-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 7 มี.ค. * โรงสีตัดราคาข้าว เกิด/แก้ไข ยังไง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 7 มี.ค. * โรงสีตัดราคาข้าว เกิด/แก้ไข ยังไง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 06/03/2023 5:35 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 7 มี.ค. * โรงสีตัดราคาข้าว เกิด/ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 7 มี.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า *** แจกกับดักแมลงวันทอง....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....


*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 11 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ แจก ! แจก ! แจก ! หนังสือไม้ผลแนวหน้า กับดักแมลงวันทอง แจก ! แจก ! แจก ! ....


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 09 482x 619x
ข้อความ :
1. โรงสีตัดราคาข้าว .... เกิดจากอะไร แก้ไขยังไง
2. ตลาดข้าว .... โรงสี ร้านขายข้าวปลูก โรงงานแปรรูป
3. ลดต้นทุน .... ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง
4. ชาวนารุ่มใหม่ .... คิดใหม่ ทำใหม่


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

1 ไร่ 1 แสน..ได้จริง จำนำ..ใครกันได้มาก

ทำนากับโครงการ 1 ไร่ ได้ 1 แสนนี่แหละ มันไม่ได้หมายถึงในน้ำต้องมีปลา ในนาต้องมีข้าว เหมือนที่เราเข้าใจกันมาตั้งแต่เด็ก”

นางสมศรี เพ็งรุ่ง ชาวนาวัย 51 ปี ดีกรีจบปริญญาตรี อดีต ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 ต.โคกใหญ่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เผยถึงความรู้สึกที่ได้เป็น 1 ใน 85 เกษตรกรรุ่นแรก ที่เข้าอบรมทำนาเป็นเวลา 5 เดือน ในโครงการ 1 ไร่ ได้ 1 แสน ภายใต้การสนับสนุนของ 4 หน่วยงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)

ตอนแรกเธอไม่อยากจะมาอบรม เพราะไม่เชื่อว่านา 1 ไร่ จะทำเงินเป็นแสนได้จริง แต่ต้องมาเพราะมีฐานะทางสังคมเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้ หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่คว้ารางวัลการประกวดมามากมาย...เลยจำใจมาท้าพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงหรือโกหก ผลที่ได้...ทำนามาหลายสิบปี ปีละ 150 ไร่ แต่เพิ่งจะได้เข้าใจ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายความว่าอะไร

“อยู่บ้านเราทำนาปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง เรียกว่า ทำทุกอย่างตามที่ทางการแนะนำ มาเรียนทำนาที่นี่เราปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ แบบผสมผสานเหมือนกัน แต่ต่างกันตรง ที่เราเคยทำ จะทำแบบแยกกันอยู่ บ่อปลาก็อยู่ส่วนปลา นาก็อยู่ส่วนนา

แต่ที่นี้ นาข้าวกับบ่อปลา กบ กุ้ง หอย เป็ด เอามาปลูกเลี้ยงรวมอยู่ในพื้นที่แปลงเดียวกัน แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน สัตว์ขี้ออกมาเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องซื้อ

เพราะนอกจากจะมีเป็ดมาช่วยกำจัดศัตรูข้าวให้แล้ว สารพัดหญ้าวัชพืชที่เราเคยเห็นเป็นศัตรูตัวฉกาจต้องเผาทิ้ง หรือไม่ก็ใช้ยาฆ่าหญ้าทำลายทิ้ง แต่ที่นี้สอนให้เรามองวัชพืชเป็นมิตร มีประโยชน์สามารถเอามาทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ได้และการไม่เผาทำลายหญ้าทิ้ง ทำให้ตัวเบียน แมลงกำจัดศัตรูพืชในธรรมชาติ ไม่ถูกทำลาย เราเลยปลูกข้าวอินทรีย์แบบปลอดสารพิษได้โดยไม่ต้องใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ช่วยลดต้นทุนปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ได้มาก”

