-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 22 DEC.เก็บตกงานสัญจร [2] *จุลินทรีย์ย่อยฟาง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 22 DEC.เก็บตกงานสัญจร [2] *จุลินทรีย์ย่อยฟาง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 22/12/2020 5:29 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 22 DEC.เก็บตกงานสัญจร [2] *จุลินทรีย์ย่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 DEC
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

*** ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ คุณภาพผลผลิต (ยอด-ใบ-ดอก-ผล-เมล็ด-เนื้อ-ต้น-ราก) จะดกดี สีสวยสด รสจัดจ้านได้ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม ....

*** แม็กเนเซียม. สังกะสี. สาหร่ายทะเล. แคลเซียม โบรอน. ส่วนผสมเอาไปทำเอง ....
*** กลิ่นล่อดักแมลงวันทอง, กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช.... คิดง่ายๆ ถ้าแมลงศัตรูพืชไม่มาที่กับดัก เขาก็จะไปที่ต้นพืช ว่ามั้ย ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรงวดนี้ตรงกับวันที่ 19 ธ.ค. ไปวัดท่าตำหนัก.... "งด" ...


*** สนใจอยากยลโฉมกับดักแมลงวันทองที่ขายๆในท้องตลาดอันละ 60 บาท ลุงคิมทำอันละ 60 ตังค์ อันนี้เอาไปดู ดูแล้วทำ ออกแบบใหม่ ...

*** วันนี้ เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่าง แต่ให้ไปพร้อมกัน 2 อย่าง หรือ 3 อย่างเลยก็ได้ ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการ ตี 5 ล้างน้ำค้าง, ตอนสายให้ปุ๋ย, ตอนเที่ยงไล่เพลี้ยไฟ, ตอนค่ำไล่แมลงฆ่าหนอน .... วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20-50 ต้น ใช้เวลา 5-10 นาที แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, น้ำ+ปุ๋ย+ยา, ยาสมุนไพร-ยาเคมี ใช้ได้ทั้งนั้น ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ...


************************************************************
************************************************************

color=red] เก็บตกงานสัญจร 19 ธ.ค. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม [2] : [จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง... [/color]

สมช. : ลุง ขอสูตรทำจุลินทรีย์หน่อยซี่....
ลุงคิม : จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ .... แบบแห้ง หรือแบบน้ำล่ะ

สมช. : เอาทั้งสองอย่างเลยค่ะ
ลุงคิม : ไม่ค่อยโลภเลยนะ เอาวะ ไม่โลภก็ไม่รวยซิเนาะ .... เอาน่า อันนี้ไม่ถือว่าโลภ แต่ถือว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม .... อืมมม จุลินทรีย์นี่ เนื้อหาสาระวิชาการไม่ยาก สั้นๆ วันเดียวเดี๋ยวเดียวรู้เรื่อง ทำได้ แต่รายละเอียดมันมาก ว่าแต่ว่า จุลินทรีย์ที่จะทำวันนี้ ทำใช้หรือทำขาย

สมช. : ใช้ค่ะ
ลุงคิม : ใช้กับพืชอะไร ? ประเภทไหน ?

สมช. : นาข้าวค่ะ ย่อยฟาง
ลุงคิม : O.K. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง ว่ากันจริงๆนะ จุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายฟางก็อยู่ในฟาง ฟางในนาดีกว่าฟางในกองหน้าบ้าน

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : จุลินทรีย์แท้ๆมีอยู่ในธรรมชาติ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่น ถิ่นไหนก็ถิ่นนั้น นั่นแหละ ไอ้ที่ซื้อๆมาน่ะ จุลินทรีย์จริงเหมือนกันแต่เป็นจุลินทรีย์กลุ่มไหน ทำมาจากอะไร วิธีทำๆยังไง คนซื้อไม่รู้ วิธีการก็คือ ต้องทำเองทำกับมือ เท่านั้น

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : ที่สำคัญ ที่หลายคนมองข้าม คือ ความหลากหลาย จุลินทรีย์มีเป็นแสนเป็นล้านชนิด ทำไมยึดติดแต่บางอย่างบางกลุ่มเท่านั้น

