-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หินภูเขาไฟ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หินภูเขาไฟ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 11/03/2010 11:00 am    ชื่อกระทู้: หินภูเขาไฟ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารปรับปรุงดินจากหินภูเขาไฟประเภท
พัมมิช (Pumice) พัมมิไซต์ (Pumicite)
และ พัมมิเซียสทัฟฟ์ (Pumiceous tuff)
จากจังหวัดลพบุรี

วันที่ : 12 ส.ค. 2552, 17:24:24 น.
หมวดหมู่ : หินแร่ภูเขาไฟ กลุ่ม : หินแร่ภูเขาไฟ


1.หินภูเขาไฟ
หินภูเขาไฟโดยกำเนิดแล้วเป็นหินกลุ่มที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหลอม
ละลายที่เรียกว่าแมกมา(Magma) ซึ่งแทรกขึ้นมาใกล้ผิวโลกหรือบนผิว
โลกมี 2 พวกด้วยกันคือ

1.....พวกที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวา

2....พวกที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ


พวกหนึ่งเกิดเป็นลาวาไหลออกมาสู่ผิวโลกแล้วเย็นตัวและแข็งตัว เมื่อกระทบกับอากาศหรือเย็น
ตัวในส่วนตื้นๆ ของเปลือกโลก (รูป ที่ 1) ส่วนพวกที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งทำให้หิน
หลอมละลายบางส่วนถูกพ่นออกมาจากในปล่องภูเขาไฟรวมกับละอองเถ้าและเศษหินแข็งซึ่งเป็น
ส่วนของปล่องภูเขาไฟฟุ้งกระจัดกระจายปะปนกันขึ้นไปในบรรยากาศส่วนที่เป็นของเหลวอยู่จะ
เย็นตัวอย่างทันทีทันใด ชิ้นส่วนทั้งหมดจะตกตัวย้อนกลับสู่พื้นผิวโลก บางส่วนอาจตกลงสู่แหล่ง
น้ำ หินภูเขาไฟพวกหลังนี้มีลักษณะคือ ประกอบด้วย เศษหินภูเขาไฟ เถ้าภูเขาไฟ และ มีลักษณะ
การวางตัวเป็นชั้น (รูป ที่ 1)

หินภูเขาไฟ ที่นำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เป็นหินภูเขาไฟแอซิด (acidicvolcanic rocks) ใน
ส่วนประกอบมีธาตุซิลิก้าปนอยู่ เป็นปริมาณที่สูงประมาณร้อยละ 70 โดยน้ำหนักเกิดจากการเย็น
ตัวของหินหลอมละลาย(Magma) ที่จะมีความหนืดสูง มีปริมาณไอน้ำ และ ก๊าซต่างๆ ละลาย
ปะปนอยู่มาก เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นมาใกล้ผิวโลกตรงบริเวณปล่องภูเขาไฟซึ่งจะเป็นช่องทางแคบๆ
ก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำจะแยกตัวออกจากหินหลอมละลายเป็นฟองอากาศขนาดต่างๆ กันตั้ง แต่ใหญ่
ถึงเล็กจิ๋ว ประกอบกับมีแรงเคลื่อนตัวเข้าสู่ผิวโลกอย่างรวดเร็ว

จะรีดดันให้หินหลอมละลายแทรกผ่านขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ หินหลอมละลายส่วนนี้จะเย็นตัวอย่าง
ทันทีทันใดแข็งตัวกลายเป็นหิน เรียกว่า “หินพัมมิซ” (Pumice) ลักษณะเป็นหินมีเส้นใยและ
ช่องว่างจำนวนมาก(รูป ที่ 2) ซึ่งิดจากการถูกรีดขณะที่เป็นของเหลว และ เคลื่อนตัดผ่านปล่อง
ภูเขาไฟ ซึ่งช่องว่างนั้นก็คือ รูพรุนของโพรงก๊าซต่างๆ และไอน้ำที่หนีหายไป โดยส่วน ที่เป็นเส้นใย
ก็คือ เนื้อหินซึ่งประกอบขึ้นด้วยแก้วภูเขาไฟ ที่ยังปรากฏมีรูเป็นท่อขนาดจิ๋วอยู่ภายในเนื้ออีก (รูป
ที่ 3) นอกจากนั้นก็ยังมีผลึกแร่ ที่ตกผลึกมาก่อนหน้าแล้วปะปนอยู่บ้าง เช่น แร่เพลจิโอเคลส
เฟลด์สปาร์ (Plagioclase feldspar) และ แร่เหล็กบางชนิด

