-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * ปุ๋ยสูตรสั่งตัด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* ปุ๋ยสูตรสั่งตัด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 22/06/2023 6:18 pm    ชื่อกระทู้: * ปุ๋ยสูตรสั่งตัด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ปุ๋ยสูตรสั่งตัด :

ขั้นตอนบำรุงไม้ผลยืนต้น :

1. ตัดแต่งกิ่ง
2. เรียกใบอ่อน .... (ฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา)
3. ตรวจสอบผลการเรียกใบอ่อน
4. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
5. เรียกใบอ่อนรอบ 2

6. ตัดแต่งกิ่งรอบ 2
7. สะสมตาดอก ..... (สะสมแป้งและน้ำตาล)
8. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช
9. ปรับ ซี/เอ็น เรโช ....(เพิ่ม ซี. ลด เอ็น.)
10. ตรวจสอบความพร้อม ซี/เอ็น เรโช

11. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเปิดตาดอก
12. เปิดตาดอก
13. บำรุงดอก (ฝน-แล้ง)
14. บำรุงผลเล็ก
15. ตัดแต่งผลเล็ก

16. บำรุงผลกลาง
17. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว (ฝน-แล้ง)
18. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน-ทางใบ/ทางราก ป้องกันศัตรูพืช ทุกระยะ ตามหลักสมการ

บำรุงไม้ผลตามระยะ :
........ ทางใบ ........................ ระยะ ........................ทางราก ........

....... 25-5-5 …................. เรียกใบอ่อน .................. 25-7-7 ........
..... 20-20-20 ............. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ .............. 25-7-7 ........
...... 0-42-56 ................... สะสมตาดอก ................. 8-24-24 .......
.. ธาตุรอง/ธาตุเสริม ........... ปรับ ซี/เอ็น เรโช ................. งดน้ำ ..........
....... 0-42-56 ................. บำรุงดอก (ฝน) .............. 8-24-24 ........

ไธโอยูเรีย 0-52-34 13-0-46 .. เปิดตาดอก .............. 8-24-24 ..........

.......15-45-15 ................ บำรุงดอก (แล้ง) ............. 8-24-24 ........
....... 21-7-14 ............... บำรุงผลเล็ก-กลาง ............. 21-7-14 ........
....... 0-21-74 ............ บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ......... 13-13-21 .......






สมการเกษตร :
ปุ๋ย/ยา + ถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ย/ยา + ผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ย/ยา + ผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ย/ยา + ถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

สมการปุ๋ยอินทรีย์ :
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุหลักผิด+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า

วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถูก = ได้ผล ยกกำลังห้า


ปุ๋ยทางใบ : พืชรับได้ทั้ง ทางใบและทางราก .. ต้นพืชรับเข้าสู่ต้นได้เลย ....
ปุ๋ยทางราก : ต้นพืชรับทางรากได้ทางเดียว..ต้องรอจุลินทรีย์ย่อยสลายก่อน ..

................. ปุ๋ยทางใบ : ต้นรับได้ 6 ส่วนใน 10 ส่วนของที่ให้ ....................
................ ปุ๋ยทางราก : ต้นรับได้ 4 ส่วนใน 10 ส่วนของที่ให้ ....................


ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช
เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสารละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลาส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะจากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ่ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

ชนิดของปุ๋ยทางใบ
ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด

1) ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

2) ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการใช้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช

6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว

7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10.ง่ายต่อการขนส่งและการใช้

ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้

2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้องให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูง ๆ ได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ (N+P2O5+K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อคุณภาพเร็ว

5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ดเพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง

6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช่ในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด

7. ปุ๋ยน้ำละลายาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต

8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

คุณสมบัติหรือลักษณะของปุ๋ยทางใบที่ดี
ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของ N+P2O3+K2O ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปุ๋ยน้ำและ 60 เปอร์เซ็นต์สำหรับปุ๋ยเกล็ด

2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุ หรือหลาย ๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K

3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25 – 0.30 เปอร์เซ็นต์ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5 – 6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดความเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต

7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูงได้ชื้นง่ายและไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูล : สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน
ที่มา : สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน