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง เริ่มต้นจากฟาง แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก จุลินทรีย์กลุ่มอื่น จากที่อื่นลงไป เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก มากๆชนิด จากมากๆแหล่ง ยิ่งมากแหล่งยิ่งดี อย่างละไม่ต้องมาก อาจจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ซัก 1 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ เดี๋ยวมันก็ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากเอง

สมช. : ลุงบอกได้ไหมว่า จุลินทรีย์จากแหล่งไหนบ้าง ?
ลุงคิม : อย่างแรกตัวแรก ชัวร์ๆ น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงนี่ไง.... พูดถึงระเบิดเถิดเทิง ในนี้นอกจากมีตัวจุลินทรีย์แล้ว ยังมีสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นอีกด้วย กับสารพัดจุลิทรีย์ในหนังสือเล่มนี้ ... จุลินทรีย์จากแหล่งอื่นก็มีอย่าง พด.ของเกษตร อีเอ็ม.ของยูเร. ใช้ได้ทั้งนั้น มาก่อนใส่ก่อน มาหลังใส่หลัง อย่างละไม่มากนัก ใส่น้อยกว่าฟางก็แล้วกัน

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : อยากแนะนำ หัวหญ้าแห้วหมู เหง้าหญ้าคา เหง้ากล้วย

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : เรื่องจุลินทรีย์ย่อยสลายฟางนี่ รายละเอียดมีในหนังสือนี่แล้ว ขืนบอกไปพูดให้ฟัง ถึงบ้านก็ลืม เรื่องของเรื่องก็คือ รู้เรื่องจุลินทรีย์ต้องรู้ให้กระจ่าง อะไรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับจุลินทรีย์ควรรู้ไว้ด้วย เพราะธรรมชาติเป็นเรื่องของความเกี่ยวพันกัน พวกเขา รวมกันอยู่-แยกกันตาย ....มาด้วยกัน ไปด้วยกัน เลือดสุพรรณเอ๋ยยยย

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : ที่สำคัญเหนือสุดๆ คือ ดินคือที่ เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ ของจุลินทรีย์ .... จุลินทรีย์คือผู้อารักขาพืช จุลินทรีย์คือแม่ครัวผู้สร้างอาหารให้พืช การใส่อะไรลงไปในดินขอให้ระวังจะไปรบกวนจุลินทรีย์

สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : อ่านเรื่องจุลินทรีย์ดีๆ แล้วคิดซิว่า เราควรอนุรักษ์เขาไว้ไหม ? เอาจุลินทรีย์ในบ้านนี่แหละ จุลินทรีย์ธรรมดาๆทำเป็นจุลินทรีย์ซุปเปอร์

(อ้างอิง) หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ :
- จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดีแล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆ กันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว

- จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้ เพราะนอกจากผลิต (เน้นย้ำ...ผลิต) อาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืชแล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย

- จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุอาหารพืชตัวหนึ่ง กล่าวคือ อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์วัตถุชิ้นนั้น จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด

- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ... ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก. แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก. (ข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่)ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก.เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

จุลินทรีย์
1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ (ทำเอง)
2. จุลินทรีย์ อีแอบ.
3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย
5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง
6. จุลินทรีย์ก้นครัว
7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย
8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ.
9. จุลินทรีย์นมสด
10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :

น้ำ (พีเอช 6.5-7.0) ......................... 10 ล.
เศษฟางเปื่อยยุ่ยเองตามธรรมชาติ ............ 1-2 กก.
กากน้ำตาล ..................................... 1 ล.
น้ำมะพร้าว ...................................... 1 ล.
ยูเรีย ............................................ 100 กรัม
ตัวเสริม ......................................... 1 ล. (กก.)

- คนเคล้าส่วนผมทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วันได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น
- ใช้ "หัวเชื้อ 1-2 ล." ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงนา 1 ไร่ ช่วงหมักฟางหรือใส่กองปุ๋ยอินทรีย์หมัก 1 ตัน

---------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©