kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11680
|
ตอบ: 25/12/2022 5:05 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ธ.ค. * ปลูกข้าวทำพันธุ์ |
|
|
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ธ.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันนีั 26 ธ.ค. วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 31 ธ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน "งด ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 06 271x 460x
ข้อความ : พันธุ์ข้าว พันธุ์แท้ รับประกัน จำหน่าย แจก ที่ไหนครับ
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ความพิถีพิถันจากใจชาวนาเมืองเหนือ :
ก่อนจะเป็น ข้าวคุณภาพ ที่แสนอร่อย สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ที่ผ่านการปลูก ดูแล และเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถัน ภายใต้มาตรฐานจากศูนย์วิจัยข้าวแพร่ โดยกรมการข้าว นายมุ่งมาตร วังกะ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวแพร่ กล่าวว่า
ศูนย์วิจัยข้าวแพร่เป็นหน่วยงานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์หลัก ส่งต่อให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว นำไปผลิตเป็นชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่าย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่รับผิดชอบ คือ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวรวมไปถึงการจำหน่าย
เกษตรกรสามารถบริหารจัดการการปลูกข้าวได้ในรูปแบบการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ ให้ประสบความสำเร็จ และที่ผ่านมาในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาด Covid-19 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรกรตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โดยสนับสนุนงบประมาณกลุ่มละไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยทางจังหวัดน่าน ที่ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา ก็เป็นเกษตรกรอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับงบประมาณช่วยเหลือจากโครงการนี้ด้วยเช่นกัน นายประภาส อินต๊ะแสน ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน กล่าวว่า จากเดิมกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ประสบปัญหาในการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการเพาะปลูก จากนั้นศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงที่คอยสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ โดยมีนักวิชาการเกษตรคอยดูแลและส่งเสริมความรู้อยู่เสมอ และกลุ่มยังได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลเพื่อนำมาใช้ลดต้นทุนการผลิต ลดแรงงาน ลดเวลาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งรถ Forklift, เครื่องเกี่ยวนวดข้าว, เครื่องอัดฟางข้าว.ลานตากเมล็ดพันธุ์ข้าว, โรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว, ถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้น
ปัจจุบันกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีการบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถเพิ่มอัตราการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้มากกว่า 100 ตันต่อปี ทำให้สามารถสร้างรายได้มีเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม และสามารถเชื่อมโยงตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ทั่วประเทศ
นายประภาส อินต๊ะแสน ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นความภาคภูมิใจ ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ โดยกรมการข้าว ได้เล็งเห็นความสำคัญในการรวมกลุ่มเกษตรกรให้เป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพในรูปแบบนาแปลงใหญ่ พวกเรากลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้กับประเทศไทยอย่างแน่นอน
https://siamrath.co.th/n/304071
ตอบ :
ปลูกข้าวทำพันธุ์ :
หลักการและเหตุผล :
- เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ชุด สามารถใช้ปลูกติดต่อกันได้เพียง 3-4 รุ่น หากนำมาปลูกเป็นรุ่นที่ 4-5 หรือรุ่นต่อๆมาจะกลายพันธุ์หรือผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม
- เมล็ดพันธุ์แท้รุ่นแรกหายาก ปัจจุบันทางราชการสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์แท้ได้เพียง 50,000-60,000 ตัน/ปี ในขณะที่ชาวนาทั่วประเทศมีความต้องการประมาณ 100,000 ตัน/ปี
- การที่คุณภาพข้าวผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์แท้ถือเป็น ต้นทุนที่สูญเปล่า อย่างหนึ่ง
- เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด หมายถึงต้นข้าว 1 กอ....ต้นข้าว 1 กอมี 20 ลำ....ต้นข้าว 1 ลำมี 1 รวง....ข้าว 1 รวงมี 100 เมล็ด....นั่นคือ เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด เมื่อขยายพันธุ์แล้วจะได้ข้าวถึง 2,000 เมล็ด
- การขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากทางราชการแต่ละครั้ง จะได้มาเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่พอเพียงต่อการใช้ในแต่ละรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์แท้พอเพียงต่อการปลูกในแต่ละรุ่น ผู้ปลูกข้าวต้องนำเมล็ดพันธุ์จำนวนน้อยที่ได้มานั้นขยายพันธุ์เองด้วยวิธี "นาดำ" แล้วบำรุงต้นข้าวด้วยวิธีทำนาแบบประณีตเพื่อเพิ่มปริมาณก่อน
ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว :
1. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก (053) 313-117
2. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา (044) 920-240
3. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง (054) 829-792
4. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท (056) 431-371
5. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี (036) 499-225
6. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง (074) 840-104
7. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ (053) 114-061
8. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา (054) 410-951
9. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร (055) 710-015
10. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี (045) 311-051
11. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด (043) 569-587
12. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี (042) 237-091
13. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ (043) 873-162
14. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่ (054) 654-537
15. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์ (056) 802-644
16. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ (044) 042-559
17. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น (043) 393-665
18. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร (042) 728-517,19
19. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี (038) 209201
20. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี (032) 919-949
21. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุโขทัย (055) 615-656
22. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฏร์ธานี (077) 259-032
23. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี (073) 330-893
24. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวศรีสะเกษ (045) 826-553-4
25. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวบึงกาฬ (042) 490-543
26. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก (037)349-478
27. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวบุรีรัมย์ (095) 334-8348
28. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอำนาจเจริญ (045) 525-677
29. กองเมล็ดพันธุ์ข้าว (กทม.) (02) 561-4229
กองเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้อัพเดท ราคา ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่มีจำหน่ายทุกสัปดาห์ เกษตรกรที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://brs.ricethailand.go.th/index.php/2016-07-22-09-03-05
ขอบคุณข้อมูลดีๆ : กองเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว
เก็บตกงานสัญจร 16 เม.ย. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม :
สมช. : ลุงครับนาข้าว ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุดครับ
ลุงคิม : อืมมม อันนี้ต้องถามคนรับซื้อนะ โรงสี ร้านขายข้าวปลูก ร้านขายข้าวพร้อมหุง นี่แหละการตลาดนำการผลิต .... อยากรู้รายละเอียดอะไรในการซื้อขายก็ให้ไปสอบถามที่นั่น แล้วถามด้วยว่า ลูกค้าของที่นั่นเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีเบอร์โทรไหม รู้แล้วก็ให้ไปคุยกับคนๆนั้น พัฒนาสัมพันธุ์เขาดีๆ เขาคงไม่ปิดบังเราหรอกนะ
สมช. : ครับ
ลุงคิม : ไม่ใช่พันธุ์ข้าวอย่างเดียวนะ คุณภาพข้าว ข้าวลีบ ข้าวป่น ข้าวปน ข้าวท้องไข่ กับอีกหลายอย่างหลายรายการที่แต่ละแหล่งซื้อกำหนด....
นาข้าวโครงการ "แปลงเล็กในแปลงใหญ่" โครงการเขาประสานกับโรงสีคนรับซื้อแล้วว่าต้องใช้ข้าวสายพันธุ์นี้เท่านั้น นาบางแปลงหาสายพันธุ์ตามที่โครงการกำหนดไม่ได้ ใช้สายพันธุ์ของตัวเอง ผลผลิตข้าวที่ออกมาเลยขายในโครงการไม่ได้ ต้องขายเอง ไม่ได้ราคา....
โรงสีรับซื้อข้าวสายพันธุ์ที่กำหนดเพราะเขามีลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนข้าวสายพันธุ์ที่โรงสีไม่ได้สั่งหรือไม่ได้กำหนด โรงสีรับซื้อแล้วเอาไปกองรวมกัน เรียกว่าข้าว "พันธุ์รวมกอง" ราคาถูก ข้าวประเภทนี้โรงสี สีแล้วเอาไปทำแป้ง ....
ก็มีที่ข้าวเปลือกจากนาบางแปลง คุณภาพดี ดีมาก สายพันธุ์ชาวนานิยม โรงสีให้ราคาแพงเพราะเอาไปขายเป็นข้าวปลูกได้....
สมช. : ครับ
ลุงคิม ที่จริง ภารกิจส่งเสริมการเกษตรที่รายการสีสันชีวิตไทยดำเนินการ นาข้าวคือเรื่องพืชที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด เน้นย้ำ....มากที่สุด ที่พูดทั้งเขียน
- รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....
- รายการข้าวเปลือกด้อยคุณภาพที่โรงสีตัดราคา ได้แก่ ข้าวหัก ข้าวป่น ข้าวเมล็ดแดง ข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวเมล็ดท้องไข่ ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น
- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม
- พูดอยู่เสมอๆ ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลวก็ล้มเหลวด้วย เผลอๆล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จด้วย แต่ถ้าเอาแนวของคนที่สำเสร็จมาต่อยอด นั่นคือ จะสำเร็จเหนือกว่า
**** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
เรื่องสายพันธุ์ ปลูกไปแล้วปลูกเลย แก้ไม่ได้ แต่คุณภาพ ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวป่น ข้าวที่โรงสีตัดราคา แก้ได้....
บำรุงต้นข้าวแบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
---------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|