ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 12/11/2021 10:19 am ชื่อกระทู้: * นาข้าว ................................ 2322 |
|
|
.
.
******************* นาข้าว****************
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว
1. ปัจจุบันประชากรทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านคน (มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก) นิยมบริโภคข้าวมากกว่าขนมปัง และมีแนวโน้มว่าจะมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงตลาดข้าว โลกที่มีโอกาสโตขึ้น
2. ทั่วโลกมีข้าวประมาณ 120,000 สายพันธุ์....ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ได้มากหรือน้อยต่างกันนั้นนอกจากข้อจำกัดของลักษณะทางสายพันธุ์แล้ว สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมและเทคนิคการปฏิบัติบำรุงก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
พันธุ์ข้าวจ้าวที่ทางราชการแนะนำ :
กข-7 : ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และค่อนข้างทนต่อดินเปรี้ยว
กข-23 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
หอมคลองหลวง-1 : กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ ทนทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว
หอมสุพรรณ : กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ ทนทานต่อโรคขอบใบไหม้ เพลี้ยกระโดดหลังขาว
สุพรรณบุรี-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
สุพรรณบุรี-2 : ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สุพรรณบุรี-60 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดหลังขาว
สุพรรณบุรี-90 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคขอบหงิก โรคใบสีส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
ชัยนาท-1 : โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว,
ปทุมธานี-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขา
พิษณุโลก-2 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว
สุรินทร์-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง ทนต่อดินเค็มและความแห้งแล้ง
พันธุ์ข้าวเหนียวที่ทางราชการแนะนำ :
กข-10 : ทนทานต่อโรคใบไหม้
แพร่-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สกลนคร : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, สันป่าตอง ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง
ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน :
หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย.หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก. หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว. หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ. พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือกดำ. ช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว. มะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.
พันธุ์ข้าวหอมโบราณ :
มะลิแดง มะลิดำ นางมลหอม ปทุมเทพ ขาวตาเคลือบ พวงเงิน เหนียวดำใบดำ โสมาลี ประดู่แดง เหลืองเลาขวัญ
พันธุ์ข้าวสีแดง-ดำ :
สินเหล็ก ไรซ์เบอร์ ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ ข้าวเหนียวกัญญา ข้าวหอมนิล ข้าวแดง (มันปู ประดู่แดง สังข์หยด จิ๊บ ดอกมะขาม หอมมะลิแดง)
พันธุ์ข้าวที่ใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 :
ขาวดอกมะลิ 105, ปทุมธานี 1, สังข์หยดพัทลุง, กข 41, กข 57, กข 61, กข 6, ทับทิมชุมแพ, ดอกพะยอม, ซิวแม่จัน, ลืมผัว
ข้าวไวแสง หมายถึง ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีในช่วงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือวันสั้นซึ่งมีแสงน้อยกว่า 12 ชม. เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปีหรือปลูกในฤดูฝนแล้วให้ออกดอกในต้นฤดูหนาว
ข้าวไม่ไวแสง หมายถึง ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีทุกฤดูกาลตราบเท่าที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ปริมาณแสงไม่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปรังหรือช่วงฤดูร้อน
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีแต่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ดีมาก ทั้งนี้เป็นเพราะสายพันธุ์ได้ผ่านกระบวนการพัฒนามาโดยธรรมชาติ ในขณะที่ข้าวลูกผสมหรือสายพันธุ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี คงเป็นเพราะเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีเรื่อง เชิงพานิช เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง
3. ข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาลที่มีน้ำ โดยหลังเมล็ดงอก 90-120 วัน (ตามชนิดของสายพันธุ์)ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก
4. ข้าวไม่มีฤดูกาล ลงมือหว่าน/ดำเมื่อใดให้นับต่อไปอีก 90-120 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ การทำนาข้าวส่วนใหญ่รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยเริ่มลงมือดำ/หว่านเมื่อถึงฤดูฝน จึงทำให้มีข้าวออกสู่ตลาดพร้อมกันทั้งประเทศ (พ.ย. และ มี.ค. ข้าวเปลือกล้นตลาด) ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกถูกลง เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะข้าวล้นตลาด นาในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำบริบูรณ์ สามารถผันน้ำเข้าแปลงนาได้ทุกเวลาที่ต้องการ ควรวางแผนหว่าน/ดำ ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½ เดือน - 2 เดือน จะทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½ - 2 เดือน ซึ่งช่วงนี้ข้าวเริ่มมีราคาดีขึ้นแล้ว หลังจากจัดตารางช่วงการทำนาได้ ในปีแรกก็จะใช้ตารางช่วงการทำนานี้ได้ตลอดไป
ข้าวเปลือกเก็บในที่ควบคุม (ไซโล) ยังไม่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออก จะยังคงรักษากลิ่นไว้ได้ เมื่อนำออกสีก็ยังได้กลิ่นเดิม แต่หากสีเอาแกลบออกแล้วกลิ่นจะอยู่ได้ไม่นานแม้จะจัดเก็บอย่างดี....ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ (ไม่มีแกลบ)แต่จมูกข้าวยังอยู่ สามารถนำไปเพาะขายพันธุ์ได้เหมือนเมล็ดที่ยังมีแกลบห่อหุ้มทุกประการ....เมล็ดข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือไม่มีแกลบ ทดสอบด้วยการใช้ฟันกัดเมล็ดด้านปลาย (ตรงข้ามกับจมูกข้าว) จะสัมผัสได้กับกลิ่นตามสายพันธุ์ของข้าวพันธุ์นั้น
5. นาข้าวเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่มีประชากรทำมากที่สุด หรือมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดจนได้รับสมญาว่าเป็นชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ และข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ชนิดเดียวที่มีโรคและแมลงศัตรูพืชมากที่สุด
6. เมล็ดพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว บางสายพันธุ์มีระยะพักตัวยาว หรือ 70-80 วัน ดังนั้น ก่อนหว่าน/ดำจำเป็นต้องรู้ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ด้วย....เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในช่วงแล้ง อุณหภูมิร้อนมักมีระยะพักตัวสั้น ความสำคัญของระยะพักตัว คือ เมล็ด พันธุ์ที่ผ่านระยะพักตัวครบกำหนดตามธรรมชาติของสายพันธุ์ จะให้เปอร์เซ็นต์งอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พักตัวไม่ครบกำหนด หรือไม่ได้พักตัวเลย หรือพักตัวเกินกำหนด
7. ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
8. การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
9. แปลงนาน้ำพอแฉะหน้าดิน ตอบสนองต่อปุ๋ย(เคมี-อินทรีย์)ดีกว่าแปลงนาน้ำขัง สังเกตแปลงนาต้นข้าวที่ขึ้นในแปลงบริเวณรอยต่อระหว่างที่ลุ่มกับที่ดอนซึ่งมีน้ำพอแฉะดินไม่ท่วมโคนต้น ต้นข้าวบริเวณนั้นมักเจริญเติบโต สมบูรณ์ แตกกอมีจำนวนลำมากกว่าต้นข้าวในบริเวณที่มีน้ำหล่อโคนต้น แสดงว่าธรรมชาติหรือนิสัยของต้นข้าวชอบน้ำพอดินแฉะเท่านั้น
10. แก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากอากาศมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการสร้างแป้งหรือเปลี่ยนธาตุอาหารต่างๆ ให้เป็นแป้ง
11. ข้าวที่ปลูกระยะระหว่างกอห่างๆ แล้วบำรุงให้แต่ละกอแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่จำนวนมากจะให้ผลผลิตดีกว่าทั้งคุณภาพและปริมาณ เมื่อเทียบกับการปลูกระยะระหว่างกอชิดมากๆ แต่ละกอจะแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่น้อยๆ ปริมาณและคุณภาพไม่ดีนัก
12. การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว) จะมีรวงยาว...ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน
13. ต้นข้าวที่ปลูกโดยวิธีปักดำ ฐานรากยึดดินลึกและแน่น สามารถต้านทานการล้มได้ดีกว่าปลูกแบบหว่าน.....เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีเครื่อง (รถ)ดำนา ด้วยการปักต้นกล้าข้าวลงดินโดยตรง สามารถจัดปรับระยะห่างระหว่างกอได้ตามความต้องการและ ทำงานด้วยแรงงาน 2 คน...เครื่อง (รถ) หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ขับเคลื่อนตัวเองหรือลากด้วยรถไถเดินตามหยอดเมล็ดเป็นหน้ากว้าง 2.5-3 ม. ทำงานด้วยแรงงานเพียง 1 คน เมล็ดพันธุ์ที่ถูกหยอดลงบนผิวขี้เทือกจึงเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่หว่านด้วยมือ แต่ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ดสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ
14. ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และผสมกันเองได้....ดอกจะเริ่มบานจากส่วนปลายรวงลงมาโคนรวง ดอกบานครบทั้งรวงใช้ระยะเวลาประมาณ 7วัน และช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้ หรือผสมติดก็ได้คุณภาพเมล็ดไม่ดี ดอกข้าวที่บานในวันอากาศสดใสแสงแดดดีช่วงเช้าถึงเที่ยงจะผสมเกสรติดเป็นผล (เมล็ด)ได้ดี ซึ่งดอกข้าวจะบานและเกสรพร้อมผสมได้ภายในระยะเวลา 30-60 นาที
- ระยะข้าวเป็นน้ำนม ใช้เวลาประมาณ 7 วันหลังผสมติด
- ระยะข้าวเม่าหรือเป็นไต ใช้เวลาประมาณ 14-21 วันหลังผสมติด
- ระยะเมล็ดแก่เต็มที่หรือระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 30 วันหลังผสมติด
15. อากาศหนาว (15-20 องศา ซี./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วันมีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
16. อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
17. สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด
18. การนับอายุข้าว นาดำเริ่มนับที่วันปักดำ ส่วนนาหว่านเริ่มนับที่วันหว่าน แต่อย่างไรก็ตาม ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ทุกอย่างต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร
19. ตกกล้าสำหรับนาดำ ระหว่างการตกกล้าในกระบะ (ตาป๊อก) กับการตกกล้าในแปลงบนพื้นใช้เวลา 16-20 วัน เท่ากัน แต่ต้นกล้าในแปลงบนพื้นจะสูงกว่า.....ต้นกล้าในกระบะเหมาะสำหรับใช้ปักดำด้วยเครื่องดำนาส่วนต้นกล้าในแปลงบนพื้นเหมาะสำหรับปักดำด้วยมือ
20. ในนาหว่าน ถ้าระดับน้ำท่วมเมล็ดมาก (น้ำลึก) เมล็ดจะงอกช้าเพราะในน้ำมีอากาศน้อย หลังจาก งอกขึ้นมาแล้วลำต้นจะสูงและอ่อนแอ แต่ถ้าหว่านเมล็ดระดับน้ำพอท่วมเมล็ดหรือท่วมน้อยที่สุดจะงอกเร็วเพราะเมล็ดพันธุ์ได้รับอากาศดี
21. ระดับอุณหภูมิ 30 องศา ซี. เมล็ดพันธุ์งอกได้ดีที่สุด....อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ซี. เมล็ดพันธุ์จะไม่งอก....การทำให้เมล็ดพันธุ์อบอุ่น โดยหลังจากแช่น้ำ 24 ชม. แล้วนำขึ้นกองบนพื้นซีเมนต์ ปิดทับด้วยพลาสติกนาน 24 ชม. อุณหภูมิในกองจะสูงขึ้นส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์งอกสูง
22. ต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงอุณหภูมิสูง จะเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ
23. ต้นกล้าที่มีขนาดอวบอ้วน น้ำหนักมาก จะเจริญเติบโตเร็วและให้คุณภาพผลผลิตดีกว่าต้นกล้าผอม น้ำหนักน้อย..ต้นข้าวที่สมบูรณ์ ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานแห่งการเพาะปลูกจะแตกใบใหม่ทุก 7 วัน
24. นาดำ ปักดำกล้ากอละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากว่า ให้ผลผลิตไม่ต่างกันแต่สิ้นเปลืองต้นกล้า แรงงาน และเวลาต่างกัน
25. การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการ
ใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
26. ข้อมูลทางวิชาการระบุว่าข้าวหอมมะลิ กข.105 เป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะเขตอิสาน ปลูกได้ปีละ 1 รุ่นได้ผลผลิต 30-50 ถัง/ไร่.... แต่ข้อมูลแห่งความเป็นจริงข้าวหอมมะลิปลูกที่ จ.ลำพูน ปลูกได้ปีละ 2 รุ่น ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่.
