ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Aorrayong หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 07/08/2010 6:31 pm ชื่อกระทู้: การเพิ่มคุณภาพผลผลิตทุเรียน |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=232&PHPSESSID=c240f244cd03b8f7f807395edc486a04
ปัจจัยที่ช่วยทำให้ทุเรียนพร้อมเพื่อการออกดอกและติดผล
1. ความพร้อมของต้น
2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การจัดการให้ต้นทุเรียนพร้อมเพื่อการอกดอกและติดผล หมายถึงมีการสะสมอาหาร (คาร์โบไฮเดรต) อย่างเพียงพอ ใบอยู่ในสภาพแก่ทั่วต้น ในขณะที่ฝนแล้งหรือทิ้ง ช่วงเวลาประมาณ 10-14 วัน อุณหภูมิและความชื้นอากาศค่อนข้างต่ำซึ่งสามารถ เตรียมให้พร้อมได้โดยจัดการตามขั้นตอนดังนี้ คือ
ขั้นตอนการบำรุงดูแลรักษาทุเรียน
ระยะที่ 1 .... หลังตัดแต่งกิ่งหรือระยะแตกใบอ่อน
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แล้วใส่ปุ๋ยทางดินพร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เร่งให้มีการแตกใบอ่อนชุดใหม่ออกมา เพื่อสร้างความสมบูรณ์และปรับสภาพต้นให้ฟื้นกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว
- ไนโตรเจน.จำเป็นสำหรับการสร้างเนื้อใบ
- ฟอสฟอรัส.ช่วยให้พลังงาน
- โบรอน.ทำหน้าที่ในการแบ่งเซลเพื่อสร้างใบใหม่
- คัลเซียม.เป็นส่วนประกอบของผนังเซล ทำให้ใบพืชแข็งแรง
ระยะที่ 2 .... 1 เดือนก่อนออกดอก
ในช่วงที่ใบอ่อนชุดสุดท้ายเริ่มเข้าสู่ระยะเพสลาด (ใบเริ่มแก่) ใบชุดใหม่นี้จะสำคัญในการสร้างและสะสมอาหารไว้ใช้ในการออกดอก และติดผลได้เป็นอย่างดี ในช่วงนี้จึงควรฉีดพ่นปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมทางใบที่มีฟอสฟอรัส. โพแทสเซียม.และสังกะสี.สูง เพื่อเร่งการสร้างและสะสมอาหาร เป็นการเตรียมสภาพต้น ให้พร้อมที่จะสร้างตาดอกและแตกตาดอก
ระยะที่ 3 ... เหยียดตีนหนูถึงก่อนดอกบาน
ในระยะเริ่มแทงช่อดอกจนถึงก่อนดอกบานเป็นช่วงที่ทุเรียนต้องการธาตุอาหาร และอาหารเสริม 2 ชนิด คือ คัลเซียม.และโบรอน.ในสัดส่วนที่พอเหมาะต่อความต้องการของพืชและอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ทันที
ระยะที่ 4 ... ติดผลอ่อน (หางแย้ไหม้)
หลังดอกบานประมาณ 7-10 วัน หรือที่เรียกว่าระยะหางแย้ไหม้ ทุเรียนเริ่มติดผล อ่อนและมีการสร้างเมล็ดเพื่อเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนพืชที่ช่วยในการติดผล ในระยะนี้ถ้ามีการส่งอาหารจากต้นไปเลี้ยงผลอ่อนได้อย่างเพียงพอพร้อมกับมีความสมดุลย์ของฮอร์โมนในผล ก็จะช่วยเพิ่มการติดผล ลดการหลุดร่วงได้ดี โพแทสเซียม.และโบรอน.ช่วยกระตุ้นการสร้างและลำเลียงอาหารมาใช้ในการสร้างเมล็ด ธาตุสังกะสี.ช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน ออกซิน.ช่วยในการติดผลและลดการหลุดร่วงของผล
ระยะที่ 5... ขยายขนาดผล
ในสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 10 หลังดอกบาน ผลของทุเรียนจะขยายขนาดและเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ต้นทุเรียนจึงจำเป็นต้องได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอโดยเฉพาะไนโตรเจน. และคัลเซียม.ที่ช่วยสร้างเนื้อผล ธาตุสังกะสี. เหล็ก.และมักนีเซียม.ช่วยกระตุ้นการสร้างแป้งและน้ำตาล ส่วนธาตุโบรอน.และโพแทสเซียม.ช่วยลำเลียงอาหารเพื่อใช้ในการขยายขนาดผล
