ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 19/05/2017 8:48 pm ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนท |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 6) ท้าวธตรฐ
(B2.8 ) (2.5) 16 พค. 60 งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (6)
ถ่ายทอดความจงรักและภักดี!! สู่รูปปั้นสุดงดงาม ชมภาพ "ท้าวธตรฐ" หนึ่งในสี่ท้าวจตุโลกบาล ประติมากรรม ประดับพระเมรุมาศในหลวงร.๙
(1)
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา คุณ Pakakeeta [Palm] Karwkanya หนึ่งในนายช่าง ผู้รับผิดชอบประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(2)
ท้าวธตรฐ [Dhatarattha] จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ หนึ่งในสี่ท้าวจุตมหาราช สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ผู้ปกครองปุริมทิศ ทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ทรงพิณเป็นสัญลักษณ์ ปกครองเหล่าคนธรรพ์ และวิทยาธรรวมถึงนางไม้ นางอัปสรทั้งหลาย
(3)
(4)
(5)
(6)
(7)
(8 )
เป็นงานประติมากรรรมประกอบพระเมรุมาศ ในหลวงร.9 ข้าพเจ้าถือได้เป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตที่ได้ร่วมทำงานถวายพระองค์ท่านในงานที่สำคัญนี้ ขอขอบคุณสำนักช่างสิบหมู่ที่ให้โอกาส ขอบคุณทีมงาน ทุกท่าน และกำลังใจที่ทุกท่านมอบให้ ขอบคุณครับ
โดย "ท้าวธตรฐ" รูปร่างสูงโปร่งและสูงกว่าทุกๆองค์ใน 4 ท้าวจตุโลกบาลมีผิวกายสีเขียว, มือซ้ายถือพิณ, มือขวาดีดพิณ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรี ศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้น พวกคนธรรพ์ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและระบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดาซึ่งสถิตย์ที่จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ 1 ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และเป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในฉกามาวจร สวรรค์ 6 ชั้น (จัดอยู่ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช
ท้าวจตุโลกบาล แต่ละองค์ได้แก่
1.ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์
2.ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์
3.ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
4.ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
เรียบเรียงโดย
จินต์จุฑา เจนสระคู : สำนักข่าวทีนิวส์
.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 26/05/2017 1:19 am ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนท |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 7) พระวิศณุฯ
(B2.8 ) (2.6) 24 พค. 60 งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (7)
(1) ที่สุดแห่งประติมากรรมอันทรงคุณค่า! ส่วนประกอบตกแต่งพระเมรุมาศ ของในหลวงร.9 สุดประทับใจในความงดงาม
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 60 ได้มีเฟซบุ๊คที่ชื่อว่า คุณอนุชา เลี้ยงสอน ได้โพสต์รูปภาพเกี่ยวกับงานประติมากรรรมประกอบพระเมรุมาศ ของในหลวงร.9 โดยมีข้อความระบุว่า
วันที่ 22 มี.ค. นายประสพสุข รัตน์ใหม่ หัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างงานประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระ เพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ช่างประติมากรรมได้ดำเนินงานปั้นประติมากรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้และเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดงานปั้นองค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ หนึ่งในสี่องค์มหาเทพใกล้เสร็จแล้ว เหลือเพียงปั้นเก็บรายละเอียดในส่วนลวดลายให้มีความสมบูรณ์ นายประสพสุขกล่าวว่า จากนั้นจะดำเนินการถอดพิมพ์ยางซิลิโคนให้เสร็จ ขั้นตอนต่อไปก็จะส่งชิ้นงานไปโรงปั้นหล่อประติมากรรมที่ท้องสนามหลวงเพื่อดำเนินการในขั้นตอนการหล่อไฟเบอร์กลาสและลงสีตามลำดับ
