ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
hang สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 11/11/2009 ตอบ: 25
|
ตอบ: 20/02/2010 9:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มิว่าสิ่งใดก็ดีแต่จงพิเคราะห์ให้จงหนักว่าสาระสำคัญมันอยู่ที่ตรงไหนจงมองโดยคะเนว่าจักเป็น
ประโยชน์ต่อเราได้สักกี่มากน้อย แลจงใช้ประโยชน์นั้นไซร้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนแลพวกพ้องเพื่อ
บ้านเมืองแลประเทศชาติ
โปโล เอ้ย ป.ล.
ประยุกต์จากพระราชดำริของ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช จากหนังสือสมบัติพระนเรศวร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 20/02/2010 11:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้าน้อยขอน้อมรับ
มุข"โปโล" ตลกดี |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 21/02/2010 8:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา คัดลอกจากhttp://www.clt.or.th/coop_translate/Articles/eco_nomic/001.pdf
เศรษฐกิจพอเพียงกับยุทธศาสตร์การตลาด
คอลัมน์ คลื่นความคิด ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายให้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
แขนงวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของกองทัพบก จำนวนกว่า 100 คน ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก ในหัวข้อ
"แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้วยยุทธศาสตร์การตลาดยุคใหม่"
ได้รับความสนใจจากผู้เข้าฟังเป็นอย่างมาก
ผู้เขียนเลยถือโอกาสนำรายละเอียดมาเล่าสู่แฟนคอลัมน์คลื่นความคิดให้รับทราบกัน
แท้ที่จริงแล้วแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีแก่นสาระสำคัญคือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่
ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่
ในระดับพอประมาณและพอดี
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ ทั้งในระยะสั้น
และระยะยาวอย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งสั้นและยาว
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ
ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและมีความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภและไม่ตระหนี่จนเกินไป
แนวทางปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะได้รับ การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดหนึ่งของยุทธศาสตร์
การตลาดยุคใหม่ที่มุ่งเน้นสังคมเป็นเป้าหมายสำคัญ
โดยมีความคิดที่ว่าธุรกิจควรกำหนดความจำเป็น ความต้องการ และผลกระทบ
ของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ด้วยการส่งมอบความพึงพอใจที่ดีกว่าคู่แข่งขันในท้องตลาด เพื่อรักษาหรือพัฒนา
วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและสังคมให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมต้องตอบ
สนองสังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจโลกและการไม่ใส่ใจ
ปัญหาสังคม ธุรกิจที่ดำเนินงานตามแนวคิดนี้จึงต้องเข้าถึงความรู้สึกและจิตใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ประกอบกับ
ต้องมีความตั้งใจจริงและมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบ เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและสังคมได้รับความพึงพอใจและ
ความบริบูรณ์พูนสุขในระยะยาว (long-run welfare) นั่นเอง จริงอยู่ที่ธุรกิจต้องการผลกำไรตอบแทน
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการก็ต้องการความพึงพอใจจากสิ่งที่ตนเองต้องการ และที่สำคัญ
สังคมที่ทั้งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งนั้นก็ต้องเกิดความสมบูรณ์พูนสุขด้วยเช่นกัน แนวคิดนี้ต้อง
การสร้างความสมดุลให้กับชีวิต เศรษฐกิจ สังคมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป แต่การที่ธุรกิจจะดำเนิน
การตามแนวคิดนี้ได้นั้นจะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้ที่ประกอบด้วยความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวัง รวมถึงเงื่อน
