kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 09/03/2022 5:03 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 10 มี.ค. * อยากได้เครื่องหมาย จี |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 10 มี.ค.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
ผู้สนับสนุนรายการ วิทยุ/เน็ต :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 12 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี ....
* ส.ค.ส. ต้อนรับปีใหม่ ....
ขาย ! .... ซื้อปุ๋ยไซส์ใหญ่ขนาด 5 ล. แถม ไซส์เล็ก 1 ลิตร ...
ขาย ! .... ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....เทศกาลปีใหม่ ของขวัญที่คนรับภูมิใจ ได้ไปแล้วเก็บไว้นาน นานจนชั่วชีวิตก็ว่าได้ นั่นคือ หนังสือ ที่หน้าปกหนังสือเขียนลายเซ็นคนให้ไว้ คนที่ได้รับ ทุกครั้งที่หยิบหนังสือขึ้นมาเห็นลายเซ็นต์ จะยิ้ม ภูมิใจ แน่นอน
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
แจก ! .... ปฏิทินรูปพระ ขนาดใหญ่ติดผนัง 6 แผ่น 12 เดือน
*********************************************************
*********************************************************
จาก : (084) 723-09xx
ข้อความ : อยากได้เครื่องหมาย จีเอพี.
จาก : (092) 416-82xx
ข้อความ : เกษตร จีเอพี ทำยังไงคะ
บ่น :
สัจจะธรรม ....
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ บนความเหมือนยังมีความต่าง บนความต่างยังมีความเหมือน ฉันใด
- แปลงเกษตรที่คนสองคนหรือหลายๆคน เห็นกับดา จับกับมือ กินกับปาก ในแต่ละคนก็ไม่มีสูตรตายตัว มีความเหมือนความต่างของแต่ละคน ฉันนั้น
- กติกาหรือกฏหรือระเบียบ จีเอพี. มีลายลักษณะอักษรกำหนดชัดเจน แต่ครั้นปฏิบัติกลับต่างกัน กำลังจะบอกว่า รายละเอียดสาระเนื้อหาที่เป็นคำตอบต่อคำถามนี้ ยังมีการยกเว้นหรือผ่นปรนได้ตามความจำเป็นหรือเหมาะสม เพราะฉะนั้น ผู้ขอ จีเอพี. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษารายละเอียดของ ระเบียบหรือกฏ อย่างอะเอียดก่อน.... คำตอบ ได้/ไม่ได้-ใช่/ไม่ใช่ ที่ชัดเจนที่สุดคือ คำตอบจาก จนท.ผู้อนุมัติ จีพีเอ. นั่นเอง
ตอบ :
GAP (Good Agricultural Practice) หมายถึง ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการ และมีความปลอดภัยต่อการบริโภค
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย..... ผลไม้ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน.... พืชผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง.... ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา.... พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา
เกษตรดีที่เหมาะสม 8 ประการ :
การจัดการดินที่ดี : มีการรักษา และปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยวิธีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงในดิน เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดการชะล้างหน้าดินเมื่อฝนตก มีการปรับความเป็นกรดด่างของดิน
เลือกชนิดปุ๋ยเคมีตามปริมาณ ตามระยะที่พืชต้องการในตำแหน่งที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้ง่ายและรวดเร็ว ระวังการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณสูงเกินไป จนเกิดปัญหาการปนเปื้อนในรูปของไนเตรตและฟอสเฟต
มีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีตรงกับระยะเวลา และอัตราที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด
การจัดการน้ำ : เลือกใช้ระบบการให้น้ำมีประสิทธิภาพสูง คุ้มค่ากับการลงทุน ให้น้ำตามปริมาณและเวลาที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และหลีกเลี่ยงน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนกับผลผลิต
การผลิตพืช : คัดเลือกพันธุ์หรือสายพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรู รวมทั้งจัดระยะปลูกอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช จัดลำดับการปลูกพืชในแปลงปลูกให้มีความหลากหลายที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อกัน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่ได้จากไรโซเดียมในปมรากถั่ว มีการทำระบบเกษตรผสมผสานพืช สัตว์ และปลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของความปลอดภัยที่รัฐกำหนดไว้
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช : ให้มีการตรวจสอบและพยากรณ์ช่วงการระบาดของโรคและแมลงอยู่อย่างสม่ำเสมอและวิธีการ จัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานมาใช้ให้มีประสิทธิภาพปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อมีการระบาดในระดับไม่รุนแรง ก็อาจจะกำจัดโดยวิธีเผาทำลาย เมื่อพบการระบาดในระดับหนึ่งอาจจะมีการควบคุมด้วยชีววิธี เช่น ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