(จากงานวิจัยโดย ม.จุฬาลงกรณ์ ระบุว่า ดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกที่ทำให้ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมนั้นเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งได้สารอินทรีย์ขึ้นมาให้แก่ต้นข้าว)
27. ข้าวหอมมะลิ กข.105 ถือกำเนิดที่ จ.ฉะเชิงเทรา ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่นๆไม่ได้ การที่ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวนั้น นอกจากเป็นผลงานของจุลินทรีย์ชนิดแล้ว ลักษณะสภาพโครงสร้างของดินที่มีเกลือสินเธาว์ก็น่าจะมีส่วนด้วย
ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ กับข้าวพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิ เป็นคนละสายพันธุ์และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
28. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ จะแตกกอจำนวนมาก แต่ละกอมี 20-30 ลำ 1 ลำได้ผลผลิต 1 รวงต้นและใบที่ได้รับแสงแดดเต็มที่จะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตดี โรคแมลงรบกวนน้อย การเดินเข้าไปตรวจแปลงง่ายและสะดวก.... ต้นข้าวที่ขึ้นถี่ๆจะแตกกอน้อย ต้นและใบได้รับแสงแดดน้อย ส่งผลให้คุณภาพผลผลิตไม่ดี กับทั้งโรคแมลงรบกวนมากด้วย
ใช้กากก้นถังปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงที่มีส่วนผสมของ ฮิวมิค แอซิด รวมอยู่ด้วย ใส่แปลงนาช่วงทำเทือกจะช่วยให้ต้นข้าวแตกกอได้มากขึ้น
ช่วงต้นข้าวระยะน้ำนมสามารถตรวจสอบปริมาณผลผลิตในเนื้อที่ 1 ไร่ ได้โดยเดินทแยงมุมจากมุมกระทรงหนึ่งไปยังมุมกระทงตรงข้าม เก็บข้าวรวงแรก แล้วดินต่อไปอีก 10 ก้าวให้เก็บรวงที่สอง และให้เก็บรวงข้าวทุกๆระยะเดิน 10 ก้าว จนสุดมุมกระทงนาเก็บรวงข้าวมาแล้วนับจำนวนรวงที่เก็บมา จากนั้นให้เด็ดเมล็ดข้าวออกจากรวงทุกรวง นับจำนวนเมล็ดทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนรวงเพื่อหาค่าเฉลี่ย ตัวเลขผลหารคือ ผลผลิต
โดยประมาณของผลผลิตข้าวในเนื้อที่ 1ไร่นั้น เช่น เก็บรวงข้าวมาได้ 10 รวง เด็ดเมล็ดออกมานับรวมกันได้ 1,230 เมล็ด ค่าเฉลี่ย (1,230 หารด้วย 10) เท่ากับ 123.3 แสดงว่านาข้าวไร่นั้นจะได้ผลผลิตโดยประมาณ 123 ถัง นั่นเอง
ตัวเลขหนึ่งในนาข้าวที่หายไปอย่างน่าสงสัย คือ.....
เมล็ดข้าว 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ต้นข้าว 1 กอ
ต้นข้าว 1 กอ บำรุงดีแตกกอได้ 50 ลำ
ลำต้นข้าว 1 ลำ ได้เมล็ดข้าว 1 รวง
ข้าว 1 รวง บำรุงปกติได้ 100 เมล็ด
ดังนั้น ลำข้าว 50 ลำซึ่งเกิดจากเมล็ดพียง 1 เมล็ด จะได้เมล็ดข้าว 5,000 เมล็ดหรือได้มากขึ้น 5,000 เท่า...กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 1 ถัง ก็น่าจะได้เมล็ดข้าว 5,000 ถัง ใช่หรือไม่ ?
29. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มหน้าใบ จะสมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตมาก และคุณภาพดีกว่าต้นข้าวที่ขึ้นเบียดชิดจนใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดเต็มหน้า ใบได้
30. ต้นข้าวระยะพลับพลึง (ก่อนเกี่ยว)แต่ใบยังเขียวหรือเขียวอมเหลือง บ่งบอกถึงความสมบูรณ์สูงของต้น ซึ่งจะส่งให้เมล็ดข้าวคุณภาพดี ให้น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นใบเตยสด 250-300 ซีซี.+ กลูโคสน้ำ 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยบำรุงให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น
31. ระยะน้ำนม รวงข้าวเริ่มโค้งลง ถ้าลำต้นสูงมากหรือความสมบูรณ์ต่ำ เมื่อถูกลมพัดมักจะล้มหรือหัก อาการล้มหรือหักของต้นทำให้น้ำเลี้ยงจากรากลำเลียงไปสู่รวงไม่ได้จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวคุณภาพต่ำแนวทางแก้ไข คือ ช่วงตั้งท้องต้องบำรุงด้วย 0-42-56 ย่างน้อย 2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยลำต้นไม่สูงแต่อวบอ้วนดี
ให้ฮอร์โมนสมส่วน หรือน้ำคั้นเมล็ดข้าวน้ำนม หรือรกสัตว์หมักข้ามปี ซึ่งมีโซโตคินนินจะช่วยบำรุงเมล็ดข้าวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ให้ ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน โดยแบ่งเฉลี่ยให้ 1-2 รอบ ตลอดอายุตั้งแต่ระยะกล้าถึงเก็บเกี่ยว จะช่วยเสริมสร้างให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น
32. นาข้าวเขตภาคกลางแบบ อินทรีย์ นำ-เคมี เสริม รุ่นแรกใช้ต้นทุนไม่เกิน 2,000-2,500 บาท/ไร่ ได้ข้าว 100 ถัง จากรุ่นแรกแล้วทำต่อรุ่น 2-3 และรุ่นต่อไปเรื่อยๆ ต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,800 ได้ข้าว 120-130 ถัง
33. นาข้าวแบบ อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด ขายเป็นข้าวปลูกหรือสีแล้วขายเป็นข้าวกล้องอินทรีย์บรรจุถุง ได้ราคาเกวียนละ 7,500-8,000
แต่ข้าวนาแบบ เคมี นำ - อินทรีย์ เสริม ใช้สารเคมีทุกชนิด (เรียกตัวเองว่าปลอดสารพิษ) ได้ราคาสูงสุดเกวียนละไม่เกิน 6,500
34. นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ......ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก. แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก.เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ
35. ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
36. นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนา จะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว ......
-----------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/02/2024 10:13 am, แก้ไขทั้งหมด 14 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 12/11/2021 10:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
37. นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว
38. ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง.......แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ โมลิบดินั่ม + แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง
39. สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ
วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์)นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง
แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ
40. การดัดแปลงคันนาให้กว้าง 3-4 ม. แล้วปลูกพืชสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ ฯลฯ บนคันนานั้น ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกับจำนวนเนื้อที่แล้วจะได้มากกว่าข้าว
41. การเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยการทำร่องน้ำรอบแปลงนาเพื่อให้ปลาอยู่นั้น ร่องน้ำกว้าง 2.5-3 ม. ลึกจากพื้นระดับในแปลงนา 80 ซม.- 1 ม. มีน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่สามารถหล่อเลี้ยงปลาในร่องได้ตลอดอายุของปลา หรือบางครั้งให้น้ำล้นจากร่องน้ำเข้าสู่แปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ด้วยแนะนำให้เลี้ยงปลากินเนื้อ โตเร็ว จำหน่ายได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
การเลี้ยงปลาในนาข้าวสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ดัดแปลงปรับปรุงพื้นที่ลุ่มที่มีอยู่เดิมในแปลงนาให้กักเก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลหรืออายุปลา ทำร่องล้อมรอบแปลงนาหรือขุดเป็นบ่อขึ้นมาใหม่ที่บริเวณลาดต่ำในแปลงนา ข้อควรคิดต่อการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่จำเป็นต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าก่อนลงมือเลี้ยง ได้แก่ อายุปลาตั้งแต่เริ่มปล่อยลงน้ำถึงจับนาน 6 เดือน-1 ปี ซึ่งระยะเวลาขนาดนี้ปลูกข้าวได้ 2-3 รุ่น ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตนั้นสามารถปล่อยน้ำจากแหล่งที่อยู่ของปลา
เข้าไปในแปลงนา จนกระทั่ง น้ำท่วมต้นข้าวเพื่อให้ปลาจับกินแมลงได้ และก่อนเกี่ยวข้าวต้องงดน้ำให้ข้าว ช่วงนี้ปลาจะกลับเข้าไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ให้อย่างเดิม
42. ตั้งเป้าหมายทำนาข้าวเพื่อขายเป็นพันธุ์ข้าวปลูก หรือเพื่อสีเป็นข้าวกล้องอินทรีย์ โอท็อป จะได้ราคาดีกว่าปลูกข้าวแล้วขายเป็นข้าวเปลือกแก่โรงสี
43. ข้าวนาดำ ให้ผลผลิตเหนือกว่านาหว่าน ทั้งคุณภาพ ปริมาณและต้นทุน
44. ข้าวนาดำ ต้นกล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า มัดรวมแล้วนำไปตั้งไว้ใน น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาว 250 กรัม นาน 12 ชม. จึงนำไปปักดำ เมื่อต้นข้าวโตขึ้นจะแตกกอดีกว่ากล้าที่ไม่ได้แช่ในน้ำมูลค้างคาว
45. นาปี หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงฤดูฝนโดยรอแต่น้ำฝนในฤดูกาลเท่านั้น เช่น นาข้าวที่หว่านวันแม่ (ก.ค. - ส.ค.) เกี่ยววันพ่อ (พ.ย. - ธ.ค.) มักมีปัญหาข้าวเปลือกล้นตลาด เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่หว่าน/ดำพร้อมกันทั้งประเทศ
46. นาปรัง (ปรัง.เป็นภาษาเขมร แปลว่า แล้ง.) หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงหน้าแล้ง หรือทำนารุ่น 2 ต่อจากนาปี โดยหว่าน/ดำในเดือน พ.ย. - ธ.ค.แล้วเก็บเกี่ยวช่วงเดือน ก.พ. - มี.ค.ซึ่งต้นข้าวจะต้องเจริญเติบโตตลอดหน้าแล้ง บางปีบางแหล่งได้น้ำจากชลประทาน แต่บางปีบางแหล่งที่น้ำจากชลประทานมีน้อยไม่สามารถปล่อยออกมาช่วยเหลือได้ บางปีบางแหล่งรอน้ำฝนอย่างเดียว นาประเภทนี้มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำเสมอ บ่อยครั้งที่ชาวนาบางแหล่งบางที่ต้องยอมเสี่ยงทำนาปรัง เพราะผลผลิตราคาดี เนื่องจากมีคนทำนาน้อย.
-------------------------------------------------------------------
4. เจอมุก คิม ดอกสะเดา ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ :
ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เมื่อก่อนถือตะกร้าเข้าป่ากลับมาก็มีผักเต็มตะกร้า เดินลงไปในน้ำจับปลามือเปล่าได้ อาชีพค้าขายว่ากันเป็นเฟื้องเป็นสลึง แต่ยุคนี้ จะเด็ดกระถินซักยอด ก็มีเสียงตะโกน ออกมา เฮ้ย..กระถินน่ะมีเจ้าของนะ แม้แต่การค้าการขายก็เปลี่ยน เป็นบาท เป็นดอลลาร์ ถึงเวลาที่ชาวนาต้อง ปรับตัว-ปรับใจ ใหม่ ขืนทำแบบเดิมๆ คงไม่ได้
ชาวนาทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าฟีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ปัญหาทุกปัญหา ล้วนแต่เป็นปัญหาเดิมๆ เกิดขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่เคยเกิดกับตัวเอง เกิดกับ คนข้างเคียง แต่ชาวนาไม่ใส่ใจ เหมือนไม่จำ เหมือนไม่เข็ดหราบ เจ็บจี๊ดๆ เจ็บไม่นานเดี๋ยวก็ลืม....
ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกันที่เป็นทั้งเหตุและผล
------------------------------------------------------------------
5. ความล้มเหลวที่ไม่น่าเชื่อ ว่า คุณไม่รู้ แต่ไม่ยอมแก้ไข ไม่ปรับเปลี่ยน
ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง ต้นข้าวโตดีกว่าขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม
- ไถกลบฟางใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ทำให้ได้ดินดีกว่า นาเผาฟางไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ข้าวนาดำ ต้นข้าวสมบูรณ์ แข็งแรง โรคแมลงน้อย ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวนาหว่าน
- นาดำจ้างรถดำนา ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์มากกว่านาหว่าน
- ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย บังคลาเทศ อินโดเนเซีย อเมริกา ซึ่งพร้อมด้วยเครื่องทุ่นแรง (รถดำนา) ยกเว้นเขมร ลาว พม่า ที่ไม่มีเครื่องทุ่นแรง ต่างปลูกข้าวจ้าวด้วยวิธีดำด้วยเครื่องดำนา หรือดำด้วยมือแบบประณีต ..... ไทยทำนาหว่านสำรวย นาหว่าน้ำตม แม้แต่นาโยน นัยว่าง่าย สะดวก ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน แต่ประโยชน์และผลิตที่พึงได้รับต้องสูญเสียอย่างมาก ชาวนาไทยกลับไม่คิด
- ต้นข้าวขึ้นห่าง 20 x 20 ซม. ถึง 30 x 30 ซม. ต้นข้าว 1 กอ แตกกอใหม่ได้ถึง 40-50-60 ลำ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ..... ต้นข้าวขึ้นถี่ชิดกันพื้นที่ 20 x 20 ซม. มีเมล็ด 20 เมล็ด ได้ต้นข้าวขึ้น 20 กอ แต่ละต้นแตกกอไม่ได้ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดยาคูลท์.....ข้าวต้นใหญ่ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวต้นเล็กชนิดเทียบกันไม่ได้เลย
- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้...
นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่น เมล็ด - นาหว่านด้วยมือ
- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
ช่วงเวลา 79 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น - ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
------------------------------------------------------------------
6. เจอมุก คิม ดอกสะเดา ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ :
ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ คือความจริง มันเกิดกับชาวนาจนกลายเป็นปัญหาสากล ชาวนาทุกคนรู้จักมันดี แต่แปลกใจที่ปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ ทัศนคติชาวนาไทยไม่ชอบการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของการเกิดปัญหา แล้วแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ชอบแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คราใดเมื่อปัญหาไม่เกิดก็จะอยู่เฉยๆ .....ไม่มีพืชใดในโลก ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา .... ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้วดีคืนอย่างเก่าได้....ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด มากถึงกว่า 200 รายการ.......
------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/11/2021 10:51 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 12/11/2021 10:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
7. ปัญหามีให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม
ทุกปัญหามีช่องทางให้แก้ไขได้เสมอ แม้ในธรรมชาติจะไม่มีตัวเลขและสูตสำเร็จ การแก้ปัญหาจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามลำดับหัวข้อทุกอย่าง ทุกขั้นตอน ขอให้อยู่ภายใต้กรอบ ตามความเหมาะสม อย่างมีหลักการและเหตุผล เท่านั้น
"คำแนะนำ-คำบอก-บทเรียน-แนวสอน-ฯลฯ" เรื่องนาข้าวของที่นี่ สำหรับเกษตรกร วันนี้ มีความเป็นอย่างยิ่งต้องเอ่ยชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตรสำหรับการปลูกข้าว ที่เรียกว่า "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-จุลินทรีย์-ยาเคมี/ยาสมุนไพร" แบบเอ่ยชื่อหรือยี่ห้อกันตรงๆ ผลิตภัณฑ์บางตัวที่เอ่ยซื้อ บางตัวทำเองได้ การเอ่ย ชือ-ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์จึงไม่ใช่การ"โฆษณา" เพื่อจูงใจให้ซื้อสินค้า แต่เป็นการเอ่ยเพื่อความเข้าใจในการ "สื่อสาร" ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ พืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา ไม่รู้จักเจ้าของสูตรคนปรุง ไม่รู้จักแม้แต่เจ้าของที่ซื้อมาให้เขาด้วยซ้ำ ต้นพืชรู้จักแต่ "สารอาหาร" ที่อยู่ข้างในเท่านั้น
@ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ที่นี่ชื่อ "ระเบิดเถิดเทิง" ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้อย่างไร จะบอกให้
@ แม็กเนเซียม-สังกะสี อะมิโน คีเลต ที่นี่ชื่อ "ไบโออิ" ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ อยากทำเองก็จะบอกให้
@ 13-0-46, 0-52-34-นม-ไข่ ที่นี่เรียก "ไทเป" ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ อยากทำเองก็จะบอกให้
@ 21-7-14-ไคโตซาน-อะมิโนโปรตีน ที่นี่เรียก "ยูเรก้า" ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ อยากทำเองก็จะบอกให้
คุณพร้อมไหม.... พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ - พร้อมซื้อ สอนวิธีซื้อ ....ที่นี่บอกสูตรปุ๋ยที่ทำขายให้แก่ทุกคนทั้งๆที่ไม่ได้ถามชื่อ....คุณพร้อมทำเองไหม ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง
สิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม นั่นคือ สมการเกษตร....
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
- ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ใช่ของวิเศษ
- ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ ต่างมี ข้อดี/ข้อเสีย ประจำตัวเองทั้งสิ้น
- การปฏิบัติที่ดีที่สุดต่อต้นพืชหรือต้นข้าว คือ อินทรีย์-เคมี ร่วมกันหรือผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เรีกว่า "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของต้นข้าว ภายใต้สภาพ ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-ฯลฯ" นั่นเอง
8. เจอมุก คิม ดอกสะเดา ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ
"เทือก" หัวใจของนาข้าว
ดินคือที่กินที่อยู่ของต้นข้าว ดินดีสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง ดินไม่กินปุ๋ย คือ ดินตรึงปุ๋ยเอาไว้ แม้จะได้ใส่ปุ๋ยลงไปมากเท่าไร ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ นอกจากนี้ดินเป็นกรดดินที่เป็นด่าง ดินที่ไม่มีอากาศ ดินที่ไม่มีจุลินทรีย์ ต้นข้าวก็เอาปุ๋ยในดินไปกินไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ต้นข้าวรับปุ๋ยได้ 2 ทาง ทั้งจากทางรากและทางใบเท่าๆกัน เมื่อดินไม่ดีรากกินปุ๋ยจากดินไม่ได้ก็ทางใบแทน ถึงกระนั้น ต้นข้าวก็ยังได้ปุ๋ยเพียงครึ่้งเดียว
การใส่ปุ๋ยเคมีลงมากๆ ส่วนหนึ่งต้นข้าวเอาไปกินไม่ได้เนื่องจากดินมีปัญหา ปุ๋ยจึงเหลือตกค้างอยู่ในดิน ตัวปุ๋ย N. ที่เหลือตกค้างอยู่ในดินจะเปรียบรูปทางเคมีเป็นไนเตรท์. ไนเตรท. ซึ่งมีสถานะทางเคมีเป็นกรดจัด นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเป็นกรดจัด
ดินที่ดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จึงควรมีเศษซากพืชเศษซากสัตว์อัตราส่วน 1 ต่อ 4 เมื่อเทียบกับเนื้อดิน และจุลินทรีย์....ฟางข้าว คือ เศษซากพืช ซึ่งก็คืออินทรีย์วัตถุที่มีราคาถูกที่สุด นาข้าวที่ได้ข้าวเปลือก 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก.เสมอ ในฟาง 1,200 กก. จะปุ๋ยอินทรีย์ เอ็น-พี-เค 16 กก. กับซิลิก้า. หินภูเขาไฟอีก 6.9 กก. นี่คืองานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ฟาง คือ เศษซากพืชที่ช่วยน้ำไว้ใต้ดิน ยามที่น้ำบนดินขาดแคลนเนื่องจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติ หรือจากการที่เราเจตนาเอาน้ำออก.....ข้าวระยะแตกกอ จะแตกกอดีมากเมื่อน้ำบนผิวดินน้อยๆ ถึงระดับหน้าดินแตกระแหงก็ตาม คล้ายๆกับต้นข้าวเขาพยายามช่วยตัวเอง สร้างรากขึ้นมาเพื่อจะยืดยาวไปหาน้ำมาหล่อเลี้ยงต้น นั่นคือ หากต้องการให้ต้นแตกรากมากๆ ก็จงมีน้ำที่ผิวดินน้อยๆ ระหว่างที่ไม่มีน้ำบนผิวดินนี้ รากข้าวจะได้น้ำที่ฟางในดินอุ้มไว้ให้ แล้วต้นข้าวก็จะไม่ชะงักการเจริญเติบโตตรงกันข้ามจะสมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าเก่า
การมีอินทรีย์วัตถุมากๆ มีน้ำน้อยๆ ลักษณะทางธรรมชาตินี้ยังช่วยให้ต้นข้าวแตกกอมาก แตกกอดีอีกด้วย ลำต้นที่แตกใหม่จะสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ดีกว่าข้าวลำต้นเดียวเดี่ยวๆ.....ต้นข้าวลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ย่อมดีกว่าต้นข้าวที่ลำใหญ่ขนาดดูดยาคูลท์
การไถกลบฟางแต่ละครั้งให้สังเกตความลึกของขี้เทือก จากประสบการณ์ตรงบอกให้รู้ว่า หากไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันแล้ว ได้ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งแล้วความลึกระดับนี้กำลังเหมาะกับต้นข้าวและคนเข้าไปทำงานได้สะดวก หากไถกลบฟางต่อเป็นรุ่น 3 ขี้เทือกจะลึกถึงระดับหัวเข่า แม้ต้นข้าวจะอยู่ได้แต่คนไม่สะดวกในการทำงาน กับช่วงก่อนเกี่ยวข้าว งดน้ำแล้วแต่ดินจะยังอ่อนจนรถเกี่ยวลงทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้น ควรงดเว้นการไถกลบฟางรุ่น 3 เหลือไว้แค่ตอซังก็พอ
ทำเทือกแบบไถกลบฟาง
วัตถุประสงค์ :
1) เพื่อทำให้เนื้อดินเละเป็นเลนละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้
2) มีอินทรีย์วัตถุ เศษซากพืชและสัตว์ ที่หลากหลาย เทียบปริมาณกับเนื้อดินไม่น้อย 20%
3) เพื่อให้มีจุลินทรีย์
4) เพื่อให้มีสารอาหารทั้งอินทรีย์และเคมี
5) เพื่อให้น้ำและอากาศผ่านสะดวก
การปฏิบัติปกติ :
1) ไถดะพร้อมฟาง ให้ขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดดทิ้งไว้ 15-20 แดด,
2) ปล่อยน้ำเข้าท่วมขี้ไถ ทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อให้ดินขี้ไถเปื่อยยุ่ย,
3) ไถด้วยโรตารี 1-2 รอบ,
4) ย่ำด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ เพื่อให้เนื้อดินเละเป็นเลน,
5) ปรับเรียบหน้าเทือกให้เสมอกัน,
6) ทำร่องน้ำในแปลง
ทำเทือกแบบเผาฟาง :
เหตุผลที่เผาฟาง :
1) เพราะฟางที่เคยไถกลบมากเกิน จำเป็นต้องเอาออกบ้าง
2) รู้เท่าไม่ถึงการ
วัตถุประสงค์ :
1) ให้ได้ขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้ง
2) เพื่อกำจัดวัชพืช
3) ใส่จุลินทรีย์ชุดใหม่ลงไปชดเชยจุลินทรีย์เก่าที่ถูกไฟเผา
4) ใส่สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
5) ใส่สารอาหาร ทั้งอินทรีย์และเคมี ตามความเหมาะสมของต้นข้าว
การปฏิบัติ :
1) ทิ้งเถ้าฟางแตกแดด 7-10 แดด
2) เอาน้ำเข้าครึ่งหน้าแข้ง ปล่อยดินแช่น้ำ 5-7 วัน
3) ไถด้วยโรตารี่ 1 รอบ
4) ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.)/ไร่
5) ย่ำด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ ย่ำประณีต 2-3 รอบในแปลง ย่ำ 3 รอบ ห่างกัน รอบละ 7 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช
6) ลงมือหว่านหรือดำ
ทำเทือกสูตร "เลยตามเลย"
นาข้าวบางแปลง เผาฟาง-โรตารี่-อีขลุบ-หว่าน/ดำ-ยูเรีย-ยาฆ่ายาคุม-ฯลฯ ครบถ้วนตามสูตร พลันเกิดอาการเสือสำนึกบาป ในแปลงไม่มีจุลินทรีย์ ไม่มีสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารเคมีก็มีแต่ N. จากยูเรียเพียงตัวเดียว.... เอาเถอะ ธรรมชาติยังไห้โอกาสเสมอ
หากต้นข้าวยังอยู่ใน ระยะกล้า ถึง ระยะแตกกอ ซึ่งยังมีช่องว่างระหว่างกอให้ฉีดพ่นสารอาหารต่างๆ แหวกช่องว่างลงไปที่พื้นดินได้ ขอให้ฉีดพ่น "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.)/ไร่ ทั้งนี้แม้ว่าน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงจะถูกใบ ใบไม่ไหม้เพราะมีกากน้ำ ตาลเป็นส่วนผสมน้อยมาก.....วันรุ่งขึ้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตรเร่งการแตกกอ (ไบโออิ + 18-38-12 + ยูเรีย จี. + สารสมุนไพร) ตามไปแล้วเริ่มเข้าสู่วงรอบการบำรุงตามปกติต่อไปตามลำดับ
ประสบการณ์ตรง :
1) สูบน้ำใส่แช่ฟาง 3 วัน
2) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ รอบที่ 1 ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
3) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ รอบที่ 2 ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
4) ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล./ไร่) + 16-8-8 (10 กก./ ไร่) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ รอบที่ 3 ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
หมายเหตุ :
- ไม่ไถ ใส่น้ำแช่ 3 วัน แล้วย่ำเลย
- หลังจากย่ำรอบที่ 1 ผ่านไป 7 วัน ก่อนย่ำรอบที่ 2 วัชพืชหายไปกว่า 50%
- ย่ำรอบ 2 และรอบ 3 ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ วัชพืชหายไป เหลือให้เห็นหลังจากต้นข้าวโตแล้วไม่ถึง 5%
- ก่อนลงมือย่ำแต่ละรอบ ตรวจสอบกลิ่นแก๊สในฟาง เพื่อป้องกันโรคเน่าตอซัง
ทำนาดำด้วยรถดำนา
สรุป :
@@@ ต้นทุนทำเทือกปกติ : ไถดะพร้อมฟาง, ไถโรตารี่ 2 รอบ, ย่ำเทือก 2 รอบ, วัชพืชไม่ถูกกำจัด
@@@ ต้นทุนทำเทือกจากประสบการณ์ตรง : ย่ำเทือก 3 รอบ, วัชพืชถูกกำจัด
(คนงานที่ทำเล่าให้ฟังภายหลังว่า....ปรึกษากัน ไม่ไถแต่ย่ำเลย จะได้ผลหรือ แต่ไม่กล้าขัดเพราะเป็นคำสั่ง กระทั่งย่ำ ย่ำประณีตครบ 3 รอบ จึงยอมรับว่าได้เทือกลึกและเนื้อดินดีกว่าไถก่อน....)
ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ - จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย...แต่ไปด้วยกัน
- ปุ๋ย ไม่ใช่สัตว์ ไม่มีชีวิต ขยายพันธุ์ไม่ได้ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคล เซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า โซเดียม คลอรีน ฯลฯ
- จุลินทรีย์ เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีชีวิต ขยายพันธุ์ได้ ได้แก่ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า แอ็คติโนมัยซิส อะโซโตแบ็คเตอร์ บาซิลลัสส์ ซับติลิส. บาซิลลัสส์ ทูรินจิสซิส บีที. เอ็นพีวี. ฯลฯ
- ดินแข็ง ดินแน่น แก้ได้ด้วยจุลินทรีย์เท่านั้น
อเมริกาไม่ผาฟาง...อินทรีย์นำ-เคมีเสริม แท้จริง
หลุยส์เชียร์น่า สหรัฐอเมริกา รัฐเดียวใหญ่กว่าประเทศไทย รัฐนี้ทำนาทั้งรัฐ ข้าวหอมอเมริกาเกิดที่นั่น มัน COPPY ไปจากข้าวหอมมะลิไทย แต่ทำไม่สำเร็จเพราะโซนภูมิศาสตร์โลกไม่เอื้ออำนวย นี่ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ ชาวนาอเมริกาไม่เผาฟาง แต่เขาไถกลบฟาง แล้วใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีลงไป นี่ใช่อินทรีย์นำ เคมีเสริม ไหม ? .... คิดดู ถ้าหลุยส์เซียร์น่าเผาฟาง ควันจะลอยตลบอบอวลไปทั่วอเมริกาทั้งประเทศไหม ขนาดอินโดเนเซียแค่เผาไร่ ควันยังลอยข้ามมาเลเซียมาถึงไทยได้ ทางเหนือของเรา แค่ชาวบ้านเผาป่าเล็กๆในไร่ ควันยังไปทั่วทั้งจังหวัด
9. "เมล็ดพันธุ์"
ตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ :
1) น้ำสะอาดใส่ถังทรงสูง ใส่เกลือลงไป คนให้ละลายดี
2) ทดสอบโดยวางไข่สดลงไป 1 ฟอง สังเกตไข่ส่วนที่ลอยเหนือผิวน้ำ
3) ส่วนที่ลอยเล็กกว่าเหรียญสิบบาทให้เติมเพิ่มเกลือ...ส่วนที่ลอยใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทให้เติมน้ำ....ส่วนที่ลอยเท่าเหรียญสิบบาทแสงว่าพอดี
4) ใส่เมล็ดพันธุ์ลงไป คนเคล้าให้ทั่วกันดี ทิ้งไว้สักครู่แล้วสังเกต
5) เมล็ดลอยคือเมล็ดลีบให้คัดออก เมล็ดกึ่งลอยกึ่งจมคือข้าวนกให้คัดออก เมล็ดจมคือเมล็ดพันธุ์ดี เอาไปปลูก
แช่/ห่ม เมล็ดพันธุ์
1) น้ำ 100 ล. + สังกะสี (ไบโออิ)+ไคโตซาน (ยูเรก้า)+โบรอน (แคลเซียม โบรอน) อย่าง ละ 50 ซีซี. ..... แช่นาน 24 ชม. แล้วนำขึ้น....สังกะสี-โบรอน ส่งเสริมการ งอกของเมล็ด....ไคโตซาน กำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์
2) ใส่กระสอบป่าน เก็บในที่ชื้นเย็น อากาศถ่ายเทสะดวก นาน 24-36-48 ชม.
3) เปิดกระสอบตรวจเมล็ดทุกระ ม.ตรวจ ถ้าพบว่าเมล็ดเริ่มงอกแล้วให้นำไปปลูกได้....ทั้งนี้ เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่ในสารอาหาร จะงอกเร็วและยาวกว่าการแช่ในสารเคมีแล้วห่ม อย่างเห็นได้ชัด....การห่มเมล็ดนานเกินไป รากจะงอกยาวมาก เมื่อนำไปหว่าน รากจะเกี่ยวพันกัน ทำให้หว่านไม่ออก เพราะฉะนั้น เลือกเมล็ดที่รากเริ่มงอกออกมาเป็นตุ่มแล้วก็พอ
หมายเหตุ :
- ทดสอบนำเมล็ดข้าวแช่น้ำเปล่าในแก้ว ใส่น้ำพอท่วมเมล็ดข้าว ทิ้งไว้ 12-24-36 ชม. ปริมาณน้ำจะยุบหายไป แสดงว่าน้ำถูกเมล็ดข้าวดูดเข้าไปไว้ในตัวมัน....การแช่เมล็ดข้าวในสารเคมีซึ่งไม่ใช่สารอาหารแต่เป็นสารพิษ เท่ากับเมล็ดข้าวได้รับสารพิษเข้าไปสะสมไว้ในตัวมันเองตั้งแต่ยังไม่งอก
- การงอกของรากของเมล็ดพืช ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ "อ๊อกซิเจน" เกษตรกรญี่ปุ่นแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยการเติมอ๊อกซิเจนในถังแช่ เช่นเดียวกับชาวนาไทย แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในน้ำไหล
บำรุงกล้าในแปลงตกกล้า
- เทือกหรือดินตกกล้า ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัวเก่าข้ามปี น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (200 ซีซี.)/น้ำ 100 ล. ราดรดทั่วแปลง....ให้ครั้งเดียว (อินทรีย์-เคมี ในน้ำหมักฯ จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง ใบใหญ่ หนาเขียวเข้ม)
- ก่อนย้าย (ถอน) กล้าไปดำ 5-7 วัน ให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง จะช่วยลำต้นของต้นกล้าแข็งดี ไม่ช้ำง่ายขณะขนย้ายหรือปักดำ (มือ/เครื่อง)
ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมอย่าง ประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว รุ่นแรกได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วขายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 2 จากรุ่นที่ 2 ขยายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 3 คราวนี้ได้เนื้อที่ 30 ไร่ จนเต็มเนื้อที่ๆมี
นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเฉพาะเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนที่ต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ ..... วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ
10. ระยะกล้า
วัตถุประสงค์ :
1) เพื่อให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตด้วยช่วงระยะเวลาที่สั้นที่สุด
2) เพื่อให้ต้นกล้ามีการแตกกอดีที่สุด มากที่สุด
3) เพื่อให้ต้นกล้า "สะสมความสมบูรณ์" เป็นพื้นฐานต่อการออกรวงต่อไป
ปัญหาที่มองข้าม :
เมื่อต้นกล้าอายุ 10-15 วัน หลังดำ/หว่าน ชาวนานิยมฉีดยาฆ่ายาคุมหญ้า เพราะไม่ได้กำจัดวัชพืชไว้ก่อนเมื่อช่วงทำเทือก สิ่งหนึ่งที่ชาวนาไม่เคยสังเกต ไม่เคยถามคนขายยาฆ่ายาคุมก็ไม่พูดไม่บอก คือ ยาฆ่ายาคุมหญ้าทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต 7-10-15 วัน แล้วแต่ความเข้มข้นของยาฆ่ายาคุมหญ้า ทั้งนี้เนื่องจาก ต้นวัชพืชกับต้นข้าวเป็นพืชตระกูลเดียวกัน....ต้นข้าวอายุ 110 วัน หากชงักการเจริญเติบโต 10 วัน เท่ากับ 10% ของอายุ กับการเจริญเติบโตแบบต่อเนื่องต้องขาดช่วงไป....แนวทางแก้ไข คือ หลังฉีดยาฆ่ายาคุมไปแล้ว 3 วัน ให้ฉีดพ่น แม็กเนเซียม + สังกะสี + กลูโคส ทันที ฉีดพ่น 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน แล้วต้นข้าวจะหยุด ชะงักการเจริญเติบโต แล้วเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ
ไม่มียาฆ่ายาคุมหญ้าใดในโลกนี้ ที่ใช้ในอัตราปกติตามฉลากข้างขวดแล้วกำจัดวัชพืชอย่างเด็ดขาดหรือวัชพืชตายสนิทไปเลยได้ ในความเป็นจริง ทำได้เพียงใบไหม้เท่านั้น ช่วงระยะกล้า ระยะแตกกอ อาจจะยังไม่เห็นต้นวัชพืชโตขึ้นมา ครั้นเมื่อต้นข้าวเริ่มออกรวงจึงจะปรากฏต้นวัชพืชโตสูงแซงต้นข้าวขึ้นมา
ไม่มีสารใด ทั้งสารอินทรีย์และสารเคมีและไม่มีจุลินทรีย์ใดๆ ในโลกนี้ กำจัดข้าวนกได้ โดยไม่กระทบต่อต้นข้าว เพราะต้นวัชพืชกับต้นข้าว คือ พืชตระกูลเดียวกัน ปัญหาทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ ชาวนารู้ แต่ไม่ยอมรับความจริง...
