-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไร ..... สงสัยจริงๆ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไร ..... สงสัยจริงๆ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Nini
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/08/2010
ตอบ: 17

ตอบตอบ: 17/09/2010 2:38 pm    ชื่อกระทู้: ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไร ..... สงสัยจริงๆ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำว่า ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไรค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 17/09/2010 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุรอง/ธาตุเสริม คือ ปุ๋ยครับ...

แล้ว วิตามิน เกลือแร่ ล่ะ คืออะไร ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
jo1987
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2010
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 17/09/2010 8:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารรอง

ธาตุแคลเซียม - CALCIUM
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช
มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
ช่วยเพิ่มการติดผล
ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่
สมบูรณ์
ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหาร
ไม่ปกติ
ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง
3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้


--------------------------------------------------------------------------------



ธาตุแมกนีเซียม – MAGNESIUM

ธาตุแมกนีเซียม มีความสำคัญต่อพืช คน และสัตว์ ร่างกายของคนต้องการธาตุแมกนีเซียมประมาณ 0.3-0.4 มิลิกรัมต่อวัน สัตว์เช่น วัว ควาย ต้องการสูงถึง 10 เท่า คือ ประมาณ 3-6 กรัมต่อวัน ถ้าคนขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ในวัวถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมจะเป็นโรคกระแตเวียน

หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช
เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม
สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสี
น้ำตาลและตายไปในที่สุด
ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่า
ที่ควร
ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก

การให้ปุ๋ยโพแทสเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไป ถ้าให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากจะเป็นปัญหาการขาดธาตุแมกนีเซียม
การให้ธาตุแคลเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน ถ้าธาตุแคลเซียมมาก อาจทำให้ขาดธาตุแมกนีเซียม
การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ต้องให้ธาตุแมกนีเซียม และธาตุแคลเซียมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ จะเกิดอาการเป็นพิษจากสารไนเตรท(Nitrate Poisoning) ดังนั้นเมื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องให้ธาตุแมกนีเซียมและธาตุแคลเซียมควบคู่ไปด้วย



--------------------------------------------------------------------------------


ธาตุกำมะถัน – SULPHUR

ธาตุกำมะถัน เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการผลิตปุ๋ยเคมี จะต้องมี กำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ นอกจากนี้ธาตุกำมะถัน ยังมีความสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืช หลายชนิด และมีพืชหลายชนิดที่ต้องการธาตุกำมะถันมากเป็นพิเศษ เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน อ้อย พืช ตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสัตว์ และพืชผักต่าง ๆ
หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน
ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน(Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะ
มิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน(Cystine) ซีสเตอีน(Cysteine) และเมทธิโอนีน(Methionine) ดังนั้นจึงมี
ส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน, กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคน
และสัตว์ด้วย
ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วย
คลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลง
ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด
ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อ
โรคพืชหลายชนิด
ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน
พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
ฟอสเฟต (MAP) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(TSP)

ธาตุอาหารเสริม

ธาตุสังกะสี (Zinc)
หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช
ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น
เสริมสร้างเมล็ด
เสริมสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในพืช
เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้
เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น
ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
ช่วยเสริมสร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช
มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรตและกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช
ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืชเมื่อมีอากาศหนาวเย็น
ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุสังกะสี
แสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ
เส้นกลางของใบอ่อนจะแตกเป็นเส้นย่อย ๆ
เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายตัวติดต่อกัน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล
พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
ในพืชต้นเล็ก ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะทำให้พืชตายได้
ทำให้การสุกแก่ของผลไม้ช้ากว่าปกติ
ทำให้ผลผลิตต่ำ

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี
ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย
ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก
ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว
ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว



