-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - *เกษตรแจ๊คพ็อต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

*เกษตรแจ๊คพ็อต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 06/11/2021 6:16 pm    ชื่อกระทู้: *เกษตรแจ๊คพ็อต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
มะลิหน้าหนาว

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สัง กะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี .... เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิกแอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

ปฏิบัติการแจ็คพ็อต :
- มะลิแจ๊คพ็อต หมายถึง มะลิออกดอกช่วงหน้าหนาว, วันครู, วันแม่
- มะลิดอกสีม่วง เกิดจากขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ แคลเซียม โบรอน
- มะลิร้อยมาลัย บำรุงถึงแคลเซียม โบรอน ก้านดอกแข็ง แทงเข็มไม่ฉีกขาด
- มะลิดอกใหญ่ จำนวนกลีบเท่าเดิม แต่ขนาดดอกใหญ่ขึ้น
- มะลิร้อยมาลัยคู่กับ จำปี พุด กุหลาบหนู รัก

ตัดแต่งกิ่ง :
- ต้นใหญ่ตัดออกยาวเหลือกิ่งติดต้นสั้น ต้นเล็กตัดออกสั้น (ตัดที่รอยแก่ต่ออ่อน) เหลือกิ่งติด ต้นยาว
- จากวันตัดแต่งกิ่งแล้วเปิดตาดอก อีก 6 อาทิตย์ มะลิจะมีดอกให้เก็บ
- ติดทิ้งกิ่งแก่หมดอายุแล้ว

ทางใบ :
- ใช้ ไทเป + ไธโอยูเรีย + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เดี่ยวๆ หรือถือโอกาสให้ร่วมกับแคลเซียม โบรอนก็ได้ 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกำจัด และป้องกันล่วงหน้า

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, พรวนดิน พูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมโคนต้น, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

บำรุงมะลิ ออกดอกแล้ว :
ทางใบ :

- ให้สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (1-2 กก.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, พรวนดินพูนดิน มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

-----------------------------------------------------------------------


กุหลาบวาเลนไทน์

http://www.holidaythai.com/marin222/blogs-4716.htm

การเตรียมต้น :
- บริหารจัดการ “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องเหมาะสมสม่ำเสมอ

- บำรุงต้นให้ความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีเพื่อให้ต้นได้ “สะสมความสมบูรณ์” ไว้ล่วงหน้า
- สารอาหารพื้นฐานต่อการออกดอก คือ “สังกะสี” กับ “โบรอน” แล้วเสริมด้วย “น้ำตาลทางด่วน” ตามความเหมาะสม

- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน /ครั้ง

การบำรุงก่อนบังคับ :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
-ให้น้ำตาลทางด่วน เดือนละครั้ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ

ทางราก :
- พรวนดิน พูนดินโคนต้น คลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้ง
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) /ไร่ /เดือน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

การบังคับ :
บำรุงกุหลาบให้ออกวันวาเลนไทน์ :

- ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้เริ่มลงมือปฏิบัติการ 1 ม.ค.
- เผื่อเหลือเผื่อขาด แบ่งเป็นโซน แต่ละโซนลงมือปฏิบัติการก่อนวันตัดดอก 1-2-3-4-5 วัน และหลังวันตัดดอก 1-2-3-4-5 ตามลำดับ เพื่อให้ได้อายุดอกต่างกัน

บำรุงเรียกก้านดอก : ให้ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน + เหล็ก คีเลต" หลังตัดแต่งกิ่ง ทุก 3-5 วัน จนกว่าจะได้กิ่งขนาดยาวตามต้องการ

บำรุงเรียกดอก : ให้ไทเป เมื่อได้ขนาดยาวของก้านดอกตามต้องการแล้ว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

วิธีเรียกก้านดอกยาว
- เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ (กิ่งประธาน) โน้มกิ่งลงระนาบกับพื้น ยึดกิ่งกับหลัก ให้มั่นคง ตัดปลายกิ่งที่รอยต่อระหว่างกิ่งแก่ (เปลือกสีเทา) กับกิ่งอ่อน (เปลือกสีเขียว) ตัดกิ่งเล็กกิ่งน้อยด้านในออกให้หมด หรืออาจจะเหลือ 1-2 กิ่งในจำนวนกิ่งทั้งหมด 10 กิ่ง ก็ได้

- ตัดปลายกิ่ง (ประธาน) และกิ่งเล็กกิ่งน้อยแล้วบำรุงเรียกกิ่งใหม่ด้วย "ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน + เหล็ก คีเลต" ทุก 3-5 วัน .... พร้อมกับให้ทางรากด้วย "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-5-5 (500 กรัม)" ทุก 5-7 วัน ตอนเย็น ที่โคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- หลังจากให้ "ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน" ไปแล้ว ที่ข้อของกิ่งประธานจะเกิดยอดใหม่จำนวนมาก ให้คัดเลือกไว้ 1-2-3 ยอด จัดระยะให้ห่างเท่าๆ กันเพื่อเฉลี่ยสารอาหาร แล้วบำรุงด้วยสูตรเดิมต่อไป ซึ่งกิ่งที่แตกใหม่จะยาว (สูง) ขึ้นเรื่อยๆ เป็นกิ่งตรง ขนาดใหญ่อวบอ้วน ในต้นที่มีความสมบูรณ์มากๆ แสงแดด/อุณหภูมิ เหมาะสม อาจได้ความยาวกิ่ง 80 ซม.- 1 ม.

- เมื่อได้กิ่งที่มีขนาดยาวตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย "ไทเป" กุหลาบกิ่งนั้นก็จะออกดอก .... กุหลาบก้านยาวพิเศษ (80 ซม.) ราคาสูงกว่ากุหลาบก้านสั้น (20-30 ซม.) หลายเท่าตัว

- ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้ลงมือตัดแต่งกิ่งในวันที่ 1 ม.ค. ถ้าในธรรมชาติมีตัวเลขและสูตรสำเร็จก็จะได้ดอกในวันที่ 14 ไม่ผิดพลาด .... เมื่อในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ก็ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด โดยตัดแต่งกิ่งวันที่ 29-30-31 ม.ค. หรือ +/- 3 ของวันตัดดอก แบบนี้ก็น่าจะได้ดอก 25-50% ของกุหลาบทั้งสวนตรงวันวาเลนไทน์พอดี

กุหลาบแจ๊คพ็อต :
* กุหลาบพันธุ์ดี ยิ่งพันธุ์ดีมากเท่าไรระบบรากยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น แก้ไขโดยการเปลี่ยนยอดบนตอ "กุหลาบป่า”

* ปลูกในโรงเรือน หลังคาซาแลน ควบคุมแสงได้ จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าปลูกกลางแจ้ง
* การปล่อยให้ดอกกุหลาบแก่แห้งคาค้นแล้วรอให้ร่วงเอง กุหลาบกิ่งนั้นจะออกดอกใหม่ช้ามาก แก้ไขด้วยการตัดดอกเมื่อเห็นว่าแก่จัด ใช้ประโยชน์ ไม่ได้แล้วทิ้งไป จากนั้นประมาณ 30-45 วันจะออกดอกใหญ่ ณ ที่เดิม

* กุหลาบก้านดอกยาว : ทำโดยโน้มกิ่งประธานลงระนาบกับพื้น มีเชือกผูกยึดไว้ ตัดปลายกิ่ง ริดใบในกิ่งออกหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อน ก็จะเกิดกิ่งกระโดงใหม่ทั่วกิ่งประธานที่โน้มกิ่งแล้วตัดนั้น จำนวนกิ่งกระโดงใหม่ทั้งหมด เลือกกิ่งที่เหมาะสมไว้ 2-3 กิ่ง ที่เหลือตัดทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อนไปเรื่อยๆ จนได้ความสูง (ยาว) กิ่งตามต้องการ จึงบำรุงด้วยสูตรเปิดตาดอก ... ถึงช่วงจะเอาดอกให้บำรุงด้วย “น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี.”

