kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/05/2022 4:25 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 4 พ.ค. * ซีเอ็น เรโช ไม้ผล |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 4 พ.ค.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 7 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประะจันต์ สุพรรณบุรี
ทุกงานสัญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (095) 728-46xx
ข้อความ : ขอความรู้เรื่อง ซีเอ็น เรโช ไม้ผลครับ
จาก : (082) 382-01xx
ข้อความ : ซีเอ็น เรโช คือปุ๋ย หรือฮอร์โมน
จาก : (093) 427-81xx
ข้อความ : ปรับ ซีเอ็น เรโช ขั้นตอนไหนของไม้ผล
ตอบ :
อ้างอิง : หนังสือภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรไทย
21. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
จากหลักการที่ว่า จะเปิดตาดอกในไม้ผลยืนต้นให้ประสบความสำเร็จได้นั้นไม้ผลต้นนั้นจะต้องได้ รับการบำรุงทั้งสารอาหารกลุ่ม ซี. (กลุ่มสร้างดอก-ผล) และสารอาหารกลุ่ม เอ็น. (กลุ่มสร้างใบ-ต้น) ทั้งสองกลุ่มเท่าๆ กันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อน ทั้งนี้สังเกตได้จากสภาพความสมบูรณ์ของต้น
ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. เท่ากับ เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกทั้งดอกและใบ หรือมีดอกแซมใบ
ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก ไม่มีใบ
ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. น้อยกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ ไม่มีดอก
ดังนั้น เพื่อความมั่นใจก่อนลงมือเปิดตาดอก หรือเมื่อให้ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกแล้ว ไม้ผลต้นนั้นจะต้องออกดอก จึงต้องมีวิธีการจัดการเพื่อปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. อย่างถูกต้อง นั่นคือ ปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. โดยการปฏิบัติดังนี้
- เปิดหน้าดินโคนต้นจนถึงพื้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 อัตรา 2 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำราดรดบริเวณชายพุ่มพอหน้าดินชื้น จากนั้นงดให้น้ำเด็ดขาด
- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 (400-500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.) + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด 100-200 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี. + น้ำ 100 ล." (นมสด ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39 : 1)แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ไม่ควรให้ลงถึงพื้นโคนต้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ ช่วงเช้าแดดจัด
- รมควันโคนต้นช่วงหลังค่ำระหว่างเวลา 19.00-20.00 ครั้งละ 10-15 นาที รวม 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-3 วัน
ลักษณะอาการของต้นไม้ผลที่แสดงว่าการปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. ได้ผลก็คือ ใบยอดคู่สุดท้ายที่ปลายกิ่งแก่จัดเขียวเข้ม ใบแก่โคนกิ่งเส้นใบ หนานูน เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ หูใบอวบอ้วน ข้อระหว่างใบสั้น กิ่งเปราะ....
ด้วยมาตรการงดน้ำเด็ดขาดนี้จะให้ต้นเกิด อาการใบสลด ให้สังเกตุอาการใบสลด ถ้าใบเริ่มสลดเมื่อเวลาประมาณ 11.00-12.00 น. แล้วเริ่มชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ติดต่อกัน 3 วัน ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอก (ให้ทั้งทางใบและทางราก) ได้ทันที....
แต่ถ้าใบสลดช่วงประมาณบ่ายโมงแล้วกลับชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ถือว่ายังไม่พร้อมจริง ให้งดน้ำควบคู่กับให้ทางใบต่อไป.....
ปัญหางดน้ำไม่ได้ผลประการหนึ่งคือ น้ำใต้ดินโคนต้น ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันหรือควบคุมให้ได้
22. กดใบอ่อนสู้ฝน :
ธรรมชาติของพืชทุกชนิดมักแตกใบอ่อนหลังได้รับน้ำฝนเสมอ พืชทั่วไปอาจจะไม่มีปัญหาหรือถือว่าดี แต่กรณีไม้ผลยืนต้นที่ต้องการบังคับให้ออกผลนอกฤดูจะต้องไม่มีการแตกใบชุด ใหม่เด็ดขาดแม้จะได้รับน้ำฝนก็ตาม การบำรุงต้นไม้ผลยืนต้นไม่ให้แตกใบอ่อนช่วงฝนชุกก็คือ มาตรการเพิ่มสารอาหารกลุ่ม ซี. ควบคู่กับงดสารอาหารกลุ่ม เอ็น. โดยการปฏิบัติดังนี้.....
