-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา”
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา”

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 24/01/2024 10:14 am    ชื่อกระทู้: * หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

********************************************************

หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา”

** ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%

** ทั่วโลกมีพืช 2,400 ชนิด เป็นสารสมุนไพรกำจัดโรคพืชได้
** สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร คือ กลิ่น - รส - ฤทธิ์

** อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน ในหนอนตายหยาก
** เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์อะแซดิแร็คติน ในสะเดา
** ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์แค็ปไซซิน ในพริก

** ศัตรูพืช ในพืชอ่อนแอ แพร่ระบาดรุนแรงกว่าในพืชสมบูรณ์แข็งแรง
** ไม่มีพืชใดในโลก ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์

** ไม่มีสารเคมีในโลก ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลก ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เสียแล้วเสียเลย มาตรการที่ดีที่สุด คือ “กันก่อนแก้”

** สารเคมี .... คนใช้รับ 10 เท่า - คนกินรับ 1 เท่า


********************************************************


ปุจฉา วิสัชนา :
สัจจะธรรม ธรรมชาติ :
ศัตรูพืช (แมลง-หนอน-โรค) คือ สิ่งมีชีวิต มีวัฏจักรชีวิต เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์ ย่อมต้องการสภาพแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตเผ่าพันธุ์ หากวัฎจักรช่วงใดช่วงหนึ่งถูกตัด วงจรชีวิตย่อมสิ้นไปด้วย

งานวิจัยไทย : ครูแพทย์แผนโบราณสอนศิษย์ ทดสอบให้เดินไป 20 วา แล้วหาอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ “ยา” มาให้ ศิษย์ที่หามาได้ครูให้สอบตก ศิษย์ที่หาไม่ได้แล้วให้เหตุผลว่าทุกอย่างเป็น “ยา” ได้ทั้งนั้น ศิษย์คนนั้น “สอบได้”

งานวิจัยฝรั่ง : ในโลกนี้มีพืช 2,400 ชนิด มีสารออกฤทธิ์ใช้ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชได้ .... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว สรุปได้เป็น 3 คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในพืชที่เรียกว่า “สารสมุนไพร หรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา” มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ศัตรูพืชนั่นเอง

สารพัดสูตร :
สูตรเฉพาะ :
หมายถึง สมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ตอนเอามาก็แยกกันมา ตอนทำก็ทำแยกถังหรือภาชนะ ตอนใช้ก็ใช้ทีละอย่างตามต้องการ เช่น สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก มันแกว มะลินรก ขอบชะนาง ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ต่อ “หนอน” โดยเฉพาะ เลือกใช้สมุนไพรเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการ ป้องกัน/กำจัด หนอน

สูตรรวมมิตร : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดเดียวกัน ตอนเอามาแยกกัน ตอนทำก็ทำแยกถังหรือภาชนะ แต่ตอนใช้ เอาหลายๆอย่าง อย่างละตามต้องการมารวมกันแล้วใช้ เช่น

- สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “หนอน” โดยเฉพาะ

- สาบเสือ ดาวเรือง บอระเพ็ด พริก ยาสูบ ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “แมลง” โดยเฉพาะ

- ว่านน้ำ. กานพลู. ตะไคร้. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น. กระชาย ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “โรค” โดยเฉพาะ

สูตรสหประชาชาติ : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่ละตัวต่างก็มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดนั้น แล้วเอามารวมกัน ทำพร้อมกันในถังหรือภาชนะเดียวกัน เช่น สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด หนอน+สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลง+สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรค แล้วใช้รวมกันหรือพร้อมกัน

สูตรหนามยอกหนามบ่ง : หมายถึง สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ในพืชสมุนไพร เช่น
- สะเดา โดนหนอนทำลาย ใช้น้อยหน่า ป้องกัน/กำจัด
- น้อยหน้าโดนหนอนทำลาย ใช้สะเดา ป้องกัน/กำจัด
- สาบเสือโดนเชื้อรา ใช้พริก

สูตรผีบอก : มิได้หมายถึงสมุนไพรโดยตรง แต่หมายถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือวงจรชีวิตของศัตรูพืช กระทั่งทำให้ศัตรูพืชนั้นตายได้


นวตกรรมการเกษตร
สปริงเกอร์ :

สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม/หม้อปุ๋ยที่ปั๊ม : คือ ตัวช่วยที่ดีที่สุด สปริงเกอร์ก็คือเครื่องมือฉีดพ่นธรรมดาๆ ตัวหนึ่ง แต่ที่ไม่ธรรมดาเพราะทำงานได้ทุกเวลา เช่น

* เช้ามืด ....... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างน้ำค้าง กำจัดราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
* สาย ......... 10 โมงเช้า ให้ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
* เที่ยง ........ ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร กำจัดเพลี้ยไฟ (แดดจัด), ไรแดง (ครึ้มฝน)
* บ่าย ......... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร วันที่ฝนตกต่อแดด ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน/กำจัดแอนแทร็คโนส

* ค่ำ .......... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างช่อกำจัดราดำ
* มืด .......... ฉีด สารสมุนไพร กำจัด/ไล่ แม่ผีเสื้อเข้ามาวางไข่ กำจัดเพลี้ยจักจั่น กำจัดหนอน

กับดักแมลง :
* แผ่นกับดักสีเหลือง ทาทับด้วยกาวเหนียว ล่อแมลงกลางวัน
* แผ่นกับดักสีเหลือง (ไม่สีก็ได้) ทาทับด้วยกาวเหนียว ติดหลอดไฟ ล่อแมลงกลางคืน
* หลอดไฟเหนือน้ำ (สระ กะละมัง) ล่อแมลงกลางคืนมาเล่นแสงไฟแล้วตกลงน้ำ
* ขวดน้ำเปล่า ใส่ด้วยก้านสำลีชุบกลิ่นล่อแมลงวันทอง ดักจับแมลงวันทอง
* กาวเหนียว ทาโคนต้น ป้องกันมดแดงขึ้นต้นไม้ แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
* ปล่อยนกแสก ให้อยู่ในแปลง ช่วยจับหนู

สมการสารสมุนไพร (ย่อ) :
ยาถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

สมการสารสมุนไพร (พิสดาร) :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด +ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

ตัวสมุนไพรผิด + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6

ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีใช้ถูก=ได้ผล ยกกำลัง 6

เปรียบเสมือนยาคน :
ตัวสมุนไพรผิด + ตัวโรคผิด + วิธีทำผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด =ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวโรคถูก + วิธีทำถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีทำถูก = ได้ผล

ถอดสมการ :
ตัวสมุนไพร ............. ชื่อ (ภาษาพื้นบ้าน ภาษาวิชาการ), ราก หัว ต้น เปลือก ใบ ดอก
วิธีทำ ................... ต้ม = เผ็ดร้อนเย็น, หมัก = เบื่อเมา, กลั่น = กลิ่น

ตัวศัตรูพืช :
หนอน ................... ออกหากินกลางวัน/กลางคืน, อยู่ภายใน/ภายนอกพืช
แมลง ................... ปากกัด/ปากดูด/วางไข่/พาหะ
โรคมีเชื้อ ............... รา/แบคทีเรีย/ไวรัส
โรคไม่มีเชื้อ ….......... ขาดสารอาหาร, ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ไม่เหมาะสม
วงจรชีวิต ............... เกิด กิน แก่ เจ็บ ตาย ขยายพันธุ์, เกิดในดินโตในดิน/โตบนต้นพืช
พาหะ .................. เคลื่อนที่เอง ผู้อื่นนำพา
ฤดูกาล ................ ร้อน หนาว ฝน ชื้น แห้ง สภาพแวดล้อม
ช่วงเวลาระบาด ....... ช่วงเจริญเติบโตของพืช
ชนิดพืชเป้าหมาย ..... (แหล่งอาหารของศัตรูพืช)
วิธีใช้ .................. ฉีดพ่น เวลา ถี่/ห่าง ป้องกัน/กำจัด
ผล .................... ตายทันที, ตายช้าๆหยุดกินอาหาร, ขยายพันธุ์ต่อไม่ได้ (ไม่ลอกคราบ ไข่ฝ่อ), ไล่ (ไม่เข้าหาพืช)

หลักการและเหตุผล :
- การใช้สมุนไพร "ป้องกัน/กำจัด" ศัตรูพืชมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ.... (อียิปต์ : ภาพหินแกะสลักในปีรามิด....สารคดีเนชั่นแนล จีโอกร๊าฟฟิกส์)

- แมลงกลางวันมองเห็นพืชเป้าหมายขณะเคลื่อนที่ด้วยการ "มองเห็น" ถ้ามีสารเคลือบใบหรือส่วนต่างของพืชให้เป็นมันวาว จะทำให้ภาพการมองเห็นของนัยน์ตาของแมลงผิดเพี้ยนไป จนทำให้แมลงเข้าใจผิดว่านั้นไม่ใช่พืชเป้าหมายที่ต้องการจึงเลี่ยงไปหาที่อื่นแทน (นัยน์ตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 เลนส์ ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงกลอกกลิ้งไปมาไม่ได้ หรืออยู่นิ่งตลอดเวลา แต่สามารถมองเห็นได้จากเลนส์ใดเล็นส์หนึ่งนั่นเอง .... (สารคดีดิสคัฟเวอรี่)

- แมลงกลางคืนเคลื่อนที่เข้าหาพืชเป้าหมายด้วยประสาท “ดมกลิ่น” ถ้ามีกลิ่นอื่นซึ่งไม่ใช่กลิ่นของพืชเป้าหมาย แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น แต่จะค้นหาพืชเป้าหมายจากแหล่งอื่นต่อ ไป .... (ประสาทการรับรู้กลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า, ประสาทสัมผัสของสุนัข สูงกว่าคน 200,000 เท่า / สารคดี ดิสคัฟเวอรี่)

- แมลงหายใจทางผิวหนัง ถ้าผิวหนังถูก “แป้งหรือฝุ่น” เคลือบคลุม จะหายใจไม่ออกแล้วตายได้

- หนอนกออ้อย เกิดและแพร่ระบาดได้ดีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ .... (นักวิชาการนิคารากัว)
- พืชที่อวบอ้วน เนื้ออ่อนนุ่ม กว่าปกติเพราะได้รับไนโตรเจนสูง โดยเฉพาะพืชอายสั้น ฤดูกาลเดียว หนอน/แมลง ชอบมาก แต่หากได้รับแม็กเนเซียม สังกะสี เนื้อจะแข็งแน่น หนอน/แมลงจึงไม่ชอบ .... (สมาคมสังกะสี เพื่อการเกษตรโลก)

- ต้นข้าวที่ได้รับไนโตรเจน (ยูเรีย) มากเกิน หนอน/แมลง จะเข้าทำลายมาก ในขณะที่ข้าวได้รับซิลิก้า (ในฟาง/หินภูเขาไฟ) ต้นจะแข็งแกร่ง หนอน/แมลง ไม่เข้าทำลาย (สถาบันวิจัยข้าวโลก/IRRI)

- หนอนและแมลง รู้และชอบที่จะเข้าทำลายพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง และเชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดในพืชที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง... (สารคดีดิสคัพเวอรี่)

- ประเทศไทยนำเข้าสารเคมียาฆ่าแมลง ปีละ 75,000 ล้าน (นักท่องเที่ยวสิงค์โปร์ : ข่าว นสพ. สิงค์โปร์ อ้างข้อมูลจากกระทรวงพานิชไทย) จึงทำให้สงสัยว่า ประเทศไทยทำเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

- เมื่อ 10 ปีที่ เยอรมันมุ่งค้นคว้าวิจัยเรื่องสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชอย่างมาก โดยนำ เข้าสะเดาจากอินเดีย ปีละ 50,000 ตัน นำเข้าหางไหลจากอินโดนีเชีย ปีละ 30,000 ตัน นำเข้าหนอนตายหยากจากไทย ปีละ 30,000 ตัน .... ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เป็นเอกสารตำราภาษต่างๆ ทั่วโลก 17 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย

.......................................................................................................


น่าสงสัย

อเมริกา : ซื้อลิขสิทธิ์ ราติโนน ในหนอนตายหยาก .............. เอาไปทำอะไร ?
เยอรมัน : ซื้อลิขสิทธิ์ อะแซดิแร็คติน ในสะเดา ................. เอาไปทำอะไร ?
ฝรั่งเศส : ซื้อซื้อลิขสิทธิ์ แค็ปไซซิน ในพริก .................... เอาไปทำอะไร ?

ทำไม ไทยไม่ทำ ทำใช้ ทำขาย ส่งออกทั่วโลก

.........................................................................................................

- งานวิจัยระดับโลก (Grainge and Ahmed 1988) : ในโลกมีพืชมากกว่า 2,400 ชนิด ที่มีพิษต่อแมลง ทฤษฎีนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วรู้ว่าตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ที่แท้จริง คือ ...

กลิ่น : แมลงเข้าหาพืชเพื่อวางไข่ หรือกัดกิน ด้วยการตามกลิ่นของพืชที่ต้องการ ถ้าพืชนั้นถูกเปลี่ยนกลิ่น หรือเอากลิ่นอื่นไปฉีดพ่นเคลือบไว้ แมลงก็จะเข้าใจผิด หลงคิดว่าไม่ใช่พืชที่ต้องการ หรือ เป็นพืชชนิดอื่น .... ** ผลรับคือ “ป้องกัน” ไม่ให้แมลงเข้าหาพืชนั้นอีก ตราบใดที่ยังมีกลิ่นนั้นอยู่

รส : แมลงหรือทายาท (หนอน) ของแมลง กินพืชเป็นอาหารเพราะต้องการรสชาดของพืชนั้นๆ ถ้าพืชนั้นถูกเปลี่ยนรส เพราะมีพืชอื่นไปฉีดพ่นเคลือบไว้ แมลงก็จะเข้าใจผิด หลงคิดว่าไม่ใช่พืชที่ต้องการกิน หรือเป็นพืชชนิดอื่น .... ** ผลรับคือ “ป้องกัน” เพราะ หนอน/แมลง ไม่กัดกินพืชนั้นอีก ตราบใดที่ยังมีรสชาดนั่นอยู่

ฤทธิ์ : คือตัวยาเฉพาะในสมุนไพรที่ แมลง/หนอน กินแล้วตาย หรือหยุดการกินแล้วรอเวลาตาย ไม่ช้าก็เร็ว หรือทำให้ “ไข่ฝ่อ” ฟักเป็นตัวหนอนไม่ได้ .... ** ผลรับคือ “กำจัด” หรือทำให้ แมลง/หนอน/ไข่ ตาย

- สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร ค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ เช่นเดียว กับสารเคมี จึงไม่มีเหตุใดที่จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ"

- ร่างกายมนุษย์มีภูมิต้านทานในร่างกายสูง กินสารเคมียาฆ่าแมลงเข้าไปยังตายได้ ใน ขณะที่ แมลง หนอน ตัวเล็ก เชื้อโรคเป็นสัตว์เซลล์เดียวแท้ๆ จะมีภูมิต้านทานในร่างกายอะไรมากนัก เมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ระดับ พีพีเอ็ม. (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน, ppm-part per million) ก็ตายแล้ว

- วงรอบชีวิตของแมลง ประกอบด้วย “แมลง-ไข่-ดักแด้-หนอน” หากช่วงใดช่วง หนึ่งถูกตัดลง วงจรชีวิตของหนอนและแมลงก็จะหมดไปเอง เพราะฉะนั้น ถึงจะทำลายช่วงไหนของมันก็ได้เหมือนกัน ไม่ใช่มุ่งเอาแต่หนอนหรือแมลงเท่านั้น

- ใช้สารสมุนไพรมาก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงศัตรูพืช แต่เหมาะ สมต่อแมลงธรรมชาติ ทำให้มีแมลงธรรมชาติช่วยผสมเกสรอีกด้วย นอกจากนี้สารสมุนไพรยังเป็นการส่ง เสริมหรือดึงดูดแมลงธรรมชาติอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

- ผลเสียจากสารเคมี เงินเสีย, ดินเสีย, น้ำเสีย, อากาศเสีย, เวลาเสีย, แรงงานเสีย, สภาพ แวดล้อมเสีย, สุขภาพคนฉีดเสีย, ตลาดในประเทศต่างประเทศเสีย

- เลือกพืชสมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เผ็ด/ร้อน/เย็น. ขม. ฝาด. เบื่อเมา. หรือ กลิ่น. รส. ฤทธิ์. แรงจัดๆ

- น้ำพริกเครื่องแกงเผ็ด/แกงป่า ปกติมี พริก. มะกรูด. ตะไคร้. พัฒนาให้เป็นสารสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์แรงขึ้น โดยเติม ข่า. ขิง. ขมิ้น. ไพล. ฯลฯ .... ปรุงขึ้นมาโดยเฉพาะทั้ง เผ็ดจัด/ร้อนจัด/เย็นจัด เพื่อใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มิใช่เพื่อให้คนกิน

- พืชปลูกบางชนิดเมื่อสัมผัสกับแอลกอฮอร์แล้วเกิดอาการใบกร้าน ให้เลิกใช้แอลกอฮอร์แต่ให้ใช้เหล้าขาวแทน

- ปุ๋ยทางใบที่มีกากน้ำตาล. หรือกลูโคส. เป็นส่วนผสม เนื่องจากความหวานของสารดังกล่าวอาจเป็นตัวเรียกเชื้อราเข้ามาได้ แก้ไขโดย ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบช่วงกลางวัน แล้วฉีดพ่นสารสมุนไพรกำจัดเชื้อราในช่วงเย็นหรือค่ำของวันเดียวกัน หรือเลิกใช้สารรสหวานร่วมกับสารสมุนไพร

- สูตรการทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชจาก องค์การเภสัชกรรม, ร.พ.อภัยภูเบศร์, ซินแสแพทย์แผนโบราณ และที่นี่ สีสันชีวิตไทย ไม่แนะนำให้ใส่ กากน้ำตาล-น้ำตาลทรายแดง-จุลินทรีย์ ใดๆทั้งสิ้น

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว ดังนั้น มาตรการเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกันก่อนกำจัด หรือ กันก่อนแก้" เท่านั้น

- สภาพแวดล้อม คือ ความหลากหลาย วิธีต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีป้องกัน/กำจัดแบบผสมผสาน (I.P.M.) เท่านั้น

- การ "สกัด" สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรให้ออกมาได้ปริมาณมากที่สุด เข้มข้นที่สุดนั้น กรรมวิธี หรือ วิธีการ สกัดถือว่ามีความสำคัญไม่ใช่น้อย หากสกัดผิดวิธีนอกจากจะได้สารออกฤทธิ์น้อยหรือไม่ได้เลยแล้ว เมื่อนำไปใช้อาจจะเป็นพิษต่อพืช คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ก็ได้ และวิธีการสกัดในแต่ละวิธีก็ต้องมีเทคนิคเฉพาะ แหล่งข้อมูลเรื่องเทคนิคเฉพาะสามารถสอบถามได้ที่ องค์การเภสัชกรรม หรือหน่วยงานแพทย์แผนไทยชื่อของพืชสมุนไพรต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือที่จะกล่าวต่อไป เป็นชื่อที่ใช้ในหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่ชื่อพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การที่จะรู้ว่าพืชสมุนไพรตัวใดมีชื่อทางวิชาการว่าอย่างไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบจากรูปถ่ายของจริง หรือสอบถามจากผู้รู้จริงเท่านั้น

.....................................................................................................


(เมื่อครั้ง สนง.เกษตรสุพรรณบุรี จัดสัมมนาเรื่อง “สารสกัดสะเดา” ได้ทำตัวอย่างให้ชม คือ “ถัง 200 ล. + เมล็ดสะเดา 20 กก. + น้ำเปล่า เต็มถัง หมักนาน 24 ชม. ขึ้นไป ได้ “หัวเชื้อ” เข้มข้นพร้อมใช้งาน ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” .... ประเด็นของเรื่องคือ นี่คือการ “แช่” ธรรมดาๆ ใส่น้ำแล้วใช้ไม้พายคนเท่านั้น แบบนี้ชาวบ้านทำได้ แต่การ “สกัด” ที่แท้จริง ต้องใช้สารหรือตัวทำละลายเอา “อะแซดิแร็คติน” ชนิด 100% ในเมล็ดเดาโดยเฉพาะ)
..................................................................................................

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำจัดหนอนไม่อาจทำให้หนอนตายอย่างเฉียบพลันได้เหมือนสารเคมีประเภทยาน็อค แต่ทำให้หนอนเกิดอาการทุรนทุรายจนต้องออกมาจากที่หลบซ่อน ไม่ลอกคราบและไม่กินอาหาร (ทำลายพืช)ไม่ช้าไม่นานหนอนตัวนั้นก็จะตายไปเอง .... มาตรการขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ หรือการทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนไม่อาจฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้สำเร็จก็ถือว่าเป็นการกำจัดหนอนได้อีกวิธีหนึ่ง

สารสมุนไพรที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ใบพืชไหม้หรือกร้านได้ ทั้งนี้สารออกฤทธิ์ที่ได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิด จากแต่ละแหล่ง แต่ละฤดูกาล แต่ละอายุ แต่ละส่วนที่ใช้ แต่ละวิธีในการสกัด และแต่ละครั้ง จะมีความเข้มข้นและปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนใช้งานจริงจำเป็นต้องทดสอบอัตราใช้สูตรของตนเองก่อนว่า ใช้อัตราเท่าใดจึงจะทำให้ใบพืชไหม้หรือหยาบกร้าน จาก นั้นจึงยึดถืออัตราใช้นั้นประจำต่อไป

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรรส ฝาด/เผ็ด/ร้อน/ขม และกลิ่นจัด มีประสิทธิภาพทำให้แมลง ปากกัด/ปากดูด เช่น เพลี้ย ไร ไม่เข้ากัดกินพืช และจากกลิ่นจัดของสมุนไพรนี้ยังทำให้แมลงประเภทผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วย

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรประเภทรสฝาดจัด ในความฝาดมีสาร “เทนนิน” ที่สามารถทำให้ รา แบค ทีเรีย ไวรัส ตายได้

- สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรไม่ต้านทานต่อแสงแดด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หรือฉีดพ่นช่วงไม่มีแสง แดด หรืออากาศไม่ร้อนที่ทำให้สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรสลายตัวเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดพ่นบ่อยๆกรณีน้ำสารสมุนไพรที่ไหลอาบลำต้นผ่านลงถึงพื้นดินโคนต้นกระจายทั่วบริเวณทรงพุ่มนั้น นอกจากช่วยกำจัดหนอนที่พื้นดินโคนต้นโดยตรงแล้ว ยังทำให้ไข่ของแมลงแม่ผีเสื้อฝ่อ และสภาพแวดล้อมบริเวณโคนต้นเปลี่ยน แปลงไปจากสภาพปกติ จนเป็นเหตุให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่ได้ ส่วนตัวแมลงแม่ผีเสื้อที่หลบอาศัยอยู่ก็จะหนีไปอีกด้วย

- น้ำสารสมุนไพรที่ได้จากการหมักครั้งแรก เรียกว่า "น้ำแรก หรือ น้ำหนึ่ง" ให้ใช้ในอัตราใช้ปกติ เมื่อใช้น้ำแรกหมดแล้วเหลือกาก สามารถหมักต่อด้วยวิธีการเดิมเป็น "น้ำสอง" ได้ กรณีน้ำสองเมื่อจะใช้ แนะนำให้เพิ่มอัตราการใช้หรือใช้เข้มข้นขึ้น .... อย่างไรก็ตาม น้ำสอง มีสารออกฤทธิ์น้อยกว่า น้ำหนึ่ง ทางเลือกที่ดีก็คือ ใช้น้ำหนึ่งหมดแล้วให้ทิ้งไปหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ไม่ควรหมักเป็นน้ำสองแล้วใช้อีก เพราะจะไม่ได้ผล

ไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวเดี่ยวๆ ประจำๆ ติดต่อกันหลายๆ รอบ เพราะจะทำให้ แมลง/หนอน ปรับตัวเป็นดื้อยาได้ ควรเปลี่ยนหรือสลับใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดอื่นๆ บ่อยๆ หรือใช้ "สูตรเฉพาะ" แต่ละตัวสลับกันไปเรื่อยๆ หรือสลับกับสูตรอื่นๆ (สูตรรวมมิตร สูตรข้างทาง สูตรเหมาจ่าย สูตรสหประชาชาติ สูตรผีบอก) ก็ได้

สารสกัดสมุนไพรที่ได้ หรือผ่านกรรมวิธีสกัดมาแล้ว มีกลิ่นและรสจัดรุนแรงมากๆ ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพ หรือสรรพคุณของสารสมุนไพรนั้น

- สารสมุนไพรทุกสูตร สามารถใช้ร่วมกับ ปุ๋ย ฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และสารเคมีทุกชนิด
- ไม่ควรใช้สารสมุนไพรร่วมกับ จุลินทรีย์ทุกชนิด เชื้อโรคของศัตรูพืช เช่น บีที. บีซี. บีเอส. เอ็นพีวี. ฯลฯ เพราะสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้

- พืชสมุนไพรประเภทหัว มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เมื่อนำมาหมักมักเกิดอาการบูดเน่า กลิ่นเหม็นรุน แรง วิธีการแก้ไข คือ เพิ่มอัตราส่วนแอลกอฮอร์ให้มากขึ้น 2-3 เท่าจากอัตราปกติ และอาจจะเพิ่มได้อีกในระหว่างการหมักเมื่อเห็นว่าลักษณะไม่ค่อยน่าพึงพอใจ

- สารสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" ใช้สลับกันบ่อยๆ ได้ผลสูงกว่า "สูตรรวมมิตร" หรือเพื่อความแน่นอนควรใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน

- พืชสมุนไพรที่ให้สารออกฤทธิ์รุนแรงเทียบเท่ายาน็อคสารเคมี คือ หัวกลอย. เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า. เปลือกต้นซาก. มะลินรก. ซึ่งให้สารออกฤทธิ์ทั้งในรูปของ "กลิ่นไล่" และสารออกฤทธิ์ประเภท "กินตาย ไม่ลอกคราบ"

- สารออกฤทธิ์ในบอระเพ็ดเป็น "สารดูดซึม" เมื่อฉีดพ่นให้แก่พืชแล้วสารออกฤทธิ์จะซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช ทำให้เกิดรสขมอยู่นาน 7-10 วัน จึงไม่ควรให้แก่พืชประเภทกินสด เช่น ผักสวนครัว ผลไม้ใกล้เก็บเกี่ยว .... สารออกฤทธิ์ใน "ลางจืด" สามารถถอนฤทธิ์รสขมในบอระเพ็ดได้

- ใช้สารสมุนไพรอย่างทันเวลา เช่น ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดของคืนที่น้ำค้างลงแรงๆ ฉีดพ่นก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง หรือฉีดพ่นเพื่อล้างน้ำค้างออกจากต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรค ที่มากับน้ำค้าง เช่น ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม ได้ดี หรือฉีดพ่นหลังฝนหยุดช่วงกลางวันเพื่อล้างน้ำฝนออกจากส่วนต่างๆ ของต้นก่อนที่น้ำฝนนั้นจะแห้งคาต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน เช่น ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด โรคแอนแทร็คโนส ได้ดี

หมายเหตุ :
- ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม เกิดจากพื้นดินแล้วล่องลอยปลิวไปตามอากาศ เมื่อพบหยดน้ำค้างก็จะแฝงตัวเข้าไปอาศัยอยู่ในหยดน้ำค้างนั้น เมื่อน้ำค้างแห้ง ราเหล่านี้ก็จะซึมแทรกเข้าไปสู่ภายในของพืชแล้วแพร่ขยาย พันธุ์ต่อไป ....

- ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด ก็มีพฤติกรรมเหมือนราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม แต่เข้าไปแฝงตัวอาศัยในหยดน้ำฝน เมื่อนำฝนแห้งก็จะซึมแทรกเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืช

- กรณีราที่มากับน้ำฝน หากฝนตกช่วงกลางคืน ก็ควรฉีดพ่นตอนเช้าตรู่ เป็นการฉีดล้างก่อนที่หยดน้ำฝนจะแห้ง

- หลักนิยมของเกษตรกรในการกำจัดเชื้อโรคราดังกล่าว มักใช้สารเคมีประเภท "ดูดซึม" บางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็สูญเปล่า แม้ว่าจะได้ผลสามารถเข่นฆ่าเชื้อราเหล่านั้นให้ด่าวดิ้นสิ้นใจไปได้ แต่ส่วนของพืชที่ถูกซึมแทรกเข้าไปก็ถูกทำลายไปแล้ว ไม่อาจทำให้ดีคืนเหมือนเดิมได้ นั่นเท่ากับเสียทั้งเงินและเสียทั้งพืช

- ไม่มี "สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร" ใดๆ และไม่มี "สารออกฤทธิ์ในสารเคมี” ใด อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเดี่ยว สามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืชอย่างได้ผล วิธีการที่ได้ผลที่สุด คือ ไอพีเอ็ม

- เมื่อพบลักษณะหรืออาการผิดปกติในพืช อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่านั่นเป็นสาเหตุเกิดจาก "โรค" โดย เฉพาะ ในบางครั้งลักษณะอาการนั้นอาจจะเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร หรือ "ปัจจัย พื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ไม่ถูกต้องก็ได้ .... แนวทางแก้ปัญหา คือ ให้ทั้ง "ยา" และ "อาหาร" ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกันเลย

- สารออกฤทธิ์ในสารสมุนไพรสามารถเป็นพิษแก่คนฉีดพ่นได้ ดังนั้น การใช้ทุกครั้งจึงต้องระมัดระวังเหมือนการใช้สารเคมี

- ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันว่า ในน้ำหมักชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้ มีสารใดที่เป็นต่อแมลง จึงใช้ ป้องกัน/กำจัด แมลงได้ จากการ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว พอสรุปได้ว่า เพราะ “กลิ่น” ในน้ำหมักชีวภาพ หรือในน้ำส้มควันไม้ เป็นเหตุให้แมลงไม่เข้าหาพืชเป้าหมายเอง ซึ่งก็ถือว่า ได้ผลระดับหนึ่ง นั่นเอง

........................................................................................................


ประเภทสมุนไพร:
ประเภท เบื่อเมา :
สะเดา น้อยหน่า กลอย มันแกว เปลือกซาก หางไหล หนอนตายหยาก บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เขียวไข่กา สบู่ดำ สบู่ต้น ส้มเช้า ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ หมักรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดหนอน”

ประเภท เผ็ด/ร้อน/เย็น : พริก ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม พริกไทย ดีปลี ตะไคร้ ยาสูบ ยาฉุน ว่านน้ำ ฯลฯ ต้มรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดเชื้อรา”

ประเภท กลิ่นจัด : ตะไคร้ ยูคาลิปตัส ดาวเรือง ผกากรอง สาบเสือ กระเพา แมงลัก มะกรูด ชะพลู กานพลู ฯลฯ กลั่นรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะไล่แมลง”

..........................................................................................................


