-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ผักกาดน้ำ...สมุนไพรกำจัดวัชพืช...ประสบการณ์ตรง (o.k.)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ผักกาดน้ำ...สมุนไพรกำจัดวัชพืช...ประสบการณ์ตรง (o.k.)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ผักกาดน้ำ...สมุนไพรกำจัดวัชพืช...ประสบการณ์ตรง (o.k.)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/12/2009 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ผักกาดน้ำ...สมุนไพรกำจัดวัชพืช...ประสบการณ์ตรง (o.k.) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้ยกมา.....

ตัวอย่างงานวิจัย
ที่มา http://it.doa.go.th/refs/files/66_2549.pdf

ชอุ่ม เปรมัษเฐียร

ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช

รายงานเรื่องเต็มผลการทดลองที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2549

1. ชื่อแผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาอารักขาพืช

2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม . ..... วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
กิจกรรมย่อย ....... วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช

3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช
(Research and Development of Plant Extract for Weed Control)
การทดลองย่อย ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช
(Research for Application of Allelopathic Substance in Rorripa sp for Effective Weed
Control)

4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสาวศิริพร ซึงสนธิพร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

5. บทคัดย่อ
- ผักกาดน้ำที่พบทั่วไปมากมีสองชนิด คือผักกาดน้ำ หรือผักกาดนำ (Rorippa dubia) และผักกาดน้ำดอกเหลือง (Rorippa indica)

- การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น ด้วยวิธี sandwich method พืชทั้งสองชนิด ให้ผลการยับยั้งในทางเดียวกันและใกล้เคียงกัน แต่คือผักกาดน้ำดอกเหลืองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโต ของพืชทดสอบได้มากกว่าทั้งพืชสดและพืชแห้ง และส่วนของใบให้ผลในการยับยั้งมากกว่าราก และต้น

ตัวทำละลายในการสกัด ชนิดต่างๆ คือ Benzene, normal hexane, ethyl acetate, 70% methanol, 70% ethyl alcohol, dichloromethane, acetone, butanlol, น้ำร้อน และน้ำเย็น ปรากฏว่า.....

การสกัดด้วยเมทานอล 70% ให้ผลการยับยั้งการเจริญรากของพืชทดสอบได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำ

สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลืองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ไมยราบเครือ(Mimosa invisa Mart.) ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.) กระเฉดต้น (Neptunia sp.) กระเพาผี (Hyptissuaveolense ) โสนขน (Aeschynomene Americana ) ถั่วผี (Phaseolus lathyroides) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium eagyptium ) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon ) หญ้าขจรจบดอกใหญ่ (Pennisetm pedicellatum) ปรากฏว่า.....

สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลือง อัตราเทียบเท่าสกัดจาพืชแห้ง 1 กรัม สามารถยับยั้งการงอกของพืชทดสอบ เช่น ถัวผี หญ้าปากควาย ได้ดี แต่ที่อัตราต่ำ คือเทียบเท่าสกัดจากพืช 0.1 กรัม ทำให้ถั่วผี และหญ้าปากควายงอกได้มากกว่าชุดควบคุม โดยอัตราที่สามารถยับยั้งการเจริญของพืช ทดสอบได้สูงสุดคือ เทียบเท่าสกัดจากพืช1.0 กรัม ในน้ำ 5 มิลลิลิตร



(ข้อมูลหายไปบางส่วน)


12. การนำไปใช้ประโยชน์ :
จากผลที่ได้ดังกล่าวนี้ จะต้องศึกษาการออกฤทธิ์ของสารเหล่านี้ต่อวัชพืชที่เจริญเติบโตในดิน ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ อายุของวัชพืชที่ไวต่อสารนี้ อายุการออกฤทธิ์ของสาร เพื่อจะได้ เป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปใช้ เพื่อลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/03/2010 10:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 24/12/2009 8:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Rorippa dubia





Rorippa indica


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 24/12/2009 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Plantago major







กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 25/12/2009 5:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักกาดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plantago magor Linn. (P. indica Linn.)

ชื่ออื่น ๆ : หมอน้อย, เชียแต้เฉ้า, หญ้าเอ็นอืด, หญ้าเอ็นยืด , Common Plantain

วงศ์ : PLANTAGINACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีเนื้ออ่อน โคนต้นจะอยู่ติดดินเลย เป็นไม้ที่มีอายุได้หลายปี ลำต้นจะสูงไม่เกิน 1 ฟุต

ใบ : จะแทงขึ้นมาจากดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบยาวกว่า แผ่นใบหนาเมหือนกนับผักคะน้า และกว้าง ลักษณะของใบคล้ายช้อนสังกะสีขนาดใหญ่ แตกใบออกรอบ ๆ ต้น

ดอก : ออกเป็นช่อ ชูขึ้นมาจากกลางก่อ ช่อดอกจะยาวและดอกนั้นมีขนาดเล็ก แห้ง มีสีเขียวอมน้ำตาล แต่จะไม่มีก้านดอก

ผล : เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่จะแตกตรงกลางผล

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินที่มีส่วนผสมพิเศษและขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น

