kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 19/04/2022 5:13 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 เม.ย. * ทำสารสมุนไพรสไตล์ลุงค |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 เม.ย.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 23 เม.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนภิเษก
- เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. สัญจรรอบพิเศษไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
ทุกงานสัญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (083) 187-36xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน ขอข้อมูลเรื่องโรคพืช ที่เกิดจากศัตรูพืชโดยตรง กับเกิดจากสาหตุอื่น จะเอาไปเขียนรายงานครับ ขอบคุณครับ
จาก : (097) 516-90xx
ข้อความ : ลุงครับ ศัตรูพืชมีหลายตระกูล ต้องเลือกสมุนไพรที่ตรงกับตระกูลศัตรูพืช
จาก : (084) 626-14xx
ข้อความ : ขอสูตรทำสารสมุนไพรสไตล์ลุงคิม
ตอบ :
โรคพืช และสาเหตุของการเกิดโรค :
โรคพืช หมายถึง ลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ เพราะขบวนการทางสรีรวิทยา เช่น การสังเคราะห์แสง การบางของเซลล์ การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชถูกขัดขวางหรือทำลายอย่างต่อเนื่องโดยเชื้อโรคและปัจจัยบางอย่างในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม อาการที่พืชผิดปกติอาจจะเป็นลักษณะใบ ดอก ผล ลำต้น หรือราก รูปร่างและขนาดผลมักเล็ก ผลแตกร่วง ใบอาจมีจุด มีแผลใบไหม้ ใบเปลี่ยนสี รากเน่า โคนเน่า เน่าทั้งต้น หรือการแห้งตายทั้งต้น
จะเห็นได้ว่า เชื้อโรค (pathogen) ไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค ในกรณีหนอนของแมลงที่กัดกินใบพืช ไม่ได้หมายความว่า พืชนั้นเป็นโรค เพราะหนอนไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชโดยตรงอย่างต่อเนื่อง แต่กรณีของเพลี้ยไฟ หรือไรแดง ไรขาว ที่ดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วทำให้ใบบิดเบี้ยวยอดหงิกงอ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างต่อเนื่อง อาจเข้าข่ายว่าเป็นแมลงที่ทำให้เกิดโรคพืชได้ อย่างไรก็ตามอย่างไรก็ตาม แมลงมักถูกแยกออกจากการถูกเรียกว่าเป็นสาเหตุของเชื้อโรคโดยตรง เป็นกลุ่มศึกษาพิเศษที่เรียกว่า กีฏวิทยา แม้ว่าโรคพืชหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์กับแมลงอย่างลึกซึ้งก็ตาม โดยเฉพาะแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่พืช ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับแมลงมักเป็นวิทยาศาสตร์ที่ควบคู่กับโรคพืช
การเกิดโรคพืช โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัย 3 ประการคือ มีพืช (host plant) มีเชื้อโรค (pathogens) ซึ่งได้แก่ เชื้อรา (fungus, pl. = fungi) แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (virus) ไส้เดือนฝอย (nematode) มายโคพลาสมา หรือไฟโตพลาสมา (Mycoplasma or Phytoplasma) ซึ่งสามารถจะพัฒนาการทำให้เกิดอาการของโรคได้ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คืออุณหภูมิ ความชื้นพอเหมาะ และระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง เชื้อโรคในที่นี้หมายถึงแต่เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกับพืชเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีโรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นโรคพืชที่ไม่มีการติดเชื้อ (Non-infectious diseases) เช่น
- การขาดปุ๋ย
- การขาดธาตุอาหารรองบางตัว หรือการมีธาตุหารรองดังกล่าวมากเกิน
- สภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
- สภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือหนาวจัด
- ความชื้นและแสงที่มากเกินไป น้อยเกินไป
- การขาดอ็อกซิเจน การเกิดมลภาวะ
ล้วนส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปรกติ โรคพืชในที่นี้ไม่รวมถึงโรคที่เกิดกับแมลง สัตว์และมนุษย์
Link to A Chcecklist of Common Plant Diseases of Economic Importnce in Thailand.