ในบางช่วงของพัฒนาการของภูเขาไฟ ช่องทางภายในปล่องเกิดถูกปิดกั้นด้วยหินพัมมิซ แต่หิน
หลอมละลายยังคงประทุอยู่เบื้องล่างก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำยังคงแยกตัวออกจากหินหลอมละลาย
และ มีการสะสมตัวภายใต้ปล่องภูเขาไฟมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง
ของภูเขาไฟ ทำให้หินพัมมิซที่เกิดขึ้นมาก่อน และ หินอื่นๆ ซึ่งปลิวออกไปเย็นตัวทันทีทันใดใน
อากาศ ชิ้นส่วนเหล่านี้บางส่วนจะลอยค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานานหรือถูกกระแสลมพัดพาไป
สะสมตัวใน ที่ใกล้ๆ บางส่วนตกตัวย้อนลงสู่พื้นโลกสะสมตัวใน ที่ใกล้ๆ ปากปล่องภูเขาไฟ ซึ่ง
ประกอบด้วยเศษหินพัมมิซ ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าปะปนอยู่ด้วยเถ้าภูเขาไฟ (รูป ที่ 4) ส่วนพวกมี
เนื้อละเอียดจะประกอบด้วยเถ้าภูเขาไฟเกือบทั้งหมดมีชื่อ เรียกว่าหินพัมมิไซต์ (Pumicite) ไม่
ว่าจะเป็นเศษหินพัมมิซ ก้อนของหินหลอมละลายซึ่งเย็นตัวในขณะถูก และเบิดปลิวขึ้นไปใน
อากาศ หรือเศษเถ้าธุลี ทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยแก้วภูเขาไฟเป็นส่วนใหญ่มีผลึกแร่อื่นๆ ปนอยู่บ้าง
เป็นส่วนน้อยมีเพียงเศษหินจากปล่องภูเขาไฟ ที่ปะปนอยู่ไม่มากนักเท่านั้น ที่มีส่วนประกอบเป็น
ผลึกแร่ทั้งหมด

หินภูเขาไฟ ซึ่งยกว่าหินพัมมิเซียสทัฟฟ์ (Pumiceous tuff) หินพัมมิไซต์ (Pumicite) และ หิน
พัมมิซ (Pumice) ทุกชนิดเป็นหิน ที่นำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ซึ่งต่อไปนี้จะเรียนรวมหินเหล่า
นี้สั้นๆ ว่า หินพัมมิซ

รูป ที่ 2 ถ่ายจากตัวอย่างหินพัมมิซเขาพนมฉัตร ซึ่งตัดเป็นแผ่น แสดงเส้นใย ที่ประกอบขึ้นด้วย
แก้วภูเขาไฟ และ ช่องว่างระหว่างเส้นใยซึ่งเกิดจากก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำ ที่ระเหยหนีหายไป จุดสี
ขาวคือแร่เพลจิโอเคลส (Plagioclase feldspars)

2.คุณสมบัติ ของหินพัมมิซ ที่ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เพื่อการเกษตรกรรม

หินพัมมิซจากแหล่งลพบุรีประกอบด้วย ส่วนประกอบ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

2.1ส่วนที่เป็นแก้วภูเขาไฟ

2.2ส่วนที่เป็นแร่ดิน

2.3ส่วนที่เป็นแร่ซีโอไลต์ (Zeolite) และ แร่ซีลไวต์(Sylvite) โดยแต่ละส่วนมีคุณสมบัติซึ่ง
เป็นประโยชน์ต่อพืชดังต่อไปนี้

รูป ที่ 3 ขยาย 70 เท่า ผงบดจากหินพัมมิซพนมฉัตร แสดงให้เห็นรูซึ่งเป็นท่อขนาดจิ๋วในแก้ว
ภูเขาไฟ ที่เกิดจากฟองก๊าซ และ ไอน้ำในหินหลอมละลายถูกรีดตัวขณะเคลื่อนผ่านปล่องภูเขาไฟ
แล้วเย็นตัวแข็งเป็นหินอย่างรวดเร็ว

