-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จากน้ำกะทิ สู่ ฮอร์โมนพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จากน้ำกะทิ สู่ ฮอร์โมนพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 28/12/2009 5:07 pm    ชื่อกระทู้: จากน้ำกะทิ สู่ ฮอร์โมนพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ค้นคว้าโดย AORRAYONG.....


น้ำกะทิและน้ำมะพร้าวช่วยรักษาคนศีรษะล้านได้จริงหรือไม่ ?

ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการ หรือการทดลองที่ทำชัดเจนว่าน้ำมันมะพร้าว หรือกะทิสามารถรักษาผมร่วงได้จริงหรือไม่ แต่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในอดีตเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า กะทิสามารถนำมาใช้ในการบำรุงผม บำรุงหนังศีรษะ ทำให้ผมเป็นประกายเงางาม ทำให้ผมแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยลดผมร่วง และกระตุ้นการเจริญของผมใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าการสระผมทั่วๆ ไป อาจทำให้โปรตีนที่เคลือบอยู่บนเส้นผมตามธรรมชาติหลุดออกไปในระหว่างที่สระผม ซึ่งส่วนประกอบหลักของเส้นผมคือ โปรตีนที่เรียกว่าเคอราติน (Keratins) กะทิ ที่เคลือบเส้นผมสามารถทำให้โปรตีนเกิดการสูญเสีย ออกไปน้อยที่สุด อาจเนื่องจากว่าโปรตีนในน้ำมันมะพร้าวมีความใกล้เคียงกับโปรตีนของเส้นผม และในน้ำมันมะพร้าวมีส่วนประกอบเป็นไขมันสายกลาง (medium chain triglycerides ; MCT ) : ซึ่ง MCT นี้ สามารถผ่านเข้าออกอย่างอิสระที่ผนังเซลล์ และการที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยนี้ทำให้สามารถผ่านเข้าออกจากเส้นผมได้อย่าง ง่ายดาย จึงมีประสิทธิภาพในการบำรุงเส้นผมได้ดี อีกทั้งสารเคลือบผมตามธรรมชาติที่เรียกว่า ซีบัม (sebum) ซึ่งคอยปกป้องเส้นผมและหนังศีรษะไม่ให้แห้ง แตกง่ายยังมีส่วนผสมเป็น MCT ซึ่งคล้ายกับที่มีในมะพร้าวด้วย กะทิ ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินอี ซึ่งช่วยในเรื่องของการไหลเวียนโลหิต นำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณหนังศีรษะและรากผมได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้กะทิจะมีน้ำมันดังกล่าวแล้ว ยังประกอบไปด้วยเอนไซม์ที่จำเป็นที่มีส่วนช่วยในการหยุดผมร่วง และลดผมหงอกก่อนวัยได้ นอกจากนี้ในกะทิยังมี


สารฟาโวนอยท์ (flavonoids) วิตามินอี และ ดี
ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญของเส้นผมด้วย มะพร้าวเป็นสารจากธรรมชาติ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่มีพิษ ไม่เป็นสารเคมี จึงไม่เป็นอันตรายหากจะใช้กับเส้นผมหรือหนังศีรษะ วิธีการใช้มะพร้าวในการบำรุงหนังศีรษะ ลดผมร่วง มีได้หลายตำรา ยกตัวอย่างเช่น

1..... การใช้กะทิ ควรใช้มะพร้าวแก่ ขูดมะพร้าว มาคั้นกะทิสด ๆ ใช้กะทิประมาณ 1 – 2 แก้ว ขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นผม ชะโลมกะทิลงบนศีรษะและเส้นผม ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า (ยังไม่ต้องสระผมด้วยแชมพู) วิธีนี้จะทำให้น้ำมันมะพร้าวเคลือบอยู่บนเส้นผมได้นาน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แล้วค่อยสระผมด้วยแชมพูอีกครั้งในวันถัดไป วิธีนี้จะทำให้เส้นผมนิ่ม เรียบลื่นขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ และจะเริ่มสังเกตได้ว่าผมร่วงลดลง ควรทำวิธีนี้อาทิตย์ละครั้ง แม้ว่าผมร่วงจะดีขึ้นแล้วก็ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 2 – 3 อาทิตย์ต่อครั้ง วิธีนี้ไม่เฉพาะลดผมร่วงได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เส้นผมมีสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย ผมร่วงจะเริ่มสังเกตเห็นว่าลดลงเมื่อทำไปประมาณ 2 สัปดาห์ และได้ผลดีเมื่อทำไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน อาจเพิ่มประสิทธิภาพโดยการใช้กะทิที่อุ่น ๆ