ไขคุณธรรมอันประกอบด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน และการรู้จักแบ่งปันมาผสมผสานกันภายใต้กรอบ
ของความพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นี่แหละถึงเรียกว่าการประสานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
กับยุทธศาสตร์การตลาดยุคใหม่ให้เข้ากันอย่างกลมกลืน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจสังคมและประเทศชาติสืบไป! |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 18/05/2010 12:35 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา คัดลอกจากhttp://www.naewna.com/news.asp?ID=210548
เกษตรสร้างสรรค์
กระจิบนนท์ร่อนลงระยอง(จบ) (เกษตรสร้างสรรค์)
คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐานในกระบวนการตลาด
การกำหนดราคาขายเอง นอกจากเป็นความอหังการ์ของชาวสวนแล้ว ย่อมแสดงว่า เขามีอหังการ์ที่จะสำแดง
คุณภาพมาก่อนเพื่อนครับ
ก่อนที่คนจะควักเงินซื้อทุเรียนนกกระจิบกิโลละ 90 บาท ต้องรู้ก่อนว่า รสชาติดีจริงไหม จะรู้ได้ต้องลิ้มชิมรส คุณสุภาภรณ์ อรัญนารถ แกะให้ชิมตั้งแต่ตั้งแผงในห้างเสรี เซ็นเตอร์ ถูกปากถูกใจคนกรุงเมื่อไหร่ ราคาจะกลายเป็นเรื่องรองทันที
การจะผลิตผลไม้ให้ได้คุณภาพ ต้องใช้ทั้งเทคนิค และความเชี่ยวชาญของเกษตรกร รวมความถึงการเก็บเกี่ยว ไม่งั้นคงไม่มีข่าวทุเรียนอ่อนให้นักท่องเที่ยวหรือนักชิมต่อว่าหรอก คุณสุภาภรณ์รู้จุดต้องการของคนกรุงเทพฯพอสมควร ไม่งั้นกิโล 90 บาทคงขายไม่ได้
อย่าลืมว่า สวนคุณไพบูลย์มีต้นทุเรียนนกกระจิบ 300 ต้น ปีที่แล้วให้ผลผลิต 8 ตัน หรือ 8,000 กิโลกรัม แล้วคุณภาพไม่สม่ำเสมอจะขายได้หมดสวนไหม
สวนที่นี่มีทุเรียนไว้ขายคนมาชมสวน 70 % ที่เหลือ 30 % ขายลูกค้าประจำที่กรุงเทพฯ ประเภทสั่งซื้อทางโทรศัพท์ ส่งทุเรียนทางรถทัวร์ให้ลูกค้าไปรับเองที่สถานี พร้อมจ่ายค่าขนส่งเอง เป็นลูกค้าดั้งเดิมตั้งแต่ขายปลีก ยันลูกค้าที่เคยมาสวนแล้วติดใจ
แนวทางการตลาดจึงเหยียบเรือสองแคม ทั้งลูกค้าในสวนกับลูกค้าที่บ้าน คุณสุภาภรณ์นึกถึงอนาคตที่นกกระจิบทั้ง 300 ต้นหรือที่ขยายเพิ่ม และให้ผลผลิตเต็มที่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเหล่านี้จะระบายไปที่ไหน ตรงนี้เป็นโจทย์ที่ต้องตระเตรียมคำตอบไว้ตั้งแต่วันนี้
สวนคุณไพบูลย์เป็นสวนที่ร่มรื่น เย็นตา การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญสูงเช่นกัน เพราะหมายถึงจุดเป็นจุดตายนาทีสุดท้าย ยกตัวอย่างมังคุดต้องค่อยๆเก็บด้วยตะกร้อ เก็บอย่าให้ตกตกเมื่อไหร่ต้องเอาออกจากกระบวนการขายทันที
ที่นี่มีต้นมังคุด 100 ปีประมาณ 10 กว่าต้น ราคาเลยต้องแพงไล่ตามอายุ 90 บาท/กิโล ถ้าเป็นมังคุดอายุต่ำกว่าร้อยปีก็ขายกิโลละ 50 บาท เงาะที่นี่ขาย 3 กิโล 100 บาท แพงกว่าชาวบ้านทั้งนั้น
เทคนิควิธีที่ทำราคานั้น จริงๆแล้วทำกันทุกขั้นตอน แม้กระทั่งทุเรียนที่จะชิม ยังต้องมีกระดาษรองกันเปื้อนมือด้วย ทุเรียนที่ไม่ได้ตามเกณฑ์หรือมีปัญหาก็สามารถเคลมได้ คืนได้ ไม่เอาเปรียบผู้ซื้อ
ความสำเร็จนี้คุณสุภาภรณ์บอกว่า เป็นส่วนที่ทำให้เกิดกำลังใจ และเป็นการประกาศศักดิ์ศรีของเกษตรกรว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องต่ำต้อยด้อยค่า เป็นรากหญ้าที่ยากจนยากไร้เสมอไป
ที่เป็นความสุขอย่างยิ่งของครอบครัวอรัญนารถ คือการกลับมารวมเป็นครอบครัวดังเดิม บรรดาลูกๆของคุณไพบูลย์ที่ออกไปทำงานในกรุงเทพฯกลับคืนสู่สวนทั้งสิ้น แบ่งงานกันทำตามความถนัด อยู่กับสวนผลไม้ เป็นธรรมชาติที่แสนอิ่มเอมเปรมใจ
นอกจากเป็นสวนของคุณไพบูลย์และครอบครัวแล้ว ยังเป็นสวนที่นักท่องเที่ยวเองก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมชม หรือจะชิมด้วยสุดแต่ใจจะไขว่คว้า
กระจิบเมืองนนท์จึงร่อนลงปักหลักอยู่เมืองระยองอย่างมั่นคงและยาวนาน
พอใจ สะพรั่งเนตร
วันที่ 11/5/2010 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 18/05/2010 9:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม่รู้ (ว่ะ)....ลืมไปแล้ว....
