ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 10/07/2010 2:17 pm ชื่อกระทู้: ความสัมพันธ์ ออกซิน v.s. ไซโทไคนิน |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://plantmedia.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=145117&qid=51978
อิทธิพลและประโยชน์ของฮอร์โมนไซโตไคนินในการเจริญเติบโตของพืช
บทความ:
อิทธิพล ของไซโทไคนินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. ไซโทไคนินมีอิทธิพลต่อการแบ่งเซลล์ของพืช ในวงจรการแบ่งเซลล์ระยะ G1 เป็นระยะ การเตรียมการสร้าง DNA และต่อมาก็เป็นระยะการสร้าง DNA ในระยะ S (S-phase หรือ DNA synthesis phase) จากระยะ S ก็เข้าสู่ระยะ G2 และ เข้าสู่ระยะไมโทซิส ซึ่งในช่วงนี้จะใช้เวลาสั้นลง ทำให้วงจรการแบ่งเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้ปริมาณของเซลล์เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. สัดส่วนของไซโทไคนินกับออกซินมีอิทธิพลต่อการ พัฒนาของเซลล์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (auxin/cytokinin ratio regulates morphorgenesis in cultured tissue) การที่เซลล์พืช ในอาหารเลี้ยงเชื้อพัฒนาไปเป็นแคลลัส (callus) และ จากแคลลัสพัฒนาไปเป็นส่วนของรากและยอด ถ้าหากสัดส่วนของออกซินสูงกว่าไซโทไคนินจะมีผลทำให้แคลลัสพัฒนาการสร้างราก และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากสัดส่วนของไซโทไคนินสูงกว่าออกซิน ก็จะมีผลทำให้แคลลัสสร้างส่วน ของยอดได้ดีกว่าการสร้างราก
3. ไซโทไคนินมีอิทธิพลต่อการชะลอการแก่ชราและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในพืช (cytokinin delay senescences and stimulate nutrient mobilization) ไซโทไคนินจะ ช่วยชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์, RNA, ไลปิด, และโปรตีน ให้เป็นไปอย่างช้า ๆ และนอกเหนือจากนั้น ไซโทไคนินยังส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังบริเวณที่มีไซโทไคนินอยู่ และกระบวนการเมแทบอลิซึม อาจจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนพืชซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเคลื่อนย้ายสารอาหารไปยังบริเวณที่มีสารฮอร์โมนไซโทไคนินอยู่
ประโยชน์ของไซโทไคนินที่ใช้ในการผลิตพืช
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนำไซโทไคนิน มาใช้ประโยชน์ในการเกษตรยังไม่กว้างขวางนัก สารไซโทไคนินที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นสารสังเคราะห์ มีราคาค่อนข้างแพง ประโยชน์ที่นำมาใช้มีดังนี้ คือ
1. ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใน สูตรอาหารที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมักผสมไซโทไคนินลงไปด้วยซึ่งอาจเป็น BA ไคเนติน หรือซีเอติน นอกจากนี้ยังใช้น้ำมะพร้าวผสมในอาหารบางสูตร ในน้ำมะพร้าวมีสาร diphenylurea และ ribofuranosyl zeatin ซึ่งเป็นไซโทไคนิน และยังมีออกซิน จิบเบอเรลลินผสมอยู่ในน้ำมะพร้าวด้วย ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากผสมไซโทไคนิน แล้วต้องผสมออกซินลงไปด้วย สารทั้งสองกลุ่มนี้มีผลส่งเสริมซึ่งกันและกันในเรื่องการแบ่งเซลล์ บทบาทของไซโทไคนิน ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ส่งเสริมให้แคลลัสพัฒนา เป็นต้น ช่วยการเกิดหน่อ การเจริญ เติบโตของใบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของราก
2. กระตุ้นการแตกตาข้าง พืชในธรรมชาติโดย ทั่วไปจะไม่แตกตาข้างหรือแตกตาข้างน้อยถ้าไม่ตัดยอด เพราะตาข้างของพืชถูกข่มโดยอิทธิพลของตายอด เราสามารถกระตุ้นให้ตาข้างเจริญได้โดยใช้ไซโทไคนิน ทำให้ควบคุมทรงพุ่มของต้นพืชให้ได้รูปทรงตามต้องการได้ โดยใช้ไซโทไคนินทาที่ตาข้างที่ต้องการให้เจริญเป็นกิ่ง เกษตรกรนิยมใช้กับไม้ประดับและไม้กระถาง ซึ่งต้องการทรงพุ่มสวยงาม ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด ใช้ไซโทไคนินทาที่ตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดเป็นกิ่ง แล้วตอนหรือปักชำกิ่งที่เกิดใหม่ นอกจากนั้นยังใช้ไซโทไคนินทาตาที่ติดบนต้นตอ เพื่อช่วยให้ตาเจริญเป็นกิ่งได้เร็วขึ้น โดยใช้ไซโทไคนินที่ตาซึ่งติดบนต้นตอดีแล้ว ไซโทไคนินจะช่วยกระตุ้นให้ตาเหล่านี้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญได้ สารที่นิยมใช้กระตุ้นการแตกตา คือ BA โดยผสมลาโนลิน เพื่อให้อยู่ในรูปครีม ซึ่งจะใช้ได้สะดวก จากการทดลองใช้ BA ความเข้มข้น 2,000 ถึง 4,000 ppm ทาที่ตากุหลาบที่ติดบนต้นตอ พบว่า BA สามารถ กระตุ้นให้ตาเจริญได้เร็วและสม่ำเสมอขึ้น และการใช้ BA ความเข้มข้น 4,000 ถึง 8,000 ppm ทาที่ตามะม่วงที่ติดบนต้นตอมะม่วงแก้ว สามารถกระตุ้นให้ตาเจริญได้เร็วขึ้นเช่นกัน นอกจากการใช้สาร BA ทาที่ตาพืช เพื่อกระตุ้นการแตกตาเฉพาะจุดแล้ว ยังมีการใช้สารไซโทไคนินฉีดพ่นทางใบให้แก่พืชบางชนิด เช่น แอปเปิล เพื่อกระตุ้นการแตกกิ่งแขนง ทำให้ทรงพุ่มของต้นดีขึ้นและเพิ่มผลผลิตด้วย เพราะมีกิ่งแขนงมากขึ้น สามารถออกดอกติดผลได้มากขึ้น การใช้ไซโทไคนินพ่นทางใบมักผสมจิบเบอเรลลินลงไปด้วย เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้สารผสมระหว่างจิบเบอเรลลินและไซโทไคนิน ในรูปสารเคมีเกษตร เพื่อใช้กระตุ้นการแตกกิ่งแขนงของพืช
