-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 25/09/2010 6:55 pm    ชื่อกระทู้: ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไร่อ้อย นภัสสร
บริหารงานโดย..คุณพรทิวา
ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา




ไร่อ้อยนภัสสร กำจัดวัชพืช













แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย napassorn เมื่อ 21/02/2011 6:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 25/09/2010 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่อยากใช้น่ะแต่มันก็ยังจำเป็น สงสารดินครับ
ผมก็ใช้เหมือนทั่วไปล่ะครับ

- อามีทรีน
- กรัมน๊อกโซน
- พาราควอต
- หมาแดง

แล้วแต่ว่ารูปแบบของวัชพืชที่เจอและบริเวณที่เกิดวัชพืช
แต่ส่วนใหญ่ผมจะเน้น "คุม" เป็นหลักครับ ทำกันตั้งแต่ตัดอ้อยกันเลย
ปีนึง ฉีดยาคุมหญ้า ๑ ครั้ง ฉีดยาฆ่าหญ้า ๑ ครั้ง แต่ทั้งสองวิธี
ผมจะใช้แค่ครึ่งเดียวของปริมาณที่เขากำหนดให้ใช้น่ะครับ
ลองดูแล้วมีค่าเท่ากัน คือ หญ้ามันไม่ตายจริงหรอกครับ
แค่เหลืองซีดไปพักใหญ่เท่านั้น อีกอย่างผมจะผสม "เกลือเม็ด"
ลงไปในน้ำก่อนแล้วคนให้ละลายดีแล้วจึงผสมยากำจัดวัชพืชครับ
(ประหยัดยาได้มากครับ เพราะใส่เท่าอัตรากับลดลงครึ่งนึงให้ผลเท่ากัน)

แนวทางจริง ๆ คือ อีแต๋นติดผานหัวหมู ๓ หัว จัดการหญ้าที่ยังไม่สูงมาก
ในร่องอ้อยน่ะครับ จ้างเขาวันละ ๓๐๐ ครับ น้ำมันต่างหาก จนใจครับ ขับอีแต๋น
ไม่เก่ง (กำลังหัดหลบลูกสวิงเข้าปลายคางจากคันสตาร์ทอยู่ครับ) วันนึงก็ได้เกือบ
๑๐ ไร่น่ะครับ พอไหว ถ้าอ้อยไม่สูงมากแล้วพบหญ้าบ้างก็เอางี้ครับ
"จอบ" แบบสมัยใหม่ที่ใช้เหล็กแผ่นมาตีน่ะครับ บางเบาดี ถือว่าเดินเล่นครับ
ถ้าคุมตั้งแต่แรก ดีๆ จะมีไม่มากหรอกครับ เดินถางหมกโคนอ้อยเลยครับ
ใส่หูฟังฟังเพลงไปด้วย เหนื่อยก็พักครับ (แถวโน้นแรงงานจ้างแพงไหมครับ
แถวนี้ไม่แพงแต่หายากและต้องเลี้ยงดูปูเสื่อน่าดูชม)

แถบโคราชลง MPI หรือเปล่าครับ ถ้าลงโปรดระวัง เพราะมันจะตามมาด้วย
หญ้าครับ รีบจัดการหลงัจากลง MPI ให้สิ้นซากเลยครับ

ลองดูน่ะครับ

ยุทธ ครับ

ปล.ฝากบอกสมาชิกที่ลงไปลุยในร่องอ้อยด้วยน่ะครับ ระวังไอ้พวกไม่มีตีนบ้าง
แถบนี้เยอะมากครับ ขนาดผมบางทียังต้องเหน็บ .๓๘ ใส่ลูกปลาย ลูกนึงเกือบ ๖๐
เข้าไร่เวลาไปคนเดียวเลยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 136

ตอบตอบ: 25/09/2010 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็นน้ำในบ่อถ้าเอามาผสมยาฆ่าหญ้า ประสิทธิภาพจะลดลง เนื่องจากตะกอนดินจะ
ไปจับยา ควรใช้น้ำใสๆจะดีกว่า สังเกตุเวลาเขามาสาธิตจะใช้น้ำใสผสม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 25/09/2010 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

mongkol บันทึก:

เห็นน้ำในบ่อถ้าเอามาผสมยาฆ่าหญ้า ประสิทธิภาพจะลดลง เนื่องจากตะกอนดินจะ
ไปจับยา ควรใช้น้ำใสๆจะดีกว่า สังเกตุเวลาเขามาสาธิตจะใช้น้ำใสผสม


ขอบคุณครับพี่มงคล แรก ๆ ผมก็เอาน้ำแถวนั้นแหละครับ เดี๋ยวนี้ขนน้ำใส่รถไปเอง
ดีกว่าครับ เสียเงินค่าน้ำนิดหน่อย ได้ผลดีกว่าอย่างพี่มงคลแนะนำเลยครับพี่

ยุทธ ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 25/09/2010 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าจะใช้ "ยาฆ่าหญ้า" แนะนำให้ใช้อย่าง "บูรณาการ" เพื่อเกษตรยั่งยืน ดังนี้...