บำรุงข้าวโพด (ทุกสายพันธุ์) :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยาน็อค 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
ทางราก : ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้ไทเป + ยาน็อค ทุก 5 วัน ฉีดพ่นตอนสายๆ
ทางราก : ให้สูตรเดิมเหมือนช่วงต้นเล็ก
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนออกดอกยอด 5-7 วัน กระทั่งดอกยอดออกแล้ว เริ่มมีฝักแล้ว ยังให้ต่อ ทุก 5-7 วัน จะได้จำนวนฝักเพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 2-3 ฝัก

ระยะติดฝัก :
ทางใบ :
ให้ ยูเรก้า + ไบโออิ + ยาน็อค 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นตอนสายๆ
ทางราก : ให้สูตรเดิมเหมือนช่วงออกดอก
หมายเหตุ :
- ไบโออิ เริ่มให้ต้นแต่ระยะต้นเล็ก ช่วยบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์สูง ส่งผลให้การออกดอกติดฝักดี
- ยูเรก้า บำรุงขยายขนาดฝัก เมื่อฝักโตเต็มที่จะเห็นเนื้อใหญ่ทะลุเปลือกออกมาให้เห็น
- แคลเซียม โบรอน ช่วยให้ฐานเมล็ดฝักสูง ใช้มีดเฉือนเนื้อข้าวโพดจะไม่มีเนื้อเหลือติดที่ฝัก ทำให้ได้ปริมาณเนื้อเมล็ดข้าวโพดมากกว่าเดิม 10-15% กับทั้ง กลิ่น/รส ข้าวโพดดีกว่าเดิมด้วย

- ยาน็อค สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ทั้งป้องกันก่อนเข้ามา และกำจัดเมื่อเข้ามาแล้ว
- แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. ฮอร์โมน. ในปุ๋ยที่ให้ทางใบกับในปุ๋ยระเบิดเถิดเทิงให้ทางดิน ช่วยสร้างภูมิต้นทานสู้กับศัตรูพืชได้ทุกรูปแบบ


สำปะหลัง :
เตรียมท่อนพันธุ์ :

- เตรียมถังขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. .... สังกะสี ในไบโออิ, โบรอน ในแคลเซียม โบรอน ส่งเสริมการงอกของรากของท่อนพันธุ์, ไคโตซาน ในยูเรก้า ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์

- ตัดท่อนพันธุ์ตั้งฉาก ท่อนพันธุ์ยาว 1 ศอกแขน ตัดแล้วร่วงลงน้ำทันที
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 5-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลูก
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งฉากกับพื้น ลึกลงดิน 3 ใน 4 ส่วนของความยาว (ความยาว 1/2 ศอกแขน)

บำรุง :
ทางใบ :
น้ำ 200 ล. + หัวโต (ไบโออิ 5-10-40) + สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 15 วัน

ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) เดือนละครั้ง

หมายเหตุ :
- บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย “ทางใบ” เป็นการสร้างความชื้นโดยตรง กับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำ เปล่า “ทางราก” น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ “น้ำ+ปุ๋ย” ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย

สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
1. ปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 1” ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 2 ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน

2. ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น “สำปะหลังคอนโด” โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?

3. ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น “สูง-ใหญ่-ใบมาก” เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน เหลือตอแล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด

สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง :
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ....ฟันธง !

- สำปะหลัง “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” อู่ทอง สุพรรณบุรี .......... ได้ 60 ตัน /ไร่

- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” ................. ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ..................... ได้ 10 ตัน /ไร่

- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” ............... ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................... ได้ 20 ตัน /ไร่

4. ปลูกสำปะหลังแบบก้าวหน้า 10 ไร่ ลงทุนให้น้ำกับผลผลิตที่ได้ คุ้มเกินคุ้ม
5. ออกแบบสร้างอีแต๋นอีต๊อกบรรทุกน้ำ มีอุปกรณ์เครื่องมือให้น้ำ แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่าหรือน้ำ + ปุ๋ย ใช้ในแปลงตัวเองแล้ว รับจ้างแปลงข้างๆเป็นรายได้ กะรวยด้วยกัน

