kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11635
|
ตอบ: 07/01/2020 6:52 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 7 JAN... * นาข้าว-ปุ๋ย |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 7 JAN
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย :
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ :
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม "...?..."
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
สนับสนุนรายการโดย :
*บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/
* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
----------------------------------------------------------------------------------
จาก : (089) 116-73xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน อาจารย์ให้เขียนรายงานเรื่องปุ๋ยใช้กับนาข้าว ข้อดี ข้อเสีย วิธีแก้ไข ขอรายละเอียดค่ะ .... ขอบพระคุณค่ะ
จาก : (088) 629-15xx
ข้อความ : รายงานผล นาข้าว 25 ไร่ตามแนวผู้พัน ใช้ปุ๋ยไบโออิอย่างเดียว ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวไม่แกร่งไม่ใส ข้าวสี น้อยมาก น้อยกว่าเมื่อก่อนหลายสิบเท่า ใช้สารสมุนไพรทำเองจนถึงเกี่ยว ได้ข้าว 27 เกวียน ประหยัดค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ขอบคุณผู้พันมากครับ .....
จาก : (099) 720-41xx
ข้อความ : รัฐบาลประกันราคาข้าวตันละ 15,000 แต่โรงสีจ่ายแค่ 12,000 อ้างว่าข้าวเสีย คุณภาพต่ำ ต้องตัดราคา แบบนี้รัฐบาลไม่ต้องประกันดีกว่า ผู้พันว่าไหม ?..
ตอบ : ...
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
สายตรง สมช. ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี 2 สาย ถามเรื่องนาข้าว ยูเรีย 16-20-0....
ยูเรีย 46-0-0 :
- สร้างใบแต่ใบเขียวอ่อน เขียวไม่นานก็กลับเขียวอ่อนเหมือนเดิม
- สร้างต้น ทำให้ต้นสูง ต้นจึงล้ม
- ไม่แตกกอ ข้าวทั้งกอจึงมีต้นเดียว นั่นคือ 1ต้น 1ลำ 1รวง รวงละ 50 เมล็ด
- ไม่สร้างแป้ง ข้าวจึงเป็นเมล็ดลีบ
- ต้นอวบอ้วน ล่อ เพลี้ย/แมลง/รา
16-20-0 :
- เพิ่มไนโตเจน (ตัวหน้า) โดยไม่จำเป็น ทำให้ไนโตรเจนเกิน
- ใช้ฟอสฟอรัส (ตัวกลาง) โดยไม่จำเป็น เพราะยังไม่ถึงระยะออกรวง
- ไม่มีโปแตสเซียม (ตัวท้าย) เมล็ดข้าวจึงไม่แกร่ง ไม่ใส น้ำหนักไม่ดี
แม็กเนเซียม :
- ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ ใบข้าวจึงเขียวนาน เขียวทน เขียวจนถึงวันเกี่ยว
- ผนังเซลล์ (ใบ ต้น) แกร่ง แมลงปากกัดปากดูดประเภทเพลี้ยไม่ชอบ
- เสริมการทำงานของธาตุเหล็ก ทำให้ข้าวมีน้ำหนักดี
สังกะสี :
- สร้างแป้งโดยตรง ข้าวจึงเมล็ดเต็ม เมล็ดแกร่ง เมล็ดใส น้ำหนักดี ไม่ท้องไข่
- บำรุงต้นข้าวสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงฉับพลันได้ดี
- สร้างธาตุอาหารทำให้ข้าวมีค่าทางโภชนาการสูง
เทคนิค ปุ๋ยนาข้าว :
ทำ....
ถูก = ได้ ....
ผิด = เสีย....
เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน กล้าขยัน (เน้นย้ำ...ขยัน) ฉีดพ่นทางใบ ไบโออิ (Mg Zn TE)+ยาน็อค (สาร
สมุนไพรรวมมิตร) อาทิตย์ละครั้ง อย่างช้า 10 วันครั้ง .... ไหวไหม ?
-----------------------------------------------------------------------------------
จาก : (086) 184-29xx
ข้อความ : อยากให้ลุงคิมสรุปข้อเสียของยูเรียต่อต้นข้าว เท่าที่ลุงคิมมีข้อมูล .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
สไตล์เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บรรทัดตอบ 1 หน้า ถาม 1 ข้อตอบ 10 ข้อ .... O.K. ?
ในหนังสือหัวใจเกษตรไท ห้อง 3 เทคโนโลยี เขียนไว้ว่า ....
** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี
** ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ คิวซี คิวอาร์ จีเอพี จีเอ็มพี ไอเอสโอ ขึ้นห้าง สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี ออกนอกฤดู คนนิยม จองล่วงหน้าข้ามปี
** เครื่องทุ่นแรง ประหยัดฯ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน
** นาข้าว 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้านแล้ว ยังเหลือ 2 ล้าน VS ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท
** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000 VS ชาวนาไทย ต้นทุน 13,000 ขายได้ 100,000
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้น ไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี.สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ...ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม ละฮอร์โมน...ต้นทุนลดลงแต่ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ยูเรีย+16-20-0
อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.
- ข้อเสียของยูเรีย.ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ....คนขาย นักวิชาการเชิงพาณิช ไม่เคยพูด ไม่เคย บอก คือ....
* ยูเรียต่อต้น ....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด
* ยูเรียต่อเมล็ด .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา
* ยูเรียต่อสารอาหาร ...ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
- ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 30-10-10 หรือ 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ....ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบ ด้วย ไนโตรเจน 6. 0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก. (อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้ย่างเพียงพอ
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดินและจุลินทรีย์อย่าง สม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ
- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3 รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว
- นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนเป็นตอก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว
- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผล ผลิตดีมาก ไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า .... ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ โมลิบดินั่ม. แคล เซียม โบรอน 1 ครั้ง
- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ
วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืชต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่า ดินเคยมีสารอาหาร จึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง
แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ
สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ
- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรง ไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย.... ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก ..
ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน ....
ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดินสารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว...
ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....
การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน
- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อ 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว....
----------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/01/2020 8:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|