ขั้นตอนที่ 1.... ปรับ พีเอช.น้ำให้ได้ 4.0-4.5 ด้วยน้ำส้มสายชู
ขั้นตอนที่ 2.... ใส่ยาฆ่าหญ้า ครึ่งหนึ่งของ อัตราใช้ข้างขวด
ขั้นตอนที่ 3.... ใส่ "ยูเรีย จี." 200 กรัม/น้ำ 100 ล.


- ฉีดพ่นช่วงแดดจัด พอสัมผัสใบ
- หลังฉีดพ่น 2-3 วัน เห็นว่าใบวัชพืชเริ่มเหี่ยว บ่งชัดว่าตายแน่ ให้ฉีดพ่นทับ
ด้วย "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง" หรือ "จุนลินทรีย์หน่อกล้วย" ฉีดโชกๆ เพื่ออาศัย
จุลินทรีย์ให้ช่วยสลายสารพิษในยาฆ่าหญ้า


เรื่องนี้ลุงไม่ได้สอนหรือ (วะ) ยุทธ....ทำไมไม่บอกเขาไป
ลุงคิมครับผม


หมายเหตุ :
- ยาฆ่าหญ้าทุกยี่ห้อเป็นกรดจัด จึงต้องปรับน้ำให้เป็นกรดก่อนผสม ช่วยให้ไม่สิ้น
เปลือง แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมียาฆ่าหญ้าลงไปอยู่ในเนื้อดินปริมาณมากด้วย

เรื่องปรับ พีเอช. น้ำแบบนี้ ไอ้(เน้นย้ำ....ไอ้) คนขายยาฆ่าหญ้ามันไม่บอกหรอก
แต่มันจะให้ใส่ยาฆ่าหญ้าเยอะๆ จนกระทั่งไอ้ตัวยาฆ่าหญ้านี่แหละที่เป็นตัวปรับ พี
เอช.น้ำให้ แล้วมันสิ้นเปลืองไหมล่ะ แทนที่จะใช้แค่ 20 ซีซี.(สมมุติ)/น้ำ 20
ล. เกษตรกรเลยต้องใช้ 250 ซีซี. ถึงจะเอาหญ้าอยู่

- ยูเรีย จี. จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้หญ้าดูดกินเร็วขึ้น นั้นแหละกินยาฆ่าหญ้าละ ว่ามั้ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 25/09/2010 9:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอโทษครับลุง ลืมสนิทเลยครับ ผมก็มัวแต่ไปนึกถึงตอนที่ใช้แบบเก่าน่ะครับ

ไอ้ยู้ดดดด...ขะรับ

ปล. เผื่อไม่รู้น่ะครับ มีประโยชน์มาก ผมก็ทำใช้เองครับสนุกดี

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1851

จุลินทรีย์หน่อกล้วย

เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ใน
บริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติด
รากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ

3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ใบ) อัตราส่วน หน่อกล้วย 3
ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่
ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้
แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อ
จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งานขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการ
นำไปใช้เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้ว
นำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ช่วยกำจัดเชื้อโรค
ในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ช่วยเร่งให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ย
คอกใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินช่วงปรับดินให้เกิด “ฮิวมิค
แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลาย
พืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อ
ไม่ให้เข้าวางไข่
- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อย
สลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝน
ต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอ
นแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีด
พ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้ง
คาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้น
พืชได้
- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืช
ประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม.
และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก
- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือ
ใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 25/09/2010 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อืมมม....อันที่จริงเนี่ย อ้อยที่ต้นสูงท่วมหัวคนปลูกแล้ว ใบมันจะชนกันจนแดด
ส่องลงพื้นไม่ได้ พวกหญ้า พวกวัชพืช ทั้งหลายแหล่ไม่ได้แสงแดด มันก็ตายไป
เองได้ไม่ใช่เหรอ

เท่าที่ผ่านมาผ่านไป แม้แต่แปลงอ้อยข้างถนนทางไปไร่กล้อมแกล้ม ก็เห็นอยู่ทุก
เมื่อ พอต้นอ้อยสูงมากๆ ไม่เห็รนมีหญ้าหรือวัชพืชอะไรขึ้นได้เลย อย่างดีก็แค่
แถวๆริมแปลงที่มีแสงแดดเท่านั้นแหละ

บำรุงอ้อยช่วง ระยะต้นเล็ก หรือปักใหม่ๆ ให้
- ทางดินด้วย "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (5 ล.) + 25-7-7 เพิ่ม 5 กก./ไร่"
ซักเดือนละครั้ง รวม 3 ครั้ง ........ กับให้

- ทางใบด้วย "น้ำ 200 ล.+ ไบโออิ + 25-5-5 (200-300 ซีซี.)+ จิ๊บฯ 100
ซีซี./ไร่" ให้พอสัมผัสใบ ซัก 20 วัน/ครั้ง

