-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 พ.ย. * ผักชีแจ๊คพ็อต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 พ.ย. * ผักชีแจ๊คพ็อต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2022 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 พ.ย. * ผักชีแจ๊คพ็อต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 พ.ย.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้ 21 พ.ย.วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494
ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 26 พ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก....
งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 718x 419x
ข้อความ : เวลาคือต้นทุน ปลูกอะไรใช้เวลาน้อย ขายได้ราคาดี

จาก : 06 910x 531x
ข้อความ : ขอสูตรผักชีแจ๊คพ๊อตเจ้าค่ะ

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ปลูกผักชีไทย 5 ไร่ สร้างรายได้ 8,000-10,000 บาท/สัปดาห์ ให้ผลตอบแทนเร็ว :
คุณธานินทร์-เพ็งพูน

ผักชีไทยที่เกษตรกรผู้เพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกเพื่อเป็นการค้า ก็ยังสามารถทำรายได้ต่อวันให้มิใช่น้อย อย่างเช่น เกษตรกรผู้ปลูกผักชีไทยในพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในขณะเดียวกันนั้นซึ่งมีเกษตรกรบางเจ้ายังได้ปลูกพืชผักล้มลุกอายุสั้นแซมแบบผสมผสานกันไปกับผักชีไทย โดยได้ปลูกผักชีไทยเป็นพืชตัวยืนหลัก

ธานินทร์ เพ็งพูน เกษตรกรผู้ที่เคยผ่านการเพาะปลูกพืชผักล้มลุกมาหลากหลายชนิด รวมทั้งทำนาข้าว โดยเขาเล่าว่า ได้เพาะปลูกผักชีไทยรวมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานานมากกว่า 10 ปี ที่ได้ยึดอาชีพปลูกเป็นพืชตัวยืนหลักจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยจะยุ่งยาก และเห็นผลตอบแทนเร็ว

ทั้งนี้การใช้พื้นที่เพาะปลูกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อที่เพาะปลูกให้มากหรือในจำนวนหลายไร่ ก็สามารถเพาะปลูกผักชีไทยได้เป็นจำนวนมาก ส่วนการใช้เงินทุนหรือรวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนต่างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องก็ยังช่วยประหยัดได้มาก การลงแรงก็ไม่สิ้นเปลืองแรงงงานเหมือนอย่างปลูกพืชชนิดอื่น

ส่วนพื้นที่เพาะปลูกการปรับพื้นที่ก็ไม่ยุ่งยากกับการที่จะปลูกพืชผักล้มลุกอายุสั้นแซมไปแบบผสมผสาน อย่างเช่น พริก มะเขือเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามธานินทร์ยังได้เล่าอีกว่าในระยะเวลาหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตผักชีไทยหมด ก็ยังได้เวลารอเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกและมะเขือเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถรักษาหรือป้องกันหน้าดินมิให้เสื่อมโทรมเพื่อจะรอปลูกผักชีไทยอีกในช่วงต่อไป


สภาพพื้นที่ ปลูกผักชีไทย
ขณะเดียวกันนั้นธานินทร์ยังเล่าถึงพื้นที่ ปลูกผักชีไทย ที่เขามีปลูกอยู่ประมาณ 5 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกไม่มาก แต่ก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้เขามีผักส่งเข้าตลาดหลักทุกวัน ส่วนของการ ปลูกผักชีไทย นั้นก็สามารถปลูกได้ในทุกฤดูกาล โดยเริ่มที่จะปลูกนั้นควรไถปรับหน้าดินให้เสมอพร้อมกับหว่านด้วยปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และควรตากหน้าดินทิ้งไว้สัก 5-6 เดือน

ทั้งนี้จากที่กล่าวมายังจะช่วยบำรุงรักษาดินและกำจัดวัชพืชได้ดีด้วย อย่างไรก็ตามหากแต่ครบ 5-6 เดือนแล้ว ให้ไถพรวนดินหรือปรับหน้าให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้หว่านด้วยเมล็ดผักชีไทย ทั้งนี้ถ้าหากแต่อยากจะปลูกพืชผักล้มลุกเป็นต้นว่ามะเขือเทศหรือพริกก็สามารถทำแปลงปลูกได้เลย