* กุหลาบดอกไม่มีก้าน : ตัดแต่งกิ่งปกติ ให้ไทเป ใช้สูตรเดียวได้เลย
* ชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุ มากกว่าดินร่วนมีอินทรีย์วัตถุ
* ชอบความชื้นน้อยๆ สม่ำเสมอ
* ชอบดินปลูกที่คลุมด้วยหญ้าไซ
* ตอบสนองต่อกระดูกป่น ดีมากๆ
* ต้องการแสงแดด 100%
* ในสภาพอุณหภูมิสูง (ร้อน/ภาคกลาง 15 วันออกดอก) ดอกเจริญเติบโตเร็วกว่าสภาพอุณหภูมิต่ำ (หนาว/ภาคเหนือ 20 วันออกดอก)

* ต้องการให้ก้านดอกยาวๆ เมื่อยอดเริ่มเกิดขึ้นแล้ว หลังสิ้นแสงอาทิตย์ให้แสงไฟเพื่อเพิ่มเวลาแสง ก้านนั้นจะยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้ความยาวก้านตามต้องการแล้วก็หยุดให้แสง แล้วให้ปุ๋ยเปิดตาดอก ก็จะได้กุหลาบก้านยาว

ต้องการดอกใหญ่....
ทางใบ :
ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ทุกครั้ง +ยาสมุนไพรเข้าไปด้วย

ทางดิน : ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 4 เดือน /ครั้ง, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ทุก 2 เดือน, พรวนดินพูนดินโคนต้น ทุก 3 เดือน, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าชื้น

การตัดดอก :
- การตัดดอกกุหลาบ ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่งเสมอ ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง

- ตัดดอกตูมเกินไป ดอกจะไม่บานต่อ และคอดอกจะโค้งงอง่าย .... ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น

วิธีเก็บรักษาดอก :
- นำไปแช่ในน้ำยารักษาสภาพดอกไม้ อุณหภูมิ 2 องศา ซ. ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เก็บได้นาน 4-5 วัน

- ใส่กล่องรองด้วยพลาสติกเก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 0.5-3 องศา ซ. เก็บได้นาน 1-2 สัปดาห์
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (1) : น้ำสะอาด 1 ล.+ น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา+ น้ำส้มสายชู 1/2 ช้อนชา

- ยืดอายุดอกกุหลาบ (2) : น้ำสะอาด 1 ล. + กลูโคส 5 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (3) : น้ำสะอาด 1 ล.+ ไฮเตอร์ 1-2 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (4) : น้ำสะอาด 1 ล. + น้ำมะพร้าวแก่ 50 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (5) : น้ำสะอาด 1 ล. + DICA 30 มก. + ซูโครส 5 ซีซี.
- ใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดให้เฉียงแบบปากฉลาม นำจุ่มทันที จะช่วยให้ดอกสดนาน 7-10 วัน

กุหลาบย้อมสี :
อุปกรณ์ :
ดอกกุหลาบสีขาว, สีผสมอาหาร, แก้วน้ำ, น้ำอุ่น, น้ำส้มสายชู, กลูโคส, น้ำยาฟอกผ้าขาว

วิธีทำ :
1. เลือกกุหลาบีขาวบริสุทธิ์ สดใหม่สมบูรณ์ บานมาก/น้อยตามต้องการ ดอกที่บานมากกว่าจะได้ผลดีกว่าดอกบานน้อยกว่า

2. ใช้น้ำสะอาด 1 ล. + สมสายชู 2 ช้อนโต๊ะ + กลูโคส 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำยาฟอกขาว 1/2 ช้อนโต๊ะ ใส่ทีละอย่างคนให้เข้ากันดีก่อนจึงใส่ตัวใหม่ ใส่ครบแล้วนำลงผสมกับน้ำอุ่น 4 ล. ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงเติม “สีผสมอาหาร” (สีที่ต้องการ) ลงไป 10-15 หยด หรือมากกว่าเพื่อความเข้มของสี ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดีเช่นกัน สังเกต น้ำที่ผสมทุกรายการครบแล้วมีสี “ใส/สด” เป็นอันใช้ได้ ก็จะได้ “น้ำยาย้อมสี” ดอกกุหลาบตามต้องการ

3. นำดอกกุหลาบพร้อมก้านมาตัดปลายก้านด้วยมีดคมๆ 1 นิ้ว เฉียง 45 องศา แล้วจุ่มเฉพาะโคนก้านลงไปในน้ำลึกๆ หรือจุ่มทั้งก้านทั้งดอกลงไปนอนแช่ในน้ำยาย้อมเสียเลยก็ได้

4. คอยสังเกตทุกๆ ชั่วโมง จะพบการเปลี่ยนสีของกลีบดอกกุหลาบตามลำดับ เนื่องจากกุหลาบ (รอยตัดที่โคนก้าน) ดูดน้ำยาย้อมเสียเข้าไป จากโคนก้านไปถึงกลีบดอก ทำให้สีของกลีบดอกเปลี่ยนไปเป็นสีในน้ำย้อมสี กระทั่งครบ 24 ชม. กระบวนการดูดน้ำยาย้อมสีจะหยุดดูดสิ้นสุดลง สุดท้ายก็จะได้กุหลาบดอกใหม่ที่กลีบมีสีตามสีน้ำย้อม

5. ถ้าต้องการทำดอกกุหลาบในดอกเดียวกันให้มีหลายสี ให้ผ่าก้านตามทางยาว แบ่งเป็นแฉกๆ แต่ละแฉกยาว 2-3 นิ้ว แล้วใส่แต่ละแฉกลงไปในแก้วที่ผสมสีเอาไว้แล้ว แยก 1 แฉก : 1 แก้ว : 1 สี เพื่อให้แต่ละแฉกแยกกันดูดสี จากนั้นก็รอเวลาให้ก้านดอกลำเลียงน้ำย้อมสีขึ้นส่งไปยังกลีบดอกเต็มที่แล้ว ถือเป็นใช้การได้ .... แก้วใส่น้ำผสมสี อาจมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกต่อการทำงาน ให้พิจารณาใช้ “หลอดดูดเฉาก๊วย” จำนวน 2-3-4 หลอด มัดรวมกัน เปิดปากหลอด ปิดก้นหลอด แล้วใส่น้ำละลายสีลงไป แทนก็ได้ .... จากกุหลาบย้อมสี นวตกรรมใหม่ที่กำลังรอ คือ กล้วยไม้-ดาวเรือง-จำปี-รัก-บานไม่รู้โรยย้อมสี ก็ทำได้ ภายไต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่นักวิยาศาสตร์ (คน) ทำไม่ได้

- ต้องการทำครั้งละมากๆ (30-50 ดอก) เป็นสีเดียว ใช้กะละมังเป็นภาชนะผสมน้ำยาย้อมสี แล้วใส่กุหลาบทั้งก้านลงไปนอนแช่เลยก็ได้

- ช่วงอากาศร้อน ใช้เวลาประมาณ 24 ชม. ....ช่วงอากาศหนาวเย็น ใช้เวลาประมาณ 48 ชม.

- นำกุหลาบที่ผ่านการย้อมเสียเรียบร้อยแล้ว ลงแช่ในน้ำสะอาด 10-15 นาที ก็พร้อมนำไปใช้งานได้

http://www.bloggang.com

----------------------------------------------------------------------


มะนาวหน้าแล้ง

บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี .... เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิก แอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

นิสัยธรรมชาติมะนาว :
- ต้นที่ออกดอกช่วงเดือน ต.ค. ผลแก่เก็บได้ช่วงเดือน เม.ย. ราคาแพง โดยออกดอกก่อน ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ก่อน เม.ย. หรือต้นที่ออกดอกหลัง เม.ย. ผลก็จะแก่เก็บได้หลัง เม.ย.

- ต้นที่ดอกออกก่อน ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ก่อน เม.ย. สามารถบำรุงยืดอายุผลให้แก่ช้ากว่าปกติได้ 15-20 วัน ด้วยสูตรขยายขนาดไปเรื่อยๆ

- ต้นที่ดอกหลัง เม.ย. ผลก็จะแก่เก็บได้หลัง เม.ย. สามารถบำรุงเร่งอายุผลให้แก่เร็วกว่าปกติได้ 15-20 วัน ด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

- ต้นที่ออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. ผลแก่เก็บได้ช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. ราคาถูก
- ต้นที่สะสม แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ไบโออิ) แคลเซียม โบรอน. น้ำตาลทางด่วน (กลู โคส). สม่ำเสมอ ตลอดปีทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น เมื่อแตกใบอ่อนแล้วมักมีดอกออกตามมา

- ต้นที่สะสม แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. น้ำตาลทางด่วน. สม่ำเสมอจนใบแก่เขียวเข้มดี เมื่องดให้น้ำเด็ดขาดเด็ดขาด ใบเริ่มร่วง ร่วงมากๆ เหมือนจะตาย แล้วระดมให้น้ำวันต่อวัน 2-3 วันติดต่อกัน มะนาวต้นนั้นจะแตกยอดใหม่แล้วมีดอกตามออกมาด้วย จังหวะนี้ให้เสริมปุ๋ยทางรากด้วย 8-24-24 กับปุ๋ยทางใบด้วย 0-52-34 + 13-0-46 (1-2 ครั้ง) ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ พร้อมติดเป็นผลต่อไปดี

หลากลายวิธีบังคับมะนาวให้ออกดอก :
1. วิธีตัดปลายกิ่งออก 1-2 นิ้ว ทั้งต้น แล้วใส่ปุ๋ยกระตุ้นการออกดอก
2. วิธีรมควันให้ใบร่วงแล้วแตกยอดใหม่ พร้อมกับให้ดอกตามมาภายหลัง
3. วิธีใช้ลวดเล็กๆ รัดโคนกิ่งใหญ่เพื่อให้มะนาวสะสมอาหาร เตรียมพร้อมต่อการออกดอก
4. วิธีงดน้ำเพื่อทำให้ใบเหี่ยว แล้วกลับมารดน้ำ และใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อกระตุ้นให้ออกดอก
5. วิธีปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกให้ท่วม 3-4 วัน แล้วระบายน้ำออก
6. วิธีใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนฉีดให้ใบร่วง
7. วิธียูเรียละลายน้ำ ฉีดพ่นให้ใบไหม้และร่วง แล้วให้ปุ๋ยเร่งเพื่อการออกดอก

วิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางวิธีอาจทำให้ต้นโทรมและตายได้ หรือให้ผลผลิตแล้วตายไปเลย และบางวิธีก็ไม่เหมาะกับการปฏิบัติรักษาต่อมะนาวที่ปลูกไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการทำให้มะนาวออกนอกฤดู โดยที่ไม่ทำให้ต้นโทรนจนเกินไป ดังนี้....