--------------------------------------------------------------------------------



ธาตุเหล็ก - IRON
ธาตุเหล็ก จะพบในดินมากโดยทั่วไป แต่จะเป็นธาตุเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเป็นส่วนมาก ปัญหาการขาดธาตุเหล็กของพืชไม่ใช่เกี่ยวกับปริมาณของธาตุเหล็กในดิน ปัญหาเกิดจากการไม่ละลายและความเป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็ก ดินที่มีความเป็นกรดมากจะทำให้ธาตุเหล็กไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช และดินที่มีความเป็นด่างมากก็จะทำให้ธาตุเหล็กไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน ส่วนในดินที่มีน้ำขังจะทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น

หน้าที่สำคัญของธาตุเหล็กในพืช
ช่วยเสริมสร้างความเขียวหรือสารคลอโรฟีลล์ในใบพืชแต่ไม่ได้เป็นส่วนของคลอโรฟีลล์
ช่วยในการสังเคราะห์แสงในใบพืชได้ดี เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล
ช่วยเสริมสร้างเอนไซม์ในพืชเพื่อช่วยในระบบการหายใจของพืชทำให้พืชเจริญเติบโต
ทำหน้าที่ช่วยเหลือในการแบ่งเซลล์ของพืชเพื่อการเจริญเติบโต
พืชต้องการเหล็กในปริมาณน้อยประมาณหนึ่งในร้อยส่วนเมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจน

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุเหล็ก
ใบพืชจะมีสีซีดจางไม่เขียว แสดงอาการของสารคลอโรฟีลล์
จะทำให้ระบบของรากพืชไม่พัฒนา
พืชเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
เส้นกลางใบพืชจะมีสีซีดจาง
ถ้าพืชขาดธาตุเหล็กในปริมาณมากจะทำให้ผลผลิตลดลง

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุเหล็ก
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ตั้งแต่ 6.0 ขึ้นไป
ในดินที่ขาดการให้ธาตุเหล็กที่เป็นประโยชน์ เช่น เหล็กคีเลท
ในดินที่มีการไถลึก และดินที่ถูกน้ำกัดเซาะ
ในดินที่มีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิในดินต่ำก่อนและหลังปลูกพืช
ในดินที่แน่นมาก เช่น ดินเหนียว
ในดินที่ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตมาก
ธาตุเหล็กไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่ ดังนั้นเมื่อมีใบใหม่ออกมาต้องให้ธาตุเหล็กเสมอ เพื่อไม่ให้พืช
ขาดธาตุเหล็ก
ในช่วงที่มีอากาศเย็น ดินเย็น พืชจะดูดธาตุเหล็กได้น้อยมาก
การฉีดพ่นธาตุเหล็กคีเลททางใบพืชจะให้ประโยชน์แก่พืชมากกว่าให้ทางดิน




--------------------------------------------------------------------------------



ธาตุทองแดง - COPPER
หน้าที่สำคัญของธาตุทองแดง
ทำหน้าที่ในการช่วยสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว)
ทำหน้าที่เพิ่มความหวานในผลไม้
ทำหน้าที่เพิ่มกลิ่นในผลไม้และผัก
ทำหน้าที่เพิ่มความเข้มของสี
เป็นตัวจักรสำคัญในการสังเคราะห์แสง
เป็นตัวจักรสำคัญในระยะการผลิตดอกและผล
เร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในพืช
ผลิตเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการหายใจของพืช
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดง
มีข้อใบสั้น
ยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการตายจากปลายยอดลงมา
ใบจะมีสีซีดและจะไหม้ตายไปในที่สุด
ในพืชพวกมะเขือ ใบจะหนาและมีสีเขียวเข้ม ใบอ่อนจะม้วนขึ้นมีจุดสีจาง ๆ และในใบแก่จะเหี่ยวเฉาเหมือน อาการขาดน้ำ
ถ้าพืชขาดมากจะทำให้พืชเติบโตช้า