ระบบการส่งจ่ายน้ำแบบปริงเกลอร์ในการบำรุงดูแลผักชีไทย :
ธานินทร์พูดถึงการบริหารจัดการสวนของเขาว่าผักชีไทยนั้นสามารถปลูกได้ทุกฤดู ส่วนแมลงรบกวนหรือแมลงศัตรูพืชส่วนมากก็จะมีในฤดูแล้ง อย่างเช่น หนอนผีเสื้อสีเขียว แต่ก็มีไม่มาก การใช้สารปราบป้องกันก็จะใช้สารปราบศัตรูพืชชีวภาพที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หากแต่เป็นหน้าฝนแมลงก็จะไม่มี

ทั้งนี้หลังจากที่ปลูกเสร็จการให้ปุ๋ยก็จะให้เมื่ออายุต้นผักชีไทยครบ 20 วัน โดยจะให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเขาจะให้เพียงครั้งเดียว สำหรับการให้น้ำเขาจะใช้ระบบสปริงเกลอร์ หากวันไหนฝนตกก็จะไม่ให้ หากวันไหนฝนไม่ตกก็จะให้ทุกวัน เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนของผักชีไทยตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ดปลูกอย่างที่ได้กล่าวมานั้น หากแต่เมื่ออายุของต้นได้ถึง 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

อย่างไรก็ตามผักชีไทยช่วงที่เริ่มให้เก็บเกี่ยวนั้นก็จะมีให้เก็บได้ถึง 3 รอบ เนื่องจากผักชีไทยในขณะที่หว่านเมล็ดปลูกมันจะเกิดขึ้นมาไปพร้อมกัน โดยจะเกิดขึ้นมาเองเป็นชุดๆ ถึง 3 ชุด จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด


ตลาดและช่องทางจำหน่ายผักชีไทย :
หากมองถึงเรื่องของตลาดผักชีไทย ของเขาจะมีตลาดประจำที่ตลาดสี่มุมเมือง ถือได้ว่าเป็นตลาดหลักที่เขาส่งประจำ เขาได้เล่าว่าตลาดผักชีไทยเป็นตลาดขายให้กับพ่อค้าหรือแม่ค้าในแต่ละวันแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากราคาผักชีไทยโดยปกติทางด้านการตลาดราคาของมันจะไป “นิ่ง” เป็นต้นว่าหากวันไหนรู้ว่ามีราคาให้รีบเก็บขายได้เลย

เนื่องจากวันถัดไปราคามันอาจจะลดลงมา ทั้งนี้หากแต่ผักชีไทยเข้าสู่ตลาดมากๆ วันนั้นจะขายไม่ได้ราคา เป็นต้นว่าขณะที่กำลังจะนำขายตามราคาก็รู้อยู่แล้วว่าราคาตลาดวันนี้ควรจะได้เท่าไร ทั้งนี้แต่หากเกษตรกรเจ้าอื่นนำผักชีไทยเข้ามาขายเหมือนกัน ขณะเดียวกันนั้นผักชีไทยก็ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น แทนที่จะได้ราคาจากพ่อค้าหรือแม่ค้าจากที่คาดหวังไว้ ราคาก็จะกลับลดลงทันที

“ถ้าถามถึงเรื่องของตลาดผักชีไทย ผมว่าตลาดมันไม่ตายแต่มันจะขายได้ไปอย่างนี้ ไม่ได้มากก็ได้น้อย วันไหนมันมีราคาก็จะขึ้นไปถึงกิโลละ 100-140 บาท วันไหนราคามันลดก็จะมาอยู่ที่กิโลละ 10-15 บาท แต่ก็ไม่เคยขาดทุน มันคุ้มทุนมากกว่า เพราะการ ปลูกผักชีไทย มันไม่ได้ใช้ทุนมาก” ธานินทร์พูดให้ความเห็นเรื่องของตลาด