แบ่งปันข้อมูลจาก : หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย, 2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่
สัจจะธรรม ธรรมชาติ :
งานวิจัย Grainge and Ahmed (1988) : ในโลกนี้มีพืช 2,400 ชนิด มีสารออกฤทธิ์ใช้ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชได้ .... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว สรุปได้เป็น 3 คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในพืชที่เรียกว่า สารสมุนไพร หรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ศัตรูพืชนั่นเอง
- สัญชาติญาณของแมลงในการเข้าหาพืชเป้าหมายด้วยการตาม กลิ่น (แมลงไม่มีจมูก แต่มีตุ่มรับกลิ่นที่ข้างลำตัว) หากกลิ่นของพืชเป้าหมายเปลี่ยนไป แมลงไม่รู้ คิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการก็จะไม่เข้าหาพืชนั้น ....
ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการเข้าหาของแมลง
- ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 500,000 เท่า (หมาสูงกว่าคน 200,000 เท่า...สารคดีดิสคัพเวอรี)
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) แล้วกินพืชนั้น แต่ รส ของพืชเป้าหมายที่เคยกินเปลี่ยนไปจากเดิม แมลงจึงคิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการ ก็จะไม่กินพืชนั้นอีก .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินของแมลง
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) กินพืชนั้นแล้วตายเพราะมี ฤทธิ์ บางอย่างอยู่ที่พืชนั้น .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินแมลง
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อวางไข่ แล้วปล่อยให้ไข่ฟักตัวออกเป็นหนอน (หนอน คือ ทายาทของแมลง) เมื่อหนอนเกิดมาแล้วกินพืชนั้นเป็นอาหาร ในอาหารนั้นมีฤทธิ์ หนอนจะตายทันที หรือยังไม่ตายแต่ไม่เข้าดักแด้ ไม่ช้าก็ตายเหมือนกัน .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจาการกัดกินของหนอน
- แมลงวันทอง หลงกลิ่น .... แมลงศัตรูพืช กลางวัน เข้าหาสีเหลือง .... แมลงศัตรูพืช กลางคืน เข้าหาแสง .... แมลงธรรมชาติ (ผึ้ง ชันโรง ผีเสื้อสวยงาม) ไม่หลงสี ไม่หลงแสง .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจาการเข้าทำลายของแมลงวันทอง และแมลงศัตรูพืชอื่นๆ
รวมงานวิจัย :
สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช.... โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/9.pdf
พืชสมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมีสังเคราะห์ .... อ.แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์ม ม.แม่โจ้
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_87501
การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมนุไพร .... กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_30.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช .... สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่
http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2011004.html
สมุนไพรไล่แมลง สูตรร้อนแรง ... อ.เกศศิรินทร์ แสงมณี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนคร
https://www.baanlaesuan.com/150794/garden-farm/herbal-insect-repellent-2
ควบคุมศัตรูพืชด้วยสารธรรมชาติ .... กรมวิชาการเกษตร
http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n9/v-8-sep/cheaksong.pdf
สมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมี (ตอนที่2) .... สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ม.แม่โจ้ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/37-organic/165-