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม พร้อมกับทำช่องระบายน้ำฝนออกจากโคนต้น อย่าให้น้ำฝนขังค้างนาน และงดการให้น้ำเด็ดขาด
- ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 หรือ 0-21-74 หรือ 0-39-39 (สูตรใดสูตรหนึ่ง400-500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100-200 กรัม + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด 100-200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี." หรือ "ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน 500 ซีซี. + น้ำ 100 ล." (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองอย่างสลับครั้งกัน) ทุก 3-5 วัน ช่วงเช้าวันที่ไม่มีฝน
ถ้ามีฝนตกตอนกลางวัน หลังฝนหยุดใบแห้งให้ฉีดพ่นทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือบ่าย ถ้าช่วงเช้าฉีดพ่นไปแล้ว 1 รอบ ครั้นถึงเที่ยงมีฝนตกลงมา ก็ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังฝนหยุดใบแห้ง....กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่น 2 ครั้งใน 1 วัน ถ้าวันนี้ไม่มีฝน ฉีดพ่นไปแล้ว ครั้นตกกลางคืนมีฝนตกลงมา ให้ฉีดพ่นซ้ำในเช้าวันรุ่งขึ้นทันที.....กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่นวันต่อวัน
ปุ๋ยทางใบสูตรนี้เป็นสารอาหารกลุ่ม ซี. ที่ไม่ทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ เมื่อให้หลายๆครั้ง หรือติดต่อกันนานนับเดือน ไม้ผลต้นนั้นจะเกิดอาการอั้นตาดอก เนื้อใบหนา ใบและกิ่งกรอบ ผิวใบกร้าน ส่วนปลายสุดของใบไหม้ แต่ไม่เป็นปัญหาหรือไม่เป็นอันตรายใดๆต่อต้นตราบใดที่ยังมีฝนตกก็ขอให้บำรุง ทางใบด้วยสูตรนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งหมดฝนและแน่ใจว่าจะไม่มีฝนตกอีกใน 15-20 วันข้างหน้า ก็ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอกได้เลย
23. โซดาปรับ เพิ่ม ซี. - ลด เอ็น. :
ตอนกลางวันพืชหายใจดูดคาร์บอนได อ๊อกไซด์เข้าสู่ต้นสำหรับใช้สังเคราะห์อาหาร แล้วคายอ๊อกซิเจนออกมา ส่วนตอนกลางคืนพืชหายใจดูดออกซิเจนเข้าไปสำหรับใช้ปรุงอาหารที่สะสมไว้ ตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วคายคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมา
ในน้ำโซดามีคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์แก่พืชเพื่อใช้ในในการสะสมอาหาร สำหรับการออกดอก แนะนำให้ใช้ "น้ำ 100 ล. โซดาเปิดใหม่ยังไม่หมดฟอง 200-300 ซีซี. (เปิดนานไม่เกิน 2-3 นาที) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารอาหารอื่นๆตามความเหมาะสม" ฉีดพ่นในช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช. ที่สภาพอากาศปกติ หรือหลังฝนเมื่อใบแห้ง นอกจากเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สำหรับสังเคราะห์อาหารได้ มากขึ้นแล้วยังช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน (กดใบอ่อน) ได้อีกด้วย
ขั้นตอนการบำรุงไม้ผล :
1. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
4. ปรับ ซีเอ็น เรโช
5. เปิดตาดอก
6. บำรุงดอก
7.บำรุงผลเล็ก-กลาง
8. บำรุงผลแก่
การปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่ม ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ ลด ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก
- เริ่มปฏิบัติหลังจากแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหาร หรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้วโดยสังเกตได้จากใบแก่โคนกิ่ง 2-3 ใบ ซึ่งเป็นใบอายุข้ามปีเหลืองร่วงพร้อมกันทั้งต้น
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น อั้นตาดอก ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด
- เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำ เป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตก ระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี
- มาตรการเสริมด้วยการ รมควัน ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น
-------------------------------------------------------------------------------
.
|
|