ต้นพริกและผักชีที่ปลูกแซมกันในพื้นที่ รายได้จากผลผลิตผักชีไทย :
ขณะเดียวกันปัจจุบันที่เขาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากผักชีไทยขายอยู่ทุกวันนี้ และการเก็บออกจากสวนในแต่ละครั้งจะเก็บได้ถึงประมาณ 700-800 กก. บางครั้งก็จะเก็บได้ถึง 100 กก. หรือ 1 ตัน “ในจำนวน 5 ไร่” ทั้งนี้ขณะที่ราคาขายในตลาดสี่มุมเมืองจะอยู่ที่ 1 กก./100 บาท และขณะที่ราคาลูกจะอยู่ที่ 1 กก./40 บาท ยังถือได้ว่าผักชีไทยราคาไม่แน่นอนจริงๆ

ส่วนรายได้ของเขาที่เก็บขายได้ในแต่ละวันหรือแต่ละรอบซึ่งมีให้เก็บ 3 ครั้ง อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ทั้งนี้เมื่อส่งเข้าถึงพ่อค้าที่ตลาดสี่มุมเมืองรายได้ที่เขาได้รับจะอยู่ที่ 8,000-10,000 บาท

ทั้งนี้หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว เขาก็จะหาพื้นที่ปลูกใหม่เพื่อรอให้พริกหรือมะเขือเทศที่เขาปลูกไว้แซมนั้นได้เก็บเกี่ยวหมดไปก่อน จึงจะพักฟื้นดินไปสัก 5-6 เดือน จึงจะทำผักชีไทยมาปลูกใหม่

หากแต่ท่านผู้อ่านหรือเกษตรกรท่านใดสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ คุณธานินทร์ เพ็งพูน 57 หมู่ 7 ต.หนองย่างเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โทร.08-2128-7559


https://www.palangkaset.com


ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ผักชีหน้าฝน :

ผักชีแจ๊คพ็อตก็คือ หน้าฝน ๆชุก ผักชีโดนฝนเสียหายมาก ทำให้ผักชีขาดตลาด
* สาเหตุที่ทำให้ผักชีหน้าฝนล้มหายตายจาก ....
1. ดินเหนียว น้ำฝนขังค้าง ทำให้รากเน่าตาย ....
2. ใบผักชีโดนเม็ดฝน เกิดน้ำหนัก ก้านใบลู่ลง โคนก้านใบฉีก เป็นช่องทางให้โรคเข้า ....
3. ขาดสารอาหารที่ทำให้ต้นสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนกะทันหัน ....
4. ศัตรูพืช
- แก้ปัญหาเม็ดฝน ทำ “หลังคาพลาสติก” คลุมแปลง ทำพลาสติกกรอบไม้ กว้าง 1-1.20 ม. ยาว 2.5-3 ม. ตามความสะดวก ใช้ 2 แผ่นชนกันเหมือนจั่วหลังคาบ้าน ครอบแปลงซ้ายขวาให้ชายลงถึงตีนแปลง .... ยามใดไม่มีฝนก็ยกหลังคาขึ้นให้ได้แดดปกติ ก่อนมีฝนก็ให้ลดหลังคาลงป้องกันเม็ดฝน ก็เท่านี้แหละ

- เลิกคิดทำโรงเรือนมีหลังคา ทำผักกางมุ้ง ออกข่าว ทีวี.กันครึกโครม จนคนขายมุ้งรายไปตามๆกัน ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า วันนี้คนที่เคยส่งเสริมให้ทำผักกางมุ้ง เอาหน้าไปมุดอยู่ตรง ไหน บางมุ้งจนวันนี้ยังใช้หนี้ค่ามุ้งไม่หมดเลย

- วางแผนทำผักชี 4 แปลง แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวห่างกัน 1 อาทิตย์ แบบนี้คงได้ซัก 1 หรือ 2 แปลงเจอแจ๊คพ็อตแน่ๆ ถึงไม่แจ๊คพ็อตเต็มๆ ก็เฉียดๆ แค่เฉียดๆ ก็ไร่ละเป็นแสนแล้ว

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ถ้าดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่งหรือมากกว่าค่อน อยากให้พิจารณาการทำแบบอินทรีย์นำ เคมีเสริมนิดๆหน่อยๆ พอเป็นพิธีก็พอแล้วสำหรับผักชี ....