สรรพคุณ

ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยาโดยผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งได้แก่พวก ว่านกาบหอย กล้วยหอมดิบ สนหมอก รากบัวหลวง ดอกเก๊กฮวย ฯลฯ นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด เพื่อแก้ร้อนในเจ็บคอ เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ ส่วนใบของต้นนั้นมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด แต่จะห้ามเฉพาะภายนอกเท่านั้นภายในห้ามไม่ได้ ใช้ใบขยี้ทางอาการอักเสบของผิวหนัง ตำพอกแก้แผลเรื้อรังหรือผิวหนังอักเสบ ใช้ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย

สารเคมีที่พบ : ภายในใบจะมีสารไกลโคไซด์ ชาไปนิน และสารที่มีรสขมและเมล็ดมี 0.183 % ของ holoside planteose

หมายเหตุ : ในภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า Plantain นั้นหมายถึง ต้นกล้วยซึ่งกล้วยชนิดนี้เมื่อสุกแล้วต้องเอาไปเผาถึงจะใช้ปรุงเป็นอาหารได้, Plantago asiatica Linn., “ผักกาดน้ำ, หมอน้อย (กรุงเทพฯ) ; หญ้าเอ็นอืด, หญ้าเอ็นยืด (เชียงใหม่); เซียเต้เฉ้า(จีน)” in Siam. Plant Names, 1948,p. 388 , P. erosa Wall., P. magor Burkill, II, 1935, p. 1767 “Ekur anjing (dog’stail), Ekur angin (tail of the winde), Daun sejumbok”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2010 5:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารสกัดผักกาดน้ำ ควคุมวัชพืช

รายงานเรื่องเต็มผลการทดลองที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2549
1. ชื่อแผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาอารักขาพืช
2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี

กิจกรรม . วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
กิจกรรมย่อย วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช

4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสาวศิริพร ซึงสนธิพร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

5. บทคัดย่อ
- ผักกาดน้ำที่พบทั่วไปมากมีสองชนิด คือผักกาดน้ำ หรือผักกาดนำ (Rorippa dubia) และผักกาดน้ำดอกเหลือง (Rorippa indica)
- การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น ด้วยวิธี sandwich method พืชทั้งสองชนิดให้ผลการยับยั้งในทางเดียวกันและใกล้เคียงกัน แต่คือผักกาดน้ำดอกเหลืองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโต
ของพืชทดสอบได้มากกว่าทั้งพืชสดและพืชแห้ง และส่วนของใบให้ผลในการยับยั้งมากกว่าราก และต้น ตัวทำละลายในการสกัด ชนิดต่างๆ คือ Benzene, normal hexane, ethyl acetate, 70% methanol, 70% ethyl alcohol, dichloromethane, acetone, butanlol, น้ำร้อน และน้ำเย็น ปรากฏว่า การสกัดด้วยเมทานอล 70% ให้ผลการยับยั้งการเจริญรากของพืชทดสอบได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำ สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลืองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่

ไมยราบเครือ (Mimosa invisa Mart.)
ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.)
กระเฉดต้น (Neptunia sp.)
กระเพาผี (Hyptis suaveolense )
โสนขน (Aeschynomene Americana )
ถั่วผี (Phaseolus lathyroides)
หญ้าปากควาย (Dactyloctenium eagyptium )
หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon )
หญ้าขจรจบดอกใหญ(Pennisetm pedicellatum)

ปรากฏว่า สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลือง อัตราเทียบเท่าสกัดจาพืชแห้ง 1 กรัม สามารถยับยั้งการงอกของพืชทดสอบ เช่น ถัวผี หญ้าปากควาย ได้ดี แต่ที่อัตราต่ำ คือเทียบเท่าสกัดจากพืช0.1 กรัม ทำให้ถัวผี และหญ้าปากควายงอกได้มากกว่าชุดควบคุม โดยอัตราที่สามารถยับยั้งการเจริญของพืชทดสอบได้สูงสุดคือ เทียบเท่าสกัดจากพืช1.0 กรัม ในน้ำ 5 มิลลิลิตร

การนำไปใช้ประโยชน์ :
จากผลที่ได้ดังกล่าวนี้ จะต้องศึกษาการออกฤทธิ์ของสารเหล่านี้ต่อวัชพืชที่เจริญเติบโตในดิน ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ อายุของวัชพืชที่ไวต่อสารนี้ อายุการออกฤทธิ์ของสาร เพื่อจะได้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปใช้ เพื่อลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2010 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรง :



5. สูตรต้มเคี่ยว

วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ

ต้มครั้งที่ 1 ........ ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2

ต้มครั้งที่ 2 ........ เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3

ต้มครั้งที่ 3 ........ เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

หมายเหตุ :
สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ คือ

แบบที่ 1. ....... ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออกได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งานได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น

แบบที่ 2. ........ ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อโดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น


ที่มา : copy เมนูหลัก - สารสกัดสมุนไพร



เมื่อทราบจากข้อมูลงานวิจัยแล้วว่า "ผักกาดน้ำ. แมงลักคา. ส่าบเสือ. เทียนหยด" ต่างมีสารออกฤทธิ์ในการ ควบคุม/กำจัด วัชพืช

การเลือกใช้พืชสมุนไพรหลายๆ ตัว ที่มีสารออกฤทธิ์เหมือนกัน มารวมกันแล้ว "ต้มเคี่ยว" ตามกรรมวิธีดังกล่าว นอกจากจะได้สารออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นแล้ว ยังได้สารออกฤทธิ์หลายอย่างในงานเดียวกัน แบบ "ตัวต่อตัวมีรุม" อีกด้วย ประมาณนั้น

ลุงคิมครับผม


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©