วิธีที่ 1 :
งดน้ำชั่วระยะหนึ่ง ปล่อยให้ใบเหี่ยว เมื่อใบเหี่ยวก็ให้น้ำเล็กน้อย 1 ครั้ง เมื่อเห็นว่าต้นมีอาการฟื้นตัวแล้ว ค่อยเพิ่มน้ำให้มากขึ้น ให้ติดต่อกัน 5-7 วัน แล้วใส่ปุ๋ยเร่งดอกทางรากสูตร 8-24-24 (1-2 กก.) /ต้น ควบคู่กับ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ กระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้

วิธีที่ 2 :
- งดน้ำ 7-15 วัน แล้วตัดปลายกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้ว ทั่วทั้งต้น ช่วยให้มะนาวแตกยอดใหม่ วิธีนี้ใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการออกดอกในช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. ต้นมะนาวที่ติดผลในช่วงนี้จะไม่ดกนัก

วิธีที่ 3 :
- ฉีดพ่นทางใบด้วย “น้ำ 20 ล. + ยูเรีย 1 กก.” ในทรงพุ่มให้โชกทั่วทั้งต้น จากนั้น 4-5 วัน ใบแก่เริ่มร่วงแต่ใบอ่อนจะไม่ร่วง ลักษณะของใบที่ร่วงนี้คล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก จังหวะนี้ให้ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 โรยโคนต้น ๆละ 1-2 กก. หลังฉีดพ่นยูเรียไปแล้ว 15-20 วัน มะนาวจะแตกยอดใหม่แล้วเริ่มมีดอกออกมาด้วย .... หลังจากดอกออกมาแล้วให้บำรุงตามขั้นตอน บำรุงดอก บำรุงผล ต่อไปตามลำดับ .... มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ในช่วงเดือน มี.ค. 3 เม.ย. ได้ราคาพอดี

วิธีที่ 4 :
- วิธีนี้ไม่ทำให้ต้นโทรมเร็วเหมือนวิธีแรกๆ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
1. ก.ย. ทางดินใส่ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น และสะสมอาหารเพื่อการดอก
2. ต.ค. งดน้ำ 15-20 วัน เพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช
3. ปลาย ต.ค. ให้น้ำเต็มที่
4. พ.ย. หลังให้น้ำ 7 วัน มะนาวเริ่มออกดอก
5. ปลาย พ.ย. เริ่มติดผล
6. ธ.ค. ใส่ปุ๋ย 21-7-14 เพื่อบำรุงผล
7. มี.ค.-เม.ย. เริ่มเก็บผลผลิต

วิธีที่ 5 :
วิธีที่ชาวสวนแถบเพชรบุรีนิยมปฏิบัติ ดังนี้
1. ช่วง ก.ย. - ต.ค. เป็นฤดูฝนไม่ควรให้น้ำ การทำให้ใบร่วงยากเพราะยังมีฝนอยู่
2. ทรมานต้นเล็กน้อย โดยตัดปลายกิ่งประมาณ 1-2 นิ้วออกทั่วทั้งต้น แล้วกระตุ้นด้วยปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 (1 กก./ต้น) เพื่อสะสมตาดอก

3. ช่วง ก.ย. - ต.ค. หลังตัดปลายกิ่ง ให้ปุ๋ยทางดินแล้ว ให้น้ำ จากนั้น 14-21 วัน มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนแล้วมีดอกออกมาด้วย หลังจากนั้นก็ให้บำรุงตามขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 6 :
ใช้สารพาโคลบิวทราโซล

1. ก.ค. .... หลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้ว บำรุงต้นให้สมบูรณ์ ให้มะนาวแตกใบอ่อน 1 ชุด ก่อนการสะสมตาดอก

2. ส.ค. .... ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เปิดหน้าดินให้ดินแห้ง ใส่ปุ๋ยทางดิน 8-24-24 (1/2 กก.) ทั่วทรงพุ่ม
3. ก.ย. .... มะนาวระยะเพสลาด ให้น้ำโชกๆแล้ว ราดสารพาโคลบิวทราโซล (1 กรัม ต้น) ที่โคนต้น
4. ส.ค. - ต.ค. .... เริ่มมีดอกมะนาวออกมา บำรุงดอกตามปกติ
5. ต.ค. - พ.ย. .... มะนาวเริ่มติดผลเล็ก เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงผล
6 มี.ค. - เม.ย. ..... เก็บเกี่ยวผลผลิต


https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kogkugkingkow&month=01-06-2014&group=31&gblog=51


มะนาวแจ๊คพ็อต :
หมายถึงผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้กลางเดือน เม.ย. (13 เม.ย.) ราคาแพงสุด ช่วงต้นเดือน เม.ย. กับ ปลายเดือน เม.ย.ก็ยังราคาแพงอยู่บ้าง แต่ช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค.- ส.ค. ราคาต่ำสุด

ต้องการผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้กลางเดือน เม.ย. ต้องทำออกดอกกลางเดือน ต.ค. หากมะนาวออกดอกต้นเดือน ต.ค. จะแก่เก็บเกี่ยวได้ต้น เม.ย. และหากมะนาวออกดอกปลาย ต.ค. ก็จะแก่เก็บเกี่ยวได้ปลายเดือน เม.ย.

มะนาวที่ออกดอกต้นเดือน ต.ค. ต้องการให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้กลาง เม.ย. ทำได้โดยบำรุงด้วย “ยืดอายุผลให้แก่ช้า” สามารถทำให้ผลแก่ช้ากว่าปกติ 15-20 วัน

มะนาวที่ออกดอกปลายเดือน ต.ค. ต้องการให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้กลาง เม.ย. ทำได้โดยบำรุงด้วย “เร่งผลให้แก่เร็ว” สามารถทำให้ผลแก่เร็วกว่าปกติ 15-20 วัน

การทำให้ต้นมะนาวออกดอกกลางเดือน ต.ค. จำเป็นต้องงดน้ำ ปรับ ซี./เอ็น เรโช ในเดือน ส.ค.-ก.ย. แล้วเปิดตาดอกในเดือน ก.ย. ... เดือน ส.ค.- ก.ย. งดน้ำยากเพราะเป็นช่วงหน้าฝน

วิธีเร่งผลให้แก่ช้า :
ทางใบ :
ให้ ยูเรก้า + ไบโออิ + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ ทุก 7-10 วัน

ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (500 กรัม)/ต้น /เดือน ให้น้ำทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล
- สามารถยืดการแก่ของผลให้ช้าหรือนานกว่าอายุจริง 20-30 วัน

วิธีเร่งผลให้แก่เร็ว :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ 0-0-50 หรือ 0-21-74 (สูตรใดสูตรหนึ่ง )+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน 2-3 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

ทางราก : เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องถึง นำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้หมด.... ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2-1 กก.) / ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน .... ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลแก่ได้ประมาณ 75% ของผลที่แก่ตามอายุจริง
- สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วกว่าอายุจริง 10-20 วัน
- ควรวางแผนบำรุงให้ผลแก่เร็วกว่าปกติตั้งแต่เริ่มติดผล โดยการคำนวณอายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ แล้วบำรุงตั้งแต่ช่วงระยะผลขนาดกลางให้โตเร็วๆ และมากๆ ด้วยสูตร “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” เตรียมรอไว้ล่วงหน้า

- หลังจากเริ่มบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แล้ว ขนาดของผลมะนาวจะไม่โตขึ้นอีกหรือหยุดการเจริญเติบโต แต่โครงสร้างภายในของผลจะเปลี่ยนเป็นผลแก่แม้ว่าอายุผลจะน้อยกว่าความเป็นจริงแต่คุณภาพของผลไม่แตกต่าง

-----------------------------------------------------------------------


กล้วยหอมแจ๊คพ็อต

http://phiman-planttissue.blogspot.com/2013/01/blog-post_29.html

- กล้วยหอมแจ็คพอต หมายถึง กล้วยหอมที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดี ตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับเทศกาล ตรุษจีน สารทจีน ไหว้พระจันทร์ เชงเม้ง ทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือ ย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อยืนต้นได้ 10 เดือนครึ่ง นั่นคือ ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันยืนต้นได้ 2-3 เดือน เพื่อจะได้มีโอกาสตัดต้น 1-2 รอบสำหรับสร้างเหง้าให้ใหญ่ก่อน ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ กล้วยหอมต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 10 เดือนครึ่งต่อมาพอดี

- ผลสุกเต็มที่ในวันเซ่นไหว้ถือว่าดีที่สุด ผลที่มีขนาดใหญ่ จำนวนผลในหวีมาก สีจัด ไร้ตำหนิ มีราคาแพงมาก ลักษณะสีเหลืองเปรียบเสมือนสีทอง ถือเป็นโหงวเฮ้งที่ดี คนซื้อใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ แต่ปัจจุบันค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป กล้วยหอมที่ลักษณะทุกอย่างดี แต่ยังดิบอยู่ก็ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ได้เช่นกัน