ทำสันแปลงสูงๆ มีช่องทางระบายน้ำจากสันแปลงลงตีนแปลงดีๆ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทำดินโปร่งให้ได้ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดิน เตรียมสารอาหารพร้อมแล้วจึงค่อยปลูก ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าแปลงหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี), ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น, อย่าให้น้ำขังค้างเด็ดขาด

บำรุงทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + นมสด + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้โชกๆ อาบจากยอดลงถึงดินเป็นการให้น้ำไปเลย

- หมั่นยีฟางให้ฟูขึ้น คอยรับก้านผักชีไม่ให้โน้มลงจนโคนก้านใบฉีก
- ต้องการากใหญ่ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 หาโอกาสให้บ้างตามความเหมาะสม
- หาข่าวตลาดผักชีเสมอๆ
- ทำผักชีปลอดยาฆ่าแมลง ใช้สารสมุนไพร ไม่รู้ต้องหาข่าว ไม่เคยเห็นต้องไปดู ไม่เป็นต้องหัดทำ ไม่เชื่อต้องลอง ไม่ได้ผลต้องปรับปรุง ไม่ใครรู้ไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่เกิด คนที่ทำเป็นใช้เป็นวันนี้เพราะเขาเปิดตัวเปิดใจรับรู้ ....

ผักชีไทย :
คิดนอกกรอบ :
คำตอบของทุกคำถามเรื่องการตลาดอยู่ที่ตลาด

- ไปดูตลาดขนาดใหญ่ รับได้ทุกผัก ที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด เพื่อประหยัดเวลาและค่าขนส่ง
- ถามแม่ค้าที่รับซื้อแบบขายส่ง ว่า ผักอะไร/ราคาแพงช่วงไหน/ราคาเท่าไหร่/เคยรับจากที่ไหน/มีเจ้าประจำหรือไม่

- วางแผนการปลูกแล้วปฏิบัติบำรุงต่อผักชีให้ตรงกับลักษณะทางธรรมชาติของผักชีทุกประการ
- จัดทำตารางระยะเวลา การปลูก-บำรุง-เก็บเกี่ยว-การขาย ล่วงหน้า เพื่อให้ตรงกับช่วงตลาด
- หาข้อมูลทุกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับผักชี แล้วเตรียมมาตรการ ป้องกัน/แก้ไข ล่วงหน้า
- ได้แนวคิดมาแล้วเขียนแนวคิดนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร จะช่วยให้ จำได้-เกิดแนวคิดใหม่-มั่นใจ-กำลังใจ-ฯลฯ

- ........ ยังไม่จบ ......

เตรียมดิน :
1. ไถดินขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดดจัด 10-15 แดดจัด เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ใส่อินทรีย์วัตถุ (ขี้ไก่แหลบ-ขี้วัว-ขี้หมู-เศษพืชแห้ง) อัตรา 15-25% ของเนื้อดิน
3. ราดทับอินทรีย์วัตถุด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 3-5 ล./ไร่
4. ไถพรวนให้ "อินทรีย์วัตถุ-ปุ๋ยน้ำชีวภาพฯ" คลุกเคล้ากับเนื้อดิน ลึก 30-50 ซม.
5. ทำแปลง สันแปลงสูง 20-30 ซม. โค้งหลังเต่าหรือแบนราบ ตามความเหมาะสม
6. รักษาความชื้นหน้าดินโดยคลุมแปลงด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ
7. บ่มดินโดยรดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพฯ 30-10-10 (1-2 ล.)/ไร่/7 วัน 3-4 รอบ รวมเวลา 1 เดือน
8. ตรวจสอบน้ำขังค้างบนสันแปลง หลังให้น้ำ (วันละ 3 รอบ) แล้ว น้ำในเนื้อเดินระดับ "ชื้น" สม่ำเสมอ
9. ถอนวัชพืชบนสันแปลงและข้างแปลงแล้วทิ้งคลุมหน้าดิน สม่ำเสมอ

เตรียมแปลง (พื้นราบ) :
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์แบบพ่นฝอย หรือเครื่องมือให้น้ำ เม็ดน้ำที่ใช้รดแก่ผักชีต้องเป็นเม็ดฝอยเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งดี

- ทำโครงหลังคา (เฉพาะโครง) ทั้งด้านบนและด้านข้าง เพื่อเตรียมทำหลังคาพลาสติกใส สำหรับผักชีหน้าฝน

