-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ธ.ค. * ชาวนา เป็นหนี้เพราะทำนาแบบเดิม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ธ.ค. * ชาวนา เป็นหนี้เพราะทำนาแบบเดิม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/12/2022 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ธ.ค. * ชาวนา เป็นหนี้เพราะทำน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ธ.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 17 ธ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 416x 371x
ข้อความ : ชาวนา เกษตรกรกลุ่มใหญ่ เป็นหนี้เพราะทำนาแบบเดิม เดิม เดิม

จาก : 08 710x 352x
ข้อความ : คนในกระจก ขอสูตรนาข้าว

จาก : 08 261x 920 x
ข้อความ : มรดกที่ดิน 10 ไร่ สนใจทำนาข้าวค่ะ

จาก : 09 627x 381x
ข้อความ : ทำนาแบบเดิมได้น้อยกว่าเดิม ทำแบบผู้พันครับ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ดีมากๆ ทฤษฎีของ ดร.เกริก ทำนาใช้น้ำน้อย ปลูกข้าว 1 ไร่ ได้ 6 ตัน


ดร.เกริก หลังจากเรียนรู้ทางด้านเกษตรจบมาจากต่างประเทศ ก็ได้เริ่มอาชีพแรก คือ “พ่อพิมพ์ของชาติ” เขาเริ่มต้นชีวิตครูด้วยการสอนวิชาอังกฤษที่โรงเรียนสันติภาพฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา จากนั้นมาสอนที่โรงเรียนดาราสมุทร ต่อด้วยที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาและเป็นครูสอนพิเศษบ้าง

แต่ก็เจอคู่แข่งสำคัญคือ “เจ้าของภาษา” ซึ่งชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาสอนในเมืองไทยมากขึ้น จึงหันเหมาสอนวิชาภาษาไทย เป็นอาจารย์พิเศษ มศว บางแสน บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็ทำอาชีพนายหน้าที่ดินด้วย จับมาขายไป รายได้เป็นกอบเป็นกำ จากคนเป็นครูสู่อาชีพนายหน้า ทำให้ ดร.เกริก กลายเป็น “เสี่ยเกริก” เปลี่ยนอาชีพไปเรื่อยๆ เพราะความไม่พอจนหมดตัว สุดท้ายหันกลับมาปลูกต้นไม้ทำการเกษตรบนที่ดินที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้

ดร.เกริก ได้ความรู้มาจากการค้นคว้า และลงมือทำนาจริง และความรู้จากลูกสาวที่เรียนญี่ปุ่นอีกด้วย ไปถอดความรู้เรื่องการทำนาของชาวนาญี่ปุ่นว่าทำไมเขาจึงทำนาในพื้นที่ไม่มากแต่ได้ผลผลิตสูง

แนวคิดการทำนา 1 ไร่ ให้ได้ผลผลิตสูง ปริญญาชีวิตสรุปใจความสำคัญของการปลูกข้าวในระบบใหม่นี้ได้ดังนี้


การปรับสภาพดินและกำจัดวัชพืช :
หลังเก็บเกี่ยวให้ปลูกปอเทืองในพื้นที่เมื่อได้ระยะเวลาก็ไถกลบไปพร้อมกับตอซัง ฟางหญ้า หากไม่มีก็ให้ใช้ใบไม้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หว่านให้ทั่วแปลง ในอัตราไร่ละ 5-1O กระสอบ (หากได้ไร่ละ 1 ตันจะดีมาก)

ใช้น้ำหมักจุลินทรีบ์หน่อกล้วยประมาณ 5-1O ลิตร ผสมน้ำ 2OO ลิตร รดทั้งพื้นที่ แล้วไถกลบทิ้งไว้ 2O-3O วัน เพื่อปรับสภาพดินและกำจัดเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในดิน ขั้นตอนนี้หากทำในพื้นที่ดินไม่ดี สามารถทำได้หลายรอบตามต้องการ