2...... อาจใช้น้ำมันมะพร้าวที่สกัดแล้ว ควรเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ใช้วิธีสกัดเย็น เนื่องจากไม่มีการสูญเสียวิตามินธรรมชาติที่มีอยู่ในมะพร้าวไปกับความร้อนใน ขั้นตอนการสกัด ชะโลมที่บริเวณหนังศีรษะ และเส้นผมแล้วนวด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออกตอนเช้า การใช้นิ้วมือนวดหนังศีรษะจะช่วยกระตุ้นเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหนังศีรษะได้ ด้วย


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/08/2010 10:41 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 28/12/2009 5:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อไม่กี่วันมานี้ คนไทยอาชีพส่งสินค้าไป CO-LOAS เห็นว่าส่งสินค้าจากไทยไปให้ เทสโก้-โลตัส ในลาวประมาณนั้น ..... เกิดปิ๊งไอเดียจะเอา "ปุ๋ย" ในเครือที่ลุงคิมผสมเองไปทำตลาดในลาว จึงเกิดการเจรจากันขึ้น หลายต่อหลายเรื่องว่าด้วยปุ๋ยเพื่อการเกษตร.......เรื่องหนึ่งที่คุยสู่กันฟังว่า

".....ปุ๋ยทางใบในประเทศไทย ยี่ห้อ -X- ราคาขวด (500 ซีซี.) ละ 2,800 - 3,500 ว่ามีสาร "ฟลาโวนอยด์" ที่ช่วยให้พืชแบ่งเซลล์ ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น การตอบสนองของพืชดีมาก....."

ลุงคิมพยายามทบทวนความทรงจำว่ามีข้อมูลเรื่องสารอาหารพืชในเว้บนี้ แต่จำไม่ได้ว่าอยู่กระทู้หรือไฟล์ไหน จนกระทั่งมาพบใน "น้ำกะทิและน้ำมะพร้าว" นี่เอง.....คำตอบที่ค้นพบวันนี้ คือ "ใช่เลย...."

*** สารอาหารตัวนี้พืชมีความจำเป็นต้องใช้ระดับ พีพีเอ็ม.
(1 พีพีเอ็ม = 1 ซีซี./น้ำ 1,000 ลิตร)
*** ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมี "น้ำมะพร้าว" เป็นส่วนผสมหลัก
*** ในฮอร์โมนไข่มี "น้ำมะพร้าว" เป็นส่วนผสมหลัก


แค่นี้ก็น่าจะพอเพียงแล้วละมั้ง.....ใจคอมันจะหลอกลวงกันไปถึงไหน.....

ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/07/2010 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 29/12/2009 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความโลภไม่มีที่สิ้นสุดยังไงละครับลุง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 29/12/2009 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
".....ปุ๋ยทางใบในประเทศไทย ยี่ห้อ -X- ราคาขวด (500 ซีซี.) ละ
2,800 - 3,500 ว่ามีสาร "ฟลาโวนอยด์" ที่ช่วยให้พืชแบ่งเซลล์ ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น การตอบสนองของพืชดีมาก....."