- ติดพลาสติกเข้ากับโครงหลังคา สามารถม้วนเก็บหรือคลี่ออกได้ทันทีเมื่อต้องการใช้งานก่อนฝนตก

เตรียมแปลง (ยกพื้น) :
- ทำกระบะใช้ชั่วคราวหรือถาวร หรือกึ่งชั่วคราวกึ่งถาวร
- ขนาด กว้าง 1.20 ม. ยาว 2-3 ม. สูง 20-30 ซม.
- ยกกระบะสูงจากพื้นดินตามความจำเป็นที่ต้องหนีน้ำท่วม
- รอง พื้น-ด้านข้าง กระบะด้วยตาข่ายไนล่อนหรือซาแลน 1-2 ชั้น
- ใส่ดินปลูกที่ผ่านการ "เตรียม-บ่ม"จนพร้อมปลูกแล้วลงกระบะ ให้พูนเป็นหลังเต่า
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์แบบพ่นฝอย
- ทำโครงหลังคา ติดพลาสติกใสบังเม็ดฝน

หลักการและเหตุผล :
- เนื่องจากผักชีต้องการแสงแดด 100% แต่มีจุดอ่อนเกี่ยวกับเม็ดน้ำฝน เมื่อเม็ดน้ำฝนถูกใบจะเพิ่มน้ำหนัก ทำให้ก้านใบนั้นลู่เอนลง จนกระทั่งกาบใบที่โคนก้านใบฉีกขาด เกิดเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้ วัตถุประสงค์ของการใช้ พลาสติกก็เพื่อป้องกันน้ำฝนเป็นหลัก ระหว่างที่ผักชีกำลังเจริญเติบโต ทุกครั้งเมื่อรู้ว่าจะมีฝนตกก็ต้องบังฝนด้วยพลาสติกใส หลังจากหมดฝนก็เปิดพลาสติกออก ให้ผักชีได้รับแสงแดดและระบายความชื้นที่หน้าดิน

- ตาข่ายไนล่อน นอกจากไม่สามารถใช้บังเม็ดน้ำฝนได้แล้ว ยังบังแสงแดด และกักเก็บความชื้นหน้าดินมากเกินจำเป็น สำหรับผักชี แล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ตาข่ายไนล่อน สำหรับแปลงปลูกผักชี

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ตรวจสอบชนิดสายพันธุ์ ว่าเป็นสายพันธุ์ปลูกหน้าฝนหรือหน้าหนาว หรือปลูกได้ทุกฤดูกาล
- ตรวจสอบอายุเมล็ดพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับระยะพักตัว หรือเก่าจนเสื่อมความงอก
- ตรวจสอบความน่าเชื่อเถือของบริษัทผู้ผลิต
- บดเมล็ดพันธุ์ให้แตกเป็น 2 ซีก
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ (พีเอช 6.0) 1 ล. + ไคโตซาน 1 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 1 ซีซี. + สังกะสี อะมิโน คีเลต 1 ซีซี. นาน 6-12 ชม.

- นำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่แล้ว ห่มบนผ้าขนหนูชุบน้ำที่ใช้แช่จนชุ่ม
(ผ้าขนหนูชุบน้ำโชกๆ ปูบนถาดแบนราบ โรยเมล็ดที่แช่แล้วลงไป เกลี่ยเมล็ดอย่าให้ซ้อนทับกัน ปิดทับด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำโชกๆ ด้านบนอีกชั้น กดผ้าขนหนูให้สัมผัสเมล็ดทั้งบนและล่าง แบบนี้จะทำให้เมล็ดได้รับอากาศที่ผ่านผ้าขนหนูลงไปอย่างทั่วถึง ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การงอกดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ....ไม่มีผ้าขนหนู ใช้กระดาษชำระซ้อนกันหนาๆ แทนได้....กรณีที่ต้องเพาะหลายวัน จนผ้าขนหนูหรือกระดาษชำระแห้ง ให้พ่นฝอยด้วยน้ำเปล่าพอเปียกได้)

- เมื่อเมล็ดเริ่มมีรากงอกออกมาให้เห็น (ไม่ควรให้ยาวเกินไป เพราะรากอาจหักได้) ให้นำลงปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด ด้วยระยะห่างระหว่าง ต้น/แถว ตามความเหมาะสม

