-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * ซี วิ ด....ปิ้ น ปั๊ บ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* ซี วิ ด....ปิ้ น ปั๊ บ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 20/07/2019 5:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
163. บวชพลทหาร :
พลทหารพานฯ สังกัด ร้อย บก.ปตอ.2 ภูมิลำเนาเดิม จ.ชุมพร ปีที่เข้ามารับราชการทหารเป็นปีที่ จ.ชุมพร โดนพายุเกย์ เสียหายทั้งจังหวัด ครอบครัวนี้มีอาชีพทำสวนมะพร้าว เมื่อมะพร้าวเสียหายทั้งสวนจึงไม่มีรายได้เลย

ลุงคิมในฐานะ ฝอ.2 (ตำแห่งนายทหารการข่าว) เห็นใจจึงขอตัวมาเป็น “ทหารประจำตัว” เพื่อให้ได้รับ “เบี้ยเลี้ยงบุคคล” คือเงินเดือนที่ไม่ได้หักค่าอาหาร (เดือนละกว่า 5,000) แล้วให้พลทหารพานฯ ส่งไปให้พ่อแม่ที่ จ.ชุมพร ในขณะที่ตัวพลทหารพานฯ ยังคงอยู่ที่กองร้อย กับรับจ้างเพื่อนที่ลากลับบ้านวันเสาร์-อาทิตย์เข้าเวรเป็นการหารายได้พิเศษ วันว่างจากงานที่กองร้อย พลทหารพานฯ ก็จะขออณุญาต ผบ.ร้อย ไปกุ๊กกิ๊กๆอยู่ที่บ้านพักลุงคิมบ่อยๆ

กระทั่งปลดประจำการ กลับบ้านเดิม 3 เดือน พลทหารพานฯ ย้อนมาหาลุงคิมที่บ้าน

พลฯ พาน : ผู้พันครับ ผมมาขอความช่วยเหลือจากผู้พันครับ
ลุงคิม : ขอความช่วยเหลือ ขออะไรเหรอ ว่ามาซิ ?

พลฯ พาน : ผมอยากบวช อยากให้ผู้พันบวชให้ครับ
ลุงคิม : บวช บวชให้ บวชพระเนี่ยนะ

พลฯ พาน : ครับ บ้านผมไม่มีเงินเลย ผมอยากบวชซักพรรษาครับ
ลุงคิม : (คิดหนัก กึ่งพอใจ) อืมมม กูไม่มีลูกชาย มีแต่ลูกสาว ได้บวชคนเป็นพระซักครั้ง ถือว่าบุญโขเลยนะ งานนี้เรื่องใหญ่ พูดกับมึงคนเดียวไม่ได้หรอก พ่อกับแม่มึงต้องพูดด้วย ต้องรู้เรื่องด้วย มึงพาพ่อกับแม่มาพูดด้วย เข้าใจไหม ?

พลฯ พาน : เข้าใจครับ ผมจะพาพ่อกับแม่มาพูดกับผู้พันครับ

พลทหารพานฯ หายไป 2 อาทิตย์ คราวนี้กลับมาพร้อมหน้าพ่อหน้าแม่ การเจรจารายละเอียดเรื่องงานบวชพลทหารพานฯ วันนั้นราบรื่นทุกอย่าง เช่น

- บวชที่วัดบ้านพลทหารพานฯ...
- พิธีบวช (เครื่องบวช แจกการ์ด งานเลี้ยง ค่าใช้จ่าย) ทุกอย่างทำตามประเพณีของพื้นบ้านนั้น
โดยลุงคิมออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ....
- แจกการ์ดเชิญแขกบอกบุญแล้วได้รับเงินช่วยทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ต้องเอามาให้ลุงคิม แต่ให้พ่อกับแม่เก็บไว้ทำทุนประกอบอาชีพต่อไป....


งานบวชครั้งนั้นสรุปค่าใช้จ่ายตั้งแต่ทำขวัญนาค นาคเข้าโบสถ์ ถึงพระออกจากโบสถ์ เป็นอันเสร็จพิธี รวมทั้งสิ้น “แสนหย่อน” นิดๆ พระพลทหารพานฯ อยู่จนครบพรรษา ออกพรรษาแล้วรับกฐินตามประเพณี

ลุงคิมพอใจ ปลื้มใจ ที่สุดเมื่อทิดพลทหารพรานฯ สึกแล้วมากราบขอบคุณถึงบ้าน


164. รากวน :
เมื่อครั้งงานสีสันสัญจรที่ร้านมานพการเกษตร หน้าที่ว่าการ อ.กำแพงแสน นครปฐม ก่อนเริ่มงานบรรยาย นศ.เกษตรระดับมหาลัยหนุ่มสาวราว 10 คน เข้ามาคุยเชิงเล่าสู่ฟัง

นศ. : ลุงคิมครับ ที่ลุงบอกว่า การขุดหลุมปลูกไม้ผลยืนต้น กว้าง-ลึก 50 ซม.น่ะ พอไม้เริ่มยืนต้นได้ ระบบรากเริ่มเดิน รากที่เจริญยาวไปถึงผนังหลุม รากเส้นนั้นจะไม่เจริญยาวแทงผนังหลุมออกไปนอกหลุม แต่จะวกกลับมากลางหลุมแล้วยาวต่อไปถึงผนังหลุมฝังตรงข้าม ถึงผนังหลุมฝังตรงข้ามแล้วจะวกกลับ กลับมากลางหลุมแล้วต่อไปจนถึงผนังหลุมอีกฝั่งหนึ่ง ไปแล้วกลับ กลับแล้วไป กลับไปกลับมาอยู่ในหลุม อันนี้แหละ “รากวน” .... แล้วลุงยังบอกอีกว่า ให้ขุดหลุมผสมดินในหลุมใหม่ ใส่อินทรีย์วัตถุ ทำหลุมปลูกแบบพูนเป็นโคก แล้วปลูกต้นกล้าบนโคก เมื่อรากเจริญเติบโตจะแทงยาวไปรอบทิศทาง ยาวไปเรื่อยๆไม่มีการวกกลับ ไม่กลับๆไปกลับมาจนเกิดเป็นรากวน


ลุงคิม : แล้วไง ?
นศ. : (มองหน้าเพื่อน) พวกผมไปถามอาจารย์ เล่าเรื่องนี้ตามหนังสือที่ลุงคิมเขียน แล้วถามอาจารย์..?.. ว่า “ใช่ไหม ?”

ลุงคิม : อาจารย์ตอบว่าไง ?
นศ. : อาจารย์ตอบว่า “ใช่ ใช่ยิ่งกว่าใช่ซะอีก”

ลุงคิม : งั้นเหรอ ?
นศ. : ผมเลยถามอาจารย์อีกว่า แล้วทำไมหนังสือที่อาจารย์..?.. เขียน ให้ขุดหลุมกว้างล่ะครับ

ลุงคิม : อาจารย์..?..ตอบว่าไง ?
นศ. : อาจารย์..?.. บอกว่า ให้ไปถามอาจารย์..?.. ที่เขียนเองซี่

ลุงคิม : หัวเราะในลำคอ แล้วเดินขึ้นเวทีเตรียมรรยาย




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/11/2021 9:56 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 22/07/2019 5:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
165. เกษตร ผสมผสาน-ผสมผเส-ปนเปสะเปะสะปะ รวย :
สมช. : (ได้ฟัง สมช.ปรึกษาเรื่อง ฟักแซมมะเขือ พริก มาตลอด ช่วยยืนยัน) ฉันว่าทำได้นะลุง มะเขือกับพริกอยู่ไต้ค้างฟักเขียว ของฉันก็ทำอยู่
ลุงคิม : งั้นนะ