การปลูก :
ไถคราด หรือปั่นด้วยโรตารีให้ดินเสมอเพื่อพร้อมสำหรับปลูก โดยใช้วิธีการหยอดเมล็ด ใช้ระยะห่างระหว่างกอ 4O*4O ซม. โดยในเมล็ดที่หยอดในแต่ละหลุดให้มีความห่างกัน 5-7 เซนติเมตร โดยหากเป็นข้าวหอมมะลิให้หยอด 5 เมล็ดต่อกอ ในขั้นตอนนี้ ให้ใช้เชือกขึงเพื่อความสะดวกรวดเร็ว

หลังหยอดเมล็ดต้องรักษาความชื้นในแปลงปลูกอย่าให้ดินแห้ง และก็อย่าให้น้ำขังจนกว่าเมล็ดจะงอก หากแล้งมากให้ใช้ระบบเทปน้ำพุ่งมาแก้ไขปัญหาตลอดฤดูการเพาะปลูก แต่หากฝนดีไม่แล้ง ให้ใช้ระบบปลูกแบบแห้งสลับเปียก


การดูแล บำรุงแปลงปลูก :
เดือนแรก ใช้น้ำส้มควันไม้ ยูเรียน้ำอินทรีย์ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อย่างละ 3O cc ผสมน้ำ 2O ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้งเพื่อบำรุงใบ

เดือนที่ 2 ใช้น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักมูลค้างคาว จุลินทรีย์หน่อกล้วย อย่างละ 3O cc ผสมน้ำ 2O ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้งเพื่อบำรุงลำต้นให้แตกกอดี

เดือนที่ 3-4 ให้ใช้ฮอร์โมนไข่ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อย่างละ 3O cc ผสมน้ำ 2O ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้งไปจนเก็บเกี่ยวเพื่อบำรุงมีการเปิดตาดอก รวงยาว และเมล็ดสมบูรณ์หากแปลงปลูก วัชพืชหญ้าขึ้นรบกวนให้รีบถอนทิ้ง อย่าให้วัชพืชสูงเกินต้นข้าว


การทำจุลินทรีย์ ฮอร์โมน :
จุลินทรีย์หน่อกล้วย ใช้หน่อกล้วยสูง 1 เมตรจำนวน 3O กิโลกรัมสับให้ละเอียด ใส่ถังพลาสติกทึบแสง กากน้ำตาล 1O กิโลกรัม น้ำสะอาด 1OO ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 2 วัน 2 คืน (ห้ามให้อากาศเข้า)

วันที่ 3 ให้เปิดฝาแล้วเติมน้ำให้ท่วม และหมักต่ออีก 7 วันแบบเปิดฝาให้อากาศเข้าได้สะดวก โดยในระหว่างหมักช่วงที่สอง ต้องให้หน่อกล้วยจมน้ำ หรือให้น้ำท่วมอยู่ตลอดเวลา ก็จะสามารถใช้ได้เมื่อผ่านไปครบ 9 วันตั้งแต่เริ่มต้น และสามารถเก็บไว้ใช้งานได้ 6 เดือน

ปุ๋ยยูเรียน้ำอินทรีย์ ใช้ถั่วเหลือบดละเอียด 1 กิโลกรัม สับปะรดสับละเอียด 2 กิโลกรัม น้ำมะพร้าวหรือน้ำซาวข้าว 1O ลิตร กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ใส่ถังหมัก 15 วัน เปิดคนทุกวัน ครบกำหนดจะได้ยูเรียน้ำอินทรีย์ (ยูเรียสูตรนี้ 4 ลิตร มีสรรพคุณเท่ากับปุ๋ย 46-O-O หนึ่งกระสอบ)

ฮอร์โมนไข่ ใช้ไข่ไก่สด 5 กิโลกรัม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ยาคูลท์ 1 ขวด แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน ตีไข่ให้เข้ากัน ผสมกากน้ำตาล นำเปลือกไข่มาตำให้ละเอียดผสมกับวัตถุดิบทั้งหมด หมักในถังพลาสติกปิดฝา คนทุกวัน ครบ 14 วัน ให้กรองเอากากออก จะได้ฮอร์โมนไข่ สำหรับไว้ใช้งาน

ที่นา 1 ไร่ ได้ผลผลิต 6 ตัน เป็นไปได้หรือ ดร.เกริก บอกว่าตนเองทำได้ แต่ทำในพื้นที่ 1 ไร่เท่านั้น หากทำในพื้นที่มากกว่านี้จะดูแลไม่ทั่ว