IPM (ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน) :
กับดักสีเหลือง กาวเหนียว : .... เพลี้ยไฟ แมลงกลางวัน
กับดักกาวเหนียวแสงไฟ : ...... แมลงกลางคืน
แสงไฟไล่ : ...................... แสงไฟสีส้ม สีเหลือง
กับดักกาวเหนียว กลิ่นล่อ : ..... แมลงวันทอง
สัตว์ศัตรู : ........................ มดแดงกำจัดหนอน, นกฮูกกำจัดหนู, เป็ดกำจัดหอยเชอรี่
พืชศัตรู : .......................... ดาวเรือง ตระไคร้
แสงแดด : ........................ โรค หนอน แมลง อยู่ไม่ได้
เชื้อปฏิปักษ์ : ..................... ไตรโคเดอร์ม่า. บาซิลลัสส, บูวาเลีย, เอ็นพีวี.,

ศาสตร์และศิลป์ สารเคมี V.S. สารสมุนไพร :
1. สารสมุนไพรกับสารเคมีสามารถใช้ “ร่วม-รวม-ผสม” กันได้
2. ใช้สารสมุนไพรบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน ช่วงที่แปลงข้างเคียงกำลังระบาด
3. ใช้สารสมุนไพรบ่อยๆ ทุก 3 วันก่อน เพื่อ “ป้องกัน/กำจัด” จากนั้นจึงค่อยๆ ห่าง
4. ระยะเวลาการใช้สารเคมีทุก 7 วัน เป็นการปฏิบัติตามที่ระบุในฉลาก
5. ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมี แต่จะไม่ดื้อต่อสารสมุนไพร
6. ลดสารเคมีลงครั้งละครึ่งหนึ่งของการให้ครั้งที่แล้ว ได้ผลเพราะศัตรูพืชเริ่มอ่อนแอลง จนกระทั่ง แม้สัมผัสกับสารเคมีเพียงเล็กน้อยก็ตายได้

7. ทำให้ได้สารออกฤทธิ์ หรือตัวยา แรงๆ
8. ใช้ล่วงหน้า กันก่อนแก้
9. ใช้สมุนไพรหลายอย่าง ดีกว่าน้อยอย่าง
10. บำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นภูมิต้านทาน
11. ใช้ระบบ ไอพีเอ็ม ร่วมด้วยเสมอ
12. ใช้สารเคมี คนใช้ได้แค่ 1 คือ สะใจที่หนอนแมลงตายต่อหน้าต่อตา แต่ผลเสียตามมาอีก 10 ทั้งปัจจุบัน และอนาคต

13. ใช้สารสมุนไพร คนใช้ได้ 10 แต่ผลเสียตามมาแค่ 1 ทั้งปัจจุบัน และอนาคต
15 สร้างลูกหลานให้มีหัวการค้า ทำสารสมุนไพรขาย มนุษย์เงินเดือน ทำสารสมุนไพรขาย ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งบุญ


รอบรู้เรื่องแมลง :
- แมลงปากกัด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการกัดแล้วกินส่วนนั้นของพืชโดยตรง

- แมลงปากดูด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการใช้กาดกัดก่อนแล้วจึงดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชนั้น

- แมลงกลางวัน หมายถึง แมลงที่ออกหากินช่วงตอนกลางวัน เข้าหาพืชเป้าหมายโดยใช้สายตาในการเดินทาง นอกจากเข้าทำลายพืชโดยตรงแล้ว ยังอาศัยวางไข่อีกด้วย

- แมลงกลางคืน หมายถึง แมลงที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00 น. และช่วงก่อนสว่าง 05.00-06.00 น. เดินทางเข้าหาพืชเป้าหมายโดยการใช้ประสาทสัมผัสกลิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าทำลายพืชโดยตรงแต่จะอาศัยวางไข่เท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าทำลายพืชโดยการกัดกินโดยตรง

- แมลงขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน และหนอนคือตัวทำลายพืชโดย ตรง จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตกลายเป็นแมลงต่อไป

- แมลงไม่ชอบวางไข่บนส่วนของพืชที่ชื้น เปียกแฉะ เพราะรู้ว่าความเปียกชื้นหรือแฉะนั้น นอกจากจะทำให้ไข่ฝ่อฟักไม่ออกแล้วยังเกาะส่วนของพืชไม่ติดอีกด้วย

- แมลงไม่ชอบวางไข่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะรู้ว่า ถ้าวางไข่ไว้ในที่โล่งแจ้งแสงแดดส่องถึงจะทำให้ไข่ฝ่อไม่อาจฟักออกเป็นตัวหนอนได้ จึงเลือกวางไข่บริเวณใต้ใบพืช ซอกเปลือก เศษซากพืชคลุมโคนต้น หรือไต้พื้นดินโคนต้น

- แมลงกลางวันเดินทางด้วยการมองเห็น แก้วตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 ช่อง ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงไม่กลิ้งไปมาได้เหมือนนัยน์ตาคนหรือสัตว์อื่นๆ ถ้าส่วนของพืชเป้าหมายของแมลงกลางวันเปียกน้ำหรือมีสารคล้ายน้ำมันสะท้อนแสงได้เคลือบทับอยู่จะทำให้ภาพการมองเห็นของแมลงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น

- แมลงกลางวันชอบเข้าหาวัสดุที่มีสีเหลือง และสีฟ้า ส่วนแมลงกลางคืนชอบเข้าหาแสงสีม่วงและแสงสีขาว แต่ไม่ชอบเข้าหาแสงสีเหลืองหรือแสงสีส้ม

- แมลงบินตลอดเวลา ประสาทความรู้สึกเร็วมาก ทันทีที่รู้ว่าจะมีอันตรายเป็นต้องบินหนีทันที จากลักษณะทางธรรมชาตินี้ทำให้ไม่สามารถกำจัดแมลงด้วยวิธีการ “ฉีดพ่น” ใดๆได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงนั้นแมลงใดๆที่ปีกเปียกจะไม่สามารถขึ้นบินได้ นั่นหมายความว่า แม้แต่น้ำเปล่าก็สามารถกำจัดแมลงได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฉีดพ่นให้ปีกเปียกเท่านั้น

- แมลงมีช่วงหรือฤดูกาลแพร่ระบาด นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ (อุณหภูมิ/ความชื้น) มีผลอย่างมากต่อวงจรชีวิตแมลง (เกิด - กิน - แก่ - เจ็บ - ตาย - ขยายพันธุ์) การรู้ล่วงหน้าถึงฤดูกาลแพร่ระบาดแล้วใช้มาตรการ “ป้องกัน” หรือ “ขับไล่” จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะแมลง

- แมลงบางอย่างมีปีกแต่ไม่สามารถใช้บินเป็นระยะทางไกลๆได้ แมลงประเภทนี้จะพึ่งพาสายลมช่วยพัดไป หรือมีสัตว์อย่างอื่นเป็นพาหะเพื่อการเดินทาง

- แมลงหายใจทางรูขุมขน หรือ ต่อมบนผิวหนัง แมลงตัวเล็กๆ หรือเล็กมากๆ เมื่อถูกสารประเภทน้ำมันเคลือบบนลำตัว จะทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายได้ ส่วนแมลงขนาดใหญ่ เมื่อสัมผัสกับกลิ่นที่เป็นสารออกฤทธิ์ต่อแมลงก็ทำให้แมลงตายได้เหมือนกัน

- เทคนิคเอาชนะแมลงที่ดีที่สุด คือ “ไล่” ด้วยกลยุทธ “กันก่อนแก้” เท่านั้น


รอบรู้เรื่องหนอน :
- หนอนเกิดจากไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน (มาหัวค่ำหรือก่อนสว่าง) ถ้าขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้ หรือทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักไม่ออก ก็ถือเป็นการกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง

- หนอนไม่ชอบแสงแดดหรือแสงสว่าง จึงออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบ หรือใต้ใบพืช หรือเข้าไปอยู่ภายในส่วนของพืช โดยการเจาะเข้าไป

- อายุหนอนเริ่มตั้งแต่ออกจากไข่ถึงเข้าดักแด้ 10-15 วัน แบ่งออกเป็น 5 วัย จากวัยหนึ่งไปสู่วัยหนึ่งต้องลอกคราบ 1 ครั้งเสมอ ถ้าไม่ได้ลอกคราบหรือลอกคราบไม่ออก หนอนตัวนั้นจะตายในคราบ

- หนอนที่ขนาดลำตัวโตเท่าก้านไม้ขีด ลำตัวด้านข้างมีลายตามยาวจากหัวถึงหาง และที่ลำตัวด้านบนมีขนขึ้น เป็นหนอนที่มีความทนทานต่อสารเคมีอย่างมาก เรียกว่า “ดื้อยา” ซึ่งจะไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ตามอัตราปกติทำร้ายมันจนตายได้

- หนอนทุกชนิดแม้จะดื้อยา (สารเคมี) แต่ไม่สามารถดื้อต่อเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เช่น บีที. บีเอส. เอ็นพีวี. ไส้เดือนฝอย. ได้เลย

สาร “ท็อกซิกซ์” ที่เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส. ประเภทไม่ต้องการอากาศ ก้นถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หมักนานข้ามปีถึงหลายๆปี เป็นพิษต่อหนอน สามารถทำให้หนอนหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช) และลอกคราบไม่ออก ไม่เข้าดักแด้ ทำให้หนอนตายได้

- สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรหลายชนิด มีพิษต่อหนอนโดยทำให้หนอนไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่เข้าดักแด้ จึงทำให้หนอนตายได้

- ต้นไม้ผลที่ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องผ่านจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้นได้ แสงแดดร้อนทำให้หนอนอยู่ไม่ได้ แล้วตายไปเอง

- หนอนเลือกกินพืชแต่ละชนิดถือเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การเคลือบพืชที่หนอนชอบกินด้วยรสของพืชอื่นที่หนอนไม่กิน จะทำให้หนอนไม่ได้กินอาหาร หนอนก็ตายได้เช่นกัน

- หนอนเป็นสัตว์เหมือนกับกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต มาตรการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง จนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หนอนก็อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด

- หนอนที่เจาะส่วนของพืชแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ในซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เช่น หนอนเจาะยอด หนอนเจาะดอก หนอนเจาะผล หนอนเจาะต้น ฯลฯ แม้สรีระของหนอนจะไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ยากที่จะทำอันตรายต่อตัวหนอนนั้นได้โดยง่าย เปรียบเสมือนมีแหล่งกำบังอย่างแข็งแรง มาตรการกำจัดจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ กำจัดไข่แม่ผีเสือให้ไม่ให้ฟักออกเป็นตัวหนอนได้หรือห่อผล เท่านั้น

รอบรู้เรื่องโรค :
- เชื้อโรคพืชในดินเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) มีความเป็นกรดจัด หรือด่างจัด และเชื้อโรคในดินจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลยหรือตายไปเองเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) เป็นกลาง

- การใส่สารเคมีกำจัดเชื้อโรคลงไปในดิน เมื่อใส่ลงไปเชื้อโรคในดินก็ตายได้ในทันที ครั้นสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์ เชื้อโรคชุดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทน "เกิดใหม่ใส่อีก-เกิดอีกก็ใส่ใหม่" เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า ใส่ทีก็ตายไปที ตายแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นมาแทน สาเหตุที่เชื้อชุดใหม่เกิดขึ้นมาแทนได้ทุกครั้งก็เพราะ "ดินยังเป็นกรด หรือด่างจัด" อยู่นั่นเอง ในเมื่อสารเคมีที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวมีสถานะเป็นกรด มีเพียงบางตัวหรือส่วนน้อยเท่าที่นั้นที่เป็นด่าง เมื่อใส่สารที่เป็นกรดลงไป จากดินที่เป็นกรดอยู่ก่อนแล้วจึงเท่ากับเพิ่มความเป็นกรดให้กับดินหนักขึ้นไปอีก หรือดินที่เคยเป็นด่างอยู่แล้ว เมื่อใส่สารที่เป็นด่างเพิ่มลงไป จึงกลายเป็นเพิ่มความเป็นด่างของดินให้หนักยิ่งขึ้น .... ปุ๋ยเคมีทางราก ทุกตัวทุกสูตรมีสถานะเป็นกรด การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดการ “สะสม” อยู่ในเนื้อดินเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด เมื่อดินเป็นกรดจึงเกิดเชื้อโรคในดินเป็นธรรมดา

- เชื้อโรคในดินเข้าสู่ลำต้นแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการยางไหล เถาแตก ใบเหี่ยว ยอดกุด ต้นโทรม แคระแกร็น ดอกผลไม่สมบูรณ์

- เชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินนั้น เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากดินทั้งสิ้น จากเชื้อในดินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเจริญพัฒนาแตกตัวเป็นสปอร์ล่องลอยไปตามอากาศ เมื่อเกาะยึดส่วนของพืชได้ก็จะซึมแทรกเข้าสู่เนื้อพืชนั้น .... เชื้อบางตัวอาศัยอยู่กับหยดน้ำฝน (เรียกว่า ราน้ำฝน หรือแอนแทร็คโนส) หรือหยดน้ำค้าง (เรียกว่า ราน้ำค้าง) ซึ่งทั้งน้ำค้างและน้ำฝนต่างก็มีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อหยดน้ำฝนหรือหยาดน้ำค้างแห้ง เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะซึมแทรกเข้าสู่ภายในสรีระของพืชต่อไป

- เชื้อโรคพืชมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย "รา - แบคทีเรีย - ไวรัส" เป็นหลัก
- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อรา" ทำลาย บริเวณกลางแผลจะแห้ง ไม่มีกลิ่น ขอบแผลฉ่ำเล็ก น้อยแผลจะลุกลามขยายจากเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้ เคียงและห่างออกไป .... เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อแบคทีเรีย" เข้าทำลาย บริเวณกลางแผลจะเปียกฉ่ำเละ และมีกลิ่นเหม็น แผลจะลุกลามขยายจากแผลเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป .... เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม

- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อไวรัส" เข้าทำลาย บริเวณถูกทำลายจะลายด่าง ขาวซีดเป็นทางยาวตามความยาวของส่วนของพืช หรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของพืชส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย .... เชื้อตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม กับบางส่วนมีแมลงเป็นพาหะ

- เชื้อโรคพืชมักเข้าทำลายแล้วขยายเผ่าพันธุ์ตามส่วนของพืชที่เป็นร่มเงา มีความชื้นสูง และ เชื้อมักไม่ชอบแสงแดดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง .... เชื้อตัวนี้มักไม่เกิดจากดิน

- เชื้อโรคพืชหลายตัวที่ยังไม่มีสารเคมีชนิดใดกำจัดได้ เช่น โรคตายพรายกล้วย. โรคใบแก้วส้ม.โรคยางไหล. โรคใบด่างมะละกอ. โรคใบขาวอ้อย. โรคกระเจี๊ยบใบด่าง.โรคเถาแตก. ฯลฯ

เชื้อโรคเหล่านี้มิได้เกิดเฉพาะในพืชที่กล่าวถึงเท่านั้น ยังสามารถเกิดกับพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย

-โรคมีเชื้อ หมายถึง ตัวเชื้อ (เป็นสิ่งมีชีวิต สัตว์เซลล์เดียว) ดำรงชีวิตอยู่ในพืช (ทำลายพืช) มองเห็นได้ด้วยกล่องจุลทรรศน์

- โรคไม่มีเชื้อ หมายถึง พืชมีลักษณะอาการเหมือนเป็นโรคที่เกิดจาก รา-แบคทีเรีย-ไวรัสแต่ในความเป็นจริงนั้นเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร" ซึ่งการแก้ไขย่อมแตกต่างจากโรคที่มีเชื้ออย่างแน่นอน

- ทั้งโรคมีเชื้อและไม่มีเชื้อจะไม่สามารถทำลายพืชได้ หรือทำลายได้แต่เพียงเล็กน้อยไม่ถึงระดับ "สูญ เสียทางเศรษฐกิจ" หากพืชมีสมบูรณ์แข็งแรงแล้วเกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้

โรคมีเชื้อ .... คือ เชื้อที่มีตัวตน มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือสายตาเปล่า
โรคไม่มีเชื้อ ..... คือ โรคขาดสารอาหาร สภาพแวดล้อม (ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก) ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต


ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
กาปฏิทิน วันที่ 1 ถึงวันสุดท้ายของเดือน แล้วปฏิบัติตามวันที่ในปฏิทิน ดังนี้

- วันที่ 1 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 100 ซีซี.
- วันที่ 2 - 3 - 4 ..... งด
- วันที่ 5 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 6 - 7 - 8 .... งด
- วันที่ 9 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 10 - 11 - 12 .... งด

- วันที่ 13 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 25 ซีซี.

- วันที่ 14 - 15 - 16 .... งด
- วันที่ 17 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 18 - 19 - 20 .... งด
- วันที่ 21 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 22 - 23 - 24 .... งด
- วันที่ 25 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 15 ซีซี.

- วันที่ 26 - 27 - 28 .... งด
- วันที่ 29 ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 30 - 31 .... งด

สรุป :
- ฉีด 1 ครั้ง เว้น 3 วัน ขึ้นวันที่ 4 ให้ฉีด
- ฉีดสมุนไพร 2 ครั้ง สลับด้วย สมุนไพร+เคมี 1 ครั้ง
- ธรรมชาติไม่มีตัวเลข เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติจริงอาจจะ +/- หรือ เพิ่ม/ลด ได้ตามความเหมาะสม
- ฉีดสมุนไพรแบบ เช้ารอบค่ำรอบ/ค่ำรอบเช้ารอบ ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แล้วศัตรูพืชจะทนอยู่ได้ยังไง

หรือ ....
ครั้งที่ 1 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 2 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 3 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 4 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 5 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 6 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ

แต่ละครั้งห่างกัน 3 วัน หรือใช้สารเคมีทุก 7 วัน นั่นคือเพียง 2 รอบ (14 วัน) ศัตรูพืชก็ตาย ถึงไม่ตายด้วยสารเคมีก็หมดอายุขัย

http://www.mysuccessagro.com (081) 910-5034


หลักการทำ-หลักการใช้ สารสมุนไพร :
แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน - มาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับ

1. หมักน้ำเปล่า :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 7-10 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภท ใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น

หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่ใส่กากน้ำตาล ตาลทราย และจุลินทรีย์


2. สูตรหมักเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) 10% ของน้ำ. เติมน้ำส้ม สายชู 10% ของเหล้าหรือแอลกอฮอร์ อัตราเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูให้ได้พอท่วมสมุนไพร ถ้าไม่ท่วมให้เติมน้ำเปล่าเพิ่มจนกระทั่งพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ เพื่อให้แอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูจะสกัดเอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรออกมา ครบกำหนด 24-48 ชม. แล้วให้เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. ได้สารสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่ใส่กากน้ำตาล ตาลทราย และจุลินทรีย์

3. สูตรแช่น้ำร้อน :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติกที่มีน้ำต้มเดือดแล้ว 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น


4. สูตรต้มพอร้อน :
วัสดุส่วนผสม :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ) ที่มีน้ำ 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือด เสร็จแล้วยกลงปล่อยให้เย็น ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

เมื่อน้ำต้มเย็นลงแล้วให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งาน กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภท ใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น

5. สูตรต้มเคี่ยว :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ) ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ

ต้มครั้งที่ 1 : ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรชนิดเดิมตัวใหม่ ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2

ต้มครั้งที่ 2 : เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรชนิดเดิมตัวใหม่ ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3

ต้มครั้งที่ 3 : เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุน ไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้งเท่านั้น

สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ :
แบบที่ 1 :
ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออก ได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งานได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น

แบบที่ 2 : ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อ โดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น

หมายเหตุ :
ซินแส แพทย์แผนโบราณ จัดยาสมุนไพรห่อผ้าขาวบางให้ 1 ห่อมัดเรียบร้อย หม้อดินเผา 1 หม้อ แล้วบอกว่า ใส่น้ำพอท่วม ต้มพอเดือด ดื่มครั้งละ 1 จอก (รสชาดยาสมุนไพรขมพอดีๆ ...รสขม คือ ฤทธิ์ยา) หรือบางครั้งใส่น้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวนานๆ จนเหลือน้ำ 1 จอก แล้วดื่ม (รสชาดยาสมุนไพรจะขมจัดมากๆ ....รสขมนั้นคือ ฤทธิ์ยา)

6. สูตรกลั่น :
(ขวด 1.) น้ำกลั่นสมุนไพรจากถังกลั่นโดยตรง รอบเดียว
(ขวด 2.) น้ำกลั่นสมุนไพรหยดลงบนถังสมุนไพรสด ตัวเดียวกับที่กลั่น
ผลคือ กลิ่นสมุนไพรแรงกว่าสมุนไพรกลั่นรอบเดียว

ถังกลั่น :
- เป็นถังโลหะทรงสูง
- ใส่น้ำเปล่าก้นถัง ปริมาณตามความเหมาะเมื่อเทียบกับปริมาณของพืชสมุนไพรที่จะกลั่น ไม่ควรเกิน 1 ใน 4 ของความสูงถัง
- มีตะแกงติดในถัง ณ ระดับความสูง 3 ใน 4 จากก้นถังของความสูงถัง
- มีฝาปิดสนิทป้องกันไอระเหยออกได้
- ที่ฝาปิดมีท่อให้ไอระเหยผ่านไปสูงระบบควบเย็นได้สะดวก
- ท่อนี้จะผ่านระบบควบเย็น ส่วนปลายดัดแปลงให้แทงเข้าไปในถังกลั่น เพื่อให้ไอระเหยที่ถูกควบเย็นจนกลายเป็นน้ำแล้วกลับเข้าไปกลั่นซ้ำในถังอีกครั้ง

ส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรประเภทสกัดด้วยวิธีกลั่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สดหรือแห้ง สับเล็กหรือบดละเอียด การกลั่นทำได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 : กลั่นแบบต้มเหล้าป่า (ชาวบ้านแอบทำ /เหล้าเถื่อน) หรือเหล้าขาว (รัฐบาลทำ) การกลั่นแบบนี้ต้องอาศัยความร้อนสูง น้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยต้องเดือดจัด 100 องศา ซ. ทำให้ได้ "น้ำ + สารออกฤทธิ์" ซึ่งจะมีน้ำ 70% สารออกฤทธิ์ 30% ถ้าน้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยร้อน 60-70 องศา ซ. จะทำได้เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น อัตราส่วน น้ำ 30% สารออกฤทธิ์ 70% แต่เนื่องจากความร้อนเพียงเท่านี้ไอน้ำจะไม่พุ่งออกมาสู่ระบบควบเย็นได้ แก้ไขโดยการใช้ตัวดูดไอระเหย (แว็คกั้ม).... สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย หากต้องการเก็บนานให้เติมแอลกอฮอร์ 10% ของน้ำกลั่นสารออกฤทธิ์

แบบที่ 2 : กลั่นซ้ำ เป็นการกลั่นแบบให้ความร้อนสูงเดือดจัด ไอระเหยที่ถูกควบเย็นแล้วผ่านท่อที่ดัดแปลงเป็นการเฉพาะไหลกลับเข้าไปในหม้อกลั่นอย่างเดิมรวมกับน้ำก้นถังกลั่นอีกครั้ง แล้วถูกต้มกลายเป็นไอระเหยสูงขึ้นสู่ระบบควบเย็นซ้ำโดยอัตโนมัติ น้ำจะถูกกลั่นเป็นไอน้ำ ถูกควบเย็นเป็นน้ำไหลกลับเข้าถังกลั่น หมุนเวียนซ้ำอย่างนี้จนเป็นที่พอใจ น้ำก้นถังกลั่น คือ น้ำกลั่นสารออกฤทธิ์ มีน้ำกับสารออกฤทธิ์ 1 : 1 ใช้งานได้เลย

แบบที่ 3 : กลั่นด้วยเครื่องกลั่นเฉพาะแบบ "แยกน้ำ-แยกน้ำมัน" น้ำมันที่ได้เป็นสารออกฤทธิ์ 100% ไม่มีน้ำปน สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย และสามารถเก็บนานได้โดยไม่ต้องเติมแอลกอฮอร์

หมายเหตุ :
- กลิ่นตะไคร้/กลิ่นมะกรูด สังเคราะห์ ที่คนนิยมทำ “อะโรม่า” นั้น นำมาใช้แทนกลิ่นที่กลั่นเอง เพราะกลิ่นสังเคราะห์แรงมากเมื่อเทียบกับกลิ่นที่กลั่นเอง กลิ่นสังเคราะห์ไม่เป็นอันตรายต่อตน เพราะใช้ในงานอะโรม่าอยู่แล้ว

http://www.mysuccessagro.com (081) 910-5034



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2024 3:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 24/01/2024 1:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช

แมลงศัตรูพืช กับ สมุนไพร :

แมลงกินนูน....... ว่านน้ำ. พริกไทย. หนอนตายหยาก. หางไหล. มะเขือเทศ. พริกสด.
แมลงนูนหลวง.... ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล.
แมลงสิง.......... สะเดา. บอระเพ็ด. มะกรูด. พริกสด. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.
แมลงคำหนาน... น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ. มะกรูด. พริกสด. ทุเรียนเทศ.
แมลงบ่วง........ สะเดา. บอระเพ็ด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.

แมลงหล่า.......... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. บอระเพ็ด. สาบเสือ. ดาวเรือง.
แมลงแกง.......... สะเดา. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล. พริกสด.
แมงงค่อมทอง..... สาบเสือ. มะกรูด. พริกสด. น้อยหน่า. ดาวเรือง. ยี่โถ.
แมลงหวี่ขาว....... สาบเสือ. ดาวเรือง. กระเทียม. น้อยหน่า. ยาสูบ. พริกสด. สะเดา.
แมลงชีปะขาว..... สาบเสือ. ดาวเรือง. มะระ. น้อยหน่า. มะกรูด. ข่า. พริกสด.

แมลงกะเจ๊า….... สาบเสือ. ยาฉุน. ยาสูบ. น้อยหน่า. ข่า. พริกสด. บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร.
แมลงวันทอง............. ว่านน้ำ. หางไหล. สะเดา. ยาสูบ.
แมลงวันแดง............. ว่านน้ำ. หางไหล. สะเดา. ยาสูบ.
หนอนกินใบฝ้าย......... สะเดา. ยาสูบ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย.
หนอนกระทู้อาฟริกัน.... สะเดา. ยาสูบ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย.

หนอนเจาะต้นลายจุด... น้อยหน่า. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล. กลอย. กระเทียม.
หนอนเจาะต้นสีชมพู... น้อยหน่า. สะเดา. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. หางไหล. กระเทียม.
หนอนเจาะผล.......... น้อยหน่า. สะเดา. กระเทียม. ขอบชะนาง. มะลินรก. กลอย.
หนอนเจาะยอด........ หนอนตาย. กลอย. ยาสูบ. ส้มเช้า. ขอบชะนาง. มะลินรก. กลอย.
หนอนเจาะขั้ว.......... หนอนตายหยาก. สะเดา. หางไหล. กลอย. ส้มเช้า. ยาสูบ. ยี่โถ.

หนอนคืบละหุ่ง ......... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ว่านน้ำ. ยาสูบ. กลอย. น้อยหน่า.
หนอนคืบกะหล่ำ ....... สะเดา. หางไหล. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า.
หนอนผีเสื้อกะโหลก ...สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. มันแกว. กระเทียม.
หนอนกระทู้ดำ ............ สะเดา. หางไหล. หนอนตาย. นอนตายหยาก. กลอย. มันแกว.
หนอนห่อใบงา ............ สะเดา. หางไหล. กลอย. ขอบชะนาง. หนอนตายหยาก. มันแกว.

หนอนห่อใบข้าว .......... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. มันแกว. น้อยหน่า.
หนอนชอนใบถั่ว ......... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ตะไคร้หอม. มันแกว. ฟ้าทะลายโจร.
หนอนชอนใบมันเทศ .... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ขอบชะนาง. แสมสาร. ยาสูบ. มะระ.
หนอนชอนใบหอม ....... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ยาสูบ. มะระ. ดาวเรือง. ยี่โถ.
หนอนกอลายเล็ก ........ กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ. ขอบชะนาง.

หนอนกอแถบลาย ....... กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว ยาสูบ. ขอบชะนาง.
หนอนกอสีชมพู........... กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ.
หนอนกอสีขาว............ กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ.
หนอนบุ้งกินใบ...... กลอย. สาบเสือ. ยาสูบ. สะเดา. หนอนตายหยาก. หางไหล. น้อยหน่า.
หนอนกินใต้เปลือก...... กลอย.สาบเสือ.ยาสูบ.สะเดา.หางไหล.หนอนตายหยาก.น้อยหน่า

หนอนเจาะถั่วฝักยาว.... กลอย. สาบเสือ. ยาสูบ. สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. น้อยหน่า.
หนอนสะไปนี............ สะเดา. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล . มะลินนรก. ขอบชะนาง.
หนอนม้วนใบ............ สะเดา. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล. กลอย. น้อยหน่า. ยี่โถ.
หนอนเจาะสมอฝ้าย.....สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. มะลินรก. ขอบชะนาง.
หนอนเจาะดอกยาสูบ... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอ. น้อยหน่า. ส้มเช้า. ยี่โถ.

หนอนเจาะยอดยาสูบ... สะเดา.หางไหล.หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า. ขอบชะนาง
หนอนเจาะกะหล่ำ....... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า. ดาวเรือง. มะระ
หนอนเจาะดอกมะลิ..... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. น้อยหน่า. มะระ
หนอนแดงพุทรา..... ตะไคร้หอม. สาบเสือ. แมงลักคา. คูน. กลอย. น้อยหน่า. ยาสูบ. มะกรูด
หนอนเจาะฝักนุ่น........ สาบเสือกลอย. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. หางไหล. ดาวเรือง. บอระเพ็ด

หนอนกระทู้คอรวง....... สาบเสือ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ตะไคร้หอม
หนอนเจาะเถามันเทศ... สาบเสือ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. มะกรูด. บอระเพ็ด
หนอนเจาะข้าวโพด..... หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. บอระเพ็ด. ตะไคร้หอม.
หนอนคืบกินใบ.......... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ตะไคร้หอม.
หนอนเจาะหัว........ สะเดา. หางไหล. ปะทัดจีน. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ดาวเรือง

หนอนชอนใบส้ม..... สบู่ต้น. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ดาวเรือง. มะระ. ยี่โถ.
หนอนร่านกินใบ...... หางไหล. สะเดา. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. ตะไคร้หอม. น้อยหน่า
หนอนใยผัก.......... สะเดา. ปะทัดจีน. กลอย. ยาสู. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล.
หนอนหลอดหอม..... สะเดา. สาบเสือ. กลอย. ยาสูบ. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล.
หนอนแมลงวัน........ สบู่ต้น. ว่านน้ำ. มันแกว. คูน. แมงลักคา. หางไหล. กระเทียม. ยาสูบ.

ตั๊กแตนปาทังก้า..... น้อยหน่า. น้อยโหน่ง. ยาสูบ. มะระ. มะเขือเทศ. ดาวเรือง. บอระเพ็ด.
ตั๊กแตนโลกัสต้า..... น้อยหน่า. น้อยโหน่ง. ยาสูบ. มะเขือเทศ. ดาวเรือง. บอระเพ็ด.

ไส้เดือนฝอย........ ดาวเรือง. รากหม่อน. มะรุม. สะเดา. สาบเสือ. เปลือกแค.
มด.................. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. ดีปลี. พริกไทย.
ปลวก............... หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. พริกไทย.

หอยทาก........... ดีปลี. พริกไทย. พริกสด. บอระเพ็ด. ยาสูบ. ยาฉุน.
กระรอก............ พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.
กระแต............. พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.

หนู................. พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.
แคงเคอร์ ......... น้ำ(ปูนกินหมาก)ใส. น้ำ(ปูนขาว)ใส.
ไก่โต้ง............. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

พุ่มไม้กวาด........ ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. มะระ. น้อยหน่า. สาบเสือ.
เสี้ยนดิน........... สะเดา. มะระ. ยูคาลิปตัส. รากหม่อน.

ด้วงกุหลาบ........ ว่านน้ำ. สะเดา. หนอนตายหยาก. หางไหล. ดาวเรือง.
ด้วงเต่าแตงดำ.... น้อยหน่า. สะเดา. มะเขือเทศ. หางไหล. หนอนตายหยาก.
ด้วงเต่าแตงแดง.. น้อยหน่า. สะเดา. มะเขือเทศ. หางไหล. หนอนตายหยาก.
ด้วงถั่วเขียว....... ว่านน้ำ. น้อยหน่า. สะเดา. หางไหล. สาบเสือ. ดาวเรือง. ยูคาลิปตัส.
ด้วงขนสัตว์ ...... ว่านน้ำ. สะเดา. หางไหล. สาบเสือ. ยูคาลิปตัส. ดาวเรือง.