6. ได้ดินดี เลิกสำปะหลัง จะปลูกอะไรก็ได้ .... ได้อีแต๋น บรรทุกน้ำไว้ใช้งาน ให้น้ำกับพืชอะไรก็ได้
7. อายุสำปะหลัง ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินเตรียมแปลง ปลูกถึงขุด รวมเวลา 8 เดือน ติดสปริงเกอร์แบบถอดประกอบได้ ติดตั้งก่อนปลูก ก่อนขุดก็ถอดเก็บ ทำสำปะหลังก้าว หน้า รุ่นเดียวได้ทุนคืน ได้กำไรด้วย


ผักสวนครัวแบบ อินทรีย์-เคมี :
ผักกินผล อายุสั้น : (เถา .... ถั่วฝักยาว/พู มะระฯ ฟักฯ บวบฯ แตงฯ ฯลฯ)
ทางใบ :
สหประชาชาติ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เดือนละครั้ง

ผักกินผล อายุสั้น : (พุ่ม .... มะเขือฯ พริกฯ ฯลฯ)
ทางใบ :
สหประชาชาติ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินผล อายุยืน : (มะรุม ลิ้นฟ้า สะตอ ฯลฯ)
ทางใบ :
สหประชาชาติ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินยอด : (ตำลึง มะระแม้ว ชะอม หวานบ้าน/ป่า บุ้งฯ ฯลฯ)
ทางใบ :
ไบโออิ + ยูเรก้า + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง

ผักกินดอก : (ขจร แค ฯลฯ)
ทางใบ :
ไทเป + ยูเรก้า + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินหัว : (ขิง ข่า ไชเท้า แคร็อท หอม กระเทียม แห้ว มันฯ เผือก ฯลฯ)
ทางใบ :
หัวโต + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เบียร์สด สาโท เดือนละครั้ง

ผักกินใบ อายุสั้น : (คะน้า ผักกาด โหระพา แมงลัก กระเพา ฯลฯ)
ทางใบ :
ไบโออิ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งเดียว เริ่มปลูก

ผักกินใบ อายุยืน : (มะกรูด, ยอ ฯลฯ)
ทางใบ :
ไบโออิ +ยูเรก้า + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง



แตงโม :
1. บำรุงระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ดินต้องมาก่อน ดินต้องพร้อมจริง ผสมดินปรุงดินแล้ว ต้อง “บ่ม หรือ มักกอง” ไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน ....

(ส่วนผสมดิน : ดินขุยไผ่ รากไผ่มากๆ, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ, ขุยมะพร้าวสับเล็ก, ใบก้ามปู, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง. จุลินทรีย์หน่อกล้วย, จุลินทรีย์จาวปลวก, นมสด)

- เมื่อต้นเริ่มงอกขึ้นมาจากเมล็ดได้ 2-3 ใบ ควรมีหญ้าแห้งหรือฟางคลุมโคนต้น ป้อง กันแดดเผาหน้าดิน และรักษาความชื้นหน้าดินให้คงที่อยู่เสมอ

- เริ่มให้สารอาหารทางใบเมื่อได้ใบ 2-3 ใบแล้ว
- เมื่อต้นเจริญเติบโตได้ 4-5 ใบให้ตัดยอด จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่ 3-4 ยอด เรียกว่า “เถาแขนง” ให้บำรุงเลี้ยงเถาแขนงนี้ต่อไปตามปกติ เมื่อเถาแขนงทั้ง 3-4 นี้ยาวขึ้นให้จัดระเบียบเลื้อยเข้าหากลางแปลงโดยไม่ทับซ้อนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน และเตรียมความพร้อมอื่นๆ ให้ดีเพราะจะต้องเอาผลผลิตจากเถาแขนงเหล่านี้

- เมื่อเถาแขนงโตขึ้นได้ความยาว 25-30 ซม. หรือ 20-25 วันหลังปลูก หรือเริ่มมีดอกแรก ให้พิจารณาเลือกเถาแขนงสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดไว้ 3 เถาสำหรับเอาผล ส่วนอีก 1 เถาให้เลี้ยงไว้สำหรับช่วยสังเคราะห์อาหารแต่ไม่เอาผลโดยเด็ดดอกที่ออกมาทิ้งทั้งหมด