การปั้นพระนารายณ์องค์นี้ ผมได้ดำเนินการปั้นให้มีความพิเศษแตกต่างจากการปั้นมหาเทพองค์อื่นๆ เพราะพระองค์เปรียบเสมือนพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์
นับเป็นประติมากรรมชิ้นเดียวที่ได้นำพระพักตร์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาเป็นต้นแบบการจัดสร้าง นายประสพสุขกล่าวหัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ฯ กล่าวว่า รูปพระพักตร์ต้นแบบการปั้นเป็นพระพักตร์พระองค์ขณะทรงแย้มพระโอษฐ์ แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยที่ได้เห็นจากการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ
(2)
(3)
(2 3) โดยพระนารายณ์มี 4 กร 2 กร ด้านหน้าพนมมือ อีก 2 กร ด้านหลังฝั่งซ้ายถือสังข์ ฝั่งขวาถือจักร ทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์ สวมมงกุฎทองและเสื้อผ้าสีเหลือง
องค์พระนารายณ์มีพระพักตร์งดงามถ่ายทอดความประทับใจที่ผมได้เห็นภาพของพระองค์ท่านทุกวัน เลือกปั้นพระพักตร์ของพระองค์ในวัยหนุ่ม เพราะมีความสง่างามมาก โดยเฉพาะขณะทรงแย้มพระโอษฐ์ ดูแล้วรู้สึกได้ถึงความใจดี มีเมตตาที่มีต่อประชาชน ซึ่งไม่เพียงสร้างความปลาบปลื้มใจให้กับคนไทยเท่านั้น แต่พระบารมียังแผ่ไพศาลไปทั่วโลก
หัวหน้ากลุ่มประติมากรรมสำนักช่างสิบหมู่ฯกล่าว นายประสพสุขกล่าวว่า สำหรับประติมากรรมอื่นๆที่อยู่ ในระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ องค์มหาเทพ ตกแต่งลวดลาย เทวดานั่งกำลัง ส่วนท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ เช่น ท้าวเวสสุวรรณ ท้าววิรูปักษ์ ท้าวธตรฐ อยู่ระหว่างตกแต่งและปั้นฉลองพระองค์ ส่วนราชสีห์และสิงห์อยู่ในขั้นตอนการตกแต่งลวดลาย
(4)
(5)
(6)
(7)
(4 7) การจัดสร้างประติมากรรมครั้งนี้ ผมให้ช่างประติมากรทุกคนสามารถใส่จินตนาการและความรู้สึกของตนเองที่มีต่อในหลวงในการ สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความกลมกลืน เป็นศิลปะรัชกาลที่ 9 ที่เสมือนจริง โดยผมจะควบคุมสัดส่วนและโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักประติมากรรมไทยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นายประสพสุขกล่าวที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง
ตั้งแต่เวลา 04.50 น. สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเดินทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง โดยพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเดิน ทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน.
ที่มา http://www.welovemyking.com/4106/
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 11/06/2017 6:04 am ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ ภาพสะเทือนใจ ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน
เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ ภาพสะเทือนใจ ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ (ตอนที่ 1)
(B2.8 ) (2.7) 6 มิย. 60 ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ
(1) ใจหาย เมื่อกำหนดการถวายพระเพลิงใกล้เข้ามา
(2)
(3)
(2 - 3)พระเมรุมาศบุษบก 9 ยอด ในสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
(4) น้ำตาไหล!!!