บำรุงต้นข้าวระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "น้ำ 200 ล.+ แม็กเนเซียม/สังกะสี/ฯลฯ (ไบโออิ) 200 ซีซี.+ 18-38- 12 (1 กก.)+ ยูเรีย จี 500 กรัม + สารสมุนไพร 2 ล." ได้เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ฉีดพ่น 3 รอบ เมื่อกล้าอายุ 20 วัน, 30 วัน และ 40 วันตามลำดับ
- แม็กเนเซียม. ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ใบหนา เขียวเข้ม เขียวทนนาน
- สังกะสี. เป็นสารอาหารพื้นฐานต่อการออกรวง
- ยูเรีย. ช่วยให้ข้าวเขียวไว ทันใจ (ชาวนาใจร้อน)
- 18-38-12 ช่วยให้ต้นกล้าแตกกอดี และจำนวนมาก
หมายเหตุ :
- จากข้าว 1 เมล็ด สามารถแตกกอได้ 40-50-60 ลำ/กอ.....ด้วยหลักการนี้น่าจะเป็นเครื่องตัดสินใจสำหรับชาวนาได้ว่า ควรทำ นาดำ หรือ นาหว่าน
- ระยะแตกกอ ให้แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ห่างกัน 10-15 วัน ให้จังหวะไหนก็ได้ เพื่อให้ต้นได้สะสมไว้ในตัวเอง จะช่วยให้เมล็ดช่วงที่เป็นรวง (น้ำนม) แล้วคุณภาพดี
11. ระยะต้นกลม ตั้งท้อง
สำรวจ แยกข้าวปน :
- ต้นข้าวมีลักษณะลำต้น กลม เนื้อแน่น ใบเขียวเข้ม ใบหน้า และช่วงเวลา 7-9 โมงเช้าใบธงไม่โค้งปกดิน แสดงว่า ปริมาณปุ๋ยธาตุหลัก (N-P-K)พอเพียง ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิด เทิง 30-10-10 (2 ล.)/ไร่ โดยไม่ +เพิ่ม 16-8-8 เท่ากับใช้ปุ๋ยธาตุหลักเพียง 10 กก. (ใส่ตอนทำเทือก)/ไร่/รุ่น เท่านั้น .... หากต้นข้าวมีลักษณะ แบน เนื้อนิ่ม ใบเขียวไม่เข้ม ใบไม่หนา และช่วงเวลา 7-9 โมงเช้าใบธงโค้งลงปกดิน แสดงว่า ปริมาณปุ๋ยธาตุหลัก (N-P-K) ไม่พอเพียง ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) กับ +เพิ่ม 16-8-8 (10 กก.)/ไร่ .... เท่ากับใช้ปุ๋ยธาตุหลัก 20 กก./ไร่/รุ่น
- สำรวจข้าวปน โดยสังเกตลักษณะ ขนาด ความสูง ฯลฯ ที่มีรูปทรงผิดแผกไปจากส่วนใหญ่ ให้ถอนทิ้ง เพราะนั่นคือข้าวต่างสายพันธุ์....หากเป็นข้าวนก ต้นวัชพืช มีลักษณะรูปทรงบ่งบอกชัดเจนอยู่ให้ ก็ให้ถอนทิ้ง....กรณีนาดำ การตรวจแปลงจะทำได้ง่าย หากเป็นนาหว่าน ยิ่งต้นข้าวขึ้นเบียดชิดกันมากเท่าไร การตรวจแปลงยิ่งทำได้ยากมากเท่านั้น นี่คือข้อเสียของนาหว่าน.. ..แปลงนาที่ไม่มีข้าวต่างสายพันธุ์ปน ไม่มีข้าวนกและวัชพืช โรงสียินดีให้ราคาสูงขึ้น เพื่อทำเป็นข้าวปลูกจำหน่าย หรือหากชาวนาจะขายเป็นข้าวปลูกให้แก่แปลงข้างเคียงก็ยังได้
12. ระยะออกรวง :
การบำรุง, ปัญหา-แก้ปัญหา
- ให้ "น้ำ 200 ล.+ ฮอร์โมนไข่ไทเป 200 ซีซี.+ 0-52-34 (1 กก.) + ยูเรีย จี. 500 กรัม + สารสมุนไพร 2 ล." สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่ ฉีดพ่น 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- 0-52-34 ในไทเป และที่ +เพิ่ม ช่วยให้ต้นข้าวหยุดสูง แล้วขยายขนาดท้างข้างทำให้ต้นข้าวไม่ล้ม
- ยูเรีย จี ทำหน้าที่เสมือนสารลมเบ่ง (โฆษณา) ช่วยให้รวงพุ่ง แล้วออกพร้อมกันดีทั้งแปลง
- สามารถช่วยให้ต้นข้าวที่มีอาการอั้น ช่อรวงไม่พุ่ง เนื่องจากอุณหภูมิไม่เหมาะสมให้ต้นข้างแทงช่อรวงออกมาดีได้
สารลมเบ่ง (ทำเอง)
- วิธีทำ "น้ำ 100 ล. + อัลคาไรซ์เวอร์ 200 ซีซี. + ยูเรีย จี 12 กก.+ สีผสมอาหาร" คนเคล้าให้เข้ากันได้ "หัวเชื้อเข้มข้น"..... อัตราใช้ "หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20ล." .... ฉีดพ่นช่วงข้าวต้นกลมตั้งท้อง หรือบางส่วน (ส่วนน้อย) เริ่มแทงช่อรวงออกมายาว 1 ข้อนิ้วมือ (หางแย้) จะช่วยกระตุ้นให้แทงช่อรวงดี
- ยูเรีย เป็นปุ๋ยที่ช่วยกระตุ้นให้ข้าวออกรวงดี เร็ว และพร้อมกันทั้งแปลงดี....(ข้อมูล อีรี่)
หมายเหตุ :
- ลักษณะทางธรรมชาติของต้นข้าว จะออกรวงเมื่ออายุ 90-100 วัน ขึ้นกับสายพันธุ์ และสภาพอากาศ (อากาศหนาวออกรวงช้ากว่าอากาศร้อน) แก้ปัญหาข้าวออกรวงช้าด้วยสารลมบ่ง (ยุเรีย) โดยให้ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน
- เมื่อเกสรบานพร้อมผสม (ตากเกสร) แล้ว ไม่ควรฉีดพ่นทางใบด้วยสารทุกชนิดเพราะจะทำให้เกสรผสมไม่ติด
- ช่วงที่ช่อรวง (ดอก) เริ่มโผล่ขึ้นมาประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ (หางแย้) ให้ NAA. 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรให้แข็งแรง ผสมติดดี ส่งผลให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15-25%
- จังหวะนี้ หากพบข้าวต้นใดออกรวง (ดอก) ผิดแผกไปจากส่วนใหญ่ เช่น ออกเร็ว ออกช้า รวงยาว รวงสั้น ฯลฯ นั่นคือข้าวปน ให้ถอนทิ้ง
13. ระยะน้ำนม :
การบำรุง :
- ให้ "น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 200 + ยูเรก้า 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล." สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่ ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน
- แม็กเนเซียม.ในไบโออิ ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ทำให้ต้นข้าวให้ใบเขียวถึงวันเกี่ยว
- สังกะสี. ในไบโออิ ช่วยสร้างแป้ง ทำไม่เป็นเมล็ดลีบ แป้งเต็มเมล็ด ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดใสแกร่ง บดและไม่แตกละเอียด น้ำหนักดี
- 21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน. ในยูเรก้า ช่วยขยายขนาดเมล็ด
หมายเหตุ :
- เมล็ดข้าวจะเริ่มแก่จากเมล็ดปลายรวงก่อน แล้วแก่ตามลำดับมาที่โคนรวง จังหวะที่รวงเริ่มก้มหรือโค้งลง ใบธงซึ่งเป็นใบสุดท้ายจะเริ่มเหลือง เนื่องจากเป็นใบแก่ใกล้หมดอายุขัย นั่นคือ หยุดสังเคราะห์อาหาร เป็นเหตุให้เมล็ดโคนรวงส่วนหนึ่งไม่ได้รับสารอาหาร .....ปัญหานี้แก้ไขโดยบำรุงด้วย "แม็กเนเซียม" เพื่อใบให้ยังคงเขียวสด แล้วสังเคราะห์อาหารได้ต่อไปจนเมล็ดสุดท้ายที่โคนรวงเป็นเมล็ดเต็ม หรือเรียกว่าใบเขียวจนวันเกี่ยว นั่นเอง
- ระยะพลับพลึงหรือก่อนเกี่ยว หากให้ "แคลเซียม โบรอน" จะทำให้ระแง้คอรวงเหนียว รถเกี่ยวสลัดไม่หลุด
- ระยะพลับพลึงก่อนเกี่ยว 5-7 วัน ให้ "น้ำ 200 ล. + นมสด 200 ซีซี." 1 รอบ จะช่วยลดความชื้นในข้าวเปลือกได้ 3-5% แต่ต้องไม่มีฝน
- เก็บรวงข้าว 10 รวง ระห่างกันรวงละ 10 ม. แกะเมล็ดทุกรวงรวมกันแล้วนับ นับเมล็ดได้เท่าไรหารด้วย 10 (หาค่าเฉลี่ย) ค่าที่ได้คือ ปริมาณข้าวที่จะได้ใน 1 ไร่
บำรุงระยะน้ำนม สูตร "เลยตามเลย"
บ่อยครั้งมากที่ได้รับคำถาม ทำนาแบบเดิมๆ เริ่มจาก เผาฟาง, ขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม, หว่านข้าวแน่นมาก, ใส่ยูเรีย, ใส่ 16-20-0, ฉีดยาฆ่ายาคุมหญ้า, สารเคมีฆ่าแมลง-ฆ่าหอย-ฆ่าปู, น้ำหล่อลึกกว่าครึ่งต้น, ต้นข้าวไม่แตกกอ, ลำต้นเล็กขนาดหลอดดูดยาคูลท์, ลำต้นแบนอ่อนนิ่ม, รากดำมาก/รากขาวน้อย, ขนาดรากสั้น, จำนวนรากน้อย, เช้า 7-9 โมงใบธงอ่อนโค้งลง ณ วันนี้เรียกได้ว่า ครบทุกอาการของความไม่สมบูรณ์ .....