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุทองแดง
ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.5-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง เพราะดินชนิดนี้จะไม่ยึดธาตุทองแดงไว้
ในดินทรายที่น้ำซึมลึกพาเอาธาตุทองแดงลงไปมาก
ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง ทำให้พืชดูดธาตุทองแดงได้น้อย
ในดินที่มีอนุมูลเป็นจำนวนมากของธาตุอะลูมินั่ม ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก ธาตุแมงกานีส
เมื่อมีการขาดธาตุทองแดงในพืช จะทำให้พืชขาดธาตุอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งธาตุไนโตรเจน
ธาตุทองแดงเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายจากใบแก่ไปสู่ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ ดังนั้นต้องฉีดพ่นให้อยู่เสมอ เมื่อมีใบอ่อนออกมา
พืชต้องการธาตุทองแดงในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เพื่อการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันกับธาตุโมลิบดีนัม



--------------------------------------------------------------------------------

ธาตุแมงกานีส - MANGANESE
ธาตุแมงกานีส ที่พบในดินอยู่ในรูปของแมงกานีสไดออกไซด์ และในรูปที่เป็นไฮเดรต หรือในรูปของไอออนประจุบวก(Mn2+)

หน้าที่สำคัญของธาตุแมงกานีส
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ต่าง ๆ ในพืช
ช่วยในการหายใจของพืช เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ช่วยสังเคราะห์แสงทำให้เกิดสารคลอโรฟีลล์(สีเขียวในพืช)
ช่วยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมี
ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนในพืชให้เป็นแป้ง เป็นน้ำตาล โดยเฉพาะในผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานเพิ่มขึ้น

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมงกานีส
แสดงอาการใบเหลือง ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
ใบอ่อนที่แตกออกมาจะซีดขาว
ใบแก่มีจุดสีน้ำตาล ปลายใบแห้ง
ใบห้อยลงและเหี่ยวเฉา
ยอดอ่อนจะแห้งตาย
ในผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานน้อย



--------------------------------------------------------------------------------


เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล
เพิ่มคุณภาพของผลผลิต เช่น รสชาติ
ช่วยเสริมสร้าง แป้ง และน้ำตาล
ช่วยพัฒนาขนาดของผลและเมล็ด
ช่วยในการผสมเกสรของดอก ป้องกันผลร่วง
สังเคราะห์โปรตีน
สร้างฮอร์โมนพืช
ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล
ควบคุมการคายน้ำของผล
มีบทบาทในการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
สร้างความต้านทานต่อความหนาวเย็นหรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ
สร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุโบรอน
อาการปลายใบพืชเหลืองแล้วขยายตัวลงมาตามขอบใบลงสู่โคนใบ และจะมีจุดน้ำตาลเกิดขึ้นที่ขอบใบ
ใบมีสีทองใบหนาหงิกงอ ในบางกรณีใบจะมีอาการโค้งงอขึ้นข้างบน
พืชแตกกิ่งก้านสาขามากผิดปกติและส่วนยอดของกิ่งก้านจะแห้งตาย
พืชไม่ค่อยออกดอกหรือออกดอกแต่ดอกจะไม่สมบูรณ์ ดอกผสมไม่ติดทำให้ดอกร่วง
ในพืชผักประเภทหัวจะมีอาการเน่า
ในพืชที่ให้ผลอยู่จะให้ผลไม่สมบูรณ์ เช่น ส้ม ความหนาของเปลือกจะไม่เท่ากัน และบูดเบี้ยวมีเมือกเหนียว

ธาตุโมลิบดีนัม – MOLYBDENUM
พืชดูดโมลิบดีนัมในรูปโมลิบเดทที่เป็นอิออนประจุลบ(Mo O4 2-) การดูดใช้จะลดลงได้เมื่อมีอนุมูล ซัลเฟต(SO4 2-) มาแข่งขัน การใส่ปูนเพื่อปรับ พี-เอช ให้สูงถึง 7 จะช่วยส่งเสริมการดูดใช้โมลิบดีนัมในพืช

หน้าที่สำคัญธาตุโมลิบดีนัมในพืช
ตรึงธาตุไนโตรเจนในพืชตระกูลถั่ว
มีความสำคัญในการเปลี่ยนไนเตรทในพืชให้เป็นกรดอะมิโนเป็นโปรตีน
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
ช่วยให้ผลไม้สุกแก่เร็วขึ้น
ในผลไม้ที่มีสารไนเตรทสูง โมลิบดีนัมจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารไนเตรท ให้เป็นกรด อะมิโน เป็นโปรตีน เป็นน้ำตาล