ด้วงงวงกล้วย......... ว่านน้ำ. พริกสด. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
ด้วงงวงมันเทศ....... ว่านน้ำ. พริกสด. สะเดา. สาบเสือ. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
ด้วงงวงกัดใบ........ ว่านน้ำ. พริกสด. มะกรูด. สาบเสือ. ตะไคร้. บอระเพ็ด.
ด้วงน้ำมัน............ น้อยหน่า. สาบเสือ. ว่านน้ำ. มะระ. ดาวเรือง. มะกรูด.
ด้วงหมัดกล้วย ......ว่านน้ำ. พริกสด. พริกไทย. มะเขือเทศ. สาบเสือ. หนอนตายหยาก.

ด้วงแรดใหญ่................. ว่านน้ำ. หนอนตายหยาก. มะเขือเทศ. ดาวเรือง.
ด้วงแรดเล็ก.................. ว่านน้ำ. หนอนตายหยาก. มะเขือเทศ. มะกรูด. ข่า. พริกสด.
ด้วงหมัดสีน้ำเงิน.......... ว่านน้ำ. มะระ. น้อยหน่า. มะกรูด. มะเขือเทศ.
ด้วงหมัดผักแถบลาย..... ว่านน้ำ. สะเดา. มะระ. มะกรูด. มะเขือเทศ. ยาสูบ. ยาฉุน.
ด้วงงวงมะพร้าว....... ว่านน้ำ. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล. น้อยหน่า. ทรายก่อสร้าง.

ด้วงงวงอ้อย............สะเดา. ว่านน้ำ. บอระเพ็ด. หนอนตายหยาก. มะกรูด. พริกสด.
ด้วงงวงข้าว............ สะเดา. ว่านน้ำ. สะเดา. หนอนตายหยาก. พริกสด. น้อยหน่า.
ด้วงงวงข้าวโพด..... ยาสูบ. ว่านน้ำ. สาบเสือ. สะเดา. หนอนตายหยาก. พริกสด. น้อยหน่า.
ด้วงดำข้าวโพด ...... ยาสูบ. สะเดา. สาบเสือ. น้อยหน่า. พริกสด.
ด้วงหัวไม้ขีด.......... ยาสูบ. สะเดา. ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ.

มวนแดงฝ้าย...... สะเดา. ว่านน้ำ. สาบเสือ. มะรุม. มะระ. น้อยหน่า.
มวนเขียวข้าว .... น้อยหน่า. บอระเพ็ด. หางไหล. สาบเสือ. ดาวเรือง.
มวนฝิ่น........... น้อยหน่า. มะระ. ดาวเรือง. หางไหล. สาบเสือ. ว่านน้ำ
มวนอ้อย.......... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนถั่วเขียว ..... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.

มวนขาโต...... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนลำไย ..... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนโกโก้...... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.

เพลี้ยอ่อน........ น้อยหน่า. หางไหล. ยาสูบ. มันแกว. พริกสด. ประทัดจีน. กระเทียม.
เพลี้ยแป้ง ....... กลอย. บอระเพ็ด. พริกสด. พริกไทย. ดาวเรือง. น้อยหน่า. น้อยโหน่ง.
เพลี้ยจักจั่น...... สะเดา. ดาวเรือง. มะเขือเทศ. หางไหล. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.
เพลี้ยไฟ......... พริกสด. พริกไทย. ยาสูบ. มะเขือเทศ. สาบเสือ. กระเทียม.
เพลี้ยไก่แจ้ ..... ดาวเรือง. ว่านน้ำ. มะเขือเทศ. ยาฉุน. สาบเสือ. พริกสด. หางไหล. สะเดา

เพลี้ยจักจั่นปีกลาย.......... สาบเสือ. มะเขือเทศ. สะเดา. หางไหล. พริกสด. กะเพรา.
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว........... สาบเสือ. มะเขือเทศ. สะเดา. หางไหล. พริกสด. กะเพรา.
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล .... พริกสด. สะเดา. หางไหล. ข่า. กระเพา. น้อยหนา. ดาวเรือง.
เพลี้ยกระโดดหลังขาว..... พริกสด. สะเดา. หางไหล. ข่า. กระเพา. น้อยหน่า. ดาวเรือง.
เพลี้ยหอย.......... ยาสูบ. ยาฉุน มะระ. มะเขือเทศ. พริกสด. น้ำส้มสายชู+เหล้าขาว.

มอดแป้ง........... น้อยหน่า. ว่านน้ำ. สาบเสือ. มะรุม. ยูคาลิปตัส. ดาวเรือง. มะระ.
มอดหนวดยาว .... ว่านน้ำ. สะเดา. พริกสด. มะระ. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
มอดไม้............ ว่านน้ำ. พริกสด. สาบเสือ. สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ดาวเรือง.
มอดเจาะผล....... ว่านน้ำ. พริกสด. มะกรูด. สาบเสือ. ตะไคร้. บอระเพ็ด.
มอดสยาม ........ ว่านน้ำ. หางไหล. สาบเสือ. มะระ. ดาวเรือง.
มอดฟันเลื่อย...... ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. มะกรูด. มะระ.
มอดข้าวเปลือก... มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดข้าวสาร....... มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดแป้ง........... มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดหัวไม้ขีด...... ว่านน้ำ. สะเดา. ยาสูบ. น้อยหน่า. พริกสด.
มอดแดงฝ้าย...... ว่านน้ำ. สาบเสือ. สะเดา. น้อยหน่า. พริกสด.
ไรแดง ............ ดาวเรือง. มะระ. พริกสด. น้อยหน่า. กระเทียม. สะเดา.
ไรขาว ............ ดาวเรือง. มะระ. พริกสด. น้อยหน่า.

ราน้ำค้าง.............. ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น.
ราสนิม ............... ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น
ราแป้ง................. ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. เปลือกประดู่. งวงกล้วย. กระเทียม. ขมิ้น
ราใบจุด ................. ว่านน้ำ. มังคุด. กระดูกไก่. มะคำดีควาย. เงาะ. ตะบูน. กระเทียม. ขมิ้น.
ราเมล็ดผักกาด....... เหง้ากล้วย. รากหม่อน. กานพลู. มะม่วงหิมพานต์. ขมิ้น.

โรคเหี่ยว ...............มะม่วงหิมพานต์. คื่นช่าย. กานพลู. ตะไคร้หอม. เงาะ. มังคุด. มะรุม
โรคขอบใบไหม้ ......... ว่านน้ำ. ตะไคร้หอม. กระเทียม. รากหม่อน. ตะบูน.
โรคใบติด .................... ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. มังคุด. เงาะ.
โรครากเน่าโคนเน่า .... รากหม่อน. สะเดา. มะรุม. สาบเสือ. มังคุด. ตะบูน. เงาะ. น้ำปูนใส
โรคกล้าเน่า ................ รากหม่อน. เทียนหยด. น้ำปูนใส. ปรับปรุงบำรุงดิน.

โรคใบกุด .................. ว่านน้ำ. รากหม่อน. ตะไคร้หอม. ตะบูน. มังคุด. เงาะ.
โรคเถาแตก ............... ว่านน้ำ. รากหม่อน. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบแก้ว ................ ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบแก้ว ................ มะรุม. กระเทียม. กระชาย. ข่า. รากหม่อน.
โรคเน่าคอดิน ............ ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

โรคผลเน่า ......... ว่านน้ำ. ตะบูน. มังคุด. เงาะ. กานพลู. กระเทียม.
โรคเน่าผัก.......... กระเทียม. กระดูกไก่. กานพลู. มังคุด. เงาะ. ไพล. ตะบูน.
โรคไส้ดำ........... รากหม่อน. กระเทียม. กระดูกไก่. ปรับปรุงบำรุงดิน. ธาตุรอง/เสริม
โรคไส้เน่า......... รากหม่อน. กระเทียม. กระดูกไก่. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุโบรอน.
โรคใบด่าง......... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

โรคใบจุดวงแหวน.......... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบหด................... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบขาว.................. กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคเหี่ยวสับปะรด......... กระเทียม. หอมแดง. ฟ้าทะลายโจร. ขิง. ขมิ้น. งวงช้าง. ไพรหญ้า.


แมลงศัตรูพืช กับ สมุนไพร :
แมลงกินนูน....... ว่านน้ำ. พริกไทย. หนอนตายหยาก. หางไหล. มะเขือเทศ. พริกสด.
แมลงนูนหลวง... ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล.
แมลงสิง............. สะเดา. บอระเพ็ด. มะกรูด. พริกสด. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.
แมลงคำหนาน... น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ. มะกรูด. พริกสด. ทุเรียนเทศ.
แมลงบ่วง.......... สะเดา. บอระเพ็ด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.

แมลงหล่า........... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. บอระเพ็ด. สาบเสือ. ดาวเรือง.
แมลงแกง........... สะเดา. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล. พริกสด.
แมงงค่อมทอง...... สาบเสือ. มะกรูด. พริกสด. น้อยหน่า. ดาวเรือง. ยี่โถ.
แมลงหวี่ขาว....... สาบเสือ. ดาวเรือง. กระเทียม. น้อยหน่า. ยาสูบ. พริกสด. สะเดา.
แมลงชีปะขาว.... สาบเสือ. ดาวเรือง. มะระ. น้อยหน่า. มะกรูด. ข่า. พริกสด.

แมลงกะเจ๊า...... สาบเสือ. ยาฉุน. ยาสูบ. น้อยหน่า. ข่า. พริกสด. บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร.
แมลงวันทอง................. ว่านน้ำ. หางไหล. สะเดา. ยาสูบ.
แมลงวันแดง................. ว่านน้ำ. หางไหล. สะเดา. ยาสูบ.
หนอนกินใบฝ้าย........... สะเดา. ยาสูบ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย.
หนอนกระทู้อาฟริกัน... สะเดา. ยาสูบ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย.

หนอนเจาะต้นลายจุด... น้อยหน่า. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล. กลอย. กระเทียม.
หนอนเจาะต้นสีชมพู.... น้อยหน่า. สะเดา. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. หางไหล. กระเทียม.
หนอนเจาะผล............... น้อยหน่า. สะเดา. กระเทียม. ขอบชะนาง. มะลินรก. กลอย.
หนอนเจาะยอด............. หนอนตาย. กลอย. ยาสูบ. ส้มเช้า. ขอบชะนาง. มะลินรก. กลอย.
หนอนเจาะขั้ว............... หนอนตายหยาก. สะเดา. หางไหล. กลอย. ส้มเช้า. ยาสูบ. ยี่โถ.

หนอนคืบละหุ่ง ...... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ว่านน้ำ. ยาสูบ. กลอย. น้อยหน่า.
หนอนคืบกะหล่ำ ..... สะเดา. หางไหล. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า. กระเทียม.
หนอนผีเสื้อกะโหลก ...... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. มันแกว. กระเทียม.
หนอนกระทู้ดำ ............... สะเดา. หางไหล. หนอนตาย. นอนตายหยาก. กลอย. มันแกว.
หนอนห่อใบงา ............... สะเดา. หางไหล. กลอย. ขอบชะนาง. หนอนตายหยาก. มันแกว.

หนอนห่อใบข้าว ............ สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. มันแกว.
หนอนชอนใบถั่ว ........... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ตะไคร้หอม. มันแกว. ฟ้าทะลายโจร.
หนอนชอนใบมันเทศ .... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ขอบชะนาง. แสมสาร. ยาสูบ. มะระ.
หนอนชอนใบหอม ....... สบู่ต้น. กลอย. บอระเพ็ด. ยาสูบ. มะระ. ดาวเรือง. ยี่โถ.
หนอนกอลายเล็ก .......... กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ.

หนอนกอแถบลาย ........ กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว ยาสูบ. ขอบชะนาง.
หนอนกอสีชมพู............. กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ.
หนอนกอสีขาว.............. กลอย. สะเดา. เลี่ยน. หนอนตายหยาก. มันแกว. ยาสูบ.
หนอนบุ้งกินใบ............. กลอย. สาบเสือ. ยาสูบ. สะเดา. หนอนตายหยาก. หางไหล.
หนอนกินใต้เปลือก...... กลอย.สาบเสือ.ยาสูบ.สะเดา.หางไหล.หนอนตายหยาก.น้อยหน่า

หนอนเจาะถั่วฝักยาว.... กลอย. สาบเสือ. ยาสูบ. สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. น้อยหน่า.
หนอนสะไปนี.............. สะเดา. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล . มะลินนรก. ขอบชะนาง.
หนอนม้วนใบ...............สะเดา. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล. กลอย. น้อยหน่า. ยี่โถ.
หนอนเจาะสมอฝ้าย......สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. มะลินรก. ขอบชะนาง.
หนอนเจาะดอกยาสูบ... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอ. น้อยหน่า. ส้มเช้า. ยี่โถ.

หนอนเจาะยอดยาสูบ....สะเดา.หางไหล.หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า. ขอบชะนาง
หนอนเจาะกะหล่ำ........สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. น้อยหน่า. ดาวเรือง. มะระ
หนอนเจาะดอกมะลิ..... สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. น้อยหน่า. มะระ
หนอนแดงพุทรา........ ตะไคร้หอม. สาบเสือ. แมงลักคา. คูน. กลอย. น้อยหน่า. ยาสูบ. มะกรูด
หนอนเจาะฝักนุ่น........ สาบเสือกลอย. ยาสูบ. หนอนตายหยาก. หางไหล. ดาวเรือง. บอระเพ็ด

หนอนกระทู้คอรวง......... สาบเสือ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ตะไคร้หอม
หนอนเจาะเถามันเทศ..... สาบเสือ. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. มะกรูด. บอระเพ็ด
หนอนเจาะข้าวโพด........ หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. บอระเพ็ด. ตะไคร้หอม.
หนอนคืบกินใบ............. สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ตะไคร้หอม.
หนอนเจาะหัว...... สะเดา. หางไหล. ปะทัดจีน. หนอนตายหยาก. กลอย. ยาสูบ. ดาวเรือง

หนอนชอนใบส้ม..... สบู่ต้น. หางไหล. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ดาวเรือง. มะระ. ยี่โถ.
หนอนร่านกินใบ...... หางไหล. สะเดา. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. กลอย. ตะไคร้หอม. น้อยหน่า
หนอนใยผัก.............. สะเดา. ปะทัดจีน. กลอย. ยาสู. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล.
หนอนหลอดหอม..... สะเดา. สาบเสือ. กลอย. ยาสูบ. น้อยหน่า. หนอนตายหยาก. หางไหล.
หนอนแมลงวัน........ สบู่ต้น. ว่านน้ำ. มันแกว. คูน. แมงลักคา. หางไหล. กระเทียม. ยาสูบ.

ตั๊กแตนปาทังก้า........ น้อยหน่า. น้อยโหน่ง. ยาสูบ. มะระ. มะเขือเทศ. ดาวเรือง. บอระเพ็ด.
ตั๊กแตนโลกัสต้า....... น้อยหน่า. น้อยโหน่ง. ยาสูบ. มะเขือเทศ. ดาวเรือง. บอระเพ็ด.

ไส้เดือนฝอย.........ดาวเรือง. รากหม่อน. มะรุม. สะเดา. สาบเสือ. เปลือกแค.
มด....................... หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. ดีปลี. พริกไทย.
ปลวก.................. หนอนตายหยาก. ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. พริกไทย.

หอยทาก............. ดีปลี. พริกไทย. พริกสด. บอระเพ็ด. ยาสูบ. ยาฉุน.
กระรอก............. พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.
กระแต............... พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.

หนู..................... พริกสด. ดีปลี. พริกไทย. ยาสูบ. ยาฉุน. บอระเพ็ด.
แคงเคอร์ ........... น้ำ(ปูนกินหมาก)ใส. น้ำ(ปูนขาว)ใส.
ไก่โต้ง................ ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

พุ่มไม้กวาด........... ยาสูบ. ยาฉุน. พริกสด. มะระ. น้อยหน่า. สาบเสือ.
เสี้ยนดิน................ สะเดา. มะระ. ยูคาลิปตัส. รากหม่อน.

ด้วงกุหลาบ............. ว่านน้ำ. สะเดา. หนอนตายหยาก. หางไหล. ดาวเรือง.
ด้วงเต่าแตงดำ......... น้อยหน่า. สะเดา. มะเขือเทศ. หางไหล. หนอนตายหยาก.
ด้วงเต่าแตงแดง...... น้อยหน่า. สะเดา. มะเขือเทศ. หางไหล. หนอนตายหยาก.
ด้วงถั่วเขียว............ ว่านน้ำ. น้อยหน่า. สะเดา. หางไหล. สาบเสือ. ดาวเรือง. ยูคาลิปตัส.
ด้วงขนสัตว์ .......... ว่านน้ำ. สะเดา. หางไหล. สาบเสือ. ยูคาลิปตัส. ดาวเรือง.

ด้วงงวงกล้วย........... ว่านน้ำ. พริกสด. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
ด้วงงวงมันเทศ........ ว่านน้ำ. พริกสด. สะเดา. สาบเสือ. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
ด้วงงวงกัดใบ......... ว่านน้ำ. พริกสด. มะกรูด. สาบเสือ. ตะไคร้. บอระเพ็ด.
ด้วงน้ำมัน............... น้อยหน่า. สาบเสือ. ว่านน้ำ. มะระ. ดาวเรือง. มะกรูด.
ด้วงหมัดกล้วย .......ว่านน้ำ. พริกสด. พริกไทย. มะเขือเทศ. สาบเสือ. หนอนตายหยาก.

ด้วงแรดใหญ่................. ว่านน้ำ. หนอนตายหยาก. มะเขือเทศ. ดาวเรือง.
ด้วงแรดเล็ก................... ว่านน้ำ. หนอนตายหยาก. มะเขือเทศ. มะกรูด. ข่า. พริกสด.
ด้วงหมัดสีน้ำเงิน.......... ว่านน้ำ. มะระ. น้อยหน่า. มะกรูด. มะเขือเทศ.
ด้วงหมัดผักแถบลาย..... ว่านน้ำ. สะเดา. มะระ. มะกรูด. มะเขือเทศ. ยาสูบ. ยาฉุน.
ด้วงงวงมะพร้าว............ ว่านน้ำ. สาบเสือ. หนอนตายหยาก. หางไหล. น้อยหน่า. ทรายก่อสร้าง.

ด้วงงวงอ้อย............สะเดา. ว่านน้ำ. บอระเพ็ด. หนอนตายหยาก. มะกรูด. พริกสด.
ด้วงงวงข้าว............ สะเดา. ว่านน้ำ. สะเดา. หนอนตายหยาก. พริกสด. น้อยหน่า.
ด้วงงวงข้าวโพด..... ยาสูบ. ว่านน้ำ. สาบเสือ. สะเดา. หนอนตายหยาก. พริกสด. น้อยหน่า.
ด้วงดำข้าวโพด ...... ยาสูบ. สะเดา. สาบเสือ. น้อยหน่า. พริกสด.
ด้วงหัวไม้ขีด.......... ยาสูบ. สะเดา. ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. สาบเสือ.

มวนแดงฝ้าย....... สะเดา. ว่านน้ำ. สาบเสือ. มะรุม. มะระ. น้อยหน่า.
มวนเขียวข้าว .... น้อยหน่า. บอระเพ็ด. หางไหล. สาบเสือ. ดาวเรือง.
มวนฝิ่น.............. น้อยหน่า. มะระ. ดาวเรือง. หางไหล. สาบเสือ. ว่านน้ำ
มวนอ้อย............ สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนถั่วเขียว ..... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.

มวนขาโต....... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนลำไย ...... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.
มวนโกโก้...... สะเดา. น้อยหน่า. สาบเสือ. มะกรูด. บอระเพ็ด. พริกสด.

เพลี้ยอ่อน........ น้อยหน่า. หางไหล. ยาสูบ. มันแกว. พริกสด. ประทัดจีน. กระเทียม.
เพลี้ยแป้ง ........ กลอย. บอระเพ็ด. พริกสด. พริกไทย. ดาวเรือง. น้อยหน่า. น้อยโหน่ง.
เพลี้ยจักจั่น...... สะเดา. ดาวเรือง. มะเขือเทศ. หางไหล. น้อยหน่า. ทุเรียนเทศ.
เพลี้ยไฟ.......... พริกสด. พริกไทย. ยาสูบ. มะเขือเทศ. สาบเสือ. กระเทียม.
เพลี้ยไก่แจ้ ..... ดาวเรือง. ว่านน้ำ. มะเขือเทศ. ยาฉุน. สาบเสือ. พริกสด. หางไหล. สะเดา

เพลี้ยจักจั่นปีกลาย............ สาบเสือ. มะเขือเทศ. สะเดา. หางไหล. พริกสด. กะเพรา.
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว............. สาบเสือ. มะเขือเทศ. สะเดา. หางไหล. พริกสด. กะเพรา.
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล .... พริกสด. สะเดา. หางไหล. ข่า. กระเพา. น้อยหนา. ดาวเรือง.
เพลี้ยกระโดดหลังขาว...... พริกสด. สะเดา. หางไหล. ข่า. กระเพา. น้อยหน่า. ดาวเรือง.
เพลี้ยหอย.......................... ยาสูบ. ยาฉุน มะระ. มะเขือเทศ. พริกสด. น้ำส้มสายชู+เหล้าขาว.

มอดแป้ง................. น้อยหน่า. ว่านน้ำ. สาบเสือ. มะรุม. ยูคาลิปตัส. ดาวเรือง. มะระ.
มอดหนวดยาว ...... ว่านน้ำ. สะเดา. พริกสด. มะระ. ดาวเรือง. หนอนตายหยาก. หางไหล.
มอดไม้................... ว่านน้ำ. พริกสด. สาบเสือ. สะเดา. หางไหล. หนอนตายหยาก. ดาวเรือง.
มอดเจาะผล............ ว่านน้ำ. พริกสด. มะกรูด. สาบเสือ. ตะไคร้. บอระเพ็ด.
มอดสยาม ............. ว่านน้ำ. หางไหล. สาบเสือ. มะระ. ดาวเรือง.
มอดฟันเลื่อย.......... ว่านน้ำ. น้อยหน่า. พริกสด. มะกรูด. มะระ.
มอดข้าวเปลือก...... มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดข้าวสาร........... มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดแป้ง................. มะกรูด. สาบเสือ. ดาวเรือง. น้อยหน่า. ผกากรอง.
มอดหัวไม้ขีด......... ว่านน้ำ. สะเดา. ยาสูบ. น้อยหน่า. พริกสด.
มอดแดงฝ้าย.......... ว่านน้ำ. สาบเสือ. สะเดา. น้อยหน่า. พริกสด.
ไรแดง ................. ดาวเรือง. มะระ. พริกสด. น้อยหน่า. กระเทียม. สะเดา.
ไรขาว ................. ดาวเรือง. มะระ. พริกสด. น้อยหน่า.

ราน้ำค้าง.............. ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น.
ราสนิม ............... ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น
ราแป้ง................. ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. เปลือกประดู่. งวงกล้วย. กระเทียม. ขมิ้น
ราใบจุด ................. ว่านน้ำ. มังคุด. กระดูกไก่. มะคำดีควาย. เงาะ. ตะบูน. กระเทียม. ขมิ้น.
ราเมล็ดผักกาด....... เหง้ากล้วย. รากหม่อน. กานพลู. มะม่วงหิมพานต์. ขมิ้น.

โรคเหี่ยว .....................มะม่วงหิมพานต์. คื่นช่าย. กานพลู. ตะไคร้หอม. เงาะ. มังคุด. มะรุม
โรคขอบใบไหม้ ......... ว่านน้ำ. ตะไคร้หอม. กระเทียม. รากหม่อน. ตะบูน.
โรคใบติด .................... ว่านน้ำ. กานพลู. ตะบูน. ตะไคร้หอม. มังคุด. เงาะ.
โรครากเน่าโคนเน่า .... รากหม่อน. สะเดา. มะรุม. สาบเสือ. มังคุด. ตะบูน. เงาะ. น้ำปูนใส
โรคกล้าเน่า ................ รากหม่อน. เทียนหยด. น้ำปูนใส. ปรับปรุงบำรุงดิน.

โรคใบกุด .................. ว่านน้ำ. รากหม่อน. ตะไคร้หอม. ตะบูน. มังคุด. เงาะ.
โรคเถาแตก ............... ว่านน้ำ. รากหม่อน. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบแก้ว ................ ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบแก้ว ................ มะรุม. กระเทียม. กระชาย. ข่า. รากหม่อน.
โรคเน่าคอดิน ............ ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

โรคผลเน่า ......... ว่านน้ำ. ตะบูน. มังคุด. เงาะ. กานพลู. กระเทียม.
โรคเน่าผัก.......... กระเทียม. กระดูกไก่. กานพลู. มังคุด. เงาะ. ไพล. ตะบูน.
โรคไส้ดำ........... รากหม่อน. กระเทียม. กระดูกไก่. ปรับปรุงบำรุงดิน. ธาตุรอง/เสริม
โรคไส้เน่า......... รากหม่อน. กระเทียม. กระดูกไก่. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุโบรอน.
โรคใบด่าง......... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.

โรคใบจุดวงแหวน.......... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบหด....................... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคใบขาว...................... กระเทียม. พริกสด. ปรับปรุงบำรุงดิน. ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม.
โรคเหี่ยวสับปะรด.......... กระเทียม. หอมแดง. ฟ้าทะลายโจร. ขิง. ขมิ้น. งวงช้าง. ไพรหญ้า.


สารสมุนไพร :
1. ใบมะกรูด :
ใช้ “ใบมะกรูดสดแก่ หรือ ผลอ่อน” ใส่ในถังข้าวสาร แล้วปล่อยให้แห้งในถังนั้น
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ไล่ (ไม่ใช่ฆ่า) มอดแป้งทำลายข้าวสาร ป้องกันมอดใหม่ มอดเก่า

2. ลูกปะคบ :
ใช้ “ลูกประคบเลิกใช้งานแล้ว 1 ลูก แช่ในน้ำร้อน 20 ล.” คนให้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุน ไพรในลูกประคบออกมา ทิ้งให้เย็น ใช้ได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยจักจั่น. ไรขาว. ไรแดง. ราสนิม. ราน้ำค้าง. ราแป้ง. และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

3. ใบแมงลักคา :
ใช้ “ใบแมงลักคา ตากแห้ง บดป่น” โรยบางๆ รอบจอมปลวก หรือแหล่งที่ปลวกอาศัย
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ไล่ปลวกให้อพยพหนีไปได้

4. ใบขี้เหล็ก :
ใช้ “ใบขี้เหล็กแก่ตากแห้ง หรือ ฝักคูนแก่ตากแห้ง” สับเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมดินปลูกในหลุม และผสมคลุกกับเมล็ดพันธุ์
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอน แมลง เจาะกัดกินเมล็ดพันธุ์

5. ดอกจอก :
ใช้ “ต้นจอกใบใหญ่ สดใหม่ 1 กก. บดละเอียด + น้ำ 10 ล. + แอลกอฮอร์ 100 ซีซี. + น้ำส้ม สายชู 25 ซีซี.” คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี. + น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนใย และทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ ฟักออกเป็นตัวไม่ได้

6. กระเทียม :
หัวกระเทียมสดแก่ 100 กรัม. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 500 ซีซี. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนกระทู้ผัก. ด้วงเต่าโคโลราโด. ผีเสื้อแอปเปิ้ล. ด้วงขนสัตว์. ด้วงถั่วแม็กซิกัน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ. หนอนด้วงดีด. ราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม.

7. สารภี :
เมล็ดสารภีสดแก่จัด บดละเอียด 225 กรัม. แช่น้ำ 1-2 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อพร้อมใช้” ใช้งานได้เลย .... ใช้ “หัวเชื้อพร้อมใช้” ฉีดพ่นได้เลยตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยอ่อน. หนอนใยผัก. เต่าแตง. หนอนผีเสื้อกะหล่ำ. หนอนแตงเทศ. ไร. ด้วงงวงช้าง.

8. ประทัดจีน :
ลำต้นประทัดจีนสดแก่จัด 500 กรัม. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 10 ล. นาน 30 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยอ่อน. หนอนใยผัก. หนอนชอนใบ. หนอนแตงเทศ. ด้วงเต่าโคโลราโด. ไร.

9. ยาสูบ :
ใบ/ก้านใบ/ไส้ในลำต้น สดแก่ยาสูบ 250 กรัม. บดละเอียด แช่น้ำ 9 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยอ่อน. หนอนกะหล่ำ. หนอนผีเสื้อ. หนอนเจาะลำต้น. ด้วงหมัดกระโดด. ด้วงงวงทำลายเมล็ด. หนอนชอนใบ. ไร. เพลี้ยไฟ. ราสนิม. โรคราในมันฝรั่ง. ไวรัสโรคใบหงิก.

10. หางไหล :
ใช้รากสดหางไหลขาว/แดงแก่จัดสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 100 ล.นาน 48 ชม.ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ..... ใช้ “หัวเชื้อ” ฉีดพ่นได้เลยตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
พืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. ทำให้ไข่แม่ผีเสื้อฝ่อ. หนอนเจาะเมล็ดถั่ว. หนอนกระทู้ผัก. หนอนเจาะสมอฝ้าย. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนกินใบแตง. หนอนกินใบทั่วไป. เพลี้ยอ่อน. ด้วงหมัดผัก. แมลงวันผลไม้ทั่วไป. และโรคราบลาสของข้าว

11. ว่านน้ำ :
เหง้าว่านน้ำ สด แก่จัด สับเล็ก 30 กรัม แช่น้ำเปล่า 4 ล. นาน 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ. แมลงวันแตง. แมลงวันทอง. ด้วงหมัดผัก. หนอนทุกชนิด. แมลงในโรงเก็บ. ด้วงงวงข้าว. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว. มอดข้าวเปลือก. แมลงปากกัด/ปากดูด.

12. สาบเสือ :
ทุกส่วนของสาบเสือ ช่วงที่กำลังออกดอก บดหรือโขลกพอแหลก สาบเสือสด 1 กก. แช่น้ำ 5 ล. นาน 24 ชม. หรือสาบเสือแห้ง 1 กก. แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” .... ใช้ “หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นได้เลยตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ทำให้ไข่แม่ผีเสื้อฝ่อ. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว. เพลี้ยหอย. เพลี้ยอ่อน. หนอนกระทู้กัดต้น. หนอนกระทู้ควายพระอินทร์. หนอนใยผัก. รา. ไวรัส. แบคทีเรีย.

13. ขมิ้นชัน :
หัวขมิ้นชัน สด แก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก 500 กรัม. แช่น้ำ 2 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ. หนอนใยผัก. หนอนกระทู้ผัก. หนอนหลอดหอม. หนอนคืบ. หนอนกระทู้. ด้วงงวง. ด้วงถั่วเขียว. มอดข้าวเปลือก. มอดแป้ง. รา. ไร.

14. พริกสด :
พริกสดแก่เผ็ดจัด บดละเอียด 100 กรัม. แช่น้ำ 1 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” ใช้งานได้เลย .... ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยไฟ. หนอนต่างๆ. ด้วงปีกแข็ง. ด้วงใบข้าว. ด้วงเต่าโคโลราโด. รา. แบคทีเรีย. แมลงในโรงเก็บ. มด. ไวรัสใบด่างแตง. ไวรัสใบจุดวงแหวนแตง. ไวรัสใบหดยาสูบ. ไวรัสใบด่างยาสูบ. ไวรัสใบจุดวงแหวนยาสูบ.

15. ดาวเรือง :
ดอกดาวเรืองสด 500 กรัม. ต้มในน้ำ 4 ล. นาน 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เพลี้ยจักจั่น. แมลงหวี่ขาว. แมลงวันผลไม้. ตั๊กแตน. หนอนผีเสื้อกะ โหลก. หนอนใยผัก. หนอนกะหล่ำปลี. ด้วงปีกแข็ง. ไส้เดือนฝอย (รากปม).

16. มะเขือเทศ :
ใบมะเขือเทศสด แก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก 300 กรัม” แช่น้ำ 5 ล. นาน 24 ชม.หรือต้ม 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้.... ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ด้วงปีกแข็ง. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยไฟ. ไรขาว. ไรแดง. แมลงหวี่ขาว. ราสนิม. ราน้ำค้าง. ไส้เดือนฝอย (รากปม).