(5)
(6)
(7)
(5 - 7) ทดสอบแล้วไฟส่องสว่าง พระเมรุมาศ คือภาพที่สะเทือนใจเหลือเกิน
คณะดำเนินงานจัดสร้างพระเมรุมาศ ทดสอบไฟส่องสว่างพระเมรุมาศยามค่ำคืน ดูมุมแสงตก กระทบผ้าทองย่น เตรียมเริ่มงานไฟฟ้า พร้อมเปิดพื้นที่ทางเข้า-ออกใหม่ ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศยังหลั่งไหลมาถวายสักการะพระบรมศพ โดยไม่หวั่นสภาพดินฟ้าอากาศในกรุงที่ฝนกระหน่ำทุกวัน
ล่วงเข้าสู่เดือนมิถุนายนแล้ว หลายฝ่ายเร่งระดมดำเนินการสร้างพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เสร็จทันตามกำหนด
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. นายธีรชาติ วีรยุทธธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า คณะช่างได้เริ่มดำเนินงานสถาปัตยกรรมช่วงฐานตัวบุษบกประธานทั้ง 4 ด้านเข้าสู่งานกรุเสา ส่งแบบขยายซุ้มคูหาและคันทวย โดยให้ผู้รับจ้างดำเนินการผลิตชิ้นส่วนที่โรงงาน ส่วนการติดตั้งนั่งร้านตัวบุษบกองค์ประธานพระเมรุมาศ ดำเนินการเสร็จแล้วเพื่อรองรับการนำชิ้นส่วนของชั้นเชิงกลอนพระเมรุมาศมาติดตั้ง พร้อมทั้งยังมีการปรับแผนใหม่ โดยไม่นำผ้าใบมาคลุมติดตั้งงานสถาปัตย์แล้ว เนื่องจากเกิดปัญหาแรงลมทำให้นั่งร้านแกว่งตัว ส่วนลายงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ อาทิ คันทวยพระเมรุมาศจะเป็นรูปครุฑ ส่วนกรอบคูหาใช้งานซ้อนไม้ ส่วนความคืบหน้าสถาปัตย์พระที่นั่งทรงธรรมและอาคารประกอบอื่นๆ อยู่ระหว่างการมุงหลังคา งานฝ้า
นอกจากนี้ช่างได้ทดลองจัดระบบไฟส่องสว่างพระเมรุมาศยามค่ำคืน โดยได้นำผ้าทองย่นมาทดสอบแสงงานสีทอง รวมถึงพื้นสีหลอดไฟโทนสีต่างๆแล้ว
ได้มีการทดสอบระบบแสงกระทบกับสีทองของผ้าทองย่นพระเมรุมาศที่มีบุษบก 9 ยอด เนื่องจากต้องดูแสงกระทบและมุมองศาของไฟจะเกิดเงาของแต่ละองค์ภาพทับซ้อนกันหรือไม่และสีที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการจัดทำทางเข้าออกพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะเปิดพื้นทางเข้าพระเมรุใหม่ หลังจากมีการรื้อถอนอาคารเย็นศิระเพราะพระบริบาล พร้อมปรับระดับพื้นที่รอบพระเมรุมาศเท่ากัน ขณะนี้บางส่วนจะต้องมีการจัดทำระบบท่อใต้ดินเพื่อรองรับงานไฟฟ้า สายสัญญาณสื่อสารใต้ดิน นายธีรชาติกล่าว
ด้านนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำผ้าม่านประดับพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ได้ออกแบบลายกรวยเชิงและลายฐานของม่านเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการทำสีเพื่อส่งไปตอกกระดาษรูปเทวดานั่ง เตรียมส่งแบบให้กับกลุ่มทอผ้าของ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
โดยภาพรวมการออกแบบลายกรวยเชิงผ้าม่าน จะมีลายหน้ากระดานใหญ่และมีเทพพนมเป็นตัวห้าม ด้านข้างเป็นกระบี่ครุฑผ้า อยู่ในดอก 4 กลีบสลับเทพพนม ครุฑ และลิง ด้านล่างมีลายหน้ากระดานเล็กๆ คั่นกรวยเชิงใหญ่และเล็กลดหลั่นกัน 2 ชั้น ระหว่างกลางคั่นด้วยลายก้านขดออกไปเป็นรูปราชสีห์ สลับกับคชสีห์ สะท้อนถึงความเป็นป่าหิมพานต์ ส่วนลายตัวกระบี่ครุฑผ้า สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการออกแบบผ้าม่านที่จะนำมาติดตั้งบริเวณซ่าง และหอเปลื้อง
นายสมชายยังกล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างพระโกศจันทน์ว่า ล่าสุดได้จัดทำโครงเหล็กเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการหุ้มลวดตาข่าย ได้ออกแบบ ลวดลายที่ใช้ประกอบเกือบแล้วเสร็จทั้งหมด ยังเหลือ ในส่วนที่เป็นลายตัวจงกลกลีบรอบพระโกศบางส่วน โดยได้ทยอยส่งแบบไปยังโรงจัดสร้างพระโกศจันทน์ท้องสนามหลวงฉลุลายไม้จันทน์ แต่ในส่วนที่เป็นลายเทพพนมที่จะนำมาติดที่กลีบจงกลรอบตัวพระโกศนั้น ได้ส่งให้นักเรียนศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง ได้มีส่วนดำเนินงานโดยแบบจะลายเทพบุตรประจำ กลีบจงกลพระโกศ เป็นรูปเทพพนม จัดทำ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ 24 องค์ และขนาดเล็ก 40 องค์ รวม 64 องค์
( พระเมรุมาศ และพระเมรุ
พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น กุฎาคาร หรือ เรือนยอด คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้
(9) พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี พระเมรุทอง
ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือ สิ้นพระชนม์
(10) เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2559 กรมศิลปากรได้ออกแบบพระเมรุมาศโดยเป็นทรงบุษบก 9 ยอด ตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะใช้พระเมรุทรงบุษบกเท่านั้น ในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสสริยยศในขณะนั้น) โปรดให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาในการจัดสร้างพระเมรุมาศ