ระยะที่ 6 ... ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน
ช่วง 1 เดือนก่อนเก็บผลมีการสะสมอาหารในรูปแป้งในผลทุเรียนเป็นปริมาณมาก ในระยะนี้ การฉีดพ่นปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมทางใบที่มีโพแทสเซียม.สูงร่วมกับธาตุคัลเซียม.และโบรอน.ในสัดส่วนที่พอเหมาะ จะช่วยกระตุ้นการลำเลียงน้ำตาลมาสะสมไว้ที่ผลในรูปของแป้ง และเมื่อผลสุกแก่จะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ทำให้น้ำหนักผลเพิ่มขึ้น เนื้อแน่น สีเนื้อเข้ม รสชาติดี ขายได้ ราคาสูง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
meninblack สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010 ตอบ: 81
|
ตอบ: 09/08/2010 3:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณภาพของผลไม้ต่างๆอย่าง ทุเรียน มังคุด หรือมะยงชิด และอื่นๆ เป็นอย่างไรครับ
เราพิจารณาได้จากอะไรครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 09/08/2010 4:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
meninblack บันทึก: | คุณภาพของผลไม้....เราพิจารณาได้จากอะไรครับ |
อืมมม....วิเคราะห์คำถาม ตีโจทย์ ตามหลักวิชาภาษาไทย "คุณภาพ-คุณภาพ" คงหมายถึง คุณภาพนั่นแหละนะ
ตอบ :
รู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่
รูป......... รู้ได้ด้วยการดู
รส......... รู้ได้ด้วยการชิม
กลิ่น....... รู้ได้ด้วยการดม
เสียง.......รู้ด้วยการเคาะแล้วฟังเสียง
สี.......... รู้ด้วยการดู
กับปัจจัยพิจารณาอื่นๆ เช่น ราคา. ฤดูกาล. การตลาด. บริการ. ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็น "องค์ประกอบ" สำคัญ ที่ทำให้สินค้ามีคุณภาพต่างกันไม่ใช่เหรอ
ข้อมูลเรื่อง "ปัจจัยที่ช่วยทำให้ทุเรียนพร้อมเพื่อการออกดอกและติดผล" เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับ ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงและวัตถุประสงค์ต่อทุเรียนเท่านั้น หากปฏิบัติได้ตามคำแนะนำดังกล่าวอย่างถูกต้องสม่ำเสมอก็จะทำให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์สูง ซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพในอนาคต.... ประมาณนั้น
ไม่ได้ตอบ "กวน" นะ แต่อยากให้ FOGUS คำถามให้แคบกว่านี้ ว่าเป็นมะๆ แยกเป็นประเด็นๆ หรือแต่ละขั้นตอนก็ได้ เช่น เรียกใบอ่อนทุเรียนแล้ว การตอบสนองของแต่ละต้นไม่เหมือนกัน บางต้นแตกใบอ่อนดีมาก บางต้นแตกใบอ่อนแบบไม่เต็มใจ บางต้นไม่แตกใบอ่อนเลย เป็นเพราะอะไร ? แก้ไขอย่างไร ?
หรือ....แต่ละขั้นตอนใน "ปัจจัยที่ช่วย.....ติดผล" รู้ได้อย่างว่าขั้นตอนนั้น O.K หรือ NO.K
ถามใหมน่ะ
ลุงคิมครับผม
ปล.
หรือ......ใครก็ได้ ให้คำตอบแทนลุงคิมด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
eawbo สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010 ตอบ: 52
|
ตอบ: 09/08/2010 5:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ยังไม่มีความรู้พอที่จะตอบ แต่ขอเก็บเกี่ยวความรู้จากทุกท่าน
ขอบคุณทุกท่านที่ตอบและเสนอแนะความเห็นต่าง ๆ
เอี๋ยวครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 09/08/2010 7:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
eawbo บันทึก: | ยังไม่มีความรู้พอที่จะตอบ.....