17. มะระขี้นก :
ใบมะระขี้นกสดแก่จัด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. หรือแช่ในแอลกอฮอล์พอท่วม นาน 20 นาที แล้วนำขึ้นอุ่นไฟ 2 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ด้วงหมัดผัก. หนอนกอ. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. แมลงสิง. แมลงบ่วง.

18. มะละกอ :
ใบมะละกอสดแก่จัด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ราสนิม. ราแป้ง. ราน้ำค้าง.

19. ยาฉุน :
ยาฉุนแห้ง 1 กก. แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. หรือต้มเคี่ยวนาน 1 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ด้วงหมัดผัก. หนอนหนังเหนียว. หนอนเจาะสมอฝ้าย. หนอนชอนใบ. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยไก่แจ้. เพลี้ยจักจั่น. ไรแดง. ไรขาว.

20. คูนฝักคูน :
ฝักคูนแก่จัด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 72 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ. ขับไล่แมลงปากกัด/ปากดูด.

21. ผกากรอง :
เมล็ด/ดอก/ใบ ผกากรองสดแก่จัด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อของหนอนหนังเหนียว-หนอนห่อใบข้าว-หนอนม้วนใบ-หนอนหลอดหอม-หนอนกระทู้ผัก-หนอนคืบกะหล่ำ ไม่ให้เข้าวางไข่ ทำให้ไข่แม่ผีเสื้อฝ่อ

22. โหระพา :
ใบ/เมล็ดโหระพาแก่สดใหม่ 1/2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 100 ล. นาน 1-2 ชม. ใช้งานได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่. เพลี้ยอ่อน. ด้วงโคโลราโด. หนอนเจาะหัวมันเทศ. แมลง วันผลไม้.

23. สลอด :
เมล็ด/รากสลอด1/2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 100 ล. นาน 24 ชม. ใช้งานได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยอ่อน. หนอนกระทู้. หอยทาก. หนอนไหม.

24. ยูคาลิปตัส :
ใบสดแก่ยูคาลิปตัส 1/2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 100 ล. นาน 1-2 ชม. ใช้งานได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่, ใบแห้งคลุกดินหลุมปลูก ป้องกันแมลงศัตรูพืชในดิน

25. มันแกว :
เมล็ดสดแก่มันแกว 1/2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ใช้งานได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนหนังเหนียว. หนอนกระทู้. หนอนคืบ. หนอนเจาะต้น/ดอก/ผล. หมัดกระโดด. มวนเขียว. แมลงปากกัด/ปากดูด.

26. กระเทียม :
นำกระเทียมสด 500 กรัม ทุบให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปแช่ในน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันเบนซิน 80 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ 1-2 คืน กรองเอาแต่สารละลาย เติมน้ำสบู่ลงไปอีก 100 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 เท่า นำไปพ่นที่แปลงผัก
ศัตรูพืชเป้ามาย :
เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนด้วยดีด หนอนแตง และด้วงหมัด

27. เหง้าข่า :
บดพืชแห้งทั้งหมดผสมให้เข้ากัน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำที่ได้ไปฉีดพ่นแมลง
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนใยผักและหนอนกระทู้ได้เป็นอย่างดี

28. สะเดา :
เมล็ดในของสะเดาไทย/สะเดาอินเดีย/สะเดาช้าง/เลี่ยน/ควินิน แก่จัดตากแห้งหรือสดบด 1 กก. แช่น้ำ 20 ล. นาน 12-24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยอ่อนทั่วไป. เพลี้ยอ่อนฝ้าย. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว. เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล. เพลี้ยกระโดดหลังขาว. ผีเสื้อมวนหวาน. หนอนกอสีครีม. หนอนเจาะบัว. หนอนม้วนใบข้าว. หนอนชอนใบส้ม. หนอนกระทู้กัดต้น. หนอนกระทู้ควายพระอินทร์. หนอนกระทู้ดำ. หนอนกะหล่ำใหญ่. หนอนชอนใบทั่วไป. หนอนใยผัก. หนอนกอข้าว. หนอนกอลายจุด. หนอนแก้ว. ด้วงเต่าฟัก ทอง. ด้วงเต่าโคโลราโด. ด้วงหมัดผัก. ตั๊กแตน. เต่ามะเขือ. ไส้เดือนฝอย (รากปม). แมลงหวี่ขาว. แมลงในโรงเก็บ. ไร.

29. ตะไคร้ :
- ตะไคร้หอม/ตะไคร้แกงทั้งต้นสดแก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก ½ กก. แช่น้ำ 20 ล.+เหล้าขาว 1 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

- ตะไคร้หอม/ตะไคร้แกงทั้งต้นสดแก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก ½ กก. แช่เมทธิลแอลกอฮอล์พอท่วม นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

- ตะไคร้หอม/ตะไคร้แกงทั้งต้นสดแก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก ใส่น้ำพอท่วมแล้วกลั่น น้ำกลั่น 2 ล. แรกได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งานใช้ “หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อของหนอนใยผัก/หนอนคืบกะหล่ำ/หนอนกระทู้/หนอนหนังเหนียว ไม่ให้เข้าวางไข่. เพลี้ยไฟ. ราสนิม. ราน้ำค้าง. โรคใบจุด. ไวรัสใบด่าง/ใบจุด.

30. บอระเพ็ด :
เถาบอระเพ็ดสดแก่จัด หั่นเป็นชิ้น 5 กก.แช่น้ำ 12 ล.นาน 2 ชม.ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

- ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น” คลุกเมล็ดพันธุ์ ช่วยป้องกันแมลงในหลุมปลูกทำลายเมล็ด และกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์

- ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกัน/กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เพลี้ยจักจั่น. หนอนกอ. แมลงสิง. แมลงบั่ว. โรคยอดเหี่ยว. โรคข้าวตายพราย. โรคข้าวลีบ.

31. ก้านยาสูบ :
ใช้ “ก้านยาสูบสด 24 กก.” หว่านในนา 1 ไร่ ระดับน้ำลึก 5 ซม. ทิ้งไว้ 15 วัน จึงหว่านหรือดำ

ศัตรูพืชเป้เหมาย :
ช่วยป้องกันหนอนกอ. หนอนเจาะลำต้น.

32. ปะทัดจีน :
ใช้ทุกส่วนของต้น “ประทัดจีน ½ กก. + สบู่ผง ½ กก. + น้ำ 20 ล.” ยกขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ จนกระทั่งสบู่ละลายดี ยกลงทิ้งให้เย็น ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน. เพลี้ยแป้ง. มดดำ. แมลงปากกัด/ปากดูด.

33. กาบมะพร้าว :
ใช้ “มะพร้าวแห้งทั้งลูก หรือ กาบมะพร้าวสับใหญ่ + ปุ๋ยคอก + กระดูกป่น” วางไว้รอบๆ แปลงปลูกแตงโม. ฟักเขียว. ฟักทอง. ถั่วลิสง.
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เป็นเหยื่อล่อเสี้ยนดินให้เข้ามากัดกินจากนั้นให้ใช้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้นราดรดกำจัดเสี้ยนดินต่อไป

34. พลูต้น :
ปลูก “ต้นพลูกินหมาก” ที่โคนต้นลองกอง. ลางสาด.
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
กลิ่นจากใบพลูจะช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อหนอนเจาะเปลือกไม่ให้เข้าวางไข่

35. ปูนกินหมาก :
ใช้ “ปูนกินหมาก” สีขาวหรือแดงก็ได้ ขนาดเท่าผลมะนาว ผสมน้ำ 20 ล. คนให้ละลายดี กรองกากออก ฉีดพ่นต้นมะนาว ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดแคงเคอร์ (ขี้กลาก) ในส้ม มะนาว มะกรูด

36. มะกรูด :
ใช้ “ผลมะกรูดสดแก่จัด 5-10 ผล” ใส่ตะกร้าในถังน้ำ เขย่าแรงๆ ให้เปลือกช้ำกลิ่นมะกรูดออกมา นำน้ำที่ได้สาดใส่นาข้าวช่วงที่ข้าวกำลังเจริญเติบโต
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
กลิ่นผิวมะกรูดจะช่วยขับไล่หอยเชอรี่ให้หนีไปได้



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/09/2024 8:32 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 24/01/2024 2:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
37. เปลือกมังคุด :
ใช้เปลือกมังคุด 1 กก. บดละเอียด ใส่น้ำ 10 ล.เคี่ยวไฟให้เหลือ 5 ล.ทิ้งให้เย็น ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน...ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. โรคแอนแทร็คโนส. โรคขอบใบไหม้. ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. แมลงปากกัด/ปากดูด. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยแป้ง. หนอนต่างๆ.

38. ควันไล่แมลง :
ก่อไฟถ่านหรือฟืนในเตา ได้เปลวไฟแล้วใช้ “สาบเสือ. ตะไคร้. กะเพราผี.” อย่างใดอย่างหนึ่งสดๆ ใส่ลงไปให้เกิดควัน เสริมด้วยกำมะถัน หรือการบูรด้วยการโรยบางๆ คอยย้ายเตาให้อยู่เหนือลม เพื่อให้ควันพุ่งเข้าสู่ทรงพุ่ม

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยขับไล่เพลี้ยจักจั่น. เพลี้ยไก่แจ้. แมลงหวี่ขาว. ที่เข้ามาดูดใบเลี้ยงช่อดอกช่วงดอกตูมได้

39. บัวตอง :
ใช้ใบแก่ ดอกบัวตอง 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่เมทานอลพอท่วม นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าตรู่น้ำค้างยังไม่แห้ง ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยป้องกันกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราสนิม และแบคทีเรีย.

40. มะกรูด :
ใช้ใบแก่ ผิวมะกรูด 2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยขับไล่และกำจัดแมลงปากกัด/ปากดูด. ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

41. ตะไคร้หอม :
ใช้ทุกส่วนของต้นตะไคร้หอม 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้ม ข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนกระทู้. หนอนหนังเหนียว. หนอนใยผัก. หนอนเจาะผล

42. คื่นช่าย :
ใช้ใบแก่คื่นฉ่าย 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดราเม็ดผักกาด.

43. ละหุ่ง :
ใช้ผลแก่ละหุ่ง 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อไส้เดือนฝอย (รากปม).


44. เทียนหยด :
ใช้ลูกแก่เทียนหยด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้ม ข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อรารากเน่า โคนเน่า (ไฟธอปเทอรา)

45. มะม่วงหิมพานต์ :
ใช้เปลือกมะม่วงหิมพานต์ 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าตรู่ก่อนน้ำค้างแห้ง ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อราใบจุด (อัลเทอนาเรีย)

46. เงาะ :
ใช้เปลือกเงาะสด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน.... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อราโรคเหี่ยวโคนเน่า (ไรซ็อคโธเนีย)

47. กานพลู :
ใช้ใบแก่กานพลู 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น ช่วงเช้าตรู่ก่อนน้ำค้างแห้ง ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยกำจัดเชื้อราโรคผลเน่า (แอนแทร็คโนส)

48. แสลงใจ :
ใช้ใบแก่ ฝักสด แสลงใจ 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนกระทู้. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ.

49. พริกแกง :
ใช้ “น้ำพริกแกงส้ม/เผ็ด/เขียวหวานสดใหม่จากครก” ขนาดเท่าผลมะนาว ผสมน้ำเปล่า 20 ล. คนเคล้าให้กระจายตัวดี กรองกากออก ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืชเป้าหมาย : ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. หนอนต่างๆ. แมลงปากกัด/ปากดูด. ไร. ไวรัสใบด่างมะละกอ/กระเจี๊ยบเขียว. ไวรัสใบหงิกพริก.

50. สบู่ดำ :
ใช้ใบแก่สบู่ดำ 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น ช่วงเช้าตรู่ก่อนน้ำค้างแห้ง ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดหนอน แมลงปากกัดปากดูด

51. ด้ายชุบน้ำขมิ้นชัน :
ใช้เส้นเชือกหรือด้ายขนาดเขื่องชุบน้ำพอเปียก คลุกผงขมิ้นชัน ขึงระหว่างต้นไม้หรือหลักในสวน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
กลิ่นขมิ้นชันจะขับไล่แมลงแม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

52. ขี้เถ้า + น้ำมันก๊าด :
ใช้ “ขี้เถ้าไม้ 1 กก. + น้ำมันก๊าด 6 ช้อนชา” คนเคล้าให้เข้ากันดี ใช้โรยบนพื้นดินบริเวณแปลงปลูก ช่วงเช้าก่อนแดดออก อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยขับไล่แมลงปากกัด/ปากดูด ไม่ให้เข้าวางไข่

53. ยาสูบ + สบู่ผง :
ใช้ “ยาสูบ ½ กก. + สบู่ผง 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำ 9 ล.” คนเคล้าให้สบู่ละลายดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดหนอนผีเสื้อ. ด้วง. หนอนเจาะลำต้น. หนอนชอนใบ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยแป้ง.

54. ขมิ้นชัน + ปัสสาวะ :
ใช้ “ขมิ้นชัน” บดหรือโขลกพอแหลก 1 กก. แช่ในน้ำปัสสาวะวัว 10 ล.นาน 24 ชม.ได้ “หัวเชื้อเข้ม ข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ และกำจัดหนอนกระทู้

55. เกลือ + ปุ๋ยคอก :
ใช้ “เกลือแกง 1-2 กำมือ + ปุ๋ยคอกแห้งเก่าค้างปี 10-20 กก.” ผสมคลุกเคล้าเข้ากันดี รองก้นหลุมก่อนปลูกหน่อกล้วย
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดด้วงงวงและหนอนเจาะเหง้ากล้วย

56. หางไหล + แป้งผง :
ใช้ “หางไหลแห้งบดละเอียด 100 กรัม + ผงแป้ง 1 กก.” ผสมคลุกให้เข้ากันดี โรยบนใบหรือกอกะหล่ำปลี. กะหล่ำดอก. บร็อคโคลี่.
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดหนอนคืบ

57. หมาก-มังคุด-แค-รากหม่อน :
ผลหมากสดแก่ หรือเปลือกมังคุดสด/แห้ง หรือเปลือกต้นแคสด หรือรากหม่อนสดแก่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก.บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
โรคขอบใบไหม้. โรคใบจุด. โรคผลเน่า. รากินเปลือก/กิ่ง. ราสนิม. ราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราเม็ดผักกาด. แบคทีเรีย. ไส้เดือนฝอย (รากปม).

58. สะเดา + ยาสูบ :
ใช้อย่างละเท่าๆ กัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนกระทู้ผัก. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนม้วนใบ. หนอนแปะใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะสมอฝ้าย. หนอนหลอดหอม. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน.

59. สะเดา + ตะไคร้หอม + บอระเพ็ด :
ใช้สะเดา 3 กก. ตะไคร้หอม 1 กก. บอระเพ็ด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนศัตรูผักทุกชนิด. แมลงปากกัด/ปากดูด.

60. สะเดา + ข่า + ฟ้าทะลายโจร :
ใช้เมล็ดในสะเดา 1 กก. หัวข่าสดแก่ 1 กก. ฟ้าทะลายโจรสดแก่ทั้งต้น 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก รวมกันแช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนเจาะยอด/ต้น/ดอก/ผล. หนอนชอนใบ. หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยแป้ง. ราดำ. ไรแดง. ไรขาว.

61. สะเดา + ข่าลิง + กระเทียม :
ใช้เมล็ดในสะเดา 1 กก. หัวข่าลิงสดแก่จัด 1 กก. น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะยอด/ดอก/ผล. ด้วงกัดใบ. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยแป้ง. ราเขียว. ราสีชมพู.


62. สาบเสือ + ว่านกาบหอย + กระเพาผี :
สาบเสือแห้ง/สดทั้งต้น 1 กก. ว่านกาบหอยสดแก่จัด 1 กก. ใบกะเพราผีสดแก่จัด 1 กก. รวมกันบดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 10 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะยอด/ผล/ดอก. ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

63. กลอย + สาบเสือ + สะเดา + ตะไคร้หอม + หางไหล :
หัวกลอยสดแก่ 1 กก. สาบเสือแห้ง/สดทั้งต้น 1 กก. เมล็ดในสะเดา 1 กก. ตะไคร้หอมทั้งต้น 1 กก. หางไหล 1 กก. รวมกันบดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน..ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนพืชทุกชนิด. แมลงปากกัด/ปากดูดทุกชนิด

64. ยาน็อคหนอน :
ใช้ “หัวกลอยสด + เมล็ดน้อยหน่า + เมล็ดมันแกว + เปลือกต้นซากสด” อย่างละ 1 กก. บดละเอียด แช่ในแอลกอฮอร์พอท่วม นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้วเติมน้ำเปล่า 100 ล. + น้ำส้มสายชู 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี. + น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพืช
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนทุกชนิดเมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์จะตายทันที สารออกฤทธิ์แรงเทียบเท่าสาร เคมีประเภทยาน็อค ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะสมุนไพรทั้ง 4 ตัวนี้มีสารเบื่อเมาเป็นอันตรายต่อคน

65. ขมิ้น + สะเดา + ยาสูบ :
ใช้ “ขมิ้น สะเดา ยาสูบ” อย่างละ 1-2 กำมือ บดหรือโขลกพอแหลก แช่ในน้ำ 10 ล. ใส่ “มูลวัว/ควาย” สดใหม่ 1 กก. แช่นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ..... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดโรคไวรัสใบด่าง. โรคไวรัสใบหงิก. และไร.

66. ยาสูบ + ปูนขาว + บอระเพ็ด :
ใช้ “ยาสูบ ½ กก. + ปูนขาว ½ ช้อนโต๊ะ + น้ำคั้นต้นบอระเพ็ด ½ ถ้วย + น้ำเปล่า 4 ล.” คนเคล้าให้เข้ากันดี แช่นาน 24 ชม. “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดโรคไวรัสใบหงิก. โรคไวรัสใบด่าง.

67. กระเทียม + พริกป่น :
ใช้ “หัวกระเทียมสดโขลก 2 หัว + พริกป่น 200 กรัม + สบู่ก้อนเท่าหัวแม่มือ” ใส่ในน้ำร้อน 4 ล. คนเคล้าให้สบู่ละลายดี ทิ้งให้เย็น ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดหนอนผีเสื้อ. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. ไรขาว. ไรแดง. แมลงปากกัด/ปากดูด.

68. สะเดา + บอระเพ็ด :
ใช้ “สะเดาตากแห้งบดป่น 1 กก. + เถาบอระเพ็ดตัดสั้น 1-2 นิ้วตากแห้ง 1 กก.” แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. นำเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกลงแช่นาน 24 ชม.
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดเชื้อโรคปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ และป้องกันหนอนกอได้อีกด้วย

69. น้ำส้มสายชู + มะกรูด :
ใช้ “หัวน้ำส้มสายชู 5% 500 ซีซี.+ น้ำผิวมะกรูด 250 ซีซี.” คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยแป้ง. เพลี้ยจักจั่น. ไรขาว. ไรแดง.

70. น้อยหน่า มันแกว สลอด แสลงใจ :
ใช้ “น้อยหน่า. มันแกว. สลอด. แสลงใจ.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน.....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เน้นที่ผลแก่มากๆ ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือฉีดพ่นวันละ 2 รอบ ช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “กำจัด” (เป็นพิษ) แมลงวันผลไม้ทั่วๆ ไป

71. 18 สมุนไพร :
ใช้ “ข่าเล็ก. น้อยหน่า. หมาก. โกฏจุฬาลัมภา. ส้ม. สลอด. มะริดไม้. พญาไร้ใบ. เลี่ยน. เงาะ. ยาสูบ. มหาประสาน. พริกไทย. หนอนตายหยาก. บัวตอง. ขิง. ช้างคลาน. พระตะบะ.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เน้นที่ผลแก่มากๆ ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือ ฉีดพ่นวันละ 2 รอบช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “กำจัด” (เป็นพิษ) แมลงวันทอง

72. 20 สมุนไพร :
ใช้ “คำแสด. พลับพลึง. ว่านชักมดลูก. ตะไคร้หอม. ลำโพง. เขียวหมื่นปี. ซือแซ. เสน่ห์จันทร์โกเมน. เลี่ยน. มะระ. พลูฉีก. แก้ว. ยี่โถ. กะเพราช้าง/ขาว/แดง. เล็บมือนาง. หางนกยูงไทย. ต้อยติ่ง. ต๋อก๋ง.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบบริเวณที่ห่างไกลจากต้นไม้ผลประธาน ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือ ฉีดพ่นวันละ 2 รอบช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “ล่อ” แมลงวันทองให้เข้าหา

73. 11 สมุนไพร :
ใช้ “กระเทียม. สะเดา. มะกรูด. แตงไทย. ข่าดง. พญางวงช้าง. ลำดวน. ละหุ่ง. พระตะบะ. เอ็นหลวง. มหากำลัง.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เน้นที่ผลแก่มากๆ ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มากนัก หรือ ฉีดพ่นวันละ 2 รอบช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “ไล่” แมลงวันทองให้หนีไป

74. ยูคาลิปตัส + ขมิ้นชัน :
ใบสดแก่ยูคาลิปตัส 2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก + ผงขมิ้นชัน 2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำ 2 ล.ต้มนาน 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ. หนอนใยผัก. หนอนหลอดหอม. หนอนคืบ. หนอนกระทู้. ด้วงงวง. ด้วงถั่วเขียว. มอดข้าวเปลือก. มอดแป้ง. รา. ไร

75. น้อยหน่า + น้อยโหน่ง + ทุเรียนเทศ :
เมล็ด/ใบสดแก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก 1 กก.แช่น้ำ 10 ล.นาน 24 ชม. หรือ ต้ม 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 2-3 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ตั๊กแตน. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เพลี้ยกระโดดหลังขาว. หนอนใยผัก. หนอนกระทู้. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนหลอดหอม. หนอนกอข้าว. มอดแป้ง. มอดฟันเลื่อย. ด้วงเต่าฟักทอง. ด้วงเต่าแตง. มวนเขียว.

76. ยูคาลิปตัส + ขมิ้นชัน :
ใบสดแก่ยูคาลิปตัส 2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก + ผงขมิ้นชัน 2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำ 2 ล. ต้มนาน 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อ. หนอนใยผัก. หนอนหลอดหอม. หนอนคืบ. หนอนกระทู้. ด้วงงวง. ด้วงถั่วเขียว. มอดข้าวเปลือก. มอดแป้ง. รา. ไร

77. น้อยหน่า + น้อยโหน่ง + ทุเรียนเทศ :
เมล็ด/ใบสดแก่จัด บดหรือโขลกพอแหลก 1 กก. แช่น้ำ 10 ล. นาน 24 ชม. หรือต้ม 15-20 นาที ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 2-3 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ตั๊กแตน. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เพลี้ยกระโดดหลังขาว. หนอนใยผัก. หนอนกระทู้. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนหลอดหอม. หนอนกอข้าว. มอดแป้ง. มอดฟันเลื่อย. ด้วงเต่าฟัก ทอง. ด้วงเต่าแตง. มวนเขียว.

78. เครือบักแตก. ค้อแลน. ตีนตั่งน้อย. ส้มกบ. ปลีขาว. เก็ดลิ้น. ทองพันชั่ง. พวงพี่. เข็มขาว. ทวดข่าบ้าน :
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็นทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนกระทู้. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนม้วนใบ. หนอนเจาะต้น/ดอก/ผล. หนอนหนังเหนียว.

79. ว่านไฟ. ขมิ้นเครือ. ภังคีน้อย. หัวข่อ. ลิงไคต้น. พะยอม. ไพล. แก่นคลี. ดีปลีเชือก. แก่นประดู่ :
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็นทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ราสนิม. ราแป้ง. ราแอนแทร็คโนส. โรคใบจุด. โรคขอบใบไหม้. ราเม็ดผักกาด. แคงเคอร์.

80. หมาก-มังคุด-แค-รากหม่อน
ผลหมากสดแก่ หรือเปลือกมังคุดสด/แห้ง หรือเปลือกต้นแคสด หรือรากหม่อนสดแก่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
โรคขอบใบไหม้. โรคใบจุด. โรคผลเน่า. รากินเปลือก/กิ่ง. ราสนิม. ราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราเม็ดผักกาด. แบคทีเรีย. ไส้เดือนฝอย (รากปม).

81. สะเดา + ยาสูบ
ใช้อย่างละเท่าๆ กัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนกระทู้ผัก. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ. หนอนม้วนใบ. หนอนแปะใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะสมอฝ้าย. หนอนหลอดหอม. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน.

82. สะเดา + ตะไคร้หอม + บอระเพ็ด
ใช้สะเดา 3 กก. ตะไคร้หอม 1 กก. บอระเพ็ด 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนศัตรูผักทุกชนิด. แมลงปากกัด/ปากดูด.

83. สะเดา + ข่า + ฟ้าทะลายโจร
เมล็ดในสะเดา 1 กก. หัวข่าสดแก่ 1 กก. ฟ้าทะลายโจรสดแก่ทั้งต้น 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก รวมกัน แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
พืชเป้าหมาย :
หนอนเจาะยอด/ต้น/ดอก/ผล. หนอนชอนใบ. หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยแป้ง. ราดำ. ไรแดง. ไรขาว.

84. สะเดา + ข่าลิง + กระเทียม
เมล็ดในสะเดา 1 กก. หัวข่าลิงสดแก่จัด 1 กก. กระเทียม 200 กรัม โขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะยอด/ดอก/ผล. ด้วงกัดใบ. เพลี้ยไฟ. เพลี้ยแป้ง. ราเขียว. ราสีชมพู.

85. สาบเสือ + ว่านกาบหอย + กระเพาผี
สาบเสือแห้ง/สดทั้งต้น 1 กก. ว่านกาบหอยสดแก่จัด 1 กก. ใบกระเพาผีสดแก่จัด 1 กก. รวมกันบดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 10 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
หนอนม้วนใบ. หนอนแก้ว. หนอนชอนใบ. หนอนเจาะยอด/ผล/ดอก. ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

86. กลอย + สาบเสือ + สะเดา + ตะไคร้หอม + หางไหล
หัวกลอยสดแก่ 1 กก. สาบเสือแห้ง/สดทั้งต้น 1 กก. เมล็ดในสะเดา 1 กก. ตะไคร้หอมทั้งต้น 1 กก. หางไหล 1 กก. รวมกัน บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. หนอนพืชทุกชนิด. แมลงปากกัด/ปากดูดทุกชนิด

87. น้ำเปล่า :
- ฉีดพ่นตอนเที่ยง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้งสีชมพู
- ฉีดพ่นเช้ามืด ล้างน้ำค้าง ไม่ให้น้ำค้างแห้งคาต้น ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
- ฉีดพ่นตอนค่ำ ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่
- ฉีดพ่นหลังฝนต่อแดด (ฝนตกกลางวัน หยุดแล้วแดดออก) ไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้น ป้องกัน/กำจัด ราแอนแทร็คโนส

88. นมสด :
ใช้ “นมสดจืด/เปรี้ยว/หวาน 200 ซีซี. + น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกมากๆ ทั้งใต้ใบบนใบ ลงถึงพื้นดินโคนต้น ช่วงเที่ยงวันแดดจัด ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ. ไรแดง. ไรขาว.

89. นมเหลือง :
ใช้ “นมเหลืองแม่วัวสดใหม่ 3 ล.+ กากน้ำตาล 1 ล.+ จุลินทรีย์เล็กน้อย” คนเคล้าให้เข้ากันดี ระวังอย่าให้แมลงตอมเพราะจะทำให้เกิดหนอน ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง หมักนาน 3-7 วัน ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน .... ช่วยกำจัดเชื้อราเม็ดผักกาด. ราแอนแทร็คโนส. ราสนิม. ราน้ำค้าง. โรคขอบใบไหม้. โรคผลจุดผลเน่า.

90. สบู่เหลว หรือน้ำยาล้างจาน :
ใช้ “น้ำยาล้างจาน 1 ช้อนชา + น้ำ 5 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยแป้ง.

91. สบู่ผง หรือผงซักฟอก :
ใช้ “ผงซักฟอก 500 กรัม + น้ำ 4 ล.” ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวพอให้สบู่ละลาย ยกลงทิ้งให้เย็น แล้วใส่ “น้ำมันก๊าด 8 ล.” คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” ลักษณะคล้ายวุ้น พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. มวน. ไร. แมลงปีกแข็ง. แมลงปากกัด/ปากดูด.

92. แป้งผง :
ใช้ “แป้งทาตัว 2 ถ้วย + ไขมันนม 1 ถ้วย + น้ำ 10 ล.” คนเคล้าให้เข้ากันดี คนบ่อยๆ อย่าให้นอนก้น ใช้งานได้เลย ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าแดดยังไม่ร้อน ถึงยามสายแสงแดดเริ่มร้อนผงแป้งจะจับบนตัวแมลง ทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายไปเอง
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. ไรขาว. ไรแดง.

93. เกลือแกง :
ใช้ “เกลือแกง 1 กำมือ” หรือ “เกลือแกงคลุกน้ำมันขี้โล้” ใส่ใจกลางจอมปลวก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ขับไล่ปลวกให้อพยพหนีไปได้

94. ปูนขาว :
ใช้ “ปูนขาว 1 ถุง (5 กก.) แช่น้ำ 50 ล.” คนให้ละลายดี ทิ้งไว้ 1 คืน ให้กากนอนก้น ได้ “หัวเชื้อน้ำปูนใส” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 100-200 ซีซี. /น้ำ 100 ล.” ราดรดโคนต้นในแปลงผัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด โรคโคนเน่ารากเน่า. กาบเน่า. ใบเน่า.

95. เหล้าขาว-น้ำส้มสายชู :
ใช้ “เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายชู 250 ซีซี.” คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ..
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยอ่อน. แมลงปากกัด/ปากดูด.

96. ขี้เถ้าผกากรอง :
ใช้ “ขี้เถ้าผกากรอง 1 กำมือ/น้ำ 20 ล.” คนให้ละลายดี กรองกากออก ฉีดพ้นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
เพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยจักจั่น.

97. น้ำมันก๊าด :
ใช้ “น้ำมันก๊าด 50 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตามลำต้นให้เปียกโชก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดตะไคร่หรือคราบเชื้อราออกจากเปลือกต้นไม้ผล ทำให้โคนต้นสะอาด

98. หมึกพิมพ์ :
ใช้ “กระดาษหนังสือพิมพ์” ขยำน้ำให้หมึกพิมพ์ออกมา กรองกากออก แล้วฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดเพลี้ยไฟ. และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

99. กาวเหนียว :
ใช้กาวเหนียวดักแมลง ทาโคนต้น
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ป้องกันมดแดงขึ้นไปทำรัง หรือคาบเพลี้ยแป้งขึ้นไปบนต้น

100. ขี้เลื่อย :
ใช้ “ขี้เลื่อยไม้จริงแห้งเก่า 1 ส่วน + รำละเอียด 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน” คลุกเคล้านวดให้เข้ากันดีจนเหนียว เป็นเหยื่อล่อโดยนำไปวางไว้บนพื้นดินตามแหล่งที่มีหนอนกระทู้ระบาดอย่างรุนแรง
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ตอนค่ำเมื่อหนอนกระทู้ได้กลิ่นกากน้ำตาลจะมากินเหยื่อล่อด้วยความเอร็ดอร่อยจนเดินไม่ไหว กับถูกความเหนียวของเหยื่อล่อจับติดตามตัวไปไหนไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องถูกแดดในวันรุ่งขึ้นเผาตายหรือตกเป็นเหยื่อของนกและมดต่อไป

101. มูลวัวควาย :
ใช้ “มูลวัว/ควายสดใหม่ 1 กก.+ น้ำ 100 ล.” กรองกากออกใช้ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน ....
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดเพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น. ไรขาว. ไรแดง.

102. ปัสสาวะวัวควาย :
ใช้ “น้ำปัสสาวะวัว/ควาย 100-200 ซีซี.+ น้ำ 100 ล.” ใช้ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยกำจัดเพลี้ยไฟ. เพลี้ยอ่อน. เพลี้ยจักจั่น. ไรขาว.ไรแดง.