แต่เมื่อมีการระบาดถึงระดับที่ทำความเสียหายรุนแรงก็อาจจะต้องมีการใช้สิ่ง ทดแทนสารเคมีที่ปลอดภัยกว่า เช่น สารสกัดจากสะเดา เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส NPV เป็นต้น
ถ้าจะใช้สารเคมีควรจะดูที่มีการขึ้นทะเบียนแล้ว มีฉลากระบุวิธีการใช้และข้อระวังอย่างชัดเจนปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด มีการเก็บรักษาสารเคมีก่อน และหลังนำมาใช้เก็บในสถานที่ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปในระดับไร่นา : เก็บเกี่ยวผลผลิตในเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้มีผลตกค้างของสารเคมีในระดับที่เป็นอันตราย มีการล้างทำความสะอาดผลผลิต มีการเก็บรักษาผลผลิตในแหล่งที่สะอาดถูกสุขลักษณะและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม บรรจุผลผลิตในภาชนะที่สะอาดก่อนการขนส่งไปยังแหล่งจำหน่าย
การจัดการพลังงานและของเสียจากไร่นา : จัดหาและใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหรือถ่านที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรตามกำหนดเวลา มีการเก็บปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรในที่มิดชิดปลอดภัยจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
สวัสดิภาพ สุขภาพ และความปลอดภัยของเกษตรกรหรือผู้ปฏิบัติการผลิตสินค้า : เกษตรต้องมีรายได้พอเพียงกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตมีความ ปลอดภัยและมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ รัฐต้องเป็นผู้ให้ความรู้ในการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรอย่างถูกวิธี นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนเหมาะสมให้กับลูกจ้าง
ไม่ทำลายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชป่า และสภาพภูมิประเทศ : ควรหลีกเลี่ยงการทำลายพันธุ์พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม มีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม มีการใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง มีการจัดการน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำไม่ให้มีสารพิษปนเปื้อน อันจะเกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และแนวทางที่สำคัญของการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมที่เพิ่มขึ้นมาอีกประการหนึ่ง คือ จะต้องมีการ บันทึกข้อมูลการปฏิบัติการ ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ หากเกิดข้อผิดพลาดบกพร่อง จะสามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที
1. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร :
1. การปลูกในแปลงปลูก :
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลง หรือโรคพืชที่ อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 ม. ส่วนความยาวควร เป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้ เพื่อให้ ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุง ให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กก. ต่อเนื้อที่ 1 ตร.ม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 ซม. ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 ซม. เป็นต้น
2. การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 ซม. คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
ภาชนะปลูก :
ที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้
การปฏิบัติดูแลรักษา :
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ : การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอ ชุ่มอย่าให้โชก
2. การให้ปุ๋ย : มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูก เพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสม กับการเจริญเติบโต ของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
3. การป้องกันจำกัดศัตรูพืช
ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติหรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ล. ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวก มด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาว โรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน
การเก็บเกี่ยว สวนครัว :
การเก็บเกี่ยวผัก ควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผล ควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผัก ที่สดอ่อนหรือ โตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือ ลำต้น และรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่ จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับ ชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น บ้างยาวบ้าง คละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกัน แต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่า พอรับประทานได้ในครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บ รับประทานได้ทุกวันตลอดปี