2. บำรุงระยะออกดอก :
ทางใบ :

- ให้ 15-30-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ
- ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ให้ก่อนวันเถาแขนงออกดอก 5-7 วัน
- จากเถาแขนงทั้ง 3 เถาที่เลี้ยงไว้เพื่อเอาผลนี้ เถาแขนงมักจะออกดอกพร้อมๆกัน โดยเริ่มออกดอกแรกตั้งแต่ข้อใบที่ 4-5 ซึ่งดอกชุดแรกนี้ให้เด็ดทิ้งทั้งหมด แล้วเริ่มไว้ผลแรกระหว่างข้อใบที่ 9-12 จำนวน 1 ดอก จากนั้นตามข้อใบต่อจากข้อเอาผลและข้อใบต่อๆไปจะมีดอกออกตามมาอีกทุกข้อ ก็ให้เด็ดทิ้งทั้งหมดอีกเช่นกัน ทั้งนี้ให้ไว้ผลเพียง 1 เถาแขนง/1 ผลเท่านั้น เพื่อ ให้ได้ผลคุณภาพสูงสุด

- แตงโมบางสายพันธุ์อาจจะไว้ผล 2-3 ผล/1 เถาแขนงได้ กรณีนี้ต้องไว้ผลให้ห่างกันโดยมีใบคั่นอย่างน้อย 4-5 ใบ/1 ผล การไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 เถาแขนง ต้องมีสารอาหารอย่างเพียงพอจึงจะได้ผลคุณภาพสูง

- นิสัยของแตงโมออกดอกเองเมื่อได้อายุ โดยต้นสมบูรณ์กว่าจะออกดอกดีกว่าต้นสมบูรณ์น้อยกว่าเท่านั้น การให้ฮอร์โมนเสริมเพียง 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ออกดอกดีและสมบูรณ์กว่าไม่ได้ให้เลย

3. บำรุง “ผลเล็ก-กลาง” :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ปลูกในแปลง ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1-2 กก.) ละลายเข้ากันดี ให้โคนต้น ด้วยระบบให้น้ำที่ใช้
หมายเหตุ :
- หลังจากติดเป็นผลแล้วให้จัดระเบียบเถาและใบ อย่าให้ใบบังแสงแดดต่อผล กับทั้งให้มีวัสดุ (ฟาง หญ้าแห้ง) หนาๆรองรับผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสผิวดิน ถ้าผิวผลสัมผัสพื้นดินอาจจะมีเชื้อโรคเข้าทำลายผิวผลได้

4. บำรุง “ผลแก่” ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ให้อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำที่ใช้งาน
หมายเหตุ :
- ก่อนเก็บเกี่ยวถ้าให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74 เพียง 1 รอบแล้วงดน้ำ 2-3 วัน จะช่วยให้ได้ความหวานสูงขึ้น

- ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน สำรวจผล ถ้าด้านใดไม่ได้รับแสงแดด (สีเปลือกขาวเหลือง) ให้พลิกผลด้านนั้นขึ้นรับแสงแดด เพื่อให้สีเปลือกเป็นสีเดียวกันทั่วทั้งผล....ด้านที่สีเปลือกขาวเหลืองเนื้อในจะมีคุณภาพไม่ดี



สับปะรด :
ระยะต้นเล็ก :

ทางใบ : ให้โออิ 25-5-5 เดือนละครั้ง
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

ระยะลงหัว :
ทางใบ :
ให้หัวโต (ไบโออิ 5-10-40) ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ 5-10-40 (2 ล.) เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” ให้พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- โมลิบดินั่ม. คือตัวช่วยปรับโครงสร้างไนโตรเจนในหัวสับปะรดไม่ให้เหลือตกค้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้กลายเป็นไนเตรท

- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 13-0-46 จะได้หัวสีเขียวสด รสชาติหวานจัดดี โรงงานชอบ
- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 0-0-50 จะได้หัวสีเหลือง คนกินสดชอบ แต่โรงงานไม่ชอบ
- บำรุงหัวให้โตเท่ากันหรือหัวเป็นรูปทรงกระบอกด้วย 1 : 2 : 8 ทั้งทางรากและทางใบ