103. ปูนขาว :
ใช้ “ปูนขาว 1 ถุง (5 กก.) แช่น้ำ 50 ล.” คนให้ละลายดี ทิ้งไว้ 1 คืนให้กากนอนก้น ได้ “หัวเชื้อน้ำปูนใส” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อน้ำปูนใส 100-200 ซีซี./น้ำ 100 ล.” ราดรดโคนต้นในแปลงผัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดโรคโคนเน่า รากเน่า. กาบเน่า. ใบเน่า.

105. ขี้เถ้า + ปูนขาว :
ใช้ “ขี้เถ้าไม้ ½ ถ้วย + ปูนขาว ½ ถ้วย + น้ำ 4 ล.” คนให้ละลายดีแล้วทิ้งให้นอนก้น ได้ “หัวเชื้อน้ำใส” พร้อมใช้งาน ..... ใช้ “หัวเชื้อน้ำใส 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยป้องกันและกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ และเต่าแดง

106. สารจับใบธรรมชาติ :
ใช้ “น้ำยาล้างจาน 10-20 ซีซี.” หรือ “น้ำยางสดต้นสบู่ต้น 5-10 ซีซี.” หรือ “น้ำยางสดยางพารา 1-2 ซีซี.” หรือ “เกล็ดสบู่ 200-300 กรัม.” หรือ “ผงซักฟอก 1 ช้อนโต๊ะ” หรือ “สบู่เหลว 1 ช้อนโต๊ะ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ล. ใช้แทนสารจับใบ

107. ลูกเหม็น :
ลูกเหม็นที่ใช้ไล่แมลงสาบในตู้เสื้อผ้า ใส่ถุงพลาสติก เจาะรู 2-3 รู เพื่อให้กลิ่นออก ผูกแขวนไว้ในสวน หรือในทรงพุ่มต้นพืช
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
กลิ่นลูกเหม็นจะช่วยไล่แมลงแม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าหาพืช

108. น้ำผักดอง :
ใช้ “น้ำ ผัก/ผลไม้ ดอง สภาพกินได้ 50 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม กลิ่นน้ำดองช่วยไล่แมลง จุลินทรีย์ในน้ำดองทำให้หนอนตาย และเมื่อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ลงดิน ยังช่วยบำรุงอีกด้วย

109. น้ำส้มควันไม้ :
ใช้ “น้ำส้มควันไม้ เก็บนานข้ามปี 50 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ตอนค่ำ กลิ่นน้ำส้มควันไม้ช่วยไล่แมลง

110. ถอนพิษยาฆ่าหญ้า :
พืชทั่วไป ได้แก่ ผัก-ผลไม้-พืชไร่-พืชน้ำ ได้รับละอองยาฆ่าหญ้าแล้วใบเหี่ยว จากนั้นอาจตายหรือชะงักการเจริญเติบโต ใช้ “กลูโคส 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นทันที่หลังโดนละอองยาฆ่าหญ้า ทำซ้ำ 2 รอบ วันเว้นวัน

111. ถอนพิษยาฆ่าหญ้านาข้าว :
นาข้าวหลัง หว่าน/ดำ ต้นข้าวเริ่มยืนต้นได้ แล้วฉีดยาฆ่าหญ้า (ยาคุม) ชาวนา ไม่รู้+ไม่เชื่อ ว่า ต้นกล้าที่ได้รับยาฆ่าแล้วจะชะงักการเจริญเติบโต 7 วัน แก้ไขโดย หลังฉีดยาฆ่าหญ้าแล้ว 3-4 วัน (หญ้ารับสารพิษจากยาฆ่าหญ้าเต็มที่แล้ว) ให้ฉีดพ่นด้วย “ไบโออิ + กลูโคส” ทำซ้ำ 2 รอบ วันเว้นวัน นอกจากช่วยให้ต้นข้าวฟื้นตัวแล้วยังช่วยบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรงเพิ่มขึ้นอีกด้วย


สารสมุนไพร สูตรกำจัดหอยเชอรี่ :
- หอยเชอรี่เป็นสัตว์น้ำ มีน้ำหอยอยู่ได้ ไม่มีน้ำหอยอยู่ไม่ได้ .... หอยเชอรี่ขยายพันธุ์ด้วยไข่ โดยวางไข่ไว้ที่ต้นพืชส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำ .... สามารถเคลื่อนที่ได้โดยลอยตัวไปกับน้ำไหล หรือเดินด้วยปากไปบนพื้นดิน

- ปัจจุบัน หอยเชอรี่พันธุ์ต่างประเทศ ผสมกับหอยโข่งไทย บางคนเรียก “เชอรี่โข่ง หรือ โข่งเชอรี่” ก็ว่ากันไป เจ้าพันธุ์ใหม่นี่มีแรงอึด อดทนดีมาก มุดดินทนแล้งอยู่ได้นานเป็นปี กับทั้งมีพลังทำลายต้นข้าวสูงกว่าพันธุ์เดิมมาก

การป้องกันกำจัด :
* ก่อนเริ่มลงมือทำนา ปล่อยน้ำเข้าลึกแค่ตาตุ่ม เพื่อล่อให้หอยที่ซ่อนตัวอยู่ไต้ดินขึ้นมาแล้วปล่อยเป็ดไล่ทุ่งลงไป หรือแจ้งนกปากห่างให้เข้ามาจัดการให้ แบบนี้จะได้มูลเป็ดมูลนกเป็นปุ๋ยอย่างดี

* ใช้ตาข่ายตาถี่ๆ กั้นทางน้ำไหลเข้านา เพื่อดักจับตัวหอยเชอรี่
* เอาน้ำในนาออก ให้หน้าดินแห้ง หอยเชอรี่จะหนีไปอยู่แหล่งใหม่ที่มีน้ำเอง
* ล่อหอยเชอรี่ลงหลุม โดยขุดหลุม กว้าง 1 ม. ลึก ครึ่ง ม. ที่ปลายนาบริเวณที่ลุ่ม สำหรับเป็นหลุมดักหอยเชอรี่ ในหลุมใส่ใบสำปะหลังสด ใบมะละกอสด ใบตำลึงสด ให้เป็นอาหารสำหรับหอยเชอรี่ แล้วค่อยๆ ปล่อยน้ำออกจากผืนนา ให้น้ำค่อยๆ ลดระดับลง หอยเชอรี่จะรู้ตัวว่าน้ำในแปลงนานี้ใกล้จะหมดและรู้อีกด้วยด้วยว่า ธรรมชาติของน้ำต้องไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ว่าแล้ว หอยเชอรี่ก็ลอย ตัวไปกับสายน้ำไหล กระทั่งไปถึงบ่อดักที่ทำไว้ พร้อมกับมีอาหารโปรดด้วย จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของคนจัดการจับออก เอาไปไหนก็เอาไป ทำน้ำหมักหอยเชอรี่ก็ได้ แต่อย่าลืมทำให้เป็นน้ำหมัก “หอยเชอรี่ ซุปเปอร์” ด้วยล่ะ

- บดหอยเชอรี่สดๆทั้งตัว บดให้ละเอียดทั้งเนื้อและเปลือก บดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดเพื่อไม่ให้มีเปลือกหอยบาดเท้าภาย หลัง .... หอยพร้อมเปลือกบดละเอียด 1-2 กก. ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดใส่นาข้าวหรือแปลงพืชไร่พืชสวน 1 ไร่ ถ้าเป็นต้นไม้ผลยืนต้นโดยขุดหลุมกว้างลึก 1 คืบมือ ใส่หอยพร้อมเปลือกบดละเอียด 1 ทับพี แล้วกลบแน่นเหมือนเดิม.... หอยพร้อมเปลือกบดละเอียดลงไปอยู่ในเนื้อจะถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายให้ แบบนี้เรียกว่า “หมักในดิน” กลายเป็นสารอาหารพืชได้

* การใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ แม้จะฆ่าหอยได้ นอกจากหอยตายดินก็ตาย สัตว์น้ำอื่นๆในธรรมชาติตายแล้ว เปลือกหอยอยู่ในนาบาดเท้าแผลเหวอะหวะ เย็บ 4-5-6 เข็ม รักษาตัว 4-5-6 เดือนถึงเดินได้

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 1 :
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
ใช้ "สารสกัดสมุนไพร (กลอย. หนอนตายหยาก. หางไหล. กากชา.) 80 ล. + น้ำหมักชีวภาพ 20 ล." ผสมให้เข้ากันดี ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้ .... ใช้ "หัวเชื้อ 3-5 ล. + น้ำ 10-20 ล." สาดให้ทั่วแปลงนาก่อนย่ำเทือก สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร รวมกับสารท็อกซิคจากน้ำหมักชีวภาพ และกลิ่นของน้ำหมักชีวภาพจะเป็นอันตรายต่อหอยเชอรี่ ทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไปได้
( บุญลือ สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้ )

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 2 :
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
- การนำเอาแกลบดิบจากโรงสีข้าว 2 กระสอบ ต่อ 1 ไร่ จำนวนมากน้อยแล้วแต่หอยเชอรี่ระบาด
- นำแกลบที่ได้มาโรยให้ทั่วนาข้าว ซึ่งวิธีการนี้สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้ชะงัด เพราะแกลบดิบลักษณะพิเศษคือเบา ทำให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ จะลอยเข้าปากหอยเชอรี่ เมื่อแกลบเข้าไปในปากหอยเชอรี่ก็จะทำให้ระคายเคืองและกินอาหารไม่ได้ ในที่สุดก็จะตายไปเอง วิธีการนี้ง่ายและไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ให้เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
https://th-th.facebook.com/nfc.nki/posts/135292033334859

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 3 :
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
สมุนไพรฆ่าหอยเชอรี่ โดยใช้สารสกัดจากหางไหลแดง และหางไหลขาว ปรากฏว่าใช้เวลา เพียง 6 ชั่วโมงหอยตาย แต่มีปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้หอยมารวมกันเพื่อง่ายในการเก็บซากหอย จึงควรทำดังนี้

- นำสารสกัดสมุนไพรคลุกข้าวสุก โรยรอบคันนาให้หอยกิน
- ใช้สารสกัดสมุนไพรผสมน้ำมันพืช ทาใบมะละกอ ใบละหุ่ง แล้วไปวางให้หอยกิน
หมายเหตุ :
หางไหลจะทำให้ปลาตายด้วยหากท่านเลี้ยงปลาในนาข้าวไม่ควรใช้งาน

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 4 :
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
- หัวกลอย 1 กก.
- จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ 1/2 ลิตร (500 ซีซี.)
- กากน้ำตาล 1/2 ลิตร (500 ซีซี.)
- น้ำสะอาด
- นำหัวกลอยโขลกหรือบดละเอียด
- นำจุลินทรีย์กับกากน้ำตาลคลุกเคล้ากับหัวกลอยที่บดแล้วให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน กรองเอาสารที่ได้ (น้ำที่หมักหัวกลอยไว้) 10 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดหอยเชอรี่ หอยจะไม่ไข่และค่อยๆตายหมดใน 2 วัน ใช้สารนี้กำจัดเพลี้ย และแมลงต่างๆ ได้ด้วย

หมายเหตุ :
- กลอย เป็นพืชหัวที่มีพิษแรง เรียกสารไดออสคอรัน (Dioscorine) หากรับประทานโดยไม่ทำลายพิษก่อน จะมีฤทธิ์ในทางเบื่อเมา หากรับประทานมากอาจจะทำให้ตายได้ภายใน 6 ชั่วโมง ดังนั้นช่วงคลุกกลอย ควรใส่ถุงมือยางจะปลอดภัยดี

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 5 :
ใช้กากชาโรยในนาขณะทำเทือก 1 กส. จะควบคุมพื้นที่ได้ประมาณ 4 ไร่ หอยก็จะตายใน 1 วัน .... กากชาในที่นี้ไม่ใช่กากของชาที่คนชงกิน แต่เป็นชาอะไรไม่ทราบ ในกากชาที่ว่ามีสาร “ซาโปนิน” เป็นพิษต้อศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่ หอยทาก หอยเจดีย์ ด้วงหมัดผัก

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 6 :
ส่วนประกอบ :
- เหล้าขาว 0.5 -1 ขวด
- น้ำ 10 ลิตร
- กากน้ำตาล 1 กก.
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 = 500 ซีซี
- มะกรูด 60 ลูก
- หัวน้ำส้ม 1 ขวด
- กระเทียม 1 กก.
- เถาวัลย์เปรียง 1 กก.
- เมล็ดสะเดา 1 กก.
- ปูนขาว 1 กก.

หมายเหตุ : ต้องผสมเรียงลำดับตามนี้
http://www.budmgt.com/agri/agri01/golden-apple-snail-control.html

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 7 :[/b]
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
1. พญาไร้ใบ 3 กก.
2. น้ำ 10 ล.
3. กากน้ำตาล 0.5 ล.
นำส่วนผสมทุกอย่างหมักรวมกัน ปิดถังหมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 เดือน กรองเอาน้ำมาใช้ โดยปล่อยไปตามน้ำ หรือว่าราดรดตามข้างนาจำนวน 1 ลิตร/ไร่ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไม่มีผลกระทบหรืออันตรายใดๆต่อต้นข้าว
http://www.ban-nongkhon.com

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 8 :
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
1. ฝักคูนแก่ 10 กก.
2. กากน้ำตาล 2 ล.
3. น้ำส้มสายชู 1 ล.
4. น้ำส้มควันไม้ 1 ล.
5. น้ำ 50 ล.

ตัดฝักคูณเป็นท่อนขนาด 1-2 นิ้ว ทุบให้แตกไม่ต้องละเอียดมากนัก ใส่ลงในถังหมักเติมกากน้ำตาล น้ำส้มควันไม้ และน้ำส้มสายชู คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท เก็บในร่ม หมักนาน 1 เดือน พร้อมใช้งาน

เนื่องจากยางมะละกอจะมีกลิ่นหอมสามารถดึงดูดให้หอยเชอรี่เข้ามาได้ โดยใช้ใบมะละกอเป็นตัวล่อ นำมาห่อกับฝักคูณ หมักวางตามจุดที่หอยเชอรี่ชุม หรือวางไว้ในนาข้าวที่มีน้ำขัง หอยเชอรี่สามารถสัมผัสได้ถึงกลิ่นยางมะละกอแล้วก็เข้ามากินฝักคูณหมักที่เป็นอาหารที่หอยเชอรี่ชื่นชอบ หลังจากกินแล้วไม่เกิน 3 วัน หอยเชอรี่ลอยขึ้นมาตายจากการได้รับสารพิษ

หมายเหตุ :
- พืชหลายชนิดที่สามารถกำจัดหอยเชอรี่ ได้แก่ สาบเสือ ฟ้าทลายโจร ฝักคูนแก่
- เหยื่อล่อจะต้องเป็นพืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนมครับ
( ขอขอบคุณสูตรกำจัดหอยจาก http://blog.msu.ac.th ที่ได้ให้ความรู้ )
http://waritchaphum.sakonnakhon.doae.go.th/KM/page2.html

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 9 :
ลูกมะกรูดผ่า 4 ซีก 3 กก. ผสมกับโมลาส 1 กก. ปูนแดงกินหมาก 1 กก. และใส่น้ำพอท่วมลูกมะกรูด หมักไว้ 7 เดือน ... วิธีใช้ : 100 ซีซี. ต่อน้ำ 7 ลิตร หยดให้ทั่วนา
http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_1.html

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 10 :
ใช้ผลมะกรูดสดแก่จัด ใส่ถุงตาข่ายไนล่อน เขย่าให้ผิวช้ำจนมีน้ำมันออกมา แล้วผ่าผลมะกรูดเป็น 2 หรือ 4 ชิ้น นำชิ้นผลมะกรูดที่ผ่าแล้วหว่านในแปลงนาที่มีน้ำลึก 10-20 ซม. ห่างกัน ตร.ว.ละชิ้น น้ำมันผิวมะกรูดจะออกมาลอยอยู่บนผิวน้ำ บางส่วนจะลอยไปตามลม เมื่อหอยเชอรี่สัมผัสกับน้ำมันผิวมะกรูดก็จะหนีไปเอง

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 11 :
ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ + สารสกัดกลอย ซากบอระเพ็ด 3-5 ล. /ไร่ ใส่ในแปลงช่วงทำเทือก หอยเชอรี่ได้กลิ่นน้ำหมักจะหนีไปเอง หรือสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ในกลอย ซากบอระเพ็ดก็จะตายไปเอง

ไม่ควรใช้ "ยูเรีย" เด็ดขาด เพราจะทำให้ต้นข้าวอวบ ข้าวต้นอวบไม่มีรวงมีแต่ใบ ความอวบของต้นข้าวจะเป็นตัวเรียกทั้งหอยเชอรี่ ทั้งเพลี้ย กระโดด กับอีกสารพัดแมลงให้เข้ามากินต้นข้าว


.




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/09/2024 5:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 24/01/2024 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 12 :
ใช้ “ฝักคูนแก่คาต้น 1 กก.” บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล.นาน 7 วัน สาดในนาข้าวช่วงทำเทือกและหลังจากข้าวเจริญเติบโตแล้ว ระดับน้ำลึก 1 ฝ่ามือ ช่วยกำจัดและขับไล่หอยเชอรี่

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 13 :
ใช้ “ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือ กล้อมเกลอะน้ำใส 1 ล.” สาดในนาข้าวช่วงทำเทือก ระดับน้ำลึก 1 ฝ่ามือ หรือปล่อยไปกับน้ำช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตแล้ว ช่วยขับไล่หอยเชอรี่

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 14 :
- ใช้ “ปูนแดงกินหมาก 1 กก.+ น้ำ 20 ล.” คนเคล้าให้เข้ากันดี แช่ไว้ 24 ชม. ได้ “น้ำปูนใส” พร้อมใช้งาน

- ใช้ “น้ำปูนใส 1 ล.+ น้ำเปล่า 10 ล.” ใส่นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ช่วงทำเทือกและช่วงที่ข้าวเจริญเติบโตแล้ว
- ช่วยขับไล่หอยเชอรี่

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 15 :
ใช้ “เนื้อมะละกอสุกงอม 1 กก.” บดพอแหลกใช้มือกำได้ แช่ในปุ๋ยน้ำชีวภาพพอท่วม นาน 24 ชม. หว่านในนาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ช่วงทำเทือก ระดับน้ำ 1 ฝ่ามือตั้ง ช่วยขับไล่หอยเชอรี่

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 16 :
ใช้ “ใบสะเดาสดแก่จัด. ใบขี้เหล็กสดแก่. ใบยูคาลิปตัสสดแก่. หัวข่าสดแก่.” อย่างละ 1-2 กก. บดหรือโขลกพอแหลก ใส่น้ำ 20 ล. ต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ 10 ล. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน ....ใช้ “หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ล.” สาดใส่นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ช่วงทำเทือก ระดับน้ำลึก 1 ฝ่ามือตั้ง ช่วยกำจัดและขับไล่หอยเชอรี่

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 17 :
ใช้ “ฮอร์โมนรกหมูหมักนาน 3 เดือน 1 ล./นาข้าว 1 ไร่” ใส่ช่วงย่ำเทือกนอกจากช่วยเพิ่มฮอร์โมนพืช เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง และปรับสภาพดินแล้ว ช่วยไล่หอยเชอรี่ให้หนีไป

กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 18 :
ใช้ “มูลหมูแห้งเก่าค้างปี 100 กก.” หว่านนาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ช่วงทำเทือก ช่วยขับไล่หอยเชอรี่ให้หนีไปได้

.......................................................................................................
สรุป :
กลิ่น : ทำให้หอยเชอรี่หนี
รส : ทำให้หอยเชอรี่ไม่ชอบ แล้วไม่กิน หรือไปหาแหล่งใหม่
ฤทธิ์ : ทำให้หอยเชอรี่ตาย

......................................................................................................

หอยเชอรี่เป็นสัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตย่อมต้องมีวงจรชีวิต คือ “เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์” ซึ่งเป็นสัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หากวงจรชีวิต วงจรใดวงจรหนึ่งถูกตัดขาด การดำเนินชีวิตก็จะหยุดชะงักลง หรือถึงตายได้ .... นอกจากวงจรชีวิตทั้ง 6 แล้ว ยังมีปัจจัยหลักที่เสริมให้วงจรชีวิตมั่นคงยิ่งขึ้น ได้แก่ สภาพ แวดล้อม, ที่อยู่อาศัย, อาหาร, อากาศ, อุณหภูมิ, อีกด้วย

กรณีนี้หาก “คิด/วิเคราะห์/เปรียบ” ถึงวิธีกำจัดหอยเชอรี่แม้จะเป็นเพียงวิธีแบบภูมิปัญญาบ้านบ้านธรรมดาๆ แต่ก็มีหลักวิชาการรองรับยืนยันในความเป็นไปได้ เช่น ....

สมุนไพรที่ใช้ ทุกอย่างต่างก็มี สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา ที่เป็นพิษต่อหอยเชอรี่โดยตรง เมื่อหอยเชอรี่สัมผัสทางปาก (หอยเชอรี่ต้องอ้าปากตลอด ขณะเดินหรือกินอาหาร) ก็จะเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

ตัวยาในสมุนไพรนอกจากไม่เป็นพิษต่อพืช (ต้นข้าว) แล้ว ยังป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้อีกด้วย นั่นคือ หากฉีดพ่นสาสมุนไพรที่เป็นตัวหลายๆตัว มีตัวยาเข้มข้น ฉีดซ้ำหลายๆรอบ ให้ทั่วต้นข้าวและพื้นดิน ก็จะได้ผลทั้งสองเด้ง

หอยเชอรี่ที่ตายแล้วจะเหลือเปลือกหอยค้างอยู่ในแปลงนา เมื่อคนลุยลงไปในนาอาจโดนเปลือกหอยบาดเท้าได้

มาตรการป้องกัน “กันก่อนแก้” ซึ่งน่าจะได้ผลดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด คือ “หลอกล่อหอยเชอรี่เดินลงเข่ง” เองโดย....

- ปล่อยน้ำไหลออกจากแปลงนา ให้น้ำไหลออกช้าๆ ทำให้หอยเชอรี่หลงคิดว่าน้ำกำลังจะแห้ง และน้ำย่อมไหลไปสู่สถานที่ใหม่ที่มีน้ำมากกว่า

- ที่ปลายน้ำสุดเขตแปลงนา ขุดบ่อขนาดกว้างยาว 1 ม. ลึก 30-50 ซม. วางเข่งจมน้ำลงไป วางใบสดสำปะหลัง ตำลึง ใบพืชอื่นๆที่หอยเชอรี่ชอบกินลงไปในเข่ง เมื่อหอยเชอรี่มาตามน้ำ มาพบอาหารกับน้ำที่ลึกกว่าก็จะหยุดกินอาหารนั้น .... อาจจะพิจารณาทำ 1-2 จุดก็ได้ตามความเหมาะสม

พืชสมุนไพรที่นำมาผลิตสารสกัดธรรมชาติจากพืช :
1. สะเดา :
มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สะเดาอินเดีย (Azadivachta indica A. Juss) สะเดาไทย (A. indica A. Juss var siamensis) และสะเดาช้าง หรือสะเดาเทียม (A. excelsa Jack.) สารสกัดที่พบในสะเดาและมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ สารอะซาดิแร็คติน A (Azadivachta A) พบมีปริมาณมากในเนื้อเมล็ด (Seed Kernel) ในสะเดา 3 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์อินเดียให้ปริมาณสารอะชาดิแร็คตินสูงกว่าสายพันธุ์อื่น พบประมาณ 4.7 - 7.8 มก./กรัม เนื้อเมล็ด รองลงมา คือ สะเดาไทยให้สารสารอะซาดิแร็คติน 0.5 - 4.6 มก./กรัมเนื้อเมล็ดในเมล็ด

สารสารอะซาดิแร็คติน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการลอกคราบของแมลงยับยั้งการวางไข่และยังเป็นสารขับไล่แมลง โดยใช้ได้ผลดีกับหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนเจาะยอดกะหล่ำปลี หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ฝัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยไก่แจ้ สำหรับเพลี้ยไฟและไรแดงได้ผลปานกลาง

วิธีการใช้ :
1. ใช้เมล็ดสะเดาแห้งบดหรือตำอัตรา 1 กก./น้ำ 20 ล. ทิ้งไว้ 1-2 คืน กรองเอากากออกนำไปฉีดพ่นได้

2. ใบสะเดาแห้ง บดให้ละเอียดคลุมเมล็ดข้าวโพดอัตรา 1:10 โดยน้ำหมักป้องกันแมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น มอดแป้ง ด้วงงวงถั่ว ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าวโพด

3. ใบสะเดาแก่ใบสด อัตรา 2 กก. ตำให้ละเอียดหมักในน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 2 คืน กรองเอากากแล้วนำไปฉีดพ่น

2. โล่ติ้น (Derrid elliptica Benth)
มีชื่อทั่วๆไปว่า หางไหล หางไหนแดง กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ อวดไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโก้ส้า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็งใบออกเป็นช่อมีใบย่อย 7 ใบ ได้แก่ หางไหลแดง (Derrid elliptica Benth) และชนิดที่มีใบย่อย 5 ใบ เรียกว่าหางไหลขาว (D. malaccensis Prain) แต่ชนิดที่นิยมปลูกกันมากคือ หางไหลแดง สารสกัดที่ได้มีชื่อว่า สารโรติโนน (Rotinon) เป็นพิษต่อแมลง ปลา แต่ไม่เป็นพิษต่อคน สารโรติโนนจะออกฤทธิ์เหมือนสารกำจัดแมลงชนิดไม่ดูดซึมเข้าสู่ต้นพืช (Non – Systemic insecticide) โล่ติ้นสามารถนำมาใช้ป้องกันกำจัดแมลงได้หลายชนิด ได้แก่ แมลงวัน เพลี้ยอ่อน ด้วงงวงถั่ว ตั๊กแตน ตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย หนอนกระทู้ฝักและหนอนใยฝัก

วิธีการใช้
นำส่วนของรากหรือลำต้นของโล่ติ้นที่มีอายุ 2-3 ปี มาบดหรือตำให้แหลกละเอียด โดยใช้รากหรือลำต้น 0.5 - 1 กก./น้ำ 20 ล. ร่วมกับใส่กากน้ำตาล (Molasses) 100 กรัม ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารสกัดให้ดียิ่งขึ้นหมักทิ้งไว้ 2 วัน ระหว่างหมักควรกวน 3-4 ครั้ง เมื่อครบ 2 วันแล้ว กรองเอากากนำน้ำสกัดไปฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

ข้อควรระวัง
ในการใช้สารสกัดโล่ติ้น ไม่แนะนำให้ใช้กับแปลงผักหรือผลไม้ที่มีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้ๆ เช่น แปลงที่ขุดเป็นร่องน้ำล้อมรอบแล้วเลี้ยงปลาไว้ นอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์พวกด้วงเต่า ตัวห้ำด้วย

3. บอระเพ็ด (Tinospora Rumphii)
ชื่ออื่นๆ เรียกว่า เจตมูล(ใต้) จุ่งจะลิง (เหนือ) เครือเขาฮอ (ฮีสาน) มีรสขม เป็นไม้เลื้อยขึ้นพันตามต้นไม้ใหญ่ปลูกง่ายใช้สะดวกสารออกฤทธิ์ที่พบในเถาบอระเพ็ดพืชสามารถดูดซึมเข้าไปในส่วนต่างๆของพืชได้ จัดเป็นสารประเภทดูดซึม ใช้ได้ดีในเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว

วิธีการใช้
นำส่วนของลำต้น (เถา) 400 - 500 กรัม ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองกากทิ้งแล้วนำไปพ่นในแปลงปลูกพืช

4. ยาสูบ (Nicotiana Tabacum N. Rustica N.glutinosa)
เป็นสารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในยาสูบ คือสารนิโคติน (Nicotin) พบสารนิโคตินมากในส่วนของใบและก้านใบ นิโคตินเป็นสารที่สารตัวได้ง่าย มีพิษกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลังฉีดต้องรอให้สลายตัวประมาณ 3-4 วัน จึงจะเก็บผลผลิตมาบริโภคได้ ยาสูบใช้ได้ผลดีกับด้วงหมักฝัก ด้วงเจาะเมล็ดฝ้าย แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น มวน ไรแดง หนอนกอ หนอนกะหล่ำปลี หนอนชอนใบ และหนอนทั่วไป

วิธีการใช้
1. ใช้ยาฉุนอัตรา 1 กก./น้ำ 2 ล. ต้มนาน 1 ชม. หรือหมักทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นกรองเอาแต่น้ำยาฉุน นำไปผสมน้ำ 100 ล. เพิ่มประสิทธิภาพให้ดีด้วยการใส่น้ำปูนใสหรือสบู่เหลวลงไป 2 ล. เมื่อเตรียมเสร็จแล้วต้องนำไปฉีดพ่นทันที อย่าทิ้งไว้นานเพราะสารนิโคตินจะเสื่อมประสิทธิภาพ

2. นำใบยาสูบสด อัตรา 1 กก. ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 15 ล. นาน 1 วัน กรองเอากากทิ้ง แล้วเติมน้ำสบู่หรือสบู่เหลวน้ำปูนใสประมาณ 1 ล. นำไปฉีดพ่นทันที

3. ในการฉีดพ่นสารละลายยาสูบให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัด (30 องศา ขึ้นไป)

5. สาบเสือ (Eupatorium Odoratum L.)
สาบเสือมีชื่อเรียกว่า ช้าผักคราด, ยี่ลั่นเถื่อน, เปญจมาศ, หญ้าฝรั่งเศส, หญ้าคอกขาว, หญ้าเหมัน และใบเสือหมอบ เป็นวัชพืชล้มลุก นำมาสกัดเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีสารออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดและขับไล่แมลงศัตรูพืชที่ชื่อว่า Pinene Limonene และ Neptha Guinone พบมากในดอกและใบ โดยเฉพาะในใบจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์สูง ใช้ไดผลมีในหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน และด้วงเขียว

วิธีการใช้ : นำส่วนของใบสาบเสือแห้งอัตรา 400 กรัม ตำให้ละเอียดผสมน้ำ 3 ล. ต้ม 10 นาที ทำให้เย็นแล้วกรองเอากากทิ้งแล้วนำไปฉีดพ่นในมะเขือเปราะสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ดีและฉีดพ่นในแปลงผักสามารถป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ผักได้ดี

6. ตะไคร้หอม (Cymbopogon Nasolus L. Rendle)
ตะไคร้หอมมีชื่ออื่นที่เรียกว่า ตะไคร้แดง ตะไคร้มะกรูด จะไคมะขูด เป็นไม้ล้มลุกเกิดจากหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เจริญแตกเป็นกอเหมือนตะไคร้พืชสวนครัวแต่มีลำต้นใหญ่กว่า เจริญเติบโตดีในดินร่วนซุย การระบายน้ำดีมีแสงแดดมาก

สารที่ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในตะไคร้หอม ได้แก่ Geraniol Citronellal, Linalool, Neral, Limonene สารออกฤทธิ์มากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ตะไคร้หอมไทย พันธุ์ศรีลังกา พันธุ์ชวา รวมถึงองค์ประกอบด้านอายุในการเก็บเกี่ยว แหล่งปลูก และวิธีการสกัดเอาสารมาใช้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในใบตะไคร้หอมจะมีสารฤทธิ์มากกว่าในส่วนของลำต้น อายุในการเก็บเกี่ยว ควรอยู่ในช่วง 7-11 เดือน ตะไคร้หอมใช้ได้ผลดีในการขับไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ด้วงถั่วเขียว และเพลี้ยจั๊กจั่น
วิธีการใช้ :
1. ใช้ในรูปแบบผงบดละเอียด แล้วนำมาคุกเคล้าเมล็ด
2. ใช้ตระไคร้หอมบด แล้วหมักด้วยน้ำเป็นเวลา 24 ชม. ในอัตราความเข้มข้น 400 กรัม/น้ำ 8 ล.