สมช. : ใช่ลุง ของฉันทำค้างฟัก ค้างถั่วฝักยาว เป็นแบบแผงทางตั้ง แผ่นเดียว เอาไม้ปักเป็นเสา ระยะห่างระหว่างเสา 3 ม. เอาตาข่ายขึงระหว่างเสาสำหรับให้เถาฟัก เถาถั่วเลื้อยขึ้นไป ค้างแบบนี้ไม่ต้องมีหลังคา ทำให้ยาวตามแนวแสงอาทิตย์ มันก็จะไม่ไปบังแสงแดดพืชอื่น
ลุงคิม : (มองหน้า สมช.คนปลูกฟักแซมมะเขือ พริก) แล้วพืชอื่นล่ะ

สมช. : ฉันน่ะทำเกษตรผสมผสานผสมผเสปนเปสะเปะสะปะ นึกจะปลูกอะไรตรงไหนก็ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กินได้
ลุงคิม : อะไรบ้าง บอกชื่อซิ

สมช. : ประเภทเถาเลื้อยมี ฟักเขียว ถั่วฝักยาว ถั่วพู ประเภทต้นมีพริกขี้หนูหอม พริกขี้หนูยอดสน พริกชี้ฟ้าเขียว พริกชี้ฟ้าเหลือง มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือยาว ทุกอย่างที่กินได้นั่นแหละลุง
ลุงคิม : เนื้อที่กี่ไร่น่ะ ?

สมช. : 3 ไร่เองลุง
ลุงคิม : บำรุงยังไง ?

สมช. : ก็สูตรสหประชาชาติของลุง ซื้อจากลุงชาตรี เดือนครั้ง อย่างละลิตร ยาฆ่าแมลงยาเคมีฉันเลิกใช้มานานแล้ว ใช้สารสะเดา พริกแกง สาบเสือ สบู่ต้น ทุกอย่างที่ขึ้นรอบบ้านนั่นแหละลุง
ลุงคิม : สมุนไพร....อันนี้ต้องฉีดบ่อยๆนะ

สมช. : ทุกวัน วันละครั้ง ไปกับน้ำไปกับปุ๋ย
ลุงคิม : เอาเครื่องมืออะไรฉีดพ่น ?

สมช. : สปริงเกอร์ซี่ลุง ฉันน่ะ ลูกศิษย์ลุงตั้งแต่รุ่นแรกๆเลย
ลุงคิม : ยังงั้นเหรอ .... วันนี้รายได้ตรงนี้ซักเท่าไหร่ ?

สมช. : ทำกันสองคนผัวเมีย ไม่เคยจ้างแรงงาน บางส่วนส่งแม่ค้า บางส่วนเอาไปขายเองที่ตลาดนัดจร รายได้จริงๆ ก็ประมาณ 1,000 ถึง 3,000 ต่อวันแหละลุง
ลุงคิม : ต่อวัน ๆ ๆ ๆ



166. ครู-นักเรียน ยุคใหม่ :
จาก: (098) 783-01xx
ข้อความ : เรียนคุณตาคิม ซา กัสส์ กรุณนำเสนอเรื่องการทำนาข้าว ที่เป็นควมรู้กึ่งวิชาการ กึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน จะเอาไปเขียนรายงานส่งอาจารย์เกษตร กราบขอบพระคุณค่ะ....เด็กหน่อย สิงห์บุรี
ตอบ :
WELCOME ชาวนาคือเกษตรกรกลุ่มใหญสุดของประเทศ.... ชาวนารอด ประเทศไทยรอด คนทั้งโลกรอด....คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม.....

จาก : (098) 138-62xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน หนูชื่ออ้อม เรียน ม.3 ร.ร. ..?.. จ.ฉะเชิงเทรา ต้องทำโครงงานเรื่องนาข้าวหอมมะลิ หัวข้อที่หนูรับผิดชอบ คือ ปุ๋ยที่จำเป็น มีอะไรบ้าง มีประโยชน์หรือผลเสียต่อต้นข้าวอย่างไรบ้าง และเรื่องอื่นๆที่น่ารู้ค่ะ .... กราบขอบคุณ คุณตาผู้พันอย่างสูงค่ะ

จาก : (065) 148-91xx
ข้อความ : ขอให้พูดซ้ำเรื่องข้อเสียของยูเรียต่อนาข้าว จะบันทึกเสียง .... ขอบคุณครับ

จาก : (084) 428-67xx
ข้อความ : ขอบคุณลุงคิม สมการปุ๋ย อินทรีย์ เคมี ทุกอย่างชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้เลย ขอให้ลุงคิมต่อสู้ต่อไป ขอเป็นกำลังใจครับ .... จากชาวนา สุพรรณบุรี

จาก : (062) 394-01xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมคิดว่า คนที่ทำตามแนวผู้พันมีมาก แต่ไม่พูดไม่เปิดตัว เพราะไม่อยากถูกโต้แย้งที่หาข้อมูลทางวิชาการมาอธิบายไม่ได้ .... ขอบคุณครับ

จาก : (086) 184-29xx
ข้อความ : อยากให้ลุงคิมสรุปข้อเสียของยูเรียต่อต้นข้าว เท่าที่ลุงคิมมีข้อมูล .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
สไตล์เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บรรทัดตอบ 1 หน้า ถาม 1 ข้อตอบ 10 ข้อ.... O.K. ?
ในหนังสือหัวใจเกษตรไท ห้อง 3 “เทคโนโลยี” เขียนไว้ว่า ....
** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี
** ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ คิวซี คิวอาร์ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี ออกนอกฤดู ลูกใหญ่ เมล็ดเล็ก คนนิยม จองล่วงหน้าข้ามปี

** เครื่องทุ่นแรง ประหยัดฯ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน
** นาข้าว 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้านแล้วยังเหลือ 2 ล้าน VS ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท
** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000 VS ชาวนาไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 100,000


- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี.สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ...ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม ละฮอร์โมน...ต้นทุนลดลงแต่ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ยูเรีย+16-20-0
อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.

- ข้อเสียของยูเรีย.ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต .... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิช ไม่เคยพูด ไม่เคยบอก คือ....
* ยูเรียต่อต้น....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

* ยูเรียต่อเมล็ด .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมากน้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

* ยูเรียต่อสารอาหาร...ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ......ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.
(อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดินและจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ

- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก ....

ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน ....

ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดินสารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว...

ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....

การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 11:35 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 31/07/2019 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
167. กระดุมเกษตร :
เม็ดที่ 1 .... ตลาด
เม็ดที่ 2 .... เทคนิค
เม็ดที่ 3 .... เทคโนฯ
เม็ดที่ 4 .... โอกาส

เม็ดที่ 5 .... ใจ
เม็ดที่ 6 .... ฝีมือ
เม็ดที่ 7 .... ปชส.
เม็ดที่ 8 .... ฯลฯ

ติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆไปย่อมผิดตามไปด้วย


168. หัวใจเกษตร :
1. .... ปุ๋ย
2. .... ยา
3. .... เทคนิค
4. .... เทคโนฯ
5. .... โอกาส
6. .... ตลาด
7. .... ต้นทุน


169. ปรัชญาเกษตร :
1. ผลผลิตเพิ่ม ปริมาณมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ต่อพื้นที่เท่ากัน ...
คุณภาพ ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง คิวซี คิวอาร์ สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี ออกตลอดปี ออกนอกฤดู จองล่วงหน้า ....