หากเป็นแบบนี้ต่อไปก็จะเจอปัญหาใหม่ ออกดอกช้า, ช่อดอกไม่พุ่ง, ออกดอกไม่พร้อมกัน ปัญหานี้แก้โดยให้สูตร กระตุ้นการออกดอก แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ก็คือ ไบโออิ ก่อนใช้ให้ +เพิ่ม 0-52-34 + ยูเรีย จี.เกรด เพิ่มเข้าไป ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน....0-52-34 ทำให้ต้นหยุดสูงแล้วออกทางข้าง เมื่อโตขึ้นข้าวจะไม่ล้ม ....ยูเรีย จี. ทำหน้าที่เหมือนสารลมเบ่ง กระทุ้งให้ข้าวออกดอกออกรวง นี่งานวิจัยจาก อีรี่ ไม่ใช่พูดลอยๆ
ดอกกลายเป็นเมล็ดเข้าสู่ระยะพลับพลึงแล้วก็จะ เมล็ดน้อย, เมล็ดลีบ, เมล็ดไม่มีแป้ง, เมล็ดไม่เต่ง-ไม่ใส่-ไม่แกร่ง บดดูเป็นแป้ง, ไม่มีน้ำหนัก ทำพันธุ์ไม่ได้ ท้ายที่สุดไม่ได้ราคา ปัญหานี้การแก้ไขต้องถือหลัก ไหนไหนก็ไหนไหน-เลยตามเลย ให้ปุ๋ยทางใบไปเลย แม็กเนเซียม-สังกะสี-ธาตุรอง/ธาตุเสริม ก็ในไบโออิ นั่นแหละ จะทำเองหรือซื้อก็ว่าไปตามถนัด ให้สม่ำเสมอทุก 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกใบโชกๆ อะไรๆก็จะดีขึ้น อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ได้ให้อย่างแน่นอน
-----------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/11/2021 2:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 12/11/2021 10:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ประสบการณ์ตรง (1) วันดูข้าว :
ก่อนวันเกี่ยวราว 15 วัน ออกอากาศขอเชิญคนมาดูแปลงข้าว "นาข้าวแบบไบโอ ไดนามิก" ด้วยปุ๋ยทำเองทุกสูตร ทุกขั้นตอน เนื้อที่ 5 ไร่ ท้ายไร่กล้อมแกล้ม....จากการสุ่มหาค่าเฉลี่ยทราบว่า ผลผลิตได้กว่า 120 ถัง
งานนี้มี สมช.ผู้ฟังให้ความสนใจจากทั่วสารทิศมาดูราว 200 คน ยืนเรียงกันเต็มคันนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ในจำนวนนี้มี จนท.เกษตร ปลอมตัวมาด้วย ราว 4-5 คน สมช.บางคนรู้จักแล้วมากระซิบบอกว่า คนนั้นเป็นเกษตรอำเภอนั้น คนนี้เป็นเกษตรจังหวัดนี้ ..... ก็ว่าไป
ลุงคิมพูดผ่านโทรโข่ง เลียบๆเคียงๆโฉบเข้ามาใกล้ๆ จนท.เกษตร เพื่อดูหน้าเท่านั้นในเมื่อเขาไม่ประสงค์แสดงตัวก็ไม่ต้องไปวอแวกับเขาให้มะเร็งกินอารมณ์....แต่ละคนเห็นข้าวแล้วร้อง อื้อฮือ ! แสดงว่ายอมรับ แต่ไม่ (แม้แต่คิด) ยอมรับแล้วเอาแนวทางไปเผยแพร่
ประสบการณ์ตรง (2) วันเกี่ยวข้าว :
วันที่แปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้มพร้อมเกี่ยว รถเกี่ยวมีเด็กหนุ่มเป็นคนขับ ดูมาดแล้วบอกว่า "ทำเป็น" แน่นอน จากนาแปลงข้างเคียงมาถึงแปลงเรา
คนขับ : (มองต้นข้าว) ลุงครับ ข้าวยังเกี่ยวไม่ได้นะครับ
ลุงคิม : เพราะอะไรเหรอ ?
คนขับ : มันยังไม่แก่ครับ
ลุงคิม : รู้ได้ไง ?
คนขับ : (ตอบทันที) ใบยังเขียวอยู่เลยครับ
ลุงคิม : (กวักมือเรียก) มึงลงมานิ
ลุงคิม : (เด็ดรวงข้าวข้างคันนา แล้วเด็ดเมล็ดสุดท้ายโคนรวงส่งให้) พิสูจน์ซิ
คนขับ : (เด็กหนุ่มรับไปแล้วใส่ปากใช้ฟันหน้าขบ ตีหน้าเหรอหรา) แก่แล้วนี่
ลุงคิม : ไหนมึงว่ายังไม่แก่ไงล่ะ ?
คนขับ : ก็ใบยังเขียวอยู่เลย ลุงทำไงน่ะ
ลุงคิม : ไป ขึ้นรถ ทำงาน ไม่ต้องพูดมาก
เด็กหนุ่มท่าทางทำงานแบบสบายๆ เพราะไม่มีข้าวล้มให้ไม่ต้องเลี้ยวรถเกี่ยวเข้าหาต้นข้าวบ่อย เดินหน้าตรงอย่างเดียว มุมคันนาชนมุมคันนา ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วเหลือตอซังต่ำกว่าหัวเข่า....
งานนี้ได้ 127 ถัง/ไร่ เทออกจากกระบะรถลงกองกับแล้วขายเป็นข้าวปลูกได้ 90 บาท/ถัง (เกวียนละ 9,000 ราคามิตรภาพ) ทันที หากส่งโรงสีจะได้ราคาเพียง 60 บาท/ถัง (เกวียนละ 6,000) เท่านั้น....รุ่งเช้าคนที่รับซื้อไป (อ่างทอง) คุยกลับมาว่า ขายต่อได้ถังละ 120 บาท ไม่พอขาย
ประสบการณ์ตรง (3) 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน :
นาข้าว 200 ไร่ ของชาวนาย่านบ้านแพรก อยุธยา วันนั้นในปี 51 มีหนี้ในธนาคาร อยู่ 1 ล้าน ด้วยคำพูดในรายวิทยุเพียงคำเดียว ต้นทุนท่วมราคาขาย ทำให้ต้องคิดหนักค้นหาแนวทางใหม่ เพราะที่ทำมา ทั้งของตัวเองและของเพื่อนบ้านข้างเคียงว่า มันไม่ใช่-มันไม่ใช่ ตัดสินใจสั่งซื้อปุ๋ยจากบริษัทร่มทอง ที่โฆษณาใน รายการวิทยุ ซื้อทุกตัวแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงวันเกี่ยว .....
ปีนั้นแม้จะเป็นปีแรก ที่เปลี่ยนวิธีการทำนาข้าวจากแบบเคมีเพียวๆ ทั้งหว่าน ทั้งฉีด มาเป็นอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหาะสมของต้นข้าว ลดการหว่านปุ๋ยทางดิน มาเป็นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ผลที่ออกมาเห็นชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100 (-) ถัง/ไร่ เหนืออื่นใด ผลผลิตที่ได้ เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ กับต้นทุนที่ลดต่ำกว่าเดิม 50-70% ไม่น่าเชื่อว่า นาข้าว 2 รุ่น สามารถล้างหนี้ธนาคาร 1 ล้านได้ .....
จากรุ่นแรกเมื่อเริ่มอ่าน LINE ของนาข้าวออก นาข้าวปี 53 ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100(+)/ไร่ กับต้นทุนต่ำจากเดิมมาอีก ด้วยนาข้าว 2 รุ่น/ปี ตัวเลขเงินฝากในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงเป็นตัวดำด้วยเงินกว่า 1 ล้าน....
ปี 54 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ นา ข้าวแปลงนี้หยุดสนิท ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอนกินมาม่าด้วยความสบายใจ ....
ปี 55 เริ่มใหม่อีกครั้งด้วยความมั่นใจสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี วันนี้ครอบครัวนี้มีเงินสดในธนาคารกว่า 2 ล้าน .....
ล้านแล้วจ้า
ประสบการณ์ตรง (4) 100 ไร่ ใส่ N+P 3 แสน ได้ 70 ถัง :[b]
เสียงผู้หญิงมาทางโทรศัพท์ ไม่รู้จักตัวกัน ไม่ได้ถามชื่อ เป็นเพียง สมช.ผู้ฟังรายการวิทยุเท่านั้น เธอเล่าให้ฟังด้วยเสียงปนสะอื้น ....
ทำนาข้าว 100 ไร่ ใส่ยูเรียไร่ละ 2 กส. ใส่ 16-20-0 อีกไร่ละ 1 กส. รวมเป็น 3 กส./ไร่ ทั้งแปลงรวมเป็น 300 กส. ราคา กส.ละ 1,000 บาท เป็นค่า เครดิต+ดอกเบี้ย+ส่ง รวมทั้งรุ่นตก 300,000 บาท เฉพาะค่าปุ๋ยอย่างเดียว ยังไม่รวม ค่าไถ ทำเทือก หว่านเมล็ดพันธุ์ สารเคมีฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลง-ฆ่าหอย ค่าจ้างฉีดพ่น ค่าน้ำมันสูบน้ำ ค่าเกี่ยว กับค่าจ้างอย่างอื่นอีกเท่าที่จำเป็น ได้ข้าว 70 ถัง หักค่าเมล็ดลีบ เมล็ดป่น เมล็ดท้องปลาซิว แทบไม่เหลืออะไรเลย เป็นอย่างนี้มา 4-5 ปี ติดต่อกันแล้ว วันนี้มีหนี้ ในระบบ-นอกระบบ เกือบ 2 ล้าน .....
ปล่อยโอกาสให้เธอได้ระบายความอัดอั้นจนเป็นที่พอใจ
ในฐานะที่คุณ สมช.รายการวิทยุ ทั้งภาคเช้าภาคค่ำมาตลอด ก็พูดมาตลอดว่า....
- ต้นข้าวกินปุ๋ย 14 ตัว ทั้งทางใบทางราก ทำไม่ให้แค่ 2 ตัว ..... ต้นข้าวกินปุ๋ย 10 กก.ธาตุหลัก ครบทั้ง 3 ตัว ถึงคุณจะใส่มากถึง 150 กก. ก็ยังได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว คือ ตัวหน้ากับตัวกลางเท่านั้น
ถ้าดินไม่ดี ใส่ปุ๋ยเคมีมากเท่าไหร่ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ ไม่ใช่สิ้นเปลืองเปล่าๆ แต่ยังทำให้ดินเสียหนักขึ้นไปอีก แถมคุณไม่ปรับปรุงบำรุงดินเลย
- ฯลฯ
แม้จะพยายามอธิบาย ยกเหตุและผล อ้างทั้งหลักวิชาการและประสบการณ์ตรง ยกแม่น้ำทั้งห้า มหาสมุทรทั้งหกมาบอกแล้ว ดูเหมือนคุณเธอจะยืนยันคำเดียว ต้องการซื้อปุ๋ยลุงคิม ขอเครดิตก่อน อ้างว่าไม่มีเงินสด แล้วก็ไม่มีแหล่งเงินกู้ที่ไหนเขาให้กู้ยืมด้วย รับรองว่าเกี่ยวข้าวแล้วจะส่งมาให้.....
โห ใครจะให้
ประสบการณ์ตรง (5) ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท :
ทิดมั่น คทาชายนายหนุ่มใหญ่ อายุ 50 ขึ้น นิวาสสถานไม่ห่างจากไร่กล้อมแกล้มมากนัก ยึดอาชีพทำนาข้าว 15 ไร่ บนที่เช่ามาตั้งแต่กำเนิด ทำนาอย่างเดียว ปีละ 2 รุ่น มีหนี้ในบ้านเท่าไร ไม่รู้ ....
รู้แต่ว่า ตะวันโพล้เพล้วันนั้น ทิดมั่นส่งเสียงดังโขมงโฉงเฉงตั้งแต่หน้าวัดได้ยินกันทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจ กระทั่งทิดมั่นเข้าบ้าน เสียงทิดมั่นเงียบไป แต่เสียง ยัยแม้น ผู้เป็นเมียดังขึ้นมาแทน ถึงไม่ถามก็รู้ว่า ยัยแม้นโกรธจัด แล้วที่ต้องออกมาด่าผัวนอกบ้านก็เพราะโนผัวเตะนั่นเอง .....
เสียงยัยแม้นร้องด่าง ใครๆ ก็ได้ยิน
.....อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้ตั้งแสน เหลือเงินมาให้กูแค่ 40 บาท แล้วทีนี้จะเอาอะไรแดกกัน....
เหตุผลก็คือ ทิดแม้นต้องเอาเงินที่ขายข้าวได้ไปจ่ายค่าเครดิต ปุ๋ย-ยา ให้เถ้าแก่เส็ง ร้านหน้าวด ไม่งั้นรุ่นหน้าจะไปเครดิตอีกไม่ได้นั่นเอง.....งานนี้ ยัยแม้น กลับเข้าบ้านตอนไหม แหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง
ประสบการณ์ตรง (6) มรดกชาวนา กระดาษ 1 แผ่น :
ค่ำวันหนึ่งนานมาแล้วนานมากจนจำไมได้ ทีวี.ช่องนนทรี รายการ คนค้นคน พูดคุยกับชาวนาสูงอายุ 60-70 แห่งบ้านภาชี อยุธยา
ชาวนา : โฮ้ยยย ทำนาน่ะ มันไม่ได้อะไร อย่างดีก็แค่พอกินไปวันๆ เท่านั้นแหละคุณเอ๊ย
ทีวี. : อ้าว แล้วลุงทำ ทำไม่ล่ะครับ ?
ชาวนา : ก็ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีใครมาสอนมาส่งเสริม
ทีวี. : วันนี้มีหนี้ซักเท่าไหร่ครับ ?