เอี๋ยวครับ |
เมื่อไม่มีความารู้แล้ว "ทำไม" ไม่ถาม ? .... หรือไม่รู้แม้แต่จะถามว่าอะไร ?
ลำดับวิธีการ "เรียนลัด" ให้กับตัวเองซี่ ปลูกอะไร เลี้ยงอะไร ทำอะไร ก็ถามที่มันเกี่ยวกับที่ตัวเอง "ปลูก-เลี้ยง-ทำ" นั่นแหละ ..... หรือไม่ก็ "เสริม-เติม-เพิ่ม" คำถามที่ใครถามาก่อน เพื่อให้เป็นคำถามที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นก็ได้
รอเก็บเกี่ยวความรู้จากคนอื่น แล้วความรู้ที่ได้นั้นมันตรงกับกิจกรรมเกษตรที่ตัวเองทำเหรอ แบบนี้เขาเรียกว่า "อ่านเพลินๆ" น่ะ มันจะกลายเป็น รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ทำ หรือ เก่งทุกอย่าง ยกเว้นงานในหน้าที่ หรือไม่ก็ ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
เว้บนี้ สถิติคนคลิกเข้ามา เฉลี่ยเดือนละ 100,000 ครั้ง ก็คงไม่มีหรอกมั้ง ที่คนๆเดียวจะคลิกวันละ 100 ครั้ง อย่างมากก็แค่วันละ 3 ครั้ง ..... คลิกเดือนละ 100,000 ครั้ง ระดับนี้ถือว่ามากหรือน้อยล่ะ (ไม่รู้....ต้องถามคุณอ้อระยอง) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคนถามแล้ว ถือว่าคนถามน้อยมากๆ
หรือว่า คนที่คลิกเข้ามาเป็นคนที่รู้แล้ว ก็สงสัยๆ อีกนั่นแหละว่า เมื่อรู้แล้วคลิกเข้ามาทำไม
ทำไมต้องกลัวว่าจะเป็นคำถามประเภท "ไม่มีกึ๋น - แอ๊บแบ๊ว - ซื่อบื้อ - เฟอะฟะ -ลองภูมิ - ฯลฯ" .... ถามมาเถอะ ไม่มีใครเห็นหน้าหรอก กลัวทำไม อายทำไม
อายครูบ่รู้วิชา
ลุงคิมครับผมu |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
meninblack สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010 ตอบ: 81
|
ตอบ: 10/08/2010 2:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
งั้นผมพุ่งประเด็นที่ ทุเรียนอย่างเดียวนะครับลุง
จาก
รู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่
รูป...... รู้ได้ด้วยการดู ------------ลักษณะของลูกทุเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร
รส...... รู้ได้ด้วยการชิม-----------รสของทุเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร
กลิ่น.... รู้ได้ด้วยการดม-----------กลิ่นของทุเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร
เสียง....รู้ด้วยการเคาะแล้วฟังเสียง--เสียงของทุเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร
สี....... รู้ด้วยการดู --------------สีเนื้อของทุเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร
ผมอยากทราบเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาว่าผลผลิตของผมเอง มี/ไม่มีคุณภาพ แค่ไหน เพื่อพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น ตามแนวทางการดูแลไม้ผล 8 ขั้นตอน เวลาขายจะได้พูดกับคนซื้อว่า ของผมทุเรียนมีคุณภาพครับ
ปล.
เมื่อเช้าฟังรายการลุงตอนท้ายๆ ที่ลุงพูดถึงระยะเวลาการเตรียมต้น ประมาณ 8 เดือน ณ ตอนนี้ทุเรียนผมบางต้นยังไม่แตกใบอ่อนชุดแรกเลยครับ เพราะพื้นที่เป็นปัญหา ส่วนแนวทางการแก้ไขนั้นทราบแล้วครับ กำลังจะปฏิบัติ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 10/08/2010 3:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
งานเข้า....
รบกวนเทพธิดานกกระจิบ ชี้แจงแถลงไขหน่อยละ ว่ากันให้ละเอียดถี่ยิบ ชนิดเซียนยังตกขี้เมฆเลยนั่นแหละ
เบื้องต้นจากลุงคิมนะ....
