kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 15/02/2023 5:45 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประวำวัน 15 ก.พ. * เปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ยให้ต้ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 15 ก.พ.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 18 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 08 371x 495x
ข้อความ : เผาฟางผิดกฎหมาย ขอเทคนิคเทคโนนาข้าว ปีนี้จะทำตามแบบคุณลุงแน่นอนนอนแน่ครับ
จาก : 09 629x 731x
ข้อความ : ได้ข้าวเท่าเดิม ไม่ถูกตัดราคา นั่นคือ มูลค่าเพิ่มค่ะ
จาก : 09 416x 612x
ข้อความ : ฟางคือต้นข้าว เปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าวค่ะ
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
การไถกลบตอซัง สมบัติล้ำค่าใกล้ตัวเกษตรกร ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรกรรมของประเทศไทยมีระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้างต่ำมาก คือ ดินที่มีอินทรียวัตถุ ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่า มีพื้นที่มากถึง 191 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากธาตุ อาหารในดิน จะสูญเสียไปในรูปผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปจ่าหน่ายหรือบริโภค ซึ่งสูญเสียไปอย่าถาวร (ไปประเทศไหนไม่รู้) และสูญเสียไปในรูปตอซัง/เศษพืชที่เกษตรกรเผ่าทิ้งหลังเก็บเกี่ยว จากการสำรวจวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของประเทศ ไทย พบว่า ในแต่ละปีมีปริมาณมากกว่า 39.1 ล้านตัน แบ่งเป็นตอซังฟางข้าว 26.9 ล้านตัน ซังข้าวโพด 7.8 ล้านตัน เศษใบอ้อย 2 ล้านตัน วัสดุพืชไร่ชนิดอื่นๆ ประมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี
จากปริมาณวัสดุดังกล่าว เมื่อคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 2.8, 0.7 และ 5.9 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 1,930.2, 741.4 และ 4,731.4 ล้านบาท ตามล่าดับ รวมเป็นมูลค่าของปุ๋ยทั้งสิ้น 7,043 ล้านบาท
ดังนั้นการน่าส่วนของพืชออกไปจากพื้นที่การเกษตรแต่ละครั้ง จึงเท่ากับเป็นการสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินเป็นจ่านวนมาก การไถกลบตอซัง หมายถึงการไถกลบ วัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่นาหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยทำการไถกลบวัสดุเศษพืชในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดิน ก่อนที่จะท่าการปลูกพืชต่อไป ปกติแนะน่าให้ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ สูตร พด.2 อัตรา 5 ลิตร/ไร่ เพื่อช่วยสลายตอซังหรือเศษพืช เป็นการเพิ่มชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารพืช และ ช่วยรักษาระบบนิเวศวิทยาที่ดีในดิน การไถกลบตอซัง (ปุ๋ยหมก) เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินโดยตรง เป็นการปรับปรุงบ่ารุงดินที่สะดวก และง่ายที่สุด ที่เกษตรกรจะท่าได้ เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป ไม่ต้องซื้อหา ไม่ต้องขนส่งหรือเคลื่อนย้าย มาจากที่อื่น ได้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์มาก (เท่าที่มีตรงนั้น) เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง
วิธีการไถกลบตอซัง :
1. การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกข้าว
1.1) กรณีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักชนิดเดียว หากยังไม่รีบท่านาอาจทิ้งฟางข้าวและตอซังข้าวไว้ในแปลงนา เพื่อรักษา ผิวหน้าดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ให้ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ สูตร พด.2 อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ไถกลบตอซังและฟางข้าว ทิ้ง ไว้7-15 วัน เพื่อให้ตอซังย่อยสลาย แล้วจึงไถพรวนและท่าเทือกเพื่อเตรียมปลูกข้าวต่อไป
สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา 92/2 หมู่ 2 ต.หันตรา อ. พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 และขอเชิญเข้าชมเว็ปไซด์ http://r01.ldd.go.th/aya/ เพื่อเข้าถึงความรู้และการบริการ หมอดิน พระนครศรีอยุธยา 2
1.2) การปลูกพืชไร่หลังนาหรือปลูกพืชหมุนเวียน ให้ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ สูตร พด.2 อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ไถกลบตอซังและฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-15 วัน เพื่อให้ตอซังย่อยสลาย จึงไถพรวนแล้วปลูกพืชไร่ตามปกติและเมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตพืชไร่แล้วให้ทิ้งตอซังไว้เมื่อถึงฤดูท่านาจึงไถกลบวัสดุเหล่านี้ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก่อนจะท่าการปลูกข้าวต่อไป การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจะช่วยตอซังย่อยสลายตัวเร็วขึ้น ลดปัญหาข้าวเมาหัวซัง และแก๊สไข่เน่า ที่เป็นอันตรายต่อการปลูกข้าว ได้ 2. การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชผัก ในสภาพพื้นที่ดอน ซึ่งมีการปลูกพืชไร่และพืชผักหลายชนิดให้ ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ สูตร พด.2 อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ก่อนไถกลบตอซังทิ้งไว้ 7-15 วัน เพื่อให้ตอซังย่อยสลาย แล้วจึงไถ พรวนและปลูกตามปกติ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุตอซัง :
1. ชนิดของวัสดุวัสดุที่ย่อยสลายยากได้แก่ ตอซังข้าว หรือ ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาการย่อยสลาย ประมาณ 20 วัน ส่าหรับวัสดุตอซังข้าวโพด และพืชตระกูล ถั่ว จะใช้เวลาประมาณ 7 - 15 วัน
2. อุณหภูมิอุณหภูมิในดินที่มีระดับสูงขึ้น จะมีผลท่าให้วัสดุตอซังมีการย่อยสลาย ได้เร็วขึ้น
3. ความชื้น ดินที่มีปริมาณความชื้นพอเหมาะ จะท่าให้เกิดการย่อยสลายวัสดุได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของการไถกลบตอซัง :
1. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินมีความโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และ ความหนาแน่นของดินลดลง
2. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน อินทรียวัตถุจะดูดซับธาตุอาหารในดิน และ ปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน
3. เพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
4. ช่วยในการลดระดับความเค็มของดิน
5. รักษาระดับความเป็นกรดและด่างของดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
6. เพิ่มผลผลิตให้กับพืช การไถกลบตอซังในพื้นที่เกษตรกรรมอย่างสม่ำเสมอ จะท่าให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น เมื่อ เปรียบเทียบกับพื้นที่เผาตอซัง
7. ลดปัญหามลภาวะสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุ
ผลของการเผาวัสดุตอซังต่อสมบัติของดิน และสภาพแวดล้อม :
1. โครงสร้างของดินจับกันแน่นแข็ง กระด้าง และการแพร่กระจายของรากพืชลดลง
2. เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุธาตุอาหาร และน้ำในดิน
3. จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ถูกท่าลาย
4. ท่าลายแมลงและสัตว์เล็กๆ ที่เป็นประโยชน์ในไร่นา
5. ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษ และเกิดอุบัติเหตุ
การลดต้นทุนการผลิต การปลูกพืชปลอดสารพิษจะทำไม่ได้เลย ถ้าเรายังไม่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง เราต้องหันมาสร้าง พลังให้กับดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และที่ง่ายที่สุดคือการไถกลบตอซังหลังเก็บเกี่ยว (ทันที) เมื่อดินมีพลังพืชจึงแข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรค การใช้ยาฆ่าแมลงจึงไม่จ่าเป็น หากต้องใช้ปุ๋ยเคมีก็ให้ใช้เท่าที่ จ่าเป็น โดยใช้ตามค่าแนะน่าของโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช หรือ จากค่าวิเคราะห์ดิน ต้องการค่าปรึกษาหรือการ บริการเพิ่มเติม ติดต่อที่สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา หรือ หมอดินอาสาใกล้บ้าน
http://r01.ldd.go.th
หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง :
หลักการและเหตุผล :
ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่สุด กล่าวคือ ฟางคือต้นข้าว ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนาตัวเอง เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสารอาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่ นอกจากเป็นสารอาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์ ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ช่วยซับ หรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น เป็นต้น
ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ)จะเจริญเติบโต แตกกอ สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม
มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตกระแหง ก็คือ การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์) อยู่ในเนื้อดินมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1 สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี
แนวทางปฏิบัติ :
หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอนก็ได้ ดังนี้
1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง....ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง กรณีนี้ ถ้าต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น
3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่
4. หมักฟาง :
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้ เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้ ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทนแล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ....ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก
ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม)เรียกว่า เมาตอซัง กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน
5. ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำหมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้
- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ
- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย
กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบหรือลูกทุบ ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้
6. ไม่ไถ :
หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้ แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่สาดให้ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุและ ปุ๋ย สำหรับนาข้าวตามปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก(ดำหรือหว่าน)ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน....หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง
ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย
หมายเหตุ :
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้ ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง
- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้ ขี้เทือก ลึก 20-30 ซม. (ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก
- นาข้าวแบบไถกลบฟาง จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น
จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้ และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย
แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง ไม่เผา อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3 ตัน/ไร่/รุ่น
- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น
เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่ ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุสารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์ และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1699&page=1
ประโยชน์ของฟางข้าวเมื่อไม่เผาทิ้ง :
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรียวัตถุในดินมากขึ้น
2. ฟางข้าวช่วยทำให้พื้นที่นาที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น
3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้
4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม
5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย
6. ฟางข้าวนำไปเป็นอาหารโค กระบือ ได้
7. ฟางข้าวสามารถนำไปทำวัสดุเพาะเห็ดฟางได้
8. ฟางข้าวเป็นวัสดุที่อยู่ในนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปขนมาใส่ในนา ก่อนที่จะหมักฟางข้าว ต้องเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วทั้งแปลง
วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางและตอซังข้าว :
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ
ไนโตรเจน (N) ................ 1.6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) ........... 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) .......... 17 กิโลกรัม
แคลเซียม (Ca) ............... 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) ............. 1.3 กิโลกรัม
ซิลิก้า (SiO2) ................. 50 กิโลกรัม
ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันออกตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งตอซังอีก 1,2001,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหนียวต่ำกว่าคือ 500800 กิโลกรัม/ไร่
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก :
1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้เกษตรกรเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมทั่วทั้งแปลงนาด้วยแรงคน หรือเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้ายแทรกเตอร์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท/ไร่ หรือใช้ภูมิปัญญาเกษตรกร อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยใช้ลำไม้ไผ่ชนิดที่มีกิ่งมีหนามจำนวน 2 ลำ ผูกติดท้ายแทรกเตอร์ลาก 23 รอบสามารถเกลี่ยฟางข้าวกระจายทั่วทั้งแปลงนา เมื่อคิดต้นทุนเพียง 15 บาท/ไร่ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)
2. ทดน้ำเข้าแปลงนา ใช้อีคลุบติดท้ายแทรกเตอร์ย่ำให้ฟางข้าวและตอซังจมน้ำระดับ 3 5 ซม.
3. ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่คิดว่าต้นทุนถูกที่สุดและจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอัตรา 510 ลิตร/ไร่ (ฟางข้าว 500800 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/ไร่ และฟางข้าว 8001,000 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ลิตร/ไร่) ใส่แกลลอนเจาะรูให้น้ำหมักชีวภาพไหลได้ นำไปติดท้ายแทรกเตอร์ โดยใช้อีคลุบย่ำตอซังและฟางข้าว ทำให้น้ำหมักระจายไปทั่วแปลงนาเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย
4. ใช้เวลาหมักประมาณ 10 วัน ตอซังและฟางข้าวเริ่มอ่อนตัวและเริ่มย่อยสลาย สามารถไถพรวนดินได้ไม่ติดเครื่องมือไถพรวน
http://dankhunthot.khorat.doae.go.th/e_rice/rice_1.html
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2418
-----------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|