2. ต้นทุนลด .... ซื้อ 100%, ทำเอง 100%, ซื้อ 50% ทำเอง 50%, รวมกลุ่มทำ รวมกลุ่มซื้อ
3. อนาคตดี .... พันธะสัญญา


170. สัจจะธรรมเกษตร :
* การตลาด เกษตรกรควบคุมไม่ได้........ ต้นทุน เกษตรกรควบคุมได้
* กะรวยด้วยกัน = รวยทุกคน ............ กะรวยกว่าข้างบ้าน = จนกว่าข้างบ้าน
* ตามคนที่ล้มเหลว = ล้มเหลวยิ่งกว่า .... ตามคนที่สำเร็จ = สำเร็จยิ่งกว่า
* ทำอย่างเดิม = แย่กว่าเดิม
* รู้คนละนิดคนละหน่อย เอามารวมกัน = รู้มาก ๆๆ ๆๆ
* ทุกคนมีดี เอาดีของเขามาต่อยอด ขยายผล จูงใจ
*
*




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/08/2019 6:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 07/08/2019 1:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
171. สีสันชีวิตไทย ภาษาไทย :
ครานั้นสัญจรไปไปอำเภอ ลี้ จังหวัดลำพูน แยกจากถนนพหลโยธินไป 50 กิโล 500 โค้งข้อศอก เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง สอนเสร็จโดนพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยด่าเสียคน....

"อู้อันหยังบ่อฮู้เฮื่อง มีแต่ปาษาปะกิ๊ด"

คุณคิดดู ภาษาเกษตรไม่มีภาษาไทย มีแต่ภาษาอังกฤษ ลุงคิมทดลองให้พ่ออุ๋ยแม่อุ๊ยพูดตาม "ฟอสฟอรัส ไฟธอปเทอร์ร่า" เอาแค่พูดตามยังพูดไม่ได้เลย แล้วคุณจะสอนเขายังไงให้รู้เรื่อง แค่พูดตามยังพูดไม่ได้
กับอีกครา ไปลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี รอยต่อ กทม.-ปริมณฑล เหตุการณ์อีหร็อบเดียวกันเกิดขึ้นอีก....

“รายการสีสันชีวิตไทย ไม่อนุรักษ์ภาษาไทย พูดแต่ภาษาอังกฤษ ๆ ๆๆ”

ลุงคิมแก้ไขให้ ต่อไปนี้จะพูดแต่ภาษาไทย...

ลุงคิม : (ถามคนนั่งใกล้สุด) ไนโตรเจน ที่นี่เรียกว่าอะไร ?
สมช. : เหมือนกัน

ลุงคิม : (ถามอีกคน) ฟอสฟอรัส ที่นี่เรียกว่าอะไร
สมช. : ไม่ทราบ

ลุงคิม : (ถามอีกคน) โปแตสเซียม ที่นี่เรียกอะไร
สมช. : ไม่รู้

ลุงคิม : ตกลง พูดว่าตกลงนะไม่ใช่ โอเค. ต่อไปนี้จะพูดภาษาไทย....ใส่ปุ๋ย “เหมือนกัน ไม่รู้ ไม่ทราบ...” ก็มีนะบางที่เรียก “ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวท้าย.... ตัวแรก ตัวกลาง ตัวหลัง” แบบนี้แล้วมันจะรู้เรื่องกันไหม ?

สมช. : ก็ไม่รู้เรื่องอยู่ดี ทำไมไม่แปลเป็นภาษาไทยให้รู้เรื่องไปเลย

ลุงคิม : อืมมม อันนี้คุณต้องไปถามราชบัณฑิตสภาเอาเองนะ บ้านเมืองเราเอาภาษาชาติอื่นมาใช้ทั้งดุ้น แล้วบอกว่า “ทับศัพท์” ไงล่ะ

สมช. : จบ



172. เรียนเกษตรสไตล์สีสันชีวิตไทย :
ปรัชญาเกษตร :
* คือ หลักแห่งความรู้ และความจริงด้านการเกษตร
* ประเทศไทยมีกิจกรรมเกษตรให้เลือกทำมากที่สุดในโลก (+50 แบบ) แต่คนไทยไม่รู้จะทำอะไร ว่าแล้วทำตามข้างบ้าน
* ผู้ส่งเสริม มุ่งเน้นพุ่งเป้าไปที่ราคาในตลาด ไม่สนใจต้นทุนการผลิต .... ภาพลักษณ์ คือ ส่งเสริมธุรกิจ ขายปุ๋ย/ขายยา มากกว่า

* ผู้รับการส่งเสริม ต้นทุนสูงเพราะซื้อทุกอย่าง .... รู้ราคาตลาดล่วงหน้า แต่ไม่สนใจลดต้นทุนเพื่อเอากำไร
* งานส่งเสริม 5 W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) ไม่มี 1 H. (HOW)
* งานส่งเสริม NATO (NO ACTION TALK ONLY)
* ข่าวเกษตร ทีวี. เกษตรอินทรีย์-เกษตรอินทรีย์ แต่ไม่บอกว่าอินทรีย์ที่ว่า คืออะไร ? ทำจากอะไร ? ใช้ยังไง ? ฯลฯ ? .... คนดูจึงไม่รู้อะไรเลย

* ข่าวเกษตร ทีวี. ไม่ใช้สารเคมี-ไม่ใช้สารเคมี แต่ไม่บอกว่า ใช้อะไรแทน ? ทำจากอะไร ? ใช้ยังไง ? ฯลฯ ? .... คนดูจึงไม่รู้อะไรเลย

* ทำตามคนที่ล้มเหลวย่อมล้มเหลวยิ่งกว่า .... ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จยิ่งกว่า
* ปลูกขาย 100 ปีไม่รวย .... ทำปุ๋ยขาย 1 ปีรวยได้
* ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน รุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่รู้จักโตซักที (นรม.)
* ก่อนทำ-ระหว่างทำ-ก่อนขาย คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
* รู้คนละนิด เอามารวมกัน = รู้เยอะทุกคน
* กะรวยด้วยกัน จะรวยทุกคน .... กะรายกว่าคนอื่น จะจนอยู่คนเดียว
* ลิงญี่ปุ่น ปิดตา ปิดปาก ปิดหู .... ลิงไทย ปิดตา ปิดปาก ปิดหู ปิดใจ
* ยากหรือง่าย ทำได้หรือทำไม่ได้ อยู่ที่ใจ
* ความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่เชื่อมั่นในสิ่งที่ผิด ทำแล้วย่อมล้มเหลว
* ศึกษาส่วนที่จะเป็นปัญหาก่อน ศึกษาส่วนที่สำเร็จทีหลัง
* วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ “ป้องกัน”
* ธรรมชาติ ไม่มีตัวเลข-ไม่มีสูตรสำเร็จ-ไม่มีโวลลุ่ม-ไม่มีคันเร่ง แต่มี “ตามความเหมาะสม”
* มนุษย์เอาชนะธรรมชาติไม่ได้แต่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และแสวงประโยชน์จากธรรมชาติได้
*

ต้นทุน :
* รายจ่าย - ต้นทุ
น = กำไร
* ทำเอง VS ซื้อ
* ต้นทุนที่สูญเปล่า
* ต้นทุนท่วมราคาขาย
* ขาดทุน สาเหตุ/แก้ไข
* กำไร สาเหตุ/ขยายผล
* ที่นี่ที่เดียว ส่งเสริมลดต้นทุน ..... ที่อื่นทุกที่ ส่งเสริมราคาตลาด
* ยิ่งส่งเสริม เกษตรกรยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้ แต่ พ่อค้าปุ๋ย-พ่อค้ายา ยิ่งรวย ๆ ๆๆ
*

ลงทุน :
* ลงทุนครั้งเดียว
* พื้นที่น้อย ผลิตสินค้า "ราคาแพง" = กำไรมาก
* ทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียว VS ทำงานทั้งปีได้ขายหลายๆ ๆๆ รอบ
* หวังผล ระยะสั้น-ระยะปานกลาง-ระยะยาว
* เป้าหมาย ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ-ปริมาณ) ต้นทุนลด อนาคตดี
* คุณภาพ ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสารเคมี พันธะสัญญา คนนิยม .... VS .... เกรด ฟุตบาท
*