กล้วยหอมก้าวหน้า :
- เลือกหน่อชิด แยกจากต้นแม่มาปลูกเป็นต้นแรก จะได้ต้นที่สมบูรณ์ดีกว่าเลี้ยงหน่อในต้นแม่
- หน่อเหง้าใหญ่จะให้ผลผลิตดีกว่าหน่อเหง้าเล็ก ปลูกหน่อลงไปแล้วให้ตัดต้น 2-3 รอบ ห่างกับรอบละ 1 เดือน เพื่อเลี้ยงเหง้าให้ใหญ่ไว้ก่อน

- ปลูกซ้ำที่ 2-3-4 รอบ มักเกิดโรค “ตายพราย” เชื้อโรคตัวนี้เป็นไวรัส ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้ แก้ไขโดยไม่ปลูกซ้ำที่เท่านั้น

- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดย ตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

- คลุมโคนต้นด้วยผักปอด ทั้งต้น ใบ และราก ใส่ทับด้วยยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผล ผลิตดี

- ห่อผลหลังจากตัดปลี 20-30 วัน ด้วยกระสอบปุ๋ยหรือห่อด้วยใบกล้วย เครือที่ห่อด้วยใบกล้วย จะให้คุณภาพดีกว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย

- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน และตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

ระยะพัฒนาการของกล้วยหอม :
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน
- ตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือ....
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

เทคนิคการทำให้ตัดเครือได้ ณ วันที่ต้องการ :
1. จากวันตัดเครือ ให้นับถอยหลังในปฏิทิน 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น
2. จากระยะ 10 เดือนสำหรับการเลี้ยงต้นให้นับถอยหลัง 2 เดือน สำหรับการเลี้ยงเหง้า
3. จากระยะ 2 เดือนสำหรับการเลี้ยงเหง้า ให้ลงหน่อ สำหรับการตัดต้นก่อนเลี้ยงต้น

สรุป :
- ลงหน่อ 2 เดือน เลี้ยงเหง้าแล้วตัดต้น + 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น .... หรือ
- วันที่ตัดต้น คือ วันเริ่มนับอายุ เริ่มปลูก ถึง ตัดเครือ ..... หรือ
- ลงหน่อก่อนวันตัดเครือ 12 เดือน

หมายเหตุ :
- หน่อกล้วยที่ได้จากเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกพร้อมกันจะออกเครือพร้อมกันทุกต้น หรือทั้งสวน
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ วันที่ตัดเครือ คือ วันที่กล้วยยังดิบอยู่ หากต้องการขายกล้วยสุก ก็ต้องตัดเครือล่วงหน้า 7 วัน สำหรับบ่ม

- กำหนดวันตัดเครือล่วงหน้า 7-15 วัน ต้องเปลี่ยนวันลงหน่อก่อน 12 เดือน เป็น 12 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีกล้วยออกตลาดตั้งแต่ก่อนวันไหว้ ถึงวันไหว้ 10-15 วัน

- กล้วยหอม ท่ายางเพชรบุรี บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ ปรากฏผลใหญ่เกิน ส่งออกญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ห้างในประเทศชอบ มีเท่าไหร่รับทั้งหมด จองล่วงหน้าด้วย

-------------------------------------------------------------------


แก้วมังกรตรุษจีน

บังคับแก้วมังกรให้ออกก่อนฤดูกาล :
- เดือน ก.ค.- ส.ค. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ก.ย.- ต.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอกพร้อมกับให้แสง ไฟขนาด 100 วัตต์ 1 หลอด/4 ต้น ช่วง เวลา 18.00-21.00 น. และ 05.00-06.00 น. ทุกวัน ตลอด 1 เดือน
- เดือน ม.ค. เปิดตาดอก
- เดือน ก.พ. บำรุงผล

หมายเหตุ :
- การให้แสงไฟวันละ 2-4 ชม. หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง ช่วงอากาศหนาว (พ.ย.- ธ.ค.) ต้องใช้ระยะเวลา นาน 20-25 วันขึ้นไป แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งใช้ระยะเวลาให้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งดอกที่ออกมาจะดกกว่าช่วงอากาศปกติที่ไม่มีการให้แสงไฟ....ในฤดูกาลปกติถ้ามีการให้แสงไฟก็จะช่วยให้ออกดอกดีและดกกว่าการไม่ให้แสงไฟ

- การบังคับให้ออกนอกฤดูจะสำเร็จได้ ต้นต้องได้รับการบำรุงอย่างดี มีการจัดการปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องสม่ำเสมอจนต้นสมบูรณ์เต็มที่ และไม่ควรปล่อยให้ออกดอกติดผลในฤดูกาลมาก่อน

----------------------------------------------------------------


ส้มเขียวหวานแจ๊คพ็อต

เป้าหมายเพื่อให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ม.ค. หรือตรุษจีน :
แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์ ส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียวหวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วบำรุงส้มเขียวหวานให้ออกเฉพาะตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงใดๆของปีทั้งสิ้น การบำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาตามต้องการนั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้นอย่างลึกซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริงไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน

การปฏิบัติบำรุง :
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. ล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ม.ค.- ก.พ. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน มี.ค. (ต้นเดือน) ปรับ ซี/เอ็น เรโช
- เดือน มี.ค. (ปลายเดือน) เปิดตาดอก
- เดือน เม.ย. บำรุงดอก
- เดือน พ.ค.- มิ.ย. บำรุงผลเล็ก
- เดือน ก.ค.- ต.ค. บำรุงผลกลาง
- เดือน พ.ย. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- เดือน ธ.ค.- ม.ค. (ต้นเดือน) เก็บเกี่ยว

หรือ..........
- ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน 2 เดือน
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก 2 เดือน
- ปรับ ซี/เอ็น เรโช 15 วัน
- เปิดตาดอก 15 วัน
- บำรุงดอก (ตูม-บาน) 1 เดือน
- บำรุงผลเล็ก 2 เดือน
- บำรุงผลกลาง 5 เดือน
- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน

หมายเหตุ :
- เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวมาถึงวันล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14 เดือน/ 1 รุ่นการผลิต

- ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวนวัน/เดือนหรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้เนื่องจากปัจจัย พื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วยทุกครั้ง และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้จะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่นความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป

- เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องจนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นในช่วงต่างๆดีและแน่นอน

- ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด

- หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาลอื่น (สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์) ก็ให้คำนวณในลักษณะเดียวกันโดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน .... หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนเดือนใดของปีนี้ ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง

- วิธีบำรุงให้ “ผลแก่ก่อนกำหนด” หรือ “ผลแก่ช้ากว่ากำหนด” 20-30 วัน ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

- ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดนั้น หากตรงกับช่วงหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมากหรือทำการงดน้ำไม่ได้เลย
ส้มแก้วแจ๊คพ็อต

- ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน 1 ชุด 2 เดือน
- ได้ใบอ่อนแล้วสะสมตาดอก 2 เดือน
- สะสมตาดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ ) 1 เดือน
- งดน้ำใบสลดแล้วเปิดตาดอก 1 เดือน
- ดอกทยอยออก บำรุงดอก 1 เดือน
- ดอกผสมติดเป็นผลแล้ว บำรุงผล 8 เดือน

https://sites.google.com/site/puyfayrthdam/phang-phu-brihar

หมายเหตุ :
- วันแจ๊คพ็อต คือ วันตรุษจีน เชงเม้ง สารทจีน ไหว้พระจันทร์
- แบ่งต้นส้มเป็นโซนๆ แล้วกำหนดวันแจ๊คพ็อตตามต้องการ
- ของดี เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. คนนิยม. ออกแจ๊คพ็อต. รสจัดจ้าน. ไร้สารเคมี 100% เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย เพราะไหว้เจ้าเสร็จแล้วกินเองได้

----------------------------------------------------------------------


กระท้อน

http://alangcity.blogspot.com/2014/01/blog-post_16.html

เทคนิคทำกระท้อน “ก่อน-หลัง” ฤดูกาล :
ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูได้ และไม่มีกระท้อนทะวาย (ให้ผลปีละ 2รุ่น) ดังนั้นการที่จะบังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูกาลปกติ (ก่อน/หลัง) ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีบังคับโดยการบำรุงอย่างเต็มที่เท่านั้น

บังคับกระท้อนให้ออกก่อนฤดู :
เลือกกระท้อนสายพันธุ์เบา (ทับทิม) ที่มีผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน พ.ค. มาทำกระท้อนให้ออกก่อนฤดู โดยบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตปีนี้ทางรากด้วย 8-24-24 กับบำรุงทางใบด้วย 0-21-74 และเมื่อถึงปลายเดือน พ.ค.ให้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตบนต้นให้หมดแบบ ล้างต้น แล้วลงมือบำรุงตามขั้นตอน ดังนี้

ช่วงเดือน พ.ค. - ก.ค. (เตรียมต้น) :
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเริ่มบำรุงเพื่อ เตรียมความพร้อมของต้น โดยตัดแต่งกิ่ง ปรับสภาพทรงพุ่มให้โปร่ง เรียกใบอ่อนให้ได้ 1-2 ชุด เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วให้เร่ง บำรุงใบอ่อนให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนทางรากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยิบซั่ม กระดูกป่นตามปกติ ระยะ เวลา 3 เดือน (พ.ค.- มิ.ย.- ก.ค.) ต่อการเรียกใบอ่อน 3 ชุดนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงต้นให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปีติดต่อกัน

