ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
somchai หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1273
|
ตอบ: 26/07/2010 2:28 pm ชื่อกระทู้: การใช้"แหนแดง"ในนาข้าว |
|
|
งาน 20ปี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนสุรนารี จัดขึ้นระว่างวันที่ 24-31 กรกฎาคม 2553 นี้ ผมกลับไปเยี่ยม
บ้านได้มีโอกาศไปแวะชมงาน สถานที่จัดงานกว้างขวางมากผมมีเวลาไม่มากนักในการเดินชมทั้งหมดได้
ตั้งใจว่าจะเข้าไปที่แปลงสาธิตการใช้ "แหนแดง" แทนการใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว ซึ่ง เรื่องของแหนแดงนี้ก็
เคยได้ทราบข่าวจากสื่อหลายๆแขนงมาแล้วแต่ยังไม่ได้เข้ามาที่ สถานที่และได้พบกับเจ้าของผลงานนี้
โดยตรงอีกด้วยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
somchai หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1273
|
ตอบ: 26/07/2010 2:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พันธุ์ข้าว หลายๆสายพันธุ์ที่นำมาทดลอง ดูการเจริญเติบโตในทุกส่วน |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
somchai หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1273
|
ตอบ: 26/07/2010 2:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ศ.ดร นันทกร บุญเกิด เจ้าของผลงาน ใช้แหนแดง แทนยูเรีย ในนาข้าว กำลังให้ความรู้แก่ผู้สนใจ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
somchai หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1273
|
ตอบ: 26/07/2010 2:51 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อมูล ของการปลูกข้าวต้นเดียว
ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-1.5 กก/ไร่
ใช้กล้า อายุ 8-12 วัน
ขังน้ำให้สูงเพียง 1-2 นิ้ว
ดำห่าง 30-40 เซนติเมตร
แตกกอได้ 30-70 ต้นกอ
ผลผลิตที่ อินโดนีเซีย 1,520 กก/ไร่
กัมพูชา 1,000 กก/ไร่
ผลผลิตที่ มทส 1,350 กก/ไร่
เกษตรกร เท่ เท่ ทำนา 1 ไร่ มีข้าวพอกินทั้งปี
ข้อมูลจากเอกสาร ของทาง มสท แจกมา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
somchai หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1273
|
ตอบ: 26/07/2010 2:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ภาพ แหนแดง
เมื่อ "แหนแดง" มีปริมาณมากขึ้น วัชพืชต่างๆ ก็ไม่สามารถเกิดได้ รวมทั้งแหนชนิดอื่นๆ
จะไม่สามารถขยายพันธุ์ได้อีกด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 26/07/2010 6:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1. การใช้แหนแดงในนาข้าว
แหนแดง ( Azolla ) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆ ชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ใต้ผิวน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้
แหนแดงถูกใช้เป็นปุ๋ยในนาข้าว และใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น สุกร เป็ด และห่าน เนื่องจากแหนแดงมีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบอยู่มาก และมีกรดอะมิโนจำเป็น ( essential amino acid ) ในปริมาณที่สูงพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะที่จะเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย
ประโยชน์ของแหนแดง :
แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากในใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน ( blue green algae ) ชื่อ Anabaena azollae อาศัยอยู่โดยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันกับแหนแดงแบบพึ่งพาอาศัยกัน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ความสัมพันธ์นี้ ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ และมีศักยภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ในระบบเกษตรพอเพียง เพื่อร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวเป็นอย่างดี
การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
2. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์สืบพันธุ์เพศผู้ และเพศเมีย
สายพันธุ์ของแหนแดง : ที่ใช้ในนาข้าว
1. Azolla filiculoides
2. Azolla pinnata
3. Azolla critata
4. Azolla rubra
5. Azolla nilotica
วิธีการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์
1. เลี้ยงในบ่อดินโคลน กระถาง และซีเมนต์ (คล้ายกับการเลี้ยงบัว)
2. เลี้ยงในบ่อธรรมชาติ โดยเลี้ยงในกระชัง
3. เลี้ยงในแปลงโดยตรง
การใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์
การเลี้ยงแหนแดงไม่ยุ่งยากมากนักถ้าทำให้ถูกวิธี โดยเริ่มแรกจะทำการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ก่อนในถังซีเมนต์ หรือกระถางปลูกบัว ทำการใส่ดินประมาณ1/2 ของกระถาง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกประมาณ 500 กรัมต่อดิน 10 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำให้ทั่วผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร วางไว้ที่ร่มรับแสงประมาณ 50% อย่าให้อยู่กลางแดด เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มผิวของกระถาง สามารถนำไปขยายต่อในบ่อดินที่มีระดับน้ำ 10 20 เซนติเมตร เมื่อต้องการใช้ปุ๋ยในนาข้าว จึงนำไปขยายต่อในนาข้าวที่เตรียมก่อนปักดำข้าว ปล่อยแหนแดงประมาณ 10% ของพื้นที่ แหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่ภายใน 15 30 วัน หลังจากทำการคลาดกลบแล้วทำการปักดำข้าวได้ทันที แหนแดงบางส่วนจะลอยอยู่บนผิวน้ำ หลังจากปักดำข้าวควรจะปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไป เพราะแหนแดงที่เจริญเติบโตในนาข้าวสามารถเป็นอาหารปลาได้ดีมากเนื่องจากมีโปรตีนสูง จึงสามารถนำปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปล่อยลงไปได้ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จากปลาที่ปล่อยไป และมูลปลาในนาข้าวก็เป็นปุ๋ยให้แก่ข้าวเช่นกัน จึงทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น และให้ปลามากกว่าที่เลี้ยงโดยไม่มีแหนแดง