ความรู้ :
* เพิ่มพูนได้ เป็นมรดกติดตัวไปตลอดชีวิต ถ่ายให้ลูกหลานได้
* ทำได้โดยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
* ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรโดยตรง แต่เรียนด้วยตัวเอง ย่อมมีความรู้สาขาเกษตรได้
* ความรู้เรียนทันกันหมด
* LEARNING ALL THE LIVE
* วิชาการสูง สูงเท่าเดิม คนต้องขึ้นไปหา
* ความรู้ไม่มาหาเรา เราต้องไปหาความรู้
* ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
* หัวใจนักปราชญ์ยุค IT สุจิปุลิ-ฟังคิดถามเขียน .... อ่าน ดู ทำ ใช้ ขาย แจก เททิ้ง
* เกษตร ยากกว่า วิศวะ + แพทย์
* มีความรู้แค่โฆษณา
*

ความสามารถ :
* ทำได้โดยทำด้วยมือตัวเอง
* พรสวรรค์มี 1 พรแสวงมี 99
* เฮง 1 ส่วน เก่ง 99 ส่วน
*

โอกาส :
* คนเรา แพ้/ชนะ กันที่โอกาส
* คนที่จะช่วยเราได้ คือ คนในกระจก
* หลักการและเหตุผล
* แจ๊กหม่า คือ จีนประเทศเดียว แต่แจ๊คหม่ำ คือ คนกินทั่วโลก
*



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/08/2019 6:19 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 07/08/2019 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

173. กับดักตัวเอง :
ต้นตอแท้จริง คือ พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี ยึดติด กระแส สติ ไม่รู้ ไม่เรียน ไม่เชื่อ ไม่ลอง

ผลสำรวจกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง 20 ประเทศ ประเทศไทยมี “เทคโนโลยี-นวัตกรรม-ปัญญาประดิษฐ์” อันดับสุดท้าย เกษตรประเทศไทยทำแบบ “ทัศนคติ-วัฒนธรรม-ประเพณี” เดิมๆ ไม่ยอมรับว่าสูญเสียเพราะขาด “เทคนิค-เทคโนฯ” มหาศาล รุ่นต่อรุ่น รุ่นแล้วรุ่นเล่า ต้นตอหนึ่งของปัญหาคือ....

ไม่มีข้อมูลทางวิชาการ ไม่มีข้อมูลทางวิชาการเพราะไม่ได้เรียน ไม่ได้เรียนในโรงเรียนก็ไม่เรียนด้วยตัวเอง คือ อ่าน อ่านหนังสือ ....

ปุ๋ย กี่สูตร, กี่ชนิด แห้ง/น้ำ, กี่ประเภท ทางใบ/ทางราก, ....
ยา สมุนไพร กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชแต่ละชนิด แต่ละอย่าง แต่ละประเภท ....
เทคนิค (วิธีการ) - เทคโนโลยี (วิชาการ) ....
เครื่องทุ่นแรง ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ....
เป้าหมาย ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ), ต้นทุนลด (ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่าเวลา ค่าโอกาส), อนาคตดี (พันธะสัญญา), คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ เป็น, ความเชื่อมั่นในตัวเอง, ศักดิ์ศรีของตัวเอง ....

รายการสีสันชีวิตไทย ที่นี่ ส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือ การอ่านทำให้คนมีความรู้อย่างถาวร การอ่านทำให้การซึมซับข้อมูลได้มากและดีกว่าสื่อทุกชนิด

หัวใจนักปราชญ์ สุ-จิ-ปุ-ลิ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก อ่าน-ดู-ทำ-ใช้-คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ .... 1 H. HOW แทน W. WHO.

นักเขียน “ทมยันตี” บอกว่า คนอ่านหนังสือคือปัญญาชนที่แท้จริง เพราะคนอ่านหนังสือรู้จริง รู้อย่างมีเหตุมีผล ปลุกระดมไม่ขึ้น โฆษณาชวนเชื่อไม่สำเร็จ

ในความเป็นจริง คนเราเมื่อมีความรู้ จะทำอะไรก็ได้ ทำผิดหรือทำถูกก็รู้ ทำแล้วขาย ๆแล้วขาดทุนเพระอะไร แก้ไขยังไง ทำแล้วขาย ๆแล้วกำไร ต่อยอดขยายผลให้ดีขึ้นไปอีก ....

ปีใหม่ ได้ฤกษ์ให้ของขวัญ เขียนลายเซ็นไว้ที่หน้าปก ทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาอ่าน เห็นลายเซ็นก็จะระลึกถึงคนให้ ของขวัญชิ้นนี้อยู่ได้ตลอดชีวิตแถม เป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานเหลนโหลนอีกด้วย .... ว่ามั้ย

หนังสือ “หัวใจเกษตรไท มินิ + ไม้ผลแนวหน้า” 2 เล่มราคาแค่ 800 บาท ถูกกว่า “หัวใจเกษตรไท” 1,000 บาท



174. อนุรักษ์ VS ส่งเสริม :
นิยาม :
“อนุรักษ์”
คือ การ “ทำ/รักษา” ให้คงอยู่ด้วยสภาพเดิมมากที่สุด
“ส่งเสริม” คือ การสนับสนุน หรือ นวัตกรรม (สิ่งที่ประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังผลให้ “ประสิทธิภพประสิทธิผล” เหนือกว่าแบบเดิม

ที่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร โรงเรียนเกษตร โรงเรียนชาวนา ฯลฯ ทั้งของราชการและของเอกชนจิตอาสา จัดโครงการส่งเสริมการทำนาข้าวแบบ “อนุรักษ์” ในงาน สาธิต/โชว์ ด้วยของจริง
* ไถนาด้วยควาย
* ดำนาด้วยมือ
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ
* ใช้ยาฆ่าหญ้า
* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง

บนความเป็นจริง :
* ไถนาด้วยแรงงานสัตว์
... ด้วยควาย ใช้ควาย 1 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ด้วยวัว ใช้วัว 2 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ต้องเลี้ยง ควาย/วัว ไว้ทำนา เลี้ยงกี่ตัว ? เลี้ยงที่ไหน ? เลี้ยงยังไง ? คนเลี้ยงเอาที่ไหน ? ฯลฯ ? ...กะเหรี่ยงปะกากะญอ ใช้ช้างไถนา .... ติมอร์ ใช้ช้างไถนา.... อเมริกา ใช้ ม้า/ลา ไถนา....

* ดำนาด้วยมือ ... ในงานใช้คน 20-30 คน (จัดฉาก) .... นาส่วนตัว คนเดียว ทำไม่ได้
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ ..... เม็ดปุ๋ยไม่ได้ลงที่โคนกอข้าวสม่ำเสมอเท่ากันทุกกอ ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียวงาม กอไหนไม่ได้กอนั้นไม่เขียวไม่งาม ชาวนาบอกอ่อนปุ๋ยว่าแล้วหว่านเพิ่ม ผลคือ จ่ายเพิ่ม ดินเสีย

* ให้ปุ๋ย 2 ตัว .... ใช้ปุ๋ย 2 กส. (46-0-0+16-20-0 = 100 กก.) /ไร่ ต้นข้าวได้ปุ๋ยแค่ 2 ตั้ว คือ N. P. เท่านั้น ทั้งๆที่ต้นข้าว (พืชทุกชนิด) ต้องการปุ๋ย (ธาตุ/ธาตุอาหาร/สารอาหาร) 16 ตัว ....

ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี ให้ยูเรียวันนี้ เขียวได้ใน 2-3 วัน

แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน (ใบเขียวถึงวันเกี่ยว) ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง)
* นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 20-30 กก. .... ต้นทุน กก.ละ 30 บาท
* ใช้ยาฆ่าหญ้า .... หญ้าไม่ตาย แค่ใบไหม้ แล้วงอกใหม่.... หญ้าถูกตัดงอกใหมได้ โตกว่าเก่าเพราะ เหง้า/หัว/ไหล ยังอยู่แถมใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง .... จ่ายแพง ฆ่าแมลงได้แต่ต้นข้าวเสียแล้วเสียเลย

ทุกอย่างแสดงแบบโบราณเรียกว่า “อนุรักษ์นิยม” น่าจะแถมเพิ่มการไถนาด้วยช้าง ด้วยวัว ด้วยควาย ด้วยม้า จึงจะถือว่าสมบูรณ์แบบ

เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก การทำนายุคปัจจุบัน เพื่อ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วนำไปใช้ไปปฏิบัติ:
* ไถนาโดยการย่ำเทือกประณีตด้วยรถไถเดินตาม หรือรถไถนั่งขับ
* ติดตั้งถังขนาด 80-100 ล. ที่หน้ารถไถ ใส่ “น้ำ +ปุ๋ยนาข้าว +น้ำหมักชีวภาพ” ติดก๊อกที่ก้นถัง 2 ก๊อก ซ้าย-ขวา ท้ายรถไถติดตั้ง อีขลุบ/ลูกทุบ .... วิ่งรถไถ ไขก๊อกถังปุ๋ย ปล่อยน้ำปุ๋ยให้ไหลลง มาก/น้อย-ช้า/เร็ว ตามความเหมาะสมจำเป็น เมื่อรถไถออกวิ่งจะลาก อีขลุบ/ลูกทุบ นอกจากช่วย ย่ำ/บด ขี้เทือกแล้ว ยังช่วยกระจายน้ำปุ๋ยทั่วแปลงทุกตารางนิ้วด้วย

* ย่ำเทือกประณีต (รุ่นแรก) โดยย่ำ 2-3-4 รอบ ช่วยกำจัด “หญ้า/วัชพืช” ให้ตายได้แน่นอน (ยาฆ่าหญ้าทำได้เพียงใบไหม้ ไม่นานก็งอกใหม่) ระหว่างต้นข้าวโต ให้ถอนแยก “หญ้า/วัชพืช/ข้าวปน” แบบนี้งานย่ำเทือกประณีตสำหรับนารอบต่อไปจะน้อยรอบลง

* ทำนาหยอด ด้วยเครื่องหยอดไทยประดิษฐ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ 2-3 กก./ไร่
* เครื่องหยอดเมAล็ดแบบ “คนลาก/รถไถเล็กลาก” ทำงานได้วันละไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ด้วยแรงงานเพียงคนเดียว MADE IN THAILAND

* บำรุงต้นข้าวให้ปุ๋ยทางราก (หว่านลงดิน) 10 กก./ไร่ ให้ปุ๋ยทางใบ +สารสมุนไพร 7-10 วัน
* ฉีดพ่นสารสมุนไพรล่วงหน้า “กันก่อนแก้” ก่อนศัตรูพืชเข้ามา
* แก้ปัญหาทุกรายการที่ “โรงสีหรือผู้ซื้อ” ตัดราคา
* ผลิตข้าวตามตลาดต้องการ เช่น ข้าวปลูก แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
* ทำ “ปุ๋ย-ยา-เมล็ดพันธุ์” ใช้เองเพื่อลดต้นทุน
หมายเหตุ :
- ใช้ผานโรตารี่ แทนผานจาน
- ทำเทือกนาแบบไม่ต้องไถ แต่ใช้วิธีย่ำเทือกประณีต
- ออกแบบสร้าง อีขลุบ/ลูกทุบ/โรตารี่ 3 ล้อ ล้อแรกกับล้อท้ายหมุนทางเดียวกัน ล้อกลางหมุนย้อน การหมุนสวนกันจะช่วยงานตีเทือกทำได้ดีขึ้น มากกว่าการหมุนตามกัน หรือมีเพียงล้อเดียวหลายเท่า

- ติดสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด ที่มุมคันนา ใช้ถัง 200 ล.บรรจุ “น้ำ+ปุ๋ย+ยา” ฉีดพ่นได้ครั้งละ 4 ไร่ (4 มุม)
- ลดปุ๋ยทางราก แล้วใช้ “ปุ๋ย+ยาสมุนไพร” ทางใบแทน
- สร้างแปลงแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ

เปรียบเทียบ นาดำมือ นาดำเครื่อง นาหยอด นาหว่าน :
นาดำมือ :
เตรียมกล้า, ใช้แรงงานมาก
นาดำเครื่อง : เตรียมกล้า, หาเครื่องดำยาก, เครื่องดำราคาแพง, ซื้อต่างประเทศ
นาหยอด : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้แรงงานน้อย, หาเครื่องหยอดยาก, เครื่องหยอดราคาถูก, ไทยทำ
นาหว่าน : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้เมล็ดพันธุ์มาก, ใช้แรงงานมาก,




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 11:32 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 08/08/2019 3:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

175. ชาวนายุคใหม่ :
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
- เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
- เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
- เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน


176. ผักโรงเรือน :
จาก : (091) 702-34xx
ข้อความ : อยากให้ลุงคิมเล่าประสบการณ์ตรงการปลูกผักกางมุ้งว่า สำเร็จหรือล้มเหลวย่างไร มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร มีที่อยู่สระบุรี 10 ไร่ น้ำบริบูรณ์ตลอดปี .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- จำคติสอนใจ หรือหลักปรัชญา หรือภาษิต 10 ล้อ ได้ไหม ที่ว่า....

* ศึกษาส่วนที่เคยเป็นปัญหา ส่วนที่จะเป็นปัญหาก่อน แล้วค่อยศึกษาส่วนที่สำเร็จทีหลัง .... หมายความว่า จะทำอะไรซักอย่างแล้วไม่มีปัญหาเป็นไม่มี เมื่อรู้ว่าปัญหาจะต้องเกิด หรืออาจจะเกิด ก็จัดการป้องกันล่วงหน้าซะก่อน แล้วปัญหานั้นจะไม่เกิด เมื่อปัญหาไม่เกิดย่อมเกิดความสำเร็จเป็นธรรมดา ในทางกลับกัน หากทำๆไป เกิดแต่ปัญหาๆ ๆๆ ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง ปัญหาไม่คาดคิด ปัญหาซ้ำซาก เดี๋ยวก็ต๊อแต๊ ลงท้ายคือ ไม่สำเร็จ ล้มเหลว เป็นหนี้เป็นสิน .... พูดถึงปัญหาการเกษตรแล้ว ต้องยอมรับว่า บางปัญหาเกิดแล้วแก้ได้ บางปัญหาเกิดแล้วแก้ไม่ได้ต้องทิ้งไปเลย

* ทำตามคนที่ล้มเหลว ย่อมล้มเหลวยิ่งกว่า .... หมายความว่า ไม่มีความรู้ที่เป็นหลักวิชาการ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งอาจจะหลงตัวเอง หลงกระแส ที่พระท่านเรียกว่า “โลภ-โกรธ-หลง” ประมาณนั้นนั่นแหละ ยกตัวอย่างง่ายๆ ชาวนา

** เห็นนาข้างๆใส่ยูเรีย ใส่ตาม ข้างบ้านใส่ 1 สอบ ใส่ 2 สอบ คิดว่า ข้ารู้มากกว่า ข้ารวยกว่า
** เห็นแปลงข้างๆ ฉีดสารเคมี ฉีดตาม ใช้สารเคมีที่แรงกว่า แพงกว่า คิดว่า ข้ารู้มากกว่า ข้ารวยกว่า
* ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จยิ่งกว่า .... หมายความว่า มีความรู้ที่เป็นหลักวิชาการ มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่หลงตัวเอง ไม่หลงกระแส ที่พระท่านเรียกว่า “สติสัมปชัญญะ” ประมาณนั้นนั่นแหละ ยกตัวอย่างง่ายๆ ชาวนา เหมือนกัน