หมายเหตุ :
ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายๆปีและในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาไว้ผลน้อยแต่บำรุงเต็มที่ เมื่อถึงรุ่นปีการผลิตใหม่ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด แล้วสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อได้เลย ทั้งนี้เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น

ช่วงต้น ส.ค. - กลาง ก.ย. (สะสมอาหารเพื่อการออกดอก)
หลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายที่ต้องการเพสลาดแล้ว ให้ลงมือบำรุงทางใบด้วยสูตร สะสมอาหาร เพื่อการออกดอก 2-3 สูตร ระยะการให้ห่างกันสูตรละ 5-7 วัน และบำรุงทางรากอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งให้ต้นได้สะสมทั้งอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล (ซี) และกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น (เอ็น) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ช่วงปลายเดือน ก.ย. (ปรับ ซี/เอ็น เรโช)
ปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยทางรากให้เปิดหน้าดินโคนต้น งดน้ำเด็ดขาด ส่วนทางใบให้สาร อาหารสูตรสะสมตาดอกเหมือนเดิมแต่ให้พอเปียกใบ ระวังอย่าให้น้ำหยดลงพื้นเพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว พร้อมกันนั้นให้เสริมด้วยการ “รมควัน” ทุก 2-3 วันช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อเร่งให้ใบสลดแล้ว "เหลือง-แห้ง-ร่วง" เร็วขึ้น

ช่วงต้น ต.ค. (เปิดตาดอก)
เปิดตาดอกด้วย “13-0-46” หรือ “0-52-34” หรือ “13-0-46 + 0-52-34” สูตรใดสูตรหนึ่งสลับกับฮอร์โมนไข่ไทเป อย่างละ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- กระท้อนก่อนฤดูออกสู่ตลาดพร้อมกับทุเรียน เงาะ มังคุด อาจไม่ได้ราคาดี แต่ถ้าเป็นกระท้อนคุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้ ก็พอสู้ได้

- ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายปี สามารถออกดอกได้เอง (ทั้งพันธุ์เบาและพันธุ์หนัก) โดยไม่ต้องเปิดตาดอกในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆกลายเป็นไม่มีรุ่น

- กระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนก่อนฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกก่อนช่วงเดือนดังกล่าว ด้วยการเตรียมความพร้อมต้นตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีที่ผ่านมา ควบคู่กับเร่งระยะเวลาการบำรุงตามขั้นตอนต่างๆให้เร็วขึ้นด้วย

- เตรียมต้นที่จะทำให้ออกก่อนฤดูด้วยการเว้นการออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตนี้ แล้วบำรุงต้นไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อรอโอกาส หรือไว้ผลในต้นให้เหลือน้อยๆเพื่อไม่ให้ต้นโทรม จะช่วยให้การทำให้ออกก่อนฤดูในรุ่นปีการผลิตต่อไปง่ายและแน่นอนยิ่งขึ้น

- เนื่องจากธรรมชาติของกระท้อนออกดอกจากกิ่งแก่อายุข้ามปี ระหว่างที่มีผลอยู่บนต้นนั้นถ้ามีกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลมากกว่ากิ่งที่ออกดอกติดผล ให้เตรียมการบำรุงกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลนั้นให้ออกดอกแล้วทำเป็นกระท้อนก่อนฤดู โดยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” ทั้งทางรากและทางใบต่อได้เลย ซึ่งขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนี้อาจต้องใช้ระยะเวลานาน 3-4 เดือน แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็ถือว่าคุ้ม

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

บังคับกระท้อนให้ออกหลังฤดู :
เลือกกระท้อนพันธุ์อีล่า เพราะมีนิสัยออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่นโดยทำให้อีล่าออกช้ากว่าอีล่าด้วยกัน เพื่อบังคับให้เป็น อีล่า-ล่าฤดู หรือบังคับกระท้อนพันธุ์นิยมด้วยการยืดระยะเวลาในการบำรุงแต่ละระยะตามขั้นตอนให้นานขึ้นก็ได้ ดังนี้

1. เรียกใบอ่อนให้ครบทั้ง 3 ชุด เมื่อได้แต่ละชุดมาแล้วไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติเพื่อยืดระยะเวลา

2. ยืดเวลาขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกให้นานขึ้นด้วยสูตรสะสมอาหาร (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/นมสัตว์สด) ไปเรื่อยๆโดยยังไม่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) แม้ว่าต้นจะพร้อมแล้วก็ตาม จนกว่าจะได้ระยะเวลาที่ต้องการจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอก

3. เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงไปตามปกติเพราะไม่สามารถยืดอายุดอกให้นานขึ้นได้
4. บำรุงผลเล็กตามปกติ
5. บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย สูตรบำรุงผลให้แก่ช้า จนกระทั่งได้เวลาเก็บเกี่ยวตามต้องการจึงเปลี่ยนมาบำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
ในเมื่อกระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนล่าฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกหลังช่วงเดือนดังกล่าวให้นานที่สุดเท่าที่สภาพภูมิอากาศและสภาพต้นอำนวย แล้วปฏิบัติบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรก (เรียกใบอ่อน) จนถึงขั้นตอนสุดท้าย (บำรุงผลแก่) แบบยืดเวลาให้นานขึ้น

-----------------------------------------------------------------


ผักชีหน้าฝน

เร่งรากผักชีด้วย 12-60-0

https://medthai.com/ผักชี/

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ถ้าดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่งหรือมากกว่าค่อน อยากให้พิจารณาการทำแบบอินทรีย์นำ เคมีเสริมนิดๆหน่อยๆ พอเป็นพิธีก็พอแล้วสำหรับ
ผักชี ....

ทำสันแปลงสูงๆ มีช่องทางระบายน้ำจากสันแปลงลงตีนแปลงดีๆ ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทำดินโปร่งให้ได้ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดิน เตรียมสารอาหารพร้อมแล้วจึงค่อยปลูก ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าแปลงหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี), ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น, อย่าให้น้ำขังค้างเด็ดขาด

บำรุง ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + นมสด + สารสมุนไพร” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้โชกๆ อาบจากยอดลงถึงดินเป็นการให้น้ำไปเลย

- หมั่นยีฟางให้ฟูขึ้น คอยรับก้านผักชีไม่ให้โน้มลงจนโคนก้านใบฉีก
- ต้องการากใหญ่ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 หาโอกาสให้บ้างตามความเหมาะสม

- หาข่าวตลาดผักชีเสมอๆ
- ทำผักชีปลอดยาฆ่าแมลง ใช้สารสมุนไพร ไม่รู้ต้องหาข่าว ไม่เคยเห็นต้องไปดู ไม่เป็นต้องหัดทำ ไม่เชื่อต้องลอง ไม่ได้ผลต้องปรับปรุง ไม่ใครรู้ไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่เกิด คนที่ทำเป็นใช้เป็นวันนี้เพราะเขาเปิดตัวเปิดใจรับรู้ ....

ผักชีแจ๊คพ็อต :
ผักชีแจ๊คพ็อตก็คือ หน้าฝน ๆชุก ผักชีโดนฝนเสียหายมาก ทำให้ผักชีขาดตลาด
* สาเหตุที่ทำให้ผักชีหน้าฝนล้มหายตายจาก ....
1) ดินเหนียว น้ำฝนขังค้าง ทำให้รากเน่าตาย ....
2) ใบผักชีโดนเม็ดฝน เกิดน้ำหนัก ก้านใบลู่ลง โคนก้านใบฉีก เป็นช่องทางให้โรคเข้า .
3) ขาดสารอาหารที่ทำให้ต้นสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนกะทันหัน ....
4) ศัตรูพืช

- แก้ปัญหาเม็ดฝน ทำ “หลังคาพลาสติก” คลุมแปลง ทำพลาสติกกรอบไม้ กว้าง 1-1.20 ม. ยาว 2.5-3 ม. ตามความสะดวก ใช้ 2 แผ่นชนกันเหมือนจั่วหลังคาบ้าน ครอบแปลงซ้ายขวาให้ชายลงถึงตีนแปลง .... ยามใดไม่มีฝนก็ยกหลังคาขึ้นให้ได้แดดปกติ ก่อนมีฝนก็ให้ลดหลังคาลงป้องกันเม็ดฝน ก็เท่านี้แหละ

- เลิกคิดทำโรงเรือนมีหลังคา ทำผักกางมุ้ง ออกข่าว ทีวี.กันครึกโครม จนคนขายมุ้งรายไปตามๆกัน ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า วันนี้คนที่เคยส่งเสริมให้ทำผักกางมุ้ง เอาหน้าไปมุดอยู่ตรง ไหน บางมุ้งจนวันนี้ยังใช้หนี้ค่ามุ้งไม่หมดเลย

- วางแผนทำผักชี 4 แปลง แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวห่างกัน 1 อาทิตย์ แบบนี้คงได้ซัก 1 หรือ 2 แปลงเจอแจ๊คพ็อตแน่ๆ ถึงไม่แจ๊คพ็อตเต็มๆ ก็เฉียดๆ แค่เฉียดๆ ก็ไร่ละเป็นแสนแล้ว

-----------------------------------------------------------------


บัวเข้าพรรษา

- บัวออกดอกทั้งปี ไม่มีรุ่น ไม่มีฤดูกาล บำรุงไปเรื่อยๆ .... ให้ไทเป 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ในรอบเดือนให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส) 1 รอบ พายเรือฉีดทางใบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ให้ปุ๋ยทางดินแก่บัว ใส่ตอนแรกก่อนลงมือปลูก ย่ำดินเหมือนตีเทือกนา ใส่ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24. (ไม่ต้องปุ๋ยเคมี) ใส่ครั้งเดียวจนถึงรื้อแปลงปลูกใหม่รุ่นหน้าได้ .... บำรุงสูตรนี้นอกจากดอกมากแล้ว ยังได้ฝักมาก ฝักใหญ่ ไหลใหญ่อีกด้วย .... ช่วงเป็นฝัก อาจเสริมด้วย “ไบโออิ + ยูเรก้า” สลับ “แคลเซียม โบรอน” จะดีมากๆ

------------------------------------------------------------


ชะอมหน้าแล้ง

บังคับชะอมแตกยอดหน้าหนาว :
ต้นเดือน พ.ย. :
ทางราก :
ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมโคนต้น, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 25-7-7 (2 กก.) ละลายให้เข้ากันดี รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว เดือนละ 1 ครั้ง ....