ถ้าถามว่า 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน จริงแค่ไหน นางสมศรี บอกว่า สำหรับของตัวเธอตอนนี้ยังบอกไม่ได้ เพราะยังอบรมไม่จบโครงการ ยังไม่สามารถเคลียร์บัญชีรายรับรายจ่ายได้แต่มั่นใจได้มากกว่า 1 แสน เพราะเพื่อนคนอื่นที่มาอบรมได้จดบัญชีไว้ สามารถทำได้เกือบ 2 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว 1 ไร่ น่าจะเหลือเกิน 1 แสน เพราะการทำนา 1 ไร่ 1 แสน เกษตรกรมีรายได้สารพัด ทั้งจากการขายผัก ขายไข่เป็ด ขายปลา กบ กุ้ง หอย และขายข้าวอินทรีย์ไร้สารพิษ นอกจากจะได้ราคาสูงกว่า ผลผลิตที่ได้ยังสูงกว่าด้วย

“ทำนามาหลายปีไม่เคยเห็นที่ไหนปลูกข้าวได้ผลผลิตมากอย่างน่าตกใจขนาดนี้ อยู่บ้านเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้พันธุ์ข้าว 20-30 กก. พันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ได้ข้าว 1 ต้น มี 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวแค่ 60-70 เมล็ด แต่ที่นี่ใช้พันธุ์ข้าวแค่ 2 ขีดครึ่ง และพันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ปลูกแล้วแตกกอได้ข้าว 52 ต้น ต้นละ 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวถึง 200 เมล็ด ผลผลิตต่างกันหลายเท่าตัว”

นายเอกชัย เรือนคำ เกษตรกรวัย 19 ปี จาก ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นอีกคนที่ทึ่งกับการปลูกข้าว จากเดิมอยู่บ้านทำนา ถึงเวลาเก็บเกี่ยว ข้าวกอเดียวกำได้หลวมๆ สบายมือ...แต่ข้าวปลูกเองที่นี่ แต่ละกอมือเดียวกำแทบไม่มิด

จากเคยอยู่บ้าน วันๆเอาแต่ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยว กินเหล้า เชียร์มวยตู้ เสียทั้งเงินทั้งเวลา ชีวิตตัวเองเหมือนไม่มีอนาคต เพราะช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน มีรายได้แค่พออยู่พอกินไปวันๆเท่านั้น แต่พอมาได้อบรมทำนาแบบนี้ ได้ลงมือทำเอง เห็นผลงานของตัวเอง ทำให้ตอนนี้มีความมั่นใจในอนาคตตัวเองมากขึ้น

“รู้ว่าจากนี้ไป สามารถทำอะไรเป็นอาชีพได้แล้ว กลับไปบ้านจะเริ่มจากเล็กๆก่อน ทำแค่ 1 ไร่ จนอยู่ตัว จากนั้นจะค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำเป็น 2-3 ไร่ ทำแค่นี้ผมเชื่อว่าอยู่ได้สบาย” นางอุทิศ หล่ออินทร์ เกษตรกร อายุ 41 ปี จาก ต.ท่าสะแก อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการพิสูจน์ว่า 1 ไร่ 1 แสน จะได้จริงอย่างไร เลยสมัครเข้าอบรม ไม่น่าเชื่อว่าเกษตรกรไทยจะมีวิชั่น คิดไกลมองข้ามช็อตไปถึงอนาคตของประเทศชาติ

“ถ้าเกษตรกรไทยทำอย่างนี้กันมาก จะช่วยลดการรุกป่าสร้างที่ทำกินได้ไม่น้อย เพราะพื้นที่แค่ 1 ไร่ ทำเงินได้เป็นแสน ได้มากกว่าการทำเกษตรแบบเดิมที่ใช้พื้นที่หลายสิบไร่ ฉันเองมีนาอยู่ 7-8 ไร่ ให้ผลผลิตแค่พอเก็บไว้กิน รายได้หลักมาจากทำไร่ข้าวโพด ในเนื้อที่บุกเบิกป่า 30 ไร่ ปีที่แล้วลงข้าวโพด ขายได้เงินประมาณ 98,000 บาท หักต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาแล้วเหลือ 40,000-50,000 บาท แต่นี่ต้องลงมือทำเองนะ จ้างคนอื่นไม่ได้ เพราะถ้าจ้าง ค่าแรงจะกินหมดไม่เหลือกำไร”