จะช่วยบำรุงให้ลำต้นใหญ่ ปล้องยาว ใบใหญ่/ยาว/หนา/เขียวเข้ม กรณีใบใหญ่นี่
แหละนอกจากช่วยบังแดดได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยสังเคราะห์สารอาหารได้ดีอีกด้วย

อ้อยไม่มีอาการ "บ้าใบ" เพราะไม่มีกิ่งให้แตกใบเพิ่ม ไม่เหมือนมะเขือ พริก
มะม่วง ที่มีกิ่งแล้วแตกใบเพิ่มจนกลายเป้นเฝือใบไงล่ะ

ลุงคิมครับผม

ปล.
ยาฆ่าหญ้าเสมือน "ดาบสองคม" ใช้เป็นก็ดี ใช้ไม่เป็นก็เสีย ในโลกนี้สรรพสิ่ง
ย่อมมีทั้ง "ดี" และ "เสีย" อยู่ในตัวเดียวกัน พึงใช้ด้วยความฉลาด นั่นแล


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 7:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 25/09/2010 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

mongkol บันทึก:

เห็นน้ำในบ่อถ้าเอามาผสมยาฆ่าหญ้า ประสิทธิภาพจะลดลง เนื่องจากตะกอนดินจะ
ไปจับยา ควรใช้น้ำใสๆจะดีกว่า สังเกตุเวลาเขามาสาธิตจะใช้น้ำใสผสม



แล้วอย่าลืมถามคนที่มาสาธิต (โฆษณา) ด้วยว่า ยาฆ่าหญ้าน่ะเป็น "กรด"
หรือ "ด่าง" ..... ถามแค่นี้ เผลอๆ วงแตก.....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 7:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 26/09/2010 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Yuth-Jasmine บันทึก:
mongkol บันทึก:

เห็นน้ำในบ่อถ้าเอามาผสมยาฆ่าหญ้า ประสิทธิภาพจะลดลง เนื่องจากตะกอนดินจะ
ไปจับยา ควรใช้น้ำใสๆจะดีกว่า สังเกตุเวลาเขามาสาธิตจะใช้น้ำใสผสม


ขอบคุณครับพี่มงคล แรก ๆ ผมก็เอาน้ำแถวนั้นแหละครับ เดี๋ยวนี้ขนน้ำใส่รถไปเอง
ดีกว่าครับ เสียเงินค่าน้ำนิดหน่อย ได้ผลดีกว่าอย่างพี่มงคลแนะนำเลยครับพี่

ยุทธ ครับ


คุณยุทธ ครั้งแรกผมก็คิดเหมือนกันว่าน้ำน่าจะมีผล มองบ่อข้างๆก็ขุ่นเหมือน
ว่าจะกลับไปนำน้ำที่บ้านมาก็ไกลอยู่ เลยลองดู ผลออกมา หญ้าไม่ค่อยตาย
ต้องขอขอบคุณ บางคนมองข้ามไป โทษไปเรื่องยาปลอมหรือเปล่า ไปโน่น

_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 26/09/2010 10:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ถ้าจะใช้ "ยาฆ่าหญ้า" แนะนำให้ใช้อย่าง "บูรณาการ" เพื่อเกษตรยั่งยืน ดังนี้...

ขั้นตอนที่ 1.... ปรับ พีเอช.น้ำให้ได้ 4.0-4.5 ด้วยน้ำส้มสายชู
ขั้นตอนที่ 2.... ใส่ยาฆ่าหญ้า ครึ่งหนึ่งของ อัตราใช้ข้างขวด
ขั้นตอนที่ 3.... ใส่ "ยูเรีย จี." 200 กรัม/น้ำ 100 ล.


- ฉีดพ่นช่วงแดดจัด พอสัมผัสใบ
- หลังฉีดพ่น 2-3 วัน เห็นว่าใบวัชพืชเริ่มเหี่ยว บ่งชัดว่าตายแน่ ให้ฉีดพ่นทับ
ด้วย "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง" หรือ "จุนลินทรีย์หน่อกล้วย" ฉีดโชกๆ เพื่ออาศัย
จุลินทรีย์ให้ช่วยสลายสารพิษในยาฆ่าหญ้า


เรื่องนี้ลุงไม่ได้สอนหรือ (วะ) ยุทธ....ทำไมไม่บอกเขาไป
ลุงคิมครับผม


หมายเหตุ :
- ยาฆ่าหญ้าทุกยี่ห้อเป็นกรดจัด จึงต้องปรับน้ำให้เป็นกรดก่อนผสม ช่วยให้ไม่สิ้น
เปลือง แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมียาฆ่าหญ้าลงไปอยู่ในเนื้อดินปริมาณมากด้วย

เรื่องปรับ พีเอช. น้ำแบบนี้ ไอ้(เน้นย้ำ....ไอ้) คนขายยาฆ่าหญ้ามันไม่บอกหรอก
แต่มันจะให้ใส่ยาฆ่าหญ้าเยอะๆ จนกระทั่งไอ้ตัวยาฆ่าหญ้านี่แหละที่เป็นตัวปรับ พี
เอช.น้ำให้ แล้วมันสิ้นเปลืองไหมล่ะ แทนที่จะใช้แค่ 20 ซีซี.(สมมุติ)/น้ำ 20
ล. เกษตรกรเลยต้องใช้ 250 ซีซี. ถึงจะเอาหญ้าอยู่