(11)
(12)
(11 12) พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น
ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม์
(13)
(14)
(15)
(13 - 15) การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ
โดยพระเมรุมาศออกแบบโดย นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญการเป็นผู้ออกแบบหลัก และมีนายสัตวัน ฮ่มซ้าย ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ เป็นผู้ช่วย เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูง 50.49 เมตร (ต่อมาได้ขยายเป็น 53 เมตร) มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นที่สูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วย ซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด
(16) โดยยอดกลางจะเปรียบเหมือนเป็นเขาพระสุเมรุ และอีก 8 ยอดเป็นเหมือนยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเป็นระบบจักรวาล โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนสมมติเทพ ศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วยงานศิลปกรรมประกอบอาคาร ฉัตร เทวดา สัตว์หิมพานต์ ประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ พร้อมกับมีการขุดสระอโนดาตขึ้นมาจริงๆ
(17) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เปิดเผยแบบพระเมรุมาศ งานถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 หลังจากที่กรมศิลปากรรับผิดชอบการออกแบบ โดยใช้เวลาประมาณเดือนเศษนับแต่วันเสด็จสวรรคต ผ่านการเสนอคณะรัฐมนตรี และผ่านการทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงพระวินิจฉัย แล้วสรุปรูปแบบพระเมรุมาศที่ดำเนินการก่อสร้างในครั้งนี้เป็นรูปทรงบุษบกตามแบบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่พระเมรุมาศครั้งนี้มี 9 ยอด ยิ่งใหญ่โอฬารกว่าที่ผ่านมา
(18 )
(19)
(2
(18 - 20) นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการจัดสร้างพระเมรุมาศ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการออกแบบครั้งนี้ว่า ได้กำหนดกรอบแนวคิดตามอย่างโบราณราชประเพณีไว้ 3 ประการ คือ
1. ต้องสมพระเกียรติ เพราะครั้งนี้เป็นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ครั้งล่าสุด คือเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 คือพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และตลอดรัชสมัยที่ผ่านมาก็มีเพียงงานพระเมรุของสมเด็จพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่
2. ออกแบบตามหลักราชประเพณีโบราณ โดยยึดแบบสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะแบบของสมัยอยุธยานั้นไม่มีรูปแบบที่เป็นหลักฐาน จึงดูแบบพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
3. การออกแบบครั้งนี้ยึดหลักไตรภูมิตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาและความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพตามระบบเทวนิยม ซึ่งจาก 3 แนวคิดหลักนี้ได้ปรากฏเป็นแบบพระเมรุมาศในครั้งนี้ คือ แบบทรงยอดบุษบก องค์หลักจะอยู่กึ่งกลาง อันหมายถึงเขาพระสุเมรุ อีก 8 มณฑปที่อยู่รายรอบนั้นหมายถึงเขาสัตบริภัณฑ์ อันหมายถึงระบบจักรวาล
(21)
(22)
(23)
(24)
(25)
(26)
(27)
(21 27) สำหรับในส่วนงานสถาปัตยกรรมที่ต้องก่อสร้างอาคารแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มอาคารในมณฑลพิธี ณ ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย พระเมรุมาศ เป็นประธานในมณฑลพิธี ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณีรูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูงถึง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นสูงมี 7 ชั้น ชั้นบนที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วยสำซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด
พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูงขนาด 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ สำหรับเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี และเป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้า
โดยเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้าร่วมพระราชพิธีประมาณ 2,800 ที่นั่ง ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่มีขนาดใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพื่อรองรับพระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะที่จะเดินทางมาร่วมพระราชพิธีจำนวนมาก