รูป ที่ 4 ลักษณะ ของหินพัมมิเซียสทัฟฟ์ซึ่งประกอบขึ้นด้วยเศษหินพัมมิซมากมายฝังตัวอยู่ในเนื้อ
หินซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษเถ้าธุลีจากปล่องภูเขาไฟ (เขาพนมฉัตร)

ตาราง ที่ 1 ผลวิเคราะห์เคมีหินพัมมิซเขาพนมฉัตร จ.ลพบุรี(วิเคราะห์ โดยฝ่ายวิเคาระห์แร่ และ
หิน กองวิเคารห์กรมทรัพยากรธรณี)

Major Oxides [wt%]

Minor elements [ppm]

ซิลิกา [SiO2] = 70.00

สารหนู [AS] = 5

อาลูมิน่า [AL2O3] = 13.66

ทองแดง [Cu] = 33

เฟอร์ริกออกไซด์ [Fe2O3 ] =1.26

แคดเมี่ยม [Cd] = Nil

ฟอสฟอรัสเพนดอกไซด์ [P2O5] =0.017

ปรอท [HG] = 05

แคลเซี่ยมออกไซด์ [CaO] =1.12

แมงกานีส [Mn] = 294

แมกนีเซี่ยมออกไซด์ [MgO]=0.20

โมลิบตินัม [Mo] =Nil

โซเดียมออกไซด์ [Na2O] =1.33

ตะกั่ว [Pb] = 15

โปแตสเซียมออกไซด์ [K2O] =5.39

เซเลเนี่ยม [Se] = Nil

ความชื้น [H2O]= 0.97

สังกะสี [Zn] = 72

ส่วน ที่หายไปหลังการเผา [lg.loss] =5.75



ตาราง ที่ 2 แสดงค่า surface area และ ขนาด ของรูในหินพัมมิซบด (ข้อมูลจากนิคม จึงอยู่
สุข 2540)

Grain Size

BET Surface [m2/g]

Pore Size (} A) avg. pore diameter

40 – 60 mesh

7.3472

85.7188

60 – 80 mesh

12.8233

82.2165

80 – 100

13.0668

75.0666



ตาราง ที่ 3 ผลการทดลองหาปริมาณซิลิก้า ที่ละลายน้ำจากผงพัมมิซ ขนาด 100 mesh เขา
พนมฉัตร จ.ลพบุรี (วิเคาระห์ โดย บริษัทSGSประเทศไทย)

ผงพัมมิซ / น้ำ

ปริมาณซิลิก้าละลายน้ำ

เวลา

2 กรัม / 200 มิลลิลิตร

0.57 มิลลิกรัม / ลิตร

24 ซม.

หมายเหตุ ซิลิก้าจะละลายน้ำได้ดี ที่สุด ที่ pH – 9 และ ขนาดผงยิ่งเล็กยิ่งละลาย
น้ำได้ดี


2.1 ส่วนแก้วภูเขาไฟ ส่วนนี้เป็น ของแข็งมีรูพรุนหลายขนาด ตั้ง แต่ใหญ่เป็นมิลลิเมตรถึงเล็กเป็น
ไมครอน รูพรุนเหล่านี้มีทั้ง ที่ติดต่อถึงกัน และ ไม่ติดต่อถึงกัน แม้จะบดจนละเอียดเป็นแป้งใน แต่
จะเม็ด ที่ละเอียดนั้นก็ยังคงมีช่องว่าง และ รูพรุนอยู่อีก แก้วภูเขาไฟนี้เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวด
เร็วจากหินหลอมละลายประเภทแอซิด(Axidic magma) ทำให้แก้วภูเขาไฟ ไม่มีรูปผลึก
(Amorphous) และ มีปริมาณ ของธาตุซิลิก้าอยู่มาก มีธาตุหลัก ธาตุรอง และ ธาตุเสริมอยู่เล็ก
น้อย มีค่า pH เป็นกลางดังรายละเอียดผลวิเคาระห์เคมี (ตาราง ที่ 1 ) ลักษณะ ที่สำคัญ ของส่วน
แก้วภูเขาไฟ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช คือฃ