3. ยืดอายุการปักแจกันไม้ตัดดอก ไซโทไคนินมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืช จึงมีผลช่วยยืดอายุการปักแจกันไม้ตัดดอกได้ด้วย ดอกไม้สดที่ตัดมา จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น มีการใช้อาหารสะสมเพื่อการหายใจ การสลายตัวของโปรตีนและ RNA การยืดอายุปักแจกัน ของไม้ตัดดอกที่ปักในแจกัน โดยใช้ไซโทไคนินผสมในสารละลายที่ใช้ปักแจกัน เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของไม้ตัดดอกให้ช้าลง นอกจากนี้ไซโทไคนินยังช่วยยับยั้งการสร้างและการทำงานของเอทิลีน ซึ่งเป็นสารที่สร้างขึ้นในพืชและกระตุ้นการเสื่อมชราของพืชโดยตรง ดังนั้นสารละลายที่ใช้ปักแจกันไม้ตัดดอก จึงมักมีไซโทไคนินเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามไซโทไคนินเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยยืดอายุดอกไม้ได้นาน เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของดอกไม้ เช่น อาหารสะสมภายในก้าน การอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ และจุลินทรีย์ในสารละลาย ดังนั้นในสารละลายที่ใช้ปักแจกัน จึงผสมสารอีกหลายอย่าง เช่น น้ำตาล ใช้เป็นอาหารสำหรับดอกไม้ และเติมสารช่วยลดการเจริญของจุลินทรีย์ ลดการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ และยับยั้งการทำงานของเอทิลีน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างออกซินกับไซโทไคนินที่มีต่อพืช
ในขณะที่พืช เจริญเติบโต จะมีการเจริญทั้งยอดและราก ปริมาณของออกซินและไซโทไคนินจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ จากการศึกษาพบว่า ขณะที่พืชเกิดราก จากปริมาณออกซินจะสูงแต่ปริมาณไซโทไคนินจะต่ำ และขณะที่พืชเจริญทางยอด ปริมาณออกซินจะต่ำและไซโทไคนินจะสูง จึงสรุปได้ว่า อัตราส่วนของปริมาณออกซินและไซโทไคนินที่เหมาะสม จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของพืช สำหรับในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะมีผลให้การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อดีกว่าการใช้ออกซินหรือไซโทไคนินเพียง อย่างเดียว บทบาทของสารสองชนิดที่มีผลร่วมกันนี้ เรียกว่า Synergistic effect การเกิดเป็นต้น ราก หรือแคลลัสของพืชแต่ละชนิด ขึ้นกับความสมดุลของปริมาณออกซิน และไซโทไคนินในอาหารที่มีต่อเนื้อเยื่อ ถ้าอัตราส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินเหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญเป็นต้นและราก ที่สมบูรณ์ แต่ถ้าอัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินไม่เหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญไปเป็นยอด หรือราก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซินและไซโทไคนินว่าสารกลุ่มใดมีมากกว่ากัน หากมีปริมาณของออกซินมากมีไซโทไคนินน้อย ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินสูงกว่าอัตราส่วนสมดุล เนื้อเยื่อจะเจริญเป็นก้อนแคลลัสและราก ถ้ามีปริมาณออกซินน้อย แต่มีไซโทไคนินมาก ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินต่ำกว่าอัตราส่วนสมดุล จะทำให้เนื้อเยื่อเจริญเป็นยอดมาก จึงเห็นได้ว่าความสมดุลของออกซินและไซโทไคนินมีความสำคัญมาก ในการควบคุมการเกิดยอดและรากของเนื้อเยื่อที่เลี้ยง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 10/07/2010 2:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ที่มา http://courseware.rmutl.ac.th/courses/105/content.html
หัวข้อน่าสนใจ :
ความหมายและคุณสมบัติของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ความสำคัญและประโยชน์ของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ส่วนประกอบที่สำคัญของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารออกซิน
สารจิบเบอเรลลิน
สารไซโทไคนิน
สารเอทิลีน และสารปลดปล่อยเอทิลีน
สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช
สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อเร่งการเกิดราก
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อควบคุมการออกดอก
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อควบคุมการติดผลและการพัฒนาของผล
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อเร่งการสุกของผลไม้
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อควบคุมการพักตัวของพืช
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิต
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 12/07/2010 2:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณครับที่นำข้อมูลมาให้อ่านกัน แต่คลิ๊กไปตามลิงค์แล้วไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม น่าเสียดาย