การใช้แหนแดงในนาข้าว :
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงในพื้นที่ 20 -25 ตารางเมตร เพื่อใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในน่าข้าวให้ลึก 5 10 เซนติเมตร
3. ใช้แหนแดงในอัตรา 50 100 กิโลกรัม/ไร่ ในวันที่ใส่แหนแดงควรมีการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสอัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์อีกครั้งเมื่อแหนแดงมีอายุ 7 10 วัน
แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักเหมือนพืชสีเขียวชนิดอื่นๆ ยกเว้นไนโตรเจน รวมทั้งต้องการธาตุอาหารรองในการเจริญเติบโตด้วยในดินนาทั่วไปฟอสฟอรัสมีความจำเป็นต่อแหนแดงมาก ถ้าปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ำเกินไป จะส่งผลให้การเจริญเติบโต และปริมาณการตรึงไนโตรเจนลดลง
ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของแหนแดง (% ต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง)
ไนโตรเจน ( % )..........ฟอสฟอรัส ( % )...........โปแตสเซียม ( % )
3.71..........................0.25...........................1.25
ปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากแหนแดงแต่ละช่วงอายุ
ลักกษณะการใช้แหนแดง............................................................ปริมาณไนโตรเจน( กิโลกรัม/ไร่)
1. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 20 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................9-17
2. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 30 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................12-25
3. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................7-15
4. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................12-20
ข้อสังเกต :
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ
2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก
3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ
4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส
โดย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักงานวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โทรศัพท์ 0-4421-7006
ที่มา : คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ, http://www.clinictech.most.go.th, วันที่ 8 สิงหาคม 2551
2. แหนแดง (Azolla)
แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น ทั่วไปแหนแดงที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดี่ยวคือ Azolla pinnata ต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น(Rhizome) ราก(Root) และใบ(Lafe) แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใบบน(dorsal lafe) และ ใบล่าง(ventral lafe) มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งมีคลอโรฟิลน้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลเป็นองค์ประกอบ ใบบนมีโพรงใบและใบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงเอาไปใช้ได้ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3-5 % ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจทำการวิจัยค้นคว้าเรื่องแหนแดง พบว่าการเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ
การขยายปริมาณแหนแดงสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์
การจัดการให้ได้ปริมาณของเชื้อพันธุ์แหนแดงตามต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ ปริมาณของเชื้อพันธุ์ที่ใช้เริ่มต้น ขนาดพื้นที่เลี้ยงเชื้อพันธุ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์ สำหรับเกษตรกรชาวนาทั่วๆไปซึ่งมีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก พื้นที่ใช้สำหรับการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์จึงใช้พื้นที่เล็กๆเริ่มต้นใช้ประมาณ 500 กรัม/ตารางเมตร ปริมาณแหนแดงดังกล่าวจะกระจายคลุนที่ผิวน้ำบางๆและสามารถเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ได้ภายในเวลา 4-6 วัน การเลี้ยงขยายแหนแดงวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน แหนแดงที่ขยายเต็มจะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ด้วยวิธีดังกล่าวแหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการโดยใช้พื้นที่ขยายเชื้อพันธุ์ให้สัมพันธ์บปริมาณที่ต้องการ
การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้
แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน
ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นา ให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ
การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ
ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่
www.doae.go.th/spp/biofertilizer/bio3.htm -
3. แหนแดงใช้ในนาข้าว
ลักษณะ
แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae
องค์ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร
ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 813 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
- แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัย (ประยูร สวัสดีและคณะ, 2531) ที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดีย
การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวขั้นตอนการปฎิบัติการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน
ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นาให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติการใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน
การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่
ข้อสังเกต : (โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด)
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ
2.แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก
3.การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ
4.การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส
ข้อมูลจาก doe.go.th,wikipedia,clinictech.most.go.th
ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag แหนแดง
4. แหนแดง ผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศ
เมื่อเอ่ยคำว่าแหนแดงหลายคนคงจะเข้าใจหรือคิดว่าจำพวกจอกหรือแหนทั่ว ๆ ไปที่ลอยน้ำอยู่ตามหนอง สระ บึง ที่จริงไม่ใช่ แหนแดงจัดเป็นพืชพวกเฟิร์นชนิดหนึ่ง เป็นเฟิร์นน้ำที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยลำต้นกลวง ๆ เรียว แตกกิ่งก้านสาขา มีใยเป็นแผ่นแบนๆ 2 แผ่นซ้อนกัน แตกออกมาจากสองข้างของกิ่งเป็นคู่ ๆ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ โดยส่วนรากจมอยู่ในน้ำ พบตามแหล่งน้ำจืด ตามท้องนา สระ บึง บ่อ และตามที่มีน้ำขัง มีทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำไนล์ แถบร้อนในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย พบแหนแดงชนิดที่ชื่อว่า อะโซล่า พินนาตา ( Azolla pinnata) มีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แหนแดงที่เราพบเห็นนั้นมีอยู่ 2 สี คือ
1. พวกที่มีสีเขียว เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
2. พวกที่มีสีชมพูหรือสีแดง เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมขาดธาตุอาหารจำพวกฟอสฟอรัส มีอุณหภูมิสูง มีแสงมากเกินไป ทำให้แหนแดงมีใบเรียวเล็กมีสีแดง ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่าแหนแดงนั่นเอง
แหนแดงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ภายในเวลา 2-3 วัน สามารถเจริญเติบโตขยายจำนวนได้เป็น 2 เท่าของจำนวนเดิม แหนแดงมีโปรตีนและไนโตรเจนสูง เพราะมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อาศัยอยู่ในช่องว่างระหว่างใบบนและล่างของแหนแดง สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้นำมาสร้างสารประกอบพวกไนเตรท ซึ่งแหนแดงนำไปใช้ในการดำรงชีพเจริญเติบโตได้ หรือเรียกว่า แหนแดงเป็นผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศได้
ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ไทย ได้ใช้แหนแดงทำปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่ในนาข้าว มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 5060 แหนแดงมีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 23.8 ไขมันร้อยละ 6.4 ต่อน้ำหนักแห้ง ในฤดูร้อนแหนแดงเจริญเติบโตช้ากว่าในฤดูอื่น ๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำการขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ (Spores)
การเจริญของแหนแดงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
1. น้ำ แหนแดงเจริญได้ดีในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นสูง
2. แสงสว่าง แหนแดงต้องการแสงสว่างหรืแสงแดดในการสร้างอาหาร โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. อุณหภูมิ แหนแดงจะเจริญได้ดีในที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น มากกว่าที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ถ้าอุณหภูมิสูงมาก ๆ แหนแดงจะตาย อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 2025 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสแหนแดงจะตายหมด
4. ความเป็นกรด-เบสของน้ำ แหนแดงจะเจริญได้ดีในสภาพกรด-เบส ประมาณ 4-6
5. แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง ได้แก่ ฟอสฟอรัสโพแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม เหล็ก เป็นต้น ปกติแล้วแหนแดงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนน้อย เพราะแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้เอง
ประโยชน์ของแหนแดงอีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้ดินโปร่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช
สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สสวท.