ถ้าความสมบูรณ์ของต้นไม่เต็มที่ คุณภาพของผลก็คงเต็มที่ไม่ได้เหมือนกัน
การบำรุง ต้องให้ได้แบบ "สมบูรณ์สะสม" ว่ากันตลอด 8 เดือนนั่นแหละ
ไม่ใช่ว่า จะมาเร่งปรับปรุงคุณภาพผลผลิตเอาช่วง 2-3-4 เดือนสุดท้าย คงไม่ทัน
ต้นพืชไม้มีคันเร่งแบบรถยนต์นะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Aorrayong หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 10/08/2010 9:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เล่าสู่กันฟังแล้วกัน
การบำรุงทุเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ควบคู่กับการสังเกตุและวิเคราะห์อาการตอบสนองของต้นทุเรียน
ถ้าทำอย่างปราณีต ถูกขั้นตอน ถูกหลักการ จะส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดี การบำรุงต้องทำอย่างต่อเนื่อง
ไม่เว้นแม้แต่ช่วงที่มีผลผลิตอยู่บนต้น
ระยะเวลาที่ทุเรียนออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน คำถามคือแล้วช่วงเวลา
ที่เหลือต้นทุเรียนทำอะไร ถ้าจะเปรียบเหมือนนักกีฬาที่ต้องเตรียมตัวฝึกซ้อม เพื่อลงทำการแข่งขัน เมื่อถึง
ฤดูการแข่งขัน ถ้านักกีฬากินอาหาร อดๆ อยากๆ กินบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ผอมโซ แล้วจะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปแข่ง
ต้นทุเรียนก็เช่นเดียวกัน ถ้าในช่วงพักตัว เราบำรุงเขาอย่างสม่ำเสมอ พอถึงฤดูกาลเขาก็จะออกดอก ออกผล
ด้วยเหตุเพราะความสมบูรณ์ ไม่ใช่ใกล้จะตาย
การบำรุงตาม 8 ขั้นตอนอย่างเข้มงวด อย่างถูกช่วงจังหวะเวลา มีความสำคัญมาก ทุกขั้นตอนจะส่งผลถึง
คุณภาพของผลผลิตทั้งในรอบฤดูกาลนี้และฤดูกาลต่อๆไป
"8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล" ทุกขั้นตอนมีความสำคัญ
ขั้นตอนที่ 1 .................................................... เรียกใบอ่อน
ทำไมทุเรียนต้องเรียกใบอ่อนปีละ 3 ชุด นั่นเป็นเพราะใบคือขุมกำลังสำคัญในการผลิตพลังงาน
ดังนั้นยิ่งมีพละกำลังมากเท่าไหร่ ทุเรียนก็จะดีทั้งคุณภาพและปริมาณ
ภาคปฏิบัติ
ทางดิน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตลูกสุดท้ายจากต้น เริ่มบำรุงเพื่อเรียกความสมบูรณ์ของต้นในวันรุ่งขึ้นโดยเน้นทางดินด้วย
การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงต้นและเรียกใบอ่อน(ธาตุหลัก 3:1:1)
เมื่อใส่แล้วให้สังเกต
การตอบสนองของต้นทุเรียน โดยเฉพาะต้นที่ให้ผลผลิตที่ดกมากในฤดูกาลที่ผ่านมา ถ้าต้นยังไม่มีอาการ
ที่แตกใบอ่อนหรือใบบาง สีของใบไม่เข้ม เราสามารถเพิ่มธาตุหลักเข้าไปได้อีก 10-20%
ส่วนทางใบ บำรุงและเรียกใบอ่อนด้วยฮอร์โมนน้ำดำ สลับกับแคลเซี่ยม-โบรอน
ถ้าต้นมีความพร้อมและสมบูรณ์
ทุเรียนจะแตกใบอ่อนออกมา โดยที่ไม่ต้องเพิ่มธาตุหลักในฮอร์โมนน้ำดำำ และเมื่อได้ใบอ่อนแล้วให้แคลเซียม-โบรอน
แคลเซียม-โบรอนจะทำให้ใบมีความสมบูรณ์ แผ่กางเต็มที่ พร้อมกับดูแลรักษาใบอ่อนให้รอดพ้นจากโรคและแมลง
ด้วยวิธีการการป้องกัน กันก่อนแก้เท่านั้น
ขั้นตอนที่ 2 .................................................... สะสมตาดอก
ถ้าต้นไม่มีความพร้อม สะสมอาหารไม่เพียงพอ เราอาจต้องพลาดผลผลิตในฤดูกาลนั้นไปเลย
การสะสมตาดอกถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการชักนำให้ทุเรียนออกดอก ถ้าทุเรียนสะสมอาหารไม่พอ ต่อให้เปิด
ตาดอกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของฮอร์โมนไข่ จะออกมาแบบไม่เต็มใจออก ออกมาหลายรุ่นเกินเหตุ
ภาคปฏิบัติ
เมื่อใบอ่อนเริ่มเพสลาด(กลางอ่อนกลางแก่) และนับตั้งแต่วันที่เริ่มสะสมตาดอกจนถึงวันที่เราจะเปิดตาดอก
จะเป็นช่วงเวลาในการสะสมตาดอก ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ทางดินให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรสะสมตาดอก
( ธาตุหลัก 8-24-24) ส่วนทางใบให้ 0-42-56 ทุก 10 วัน เมื่อครบ 2 เดือนจะสังเกตเห็นอาการอั้น
ตาดอกของทุเรียน ในช่วงนี้งดน้ำเด็ดขาด
ขั้นตอนที่ 3 .................................................... ปรับ ซี/เอ็น เรโช
เป็นช่วงวิกฤติ จะได้ดอก ดอกแซมใบ หรือว่าใบ ก็อยู่ที่ช่วงนี้แหละ ทุเรียนถ้าเราผ่านขั้นตอนการสะสมตาดอก
แล้วและกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดตาดอก ถ้าทุเรียนได้รับอาหารกลุ่ม N มากกว่ากลุ่ม C แทนที่จะออกดอก
ก็จะมีใบอ่อนออกมาแทน ทำให้พลาดผลผลิตฤดูกาลนั้น เพราะการบำรุงใบอ่อนเพื่อให้พร้อมต่อการออกดอก
ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน
การปรับ C/N Ratio คือ
การงดอาหารกลุ่ม N คือ การงดน้ำ และไม่ให้สารอาหารใดๆ ที่มีธาตุไนโตรเจน ทั้งทางดินและทางราก
การเพิ่มอาหารกลุ่ม C คือ การให้ธาตุอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บอนแก่ทุเรียน
ภาคปฏิบัติ
ใช้ 0-42-56 ในการปรับ C/N Ratio หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน มีส่วนประกอบของ
0-52-34 ,นม,ไข่,ธาตุรองธาตุเสริม ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารกลุ่ม C สูง แต่มีข้อเสียคืออาจทำให้ทุเรียนออกดอกหลายรุ่น
ขั้นตอนที่ 4 .................................................... เปิดตาดอก
ถ้าต้นทุเรียนสมบูรณ์ ผ่านการสะสมตาดอกอย่างต่อเนื่อง ควบคุมการให้น้ำอย่างเหมาะสม แค่เปิดตาดอกเบาๆ ก็ออกแล้ว
ภาคปฏิบัติ
ใช้ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน อาจเพิ่มธาตุหลักคือ 0-52-34 เข้าไปในกรณีที่เปิดตาดอกหลายรอบแต่ยังไม่แสดงอาการ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการควบคุมการให้น้ำอย่างเหมาะ เพื่อเป็นการกระตุ้น ชักนำให้ทุเรียนออกดอกได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 .................................................... บำรุงดอก
เป็นการบำรุงเพื่อให้เกสรมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ง่ายต่อการติดผล
ขั้นตอนที่ 6 .................................................... บำรุงผลเล็ก
ขั้นตอนที่ 7 .................................................... บำรุงผลกลาง
ขั้นตอนที่ 8 .................................................... บำรุงผลแก่
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 11/08/2010 6:46 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ott_club หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 717
|
ตอบ: 10/08/2010 10:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อื้อฮือ! เซียนทุเรียนขั้นเทพ
เจ้าแม่นกกระจิบมาเอง _________________ อ๊อด ระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