ครั้งหนึ่งเคยโทรไปคุยกับ ดร. ผู้ซึ่งรับจ้างผลิตฮอร์โมนต่างๆ ของพืช เขาบอกว่าปาล์มน้ำมันให้ใช้ฮอร์โมนกลุ่มออกซินฉีดพ่นแล้วจะดีเอง หรือให้ใช้"ฮอร์โมนข้าว" ฉีดพ่น ได้ข้อมูลมาเท่านี้
แต่เมื่อครั้งที่อบรมที่ไร่กล้อมแกล้มกับคุณพงษ์ศิริเรื่องฮอร์โมนพืช ทำให้ทราบว่าฮอร์โมนกลุ่มออกซิน. ต้องไปควบคู่กับ ไซโตคินนิน. ทำให้ถึงบางอ้อว่า "ฮอร์โมนออกซิน. คู่กับ ฮอร์โมนไซโตคินนิน. ก็คือ ไบโอไรซ์. หรือฮอร์โมนน้ำดำ. หรือไบโออิ. หรือ อิ๊อิ๊. หรือ ฮอร์โมนข้าว. ที่ ดร.พูดถึงนั่นเอง" |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 12/07/2010 7:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารออกซิน
สารออกซินที่สำคัญบางชนิด
สารออกซินที่พบในพืช
หลังจาก F. Went ได้รายงานการค้นพบสารออกซินที่ยอดโคลีออพไทด์ของข้าวโอ๊ต เมื่อปี ค.ศ.1926 จนกระทั่งปัจจุบันมีรายงานการค้นพบสารออกซินในพืชเพิ่มขึ้นอีก 3 ชนิดรวมกับ IAA เป็น 4 ชนิด ดังนี้
1) PAA (Phenylacetic Acid) พบได้ในพืชทั่วๆ ไป และพบ PAA ในปริมาณที่มากกว่า IAA แต่ผลของ PAA ต่อพืชมีน้อยกว่า IAA (Wightman and Lighty, 1982; Leuba and LeToumeau, 1990)
2) 4-Chloro-IAA (4-Chloroindole-3-Acetic Acid) พบโดยทั่วไปในเมล็ดอ่อนของพืชตระกูลถั่วหลายชนิด (Engvid, 1986)
3) IBA (Indole-3-Butyric Acid) ในอดีต IBA เป็นสารสังเคราะห์เท่านั้น แต่ปีค.ศ.1989 Epstein และคณะได้รายงานการค้นพบสาร IBA ในพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิด เช่น ในเมล็ดและใบของข้าวโพด (Epstein et al., 1989)
4) IAA (Indole-3-Acetic Acid) ได้รายงานการค้นพบครั้งแรก โดย F. Went เมื่อปี ค.ศ.1926 ในยอดของโคลีออพไทด์ของข้าวโอ๊ต
ออกซินสังเคราะห์
ออกซินที่เป็นสารสังเคราะห์ที่มี อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
4.8 ..... IBA (Indole-3-Butyric Acid)
4.9 ..... 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid)
4.10 .... -NAA (-napthalene acetic acid)
4.11 ... dicamba (2-methoxy-3,6-dichrobenzoic acid)
4.12 ... todon หรือ picloram (4-amino-3,5,6-trichloropicolinic acid)
4.13 ... 2,4,5-T (2,4,5-trichlorophenoxyacetic acid)
4.14 ... (2,3,6-trichlorobenzoic acid)
4.15 ... N,N-dimethylethylthiocarbamate
อิทธิพลของสารออกซิน
อิทธิพลของสารออกซินที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตของพืช ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและลักษณะต่างๆ โดยออกซินมีอิทธิพล เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการยืดตัวของเซลล์ การแบ่งเซลล์ การยับยั้งการเกิดตาข้าง การพัฒนาของผล ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ออกซินมีอิทธิพลต่อการยืด ตัวของเซลล์ของโคลีออพไทลและลำต้น (Auxin induce cell elongation in stem and coleoptile) ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการส่งเสริมอยู่ระหว่าง 10-5 ถึง 10-6 โมล แต่ถ้าหากความเข้มข้นสูงกว่านี้ก็จะยับยั้งการเจริญเติบโต
2. ออกซินมีอิทธิพลต่อการส่ง เสริมการขยายขนาดของเซลล์วอลล์ (Auxin increases the extensibility of the cell wall) โดยออกซินส่งเสริม การขยายขนาดของเซลล์วอลล์ของโคลีออพไทล์ และลำต้นของต้นอ่อนที่กำลัง พัฒนา การขยายขนาดเกิดจากบริเวณเซลล์วอลล์ได้รับไฮโดรเจนไอออน (H+) จากไซโทโซลโดยกระบวนการปั๊มไฮโดรเจนไอออนร่วมกับเอนไซม์ ATPase โดยใช้พลังงาน ATP ทำให้ความเป็นกรด-ด่างของเซลล์วอลล์ลดลงเป็น 5.5 เป็นสาเหตุทำให้โพลีเมอร์ของเซลล์วอลล์ (Cell Wall Polymer) เกาะกันอย่างหลวมๆ จึงทำให้เซลล์วอลล์ขยายขนาดได้ง่ายและเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. ออกซินส่งเสริม การเจริญเติบโตของรากและใบ (Auxin regulate growth in root and leaves) โดยปกติเซลล์วอลล์จะรักษาความเป็นกรดเป็นด่างไว้ที่ 5.5 ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ของรากและใบขยายขนาด และมีผลต่อการเจริญเติบโตของรากและใบ โดยออกซินที่สร้างที่บริเวณ ยอดจะขนส่งไปยังราก และที่บริเวณที่รากเองก็มีการสร้างออกซินเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณความเข้มข้นน้อยกว่าที่ยอด จึงมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโต โดยปกติความเข้มข้นของออกซินที่บริเวณ รากมีประมาณ 10-10 ถึง 10-9 โมล ซึ่งจะมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก แต่ถ้าหากความเข้มข้นสูงถึง 10-6 โมล จะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของราก ส่วนใบอ่อนของพืชมีปริมาณของออกซินอยู่สูง จึงทำให้มีการขยายขนาดของเส้นใบและพื้นที่ใบ โดยกระบวนการส่งเสริมการเจริญเติบโตดังกล่าวอาจเนื่องมาจากการปั๊มไฮโดรเจน ไอออนเข้าสู่บริเวณเซลล์วอลล์
4. ออกซินกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตไปในทิศทางต่างๆ (Tropism are growth response to direction stimuli) โดยปกติรากแก้วจะเจริญเติบโตไปในทิศทางตามแรงดึงดูดของโลก แต่การเจริญเติบโตของลำต้นเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม การเจริญเติบโตของอวัยวะของพืชไปในทิศทางต่างกัน ซึ่งมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนด เรียกว่าทรอปิซึม เรสปอนส์ (Tropism Responses) ถ้าหากการเจริญเติบโตที่ตอบสนองต่อทิศทางของแสงเรียกว่า โฟโตทรอปิซึม (Phototropism) และหากการเจริญเติบโตตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า กราวิทรอปิซึม (Gravitropism) เมื่อยอดโคลีออพไทล์หรือใบเบนเข้าหาแสง เรียกว่า โปสสิทีฟ โฟโตทรอปิซึม (Positive Phototropism) และการเจริญเติบโตเบนหนีแสง เรียกว่า เนกกะทีฟ โฟโตทรอปิซึม (Negative Phototropism) และการเจริญเติบโตของรากไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า โปสสิทีฟ กราวิทรอปิซึม (Positive Gravitropism) ส่วนการเจริญเติบโตของยอดที่หนี แรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า เนกกะทีฟ กราวิทรอปิซึม
(Negative Gravitropism) สิ่งที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตไปในทิศทางต่างๆ นั้นเกิดจากกลไกการทำงานของออกซินเป็นสิ่งเร้า เช่น การเบนเข้าหาแสงนั้นเกิดจากการกระจายของออกซินไปตามด้าน ข้างของยอดไม่เท่ากัน โดยความเข้มข้นของ ออกซินด้านที่ไม่ ได้รับแสงมีมากกว่าด้านที่ได้รับแสง ทำให้เซลล์บริเวณด้านที่ไม่ได้รับแสงเจริญ เติบโตมากกว่า จึงทำให้ยอดเบนเข้าหาแสง (รูปที่ 5.1) ส่วนการเบนของรากเกิดจากออกซินที่สังเคราะห์ที่บริเวณยอด
ถูกส่งไปยังรากในลักษณะที่เรียก อะโครเพทอล (Acropetal) โดยผ่านไปตามท่ออาหาร และ
ในกรณีที่รากเจริญเติบโตไปตาม แรงโน้มถ่วงของโลก เกิดจากสตาโทลิท (Statoliths) ที่บริเวณหมวกรากเคลื่อนที่ไป อยู่ปลายสุดของหมวกราก ทำให้ IAA ที่สังเคราะห์ที่ปลายรากเคลื่อนย้าย ไปยังโคนรากในลักษณะที่เรียกว่า เบสิเพทอล (Basipetal) โดยผ่านทางเนื้อเยื่อคอร์เทกซ์ (Cortex) ทำให้รากเจริญเติบโตเป็นแนวดิ่งลงไปในดิน ในกรณีที่รากเจริญไปในแนวนอน
เนื่องจากสตาโทลิ ทไปกระจายอยู่ด้านข้างของหมวกราก ทำให้การเคลื่อนย้ายของออกซินและแคลเซียมไอออน ผ่านไปทางคอร์เทกซ์ไม่เท่ากัน โดยออกซินผ่านไปทางด้านล่างมากกว่าด้านบน ทำให้ความเข้มข้นของออกซินด้าน ล่างมีมากกว่า จึงมีผลยับยั้งการเจริญเติบโต ส่วนด้านบนซึ่งเป็นด้านตรงข้ามความเข้มข้นของออกซินเหมาะสมในการเจริญเติบโตของมีการ เจริญเติบโตมากกว่า จึงทำให้รากเจริญเติบโตไปในแนวนอนได้
5. ออกซินที่บริเวณ ยอดมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง (Auxin from the apical bud inhibits the growth of lateral bud) ในพืชชั้นสูงโดยทั่วไปการเจริญของยอด (Apical bud) มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตา (Lateral Bud) เรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเอปิคัลดอมิแนนซ์ (Apical Dominance) เราสามารถจะสังเกตเห็นได้จากเมื่อเด็ดยอดแล้วทำให้พืชแตกตาข้าง เนื่องจากที่บริเวณ ตายอดมีปริมาณของออกซินมากกว่าที่บริเวณ ตายอดมีผลดึงดูดเอาธาตุอาหารและฮอร์โมนไซโทไคนินมายังบริเวณยอด ทำให้ตายอดมีการแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และปริมาณสารยับยั้ง การเจริญเติบโต โดยเฉพาะสาร ABA ในบริเวณตาข้างมีมากกว่าที่ตายอด ถ้าเด็ดยอดออกพบ ว่าปริมาณของ ABAที่บริเวณตาข้างลดลง
6. ออกซินส่งเสริม การเกิดรากแขนง (Auxin promotes the formation of lateral roots) รากแขนงจะเกิดบริเวณที่เหนือขนราก (Root Hair) โดยมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ในชั้นเพริไซเคิล (Pericycle) เจริญเติบโตผ่านชั้นคอร์เทกซ์และอีพีสเดอมิส โดยออกซินเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการแบ่ง เซลล์ในชั้นเพริไซเคิล
7. ออกซินส่งเสริม การพัฒนาของผล (Auxin regulates fruit development) ออกซินจะสังเคราะห์ที่พอลเลน (Pollen) เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) และในเอมบริโอ (Embryo) ของเมล็ดที่กำลังพัฒนา การพัฒนาของผลจะเริ่มต้นจากการถ่ายละอองเกสร (Pollination) เมื่อสิ้นสุดการถ่ายละอองเกสรก็เริ่มต้นการเจริญเติบโตของรังไข่ (Ovule) เป็นจุดเริ่มต้นของการติดผล (Fruit Set) และการพัฒนาของผลก็ขึ้นอยู่กับออกซินที่ผลิต จากเอนโดสเปิร์ม และต่อจากนั้นออกซินที่ผลิตในเอมบริโอจะเป็นแหล่งออกซินที่ช่วยในการส่งเสริมการพัฒนา ของผล |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 12/07/2010 7:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารไซโทไคนิน
ประวัติการค้นพบสารไซโทไคนินในพืช