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุโมลิบดีนัม
แสดงอาการขอบใบแห้งและม้วนงอ
พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดจางและจะแห้งตายในที่สุด
ในกรณีที่พืชต้องการ(หิว) มาก ๆ ต้นจะแคระแกรน ติดดอกเล็ก ๆ ถ้าติดผล ๆ จะร่วงอย่างรวดเร็ว
ในผลไม้จะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
ในผลไม้ที่รับประทานหวานจะไม่ค่อยมีรสหวาน

สภาพแวดล้อมที่ขาดธาตุโมลิบดีนัม
ในดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-7.0 หรือ ดินเป็นกรด
ในการใส่ปูนในดินเพื่อปลูกพืชหมุนเวียน
เมื่อใส่ธาตุเหล็กลงไปในดินหรือฉีดพ่นธาตุเหล็ก ในดินทราย ในดินที่ใส่ปุ๋ยพวกซัลเฟต


--------------------------------------------------------------------------------


ธาตุโบรอน – BORON

หน้าที่สำคัญของธาตุโบรอนในพืช
ปรากฏอยู่
ในผลจะมีเนื้อในน้อยหรือผลกลวง เช่น ในผลมะเขือเทศและส้มเขียวหวาน
ส่วนปลายของผลจะช้ำและต่อมาจะเน่า
สำหรับผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานน้อยกว่าปกติ
ผลร่วงมาก

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุโบรอน
ในดินที่ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.5-5.0 และ 7.0-8.7
ในดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
ในดินที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงมาก
ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนสูงมาก
ในดินที่มีปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ำมาก
ในดินที่เป็นดินทราย
ในระยะที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง
ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 17/09/2010 10:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถามสั้นๆ ตอบซะยาวเหยียด.....

คนถามมีพื้นความรู้ระดับประถม ตอบซะระดับมหา-ลัย.....แล้วเขาจะรู้เรื่องไหมเนี่ย......


ทำไมไม่ตอบแค่...
ธาตุรอง คือ ปุ๋ย ประกอบด้วย แคลเซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน.
ธาตุเสริม คือ ปุ๋ย ประกอบด้วย เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า โซเดียม คลอรีน.....


เรื่องปุ๋ย เรื่องฮอร์โมน วันนี้เขาไปถึงระดับ "นาโน" กันแล้ว


คงต้องเรงสปีดหน่อยนะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
1545
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 16

ตอบตอบ: 18/09/2010 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น่าสงสารคนถาม ลุงรู้ก็น่าจะตอบไปซะทีแรก ผมว่าต้องมี หน้า มหาลัย และหน้าประถม จะได้คุยกันรู้เรื่องหน่อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 137

ตอบตอบ: 18/09/2010 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตอบได้ละเอียดมากสงสัยต้องส่ง มัลติแชมป์ ไปให้เป็นรางวัล
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11663

ตอบตอบ: 18/09/2010 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1545 บันทึก:
น่าสงสารคนถาม ลุงรู้ก็น่าจะตอบไปซะทีแรก ผมว่าต้องมี หน้า มหาลัย และหน้าประถม จะได้คุยกันรู้เรื่องหน่อย


ที่จริง ทุกคำตอบ จากทุกคน ดีๆทั้งนั้น....แต่ลุงคิมสงสารคนถาม (ว่ะ) กลังจะตามไม่ทัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tapabnumm
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010
ตอบ: 46
ที่อยู่: ระยองครับ

ตอบตอบ: 20/09/2010 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดีเลยผมกำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุณมากๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Nini
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/08/2010
ตอบ: 17

ตอบตอบ: 21/09/2010 10:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้องขอโทษ ที่มาขอบคุณผู้ให้ความรู้ช้าไปหน่อย ขอบคุณนะค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©