**** เห็นนาข้าวแปลงข้างๆ ใส่ยูเรีย 1 กส. รู้ทันทีว่ายูเรีย คือ ไนโตรเจน.เพียงตัวเดียวเท่านั้น ว่าแล้วก็ใส่ปุ๋ยเคมีให้ครบทั้ง 3 ตัว ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม. แค่ครบ 3 ตัวไม่พอ ต้องมีอัตราส่วนระหว่าง 3 ตัวนี้ด้วย คือ ไนโตรเจน.ตัวหน้าสูง ฟอสฟอรัส.ตัวกลางต่ำ โปแตสเซียม.ตัวท้ายต่ำ นั่นคือสูตร 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 30-10-10 แล้วใส่แค่ 10 กก./ไร่ ตามหลักวิชาการที่ IRRI ศูนย์วิจัยข้าวโลก .... นอกจากปุ๋ยเคมีแล้วต้องมี “ปุ๋ยอินทรีย์” ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพสูง หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “ดินกินปุ๋ย” นั่นแหหละ แม้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ก็ยัง คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ อีกว่า ในความเป็นอินทรีย์นั้นมีสารอาหารพืช มีจุลินทรีย์หรือไม่ ถ้ามี มาจากไหน ชื่ออะไร มีเท่าไหร่ อีกหลายๆ อย่างที่ต้องมีหลักวิชาการรองรับยืนยัน

**** พืชแต่ละอย่าง แต่ละชนิด แต่ละระยะการเจริญเติบโต และแต่ละปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพาะปลูก (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ไม่เหมือนกัน เช่น ผักกินใบ-ผักกินผล-ผักกินหัว, พืชไร่-นาข้าว, ไม้ผลพันธุ์เบา-พันธุ์หนัก ซึ่งจะโยงใยสายสัมพันธ์ไปถึงรูปแบบการบำรุง อินทรีย์นำ-เคมีเสริม หรือ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม หรือ อินทรีย์เกาะขอบ อินทรีย์ตกขอบ เป็นต้น

กรณีผักกางมุ้งถือเป็นแค่ 1 ทางเลือกเท่านั้น นั่นหมายความว่ายังมีแบบ ปลูกผักในที่โล่ง ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์แบบน้ำวนน้ำนิ่ง ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ให้เลือกได้อีก

ใหม่ๆ ฮือฮากันมาก แทบทุกหน่วยงานส่งเสริม เชียร์ว่าผักกางมุ้งดียังงั้นดียังงี้ กางมุ้งแล้วจะไม่มีศัตรูพืชเลย ยังกับว่า มุ้งป้องกันศัตรูพืชได้แน่นอน 1,000% ประมาณนั้นนั่นแหละ ชาวสวนผักคล้อยตาม กางมุ้งกันยกใหญ่ แค่ปีสองปี มุ้งยังไม่ผุ สัจจะธรรมธรรมชาติก็ปรากฏออกมา ถึงวันนี้ ผลงานผักกางมุ้งไปไม่รอด ไม่ใช่เพราะมุ้งแต่เป็นเพราะโรค โรคในมุ้ง สารพัดโรครุมเร้ากันเข้าไปในมุ้ง ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่ส่งเสริมไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้ว่า ภายในมุ้งน่ะ อุณหภูมิในดิน สูงกว่านอกมุ้ง 4 องศา ซ. อุณหภูมิที่สูงกว่าระดับนี้ ส่งเสริมให้เชื้อโรคในดินเจริญเติบโตขยายพันธุ์ดีกว่าภายนอกมุ้ง เป็นผลให้ผักกางมุ้งไม่มีโรคบนส่วนที่อยู่เหนือดิน แต่ส่วนที่อยู่ไต้ดิน ที่รากที่โคนต้น โรคเพรี่ยบ เมื่อมีเชื้อโรคในดินก็ต้องสารเคมีใช่ไหม

ในมุ้งน่ะ ไม่มีก็แต่หนอนเท่านั้น เพราะแม่ผีเสื้อบินเข้าไปวางไข่ในมุ้งไม่ได้ แต่ในมุ้งมีแมลงปากกัดปากดูด ประเภทตัวเล็กกว่าตาข่ายมุ้งเข้าไปได้ เพลี้ยไฟ-ไรแดง ไงล่ะ นี่ก็อุตส่าห์เอากับดักกาวเหนียวไปดัก ได้ผลดี

ถึงวันนี้ คนที่เคยส่งเสริมผักกางมุ้งพากันเงียบกริบ เหมือนส่งเสริมเสียบ ยอดส้ม/ยอดมะนาว บนตอมะสัง มะขวิด เลี้ยงได้แค่ปีสองปีกลายเป็นตีนช้าง ตอโตแต่ยอดตาย นั่นเป็นเพราะงานวิจัยยังไม่ได้สรุป รีบงัดออกมาส่งเสริม เหมือนกางมุ้งให้ผักนี่แหละ .... โถ ประเทศไทย

* ข้อดี :
- ป้องกันหนอนได้ เพราะแมลงแม่ผีเสื้อตัวใหญ่ เข้าวางไข่ไม่ได้
– ไม่ต้องฉีดสารเคมีกำจัดหนอน เพราะหนอนไม่มี
- เก็บรักษาความชื้นหน้าดิน ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ได้ดี
- โก้ น่าเชื่อถือ

* ข้อเสีย :
- ต้นทุนโรงเรือนสูง
- ป้องกัน เพี้ยไฟ-ไรแดง ไม่ได้
– ป้องกันแมลงมุดดิน เข้าไปในโรงเรือนไม่ได้
- ป้องกันโรคทางดินไม่ได้ เพราะอุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่านอกโรงเรือน
- ประเภทผักสลัด ตลาดแคบ เพราะคนกินน้อย
- ประเภทผักไทย น้ำหนักน้อย คุณภาพไม่ดี เพราะในโรงเรือนแสงแดดน้อย

* ใครได้ :
- คนขายมุ้ง
- คนขายสารเคมีกำจัด เพลี้ย/ไรแดง และเชื้อโรคในดิน

* ใครเสีย :
- คนปลูกผัก
- วันดีคืนไม่ดี พายุมา โรงเรือนไม่แข็งแรงจริง พังพาบกับพื้น
– เลิกปลูกผักแล้ว เอามุ้งไปทำอะไร

* ผักกางมุ้ง บ.ยักษ์ใหญ่ ที่เมืองกาญจน์ โรงเรือนหลังละล้าน ปลูกแตงโม มะเขือเทศ สารพัดโรคแมลงศัตรูพืชที่ ใบ-ยอด-เถา-ผล เต็มไปหมด ไม่เห็นก็แต่รากในดินเท่านั้น เลยไม่รู้ว่า กางมุ้งในโรงเรือนแล้วช่วยอะไรได้บ้าง ราคาโรงเรือนขนาดนั้น ปลูกแตงโม มะเขือเทศ กี่รุ่นถึงจะได้ทุนคืน

* ผักกางมุ้งที่บางแค เนื้อที่ 3 ไร่ กลางวันกางเสร็จ กลางคืนพายุมา มุ้งราคา 5 แสนลงไปกองเอ๊าะเยาะกับพื้น
* กะเพรา-โหระพา-แมงลัก ในโรงเรือน ที่ทับยายเท้า นครปฐม ส่งออกสวิสส์เซอร์แลนด์ ปกติเปิดข้างโรงเรือนเพี่อระบายอากาศ วันไหนบริษัทรับซื้อมาตรวจก็จะปิดโรงเรือน

* ผักกางมุ้งดอกเตอร์ที่รังสิต 5 ปี ขาดทุนกว่า 5 ล้าน เพราะผักถูกตีกลับเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ก็ไหนว่ากางมุ้งแล้วปลอดสารพิษไงล่ะ กับส่วนหนึ่งผักตกเกรด เพราะไม่ได้ไซส์ ที่ไม่ได้ไซส์เพราะไม่สมบูรณ์ ....