ปี ค.ศ.1913 Gottlieb Haberlant นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้พบสารที่สกัด ได้จากท่ออาหารของพืชหลายชนิด สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของคอร์กเคมเบียม (cork cambium) และกระตุ้นการสมานแผลของหัวมันฝรั่งได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบสารที่มีผลต่อการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช
ปี ค.ศ.1940 Johannes van Overbeek ได้ค้นพบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนประกอบด้วยสารที่มีผลกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของ พืชอยู่ในปริมาณมาก ปี ค.ศ.1950 Folke Skoog และผู้ร่วมงานแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้รายงานผลการทดลองการนำเอาเซลล์เนื้อเยื่อของท่ออาหารไปวางบนเซลล์เนื้อ เยื่อของพิท (pith) ของมะเขือเทศ พบว่าเนื้อเยื่อพิทแบ่งเซลล์ได้อย่าง รวดเร็ว และพวกเขาพยายามที่จะแยกสารที่เขาค้นพบจากเนื้อเยื่อท่อ อาหาร โดยทดสอบการตอบสนองกับเนื้อเยื่อพิทของมะเขือเทศในอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยอาหารเลี้ยงเชื้อประกอบด้วยน้ำตาล เกลือแร่ วิตามิน อะมิโนแอซิด และ IAA โดยพวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า IAA มีผลต่อการขยายขนาดของเซลล์โดยการเพิ่มปริมาณของนิวคลีไอ (nuclei) ในเซลล์ แต่อาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบด้วยสารที่สกัดได้จากเนื้อเยื่อท่ออาหารของมะเขือเทศ มีผลทำให้เซลล์พิทแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็วและพวกเขาได้พบสารคล้ายสารอะดี นีน (adenine-like compound) และแยกได้สาร 6-furfurylaminopurine ซึ่งสารชนิด นี้มีผลต่อการกระตุ้นการแบ่งเซลล์โดยเกี่ยวข้องกับการสร้าง DNA และ DNA ประกอบด้วยอะดีนีน
ปี ค.ศ.1950 F.C. Steward ได้ค้นพบเทคนิคในการเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้น้ำมะพร้าวผสมลง ในอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อกระตุ้นการเแบ่งเซลล์ สารที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์เขา เรียกว่าไซโทไคนิน (cytokinin) ปี ค.ศ.1954 Carlos Miller ได้พบสารที่สกัดได้จาก DNA ในสเปอร์มของปลาเฮอร์ริง (harring-sperm DNA) เขาแยกสารได้ 6-furfurylaminopurine และตั้งชื่อสารนี้ ว่าไคนี ทิน (kinetin) แต่สารไคนีทินไม่สามารถพบได้ในพืช การพบสารไคนีทีนถือว่าสำคัญมากเนื่องจากเป็นสารที่สามารถ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืชได้
ปี ค.ศ.1964 Letham และ Carlor Miller แยกสารได้ จากเอ็นโดสเปอร์มของข้าวโพดซึ่งมี โครงสร้างคล้ายสารอะดีนีน เช่นเดียวกันกับสารไคนีทิน และปี ค.ศ.1974 Letham ได้ตั้งชื่อสามัญ ของสารที่แยก ได้จากเอ็นโดสเปอร์มของเมล็ดข้าวโพดว่า "Zeatin" และ" Zeatin riboside"
ทั้งสาร zeatin และ kinetin เป็นอนุพันธุ์ (derivatives) ของอะดีนินหรืออะมิโนพิวรีน (aminopurine) ในกรณีของอะดีนินเป็น side chian ของ zeatin ซึ่งจับกับไนโตรเจนตำแหน่งที่ 6 แต่เนื่องจาก side chain เป็น double bond ดังนั้นโครงสร้างของ zeatin อาจเป็น trans หรือ cis ซึ่งสามารถพบได้ในพืชชั้นสูงโดยทั่วไป และในกรณีที่ aminopurine เป็น side chain พบได้ในพืชบางชนิด และในแบคทีเรีย
กระบวนการ สังเคราะห์ไซโทไคนินในพืช (cytokinin biosynthesis pathway)แหล่งสร้างไซโทไคนินในพืชจะ อยู่บริเวณอวัยวะอ่อนของพืช เช่น ผล เมล็ด ใบ และ ที่บริเวณ ปลายราก การสร้างไซโทไคนินจะมีผลโดย ตรงต่ออวัยวะส่วนนั้น ยกเว้นการสร้างที่บริเวณราก ซึ่งเป็นแหล่งหลักของการสร้างไซโทไคนินอิสระ ในพืช โดยไซโทไคนินจะเคลื่อน ย้ายจากรากไป ยังบริเวณยอดโดยผ่านไปทางท่อน้ำ
โครงสร้างทางเคมีของไซโทไคนินที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของ พวกยาง (rasin) เม็ดสีคาโรทีนอยด์ (caroteniod pigment) ฮอร์โมนพืชจิบเบอเรลลินและแอบไซซิกแอ ซิด โดยสูตรโครงสร้างของสารเหล่านี้อย่างน้อยส่วนหนึ่งประกอบด้วยไอโซพรีน (isoprene) และไอโซพรีนก็มีลักษณะคล้ายกับ side chain ของสารซีอะทิน (zeatin), N6-(2 isopentenyl)adenine(i6 Ade) และ side chain ของไซโทไคนินอื่น ก็สังเคราะห์มาจากอนุพันธ์ของไอโซพรีน ในกรณีของยางและคาโรทีนอยด์นั้น เป็นโครงสร้างของโมเลกุลใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยโพลีเมอไรเซซั่น(polymerization) ของไอโซพรีน และสารเริ่ม ต้นของไอโซพรีน คือ มีวาโลนิก แอซิด (Mevalonic acid) โดยที่สารมีวา โลนิก แอซิด เปลี่ยนไปเป็น Isopentenyl pyrophosphate โดยเอนไซม์ Isopentenyl AMP synthase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบโดย Chen และ Melitz(1979) ในเนื้อเยื่อของยาสูบ
จากสาร 2 -Isopenteny pyrophosphate (2 -IPP) รวมกับ Adenosine monophosphate (AMP) แล้วเปลี่ยนไปเป็นสาร N6-( 2 -isopentenyl) adenosine monophosphate (i6 AdoMP) โดยเอนไซม์ cytokinin synthase สาร N6-( 2 -isopentenyl) adenosine monophosphate เปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นซีอะทิน โดยกระบวนการไฮโดรไลติก เพื่อเคลื่อนย้ายกลุ่มฟอสเฟส (phosphate group) โดยเอนไซม์ phosphathase และเคลื่อนย้ายกลุ่มน้ำตาลไรโบส (ribose group) และไอโซเพนทีนิลอะดีโนซินเปลี่ยนไปเป็นซีอะทิน โดยกระบวนการออกซิเดชั่น