ใครกล้าซื้อใช้ผมว่าใจถึงมากเลยนะน่ะ ในโฆษณาว่าใช้เพียง 2-3 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 1 ขวดบรรจุ 500 ซีซี ผมละอยากลองจริงๆ เลย ขอสินค้าตัวอย่างหลายรอบแล้วไม่ได้ซักที


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ott_club เมื่อ 30/12/2009 9:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 30/12/2009 5:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://yalor.yru.ac.th/~dolah/notes/46-2-47/G-13-4/N_404652014.doc

The Nobel Prize in Physiology or Medicine


เสนอ
อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี


นำเสนอโดย

นางสาวซูไฮดา กะโด
รหัสนักศึกษา 404652014
โปรแกรม ชีววิทยาประยุกต์
กลุ่มพื้นฐานที่ 13

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


What is … FOODSTATE

ฯลฯ

4.ฟลาโวนอยด์ เป็นสารในกลุ่มสารประกอบฟืนอลิค (phenolic compounds) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวนอะโรมาติก (aromatic ring) ที่มีจำนวนหมู่ไฮดรอกซิล (Hudroxyl group) รวมอยู่ในโมเลกุล สามารถละลายน้ำได้ ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกับ น้ำตาล ในรูปของสารประกอบไกลโคไซต์ (glycoside) สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยทำหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยวหรือป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้แหล่งอาหารที่พบฟลาโวนอยด์มาก ได้แก่ พืชผักและผลไม้ ทั่วไป รวมทั้งเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา ไวน์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ในธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอยู่ในอาหารที่มาจากพืชมากมาย การรับประทานอาหารจำพวกพืชผักและผลไม้จึงทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพตรงกันข้ามการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้เต็มที่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 30/12/2009 5:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_12_2546_phenolic.pdf

สารประกอบฟีนอลิก( Phenolic Compound)

ทรงพล รดิศพงศ์
กรรณิการ์ บุตรเอก
ขนิษฐา อัศวชัยณรงค์

คำสำคัญ ฟีนอลิก , ฟีนอล , มลพิษ

สารประกอบฟีนอลิกเป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันอย่างมากในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ในภาคอุตสาหกรรมสารประกอบฟีนอลิกถูกนำมาใช้เป็น intermediate ในการผลิตพลาสติกยา สี เรซิ่น และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่วนในภาคเกษตรพบว่าสารประกอบฟีนอลิกถูกนำมาใช้ในการผลิตยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และยาป้องกันการติดเชื้อและอื่นๆ ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารประกอบฟีนอลิกกันมากขึ้นย่อมเกิดผลกระทบต่อปัญหาทาง สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำเนื่องจากการปล่อยน้ำ ที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลอย่างยิ่งในการทำลายคุณภาพของน้ำ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิต ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

ดังนั้นสารประกอบฟีนอลิก จึงถูกจัดเป็นสารมลพิษที่มีอันตรายมากที่สุดประเภทหนึ่งที่ E.P.A. (The US. Environment Protection Agency) ได้เสนอให้มีการควบคุมคุณภาพของน้ำโดยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกได้สูงสุดไม่ เกิน 1 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่ามีปริมาณสาร ประกอบฟีนอลิกอยู่ในระดับอันตรายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการนำน้ำมาใช้ประโยชน์พิษของสารประกอบฟีนอลิก

1. ต่อสัตว์น้ำ เช่น ปลา เมื่อปลาได้รับสารพิษจะถูกกระตุ้นให้ระคายเคืองจนขาดการควบคุม ว่ายน้ำไม่มั่นคง ครีบจะสั่นเทา ในที่สุดจะเสียการทรงตัว หมุนรอบ ๆ และตายในที่สุด หรืออาจอยู่ในสภาพไร้ความรู้สึก โดย เฉพาะฟีนอล(Phenol) และครีซอล(Cresol) จะมีผลต่อการรบกวนประสาทอย่างสูง

2. ต่อสัตว์ชั้นสูงอื่น ๆ เช่นในกบ ไขสันหลังจะถูกรบกวนให้ระคายเคือง จนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง ในที่สุดก็จะเป็นอัมพาต

3. ต่อมนุษย์ ถ้าระดับความเข้มข้นน้อย ๆ จะทำให้รู้สึกคลื่นเหียน วิงเวียน เสียการทรงตัว หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้ามีความเข้มข้นมาก ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง และทำให้หัวใจล้มเหลวในที่สุด