- ปลูกเมล็ดตื้น (1/2 ซม.) หรือวางกับพื้นแล้วกลบด้วยดินปลูกบางๆ จะงอกเป็นต้นได้เร็ว ดี ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง คุณภาพ ดีกว่าการปลูกแบบลึกๆ

บำรุง :
เริ่มให้ตั้งแต่ได้ใบ 2-3 ใบ จนถึงเก็บเกี่ยว...
- ให้น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) + 46-0-0 จี. (200 กรัม) + นมสดจืด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 500 ซีซี." ตอนเย็น ทุก 5 วัน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉพาะ (ตามพยากรณ์ศัตรูพืช) ทุกวันเว้นวัน ตอนเย็น
หมายเหตุ :
- สารอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง คือ สารอินทรีย์ (จากปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว, นม, น้ำมะพร้าว, ฮิวมิก, ....สารสังเคราะห์ (แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม, 30-10-10) เป็นพื้นฐาน แล้วเติมเพิ่ม 46-0-0 จี., นมสดจืด, ก่อนใช้งานอีก จึงถือว่าเพียงพอสำหรับพืชสวนครัว กินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียวอย่างผักชีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มปุ๋ยเคมีใดๆอีก

- ในดินปลูกที่ผ่านขั้นตอน "เตรียมดิน-บ่มดิน" ด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (สารอินทรีย์ + สารสังเคราะห์ + จุลินทรีย์) ล่วงหน้ามานานนับเดือนแล้วนั้น สารอาหารต่างๆถูกเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีมีอยู่แล้วจำนวนมาก จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆเพิ่มอีก

ปลูกซ้ำที่-ไม่ซ้ำดิน
หลักการและเหตุผล :

- ในดินย่อมมีทั้ง "เชื้อดีและเชื้อโรค" ปะปนกันอยู่เสมอ (สัจจะธรรม) ถ้าเชื้อดีมีมากกว่าและสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เชื้อดีจะกดเชื้อโรคไว้ไม่ให้ขยายพันธุ์ และทำลายพืชได้แต่มิได้หมายความว่า เชื้อโรคจะหมดไป เพียงแต่ยังแฝงตัวอยู่เฉยๆ รอโอกาสที่สภาวะแวดล้อมเหมาะสมแล้ว จึงจะสำแดงเดชออกมาได้

- พืชแต่ละชนิดต่างก็มี "เชื้อดีและเชื้อโรค" ประจำสายพันธุ์เสมอ การที่มีเชื้อโรคแฝงตัวอยู่ได้เพราะมีพืชสายพันธุ์ที่มันชอบ ครั้นนานวันเข้า เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ แม้สภาวะแวดล้อมเหมาะสมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เชื้อโรคเหล่านี้ก็ สามารถสำแดงอิทธิฤทธิ์ได้ ..... แนวทางแก้ไข คือ "เปลี่ยนพืช" แหล่งอาศัยเป็นสายพันธุอื่นที่เชื้อโรคเหล่านี้ไม่ชอบที่เรียกว่า "ตัดวงจรชีวิต" เชื้อโรค ประมาณนั้น

หมายเหตุ : เชื้อดี หมายถึง จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช.... เชื้อโรค หมายถึง จุลินทรีย์ ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคพืช

การปฏิบัติ :
- ทำดินปลูก (ดินฆ่าเชื้อโรคแล้ว + อินทรีย์วัตถุ/สารปรับปรุงบำรุงดิน/ฯลฯ) เหมือน "เตรียมดิน" ก่อนปลูกบนพื้น

- ทำดินปลูกเป็นกอง กว้าง 1.5 ม. ยาว 2 ม. สูง 1 ม. สี่หลี่ยมแบบราบ หรือกองแบบปิรามิด คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ

- ทำกองแล้ว "บ่มดิน" นาน 2-3 เดือน (ให้ดินเย็น) ระหว่างบ่มดินนี้ รดด้วย "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 15 วัน/ครั้ง

- นำดินที่บ่มครบกำหนด (เย็นแล้ว) ใส่ในกระบะหรือภาชนะปลูก วางกะบะหรือภาชนะปลูกบนพื้นหรือยกพื้นก็ได้ ตามความพอใจ