เผือก :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + 25-5-5 + สารสกัดสมุนไพรทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก
- ให้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 30-10-10 (1-2 ล.)ไร่ ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น ทุก 15-20 วัน
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้นได้ 1 เดือนหลังปลูก หรือมีใบแตกใหม่ 2-3 ใบ
- ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างเด็ดขาดตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว
- พรวนดินแล้วพูนโคนทุก 1 เดือน

ระยะลงหัว - เก็บเกี่ยว :
ทางใบ :

- ให้หัวโต + สารสกัดสมุนไพร ทุก 10-15 ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก)+ 5-10-40 (1-2 ล.)/ไร่/เดือน ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น เดือนละ 1 ครั้ง

- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้น 4 เดือนหลังปลูกหรือเริ่มลงหัว
- กรณีปุ๋ยทางดินอาจพิจารณาใช้ 8-24-24 + 0-0-60 แทน 5-10-40 ได้ด้วยอัตราใช้เดียวกัน
- ระหว่างลงหัวควรบำรุงรักษาให้มีใบ 8-11 ใบขนาดใหญ่ ก้านใหญ่ และสูง 1.20-1.50 ม. จะได้ผลผลิตดีมาก

- ก่อนลงมือเก็บเกี่ยวให้ตรวจสอบอายุ (ประจำสายพันธุ์) และสังเกตใบล่างเริ่มเหี่ยวเหลืองในขณะที่ใบบน 2-3 ใบยังเขียวสดอยู่

- ก่อนเก็บเกี่ยวงดน้ำ 10-15 วัน



ผักชี :
ผักชีหน้าฝน :
เตรียมดิน เตรียมแปลง :

สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ถ้าดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่งหรือมากกว่าค่อน อยากให้พิจารณาการทำแบบอินทรีย์นำ เคมีเสริมนิดๆหน่อยๆ พอเป็นพิธีก็พอแล้วสำหรับผักชี ....

ทำสันแปลงสูงๆ มีช่องทางระบายน้ำจากสันแปลงลงตีนแปลงดีๆ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทำดินโปร่งให้ได้ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดิน เตรียมสารอาหารพร้อมแล้วจึงค่อยปลูก ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าแปลงหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี), ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น, อย่าให้น้ำขังค้างเด็ดขาด

บำรุง :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + นมสด + สารสมุนไพร” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้โชกๆ อาบจากยอดลงถึงดินเป็นการให้น้ำไปเลย

- หมั่นยีฟางให้ฟูขึ้น คอยรับก้านผักชีไม่ให้โน้มลงจนโคนก้านใบฉีก
- ต้องการากใหญ่ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 หาโอกาสให้บ้างตามความเหมาะสม
- หาข่าวตลาดผักชีเสมอๆ
- ทำผักชีปลอดยาฆ่าแมลง ใช้สารสมุนไพร ไม่รู้ต้องหาข่าว ไม่เคยเห็นต้องไปดู ไม่เป็นต้องหัดทำ ไม่เชื่อต้องลอง ไม่ได้ผลต้องปรับปรุง ไม่ใครรู้ไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่เกิด คนที่ทำเป็นใช้เป็นวันนี้เพราะเขาเปิดตัวเปิดใจรับรู้ ....

ผักชีแจ๊คพ็อต :
ผักชีแจ๊คพ็อตก็คือ หน้าฝน ๆชุก ผักชีโดนฝนเสียหายมาก ทำให้ผักชีขาดตลาด
* สาเหตุที่ทำให้ผักชีหน้าฝนล้มหายตายจาก ....
1) ดินเหนียว น้ำฝนขังค้าง ทำให้รากเน่าตาย
2) ใบผักชีโดนเม็ดฝน เกิดน้ำหนัก ก้านใบลู่ลง โคนก้านใบฉีก เป็นช่องทางให้โรคเข้า
3) ขาดสารอาหารที่ทำให้ต้นสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนกะทันหัน ....
4) ศัตรูพืช