ทางใบ : ตัดแต่งกิ่งที่ไม่แข็งแรงและใบ ออกให้หมด แล้วให้ “ไบโออิ + ยูเรีย จี. + เหล็ก คีเลต + น้ำมะพร้าวอ่อน” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน .... ประมาณ 15 วัน ชะอมจะแตกยอดออกมาให้เก็บได้

บังคับชะอมแตกยอดหน้าแล้ง :
ขั้นตอนที่ 1 :

- กำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นให้หมด, ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +25-7-7 (2 กก.) / ไร่ รดทั่วแปลง ให้น้ำโชกๆ .... ทิ้งไว้ 5-7 วัน เริ่มขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 :
- ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งวางบนพื้นให้ห่างจากโตนต้นประมาณ 15 ซม. ใช้หญ้าสดหรือฟางเปียกวางทับฟางแห้งอีกชั้นหนึ่ง แล้วจุดไฟเผาฟางแห้ง ระวังอย่าให้เปลวไฟสูงนัก โดยคอยเกลี่ยหญ้าสดหรือฟางเปียกทับเปลวไฟไว้ กะให้ได้แต่ควัน 9 ใน 10 ส่วน รมที่ต้นชะอม ค่อยๆแบ่งโซนเผาฟางลามไปเรื่อยๆ พร้อมกับคอยช่วยให้ควันลอยขึ้นคลุมต้นเสมอกันทุกต้นทั่วทั้งแปลง

- หลังจากดับไฟแล้ว 2-3 วัน ใบชะอมเริ่มเหลือง ใบบางส่วนเริ่มร่วง ....

ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรีย จี. + เหล็ก คีเลต + น้ำมะพร้าวอ่อน” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ทางราก : ช่วง 2-3 วันแรกให้น้ำติดต่อกัน หลังจากนั้นจึงให้ 3-5 วัน/ครั้ง หลังจากให้ทางใบทางรากแล้ว ประมาณ 15 วัน ชะอมก็จะแทงยอดใหม่ออกมา แล้วแตกต่อมาเรื่อยๆ

หมายเหตุ :
- การบำรุงสร้าง “ความสมบูรณ์สะสม” ต้องทำสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนปลูกถึงต้นโตตัดยอดได้

-----------------------------------------------------------------


ทุเรียนนอกฤดู

เครื่องตรวจวัดทุเรียนสุก
ผศ.ดร.รณฤทธิ์ ฤทธิรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. กำแพงแสน (08-5917-1017)……OK

การผลิตทุเรียนทวาย :
1. ราดสารแพกโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา 20-80 กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอยออกดอกตามกิ่งประเภทต่างๆ ทั้งปี

2. เลือกกิ่งเพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ

3. จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอกผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง

4. ใช้สารแพกโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cyto- kinin) อยู่ด้วย 2-3 ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง

การผลิตทุเรียนล่า :
การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุกในระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน ก.ค.- ส.ค. (ภาคใต้)

วิธีการผลิตทุเรียนล่า :
1. ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ
2. ทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 ที่ออกตามมาในระยะหลัง

3. เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียนในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช

ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28


การใช้ไฟสุม ทำให้ทุเรียนออกนอกฤดู :
- ช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว กับ +เพิ่ม 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- จากนั้น 20-25 วัน ถ้าไม่มี่ฝนตก ให้สารพาโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 กก./น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งนอกและในทรงพุ่ม

- ฉีดสารแล้ว 1 เดือน ให้เปิดหน้าดินโคนต้นจนเห็นรากฝอยที่ผิวดิน นำใบไม้แห้งสุมกองไว้รอบนอกโคนต้น ที่ปลายเขตทรงพุ่ม (เขตทรงพุ่มอยู่ที่ปลายรากฝอย ล้อมรอบต้น หรือเส้นดิ่งตั้งฉาก จากปลายกิ่งลงมาที่พื้น) ให้เป็นควัน (ไม่มีเปลวไฟ ป้องกันใบเหี่ยว) พุ่งขึ้นหาทรงพุ่มจนทั่ว นาน 10-15 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3-5 วัน

- ระหว่างสุมควันให้งดน้ำ กระทั่งสุมควันครั้งสุดท้ายแล้วให้น้ำต่อประมาณ 5 วัน
- งดน้ำครบ 5 วัน แล้วให้ปุ๋ยสูตรกระตุ้นตาดอก
- ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สะสมสูง ประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะมีตาดอกแทงขึ้นมา

บำรุงทุเรียนหมอนทอง (ให้ออกดอกติดผลตลอดปี) :
ช่วงมีผลบนต้น (บำรุงต้น, สะสมตาดอก, เปิดตาดอก. บำรุงดอก, บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ)

ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน / ครั้ง

ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง ....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล. /ไร่) +8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล. /ไร่) +21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่)

หมายเหตุ :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ช่วยให้การทำงานได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน

- การให้ปุ๋ยทางใบบ่อยๆ สม่ำเสมอ นอกจากแก้ปัญหา ลูกยอด-พูหลอก ได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์สะสมแก่ต้นทุเรียนอีกด้วย

- ดินต้องมาก่อน ใส่อินทรีย์วัตถุ, สารปรับปรุงบำรุงดิน, จุลินทรีย์, สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้งใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ถึงหัวเข่า ระบบรากจะขึ้นมาอยู่ในเศษซากอินทรีย์ เพราะมีทั้งสารอาหาร อินทรีย์ เคมี และอากาศ เป็นรากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมากๆ

- เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน หมายถึง สารอาหารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินไม่เพียงต่อความต้องการของไม้ใหญ่อย่างทุเรียน แก้ไขด้วยการใส่เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี)

- หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ ลำต้น/โคนต้น/ท้องกิ่ง ออกเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แต่เลี้ยงไว้กิ่งด้านบนของกิ่งที่มีลูก เพื่อให้สังเคราะห์อาหารเลี้ยงลูกกลางกิ่ง

- หมั่นตัดแต่ง ช่อดอก (เริ่มออกดอก หางแย้ กำไร), ผลเล็กที่มากเกิน, ผลที่รูปทรงไม่สวย, อยู่เสมอ

- ปลูกทองหลางแซมแทรกเพื่อเอารากบำรุงทุเรียน ควบคุมทรงพุ่มทองหลางไม่ให้รบกวนแสงแดดต่อทุเรียน

- ทุเรียนอ่อนแอต่อโรค “ไฟธอปเทอร์ร่า” มาก แนะนำว่า ให้จุลินทรีย์กลุ่ม “ไตรโคเดอร์ม่า” บ้าง 2-3 เดือน / ครั้ง ให้ไว้ตั้งแต่ดินยังไม่เป็นกรดเพื่อป้องกัน เพราะถ้าดินเป็นกรดจัดจนเกิดไฟธอปเทอร์ร่าแล้ว ไตรโคเดอร์ม่าจะเอาไม่อยู่ เพราะไตรโคเดอร์ม่าอยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด

-----------------------------------------------------------------



มะม่วงนอกฤดู

ราดสารพาโคลบิวทาโซล :
พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี

2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น
4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10% ต่ออายุต้น
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี./ต้น
5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่) ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว

7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า .... น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้ .... มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน
11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช. ดีๆ ก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ) จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์ โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด) ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆจนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย

พันธุ์มะม่วงที่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซล คือ น้ำดอกไม้ (สายพันธุ์ทะวายและไม่ทะวาย) ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ศาลายา หนองแซง อกร่อง แรด เขียวเสวย ทองดำ หนังกลางวัน แก้วลืมรัง เพชรบ้านลาด หัวช้าง มันแห้ว สายฝน (ศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ)
www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/.../book.../fruit049.htm -

------------------------------------------------------------------


เงาะนอกฤดู

การบังคับเงาะให้ออกนอกฤดู :
ในเมื่อไม่มีเงาะทะวาย พันธุ์เบา พันธุ์หนัก และยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้เงาะออกดอกติดผลในช่วงที่ต้องการหรือเป็นเงาะนอกฤดูได้ แต่ธรรมชาติทางพัฒนาการของเงาะก็ไม่ต่างอะไรกับไม้ผลอื่นๆ นั่นคือ การที่จะทำให้เงาะออกดอกติดผล ก่อนหรือหลัง ฤดูกาลปกติยังมีโอกาสด้วยการปรับระยะเวลาปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนเร็วขึ้นเพื่อเร่งให้เป็นเงาะก่อนฤดูกาล หรือยืดระยะเวลาในการปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนออกไปเพื่อให้เงาะออกหลังฤดูปกติเท่านั้น กล่าวคือ.