tapabnumm สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 10/08/2010 10:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สุดยอด |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Aorrayong หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 10/08/2010 10:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขี้เกียจเนี่ยนะ สุดยอด
โรคเบื่อโรงงาน หายหรือยัง? |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
tapabnumm สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 10/08/2010 10:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
วันนี้สุดยอดไปใหญ่ หัวหน้าลาออก(หรือเปล่าไม่แน่ใจ)
ไปไม่ลาด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
tapabnumm สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 10/08/2010 10:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พี่อ้อครับ
วันนี้ผมปรุงยากันแมลงใหม่มี
ใบน้อยน่า + ใบสะเดา + บอระเพชร + เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู
แบบว่าคราวนี้ไม่ใส่พริกดูครับแล้วลองใช้เหล้าขาวแทน ก็ว่าจะฉีดมันทุกวันเลย
วันนี้ตอนเช้าคุณยุทธโทรมาคุยด้วยแต่ผมไม่มีเวลา
ขอโทษด้วยนะครับ
วันนี้โดนด่าทั้งวัน ด่าได้ด่าไปไม่เจ็บ อย่ามาตีก็แล้วกันมันเจ็บ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
tapabnumm สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 10/08/2010 10:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ว่าแต่พี่อ้อครับ....ไอ้รอบการใส่นี้ 15 วันใช่ไหมครับ
สรุป ผมต้องใส่ไงดี
ตอนนี้ผมใส่มันทั้ง 3 อย่างไปแล้ว (ระเบิด + น้ำดำ + ไข่)
แล้วขั้นตอนต่อไปใส่ไงล่ะทีนี้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
tapabnumm สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 10/08/2010 10:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมเป็นบ้าอะไร เอารูปลงไม่ได้ซักที
เอางี้ไว้ต้นเดือนหน้า ผมจะถ่ายรูปต้นมะลิที่บ้าน
ไปให้ที่อ้อลงให้ได้เปล่า ตอนนี้ถ่ายรูปก่อนใช้ปุ๋ยไปก่อน
จะเอาไว้เปรียบเทียบหลังจากนี้ 1 เดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Aorrayong หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 10/08/2010 11:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
tapabnumm บันทึก: | พี่อ้อครับวันนี้ผมปรุงยากันแมลงใหม่
มี ใบน้อยน่า+ใบสะเดา+บอระเพชร+เหล้าขาว+น้ำส้มสายชู
แบบว่าคราวนี้ไม่ใส่พริกดูครับแล้วลองใช้เหล้าขาวแทน
ก็ว่าจะฉีดมันทุกวันเลย
วันนี้ตอนเช้าคุณยุทธโทรมาคุยด้วยแต่ผมไม่มีเวลา
ขอโทษด้วยนะครับ
วันนี้โดนด่าทั้งวัน ด่าได้ด่าไปไม่เจ็บ อย่ามาตีก็แล้วกันมันเจ็บ |
เหล้าขาว ใส่นิดหน่อยก็พอ เพราะไม่แน่ใจว่ามะลิจะชอบหรือเปล่า(ต้องถามพี่ยุทธ)
อย่างที่บอก....... ต้มเย็นใช้เช้า-ต้มเช้าใช้เย็น
ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ต้องใส่ทั้ง เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู เพราะต้มแล้วใช้เลย ถ้ามียาฉุนด้วยก็คงจะดี
ถ้าสุดท้ายเอาไม่อยู่ ไปดูกระทู้ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี ที่ลุงเขียนไว้
โดนด่าทั้งวัน โรงงานนรกเหรอ?