- คลุมหน้าดินปลูกด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์
- ลงมือปลูก แล้วบำรุงตามใจขั้นตอน

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เทดินปลูกออกจากภาชนะปลูก แผ่กอง ตากแดด 10-15 แดดจัด เพื่อกำจัดเชื้อโรค ระหว่างนี้ควรกลับพลิก 1-2 ครั้ง เพื่ออาศัยแสงแดดและความร้อนช่วยกำจัดเชื้อโรค....ตากแดดแห้งดีแล้ว รดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพ 30-10-10 (1-2 ล.) คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วทำกองเพื่อบ่มดินต่อ....บ่มดินนาน 1 เดือน ระหว่างนี้ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ อัตราเดิม อีก 1 ครั้ง....บ่มดินแล้วบรรจุลงภาชนะปลูกอันเดิม วางภาชนะปลูกที่เดิม นี่คือ ทฤษฎีการปลูกแบบ "ซ้ำที่ไม่ซ้ำดิน" ที่เกษตรกรอิสราเอลนิยมนั่นเอง

ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ :
เริ่มให้เมื่อต้นโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว (อายุต้น 50-60 วัน) ได้แล้ว เปลี่ยนสูตรบำรุงเป็น....
ทางใบ :ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 5-7 วัน/ครั้ง จนถึงเก็บเกี่ยว
ทางราก : ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 รอบ ถึงเก็บเกี่ยว)

หมายเหตุ :
- ระหว่างเป็นผล อาจพิจารณาให้ 15-45-15 สลับกับ แคลเซียม โบรอน อย่างละ 1-2 รอบ ก็ได้ จะช่วยให้ ผลผลิต (เมล็ด) คุณภาพดีขึ้น

- เริ่มให้ฮอร์โมนครั้งแรกเมื่ออายุ 30-40 วัน หรือก่อนต้นโตถึงระยะเก็บเกี่ยวได้ ก็ได้ ในต้นจะมีการสะสมตาดอก ซึ่งจะช่วย ให้ออกดอกดี สมบูรณ์ แข็งแรง ส่งผลให้ผลผลิต (เมล็ด) ดี

เคล็ด (ไม่) ลับ :
- การให้แคลเซียม โบรอน ทางใบเพียง 1-2 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้คุณภาพ น้ำหนัก กลิ่นดี ไม่มีเสี้ยน

- การให้ บี-1 ทางราก 1-2 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้รากมีขนาดใหญ่ขึ้น
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย ตอนเย็น หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง จะได้ประสิทธิภาพเหนือกว่าการให้ช่วงเวลาอื่น เพราะต้นพืชดูดสารอาหารจากดินสู่ต้นในช่วงกล่างคืน ส่งผลให้ต้นโตเร็วกว่าปกติ

- เมื่อต้นผักชีเริ่มงอกออกมาจากเมล็ดใหม่ๆ ควรมีฟางคลุมแปลงหนาๆ เมื่อต้นเริ่มสูงขึ้นๆ ก็ต้องยีฟางให้ฟูสูงตามด้วย แบบนี้ต้นผักชีจะมีเส้นฟางคอยรับกิ่งไม่ให้เอนลง เสมือนว่า ต้นผักชีโตในอ้อมอกฟาง ประมาณนี้

- ผักชีแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" อายุหลังเก็บเกี่ยว (ฝากแผง) อยู่ได้นาน แม่ค้าชอบ จะสั่งล่วงหน้า

- ........ ยังไม่จบ แล้วจะสืบเสาะมาเติมให้อีก ........