- ยูเรีย จี. จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้หญ้าดูดกินเร็วขึ้น นั้นแหละกินยาฆ่าหญ้าละ ว่ามั้ย


ประสบการณ์ที่หาเรียนที่ไหนไม่ได้
เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นอาจารย์ หลายๆท่าน
แถมได้บุญอีกต่างหาก
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
niracha
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/11/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 26/09/2010 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

ขั้นตอนที่ 1.... ปรับ พีเอช.น้ำให้ได้ 4.0-4.5 ด้วยน้ำส้มสายชู
ขั้นตอนที่ 2.... ใส่ยาฆ่าหญ้า ครึ่งหนึ่งของ อัตราใช้ข้างขวด
ขั้นตอนที่ 3.... ใส่ "ยูเรีย จี." 200 กรัม/น้ำ 100 ล.



เรียนลุงคิม

สงสัยครับ

เนื่องจาก 46-0-0-G เป็นด่างอ่อนๆ ถ้าจะเปลี่ยนเป็น

1. วัดค่า pH ของน้ำที่จะใช้
2. ถ้าเป็นด่างให้ใส่ 46-0-0-G (ส่วนใหญ่น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะเป็นด่างอ่อนๆ)
3. ปรับน้ำให้เป็นกรด 5.0-6.0
4. เติมสารกำจัดวัชพืช

น่าจะเหมาะสมกว่าหรือเปล่าครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 26/09/2010 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำก่อนเถอะ แล้วจะรู้ว่าไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด.....

ที่สำคัญ ทำทุกอย่างให้เป็นกรดก่อน แล้วจึงใส่ยาฆ่าหญ้า เป็นตัวสุดท้าย....จบ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 27/09/2010 10:41 pm    ชื่อกระทู้: ถึงเวลาต้องใส่ปุ๋ย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไร่อ้อยนภัสสร ใส่ปุ๋ยอ้อย








_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย napassorn เมื่อ 21/02/2011 6:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 28/09/2010 6:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก็ได้ ถ้า "คน" พอใจ 46-0-0 ........

แต่ลุงคิมคิดว่า (เน้นย้ำ...คิดว่า/เดา) "อ้อย" คงพอใจ...
1. 21-0-0 หรือ
2. 25-7-7 หรือ
3. 30-10-10 หรือ
4. 35-0-0 หรือ
5. 46-0-0 + 16-16-16 (1:1) มากกว่านะ....


ตีโจทย์ดีๆ....ในโจทย์บอก "คนชอบ" กับ "อ้อยชอบ" ต่างกันนะ....
ปลูกอ้อยควร "ตามใจอ้อย" หรือ "ตามใจคน" หรือตามใจคนขายปุ๋ย หรือตาม
ใจเพื่อนบ้าน

46-0-0 ทำมากจาก GAS ที่อยู่รอบๆตัวเรา ปุ๋ยตัวนี้ "ไว" ต่อการตอบสนอง
ของพืชมากๆ ๆๆ แต่อยู่ได้เพียง 3-5 วัน ก็ระเหยหายไปในอากาศหมด

ส่วน 25-7-7, 30-10-10, 35-0-0, 16-16-16 ตัวที่เป็น N ไม่ได้ทำมา
จาก GAS N ตัวนี้ไม่ไวต่อการตอบสนองชองพืชเหมือน N ในยูเรีย หรือตอบสนอง
ช้ากว่า แต่ก็ช้าไม่มากนัก อาจจะช้ากว่า 2-3 วัน แต่ข้อดี คือ N คงทนอยู่กับพืช
นานเท่านาน เท่าที่คงสภาพอยู่ได้


สรุป
..... 25-7-7, 30-10-10, 35-0-0, 16-16-16 = เขียวช้า แต่เขียวทน เขียวนาน เขียวแข็งแรง
..... 46-0-0 = เขียวเร็ว เขียวไม่นาน เขียวไม่ทน เขียวอวบเรียกโรค เขียวอ่อนแอ



ลุงคิมครับผม
ปล.
- ปุ๋ยธาตุหลักควรต้องมีครบทั้ง 3 ตัว.....ใช่ไหม ?
- ให้อ้อยกินแต่ N ส่วน P. K. ไม่ให้อ้อยกิน....ไปเรียนมาจากไหน
- ทำไมยังทำตามแบบ ตาสี-ยายสา-ตามี-ยายมา คนรุ่นเก่า ความคิดแบบเก่า อยู่อีกล่ะ....คิดใหม่ ทำใหม่ ดีไหม ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 28/09/2010 8:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อินเตอร์เน็ตที่ ลพบุรี เร็วดีครับ
ขโมยเขาใช้ตอนเช้าปลอดคน