คุณสมบัติทางกายภาพของสารประกอบฟีนอลิก
สารประกอบฟีนอลิกเป็นอนุพันธ์ของเบนซินที่มีหมู่ไฮดรอกซิลต่ออยู่เป็นหลัก และอาจมีหมู่แทนที่ต่าง ๆ แทนที่ในตำแหน่ง ออโท(orto) เมตา(meta) หรือพารา(para) ได้อีก สารฟีนอลิกตัวพื้นฐานคือ ฟีนอล ประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง และหมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่ มีมวลโมเลกุล 94.11 เป็นผลึกรูปเข็ม ไม่มีสี เมื่อโดนอากาศจะมีสีชมพูอ่อน ๆ จุดหลอมเหลว 40.85oc จุดเดือด 182o c จุดวาบไฟ 79oc สารละลายของฟีนอลเป็นกรดอ่อน โดยมีค่า pKa 10.0 ฟีนอลละลายได้ในกลีเซอรอลคาร์บอนไดซัลไฟด์ อัลกอฮอล์ อีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม สำหรับสารประกอบฟีนอลิกตัวอื่น มีสมบัติทางกายภาพ ดังแสดงในตารางที่ 1

ปฏิกิริยาของสารประกอบฟีนอลิกที่น่าสนใจ
สารประกอบฟีนอลิกสามารถเกิดปฏิกิริยาได้หลายปฏิกิริยา เช่น
1....... ปฏิกิริยาการเตรียมแบบวิลเลียมสัน (Williamson synthesis) เตรียมอีเทอร์จากฟีนอลโดยให้ทำปฏิกิริยากับอัลคิลเฮไลด์ (Alkylhalide) ที่สภาวะที่เป็นเบส
2...... ปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์ ( Ester formation) โดยฟีนอลทำปฏิกิริยากับแอซิดคลอไรด์ (Acidchloride) หรือแอซิดแอนไฮไดด์ (Acid anhydride) แล้วให้เอสเทอร์
3...... ปฏิกิริยาการแทนที่อิเลคโตรฟิลิกอะโรมาติก (Electrophelic substitution) จะเกิดการแทนที่ที่ตำแหน่ง ออโท และพารา
4...... ปฏิกิริยาไนโตรเซชั่น (Nitrosation reaction) จะเกิดการแทนที่ที่ตำแหน่งออโท และพารา
5...... ปฏิกิริยาคับปลิงกับเกลือไดอะโซเนียม (Coupling reaction with diazonium salts)

ฯลฯ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 30/12/2009 5:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 31/12/2009 3:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/สารพฤกษเคมี

เควอซิทิน

เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ เควอซิทินเป็นสารพฤกษเคมีที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด มีมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่ว ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันได้ การรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทินในปริมาณสูงมีส่วนสัมพันธ์ กับการทำงานของหัวใจที่ดี จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า เควอซิทินถือว่าเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่ปกป้องหลอดเลือด (vasoprotective) และช่วยในการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนและการทำงานหัวใจดีขึ้น

* การได้รับฟลาโวนอลและฟลาโวนในระดับที่สูง ( มากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน ) จะช่วยลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคลมชักในระยะแรกในผู้ป่วยสูงอายุได้สองในสามส่วน เควอซิทิน คือ ฟลาโวนอยด์ที่สำคัญในอาหารที่ทำการศึกษาในครั้งนี้

* เควอซิทินมีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและ ปกป้องหลอดเลือด และลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันแอลดีแอล (LDL) จากการทดลองในหลอดทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยในการทำงานของหลอดเลือด หัวใจและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

* เควอซิทินทำให้เกิดการยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์ และรวมถึงการทำให้เกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายของเซลล์ในการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติได้

* เควอซิทินได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นตัวนำการตาย ของเซลล์ในเซลล์เนื้องอกลำไส้ รวมทั้งยังช่วยยับยั้งฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ของกลุ่มเซลล์ที่ได้รับสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก และลดทางการเจริญเติบโตในเซลล์เนื้องอกชนิดนี้

ฯลฯ
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©