2.1.1 มีรูพรุน ดูดซึม เก็บความชื้น และ เก็บ ของเหลวต่างๆ ไว้ เหมือนแหล่งกักเก็บ ที่ไม่ยอมให้
สิ่ง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชถูกพัดไหล หรือซึมหายไป โดย ที่พืชไม่มีโอกาสเอามาใช้ได้ ในขณะ
เดียวกัน เมื่อกักเก็บไว้แล้วก็จะคงอยู่ และ ค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้พืชเอาไปใช้ในโอกาสต่อ
ไป นอกจากนั้น ความโปร่งพรุนยังช่วยให้การถ่ายเทอากาศภายในดินดีขึ้น ในกรณี ที่พื้น ที่ใดมีดิน
เหนียวจัดจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้น รากพืชจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างเด่นชัด

2.1.2 เนื่องจากแก้วภูเขาไฟมีอยู่มาก ที่สุดเฉพาะ กับหินภูเขาไฟในประเภทนี้เท่านั้น และ เพราะ
เหตุ ที่มีลักษณะเป็นอะมอฟัส(Amorphous) คือไม่มีรูปผลึก แต่มีรูพรุน และ มีพื้น ที่ผิวจำนวน
มาก (ตาราง ที่ 2) จึงสามารถละลายน้ำได้ง่าย ง่ายกว่าหินทั่วๆไป ซึ่งประกอบด้วยแร่ต่างๆ ที่มีรูป
ผลึก ดึงผลทดลองในตาราง ที่ 3 และ เพราะสาเหตุ ที่มีส่วนประกอบเป็นซิลิก้าเปอร์เซ็นต์สูงจึง
ทำให้เกิดการละลาย ของธาตุซิลิก้าออกมาในรูป ของซิลิซิค แอซิค (เป็นกรด ที่อ่อนมาก ไม่มี
ผลต่อค่าpH ในดิน และ ไม่มีพลังในการกัดกร่อนอย่างกรดทั่วๆ ไป) ได้ในปริมาณ ที่สูงเพียงพอ
ที่พืชจะดูดซึมเอาไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัย ของเซลล์ผิวเพิ่มความแข็งแกร่งเหมือนเกาะ
ป้องกันให้ กับพืช ซึ่งศัตรูพืช โดยเฉพาะสัตว์ตัวอ่อนหรือตัวเล็กๆ จะไม่สามารถทำอันตาย ดูดน้ำ
เลี้ยง หรือรบกวนต่อการเจริญเติบโต ของพืชได้ ซึ่งยว กับซิลิวิค แอชิค นี้มีรายงาน ที่น่าสนใจ
กล่าวถึงความสามารถ ของกรดชนิดนี้ในการเป็นตัวช่วยปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสให้หลุดจาก
การถูกจึบตรึง โดยแร่ดินบางตัว และ ทำให้ธาตุฟอสฟอรัสนั้นกลับมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย
จากคุณสมบัติการละลายน้ำได้ง่าย ของแก้วภูเขาไฟ และ จากผลวิเคาระห์ทางเคมี ซึ่งแสดงว่ายังมี
ส่วนประกอบ ที่เป็นธาตุหลัก ธาตุรอง และ ธาตุเสิรมอยู่อีกในหินพัมมิช ซึ่งถึงแม้จะมีในปริมาณ
เพียงเล็กน้อย แต่จุดสำคัญอยู่ ที่การ ที่ธาตุเหล่านี้สามารถละลายน้ำได้ง่าย และ พืชสามารถเอาไป
ใช้ได้ นอกจากนั้น กับธาตุเสริมบางชนิดก็มีอยู่ในปริมาณ ที่เพียงพอต่อพืชด้วย

2.1.3 ยังมีคุณสมบัติ ที่น่าสนใจกล่าวไว้ในตำราหลายแห่ง พูดถึงแก้วภูเขาไฟจากหินพัมมิซนี้ใน
ด้านการมีความคม ซึ่งให้ระคายเคืองต่อผิว ของสัตว์จำพวกคืบคลาน เมื่อสัตว์ดังกล่าวมาถูกต้อง
เข้าจะพยายามคืลคลานหลบหนีไม่กล้าเข้าใกล้ บางแห่งพูดถึงว่าในสัตว์ประเภทดังกล่าวจะมีน้ำมัน
ผลิตขึ้นมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง เมื่อสัตว์เหล่านี้สูญเสียน้ำมันไป เพราะถูกดูดซึมในขณะ ที่มาสัมผัส
เข้า กับผงพัมมิซย่อมทนอยู่ไม่ได้ ตาย หรือต้องหนีไป เคยมีการทดลอง กับปลวก พบว่าเกิดกริยา
ตอบสนอง ที่น่าสนใจคือ เมื่อตัวปลวกถูก กับกองผงพัมมิซมันจะเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก และ
หยุดนิ่งใน ที่สุด ปลวกอาจจะไม่ตาย แต่ก็คงจะเกรงกลัวไม่กล้าเข้ามาใกล้อีกต่อไป