tapabnumm บันทึก: | ว่าแต่พี่อ้อครับไอ้รอบการใส่นี้ 15 วันใช้ไหมครับ
สรุปผมต้องใส่ไงดี
ตอนนี้ผมใส่มันทั้ง3อย่างไปแล้ว(ระเบิด+น้ำดำ+ไข่)
แล้วขั้นตอนต่อไปใส่ไงละทีนี้ |
อ๊ะ.....ระเบิดให้ทางดิน อย่าลืม + ธาตุหลัก 8-24-24 (20%) อัตราการใช้ 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดไปที่โคนต้นมะลิ ให้ทุก 15-20 วัน
สังเกตุการตอบสนองของต้น ก่อนที่จะให้ครั้งต่อไป
ส่วนทางใบใช้ ฮอร์โมนน้ำดำ + ฮอร์โมนไข่ เป็นสูตรสหประชาชาติ (ขาดยูเรก้า) อัตราการใช้ อย่างละ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
อย่าลืมต้องปรับค่า pH น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ ก่อน ช่วงแรกพ่นทุก 7-10 วัน ดูการตอบสนองของต้น
tapabnumm บันทึก: | ผมเป็นบ้าอะไร เอารูปลงไม่ได้ซักที
เอางี้ไว้ต้นเดือนหน้าผมจะถ่ายรูปต้นมะลิที่บ้าน
ไปให้ที่อ้อลงให้ได้เปล่า
ตอนนี้ถ่ายรูปก่อนใช้ปุ๋ยไปก่อน
จะเอาไว้เปรียบเทียบหลังจากนี้ 1 เดือน |
ทำไมยอมแพ้ง่ายๆ เลย
หาวิธีเอารูปลงให้ได้ (คำสั่ง)
โทรมาแล้วกัน จะแนะนำให้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 10/08/2010 11:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ott_club หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 717
|
ตอบ: 11/08/2010 7:44 am ชื่อกระทู้: |
|
|
tapabnumm บันทึก: | พี่อ้อครับ
วันนี้ผมปรุงยากันแมลงใหม่มี
ใบน้อยน่า + ใบสะเดา + บอระเพชร + เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู
แบบว่าคราวนี้ไม่ใส่พริกดูครับแล้วลองใช้เหล้าขาวแทน ก็ว่าจะฉีดมันทุกวันเลย
วันนี้ตอนเช้าคุณยุทธโทรมาคุยด้วยแต่ผมไม่มีเวลา
ขอโทษด้วยนะครับ
วันนี้โดนด่าทั้งวัน ด่าได้ด่าไปไม่เจ็บ อย่ามาตีก็แล้วกันมันเจ็บ |
เขียนอย่างไหนถูก
น้อยน่า หรือ น้อยหน่า
บอระเพชร หรือ บรเพ็ด _________________ อ๊อด ระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 11/08/2010 7:51 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คะ คะ ..... ค่ะ ค่ะ....(มีไม้เอก กับ ไม่มีไม้เอก)
หลายคนเขียนผิดบ่อยๆ....รักษ์ภาษาไทยหน่อยนะ
เว้บนี้ไม่ใช่ ฮิ5
ฮิ6 .... เพราะมันหก เลยไม่เหลือไง
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
meninblack สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010 ตอบ: 81
|
ตอบ: 16/08/2010 12:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฉะนั้น ถ้าเราต้องการให้ผลผลิตเรามีคุณภาพ เราต้องเตรียมสภาพต้นไม้ของให้พร้อม
เอ..วัง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 16/08/2010 9:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บำรุงให้เกิด "ความสมบูรณ์สะสม" ไงล่ะ....
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
meninblack สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010 ตอบ: 81
|
ตอบ: 23/08/2010 9:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
พี่อ้อครับ การที่เราให้ฮอร์โมนน้ำดำ+... บ่อยๆ เช่นจาก 7 วันครั้ง เป็น 3-4 วันครั้งเพื่อเป็นการบำรุง และดึงใบอ่อน จะช่วยได้หรือไม่
+ ... คือ 25-5-5 + แคลเซียมโบร่อน + สาหร่ายทะเล(ผมเพิ่มเข้าไปอีก)+จิบเบอลิน
ทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ (ไม่ใช่อินทรีย์เคมี เพราะมีปริมาณปุ๋ยเคมีมากกว่าอินทรีย์) สูตร 21-3-3 ต้นละประมาณ 1/2 - 1 กิโลกรัม 20 วันครั้ง (คิดไว้ครับแต่ใส่ไปแล้วรอบหนึ่ง)
มันจะได้ผลหรือเปล่าครับเนี่ย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|