3. ใช้ต้มที่อุณหภูมิ 50 องศา เป็นเวลา 3 ชม. ใช้อัตราความเข้มข้น 400 กรัม/น้ำ 8 ล.
4. ใช้สกัดด้วยไอน้ำ (กระบวนการกลั่น) โดยใช้ตะไคร้หอม 400 กรัม/น้ำ 3 ล. กลั่นออกมาได้ 2 ล. แล้วนำไปใช้

7. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa L.)
ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกข้ามปีมีหัวอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นแท้จริงเรียกว่าเหง้าอยู่ใต้ดิน สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในขมิ้นชั้น ได้แก่ Pinene Phellandsene, Borncol และ Turmerone พบว่าพันธุ์ อายุ และแหล่งปลูกเป็นปัจจัยที่ทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์มีค่าแตกต่างกันขมิ้นชันอินเดียมีสารออกฤทธิ์มากกว่าขมิ้นชันไทยอายุเก็บเกี่ยวอยู่ในระหว่าง 10-16 เดือน

ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพทั้งขับไล่และกำจัดแมลง ได้แก่ ด้วงงวง ด้วงถั่วเขียว มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ขับไล่หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก และแมลงวัน

วิธีการใช้ :
1. นำแง่งขมิ้นชันมาบดเป็นผงอัตรา 0.5 กก./น้ำ 2 ล. หมักทิ้งไว้ 1 คืน คั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำคันที่ได้ 400 มล./น้ำ 2 ล. นำไปฉีดพ่นขับไล่หนอน

2. ใช้แง่งขมิ้นชันมาผึ่งลมให้แห้ง บดให้ละเอียดนำไปคลุกกับเมล็ดพืช เช่น ถั่วเขียว โดยอัตราผงขมิ้นชันบด 10 กรัม/ถั่วเขียว 100 กรัม สามารถป้องกันกำจัดค้างถั่วเขียวได้ โดยออกฤทธิ์เป็นสารขับไล่ได้นาน 3 เดือน

อัครินทร์ ท้วมขำ : สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร


พืชสมุนไพรไล่แมลงสำหรับเกษตรอินทรีย์ :
เอกสาร "พืชสมุนไพรไล่แมลงสำหรับเกษตรอินทรีย์" โดยความอนุเคราะห์จากกรมพัฒนาที่ดิน
http://www.mediafire.com

- สะเดา (เมล็ด) : ใบฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อนของแมลงรบกวนการกินอาหารของแมลง ยับยั้งการเจริญ เติบโตของแมลง ลดการสืบพันธุ์ของแมลง ทำให้แมลงไม่ลอกคราบ ฆ่าไรทะเล ต้านเชื้อไวรัสที่ก่อโรคในพืช ฆ่าหอย ฆ่าไส้เดือน ยับยั้งการงอกของพืช ยับยั้งการเป็นพาหนะของแมลงต่อไวรัสที่ก่อโรคพืช ไล่นก ไล่สุนัข

- หางไหล หรือ โล่ติ๊น (เถา) และราก : ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
- ยาสูบ (ใบ) : ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

- น้อยหน่า (เมล็ดและใบ) : เป็นพิษต่อแมลงวันทอง ด้วงงวง ด้วงปีกแข็ง บุ้ง มอดเจาะไม้ มอดแป้ง มวนปีกแข็งหนอนกระทู้และหนอนชอนใบ

- กระเทียม (หัว) : เป็นพิษต่อมด แมลงวัน และยุงขมิ้นชัน
- ขมิ้นแกง (หัว) : เป็นพิษต่อหนอนกระทู้ ด้วงงวงข้าว และมอดพืชพวกแมงลักคา
- ขี้เหล็ก, คูน (ใบ) : เป็นพิษต่อด้วงถั่ว และปลวก
- ว่านน้ำ (เหง้า) : ทำลายไข่และฆ่าตัวอ่อนของแมลง ยับยั้งการกินอาหาร กระตุ้นต่อมเพศของแมลง รบกวนการกินอาหารของแมลง ไล่แมลง ฆ่าแมลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ทำให้แมลงเป็นหมัน เบื่อแมลงวัน กำจัดเพี้ยแป้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืช

- พริก (ผลและราก) : เป็นพิษต่อด้วงงวง ด้วงปีกแข็ง บุ้ง มอดเจาะไม้ มอดแป้งและมวนปีกแข็ง

- เปราะหอม (เหง้า) : ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
- กานพลู (น้ำมันหอมระเหย) : ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา

- ผักโขม (ใบ) : ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
- เลี่ยน (ใบ ลำต้น และผล) : ต้านเชื้อไวรัส และเชื้อรา ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ฆ่าแมลงรบกวนการกินอาหารของแมลง ไล่แมลง กระตุ้นการงอกของรากพืช

- น้ำนมราชสีห์ (ทั้งต้น) : ป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส
- ส้มกุ้ง (ใบ) : เมื่อผสมกับใบเทวมารุ และน้ำมันสะเดาอินเดีย เป็นพิษอย่างแรงต่อหอยคัน และหอยแบน

- ลำโพง(ต้น) : ฆ่าหอย ฆ่าไส้เดือน ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา กระตุ้นการเจริญของเชื้อรา ไล่แมลง ดึงดูดแมลง

- ดองดึง (ราก เหง้า เมล็ด และใบ) : ใช้เป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืชและไรหนาดใหญ่ .... น้ำมันหอมเป็นพิษต่อแมลงหาบชนิด และหอยเชอรี่

- สาบเสือ (ใบ) : เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน และหนอนกระทู้ผัก
- สารภี (ผล) : เป็นพิษต่อแมลงสาบ แมลงวัน มด และหนอน ต้านเชื้อรา ฆ่าหอย
- ขอบชะนางขาว (ทั้งต้น) : เป็นพิษต่อแมลง เหา และหนอน

- กลอย (หัว) : เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน แมลงสิง ด้วงงวง แมลงวันทอง และไร
- หนอนตายหยาก (ราก) : กำจัดเพลี้ยแป้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุของโรคพืช ฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อนของแมลง ไล่แมลง ฆ่าไส้เดือน ฆ่าหมัด เห็บ หนอน ลูกน้ำ หิด เหา

- บอระเพ็ด (เถา) : เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน ไร และขับไล่แมลงศัตรูพืช
- ข่าเหลือง (เหง้า ไล่) : แมลง
- ตะไคร้ (กอ ทุกส่วนของต้น) : เป็นพิษต่อแมลงวันทอง และยุง
- เถาวัลย์เปรียง (ราก) : เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน ไร และแมลงศัตรูพืชหลายชนิด

- มะคำดีควาย (ผล) : ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
- สาบแร้ง สาบกา (ลำต้น และใบ) : ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าแมลง ยับยั้งการวางไข่ การเจริญเติบโต และการกินอาหารของแมลง ยับยั้งการงอกของพืช

- หญ้างวงช้าง (ทุกส่วนของต้น) : ใช้กำจัดศัตรูพืชหลายชนิด
- หญ้าแห้วหมู (ราก หรือเหง้า) : ต้านเชื้อราและเชื้อไวรัส ฆ่าแมลง ไล่แมลง ยับยั้งการงอกของพืช

- ฟ้าทลายโจร (ทั้งต้น) : ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- พญายอ (ใบสด) : ฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย


วิจัยสมุนไพรป้องกันเพลี้ยกระโดด :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล .... แมลงศัตรูพืชที่ทำให้ต้นข้าวแห้งตาย อีกทั้งยังเป็นพาหะของโรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิกด้วย เกษตรกรจึงแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งก็ช่วยได้บ้าง แต่ไม่เป็นผลเท่าที่ควร เพราะการฉีดพ่นสารจะทำลายในส่วนที่เกาะกิน อยู่แค่เพียงตามยอดของต้นข้าวเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ตามโคนข้าว แล้วอีกไม่นานเมื่อตัวอ่อนของเพลี้ยเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ก็จะกลับมาระบาดซ้ำ ซึ่งการกลับมาหนนี้มันจะ มีความต้านทานสูง และ สร้างความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น .... แน่นอน คือ ต้องใช้สารเคมีที่เข้มข้นกว่าเดิม

จากปัญหานี้ รศ.สุภาณี พิมพ์สมาน จากภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับคณะจึงได้ร่วมกัน ศึกษาและวิจัย... ในการเป็นไปได้ของการใช้สารสกัดจากผักคราดหัวแหวน ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ผักคราดหัวแหวน .... เป็นพืชล้มลุก สูง 30-40 ซม. ลำต้นค่อนข้างกลม อวบน้ำ สีม่วงแดง ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อออกที่ซอกใบรูปกรวยคว่ำสีเหลืองอ่อน ผลแห้งรูปไข่

วิธีทำสารสกัดผักคราดหัวแหวน ใช้ผักคราดหัวแหวนสดแก้จัด 1 กก. โขลกหรือสับพอแหลก แช่น้ำร้อน 10 ล. นาน 24 ชม. ก่อนใช้ผสมน้ำเปล่า 10 ล.

สรรพคุณทางสมุนไพรใช้ต้นสดตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้ ยาพื้นบ้านใช้อุดแก้ปวดฟันงานวิจัยฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพ ในการใช้สารสกัดจากผักคราดฯ เกี่ยวกับพิษวิทยาของสารฆ่าแมลง และสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงนำสู่แปลงทดลองของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น โดยนำสารสกัดจากผักคราดฯ ความเข้มข้น 5% ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ปี 2547 และปี 2548 รวม 4 ครั้ง

หลังฉีดพ่น 48 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากลำต้นผักคราดหัวแหวน มีผลในการควบคุมปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้ดี เช่นเดียวกับสารเคมีที่เกษตรกรใช้เป็นประจำ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการวางไข่ของตัวเต็มวัยเพศเมีย และการพัฒนาเป็นตัวอ่อน แต่ต้องพ่นติดต่อกันหลายครั้งกว่าการใช้สารเคมี ซึ่งอาจจะไม่ทันใจเกษตรกร เนื่องจากสารสกัดจากพืชเป็นสารธรรมชาติซึ่งสลายตัวเร็วในสภาพแวดล้อม จึงควรใช้ในลักษณะการป้องกันมากกว่าการกำจัด และ สรรพคุณของสารสกัดจากผักคราดหัวแหวน มีผลต่อการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีเช่นเดียวกับสารสกัดสะเดา

จึงเชื่อได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นแนวทางนำไปสู่การ เพิ่มคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น... ตามแนวทางแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...!!!

เพ็ญพิชญา เตียว
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=40558


พืชสมุนไพรไล่แมลง แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ (ตอนที่ 2)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้


สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่าง คือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ...

มนุษย์นั้นรู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบัน นักวิชาการทางการเกษตร เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้ให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช สนใจภูมิปัญญาพื้นบ้านมากขึ้น รวมถึงนักวิชาการบางท่าน ได้หันมาสนใจค้นคว้า และพัฒนาสมุนไพรเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่างคือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในแปลงพืชผัก ไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลง :
หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กระเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอน :
สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูณแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกแลจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยะ พญา ไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
1. หนอนกระทู้ .... มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า

2. หนอนคืบกะหล่ำ .... มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

3. หนอนใยผัก .... มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

4. หนอนกอข้าว .... ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ
5. หนอนห่อใบข้าว .... ผกากรอง

6. หนอนชอนใบ .... ยาสูบ ใบมะเขือเทศ
7. หนอนกระทู้กล้า .... สะเดา
8. หนอนหลอดหอม .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม
9. หนอนหนังเหนียว .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน
10. หนอนม้วนใบ .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

11. หนอนกัดใบ .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม
12. หนอนเจาะยอดเจาะดอก .... ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน
13. หนอนเจาะลำต้น .... สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน
14. หนอนแก้ว .... ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
15. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก .... ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง

16. หนอนผีเสื้อต่างๆ .... มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน
17. ด้วงหมัดกระโดด .... มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม
18. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ....ขมิ้นชัน
19. ด้วงเต่าฟักทอง .... สะเดา กระเทียม น้อยหน่า
20. ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ .... ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง

21. มอดข้าวเปลือก .... ว่านน้ำ
22. มวนเขียว .... มันแกว ยาสูบ
23. มวนหวาน .... มันแกว ยาสูบ
24. แมลงสิงห์ข้าว .... มะระขี้นก
25. เพลี้ยอ่อน .... มันแกว ยาสูบ สะเดา หนอนตายหยาก ดาวเรือง กระเทียม น้อยหน่า

26. เพลี้ยไฟ .... ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม
27. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล .... สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
28. เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว .... สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
29. เพลี้ยหอย .... สาบเสือ
30. เพลี้ยแป้ง .... ยาสูบ สะเดา ไรแดง ไรขาว ขมิ้นชัน

31. แมลงหวี่ขาว .... ดาวเรือง กระเทียม
32. แมลงวันแดง .... ว่านน้ำ น้อยหน่า สลอด ข่าเล็ก เงาะ บัวตอง ขิง พญาไร้ใบ
33. แมลงวันทอง .... ว่านน้ำ หนอนตายหยาก บัวตอง มันแกว แสลงใจ
34. แมลงปากกัดผัก .... ว่านน้ำ
35. แมลงกัดกินรากและเมล็ดในหลุมปลูก .... มะรุม

36. จิ้งหรีด .... ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด
37. ปลวก .... ละหุ่ง
38. ตั๊กแตน .... สะเดา
39. ด้วงกัดใบ .... มะระขี้นก คูน

สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

ผลทางตรง : จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที
ผลทางอ้อม : จะมีผลต่อระบบอื่น ๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง

การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้

ดอก .... ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบาน
ผล .... ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด
เมล็ด .... ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่าง ๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก

หัวและราก .... ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่างๆไว้ที่หัวและราก

ดังนั้นก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาในในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใดจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง เพราะบางคนรู้เพียงว่าใช้พืชตัวนั้นตัวนี้ในการป้องกันกำจัดแต่ไม่ทราบว่าใช้ส่วนใดเวลาใดจึงจะเกิดประสิทธิภาพดีที่สุด

ในตอนต่อไปผู้เขียนจะได้กล่าว ถึงพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการป้องกันกำจัดโรคพืชและวิธีการทำน้ำสมุนไพรไล่และป้องกันกำจัดศัตรูพืช(ทั้งโรคและแมลง)ด้วยสูตรต่างๆกัน ขอท่านผู้อ่านได้ติดตามการใช้พืชสมุนไพรไล่แมลงทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ตอนที่ 3

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873071 ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9
http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/knowledge/2010/128-herb



สมุนไพรกำจัดวัชพืช :
เพื่อนชาวเกษตรท่านหนึ่งถามถึงสูตรยาคุมหญ้าและสูตรกำจัดหญ้าในนาข้าวแบบที่ไม่ต้องใช้สารเคมีหรือยาฆ่าหญ้าที่เป็นอันตรายทั้งคนพ่นและสิ่งที่สัมผัสแบบชนิดไม่นับสารตกค้างเป็นทอดๆ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าสารที่ได้จากธรรมชาตินั้นคงจะไม่มีประสิทธิภาพเฉียบขาดเท่ากับยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี แต่ไม่มีสารพิษตกค้างให้เป็นพิษเป็นภัยทั้งคนใช้และคนทาน เพราะฉะนั้นการใช้ซ้ำกันหลายๆ ครั้งในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้สารธรรมชาติ

สูตรกำจัดหญ้าในนาข้าว :
ส่วนประกอบ :
เหล้าขาว 1 ขวด,
ผงซักฟอก 1 กล่อง
เกลือแกง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 16 ลิตร
ฉีดพ่นหญ้าในนาข้าวให้ทั่วทุกๆ 7–10 วันนานประมาณ 1 เดือน เน้นย้ำเรื่องเหล้าขาวระวังอย่าให้คุณพ่อบ้านไปซื้อเองเพราะจะได้เหล้ามาไม่ครบขวด

สูตรยาฆ่าหญ้า
ส่วนผสม
1. สับปะรด 30 กก.
2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
3. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว (หมักไว้ 10 วัน)
4. ดินปะสิว 1 กก.

วิธีทำ
1. นำดินปะสิวมาบดให้ละเอียด
2. นำมาผสมกับจุลินทรีย์ EM ที่หมักไว้
3. กรองเอาเฉพาะน้ำ
วิธีใช้
ยาฆ่าหญ้า 1 ส่วน ผสมน้ำ 50 ส่วน นำมาราดบริเวณที่ต้องการฆ่าหญ้า

วิธีการทำน้ำหมักเพื่อใช้คุมหญ้า
ส่วนประกอบ
1. ผักแว่นสด 5 กิโลกรัม
2. น้ำซาวข้าว 5 ลิตร
3. แป้งข้าวหมากหวาน 1 ก้อน ครึ่ง
4. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

วิธีการทำ
ล้างผักให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ข้อมือ เทลงถังหมัก ใส่น้ำซาวข้าว บดแป้งข้าวหมากให้ละเอียดใส่ลงในถังหมัก หมักไว้ 1 เดือน

วิธีการนำไปใช้
1. ใส่น้ำหมัก 4 ลิตร ต่อ 1 ไร่ เทให้ทั่วแปลง ระวังอย่าปล่อยน้ำลงมากเกินไป ให้ใส่น้ำพอไถคราดได้เท่านั้น

2. สูตรนี้สามารถใช้คุมหญ้าได้ทุกชนิด
อย่างที่ทราบกันดีว่าการใช้สมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านต่างๆ มาใช้เป็นยาฆ่าหญ้านั้นมีด้วยกันหลายสูตรและต่างก็เน้นการใช้พืชที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์ ไม่ต้องไปซื้อหาให้เสียเงิน ประมาณว่ามีอันไหนก็ใช้อันนั้น และก็ต้องขอขอบคุณเจ้าของสูตรหลายๆ ท่าน ที่ได้นำมาเผยแพร่ให้ได้นำไปประยุกต์ใช้งานกันต่อไป ภูมิปัญญาไทยที่ทิ้งไว้ให้เกษตรกรรุ่นหลังนับว่าเป็นมรดกอย่างหนึ่งที่ล้ำค่าและควรค่าแก่การรักษาไว้


.... เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง ....
งานวิจัยสารสะเดา :
เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ลุงคิมมีโอกาสติดตาม ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งกรมวิชาการเกษตร นักวิจัยจากเยอรมัน กับ อ.สำรวล ดอกไม้หอม ไป ตรวจ/ดู ผลงานการใช้สารสะเดากับมะม่วงของลุงเฉียดฯ บ้านเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มะม่วง 20 ไร่ อายุต้น 10 ปี ทำนอกฤดู ไม่มีร่องรอยใดๆ จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชประจำมะม่วงปรากฏแม้แต่น้อย ....

ลุงเฉียดฯ บอกว่า เมื่อก่อนใช้สารเคมียาฆ่าแมลงหนักมาก ถึงขนาดเมียต้องเข้า ร.พ. หมอบอกเป็นหลายโรค ทุกโรคที่เกิดจากภูมิแพ้สารเคมียาฆ่าแมลงทั้งนั้น ต้องเสียค่ารักษา พยาบาลเดือนละ 10,000 กว่า ทุกเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน กระทั่งเลิกใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้สารสมุนไพรจากสะเดาแทน ด้วยความตั้งใจแน่วแน่มุ่งมั่น ทำตามคำที่นักวิจัยเยอรมันบอกทุกขั้นตอน แค่ 3-4 เดือนเท่านั้น อาการของเมียทุเลาลง จากจ่ายค่ารักษาพยาบาลงวดละ 10,000 ลดลงเหลืองวดละ 1,000 จากต้องไปหาหมอเดือนละครั้ง ลดเป็น 3 เดือนครั้ง....

เรื่องการใช้สารสะเดากับมะม่วงที่สวนนี้ ชาวบ้านย่านนั้นรู้ดี เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความลับ แต่เป็นเรื่องที่ควร “เผย แพร่/ส่งเสริม” ด้วยซ้ำ รู้ทั้งรู้ เห็นกับตาจับกับมือกินกับปาก กลับไม่เชื่อ ไม่เอาตาม ไม่ต่อยอดขยายผล บางรายหนักหน่อย หาว่าลุงเฉียดฯ “บ้า” ซะอีก ....

ลุงเฉียดฯ เลยบอกศาลาบ๊ายบาย ตัวใครก็ตัวใคร เลิกสอน เลิกบอก ว่าแล้ว ไปเที่ยวหาเก็บ “ขวด/กล่อง/ซอง/ถุง/โบชัวร์ สารเคมียาฆ่าแมลง” สารพัดชนิด ทุกยี่ห้อ เอามากองไว้ที่บ้าน กองสูงท่วมหัว ไว้ให้คนดู แล้วบอกว่า “มะม่วงที่นี่ไม่มีโรคแมลง เพราะสารเคมียาฆ่าแมลงในกองนั่นไง..

จากงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยเยอรมันจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษา ไทย เพราะมีนักวิชาการไทยร่วมงานอยู่แล้ว กับขอซื้อลิขสิทธิ์ไปด้วย ส่วนไทยเรา โดยคุณ “ชาตรี จำปาเงิน” เอาไปทำสารสะเดา ออกขาย ตั้งชื่อยี่ห้อว่า “สะเดาไทย 111” วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้

เรื่องสารสะเดา ไทย-เยอรมัน ..... เอวัง ก็มีด้วยประการะ เช่นนี้



หมอกับเกษตรกร :
วันนั้น สุภาพสตรี สมช.รายการวิทยุ มาที่ RKK สอบถามแล้วทราบว่า อาชีพเป็นพยาบาล สังกัด ร.พ.บ้านโป่ง ราชบุรี ทำสวนผักข้างบ้านเป็นงานอดิเรก มาขอความรู้เรื่อง ปุ๋ยธรรมชาติแท้ๆ ยาสมุนไพรแบบที่ใช้กำจัดแมลงได้ทุกชนิด งานนั้นลุงคิมจัดให้ฟรี ไม่คิดตังค์

คุณพยาบาลเล่าสู่ฟังว่า ระยะ 3-4-5 เดือนที่ผ่านมา มีคนไข้มาหาหมอ หมอใหญ่ตรวจแล้วพบอาการป่วย แต่หาสมุห์ฐานหรือสาเหตุของการเกิดโรคแล้ววิเคราะห์โรคไม่ได้ จึงสั่งยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ โดยตรงไม่ได้ ต้องให้ยาแบบบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้าน ทานขึ้นมาสู้กับโรคนั้นเอง

หมอใหญ่ตรวจสอบประวัติส่วนตัวคนไข้แล้วพบว่า 9 ใน 10 คนมีอาชีพเป็นเป็นเกษตรกร ตัดสินใจไปที่บ้านของคนไข้ เพื่อว่า อาจจะได้ข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับคนไข้บ้าง และ แล้วหมอใหญ่ก็พบกับของจริง ถึงกับตะลึง ....

ที่ไต้ร่มไม้หน้าบ้าน โคนเสาไต้ถุนบ้าน ริมผนังห้องภายในบ้าน มี “ขวดสารเคมียาฆ่าแมลง” หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งพื้นฐานของหมอใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยว่า สารเคมีเหล่านั้น ชื่ออะไร ? ยี่ห้ออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? เข้าไปอยู่ในบ้านได้ 2-3-4 นาที กลิ่นสารเคมีโชยมากระทบจมูกอย่างแรง กระทั่งเกิดอาการเวียนหัว ต้องออกมาคุยนอกบ้าน...

บ้านแรก บ้านที่ 2-3-4-5- สภาพภายในบ้านอยู่ในสภาวะเดียวกัน จึงสรุปได้เลยว่า สมุห์ฐานหรือสาเหตุของโรคของคนไข้ มาจากร่างกาย “ได้รับ/สะสม” สารเคมียาฆ่าแมลงจนเกินพลังภูมิต้านทานที่ร่างกายจะรับได้แน่นอน

ความคิดของหมอใหญ่ ณ เวลานั้น คือ ผู้ที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือ “จนท.เกษตร” เท่านั้น เมื่อระบบราชการ เพื่อประชาชน 2 ท่าน ระหว่างหมอใหญ่กับเกษตรอำเภอ พบกัน การพูดคุยคนละเรื่องเดียวกันก็อุบัติขึ้น

หมอใหญ่ : เกษตรครับ ผมอยากให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี มีทางเป็นไปได้ไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : ผมพยายามมากว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มมารับหนาที่ ที่นี่แล้วครับ

หมอใหญ่ : ได้ผลไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : เรียนคุณหมอตามตรง ผมไปสอน ไปทำให้ดู เอาไปแจก อะไรเขาก็ไม่เอา

หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 1) เพระอะไรครับ ?
เกษตรอำเภอ : เขาบอกว่า ช้า ไม่ทันใจ ยุ่งยาก เสียเวลา กลัวจะไม่ได้ผล

หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 2) แต่มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่า ไม่ใช่เหรอครับ ?
เกษตรอำเภอ : ก็นั่นน่ะซีครับคุณหมอ ผมก็ไม่รู้เหมืนกันว่า เขาต้องการอะไรแน่

หมอใหญ่ : แสดงว่า เขาไม่ได้กลัวพิษภัยจากสารเคมีเลย
เกษตรอำเภอ : ประมาณนั้นนั่นแหละครับคุณหมอ


แปลงผักคนบ้า ฝนตกรดน้ำ :
วันนั้น ลุงคิมมีโปรแกรมธุระที่ตัวจังหวัดเมืองกาญจน์ ผ่าน อ.ท่าม่วง ช่วงเวลาประมาณเที่ยงวัน เกิดฝนตกขึ้นมากะทันหัน ประมาณครึ่ง ชม.ฝนหยุด หยุดแล้วแดดออกต่อ ที่ภาษาชาวบ้านเรียบกว่า “ฝนต่อแดด” เหลือบสายตามองข้าทางเห็นแปลงปลูก คะน้า ผักกาด 2-3 แปลง ขนาดแปลง 2-3 ไร่ มองผ่านๆก็ว่าปกติ แต่มีแปลงหนึ่งไม่ปกติ ตรงที่ เปิดสปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำรดแปลงผัก ตัดสินใจจอดรถข้างทาง มองซ้ายขวา หาเจ้าของแปลงนั้นไม่เห็น แต่เห็นเจ้าของแปลงข้างเคียง ซึ่งพอจะเดาได้ว่าไม่ใช่เจ้าของแปลงที่เปิดสปริงเกอร์ จึงเลียบๆ เคียงๆ เข้าไปคุยด้วย

“ลุง สำรวจแปลงผักเหรอ ?” ส่งยิ้มนำ แล้วตามด้วยคำถามแทนคำทักทาย
“ดูหน่อย น้ำขังหรือเปล่า” ลุงเจ้าของแปลงตอบ แต่สายตายังมองอยู่ที่พื้นแปลงผัก

“ลุงไม่ฉีดน้ำแบบแปลงนั้นบ้างเหรอ ?” ถามพร้อมกับเหลียวมองไปทางแปลงที่เปิดสปริงเกอร์
“ไม่เอา” ตอบสั้นๆ เหมือนไม่สนใจ

“อ้าว แล้วแปลงนั้นเขาเปิดน้ำทำไมล่ะ ?” ถามตรงๆ
“อ๋อ นั่นมันบ้า ฝนตกยังรดน้ำ”

หางเสียงคำว่า “บ้า” ฟังแล้วทะแม่งๆ คล้ายกับไม่พอใจอะไรซักอย่าง ประมาณนั้น ไม่ถามเรื่องนี้ต่อ แต่เถลไถลเลี่ยงไปดูน้ำขังค้างหน้าดินบนแปลง พอรู้เรื่องจึงบอกขอบคุณแล้วขอตัวกลับ

จากวันนั้นเว้นไป 2 วัน ลุงคิมเจตนาย้อนกลับไปที่แปลงผักเจ้านั้นอีกครั้ง ด้วยวัตถุประ สงค์บางอย่าง ไปถึงช่วง เวลาประมาณ 10 โมงเช้า ภาพปรากฏคราวนี้เป็นเจ้าของแปลงผักที่เคยสำรวจน้ำขังค้างเมื่อ 2 วันก่อน กำลังสะพายเป้ถังพ่นยา โยกขาปั๊ม เดินฉีดพ่นละอองฝอยไปตามยอดผักอย่างประณีตพิถีพิถัน กะให้โดนยอดทุกยอด อาบไล้ทั่วทั้งต้นทุกต้น แล้ว ไหลย้อยลงพื้นดิน ทันทีที่เข้าใกล้ระยะ 10 ม. เริ่มมีกลิ่นสารเคมีโชยมาชัดเจน

“ลุง ทำอะไรน่ะ ?” ส่งเสียงถามนำไปก่อนแทนการทักทาย
“ฉีดยาน่ะซี” เจ้าของแปลงตอบห้วน ไม่รู้ว่าใจจริงอยากตอบหรือเปล่า

“ผักมันเป็นอะไรล่ะลุง ?” ถามเพราะมารยาทมากกว่าอยากรู้จริงๆ
“เชื้อราใบจุด” ลุงเจ้าของแปลงตอบสั้นๆ

“อืมมม แปลงลุงเป็นเชื้อรา แล้วแปลงข้างๆนั่น ไม่เป็นเหรอ ?” เจตนาแกล้งถามซะมากกว่า
“ไม่รู้มัน” ลุงตอบไม่มองหน้า น้ำเสียงห้วน หางเสียงเหมือนไม่พอใจอะไรซักอย่าง

“เดี๋ยวเขาคงออกมาฉีดมั้งลุง” ระงับหางเสียงกลั้วหัวเราะเล็กไม่อยู่ หยุดเดินเข้าไปหาลุงคนฉีด เพราะไม่อยากสัมผัสกับกลิ่นสารเคมี ซักพักเล็กๆ ถือโอกาสบอกลา

นึกๆ อยากบอกความจริงว่านี่มันคืออะไร แต่เห็นท่าทางชาวสวนคนนี้ตั้งแต่แรกแล้วเกิดอาการไม่กล้าขึ้นมาทันที นี่คือลักษณะของเอกบุรุษผู้ “ยึดติด” อย่างแท้จริง พูดไปบอกไปก็ไม่เชื่อ

ในความเป็นจริงคือ เชื้อแอนแท็คโนสหรือโรคใบจุด เชื้อโรคตัวนี้เกิดเองในดิน ดินที่เป็นกรดจัด เมื่อเจริญขึ้นมาจะเป็นสปอร์ก็ล่องลอยไปตามลม ครั้นเมื่อฝนตก โดย ธรรมชาติน้ำฝนตกใหม่เป็นกรดอ่อนๆอยู่แล้ว เชื้อตัวนี้จึงเข้าไปแฝงตัวอยู่กับน้ำฝน จนเมื่อน้ำฝนแห้ง เชื้อโรคก็จะแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช แล้วแพร่ขยายพันธุ์ เป็นแผลขนาดใหญ่ตามจุดต่างๆบนส่วนของพืชที่เข้าไปแฝงอยู่

การฉีดพ่นน้ำเปล่าทันทีที่ฝนหยุด หรือฉีดพ่นก่อนน้ำฝนแห้ง จึงเป็นการชะล้างเชื้อแอนแทร็คโนสที่แฝงตัวอยู่กับน้ำฝนให้ตกลงดิน ซึ่งเท่ากับได้กำจัดเชื้อโรคไปในตัวนั่นเอง แปลง “คนบ้า” ที่เปิดสปริงเกอร์หลังฝนหยุดจึงรอดพ้นจากเชื้อโรคตัวนี้

กรณีที่ชาวสวนใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ฉีดพ่นหลังจากเชื้อโรคแพร่ระบาดแล้ว แม้จะกำจัดเชื้อโรคให้ตายได้ แต่ก็ไม่ได้ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อโรคทำลายไปแล้ว ฟื้นสภาพคืนดีอย่างเดิมได้ นั่นคือ “คนดี” นอกจากไม่ได้ผลผลิตแล้ว ยังเสียเงิน เสียสุขภาพ เสียเครดิตอีกด้วย .... ว่ามั้ย


หลอกเกษตรกรทั้งนั้นแหละ !
จำได้แม่น ปทุมธานี เขต อ.เมือง ต.อะไรไม่ใส่ใจรู้ หะแรก นั่งคุยกับ สมช.ที่ปลูกผักตามแนวทางสีสันชีวิตไทย อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของผักกินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียว อยู่ริมแปลงผักที่บ้านตามลำพังตามประสาคนชอบพอกัน แล้วเพื่อนบ้านของ สมช.แปลงติดกันก็เข้ามาคุยด้วย

รู้เบื้องต้นพอคร่าวๆ เกี่ยวกับเพื่อนบ้านแปลงติดกันคนนั้น ปลูกผักเนื้อที่ 6 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ผักที่ปลูก คะน้า/ขาวปลี/ผักแก้ว/ผักหอม/บุ้งจีน/ชีใบฝอย (เรียกชื่อตามพื้นบ้าน) บังเอิญได้ปะหน้ากัน รายการ-ถามตอบ จึงอุบัติขึ้น....