ผมบำรุงอ้อยตอยังงี้น่ะครับ
(ไม่เคยใช้ "ยูเรีย" ตั้งแต่ทำอ้อยครั้งแรกเลยครับ)

ตอนไว้ตอ - ต้นเล็ก
ทางดิน
- ใส่ ๒๒-๕-๑๘ (๑๐ กก. + ภูไมต์ซัลเฟต ๕ กก. ต่อไร่ครับ)
ใส่เครื่อง MPI ติดท้ายรถไถ
(สางใบออกบ้างก็ได้ครับ เพราะรถไถจะลงปุ๋ยยากหน่อย)
- ทางใบ แคลเซียมโบรอน ห่างกัน ๑๕ วัน

อ้อยอายุ ๓ เดือน - ย่างปล้อง
ทางดิน
- ใส่ปุ๋ยระเบิดเถิดเทิง ๘-๒๔-๒๔ (เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตรนี้ต่างหากอีก ๒ กก.)
เดือนละครั้งครับ (น้ำตามทุกครั้ง ผ่านสปริงเกอร์)
*เจอแจ็คพอทน้ำท่วม พอดี
ทางใบ
- ปุ๋ยน้ำดำไบโออิ, ยูเรก้า ๑๕ วันครั้งครับ (แคลเซียมโบรอนแทรกเดี่ยว ๆ ด้วยครับ)
(ทุกอย่างผ่านสปริงเกอร์ทั้งหมดครับ แรงงานสองคน)

อ้อยอายุ ๖ เดือน - พร้อมตัด
- เหมือนอ้อยอายุ ๓ เดือน
แต่เพิ่ม ปุ๋ยแม็กนีเซียม, สังกะสี ผสมกันอย่างละ ๒ กก.
ให้เดี่ยว ๆ ทางใบแบบพอผิว ๆ น่ะครับ
(ไม่ต้องมากครับ เพราะในปุ๋ยระเบิด, ปุ๋ยน้ำดำ, ยูเรก้า ก็มีอยู่แล้ว)

ก่อนตัดอ้อย ๑ - ๑ เดือนครึ่ง หาปุ๋ยเร่งหวานมาใส่สักรอบครับ
- โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือ 0-0-60 (ถูกกว่า)
- โพแทสเซียมซัลเฟต หรือ 0-0-50 (แพงกว่า)
เหตุผลก็เพราะว่า อยากตัดอ้อยในช่วงที่น้ำหนัดดี ๆ (ปลายมกราคม)
ก็เลยเสริมปุ๋ยเร่งหวานช่วยน่ะครับ (๒ - ๑๐ กก.ต่อไร่ ครับดูเหมาะสม)
เช็คความหวานดูก่อนก็ดีน่ะครับจะได้ทราบว่าควรใส่มากหรือน้อย
เครื่องวัดความหวาน (Brix Refractometer) ศึกษาภัณฑ์มีขายครับ
เอาแบบหลักพันต้น ๆ พอน่ะครับ แค่พอทราบความหวาน
(อย่าอายที่จะใช้มันครับ)

ยืนยันตามที่ลุงสอนครับ "ยูเรีย" ไม่แนะนำครับ
ปลูกอ้อยนานหรือยังครับ เสร็จงานอ้อยหาเวลามาพบลุงสักหน่อยดีไหมครับ
เอาแบบให้ทะลุปรุโปร่งเลย

ยุทธ ครับ
(อาจไม่ค่อยได้เข้ามาตอบครับ อยู่ลพบุรี อีก ๓ - ๔ วันครับ)
ปล.ถูกผิดลุงช่วยเสริมด้วยน่ะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 28/09/2010 10:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ผมใส่ 46-0-0 ผสม อินทรีย์ ไม่ทราบว่าถูกต้องตามหลักวิชาการหรือเปล่า


การใส่ปุ๋ยเคมีวิธีที่ถูกต้องที่สุด คือ "ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยอินทรีย์" อย่างที่คุณใส่น่ะถูก
แล้ว เช่น อินทรีย์ : เคมี 1:1, 2:1, 3:1 แล้วแต่สภาพดิน แต่มีข้อแม้ว่าปุ๋ย
อินทรีย์ที่นำมาผสมต้องเป็นเป็นอินทรีย์คุณภาพจริงๆ ไม่ใช่ดินผสมยูเรียปั้นเม็ด
อย่างที่มีขายทั่วๆ ไปในท้องตลาด และปุ๋ยเคมีที่จะนำมาผสมต้องถูกสูตร อย่างที่
คุณใช้ยูเรียน่ะมันก็ดี แต่! หลังจากใส่ฝนต้องตกภายใน 4 วัน ถ้าเกินก็เรียบร้อย
ครั้งหน้าอยากใส่ไนโตรเจนปุ๋ย 21-0-0 จะดีกว่าครับ