ผักชีแจ๊คพ๊อต :
เพราะผักชีเป็นพืชสวนครัว กินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกฤดูกาล และทุกพื้นที่ของประเทศ .... การปลูกผักชีส่วนใหญ่จะปลูกในแปลงกลางแจ้ง ไม่นิยมปลูกในโรงเรือน (ถาวร/ชั่วคราว) นัยว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

เพราะผักชีมีลักษณะทางสรีระพืชที่มีใบขนาดใหญ่ แต่ก้านใบเล็กและไม่แข็งแรงพอ เมื่อฝนตกลงมา ใบที่รับน้ำทำให้มี น้ำหนักมาก ก้านใบจึงลู่เอนลงจนกระทั่งกาบที่โคนก้านใบฉีก กลายเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้ กอร์ปกับ ดินปลูกที่อุ้มน้ำมาก เมื่อฝนตกมา น้ำฝนขังค้างในเนื้อดินโคนต้น ส่งผลให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้อีก

- นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้ปลูกผักชีน้อย แล้วส่งผลให้มีราคาแพงขึ้นนั่นเอง
- อย่าหนีการปลูกผักชีหน้าฝน เพราะผักชีหน้าฝนราคาแพง ถึงแพงมากๆ

แนวทางปฏิบัติ :
1. สร้างโรงเรือนปลูกแบบมีหลังคาพลาสติกป้องกันน้ำฝนยามฝนตกให้ได้ 100% เพราะน้ำฝนคืออุปสรรคสำคัญที่สุด ที่ทำให้การปลูกผักชีหน้าฝนล้มเหลว

2. กำหนดวันเก็บเกี่ยวให้ตรงกับช่วงที่ตลาดราคาดี ซึ่งผักชีจะราคาแพงประมาณ 2 เดือน นั่นคือ
ช่วงที่ 1 ประมาณครึ่งเดือนแรก ราคาเริ่มแพง
ช่วงที่ 2 ประมาณ 1 เดือนต่อจากช่วงที่ 1 ราคาแพง ถึง แพงมาก
ช่วงที่ 3 ประมาณ ครึ่งเดือนต่อจากช่วงที่ 2 ราคาเริ่มลง หรือพอๆ กับช่วงที่ 1

3. บันทึกการปลูก ตั้งแต่เริ่มลงเมล็ด (เริ่มงอกแล้ว) ลงในแปลงปลูก ถึงวันเก็บเกี่ยวว่า ใช้ระยะเวลากี่วัน
4. นับวันจากวันเก็บเกี่ยวย้อนหลังถึงวันลงเมล็ด แล้วเริ่มลงเมล็ด ณ วันนั้น จากนั้นบำรุงตามปกติ
5. ทำ 4 แปลง กะคำนวนให้แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวได้ห่างกัน 7-10 วัน โดยให้แปลงแรกเก็บได้ตรงกับวันที่ราคาเริ่มแพงแล้วอีก 2 แปลงต่อมา เก็บอีกอาทิตย์ละแปลงก็จะตรงกับช่วงที่ราคาแพงสุด 2 อาทิตย กับอีก 1 แปลงสุดท้าย เก็บช่วงสุดท้ายของช่วงที่ราคาเริ่มลง

สรุป :
- แปลงแรกตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มแพง แปลงสุดท้ายตรงกับช่วงราคาเริ่มลง และ 2 แปลงตรงกลาง ตรงกับช่วงที่ราคาแพงสุด .... แปลงแรกกับแปลงสุดท้าย แม้จะราคาต่ำลงมาบ้าง แต่ก็ยังแพงกว่าผักชีหน้าแล้ง หน้าหนาว อยู่ดี

- กำหนดวันเก็บเกี่ยวสามารถยืดหยุ่นเป็น +/- 3-5 วันได้

5. ทำ 5 แปลง ให้แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวได้ห่างกัน 7-10 วัน โดยให้แปลงแรกตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มแพง แปลง 2-3-4 ตรงกับช่วงที่ราคาแพงสุด และแปลงสุดท้ายตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มลง .... แบบนี้จะช่วยประกันว่าใน 2-3 แปลงนี้อย่างน้อย 1 แปลง จะได้ราคาแพงมาก กับอีก 2 แปลง (หัว-ท้าย) ราคาต่ำลงมาบ้าง แต่ก็ยังแพงกว่าผักชีหน้าแล้ง หน้าหนาว อยู่ดี

6. อย่าฝากอนาคตไว้กับเพียงแปลงเดียว แปลงใหญ่ กะรวยใหญ่ ว่างั้น เรื่องตลาดเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะฉนั้นต้องเผื่อได้ เผื่อเสียไว้บ้าง ผิดหวังเล็กๆ ดีกว่าผิดหวังใหญ่ๆ นะ

...................................................................................................................






กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©