ข้างบ้าน : [/color] สวัสดีค่ะลุงคิม ได้ยินชื่อลุงมานาน วันนี้เจอตัวจริง โชคดีจัง
ลุงคิม : (หัวเราะนำ เตรียมสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง) โชคดี แล้วดวงดีด้วยรึเปล่า ?

ข้างบ้าน : คงดีค่ะลุง ลุงคะ อยากถามปัญหาหน่อยค่ะ ?
ลุงคิม : ว่ามา ยกเว้นปัญหาหัวใจนะ

ข้างบ้าน : หัวใจไม่มีปัญหาค่ะลุง แต่ผักซิคะ ปัญหามากจัง
ลุงคิม : ปัญหาตรงไหน ว่ามาซิล่ะ

ข้างบ้าน : ต้นทุนค่ะลุง หนูอยากลดต้นทุนค่ายา คนกลางที่รับซื้อก็อยากให้เลิกใช้ยาด้วย เพราะคนกินเขากลัว แต่ไม่รู้จะทำยังไงคะ
ลุงคิม : อืมมม ถ้าเราใช้น้อยลงต้นทุนก็ลด เลิกใช้คนกินก็เลิกกลัว ไม่ใช่เหรอ ?

ข้างบ้าน : ใช่ค่ะลุง ใช้น้อย เลิกใช้ แล้วทำยังไงล่ะคะ ?
ลุงคิม : เอาเรื่องยาก่อน ยาถูกใช้ถูก โอเค ได้ผล .... ยาถูกใช้ผิดหรือยาผิดใช้ถูก ไม่โอเค ไม่ได้ผล .... แมลงก็เหมือนคน คนกินยาฆ่าแมลง ตาย แมลงกินยาฆ่าแมลงแล้วไม่ตายเหรอ ?

ข้างบ้าน : ตายค่ะลุง แล้วที่หนูให้มันกิน แล้วทำไมมันไม่ตายล่ะคะ ?
ลุงคิม : นั่นแหละที่เขาเรียกว่า มันดื้อยา

ข้างบ้าน : ตอนนี้ หนูผสมยาใช้ครั้งละ 6 ตัว งั้นเราแยกใช้ทีละตัว แล้วก็สลับกัน จะดีไหมคะลุง ?
ลุงคิม : .... ดี แต่แค่เกือบดีนะ เพราะยาแต่ละตัวจะตรงศัตรูพืชเฉพาะแต่ละตัวเท่านั้น บางครั้ง ยาคนละตัวกัน ผสมกันแล้วเสื่อมก็มี งานนี้เหมาจ่ายไม่ได้ แล้วเรารู้เหรอว่า ตอนนี้ศัตรูพืชอะไรจะต้องใช้ยาตัวไหน หรือยาอะไรผสมกันได้ผสมกันไม่ได้ นี่ไง ยาถูกศัตรูผิด ยาผิดศัตรูพืชถูก มันถึงไม่ได้ผล ไงล่ะ

ข้างบ้าน : แล้วเราจะรู้ได้ไงคะลุงว่า ยาตัวไหนตรง ไม่ตรง กับศัตรูพืชตัวไหน ? ยาตัวไหนผสมกันได้ ผสมกันไม่ได้ ?
ลุงคิม : ถามร้านขายซี่ เขาขายเขาต้องรู้

ข้างบ้าน : ไม่จริงหรอกลุง พวกนี้หลอกเกษตรกรทั้งนั้นแหละ
ลุงคิม : อ้าววว แบนี้ รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก นี่หว่า

ข้างบ้าน : สงสารเกษตรกรเถอะลุง
ลุงคิม : แล้วจะให้ทำยังไงล่ะ ที่จริง เกษตรกรไม่ได้สงสารตัวเอง แล้วจะให้ลุงคิมสงสาร ยังงั้นเหรอ ?

ข้างบ้าน : โธ่ลุง คนไม่รู้ก็คือไม่รู้นะลุง
ลุงคิม : ใช่ ไม่รู้คือไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วไม่รับรู้ ปิดประตูรับรู้ทุกเรื่อง แม้แต่ที่ลุงจะบอกนี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถึงบอกไปก็ไม่เอา ไม่เชื่อ ไม่ใช้

ข้างบ้าน : เพราะอะไรคะลุง ?
ลุงคิม : ใจไง ใจไม่เอา ยุ่งยาก เสียเวลา ไม่ได้ผลทั้งๆที่ยังไม่ได้ใช้ แล้วไอ้ที่ใช้น่ะ ไม่ได้ผลแต่ไม่คิด ไม่ยอมรับ

ข้างบ้าน : หมายความว่าไงลุง หนูไม่เข้าใจ ?
ลุงคิม : อืมมม มันก็คงไม่เข้าใจอยู่อย่างนี้แหละนะ เรื่องนี้ถ้าพูดเป็นวิชาการ 4ปีไม่จบ แต่ถ้าใจเอาใจรับ 4 ชั่วโมงรู้เรื่อง ทำได้เลย

ข้างบ้าน : ทำไงเหรอลุง ?
ลุงคิม : เอางี้ ลองยาสมุนไพรดูมั่ง เอา บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร. สะเดา. น้อยหน่า. ยาฉุน. สาบเสือ. ยูคา. อันนี้แมลงปากกัดปากดูดวางไข่ทุกแมลงกับหนอนกัดกินพืช .... พริก. ขิง. ข่า. ขมิ้น. ดีปลี. หอม. กระเทียม. ตะไคร้. กระชาย. หมาก. อันนี้แก้โรคทุกโรค .... วิธีทำก็ให้เอาทั้งสมุนไพรแมลง สมุนไพรโรคทั้งหมดมาต้มรวมกัน ต้มพอเดือด ต้มแล้วปล่อยให้เย็นก็ใช้ ได้ .... ส่วนโรคในดิน ใช้จุลินทรีย์ จะเป็นจุลินทรีย์โดยเฉพาะหรือจุลินทรีย์ในน้ำ หมักชีวภาพก็ได้ ก็เท่านี้แหละ

ข้างบ้าน : ใช้บ่อยไหมลุง ?
ลุงคิม : ถามจริง งานนี้เอาจริงเหรอ ?

ข้างบ้าน : เอาซี่ลุง วันนี้มันไม่ใช่ต้นทุนสูงอย่างเดียว ราคาก็ตก ขายแล้วขาดทุน ขาดทุนไม่พอกลับเป็นหนี้อีก ไม่เลิกยาเคมีไปไม่รอดแน่ลุง
ลุงคิม : (หัวเราะ) นี่มั้ย ที่เขาว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

ข้างบ้าน : ไม่ใช่เห็นอย่างเดียวนะลุง ลงไปนอนในโลงด้วย
ลุงคิม : เอาเป็นว่า สมุนไพรแมลงกับสมุนไพรโรค ที่เอามาต้มนั่น ระยะ3วัน 5วันแรก ฉีดพ่นทางใบทุกวัน พอเห็นว่าเอาอยู่แล้วค่อยเลื่อนให้เป็น วันเว้นวัน หรือวันเว้น2วันก็ได้ ส่วนจุลินทรีย์ให้ 15 วันครั้ง

ข้างบ้าน : ลุงมีอะไรแนะนำอีกไหมคะ ?
ลุงคิม : ไอ้ที่จะแนะนำน่ะ ยังมีอีกเยอะแยะ พูด 4 ปียังไม่จบเลย แต่ถ้าใจเอาจริง ลองทำลองใช้ 4 นาทีบรรลุโสดาบัลย์ได้ คราวนี้แหละ ต้นทุนจะลด คนกลางไม่ปฏิเสธ คนกินจะไม่รังเกียจ

ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : หาสมุนไพรทำยาแต่ละสูตรให้มากชนิดกว่านี้ สมุนไพรยิ่งมากชนิดยิ่งดี เพราะสมุนไพรตัวหนึ่งมีฤทธิ์กับศัตรูพืชตัวหนึ่ง เท่านั้น เราต้องใช้วิธีดักทาง แล้วก็ฉีดพ่นบ่อยๆ เอาเถอะ หนอนแมลง โดยยาสมุนไพรบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก มันอยู่ไม่ได้หรอก ว่ามั้ย

ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : แล่นเรือปากเป็ด ฉีดพ่นทุกวัน วันและครั้ง ทำทันเหรอ ?

ข้างบ้าน : ไม่ทันก็ต้องทันค่ะลุง รุ่นหน้าหนูวางแผนจะติดสปริเกอร์แบบของลุงค่ะ
ลุงคิม : ก็ลองดู


มุ้งปลูกผัก โรคมาก :
“แปลงผักกางมุ้ง รังสิต : อยู่รังสิต 2-3-4 ปีแรก ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก .... ขึ้นปีที่ 5-6 เริ่มวูบๆ วาบๆ รายได้ลด เพราะ ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และตลาดรองรับ

“ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก” : เพราะแปลงปลูกกางมุ้งตาข่ายแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ไม่ได้จึงไม่มีหนอน.... มุ้งตาข่าย เพลี้ยไฟเข้าได้ แต่เพลี้ยไฟไม่เข้าเพราะไม่มีพืชเป้าหมาย ผักแปลงนี้จึงรอดจากสารเคมียาฆ่าแมลง

“วูบๆ วาบๆ รายได้ลด ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด” : เพราะปริมาณผลผลิตผักแต่ละรุ่น แต่ละล็อต ที่ได้ มากน้อยเอาแน่ไม่ได้ ผักที่เก็บมาแล้วต้องคัดทิ้ง

“คุณภาพ ปริมาณ ลด” : เพราะโรคที่มาจากทางรากทำให้ผักไม่สมบูรณ์ ขนาดเล็ก น้ำ หนักเบา ตกเกรด สาเหตุมาจากในมุ้งตาข่าย อุณหภูมิสูงกว่าภายนอกตาข่าย 4 องศา ซ. อุณหภูมิที่สูงกว่าระดับนี้ส่งเสริมให้เชื้อโรคในดินพัฒนาเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและสูงกว่าปกติ ผลคือ ผักในมุ้งแปลงนี้ไม่มีศัตรูพืชบนต้น แต่มีศัตรูพืชในดินไฟธอปเทอร์ร่า, พิเทียม, ฟูซาเลียม, สเคลโรเทียม, ไรซ็อคโทเนีย ไส้เดือนฝอย. กับอีก 10 กว่าโรค ไม่ได้ท่องมา

“ตลาดต่างประเทศปฏิเสธ” : ส่งตามออร์เดอร์ไม่ได้ต้องถูกปรับ แนวทางแก้ปัญหา คือ ไปเอาผักที่ใช้สารสมุนไพร 100% ส่งออร์เดอร์แทน

“รูปแบบเกษตร” : ไม่ได้ใช้สารเคมี แต่ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าเลือด แม้จะใช้ครั้งละไม่มาก แต่ไม่เคยใช้อินทรีย์ร่วม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ ทั้งที่มีในธรรมชาติและที่สร้างแล้วใส่ลงไป

.........................................................................................................

(ปัญหาทำนองนี้ ดอกเตอร์ไม่รู้.....ก.ไม่เชื่อ)

............................................................................................................

แปลงผักกางมุ้ง กำแพงแสน นครปฐม : แปลงนี้ปลูก กระเพา โหระพา แมงลัก อย่างละ 3 ไร่ สำหรับส่งออกสวิสส์เซอร์แลนด์ตามเกษตรพันธะสัญญา (contract farming) กางมุ้ง ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเด็ดขาด ใช้กับดักกาวเหนียวได้ ไม่ห้ามปุ๋ยเคมี

เกมส์นี้น่าสน คือ
ราคาสูงกว่าตลาดในประเทศ 3 เท่า
บริษัทมาตรวจ 2-3 เดือน/ครั้ง และ
ก่อนมาตรวจจะแจ้งล่วงหน้า ....

เรื่องราคาดีกว่า อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว บริษัทมาตรวจก็ดี แต่แจ้งล้วงหน้าก่อนมานี่ดี เพราะบางอย่างเปิดเผยไม่ได้ ... เรื่องของเรื่องก็คือ เพราะอุณหภูมิในมุ้งสูงกว่าอุณหภูมินอกมุ้ง (ตอนบ่ายๆ คนเข้าไปอยู่มุ้งจะรู้สึก) ทำให้เชื้อโรคในดินมาก แก้ไขด้วยการ “เปิดด้านข้างมุ้ง” ตอนกลางวันเพื่อปรับอุณหภูมิ ตกกลางคืนก็ปิดอย่างเดิม การที่บริษัทแจ้ง ล่วงหน้าว่าจะมาตรวจ จึงช่วยให้การ ปิด/เปิด ข้างมุ้งทำได้แนบเนียนดี นอกจากนั้นยังมีการใช้ “สารสมุนไพร” ร่วมด้วย เพราะตัวนี้บริษัทไม่ได้ห้าม

ในความเป็นจริง ตลาดผักอินทรีย์ มีการตรวจเฉพาะ “สารเคมียาฆ่าแมลง” เท่านั้น ไม่เคยได้ข่าว หรือเคยเห็นเขาตรวจ “ปุ๋ยเคมี หรือ สารสมุนไพร” เลย

.......................................................................................................

(ฝรั่งสวิสส์เซอร์แลนดิ์ เอาผักพวกนี้ไปเยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดน กินกับแซนด์วิช บอกว่าเป็นทั้งอาหารและยา แถมบอกว่าคนไทยโง่ที่ไม่กินผักพวกนี้ คนไทยเลยสวนว่า ยูนั่นแหละโง่ คนไทยกินมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว กินผักสมุนไพรมากชนิดกว่านี้ด้วย ฝรั่งเลยกินทั้งเซ่อทั้งผัก)

......................................................................................................

แปลงผักกางมุ้ง ใกล้เสาส่ง ทีวี.ช่อง 3 บางแค กทม. : แปลงผักกางมุ้ง ขนาด 5 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ ครึ่งไร่ รวม 10 โรง ราคาโรงละ 200,000 (วัสดุ + ค่าแรง) ทุกขั้นตอนทำตามสเป็คที่บริษัทส่งออกกำหนดทุกปะการ .... ระยะเวลาก่อสร้างราวครึ่งเดือน วันนี้เนื้องานเสร็จกว่า 95% แล้วนั้น เหมือนบุญมีแต่กรรมบัง พระสุรัตน์วดีหรือพระยายมราช สั่งให้เกิดพายุใหญ่ ล้มเรือนกางมุ้งทั้ง 10 หลังลงกองเอ๊าะเยาะกับพื้น

(เกมส์นี้ หยุด/ถอย/เลิก หรือว่า เดินหน้าใหม่ ไม่รู้ เพราะขาดการติดต่อตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้)





.




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/01/2024 10:46 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 24/01/2024 3:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เซียนกล้วยไม้ :
เรือนกล้วยไม้ ขนาด 20 ไร่ ที่สามพราน นครปฐม ....
นึกภาพ (1) : เรือนกล้วยไม้ หลังคาซาแลน แสงส่องได้ไม่ถึงครึ่ง ผนังทั้ง 4 ด้านปิดซาแลนอีก ฉะนี้ อากาศด้านบน ด้านข้าง จะระบายเข้าระบายออกยังไง

นึกภาพ (2) : กล้วยไม้ศัตรูพืชมาก ดอก-ใบ-ต้น-ราก วางขายตามท้องตลาด ชาวสวนกล้วยไม้รู้จักดีกว่า 30 ยี่ห้อ

(ยี่ห้อ คือ แบลนด์ ชื่อการค้า ไม่ใช่ชื่อสามัญ นั่นหมายความว่า ในจำนวน 30 ยี่ห้อทั้งหมดนี้ อาจจะมีเพียง 3-4 ตัว หรือชื่อสามัญเท่านั้น)

ฉีดสารเคมีแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานเท่าไร นั่นคือ คนฉีดต้องได้รับสารเคมีนั้น นานเท่าเวลาที่ฉีด .... ฉีดทุก 3-5-7 วัน สารเคมีตัวเดิม นั่นคือ ได้รับสารเคมีตัวนั้น สะสมๆ ๆๆ ๆๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับคนฉีด

นึกภาพ (3) : สารเคมี ทุกยี่ห้อ/ทุกแบลนด์/ทุกชื่อการค้า โครงสร้างทางเคมีน้ำหนักมาก ไม่ล่องลอยไปเอง ถ้าไม่มีลมพัดก็จะตกลงพื้น วันแล้ววันเล่า วันเดือนหลายๆเดือนถึงเป็นปี สารเคมีตกลงพื้นทับซ้อนกัน ๆๆ เกิดปฏิกิริยาทางเคมี จากสารเคมีตัวหนึ่งกลายเป็นอีกตัวนึ่ง ตัวแรกว่าร้ายแรงต่อคนต่อสภาพแวดล้อมแล้ว มีตัวใหม่มาจากไหนไม่รู้เกิดขึ้นมาอีก.... ฉะนี้ ร่าง กายคนจะปรับตัวรับไหว .... มั้ยเนี่ย

(ข้อมูลทางวิชาการนี้ คนขายสารเคมีไม่เคยบอก คนซื้อไม่เคยถาม....)

นึกภาพ (4) : ฝ่ายสามี ถือขวดขนาดลิตรครึ่ง ใส่หนอนสดๆ ดิ้นกระแด่วๆ มาค่อนขวด ให้ดูเป็นหลักฐาน .... บอกว่า :

- ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเก็บ 3 ชม. .................................... เก็บเสร็จแล้วมาเลย
- ใช้ยาฆ่ามาครบทุกยี่ห้อแล้ว เอาไม่อยู่ .................... ต้องใช้ตัวไหนดี
- มีคนแนะนำให้ใช้สมุนไพร ..................................... ไม่อยากใช้ เพราะไม่เชื่อ
- บางคนแนะนำให้ใช้กับดักกาวเหนียว ..................... ไม่อยากใช้ เพราะไม่เชื่อ
(แบบนี้ไม่เรียกว่า “ยึดติด” แล้วเรียกว่าอะไร....)

นึกภาพ (5) : ฝ่ายเมีย ไม่กล้าออกจากบ้าน 2 ปีกว่าแล้ว เพราะผิวเสียเป็นเด็กดักแด้ วันๆ รอแต่สาวมิสทีน ให้ช่วยหายารักษาผิวเด็กดักแด้...
(เป็นแผนการของฝ่ายผัว ให้เมียอยู่เฝ้าบ้าน ตัวเองจะได้แร่ดคนเดียว....)

นึกภาพ (6) : กล้วยไม้ คือ ดอกไม้ สัญชาติญาณของคน เมื่อหยิบดอกไม้ขึ้นย่อมยกขึ้นดม ดมมากดมน้อย ดมจื๊ดเดียวหรือดมนานๆ ก็ดมเหมือนกัน เมื่อดมก็ต้องหายใจเอาสารเคมีในดอกไม้เข้าไป แต่ยังดี คนซื้อแล้วดม นานๆดมครั้ง ถึงดมบ่อยก็ไม่ได้ดมดอกไม้จากสวนเดิม คนดมมีโอกาสเว้น นั่นหมายความว่า ร่างกายคนดมมีโอกาสผ่องถ่ายสารเคมีออกจากร่างกายได้ แต่คนทำคนฉีด ระหว่างฉีด รับเนื้อๆ ฉีดเสร็จแล้วกลับเข้าบ้านก็ยังได้รับอีก รับซ้ำ ๆๆ ๆๆ จะเกิดอะไรกับร่ายกายของตัวเอง
(งานนี้คนทำกล้วยไม้ขายไม่คิด แต่ผลที่เกิด นั่นคือ “กรรม” ใช่หรือไม่ ?)


นึกภาพ (7) : ฝ่ายผู้ฟัง ถ้าเหตุการณ์อีหร็อบนี้เกิดกับตัวเอง .......... คุณจะทำยังไง ?
(คำตอบ คือ “คนในกระจก” เท่านั้น....)



ต้มแห้ว .... ตาย !
ที่สุพรรณบุรี อำเภอ/ตำบล/บ้าน ไม่บอก แหล่งรับซื้อแห้วสด ปอกแห้ว ต้มแห้ว ส่งโรง งานแห้วกระป๋อง ถึงฤดูกาลจะมีแรงงานมารับจ้าง 10-20 คนประจำ ทำงานเช้าถึงค่ำ ตลอด 10-20 วัน ทำต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี

วันนั้น งานต้มแห้วหยุดลงเพราะคนงานทั้งโรงงานไปงานเผาศพเพื่อนคนงานด้วยกัน .... รู้จากเพื่อคนงานด้วย กันที่อ้างผลชันสูตรจากหมอว่า คนตาย ตายเพราะร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน

ปีนี้ไม่ใช่ปีแรกหรือคนแรก เมื่อ 2 ปีก่อน ปีเดียว หัวปีท้ายปี ตาย 2 ศพ ผลชันสูตรจากหมอกรณีเดียวกัน คือ ร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน กับให้เหตุผลที่ทุกฝ่ายตรงกันพูดตรงกันว่า

- หมอบอก ร่างกายสะสมฟูราดานจากการต้มแล้วหายใจเข้าไป
- เกษตรบอก เพราะใช้ฟูราดานมากเกิน จากการใส่รุ่นต่อรุ่น ทุกรุ่น จนเกิดสะสม
- เกษตรกรบอก ถ้าไม่ใส่ฟูราดานก็จะไม่ได้กินแห้ว
- เจ้าของโรงงานต้มแห้งบอก ทำได้แค่ช่วยงานศพ เพราะบอกให้เลิกใช้แล้วไม่เลิก
ฟูราดาน คือ อะไร ? : ....


ร้อยมาลัยนิ้วกุด :
สาวพิการ ขาลีบเดินไม่ได้มาตั้งแต่เกิด ตอนเป็นเด็กไม่ได้เข้าโรงเรียนเพราะความไม่สะดวกนานับประการ ครั้นโตพอเริ่มรู้เรื่อง วันหนึ่งมีคนเอาพวงมาลัยมะลิมาให้ สาวพิการรับไว้ด้วยความปลื้มปีติ พลันความคิดช่วยตัวเองก็บังเกิดขึ้น สาวเชื่อว่าตัวเองสามารถ ฝึก/หัด ร้อยมาลัยได้เหมือนคนปกติ เพราะงานแบบนี้ไม่ต้องเดิน เพียงนั่งอยู่กับที่ก็ทำได้ ขอแต่ทำให้ มาลัยออกมา ดีกว่า/สวยกว่า/เหนือกว่า/ราคาถูกกว่า ที่คนอื่นก็แล้วกัน

สาวพิการเริ่มจาก ค่อยๆบรรจงแกะมาลัยมะลิพวงนั้น ทีละดอก ๆๆ ๆๆ ตอนที่มะลิแต่ละดอกออกมานั้นก็ครุ่นคิดอยู่เสมอว่า ตอนเข้า มันเข้าไปแล้งต่อกันได้อย่างไร แกะออกมาแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ เข้าไปแล้วแกะออกมาอีก ทำซ้ำ 2-3-4 รอบ จนดอกมะลิช้ำทำอะไรไม่ได้อีก

ด้วยอุปนิสัยแม้จะพิการเดินไม่ได้ก็ไม่เคยคิดพึ่งใครให้ช่วยถ้าไม่จำเป็นหรือเหนือกว่าที่ร่างกายจะรับได้จริงๆ แล้วงาน ฝึก/หัด ร้อยมาลัยมะลิก็เริ่มขึ้น โดยคนในบ้านช่วยจัดหา วัสดุ/อุปกรณ์ ทุกอย่างมาให้ พร้อมกับตัวอย่างพวงมาลัยแบบต่างๆมาให้เรียนรู้

จากมาลัยฝึกหัดพวงแรก ต่อเป็นพวงที่ 2-3-4-5-10-20
จากมาลัยมะลิดอกรัก มาลัยมะลิกุหลาบหนู มาลัยมะลิจำปี มาลัยมะลิดาวเรือง
จากมาลัยคล้องข้อมือ สู่มาลัยคล้องคอ
จากมาลัยคล้องข้อมือ คล้องคอ สู่พานมาลัยจาก
มาลัยซื้อขายข้างถนน มาลัยสั่งทำพิเศษ สู่มาลัยประกวดชนะเลิศ

ชีวิตสาวร้อยมาลัยวัยกระเตาะกระทั่งสู่วัยสาวใหญ่ รายได้จากมาลัยสร้างสถานะเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ในหมู่บ้านและต่างบ้าน มีโฉนดที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มตู้

ใครจะคิดว่าทรัพย์สฤงคา สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ มากมายจะบันดาลความสุขทุกอย่างตามต้องการได้ เมื่อ....

*** สภาพร่างกายซูบผอม ผอมลงๆ กำลังวังชาเหลือน้อยลง เพราะสูดกลิ่นสารเคมีจากดอกมะลิเป็นประจำ ติดต่อนานต่อเนื่องนับสิบๆ ปี กระนั้นหัวใจแกร่งของสาวพิการก็หายอมแพ้ไม่

*** นิ้วชี้มือซ้าย บวมช้ำ เป็นแผล มีหนองไหล เพราะเข็มร้อยมาลัยสัมผัสกับสารเคมีจากมะลิ สะกิดผิวหนังปลายนิ้วเป็นประจำ ติดต่อนานต่อเนื่องนับสิบๆ ปี กระนั้นหัวใจแกร่งของสาวพิการก็หายอมแพ้ไม่ เมื่อนิ้วชี้ใช้งานไม่ได้ก็เปลี่ยนให้นิ้วกลางทำหน้าที่แทน

ลงท้ายชีวิตของสาวพิการหัวใจแกร่งต้องยอมเข้า ร.พ. ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย สร้างความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา กับยอมให้หมอตัดนิ้วชี้นั้นทิ้ง เพื่อไม่ให้แผลขยายลามไปถึงนิ้วอื่น

ถึงกระนั้น สาวพิการขาลีบ +นิ้วด้วน ก็ยังไม่ละความสู้ชีวิต ประกาศลั่นว่า เมื่อไม่มีนิ้วชี้แทงเข็มร้อยมาลัยได้ ก็จะใส่ถุงมือนิ้วกลาง แล้วให้ทำหน้าที่แทน.... เย !

พิษร้ายของดอกมะลิ :
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน

เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือกเย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาติแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นา นับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาชายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อม จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ ,น้ำเชื่อม เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้

แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวงมาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=10


สสจ. ตรัง ระวังสารฟอร์มาลีนในพวงมาลัย หลังสุ่มเก็บตัวอย่างในตลาดและบริเวณสี่แยกไฟแดงในเขตกรุง เทพฯ 27 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีนทั้งในดอกมะลิสดและดอกมะลิที่ร้อยเป็นพวงมาลัย ถึงจำนวน 17 ตัวอย่าง ชี้เป็นสาร เคมีที่มีความเป็นอันตรายมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

นายแพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ตรัง เปิดเผยว่า พวงมาลัยดอกไม้สดที่มีขายกันตามสี่แยกไฟแดง มีการแช่สารฟอร์มาลีนในพวงมาลัย ทำให้ผู้ที่ซื้อพวงมาลัยสูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนศรีษะในขณะขับรถ และจากการสุ่มเก็บตัวอย่างพวงมาลัยดอกมะลิที่ขายในตลาดและบริเวณสี่แยกไฟแดงในเขตกรุงเทพฯ 27 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีนทั้งในดอกมะลิสดและดอกมะลิที่ร้อยเป็นพวงมาลัย ถึงจำนวน 17 ตัวอย่าง อันตรายของฟอร์มาลีน เป็นสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายโดยมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

นายแพทย์วิฑูรย์ เปิดเผยต่อไปว่าหากมีการสูดดมไอของฟอร์มาลีน จะทำให้เกิดอาการแสบจมูก ไอ เจ็บคอ ปอดอักเสบ ระคายเคืองนัยน์ตา และถ้าสูดดมไอของฟอร์มาลีนมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการน้ำท่วมปลอดแน่นหน้าอก และอาจเสียชีวิตในที่สุด

"นอกจากนี้ ฟอร์มาลีนยังมีฤทธิ์กัดกร่อนหากผิวหนังมีการสัมผัสกับฟอร์มาลีนโดยตรง อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังไหม้ และหากได้รับสารฟอร์มาลีนสะสมเป็นระยะเวลานานในปริมาณ จะก่อให้เกิดมะเร็งได้ ทั้งนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบที่ขายดอกไม้ตามสี่แยกต่าง ๆ ให้ไปตรวจสอบและขอความร่วมมือต่อไป" นายแพทย์วิฑูรย์กล่าว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429601781


กลิ่นหอมมะลิ แฝงพิษร้าย :
เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือกเย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาดแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นานับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาขายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อม จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ , น้ำเชื่อม เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้

แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวงมาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม

อ้างอิง : กระทรวงวิทยาศาสตร์
http://comvariety.com


สารเคมี คนใช้ตายก่อนคนกิน :
วันนั้น ลืมเดือนปี พ.ศ. แต่จำได้แม่นว่าที่ อ.ไทรน้อย นนทบุรี ลุงคิมฯ ในนามรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ผู้ส่งเสริมการใช้สารสมุนไพรแทนสารเคมี คุณหมอฯ ประจำสถานีอนามัยพระพิมล ไทรน้อย นนทบุรี

วันนั้นเป็นการบรรยายให้ความรู้เรื่อง “พิษภัยจากสารเคมียาฆ่าแมลงในผัก และพืชต่อคนกิน” แก่เกษตรกรชาวสวนผักและผู้สนใจทั่วไปในย่านนั้นและใกล้เคียง ภายไต้โครงการริเริ่มโดยสถานีอนามัยพระพิมล เป็นที่น่ายินดีที่มีผู้สนใจเข้ามารับฟังกว่า 300 คน .... โปรแกรมบรรยายวันนั้น

ช่วงเช้า 9 โมงถึง 10 โมงครึ่ง ลุงคิมฯ พูดเรื่อง สารสมุนไพรแทนสารเคมี
ช่วง 10 โมงครึ่ง ถึงเที่ยง เป็นคิวเกษตรอำเภอไทรน้อย นนทบุรี บรรยายเรื่องน้ำหมักชีวภาพ

ช่วงบ่าย 2 โมง ถึงคิวคุณหมอฯ พูดเรื่อง พิษจากสารเคมีต่อร่างกายคน ระยะสั้นและระยะยาว

ช่วงพักเที่ยง ขณะนั่งทานอาหารกลางวันด้วย กันกับชาวบ้าน 3-4 คน

ลุงคิม : คุณหมอคิดว่า ทุกอย่างที่ผมสอนเขาไป เขาจะเอาไปทำ เอาไปต่อยอดไหมครับ
คุณหมอ : (หัวเราะในลำคอ) น่าจะได้นะซัก 2-3 ราย

ลุงคิม : ร้อยละ 1 เท่านั้นเหรอ ?
คุณหมอ : ก็เขาบอกแล้วไงว่า ยุ่งยาก เสียเวลา ถ้าไม่ได้ผลแล้วใครจะรับประกัน

ลุงคิม : (มองหน้าชาวบ้านที่ร่วมวงกินข้าวด้วย) ลุงคิดว่ายังไง ชาวบ้านเราจะเอาด้วยไหม ?
ชาวบ้าน : ผมเอาอยู่แล้ว ที่มาวันนี้อยากรู้ว่า จะทำยังไงให้ตัวยามันแรงกว่าเดิมที่เคยทำ

ลุงคิม : (มองไปทางเกษตรอำเภอ) คุณเกษตรล่ะครับ คิดว่า 300 คนวันนี้ จะเอาด้วยซักกี่คน
เกษตร : หวังยากครับ เพราะเกษตรกรเราฝังหัวอยู่กับสารเคมีมานาน

ลุงคิม : (ใช้ซ่อมจิ้มชิ้นคะน้าขึ้นดูก่อนใส่ปาก) คุณหมอว่า ถ้าในคะน้าชิ้นนี้มีสารเคมี คนกิน อย่างเราจะอันตรายซักแค่ไหนครับ ?
คุณหมอ :(คุณหมอถือโอกาสใช้ซ่อมในมือจิ้มชิ้นคะน้าแล้วส่งเข้าปาก หัวเราะในลำคอเบาๆ แล้วเหลือบสายตาไปที่ชาวบ้านคนนั่งข้างๆ) เราคนกินไม่ค่อยเท่าไหร่หรอก แต่คนฉีดสารเคมีซี่ รับเต็มๆ
ชาวบ้าน : จริงครับคุณหมอ ทุกรายมีประวัติอยู่ที่อนามัย ยาฆ่าแมลงเป็นพิษทั้งนั้น

ลุงคิม : (มองไปที่คุณหมอ) ในจำนวนคนไข้ในประวัติ มีคนกินที่ไม่ใช่คนใช้ซักกี่คนครับ
คุณหมอ : ไม่มีเลยนะ เท่าที่ดู มีแต่เกษตรกร แล้วก็เป็นเกษตรกรปลูกผักสวนครัวด้วย

ลุงคิม : (วางช้อนแล้วมองหน้าคุณหมอ) เหตุผลครับ
คุณหมอ : เพราะคนกินรับสารเคมีน้อย กินทีได้รับที ไม่ได้กินก็ไม่ได้รับ แต่เกษตรกรคนใช้คนฉีด รับทุกครั้ง ฉีดทุกวันได้รับทุกวัน ฉีดวันเว้นวันก็รับวันเว้นวัน

ลุงคิม : ไม่เข้าใจครับคุณหมอ ?
คุณหมอ : (จิ้มซ่อมชิ้นคะน้าแล้วยกขึ้นมา ประกอบคำอธิบาย) คืองี้ ถ้าในคะน้าชิ้นนี้มีสารเคมี มื้อนี้เรากินเข้าไปเราก็จะได้สารเคมีตัวนี้ มื้อหน้าเราไม่ได้กินคะน้าเราก็จะไม่ได้รับสารเคมี หรือถ้ากินคะน้าซ้ำอีกแต่เป็นคะน้าสวนอื่น เราก็จะได้สารเคมีตัวอื่นๆ ไม่ใช่ตัวเดิม ระหว่างมื้อที่เราไม่ได้รับสารเคมี แต่ร่างกายเราขับถ่ายออกไปเองได้ สารเคมีก็จะไม่เกิดอาการสะสม แล้วคนกินคนไหนจะกินคะน้าอย่างเดิม จากสวนเดิม ทุกมื้อๆๆ ล่ะครับ ....