- แก้ปัญหาเม็ดฝน ทำ “หลังคาพลาสติก” คลุมแปลง ทำพลาสติกกรอบไม้ กว้าง 1-1.20 ม. ยาว 2.5-3 ม. ตามความสะดวก ใช้ 2 แผ่นชนกันเหมือนจั่วหลังคาบ้าน ครอบแปลงซ้ายขวาให้ชายลงถึงตีนแปลง .... ยามใดไม่มีฝนก็ยกหลังคาขึ้นให้ได้แดดปกติ ก่อนมีฝนก็ให้ลดหลังคาลงป้องกันเม็ดฝน ก็เท่านี้แหละ

- เลิกคิดทำโรงเรือนมีหลังคา ทำผักกางมุ้ง ออกข่าว ทีวี.กันครึกโครม จนคนขายมุ้งรายไปตามๆกัน ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า วันนี้คนที่เคยส่งเสริมให้ทำผักกางมุ้ง เอาหน้าไปมุดอยู่ตรง ไหน บางมุ้งจนวันนี้ยังใช้หนี้ค่ามุ้งไม่หมดเลย

- วางแผนทำผักชี 4 แปลง แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวห่างกัน 1 อาทิตย์ แบบนี้คงได้ซัก 1 หรือ 2 แปลงเจอแจ๊คพ็อตแน่ๆ ถึงไม่แจ๊คพ็อตเต็มๆ ก็เฉียดๆ แค่เฉียดๆ ก็ไร่ละเป็นแสนแล้ว


หอมแบ่ง :
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

- แช่เมล็ดพันธุ์ใน ไบโออิ (สังกะสี), แคลเซียม โบรอน (โบรอน), ยูเรก้า (ไคโตซาน).

บำรุง :
ทางใบ
ให้ ไบโออิ (แม็กเนเซียม สังกะสี ฯลฯ) + ไคโตซาน + สารสมุนไพร ทุก 5-7 วัน
ทางราก ให้น้ำหมักชีวภาพ (สูตรระเบิดเถิดเทิง...ทำเอง/ซื้อ) 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ ให้ครั้งเดียวตอนเตรียมดินเตรียมแปลงครั้งแรก ไม่ต้อง+ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

หมายเหตุ :
- ขยายพันธุ์หอมแดง ใช้หัวหอมแดงแก่จัดตัดจุกแล้วผ่าจากจุกลงไปเป็น 4 แฉกลึก 1 ใน 4 ของความสูงของหัว นำไปเพาะตามปกติ หัวหอมแดง 1 หัวจะงอกขึ้นมาเป็น 4 ต้น เป็นการประหยัดต้น (หัว) พันธุ์

- บำรุงทางใบด้วย "ยูเรก้า" ต้นหอมแบ่งจะใหญ่มาก ระวังขายไม่ออก แต่ถ้าต้องการต้นขนาดใหญ่ แนะนำ "ยูเรก้า + ไคโตซาน"


สละ :
ระยะต้นเล็ก - ยังไม่ให้ผลผลิต :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต ควรวางแผนให้ปีละ 3 ครั้ง (4 เดือน/ครั้ง)

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก., 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- ใส่เศษซากทะลายปาล์มจากโรงงานปาล์มน้ำมัน 2 ปี /ครั้ง

2. ระยะต้นโต-ให้ผลผลิตแล้ว :
ทางใบ :

- ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ+ไทเป+ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

-ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ควรวางแผนให้ปีละ 2 ครั้ง

- ให้ปุ๋ย 8-24-24 สลับเดือนกับ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- ถ้าขาดน้ำต้นจะชะงักการเจริญเติบโตส่งผลให้การออกดอกติดผลไม่ดีเท่าที่ควรอีกด้วย
- ให้ทางใบด้วยไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 เดือน/ครั้ง จะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น

- ให้แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่มีผลผลิตอยู่บนต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น …. การให้แคลเซียม (จากแคลซียม โบรอน. กระดูกป่น. และ จากยิบซั่ม) ยังช่วยบำรุงเนื้อส่วนปลายผลให้เต็มผล

- สละอายุต้นให้ผลผลิตแล้วได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ติดต่อกันมานานหลายๆปีจะออกดอกติดผลต่อเนื่องตลอดปี แบบไม่รุ่น .... สารอาหารหรือปุ๋ยที่เป็นพื้นฐานต่อการออกดอกของพืช (ทุกชนิด) คือ สังกะสี. โบรอน. น้ำตาลทางด่วน.



,
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©