คิดดู 1 ไร่ ทำเงินได้มากกว่า 30 ไร่ จะช่วยลดการรุกป่าได้ขนาดไหน...เป็นวิชั่นจากสมองชาวนาที่ยากจะหาได้ในกลุ่มผู้บริหารประเทศในขณะที่ชาวนาอย่าง สมศรี ทำนาปีละ 150 ไร่ เป็นนาของตัวเอง 5 ไร่ ที่เหลือเป็นนาเช่าจากนายทุน บอกว่า อบรมจบหลักสูตร 5 เดือน จะกลับไปทำนาแบบนี้ในที่ดินของตัวเองสัก 1 ไร่ นอกจากจะให้เพื่อนชาวนาได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว ผลผลิตที่ได้จะไม่ขายไม่จำนำ แต่จะเก็บไว้กินเอง เพราะเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดภัยไร้สารพิษ...คนในครอบครัวจะได้ปลอดภัยห่างไกลมะเร็ง

ส่วนแปลงนาที่เช่านายทุนจะทำนาใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เอาไปขายเข้าโครงการรับจำนำเหมือนเดิมและเมื่อถามว่า ในเมื่อมีที่ทำนามากมาย รายได้จากการขายข้าวเข้าโครงการจำนำ ที่รัฐบาลบอกว่าช่วยให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้นนั้นจริงไหม

เธอตอบว่า ก็ได้บ้าง แต่ไม่มากเหมือนที่ว่ากัน...ราคาจำนำที่บอกว่า ตันละ 15,000 บาท แต่พอเอาข้าวไปโรงสี ถูกหักค่าความชื้น ค่าสิ่งเจือปน

ชาวนาดูไม่ออก ตรวจวัดไม่เป็น...ทำไปทำมาได้แค่ตันละ 11,000-11,400 บาท ในขณะที่สารพัดต้นทุนขยับขึ้นราคายกแผง...แบบเดียวกับประกาศขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของกินของใช้ขึ้นราคาไปรอล่วงหน้า โดยที่รัฐบาลทำได้แค่ให้สัมภาษณ์ ได้สั่งการกำชับให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลแล้ว แต่มิเคยช่วยให้ของถูกลงแต่อย่างใดนั่นแหละ

“ค่าเช่าที่นาก่อนหน้านี้ อยู่ที่ไร่ละ 500 บาท แต่พอรัฐบาลประกาศให้ราคาจำนำสูง ค่าเช่าก็ขึ้นไปเป็นไร่ละ 1,200-1,500 บาท เพราะเจ้าของที่นาอ้างว่า รัฐบาลให้ราคาข้าวดี เขาก็ควรได้ราคาดีด้วย” ค่าปุ๋ยจากกระสอบละ 700 บาท ขยับเป็น 980 บาท...ค่ายากำจัดศัตรูพืช เคยอยู่ที่ลังละ 2,700 บาท ขึ้นเป็น 4,200 บาท

[พื้นที่ปลูกข้าวนาปีนาปรังรวมกันประมาณ 73 ล้านไร่...1 ไร่ใช้ปุ๋ย 2 กระสอบ...10 ไร่ ใช้ยา 1 ลัง คิดดูก็แล้วกันรับจำนำ นายทุนผูกขาด ขายปุ๋ย–ยาฆ่าแมลง และแลนด์ลอร์ดนายทุนที่นา ฟันไปกี่หมื่นล้าน...อย่างนี้หรือที่เขา เรียกว่าช่วยชาวนา.

https://www.thairath.co.th/news/politic/301451


โครงการ 1 ไร่ 1 แสน
ปัญหาอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้นั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรฐานราก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

โครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เป็นโครงการริเริ่มของภาคเอกชนโดยหอการค้าไทย ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการประยุกต์และปรับใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