ชาวนา : ก็มากโขอยู่นะ บางปีก็ได้ส่งดอก บางปีก็ไม่ได้ส่ง แต่ต้นยังอยู่
ทีวี. : ลุง...ขอโทษนะ อย่าหาว่าแช่งเลย...ถ้าลุงตายปุบตายปับไปเลย หนี้สินนี่ จะจัดการให้ลูกหลานยังไง
ชาวนา : (หัวเราะ...) ก็มีกระดาษให้มันแผ่นนึง เป็นมรดกไงล่ะ
ทีวี. : กระดาษอะไรครับ ?
ชาวนา : สัญญาเงินกู้ไงล่ะ
ทีวี : หมายความว่าไงลุง ?
ชาวนา : ก็หมายความว่า ปล่อยให้ลูกหลานมันจัดการของมันเอง
ทีวี : เอางั้นนะลุง.....
14. วัชพืช [b]
ธรรมชาติของวัชพืช :
"วัชพืช" หมายถึง พืชที่ไม่ต้องการ รวมทั้งต้นข้าวที่เกิดเองเนื่องจากเมล็ดร่วง ซึ่ง เป็นข้าวต่างรุ่นกับรุ่นที่ปลูก....ไม่มียาฆ่าหญ้าชนิดใดในโลก ที่ใช้ตามอัตรากำหนด ในฉลากแล้วทำให้หญ้าตายอย่างสิ้นซากหรือตายสนิทได้ อย่างดีแค่ใบไหม้เท่านั้น ไม่ช้าไม่นานก็จะงอกเกิดขึ้นมาใหม่ ในสภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงกว่าเก่า....การจะ ใช้ยาฆ่าหญ้าให้หญ้าตายสนิทได้อย่างแท้จริง อาจต้องใช้ในอัตรา 10-20 ล./ไร่ นั่นคือ "ดินตายสนิท" ซึ่งหมายถึง ข้าวหรือพืชใดๆก็อาจอยู่ได้ เช่นกัน
พืชใดที่งอกขึ้นมาจากเมล็ด ช่วงต้นยังเล็ก เมื่อใบหรือลำต้นถูกทำลายจนเสียหาย ก็ จะไม่สามารถงอกใหม่ซ้ำสองได้เลย....กับพืชใดที่แตกยอดใหม่ขึ้นมาจาก หัว-ไหล- เหง้า เมื่อใบหรือต้นถูกทำลาย สามารถงอกใหม่ได้ซ้ำได้ แนวทางเอาชนะ คือ ทำลายซ้ำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายๆรอบ ขณะที่ใบหรือต้นที่เกิดใหม่รับแสงแดดสังเคราะห์ อาหารไม่ได้ ใบและต้นใหม่จะใช้สารอาหารที่สะสมไว้ใน หัว-ไหล-เหง้า จนกระทั่ง สารอาหารที่สะสมไว้หมด หัว-ไหล-เหง้า เน่าเปื่อย วัชพืชต้นนั้นจะตายไปเอง แล้ว ไม่สามารถเกิดใหม่ได้อีกเลย
การกำจัดวัชพืชอย่างสร้างสรรค์
1) ล่อให้งอก แล้วกำจัด โดยการ ไถพรวน ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทิ้งไว้ ระยะหนึ่งกระทั่งแน่ใจว่า ทุกต้น ทุกชนิด ทั้งชนิดที่งอกจากเมล็ดและชนิดที่งอกขึ้น มาจาก หัว-ไหล-เหง้า งอกขึ้นมา 100% แล้ว ให้ใส่น้ำเข้าลึกเหนือตาต่ำ แล้วย่ำ ด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ ย่ำประณีต 2-3 รอบในแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จะพบว่ามีต้น วัชพืชเกิดใหม่ขึ้นมาได้ไม่เกิน 25% ให้ย่ำซ้ำรอบ 2 ย่ำประณีต 2-3 รอบในแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วันอีกครั้ง จะพบว่ามีต้นวัชพืชเกิดใหม่ไม่เกิน 5-10% ให้ย่ำซ้ำรอบ 3 ย่ำประณีต 2-3 รอบในแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จะพบว่ามีต้นวัชพืชเกิดใหม่ไม่ เกิน 1% จากนั้นจึงลงมือทำ "นาดำ" เพื่อเปิดโอกาสกำจัดวัชพืชต่อ
2) ถอนซ้ำ เมื่อต้นข้าวในนาดำโตขึ้น หากพบว่ามีต้นวัชพืชเกิดขึ้นอีก ให้ใช้ วิธีเดินไปถอนด้วยมือ วัชพืชที่ถูกถอนจะไม่มีโอกาสงอกเกิดได้ใหม่ซ้ำได้อย่างแน่ นอน ....ในนาหว่านไม่สามารถทำได้
3) ป้องกันเกิดใหม่ เมื่อวัชพืชในแปลงนาหมดโอกาสงอกใหม่ได้แล้ว ให้พิจารณาวัชพืชข้างแปลงนา เช่น บนคันนา กรณีต้นวัชพืชสูงมากๆ ใช้เครื่องตัด หญ้า ตัดแล้วทิ้งลงแปลงให้เน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ย กรณีที่ต้นวัชพืชไม่สูงมักและไม่ หนาแน่นจนเกินไป ให้ใช้ไม้เรียว (ตีก้นเด็ก) ฟาดที่ก้านดอก เมื่อก้านดอกหัก ดอก ก็จะไม่เจริญกลายเป็นเมล็ดให้เกิดใหม่ได้
การปฏิบัติ ผลที่ได้รับ
1) วางแผนใช้ระยะเวลา "ล่อให้งอกแล้วกำจัด" 1 เดือน
2) งานหนักครั้งแรกครั้งเดียว ครั้งต่อไป และต่อๆไป งานจะลดลง
3) ไม่ทำให้ดินเสียเพราะยาฆ่าหญ้า แต่กลับทำให้ดินดีขึ้น
4) ได้ข้าวที่ไม่มีเมล็ดวัชพืชปน สามารถขายเป็นพันธุ์ข้าวปลูกได้
15. "น้ำ"
น้ำ ปัญหาซ้ำซาก ก็มีแต่ แล้งกับท่วม-ท่วมกับแล้ง เท่านั้น ประเทศเกษตรอย่าง ไทยมีระบบชลประทานที่ควบคุมน้ำได้เพียง 23% เท่านั้น ที่เหลือ 77% นี่ต้อง ปล่อยไปตามเวรตามกรรม พื้นที่บางบาล อยุธยา เป็นก้นกระทะ ทุกปีถึงหน้าน้ำ น้ำ ต้องต้องท่วม ท่วมมากท่วมน้อยก็สุดแท้แต่พระเจ้า เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่สร้างโลก แล้ว แก้ไขไม่ได้หรอก ยังดีนะที่ทุ่งบางบามีแต่ท่วมไม่มีแล้ง ที่อื่นมีทั้งแล้งทั้งท่วม นั่นหมายความว่า ปีไหนน้ำไม่ท่วม ทำแล้วก็ให้ได้กำไรมากๆ ปีไหนน้ำท่วมทำไม่ได้จริงๆก็ปล่อยไป อยู่เฉยๆ หรือจะหาอย่างอื่นทำแทน ให้มีรายได้พออยู่ได้ก็ได้
เมื่อคิดจะทำนาจริงๆ เรื่องระดับน้ำกับนาข้าวต้องควบคุมให้ได้ ระยะไหนข้าวต้อง การน้ำแค่ไหนต้องให้ได้เท่านั้น เช่น
- ช่วงทำเทือก ระดับน้ำลึกครึ่งหน้าแข้งก็พอ ย่ำเทือก 3 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ครบ 3 รอบ ระดับน้ำก็จะลดลงมาให้พอดีได้เอง
- ช่วง หว่าน/ดำ น้ำเจ๊าะแจ๊ะผิวดิน เรียกว่าน้ำขังรอยตีนวัวตีนควาย
- ข้าวอายุ 10 วันแล้ว ปล่อยน้ำเข้าเหนือตาตุ่ม ไม่ควรลึกมากกว่านี้
- ข้าวอายุ 20 วัน, 30 วัน, 40 วัน (ให้ปุ๋ยทางใบสูตรเร่งการแตกกอ) ควบคุมระดับ ให้ลดลงอีก จนถึงหน้าดินแห้ง ....
นาข้าวที่ไถกลบฟาง ฟางกับจุลินทรีย์ในดินจะ เป็นตัวช่วยอุ้มน้ำไว้ ช่วยให้ระบบรากดี รากยาว รากมาก แข็งแรง อากาศลงไปหา รากได้ และช่วยให้ต้นข้าวแตกกอดี ได้หน่อเกิดใหม่จำนวนมาก หน่อใหญ่ สมบูรณ์ แข็งแรง ....
ข้าว 1 เมล็ด ดำห่าง สามารถแตกกอได้ถึง 40-50-60 ลำ
- ข้าวต้นกลม ตั้งท้อง ปล่อยน้ำเข้าระดับเหนือตาตุ่ม (ให้ปุ๋ยสูตรเร่งการออกดอก (หยุดความสูง) ถ้าน้ำมากนอกจากจะต้นสูงแล้ว ไม่ขยายขนาดทางข้าง โตขึ้นต้นล้ม เร่งดอกไม่พุ่ง
16. "ตลาด"
เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด คนไทยเชื้อสายไทยแท้ๆค้าขาย ไม่เป็น ผิดกับคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งวันนี้ถูกกลืนกลายเป็นไทยไปหมดแล้วนั้น ทำ อะไรขึ้นมาแล้วคิดแต่ ขายกับขาย ก่อนเสมอ .... วันนี้ชาวนาเราคิดแต่เพียง ขายให้โรงสี หรือไม่ก็ จำนอง ธ.ก.ส. เท่านั้น ในเมื่อคนเขาทำได้แล้ว เช่น
ทำพันธุ์ข้าวปลูกขายให้แปลงข้างๆ
- บางตำบล รวมกลุ่มทำพันธุ์ข้าวปลูกขายทั่วประเทศ สร้างยี่ห้อขึ้นมาเอง
บางตำบล รวมกลุ่มทำพันธุ์ข้าวปลูกส่งขายให้กรมการข้าวโดยตรง
สีเป็นข้าวหอมขาวกล้อง (หอมมะลิ หอมปทุม) กก.ละ 70 บาท ขายส่ง ขายปลีก
สีเป็นข้าวกล้องสีดำ (หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ สุโขทัย) กก.ละ 100 บาท ขายส่งขายปลีก
จำหน่ายผลผลิตภัณฑ์ที่มาจาก BIPRODUCT (แกลบ รำ น้ำมันรำ จมูกข้าว)
หมายเหตุ :
- รวมกลุ่ม ทำแปลงขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ปริมาณเพียงต่อ ORDER ของตลาดใหญ่ๆ ได้
- รวมกลุ่ม ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน เพื่อคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน
รวมกลุ่ม ทำ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร ใช้เอง เพื่อลดต้นทุน และได้ประสิทธิภาพของปุ๋ยแน่นอน
โฆษณา ประชาสัมพันธ์
17.น้ำหมัก
ในห้องนี้มีน้ำหมักราว 100 ถัง ไม่มีฝาปิดเพราะฝาราคาแพงอันละ 80 บาท คิดดู 100 ถังราคาเท่าไหร่...
ไม่เหม็นเน่า ได้กลิ่นแล้วเวียนหัว ในห้องนี้เคยมี นศ.ฝึกงานกางเต๊นท์นอน ทุกคนบอกไม่เหม็น ก็ถ้าเหม็นเขาจะนอนได้ไง....
แล้วที่ทำๆกันน่ะ ต้องปิดฝาตลอดเวลา เปิดเมื่อไหร่ส่งกลิ่นเหม็นไปไกลแปดบ้าน แล้วที่เหม็นน่ะ ปุ๋ยหรือเชื้อโรค กันแน่....