* แปลงผักของภิรมย์ อ.เมือง ปทุมธานี ทำผักแนว อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ใช้สารสมุนไพร ไม่กางมุ้ง ส่งตลาดรังสิต แค่ 3 ปีถอยปิ๊คอั๊พป้ายแดง มาให้ลุงคิมเจิม โถๆๆ ลุงคิมไม่ใช่พระ ภิรมย์เล่าให้ฟังว่า ดอกเตอร์เอาผักที่แปลงนี่แหละไปส่งให้ลูกค้าตามสัญญา .... ดอกเตอร์เห็นสารสมุนไพรหมักในโอ่ง ถามว่า “มันจะได้ผลเหรอ ?” ภิรมย์ตอบว่า “ไม่รู้ซิครับ ผมก็ใช้ของผมอยู่เนี่ย...” ดอกเตอร์เหลือบไปเห็นคะน้าฮ่องเต้ กวางตุ้งฮ่องกง แล้วพูดว่า “ภิรมย์ นี่มันผักเมืองหนาวนะ ปลูกไม่ได้หรอก...." ภิรมย์ก็ว่า “ไม่รู้ซิครับ พรุ่งนี้แม่ค้ามารับ โลละ 45 ครับ...”

ระดับดอกเตอร์ รู้แค่นี้ ทำได้แค่นี้ ก็สมควรขาดทุน 5 ล้านหรอก .... ว่ามั้ย


177. อินทรีย์ ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี :
* เตรียมดิน : ธันเดอร์แคล, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. .... ไถพรวนให้ละเอียด ชักร่องเป็นร่องลูกฟูก คลุมสันแปลงด้วย ไถดะไถแปร ใส่ยิบซั่ม แห้งหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี 2 ล. /ไร่ ปล่อยไว้ (บ่มดิน) 20-30 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน และสร้างสารอาหารรอไว้ก่อน

* เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน“น้ำอุ่น 50 องศา ซ. 1 ล. + แบลนด์ซุปไก่ 1 ซีซี.” นาน 8-12 ชม.
– ครบกำหนดแล้วนำขึ้นห่มชื้น 24-32-48 ชม. เมล็ดไหนเริ่มมีรากออกมาให้นำไปเพาะในกระบะเพาะ
- บำรุงกล้าในกระบะเพาะ ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี 1 ครั้ง

*บำรุง :
- ให้ “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี 20 ซีซี. + นมสด 20 ซีซี. + สารสมุนไพร 50 ซีซี.” ทุก 5-7 วัน

- ให้สารสมุนไพรเดี่ยว ทุกวันเว้นวัน รวมกับ ไอพีเอ็ม (กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ)
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ผักกินใบ :
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี ฉีดอาบจากใบลงถึงพื้นดินโคนต้น
- ผักกินผล : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี ทางราก ทุก 15 วัน.... ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป สูตรปรับโมเลกุล/ไม่ปุ๋ยเคมี ทางใบ ทุก 7 วัน

- ให้เสริมด้วยปุ๋ยธรรมชาติ เช่น เศษอาหารก้นครัว, น้ำมะพร้าว, นมเหลือง, เลือดสด, ขี้เพี้ย, น้ำล้างเขียงปลา, เต้าหู้, น้ำต้มกระดูก,

* ป้องกันกำจัดศัตรูพืช :
- ติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม
- ให้"น้ำเปล่า" หรือ"น้ำ + ปุ๋ย" หรือ "น้ำ + ปุ๋ย + ยาสมุนไพร" หรือ "น้ำ + สมุนไพร" บ่อยครั้งต่อวันเท่าที่ต้องการ
- ใช้ระบบ ไอพีเอ็ม. (กับดักกาวเหนียว + แสงไฟล่อ, ปลูกพืชกลิ่นไล่แซมแทรก,



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 11:29 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 08/08/2019 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
178. นาข้าวไบโอไดนามิก :
ประวัติดิน :
เคยทำนาแบบไถกลบฟาง งดใช้สารกำจัดวัชพืช-หอยเชอรี่-ปูนา-หนูนา และ สารเคมีกำจัดโรคและแมลงติดต่อกันมาก่อน 1-2 ปี หรือ 2-4 รุ่นนาข้าว เคยได้ผลผลิต 100 ถัง/ไร่

1.เตรียมสารอาหาร :
ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8 (10 กก./ไร่ สาดให้ทั่วแปลงระดับน้ำลึก 1คืบมือ ทิ้งไว้ 10-20 วัน

2. ทำเทือก :
ย่ำเทือกพร้อมฟาง (ย่ำกลบฟาง) ด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ แล้วปรับเรียบหน้าเทือกให้เสมอกันทั่วแปลง ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้ง

3. ปลูก :
ปักดำต้นกล้าด้วยมือ หรือปักดำต้นกล้าด้วยเครื่อง(รถ)ดำนา หรือหยอดเมล็ดด้วยเครื่องหยอดเมล็ด ทั้งนี้ นาข้าวแบบดำให้ผลผลิต (คุณภาพและปริมาณ)– ต้นสมบูรณ์-แข็งแรง-แตกกอ-ออกรวง-ลดค่าใช้จ่าย มากกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด)

4. บำรุง :
- ระยะกล้า

เริ่มให้เมื่ออายุข้าวได้ 20-30 วัน ให้ฮอร์โมนน้ำดำ อัตรา 1 ล./ไร่ โดยฉีดพ่นให้โชกผ่าน
ต้นและใบลงถึงพื้น ให้ 2-3 รอบ แบ่งให้รอบละเท่าๆกัน ให้ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ระยะแตกกอ :
สังเกตถ้าลำต้น กลมแข็ง -ใบเขียวเข้ม ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี แต่ถ้าลำต้น แบนนิ่ม ใบเขียว
อ่อน ให้ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก) 2 ล.+ 16-8-8 (10
กก.)/ไร่ โดยละลายน้ำฉีดพ่นให้โชกผ่านต้นและใบลงถึงพื้น

หมายเหตุ :
ระยะนี้ถ้าต้นสูง ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-65 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วัน จากนั้นจึงเริ่มลงมือให้ฮอร์โมนไข่ไทเป

ระยะตั้งท้อง : ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป อัตรา 1 ล./ไร่ ละลายน้ำฉีดพ่นให้โชกผ่านต้นและใบลงถึงพื้น ให้ 2 รอบ แบ่งให้รอบละเท่าๆ กัน ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ระยะออกรวง : เมื่อต้นข้าวเริ่มออกรวงยาวประมาณ 1-2 ซม.(หางแย้) เนื้อที่ประมาณ 1 ใน4 ของทั้งแปลง ให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ 100 ซีซี. 1 รอบ ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ จะช่วยให้การผสมติดของเกสรดีขึ้น

ระยะน้ำนม : ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 2 ล./ไร่ โดยฉีดให้โชกพ่นผ่านต้นและใบ ลงถึงพื้น ให้ 4 รอบแบ่งให้รอบละเท่าๆ กัน ห่างกันรอบละ 7-10 วัน.....ระยะนี้ถ้าให้ แคลเซี่ยม โบรอน + ไคโตซาน. 1 รอบ ช่วงเริ่มเป็นน้ำนมใหม่ๆ จะช่วยให้ต้นไม่โทรม ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้ธาตุแม็กเนเซียมช่วยสร้างคลอโรฟิลด์ สังกะสีช่วยสร้างแป้ง และแคลเซียมช่วยสร้างคุณภาพเมล็ด