ถ้าแถวบ้านผม ส่วนมากจะเห็นเขาใส่ 16-11-14 ของเรือใบครับ ผิดถูกอย่างไรไม่
ทราบเพราะไม่เคยทำอ้อยครับ
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 28/09/2010 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุป
..... 25-7-7, 30-10-10, 35-0-0, 16-16-16 = เขียวช้า แต่เขียวทน เขียวนาน เขียวแข็งแรง
..... 46-0-0 = เขียวเร็ว เขียวไม่นาน เขียวไม่ทน เขียวอวบเรียกโรค เขียวอ่อนแอ

นี่แหละ !!! ใช่เลย
ล่าสุดอ้อยผมโดนเพลี้ยเล่นงานดูดน้ำเลี้ยงใบ..แดงทั้งไร่
ครั้งแรกใบเขียว..งามมาก (แต่อ่อนแอ)

_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 28/09/2010 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ยุทธ ครับ
(อาจไม่ค่อยได้เข้ามาตอบครับ อยู่ลพบุรี อีก ๓ - ๔ วันครับ)


คุณยุทธ / ลุงคิมครับ
แค่นี้ถือว่า เป็นพระคุณอย่างมากเลย

_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 28/09/2010 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไร่อ้อยนภัสสร ขยายบ่อน้ำไว้สำหรับหน้าแล้ง














_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย napassorn เมื่อ 21/02/2011 6:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 28/09/2010 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

napassorn บันทึก:

ปีที่ผ่านมาน้ำในบ่อต่ำกว่าครึ่ง จึงต้องขยายบ่อเพิ่มสำรองน้ำไว้หน้าแล้ง



แน่ใจหรือมั่นใจได้อย่างไรว่า น้ำจะพอใช้จนถึงหน้าแล้ง ?

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวนไว้แล้วว่า.....น้ำจะสูญเสียโดยธรรมชาติ
เช่น ระเหยไปในอากาศ ซึมลงใต้ดิน เฉลี่ยแล้ว วันละ 1 เซ็นติเมตร เสมอ....

นั่นหมายความว่า บ่อน้ำลึก 3 ม. เท่ากับ 300 ซม. ถ้าไม่ได้นำน้ำในบ่อออกไป
เลยแม้แต่ "แหมะ" เดียว เพียง 300 วัน น้ำก็เกลี้ยงบ่อแล้ว เมื่อ 1 ปี มี 365
วัน แล้วน้ำจะพอใช้ได้ไง....หรือจะขุดบ่อลึก 600 ซม. (6 ม.) หรือ 1,000
ซม. (10 ม.) บ่อลึกขนาดนี้ ไหวเหรอ.....

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงแนะนำอีกว่า....เมื่อมีสระน้ำแล้ว จำเป็นต้องมี
น้ำจากแหล่งธรรมชาติสำหรับเติมสระ เพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปีด้วย....




วิเคราะห์ใหม่ซิ.....
- ขุดบ่อเสร็จ จะหาน้ำจากไหนมาใส่บ่อให้เต็มตลอดทั้งปี ย่านนั้นมีไหม น้ำจาก
ห้วย หนอง คลอง ที่มีน้ำให้สูบผันมาได้เมื่อต้องการตลอดปี
- หน้าฝน ระยะเวลาที่มีฝน 3-4 เดือน ใน 3-4 เดือนนี้ฝนตกกี่ครั้ง แต่ละครั้งได้
น้ำลงบ่อเท่าไหร่ หรือจะอาศัยน้ำจากข้างแปลงไหลลงบ่อ
- ลักษณะดินที่เห็นในรูป กว่าจะกักเก็บน้ำอยู่ได้ต้องมีน้ำหล่ออย่างน้อย 3 ปี จึงจะ
เกิดแพลงค์ตอนช่วยอุดช่องระหว่างเม็ดดิน นั่นแหละจึงจะเก็บน้ำอยู่ เพราะฉนั้น 1-
3 ปีแรกของอายุบ่อ เก็บน้ำไม่อยู่หรอก


แนวทางแก้ปัญหา
- เจาะบ่อบาดาลข้างๆบ่อ เมื่อน้ำในบ่อยุบก็สามารถสูบน้ำบาดาลเติมบ่อได้
- ดัดแปลงแหล่งน้ำธรรมชาติ (ริมตลิ่ง) ที่มีน้ำตลอดปี เช่น ห้วย หนอง คลอง เพื่อ
วางเครื่องสูบน้ำ ส่งผ่านท่อมุดใต้ดินมาที่บ่อ