2.2 ส่วนประกอบ ที่เป็นแร่ดิน แร่ดินในหินภูเขาไฟนี้มีวิวัฒนาการต่เนื่องจากการเกิดขึ้น ของแก้ว
ภูเขาไฟ กล่าวคือ จะต้องมีแก้วภูเขาไฟเป็นต้นกำเนิดเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงมีการเปลี่ยนแปลงภาย
หลัง กับแก้วภูเขาไฟนั้นเกิดเป็นแร่ดินขึ้น โดยใน ที่นี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนเท่านั้น ใน
หินพัมมิซ 100 ส่วน โดยปริมาตรจะมีแร่ดินปนอยู่ประมาณ 15 – 30 ส่วน โดยปริมาตารแร่ดินมี
ค่า pH เป็นกลาง และ มีคุณลักษณะ ที่สำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อพืชคือ

2.2.1 ดูดซึมความชื้น และ ของเหลวต่างๆ ข้อนี้เหมือน และ ถือเป็นการเสริมคุณสมบัติ ของแก้ว
ภูเขาไฟอีกโสตหนึ่ง

2.2.2 มีคุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และ ลบ ที่สำคัญต่อพืชได้แก่
Na+ < K + < Ca+2 < Mg+2 <

นั่นคือ ถ้ามีสารละลาย ของประจุบวกเหล่านี้ผ่านมาสัมผัส กับแร่ดิน ประจุ NH4+ จะถูกจับเข้าไว้
ได้ดีกว่า Mg+2 ซึ่งยังดีกว่า Ca+2 และ เป็นไปตามลำดับนั้น สำหรับประจุลบทราบ แต่เพียงว่า
SO4+2 , CI , PO4-3 และ NO3-2 สามารถถูกแร่ดินจับเข้าไว้ได้ แต่ไม่ทราบลำดับก่อน
หลัง เมื่อประจุบวก และ ประจะลบเหล่านี้ถูกจับไว้ โดยแร่ดิน ต้นพืชสามารถ ที่จะนำเอาประจะ
เหล่านี้มาใช้ได้ทันที โดยการแลกเปลี่ยนผ่านทางราก และ ไม่จำเป็นต้องทำให้ประจุเหล่านั้นเป็น
สารละลายก่อน ทั้งนี้เป็นไปได้ โดยส่วนปลายราก ของพืชสามารถ ที่สร้างประจุ H+ หรือสาร
อินทรีย์ขึ้น และ จะทำหน้า ที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนเอาธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในแร่ชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง ที่มี
อยู่ในแร่ดินไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย ดังนั้นธาตุอาหารจึงสามารถถูกนำไปใช้ โดยต้นพืชได้ทั้งในรูป
ของสารละลาย และ ถูกดูดซึมแลกเปลี่ยน เมื่อมีการสัมผัส โดยตรง กับแหล่ง ของธาตุอาหาร
2.3 ส่วน ที่ประกอบด้วยแร่ซีโอไลต์ และ ซีลไวต์ แร่ทั้ง 2 ชนิดนี้ตรวจพบจากการส่งตัวอย่างไป
ทำ X-ray diffractiom analysis ซึ่งจะไม่ทราบปริมาณว่ามีอยู่มากน้อยเท่าใด แต่เท่า ที่
เครื่องสามารถตรวจพบได้ แร่ทั้ง 2 ชนิดก็คงจะมีอยู่มากพอสมควร ที่เดียว ประโยชน์ ของแร่ทั้ง 2
ประเภท ที่จะมีต่อต้นพืช คือ ในส่วน ของซีโอไลตืจะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจะบวก
กับธาตุต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ต้นพืชไม่ให้ถูกชะล้างสูญหายไป เป็นการเพิ่มประสิทธภาพ
คุณสมบัติ ของแร่ดิน ที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นอีกแรงหนึ่ง สำหรับแร่ซีลไวต์หรือก็คือเกลือโป
แตสเซียมคลอไรต์ (KCI) เป็นเกลือโปแตส ที่สามารถละลายน้ำได้ง่าย ส่วนหนึ่งจะถูกต้นพืชดูด
เอาไปใช้ โดยตรง แต่อีกส่วนจะถูกแร่ดิน และ แร่ซีโอไลต์ดูดซับเก็บไว้ และ ค่อยๆ ปล่อยให้พืช
นำไปใช้อีกที