(คุณหมอเหลือบสายตาไปมองชาวบ้าน แล้วอธิบายต่อ) แต่คนปลูก เป็นคนฉีดสารเคมี ฉีดสารเคมีตัวเดิม ฉีดซ้ำ ๆ ๆ มองออกไหมว่า ตัวคนฉีดคนใช้ก็คือเกษตรกรน่ะ รับสารเคมีเนื้อๆ เลย

ที่จริง ไม่มีสารเคมีอะไรเลยที่ไม่มีพิษ คนใช้คนกินทุกคนที่สัมผัสกับมัน อันตรายเหมือนกันทั้งนั้น เพียงแต่จะมากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว เท่านั้น

นอกจากนั้น วิธี การล้างผัก การปรุงผักด้วยความร้อน ก็ช่วยลดปริมาณสารเคมีลงได้ สุดท้ายคือ บำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะเกิดภูมิต้านทานในตัวเอง สู้กับพิษของสารเคมีได้

........................................................................................................

สรุปก็คือ :
คนใช้ .... เกษตรกรคนใช้ รับประจำ รับทุกตัว รับติดต่อกันนานนับปี ปีเดียว หลายปี ฉีดสารเคมีตัวเดียวรับตัวเดียว ผสมสารเคมีหลายตัวแล้วฉีดก็ได้หลายตัว รับทุกครั้งที่ฉีดพ่น นี่คือคนฉีด รับเต็มๆ ร่างกายขับถ่ายสารเคมีเก่ายังออกไม่หมด สารเคมีใหม่ทับมาอีก รับสาร เคมีสะสมมากๆ ๆๆ ร่างกายไม่มีโอกาสสร้างภูมิต้านทาน ความรุนแรงของสารเคมีก็จะหนักขึ้นๆ ๆๆ ยิ่งเกษตรกรที่ฉีดสารเคมีแบบใช้หลายตัวผสมกัน อันนี้ยิ่งรักษายาก ลงท้ายคือไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ต้องให้บำรุงร่างกาย ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเอง สร้างได้สร้างทันก็รอด สร้างไม่ได้สร้างไม่ทันก็ไม่รอด

........................................................................................................

คนกิน .... ไม่ได้รับทุกมื้อหรือทุกครั้งที่กิน กินผักชนิดเดิมแต่ต่างสวน กินผักแล้วเว้นช่วงกินให้ร่างกายขับถ่ายออกได้ ร่างกายมีโอกาสปรับตัว สร้างภูมิต้านทานให้ตัวเองได้

ลุงคิม : (พยักหน้าช้า เหมือนคิดอะไรออก) ถ้างั้น คนขายผักบนแผงก็ด้วย เพราะรับผักสาร พัดผักจากสวนทั่วทุกทิศ นั่นแหละสารพัดสารเคมี แล้วต้องหายใจเอาสารเข้าไปทุกวัน ๆ จะรอดเรอะ
คุณหมอ : ใช่ครับ (พูดแล้ววาดสายตาไปที่ชาวบ้าน ต่อด้วยเกษตรอำเภอ)
ชาวบ้าน : เกษตรกรเขาก็รู้นะ แต่เพราะยึดติดนั่นแหละครับ
เกษตร : ไม่ใช่ยึดติดอย่างเดียว บางทีเห็นแก่ของแจกของแถม ประเภทลดแลกแจกแถม เรื่องทำนองนี้ไม่ใช่ที่นี่ที่เดียวหรอกครับ ทั่วประเทศนั่นแหละ

ลุงคิม : ลุงคิม : (มองหน้าคุณหมอเต็มๆ แล้วหัวเราะ) งานนี้ต้องคุณหมอแหละครับ บอกเขาไปเลยว่า ถ้าไม่เลิกสารเคมีละก็ ตายลูกเดียว ถึงไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต ขายผักได้ก็ต้องเอาเงินมารักษาตัว เผลอๆบางรายขายผักได้ก็ต้องเอาเงินมาใช้หนี้อีก แบบนี้ชีวิตจะเหลืออะไร
เกษตร : ที่จริง ผมก็เคยเอาเรื่องนี้คุยกับเกษตรกรอยู่เหมือนกัน แต่เขาก็ไม่เอาด้วย เมื่อปีก่อน ที่กรมใหญ่ สัมมนาเรื่อง ลด/ละ/เลิก สารเคมี จัดโครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบ ไอพีเอ็ม. ทำแปลงสาธิตให้ เอาวัสดุอุปกรณ์ไปแจกให้ใช้ พาคนกลางรับซื้อผักปลอดสารพิษไปเจรจาตกลง แม้แต่เชิญวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรปลอดสารพิษไปบรรยาย อะไรก็ไม่เอาซักอย่าง สุดท้ายก็สารเคมี

ลุงคิม : ลุงคิม : (มองหน้าชาวบ้าน แต่ไม่พูดอะไร)
ชาวบ้าน : คงต้องปล่อย ตัวใครตัวมันแหละครับ

ลุงคิม : ลุงคิม : ที่จริง เกษตรกรชาวสวนผักก็รู้นี่ว่า ผักอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงน่ะ แม่ค้าคนกลางให้ราคาสูงกว่าผักใช้เคมี แม้แต่แม่ค้าบนแผงก็รู้อีกว่า ผักอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี รสชาติอร่อยกว่าผักใช้สารเคมี อันนี้ลูกค้าที่มาซื้อผักเขาเป็นคนบอกเอง แล้วทำไมเกษตรชาวสวนผักเราไม่ยอมปรับเปลี่ยน หรือหาวิธีการเลิกใช้สารเคมีแล้วมาใช้สารสมุนไพรแทน
ชาวบ้าน : ไม่ใช่คนรับซื้อให้ราคาดีกว่าอย่างเดียว ต้นทุนที่ต้องจ่ายลงไปก็ต่ำด้วย ขายแล้วกำไรชัด แต่ไม่ยอมทำก็เพราะยึดติดนั่นแหละครับ

ลุงคิม : ลุงคิม : น่าจะมีเหตุผลอื่นเหนือกว่ายึดติดนะ
เกษตร : เพราะใจไม่เอาครับ ปีก่อนผมมาสอนที่นี่ ที่เรานั่งอยู่นี่แหละ สอนแล้วก็แอบรู้มาว่าไม่เอาไม่ทำไม่ใช้ ปีถัดมาผมมาอีกครั้ง คราวนี้ทั้งสอนวิธีทำแล้วก็เอาที่ทำสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน มาด้วย เอามาแจกทุกคน ก็แอบรู้อีกว่าไม่เอาไม่ทำไม่ปีถัดมาเขาถาม ไอ้ที่แจกเมื่อปีที่แล้วยังใช้งานได้อยู่ไหม หมายความว่าไง ก็หมายความว่า สอนให้ทำก็ไม่ทำ เอามาแจกก็ไม่ใช้ จะว่าไม่มีความรู้ก็ไม่ใช่เพราะสอนแล้ว จะว่าไม่ได้ผลก็ไม่ใช่เพราะใกล้ๆบ้านมีคนใช้แล้วได้ผล ทั้งรู้ ทั้งเห็น แต่ไม่ยอมรับเอง
ชาวบ้าน : แต่ผมใช้นะเกษตร
ลุงคิม : ลุงคิม : (หัวเราะ)

คุณหมอ : (หัวเราะ)

การสนทนาในวงข้าวหยุดลง แต่ละคนตั้งหน้าตั้งตาโซ้วข้าวในจานจนหมด ดื่มน้ำล้างปากพอเป็นพิธี แล้วลุกขึ้นเดินไปยังที่นั่งตัวเอง ขณะที่คุณหมอเดินตรงไปหน้าห้องสัมมนาประชุม เตรียมทำหน้าที่บรรยายต่อไป


หน่วยพิฆาตหนอน :
แมลงตัวห้ำ (Predators) : เป็นแมลงที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร เช่น แมงมุม แมลงปอ ตั๊กแตน มวน แมลงหางหนีบ ด้วงเต่า เป็นต้น

แมลงตัวเบียน (Parasitoids) : เป็นพวกปรสิต ที่จะหากินหรืออาศัยอยู่ในตัวเหยื่อ (ศัตรูธรรมชาติ) ลักษณะการฆ่า ได้แก่ การวางไข่ในตัว ในดักแด้ ในไข่ของเหยื่อ และจะกัดกินจากภายใน เช่น แตนเบียน แมลงวัน

ในธรรมชาติจะมีแมลงมากมายหลายชนิดที่กินหรือทำลายแมลงที่เป็นศัตรูพืช แมลงพวกนี้เรียกว่า ตัวห้ำ และ ตัวเบียน ซึ่งเราควรที่จะอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ เนื่องจากว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์ คือ ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เรานั่นเอง ควรจะอนุรักษ์หรือไม่ทำลายแมลงกลุ่มนี้ โดยปล่อยให้ขยายพันธุ์ต่อไป ตัวอย่างของแมลงกลุ่มนี้ ได้แก่

ตั๊กแตนตำข้าว : มีอยู่หลายชนิด สีสันแตกต่างกันไป ไข่มีสีฟางข้าว และมีสารคล้ายฟองน้ำหุ้มไข่อยู่ โดยยึดติดอยู่กับกิ่งไม้หรือใบหญ้า ตั๊กแตนตำข้าวสามารถจับเพลี้ยอ่อนกินเป็นอาหาร ส่วนตัวใหญ่ ๆ ก็สามารถจับตั๊กแตนหนวดสั้น ผีเสื้อ กินได้เช่นกัน

ด้วงเต่า : ในเมืองไทย มีประมาณ 100 ชนิด ทั้งประเภทที่มีลายจุด หรือสีพื้น เช่น สีเหลือง แดง ดำ ด้วงเต่าจัดเป็นนักล่าเพลี้ยอ่อนเป็นอาหาร คือ สามารถจับเพลี้ยอ่อนกินได้ 40 ตัวในหนึ่งชั่วโมง นอกจากเพลี้ยอ่อนแล้วยังกินพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งน้อยหน่า หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ไร ด้วงเต่า จึงมีประโยชน์ในไร่ข้าวโพด ฝ้าย ยาสูบ สวนผักและผลไม้มีอายุ 2-3 เดือน ปีกท่อนบนมีสีดำ ท่อนกลางสีเหลือง ๆ ส่วนปลายเป็นสีน้ำตาล วางไข่เป็นกลุ่มไว้ตามกิ่งไม้

มวนเพชฌฆาตมีปากแหลม : สารมารถเจาะลำตัวแมลงศัตรูพืช ดูดของเหลวจากตัวแมลงเหล่านั้น ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่กินเป็นอาหาร เช่น เจาะกินพวก หนอนกระทู้ หนอนต้นฝ้าย หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อข้าวสาร มวนเขียว เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ จนต่อมาตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยที่ถูกดูดของเหลวจากลำตัวก็จะตายไป แมลงพวกนี้เป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ในสวนส้ม มะม่วง ลำไย ไร่ฝ้าย ไร่ยาสูบ เป็นต้น

แมลงปอ : จะบินโฉบเฉี่ยวหาอาหารไปเรื่อย ๆ จับแมลงที่ตัวเล็กกว่ากินเป็นอาหาร เช่น ศัตรูพืชพวกเพลี้ยต่าง ๆ และแมลงอื่น ๆ หลายชนิด แมลงปอบินได้เร็ว จับแมลงเล็ก ๆ เป็นอาหารได้คล่องแคล่ว แมลงปอจึงมีประโยชน์ต่อพืชไร่และพืชสวน

แมลงช้างปีกใส : จะจับแมลงศัตรูพืชกินเป็นอาหาร เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่น ไข่หนอนผีเสื้อ หนอนดิน หนอนกินใบฝ้าย หนอนเจาะสมอฝ้าย จัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อชาวไร่ชาวนา ชาวสวนได้มาก

แตนเบียนไข่ : เป็นแมลงที่วางไข่บนตัวแมลงต่าง ๆ คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีชมพู หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ไข่ผีเสื้อ หนอนเจาะลำต้นอ้อย หนอนกระทู้ผัก ต่อมาไข่ก็จะเจริญเป็นตัวอ่อนกัดกินตัวหนอนที่มันเกาะอยู่เป็นอาหาร จนตัวหนอนเหล่านั้นตาย จะเห็นได้ว่าแตนเบียนไข่เป็นแตน “เบียน” สมชื่อ เพราะวาง ไข่ทำลายแมลงได้หลายชนิด แมลงเหล่านี้สามารถที่จะทำลายแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้อีกทางหนึ่ง


ม้ง จ.ตาก ไม่กินผักตัวเอง :
เมื่อครั้ง ดร.พิจิต รัตตกุล ขึ้นมาเป็นผู้ว่า กทม. คาดเดาว่า ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเรื่องหนึ่งว่า อาหารที่ประชาชนบริโภคนี้มีสารเคมีปนเปื้อน จึงคาดเดาอีกว่า ผู้ว่า กทม. ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมาก ถึงกับวางแผนล้วงลึก เพื่อให้รู้ว่า ตัวปัญหาจริงๆมันคืออะไร อยู่ที่ไหน เพราะตระหนักดีว่า หากแก้ปัญหานี้ได้ เท่ากับได้รับใช้ประชาชนที่เลือกเข้ามาแล้ว ประเดิมไปพูดคุยกับแม่ค้าขายผักในตลาด

ผู้ว่าฯ : แม่ค้าขายผักสดแบบนี้มานานหรือยัง ?
แม่ค้า : ปีนี้ครบ 20 ปีพอดีค่ะ

ผู้ว่าฯ : รายได้ดีไหม ?
แม่ค้า : จะว่าดีก็ดีค่ะ พอส่งลูกเรียน

ผู้ว่าฯ : เป็นแม่ค้าขายผัก แค่ขายทำไมต้องมีผ้าปิดจมูกด้วยล่ะ ?
แม่ค้า : อ๋อ หมออนามัย กทม.นั่นแหละค่ะ แนะนำให้ปิดจมูกด้วย

ผู้ว่าฯ : เพราะอะไรเหรอ หมออนามัยได้บอกเหตุผลไหม ?
แม่ค้า : หมอบอกว่า ในผักมีสารเคมีฆ่าแมลงที่เกษตรกรเขาฉีด ถ้าเราหายใจเข้าไปบ่อยๆ ประจำๆ อาจทำให้เราเจ็บป่วยได้

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ เหลือบมองแม่ค้ารอบข้าง หลายคนมีผ้าปิดจมูก เห็นชัดว่านี่คือ ผลงานของทีมงานสาธารณสุข .... หันมาสนใจแม่ค้าต่อ) แล้วเกษตรกรที่เอาผักมาส่ง เขาบอกหรือเปล่าว่า เขาฉีดมากหรือน้อยแต่ไหน ?
แม่ค้า : โฮ้ยยยย เขาจะบอกอะไรคะ ถามเขาๆก็บอกว่า ฉีดนานแล้ว ฉีดหลายวันแล้ว วันนี้ยาหมดฤทธิ์แล้วทั้งนั้นแหละ

ผู้ว่าฯ : แล้วคนกินคนซื้อล่ะ เขาว่ายังไงบ้างไหม ?
แม่ค้า : ก็ไม่เห็นใครว่าอะไรนี่คะ ถ้าผักไม่สวยนั่นแหละ เขาจะติ แล้วขอลดราคา

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองผัก วางหน้าคิ้วย่น แล้วพูดลอยๆ) ผักสวย ผักไม่สวย
แม่ค้า : ใช้ค่ะ เกษตรกรเขาบอกว่า ถ้าไม่ฉีดยา หนอนจะเข้ามากัดกินผัก ทำให้ผักไม่สวย

ผู้ว่าฯ บอกกล่าวขอบคุณกับอวยพรขอให้ขายดีๆ เดินต่อไปที่แม่ค้าถัดไป 2-3 แผง พูดคุยสอบถามทุกเจ้า ไม่น่าเชื่อว่า ทุกคำถามเดิมล้วนได้คำตอบแบบเดียวกันทั้งสิ้น กระทั่งหันมาพูดคุยกับ จนท.เกษตร ที่ร่วมทีมตรวจเยี่ยมมาด้วย

ผู้ว่าฯ : คุณเกษตรฯ การเกษตรของไทยกับสารเคมีนี่ต้องคู่กันเลย ใช่ไหม ?
เกษตร : ไม่จำเป็นหรอกครับ อยู่ที่ตัวเกษตรกรเองว่า จะใช้หรือไม่ใช้ เพราะถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่สารเคมีแทน แต่เกษตรกรเลือกใช้แต่สารเคมีเท่านั้น

ผู้ว่าฯ : แล้วเกษตรกรเขารู้ถึงอันตายของสารเคมีไหม
เกษตร : รู้ยิ่งกว่ารู้อีกครับ ไม่ใช่รู้อันตรายอย่างเดียว คนที่ตายเพราะสารเคมีก็รู้ แต่เขาก็ยังใช้ เขาอ้างว่า ง่ายดี สะดวกดี เร็วดี

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองหน้าบรรดาคณะผู้ติดตามแล้วพบรอยยิ้มที่ไม่สดชื่นนัก และแล้วเหมือนผู้ว่าฯ จะคิดอะไรได้บางอย่าง หันไปทางแม่ค้าขายผัก แล้วออกปากถาม) แม่ค้า บอกได้ไหม ผักบนแผงตลาดนี้ มาจากจังหวัดไหน แม่ค้ารู้ไหม ?
แม่ค้า : มาจากจังหวัดตากค่ะ ส่งถึงตลาดนี่ราว ตี.2 ทุกวันค่ะ

ผู้ว่าฯ : คือว่า ผมจะตามไปดูผักในแปลงเลย ไปดูว่า เกษตรกรคนปลูกเขาจะแก้ปัญหาสารเคมี ปนเปื้อนได้ไหม ?
แม่ค้า : ดีค่ะท่าน นอกจากเขาจะปลอดภัยเองแล้ว คนขายบนแผงที่นี่ คนซื้อคนกินที่บ้าน ก็จะปลอดภัยด้วย

จากวันพบแม่ค้าผักในตลาด รวมเวลาได้ราว 7 วัน คณะผู้ตรวจนำโดยผู้ว่า กทม. กับคณะชุดเดิมก็ปรากฏตัวที่สวนผัก เกษตรกร จ.ตาก

ผู้ว่าฯ : ปลูกผักเยอะไหม ? กี่ไร่ ?
ม้ง : เฉพาะของผมคนเดียว 20 ไร่ ของญาติพี่น้องอีก รวมแล้ว 100 ไร่ครับ

ผู้ว่าฯ : ทำมานานหรือยัง ?
ม้ง : 10 20 ปีแล้วครับ

ผู้ว่าฯ : ทำแล้วส่งกรุงเทพมาตลอดเลยเหรอ ?
ม้ง : ใช่ครับ ส่งประจำ เป็นขาประจำครับ

ผู้ว่าฯ : ผักที่นี่ใช้สารเคมีไหม ?
ม้ง : ใช้ครับ ใช้มากด้วยครับ

ผู้ว่าฯ : ไม่ใช้ไม่ได้หรือ ?
ม้ง : ไม่ได้ครับ ผักไม่ฉวย คนกรุงเทพโง่ ชอบกินแต่ผักฉวยๆ

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มเจื่อนๆ แล้วถามม้งต่อ) แล้วม้งก็กิน ไม่กลัวตายหรือ ?
ม้ง : ม้งไม่ได้กิน หมาม้งก็ไม่กิน ม้งกินผักแยกปลูกต่างหาก

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มแหยๆ ส่านหัว ไม่ถามต่อ) ขอบคุณมาก

ผู้ว่า กทม. ก้มหน้าครุ่นคิดอย่างหนัก ก้าวเท้าถอยห่างออกมา ท่าทางเหมือนจะเดินไปที่รถ ผิดปากเงียบ แม้แต่คำขอบคุณ คำบอกลา เจ้าของสวนก็ไม่มี เช่นเดียวกับทุกคนในคณะที่ต่างพากันปิดปากเงียบ ไม่พูดแต่กำลังคิด คิดอย่างหนัก คิดอยู่ว่า ในเมื่อคนซื้อคนกินต้อง การ “ผักฉวยๆ-ผักฉวยๆ” ฉะนี้แล้วจึงจำเป็นต้องระดมสารเคมียาฆ่าแมลงให้จงหนักนั่นแล

ปุจฉา วิสัชนา : รอบๆ กทม. แปลงผักสารเคมีเยอะแยะ ทำไม ผู้ว่าฯ ไม่รู้


สาบเสือ สมุนไพร 500 ชื่อ
วันนั้นอยู่ที่ ชมรมสีสนชีวิตไทย สาขาไร่เลิศสรานนท์ บ้านหนองจาน หัวลำ ท่าหลวง ลพบุรี ภารกิจบรรยายเรื่อง การเกษตรแบบอินทรีย์ นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม โดยมีสำปะหลังเป็นพืชนำ วันนี้มี สมช.สายไร่เลิศสรานนท์มารับฟังราว 30 คน ระหว่างเตรียมการบรรยาย คทาชาย 4 คน นั่งอยู่ใกล้ๆ กำลังถกแถลงเรื่องสาบเสือ แม้ไม่ได้ฟังเสียงมันเข้าหู

ชาย ก. : นี่แหละสาบเสือ ฆ่าหนอนได้ ฆ่าเชื้อราได้
ชาย ข. : ไม่ใช่ นี่มันเสือหมอบ ไม่ใช่เหรอ ?
ชาย ค. : แถวบ้านผมเรียกฝรั่งรุกที่
ชาย ง. : ทั้งหมดที่ว่ามาไม่ถูกชักคน เขาเรียกบ้านร้าง คิดซี่ ถ้ามันขึ้นรอบบ้านมาก คนเข้าบ้านไม่ได้ บ้านก็ร้างไง

ชาย ข. : มึงก็ว่าเรื่อยเปื่อย หญ้ามันขึ้นในบ้านก็ถางออกซี่ แล้วบ้านจะร้างได้ไง
ชาย ค. : คงไม่แค่นี้หรอกมั้ง หญ้าตัวนี้มาจากเมืองนอกเหมือนฝรั่ง หญ้ามันรุกที่ก็เหมือนฝรั่งรุกที่ ว่ามั้ย
ชาย ข. : แล้วที่ต้นสูงๆ ขึ้นเป็นดงแน่น เสือเข้าไปหลบได้ ไม่เรียกว่าเสือหมอบเหรอ ?
ชาย ก. : ญาติกันอยู่ราชบุรี ที่นั่นเรียกผักคราด รกแน่นมาก ปลูกสำปะหลังไม่ได้เลยแหละ
ชาย ง. : อือว่ะ ญาติที่ชลบุรี บอกว่าที่นั่นเรียกหมาหลง หญ้ามันขึ้นแน่นมาก ขนาดหมาเดินไปเข้าไปแล้วมองไม่เห็นทาง ออกไม่ได้

ชาย ข. : ที่จริง อยู่ที่ไหนน่าจะเรียกชื่อตามที่นั่นนะ
ชาย ง. : งั้นอยู่ที่นี่ พูดกับคนที่นี่เรียกชื่อตามที่นี่ แล้วพูดกับคนที่อื่นล่ะ เขาจะรู้ด้วยไหม ?
ชาย ก. : งั้นก็ต้องเรียกตามที่ ที่คนนั้นอยู่ซี่
ชาย ค. : ว่านะ เรียกอะไรก็ได้ เรียกแล้วขอให้คนที่คุยด้วยรู้เรื่องก็แล้วกัน....ถามลุงดีกว่า

ลุงคิม : อืมมม ไอ้ตัวนี้ ไร่กล้อมแกล้มเรียก “อั้ยง่องแง่ง” ว่ะ
ชาย ก. ชาย ข. ชาย ค. ชาย ง. : ไอ้ง่องแง่ง..... (คทาชายทั้ง 4 อุทานพร้อมกัน)

ลุงคิม : เอาน่า มันจะเชื่ออะไรก็สุดแท้เถอะนะ ขอแต่ให้บอกกันพูดกัน แล้วรู้เรื่องด้วยกันก็พอแล้ว เรื่องชื่อเนี่ย ไม่รู้เหรอ คนไทยน่ะเก่งทั้งนั้น รู้มากรู้น้อย รู้จริงไม่จริง ตั้งชื่อเอาเอง บ้านละชื่อๆ ๆๆ นี่ไง หญ้าเสือหมอบ, รำเคย, ผักคราด, บ้านร้าง, ยี่สุ่นเถื่อน, ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่, หญ้าดอกขาว, หญ้าเมืองวาย, พาทั้ง, หญ้าดงรั้ง, หญ้าพระสิริไอสวรรค์, มุ้งกระต่าย, หญ้าลืมเมือง, หญ้าเลาฮ้าง, สะพัง, หมาหลง, นองเส้งเปรง, ไช้ปู่กุย, หญ้าเมืองฮ้าง, หญ้าเหมือน, หญ้าฝรั่งเศส, เบญจมาศ, เซโพกวย, มนทน, ปวยกีเช่า, เฮียงเจกลั้ง. ตัวเดียวกันทั้งนั้น .... รึจะให้ชื่อ “ไอ้ห้าร้อยชื่อ” ดีไหม ?


การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หลากหลายวิธี คือ :
วิธีเขตกรรม :

เป็นการปฏิบัติด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อลดหรือขจัดการระบาดของแมลง เช่น การใช้วิธีปลูกพืชหมุนเวียน การไถพรวนกำจัดศัตรูพืช เช่น วัชพืช หรือตัวอ่อนของแมลง การตัดแต่งกิ่ง การทำลายซากพืชหลังเก็บเกี่ยว การกำหนดระยะเวลาปลูก การใช้ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโตและทำให้พืชปลูกแข็งแรง

วิธีกล :
การจับแมลงมาทำลาย
การใช้กับดัก การดัก
การปลูกพืชกั้น
การใช้มุ้งตาข่าย

วิธีทางกายภาพ :
การควบคุมน้ำ/ความชื้น
การใช้แสงล่อแมลง
การใช้คลื่นเสียง

ชีววิธี :
ใช้ศัตรูของแมลงตัวห้ำ ตัวเบียน
โรคของแมลง
ไส้เดือนฝอย

วิธีควบคุมทางพันธุกรรม :
เป็นการกำจัดแมลงด้วยวิธีการบังคับไม่ให้แมลงขยาย พันธุ์ได้ เช่น การทำให้แมลงเป็นหมันโดยการฉายรังสี จากนั้นนำไปปล่อยในธรรมชาติเพื่อผสมพันธุ์กับแมลงในธรรมชาติ ไข่ของแมลงที่ออกมาจะฟักไม่เป็นตัว

วิธีผสมผสาน :
เป็นวิธีการป้องกันกำจัดโดยมีการใช้วิธีการตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไป มาผสมผสานกัน โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือ ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารเคมี ลดปริมาณของแมลง หรือศัตรูพืชที่ระบาด โดยการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เน้นการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มาจากธรรมชาติ ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอด ภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งมีชีวิตอื่น และสิ่งแวดล้อมหากเกิดการระบาดของศัตรูพืช การใช้วิธีอื่น ไม่สามารถขจัดปัญหาการระบาดของศัตรูพืช ได้อย่างเด็ดขาดและทันต่อเหตุการณ์ การตัดสินใจใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความสูญเสียได้ อย่างไรก็ตามหากจะใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรศึกษาข้อดีและข้อเสียให้ถ่องแท้และเข้าใจเสียก่อน ดังนี้

ข้อดีของการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช :
หาซื้อได้ง่าย ราคาค่อนข้างถูกวิธีใช้ไม่ยุ่งยาก เมื่อเปรียบเทียบกับการป้องกันกำจัดโดยวิธีอื่นๆให้ผลเร็ว เช่น สารกำจัดแมลงที่ทำให้แมลงตายภายในเวลาอันรวดเร็ว
ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร เช่น การพ่นสารกำจัดวัชพืช ช่วยแก้ปัญหาการขาดแรงงานคนถอนวัชพืช เป็นต้น

ข้อเสียของการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช :
ทำให้ศัตรูพืช เช่น แมลง สร้างความต้านทานต่อสารกำจัดศัตรูพืช เมื่อมีการใช้สารชนิดนั้นๆ ติดต่อเป็นเวลานาน

ทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชชนิดเดิมขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากศัตรูธรรมชาติ
ถูกทำลายโดยสารกำจัดวัชพืช

ทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชที่ไม่เคยมีประวัติการระบาดมาก่อน เนื่องจากศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืชนั้นๆ ถูกทำลาย

ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่ต้องการกำจัดถูกทำลาย เช่น แมลงที่ช่วยผสมเกสร ปลา และนก เป็นต้น

สารบางชนิด เช่น สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือโรคพืช อาจมีความเป็นพิษ ต่อพืช เช่น ทำให้ใบไหม้
มีพิษตกค้างในผลิตผลที่นำมาบริโภค
มีพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม เช่น ในดิน น้ำ และอากาศมีสารพิษปลอมปน ระบบนิเวศเสียสมดุล
ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้ใช้โดยตรง ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เช่น อาจเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัส รับประทาน หรือทางการหายใจ

http://e-learning.cmtc.ac.th/moodledata/79/unit1/lesson1.htm

--------------------------------------





.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 20/09/2024 9:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
THANK YOU VERY VERY & VERYRY MUCH ....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©