ทำเงาะล่าฤดู :
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีนี้แล้วชะลอเวลาฟื้นฟูสภาพต้นออกไป 1-2 เดือน จากนั้นจึงเริ่มลงมือบำรุงขั้นตอนที่ 1 (ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน) ตามปกติ

2. เรียกใบอ่อน 2 ชุด เมื่อใบอ่อนแต่ละชุดออกมาแล้วไม่ต้องเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติ

3. เพิ่มช่วงเวลาบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจากเดิมที่เคยใช้เวลา 2 เดือนเป็น 3 เดือนหรือ 3 เดือนครึ่ง

4. การลงมือ เปิดตาดอก-บำรุงดอก-บำรุงผลเล็ก ต้องทำตามปกติ ซึ่งไม่สามารถยืดเวลาออกไปให้ช้าหรือเร่งเวลาให้เร็วขึ้นได้

5. ช่วงบำรุงผลกลางสามารถยืดเวลาออกไปได้ 15-20 วันโดยบำรุงด้วยสูตร ยืดอายุผลให้แก่ช้าเช่นเดียวกันกับส้มเขียวหวานหรือมะนาว ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้

6. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
การใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. (เดี่ยวๆ) ในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ 25-50% จะมีผลทำให้ดอกตูมร่วง หลังจากนั้น 1-2 เดือนต้นจะแทงช่อดอกชุดใหม่เอง ซึ่งดอกชุดใหม่นี้จะพัฒนาเป็นผลล่าฤดูได้ อัตราการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เพื่อทำให้ดอกร่วงแล้วออกมาใหม่จะได้ผลก็ต่อเมื่อต้นผ่านการบำรุงมาจนสมบูรณ์เต็มที่อย่างแท้จริง และสภาพอากาศเอื้ออำนวยเท่านั้น

(อัตราใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วงสภาพอากาศร้อนจัดให้ลดอัตราใช้ลง 10-20% และช่วงอากาศหนาวเย็นให้เพิ่มอัตราใช้ขึ้น 10-20% ของอัตราใช้เมื่อสภาพอากาศปกติเสมอ)

ทำเงาะก่อนฤดู :
1. ไว้ผลรุ่นปีการผลิตนี้น้อยๆ พร้อมกับบำรุงเต็มที่ เพื่อไม่ให้ต้นโทรม
2. บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตนี้ให้เร็วขึ้น โดยให้ทางใบด้วย 0-21-74 และให้ทางรากด้วย 8-24-24

3. เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาเรียกและใบอ่อนทันที

4. เรียกใบอ่อน 1 ชุด ใบอ่อนแผ่กางแล้วข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกเลย

5. บำรุงขั้นตอน บำรุงดอกตูม-บำรุงผลเล็ก ปฏิบัติตามปกติ
6. บำรุงขั้นตอน ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ด้วยสูตร เร่งผลให้แก่เร็ว ตามปกติ

หมายเหตุ :
การบังคับเงาะให้ออก “ก่อน” หรือ “หลัง” ฤดูกาลจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแท้จริงโดยผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี

การบริหารปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) จะต้องเหมาะสมตรงตามความต้องการทางธรรมชาติหรือนิสัยของเงาะอย่างแท้จริง นานติดต่อหรือต่อเนื่องมาหลายๆปี

- หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วลงมือเปิดตาดอกเลยนั้น จะต้องฉีดพ่นทางใบด้วยสูตร “เปิดตาดอก” หลายครั้งอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 เดือนก็ได้

-------------------------------------------------------------------



ลำไยนอกฤดู

วิธีใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. หรือ โซเดียม คลอเรต :
1. เลือกต้นหรือเตรียมต้นที่มีความสมบูรณ์สูง อายุต้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วได้รับการฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที ได้แก่ ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อน 2-3 ชุด. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. ไม่เคยได้รับสารโซเดียม คลอเรต. และโปแตสเซียม คลอเรต. มาก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี และปีที่ไม่ได้รับสารฯ ก็ยังให้ผลผลิตดีตามปกติ

2. เปิดหน้าดินโคนต้น และต้องไม่มีต้นวัชพืชขึ้นบริเวณโคนต้นรอบๆทรงพุ่ม
3. รดน้ำโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม 1-3 วันติดต่อกันให้ดินชุ่มก่อนลงมือราดสาร
4. อัตราใช้และวิธีใช้
- ใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. พื้นที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย....
* อายุต้น 5-7 ปี ใช้ 100 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล...
* อายุต้น 7-10 ปี ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล....
* อายุต้น 10 ปีขึ้นไป ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล...
- พื้นที่ดินเหนียว เพิ่มอัตราใช้ 50 กรัมของอัตราใช้ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
- ใช้สารโซเดียม คลอเรต. ชนิด 95% อัตรา 30 กรัม/น้ำ 80 ล./พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม.

5. ขุดร่อง 15-20 ซม. ล้อมรอบชายพุ่มสำหรับพื้นที่ลาดเอียง กรณีพื้นที่ทรงพุ่มราบธรรมดาไม่จำเป็นต้องขุดร่องแต่ให้ราดสารฯ ลงบนพื้นโดยตรงเลยก็ได้.....ราดสารฯ ในร่องหรือลงพื้นให้เป็นวงรอบทรงพุ่ม พื้นที่วงกว้าง 50 ซม.

6. ผสมสารฯ (อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ) ลงในน้ำ (พีเอช 7.0) คนเคล้าให้เข้ากันดีและคนบ่อยๆเพื่อป้องกันนอนก้น ราดน้ำผสมสารลงในร่องที่เตรียมไว้หรือราดลงพื้นที่ชายพุ่มซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของปลายรากฝอย ซึ่งรากฝอยจะดูดซึมสารเข้าสู่ลำต้นได้รวดเร็ว

7 . หลังจากราดสารฯ ต้องให้น้ำโชกสม่ำเสมอติดต่อต่อกัน 10-15 วัน ช่วงนี้ควรปฏิบัติต่อต้นลำไยทางรากโดยให้ฮอร์โมนบำรุงราก + จุลินทรีย์ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้นน้าดิน พร้อมกับให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

8. หลังจากราดสารฯ แล้ว ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะเริ่มออกดอกใน 15-20 วัน ส่วนต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยจะออกดอกใน 20-30 วันหรือไม่ออกเลย

หมายเหตุ :
- โปแตสเซียม คลอเรต. เป็นสารไวไฟ แก้ด้วยการผสมบอแรกซ์.
- ก่อนตัดสินใจเลือกใช้สารตัวใดตัวหนึ่ง (โซเดียม คลอเรต. หรือ โปแตสเซียม คลอเรต.) ควรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์หรือความเข้มข้นของเนื้อสารให้แน่นอนก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความแน่นอนของประสิทธิภาพนั่นเอง

- การราดสารเป็นบังคับต้นแบบทรมานชนิดเฉียบพลัน กล่าวคือ สารทั้งสองชนิดนี้ไปทำลายระบบรากทำให้ส่งสารอาหารจากพื้นดินไปเลี้ยงต้นไม่ได้ จึงทำให้ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงอยู่ก่อนแล้วออกดอก แต่ต้นที่ไม่สมบูรณ์นอกจากไม่ออกดอกแล้วต้นยังโทรมจนกระทั่งตายไปเลย .... เมื่อมีดอกออกมาและพัฒนาเป็นผลได้แล้วแต่ต้นไม่มีรากหรือระบบรากยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็จะไม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงดอกและผลเช่นกัน นั่นคือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ผสมไม่ติด หรือผสมติดเป็นผลได้ ผลนั้นก็ไม่มีคุณภาพ

- การบังคับลำไยด้วยวิธีราดสารฯ ให้ประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตคุณภาพสูง (เกรด เอ.-จัมโบ้) ปริมาณมาก และต้นไม่โทรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมของต้นให้สมบูรณ์อย่างแท้จริง ตั้งแต่ก่อนราดสารฯ จนกระทั่งการปฏิบัติบำรุงระยะต่างๆ จนถึงเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตรงตามความการที่แท้จริงของลำไยและสม่ำเสมอ


“ลำไยจัมโบ้” สวนแสนไชย (081) 951-4659
https://suansanchai.wordpress.com

คำแนะนำสำหรับการใช้สารกลุ่มคลอเรต เร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย
(เฉพาะโซเดียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอเรต)
1. คุณสมบัติของสารกลุ่มคลอเรต :
1.1 เมื่อผสมกับกรดกำมะถันจะเกิดอันตรายและสามารถระเบิดได้
1.2 สารบริสุทธิ์เป็นผลึกใสหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติไม่ติดไฟแต่จะช่วยให้สารอื่นเกิด การลุกไหม้ได้ดีขึ้น
1.3 เป็นส่วนผสมในการผลิตวัตถุระเบิด พลุ และไม้ขีดไฟ
1.4 ละลายได้ในน้ำและในสารละลายอื่นเช่น แอลกฮอล์อัลคาไลน์(ด่าง)และกลีเซอรอล เป็นต้น