3.ผล ของซิลิซิค แอซิค หรือซิลิก้าต่อต้นพืชเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าธาตุซิลิก้าจะไม่ถูกนับว่าเป็นธาตุอาหาร ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และ สมบูรณ์ ของต้น
พืช แต่ก็เป็น ที่ทราบกันดีว่าต้นพืชใช้ซิลิก้าเป็นส่วนสำคัญ ของโครงร่าง นอกจากนั้น การมีคุณค่า
ในฐานะเป็นธาตุอาหาร ของซิลิก้าก็ยังไม่เป็น ที่ยอมรับ แต่ กับพืชบางชนิดซิลิก้าก็ช่วยให้ต้นพืชมี
ความแข็งแรงสมบูรณ์ มีความต้านทานต่อโรคประเภทเชื้อราได้ดีขึ้น กับดินบางชนิด โดยเฉพาะดิน
ลูกรังซึ่งมีอาลูมินา และ เหล็กอยู่สูง และ มักจับตัว กับธาตุอาหารพวกฟอสฟอรัส เกิดเป็นเกลือ ที่
ไม่ละลายน้ำต้นพืชจะไม่สามารถน้ำเอาเกลือ ฟอสเฟตเหล่านี้ไปใช้ได้ทั้งนี้เป็นเพราะซิลิก้า ที่
ละลายน้ำเข้าไปปลดปล่อยฟอสเฟตซึ่งกลับไปเป็นประโยชน์ต่อพืช ปฏิกิริยาปลดปล่อยจะเกิดได้
ดีในสภาวะเป็นด่างอ่อนๆ กับพืชบางชนิด เช่น พืชจำพวกหัวผักกาด (Beta valgaris) ซิลิก้าจะมี
ความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตส่วนในพืชพวกข้าว และ ข้าวบาเล่ย์ ซิลิก้าจะทำหน้า ที่เป็นสาร
อาหาร ที่สำคัญต่อต้นอ่อนนอกจากนั้นยังเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของจมูกข้าว ต้นทานตะวันจะ
ผลิตเมล็ดได้เพิ่มขึ้น เมื่อมีซิลิก้ามากขึ้น เปลือกนอก ของเรณู ของพืชบางชนิดมีซิลิก้าใน
ปริมาณ ที่สูงถึง 2% โดยน้ำหนักซึ่งจะทำให้ทนทานต่อการผุสลาย

ในพืชหลายๆ ชนิดสารละลายซิลิก้า เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปจะสะสมตัวอยู่ ณ ส่วนใดๆ ของต้น ที่มัน
ไปรวมตัวกัน โดยน้ำจะถูกระเหยหายไปทางใบ กรณีการสะสมตัว ของซิลิก้าจะจำกัดตัวอยู่เฉพาะ
ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของต้นพืชเท่านั้น หรือซิลิก้าอาจมีส่วนร่วมในการบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ภายในต้นพืชซึ่งซิลิก้าจะถูกเคลื่อนย้าย และ ไปสะสมตัวในรูปแบบจำเพาะ เช่น ส่วนหนามของพืช
กลไกการถูกดูดซึม ของซิลิก้าเข้าสู่ต้นพืชจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรค ที่เกิดจากเชื้อรา โดย
ซิลิก้าจะไปสะสมตัว ที่ผิว ของต้นพืช และ ทำหน้า ที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันต่อเชื้อรา เช่น รา
สนิมสำหรับพืชให้เมล็ดประเภทข้าว (Cereal) ซิลิก้าจะช่วยทำให้ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดีขึ้นมี
การทดลอง กับข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ และ พืชให้เมล็ดอื่นๆ พบว่าซิลิก้าช่วยเพิ่มน้ำหนัก ที่แห้งแล้ว
ของเมล็ดพืชแม้ต้นพืชเหล่านั้นจะปลูกในสภาวะ ที่ขาดโปแตสเซียม นอกจากนั้นยังช่วยให้เมล็ด
พันธุ์พืชบางชนิดปราศจากการติดเชื้อประเภทราอีกด้วย