ขอบคุณบทความดีๆจาก http://pagenews.net/?p=4251



ทฤษฎีวิชาการ :
การผลิตปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซังด้วยน้ำหมักชีวภาพในนาเกษตรกร :

ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูงควรถนอมไว้ในนาข้าวของเกษตรกรทุกคนและทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งมีพฤติกรรมการทำนา 2-3 ครั้งต่อปี แต่จำนวนฟางข้าวอาจถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนาเช่นนี้ ดินย่อมเสื่อมคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม แต่มีผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้หมดไปโดยเร็วสภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้งเป็นอย่างยิ่ง

สถานการณ์และสภาวะปัจจุบัน :
ซึ่งเป็นยุคของเกษตรเทคโนโลยีการทำนาของเกษตรกร ในเขตชลประทานภาคกลางที่มีปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์ เกษตรกรทำนาต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี โดยวิธีการหว่านน้ำตมทำให้มีรอบการผลิตค่อนข้างรวดเร็ว (ประมาณ 12-21 วัน) เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลผลิต ทำให้เกษตรกรเกือบทุกรายเผาฟางก่อนฤดูทำนา ด้วยวิธีการเตรียมดินแบบหยาบๆ และรีบเร่ง โดยไถกลบเศษฟางที่เหลือจากการเผากับตอซังลงไปในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีขาดออกซิเจน ทำให้เกิดมี Intermidiate Product สะสมมาก เช่นก๊าซมีเทน (CH4) เป็นต้น ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมของโลก ทำให้จุลินทรีย์ดินพวก Heterothropic ที่มีบทบาทการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ มีการย่อยสลายเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้เกิดกระบวนการ Immobilization เกิดขึ้นรุนแรง ทำให้ข้าวที่ปลูกใหม่ แสดงอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว ที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคเมาหัวซัง” วิธีแก้ไขมีหลายวิธี ที่ดีและรวดเร็วคือ ทำให้ฟางข้าวหรือตอซังย่อยสลายให้รวดเร็วที่สุดโดยการเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าช่วยให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่มีปฏิกิริยาต่อเนื่องสนับสนุนกันเป็นลูกโซ่ ระหว่างมีกิจกรรมจุลินทรีย์จะช่วยใช้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน ขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดขบวนการทำให้ธาตุอาหารเปลี่ยนรูปที่เป็นประโยชน์เมื่อจุลินทรีย์เหล่านั้นตายไป ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ได้ และยังก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลดีต่อพืช เช่น ฮอร์โมน สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและรากพืช ดังนั้นหลังเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรเผาฟางข้าวเพราะจะทำให้สูญเสียคาร์บอนที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ดินที่จะนำไปก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

ผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนา :
ประเสริฐและคณะ (2531) รายงานว่าผลการทดลองใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนาในท้องที่ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เวลาติดต่อกันถึง 12 ปี (2519-2530) พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ผลผลิตข้าว กข.7 ในปีแรกของการทดลองได้ผลผลิตเพียง 265 กก./ไร่ และเพิ่มขึ้นเป็น 621 กก./ไร่ ในปี 2530 หรือเพิ่มขึ้นถึง 356 กก. คิดเป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 134 และถ้าหากเปรียบเทียบกับนาที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวซึ่งในปี 2530 ให้ผลผลิตเพียง 358 กก./ไร่ ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตของแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวถึงไร่ละ 263 กก./ไร่ หรือต่ำกว่าร้อยละ 73 และเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-4-4 กก./ไร่ ของ N,P2O5 และ K2O อย่างเดียว ให้ผลผลิตในปีที่ 12 (2530) 507 กก./ไร่ ขณะที่ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราเดียวกันร่วมกับปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ จะให้ผลผลิตสูงถึง 793 กก./ไร่ สูงกว่าถึง 286 กก./ไร่ หรือร้อยละ 56 จากแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวและยังพบอีกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่ ติดต่อกันให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวติดต่อกัน