ตัวอย่างที่ไร่กล้อมแกล้ม
- ขนาดบ่อ กว้าง x ยาว ประมาณครึ่งไร่กว่าเล็กน้อย ลึก 1.5 ม. กับ 3 ม. ความ
จุน้ำกี่ ลบ.ม. ไม่เคยคำนวน (ตกคณิตศาสตร์)
- ริมบ่อเจาะบาดาล ท่อน้ำไหล 2 นิ้ว สูบน้ำได้ทุกเวลาเมื่อต้องการ
- หน้าไร่ ริมถนน มีรางไส้ไก่น้ำชลประทาน ซึ่งอยู่สูงกว่าบ่อ จากรางไส้ไก่วางท่อ
ขนาด 3 นิ้ว มุดดินมาลงที่บ่อ มีวาวล์ปิดเปิดได้ ...... ใน 1 ปี ชลประทานจะปล่อย
น้ำให้ชาวนา 2 รอบๆ ละ 4 เดือน เหลือเวลา 4 เดือน แบ่งเป็น 2 รอบๆ ละ 2
เดือน ชลประทานงดส่งน้ำเพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าว..... ก่อนชลประทานจะงดส่งน้ำก็
ตุนน้ำไว้จนเต็มใบ่อ ไม่น่าเชื่อที่ 2 เดือนน้ำในบ่อไม่พอใช้ ต้องเปิดน้ำบาดาลเติม
อีกแน่ะ

สรุป
เรื่องขุดบ่อ ขุดสระ ไม่สำคัญ สำคัญก็แต่น้ำสำหรับเติมบ่อเท่านั้น



บ่อน้ำ-สระน้ำ ไม่มีน้ำ เขาเรียกว่า "หลุมอุกาบาต"
ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 7:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 28/09/2010 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ตัวอย่างที่ไร่กล้อมแกล้ม

- ขนาดบ่อ กว้าง x ยาว ประมาณครึ่งไร่กว่าเล็กน้อย ลึก 1.5 ม. กับ 3 ม. ความจุ
น้ำกี่ ลบ.ม. ไม่เคยคำนวน (ตกคณิตศาสตร์)
- ริมบ่อเจาะบาดาล ท่อน้ำไหล 2 นิ้ว สูบน้ำได้ทุกเวลาเมื่อต้องการ
- หน้าไร่ ริมถนน มีรางไส้ไก่น้ำชลประทาน ซึ่งอยู่สูงกว่าบ่อ จากรางไส้ไก่วางท่อ
ขนาด 3 นิ้ว มุดดินมาลงที่บ่อ มีวาวล์ปิดเปิดได้ ...... ใน 1 ปี ชลประทานจะปล่อย
น้ำให้ชาวนา 2 รอบๆ ละ 4 เดือน เหลือเวลา 4 เดือน แบ่งเป็น 2 รอบๆ ละ 2 เดือน
ชลประทานงดส่งน้ำเพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าว..... ก่อนชลประทานจะงดส่งน้ำก็ตุนน้ำ
ไว้จนเต็มใบ่อ ไม่น่าเชื่อที่ 2 เดือนน้ำในบ่อไม่พอใช้ ต้องเปิดน้ำบาดาลเติมอีกแน่ะ



ลุงคิม
ขอชมภาพที่ไร่กล้อมแกล้มบ้าง

_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 28/09/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชมได้ คิดค่าชม "แว้บละ 200...ขาดตัว จ่ายสด...."

ห้ามเลียนแบบนะ เพราะมีลิขสิทธิ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 202
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 28/09/2010 10:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ชมได้ คิดค่าชม "แว้บละ 200...ขาดตัว จ่ายสด...."


ลุงคิม..

ผมขอ 2 แว้บ แว้บเดียวคงดูไม่ทัน (ล้อเล่นนะลุง)
ไม่แน่ อาจจะไปเจอลุงที่ไร่ก็ได้ เพราะลูกสาวผมเรียน
อยู่ ม.มหิดล ที่กาญ มีโอกาสจะแวะนะลุง

_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 29/09/2010 5:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="napassorn"]
คำพูด:

ไม่แน่ อาจจะไปเจอลุงที่ไร่ก็ได้ [/color][/b]




ไม่แน่ + อาจจะ = ไม่ไป + ไม่มา

ยินดีต้อนรับ + ยินดีรับต้อน.....

จะไปเมื่อไร จะมาเมือไร บอกล่วงหน้า จะๆได้ไม่อยู่....



ลุงคิมครับผม

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/08/2024 1:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11662

ตอบตอบ: 29/09/2010 6:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="ott_club"]
คำพูด:
[color=red][b]
ถ้าแถวบ้านผม ส่วนมากจะเห็นเขาใส่ 16-11-14 ของเรือใบครับ ผิดถูกอย่างไรไม่
ทราบเพราะไม่เคยทำอ้อยครับ



อย่ากังวลเรื่อง "ปุ๋ยเคมี" นักเลย สูตรไหน ยี่ห้อไหน ก็เถอะ

"ชาตรี" (081)841-9874 ปลูกอ้อยอยู่ที่ ชัฎป่าหวาย สวนผึ้งราชบุรี เนื้อที่ 20
ไร่ เป็นอ้อยตอ 8 ใช้ปุ๋ยทางดิน 8-24-24 ไม่ถึง 1 กระสอบ (1 กระสอบใช้ไม่
หมด) ได้ผลผลิต 14 ตัน/ไร่ ที่ได้เพราะ "ให้น้ำ" ประจำ เครื่องมือ/วิธีให้น้ำก็
แบบของ "อั้ยญู้ดดด" นครสวรรค์ (เครื่องเดียว คนเดียว วันเดียว = เสร็จ อ้อย
40 ไร่.....) นั่นแหละ