งานวิจัยฯ .... ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year6-issue1-2557/p_39.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช..... กรมวิชาการเกษตร
http://www.pmc03.doae.go.th/webpage/research/researchsamunphai.pdf
สมุนไพร : เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง .... วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
http://www.kpcat.ac.th/BWLFSD/document/07102556.pdf
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช http://lpsci.nfe.go.th/lpsci/attachments/184_bb11.pdf
คลื่นวิทยุลดความชื้นในข้าวและกำจัดแมลง .... คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่
https://www.voicetv.co.th/read/76546
วิธีทำ เอาสารออกฤทธิ์ (ตัวยา) :
*** ประเภท ขม/ฝาด/เบื่อเมา ใช้วิธี หมัก/แช่
*** ประเภท เผ็ด/ร้อน ใช้วิธี ต้ม
*** ประเภท กลิ่น ใช้วิธี กลั่น
วิธี แช่ : น้ำ + แอลกอฮอร์ 10% ของน้ำ + น้ำส้มสายชู 10% ของแอลกอฮอร์ + สมุนไพรพอท่วม .... แช่ 3-5 วัน คนวันละครั้ง กรองกากออก ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
วิธี ต้ม : น้ำ+สมุนไพรพอท่วม ต้มพอเดือด ปล่อยให้เย็น กรองกากออก ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
วิธี กลั่น : ใช้วิธีกลั่นแบบ ต้มเหล้าป่า กลั่นแล้วได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่มีการใส่กากน้ำตาล หรือจุลินทรีย์
- วิธีแช่ใส่ แอลกอฮอร์-น้ำส้มสายชู ช่วยเร่งให้ตัวยาออกมาเร็ว และดี
- ทำสารสมุนไพรเสร็จพร้อมใช้แล้ว ป้องกันการเกิดฝ้าด้วยการใส่ สารกันบูด
- สมุนไพรหลายอย่างแต่มีสรรพคุณกำจัดศัตรูพืชตัวเดียวกัน เอามา แช่/ต้ม/กลั่น รวมกันแล้วใช้ เรียกว่า สูตรเฉพาะ เช่น ....
** ประเภทเบื่อเมา : สะเดา น้อยหน่า กลอย หางไหล หนอนตายหยาก บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เขียวไข่กา ฯลฯ หมักรวมกันเป็น สูตรเฉพาะกำจัดหนอน
** ประเภทเผ็ดร้อน : พริก ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม พริกไทย ดีปลี ฯลฯ ต้มรวมกันเป็น สูตรเฉพาะกำจัดเชื้อรา
** ประเภทกลิ่นจัด : ตะไคร้ ยูคาลิปตัส ดาวเรือง ผกากรอง สาบเสือ กะเพรา แมงลัก ฯลฯ กลั่นรวมกันเป็น สูตรเฉพาะไล่แมลง
- สูตรเฉพาะ กำจัดหนอน-กำจัดเชื้อรา-ไล่แมลง แต่ละสูตรพร้อมใช้แล้ว นำมารวมกันแล้วใช้ร่วมกัน เรียกว่า สูตรรวมมิตร .... พูดง่ายๆ ก็คือ ทำแยกแต่ใช้ร่วม ประมาณนี้
- สารสมุนไพรทุกสูตรใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ (เฉพาะสูตรของลุงคิม) ได้
- สารสมุนไพร (เฉพาะสูตรของลุงคิม) ทุกสูตร ใช้ร่วมกับสารเคมีได้
- ตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ในสมุนไพร มีงานวิจัยจากนักวิชาการรองรับยืนยันว่าได้ผล
- แหล่งข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ องค์การเภสัชกรรม หรือ ร.พ.อภัยภูเบศร์ หรือร้านขายยาแผนโบราณ
** CASE STUDY วันนี้ คือ :
สหรัฐ อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน หนอนตายหยาก .... เอาไปทำอะไร ?
เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์อะแซดิแร็คติน สะเดา ..................... เอาไปทำอะไร ?
ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์แค็ปไซซิน พริก ............................... เอาไปทำอะไร ?
เร็วๆนี้จีนนำเข้า พริก ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย ฯลฯ จากไทย บอกว่าจะเอาไปทำสารสมุนไพรเพื่อการเกษตร ..... จริงหรือ ?
วันนี้ไทย ส่งเสริม/เชียร์ กันชา กันชง กันท่อม แต่ไม่เคยเอ่ยถึงสมุนไพรเพื่อการเกษตรเลย แม้แต่หน่วยงานที่มีผลงานวิจัยเรื่องสมุนไพรเพื่อการเกษตรที่วิจัยแล้วก็ไม่ต่อยอดขยายผลงานวิจัยนั้นเลย ตรงกันข้ามกลับ ต่อต้าน/คัดค้าน ด้วย .... อนิจจา ประเทศไทย
----------------------------------------------------------------------------
.
|
|