5. ฯ ล ฯ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2010 7:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 26/07/2010 6:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประสบการณ์ตรง แหนแดงในนาข้าว....
เล่นง่ายๆ....
หาแหนแดงมาซัก 1 ปุ้งกี๋/1 ไร่ ใส่ลงไปในนาข้าว ระดับน้ำครึ่งหน้าแข้ง เทใส่ตามแนวริมคันนา (ไม่ต้องเดินลุยลงไปในเนื้อนาหรอก) เป็นหย่อมๆ เดี๋ยวแหนมันก็จะกระจายตัวเอง ระยะเวลาเพียง 20-30 วัน แหนจะขยายพันธุ์เต็มพื้นที่นา
ปล่อยไว้อย่างนั้นแหละ จนเมื่อระดับน้ำลดลงถึงผิวดิน แหนแดงจะตายติดผิวหน้าดินเต็มทั้งแปลง รอเวลาย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป
หมายเหตุ :
หาแหนแดงไม่ได้ แหนเขียว แหนเหลือง แหนดำ ใช้ได้ทั้งนั้น
ลุงคิมครับผม
ปล.
สมชายเอ๊ยยยย.... โฉบไปกับโลกอินเตอร์เน็ต จ๊ะเอ๋กับเรื่องแหนแดงที่คุณ "จุดประกาย" ขึ้นมาเยอะแยะเลย ยิ่งเจอยิ่ง "เสียดาย" เสียดายข้อมูลพวกนี่ที่ไม่มีใครเอาไปเผยแพร่ส่งเสริมเกษตรกร โดยเฉพาะ จนท.เกษตร ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงตามกฏหมาย รัฐธรรมนูญ กฏกระทรวง
อันที่จริงไม่ใช่ใช้ได้เฉพาะนาข้าวเท่านั้นนะ เอาไปผสมดินในแปลงปลูกผักก็ได้ สาดใส่โคนต้นไม้ก็ได้ เอาไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ ยิ่งดีหนัก.....ว่ามั้ย
จากแหนแดง ถึงแหนเขียว แหนเหลือง แหนดำ ข้ามไปผักปอด ผักตบชวา วัชพืชสารพัดที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ขวางทางน้ำไหลจนน้ำท่วมบ้านท่วมเมือง เหตุใดจึงไม่มี ผู้นำชุมชน. จนท.เกษตร. เกษตรกรดีเด่น. ปราชญ์ชาวบ้าน. ออกมาขักชวน ชี้นำ ให้เกษตรกรในพื้นที่เอาไปใช้ประโยชน์กันบ้าง
..... เหนื่อยใจมั้ย สมชาย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ott_club หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 717
|
ตอบ: 26/07/2010 9:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณครับพี่สมชาย
ใครก็ได้ช่วยไขความโง่เรื่อง "ข้าวไวแสงกับข้าวไม่ไวแสง" แบบภาษาชาวบ้านที่เข้าใจง่ายๆ หน่อยได้ไหมครับ
อืมมม!!! ลุงคิมครับแหนแดงกับแหนเขียว ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจะต่างกันนะครับ คือแหนเขียวความสามารถในการตรึงไนโตเจนจากอากาศจะไม่มี ผมว่า หากเอาแหนเขียวมาใช้อาจกลายเป็นวัชพืชไปก็ได้นะครับ
อ๊อดครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Yuth-Jasmine สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010 ตอบ: 384
|
ตอบ: 26/07/2010 10:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลอกเขามาอีกทีน่ะครับพี่น้อง
ความไวต่อช่วงแสง (sensitivity to photoperiod)
ระยะความยาวของกลางวันมีอิทธิพลต่อการออกดอกของต้นข้าว ดังนั้น พันธุ์ข้าวจึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด โดยถือเอาความไวต่อช่วงแสงหรือระยะความยาวของกลางวันเป็นหลัก คือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
๑) ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ข้าวพวกนี้ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น ปกติเราถือว่ากลางวันมีความยาว ๑๒ ชั่วโมง และกลางคืน มีความยาว ๑๒ ชั่วโมง ฉะนั้น กลางวันที่มีความยาวน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันสั้น และกลางวันที่มีความยาวมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันยาวและพบว่า ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะเริ่มสร้างช่อดอกและออกดอกในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้น