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) :
1. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร :
- จัดเก็บสารเคมีในสถานที่แยกกับที่พักอาศัย
- ใช้ตามคําแนะนําของกรมวิชาการ ตามฉลากแนะนําที่ขึ้นทะเบียน และประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้
- ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายห้ามใช้ 96 ชนิด
- ไม่ใช้สารเคมีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและที่ประกาศห้ามใช้
- สารมีที่เก็บไม่มีโอกาสปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ
- ขณะฉีดพ่นสารเคมีสวมเครื่องป้องกันทุกครั้ง ทําความสะอาดร่างกายและอุปกรณ์ทุกครั้งหลังฉีด พ่นสารเคมี และไม่ฉีดพ่นสารเคมีช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต
2. สุขภาพผู้ปฏิบัติ :
- มีความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอและมีมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม
- ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
- มีอุปกรณ์รักษาพยาบาลเบื้องต้น
- เก็บประวัติและหลักฐานการตรวจสุขภาพ
- หลีกเลี่ยงและป้องกันการสัมผัสสารเคมีโดยตรง
3. การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิต :
- การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต
- มีระบบการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุและวิธีการเก็บเกี่ยว ต้องสะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพผลผลิตหรือปนเปื้อน
- เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะที่เหมาะสมตามเกณฑ์ในแผนควบคุมการผลิต
- คัดแยกผลผลิตด้อยคุณภาพไว้ต่างหาก
- สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาดอากาศถ่ายเทได้ดี
4. การขนส่งผลผลิต :
- ป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตผลจากการปนเปื้อนของวัตถุอันตรายและสิ่งแปลกปลอม
- พาหนะขนส่ง สะอาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอม หรือปนเปื้อนวัตถุอันตราย
- ขนส่งผลผลิตตามระยะเวลาที่กําหนด
- ต้องขนย้ายผลผลิตอย่างระมัดระวัง
5. การบันทึกข้อมูล :
- ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติจริง
- จํานวนพื้นที่ปลูก วันที่ปลูก
- การปฏิบัติในการเพาะปลูก
- การบํารุงรักษาดิน
- ที่มาของปัจจัยการผลิต
- การป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
- วันที่เก็บเกี่ยวผลผลิต
- ผลผลิตต่อไร่
- ข้อมูลผู้รับซื้อผลผลิตหรือแหล่งที่นําผลผลิตไปจําหน่าย
- การเก็บรักษาบันทึกข้อมูลการผลิตอย่างน้อย 2 ปี
หมายเหตุ :
- สมุดบันทึกควรจะมั่นคงแข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย/ไม่เสี่ยงต่อการหาย
- ต้องบันทึกต่อเนื่อง
- นอกจาก GAP แล้วยังมี มาตรฐาน GMP อีกด้วย
ปล.
ปี 2564 กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแผนการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช GAP รวมจำนวนทั้งสิ้น 120,000 แปลง โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผลไม้หลักส่งออกที่จำเป็นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ตามเงื่อนไขของประเทคู่ค้า เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ และมะม่วง ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศจีน
ปัจจุบันจีนได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยรวมจำนวนทั้งสิ้น 22 ชนิด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี
ในเดือน ส.ค. นี้ จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้กับจีนอีก 3 ชนิด คือ มะขาม เงาะ และส้มโอ ซึ่งจะทำให้การส่งออกผลไม้ไปจีนจะต้องเป็นสวนที่ขึ้นทะเบียนและโรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น จึงจะส่งออกไปจีนได้
ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรในแต่ละพื้นที่แจ้งให้เกษตรกรได้รับทราบและรีบสมัครเข้าสู่กระบวนการตรวจรับรองตามมาตรฐาน GAP
โดยเจ้าหน้าที่ของกรมจะเร่งรัดการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนสวน GAP และโรงคัดบรรจุผลไม้ GMP พืชทั้ง 3 ชนิดให้แก่เกษตรกรอย่างเร่งด่วนก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออก
ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีแปลงของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืช GAP รวมจำนวนทั้งสิ้น 230,574 แปลง คิดเป็นพื้นที่จำนวน 1,517,640 ไร่ ส่วนโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP มีจำนวนทั้งสิ้น 1,841 โรงงาน
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/933340
---------------------------------------------------------------------------------
.
|
|