ลุงคิมชื่นชมเกษตรกร ขวนขวายใคร่รู้ แต่สงสัยคนสอน เอาอะไรไปสอนเกษตรกร
-------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/11/2021 2:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 12/11/2021 10:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
18. หลักการทำน้ำหมักที่นี่เป็นแบบ "ภูมิปัญญาชาวบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ" โมลิเน็กซ์ยักษ์ ฝีมือกะเหรี่ยงแท้ๆ อยู่ชานแดน สวนผึ้ง ราชบุรี แค่เขียนพิมพ์เขียวให้เท่านั้น สำเร็จรูปออกมาเลย....ใช้งานมาแล้ว 4-5-6 ปี
19. ส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์แท้ๆ ปลาทะเล ขี้ค้างคาว เลือด ไขกระดูก นมสด น้ำมะพร้าว ใช้จุลิน
ทรีย์ประเภทย่อยสลายโปรตีนเนื้อปลาโดยเฉพาะ...ส่วนผสมทุกตัวหมักนานข้ามปี ถึง 2 ปี 3 ปี
20. สารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากในการส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ คือ ผู้ปรับสภาพโครงสร้างดินอย่างแท้จริง....ขี้เทือกนาข้าวดีได้เพราะฝีมือจุลินทรีย์เท่านั้น หาใช่สารระเบิดดินดานหรือปุ๋ยเคมีใดๆทั้งสิ้นไม่
21. แม้ว่าในน้ำหมักจะมีปริมาณสารอาหารไม่มาก แต่ตัวสารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์แท้ๆ จะมีประโยชน์ต่อพืชสูงมากกว่าสารอาหารที่เป็นเคมีหลายพันเท่า (ข่อมูล / เกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น) ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ ใส่ปุ๋ยเคมีแก่นาข้าวเพียง 10-20 กก./ไร่ แล้วได้ผลลิตเท่ากับใส่ปุ๋ยเคมี 50-100 กก. และนี่คือ นาข้าวอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว โดยแท้
22. น้ำหมักชีวภาพด้วยวิธีการหมักปกติ แม้จะหมักนานข้ามปี 2 ปี, 3 ปี, ก็ไม่สารถผ่านปากใบพืชได้ เพราะโมเลกุลยังมีขนาดใหญ่ ที่ให้ทางใบกันแล้วต้นพืชเจริญเติบโตได้นั้น เพราะน้ำหมักส่วนหนึ่งตกลงดิน แล้วส่งเสริมผ่านดิน ผ่านราก ไปสู่ต้นพืชเองต่างหาก โดยเฉพาะช่วงการใช้แรกๆ มีปุ๋ยอินทรีย์เหลือตกค้างอยู่ในดิน แล้วจุลินทรีย์เป็นผู้ดึงปุ๋ยเคมีนั้นออกมาให้แก่พืช ครั้นปุ๋ยเคมีหมดมีแต่จุลินทรีย์ พืชจึงไม่เจริญเติบโตไงล่ะ
23. น้ำหมักชีวภาพหลายสำนัก ให้ทางใบแล้วเกิดอาการใบไหม้ นั่นเป็นเพราะใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสมมากเกินไป เช่น หมักหอยเชอร์รี่หรือปลา นัยว่าเป็นซากสัตว์ ต้องใช้กากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1 ....แต่น้ำหมักปลาทะเลที่นี่ ใช้ปลา 20 กก. ในถังความจุ 200 ล. มีกากน้ำตาลเพียง 5-7 ล. เท่านั้น จึงไม่เป็นอันตรายต่อใบพืช ส่วนผสมที่เห็นเป็นน้ำเต็มถังนี้ คือ น้ำมะพร้าว ล้วนๆ ไม่มีการเติมน้ำเปล่าเด็ดขาด ทั้งนี้ ในน้ำหมักปกติมีสารอาหารน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แล้วเติมน้ำเปล่าลงไป สารอาหารมิน้อยหนักไปอีกรึ สุุดท้าย ได้แค่น้ำละลายกากน้ำตาลธรรมดาๆ นี่เอง
24. ส่วนผสมทุกตัวที่นี่ไม่มีกาก ทุกอย่างละลายเป็นน้ำ หมักนาน 3 เดือนได้ธาตุหลัก หมักต่ออีก 3 เดือนได้ธาตุรอง หมักต่ออีก 3 เดือนได้ธาตุเสริม หมักต่ออีก 3 เดือน ได้ฮอร์โมน เบ็ดเสร็จหมักนานข้ามปี....แล้วที่หมักกัน 1 เดือน 2 เดือน ได้ธาตุอาหารตัวไหน
25. สารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำหมัก เมื่อไม่แน่ใจว่าจะพอเพียงสำหรับพืชบางชนิด บางระยะเจริญเติบโตหรือไม่ ก็ให้ใส่เพิ่มปุ๋ยเคมีลงไป ธาตุหลัก แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง ธาตุเสริม นี่คือหลักการ อินทรีย์กับเคมีผสมผสานกันนั่นเอง
ทิ้งท้าย :
น้ำหมักชีวภาพที่นี่ เคยเอาไปตรวจที่กรมวิชาการมาแล้ว 3 ครั้ง ตรวจเฉพาะส่วนที่เป็นอินทรีย์เพียวๆ ผลการตรวจ "ผ่าน" ทั้ง 3 ครั้ง ขนาด จนท.บอกเลยว่า "โอ้โฮ เจ้านี้ อะไรเยอะแยะ ขอไว้เป็นตัวอย่างได้ไหม..." ก็เลยบอกไปว่า "เอาใหม่ดีกว่า มีเป็น พันๆ ลิตร...." ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ที่เขาทำมาจากผลไม้ ผักสวนครัว หอยเชอร์รี่ ทำแล้วได้สารอาหารอะไรบ้าง.....
น้ำหมักชีวภาพ (อินทรีย์ล้วน) หรือ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (อินทรีย์+เคมี) เราตั้งชื่อว่า "ระเบิดเถิดเทิง" เพื่อใช้เรียกในการสื่อสารกัน ที่จริง ต้นไม้ต้นพืชเขาไม่รู้จักชื่อหรอก ไม่ฟังโฆษณา ไม่รู้จักเจ้าของสูตร คนต่างหากที่โมเมชั่นกันเอาเอง เขารู้จักแต่เนื้อสารอาหารเท่านั้น.....หลายคนได้สูตรไปจากที่นี่แล้วไปทำเอง ทำแล้วตั้งชื่อว่า "ระเบิดเถิดเทิง" เหมือนของที่นี่ แต่ว่า วัสดุส่วนผสม กรรมวิธีในการทำ ไม่เหมือนกับที่นี่ เพราะฉนั้น นอกจากใช้ชื่อนี้เรียกไม่ได้แล้ว คนทำยังเป็นคนละคนด้วย ของคุณอาจจะดีกว่าที่นี่ หรือด้อยกว่าที่นี่ก็สุดแท้ ก็ไม่ควรใช้ชื่อนี้ ส่วนจะชื่ออะไรก็ว่าไป....ชื่อนี้ลุงคิมไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ถึงคุณจะมีสิทธิ์ใช้ได้ แต่ก็ไม่ควรใช้เพราะมันคือ การหลอกลวงกันดีๆนี่เอง........ว่ามั้ย
26. ยูเรีย จี.เกรด, 18-38-12, 0-52-34, 25-5-5, 0-21-74, 5-10-40 ชุดทำ แคลเซียม โบรอน (15-0-0 จี - โบรอนพืช เกรด 10 โมเลกุลน้ำ) ชาตรีฯ คาราวาน มีขาย
27. ทำแคลเซียม โบรอน LEARNING BY DOING ทำตามคำบอก ใส่ทีละตัวตามลำดับ ใส่แล้วตรวจ สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง-ตะกอน ก็แค่นี้แหละ .... เชื่อมั้ย คนอ้วนกับแคลเซียม โบรอน ถูกกันดีนะ
28. ทำครั้งแรกในชีวิต แม้แต่เคยเห็นก็ยังครั้งแรก.....ยังทำได้ แล้วใครว่ายาก
29. แคลเซียม โบรอน กับต้นข้าวต้องให้ช่วงระยะกล้า ระยะแตกกอ ตั้งท้อง ต้นกลม ระยะไหนก็ได้ ซัก 1-2 ครั้ง จะช่วยให้คุณภาพเมล็ดดีมากๆ....ไม่ควรให้ช่วงระยะพลับพลึง ก่อนเกี่ยว เพราะจะทำให้ระแง้เหนียว รถเกี่ยวสลัดไม่หลุด คนขับมันจะด่าเอา เพราะต้องแล่นรถช้า เปลืองน้ำมัน เสียเวลา
30. ฉีดพ่นน้ำทางใบ 10 ต้น 10 นาที เปียกใบดีกว่าฉีดด้วยมือไหม ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงานกว่าฉีดด้วยมือมั้ย.....สปริงเกอร์ที่นี่ ฉีดปุ๋ย ฮอร์โมน ยาสมุนไพร ค่ำรอบเช้ารอบ-เช้ารอบค่ำรอบ คนเดียวทำได้สบาย
31. แรงดันปั๊มดันขวดระเบิด....ซ่อมได้ เดี๋ยวนั้นเลย
32. ทำนาข้าวแล้วดูสปริงเกอร์ จะไปใช้กับนาข้าวเหรอ...คำตอบคือ บางคนก็ทำสวน ไม้ผล สวนผัก ก็มี
33. สปริงเกอร์ที่นี่แบบกะเหรี่ยง ยาวตัด-สั้นต่อ-ไม่พอซื้อ-ไม่ดีรื้อทำใหม่ คิดเองทำเอง ไม่มีใครเหมือน เพราะไม่เหมือนใคร....ของเก่าใช้แล้ว เสียแล้ว ไม่มีทิ้ง REUSE ได้.....แล้วท่อน้ำไทยมันจะขายออกมั้ยน่ะ
34. โซนละ 50 ต้น ค่าอุปกรณ์ (ไม่รวมปั๊ม) โซนละ 5,000 แต่ค่าแรง 10,000 ไม้ 20 โซนเป็นเงินเท่าไหร่ เลยเลิกจ้าง ..... ก.ทำเองดีกว่า
35. ใช้งานมาแล้วขึ้นปี 6 นี่ใช่ต่ออีก 10 ปียังได้....ติดสปริงเกอร์ มีแต่คนหาว่า "ตาคิมบ้า" กันทั้งนั้น....เฮอะ เฮ้ย คนบ้าทำงาน 2 ชม.เสร็จ กลับมาอ่านหนังสือคู่สร้าง คู่สมแล้ว แต่คนดียังลากสายยางเดินฉีดทีละต้นๆ ๆๆ หัวแดงหน้าดำ เช้ายันค่ำต่อวันรุ่งขึ้นอีก .... เนื้อที่เท่ากัน สปริงเกอร์ 2 ชม.เท่ากับไฟฟ้า 2 ชม. ลากสายยาง 2 วัน เช้ายันค่ำ ค่าไฟฟ้า 2 วัน ..... งั้นขอบ้าดีกว่า ว่ามั้ย
36. สมช.สาธิตตัดขวดด้วยนิ้วมือ ออกมาเป็นปากฉลามเลย....บรื๋ออออ เสียวนิ้วขาด (ว่ะ....)
37. อันนี้ชัวร์กว่า ตัดขวดด้วยไฟ เตาแก๊สในครัวนี่แหละ
38. ขวดที่ใช้ทำหม้อปุ๋ยหน้าโซนต้องเลือกขนาดด้วยนะ วันนี้รู้ว่า ขวดน้ำปลาตราคนแบกกุ้ง คนแบกเป็นตุ๊ด นั่นแหละพอดีเป๊ะเลย...ไซส์ที่ใช้อยู่ตอนนี้ คือ 2.5 นิ้ว ไซส์นี้ พีวีซี.เขามาตรฐานแน่นอน แต่ขวดน้ำปลาสิเอาแน่ไม่ได้ +/- 1 มิล.อยู่เสมอ ถ้าไซส์ผิดขนาดนี้ก็ใช้ไม่ได้ วันนั้นไปเจอขวดน้ำปลา ทดสอบเอา พีวีซี. 2.5 นิ้ว ลองสวมเห็นว่าพอดีเป๊ะ สั่งซื้อยก 6 ลังเลย ซาเล้งงง ซื้อไปทำไมเยอะแยะ (วะ)
----------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/02/2024 7:34 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 05/01/2023 7:35 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|
|
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
|
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
|
|