อิทธิพลของไซโทไคนิน
อิทธิพลของไซโทไคนินที่เกี่ยว ข้องกับการเจริญเติบโตของพืชที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. ไซโทไคนินมีอิทธิพล ต่อการแบ่งเซลล์ของพืช ในวงจรการแบ่งเซลล์ระยะ G1 เป็นระยะ การเตรียมการสร้าง DNA และต่อมาก็เป็นระยะการสร้าง DNA ในระยะ S (S-phase หรือ DNA synthesis phase) จากระยะ S ก็เข้าสู่ระยะ G2 และเข้าสู่ระยะไมโทซิส ซึ่งในช่วงนี้จะใช้เวลาสั้นลง ทำให้วงจรการแบ่งเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้ปริมาณของเซลล์เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. สัดส่วนของไซโทไคนินกับออกซินมีอิทธิพล ต่อการพัฒนาของเซลล์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (auxin/cytokinin ratio regulates morphorgenesis in cultured tissue) การที่เซลล์ พืชในอาหารเลี้ยงเชื้อพัฒนาไปเป็นแคลลัส (callus) และจากแคลลัสพัฒนาไปเป็นส่วนของรากและยอด
ถ้าหากสัดส่วนของออกซินสูงกว่าไซโทไคนินจะมีผลทำให้แคลลัสพัฒนาการสร้างราก และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากสัดส่วนของไซโทไคนินสูงกว่าออกซินก็จะมีผลทำให้แคลลัสสร้าง ส่วนของยอดได้ดีกว่าการสร้างราก
3. ไซโทไคนินมีอิทธิพล ต่อการชะลอการแก่ชราและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในพืช (cytokinin delay senescences and stimulate nutrient mobilization) ไซโทไคนินจะช่วยชะลอการสลายตัวของคลอ โรฟิลล์, RNA, ไลปิด, และโปรตีน ให้เป็นไปอย่างช้า ๆ และนอกเหนือจากนั้น ไซโทไคนินยังส่ง เสริมให้มีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังบริเวณที่มีไซโทไคนินอยู่ และกระบวนการเมแทบอลิซึมอาจจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนพืชซึ่งเป็นสาเหตุ ให้มีการเคลื่อนย้ายสารอาหารไปยังบริเวณที่มีสารฮอร์โมนไซโทไคนินอยู่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 14/07/2010 6:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm
การเคลื่อนที่ของออกซินในต้นพืช
จากส่วนของพืชที่มีการสังเคราะห์ ฮอร์โมนจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ และมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่ได้รับฮอร์โมน การเคลื่อนที่จะถูกควบคุมอย่างดี การเคลื่อนที่ของออกซินจะเป็นแบบโพลาไรซ์ (Polarized) คือ เคลื่อนที่ไปตามยาวของลำต้นโดยไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทางตรงกัน ข้าม ซึ่งการเคลื่อนที่แบบโพลาร์ (Polar) นี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญและการ เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของพืชทั้งต้น
การเคลื่อนที่ของออกซินใน ส่วนที่อยู่เหนือดิน จะเป็นแบบโพลาร์ เบสิพีตัล (Polar Basipetal) คือ จะเคลื่อนที่จากแหล่งผลิตที่ยอดไปสู่โคนต้น ซึ่งการทดลองที่แสดงว่ามีการเคลื่อนที่แบบนี้ สามารถทำได้โดยใช้ก้อนวุ้นที่เป็นแหล่งให้ออกซินและ รับออกซิน (Donor-Receiver Agar Block) คือ ใช้ก้อนวุ้นที่มีออกซินอยู่วางบนท่อนของเนื้อเยื่อ ส่วนก้อนวุ้นอีกก้อนซึ่งทำหน้าที่รับออกซินอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อนเนื้อ เยื่อ ออกซินจะ เคลื่อนที่จากก้อนวุ้นที่มีออกซินผ่านเนื้อ เยื่อลงไปสู่ก้อนวุ้นที่ไม่มีออกซิน ซึ่งจากวิธีการนี้สามารถคำนวณความเร็วของการเคลื่อนที่ของออกซินในเนื้อเยื่อได้ เพราะทราบความยาวของท่อนเนื้อเยื่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่แสดงเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของออกซินจะประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
การเคลื่อนที่ของออกซินจะ เกิดแบบเบสิพีตัลก็ เมื่อท่อนเนื้อเยื่อวางอยู่ในลักษณะปกติของลักษณะทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น คือ ก้อนวุ้นที่เป็นก้อนที่รับออกซินจะต้องอยู่ทางด้านโคนของท่อนเนื้อเยื่อ ถ้าหากกลับท่อนเนื้อเยื่อเอาด้านโคนกลับขึ้น เป็นด้านยอด การเคลื่อนที่แบบเบสิพีตัลจะลดลงทันที
อัตราการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติ ของออกซิน จะช้ากว่าการ เคลื่อนที่ของ IAA แต่ลักษณะการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ เช่น 2,4-D IBA และ NAA ก็เกิดในลักษณะโพลาร์เช่นเดียวกับสาร IAA