หลักการเบื้องต้นของโครงการ คือ การเพิ่มรายได้ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตและเรื่องราวของสินค้า และการสร้างความยั่งยืน โดยโครงการนี้จะเป็นการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ให้ได้ประโยชน์และประสิทธิภาพมากที่สุดตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองผ่านการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการทำการเกษตร โดยดำเนินการผ่าน 3 วิชา ได้แก่ ด้านกสิกรรม คือ ปลูกข้าว ผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผล ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงเป็ด ไก่ และด้านประมง เลี้ยงปลา กบ หอย กุ้ง ปู เป็นต้น โดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คันนาปลูกพืชผักสวนครัว ร่องน้ำสำหรับทำการประมง พื้นที่ปลูกข้าว และพื้นที่อยู่อาศัยในสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เพื่อให้ระบบนิเวศเกื้อกูลต่อกัน

โครงการนี้มีพื้นที่นำร่องอยู่ที่บ้านหนองแต้ บ้านบ่อ และบ้านกุดเชียงมี ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างเต็มรูปแบบมีรายได้เฉลี่ยถึง 150,000-200,000 บาท ขณะเดียวกันต้นทุนของการทำนา 1 ไร่จากเดิม 10,000 บาท ลดลงหลายเท่าตัวเหลือเฉลี่ยเพียง 2,292 บาทต่อไร่ ทำให้จังหวัดขอนแก่นได้กลายเป็นแหล่งกรณีศึกษาสำหรับเกษตรกรจากทั่วประเทศที่ต้องการเยี่ยมชมแปลงต้นแบบและต้องการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการทำนาที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย อาทิ นนทบุรี ปทุมธานี ตรัง และยะลา เป็นต้น


ตอบ :

เก็บตกงานสัญจร 16 เม.ย. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม :

สมช. :
ลุงครับนาข้าว ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุดครับ
ลุงคิม : อืมมม อันนี้ต้องถามคนรับซื้อนะ โรงสี ร้านขายข้าวปลูก ร้านขายข้าวพร้อมหุง นี่แหละการตลาดนำการผลิต .... อยากรู้รายละเอียดอะไรในการซื้อขายก็ให้ไปสอบถามที่นั่น แล้วถามด้วยว่า ลูกค้าของที่นั่นเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีเบอร์โทรไหม รู้แล้วก็ให้ไปคุยกับคนๆนั้น พัฒนาสัมพันธุ์เขาดีๆ เขาคงไม่ปิดบังเราหรอกนะ

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ไม่ใช่พันธุ์ข้าวอย่างเดียวนะ คุณภาพข้าว ข้าวลีบ ข้าวป่น ข้าวปน ข้าวท้องไข่ กับอีกหลายอย่างหลายรายการที่แต่ละแหล่งซื้อกำหนด....

นาข้าวโครงการ "แปลงเล็กในแปลงใหญ่" โครงการเขาประสานกับโรงสีคนรับซื้อแล้วว่าต้องใช้ข้าวสายพันธุ์นี้เท่านั้น นาบางแปลงหาสายพันธุ์ตามที่โครงการกำหนดไม่ได้ ใช้สายพันธุ์ของตัวเอง ผลผลิตข้าวที่ออกมาเลยขายในโครงการไม่ได้ ต้องขายเอง ไม่ได้ราคา....

โรงสีรับซื้อข้าวสายพันธุ์ที่กำหนดเพราะเขามีลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนข้าวสายพันธุ์ที่โรงสีไม่ได้สั่งหรือไม่ได้กำหนด โรงสีรับซื้อแล้วเอาไปกองรวมกัน เรียกว่าข้าว "พันธุ์รวมกอง" ราคาถูก ข้าวประเภทนี้โรงสี สีแล้วเอาไปทำแป้ง ....

ก็มีที่ข้าวเปลือกจากนาบางแปลง คุณภาพดี ดีมาก สายพันธุ์ชาวนานิยม โรงสีให้ราคาแพงเพราะเอาไปขายเป็นข้าวปลูกได้....