ข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน ๑๑ ชั่วโมง ๔๐-๕๐ นาทีจึงได้ชื่อว่า เป็นข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสง (less sensitive to photo period) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๑๐-๒๐ นาที ก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวมากต่อช่วงแสง (strongly sensitive to photoperiod) ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ จึงเรียกข้าวว่า พืชวันสั้น (short-day plant) พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ
การปลูกข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะต้องปลูกในฤดูนาปี (โดยอาศัยน้ำฝน บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาน้ำฝน) เพราะในฤดูนาปรังกลางวันมีความยาวกว่า ๑๒ ชั่วโมง เดือนที่มีกลางวันสั้นที่สุด ได้แก่ เดือนธันวาคม และเดือนที่มีกลางวันยาวที่ได้สุด ได้แก่ เดือนมิถุนายน ความยาวของกลางวันจะเริ่มสั้นจนมากพอที่จะทำให้ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงออกดอกได้นั้น คือ วันในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสงจะออกดอกในเดือนกันยายน ตุลาคม ซึ่งเรียกว่า ข้าวเบา ข้าวที่ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน เรียกว่าข้าวกลาง และข้าวที่ออกดอกในเดือนธันวาคม มกราคม เรียกว่า ข้าวหนัก ด้วยเหตุนี้ ข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะออกดอกในเดือนดังกล่าวนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะปลูกในเดือนอะไรก็ตามมันจึงมีระยะการเจริญเติบโตมากพอสมควร
เนื่องจากข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจะออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันที่ต้องการเท่านั้น ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจึงมีประโยชน์สำหรับชาวนาในบางท้องที่ เช่นในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งหมายความว่า บางปีฝนก็มาเร็วและบางปีฝนก็มาล่า แต่การสิ้นสุดของฤดูฝนนั้นค่อนข้างแน่นอน ปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะหมดฤดูฝนในต้นเดือนพฤศจิกายน เพราะฉะนั้น การปลูกข้าวด้วยพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง และเป็นข้าวเบาหรือข้าวกลาง ถึงแม้จะปลูกล่ากว่าปกติ มันก็จะออกดอกให้เก็บเกี่ยวได้ แต่ผลิตผลอาจลดต่ำลงบ้าง นี่คือข้อดีของข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง
๒) ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง การออกดอกของข้าวพวกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน เมื่อต้นข้าวได้มีระยะเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด ต้นข้าวก็จะออกดอกทันทีไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกลางวันสั้นหรือยาว พันธุ์ข้าว กข.๑ เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อมีอายุเจริญเติบโตนับจากวันตกกล้าครบ ๙๐-๑๐๐ วัน ต้นข้าวก็จะออกดอก ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงใช้ปลูกได้ผลดีทั้งในฤดูนาปรังและนาปี อย่างไรก็ตาม พวกไม่ไวต่อช่วงแสงมักจะให้ผลิตผลสูงเมื่อปลูกในฤดูนาปรัง
ปกติระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวทั้งไวและไม่ไวต่อช่วงแสง แบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ ดังนี้