การเคลื่อนที่ของออกซินใน ส่วนที่อยู่เหนือดินของพืช เกิดแบบอะโครพีตัล (Acropetal) ได้บ้าง แต่น้อยมาก การเคลื่อนที่แบบโพลาร์จะ ลดลงเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านไปในส่วนใดของเนื้อเยื่ออาจจะเป็น แบบจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งเพราะการเคลื่อนที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ ของสารในท่ออาหาร (Phloem) ซึ่งประมาณ 10-100 เซนติเมตรต่อชั่วโมง และการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหารจะเป็นแบบอะโครพีตัล มากกว่า ดังนั้นออกซินจึงไม่ได้เคลื่อนที่ ในท่ออาหาร แต่การเคลื่อนที่ในรากอาจจะเป็นแบบตาม Phloem และเป็นที่เด่นชัดว่าออกซินไม่ได้เคลื่อนที่ในท่อน้ำของพืชเพราะการไหลของน้ำ จะเป็นไปในทิศทางที่ขึ้นสู่ยอด และนอกจากนั้นท่อน้ำยังเป็นเนื้อเยื่อที่ตาย แล้วไม่มีพลังงานที่จะทำให้ออกซินเคลื่อนที่ แบบโพลาร์ได้ ในกรณี ของโคลีออพไทล์ของพืชนั้นชี้ให้เห็นว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ทุกเซลล์ลงมา แต่ในกรณีของลำต้นนั้นยังไม่มีหลักฐานชี้ ให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าโป รแคมเบียม (Procambium) และแคมเบียม (Cambium) โดยเฉพาะ ส่วนที่จะกลายเป็นท่ออาหารอาจจะเป็นทางเคลื่อนที่ของออกซิน
การเคลื่อนที่ของออกซินใน รากก็มีลักษณะเป็นโพลาร์ แต่เป็นแบบ อะโครพีตัล ซึ่งกลับกันกับกรณีของลำต้น ความเร็วของออกซินที่เคลื่อนที่ไปในรากพืช ประมาณ 1 เซนติเมตรต่อ ชั่วโมง โดยคาดว่าเกิดในส่วนของแคมเบียมและท่อ อาหารที่เกิดใหม่
การเคลื่อนที่ของออกซินเป็นกระบวน การที่ต้องใช้พลังงานโดยมีหลักฐานที่สนับสนุนดังนี้
1. การเคลื่อนที่เร็วกว่าการซึม 10 เท่า
2. เคลื่อนที่ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนเท่านั้น และการเคลื่อนที่หยุดได้โดยสารบางชนิด (Inhibitor)
3. เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีปริมาณมากไปสู่บริเวณที่มี ปริมาณน้อย (Gradient)
4. เกิด Saturation Effect ได้
การเคลื่อนที่ของไซโตไคนิน
ยังไม่มีหลักฐานว่าเคลื่อนที่อย่างไรแน่ จากการทดลองพบว่าระบบรากเป็นส่วนสำคัญในการส่งไซโตไคนินไปยังใบ และป้องกันการเสื่อมสลายของใบก่อนระยะอันสมควร เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ไซโตไคนินมีการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ยอด ยิ่งไปกว่านั้นยังพบไซโตไคนินในท่อน้ำ ซึ่งมาจากระบบรากด้วย ในทางตรงกันข้ามไซโตไคนินซึ่งพบ ที่ผลซึ่งกำลังเจริญเติบโตไม่เคลื่อนที่ไปส่วนอื่นเลย ในทำนองเดียวกันจากการศึกษากับการให้ไซ โตไคนินจากภายนอก เช่นให้ไคเนติน พบว่าจะไม่เคลื่อนย้ายเป็นเวลานาน แม้ว่าสารอื่น ๆ จะเคลื่อนย้ายออกจากจุดนี้ก็ตาม มีหลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนินอาจจะ เคลื่อนย้ายในรูปที่รวมกับสารอื่น ๆ เช่น น้ำตาล (Ribosides หรือ glucosides) ซึ่งไซโตไคนินในรูปที่รวมกับน้ำตาล นั้นพบเสมอในท่อน้ำท่ออาหาร
ในการให้ไฃโตไคนินกับตาข้างเพื่อกำจัด Apical dominance นั้น พบว่าไซโตไคนินจะไม่เคลื่อนที่เลยเป็นระยะเวลานานมาก ในการทดลองกับ BA พบว่า BA สามารถเคลื่อนที่ ผ่านก้านใบและมีลักษณะแบบ Polar เหมือนกับออกซิน ในทุกการศึกษาพบว่า ไซโตไคนินในใบจะไม่เคลื่อนที่รวมทั้งในผลอ่อนด้วย ส่วนผลของรากในการควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินอาจจะอธิบายได้ถึงไซโตไคนินที่เคลื่อนที่ในท่อน้ำ ซึ่งพบเสมอในการทดลองว่าไซโตไคนินสามารถ เคลื่อนที่จากส่วนรากไปสู่ยอด แต่การเคลื่อนที่แบบ Polar ยังไม่เป็นที่ยืนยันการเคลื่อนที่ของไซโตไคนินในพืชยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 14/07/2010 1:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เราก็ใส่แล้วนี่...ว่ามั้ย?
แถมใส่มากรายการกว่าด้วย.....เห็นมั้ยล่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 14/07/2010 4:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
copy มาจากกระทู้ "เรื่องครั้ง LEARNING BY DOING ที่ KK...."
ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของพืช
จากส่วนผสม ปลาทะเล. กากน้ำตาล. สับปะรด. น้ำมะพร้าว. เลือด. ไขกระดูก. ขี้ค้างคาว. ฮิวมิก. นม. เข้าสู่กระบวนการหมักนาน 1-2-3 ปี
ทำให้ได้สารอาหารอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย.....
ธาตุอาหาร :
ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปรแตสเซียม. แคลเซียม. แม็กเน เซียม. กำมะถัน. เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โซเดียม. อะมิโนโปรตีน.
ฮอร์โมน :
ไซโตคินนิน. ไคตินไคโตซาน. เอสโตรเจน. ออร์แกนิค แอซิด. ฟลาโวนอยด์. ควินนอยด์. อโรเมติก แอซิด. ฮิวมัส. โพลิตินอล. ไอบีเอ.
เอ็นบีเอ. กลูโคตามิน. และสารท็อกซิก.
จุลินทรีย์ :
คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัสส์. ไรซ็อคโธเนีย. แบคทีเรีย.
นี่คือส่วนที่มาของคำนิยามว่า "อินทรีย์ นำ"
ครั้นเมื่อได้เติมเพิ่ม ธาตุหลัก (ตามชนิดและระยะพัฒนาการของพืช) ธาตุรอง/ธาตุสริม. แม็กเนเซียม. สังกะสี. ไคโตซาน. บี-1 ซึ่งเป็นเคมี
นี่คือส่วนที่มาของคำนิยามว่า "เคมี เสริม"
และการเลือกสูตรธาตุหลัก (N. P. K.) ที่ตรงกับชนิดและระยะพัฒนาการของพืช
นี่คือส่วนที่มาของนิยามคำว่า "ตามความเหมาะสมของพืช" นั่นเอง
สังเกตุ :
1....ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์.