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ที่จริง ภารกิจส่งเสริมการเกษตรที่รายการสีสันชีวิตไทยดำเนินการ นาข้าวคือเรื่องพืชที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด เน้นย้ำ....มากที่สุด ที่พูดทั้งเขียน

- รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....
- รายการข้าวเปลือกด้อยคุณภาพที่โรงสีตัดราคา ได้แก่ ข้าวหัก ข้าวป่น ข้าวเมล็ดแดง ข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวเมล็ดท้องไข่ ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น

- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม

- พูดอยู่เสมอๆ ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลวก็ล้มเหลวด้วย เผลอๆล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จด้วย แต่ถ้าเอาแนวของคนที่สำเสร็จมาต่อยอด นั่นคือ จะสำเร็จเหนือกว่า

**** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

เรื่องสายพันธุ์ ปลูกไปแล้วปลูกเลย แก้ไม่ได้ แต่คุณภาพ ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวป่น ข้าวที่โรงสีตัดราคา แก้ได้....

บำรุงต้นข้าวแบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

มิติใหม่แห่งนาข้าว :
หลักการและเหตุผล :

ปุ๋ย คือ ธาตุอาหารสำหรับพืช ในการเพาะปลูกเมื่อคิดจะปฏิเสธสารอาหารที่เรียกว่า “ปุ๋ยเคมี” ก็ต้องหาสารอาหารที่เป็นปุ๋ยอย่างอื่นมาแทน เพราะพืชมีความจำเป็นต้องได้สารอาหารเพื่อการพัฒนาตัวเอง ในปุ๋ยเคมีมีสารอาหารอะไร ในปุ๋ยที่จะมาแทนก็จะต้องมีสารอาหารตัวนั้น ครบถ้วนทุกตัวและในปริมาณที่พอเพียงด้วย ตามหลักวิชาการหรือทฤษฎี เราสามารถรู้ได้ว่าต้นข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณเท่าใดเพื่อการเจริญเติบโต ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (LAB) ทางเคมีเท่านั้น แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติจริง การตรวจวิเคราะห์เป็นสิ่งยุ่งยากมากเกินกว่าที่ชาวนาจะเข้าถึงได้ เพราะทุกขั้นตอนต้องพึ่งพาระบบราชการเป็นหลัก

ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ ในระบบราชการนั้น “นโยบาย” กับ “การปฏิบัติ” มักจะสวนทางกันอยู่เสมอ ปุ๋ยเคมีในกระสอบที่เป็นสารอาหารของต้นข้าวมีเพียง “ธาตุหลัก” เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวยังต้องการ ธาตุรอง. ธาตุเสริม. และฮอร์โมน. ซึ่งปุ๋ยเคมีในกระสอบไม่มีธาตุอาหารเหล่านี้ หรือมีแต่ไม่มากเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตใส่เติมให้แต่ก็ต้องจ่ายเงินซื้อแพงขึ้น ในต้นพืชในแปลงนา ได้แก่ ฟาง. หญ้า. วัชพืช. ซึ่งพืชเหล่านี้เคยได้อาศัยปุ๋ยของต้นข้าวไปพัฒนาตัวเอง เมื่อไถกลบแล้วเน่าสลายก็จะกลายเป็นปุ๋ย เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยพืชสด” ปุ๋ยเหล่านี้ถือเป็นสารอาหารพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อินทรีย์สาร หรือ สารอินทรีย์” ซึ่งนอกจากใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นข้าวโดยตรงได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงสภาพโครงสร้างดิน และจุลินทรีย์ อีกด้วย

นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี ไนโตรเจน 32 กก. ฟอสฟอรัส 22 กก. โปแตสเซียม 8 กก. แคลเซียม 14 กก. แม็กเนเซียม 6 กก. กำมะถัน 2 กก. ซิลิก้า 13 กก. ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ในปุ๋ยน้ำชีวภาพสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน มีส่วนผสม 2 ประเภท ได้แก่ ส่วนผสมที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวรการย่อยสลาย “ปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. มูลค้างคาว. นม. น้ำมะพร้าว. ฮิวมิค แอซิด. จุลินทรีย์. อะมิโนโปรตีน. ฮอร์โมนธรรมชาติ. สารท็อกซิค.” กับส่วนผสมที่เป็นสารอาหารจากปุ๋ยเคมีประกอบด้วย “ธาตุหลัก. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์” ซึ่งได้ใส่เติมเพิ่มลงไปก่อนใช้งาน เพื่อชดเชยปริมาณสารอาหารในสารอินทรีย์ซึ่งอาจจะมีน้อยให้พอเพียงต่อความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอื่นๆ