(๑) ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (basic vegetative growth phase) เป็นระยะเวลานับตั้งแต่วันตกกล้าจนถึงวันที่แตกกอและต้นสูงเต็มที่ ในระยะนี้ ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตทางความสูงและแตกเป็นหน่อใหม่จำนวนมาก
(๒) ระยะการสร้างช่อดอก (panicle initiation phase) เป็นระยะเวลาที่ต้นข้าวเริ่มสร้างช่อดอกจนถึงรวงข้าวเริ่มโผล่ออกมาให้เห็น ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๓๐ วัน สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง อาจเรียกระยะนี้ว่า ระยะที่มีความไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive phase) ดังนั้น ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงเมื่อได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ต้นข้าวจะไม่สร้างช่อดอกจนกว่าต้นข้าวจะได้รับช่วงแสงที่มันต้องการ ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จะเริ่มสร้างช่อดอกทันที หลังจากที่ต้นข้าวได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ดังนั้น การปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมจึงทำให้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมีเวลามากหรือน้อยเกินไป สำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นโดยเฉพาะการใช้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงปลูกล่ากว่าปกติจะทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาน้อยไป ทำให้ได้ผลิตผลต่ำ
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
ลักษณะของข้าวที่สำคัญทางการเกษตร โดย นายประพาส วีระแพทย์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 26/07/2010 10:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ความมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือ ขอให้ใส่เศษซากพืชลงไปในดินเท่านั้นแหละ พืชอะไรก็ได้เมื่อถูกย่อยสลายก็จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน ที่นักวิชาการ (อุดมการณ์) เรียกว่า "ปุ๋ยพืชสด" ไงล่ะ การเจาะจงเอาแต่ "แหนแดง - แหนแดง - แหนแดง" พอหาแหนแดงไม่ได้พ่อเลยไม่เอา
แค่แหนแดงเป็นวัชพืชกำจัดไม่ได้ แล้วจะไปกำจัด "ปรีอ - แห้วหมู - หญ้าคอมมูนิสต์ - ฯลฯ" ได้ไง.... แหนแดงรากยาวไม่ถึงข้อนิ้วมือ คนขี้เกียจกับคนมักง่ายเท่านั้นที่กำจัดไม่ได้
อย่ากังวลกับชนิดหรือปริมาณของ "ธาตุอาหาร" ที่มีในเศษซากพืชนัก เพราะถึงอย่างไร มันก็ไม่ได้มีปริมาณมากถึงขนาดแทนปุ๋ยเคมีได้ 100 % หรอก พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอาจจะเกือบพอ (เน้นย้ำ....เกือบพอ) แต่ถ้าเป็นพืชอายุยืนนานหลายสิบปีละก็ไม่พอแน่ (ยืนยัน...ไม่พอแน่นอน)..... ทางเลือกที่ดี คือ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของพืช..." อย่างที่เราพานพบกันมาแล้วนั้นแหละ
กลยุทธในการส่งเสริมการเกษตรวันนี้ คือ ....
1... ให้ข้อมูลทางวิชาการที่แท้จริง
2... ให้ข้อมูลที่สดวกต่อการนำไปปฏิบัติ ...... ภายใต้หลักการสามารถทดแทนกันได้ หรือปรุงแต่งก่อนใช้งานเล็กน้อย
ในความเป็นจริงของสังคมเกษตรวันนี้ เกษตรกรยังยึดติดอยู่กับปุ๋ยเคมี เป็นการยากมากหากจะห้ามไม่ให้พวกเขาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะฉนั้น ต้องยอมให้เขาใช้ แต่ทำอย่างไรจึงจะให้เขาใช้อย่างถูกต้อง ถูกต้องทั้งสูตร ปริมาณ และช่วงเวลา
ปุจฉา-วิสัชชนา :
แหนแดง มี N. = 3.71, P. = 0.25, K. = 1.25
แหนเขียว มีน้อยกว่านี้ แต่ถ้า "แหนเขียว + 25-7-7 หรือ 30-10-10 หรือ 16-8-8" จะมี N. P. K. มากกว่าแหนแดงไหม ?