2....ไม่ใช้น้ำเปล่าแต่ใช้น้ำมะพร้าวแทน
3....ฟลาโวยนอยด์ คือสารอาหารที่เป็นจุดขายของ โอทู. ลิตรละ 7,000 นั่นแหละ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 16/07/2010 5:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4031102/lesson1/lesson1.3.html
ฯลฯ
สังกะสี (Zn) พืชใช้สังกะสีในรูปของ Zn2+ ที่สลายตัวออกมาจากแร่ แมกนีไทต์ ไบโอไทต์ ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งเร้าเอนไซม์หลายชนิด ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซินในพืช
พืชที่ขาดสังกะสีจะมีการยืดต้นช้า ใบเล็กแคบ ไม่ออกดอกและจะผลิตฮอร์โมนออกซิเจนน้อยหรือไม่ผลิตเลย พืชที่แสดงอาการขาดสังกะสีรุนแรง หากได้รับสังกะสีเพิ่มมากขึ้น ภายใน 2-3 วันจะพบว่าปริมาณออกซิเจนในพืช จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ฯลฯ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
eawbo สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010 ตอบ: 52
|
ตอบ: 16/07/2010 7:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณ คุณอ้อที่เอื้อเฟื้อหาข้อมูลดี ๆ ให้ได้อ่าน และหวังว่าทุกคนที่ได้อ่านจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 16/07/2010 12:17 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm
ในปี 1955 Miller ได้แยกสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติคล้ายคลึงแต่มีประสิทธิภาพดีกว่าอะดีนีน ซึ่งได้จากการสลายตัวของ DNA ของสเปิร์มจาก ปลาแฮร์ริง สารชนิดนี้ คือ 6-(furfuryl-amino) purine ซึ่งมีสูตรโครง สร้างคล้ายอะดีนีน เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการ แบ่งเซลล์โดยร่วมกับออกซิน จึงได้รับชื่อว่าไคเนติน (Kinetin)
ไคเนติน เป็นสารที่ไม่พบตามธรรมชาติในต้นพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์ ต่อมาได้มีการค้นพบไซโตไคนิ นสังเคราะห์อีกหลายชนิด สารสังเคราะห์ที่มีกิจกรรมของไซโตไคนินสูงที่ สุดคือ เบนซิลอะดีนีน (Benzyladenine หรือ BA) และเตตระไฮโดรไพรานีล เบนซิลอะดีนีน (tetrahydropyranylbenzyladenine หรือ PBA)
ไซโตไคนินที่พบในพืช
แม้ว่าไคเนติน BA และ PBA เป็นสารที่ไม่พบในต้นพืช แต่สารซึ่งพบในอวัยวะของพืชหลายชนิด เช่น ในน้ำมะพร้าว ในผลอ่อนของข้าวโพด ให้ผลทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาที่คล้าย คลึงกับสาร BA และ PBA สารที่เกิด ตามธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิด ซึ่งมี คุณสมบัติเหมือนไคเนตินนั้น เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า ไซโตไคนิน ซึ่งเป็นสารที่เมื่อมีผลร่วมกับออกซินแล้วจะ เร่งให้เกิดการแบ่งเซลล์ในพืช
มีหลักฐานเด่นชัดชี้ว่าไซโตไคนินที่เกิดในธรรมชาติเป็นสารประกอบพิวรีน ในปี 1964 Letham ได้แยกไซโตไคนินชนิดหนึ่งจากเมล็ดข้าวโพดหวาน และพบว่า เป็นสาร 6-(4-hydroxy-3-methyl but-2-enyl) aminopurine ซึ่ง Letham ได้ตั้งชื่อว่า ซีเอติน (Zeatin)
นับตั้งแต่มีการแยกไซโตไคนินชนิดแรกคือซีเอตินแล้ว ก็มีการค้นพบไซโตไคนิน อีกหลายชนิดซึ่งทุกชนิดเป็นอนุพันธ์ของอะดีนีน คือ เป็น 6-substituted amino purines ซีเอตินเป็นไซโตไคนินธรรมชาติ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
การสังเคราะห์ไซโตไคนิน
การสังเคราะห์ไซโตไคนินในต้นพืชเกิดโดยการ substitution ของ side chain บนคาร์บอนอะตอมที่ 6 ของอะดีนีน ซึ่ง side chain ของไซโตไคนินในสภาพธรรมชาติ ประกอบด้วยคาร์บอน 5 อะตอม จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่าเกิดมาจากวิถีการสังเคราะห์ ไอโซพรีนอยด์ (Isoprenoid) ต่อมา พบว่า กลุ่มของไซโตไคนิน เกิดขึ้นบน t-RNA ได้ และเมื่อใช้เมวา โลเนต (Mavalonate หรือ MVA) ที่มีสารกัมมันตรังสี จะสามารถไปรวมกับกลุ่ม อะ ดีนีนของ t-RNA เกิดเป็นไดเมทธิลอัล ลิล (Dimethylallyl side chain) เกาะด้านข้าง ในเชื้อรา Rhizopus นั้น Dimethylallyl adenine สามารถ เปลี่ยนไปเป็น Zeatin ได้ จึงคาดกันว่า Zeatin อาจจะเกิด จากการออกซิไดซ์ Dimethylallyl adenine
การเกิดกลุ่มของไซโตไคนินใน t-RNA นี้ หมายความว่า ไซโตไคนิน อาจจะเกิดขึ้นมาจากการสลายตัวของ t-RNA ซึ่งความเป็นจริงก็พบเหตุการณ์ดัง กล่าวบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีข้อสงสัยอีกมากที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไซโตไคนินจาก t-RNA อาจจะมีวิถีเฉพาะที่ก่อให้เกิดการสังเคราะห์ไซโตไคนิน ดังแสดงในรูปที่ 12.4 ซึ่งเป็นวิถีที่แยกอย่างเด็ดขาดจากการ เกิดไซโตไคนินโดยการสลายตัวของ t-RNA
พบไซโตไคนินมากใน ผลอ่อนและเมล็ด ในใบอ่อนและปลายรากซึ่งไซโตไคนิน อาจจะสังเคราะห์ที่บริเวณดังกล่าวหรืออาจจะเคลื่อนย้ายมาจากส่วนอื่น ๆ ในรากนั้นมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนินสังเคราะห์ที่บริเวณนี้ได้เพราะเมื่อมีการตัดราก หรือลำต้น พบว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากท่อน้ำจะปรากฏไซโตไคนิ นจากส่วนล่างขึ้นมา ติดต่อกันถึง 4 วัน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าไซโตไคนินสังเคราะห์ ที่รากแล้วส่งไปยังส่วนอื่น ๆ โดยทางท่อน้ำ หลักฐานที่แสดงว่าสังเคราะห์ที่ส่วนอื่นยังไม่พบและการเคลื่อนย้ายของไซโตไคนินจากส่วนอ่อน เช่น ใบ เมล็ด ผล ยังเกิดไม่ดีและไม่มาก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 16/07/2010 12:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 16/07/2010 12:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา http://www.doae.go.th/library/html/detail/hormone/hormone2.htm
ไซโตไคนิน (cytokinins) เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและใน คัพภะ (embryo) ส่วนใหญ่แล้วไซโตไคนินมีการเคลื่อนย้ายน้อย แต่มีคุณสมบัติสำคัญในการดึงสารอาหารต่าง ๆ มายังแหล่งที่มีไซโตไคนินสะสมอยู่ (cytokinin-induced translocation) ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin) ส่วนสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มไซโตไคนินได้แก่
- บีเอพี (BAP)
- ไคเนติน (Kinetin)
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 17/07/2010 7:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|