นอกจากนั้นยังมี ศาลาลูกขุน เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ ทับเกษตร ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการที่มาในพระราชพิธีพักและฟังสวดพระอภิธรรม และ ทิม สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมและทำเป็นห้องสุขา
(28 )
(29)
(30)
(31)
(28 31) 2. กลุ่มอาคารนอกมณฑลพิธี ได้แก่ เกยลา บริเวณกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พลับพลาหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พลับพลาหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพลับพลายกหน้ามณฑลพิธีท้องสนามหลวง ส่วนลวดลายประกอบ ทั้งที่เป็นชั้นฐาน หรือประติมากรรมที่ประกอบในพระเมรุมาศ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นชั้นครุฑ ชั้นเทพ หรือเทวดา รวมถึงสัตว์หิมพานต์
นอกจากนี้สิ่งที่เป็นพิเศษในครั้งนี้คือ เสาโคมจะใช้เป็นเสาครุฑ เพราะครุฑคือพาหนะของพระนารายณ์ โดยแนวคิดสมมุติเทพนั้น พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งงานพระเมรุที่ผ่านมาล้วนเป็นเสาหงส์ สำหรับการออกแบบภูมิทัศน์จะมีการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เช่น กังหันชัยพัฒนา เครื่องดันน้ำ การปลูกหญ้าแฝก ฯลฯ จะถูกนำมาใช้ในการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้านงานเรื่องศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทพ เทวดา สัตว์หิมพานต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะยึดตามคติความเชื่อของระบบจักรวาล อันเกี่ยวกับสมมุติเทพทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีต
อย่างไรก็ตาม สำหรับการสร้างพระโกศจันทน์และพระโกศทองคำที่จะบรรจุพระบรมอัฐินั้น แบบเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด และได้ลงมือดำเนินการแล้ว ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีทุกประการ ขั้นตอนที่ได้ดำเนินการต่อมาคือ พิธีบวงสรวงบูรณปฏิสังขรณ์พระราชรถและพระราชยานมาศ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 และมีพิธียกเสาเอก พิธีตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม และล้อมรั้วเพื่อเริ่มก่อสร้างพระเมรุมาศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งทุกอย่างกำหนดไว้ว่าต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน 2560
(32) พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
สำหรับบรรยากาศที่ท้องสนามหลวง แม้ว่าสภาพอากาศจะร้อนอบอ้าวสลับครึ้มฟ้าครึ้มฝนและมีฝนตกทุกวัน แต่ยังคงมีพสกนิกรจากทั่วประเทศทยอยกันเดินทางมาเข้าคิวเรียงแถวในจุดพักคอยบริเวณเต็นท์หน้าประตูมณีนพรัตน์อย่างต่อเนื่อง เข้าถวายความอาลัยพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีทหาร อส. เทศกิจ กลุ่มจิตอาสา คอยจัดระเบียบ พร้อมกับแจกน้ำดื่มและขนมให้กับประชาชนที่นั่งคอยในเต็นท์จุดพักคอย
นอกจากนี้ยังมีพล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ ผู้บัญชาการกองกำลังทหารบกสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิก พร้อมภริยาและคณะ เดินทางมาลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ห้องแดง ศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเวลา 12.00 น. ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ
นายพาฟโล คลิมคิน รมว.ต่างประเทศยูเครน เดินทางมาลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ที่ห้องแดง ศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 14.30 น. ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน
เวลา 16.00 น. วันเดียวกัน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระอุโบสถวัดพระแก้วโดยคณะสงฆ์ใน กทม.400 รูป ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดขึ้นทุกวันที่ 5 ของเดือนและในการเจริญพระพุทธ-มนต์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6
ขอบคุณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขอบคุณข้อมูล ไทยรัฐ
ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia
http://www.kiddee.welovemyking.com/2729
และคลิปจาก Youtube SiamUpdates.com
มีต่อ (ตอนที่ 2) ตำแหน่งประติมากรรม
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 22/06/2017 7:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
..... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|