องใหม่ภาคอีสานขอขอบพระคุณครับ...)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Facebook: แฟนเพจเกษตรสวนกระเเส
https://www.facebook.com/SuanKraSe/posts/585435258239672
. |
สวัสดีครับ ลุงคิม น้าทิดแดง และเพื่อนสมาชิกทุกคนครับ
สนใจเพาะเห็ดโคนเหมือนกันครับ เคยได้เห็นภาพจาก fb สวนลุงฟ้า ได้นำรูปที่ชาวจีนขุดรังปลวกมาเลี้ยงไว้
(1)
(2)
(3)
(4)
(1-4) Cr. รูปภาพจาก fb บ้านสวนลุงฟ้า แฮปปี้ฟาร์ม
ผมคิดว่าถ้าเราเอามาใส่วงบ่อซีเมนต์ และทดลองด้วยวิธีที่น้าทิดแดงหามาให้ น่าจะเพาะเห็ดได้น่ะครับ
(1) ภาพประกอบอาจจะไม่สวยน่ะครับ
ผมขอเขียนคำอธิบาย วิธีเพาะเห็ดโคนในวงบ่อซีเมนต์ หรือถังพลาสติก แบบคราว ๆ น่ะครับ
- ทำบ่อหรือหาถาดขนาดใหญ่กว่าบ่อเลี้ยงปลวก สำหรับใส่น้ำกันปลวกหลุดออกมาจากที่เลี้ยง เลี้ยงปลาไว้ในบ่อเพื่อกันยุงวางไข่ นำอิฐมอญรองไว้แล้วเอาบ่อเลี้ยงปลวกใส่ลงไป
- ใช้ท่อพีวีซีขนาดใหญ่ความยาวเท่าปากบ่อ เจาะรูให้ปลวกสามารถเดินเข้าออกได้หลาย ๆ รู และวางให้รูท่อ PVC ตรงกับรูระบายน้ำ เวลารูระบายตันจะได้แก้ไขได้สะดวก ช่องท่อ PVC นี้ใช้สำหรับใส่ท่อนไม้ หรือเศษไม้เพื่อเป็นอาหารปลวก ถ้ามีปลวกอาศัยอยู่ที่ท่อนไม้จำนวนมาก สามารถเปลี่ยนท่อนไม้ใหม่ได้ ส่วนท่อนไม้ที่ดึงออกจะมีปลวกอาศัยอยู่ก็สามารใช้เป็นอาหารไก่หรือปลาได้ และเพื่อลดปริมาณปลวกในบ่อ
- ขุดรังปลวกมาทั้งรังให้ติดรังนางพญามาด้วย ใส่ไว้ในบ่อข้าง ๆ ท่อ PVC แล้วนำดินบริเวณที่ขุดรังปลวกมาใส่ให้เสมอ เหลือที่ว่างไว้สำหรับใส่ใบไผ่ เศษฟาง หรือใบไม้หนา ๆ
- นำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกผสมน้ำรดให้พอชื้นแล้วหาฝาซีแบบที่ไม่มีรูระบาย มาปิด-เปิด ปากบ่อเพื่อเลียนแบบสภาพอากาศแบบร้อนสลับชื้น คลาย ๆ กับปลูกเห็ดฟาง
ฝากคุณลุง น้าทิดแดง และเพื่อนสมาชิกช่วยชี้แนะด้วยครับ
ขอบคุณมาก ๆ ครับ
น้องลพครับผม
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/05/2017 7:21 am ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน .... ม.เชียงใหม่ เปิดอบรม การผล |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เกษตรสัญจร 9 ปลูกผักริมถนน - ม.เชียงใหม่ เปิดอบรม การผลิตไม้ดอกและไม้หัว...
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม หัวข้อ ''การผลิตไม้ดอกและไม้หัวเป็นธุรกิจ''
ดาวน์โหลดใบสมัครทักษะอาชีพ โครงการผลิตไม้ดอกและไม้หัวเป็นธุรกิจ (26-28 มิ.ย. 60) (doc)
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.agri.cmu.ac.th/download/detail.asp?id=50010141
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|