วันนี้คิดอย่างเดียว.... คิด - คิด - คิด - แล้วก็ คิด - คิด - และคิด.....
วันนี้ ปีนี้ รุ่นนี้ สวนคุณอ้อ. มาถึงจุดนี้ ได้ระดับนี้ ความคิดก็คือ.....
1.... ปีหน้า รุ่นหน้า ต้อง เท่านี้ + ดีกว่านี้ ทำอย่างไร ได้หรือไม่
2.... ปีหน้า รุ่นหน้า ปีต่อๆไป และรุ่นต่อๆ ไป ต้อง ดีเหนือขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ
3.... เมื่อทุกอย่างดีขึ้นแล้ว ปริมาณผลผลิตจากสวนตัวเองไม่เพียงพอ จะบริหารจัดการอย่างไร
4.... PROJECT สร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าบริการแก่ลูกค้า ทำได้หรือไม่ อย่างไร
5.... การจำหน่ายผลผลิตแบบ CONTACT FARMING ทำได้หรือไม่ อย่างไร
6.... นอกจาก ชม-ชิม-ซื้อ จะมีกิจกรรมหรือ PRODUCT อื่น เสริม/ทดแทน หรือไม่ อย่างไร
7.... ถ้า (ถ้า) EXPORT ได้ มูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ใช่หรือไม่
8.... ฯ ล ฯ
ใครมีความคิดอย่างไร เพิ่มเติมได้นะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 18/05/2010 7:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าพูดถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เท่าที่ฟังความรู้สึกของลูกค้า ปีนี้ผลไม้อร่อยขึ้นกว่าเดิมทุกอย่าง ดูได้จากราคาที่ขายไม่ว่าจะแพงอย่างไร ผลผลิตก็ไม่เคยพอขาย ปีหน้าหรือปีต่อๆไปต้องดีขึ้นกว่าปัจจุบันแน่นอน เพราะเมื่อเราบำรุงต้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ความพร้อมและความสมบูรณ์ของต้นจะส่งผลสืบเนื่องถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิตในปีต่อๆไป
ส่วนเรื่องเมื่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้นแต่ผลผลิตในสวนมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือแม้แต่การสร้างความหลากหลายของผลผลิตที่จำหน่าย ปัจจุบันได้เริ่มนำผลผลิตของสวนที่เราเชื่อมั่นในคุณภาพมาขายที่สวน ทั้งในกลุ่มของเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จ.ระยอง และโดยเฉาะสวนเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเราให้ราคาสูงกว่าท้องตลาดประมาณ 5-10 บาท แต่ขอร้องให้ส่งผลผลิตที่มีคุณภาพให้เรา ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีที่สวนใกล้เคียงเริ่มให้ความสำคัญกับการบำรุงผลผลิตให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เหมือนเป็นแผนการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำเกษตรกรรมที่ต้อง "เกรดเอ-จัมโบ้" แล้วจะได้ราคาที่สูงกว่าราคาตลาด และถ้าเรารับซื้อจากสวนใดแค่ครั้งหรือสองครั้ง นั่นแสดงว่าผลผลิตยังไม่ได้ตามคุณภาพที่เราต้องการ จึงอาจเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้พวกเขาปรับตัว
เมื่อเราเริ่มสร้างเครือข่ายผลผลิตแล้ว ในอนาคตเราสามารถจะเชื่อมโยงถึงปัจจัยการผลิต ทั้งปุ๋ย ฮอร์โมน เทคโนโลยี (ระบบสปริงเกอร์) รวมถึงแรงงาน เพราะฉนั้นโครงการCONTACT FARMING ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทำได้ ทำได้อยู่แล้ว ......ว่ามั้ย?
ส่วนเรื่องการส่งออก คงไม่ส่งออกเอง แต่อาจเป็นแค่ผู้รวบรวมผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออก
แต่ถึงอย่างไร ยังรู้สึกสำนึกรักเมืองไทย รักคนไทย คนไทยควรจะได้รับประทานของดีมีคุณภาพก่อนชาติอื่น .......ว่ามั้ย? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|