ในต้นพืช ที่ขาดซิลิก้าพบว่า ต้นข้าว ข้าวโอ๊ด ข้าวบาเลย์ ข้าวโพด แตงกวา และ ยาสูบแสดงการเจริ
ญิเติบโต ที่ลดลงพืช ที่ขาดซิลิก้าจะต้องการน้ำมากขึ้น อาการ ที่เกิดจากการขาดซิลิก้าจะทำให้
แตงกวา มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ และ ยาสูบมีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างลดลง ซิลิซิค แอซิค จะ
ช่วยให้พืชเกิดการสะสมแคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และ แมกนีเซียม พร้อมๆ กันไป กับ
การนำธาตุแหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ ที่เกื้อหนุนกันระหว่างปริมาณ
แมกนีเซียม และ ซิลิก้าในต้นพืช กล่าวคือ ต้นข้าวจะไม่สามารถดูดซึมเอาซิลิก้าไปสร้างความแข็ง
แกร่งให้เกิดขึ้นได้ ถ้าพืชขาดแมกนีเซียม นั่นคือ ในดินจะต้องมีธาตุทั้ง 2 ชนิด ในรูป ที่พืช
สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยนอกจากนั้นซิลิก้ายังช่วยให้ใบข้าว เหนียว และ แข็งแรงขึ้น
ต้นข้าวทนทานต่อแมลงเจาะลำต้นมากขึ้น การเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น และ ส่วนต่างๆ ของต้นข้าวรวม
ทั้งเมล็ดข้าวมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักเมล็ดข้าวแห้งแล้วเพิ่มมากขึ้น

4.ผลจาการบริโภคซิลิก้า ที่ปนอยู่ในต้นพืช
ซิลิก้าสะสมในต้นพืชส่วนใหญ่ อยู่ในรูป ของอะมอฟัสซิลิปนน้ำ (hydrated amorphous) ซึ่ง
มือนแร่โอปอล(opal) อย่างไรก็ตามซิลิก้า ที่อยู่ในรูป ของแร่ควอรตซ์ (quartz) ก็มีรายงานว่า
พบอยู่เล็กน้อยในต้นพืชด้วย ส่วนใดๆ ของต้นพืช ที่ระเหยน้ำได้มาก ที่สุด ส่วนนั้นจะเป็นบริเวณ ที่
อะมอฟัส ซิลิก้าไปสะสมตัวมาก ที่สุดเช่นกัน มนุษย์บริโภคซิลิก้าซึ่งละลายปนอยู่ในน้ำดื่มเข้าไป
อย่างสม่ำเสมอ แต่มนุษย์ไม่เหมือนต้นพืช ที่มนุษย์สามารถขับถ่ายอะมอฟัส ซิลิก้าออกมาในรูป
ของสารละลายได้ โดยไม่เกิดการสะสมในร่างกาย ดังนั้นการบริโภคอะมอฟัส ซิลิก้าเพียงเล็กน้อย
จึงไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ เพราะซิลิก้าดังกล่าวสามารถละลายน้ำ และ ถูกกำจัดออกจากร่างกาย
ได้ ซึ่งในอาหารบางชนิดอนุญาติให้เติมอะมอฟัส ซิลิก้าลงไปได้ถึง 2% โดยน้ำหนัก

เอกสารอ้างอิง
Grant, H[1994] Volcanic ash : What it is and how it forms, U.S.G.S..Bull.2047, p.39-45
Gnm.R.E. [1953] Clay mineralogy ,McGraw - Hill book company , N.Y.,384p.
Iler.R.K.[1979] The chemistry of silica : solubility , polymerization , colloid and surface
Properties, and biochemistry, john Wiley and Sons, N.Y., 866p.
Loughnan,F.C. [1969] Chemical weathering of the silicate minerals. Elsevier, N.Y.,154p.
Schroder,H.J. [1970] Pumice, Mineral, Facts and Problems, Bull 650 ,p. 1171-1178
นิคม จึงอยู่สุข (2540)หินอุตสาหกรรม กับการเกษตรแผนใหม่ การประชุมเสนอผลงานทางวิชาการกองธรณีวิทยา หน้า 7 - 19

ที่มา : http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=5613

---------------------------------------------------------------

มีเวลาจะมาหารูปที่อ้างถึงในเอกสารและแก้ไขข้อความให้อ่านง่ายขึ้นนะครับ
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©