จากประสบการณ์ตรงที่เคยพบว่าพืชประเภทนี้ต้องการสารอาหารกลุ่มปุ๋ยเคมีเพียง 1 ใน 10 ของอัตราที่เกษตรกรนิยมใช้ ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชทั่วๆไปที่รับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ปากใบและปลายราก การได้รับสารอาหารแบบ “ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สม่ำเสมอ” น่าจะชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีที่ลดลงได้ กอร์ปกับช่วงที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตในแต่ละระยะนั้น ลักษณะทางสรีระวิทยาพืช (ต้นข้าว) จะบ่งบอกว่าปริมาณสารอาหารหรือปุ๋ยทางดินเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็สามารถเติมเพิ่มภายหลังได้ นาข้าวแบบนาดำด้วยรถดำนานอกจากจะให้ผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณสูงกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด) แล้ว การปฏิบัติบำรุงและการป้องกันโรคและแมลงยังง่าย ประหยัดเวลา และแรงงานอีกด้วย

เป้าหมายทำนาข้าว เพื่อ....
1. ขายพันธุ์ข้าวปลูกให้แก่ชาวนาแปลงใกล้เคียง
2. สีเป็นข้าวกล้องบรรจุถุง
3. สีเป็นข้าวกล้องแล้วแปรรูปเป็นน้ำกาบา
4. ขายให้โรงสีเป็นข้าวอินทรีย์

ภายใต้สภาพโครงสร้างดินดี ตามสเป็คกรมพัฒนาที่ดินกำหนด จำนวนปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้แก่พืชแต่ละครั้งนั้น ต้นพืชสามารถนำไปใช้ได้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเหลือตกค้างอยู่ในเนื้อดิน 6 ใน 10 ส่วน ของทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยลงไป

การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในเนื้อดินทุกปี ต่อเนื่องหลายๆปี จึงเท่ากับได้มีปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งเหลืออยู่ในเนื้อดินแล้ว ปุ๋ยส่วนนี้พร้อมให้ต้นข้าวนำไปใช้งานได้อยู่แล้ว จัดทำปฏิทินการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวระยะต่างๆ แล้วปฏิบัติตามปฏิทินอย่างเคร่งครัด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือในการควบคุมน้ำให้พร้อมใช้อยู่เสมอ จัดทำบัญชีฟาร์ม ส่วนที่ซื้อ. ส่วนที่ทำเอง (ต้นทุน). ค่าแรง (จ้าง). ค่าแรง (ทำเอง). ฯลฯ

ข้อสังเกต.... ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักอ้างว่า “ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มผลผลิต” แต่ในแปลงนาข้าวแห่งหนึ่ง ใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก. /ไร่ /รุ่น ได้ผลผลิต 100 ถัง ในขณะที่แปลงข้างเคียงใส่ปุ๋ย 50 กก. /ไร่ /รุ่น ซึ่งใส่มากกว่า 5 เท่า กลับได้ผลผลิตเท่ากัน....ข้อสงสัยก็คือ ในเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่า 5 เท่า แล้วทำไมจึงไม่ได้ผลผลิต 500 ถัง....ในขณะเดียวกัน ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักไม่กล่าวถึง “หลักธรรมชาติ” ว่าด้วยเรื่อง ปุ๋ยเดิมเหลือตกค้างในดิน. การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี. การเพิ่มธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน. และอื่นๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับธาตุอาหารครบถ้วนที่สุด.

สรุป :
1. ลดสารอาหารจากปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ทางดิน แล้วเพิ่มด้วยสารอาหารจากปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรเลือกสรรวัสดุส่วนผสมพิเศษ

2. เพิ่มปุ๋ย (ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน) ทางใบ
3. ปรับช่วงการให้โดยให้ทางใบ ทุก 5-7 วัน

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6959

-----------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©