ประโยชน์ของฟางข้าวเมื่อไม่เผาทิ้ง :
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรียวัตถุในดินมากขึ้น
2. ฟางข้าวช่วยทำให้พื้นที่นาที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และ ไส้เดือน เป็นต้น

3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้
4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นาน เป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูกทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม

5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) และ แคลเซียม (Ca ) แมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (SiO2) ด้วย

6. ฟางข้าวนำไปเป็นอาหารโค กระบือ ได้
7. ฟางข้าวสามารถนำไปทำวัสดุเพาะเห็ดฟางได้
8. ฟางข้าวเป็นวัสดุที่อยู่ในนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปขนมาใส่ในนา ก่อนที่จะหมักฟางข้าว ต้องเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วทั้งแปลง


วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซังด้วยน้ำหมักชีวภาพในพื้นที่แปลงนาเกษตรกร :
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ
ไนโตรเจน (N) 6 กิโลกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) 1.4 กิโลกรัม
ธาตุโพแทสเซียม (K2O) 17 กิโลกรัม
แคลเซียม (Ca) 1.2 กิโลกรัม
แมกนีเซียม (Mg) 1.3 กิโลกรัม
ซิลิก้า (SiO2) 50 กิโลกรัม

ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งตอซังอีก 1,200-1,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหลือต่ำกว่า คือ 500-800 กิโลกรัม/ไร่


ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซังโดยไม่มีการเผาฟางข้าว :
1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้เกษตรกรเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมทั่วทั้งแปลงนาด้วย แรงคนหรือ เครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้ายแทรกเตอร์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท/ไร่ หรือใช้ภูมิปัญญาเกษตรกร อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ลำไม้ไผ่ชนิดที่มีกิ่งมีหนามจำนวน 2 ลำ ผูกติดท้ายแทรกเตอร์ลาก 2-3 รอบ สามารถเกลี่ยฟางข้าวกระจายทั่วทั้งแปลงนา เมื่อคิดต้นทุนเพียง 15 บาท/ไร่ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

2. ทดน้ำเข้าแปลงนา ใช้อีคลุบติดท้ายแทรกเตอร์ย่ำให้ฟางข้าวและตอซังจมน้ำระดับ 3-5 ซม.
3. ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่คิดว่าต้นทุนถูกที่สุดและจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอัตรา 5-10 ลิตร/ไร่ (ฟางข้าว 500-800 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/ไร่ และฟางข้าว 800-1,000 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร/ไร่) ใส่แกลลอนเจาะรูให้น้ำหมักชีวภาพไหลได้ นำไปติดท้ายแทรกเตอร์ โดยใช้อีคลุบย้ำตอซังและฟางข้าวทำให้น้ำหมักกระจายไปทั่วแปลงนา เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย

4. ใช้เวลาหมักประมาณ 10 วัน ตอซังและฟางข้าวเริ่มอ่อนตัวและเริ่มย่อยสลาย สามารถไถพรวนเตรียมดินได้ไม่ติดเครื่องมือไถพรวน


เอกสารประกอบการเขียน :
จิราภา เมืองคล้าย. 2542. การใช้ปุ๋ยในนาข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร. 32 หน้า.

ชนวน รัตนวราหะ. 2544. เกษตรอินทรีย์. เอกสารเผยแพร่ กพพ.1/2544 , กองสหกรณ์การเกษตร กลุ่มพัฒนาระบบการจัดการสหกรณ์ด้านพืชผักผลไม้ กรมส่งเสริมสหกรณ์.152 หน้า.

ประเสริฐ สองเมือง และวิทยา ศรีทานันท์. (2531). การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานสัมมนาวิชาการเรื่องการปลูกพืชในดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23-27 พฤษภาคม 2541. สำนักงานปลัดกระทรวง , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุรพล จัตุพร. 2544. ฟางข้าว. อาหารของจุลินทรีย์ดินในการทำนายุคเกษตรกรเทคโนโลยี. โรเนียว 3 แผ่น.
อัครินทร์ ท้วมขำ นักวิชาการเกษตร 8 ว
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร
23 กรกฎาคม 2547