คนของลุงคิมไม่ใช่แต่ "ชาตรี" รายเดียวแค่นี้นะ ที่สิงห์บุรี. ที่ด่านมะขามเตี้ย
กาญจนบุรี. ที่ด่านช้าง สุพรรณบุรี. อ้อยตอ 6, ตอ 7, ตอ 10 ได้ 15-20
ตัน ทั้งๆที่ใช้ปุ๋ยแค่ 1-2 กระสอบ/10-20 ไร่ มาแล้ว วันนี้ก็ยังทำอยู่ ที่แน่ๆ แต่ละ
รายใช้ "ระเบิดเถิง 8-24-24" กับ "ให้น้ำประจำ" เท่านั้นเอง

อีแบบนี้ลุงคิมว่านะ แค่ "ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24" (สูตรอื่นก็ได้) อย่างเดียวก็น่า
จะเพียงพอแล้ว จะไปเร่งไปเพิ่มมันทำไม "ไอ้ปุ่ยเคมี" น่ะ ...... สารอาหารที่พืช
ต้องการมีแต่ใน "กระสอบ" เท่านั้นเหรอ ในถัง ! ในกอง ! ในดิน ! มีไหม ?

อ้อยไม่ได้ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้ "ปุ๋ยเคมี" อะไรมากมายเท่า "ไอ้คนขายปุ๋ย
เคมี" มันโฆษณาหรอกน่า


คิดใหม่ทำใหม่....คิดไม่ออกแน่ ถ้าใจยังอยู่ในกระสอบ
ลุงคิมครับผม


ปล.
1.... ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่ต้องการน้ำ แม้แต่ตะบองเพ็ดในทะเลทรายยังต้องการน้ำเลย

2.... อ้อยเป็นพืช "อวบน้ำ" ถ้าไม่ใด้น้ำ แล้วเขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ

3.... ใคร (หว่า) สอนชาวไร่อ้อยว่า อ้อยเป็นพืชไร่ ทนแล้ง ไม่ต้องให้น้ำก็อยู่ได้

4.... ใคร (หว่า) ส่งเสริมชาวไร่อ้อย ปลูกแล้ว ตอ.1 ได้ 8 ตัน/ไร่, ตอ.2 ได้
6 ตัน/ไร่, ตอ.3 ได้ 3 ตัน/ไร่, เลยสงสัยทำไม ตอยิ่งมากจึงยิ่งลด หรือทำไม
ตอยิ่งมากจึงไม่เพิ่ม

5.... ใคร (หว่า) ปลูกอ้อย เชื่อแต่พ่อค้าขายปุ๋ยเคมี. เชื่อแต่ข้างบ้านที่ล้มเหลว
กี่ปีกี่ปีก็ล้มเหลว ล้มเหลวล้มเหลวอีก ยิ่งทำยิ่งจน ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ ก็ยังปักใจเชื่อ
อยู่อย่างนั้น

6.... ใคร (หว่า) ไม่รู้ ไม่เชื่อ ไม่ถาม ไม่เอาเยี่ยงอย่าง ที่ออสเตรเลีย ปลูกอ้อย
ได้ผลผลิต 45 ตัน/ไร่..... อ้อ. มันไกลไป อยู่ถึงออสเตรเลียแน่ะ

7.... ใคร (หว่า) ไม่รู้ ไม่เชื่อ ไม่ถาม ไม่เอาเยี่ยงอย่าง ที่วังขนายได้ 100 ตัน/
ไร่, มิตรผลได้ 50 ตัน/ไร่

8... ใคร (หว่า) แปลงอ้อยติดกับแปลงอ้อยของวังขนาย. ติดกับแปลงของมิตร
ผล เห็นกับตา ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัด แล้วไม่เชื่อ ไม่ทำตาม พูดแต่ว่า ทำไม่ได้
ทำไม่เป็น ยุ่งยาก แถวนี้ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ ไม่เคยมีใครมาส่งเสริม


ปุจฉา-วิสัชชนา
อ้อย 1 ไร่ ให้น้ำ ได้ 30 ตัน/ไร่ กับอ้อย 10 ไร่ ไม่ให้น้ำ ได้ 30 ตัน/ไร่


........................... 1 ไร่ V.S. 10 ไร่ ...........................

.......................... อย่างไหน น่าลุงทุนกว่ากัน ...........................


ถ้าอ้อย 1 ไร่ ต้องลงทุน "ซื้อน้ำ" มาให้ซักเดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง
มันก็แค่ช่วงหน้าแล้งเท่านั้น เบ็ดเสร็จ "ซื้อน้ำ" กี่เที่ยวเชียว

ถ้าปลูกอ้อย แล้วขายเป็น "อ้อยพันธุ์" ราคาจะดีกว่าขายส่งโรงงานไหม ?

จากอ้อย 1 ไร่ ยอมเหนื่อย เพิ่มเป็น 5 ไร่ พอไหวไหม. ? .....นี่คือ ดีกว่าไหม ?

ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุน



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/08/2024 1:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©