ป้องกันโรคและแมลง :
ฉีดพ่น สารสกัดสมุนไพรทำเอง (เลือกสูตรที่ตรงกับโรคและแมลง) ทุก 5 วัน (ช่วงที่ยังไม่มีการระบาดเพื่อป้องกัน) หรือฉีดพ่นทุก 3 วัน (ช่วงที่แปลงข้างเคียงกำลังเกิดการระบาดอย่างหนักเพื่อป้องกัน)

ระดับน้ำ :
ควบคุมระดับน้ำให้พอเฉอะแฉะหน้าดิน ตั้งแต่ระยะแตกกอ ถึง เก็บเกี่ยว


179. ส้มรังสิต :
จาก : สมช. สวพ. FM 91 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ส้มเขียวหวานเมืองน่าน ไม่ออกดอกติดผล แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- รายละเอียดในคำถามน้อยไปหน่อย ต่อให้ ศ.ดร. ก็ให้คำตอบไม่ได้
- ยังไงก็แล้วแต่ ไม่ใช่แต่ส้มเขียวหวานเมืองน่าน จังหวัดเดียว ส้มเขียวหวานนราธิวาส เชียงราย กรุงเทพ อุบล กาญจน์บุรี เหมือนกันหมด ส้มเขียวหวานคือส้มเขียวหวาน หมายรวมไปถึงต้นไม้ผลอื่นๆ ทุกมะ ตั้งแต่ มะ ก.ไก่ ถึง มะ ฮ.นกฮูก ทั้งในประเทศไทย ถึงทั่วโลก เหมือนกันทั้งสิ้น คือต้องการปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริงของเขา หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งใน 6 ปัจจัย ไม่เหมาะสมย่อมส่งผลเสียต่อต้นไม้ที่ปลูกนั้น ไม่ตายก็ไม่โต ถึงโตก็ไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตก็ไม่มีคุณภาพ

- รู้ว่าคำถามนี้ต้องการคำตอบเพียงคำตอบเดียว คือ ใส่ปุ๋ยอะไรแล้วออกดอกติดลูกได้เลย ขอตอบว่า ในโลกนี้ไม่มี ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษที่สามารถบันดาลให้ต้นไม้ผลออกดอกติดผลได้เลย โดยไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามีปุ๋ยวิเศษจริง ให้ปุ๋ยอะไรก็ได้ อย่างเดียวเดี่ยวๆแล้วออกดอกติดผลได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการเกษตร.....ว่ามั้ย

- พืชตระกูลส้ม ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน ส้มโอ ส้มเช้ง มะนาว มะกรูด ออกดอกติดผลได้ตลอดปี แบบไม่มีรุ่น ต้นสมบูรณ์มากออกมาก ต้นสมบูรณ์น้อยออกน้อย ตอบสนองต่อ แม็กเนเซียม-สังกะสี อย่างมาก จึงควรให้สม่ำเสมอ ตลอดปี ทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น

- ส้มเขียวหวานเมืองน่าน ส้มเขียวหวานรังสิต แท้จริงก็คือ ส้มเขียวหวานบางมด นี่แหละ เหมือนส้มโชกุนจากยะลาไปอยู่เชียงราย เปลี่ยนชื่อเป็นส้มสีทอง ความที่อากาศเมืองน่าน เมืองเชียงราย หนาวเย็นกว่าภาคกลาง หนาวเย็นกว่ายะลา ผิวของส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน จึงออกเหลืออร่ามดีกว่าถิ่นเดิม แต่เนื้อในคุณภาพเหมือนกันทุกประการ

- ส้มเขียวหวานเมืองน่าน เมืองแพร่ อยู่มาจนถึงวันนี้อายุต้น 40-50 ปี ยังไม่ตายแถมยังให้ผลผลิตดีเหมือนเดิม แล้วส้มเขียวหวานย่านรังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง วังน้อย อายุแค่ 4 ปีก็ตายแล้ว ชาวสวนส้มเขียวหวานรังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง วังน้อย ย้ายไปกำแพงเพชร กับอีกหลายๆที่ ปลูกได้ 4 ปีก็ตายเหมือนเดิม....เพราะอะไร ?

- ก็ให้น่าหนักใจ การเอ่ยชื่อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/จุลินทรีย์ อะไรซักอย่าง แบบพูดตรงๆให้รู้เรื่องกันเลยนั้น ทำไม่ได้เพราะไม่เหมาะสม เสียมารยาท จะกลายเป็นเข้ามาแฝงโฆษณา ทางออกของผู้ฟัง คือ โทรสายตรงถึงลุงคิม แล้วจะบอกให้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ปุ๋ยที่ลุงคิมทำเท่านั้น ยี่ห้ออื่นก็บอกได้

- ติดตามรายะเอียดวิธีการเล่นกับส้ม ทุกส้ม ได้จากเน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 11:26 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 27/08/2019 8:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
..
180. รด.นิติศาสตร์

181. รด.รร.วัดเขมาฯ
182. นนส.ป. สอบตก
183. รด.ขาดฝึก
184. นนส.ป. ขว้างระเบิด
185. กล้องเล็ง M.16

186. กล่องเก็บปลอกกระสุน M.16
187. พลทหาร ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย
188. รายการวิทยุ รับทหารใหม่
189. เกษตรกรวันหยุด
190. นนส.100 คน ตก 94 คน

191. วังน้อย ภารกิจเฉพาะ
192. เก่งเกิน
193. 2 ขั้น ขั้นครึ่ง
194. สถานการณ์ตัวกำหนด
195. สมการเกษตร คิดได้ไง

196. ปุ๋ยทางใบ ให้ทางใบ
197. ทำ VS ไม่ทำ
198. เกษตรในร่ม
199. จับกวาง

แผลงแผลง แต่สร้างสรรค์
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง
เกษตรแฟนซี
คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน
ความรู้ VS ความคิด
วิชาการ VS ประสบการณ์
ช่างสังเกตุ VS ช่างจับผิด
หนี้สิน VS ทรัพย์สิน
นักคิด VS นักทำ
ฯลฯ


-----------------------------------------------------------------------



200. ส่วนลึกของใจ

คำถามที่รอคำตอบ ....
- โครงการส่งเสริมการเกษตร, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี, ศูนย์การเรียนรู้, ภายในโครงการประสบความสำเร็จ = ยอมรับ.... แต่แปลงเกษตรของชาวบ้านติดรั้วโครงการไม่ทำตาม ประสบความล้มเหลวในชีวิตเกษตรกรรม

- นักเรียนเกษตรสาขาพืช ปฏิเสธ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย, ทำปุ๋ย/ทำยา, เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
- ศูนย์ส่งเสริมทำนาให้ดำนาด้วยมือ ปฏิเสธ รถดำ เครื่องหยอด

- โครงการส่งเสริมเกษตรกร มุ่งเน้นแต่ตลาด (ราคาผลผลิต) ไม่ส่งเสริมการบริหารต้นทุน
- โรงเรียนเกษตรที่ดีที่สุด คือ แปลงเกษตร ........ ครูเกษตรที่ดีที่สุด คือ แปลงเกษตร

- ทั่วโลกตระหนักรู้ถึงพิษภัยสารเคมีการเกษตร .... ประเทศไทยต่อต้านสารเคมีอย่างแผ่วเบา
- หน่วยงานเจ้าของทฤษฎี IPM ปฏิบัติการ เชิงรับ มากกว่า เชิงรุก

- ประเทศไทยประเทศเกษตรน่าจะมีช่อง ทีวี.เพื่อการเกษตร ที่เน้น H. มากกว่า W โดยรัฐยอมขาดทุน เพื่อเป็นรัฐสวัสดิการ เหมือนรถเมล์ รถไฟ

KIM ZA GASS
(081) 913-4986





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/11/2021 6:20 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 14/09/2024 8:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©