2. ข้อควรระวังในการใช้สารกลุ่มคลอเรต :
2.1 เป็นวัตถุอันตรายชนิดวัตถุระเบิด อาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง
2.2 อาจเป็นอันตรายต่อพืช ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
2.3 เก็บรักษาไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่านปุ๋ยยูเรีย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือแอมโมเนียเกลือบางชนิด เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายต่อการติดไฟและอาจเกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้

2.4 ไม่ควรทุบ บด กระแทกสาร หรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้สารเกิดระเบิดได้

2.5 ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ทำลายเม็ดโลหิตแดง เป็นอันตรายต่อไตและกล้ามเนื้อหัวใจ จึงควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังการใช้สาร

3. วิธีการใช้สาร :
3.1 วิธีการราดลงดิน
3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ
3.3 วิธีการฉีดเข้ากิ่ง

วิธีการราดลงดิน :
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรดูแลรักษาต้นลำไย โดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยและพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยให้ต้นลำไยมีการแตกใบใหม่อย่างน้อย 1-2 ชุดขึ้นไป และช่วงเวลาให้สารควรอยู่ในระยะใบแก่หรืออย่างต่ำต้องอยู่ในระยะใบเพสลาดขึ้นไป

2. ก่อนการให้สารถ้าเป็นไปได้ให้งด หรือลดการให้น้ำลงเพื่อให้ต้นลำไยได้พักตัว และลดการดูดธาตุไนโตรเจนมากลำไยอาจแตกใบอ่อน หรืออาจแตกช่อเพียงพอที่ไม่ทำให้ต้นลำไยเหี่ยวเฉาเท่านั้น

3. ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืช และกวาดวัสดุคลุมดินออกไปจากโคนต้น ไม่จำเป็นต้องสับหรือพรวนดิน ถ้าดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชุ่มก่อนราดสาร

4. อัตราการใช้สาร ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์หรือความเข้มข้นของเนื้อสาร ชนิดของดิน ขนาดของทรงพุ่มและระยะเวลา ควรใช้สารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% โดยมีอัตราการใช้สารดังนี้

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 4-5 เมตร ใช้สาร 100-200 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 5-7 เมตร ใช้สาร 200-400 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย มากกว่า 7 เมตร ใช้สาร 500 กรัมต่อต้น

5. ใช้สารคลอเรตในอัตราที่กำหนดตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ใช้ไม้คนให้ทั่วจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน บรรจุสารละลายในภาชนะที่ปิดมิดชิดขณะนำไปราด

6. ราดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินบริเวณชายพุ่มเป็นแนววงแหวนกว้างประมาณครึ่งเมตร เนื่องจากบริเวณชายพุ่มเป็นบริเวณที่ลำไยมีรากฝอยที่กำลังเจริญเติบโตจึงสามารถดูดซึมสารละลายคลอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว

7. ในช่วง 10 วันแรกหลังราดสาร ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารละลายคลอเรตเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบรากของลำไยได้ดีและเร็วขึ้น ลดการเกิดพิษภัยกับต้นลำไยและสารสะสมในดิน

8. หลังจากราดสารประมาณ 20-30 วัน ลำไยเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ เพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น

9. สวนลำไยที่จะราดสารต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อให้น้ำแก่ต้นลำไยหลังราดสาร และตลอดฤดูกาลติดผลของลำไยโดยเฉพาะการบังคับลำไยออกดอกนอกฤดูในช่วงที่ลำไยติดผล จะต้องให้น้ำแก่ลำไยอย่างเพียงพอเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

10. ต้นลำไยที่บังคับให้ออกดอกโดยการราดสารคลอเรตในปีที่ 1 แล้วในปีต่อไป ควรเว้นเพื่อบำรุงต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ให้ต้นทรุดโทรม ดังนั้นควรแบ่งลำไยออกเป็น 2 แปลงและทำสลับปีเว้นปี

11. ควรใช้สารคลอเรตตามอัตรากำหนด หากใช้มากไปจะมีผลทำให้ต้นลำไยโทรมเร็วขึ้น

3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ (เฉพาะสารโพแทสเซียมคลอเรต) การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ
1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. การพ่นสารทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์
3. ควรพ่นสารในช่วงทีลำไยมีใบแก่เท่านั้น(ระยะ 4-8 สัปดาห์หลังจากแตกใบอ่อน)เพราะหากพ่นในระยะที่ลำไยมีใบอ่อนอาจออกดอกไม่ดี หรืออาจทำให้ช่อดอกสั้น
4. หลังจากพ่นสารพ่นแล้ว 25-30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก

วิธีการพ่นสาร :
1. ผสมสารให้มีความเข้มข้นในอัตราส่วนผสมสาร 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยคนสารให้ละลายในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงเทใส่ถังพ่นยา

2. ควรพ่นในตอนเช้า หรือช่วงอากาศไม่ร้อยแต่ถ้ามีฝนตกในระยะ 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารซ้ำอีกครั้ง

ข้อควรระวัง :
1. ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ เพราะหากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และใบร่วงได้

2. การพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก
3. ให้คำนึงเสมอว่าสารที่ใช่พ่นเป็นอันตราย ต้องระมัดระวังและต้องทำความสะอาดชุดที่สวมใส่ทันทีหลังจากพ่นแล้ว

*ไม่ควรผสมสารใดๆ ในสารที่ใช้พ่น

3.3 การฉีดเข้ากิ่ง :
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม.
2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 1-1.5 นิ้ว
3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียนตอกลงไปในรูให้แน่น
4. ละลายสารคลอเรต อัตรา 0.25 กรัมต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 ซม. ละลายน้ำ 4 ซีซี.
5. จากนั้นใช้หลอดฉีดยาขนาด 60 ซีซี.ดูดสารละลานที่ผสมจนหมดและดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 10 ซีซี. เพื่อเป็นตัวดันสารละลานอีกทางหนึ่ง แล้วฉีดเข้าไปในกิ่งโดยผ่านทางปลอกพลาสติก

6. อัดสารละลายเข้าไปโดยใช้ลวดแข็งหรือตะปูสอดบริเวณรูของหลอดและด้านฉีดที่เจาะไว้ให้ยึดติดกับกระบอกหลอดฉีดยาเพื่อป้องกันแรงอัดดีดตัวก้านฉีดออกมาจากนั้นรอจนสารละลายหมดดึงหลอดฉีดยาและปลอกออกเพื่อใช้งานต่อไป

การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากใช้สาร :
1. ต้องปฏิบัติและดูแลรักษาต้นลำไยตามคำแนะนำการผลิตลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม(GAP) ของกรมวิชาการเกษตร

2. ในช่วงการเจริญและพัฒนาของช่อดอกและผล ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพและต้นโทรมได้

3. ถ้าลำไยติดผลมากเกินไป อาจต้องช่วยลดปริมาณผลลงโดยการตัดช่อผลออกให้เหลือ 60-70 ผลต่อช่อ

4. การให้ปุ๋ยทางดิน ระยะที่ผลลำไยขยายตัว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน: ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม อัตราส่วน 3 : 1 : 2 หรือ 4 : 1 : 2 หรือใกล้เคียง และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวควรให้ปุ๋ยอัตราส่วน 1 : 2 : 4 หรือ 1 : 2 : 5 หรือใกล้เคียง โดยใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนครึ่ง

5. ควรตรวจการระบาดของแมลง เช่น หนอนวักใยกินดอกลำไย และหนอนเจาะผลลำไยขณะที่ผลอ่อน

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ โทร. (053)873-938
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit041.htm

-------------------------------------------------------------------

ขนุนนอกฤดู

- ราคาดีในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. เนื่องจากมีผลไม้ยอดนิยมออกสู่ตลาดน้อย
- ขนุนเป็นไม้ผลที่ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลหรือสารบังคับใดๆให้ออกนอกฤดูทั้งสิ้น นอกจากไม่ตอบสนองแล้วยังเป็นอันตรายต่อต้นจนถึงตายได้อีกด้วย

การทำขนุนให้ออกนอกฤดูกาลจึงต้องทำจากขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่านั้น แม้แต่ขนุนทะวายสายพันธุ์เดียวกันแต่เป็นคนละต้น ยังมีนิสัยออกดอกติดผลไม่พร้อมกันหรือไม่เหมือนกันอีกด้วย แต่นิสัยที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ออกดอกปีละ 2 รุ่นหรือมากกว่าเสมอ

ดังนั้น เมื่อจะทำขนุนให้ออกนอกฤดูก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยการออกดอกของขนุนต้นที่ปลูกให้

https://www.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/06/2024 8:34 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 07/06/2024 12:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
รู้ขนุน รู้กระจ่าง ฯลฯ ...... :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=34


เกษตรแจ๊คพ็อต :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7281&sid=c417b79650a0f00bc24cf4c09da5ecbb


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©