เดินทางไปเก็บแหนแดงไกลๆ มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเก็บแหนเขียวในหนองข้างบ้าน ได้มาแล้ว + 25-7-7 ลงไปก่อนใช้งาน อย่างไหน คุ้มค่าทาง "เศรษฐศาตร์การลงทุน" มากกว่ากัน
แม้แต่ "ฟาง" ในนา เมื่อคุณใส่ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + 30-10-10" ลงไปจะ ดีกว่า/เหนือกว่า/-ประหยัดกว่า แหนแดงไหม ?
ประเด็นร้อนวันนี้ :
ทำอย่างไร เกษตรกรจึงจะหันมาให้ความสำคัญต่อการบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุต่างหาก
ข้อคิดดีมาก เป็นช่องให้เติมความเข้มข้นเนื้อหาได้ดีมากๆ
ลุงคิมครับผม
ปล.
ลุงคิมคิดว่า ถ้าถาม ดร.นันทกรฯ ท่านก็คงไห้คำตอบแบบนี้เหมือนกัน (ว่ะ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
mongkol สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010 ตอบ: 138
|
ตอบ: 27/07/2010 11:33 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่องการใช้แหนแดงทาง มทส. ได้ทำมานานแล้ว บางครั้งที่มีการอบรม ยังได้ฝากข่าวให้ลุงคิมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วย แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่ค่อยสนใจ ชอบใช้แต่แบบสำเร็จรูป ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในนาข้าวมีการใช้สารกำจัดวัชพืช จนส่งผลต่อการเติบโตของพืชน้ำหลายชนิด รวมทั้งแหนแดงด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 27/07/2010 3:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เมื่อไม่นานมานี้ มสท. ริเริ่มโครงการ "1 ดอกเตอร์ : 1 ตำบล" ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นตำบลไหน ของอำเถอใด ของ จ.โคราชสีมา.....
อยากทราบว่า ปัจจุบันโครงการนี้ไปถึงไหนแล้ว.....ใครรู้เรื่องส่งข่าวด้วยก็ดี
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
hearse สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010 ตอบ: 110
|
ตอบ: 07/08/2010 10:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อยากทราบว่าถ้าเราแหนแดง ทำเป็นพืชสดใส่ไม้ผลแทนปุ๋ยคอกจะได้มัย?
ขอบคุณจ้า |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
eawbo สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010 ตอบ: 52
|
ตอบ: 07/08/2010 1:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
งานวิจัยหรือการอบรมส่งเสริมต่าง ๆ ดีสำหรับคนที่สนใจเท่านั้น แพร่ขยายไปยังเกษตรกรทั่วไปลำบาก เพราะรู้ในวงจำกัดและส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่าการไปเรียนรู้แต่ละอย่างเสียเวลามาก น่าเบื่อหน่าย สู้เอาเวลาไปกินเหล้าชนไก่ไม่ได้ นอกจากมีการเกนกันไปโดยมีงบประมาณ เจ้าหน้าที่เกษตรส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยสนใจทำงานไปวัน ๆ เกษตรกรอยากรู้หรืออยากได้อะไรก็ชี้ไปที่กองเอกสาร แล้วจะมีเกษตรกรกี่คนที่สนใจอ่านหนังสือ คนไทยอ่านหนังสือน้อยอยู่แล้ว แต่กลุ่มเกษตรกรก็เป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคนกลุ่มอื่น
ขอบคุณลุงคิมและคุณสมชายที่หาความรู้มาไห้อ่าน
เอี๋ยวครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|