การปฏิบัติ :
นาข้าว 1 ไร่ ที่ไร่กล้อมแกล้ม ใส่ปุ๋ยเคมี 1 กก. ได้ข้าว 110 ถัง :
1. ประวัติดิน :

- เคยทำนาแบบไม่เผาฟาง (ไถกลบ) ใส่ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง – จุลินทรีย์หน่อกล้วย – หว่านปุ๋ยคอก” .…ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า....ไม่ใช่ยาฆ่าหอยเชอรี่....ไม่ใช้ยาฆ่าปูนา....ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง....ใส่ปุ๋ยเคมี 16-8-8 ไร่ละ 10 กก. ช่วงทำเทือก....ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ทุก 7-10 วัน สม่ำเสมอ....เลี้ยงน้ำหล่อผิวหน้าดิน ลึกไม่เกิน 1 ฝ่ามือ...ติดต่อกันมา 3 ปี หรือ 6 รุ่น....ได้ผลผลิต 120-130 ถัง/รุ่น

2. ทำเทือก :
- ปรับหน้าดิน .... ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 5 ล./ไร่....ปล่อยน้ำเข้าพอแฉะหน้าดินเพื่อล่อให้วัชพืชงอก....ปล่อยทิ้งไว้ 7-10 วัน จนแน่ใจว่าวัชพืชทุกชนิดทุกต้นงอกขึ้นมาทั้งหมดแล้ว....ปล่อยน้ำเข้าลึกครึ่งหน้าแข้ง

- ตรวจสอบสภาพการเน่าสลายของเศษซากพืชที่ไถกลบด้วยวิธีเดินย่ำลงไปในแปลง ถ้ามีฟองปนกลิ่นเหม็น แสดงว่าการย่อยสลายยังไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นข้าวโตขึ้นจะเป็นโรคเมาตอซัง หรือใบเหลืองโทรม แก้ไขด้วยการไขน้ำใหม่ไล่น้ำเก่าออกให้หมด เติมจุลินทรีย์หน่อกล้วยรอบสองแล้วหมักต่อ 5-7 วัน ครบกำหนดแล้วตรวจสอบแบบเดิมอีกครั้ง....ถ้าตรวจสอบแล้วมีฟองแต่ไม่มีกลิ่นเหม็น แสดงว่าการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วก็ให้ดำเนินการขั้นต่อไปได้เลย

- ลงมือย่ำเทือกด้วย “ลูกทุบ หรือ อีขลุบ” เพื่อกำจัดวัชพืช....ย่ำเทือก 3-4รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน แต่ละรอบของการย่ำจะพบว่าต้นวัชพืชค่อยๆหายไป จนกระทั่งถึงรอบสุดท้ายจะไม่พบต้นวัชพืชหลงเหลืออยู่เลย หรือมีน้อยมาก

- ก่อนย่ำเทือกรอบสุดท้าย ปรับระดับน้ำลึก 1 ฝ่ามือ ใส่ น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5 ล. + 16-8-8 (1 กก.) โดยสาดให้ทั่วแปลง แล้วย่ำด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ

3. เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ + ยูเรก้า นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้วนำขึ้นห่มชื้นต่อ 24-48 ชม. เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่ในไคตินไคโตซานจะแทงรากเร็วกว่าการแช่น้ำเปล่าหรือแช่ในสารเคมี เพราะฉะนั้นช่วงห่มชื้นให้หมั่นตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ ถ้าเริ่มรากงอกแล้วให้นำไปเพาะในกระบะเพาะทันที หากปล่อยให้รากยาวเกินไป รากจะเกาะเกี่ยวกันทำให้หว่านไม่ออก

4. การปฏิบัติบำรุงต้นข้าวระยะกล้า :
- ระยะ 7-10 วันแรกหลังดำ สำรวจต้นกล้าแล้วดำซ่อมด้วยมือต่อต้นกล้าที่เสียหาย
- อายุ 20-30 วัน ฉีดไบโออิ + ยาน็ค ทุก 5-7 วัน

5. การปฏิบัติบำรุงต้นข้าวระยะแตกกอ-ตั้งท้อง :
- ฉีดพ่น ไทเป + ยาน็อค 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

บำรุงต้นข้าวสูตรแบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©